ขอเชิญร่วมทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ

ในห้อง 'ตลาด พระเครื่องเพื่อการกุศล' ตั้งกระทู้โดย พันวฤทธิ์, 29 พฤศจิกายน 2007.

  1. natta_pea

    natta_pea เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +1,515
    วันนี้ผมได้โอนเงิน 333.- บาท ร่วมทำบุญฯ
    ขอโมทนาบุญกับทุกๆท่านด้วยครับ
     
  2. sirimanod

    sirimanod เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +912
    ผมขอร่วมทำบุญประจำเดือน พ.ย.55ด้วยนะครับ

    ผมนายศิริมาโนชญ์ จันทรคุปต์ (ต๊อง) ขอร่วมทำบุญกับทุนนิธิสงเคราะห์ สงฆ์อาพาธ โดยผมจะทำเป็นประจำในทุกๆเดือน เดือนละ100 บาท ผมได้โอนเงินประจำเดือน พ.ย. 2555 เข้าบัญชีของทุนนิธิฯเป็นจำนวน 100 บาทเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 55 และผมขออนุโมทนากับทุกๆท่านที่ได้มีส่วนร่วมในการรักษาพระภิกษุสงฆ์อาพาธด้วยครับ
     
  3. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    วันนี้สืบหาพระเครื่องดีมาล่ามาช้าจริงๆ สาเหตุก็คือเพิ่งกลับจากทอดกฐินของหลวงพ่อสิริ สิริวัฒโน วัดตาล ที่วัดคลองกี่ จ.นครราชสีมา ซึ่ีงในวันนี้ ท่านลงไปเป็นประธานให้เอง แถมแจกพระเครื่องให้ชาวบ้านที่มาร่วมงานคนละหอบแบบชนิดต้องเอาสองมือรับจากท่านทีเดียว ส่วนเมื่อวานก็มัวแต่เตรียมเครื่องกฐินที่รับผิดชอบคือเครื่องถ้วยชามต่างๆ เลยไม่ได้ลงมาแนะนำกันตามปกติต้องขออภัยเป็นอย่างสูงด้วยครับ

    สำหรับพระเครื่องที่จะแนะนำให้วันนี้ ท่านเป็นพ่อแม่ครูอาจารย์เมืองชลบุรี ท่านองค์นี้ ครูอาจารย์ของผมที่ท่านได้บวชกับหลวงพ่อองค์นี้เล่าให้ฟังว่า ได้มีโอกาสเห็นท่านเตรียมบ้วนน้ำหมาก แต่ท่านไม่ได้เอื้อมมือไปหยิบกระโถน เพราะว่ากระโถนวิ่งมาหาท่านเอง คิดเอาดูครับพลังจิตท่านเข้มแข็งขนาดไหน ซึ่งหากไม่ใช่ผู้ที่บวชอยู่กับท่านแล้ว ท่านก็จะไม่แสดงให้ดู

    สำหรับวัตถุมงคลของท่านนั้น เวลาผมเข้าสนามพระสายเมืองชลฯ เมื่อไร ผมจะต้องถามเจ้าของแผงทุกทีไป "มีของๆ หลวงพ่อ....มั๊ย" ถ้ามีก็อดที่จะเสียเงินเช่าไม่ได้ แต่ขอโทษที เหรียญท่าน สองร้อยบาท ก็ยังมีเยอะไป มั่นใจเหอะ ถ้าเป็นเหรียญที่ทันท่านเสกแล้วละก็ "เอาได้" เลยทีเดียว

    ร่ายยาวมาซะหลายย่อหน้า ก็ขอแนะนำเลยครับ ท่านองค์นี้ก็คือ "หลวงพ่อเหมือน วัดกำแพง" ผู้ซึ่งเป็นหลานแท้ๆ ของ "หลวงพ่อเจียม วัดกำแพง" นั่นเอง ลองมาดูเหรียญสวยๆ ของท่านรุ่นนึงครับ


    [​IMG]


    ทีนี้มาลองดูรายละเอียดของเหรียญตามเวบที่ผมลิงค์มาลงไว้เป็นเครื่องยืนยันครับ

    รายละเอียด:

    เหรียญพระครูอุดมวิชชากร(หลวงปู่เหมือน) วัดกำแพง ชลบุรี รุ่นพิเศษ พ.ศ.2524
    ***เหรียญของหลวงปู่เหมือน วัดกำแพง ชลบุรีครับ ท่านเป็นลูกศิษย์ของหลวงปู่เจียมหนึ่งใน ๕ พระอาจารย์ที่สร้างพระปิดตาเนื้อผงคลุกที่โด่งดังของเมืองชลครับ สำหรับหลวงปู่เหมือนท่านก็สร้างพระปิดตาหลายรุ่นเหมือนกันครับ
    ***เคยมีคนชลบุรีไปกราบหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั้ง ท่านถามญาติโยมที่มากราบว่า มาจากที่ไหนกัน ญาติโยมก็บอกว่า มาจากจังหวัดชลบุรี ท่านบอกคราวหลังไม่ต้องมาถึงที่นี่ก็ได้ ไปกราบหลวงปู่เหมือน วัดกำแพงก็เหมือนกัน
     
  4. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    การทำดีต้องไม่มีพอ (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

    ทำกรรมดีแล้วใจจักไม่ร้อน
    เพราะไม่ต้องวิตกกังวลว่า จะได้รับผลไม่ดีต่างๆ

    ความไม่ต้องหวาดวิตกหรือกังวลไปต่างๆ นั้น
    นั่นแหละ เป็นความเย็น เป็นความสงบของใจ

    เรียกว่า เป็นผลดีที่เกิดจากกรรมดี
    ซึ่งจะเกิดขึ้นทันตาทันใจ ทุกครั้งไป
    เป็นการทำดีที่ได้ดีอย่างบริสุทธิ์แท้จริง

    ส่วนผลภายนอก เป็นลาภ ยศ สรรเสริญต่างๆ นั้น
    มีช้า มีเร็ว มีทันตาทันใจและไม่ทันตาทันใจ

    จนเป็นเหตุให้เกิดความเข้าใจผิดกันมากมายว่า
    ทำดีไม่ได้ดีบ้าง ทำชั่วได้ดีบ้าง

    การทำดีต้องไม่มีพอ
    สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก
    [/CENTER]
     
  5. พระมหาดาว

    พระมหาดาว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2012
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +138
    มะตูมแข็งนอก มะกอกแข็งใน น้ำเชี่ยวไหลวน ต่างคนก็ต่างใจ ต่างคนต่างความคิดห้ามกันยาก เจตนาโยมดีแล้วเรื่องการช่วยเหลือสงเคราะห์ ก็ขออนุโมทนา สาธุ
     
  6. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    [​IMG]

    การปล่อยวาง

    โดย
    หลวงพ่อชา สุภัทโท



    โยม ไม้อันที่อาตมาถืออยู่นี่นะ มันสั้น หรือว่า มันยาว?

    โยม ไม้อันนี้ธรรมชาติแท้ ๆ ของมันมีแค่นี้ เท่านี้ ... มันไม่สั้น และก็ไม่ยาว

    โยม ความต้องการที่จะให้ไม้นี้มันสั้นเข้า หรือยาวออก นั่นแหละ "ทุกข์"
    ทุกสิ่งทุกอย่าง ถ้าเรายอมตามธรรมชาติที่มันเป็นอยู่ ยอมที่ไหน ทุกข์ก็ไม่เกิดที่นั่น

    สมมุติว่าวันนี้ โยมหาเงินได้ ๑๐๐ บาท ธรรมชาติของมันแค่ ๑๐๐ บาท
    จะอยากให้ได้มากกว่านั้น...ก็ไม่ได้
    จะอยากให้ได้น้อยกว่านั้น...ก็ไม่ได้
    หาได้ ๕๐ บาท ธรรมชาติของเขาก็แค่นั้น
    หาไม่ได้เลย ธรรมชาติของมันก็เท่ากับหาไม่ได้เลย
    ยอมตามธรรมชาติที่มันเป็นทุกอย่าง ทุกแห่ง ทุกข์ก็ไม่เกิด

    ธรรมะอย่างนี้ปฏิบัติที่ไหนก็ได้ เวลาใดก็ได้
    ใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้ ปฏิบัติเมื่อไหร่ ที่ไหน...ทุกข์ก็ไม่เกิดเมื่อนั้น ที่นั่น

    โยม อีกอย่างหนึ่ง สมมุติว่าถ้าเราจะปลูกต้นไม้
    อันดับแรก เราต้องเตรียมดินให้ดี ขุดหลุมกว้างเมตร ลึกเมตร
    คลุกดินด้วยปุ๋ยคอกอย่างดี แล้วจึงปลูกต้นไม้ลงไป
    เมื่อปลูกแล้ว เราต้องคอยดูแล โดยหมั่นรดน้ำ พรวนดิน ดายหญ้า และล้อมรั้วกันอันตรายให้

    หน้าที่ของเรามีเพียงแค่นี้ ทำให้ครบ ทำให้ดีที่สุด
    ส่วนผลที่ต้นไม้จะให้นั้น บางชนิด ๑ ปีให้ผล
    บางชนิด ๓ ปี ๕ ปี ๑๐ ปี
    นั่นเป็นเรื่องของเขา เป็นเรื่องของต้นไม้เขาเอง

    โยม อย่าลืมนะ หน้าที่ของเรานั้น
    ทำเหตุให้ดีที่สุดเท่านั้น ส่วนผลที่จะได้รับเป็นเรื่องของเขา
    ถ้าเราดำเนินชีวิต โดยมีการปล่อยวางเช่นนี้แล้ว ทุกข์ก็ไม่รุมล้อมเรา

    ธรรมะอย่างนี้...ใคร ๆ ก็ปฏิบัติได้
    ปฏิบัติที่ไหนก็ได้ ปฏิบัติเมื่อไรก็ได้


    http://www.dhammakaya.org/forum/index.php?topic=733.0
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 9 พฤศจิกายน 2012
  7. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101


    [​IMG]

    ไม่ฉลาดรักษาใจ จึงกวัดแกว่งไปตามอารมณ์

    โดย
    หลวงพ่อชา สุภัทโท



    เปรียบน้ำฝน มันเป็นน้ำที่สะอาด มันจะมีความใสที่สะอาดปกติดี
    ถ้าหากเราเอาสีเขียว สีเหลืองใส่เข้าไป
    น้ำมันก็เป็นสีเหลือง สีเขียว

    จิตใจเรานี้เช่นกัน ฉันนั้น
    เมื่อมันถูกอารมณ์ที่ชอบใจ ใจมันก็สบาย
    ถูกอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ ใจมันก็ไม่สบาย

    เหมือนกับใบไม้ ที่มันถูกลม มันก็กวัดแกว่ง เอาแน่นอนไม่ได้
    ดอกไม้ ผลไม้ มันก็ถูกลมเหมือนกัน ถูกลมมาพัด มันก็ตกไปเลย ไม่มีสุก

    จิตใจมนุษย์เรานี้ก็เหมือนกัน
    ถูกอารมณ์มาพัดไป ถูกอารมณ์มาฉุดไป มาดึงไป ตกไป
    ก็เหมือนกันกับผลไม้
     
  8. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101


    "อ่านธรรมะของหลวงพ่อชาแล้ว วันนี้แนะนำให้เก็บเหรียญของท่านรุ่นนึง เหรียญรุ่นนี้ในตลาด ยังไม่แพงมากนัก ร้อยสองร้อยก็ได้แล้ว ผมเองยังหาเก็บไว้เป็นที่ระลึกไว้เรียบร้อยแล้วเช่นกัน

    เหรียญรุ่นนี้เมื่อทราบถึงองค์ผู้เสกแล้วรับรอง ซี๊ดซ๊าดอีกเช่นเคย เพราะอริยสงฆ์แต่ละรูปที่ได้เข้าร่วมพิธีนี้ เรียกว่าเป็นระดับ "สุดยอดพ่อแม่ครูอาจารย์" ทั้งนั้น ทีนี้มาดูกัน เหรียญรุ่นนี้ ใครเสกบ้าง

    สมเด็จพระญาณสังวร พระสังฆราชเป็นองค์ประธานในพิธี และ
    คณาจารย์ผู้เรืองวิทยาคม 49 รูป ร่วมปลุกเสก อาทิเช่น

    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
    หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง
    หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง
    หลวงพ่ออุตตมะ วัดวังวิเวการาม
    หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
    หลวงปู่ดุลย์ วัดบูรพาราม
    หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม
    หลวงพ่อสมชาย วัดเขาสุกิม
    หลวงปู่ฝั้น อาจาโร


    นี่แค่ตัวอย่างน๊ะครับ ของจริงอีกเพียบ ตามไปขุดเอาเองก็แล้วกัน เหรียญรุ่นนี้มีดีหลายอย่าง เช่น มีพระบรมรูปของในหลวง พิธีการดี องค์ผู้เสกดี และสร้างในวาระที่ดี แต่ระวังนิดนึง เหรียญนี้มีปลอมแล้วด้วย ยังไงๆ ก็ลองดูจากรูปที่ผมนำมาลงก่อนก็แล้วกันครับ อันนี้แท้แน่นอน อ้อ...ลืมบอกไป เหรียญนี้เรียกว่าเหรียญ " เหรียญ 4 รอบ ในหลวง" ครับ ลองดูรูปกันเลยครับ


    [​IMG]
     
  9. SilentSoar

    SilentSoar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    481
    ค่าพลัง:
    +2,384
    แจ้งโอนเงินทำบุญครับ ^_^ 100 บาท

    โอนเงินต่างธนาคาร - สถานะการทำรายการ
    สถานะการทำรายการ ธนาคารได้ทำรายการของท่านเรียบร้อยแล้ว
    หมายเลขอ้างอิง KBKR121115225621804
    รายละเอียดการทำรายการ
    วิธีโอนเงิน ออนไลน์ (ตลอด 24 ชั่วโมง)

    ธนาคารเจ้าของบัญชี ธนาคาร กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน)
    เพื่อเข้าบัญชี 348-1-23245-9 ศ. ทุนนิธิสงเคราะห์สงฆ์อาพาธ อ.ประถม อาจสาคร
    ชื่อเจ้าของบัญชีในฐานข้อมูล PRATOM F.
    จำนวนเงิน (บาท) 100.00
    ค่าธรรมเนียม (บาท) 25.00
    วันที่โอนเงิน 15/11/2012 [16:58:15]
    บันทึกช่วยจำ ร่วมทำบุญและร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ รวมถึงร่วมทำบุญทุกอย่าง รวมร่วมบุญจำนวน 100 บาท




    แจ้งโอนเงินทำบุญครับ ^_^ 100 บาท

    ร่วมทำบุญและร่วมเป็นเจ้าภาพทำบุญสงเคราะห์พระภิกษุสงฆ์อาพาธ
    รวมถึงร่วมทำบุญทุกอย่าง
    รวมร่วมบุญจำนวน 100 บาท

    และขอร่วมทำบุญเป็นสังฆทาน และเพื่อชำระหนี้สงฆ์ นับตั้งแต่อดีตชาติถึงปัจจุบันชาติ
    ขออนุโมทนาบุญ ทั้งหลายทั้งปวงให้พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ พรหม เทพ เทวดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลาย ครูบาอาจารย์ทั้งหลาย เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่มีตั้งแต่ต้น บิดามารดาของข้าพเจ้าทั้งชาตินี้และทุกๆชาติ
    พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆพระองค์
    พระโพธิสัตว์ทุกๆพระองค์ พระยายมราช เจ้าการบัญชี ลุงพุฒิ
    พระศรีอารียเมตไตรย และสมเด็จองค์ปฐมอันเป็นที่สุด

    ขอให้ข้าพเจ้ามีความสุขสมหวังในเรื่องความรักทุกประการ นับตั้งแต่บัดนี้ตลอดเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    ขอให้ข้าพเจ้ามีดวงตาเห็นธรรม และเป็นคนดีนับตั้งแต่บัดนี้ตลอดเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    ขอให้ ความไม่มี ความไม่รู้ และความไม่ได้ จงอย่าได้บังเกิดกับข้าพเจ้านับตั้งแต่บัดนี้ตลอดเท่าเข้าสู่พระนิพพานด้วย เถิด สาธุ สาธุ สาธุ ...

    ขอร่วมอนุโมทนาบุญกับผู้ร่วมทำบุญทุกท่านด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ...
    อนุโมทนาบุญครับ,
    SilentSoar
     
  10. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    ธรรมบรรยายอบรมสมาธิ
    ณ วัดป่าคลองกุ้ง อ.เมือง จ.จันทบุรี
    เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม ๒๔๙๖
    โดย
    พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์
    (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
    วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

    [​IMG]

    "สังขาร" แปลว่า "ความปรุงแต่ง"
    เราจำเป็นจะต้องเีรียนรู้ในเรื่องของสังขารให้รู้แ้จ้งเห็นจริง
    และรู้เท่าทันมันด้วย

    "สังขารโลก" ได้แก่ ลาภ ยศ สรรเสริญ
    ความปรุงแต่งอันนี้เกิดแล้วย่อมเสื่อมไป

    "สังขารธรรม" ได้แก่ ตัวเราเอง คือ ธาตุ ขันธ์ อายตนะ
    เกิดแล้วก็เสื่อมไปเช่นเดียวกัน ฉะนั้นเมื่อเรามีให้รีบใช้ให้เกดประโยชน์เสีย
    มิฉะนั้นมันจะกลับมาฆ่าเราเอง

    "สังขารธรรม" ก็อาศัยความปรุงแต่งส่งอาหารไปเลี้ยง
    เช่น ข้าวก็บำรุงธาตุดิน พริก บำรุงธาตุไฟ
    ขิง ข่า กระเทียม ไพล บำรุงธาตุลม

    สังขารนี้แบ่งออกเป็นสอง คือ รูปธรรม กับ นามธรรม
    ถ้าเราไม่ดัดแปลงแก้ไขมัน ก็เป็น "ธรรม" อยู่เฉยๆ
    ถ้าเราตกแต่งขัดเกลา มันก็สูงขึ้น ดีขึ้น
    เหมือนก้อนดินที่เรารู้จักใช้ ก็อาจมาทำเป็นหม้อหุงข้าวต้มแกงได้
    สูงขึ้นกว่าหม้อก็ทำเป็นกระเบื้องสำหรับมุงหลังคา
    ถ้าเราเคลือบสีด้วยก็ยิ่งมีราคาขึ้นอีก
    ทั้งนี้แล้วแต่ใครจะมีปัญญารู้จักดัดแปลงของนั้นๆก็จะมีราคาสูงขึ้นกว่าเดิม

    "ตัวเรา" เปรียบเหมือนต้นไม้
    "ความยึดถือ" คือ เถาวัลย์
    ถ้าเรายินดีในรูป มันก็มัดตา
    ยินดีในเสียงมันก็มัดหู ฯลฯ
    ยินดีในธัมมารมณ์ มันก็มัดใจ
    เมื่อเราถูกมันมัดทั้งหมด เราก็ต้องตาย
    บางคนตายไม่ทันใจ ยังต้องมัดคอตัวเองก็มี

    "ผู้ไม่มีความยึดถือ" ย่อมจะเข้าถึง "พุทธะ" มีอายุยืนไม่ตาย
    พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานมาตั้งสองพันกว่าปี
    คนก็ยัง "สาธุ สาธุ" อยู่
    พระองค์ไม่ตอ้งการในวัตถุหรืออามิสใดๆ ตอบแทนเลย
    นอกจาก "ปฏิบัติบูชา"
    เหมือนกับตัวอาตมาเอง ก็ไม่อยากได้อะไรเป็นส่วนตัวเลย
    นอกจากจะมุ่งให้คนอื่นดีแท้ๆ
    ต้องการให้เขาทำจิตใจให้เป็นสมบัติของเขาเอง

    คนที่ไม่ทำหัวคันนาไว้ให้ดี น้ำก็จะพัดเข้านาพังหมด
    เรียนแล้วไม่ปฏิบัติ ไม่มีเครื่องมือพอ กิเลสมาตึงเดียวก็ล้มพินาศหมด
    จึงให้หมั่นหัดทำไว้บ่อยๆ จะได้เป็นนิสัย ตัวก็เบา ใจก็เบา
    ใครมาบอกบุญก็ไม่หนักอกหนักใจ ไม่กลัวยากกลัวจน

    "พรหม ๔ หน้า" คือ "เมตตา" ได้แก่ "ปฐมฌาณ"
    "กรุณา" ได้แก่ "ทุตยฌาณ"
    "มุทิตา" ได้แก่ "ตติยฌาณ"
    "อุเบกขา" ได้แก่ "จตุตถฌาณ"
    แต่เหล่านี้ก็เป็นเพียงกระพี้หรือเปลือก
    ต้องทำให้สุดยอดถึงจะถึงแก่น คือ "พระนิพพาน"

    ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมสำเร็จที่ใจ ไม่ใช่ปฏิบัติที่ภายนอก
    คือ ตา หู จมูก ปาก มือ เท้า ศีล บริสุทธิ์ก็พ้นทุกข์กาย
    สมาธิ พ้นทางวาจาไม่ต้องพูดพล่าม สงบปากสงบคอ
    ปัญญา พ้นทุกข์ใจ

    "ความยึดถือ" เป็นเหตุให้เกิดทุกข์โทษภัย
    ผู้ไม่มีปัญญาย่อมเห็นสังขารเป็นตัวเป็นตนและยึดถือไว้ไม่ปล่อยวาง

    "สติ" คือ ตัว "มรรค"
    จะอยู่ในอารมณ์ดีหรือชั่วก็ตาม ขอให้มีสติอยู่เป็นใช้ได้

    จิตที่พ้นโลก คืออยู่เหนือเหตุเหนือผล หมายถึงอารมณ์ ๕ ด้วย

    ร่างกาย เป็นผู้ไม่รับทุกข์รับสุขอะไรกับเราด้วยเลย
    ตัวจิตผู้เดียวเป็นผู้รับ เหมือนคนที่เอามีดไปฟันเขาตาย
    เขาจะไม่จับมีดลงโทษ แต่เขาจะต้องจับคนที่ฆ่าไป

    "กายสุข" ระงับเวทนา "ใจสุข" ระงับนิวรณ์



    คัดลอกจากหนังสือ
    แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑
    พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร วัดอโศการาม
    โดย ชมรมกัลยาณธรรม
    ลี ธมฺมธโร. แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑. พิมพ์ครั้งที่ ๑.
    กรุงเทพฯ : ขุมทองอุตสาหกรรมการพิมพ์, ๒๕๕๒. หน้า ๘๕-๘๙
     
  11. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    บุพกรรมในกาลก่อนที่ทำให้
    พระอริยเจ้าทั้ง ๕ องค์ต้องเครื่องบินตก
    โดย หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง จ.เลย


    หลวงปู่หลุย จันทสาโร เมตตาเล่าให้ฟังถึงบุพกรรมในกาลก่อน ที่ทำให้พระอริยเจ้าพระป่ากัมมัฏฐานศิษย์สายท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ทั้ง ๕ องค์ (คือ หลวงปู่บุญมา ฐิตเปโม วัดสิริสาลวัน อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู, หลวงพ่อวัน อุตฺตโม วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม อ.ส่องดาว จ.สกลนคร, พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคิรีวิหาร อ.ศรีวิไล จ.บึงกาฬ, พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร วัดป่าแก้วชุมพล อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร และ พระอาจารย์สุพัฒน์ สุขกาโม วัดป่าประสิทธิ์สามัคคี อ.สว่างแดนดิน จ.สกลนคร) ต้องประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตก กระทั่งเป็นเหตุทำให้มรณภาพลงพร้อมกัน

    ในอดีตชาติที่นานเนมาแล้ว ท่านทั้ง ๕ เกิดในสกุลชาวนาที่ยากจน ต้องขวนขวายหาเลี้ยงชีพไปวันๆ ทั้งห้าคนเป็นเพื่อนที่คุ้นเคยกันมา เมื่อยังเด็กได้จูงควายออกไปเลี้ยงพร้อมกัน ผูกควายกันแล้วก็พากันเล่นและออกหากบเขียดไปเป็นอาหารประสาจน

    ทีนี้ ๑ ใน ๕ เกิดไปเห็นรังนกเข้า ก็ช่วยกันหาไม้เขี่ยรังนกให้ตกลงมาเพื่อหวังเอาไข่นกไปกิน แต่เมื่อรังนกตกลงมากลับกลายเป็นลูกนก ๓ ตัวแล้วตายสิ้น ไม่ใช่ไข่นกดังที่เข้าใจ

    ด้วยวิบากกรรมอันนี้ส่งผลให้ท่านทั้ง ๕ ต้องตกจากที่สูงมามรณภาพ

    ในเครื่องบินลำนั้นมีคุณหญิงท่านหนึ่งกลับจากไปปฏิบัติธรรมกับท่านพระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ มาด้วย ท่านเลยมาสิ้นชีวิตพร้อมกัน

    ในอดีต ขณะที่เด็กชายทั้ง ๕ กำลังเขี่ยรังนกอยู่นั้น เด็กหญิงลูกชาวนาผู้เป็นน้องสาวของ ๑ ใน ๕ คนก็มายืนเชียร์อยู่ข้างๆ “จะหล่นแล้ว...จะหล่นแล้ว”

    โดยเธอไม่ได้ลงมือทำ

    เด็กหญิงในภพนั้นคือคุณหญิงในภพนี้ (น่าจะหมายถึงคุณหญิงไขศรี ณ ศีลวันต์ ภรรยาของ ดร.เชาว์ ณ ศีลวันต์ องคมนตรี ซึ่งได้เสียชีวิตเพราะประสบอุบัติเหตุเครื่องบินตกในครั้งนี้ด้วย - สาวิกาน้อย)

    ก็เพียงมีจิตคิดยินดีในการประกอบอกุศลกรรมของผู้อื่น วิบากนั้นยังส่งผลมาให้เกิดในภพชาติเดียวกัน บันดาลให้ไปตกเครื่องบินพร้อมกัน

    แล้วถ้าทำเองเล่า

    ถึงตรงนี้ หลวงปู่หลุยก็สั่งว่า อย่าไปยินดีในการทำชั่วของคนอื่น เพราะเราจะมีส่วนในบาปนั้นด้วย แต่ให้ยินดีในการประกอบคุณงามความดีของตนและของคนอื่น เพราะจะได้แต่บุญโดยฝ่ายเดียว


    :b8: ที่มาของข้อมูล...
    Home Main Page
     
  12. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101


    สืบหาพระเครื่องดีวันนี้ รู้สึกมึนๆ กับการโพสท์ข้อความในกระทู้นี้มาก เพราะใช้ fire fox/google crome แล้ว ตอนโพสท์ตกแต่งตัวหนังสือ หรือโพสท์ภาพ ทำได้ลำบากมาก ทำให้เมื่อคืนนี้ไม่สามารถ upload ข้อมูล ขึ้นมาได้

    สำหรับสืบหาพระเครื่องดีในวันนี้ ขอนำเสนอเรื่อง ของอริยสงฆ์เจ้ารูปหนึ่ง ซึ่งครูอาจารย์ของผมท่านบอกว่า องค์นี้ท่านเป็นโพธิสัตว์น๊ะ หากเจอของๆ ท่านให้หามาเก็บไว้ ตามเคยครับ ก็เลยแนะนำมาให้รู้จักกันไว้ เหรียญของท่านในตอนนี้ ไม่แพงครับ เป็นเหรียญประเภทท้องถิ่นนิยม แต่ขึ้นชื่อว่าโพธิสัตว์แล้ว เหรียญนี้ ผู้แขวนก็สามารถบอกกล่าวขอให้ท่านช่วยในเรื่องที่ติดขัดได้เช่นกัน สำหรับผมเองนั้น ก็เก็บเหรียญของท่านไว้แล้วเช่นกัน

    อริยสงฆ์ที่จะแนะนำในวันนี้ก็คือ "หลวงพ่อสงฆ์" แห่งวัดเจ้าฟ้าศาลาลอย จ.ชุมพร ครับ ประวัติของท่านขนาดไหน อ่านดูเอาเอง ผมลิงค์มาให้แล้ว เห็นพระประจำถิ่นอย่างนี้ แต่ท่านปฏิบัติดีปฏิบัติชอบมาก่อน ดังนั้น เจอเหรียญของท่านแล้ว เก็บไว้เถอะครับ ของปลอมยังมีน้อยครับ แนะนำเพียงแค่นี้ล่ะ ไว้สัปดาห์หน้าเจอกัน ช้ากว่าวันศุกร์บ้าง ก็อย่าเพิ่งว่ากัน เพราะข้อมูลที่นำมาเสนอนี้เป็นของจริง ต้องค่อยๆ เรียบเรียงจากครูอาจารย์ แล้วนำมาลงให้อ่าน ผิดพลาดทักท้วงกันได้ครับ

    ขอสวัสดี

    พันวฤทธิ์
    17/11/55


    [​IMG]

    http://www.dharma-gateway.com/monk/monk_biography/lp-song/lp-song-hist-02-03.htm
     
  13. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    [​IMG]

    จงรักษาใจ..ให้เหมือน "นาฬิกา

    เพราะหน้าที่ของนาฬิกา...
    คือ..การอยู่กับปัจจุบันขณะ..
    ด้วยสัจจะ และความเที่ยงตรง..

    ปากอย่าไว...ใจอย่าเบา
    เรื่องเก่าอย่าไปรื้อฟื้น...
    เรื่องอื่นอย่าไปคิด...
    กิจที่ชอบในปัจจุบัน...ให้รีบทำ

    ในยามที่เราพบกับความยุ่งยาก ต้องพึ่งพาความเยือกเย็น
    ค่อยๆ ย้อนลงไปแยกแยะสาเหตุแห่งปัญหา ที่ทำให้เราเร่าร้อน

    เราจะเอาชนะความยุ่งยากของชีวิตได้
    ด้วยการเอาชนะความวิตกกังวลที่เกิดขึ้นในใจของเราเสียก่อน

    จงมองดูความวิตกกังวลของตนเอง มองดูว่ามันทำให้เราเอาชนะปัญหาของเรา
    หรือมันทำให้เราหมดพลัง และพ่ายแพ้

    ปัญหาต่าง ๆ ของชีวิตผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ความทุกข์ยากที่เราคิดว่ามันแสนสาหัส
    สำหรับเราในวันนี้ ในวันข้างหน้าเราอาจรู้สึกว่ามันเป็นเรื่องเล็กน้อย..

    ความรู้สึกตัว...ที่เกิดขึ้นมาทีละขณะนั้นก็ไม่ต่างอะไรกับหยดน้ำ
    ที่เรากำลังสะสมทีละหยด..ทีละหยด

    น้ำหนึ่งหยดนั้น..อาจดูเหมือนทำอะไรไม่ได้มาก
    แต่เมื่อจากหนึ่งเป็นสอง..สองเป็นสิบ..สิบเป็นร้อย..มากเข้า ๆ
    และเราก็ยังสะสมต่อไปเรื่อย ๆ น้ำหนึ่งหยดก็จะกลายเป็นน้ำหนึ่งถัง
    ..และเป็นน้ำจำนวนมหาศาลที่สามารถสร้างพลังงาน
    สร้างสรรค์ประโยชน์เพิ่มเป็นทวีคูณในไม่ช้า

    เช่นกันกับ..ความรู้สึกตัว..ที่เมื่อเราสะสมจนมีความต่อเนื่องมากพอ
    ความรู้สึกตัวนี้..ก็จะมีพลังทำให้เราค้นพบชีวิตที่เป็นอิสระ
    สามารถอยู่ร่วมกับความรู้สึกต่าง ๆ ได้โดยไม่เจ็บปวด
    หรือโดนทำร้ายเหมือนที่เคยเป็น

    ๑ ปี เอาเหล็กมาขัดสนิมหนึ่งครั้ง ซ้ำยังไม่ขัดถึงที่สุด..
    ไม่ทำถึงจุดที่จะไม่เกิดสนิมสืบต่อไป เหล็กจะวาวขึ้นมาได้อย่างไร??
    การขัดเกลาตนของนักปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน..
    และสนิมเหล็กเกิดจากเนื้อในเหล็ก กัดกร่อนทำลายเหล็ก ฉันใด..
    สนิมใจเกิดจากเนื้อในใจ กัดกร่อนทำลายใจ ฉันนั้น.
     
  14. kongpak

    kongpak เลื่อมใสอย่างยิ่งในตถาคต ถึงที่สุดโดยส่วนเดียว

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กันยายน 2009
    โพสต์:
    802
    ค่าพลัง:
    +6,118
    กราบขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้ครับ

    จะมีการทำลายพระพุทธรูปสำคัญในอัฟกานิสถานโดยประธานาธิบดีของประเทศนั้น

    โปรดช่วยกันลงนามเพื่อปกป้องสัญลักษณ์ทางพระพุทธศาสนาที่สำคัญนี้ด้วยกันครับ
    http://www.change.org/petitions/president-hamid-karzai-prevent-destruction-of-ancient-site-of-mes-aynak-the-environmental-damage-3?utm_campaign=friend_inviter_modal&utm_medium=facebook&utm_source=share_petition&utm_term=34478169

    ทำบุญทำนุบำรุงพระพุทธศาสนากันมาแล้ว ขอได้ช่วยปกป้องพระพุทธศาสนากันเถิดครับ ช่วยกันนะครับ
     
  15. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    กิจกรรมที่ รพ.สงฆ์ ประจำเดือนนี้คือวันที่ 25 พฤศจิกายน 2555 โดยนัดพบเพื่อจัดเตรียมสังฆทานอาหารที่โรงอาหารด้านข้าง รพ.สงฆ์ในเวลา 7.30 น.-8.00 น. เหมือนเช่นเคย

    จึงขอแจ้งให้ผู้ที่สนใจได้ทราบทั่วกัน โดยผมและกรรมการของทุนนิธิฯ ได้เบิกเงินจากบัญชีของทุนนิธิฯ และจะได้ทยอยบริจาคไปยัง รพ.ต่างๆ โดยมีรายละเอียดการบริจาคสำหรับเดือนพฤศจิกายน 2555 ดังนี้

    1 รพ.สงฆ์

    - ถวายค่าสังฆทานอาหาร 6,000.- (ประมาณการพระสงฆ์ไว้200 รูป โดยจะถวายเป็นอาหารกล่องๆ ละ 30.-)
    - ถวายค่าเวชภัณฑ์ส่วนกลาง 5,000.-
    - ถวายค่าโลหิต 5,000.-

    รวม 16,000.-

    2 รพ.ภูมิภาค

    - รพ.แม่สอด จ.ตาก 8,000.-
    - รพ.สมเด็จพระยุพราชปัว 5,000.- จ.น่าน
    - รพ.สมเด็จพระยุพราชด่านซ้าย 8,000.- จ.เลย
    - รพ.มหาราช จ.เชียงใหม่ 5,000.- (ผ่านบัญชีทุนนิธิสงฆ์ของรพ.มหาราชเอง)
    - รพ.ศรีนครินทร์ จ.ขอนแก่น 8,000.-(ผ่านบัญชีกองทุนหลวงปู่เทสก์ เทสรังสี)
    - รพ.50 พรรษาฯ จ.อุบล 5,000.-
    - รพ.สงขลา จ.สงขลา 8,000.-
    - รพ.ปัตตานี จ.ปัตตานี 5,000.-

    รวม 52,000.-

    รวมประมาณการเงินบริจาคของทุนนิธิฯ ตามข้อ 1.+2.+ = 68,000.- (หกหมื่นแปดพันบาทถ้วน)
    จึงเรียนมาเพื่อทราบครับ

    พันวฤทธิ์
    19/11/55
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 พฤศจิกายน 2012
  16. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    “พรหมวิหาร” ธรรมวินัยของพระอริยเจ้า โดย สมเด็จพระสังฆราช
    --------------------------------------------------------------------------------


    คำนำ

    สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ทรงพระราชปรารถว่า พรหมวิหาร ๔ เป็นหลักธรรมที่จะก่อให้เกิดความสงบสุขแก่โลก โดยเฉพาะเมตตาเป็นเครื่องค้ำจุนโลก สามารถฝึกหัดและปฏิบัติได้โดยไม่มีขอบเขตและสิ้นสุด ส่วนกรุณาเป็นเครื่องประกอบตามกำลังสามารถของแต่ละบุคคล จึงทรงอาราธนาสมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒโน) วัดบวรนิเวศวิหาร ให้เรียบเรียงขึ้นในแนวความโดยพระราชประสงค์ และได้พระราชทานพระราชานุญาตให้คณะกรรมการจัดสร้าง ส ว ธรรมนิเวศ พิมพ์ขึ้นในโอกาสเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิด ส ว ธรรมนิเวศ เมื่อวันที่ ๙ กุมภาพันธ์ ๒๕๑๙ ครั้งหนึ่งแล้ว เพื่อให้หนังสือเรื่องนี้แพร่หลายมากขึ้นอีก จึงทรงพระกรุณาโปรดให้จัดพิมพ์ในโอกาสขึ้นปีใหม่ พุทธศักราช ๒๕๒๐

    วัง สระปทุม
    มกราคม ๒๕๒๐

    พรหมวิหาร ๔

    เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ๔ ประการนี้ พระบรมศาสดาทรงแสดงว่าเป็นคุณธรรมสำหรับเป็นที่อยู่ของจิตใจแห่งพรหม คือผู้ใหญ่หรือผู้ประเสริฐ ทรงเรียกคุณธรรมนี้ว่าพรหมวิหาร เป็นธรรมเป็นที่อยู่ซึ่งมีทั้งความดีและความสุข

    เมตตา

    คือภาวะของจิตที่มีเยื่อใยไมตรีจิตมิตรใจคิดเกื้อกูลด้วยสุขประโยชน์ ปราศจากอาฆาตพยาบาทขึ้งเคียดโกรธแค้น แสดงออกทางสีหน้าและสายตาที่สงบแช่มชื่น มองดูด้วยสายตาอันแสดงถึงใจที่เอิบอาบด้วยปรารถนาดีให้มีความสุข ปราศจากความมุ่งร้ายที่เป็นภัยเวรทั้งปวง เมตตานี้เป็นพรหมวิหารธรรมข้อหนึ่งที่พึงอบรมให้มีขึ้นในจิต วิธีอบรมคือ ระวังใจมิให้โกรธแค้นขัดเคืองอาฆาตพยาบาท เมื่อภาวะของจิตเช่นนั้เกิดขึ้น ก็พยายามสงบระงับเสีย หัดคิดว่าตนเองรักสุข ต้องการความสุขฉันใด คนอื่นสัตว์อื่นทั้งปวงก็ฉันนั้น และตนเองปรารถนาสุขแก่คนซึ่งเป็นที่รักที่พอใจฉันใด ก็ควรปรารถนาแก่สุขคนอื่นสัตว์อื่นฉันนั้น เมื่อทำความสงบอาฆาตพยาบาทและทำไมตรีจิตมิตรใจให้เกิดขึ้นได้แล้ว ก็หัดแผ่จิตเช่นนี้ออกไปแก่คนอื่นสัตว์อื่นโดยเจาะจงหรือโดยไม่เจาะจงทั่วไป ด้วยใจที่คิดปรารถนาสุขประโยชน์ดังเช่น คิดว่า “จงอย่ามีเวร อย่ามีเบียดเบียน อย่ามีทุกข์ มีสุขรักษาตนให้สวัสดีเถิด”

    อันที่ จริง ภาวะของจิตที่มีความรักใคร่ปรารถนาให้เป็นสุข ย่อมมีอยู่ในตนและในคนที่เป็นที่รักอยู่เป็นปรกติ แต่ยังเจือด้วยราคะสิเนหาอยู่บ้าง เจือด้วยอาฆาตพยาบาทในผู้อื่นสัตว์อื่นบ้าง นี้จึงนับว่าเป็นภาวะของจิตที่เป็นสามัญธรรมดาพระบรมศาสดาทรงสั่งสอนธรรม ก็คือทรงสั่งสอนให้ปรับปรุงสิ่งที่มีอยู่เป็นสามัญธรรมดานี้แหละให้เป็นธรรม คือเป็นคุณเกื้อกูลขึ้นมา คือให้ปรับปรุงความรักใคร่ปรารถนาสุขดังกล่าวให้เป็นคุณอันบริสุทธิ์ที่ เกื้อกูลกว้างขวางออกไป มิให้คับแคบเฉพาะตนและคนซึ่งเป็นที่รักในวงแคบของตนหรือจำเพาะพวกของตน แต่ให้แผ่กว้างออกไปตลอดจนถึงไม่มีจำกัดไม่มีประมาณ และให้ปราศจากอาฆาตพยาบาท ทั้งให้บริสุทธิ์จากราคะสิเนหาด้วย เพราะว่าอาฆาตพยาบาทเป็นศัตรูที่ห่างของเมตตา ราคะสิเนหาเป็นศัตรูที่ใกล้ของเมตตา ความรักใคร่ที่เป็นสามัญธรรมดาของโลกย่อมเจือด้วยสิ่งทั้งสองนี้ ส่วนที่เป็นเมตตาอันบริสุทธิ์ย่อมปราศจากสิ่งทั้งสองนั้น ทางปฏิบัติอบรมก็ต้องอบรมสิ่งที่มีอยู่เป็นธรรมดาของโลกนี้แหละให้เป็นธรรม ขึ้นมา และก็ย่อมเป็นเครื่องคุ้มครองโลก ดังภาษิตที่ว่า “โลโกปตฺถมฺภิกา เมตฺตา เมตตาเป็นธรรมเครื่องคุ้มครองโลก” ดังนี้ ฉะนั้น จึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสสสอนไว้ ให้ยกตนเป็นพยานหรือเป็นอุปมาแปลความว่า “ตนเองคิดค้นหาด้วยใจไปทั่วทุกทิศ ก็ไม่พบว่าใครจะเป็นที่รักไปกว่าตนในที่ไหนๆ ตนของคนอื่นทั้งหลายก็เป็นที่รักมากของเขาเหมือนอย่างนั้น เพราะเหตุนั้นผู้ที่รักตนจึงไม่ควรเบียดเบียนผู้อื่น” และให้ยกคนที่เป็นที่รักเป็นอุปมาว่า “พึงแผ่จิตถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยเมตตาเหมือนอย่างเห็นคนผู้เป็นที่รักเป็นที่ ชอบใจแล้วเกิดไมตรีจิตมิตรใจรักใคร่ ฉะนั้น” พระอาจารย์จึงจับความมาสอนว่า ให้หัดแผ่เมตตาเข้ามาในตนเองก่อน แล้วจึงแผ่ไปในคนอื่นตั้งแต่คนที่เป็นที่รัก เพราะจะแผ่ไปง่าย แล้วจึงแผ่ไปในคนที่เป็นกลางๆ แล้วจึงแผ่ไปในคนที่เป็นศัตรูไม่ชอบใจกันและให้เว้นคนที่จะก่อให้เกิดราคะ สิเนหากับคนที่ตายไปแล้ว การแผ่เข้ามาในตนเอง ท่านอธิบายว่า เพราะจะต้องมีตนเป็นพยานอ้างอิงดังกล่าวข้างต้น พิจารณาดูก็จะเห็นได้ว่า ตนเองจะต้องมีสุขเพราะมีจิตใจสงบจากอาฆาตพยาบาทเสียก่อน อาฆาตพยาบาทนั้นเหมือนอย่างไฟที่เผาใจตนเองให้ร้อน และแผ่ความร้อนออกไปถึงคนอื่นด้วย ฉะนั้น ตนเองจึงเป็นบุคคลที่ควรเมตตาและแผ่เมตตาเข้ามาดับไฟที่เผาใจนี้ลงเสียก่อน ประพรมลงไปด้วยน้ำ คือ เมตตา ซึ่งจะเปลี่ยนจิตใจจากภาวะที่ร้อนมาสู่ภาวะที่เย็นสนิทด้วยมิตรภาพไมตรี เมตตาจึงเป็นธรรมเครื่องทำใจตนเองให้อยู่เย็นเป็นสุข และแผ่ความเย็นความสุขออกไปถึงผู้อื่นอีกด้วย

    เมตตาไม่พึงมีขอบเขต ไมพึงมีระยะกาล ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะเช่นไร ณ ที่แห่งใด ในกาลเวลาไหน เมตตาพึงมีได้อย่างเต็มเปี่ยมโดยปราศจากอุปสรรค เพราะเมตตาไม่จำต้องอาศัยทรัพย์สิ่งของ เมตตาเป็นเรื่องของจิตใจโดยบริสุทธิ์แท้ เมื่อมีจิตใจก็มีเมตตาได้ด้วยกันทุกคน และก็พึงมีเมตตาอย่างยิ่งด้วยกันทุกคน เพราะไม่เป็นการต้องลงทุนลงแรงอย่างใดเลย เพียงแต่น้อมใจลงให้อ่อนละมุน ไม่ใจแข็งใจดำ แม้เมื่อรู้เห็นอยู่ว่าเขาเป็นทุกข์ เพียงแต่น้อมใจลงปรารถนาให้เขาเป็นสุขโดยทั่วกันเท่านั้นเองก็เป็นการแสดง เมตตาแล้ว

    กรุณา

    คือภาวระของจิตที่หวั่นไหวไปเพราะความทุกข์ของผู้อื่น เหมือนอย่างถ้าซื้อได้ก็จะซื้อความทุกข์ของเขา คือจะช่วยทำความทุกข์ของเขาให้หมดสิ้นไปจึงมีอาการทนเฉยอยู่ไมได้ ต้องขวนขวายช่วยเหลือเพื่อบำบัดทุกข์ ปราศจากความคิดเบียดเบียนซ้ำเติม เห็นใครตกอยู่ในความทุกข์ไม่มีที่พึ่งก็อดอยู่ไม่ได้ที่คิดต้องช่วย กรุณานี้เป็นพรหมวิหารธรรมอีกข้อหนึ่งที่พึงอบรมให้มีในจิต วิธีอบรมคือ ระวังใจไม่ให้คิดเบียดเบียนใคร และหัดใจให้คิดว่าเมื่อตนเองมีทุกข์ก็ต้องการความช่วยเหลือฉันใด ผู้อื่นสัตว์อื่นก็ฉันนั้น ดังนี้แล้วก็หัดใจให้ไม่นิ่งดูดาย ให้ขวนขวายเปลื้องทุกข์ของผู้อื่นตามความสามารถหรือตามที่ควรจะทำได้ หัดแผ่จิตใจที่กรุณาออกไปแก่คนและสัตว์ทั้งหลาย โดยเจาะจง หรือโดยไม่เจาะจงทั่วไปด้วยความคิดว่า “จงพ้นจากความทุกข์เดือดร้อน”

    อัน ที่จริง ภาวะของจิตใจที่ต้องการความช่วยเหลือในเมื่อมีทุกข์ ย่อมมีอยู่เป็นสามัญธรรมดา แต่ยังเจือด้วยวิหิงสาคือความคิดเบียดเบียนผู้อื่นสัตว์อื่นเพื่อให้ตนพ้น ทุกข์ และยังมีความโศกโทมนัสในเมื่อได้เห็นทุกข์ของคนผู้เป็นที่รัก เพราะเป็นภาวะของจิตใจที่คับแคบ ต้องการให้ตนเองและคนผู้เป็นที่รักของตนพ้นทุกข์เท่านั้น พระบรมครูทรงสั่งสอนให้ปฏิบัติอบรมปรับปรุงภาวะที่มีอยู่แล้วนี้แหละให้เป็น ธรรมขึ้น คือให้เป็นคุณอันบริสุทธิ์ที่เกื้อกูลกว้างขวางออกไป มิให้มีคับแคบเฉพาะตนและผู้ที่ตนรักหรือจำเพาะพวกของตน แต่ให้แผ่กว้างออกไปตลอดจนถึงไม่มีจำกัดไม่มีประมาณ และให้ปราศจากวิหิงสาความคิดเบียดเบียนและให้สงบความโศกโทมนัสในเพราะทุกข์ ของคนเป็นที่รักด้วย เพราะวิหิงสาเป็นศัตรูที่ห่างของกรุณา ส่วนความโศกโทมนัสเป็นศัตรูที่ใกล้ของกรุณา จึงได้มีพระพุทธภาษิตตรัสสอนไว้ให้ยกตนเป็นพยาน หรือเป็นอุปมาเช่นเดียวกับในข้อเมตตาและให้ยกคนตกยากเป็นอุปมาว่า “พึงแผ่จิตถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยกรุณาเหมือนอย่างเห็นคนตกยากมีความลำบาก ก็เกิดกรุณาขึ้น ฉะนั้น” ได้มีพระมหาสมณสุภาษิตแสดงไว้ว่า “มหาปุริสภาวสฺส ลกฺขณํ กรุณาสโห อัธยาศัยที่ทนอยู่ไม่ได้เพราะกรุณา เป็นลักษณะของมหาบุรุษ” ข้อนี้พึงเห็นดังเช่นพระกรุณาที่แสดงเป็นพระคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าและพระ มหากษัตริย์เจ้า

    มุทิตา

    คือภาวะของจิตที่บันเทิงยินดีในเมื่อผู้อื่นได้รับความสุขความเจริญด้วย สมบัติต่างๆ ปราศจากความริษยา เห็นใครพรั่งพร้อมด้วยสมบัติก็พลอยมีมุทิตา ตัดความยินร้าย ไม่ยินดีด้วยเหตุที่ริษยาเสียได้ มุทิตานี้เป็นพรหมวิหารธรรมอีกข้อหนึ่งที่พึงอบรมให้มีขึ้นในจิต วิธีอบรมคือระวังใจมิให้ริษยาในเมื่อได้เห็นได้ทราบสมบัติคือ ความพรั่งพร้อมต่างๆ ของผู้อื่น เมื่อความริษยาเกิดขึ้นก็พยายามระวังเสีย หัดคิดว่าตนเองมีความยินดีเมื่อตนได้สมบัติที่ชอบใจอย่างใดอย่างหนึ่งไฉน เมื่อคนอื่นเขาได้จึงจะไปริษยาเขา ควรจะพลอยยินดีกับเขา พิจารณาให้เห็นโทษของความริษยา เช่นว่า “อรติโลกนาสิกา ความริษยาเป็นเหตุทำลายโลก” เมื่อทำมุทิตาจิตให้เกิดขึ้นได้ ก็หัดแผ่จิตเช่นนี้ออกไปแก่คนอื่นสัตว์อื่นโดยเจาะจงหรือโดยไม่เจาะจงทั่วไป ด้วยความคิดว่า “จงอย่าวิบัติจากสิ่งที่ได้แล้ว”

    อันที่จริง ภาวะของจิตที่ยินดีในเวลาได้สมบัติต่างๆ ย่อมมีอยู่ ในเมื่อตนหรือคนเป็นที่รักได้สมบัติเป็นสามัญธรรมดา แต่ยังเจือด้วยริษยาในเมื่อเห็นคนอื่นได้สมบัติและแม้ในสมบัติที่ตนได้ก็ยัง มีโสมนัสเจือตัณหา พระบรมครูทรงสั่งสอนให้ปรับปรุงภาวะที่มีอยู่แล้วนี้แหละให้เป็นธรรมขึ้น คือให้เป็นคุณอันบริสุทธิ์ที่เกื้อกูลกว้างขวางออกไป มิให้คับแคบเฉพาะตนและผู้ที่ตนรักเท่านั้น แต่ให้กว้างออกไปตลอดถึงไม่มีจำกัด ไม่มีประมาณ โดยให้ปราศจากริษยา ทั้งปราศจากโสมนัสที่เจือกิเลสตัณหาด้วย เพราะว่าริษยาเป็นศัตรูที่ห่างของมุทิตา ส่วนความโสมนัสเป็นศัตรูที่ใกล้ของมุทิตา ฉะนั้น ก็พึงยกตนขึ้นเป็นพยานหรือเป็นอุปมาเช่นเดียวกับในสองข้อข้างต้น และให้ยกบุคคลผู้เป็นที่รักขึ้นเป็นพยานหรือเป็นอุปมา ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสสอนไว้ว่า “พึงแผ่จิตถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยมุทิตาเหมือนอย่างเห็นบุคคลผู้เป็นที่รักเป็น ที่พอใจก็บันเทิงยินดีฉะนั้น”

    อุเบกขา

    คือภาวะของจิตที่มีอาการเป็นกลาง เห็นเสมอกันในสัตว์บุคคลทั้งหลายในคราวทั้งสอง คือในคราวประสบสมบัติและในคราวประสบวิบัติ ไม่ยินดียินร้าย มองเห็นว่าทุกๆ คนมีกรรมที่ทำไว้เป็นของของตน จะมีสุข จะพ้นจากทุกข์ จะไม่เสื่อมจากสมบัติที่ได้ ก็เพราะกรรมจึงวางเฉยได้คือวาง ได้แก่ไม่ยึดถือไว้ วางลงได้ เฉย คือ ไม่จัดแจงวุ่นวายปล่อยให้เป็นไปตามกรรมหรือตามกำหนดของกรรม อุเบกขานี้เป็นพรหมวิหารธรรมอีกข้อหนึ่ง เป็นข้อสุดท้าย ที่พึงอบรมให้มีขึ้นในจิต วิธีอบรมคือระมัดระวังใจมิให้ขึ้นลงด้วยความยินดียินร้าย ทั้งในคราวประสบสมบัติทั้งในคราวประสบวิบัติ เมื่อภาวะของจิตเช่นนั้นเกิดขึ้นก็พยายามระงับใจ หัดคิดถึงกรรมและผลของกรรม หัดคิดวางลงไปให้แก่กรรม เหมือนอย่างให้กรรมรับผิดชอบเอาไปเสีย เมื่อทำจิตให้อุเบกขาได้ก็หัดแผ่จิตเช่นนี้ออกไปแก่คนอื่นสัตว์อื่นโดย เจาะจงหรือโดยไม่เจาะจงทั่วไป ด้วยความคิดว่า “ทุกสัตว์บุคคลมีกรรมเป็นของของตน เป็นทายาทรับผลของกรรม มีกรรมเป็นกำเนิด มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ มีกรรมเป็นที่อาศัย ทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่วก็ต้องรับผลของกรรมนั้น”

    อันที่จริง ภาวะของจิตเป็นอุเบกขานี้ ย่อมมีอยู่เป็นสามัญธรรมดาในเวลาปรกติยังไม่มีอะไรมาทำให้เกิดความยินดี ยินร้าย แต่ยังเจือด้วยความไม่รู้ (อัญญาณ) และจะเปลี่ยนไปเป็นความยินดียินร้ายขึ้นได้โดยง่าย พระบรมครูทรงสั่งสอนให้ปรับปรุงภาวะที่มีอยู่แล้วนี้แหละให้เป็นธรรมขึ้นคือ ให้เป็นคุณอันบริสุทธิ์ที่เกื้อกูลกว้างขวางออกไป มิใช่ในเวลาที่ไม่มีเรื่องอะไรมากระทบจิตเท่านั้น แม้มีเรื่องมากระทบจิตให้ยินดียินร้ายก็ระงับได้ ทำใจให้สงบเป็นอุเบกขาได้ด้วยความรู้ (ญาณ) เพราะว่าความยินดี (ราคะ) และความยินร้าย (ปฏิฆะ) เป็นศัตรูที่ห่างของอุเบกขา ส่วนอุเบกขาด้วยความไม่รู้ (อัญญาณุเบกขา) เป็นศัตรูที่อยู่ใกล้ของอุเบกขา ฉะนั้นก็พึงยกตนขึ้นเป็นพยานหรือเป็นอุปมา ดังเช่นว่าตนไม่ชอบให้ใครอื่นเพ่งเล็งชอบใจอยากได้อะไรของตน และไม่ชอบให้ใครอื่นมาหมายมั่นปองร้านฉันใด ตนก็ไม่ควรจะไปคิดยินดียินร้ายดังนั้นแก่คนอื่น ควรจะมีใจมัธยัสถ์คือเป็นกลางฉันนั้น และให้ยกบุคคลที่เป็นกลางๆ ขึ้นเป็นอุปมา ดังพระพุทธภาษิตที่ตรัสสอนไว้ว่า “พึงแผ่จิตถึงสัตว์ทั้งปวงด้วยอุเบกขา เหมือนอย่างเห็นบุคคลผู้มิใช่เป็นที่ชอบใจ มิใช่เป็นที่ไม่ชอบใจ ก็มีอุเบกขา ฉะนั้น”

    พรหมวิหารธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้ ท่านสอนให้ผู้ปฏิบัติใช้ดังนี้ ทีแรกให้ปฏิบัติด้วยจิตคิดเกื้อกูลแผ่ออกไปในสัตว์บุคคลทั้งหลาย นี้คือเมตตาซึ่งมีอาการเป็นความคิดเกื้อกูลต่อจากนั้นเมื่อได้เห็นหรือได้ ยินหรือได้คิดว่าเขามีทุกข์เดือดร้อนก็ปฏิบัติช่วยบำบัดทุกข์ให้ นี้คือกรุณาซึ่งมีอาการช่วยบำบัดทุกข์ จากนั้น ครั้นได้เห็นเขามีสุขไม่มีทุกข์ ก็พลอยยินดีบันเทิงใจ นี้คือมุทิตาซึ่งมีอาการพลอยยินดี และเพราะไม่มีกิจที่ควรจะทำต่อไปจากนั้น ก็อุเบกขาคือดูอยู่เฉยๆ นี้คืออุเบกขาซึ่งมีอาการมัธยัสถ์เป็นกลาง มีอุปมาเหมือนอย่างมารดามีบุตร ๔ คน คนหนึ่งที่ยังเป็นเด็กเล็ก มารดาก็มุ่งความเจริญคือให้เติบโตยิ่งขึ้น เทียบกับเมตตา คนหนึ่งเป็นไข้ มารดาก็พยาบาลให้หายไข้ เทียบกับกรุณา คนหนึ่งกำลังเจริญวัย มารดาก็ชื่นชมยินดี เทียบกับมุทิตา อีกคนหนึ่งทำงานตั้งตนได้แล้ว มารดาก็ไม่ต้องขวนขวายช่วยอะไรอีก เทียบกับอุเบกขา แม้ในเรื่องที่ช่วยไม่ได้แล้วก็พึงใช้อุเบกขาเช่นเดียวกัน แต่เมื่อยังช่วยได้ก็ต้องใช้กรุณา ฉะนั้นธรรมทั้ง ๔ ข้อนี้ เมื่อใช้ให้ถูกต้องด้วยกาลและกิจย่อมอำนวยประโยชน์โดยส่วนเดียว ส่วนความหัดคิดแผ่ใจไปทั้ง ๔ ข้อนี้ พึงทำได้เสมอ เป็นวิธีอบรมจิตใจให้มีพรหมวิหารธรรม ซึ่งจะให้เกิดอานิสงส์ผลดังที่ตรัสไว้ในเมตตานิสังสสูตรว่า “หลับเป็นสุข ตื่นเป็นสุข ไม่ผันเห็นสุบินที่ไม่ดี เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย เทพยดารักษา ไฟ ยาพิษ ศาสตราไม่กล้ำกราย จิตเป็นสมาธิเร็ว ผิดหน้าผ่องใส ไม่หลงทำกาลกิริยา เมื่อยังไม่บรรลุธรรมที่ยิ่งขึ้น ก็จะเข้าถึงพรหมโลก” เพราะฉะนั้นจึงตรัสสอนไว้ในกรณียเมตตสูตรว่า

    เมตฺตญฺจ สพฺพโลกสฺมึ มานสมฺภาวเย อปริมาณํ
    อุทธํ อโธ จ ติริยญฺจ อสมฺพาธํ อเวรํ อสปตฺตํ

    พึง อบรมใจมีเมตตาไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง และท่ากลาง รอบข้าง ไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู

    ติฏฐญฺจรํ นิสินฺโน วา สยาโน วา ยาวตสฺส วิคตมิทฺโธ
    เอตํ สตึ อธิฏเฐยฺย พฺรหฺมเมตํ วิหารํ อิธ มาหุ

    ยืน เดิน นั่ง นอน อย่างใดก็ตาม พึงทำภาวนาให้ปราศจากความโงกง่วง พึงตั้งสติประกอบด้วยเมตตานี้ให้มั่นคง บัณฑิตทั้งหลายเรียกวิหารธรรมนี้ว่า “พรหมวิหาร” ในธรรมวินัยของพระอริยเจ้านี้

    ------------------------------------------------------------

    หนังสือรวมธรรมะ ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย จัดพิมพ์เป็นมุทิตาสักการะ เนื่องในศุภวาระฉลองพระชนมายุ ๘๔ พรรษา ในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เสด็จสถิต ณ วัดบวรนิเวศวิหาร วันที่ ๓ ตุลาคม พระพุทธศักราช ๒๕๔๐

    พิมพ์ที่ บริษัท อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง จำกัด (มหาชน)

    คัดลอกจาก http://www.bloggang.com/viewblog.php...9]BlogGang.com : : sirivaj่j
     
  17. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    [​IMG]


    "สติ" เป็นสภาวธรรมอันหนึ่งซึ่งให้ธรรมทั้งหลายเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียง

    "สติ" ก็คือ ชีวิต ถ้าขาดสติเมื่อใดก็เหมือนตาย



    ที่เรามาปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ ก็เพื่อให้เห็นจิตเดิม เราคิดว่าจิตเป็นสุข

    จิตเป็นทุกข์ แต่ความจริงจิตไม่ได้สร้างสุขสร้างทุกข์ อารมณ์มาหลอกลวง

    ต่างหาก มันจึงหลงอารมณ์ ฉะนั้น เราจึงต้องมาฝึกจิตใจให้ฉลาดขึ้น

    ให้รู้จักอารมณ์ ไม่ให้เป็นไปตามอารมณ์ จิตก็สงบ เรื่องแค่นี้เอง ที่เราต้อง

    มาทำกรรมฐานกันยุ่งยากทุกวันนี้



    การฝึกจิตไม่เหมือนฝึกสัตว์ จิตนี่เป็นการฝึกยากแท้ๆ แต่อย่าไปท้อถอย

    ง่ายๆ ถ้ามันคิดไปทั่วทิศก็กลั้นใจมันไว้ พอใจมันจะขาดมันก็คิดอะไรไม่ออก

    มันก็วิ่งกลัีบมาเอง ให้ทำไปเถอะ



    จิตของเรานี้ เมื่อไม่มีใครตามรักษา มันก็เหมือนคนคนหนึ่งที่ปราศจาก

    พ่อแม่ที่ดูแล เป็นคนอนาถา คนอนาถานั้นเป็นคนที่ขาดที่พึ่ง คนที่ขาดที่พึ่ง

    ก็เป็นทุกข์ จิตนี้ก็เหมือนกัน ถ้าขาดการอบรมบ่มนิสัยหรือทำความเห็นให้

    ถูกต้องแล้ว จิตนี้ก็ลำบากมาก
     
  18. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    คำสอนของพ่อ​


    [​IMG]




    อนาคตทำนายได้

    ทุกสิ่งทุกอย่าง ที่เกิดที่เป็นอยู่แก่เราในวันนี้
    ย่อมมีต้นเรื่องมาก่อน ต้นเรื่องนั้นคือ เหตุ สิ่งที่ได้รับคือ ผล
    และผลที่ท่านมีความรู้อยู่ขณะนี้
    จะเป็นเหตุให้เกิดผลอย่างอื่นต่อไปอีก

    คือ ทำให้สามารถใช้ความรู้ที่มีอยู่ทำงานที่ต้องการได้

    แล้วการทำงานของท่าน ก็จะเป็นเหตุให้เกิดผลอื่นๆ
    ต่อเนื่องกันไปอีก ไม่หยุดยั้ง
    ดังนั้นที่พูดกันว่า ให้พิจารณาเหตุผลให้ดีนั้น

    กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ

    ให้พิจารณาการกระทำหรือกรรมของตนให้ดีนั่นเอง
    คนเราโดยมากมักนึกว่า
    อนาคตจะเป็นอย่างไรเราทราบไม่ได้
    แต่ที่จริงเราย่อมจะทราบได้บ้างเหมือนกัน

    เพราอนาคต ก็คือ ผลของการกระทำในปัจจุบัน

    พระบรมราโชวาทในพิธีพระราชทานปริญญาบัตร
    จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 8 กรกฎาคม 2519
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2012
  19. พันวฤทธิ์

    พันวฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,789
    ค่าพลัง:
    +16,101
    พระพิมพ์สมเด็จ สกุลเจ้าคุณกรมท่า ที่ท่าน อ.ประถม อาจสาคร ได้ค้นคว้า และถ่ายทอดความรู้ทั้งการสร้างและการเสก ตลอดจนการเรียกชื่อพิมพ์ทรงต่างๆ ให้แ่ก่กรรมการของทุนนิธิฯ บางท่าน เพื่อให้รักษาไว้ซึ่งภูมิปัญญาของบรรพชนมิให้สูญหายไป พระพิมพ์สกุลนี้ เป็นพระนอกมาตรฐานวงการพระเครื่องนิยม ผู้ที่เคารพบูชาในพระพิมพ์นี้ ต่างมีความเชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพลังจิตจากองค์ผู้อธิษฐานจิตซึ่งโดยนัยยะคือ หลวงปู่บรมครูคณะพระธรรมฑูตโลกอุดรทั้ง 5 พระองค์ และท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ พระพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี ตามการพิสูจน์ทางจิตจากท่าน อ.ประถมฯ และจากพ่อแม่ครูอาจารย์ในสายปฏิบัติหลายท่าน ที่ยอมรับว่าพลังกระแสจิตของพระสกุลนี้ฯ หากเป็นของแท้ๆ แล้วมีความแข็งแกร่งและเกรียงไกรจริง ผมเองได้พยายเสาะหามาในเวลานี้ รวบรวมไว้ไม่ได้มาก ได้มาแค่ไม่กี่สิบองค์ กะว่าจะแจกให้ฟรีตอนปีใหม่แก่ผู้ที่มาขอทุกคน อาจจะต้องขอกลับคำที่จะพิจารณาเป็นรายกรณีไป ทั้งนี้ ยังยืนยันตามเดิมว่าจะให้ฟรีเช่นกันครับ

    ส่วนภาพด้านล่างถัดลงมาอีก พระพิมพ์สมเด็จ สกุล ๒๔๐๘ ที่มีความเกรียงไกรไม่แพ้กัน ซึ่งพระพิมพ์สกุลนี้ดีเด่นด้านอำนาจและการปกครองคน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • PB010330.JPG
      PB010330.JPG
      ขนาดไฟล์:
      493.9 KB
      เปิดดู:
      108
    • PB010331.JPG
      PB010331.JPG
      ขนาดไฟล์:
      513.9 KB
      เปิดดู:
      218
    • PB010333.jpg
      PB010333.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      177
    • PB010342.JPG
      PB010342.JPG
      ขนาดไฟล์:
      626.3 KB
      เปิดดู:
      106
    • PB010345.JPG
      PB010345.JPG
      ขนาดไฟล์:
      587.4 KB
      เปิดดู:
      171
    • PB010346.JPG
      PB010346.JPG
      ขนาดไฟล์:
      588.9 KB
      เปิดดู:
      123
    • PB010447.JPG
      PB010447.JPG
      ขนาดไฟล์:
      505 KB
      เปิดดู:
      295
    • Prathan 4.JPG
      Prathan 4.JPG
      ขนาดไฟล์:
      573.7 KB
      เปิดดู:
      118
    • Prathan A 1.JPG
      Prathan A 1.JPG
      ขนาดไฟล์:
      571.8 KB
      เปิดดู:
      101
    • Prathan A 2.JPG
      Prathan A 2.JPG
      ขนาดไฟล์:
      539.4 KB
      เปิดดู:
      100
    • Disc_0046.jpg
      Disc_0046.jpg
      ขนาดไฟล์:
      771.9 KB
      เปิดดู:
      106
    • Disc_0001.jpg
      Disc_0001.jpg
      ขนาดไฟล์:
      957.9 KB
      เปิดดู:
      104
    • Disc_0003.jpg
      Disc_0003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      791.8 KB
      เปิดดู:
      222
    • Disc_0005.jpg
      Disc_0005.jpg
      ขนาดไฟล์:
      757.5 KB
      เปิดดู:
      125
    • Disc_0006.jpg
      Disc_0006.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1,000.6 KB
      เปิดดู:
      82
    • Disc_0007.jpg
      Disc_0007.jpg
      ขนาดไฟล์:
      991.3 KB
      เปิดดู:
      96
    • Disc_0008.jpg
      Disc_0008.jpg
      ขนาดไฟล์:
      868.8 KB
      เปิดดู:
      100
    • Disc_0009.jpg
      Disc_0009.jpg
      ขนาดไฟล์:
      890.5 KB
      เปิดดู:
      100
    • Disc_0011.jpg
      Disc_0011.jpg
      ขนาดไฟล์:
      730.9 KB
      เปิดดู:
      94
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤศจิกายน 2012
  20. prapaanpong

    prapaanpong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    891
    ค่าพลัง:
    +7,992

    พระสวยมากๆเลยครับ ไว้มีโอกาส ปีใหม่จะไปขอสักองค์ :cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...