พระธาตุจมน้ำ

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 6 พฤศจิกายน 2012.

  1. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    มีเรื่องเกี่ยวกับพระธาตุศักดิ์สิทธิ์อีกเหมือนกัน วันหนึ่งมีชายคนหนึ่งมาจากกรุงเทพฯ เขามากราบนมัสการท่านอาจารย์ชา และได้นำวัตถุที่ถือว่าเป็นมงคลยิ่งมาให้ท่านด้วย สิ่งนั้นคือ พระธาตุพระอรหันต์ เขาเล่าและยืนยันว่า ถ้าเป็นพระธาตุแท้จะไม่จมน้ำ แต่ถ้าปกติวัตถุธรรมดาที่มีขนาดเดียวกับพระธาตุนี้ ก็จะจมน้ำ แต่เขาได้พิสูจน์แล้วว่าพระธาตุนี้ดีจริง ลอยน้ำได้ ครั้นว่าดังนั้น เขาก็เอาน้ำใส่แก้วมาแก้วหนึ่งเพื่อจะทำให้ท่านดู

    เมื่อท่านเห็นดังนั้น จึงหัวเราะและห้ามเขาว่า “อย่าทำ เดี๋ยวมันจะจม”

    แต่ชายคนนั้นไม่เชื่อฟังท่าน เขายังขืนทำ ครั้นวางพระธาตุลงในน้ำ มันก็จมจริงๆ และท่านก็ยังคงนั่งหัวเราะอยู่อย่างเดิม พระรูปหนึ่งซึ่งเป็นศิษย์ของท่าน กล่าวแสดงความเห็นกับพระด้วยกันว่า

    “ผมว่าพระธาตุจมน้ำได้นี่แหละประหลาดกว่าพระธาตุลอยน้ำได้ วันนี้โชคดีจริงๆ ที่ได้เห็นสิ่งอัศจรรย์ที่สุด หรือท่านมีความเห็นอย่างไรๆ”

    พระอีกรูปหนึ่งได้แต่หัวเราะ

    ท่านสอนว่า “ทิฏฐิของคนเรา ถ้าเราเอาไปใส่ไว้ในอะไรแล้ว สิ่งนั้นมันก็เป็นของมีค่าขึ้นมาทันที จะกลายเป็นของขลัง ของศักดิ์สิทธิ์ขึ้นมาทันที แต่ถ้าไม่มีทิฏฐิเข้าไปตั้งอยู่ ทุกสิ่งมันก็ไม่มีราคา อย่างคนไทยเราถือว่าศีรษะเป็นของสูง ใครมาจับเล่นไม่ได้ เป็นเหคุให้โกรธฆ่ากันเลยก็ได้ เพราะมีทิฏฐิมันจึงไม่ยอม ความยืดถือมันเหนียวแน่นมาก เราไปเมืองนอกเห็นฝรั่ง เขาจับหัวกันได้สบาย พระฝรั่งที่ไปด้วย พาไปเยี่ยมพ่อพอเห็นหน้าพ่อ เอามือลูบหัวเล่นเลย ทั้งลูบทั้งหัวเราะ พ่อเขาก็ดีอกดีใจ ถือว่าลูกรักเขา... เรื่องมันเป็นอย่างนี้ ถ้าคนเราไม่มีทิฏฐิเสียแล้ว ทุกอย่างมันก็หมดค่า ทุกข์ทั้งหลายก็เกิดไม่ได้ ไม่มีอะไรจะมาทำให้เป็นทุกข์ เรื่องการถือมงคลภายนอก ก็เรื่องของทิฏฐิเหมือนกัน ทิฏฐิเข้าไปสำคัญมั่นหมายว่า สิ่งนั้นดีสิ่งนี้ไม่ดี มันก็กลายเป็นเป็นของดีของไม่ดี ของศักดิ์สิทธิ์ ของไม่ศักดิ์สิทธิ์กันขึ้นมา พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้ยึดถืออย่างนั้น ท่านให้ถอนทิฏฐิมานะ ความสำคัญมั่นหมาย ท่านให้ละทิฏฐิมานะอย่างนั้น ถ้าเราละสิ่งเหล่านั้นออกไปแล้ว การปฏิบัติมันก็ถูกทางเท่านั้นเอง ทุกอย่างมันจะหมดค่าหมดราคา เมื่อเห็นความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น อุปาทานก็เกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อไม่มีอุปาทาน ภพชาติก็ไม่มี แล้วทุกข์มันจะมาจากไหน?"

    หลวงพ่อชา
    วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี
    บันทึกประวัติส่วนหนึ่ง รวบรวมและเรียบเรียงโดย
    ต.ป. เตชปัญโญ
     
  2. สร้อยฟ้ามาลา

    สร้อยฟ้ามาลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    18,949
    ค่าพลัง:
    +43,556
    ขอบคุณที่หามาให้อ่าน เพื่อถอนทิฏฐิให้จางลง.....
     
  3. thammakarn

    thammakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2011
    โพสต์:
    98
    ค่าพลัง:
    +376
    ขอบคุณที่ได้นำธรรมะของครูบาอาจารย์มาให้ได้อ่าน
    นับว่าเป็นธรรมทานได้เหมือนกัน
     
  4. wondam

    wondam เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    133
    ค่าพลัง:
    +488
    อวิชชา ปัจจยา สังขารา.....
     
  5. แม่กลอง

    แม่กลอง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2012
    โพสต์:
    22
    ค่าพลัง:
    +90
    ขอบคุณที่ได้นำธรรมะของครูบาอาจารย์มาให้อ่าน
     
  6. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระธาตุพนมพัง

    ธรรมดาคนเราทุกวันนี้ลำบาก ไม่เห็นง่ายๆ ยกตัวอย่างเช่น พระธาตุพนมพัง คนร้องไห้ก็มีและวิพากษ์วิจารณ์กันไปหลายๆ อย่างมันเป็นกรรมเป็นเวร เป็นเสนียดจัญไรแก่บ้านเมือง ว่าไปอย่างนั้น อย่างไรมันจะเสียใจมันก็คิดไป เพราะคนมันหลง ความเป็นจริงอันนี้ เป็นธาตุท่านพังนะ ท่านนิพพาน ก่อนท่านไป ตัวท่านเองท่านก็ยังไปท่านไม่อยู่ ท่านยังบอกว่า สิ่งทั้งปวงมีความเกิดแล้วไม่แปรผันไปนั้นไม่มี ต้องแตกทำลายเป็นเบื้องหน้า ท่านสอนไว้ ตัวของท่านเองท่านก็ไปแล้ว เหลือแต่อัฐิ อัฐิก็กระดูกท่าน แต่ตัวจริงท่านก็ผ่านไปแล้ว ท่านยังสั่งว่าอนิจจังเป็นของไม่เที่ยง อย่าพากันไปตำหนิก้อนอิฐ อย่าไปตำหนิก้อนหิน อย่าพากันไปถือโลหะต่างๆ เป็นที่พึ่ง มันไม่เกิดประโยชน์ ให้เราพ้นจากทุกข์ไปได้ แม้ท่านจะนิพพานแล้วก็ตาม ให้พากันเข้าถึงพระพุทธ พระธรรม ให้มีรากฐานแน่นหนา ให้มีอริยสงฆ์ อันเกิดจากพระสัทธรรมเป็นที่พึ่งอันนั้นเป็นสรณะที่พึ่งของเรา

    ฉะนั้น ถ้าเราไปอาศัยภูเขา อาศัยต้นไม้ อาศัยก้อนหิน อาศัยก้อนอิฐอยู่มันก็พัง ถ้าพังแล้วก็ร้องไห้เสียใจ นี่ล่ะ... พระพุทธเจ้าท่านไม่ให้ถือมงคลตื่นข่าว มันทุกข์ มันนำตนพ้นทุกข์ไม่ได้ พ้นจากวัฏฏะสงสารไม่ได้ มันเป็นมงคลตื่นข่าว ฉะนั้นยากที่คนจะเห็น ยากที่คนจะรู้จักซึ่งธรรมะ พูดตามความเป็นจริง ความจริงที่มันมีอยู่ ตั้งอยู่เสมอ ไม่มีอะไรหวั่นไหว ความจริงยังตั้งมั่นอยู่ ท่านว่ามันพัง มันก็พัง ท่านว่ามันแตก มันก็แตก ท่านว่ามันฉิบหาย มันก็ฉิบหาย มันก็ถูกอยู่แล้วไม่มีอะไรจะเกิดวิปลาสอีกต่อไป ไม่มีทางแก้ไข ความจริงตั้งมั่นอยู่อย่างนี้ เมื่อพระองค์ทรงพระชนม์อยู่ท่านก็เทศน์ให้ฟัง เมื่อท่านดับขันธ์ปรินิพพานแล้วท่านก็สั่งไว้ โดยปริยาย ในเบื้องปลาย เพื่อจะให้ประชาชนทั้งหลายเข้าใจธรรมะ ขนาดนี้ก็ยังเข้าใจได้ยาก นี่อะไรมันบัง อะไรมันปิดบังไว้ อะไรมันปิดดวงตา เช่นท่านให้พิจารณาสกนธ์ร่างกาย เป็นของไม่เที่ยง เป็นของไม่สะอาด เป็นของไม่เป็นแก่นสาร สภาพร่างกาย ตาเรามองเห็น เห็นขน เห็นขา เห็นนิ้วมือ นิ้วเท้า เห็นทุกส่วน แต่ว่ามันไม่เห็น เห็นแล้วก็ไม่เห็น เห็นแล้วไม่เห็นลักษณะอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาในรูปอันนี้ เมื่อมันวิบัติมาวิบัติไปก็มีความโศกเศร้าปริเทวนารำพันชื่อว่าเราไม่เห็น ไม่ใช่ตาเนื้ออันนี้ ท่านหมายถึงตาใจ คือปัญญา ให้พิจารณา ทุกสิ่งสารพัดท่านให้ภาวนา ภาวนาคือให้มันถูก คิดให้มันแม่น การคิดให้มันแม่น การคิดให้มันถูกนั้นแหละ คือยอดธรรมะ ยอดของการภาวนา เราจะเดินจงกรมก็ดี เราจะนั่งสมาธิก็ดี เคลื่อนอิริยาบถต่างๆ ทั้งหลายก็ดี คือ พระพุทธเจ้าท่านบังคับให้สติรอบรู้อยู่อย่างนั้น ก็เพราะว่าท่านอยากให้เรามีความเห็นถูกต้องดี ถ้ามีความเห็นถูกต้องดีมันก็เป็นมรรค เป็นสัมมาทิฏฐิเท่านั้น เมื่อเราทุกข์เราก็จะระบายทุกข์ออก เช่นว่าเราเจ็บไข้ มันเจ็บหัว มันปวดท้องอย่างนี้เป็นต้น หรือมันเฒ่าแก่ชรามาอย่างนี้ เราเห็นแล้วเราก็มีความสบายในธรรมะ เรื่องนี้มันเป็นอย่างนี้เอง มันจะไม่เป็นไปอย่างอื่น ทุกรูปทุกนามเกิดมาแล้วจะต้องเป็นอย่างนี้ มันจะมีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็ไม่เมา มันจะมีความสุขเกิดขึ้นมามันก็ไม่เมา ไม่ได้เมาในสิ่งใดทั้งหลายทั้งปวง เพราะเห็นว่ามันเป็นอย่างนั้น ตามเหตุตามปัจจัยของมัน เมื่อความเห็นถูกต้อง ใจก็ไม่ตื่นเต้นไม่หวาดไม่กลัว ไม่สะดุ้งต่อเหตุการณ์ทั้งหลายต่างๆ จะเห็นรูปก็ดี จะได้ยินเสียงก็ดี จะได้ลิ้มรสก็ดี ถูกต้องโผฏฐัพพะทางกายก็ดี ธรรมารมณ์อันเกิดขึ้นทางใจก็ดีอิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่น่าปรารถนา อนิฏฐารมณ์ อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนาก็ดี จิตใจของผู้บรรลุธรรมะ จะตรง จะมั่น จะเที่ยง จะมั่น รู้รอบอยู่ตามเป็นจริงนั้น พ้นจากทุกข์

    พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชา สุภัทโท)
    วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี
     

แชร์หน้านี้

Loading...