เกจิอาจารย์จังหวัดอุบลฯ และบูรพาจารย์สายสมเด็จลุน+สายกรรมฐาน

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย คนชอบพระ, 24 ตุลาคม 2012.

  1. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ขออนุญาตสมาชิกทุกท่าน
    ที่มีประวัติ ประสบการณ์ เข้ามาร่วมพูดคุย


    พระเกจิอาจารย์จังหวัดอุบลฯ และบูรพาจารย์สายสมเด็จลุน สายกรรมฐานหลวงปู่เสาร์-หลวงปู่มั่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2012
  2. วารินทร์ นานา

    วารินทร์ นานา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    1,002
    ค่าพลัง:
    +1,230
    หลวงปู่พรหมมา นี่ใช่ไหม?
     
  3. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ปฐมครูบาอาจารย์สายอุบลฯ
    สมเด็จลุน
    พระครูวิโรจน์รัตโนบลฯ วัดทุ่งศรีเมือง
    หลวงปู่สีทา วัดบูรพา
    พระอุบาลีคุณูปมาจารย์(จันทร์ สิริจันโท) วัดบรมนิวาส
    หลวงปู่เสาร์ วัดเลียบ
    หลวงปู่มั่น วัดป่าสุทธาวาส
    หลวงปู่สิงห์ วัดป่าสาลวัน
    ท่านพ่อลี วัดอโศการามฯ
    ญาท่านกรรมฐานแพง
    ญาท่านตู๋
    สมเด็จตัน
    ญาท่านภูมาภิบาล
    หลวงปู่มั่น ทัตโต วัดโนนเจริญ
    หลวงปู่โทน กันตสีโล วัดบูรพา บ้านสะพือ
    หลวงปู่เพ็ง วัดปทุมมาลัย อุบลฯ
    หลวงปู่ลี วัดเอี่ยมวนาราม บ้านม่วงเดียด อุบลฯ
    หลวงปู่ดี ฉันโน
    หลวงปู่ผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต
    หลวงปู่ขาว อนาลโย
    หลวงปู่จวน กุลเชษโฐ
    หลวงพ่อชา วัดหนองป่าพง
    หลวงปู่บุญมี วัดสระประสานสุข
    ญาท่านสวน วััดนาอุดม
    ญาท่านคำบุ วัดกุดชมภู
    หลวงปู่เร็ว วัดหนองโน
    หลวงปู่ทอง วัดบ้านหัวเรือ
    หลวงพ่อโชติ วัดภูเขาแก้ว
    หลวงปู่พั่ว วัดนาเจริญ
    พระบวรปริยัติวิธาน (หลวงพ่อบุญเรือน) วัดพิชโสภาราม
    หลวงพ่อประดิษฐ์ วัดทุ่งเกษม
    หลวงปู่โทน วัดบ้านพลับ
    ฯลฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2012
  4. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ได้เลยครับ ถ้ามีข้อมูลจะร่วมเสนอก็ได้เลย
     
  5. ธุลี-ดิน

    ธุลี-ดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2012
    โพสต์:
    12,650
    ค่าพลัง:
    +12,202
    สวัสดีครับ สบายดีหรือป่าวครับ :cool: :cool: :cool:
     
  6. ธุลี-ดิน

    ธุลี-ดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2012
    โพสต์:
    12,650
    ค่าพลัง:
    +12,202
    หลวงปู่ญาท่านโทน วัดบ้านพับ อุบลราชธานี :cool:
     
  7. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    สบายดีครับ เชิญคุณสุข ร่วมแจมพระเมืองอุบลฯด้วยกันนะครับ เดี๋ยวจะมีพรรคพวกจากทีมงาน ubonpra เข้ามาร่วมแจมกระทู้และให้ข้อมูลพระเครื่องเมืองอุบลฯครับ
     
  8. ธุลี-ดิน

    ธุลี-ดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2012
    โพสต์:
    12,650
    ค่าพลัง:
    +12,202

    ยินดีครับ เดี๋ยวหาข้อมูลก่อนครับ :cool::cool::cool::cool:
     
  9. ธุลี-ดิน

    ธุลี-ดิน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 มกราคม 2012
    โพสต์:
    12,650
    ค่าพลัง:
    +12,202
    หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ วัดธาตุมหาชัย นครพนม :cool::cool::cool:
     
  10. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
  11. ฌานกร

    ฌานกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,433
    ค่าพลัง:
    +14,651
    มาติดตามข้อมูลดีๆครับ
     
  12. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    รอเดี๋ยวนะครับ ทีมงาน ubonpra จะนำประวัติสมเด็จลุน ซึ่งถือว่าเป็นเกจิที่เป็นองค์ปฐมของจังหวัดอุบลฯมาลง สมเด็จลุน ที่แม้แต่หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ยังนับถือท่านเป็นอาจารย์
     
  13. ฌานกร

    ฌานกร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กันยายน 2010
    โพสต์:
    1,433
    ค่าพลัง:
    +14,651
    หลวงพ่อโชติ อาภัคโค วัดภูเขาแก้ว อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี
     
  14. โบโน

    โบโน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +73

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 123.jpg
      123.jpg
      ขนาดไฟล์:
      92 KB
      เปิดดู:
      376
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ตุลาคม 2012
  15. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    [​IMG]

    รูปสมเด็จลุน ต้นฉบับของทางประเทศลาว วัดโพธิ์ไชยยาราม แขวงจำปาศักดิ์ สปป.ลาว
    ต้นฉบับมาจากคุณ Pruedthachon เว็บอุบลฯพระ ต้องขอบคุณด้วยครับ
     
  16. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ชีวประวัติเจ้าปู่สัมเด็จลุน



    เจ้าปู่สำเด็จลุน เกิดที่บ้านหนองไฮ่ท่า ตาแสงเวินไช เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก พ่อชื่อ เชียงหล้า แม่ชื่อนางคำบู่ ก่อนเจ้าปู่จะลงมาเกิด นางคำบู่ ผู้เป็นแม่ได้นิมิตคำฝันว่า มีดาวเสด็จลงมาจากฟ้าตกใส่กลางเรือนแล้วดาวที่ตกมานั้นเกิดเป็นตู้หนังสือ ต่อจากวันที่ฝันมาหลายวันนางคำบู่ก็ได้ตั้งครรถ์ ๆ อยู่ประมาณ 10 เดือน ก็ได้คลอดลูกออกมาปี พ.ศ. 2396 พ่อแม่ตั้งชื่อให้ว่า ท้าวลุน ๆ เมื่อเจริญเติบโตมาก็เป็นปรกติทุกอย่างเป็นคนเจ้าระเบียบไม่ถูกต้องไม่เอา เมื่ออายุ 12 ปี พ่อแม่ก็ฝึกหัดให้ไถนาซึ่งก็เป็นปรกติของเด็กในวัยนี้ แต่เด็กชายลุนนี้ไถนาไม่เหมือนคนอื่น ๆ พอเอาแอกใส่คอควายแล้วก็ไล่ไปเลยแล้วแต่ควายจะพาไป ก็เลยถูกผู้ใหญ่ต่อว่า ถ้าขี้เกียดก็ไปบวช ซ่ะ ต่อมาพ่อแม่ได้นำไปฝากให้บวชเณรอยู่กับอาจารย์วัดหนองไฮ่ท่า ท้าวลุนเมื่อบวชเป็นเณรก็ปฏิบัติไม่เหมือนคนอื่นคือฉันข้าวมื้อเดียวตลอด การนุ่งสบงห่มจีวร ก็เป็นระเบียบ และมีสิ่งพิเศษอยู่อย่างหนึ่งคือตั้งแต่บวชมาปีกว่า ๆ แล้วไม่เคยอ่านและท่องหนังสือเลย ฉันข้าวเสร็จก็เอาหนังสือตำราต่าง ๆ ไปนอนอยู่หอธรรมาส ค่ำมาก็นอน ไม่เคยอ่าน ท่องหนังสือชักครั้ง เมื่อเห็นเป็นดังนั้นอาจารย์เจ้าวัดจึงเรียกไปชักถาม ว่าทำไมจึงไม่เห็นสวดมนต์ อีกหน่อยชาวบ้านเขาจะว่าได้ ว่ากินข้าวเสียข้าวกินปลาเสียปลาหรือว่าเณรท่องอ่านได้หมดแล้ว เณรลุนก็ตอบว่าพออ่านสวดได้ อาจารย์เจ้าวัดจึงให้ทดลองอ่านและสวดมนต์ จากนั้นเณรลุนก็ได้สวดมนต์ให้อาจารย์เจ้าวัดฟัง เริ่มตั้งแต่ มนต์น้อย มนต์กลาง สัทธา สังฆธา ปาติโมก สวดได้หมดไม่ติดขัด แม้แต่อาจารย์เจ้าวัดก็ยังสู้เณรลุนไม่ได้ ท่านอาจารย์เห็นดังนั้นก็มีความงึดง้ออัศจรรย์ใจตังเองว่า เณรลุนนี้เรียนมาจากที่ไหนจะท่อง สวด อะไรก็ไม่ติดขัด หลังจากผ่านเหตุการณ์ครั้งนั้นมาเณรลุนก็มีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่ว ต่อมาวันเวลาได้ล่วงมาหลายปีเณรลุนมีอายุได้ประมาณ 18-19 ปี ในระหว่างนั้นมีอาจารย์ใหญ่วัดนาทุ่ง บ้านนาทุ่งกับบ้านเวินไช อยู่คนละฟากน้ำโขง บ้านเวินไชอยู่ทางทิศตะวันตกบ้านนาทุ่งอยู่ทางทิศตะวันออกแต่ก็ไม่ไกลกัน เกินไปเป็นบ้านเคยร่วมบุญร่วมทานกันเป็นประจำ อาจารย์ใหญ่บ้านนาทุ่งองค์ที่ว่านี้ได้เจ็บป่วยลงท่านก็คงพิจารณาเห็นว่า สังขารร่างกายคงจะหมดลงในไม่ช้านี้ หลังจากนั้นท่านจึงครองผ้าใส่สังฆามัดอกให้เป็นระเบียบเรียบร้อยแล้วท่านจึง ได้สั่งพระสงฆ์สามเณรพร้อมทั้งญาติโยมไว้ว่า เมื่ออาตมาได้มรณภาพ ห้ามไม่ให้ใครแตะต้องร่างกายและห้ามไม่ให้เอาน้ำมาล้างหน้าโดยเด็ดขาด เมื่อท่านได้สั่งไว้โดยเด็ดขาดแล้วญาติโยมก็ไม่มีใครกล้าล่วงเกินร่างกาย ท่าน มีแต่จัดหาโลงใส่ร่างท่านไว้ตามปรกติและมีงานสวดกันไปตามประเพณี ในระหว่างนี้เณรลุนก็ยังไม่ได้บวชเป็นพระ เมื่อได้ข่าวว่าอาจารย์ใหญ่วัดนาทุ่งมรณภาพ เณรลุนจึงตั้งใจเดินทางไปกราบคารวะตามประเพณีอันดีงาม

    เมื่อไปถึงแล้ว ก็ร้องขอต่อครูบาอาจารย์และญาติโยมว่า ขอเปิดดูหน้าท่าน และก็ได้รับอนุญาตตามคำขอนั้น ดังนั้นเมื่อเณรลุนเปิดผ้าคลุมร่างท่านออกเณรลุนได้เห็นหนังสือก้อมเล็ก ๆ เหน็บอยู่ที่รักแร้ท่านอาจารย์บ้านนาทุ่งที่มรณะภาพนอนอยู่ในโลงนั้น เมื่อเณรลุนเห็นดังนั้นจึงหยิบเอาไป (ตามคำเล่าที่สืบต่อกันมา เป็นหนังสือก้อมน้อยที่เป็นตำราที่ตกทอดมาจากท่านอาจารย์พระครูโพนเสม็ด ที่อาจารย์บ้านนาทุ่งได้มาจากเมืองจำปาสัก) ในระหว่างนั้นอายุของเณรลุนก็ใกลจะถึงเกณฑ์บวชเป็นพระได้แล้ว แต่ในเมื่อเณรลุนได้หนังสือก้อมเล่มนั้นไปแล้วเณรลุนก็หนีหายไปไม่มีใครเห็น และไม่กลับคืนบ้านเกิด หนีไปประมาณปีกว่าจึงกลับคืนมาบ้านเกิดในวันที่กลับมาถึงบ้านนั้นเป็นวัน ปาวารนาออกพรรษาเดือน 11 เพ็ญ เณรลุนนั่งแพล่องน้ำโขงมาในเวลาเช้ามาหยุดอยู่ที่หน้าวัดเวินไช เมื่อขึ้นจากเรือมาเณรลุนก็พูดขึ้นว่า จะมาออกพรรษาที่นี่ และจะอยู่วัดเวินไชตลอดไป ครูบาอาจารย์และญาติโยมบ้านเวินไช เมื่อได้ฟังดังนี้แล้วก็ยินดีต้อนรับเณรลุน ด้วยความพอใจของเณรลุนและชาวบ้านก็พูดกันว่าจะสร้างกุฏิให้เณรลุนอยู่แต่เณร ลุนก็พูดว่าไม่ให้ทำหลังใหญ่ให้ทำเป็นกระท่อมหลังเล็ก ๆ เท่านั้นจะพอใจมาก ญาติโยมจึงปฏิบัติตาม (ต่อจากนั้นเข้าใจว่าพวกญาติโยมพร้อมทั้งคณะสงฆ์คงจะได้พากันอุปสมบทให้เณร ลุนบวชเป็นพระตามจารีตพระวินัย) แต่ไม่ทราบว่าที่บวชนั้นอยู่ที่วัดไหน ใครเป็นอุปัชาญ์อาจารย์สวด ก็ไม่รู้ และได้ถูกตั้งให้เป็นสัมเด็จเจ้าปู่สัมเด็จลุนที่ไหนในปีใด และใครเป็นเจ้าสัทธา ก็ไม่รู้

    แต่ถ้าพูดถึงด้านการปฏิบัติ เป็นพระที่เคร่งครัดในพระธรรมวินัยมากสิ่งของเงินทองไม่เคยแตะต้อง ความบกพร่องที่ถือว่าเป็นผิดคือ มีแต่กินเหล้าอย่างเดียว มีนักปราชญ์อาจารย์หลายคนมาสอบถามท่าน ท่านก็ตอบได้และชี้แจงไปไม่ติดขัด

    ในสมัยนั้นจะมีหอไตร หนังสือใบลานตัวธรรม ตัวเขียน มีอยู่ตามวัดต่าง ๆ และมีอยู่ในที่ทั่ว ๆ ไป ท่านเจ้าปู่สัมเด็จลุนได้ไปศึกษาค้นคว้าจนหมดทุกที่ อยู่มาครั้งหนึ่งท่านเจ้าปู่สัมเด็จลุนได้แสดงความมหัศจรรย์ให้ปรากฎ ท่านไปบอกให้สามเณรเอามะละกอมาทำสัมตำ ส่วนท่านเองไปเอามะนาวและกะปิที่กรุงเทพมาใส่ มะละกอกำลังตำอยู่ท่านก็มาถึงทันเวลาพอดี และอีกครั้งต่อมาท่านไปงานบุญบั้งไฟที่บ้านด่านปากมูล (ปัจจุบัน อ.โขงเจียม) ระยะทางประมาณ 30 ก.ม. ในเวลาออกเดินทางนั้น เป็นเวลาบ่าย 2 โมง ไปถึงก็เป็นเวลาบ่าย 2 โมง ซึ่งก็มีญาติโยมหลายคนที่ติดตามไป แต่ท่านให้เดินไปก่อนและการไปนั้นก็เดินไปตามธรรมดา แต่หากว่าเวลาไปถึงก็เป็นเวลาบ่าย 2 โมงเหมือนเดิม เวลาไปทางน้ำก็นั่งเรือพายไปบางครั้งมีฝนมีลมมีคลื่นแรงก็ไม่กลัว หรือไปโดยตามปรกติสดวกสบายก็มี ด้วยเหตุการณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวนั้นก็มีข่าวเล่าลือไปทั่วทุกทิศทางอย่างแพร่หลาย จนข่าวลือไปถึงเมืองอุบล ฯ มีอยู่ครั้งหนึ่ง ท่านเจ้าคุณธรรมบาล ที่อยู่เมืองอุบล ได้ยินคำเล่าลือในเรื่องต่าง ๆ มาก็เลยอยากจะลองไปสืบดูให้ได้ความจริง จึงได้นำคณะออกเดินทางไป การเดินทางในสมัยนั้น ยานพาหนะรถยนต์ก็ไม่มี ต้องใช้ช้างเป็นพาหนะเดินทาง ไปได้ประมาณครึ่งทาง (อยู่ระหว่างไหนก็ไม่ทราบ) ในขณะเดียวกันนั้นทางด้านเจ้าปู่สัมเด็จลุน ท่านรู้ด้วยญาณวิถีอันใดก็ไม่ทราบท่านได้เตรียมตัวออกไปต้อนรับอยู่ระหว่าง ครึ่งทางนั้น และไปองค์เดียวเพื่อต้อนรับคณะของเจ้าคุณธรรมบาล ท่านได้ครองผ้าใส่สังฆา และมัดอก อย่างดี พร้อมทั้งสพายง้าว ซ้ายขวา และได้ไปพบกันครึ่งทาง ท่านเจ้าคุณนั่งอยู่บนหลังช้างมองเห็น พวกคณะที่ไปด้วยก็เห็น จึงร้องทักขึ้นว่าพระอะไรกันนี่ ถืออาวุธด้วย ทางด้านสัมเด็จลุน ก็ตอบไปว่า มารับนายฮ้อยช้าง มันก็ต้องทำแบบนี้ พอพูดเสร็จก็หายวับไป เมื่อท่านเจ้าคุณใหญ่ได้รับคำตอบอย่างนั้นแล้วก็หวนคิดคำนึงดู ก็เข้าใจ จึงถามคณะที่ไปด้วยว่า ครูบาสพายง้าวเมื่อกี้นี้ไปทางไหน ใคร ๆ ก็ตอบว่าเห็นเดินผ่านไปแล้ว พอจะหันไปดูอีกก็ไม่เห็นแล้วหายไปเร็วมาก ท่านเจ้าคุณใหญ่เมื่อรู้เช่นนี้แล้วก็พอเข้าใจจึงพูดกับบรรดาคณะที่ไปด้วย ว่า ครูบาองค์นี้คือสัมเด็จลุน ที่เขาเล่าลือกันทั่วไป ที่พวกเรามีจุดประสงค์มาเพื่อสืบหาความจริง ทีนี้พวกเราก็เห็นตัวจริงแล้ว ก็เลยชวนกันกลับ ถ้าขืนไปก็เสียเหลี่ยมให้เขาเพราะเขาสพายง้าวตามปรกติ ซึ่งเป็นวัตถุที่ไม่มีจิตวิญญาณ ส่วนพวกเรานี่ผิดมากกว่าเขาอีกใช้สัตว์เป็นพาหนะ พูดเสร็จก็พากันกลับ

    เหตุการณ์ที่แสดงออกครั้งนี้ทำให้เห็นความรู้ความฉลาดปรีชาสามารถของสัม เด็จลุนที่มีเหนือกว่าสัตรู การแสดงออกท่านใช้วาทะตอบคำทักท้วงของสัตรูเพียงสั้น ๆ ก็สามารถทำให้ผู้มีความสงสัยหายสงสัยได้ในเวลาชั่วพริบตา

    และมีอีกครั้งหนึ่งเจ้าปู่สัมเด็จลุนพร้อมเณรองค์หนึ่งเข้าไปทำธุระในเมือง ปากเซ จะเป็นเพราะว่าท่านหิวน้ำหรืออะไรก็ไม่รู้ท่านได้แวะเข้าไปร้านขายเหล้าและ ได้ซื้อมากินพอกินหมดไปครึ่งแก้วก็ถูกตำรวจจับ และนิมนต์ไปหานายที่เป็นฝรั่ง เพราะเวลานั้นเมืองลาวตกเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งพอไปถึงตำรวจก็รายงานว่า ครูบาองค์นี้กินเหล้า ฝรั่งจึงถามว่า ญาครูทำไมจึงกินเหล้า ไม่รู้หรือว่าเป็นพระเข้าห้ามกินเหล้า สัมเด็จลุนจึงตอบว่า อาตมารู้ว่าเขาห้าม แต่ยังไม่รู้ว่าทำไหมเขาจึงห้าม อาตมาอยากรู้อันนั้น จึงมาซื้อกิน แต่ก็ยังไม่ทันได้กิน ฝรั่งจึงพูดว่า ท่านกินเหล้าแล้วรึ ตำรวจเขาจึงจับท่านมาพร้อมทั้งหลักฐานคือแก้วเหล้าที่ท่านกิน ฝ่ายเจ้าปู่ก็ยังปฏิเสธว่า ยังไม่ได้กิน แก้วนั้นอาจจะเป็นแก้วเหล้าจริง ๆแต่ว่าน้ำที่อยู่ในแก้วที่อาตมากินเข้าไปนั้น มันไม่ใช่เหล้า แล้วฝรั่งก็ซักถามอีกว่า ถ้ามีเหล้าญาครูก็จะกินใช่ไหม เจ้าปู่ก็ตอบว่า อาตมาพูดกับท่านแล้วว่า อาตมาออกมากินเหล้า ฝรั่งจึงให้คนใช้ไปเปิดเอาเหล้าที่ตู้มาเปิด แล้วส่งให้ฝรั่ง ๆ ก็เอามาตั้งบนโต๊ะ ซึ่งหน้าเจ้าปู่แล้วก็บอกว่า ถ้าครูบาจะกินก็กินเลยเจ้าปู่ก็ตอบว่าขอบใจแล้วก็จับแก้วเหล้านั้นมา แต่ก็เทใส่จอกแล้วยกขึ้นเทใส่ปากเลยจนหมดครึ่งแก้วก็วางตั้งลงไว้ที่เก่าต่อ หน้าฝรั่งพร้อมกับพูดว่าท่านนี้บาปโกหกครูบาฝรั่งก็ปฏิเสธว่าไม่ได้โกหกอัน นี้มันใช่แก้วเหล้าแห้ง ฝ่ายเจ้าปู่ก็พูดต่อว่า ใช่ แก้วนี้ อาจจะใช่แก้วเหล้า แต่น้ำในแก้วมันไม่ใช่เหล้าไม่เชื่อก็เชิญท่านดื่มลองดู เมื่อฝรั่งถูกเจ้าปู่ปฏิเสธทำนองนั้น เขาก็หันมองหน้าเจ้าปู่ เห็นว่าไม่มีอะไรผิดปรกติ เพราะธรรมดาคนกินเหล้าหน้าตาก็ต้องผิดปรกติ เขาจึงจับเอาแก้วมาเทใส่จอกกิน ก็รู้สึกว่าไม่ใช่เหล้า จึงเทให้ตำรวจกิน ตำรวจก็ว่าไม่ใช่เหล้า และเอาแก้วเหล้าที่ตำรวจถือมาเป็นหลักฐาน ที่ว่าญาครูกินเหล้านั้น มาเทกินดูก็รู้สึกว่าไม่ใช่เหล้า ในที่สุดฝรั่งก็ยอมจำนน จึงหันไปพูดกับตำรวจพร้อมทั้งชี้มือแล้วบอกว่า แต่นี้ไปใครว่าญาครูนี้กินเหล้าต้องมีโทษพูดกันมาถึงตรงนี้ก็เลิกแล้วกันไป

    ต่อแต่นั้นมาฝรั่งคนนั้นก็มีความงึดง้ออัศจรรย์ และมีความเคารพนับถือเจ้าปู่เป็นอย่างสูง ต่อมาฝรั่งคนนั้นคิดอยากจะนิมนต์ เอาเจ้าปู่ไปเที่ยวชมเมืองฝรั่ง ที่กรุงปารีส จึงแต่งให้คนมานิมนต์ เจ้าปู่จึงถามว่า ไปยังไง ทางทางไหน ผู้มานิมนต์ก็บอกว่า ไปทางเรือกำปั่นข้ามมหาสมุทรหลายวันหลายคืนจึงถึง เจ้าปู่จึงพูดกับผู้มานิมนต์ว่า โฮย เราคนบ้านโคกบ้านป่าเป็นคนกลัวน้ำ เราไม่กล้าไปด้วยหรอก กลับไปบอกเขา ซ่ะ ให้บอกเขาว่าขอขอบใจกับเขามาก ๆ เราไม่กล้าไปเพราะเรากลัวน้ำ กลัวเรือล่ม เราว่ายน้ำไม่เป็น แล้วผู้มานิมนต์ก็กลับไปบอก ตามความเจ้าปู่สั่ง ฝรั่งคนนั้นก็มีความสงสัยว่า หรือว่าเป็นเพราะเราไม่ได้ไปนิมนต์ด้วยตัวเองหรอ ท่านจึงไม่รับ ต่อมาฝรั่งคนนั้น จึงชวนเอาเจ้านายคนลาวจำนวนหนึ่ง พร้อมทั้งครอบครัวลาวเอง ลงเรือฮีปาวี ที่เอามาจากเมืองฝรั่ง หมายเลขเบอร์ 2 ที่เอามารับใช้การงานอยู่ประเทศลาว พากันมานิมนต์เอาเจ้าปู่เวลานั้นเป็นฤดูฝนปลายเดือน 9 ต่อเดือน 10 น้ำโขงกำลังนองเต็มตลิ่ง เรือฮีปาวีฝรั่งได้มาหยุดที่ท่าวัดบ้านเวินไช จึงพร้อมกันขึ้นมานิมนต์ พูดเหมือนกันกับคณะก่อนที่มา และเจ้าปู่ก็ปฏิเสธเหมือนเดิม สุดท้ายก็พูดว่าถ้าไม่ไปด้วยกันจนถึงเมืองฝรั่ง ก็นิมนต์ไปด้วยถึงเมืองปากเซก็ได้ ฝ่ายเจ้าปู่ก็ยังพูดว่าเป็นคนกลัวน้ำ กลัวเรือล่มอาตมาว่ายน้ำไม่เป็น ฝ่ายผู้มานิมนต์ก็รับรองว่าจะไม่ล่ม เพราะเรือใหญ่สามารถวิ่งผ่านข้ามมหาสมุทรก็ยังได้ แค่แม่น้ำโขงเล็ก ๆ เรานี้ มันไม่ล่มหรอก ฝ่ายเจ้าปู่ก็พูดว่าซ้าไปอีกว่า ถ้ามันจะล่มมันไม่เลือกว่าน้ำใหญ่น้ำน้อย เด๊ ฝ่ายผู้นิมนต์ก็ยังยังยืนยันอยู่เหมือนเดิม สุดท้ายเจ้าปู่ก็อดบ่ลนทนบ่ได้ จึงได้พูดว่า เอ้า ไปก็ไป แต่ว่าถ้าเรือที่นั่งล่มอาตมาจะไม่ไปด้วยน่ะ พูดเสร็จก็พากันลงจากกุฏิไป พอไปถึงเรือใคร ๆ ก็ไต่ไม้แผ่นพาดฝั่งพาดปากเรือขึ้นเรือหมดแล้ว ก็พากันร้องนิมนต์ เจ้าปู่นิมนต์เลย รับประกันเลย ฝ่ายเจ้าปู่ยืนอยู่ปลายสุดของแป้นพาดฝั่งผู้อยู่ในเรือก็นิมนต์เพิ่มว่า นิมนต์เดินเข้ามาเลย รับประกันบ่เป็นหยัง ฝ่ายเจ้าปู่ก็ยกเท้าข้างหนึ่งไปเยียบแป้นพาดเรือ เฮ็ดเหยาะ ๆ ยอง ๆ ก็คนขี้กลัว ในขณะนั้นแคบเรือแม่นเอียงลงจนน้ำไหลเข้าเรือ และ สิ่งของในเรือก็กลิ้งชนกันเสียงดังสนั่น บันดาผู้ที่อยู่ในเรือ โดยเฉพาะครอบครัวของฝรั่งเอง ก็พากันร้องขึ้นว่า เรือจะล่มแล้วนิมนต์ท่านออกซ่ะ บ่เอาแล้ว ผลที่สุดก็บ่ได้เจ้าปู่กลับไปด้วย

    ตอนนี้ก็แสดงให้เห็นบทบาดของพระสงฆ์ลาวที่มีความสามารถเอาชนะคู่ต่อสู้ได้ อย่างมหัศจรรย์ บ่ว่าแต่คนลาว แม่นแต่คนต่างชาติก็ต้องยอมจำนน และมีความเคารพนับถือ อยู่ต่อมาก็มีนักปราชญ์อาจารย์หลาย ๆ คนใครก็ว่าใครเก่ง ได้พากันมาทดสอบกับเจ้าปู่สำเร็จลุน โดยวิธีพากันเอาหนังสือพระไตรปิฏกเป็นผูก ๆ มาแก้สายสนองออก แล้วซ่ะทั่วไป แล้วให้อาจารย์แต่ละคนเก็บคืน ให้ถูกตามผูกตามมัด ใบอ่อนใบแก่ให้ถูกต้องเหมือนเดิม อาจารย์ผู้ใดก็เฮ็ดบ่ถูก มีอาจารย์เจ้าปู่สำเร็จลุนองค์เดียวทำได้ วิธีของท่าน ๆ ใช้ไม้แส้เล็ก ๆ สอดใบนั้นใส่ใบนี้สอดไปสอดไปจนหมดสำเร็จแล้วก็พากันตรวจดู ก็ถูกหมดไม่มีผิด อันนี้ก็เป็นเรื่องน่าอัศจรรย์อีกอันหนึ่ง
     
  17. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    อยู่ต่อมายังมีเรื่องท้าวจันทร์ คนบ้านดอนไซ เป็นนายพรานไปเที่ยวหายิงเนื้อ ไปต่อไปเกิดหลงป่า ว่าตนเป็นนายพรานเนื้อหายิงลมั่ง ก็ยังหลงป่าเกือบถูกเสือขย้ำกระดูกคอ แต่ว่าบุญแกยังมีอยู่ เดินไปเดินมาก็เลยไปพบเห็นอาจารย์บังบด อยู่ในวัดผีหัวภูคอนแร่ (อยู่หัวคอนหลีผี) แล้วอาจารย์องค์นั้น ก็เอาท้าวจันทร์ไปอยู่ด้วย ให้เป้นโยมอุปัฐากรักษา ถวายข้าวน้ำอยู่ได้ประมาณ 3 ปี อาจารย์ผีคอนแร่ จึงได้เอาท้าวจันทร์ ส่งกลับคืนบ้านดอนไซเหมือนเดิม (ข่าวการหายตัวไปของท้าวจันทร์ก็เล่าลือไปอย่างกว้างไกลจนได้ยินไปถึงเจ้า องค์ครองเมืองก็ได้มีความเมตตา แจ้งการหายไปตามบ้านต่าง ๆ ให้ช่วยค้นหาติดตามแต่ก็ไม่ได้ผล จนกาลเวลาล่วงพ้นไปได้ 3 ปีจึงเห็นท้าวจันทร์กลับคืนมา เมื่อท้าวจันทร์กลับคืนมาใคร ๆ ก็มาถามข่าวถามคราว การไปของท้าวจันทร์ และท้าวจันทร์ก็ได้พูดความจริงให้ทุกคนได้ฟัง และข่าวนี้ก็ได้รู้ถึงเจ้าองค์ครองเมืองอีก เจ้าองค์ครองเมืองจึงมีคำสั่งเรียกเอาท้าวจันทร์ไปสอบถามเรื่องราวที่ไปอยู่ กับผีคอนแร่ ว่าเป็นมาอย่างใด ท้าวจันทร์ก็ได้รายงานว่า เนื่องจากข้าน้อย ไปเที่ยวป่าหายิงเนื้อ ก็เลยหลงป่าไป จึงไปพบเห็นอาจารย์บังบด ท่านจึงเอาข้าน้อยไปอยู่ด้วยให้เป็นโยมอุปัฐาก ในชั่วระยะที่อยู่ด้วยกันนั้น ครั้นถึงเมื่อวันพระ 14-15ค่ำ ก็ได้เห็นครูบาคนบ้านเราไปวัดนั้นเป็นประจำ ครั้นพ้นวันพระไปแล้วอาจารย์องค์นั้นก็หายไป ฝ่ายเจ้าองค์ครองเมืองก็ถามท้าวจันทร์อีกว่า ถ้าเจ้าเห็นอาจารย์องค์นั้นเจ้าจะจำได้ไหม ท้าวจันทร์ก็ตอบว่าจำได้เพราะข้าน้อยได้อุปฐากท่านอยู่ทุกๆวันพระ ต่อจากนั้นเจ้าองค์ครองเมืองก็ได้ออกคำสั่งให้นิมนต์เอาอาจารย์แต่ละวัด ในขอบเขตเมืองจำปาสัก มาให้ท้าวจันทร์ดู ท้าวจันทร์ดูองค์ใดก็ไม่ใช่ ให้นิมนต์มาจนหมดในแวดวงขงเขตเมืองจำปาสัก ยังเหลือแต่พระขี้เหล้าองค์เดียว อยู่วัดบ้านเวินไซ เมื่อได้รับรายงานแบบนั้นแล้ว เจ้าองค์ครองเมืองจึงมีคำสั่งอีกว่า ขี้เหล้าหรือไม่ขี้เหล้าก็ให้นิมนต์มาให้หมด เมื่อคำสั่งอันนั้นไปถึงเจ้าปู่ ก็ได้รับคำนิมนต์ แล้วก็ออกเดินทางโดยทางเรือเมื่อเรือไปถึง และจอดรอเจ้าองค์ครองเมือง แล้วก็ขึ้นจากท่าเดินไป เพราะว่าจากท่าไปหาคุ้ม (เรือน) เจ้าองค์ครองเมืองไม่ใกลประมาณ 100 เมตร พอท้าวจันทร์เหลียวเห็นก็วิ่งไปหาเลย พร้อมทั้งพูดว่า ใช่อาจารย์องค์นี้แน่ ๆ แต่นั้นมาเจ้าองค์ครองเมืองจึงมีความเคารพนับถือเจ้าปู่เป็นอย่างสูง

    อยู่ต่อมาได้มีพวกพ่อค้าแม่ค้า มาจากเมืองพนมเป็ญ ประเทศเขมร และ มาจากกรุงเทพประเทศไทย ได้มาเห็นอาจารย์เจ้าปู่สำเร็จลุนอยู่วัดเวินไซ พ่อค้าเมืองพนมเป็ญก็พูดว่า เคยเห็นอาจารย์องค์นี้อยู่เมืองพนมเป็ญใช่แน่ ๆ พ่อค้าแม่ค้ามาจากกรุงเทพก็พูดว่าเคยเห็นอาจารย์องค์นี้อยู่กรุงเทพใช่แน่ ๆ

    อันนี้ก็เป็นเหตุการณ์อันหนึ่ง ที่แสดงให้เห็นถึงบทบาดความเก่งกล้าของพระสงฆ์ลาว ที่สามารถไปแสดงตนอยู่ในต่างประเทศ และนำเอาเกียรติ ศักดิ์ศรี มาสู่วงการคณะสงฆ์ ก็คือแก่ประเทศชาติที่หาได้อยาก

    และอีกเรื่องหนึ่ง อยู่ต่อมามีอาจารย์มหาคำพาคนเมืองจำปาสักได้ไปเรียนมาจากเมืองเกาะลังกา กลับมาอยู่วัดเมืองจำปาสักอยู่ต่อมาท่านได้ยุบพระพุทธรูปทอง เงิน ทองคำ มาหล่อ ทำเป็นองค์เดียวกัน การกระทำของอาจารย์มหาคำพา คือดังว่ามานั้น เสียงส่วนมากของครูบาอาจารย์ และญาติโยมตลอดถึงเจ้าองค์ครองเมือง ไม่เห็นด้วยให้ท่านยุบ ได้พูดกันแล้วก็เอาชนะพระมหาคำพาไม่ได้เพราะท่านพูดว่าท่านเรียนจบมาจาก เมืองเกาะลังกา

    อยู่ต่อมาด้วยความไม่พอใจในการกระทำของพระอาจารย์มหาคำพานั้นเสียงส่วนมาก ของครูบาอาจารย์และญาติโยมพร้อมด้วยเจ้าองค์ครองเมืองก็ลงความเห็นเป็น เอกภาพกันว่าให้ไปนิมนต์เอาอาจารย์เจ้าปู่สำเร็จลุนอยู่วัดบ้านเวินไซมาพูด กันที่เมืองจำปาสัก ครั้นเจ้าปู่ไปแล้ว ก็นัดวันเวลา ให้แน่นอน ใคร ๆ ก็สนใจเป็นพิเศษ เพื่อมาฟังการโต้วาทีของนักปราชญ์ใหญ่ ที่จะได้ทำสงครามปากกัน ทางด้านวาทศิล ว่าใครจะมีคารมคมคายเหนือกว่ากัน เพื่อจะตัดวินะติกังขา ความสงสัยของปวงชนให้เด็ดขาดลงไปในวันนัดหมายกันนั้น ประชาชนก็พากันหลั่งไหลกันเข้ามานับเป้นร้อยเป็นพัน มีเจ้าองค์ครองเมืองเป็นประมุข ครั้นได้เวลาที่ถือว่าเป็นฤกษ์งามยามดี เจ้าองค์ครองเมืองก็แจ้งจุดประสงค์ ในการอาราธนาพระผู้เป้นเจ้ามาพบหน้าพบตากัน ในครั้งนี้ก็เพื่อให้พระผู้เป็นเจ้าพูดเรื่องจารีตพระครองสงฆ์ที่เป็นปัญหา ข้องคาอยู่ในแนวคิดจิตใจออกตนญาติโยมอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้มันแจ้งเหมือนดาวขาวเหมือนฝ้ายใสงามเหมือนแว่นข้าน้อย แล้วก่อนอื่นหมด

    โยม (หมายถึงเจ้าองค์ครองเมือง) ขอตางหน้าให้ที่ประชุมทั้งหมดขอโทษขอโพยด้วยอย่าให้เป็นบาป เป็นกรรมข้าน้อยท้อน มาถึงนี้เพื่อไม่เป้นการเสียเวลาโยมขออาราธนาพระคุณเจ้าทั้งสอง ได้โปรดเมตตาแก้ไขไต่สวนทวนถามไปตามทำนองครองธรรมเลยข้าน้อย แล้ว (ในการโต้วาทีครั้งนี้ไม่ได้มีการสมมุดสะมันยาซึ่งกันและกันว่าจะให้องค์ใด เป็นสักกระวาทะยาจารย์ องค์ใดเป็นปะละวาทะยาจารย์ คือพวกเราใช้กันอยู่ในยุคปัจจุบันนี้) พอสุดคำอาราธนาของเจ้าองค์ครองเมือง แม่นเจ้าปู่สำเร็จลุนรีบเปิดฉากบุกทันทีเลย โดยการยกปัญหาหนึ่ง ใกล้ ๆ หญ้าปากคอกขึ้นมาถามว่า ในพัทะกัลป์นี้มีพระพุทธเจ้ากี่องค์ ฝ่ายอาจารย์มหาคำพาก็เห็นว่าเรื่องเล็ก จึงให้คำตอบอย่างทันควันเลยว่า มี 5 องค์ เจ้าปู่สำเร็จลุนก็กล่าวแย้งขึ้นว่า มี 6 องค์ ฝ่ายมหาคำพาจึงถามทวนคืนว่า พระพุทธเจ้าองค์ที่ 6 นั้นชื่อว่าอะใร ฝ่ายเจ้าปู่เห้นได้ที ก็บุกทะลวงใหญ่เลยว่า องค์ที่ 6 ก็คือเจ้านั้นล่ะ เรื่องพระพุทธรูปมันคือตัวแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทุก ๆ คนใครก็มีความเคารพนบไหว้ และบูชามีแต่มหาคำพาผู้เดียวเป้นผู้ยุบยอบจูดเล้าเผาไหม้ตัวแทนของพระสัมมา สัมพุทธเจ้า แล้วท่านล่ะไปเรียนมาแต่ไหน มหาคำพาก็ตอบว่า เรียนมาแต่เกาะลังกา ฝ่ายเจ้าปู่สัมเร็จลุนยิ่งบุกหนักเข้าไปอีกว่า ให้ท่านไปทำยุบอยู่เมืองเกาะลังกาโน้น และให้ไปกินข้าวอยู่เกาะลังกาโน้น ไม่ให้อยู่เมืองลาว พอเจ้าปู่หยุดพูด ฝ่ายมหาคำพาก็หน้าเสียกลัวอย่างลนลาน ฝ่ายครูบาอาจารย์รวมทั้งญาติโยมเป็นร้อยเป็นพันตลอดถึงเจ้าองค์ครองเมืองก็ พร้อมกันตบมือโห่ร้องขึ้นเสียงดังสนั่น เพื่อให้เกียรติเจ้าปู่สัมเร้จลุนผู้มีชัยชนะ

    ในขั้นต่อไปเจ้าองค์เมือง ก็ได้นิมนต์เจ้าปู่ไปแสดงอภินิหารอยู่หัวภูมะโรง (ติดกับวัดภูจำปาสัก) ทำให้เป็นช้างเป็นเสือเป็นไฟเป็นฟืนเป็นลม ดำดิน เหาะเหินเดินอากาศก็ทำได้หมด จากผลงานที่เจ้าปู่แสดงออกมานั้น จึงทำให้เจ้าองค์ครองเมือง มีความเคารพกราบไหว้ในเจ้าปู่เป็นอย่างสูง (เข้าใจว่าอีกไม่นานในระยะใกล้ ๆ นี้ เจ้าปู่จะได้รับการทดสงฆ์บงประสิทธิพรแถมนามกรเพิ่มอีก ให้ปรากฏในแผ่นพื้นหิรัญสุรรณระชะตะปัจตาขึ้น ให้เป็นสัมเร็จเจ้าแต่นั้นสืบมา ) แต่ก็ไม่ปรากฎว่าเจ้าองค์ครองเมืองได้นิมนต์ให้ท่านมาอยู่ในเมืองจำปาสัก คงปะให้ท่านอยู่ประจำในวัดเวินไซจนถึงอายุขัยของท่าน และปรากฎว่าอายุของท่านได้ 59 ปี ท่านได้เข้ากินเหล้า

    ครั้นอยู่จำเนียนกาลนานมาถึงปี พ.ศ. 2466 ค.ส.1920 ตรงกับปีระกา เดือน 11 วันเพ็ญ ขึ้น 15 ค่ำ เวลา ตอนบ่าย กลางคีนใกล้จะรุ่ง เจ้าปู่สัมเร็จลุนได้ถึงแก่มรณะภาพไปในวันนั้น ครั้นท่านมรณะภาพไปแล้ว ทางคณะสงฆ์ และญาติโยมก็ได้พากันตั้งศพไว้บำเพ็ญบุญและครบงันกันมาจนถึงเดือน 4 จึงได้เริ่มพิธีจัดตั้งอย่างเป็นทางการ โดยเฉพาะเจ้าองค์ครองเมืองเป็นประธาน และ พร้อมด้วยพระสงฆ์สามเณร และญาติโยมทุกถ้วนหน้า ได้พากันทำศพครบงันอยู่ 7 วัน 7 คืน จึงได้เอาศพเคลื่อนที่ออกไปถวายเพลิง เมื่อเสร็จแล้วก็ได้เก็บกระดูกเข้าธาตุอยู่วัดเวินไซใหญ่ ส่วนตรงที่ตั้งเมรุเผาศพนั้น ต่อมาไม่นานก็ได้มีต้นโพธิงอกขึ้นมาจำนวน 5 ต้น ต่อมาได้ตั้งวัดตรงที่ต้นโพธิงอกขึ้นมานั้น ตั้งชื่อว่า วัดโพธิเวินไซมาจนเท่าทุกวันนี้ และต้นโพธินั้นก็ได้รับการสักการะบูชาจากชาวพุทธอย่างกว้างขวางตลอดมา

    กิตติศักดิ์ชื่อเสียงเรียงนาม ของเจ้าปู่ยังมีมากกว่านี้ ดังครั้งหนึ่งใน ปี ค.ส. 1952-53 ผู้เขียนเองได้ไปเที่ยวทางเมืองทุละคล แขวงเวียงจันน์ ได้ไปพักเยี่ยมยามอยู่วัดโพนแร่ บ้านเกิน อยู่ในวัดนั้นมีอาจารย์เจ้าวัดเป็นพระเถระมีอายุมากแล้ว เวลาผู้เขียนเข้าไปกราบไหว้ ขอพักจำวัดด้วยท่านก็ไม่ปฎิเสธ และตามมารยาดของอาวาสีกะวัด ท่านก็ได้ให้พระเณรจัดแจงที่หลับที่นอนให้พอเหมาะพอสมควร และก็โอ้โลมซักไซไต่ถามถึงชื่อเสียงเรียงนาม ที่อยู่ ที่จะไป จุดประสงค์จำนงหมายทำนองนั้น ผู้เขียนก็ได้บอกไปตามความจริง เมื่อรู้เรื่องราวกันแล้ว ท่านเองก็ได้พูดว่า ผู้ข้าก็เคยได้ไปอยู่ทางใต้ได้ไปอยู่กับเจ้าปู่วัดบ้านเวินไซ แต่ได้กลับคืนมาอยู่บ้านหลายปีแล้ว และวันที่ท่านตาย ท่านยังได้มาบิณทบาตร กับพวกผู้ข้าอยู่ แล้ผู้เขียนจึงได้อีกว่า ท่านมาด้วยวิธีใด แล้วท่านก็เล่าให้ฟังว่า ในวันนั้นพวกผู้ข้าพากันออกบิณฑบาตร พอออกพ้นวัดไป ก็เห้นท่านอุ้มบาตรเดินออกหน้าและรับบาตรไปตลอดทาง แล้วก็กลับมาพอมาถึงวัดเดินข้ามพ้นวัดแล้วก็เลยหายไปพวกพระเณรที่เดินตาม หลังก็พากันกลับถามว่าครูบาผู้เฒ่าที่ไปบิณฑบาตรกับพวกเราในชั่วขณะหนึ่ง นั้นท่านไปทางไหนแล้ว ผู้ข้าเองก็ได้บอกว่าท่านกลับวัดท่านแล้ว พวกก็ถามอีกว่า วัดท่านอยู่ไหน ผู้ข้าก็ได้บอกว่า อยู่จำปาสักภาคใต้โน้น พวกก็ถามอีกว่าท่านมาได้ยังไง ผู้ข้าก็ได้บอกว่าอาจารย์องค์นี้ท่านไปไหนมาไหน ท่านไม่ยากเย็นเหมือนพวกเราหรอก ไปทางน้ำท่านก็ไม่หาเรือ ไปทางบกท่านก็ไม่หารถหาราเหมือนพวกเราหรอก และพระเณรก็พากันมาซักมาถามหลายอันหลายอย่าง ผู้ข้าก็ได้พูดเล่าสู่กันฟังเป็นเรื่องเป็นราวไปเลย

    เรี่องที่เล่ามาข้างบนนี้ เป็นเรื่องที่ผู้เขียนได้รับฟังมาด้วยตนเอง และในระยะหนึ่งมานี้ในปี ค.ศ.1994-95 ผู้เขียนได้ไปร่วมบุญเดือน 3 อยู่วัดพระธาตุบัวบก อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี สาเหตุที่ทำให้ได้ไปนั้น เป็นเพราะท่านพระครูพระบาทบริรักษ์ เจ้าอาวาสวัดพระบาทบัวบก ได้เข้าเที่ยวเวียงจันทน์ ได้มาแวะพักที่วัดของผู้เขียนหลายครั้ง ก็เลยเกิดเป็นวิสาสะนะระนายาติ มีความนับถือกันครั้นอยู่ต่อมาท่านจึงได้นิมนต์ให้ผู้เขียนไปเยี่ยมยาม ไปร่วมงานกัน ผู้เขียนก็ได้ไปหลายครั้ง แต่ครั้งปี 95 นั้น ในวัดพระบาทบัวบก ได้มีโยมผู้หญิงจีนคนหนึ่ง มาจากกรุงเทพ ฯ ได้มารู้จักคุ้นเคย กับท่านพระครูมานานแล้ว ต่อมาได้มาสร้างกุฏิถวายให้ท่านพระครู บังเอิญเวลานั้นโยมผู้หญิงเจ้าศรัทรา มาถวายกุฏิที่สร้างถวายนั้น พอดีผู้เขียนก็ได้ไปร่วมงานนั้น และ ผู้เขียนเองก็เป็นผู้มีอายุพรรษามากกว่าเพื่อน ท่านเจ้าอาวาสก็เลยแนะนำเจ้าศรัทราว่า ให้ผู้เขียนเป็นผู้รับ ในขณะที่พูดกันอยู่นั้นยังไม่ถึงเวลาทำพิธีถวาย ผู้เขียนมองไปเห็นป้ายชื่อของกุฏิว่า ? กุฏิอนุสรณ์สำเร็จลุน? ผู้เขียนจึงถามท่านเจ้าอาวาส ซึ่งตรงหน้าเจ้าศรัทรา และอีกหลาย ๆ คน เพราะผู้เป็นเจ้าศรัทราเข้ามาถวายกูฏิ เขาก็เอาพรรคพวกมาร่วมกันหลายคนจึงได้ถามว่า สำเร็จลุนองค์ไหน ท่านเจ้าอาวาสจึงตอบว่า สำเร็จลุนบ้านเวินไซโน้นล่ะ ต่อจากนั้นผู้เขียนก็ได้หันหน้าไปพูดกับเจ้าศรัทราว่า โยมที่สร้างกุฏิหลังนี้คงจะได้บุญมากน่ะ เมื่อโยมทั้งหลายได้ยินดังนั้นจึงได้ถามว่า เป็นยังไงหลวงปู่จึงคิดว่าจะได้บุญมาก ผู้เขียนจึงตอบว่า ก็ด้วยญาติโยมทั้งหลายได้สร้างกุฏิอนุสรณ์สำเร็จลุน เมื่อสร้างเสร็จเวลาจะถวายยังได้หลานของเจ้าปู่สำเร็จลุนมารับแทน โยมเจ้าศรัทราก็ตื่นเต้นและได้ถามขึ้นว่า หรือว่าว่าหลวงปู่องค์นี้เป็นหลานท่านใช่ไหม ผู้เขียนจึงตอบว่าใช่แล้ว พอดีท่านเจ้าอาวาสก็พูดสอดเสริมขึ้นว่า ใช่จริง ๆ ด้วยโยม ๆ คงได้บุญมากแน่ ๆ เพราะว่าท่านองค์นี้สถานะของท่านถ้าท่านอยู่บ้านเรา ท่านคงเป็นรองสัมเด็จพระสังฆราชโน้นล่ะ ท่านไม่ธรรมดาน่ะโยม เมื่อถึงวันที่โยมจะถวายกุฏิ บังเอิญได้ท่านมารับการถวายอีกต่างหาก ไม่แน่อาจเป็นวิญญาณของเจ้าปู่สำเร็จลุนดลบันดาลให้หลานท่านมารับแทนจึงเท่า กับว่าโยมได้ถวายโดยตรงกับเจ้าปุ่สำเร็จลุนก็ว่าได้ อาตมาก็ขอแสดงความยินดีด้วย เอ้าใครจะมีศรัทราทำบุญกับรองพระสังฆราชลาวก็เชิญ เมื่อท่านพระครูเจ้าอาวาสพูดเสริมขึ้นในลักษณะนั้น บันดาญาติโยมที่อยู่ในบริเวณนั้นทั้งหญิงและชาย ทั้งจีน ไทย ลาว ต่างก็ควักกระเป๋าสตางค์กันเป็นพัลวัน ทั้ง 5 บาท 10 บาท 20 บาท 100 บาท 200 บาท ก็มี เพื่อร่วมกับเจ้าศรัทราได้มากพอสมควร ถ้าผู้เขียนจำไม่ผิดก็ประมาณ 30,000 กว่าบาท ก็นับว่ามากพอสมควร

    เรื่องนี้ก็แสดงให้เห็นบทบาทอิทธิพล ของพระสงฆ์ลาวในอดีตที่ลือชาปรากฏไปอย่างกว้างใกลและยาวนาน เมื่อเอ่ยถึงบทบาทของท่านขึ้นเวลาใดก็มีผลเวลานั้นเลย

    ตามที่ผู้เขียนได้ไปเที่ยวที่ประเทศไทยที่ภาคกลาง 10 กว่าจังหวัด อยู่ภาคอีสาน 17 ? 18 กว่าจังหวัดหรือเกือบหมดทุกจังหวัด ไปถึงที่ใด เมื่อเอ่ยถึงชื่อเสียงเรียงนามของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก และ เจ้าปู่สำเร็จลุน ผู้คนเขารู้จักไปทุกที่ทุกแห่ง พร้อมทั้งแสดงความเคารพนับถืออย่างสูง ทีอยู่บ้านเราเมืองเรา ผู้เป็นลูกเป็นหลานกลับมีความสนใจน้อยเหลือเกิน ตามที่ผู้เขียนได้ผ่านไปมาเกือบทุกแขวง ใน 17 ? 18 แขวง ยังเหลืออีก 3 แขวง ไปถึงที่ไหนเวลาใด ที่มีโอกาศได้พูดคุยกันทั้งที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการพวกเขาเหล่านั้น ทั้งที่เป็นญาติโยม และพระสงฆ์องค์เจ้านับต่ำสุดถึงสูงสุดก็ไม่ค่อยเห็นเขาเหล่านั้นมีความสนใจ กระตือรือล้นออกมา ทั้งทางด้านทฤษฏิ และด้านปฏิบัต เช่นตัวอย่าง เรื่องของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เจ้าปู้สำเร็จลุน แค่หนังสือชีวะประวัติ ก็หาอ่านยากเต็มที แทบจะเรียกได้ว่าไม่มีเลยก็ได้ ถึงมีก็ไม่สามารถยึดถืออ้างอิงได้ ยิ่งอนุสรณ์สถาน เช่น ธาตุเจดีย์ รูปหล่อ ยิ่งหายาก สำหรับเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ญาคูขี้หอม) มีธาตุบรรจุกระดูกท่านสวยงาม และรูปหล่อเท่าตัวจริง มีปรากฏอยู่ในบริเวณพระธาตุพนมฝั่งไทยผู้คนทั้งหลายนับถือกันว่าเป็นพระ อรหันในอดีต พากันเคารพนบไหว้ และยกย่องสรรเสริญให้ประชาชนเกิดความเลื่อมใส หลั่งไหลกันไปทำบุญ จนกลายเป็นที่มาของรายได้อย่างมหาศาล ทีอยู่บ้านเราเมืองเราผู้เป็นลูกเป็นหลานแท้ ๆ กลับไม่ค่อยให้ความสนใจค้นคว้าเท่าที่ควร เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก (ญาคูขี้หอม) อยู่บ้านเรา ธาตุบรรจุกระดูกท่านก็มี รูปหล่อเท่าตัวจริงก็มี อยู่วัดธาตุทุ่งจำปาสัก เจ้าปู่สำเร็จลุนธาตุบรรจุกระดูกท่านก็มี รูปหล่อเท่าตัวจริงก็มี อยู่วัดบ้านเวินไซ ตาแสงเวินไซ เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ถึงมีก็เท่ากับว่าไม่มี เพราะว่าธาตุ รูปหล่อ ของท่าน ก็ขาดการดูแลรักษาไม่ต่างอะไรกับธาตุ ตาสี ตาสา ลุงมี รูปหล่อก็ไม่ต่างอะไรกับรูปที่สลักขึ้นมาจากก้อนหินแม่น้ำโขง เหล่านี้พวกเราก็ยังมีอยู่ แต่ว่ามีแบบมีทรัพย์ในดินสินในน้ำ ยังไม่ได้ช่วยกันขุดค้นขึ้นมาดัดแปลงให้เป็นประโยชน์แก่สังคม เหมือนกับสุภาษิตบูราณที่ว่า ของที่ดีย่อมมีประโยชน์แก่ผู้ที่รู้จักใช้เท่านั้น

    ชีวะประวัติย่อ ของเจ้าปู่สำเร็จลุน ที่ได้เก็บรวบรวมจากมูลต่าง ๆ พร้อมทั้งบทวิจารณ์ของผู้เขียนที่ได้นำมาเสนอนี้ หวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่ผู้อ่าน ผู้สนใจ ไม่มากก็น้อย

    ประวัติย่อเจ้าปู่สำเร็จลุนนี้ได้คัดลอกจากฉบับที่เป็นภาษาลาวเกือบทั้งหมด ของพระอาจารย์มหาผ่อง สมาฤกษ์ วัดองตื้อ เวียงจันทน์ เป็นผู้เรียบเรียงไว้ ซึ่งท่านได้รับความร่วมมือ จากญาท่านโสภา บ้านสักเมือง ตาแสงสักเมือง เป็นคณะ พ.ส.ล.เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก ผู้ช่วยค้นคว้าที่สำคัญพอเชื่อถือได้เช่น บูราง ตาแสงจานผึ้ง พ่อเฒ่าจานจัน จานทัด และพ่อเฒ่านี พวกเหล่านี้เป็นในบ้านสักเมือง บ้านเวินไซก็มี ในจำนวนนี้บางคนก็เกิดทันร่วมสมัยกับท่าน แต่หากอายุยังน้อยอยู่ ดังนั้นจึงเชื่อว่าก่อนการบอกเล่าของท่านเหล่านี้คงไกล้กับความเป็นจริงมาก ที่สุด
     
  18. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    (เป็นประวัติอีกหนึ่งข้อมูลที่น่าสนใจครับครับ)




    ประวัติสำเร็จลุน

    หลวง ปู่สำเร็จลุน เป็นเรื่องที่เกิดมานานแล้ว ส่วนใหญ่มาจากคำบอกเล่าของชาวบ้านในรุ่นหลานเหลนซึ่งบันทึกและรวบรวมโดย ท่านพระครูไพโรจน์ปรีชาการ (สมณศักดิ์ในขณะนั้น พ.ศ.2527) เจ้าคณะอำเภอตระการพืชผล วัดอุดมผาราม อุบลราชธานี ซึ่งท่านพิมพ์เรื่องประวัติของหลวงปู่สำเร็จลุน ในหนังสือแจกงานพระราชทานเพลิงศพของ "พระศาสนดิลก (หน่วย ขันติโก) อดีตเจ้าคณะจังหวัดศรีษะเกษ วัดหลวงสุมังคลาราม ความดังนี้(เดี๋ยวมาต่อ)หลวงปู่สำเร็จลุนเกิดที่บ้านเวินไซ ตาหลังเวินไซ(ตำบล) เมืองโพนทอง นครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว เมื่อราว พ. ศ.2389
    ท่านเป็นลูกชาวนาโดยกำเนิด บิดาชื่อ ทิดหล้า มารดาไม่ทราบชื่อ มีพี่น้อง 6 คนคือ
    1นางสี
    2 นางพรหม
    3 หลวงปู่สำเร็จลุน
    4 นางทุม
    5 นายเชียงแก้ว
    6 นายบุดดี
    ทั้ง 5 คนพี่น้องตั้งหลักฐานอยู่ในประเทศลาว และขณะนี้สิ้นชีวิตหมดแล้ว

    อายุประมาณ 13 ปี พ.ศ.2402 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ สำนักวัดบ้านเวินไซ บ้านของท่านเอง พระอุปัชฌาย์ไม่ปรากฏ จำพรรษาเล่าเรียนจนอายุครบ 20 ปีได้ไปอุปสมบทที่สำนัก "วัดบ้านฮีบ้านเวียง" อำเภอตระการพืชผล ประเทศไทย พระอุปัชฌาย์สืบไม่ได้ ศึกษาอยู่กี่ปีสืบไม่ได้และได้ลาอุปัชฌาย์กลับวัดบ้านเวินไซ บ้านเกิดของท่าน

    ประมาณ พ.ศ. เท่าใดไม่ปรากฏ ท่านได้ร่วมกับพระซึ่งเป็นสหายรักใคร่สนิทสนมกันมาก คือ ญาท่านธรรมบาล วัดป่าน้อย เมืองอุบล ประเทศไทย ชักชวนกันไปศึกษาเล่าเรียนค้นคว้าจากสำนัก วัดบ้านนาหลงนาหลัก เมืองสุวรรณคีรี แขวงปากเซ ประเทศลาว โดยไปด้วยกันทั้งหมด 5 รูป เมื่อไปถึงได้เข้านมัสการแจ้งความประสงค์ขอมอบตัวเป็นศิษย์ พระอาจารย์ท่านก็ยินดีรับและมอบให้ทั้ง 5 รูปนี้ ให้ขึ้นไปบนหอไตร ซึ่งบรรจุพระคัมภีร์ต่างๆมากมาย ให้ค้นคว้าเอาเองจนกว่าจะพบ ถ้าหากไม่พบห้ามกลับลงมาฉันอาหารเพล
    มีตู้บรรจุพระไตรปิฎกอยู่ 3 ใบ ท่านพร้อมกับญาท่านธรรมบาล และพระภิกษุอีก 3 รูป ได้พร้อมกันค้นคว้าจนหมดทั้ง 3 ตู้ จนกระทั่งจวนถึงเวลาฉันอาหารเพล พระภิกษุทั้ง 3 รูป จึงได้ลงมาฉันอาหารเพลก่อน คงเหลือแต่ท่านและญาท่านธรรมบาลเท่านั้น ค้นอยู่จนอ่อนใจจึงไปพบอยู่ก้นตู้ผูกหนึ่งเล็กๆ ซึ่งสำคัญมาก ท่านทั้งสองจึงได้ถือเอาลงมาด้วย และได้นำไปศึกษาเล่าเรียนในตำราเล่มเล็กนี้ ก็คงได้ศึกษาแต่ท่านสำเร็จลุนและญาท่านธรรมบาลเท่านั้นรวม 2 รูป สำหรับพระภิกษุทั้ง 3 ขาดความอดทน พระอาจารย์สั่งไม่ให้ศึกษาและมีข้อห้ามที่ว่า "พระภิกษุที่ได้ศึกษาจากตำราเล่มนี้จะสึกมิได้ต้องอยู่ในเพศพรหมจรรย์ตลอด ชีวิต"

    ขณะสำเร็จลุนจำพรรษาอยู่บ้านเวินไซนั้น ยังมีพระสหธรรมิกที่รักใคร่กันอีกรูปหนึ่ง คือ พระแก้ว ไพฑูรย์ ซึ่งรักใคร่นับถือกันมาก พระแก้วไพฑูรย์ไปยังไงมายังไง ภายหลังไม่ปรากฏชื่อเสียงเลย คงเหลือแต่พระผู้เป็นสหายเคยเล่าเรียนตำราเล่มเดียวกันมา คือ ญาพระธรรมบาล ที่อยู่ทางเมืองอุบล ซึ่งยังไปมาหาสู่กันและกันอยู่เสมอทุกปีมิได้ขาด ถึงหน้าเข้าพรรษาจะมีเทียนขี้ผึ้งมาฝากถวายกันและกันทุกๆปีไม่ให้ขาดได้ ปฏิปทาของหลวงปู่สำเร็จลุน ท่านเป็นผู้รักสันโดษมักน้อย คือครองผ้า 3 ผืนตลอดชีวิตของท่าน ไม่รับเงินทองไม่สะสมทรัพย์สมบัติเลย ฉันอาหารมื้อเดียวและนั่งกรรมฐานทำสมาธิไม่เคยขาดแม้แต่วันเดียว หลวงปู่จำพรรษาอยู่เฉพาะสำนักวัดบ้านเวินไซเท่านั้น ไม่เคยไปจำพรรษาที่สำนักวัดอื่นเลย เว้นแต่ไปบวชเรียนดังเล่ามาข้างต้น
    ท่านมรณภาพ ณ วัดบ้านเวินไซบ้านเกิดของท่านเอง เมื่ออายุได้ 75 ปี รวมได้ 55 พรรษา นำศพไปฌาปนกิจที่ป่าทางเหนือบ้าน(เหนือน้ำ) ณ ที่ซึ่งทำฌาปนกิจนั้น ได้เกิดต้นโพธิ์ขึ้นมา 7 ต้น ชาวบ้านได้เห็นเป็นอัศจรรย์ จึงได้ถากถางปฏิบัติทำการสมโภชทุก ๆ ปี ต่อมา พระอาจารย์ทองดี จากอำเภอตระการพืชผล ได้ไปสร้างเป็นวัดขึ้น ให้เรียกชื่อนี้ว่า "วัดโพธิ์" แต่จากปากคำของชาวบ้านอำเภอโขงเจียม ที่ผู้เขียนไปได้ยินมา บางคนก็ว่าต้นโพธิ์นั้นขึ้นมาต้นเดียวก่อน แล้วจึงขึ้นต้นเล็กมาอีก 4 ต้นเป็น 5 ต้นด้วยกัน บางคนก็ว่าขึ้นต้นเล็กมาอีก 5 ต้น ภายหลังมีต้นหนึ่งยอดกุด หรือยอดด้วนเสีย แต่จะกี่ต้นก็ตาม บัดนี้ต้นโพธิ์จากซากเถ้าถ่านของท่าน มีอายุ 70 กว่าปีแล้ว รวมเข้าเป็นต้นใหญ่เพียงต้นเดียว แตกกิ่งก้านงดงามอยู่เสมอ สำหรับวัดที่อาจารย์ทองดีท่านไปสร้างขึ้นภายหลังนั้นชาวบ้านบางคนเขาไม่ เรียกวัดโพธิ์เฉย แต่เรียกว่า วัดโพธิ์ชัย ครูบาอาจารย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ และได้เคยเห็นหลวงปู่สำเร็จลุนเดินข้ามน้ำ และท่านได้เมตตาเล่าเรื่อง"หลวงปู่สำเร็จลุนเดินข้ามน้ำ"ท่านคือพระอาจารย์ เกียน ทีฆายุโก ลูกศิษย์ของหลวงปู่เทพโลกอุดร แห่งวัดสว่างวัฒนา บ้านดงมะไฟ สกลนคร ซึ่งท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า เคยเห็นสำเร็จลุนเดินข้ามแม่น้ำกับตา เรื่องมีอยู่ว่าในสมัยที่ท่านบวชเป็นเณรและได้มาอยู่กับ พระธรรมราชานุวัตร (แก้ว อุทุมมาลา ป.ธ. 6) อดีตเจ้าอาวาสวัดพระธาตุพนม ซึ่งในตอนนั้นยังดำรงสมณศักดิ์ชั้นพระครูท่านได้เรียกสามเณรเกียนเข้าไปพบ แล้วบอกว่า"พรุ่งนี้เช้าให้คอยดูให้ดีหลวงปู่สำเร็จลุนท่านจะมาวัดพระธาตุ พนม" เหตุที่ให้คอยดูให้ดีเพราะเวลาท่านข้ามแม่น้ำโขงมักไม่ค่อยข้ามเรือแต่ชอบ เดินข้ามน้ำ เมื่อสามเณรเกียนได้ยินดังนั้น ในวันรุ่งขึ้นตั้งแต่เช้าตรู่จึงรีบไปแอบหลังต้นไม้ใหญ่ริมน้ำหน้าวัด แล้วสิ่งที่สามเณรเกียนได้เห็นก็คือ "พระภิกษุชรารูปร่างผอมเดินข้ามแม่น้ำในลักษณะยืนบนขอนไม้มาจากฝั่งลาวจริง" ทำให้สามเณรเคารพและศรัทธาต่อหลวงปู่สำเร็จลุนเป็นอย่างยิ่ง และเป็นก้าวแรกที่ทำให้ท่านสนใจในการปฏิบัติธรรม เพราะเห็นในปาฏิหาริย์ที่หลวงปู่สำเร็จลุนได้แสดงในวันนั้น
     
  19. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
  20. คนชอบพระ

    คนชอบพระ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    2,017
    ค่าพลัง:
    +924
    ครับ มีข้อมูลร่วมแจมได้เลยนะครับ ขอบคุณทั้งสองท่านมากครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...