กรรมฐาน คือ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 17 กันยายน 2007.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    กรรมฐาน คือ ศีล สมาธิ ปัญญา นี่เอง

    ศีล แปลว่า ปรกติ
    ไม่ต้องไปรับกับพระวัดไหนเลย
    ปรกติเอามาจากไหน
    ได้จากมีสติระลึกก่อน ระลึกถึงงาน ทำอะไรมีสติ

    หายใจเข้ามีสติ หายใจออกมีสติ
    จะพูดจาพาทีอะไรก็มีสติเข้าไปก่อน
    และรู้ตัวขณะที่พูดนั้นว่า พูดดี หรือพูดไม่ดี
    พูดเสียดสีเขาหรือเปล่า
    พูดร้ายกับใคร พูดแล้วเป็นพิษเป็นภัยกับใครหรือไม่
    นี่คือ ศีล

    ไม่ต้องไป ปาณา
     
  2. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    กองกรรมฐาน ๔๐ อย่าง


    การฝึกกรรมฐานนั้น ควรพิจารณาในเบื้องต้นว่าตัวเราเองถูกจริตกับกรรมฐานของไหนมากที่สุด ก็ให้ใช้สิ่งนั้นเป็นตัวกำหนดเพิจารณา หรือถ้าอยากจะลองหลายๆ อย่างก็ได้ เพื่อดูว่าสิ่งใดเหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด ที่ว่าเหมาะสมก็คือ การที่เราเพิ่งพิจารณาแล้ว ทำให้เรามีใจที่สงบ เห็นสภาพตามความเป็นจริงในสิ่งที่นำมาพิจารณานั้นโดยเนื้อแท้ แต่ถ้าจะให้ดีควรจะลองให้มากกว่า ๑ อย่างขึ้นไป แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นแล้ว ทั้งหมดนี้ก็คืออุบายในการโน้มใจเราให้เข้าถึงธรรมชาติ เกิดความเบื่อหน่ายในสภาพร่างกายที่เป็นอยู่ และเห็นธรรม เกิดปัญญารู้แจ้ง เห็นตามความเป็นจริงตามสภาพของวัตถุธาตุและกระบวนการของขันธ์ ๕ นั่นเอง รวมแล้วมี ๔๐ อย่างดังนี้
    ๑. วัตถุที่ใช้เพ่งรวมจิตให้สงบนิ่ง (กสิณ ๑๐)
    ๒. สิ่งที่ไม่สวยงาม ของเน่าเสีย (อสุภะ ๑๐)
    ๓. ใช้การระลึกถึง (อนุสติ ๑๐)
    ๔. ธรรมที่ใช้สำหรับดำเนินชีวิตอันประเสริฐ (อัปปมัญญา ๔)
    ๕. อาหารที่ต้องเน่าเสีย (อาหาเร ปฏิกูลสัญญา)
    ๖. ใช้การพิจารณาธาตุทั้ง ๔ ในกาย (จตุธาตุววัฏฐาน)
    ๗. ใช้สิ่งที่ไม่มีรูป จับต้องไม่ได้เป็นอารมณ์ (อรูป ๔)
    ๑.วัตถุที่ใช้สำหรับเพ่งเพื่อโน้มน้าวรวมจิตให้เกิดสมาธิได้มี ๑๐ อย่าง (กสิณ ๑๐) ได้แก่

    <CENTER><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD>๑.ดิน (ปฐวีกสิณ)</TD><TD>๖.สีเหลือง (ปีตกกสิณ)</TD></TR><TR><TD>๒.น้ำ (อาโปกสิณ)</TD><TD>๗.สีแดง (โลหิตกสิณ)</TD></TR><TR><TD>๓.ไฟ (เตโชกสิณ)</TD><TD>๘.สีขาว (โอทาตกสิณ)</TD></TR><TR><TD>๔.ลม (วาโยกสิณ)</TD><TD>๙.แสงสว่าง (อาโลกกสิณ)</TD></TR><TR><TD>๕.สีเขียว (นีลกสิณ)</TD><TD>๑๐.ที่ว่างเปล่า (อากาสกสิณ)</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ๒.สิ่งที่ไม่สวยงามสามารถนำมาใช้เป็นอารมณ์ในการทำกรรมฐานได้ ๑๐ อย่าง (อสุภ ๑๐) มีดังนี้คือ

    <CENTER><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD>๑.ซากศพที่เน่าพอง (อุทธุมาตกะ)</TD><TD>๖.ซากศพที่หลุดออกเป็นส่วนๆ (วิกขิตตกะ)</TD></TR><TR><TD>๒.ซากศพที่มีสีเขียวคล้ำคละสีต่างๆ (วินีลกะ)</TD><TD>๗.ซากศพที่ถูกสับเป็นท่อนๆ (หตวิกขิตตกะ)</TD></TR><TR><TD>๓.ซากศพที่มีน้ำเหลืองไหลเยิ้มปริออกมา (วิปุพพกะ)</TD><TD>๘.ซากศพที่มีโลหิตไหลอาบอยู่ (โลหิตกะ)</TD></TR><TR><TD>๔.ซากศพที่ขาดจากกันเป็น ๒ ท่อน (วิจฉิททกะ)</TD><TD>๙.ซากศพที่เต็มไปด้วยหนอน (ปุฬุวกะ)</TD></TR><TR><TD>๕.ซากศพที่ถูกสัตว์กัดกินแล้ว (วิกขายิตกะ)</TD><TD>๑๐.ซากศพที่เหลือแต่กระดูก (อัฏฐิกะ)</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
    ๓. ใช้การระลึกถึงเป็นอารมณ์ในการทำกรรมฐาน (อนุสติ ๑๐) มี๑๐ อย่างดังนี้

    <CENTER><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD>๑.ระสึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้า (พุทธานุสติ)</TD><TD>๖.นึกถึงพระคุณของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย (เทวดานุสติ)</TD></TR><TR><TD>๒.ระลึกถึงพระธรรมคำสั่งสอน (ธัมมานุสติ)</TD><TD>๗.ใช้ความตายเป็นอารมณ์ (มรณสติ)</TD></TR><TR><TD>๓.ระลึกถึงพระสงฆ์ (สังฆานุสติ)</TD><TD>๘.พิจารณาส่วนประกอบในร่างกายเรา (กายคตาสติ)</TD></TR><TR><TD>๔.ระลึกถึงศีลที่เราปฏิบัติ (สีลานุสติ)</TD><TD>๙.ใช้จิตกำหนดที่ลมหายใจ (อานาปานสติ)</TD></TR><TR><TD>๕.นึกถึงการบริจาคทานที่เราเคยทำ (จาคานุสติ)</TD><TD>๑๐.ระลึกถึงคุณของพระธรรม(อุปสมานุสติ)</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>๔. ระลึกถึงธรรมที่ประเสริฐที่ใช้เป็นหลักในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรือที่เรียกกันว่าพรหมวิหาร ๔ นั่นเอง (เรียกอีกอย่างว่า อัปปมัญญา)

    ๑.เมตตา คือความปรารถนาที่อยากให้ผู้อื่นมีความสุข
    ๒.กรุณา คือความคิดรู้สึกสงสารอยากให้ผู้อื่นพ้นจากทุกข์
    ๓.มุทิตา คือความรู้สึกยินดีเมื่อเห็นผู้อื่นมีสุข
    ๔.อุเบกขา คือการวางเฉย เป็นกลางในความประพฤติและความคิด
    ๕. ใช้อาหารเป็นอารมณ์ในการพิจารณาถึงการเปลี่ยนแปลง เน่าเสีย บูดและกินไม่ได้ (อาหาเร ปฏิกูลสัญญา)

    ๖.พิจารณาธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย (จตุธาตุววัฏฐาน)

    <CENTER><TABLE cellSpacing=2 cellPadding=2 border=0><TBODY><TR><TD>๑.ธาตุที่กินพื้นที่นั่นก็คือธาตุดิน</TD><TD>(ปฐวีธาตุ)</TD></TR><TR><TD>๒.ธาตุที่เป็นของเหลวนั่นก็คือธาตุน้ำ</TD><TD>(อาโปธาตุ)</TD></TR><TR><TD>๓.ธาตุที่มีความร้อนนั่นก็คือธาตุไฟ</TD><TD>(เตโชธาตุ)</TD></TR><TR><TD>๔.ธาตุที่ทำให้สั่นไหวนั่นก็คือธาตุลม</TD><TD>(วาโยธาตุ)</TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>๗. ใช้สิ่งที่ไม่มีรูปคือจับต้องไม่ได้เป็นอารมณ์มี ๔ อย่าง (อรูป ๔) ได้แก่

    ๑.ภาวะของฌาณที่ใช้ช่องว่าง หรือความว่างเปล่าอันหาที่สุดมิได้เป็นอารมณ์ (อากาสานัญจายตนะ)
    ๒.ภาวะของฌาณที่ใช้ความหาที่สุดไม่ได้ของวิญญาณเป็นอารมณ์ (วิญญาณัญจายตนะ)
    ๓.ภาวะของฌาณที่ใช้ภาวะที่ไม่มีอะไรกำหนดเป็นอารมณ์ (อากิญจัญญายตนะ)
    ๔.ภาวะของฌาณที่ว่ามีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ (เนวสัญญานาสัญญายตนะ)

    ที่มา http://www.salatham.com/meditation/kammatan40.htm
     

แชร์หน้านี้

Loading...