ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Saber, 23 ตุลาคม 2012.

  1. Saber

    Saber เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,941
    กระทู้เรื่องเด่น:
    19
    ค่าพลัง:
    +11,819
    ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม

    ธัมมปทัฏฐกถา ภิกขุวรรควรรณนา๗. เรื่องสัมพหุลภิกษุจาก วิกิซอร์ซ
    ข้ามไปที่: นำทาง, สืบค้น ๗. เรื่องสัมพหุลภิกษุ [๒๕๘]
    <DL><DD>๗. เรื่องสัมพหุลภิกษุ [๒๕๘]</DD></DL><DL><DD>ข้อความเบื้องต้น</DD></DL><DL><DD>พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ในพระเชตวัน ทรงปรารภภิกษุมากรูป</DD></DL>ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า " เมตฺตาวิหารี " เป็นต้น.
    <DL><DD>ประวัติพระโสณกุฏิกัณณะ</DD></DL><DL><DD>ความพิสดารว่า ในสมัยหนึ่ง เมื่อท่านพระมหากัจจานะอาศัยกุรรฆร-</DD></DL>นคร ในอวันตีชนบท อยู่ที่ภูเขาชื่อปวัตตะ, อุบาสกชื่อโสณกุฏิกัณณะ
    เลื่อมใสในธรรมกถาของพระเถระ ใคร่จะบวชในสำนักของพระเถระ แม้
    ถูกพระเถระพูดห้ามถึง ๒ ครั้งว่า " โสณะ พรหมจรรย์มีภัตหนเดียว นอน
    ผู้เดียว ตลอดชีพ เป็นสิ่งที่บุคคลทำได้ด้วยยากแล" ก็เป็นผู้เกิดอุตสาหะ
    อย่างแรงกล้าในการบรรพชา ในวาระที่ ๓ วิงวอนพระเถระ บรรพชา
    แล้ว โดยล่วงไป ๓ ปีจึงได้อุปสมบท เพราะทักษิณาปถชนบทมีภิกษุ
    น้อย เป็นผู้ใคร่จะเฝ้าพระศาสดาเฉพาะพระพักตร์ จึงอำลาพระอุปัชฌายะ
    ถือเอาข่าวที่พระอุปัชฌายะให้แล้วไปสู่พระเชตวันโดยลำดับ ถวายบังคม
    พระศาสดา ได้รับการปฏิสันถารแล้ว ผู้อันพระศาสดาทรงอนุญาตเสนา-
    สนะในพระคันธกุฎีเดียวกันทีเดียว ให้ราตรีส่วนมากล่วงไปอยู่ข้างนอก(อชฺโฌกาเส ในที่กลางแจ้ง.)
    แล้วเข้าไปสู่พระคันธกุฎีในเวลากลางคืน ให้ส่วนแห่งกลางคืนนั้นล่วงไป
    แล้วที่เสนาสนะอันถึงแล้วแก่ตน ในเวลาใกล้รุ่งอันพระศาสดาทรงเชื้อเชิญ
    แล้ว ได้สวดพระสูตรหมดด้วยกัน ๑๖ สูตร โดยทำนองสรภัญญะที่จัด
    เป็นอัฏฐกวรรค.(อฏฺฐกวคฺคิกานีติ: อฏฺฐกวคฺคภูตานิ กามสุตฺตาทีนิ
    โสฬสสุตฺตานิ พระสูตร ๑๖ สูตร มีกามสูตรเป็นต้น ที่จัดเป็นอัฏฐกวรรค พระสูตรเหล่านี้มีอยู่
    ใน ขุ. สุ. ๒๕/๔๘๕-๕๒๓.)
    <DL><DD>ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงอนุโมทนาเป็นพิเศษ จึงได้</DD></DL>ประทานสาธุการแก่ท่านในเวลาจบสรภัญญะว่า " ดีละ ๆ ภิกษุ."
    <DL><DD>ภุมมัฏฐกเทพดา นาค และสุบรรณ ฟังสาธุการที่พระศาสดา</DD></DL>ประทานแล้ว ได้ให้สาธุการแล้ว; เสียงสาธุการเป็นอันเดียวกัน ได้มีแล้ว
    ตลอดพรหมโลกอย่างนั้น ด้วยประการดังนี้.
    <DL><DD>ในขณะนั้น แม้เทพดาผู้สิงอยู่ในเรือนของมหาอุบาสิกา ผู้เป็น</DD></DL>มารดาของพระเถระ ในกุรรฆรนคร ในที่สุด (ไกล) ประมาณ ๑๒๐
    โยชน์ แต่พระเชตวันมหาวิหาร ก็ได้ให้สาธุการด้วยเสียงอันดังแล้ว.
    <DL><DD>ครั้งนั้น มหาอุบาสิกา ถามเทพดานั้นว่า " นั่น ใครให้สาธุการ ?"</DD></DL><DL><DD>เทพดา. เราเอง น้องหญิง.</DD></DL><DL><DD>มหาอุบาสิกา. ท่านเป็นใคร ?</DD></DL><DL><DD>เทพดา. เราเป็นเทพดา สิงอยู่ในเรือนของท่าน.</DD></DL><DL><DD>มหาอุบาสิกา. ในกาลก่อนแต่นี้ ท่านมิได้ให้สาธุการแก่เรา เพราะ</DD></DL>เหตุไร ? วันนี้จึงให้.
    <DL><DD>เทพดา. เรามิได้ให้สาธุการแก่ท่าน.</DD></DL><DL><DD>มหาอุบาสิกา. เมื่อเป็นเช่นนั้น ท่านให้สาธุการแก่ใคร ?</DD></DL><DL><DD>เทพดา. เราให้แก่พระโสณกุฏิกัณณเถระ ผู้เป็นบุตรของท่าน.</DD></DL><DL><DD>มหาอุบาสิกา บุตรของเราทำอะไร ?</DD></DL><DL><DD>เทพดา. ในวันนี้ บุตรของท่านอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระ-</DD></DL>ศาสดา แล้วแสดงธรรมแก่พระศาสดา, พระศาสดาทรงสดับธรรมแห่ง
    บุตรของท่าน แล้วก็ทรงเลื่อมใส จึงได้ประทานสาธุการ, เพราะเหตุนั้น
    แม้เราจึงให้สาธุการแก่พระเถระนั้น, ก็เพราะรับสาธุการของพระสัมมา-
    สัมพุทธเจ้า จึงเกิดสาธุการเป็นเสียงเดียวกันไปหมด นับตั้งต้นแต่ภุมมัฏ-
    ฐกเทพดาตลอดถึงพรหมโลก.
    <DL><DD>มหาอุบาสิกา. นาย ก็บุตรของเราแสดงธรรมแก่พระศาสดา หรือ</DD></DL>พระศาสดาแสดงแก่บุตรของเรา.
    <DL><DD>เทพดา. บุตรของท่านแสดงธรรมแก่พระศาสดา.</DD></DL><DL><DD>เมื่อเทพดากล่าวอยู่อย่างนั้น, ปีติมีวรรณะ ๕ ประการ เกิดขึ้นแก่</DD></DL>อุบาสิกา แผ่ไปทั่วสรีระทั้งสิ้น. ครั้งนั้น มหาอุบาสิกานั้นได้มีความคิด
    อย่างนี้ว่า " หากว่า บุตรของเราอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา
    แล้วยังสามารถแสดงธรรมแก่พระศาสดาได้, ก็จักสามารถให้แสดงธรรม
    แม้แก่เราได้เหมือนกัน, ในเวลาบุตรมาถึง เราจักให้ทำการฟังธรรมกัน
    แล้วฟังธรรมกถา."
    <DL><DD>พระโสณะทูลขอพร ๕ ประการกะพระศาสดา</DD></DL><DL><DD>ฝ่ายพระโสณเถระแล เมื่อพระศาสดาประทานสาธุการแล้ว, คิดว่า</DD></DL>" เวลานี้ เป็นเวลาสมควรที่จะกราบทูลข่าวที่พระอุปัชฌายะให้มา" ดังนี้
    แล้ว จึงทูลขอพร ๕ ประการ(ขอให้อุปสมบทด้วยคณะเพียง ๕ รูปได้ ๑
    ขอให้ใช้รองเท้าหลายชั้นได้ ๑ ขอให้อาบน้ำได้เนืองนิตย์ ๑
    ขอให้ใช้เครื่องปูลาดที่ทำด้วยหนังได้ ๑ ( ๔ ข้อนี้เฉพาะในปัจจันตชนบท) มี
    มนุษย์สั่งถวายจีวรแก่ภิกษุอยู่นอกสีมา ภิกษุผู้รับสั่งจึงมาบอกให้เธอรับ แต่เธอรังเกียจไม่ยอม
    รับ ด้วยกลัวเป็นนิสสัคคีย์ ขออย่าให้เป็นนิสสัคคีย์ ๑. มหาวัคค์ ๕/๓๔. )
    กะพระผู้มีพระภาคเจ้า ตั้งต้นแต่การ
    อุปสมบทด้วยคณะสงฆ์มีภิกษุผู้ทรงวินัยเป็นที่ ๕ ในชนบททั้งหลายซึ่งตั้ง
    อยู่ปลายแดนแล้ว อยู่ในสำนักของพระศาสดา ๒-๓ วันเท่านั้น ทูลลา
    พระศาสดาว่า " ข้าพระองค์จักเยี่ยมพระอุปัชฌายะ" ได้ออกจากพระ-
    เชตวันวิหาร ไปสู่สำนักพระอุปัชฌายะโดยลำดับ.
    <DL><DD>ในวันรุ่งขึ้น พระเถระพาท่านเที่ยวไปบิณฑบาต ได้ไปถึงประตู</DD></DL>เรือนของอุบาสิกาผู้เป็นมารดา.
    <DL><DD>ฝ่ายอุบาสิกานั้น เห็นบุตรแล้วก็ดีใจ ไหว้แล้ว อังคาสโดยเคารพ</DD></DL>แล้วถามว่า " พ่อ ได้ยินว่า คุณอยู่ในพระคันธกุฎีเดียวกันกับพระศาสดา
    แล้วแสดงธรรมกถาแก่พระศาสดา จริงหรือ ? "
    <DL><DD>พระโสณะ. เรื่องนี้ ใครบอกแก่โยม ? อุบาสิกา.</DD></DL><DL><DD>มหาอุบาสิกา. พ่อ เทวดาผู้สิงอยู่ในเรือนนี้ ให้สาธุการด้วยเสียง</DD></DL>อันดัง, เมื่อโยมถามว่า ' นั่นใคร ' ก็กล่าวว่า ' เราเอง ' แล้วบอกอย่าง
    นั้นนั่นแหละ, เพราะฟังเรื่องนั้น โยมจึงได้มีความคิดอย่างนี้ว่า ' ถ้าว่า
    บุตรของเราเสดงธรรมกถาแก่พระศาสดาได้ไซร้, ก็จักอาจแสดงธรรม
    แม้แก่เราได้. '
    <DL><DD>ครั้งนั้น มหาอุบาสิกากล่าวกะพระโสณะนั้นว่า " พ่อ เพราะคุณ</DD></DL>แสดงธรรมเฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดาได้แล้ว, คุณก็จักอาจแสดง
    แม้แก่โยมได้เหมือนกัน, ในวันชื่อโน้น โยมจักให้ทำการฟังธรรมกัน
    แล้วจักฟังธรรมของคุณ" พระโสณะรับนิมนต์แล้ว.
    <DL><DD>อุบาสิกาคิดว่า " เราถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ ทำการบูชาแล้วจักฟัง</DD></DL>ธรรมกถาแห่งบุตรของเรา" จึงได้ตั้งให้หญิงทาสีคนเดียวเท่านั้นให้เป็น
    คนเฝ้าเรือน แล้วได้พาเอาบริวารชนทั้งสิ้นไป เพื่อฟังธรรมกถาของ
    บุตรผู้จะก้าวขึ้นสู่ธรรมาสน์ที่ประดับประดาไว้แล้ว ในมณฑปที่ตนให้
    สร้างไว้ภายในพระนคร เพื่อประโยชน์แก่การฟังธรรม แสดงธรรมอยู่.
    <DL><DD>พวกโจรเข้าปล้นเรือนมหาอุบาสิกา</DD></DL><DL><DD>ก็ในเวลานั้น พวกโจร ๙๐๐ เที่ยวมองหาช่องในเรือนของอุบาสิกา</DD></DL>นั้นอยู่. ก็เรือนของอุบาสิกานั้น ล้อมด้วยกำแพง ๗ ชั้น ประกอบด้วย
    ซุ้มประตู ๗ ซุ้ม. เขาล่ามสุนัขที่ดุไว้ในที่นั้น ๆ ทุกๆ ซุ้มประตู; อนึ่ง
    เขาขุดคูไว้ในที่น้ำตกแห่งชายคาภายในเรือน แล้วก็ใส่ดีบุกจนเต็ม, เวลา
    กลางวัน ดีบุกนั้นปรากฏเป็นประดุจว่าละลายเดือดพล่านอยู่เพราะแสง
    แดด (เผา), ในเวลากลางคืน ปรากฏเป็นก้อนแข็งกระด้าง, เขาปัก
    ขวากเหล็กใหญ่ไว้ที่พื้นในระหว่างดูนั้นติด ๆ กันไป. พวกโจรเหล่านั้น
    ไม่ได้โอกาส เพราะอาศัยการรักษานี้ และเพราะอาศัยความที่อุบาสิกาอยู่
    ภายในเรือน วันนั้นทราบความอุบาสิกานั้นไปแล้ว จึงขุดอุโมงค์เข้าไป
    สู่เรือน โดยทางเบื้องล่างแห่งดูดีบุกและขวากเหล็กทีเดียว แล้วส่งหัวหน้า
    โจรไปสู่สำนักของอุบาสิกานั้น ด้วยสั่งว่า " ถ้าว่าอุบาสิกานั้น ได้ยินว่า
    พวกเราเข้าไปในที่นี้แล้ว กลับมุ่งหน้ามายังเรือน, ท่านจงฟันอุบาสิกานั้น
    ให้ตายเสียด้วยดาบ." หัวหน้าโจรนั้น ได้ไปยืนอยู่ในสำนักของอุบาสิกา
    นั้น.
    <DL><DD>ฝ่ายพวกโจร จุดไฟให้สว่างในภายในเรือน แล้วเปิดประตูห้องเก็บ</DD></DL>กหาปณะ. นางทาสีนั้นเห็นพวกโจรแล้ว จึงไปสู่สำนักอุบาสิกา บอกว่า
    " คุณนาย โจรเป็นอันมากเข้าไปสู่เรือน งัดประตูห้องเก็บกหาปณะ
    แล้ว."
    <DL><DD>มหาอุบาสิกา. พวกโจรจงขนเอากหาปณะที่ตนค้นพบแล้วไปเถิด,</DD></DL>เราจะฟังธรรมกถาแห่งบุตรของเรา, เจ้าอย่าทำอันตรายแก่ธรรมของเรา
    เลย, เจ้าจงไปเรือนเสียเถิด.
    <DL><DD>ฝ่ายพวกโจร ทำห้องเก็บกหาปณะให้ว่างเปล่าแล้ว จึงงัดห้องเก็บ</DD></DL>เงิน. นางทาสีนั้นก็มาแจ้งเนื้อความแม้นั้นอีก. อุบาสิกาพูดว่า " พวกโจร
    จงขนเอาทรัพย์ที่ตนปรารถนาไปเถิด, เราจะฟังธรรมกถาแห่งบุตรของเรา
    เจ้าอย่าทำอันตรายแก่เราเลย" แล้วก็ส่งนางทาสีนั้นออกไปอีก.
    <DL><DD>พวกโจรทำแม้ห้องเก็บเงินให้ว่างเปล่าแล้ว จึงงัดห้องเก็บทอง.</DD></DL>นางทาสีนั้นก็ไปแจ้งเนื้อความนั้นแก่อุบาสิกาแม้อีก.
    <DL><DD>ครั้งนั้น อุบาสิกาเรียกนางทาสีมา แล้วพูดว่า " ชะนางตัวดี เจ้า</DD></DL>มาสำนักเราหลายครั้งแล้ว แม้เราสั่งว่า ' พวกโจรจงขนเอาไปตามชอบใจ
    เถิด, เราจะฟังธรรมกถาแห่งบุตรของเรา, เจ้าอย่าทำอันตรายแก่เราเลย '
    ก็หาเอื้อเฟื้อถ้อยคำของเราไม่ ยังขืนมาซ้ำ ๆ ซาก ๆ ร่ำไป, ที่นี้ ถ้าเจ้า
    จักมา, เราจักรู้สิ่งที่ควรทำแก่เจ้า, เจ้าจงกลับบ้านเสียเถิด" แล้วส่งให้
    กลับ.
    <DL><DD>ธรรมย่อมรักษาผู้ประพฤติธรรม</DD></DL><DL><DD>นายโจรฟังถ้อยคำของอุบาสิกานั้นแล้ว คิดว่า " เมื่อพวกเรานำสิ่ง</DD></DL>ของ ๆ หญิงเห็นปานนี้ไป, สายฟ้าพึงตกฟาดกระหม่อม" ดังนี้แล้ว จึงไป
    สำนักพวกโจร สั่งว่า " พวกท่านจงขนเอาสิ่งของ ๆ อุบาสิกาไปไว้ตาม
    เดิมโดยเร็ว." โจรเหล่านั้น ให้ห้องเก็บกหาปณะเต็มด้วยกหาปณะ ให้
    ห้องเก็บเงินและทองเต็มไปด้วยเงินและทองแล้ว. ได้ยินว่า ความที่ธรรม
    ย่อมรักษาบุคคลผู้ประพฤติธรรมเป็นธรรมดา, เพราะเหตุนั้นแล พระ-
    ผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า :-
    <DL><DD>" ธรรมแล ย่อมรักษาบุคคลผู้ประพฤติธรรม,</DD></DL><DL><DD>ธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว ย่อมนำความสุขมาให้,</DD></DL><DL><DD>นี้เป็นอานิสงส์ในธรรมที่บุคคลประพฤติดีแล้ว: ผู้มี</DD></DL><DL><DD>ปกติประพฤติธรรม ย่อมไม่ไปสู่ทุคติ."</DD></DL><DL><DD>พวกโจรได้ไปยืนอยู่ในที่เป็นที่ฟังธรรม. ฝ่ายพระเถระแสดงธรรม</DD></DL>แล้ว เมื่อราตรีสว่าง จึงลงจากอาสนะ. ในขณะนั้นหัวหน้าโจรหมอบลง
    แทบเท้าของอุบาสิกา พูดว่า " คุณนาย โปรดอดโทษแก่ผมเถิด."
    <DL><DD>อุบาสิกา. นี้อะไรกัน ? พ่อ.</DD></DL><DL><DD>หัวหน้าโจร. ผมผูกอาฆาตในคุณนาย ประสงค์จะฆ่าคุณนาย จึง</DD></DL>ได้ยืน (คุม) อยู่.
    <DL><DD>อุบาสิกา. พ่อ ถ้าเช่นนั้น ฉันอดโทษให้.</DD></DL><DL><DD>พวกโจรเลื่อมใสขอบวชกะพระโสณะ</DD></DL><DL><DD>แม้พวกโจรที่เหลือ ก็ได้ทำอย่างนั้นเหมือนกัน เมื่ออุบาสิกาพูดว่า</DD></DL>" พ่อทั้งหลาย ฉันอดโทษให้" จึงพูดว่า " คุณนาย ถ้าว่าคุณนายอดโทษ
    แก่พวกผมไซร้, ขอคุณนายให้ ๆ บรรพชาแก่พวกผม ในสำนักแห่งบุตร
    ของคุณนายเถิด." อุบาสิกานั้นไหว้บุตรแล้ว พูดว่า " พ่อ โจรพวกนี้
    เลื่อมใสในคุณของโยม และธรรมกถาของคุณแล้ว จึงพากันขอบรรพชา,
    ขอคุณจงให้โจรพวกนี้บวชเถิด. "
    <DL><DD>พระเถระพูดว่า " ดีละ " แล้วให้ตัดชายผ้าที่โจรเหล่านั้นนุ่งแล้ว</DD></DL>ให้ย้อมด้วยดินแดง ให้พวกเขาบวชแล้ว ให้ตั้งอยู่ในศีล. แม้ในเวลาที่
    พวกเขาอุปสมบทแล้ว พระเถระได้ให้พระกัมมัฏฐานต่าง ๆ แก่ภิกษุเหล่า
    นั้นร้อยละอย่าง. ภิกษุ ๙๐๐ รูปนั้นเรียนพระกัมมัฏฐาน ๙ อย่างต่าง ๆ กัน
    แล้วพากันขึ้นไปสู่ภูเขาลูกหนึ่ง นั่งทำสมณธรรมใต้ร่มไม้นั้น ๆ แล้ว.
    <DL><DD>พระศาสดา ประทับนั่งอยู่ในพระเชตวันมหาวิหารอันไกลกันได้ ๑๒๐</DD></DL>โยชน์นั่นแล ทรงเล็งดูภิกษุเหล่านั้นแล้ว ทรงกำหนดพระธรรมเทศนา
    ด้วยอำนาจแพ่งความประพฤติของเธอเหล่านั้น ทรงเปล่งพระรัศมีไป
    ประหนึ่งว่าประทับนั่งตรัสอยู่ในที่เฉพาะหน้า ได้ทรงภาษิตพระคาถา
    เหล่านี้ว่า :-
    <DL><DD>๗. เมตฺตาวิหารี โย ภิกฺขุ ปสนฺโน พุทฺธสาสเน</DD></DL><DL><DD>อธิคจฺเฉ ปทํ สนฺตํ สงฺขารูปสมํ สุขํ.</DD></DL><DL><DD>สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ</DD></DL><DL><DD>เฉตฺวา ราคญฺจ โทสญฺจ ตโต นิพฺพานเมหิสิ.</DD></DL><DL><DD>ปญฺจ ฉินฺเท ปญฺจ ชเห ปญฺจ อุตฺตริ ภาวเย</DD></DL><DL><DD>ปญฺจสงฺคาติโค ภิกฺขุ โอฆติณฺโณติ วุจฺจติ.</DD></DL><DL><DD>ฌาย ภิกฺขุ มา จ ปมาโท</DD></DL><DL><DD>มา เต กามคุเณ ภมสฺสุ จิตฺตํ</DD></DL><DL><DD>มา โลหคุฬํ คิลี ปมตฺโต</DD></DL><DL><DD>มา กนฺทิ ทุกฺขมิทนฺติ ฑยฺหมาโน.</DD></DL><DL><DD>นตฺถิ ณานํ อปฺญฺญสฺส ปญฺญา นตฺถิ อฌายโต</DD></DL><DL><DD>ยมหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ ส เว นิพฺพานสนฺติเก.</DD></DL><DL><DD>สุญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส สนฺตจิตฺตสฺส ภิกฺขุโน</DD></DL><DL><DD>อมานุสี รตี โหติ สมฺมา ธมฺมํ วิปสฺสโต.</DD></DL><DL><DD>ยโต ยโต สมฺมสติ ขนฺธานํ อุทยพฺพยํ</DD></DL><DL><DD>ลภตี ปีติปาโมชฺชํ อิธ ปญฺญสฺส ภิกฺขุโน</DD></DL><DL><DD>ตตฺายมาทิ ภวติ อิธ ปญฺญสฺส ภิกฺขุโน</DD></DL><DL><DD>อินฺทฺริยคุตฺติ สนฺตุฏฺฐี ปาติโมกฺเข จ สํวโร</DD></DL><DL><DD>มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ สุทฺธาชีเว อตนฺทิเต.</DD></DL><DL><DD>ปฏิสนฺถารวุตฺตฺยสฺส อาจารกุสโล สิยา</DD></DL><DL><DD>ตโต ปาโมชฺชพหุโล ทุกฺขสฺสนฺตํ กริสฺสติ.</DD></DL><DL><DD>" ภิกษุใด นี้ปกติอยู่ด้วยเมตตา เลื่อมใสในพระ-</DD></DL><DL><DD> พุทธศาสนา, ภิกษุนั้น พึงบรรลุบทอันสงบ เป็นที่</DD></DL><DL><DD>เข้าไประงับสังขาร อันเป็นสุข. ภิกษุ เธอจงวิดเรือ</DD></DL><DL><DD>นี้, เรือที่เธอวิดแล้ว จักถึงเร็ว; เธอตัดราคะและ</DD></DL><DL><DD>โทสะได้แล้ว แต่นั้นจักถึงพระนิพพาน. ภิกษุพึงตัด</DD></DL><DL><DD>ธรรม ๕ อย่าง พึงละธรรม ๕ อย่าง และพึงยังคุณ</DD></DL><DL><DD>ธรรม ๕ ให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้น, ภิกษุผู้ล่วงกิเลสเครื่อง</DD></DL><DL><DD>ข้อง ๕ อย่างได้แล้ว เราเรียกว่า ผู้ข้ามโอฆะได้.</DD></DL><DL><DD>ภิกษุ เธอจงเพ่งและอย่าประมาท, จิตของเธออย่า</DD></DL><DL><DD>หมุนไปในกามคุณ, เธออย่าเป็นผู้ประมาทกลืนกิน</DD></DL><DL><DD>ก้อนแห่งโลหะ, เธออย่าเป็นผู้อันกรรมแผดเผาอยู่</DD></DL><DL><DD>คร่ำครวญว่า ' นี้ทุกข์.' ฌานย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้</DD></DL><DL><DD>ไม่มีปัญญา, ปัญญาย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่มีฌาน. ฌาน</DD></DL><DL><DD>และปัญญาย่อมมีในบุคคลใด, บุคคลนั้นแล ตั้งอยู่</DD></DL><DL><DD>แล้วในที่ใกล้พระนิพพาน. ความยินดีมิใช่ของมีอยู่</DD></DL><DL><DD>แห่งมนุษย์ ย่อมมีแก่ภิกษุผู้เข้าไปแล้วสู่เรือนนาง</DD></DL><DL><DD>ผู้มีจิตสงบแล้ว ผู้เห็นแจ้งธรรมอยู่โดยชอบ. ภิกษุ</DD></DL><DL><DD>พิจารณาอยู่ ซึ่งความเกิดขึ้นและควานเสื่อมไปแห่ง</DD></DL><DL><DD>ขันธ์ทั้งหลายโดยอาการใด ๆ, เธอย่อมได้ปีติและ</DD></DL><DL><DD>ปราโมทย์โดยอาการนั้น ๆ, การได้ปีติและปราโมทย์</DD></DL><DL><DD>นั้น เป็นธรรมอันไม่ตายของผู้รู้แจ้งทั้งหลาย, ธรรม</DD></DL><DL><DD>นี้ คือความคุ้มครองซึ่งอินทรีย์ ๑ ความสันโดษ ๑</DD></DL><DL><DD>ความสำรวมในพระปาติโมกข์ ๑ เป็นเบื้องต้นใน</DD></DL><DL><DD>ธรรมอันไม่ตายนั้น มีอยู่แก่ภิกษุผู้มีปัญญาในพระ-</DD></DL><DL><DD>ศาสนานี้. เธอจงคบมิตรที่ดีงาม มีอาชีวะอันหมด</DD></DL><DL><DD>จด มีเกียจคร้าน. ภิกษุพึงเป็นผู้ประพฤติในปฏิ-</DD></DL><DL><DD>สันถาร พึงเป็นผู้ฉลาดในอาจาระ; เพราะเหตุนั้น</DD></DL><DL><DD>เธอจักเป็นผู้มากด้วยปราโมทย์ กระทำที่สุดแห่ง</DD></DL><DL><DD>ทุกข์ได้."</DD></DL><DL><DD>แก้อรรถ</DD></DL><DL><DD>บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เมตฺตาวิหารี ความว่า บุคคลผู้ทำกรรม</DD></DL>ในพระกัมมัฏฐานอันประกอบด้วยเมตตาอยู่ก็ดี ผู้ยังฌานหมวด ๓ และ
    หมวด ๔ ให้เกิดขึ้นด้วยอำนาจแห่งเมตตาแล้วดำรงอยู่ก็ดี ชื่อว่า ผู้มีปกติ
    อยู่ด้วยเมตตาโดยแท้.
    <DL><DD>คำว่า ปสนฺโน ความว่า ก็ภิกษุใดเป็นผู้เลื่อมใสแล้ว, อธิบายว่า</DD></DL>ย่อมปลูกฝังความเลื่อมใสลงในพระพุทธศาสนานั่นแล.
    <DL><DD>สองบทว่า ปทํ สนฺตํ นั่น เป็นชื่อแห่งพระนิพพาน. จริงอยู่ ภิกษุ</DD></DL>ผู้เห็นปานนั้น ย่อมบรรลุ, อธิบายว่า ย่อมประสบโดยแท้ ซึ่งพระนิพพาน
    อันเป็นส่วนแห่งความสงบ ชื่อว่าเป็นที่เข้าไประงับสังขาร เพราะความ
    ที่สังขารทั้งปวงเป็นสภาพระงับแล้ว ซึ่งมีชื่ออันได้แล้วว่า ' สุข ' เพราะ
    ความเป็นสุขอย่างยิ่ง.
    <DL><DD>บาทพระคาถาว่า สิญฺจ ภิกฺขุ อิมํ นาวํ ความว่า ภิกษุเธอจงวิด</DD></DL>เรือ กล่าวคืออัตภาพนี้ ซึ่งมีน้ำคือมิจฉาวิตกทิ้งเสีย.
    <DL><DD>บาทพระคาถาว่า สิตฺตา เต ลหุเมสฺสติ ความว่า เหมือนอย่างว่า</DD></DL>เรือที่เพียบแล้วด้วยน้ำในมหาสมุทรนั่นแล ชื่อว่าอันเขาวิดแล้ว เพราะ
    ความที่น้ำอันเขาปิดช่องทั้งหลายวิดแล้ว เป็นเรือที่เบา ไม่อัปปางใน
    มหาสมุทร ย่อมแล่นไปถึงท่าได้เร็วฉันใด; เรือคืออัตภาพแม้ของท่านนี้
    ที่เต็มแล้วด้วยน้ำคือมิจฉาวิตกก็ฉันนั้น ชื่อว่าอันเธอวิดแล้ว เพราะความ
    ที่น้ำคือมิจฉาวิตก ซึ่งเกิดขึ้นแล้ว อันเธอปิดช่องทั้งหลายมีจักษุทวาร
    เป็นต้น ด้วยความสำรวม วิดออกแล้วจึงเบา ไม่จมลงในสังสารวัฏ จัก
    พลันถึงพระนิพพาน.
    <DL><DD>บทว่า เฉตฺวา เป็นต้น ความว่า เธอจงตัดเครื่องผูกคือราคะและ</DD></DL>โทสะ, ครั้นตัดเครื่องผูกเหล่านั้นแล้ว จักบรรลุพระอรหัต, อธิบายว่า
    แต่นั้น คือในกาลต่อมา จักบรรลุอนุปาทิเสสนิพพาน.
    <DL><DD>สองบทว่า ปญฺจ ฉินฺเท คือ พึงตัดสังโยชน์อันมีในส่วนเบื้องต่ำ</DD></DL>๕ อย่าง อันยังสัตว์ให้ถึงอบายชั้นต่ำ ด้วยหมวด ๓ แห่งมรรคชั้นต่ำ ดุจ
    บุรุษตัดเชือกอันผูกแล้วที่เท้าด้วยศัสตราฉะนั้น.
    <DL><DD>สองบทว่า ปญฺจ ชเห ความว่า พึงละ คือทิ้ง, อธิบายว่า พึงตัด</DD></DL>สังโยชน์อันมีในส่วนเบื้องบน ๕ อย่าง อันยังสัตว์ให้ถึงเทวโลกชั้นสูง
    ด้วยพระอรหัตมรรค ดุจบุรุษตัดเชือกอันรัดไว้ที่คอฉะนั้น.
    <DL><DD>บาทพระคาถาว่า ปญฺจ อุตฺตริ ภาวเย คือ พึงยังอินทรีย์ ๕ มี</DD></DL>ศรัทธาเป็นต้นให้เจริญยิ่ง เพื่อประโยชน์แก่การละสังโยชน์อันมีในส่วน
    เบื้องบน.
    <DL><DD>บทว่า ปญฺจสงฺคาติโค ความว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น ภิกษุชื่อว่าผู้ล่วง</DD></DL>กิเลสเครื่องข้อง ๕ อย่างได้ เพราะก้าวล่วงกิเลสเครื่องข้อง คือราคะ
    โทสะ โมหะ มานะ และทิฏฐิ ๕ อย่าง พระศาสดาตรัสเรียกว่า " ผู้ข้าม
    โอฆะได้;" อธิบายว่า ภิกษุนั้น พระศาสดาตรัสเรียกว่า " ผู้ข้ามโอฆะ
    ๔ ได้แท้จริง."
    <DL><DD>สองบทว่า ฌาย ภิกฺขุ ความว่า ภิกษุ เธอจงเพ่งด้วยอำนาจแห่ง</DD></DL>ฌาน ๒ (อารัมมณปนิชฌาน และลักขณปนิชฌาน. )
    และชื่อว่า อย่าประมาทแล้ว เพราะความเป็นผู้มีปกติไม่ประมาท
    ในกายกรรมเป็นต้นอยู่.
    <DL><DD>บทว่า ภมสฺสุ คือ จิตของเธอ จงอย่าหมุนไปในกามคุณ ๕ อย่าง.</DD></DL><DL><DD>บทว่า มา โลหคุฬํ ความว่า ก็ชนทั้งหลายผู้ประมาทแล้วด้วยความ</DD></DL>เลินเล่อมีปล่อยสติเป็นลักษณะ ย่อมกลืนกินก้อนโลหะที่ร้อนแล้วในนรก,
    เพราะฉะนั้น เราจึงกล่าวกะเธอ: เธออย่าเป็นผู้ประมาท กลืนกินก้อน
    โลหะ, อย่าถูกไฟแผดเผาในนรก คร่ำครวญว่า " นี้ทุกข์ นี้ทุกข์."
    <DL><DD>สองบทว่า นตฺถิ ฌานํ ความว่า ชื่อว่าฌาน ย่อมไม่มีแก่ผู้หา</DD></DL>ปัญญามิได้ ด้วยปัญญาเป็นเหตุพยายามอันยังฌานให้เกิดขึ้น.
    <DL><DD>สองบทว่า นตฺถิ ปญฺญา ความว่า ก็ปัญญาซึ่งมีลักษณะที่พระผู้มี-</DD></DL>พระภาคเจ้าตรัสไว้ว่า " ภิกษุผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้ ย่อมเห็นตามความ
    เป็นจริง" ย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่เพ่ง.
    <DL><DD>บาทพระคาถาว่า ยมฺหิ ฌานญฺจ ปญฺญา จ ความว่า ฌานและ</DD></DL>ปัญญาแม้ทั้งสองนี้มีอยู่ในบุคคลใด, บุคคลนั้นชื่อว่าตั้งอยู่แล้วในที่ใกล้
    แห่งพระนิพพานโดยแท้ทีเดียว.
    <DL><DD>บาทพระคาถาว่า สุญฺญาคารํ ปวิฏฺฐสฺส คือ ผู้ไม่ละพระกัมมัฏฐาน</DD></DL>นั่งอยู่ ด้วยการทำพระกัมมัฏฐานไว้ในใจในโอกาสที่สงัดบางแห่งนั่นแล.
    <DL><DD>บทว่า สนฺตจิตฺตสฺส คือ ผู้มีจิตอันสงบแล้ว.</DD></DL><DL><DD>บทว่า สมฺมา เป็นต้น ความว่า ความยินดีมิใช่เป็นของมีอยู่แห่ง</DD></DL>มนุษย์ กล่าวคือวิปัสสนาก็ดี ความยินดีอันเป็นทิพย์ กล่าวคือสมาบัติ ๘
    ก็ดี ย่อมมี อธิบายว่า ย่อมเกิดขึ้นแก่บุคคลผู้เห็นแจ้งซึ่งธรรมโดยเหตุ
    โดยการณ์.
    <DL><DD>บาทพระคาถาว่า ยโต ยโต สมฺมสติ ความว่า ทำกรรมใน</DD></DL>อารมณ์ ๓๘ ประการ โดยอาการใด ๆ, คือทำกรรมในกาลทั้งหลาย
    มีกาลก่อนภัตเป็นต้น ในกาลใด ๆ ที่ตนชอบใจแล้ว, หรือทำกรรมใน
    พระกัมมัฏฐานที่ตนชอบใจแล้ว ชื่อว่าย่อมพิจารณาเห็น.
    <DL><DD>บทว่า อุทยพฺพยํ คือ ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งขันธ์ ๕ โดยลักษณะ</DD></DL>๒๕ และความเสื่อมแห่งขันธ์ ๕ โดยลักษณะ ๒๕ เหมือนกัน.(
    ๑. รูปเกิดขึ้นเพราะอวิชชา. ๒. . .เพราะตัณหา. ๓. . .เพราะกรรม. ๔. . .เพราะอาหาร
    ๕. ความเกิดขึ้นของรูปอย่างเดียว ไม่อาศัยเหตุปัจจัย. ส่วนเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    ก็เหมือนกัน ต่างแต่ข้อ ๔ ให้เปลี่ยนว่า เกิดขึ้นเพราะผัสสะ วิญญาณเกิดขึ้นเพราะนามรูป ๕x๕
    จึงเป็น ๒๕. ...ในลักษณะความเสื่อม พึงทราบโดยนับตรงกันข้าม. )
    <DL><DD>บทว่า ปีติปาโมชฺชํ คือ เมื่อพิจารณาความเกิดขึ้นและความเสื่อม</DD></DL>ไปแห่งขันธ์ทั้งหลายอย่างนั้นอยู่ ชื่อว่าย่อมได้ปีติในธรรมและปราโมทย์ใน
    ธรรม.
    <DL><DD>บทว่า อมตํ ความว่า เมื่อนามรูปพร้อมทั้งปัจจัย เป็นสภาพ</DD></DL>ปรากฏตั้งขึ้นอยู่ ปีติและปราโมทย์ที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ชื่อว่าเป็นอมตะของ
    ท่านผู้รู้ทั้งหลาย คือของผู้เป็นบัณฑิตโดยแท้ เพราะความที่ปีติและ
    ปราโมทย์เป็นธรรมที่ให้สัตว์ถึงอมตมหานิพพาน.
    <DL><DD>บาทพระคาถาว่า ตตฺรายมาทิ ภวติ คือ นี้เป็นเบื้องต้น คือปีติ</DD></DL>และปราโมทย์นี้ เป็นฐานะมีในเบื้องต้นในอมตธรรมนั้น.
    <DL><DD>สองบทว่า อิธ ปญฺญสฺส คือ แก่ภิกษุผู้ฉลาดในพระศาสนานี้.</DD></DL><DL><DD>บัดนี้ พระศาสดาเมื่อจะทรงแสดงฐานะอันมีในเบื้องต้นที่พระองค์</DD></DL>ตรัสว่า " อาทิ " นั้น จึงตรัสคำเป็นต้นว่า " อินฺทฺริยคุตฺติ. " จริงอยู่
    ปาริสุทธิศีล ๔ ชื่อว่า เป็นฐานะมีในเบื้องต้น.
    <DL><DD>ความสำรวมอินทรีย์ ชื่อว่า อินฺทฺริยคุตฺติ ในพระคาถานั้น. ความ</DD></DL>สันโดษด้วยปัจจัย ๔ ชื่อว่า สนฺตุฏฺฐิ อาชีวปาริสุทธิศีลและปัจจยสัน-
    นิสิตศีล พระศาสดาตรัสไว้ด้วยบทว่า สนฺตุฏฺฐิ นั้น.
    <DL><DD>ความเป็นผู้ทำให้บริบูรณ์ในศีลที่ประเสริฐสุด กล่าวคือพระปาติ-</DD></DL>โมกข์ พระศาสดาตรัสไว้ด้วยบทว่า ปาติโมกฺเข.
    <DL><DD>บาทพระคาถาว่า มิตฺเต ภชสฺสุ กลฺยาเณ ความว่า ท่านละสหาย</DD></DL>ผู้ไม่สมควร มีการงานอันสละแล้ว จงคบ คือ จงเสพ มิตรที่ดีงาม ผู้
    ชื่อว่า มีอาชีวะอันบริสุทธิ์ เพราะมีชีวิตประกอบด้วยสาระ และชื่อว่า ผู้ไม่
    เกียจคร้าน เพราะอาศัยกำลังแข้งเลี้ยงชีพ.
    <DL><DD>บาทพระคาถาว่า ปฏิสนฺถารวุตฺยสฺส คือ พึงเป็นผู้ชื่อว่าประพฤติ</DD></DL>ในปฏิสันถาร เพราะความเป็นผู้ประพฤติเต็มที่แล้วด้วยอามิสปฏิสันถาร
    และธรรมปฏิสันถาร, อธิบายว่า พึงเป็นผู้ทำปฏิสันถาร.
    <DL><DD>บทว่า อาจารกุสโล ความว่า แม้ศีลก็ชื่อว่า มรรยาท ถึงวัตรปฏิวัตร</DD></DL>ก็ชื่อว่า มรรยาท, พึงเป็นผู้ฉลาด, อธิบายว่า พึงเป็นผู้เฉียบแหลม ใน
    มรรยาทนั้น.
    <DL><DD>บาทพระคาถาว่า ตโต ปาโมชฺชพหุโล ความว่า เธอชื่อว่าเป็นผู้</DD></DL>มากด้วยปราโมทย์ เพราะความเป็นผู้บันเทิงในธรรม อันเกิดขึ้นแล้วจาก
    การประพฤติปฏิสันถาร และจากความเป็นผู้ฉลาดในมรรยาทนั้น จักทำ
    ที่สุดแห่งวัฏทุกข์แม้ทั้งสิ้นได้.
    <DL><DD>บรรดาบทพระคาถาเหล่านี้ ที่พระศาสดาทรงแสดงด้วยอย่างนี้ ใน</DD></DL>กาลจบพระคาถาหนึ่ง ๆ ภิกษุร้อยหนึ่ง ๆ บรรลุพระอรหัตพร้อมด้วย
    ปฏิสัมภิทาทั้งหลาย ในที่แห่งตนนั่งแล้ว ๆ นั่นแล เหาะขึ้นไปสู่เวหาส
    แล้ว ภิกษุเหล่านั้นแม้ทั้งหมด ก้าวล่วงทางกันดาร ๑๒๐ โยชน์ทางอากาศ
    นั่นแล ชมเชยพระสรีระซึ่งมีสีดุจทองของพระตถาคตเจ้า ถวายบังคม
    พระบาทแล้ว ดังนี้แล.
    <DL><DD>เรื่องสัมพหุลภิกษุ จบ.</DD></DL>

    http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%98%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%A1%E0%B8%9B%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%8F%E0%B8%90%E0%B8%81%E0%B8%96%E0%B8%B2_%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%82%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%93%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B9%97._%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B8%A5%E0%B8%A0%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B8
     

แชร์หน้านี้

Loading...