จิ. เจ. รุ. นิ.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 31 สิงหาคม 2012.

  1. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ^
    เพิ่มเติม

    หลวงปู่หล้า เขมะปัตโต

    ให้ข้อคิดว่า

    พระอรหันต์บัญญัติจิตไม่ถูก คล้ายๆกับว่า
    แก่จะตายจะไปเรียกคุณนู๋ คุณนู๋ มันก็ไม่ถูก

    จิตถ้าทำถูก ก็เป็นหนทางสู่นิพพานก็เท่านั้น
     
  2. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ฉะนั้น พอหลวงตาไม่กลับมาเกิดแล้ว วิญญาณหลวงตาไปที่ไหน? พอคำว่าวิญญาณหลวงตาไปที่ไหน เห็นไหม นี่วุฒิภาวะคนมันไม่เหมือนกัน พระอรหันต์มีวิญญาณไหม? พระอรหันต์ไม่มีวิญญาณ นี่ถ้าเป็นวิญญาณนะ วิญญาณมันคืออะไร? วิญญาณคือรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นี้วิญญาณอย่างหยาบๆ นะ ถ้าวิญญาณอย่างหยาบๆ พระโสดาบันก็ละขันธ์ ๕ แล้ว ถ้าละขันธ์ ๕ ก็ละวิญญาณอย่างหยาบแล้ว ถ้าวิญญาณอย่างหยาบ ละแล้วๆๆ วิญญาณมันจะมีมาจากไหน?

    ฉะนั้น ถ้าบอกว่าหลวงตามหาบัวท่านบอกว่าไม่กลับมาเกิดอีก แสดงว่าท่านเป็นพระอรหันต์ ถ้าท่านเป็นพระอรหันต์นะ นี่เป็นพระอรหันต์มันก็ต้องทำลายทุกๆ อย่างหมดแล้ว ถ้าทำลายทุกอย่างหมดแล้วนะ นี่พระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่กับพระอรหันต์ที่ตายไปแล้ว ถ้าพระอรหันต์มีชีวิตอยู่ สอุปาทิเสสนิพพาน กับอนุปาทิเสสนิพพาน ถ้าพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ มีชีวิตอยู่เห็นไหม นี่เราจะบอกว่าพระอรหันต์ที่มีชีวิตอยู่ กับพระอรหันต์ที่ตายแล้วมีค่าเท่ากัน


    ธรรมเทศนา พระอาจารย์สงบ มนัสสันโต
    ปฏิเวธ เทศน์เมื่อวันที่ 1 เม.ย. 2555
     
  3. Ndantchor

    Ndantchor เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    273
    ค่าพลัง:
    +1,123
    ไปสู่ที่ชอบๆ เถิด......:boo:
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ^
    เพิ่มเติม

    หลวงปู่หล้า เขมะปัตโต

    ท่านให้ข้อคิดว่า

    ที่นี้ ที่ว่า พระอรหันต์มีอยู่ในโลกเท่านั่นองค์เท่านี้องค์ นั้น
    *****
    พูดเป็นบุคคลาธิฐานเพื่อให้รู้จักความหมาย เออ..

    ไอ้ที่แท้พระอรหันต์ถือว่าอะไรจะมาอยู่ในโลก
    ถูกมั๊ยท่านมหาฯ

    เพราะ
    พูดเป็นบุคคลาธิฐานเพื่อให้รู้จักความหมายใช่มั๊ย
    ถูกมั๊ย เออ..

    ที่พระบรมศาสาดา เสวยวิมุตติสุขอยู่เท่านั้น ๗ วัน
    เท่านี้ ๗ วัน เป็น ๔๙ วัน นั้น
    ก็พูดตามสมมุติ
    ไอ้ที่แท้ พระศาสดาสำคัญตัวอยู่ในที่ใด
    ใครก็ไม่รู้ใช่มั๊ย ท่านมหาฯ
    *****
     
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ peerakul [​IMG]
    ลุงหมานๆ ....

    จิตของพระอรหันต์ที่ดับขันธ์ไปแล้ว ยังมีอยู่อีกหรือไม่ เพราะเหตุใด
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    เหมือนไฟกับฟืน เมื่อฟืนเป็นเชื้อให้ไฟหมดไป ไฟก็ต้องหมดไป เพราะสิ้นเชื้อ
    ตัณหาเป็นเหมือนเชื้อไฟ เมื่อมรรคจิตทำลายตัณหาหมดสิ้นแล้ว การเกิดขึ้นอีกก็ไม่มีอีกต่อไป<!-- google_ad_section_end -->
     
  6. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    นามรูปปริจเฉทญาณ กว่าจะผ่านได้ไม่ใช่ง่ายๆ เลยนะคะ อย่าคิดว่าง่ายๆ ค่ะ
    เมื่อก่อนเคยอ่านตำราพระท่านหนึ่งเขียนไว้ เหมือนกำหนดรู้กันได้ง่ายๆ
    พอมาเรียนเรื่องวิปัสสนาแล้ว ถึงได้รู้ว่า แค่ญาณแรกก็ยากมากเลย
    ยิ่งญาณที่2 คือ ปัจจยปริคคญาณ ต้องอาศัยความเข้าใจจากการศึกษาให้เข้าใจได้จริงๆ
    แล้วถึงจะเข้าใจ ปฏิบัติได้เข้าถึง ต้องเข้าใจปฏิจสมุปบาท ต้องเข้าใจคัมภีร์ปัฏฐาน
    เข้าใจได้ผิวเผิน ไปไม่ถึงแน่ๆ ญาณที่ 2 นี้

    ปริยัติมีคุณอย่างมหาศาล หากสนใจศึกษา และนำมาเป็นแนวทาง
    และการออกจากกามคุณนั้น ต้องออกทั้งกายและใจ
    หากปลีกกายได้ แต่ใจยังหมกมุ่น ก็เปล่าประโยชน์
    เหมือนไม้สนชุ่มด้วยยาง อันบุคคลวางไว้บนบกใกล้น้ำ จุดไฟไม่ติดค่ะ
    เหมือนบุคคลที่มีจิตชุ่มแช่ด้วยกามคุณอารมณ์ แม้จะปลีกหลีกเร้น
    มีความเพียรแค่ไหน ก็ไม่ประสบผลสำเร็จค่ะ เพราะภายในระงับไม่ได้
    ยังคงชุ่มแช่ไปด้วยกิเลส ตัณหา เพียรไปก็ตายเปล่า เพราะไม่มีบาทฐาน
    รองรับกับให้กับกุศลที่สูงค่ะ หากจิตมีแต่มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต4 เกิด
    เนื่องๆ ย่อมเป็นบาทฐานให้กุศลที่สูงกว่าเกิดได้ค่ะ แต่หากวันๆ หนึ่ง
    ยังชุ่มด้วยกิเลส ตัณหา มหากุศลที่เป็นเกิดด้วยเหตุ3 ยังไม่ค่อยมี ก็อย่าหวัง
    มหากุศลที่ยิ่งใหญ่อย่าง ฌาน ญาณ เลยค่ะ ไม่มีหวังแน่ๆ ค่ะ

    มหากุศลที่เกิดด้วยเหตุ 3 ครบ คือ มหากุศลญาณสัมปยุตตจิต4 ค่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 ตุลาคม 2012
  7. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    ไม่ตายเปล่าหรอก

    ความเพียร มี ผลงานเสมอ
     
  8. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อนุโมทนาสาธุครับ.............
     
  9. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]
    -มหาวิบากจิต มีจำนวนเท่ากันกับมหากุศลจิต คือ ๘ ดวง ได้แก่




    ๗. อุเปกฺขาสหคตํ ญาณวิปฺปยุตฺตํ อสงฺขาริกํ กามาวจรมหาวิปากจิตตํ
    มหาวิบากดวงที่ ๗ เกิดพร้อมด้วยความเฉยๆ ไม่ประกอบด้วยปัญญา เกิดขึ้นเองโดยมีสิ่งชักจูง

    มหาวิบากอุเบกขาเวทนาดวงที่ ๗ ซึ่งเป็นผลของมหากุศลดวงที่ ๗
    มหากุศลจิตเป็นเหตุ มหาวิบากเป็นผล ดังที่ได้อธิบายไปแล้วในมหากุศลจิต ๘
    และ การส่งผลของมหาวิบากจิตดวงที่ ๗ นี้ นั้นย่อมส่งผลให้เกิดเป็นมนุษย์ ๑ และเทวดา ๖ ชั้นเท่านั้น
    บุคคลที่เกิดมาด้วยมหาวิบากดวงที่ ๗ นี้ย่อมเป็นผู้ที่ขาดปัญญาไม่สามารถทำฌาน อภิญญา มรรค ผล นิพพานในชาตินี้ได้
    บุคคลที่เกิดด้วยมหาวิบากดวงที่ ๗ นี้ จะเป็นคนที่เงียบขรึม ท่าทางเป็นสงบนิ่ง เพราะขาดปัญญาเข้าใจธรรมได้ยาก
    เป็นที่น่าเคารพ แต่การคนที่ชอบทำกุศล โดยที่ไม่ต้องคอยให้ใครมาชวน
    ชอบทำบุญสุนทาน แต่ไม่ชอบฟังธรรม ไม่เข้าใจเรื่องเหตุ และ ผล เพราะเป็นผู้ที่เกิดมาด้วยเหตุ ๒ ประการ
    คือ อโลภะ อโทสะ
    (กระทู้หายไปเสียนานนึกว่าโพสไม่ได้)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 8 ตุลาคม 2012
  10. จิตสิงห์

    จิตสิงห์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    619
    ค่าพลัง:
    +687
    อนุโมทนาสาธุ ^^
     
  11. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ผลงานของการเพียรผิดย่อมทำให้ไปอบายภูมิได้
     
  12. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    การมีโอกาสเกิดมาเป็นมนุษย์นั้นเป็นเรื่องที่ยากแสนยาก เหตุเพราะในชีวิตคนเรากระทำกรรมทุกวัน การเกิดของคนเรามาด้วยวิบากอันเป็นผลของกรรมที่เจ้าของกรรมได้กระทำไว้ และกรรมนั้นไม่หนีไปไหนคอยต่อแถวให้ผลกับเจ้าของกรรมนั้นๆ จนกว่าจะเข้านิพพานเป็นการปิดการวนเกิดเวียนตาย

    ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชน ๒๔ชั่วโมง จิตนั้นหนาแน่นไปด้วยอกุศลเจตสิก แค่เพียงชั่วขณะจิตเท่านั้นสำหรับบางคนที่ญาณสัมปยุต คือจิตมหากุศลดวงที่ ๑ กับดวงที่๕ เกิดขึ้นมา แล้วดับไป หลังจากนั้นอกุศลมูลจิตก็เข้ามาแทนที่

    เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น เหตุเพราะเราไม่เคยสั่งสมญาณสัมปยุตไว้ คนที่ไม่เคยเกิดญาณสัมปยุตในใจตนย่อมไม่สามารถมีญาณสัมปยุตได้ในชาตินี้ เพราะไม่มีปัญญาเจตสิก ในเมื่อปัญญาเจตสิกไม่มี ญาณสัมปยุตย่อมไม่มี

    กับคำถามที่ว่า โลภะเจตสิก กับปัญญาเจตสิก เหมือนต่างกันอย่างไร
    เหมือนกันตรงที่ต่างมีเวทนาเป็นได้ทั้งโสมนัส และอุเบกขา

    หลายคนเข้าใจว่าเมื่อเกิดโสมนัสขณะทำบุญ เมื่อนั้นเป็นจิตมหากุศลดวงที่ ๑ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนเหล่านั้นทำบุญด้วยจิตโสมนัสในโลภะ เพราะเกิดความยินดี และคาดหวังผลภายภาคหน้า

    แต่ถ้าเป็นปัญญาเจตสิกทำบุญ ขณะนั้นไม่ใช่ตัวเราที่ทำ แต่เป็นจิตมหากุศลดวงที่ ๑ และวาโยธาตุเคลื่อนมือออกไปทำบุญ และบุญนั้นไม่ใช่สำหรับ พระหรือบุคคลหรือสัตว์ที่อยู่ตรงหน้า แต่เป็นการน้อมถวายพระอริยะ ๘ บุคคลโดยตรึกถึงคุณธรรมที่ทำให้ท่านเหล่านั้นจากคนธรรมดาเป็นพระอริยะ

    การเกิดโสมนัสในโลภะ และในญาณสัมปยุตนั้น จะเกิดปิติร่วมด้วย แต่การเกิดปิตินั้น ไม่ใช่เหตุแสดงว่าญาณสัมปยุตได้เกิดขึ้นแล้ว

    ผู้เกิดญาณสัมปยุตในใจตน เมื่อสั่งสมจิตมหากุศลดวงที่ ๑ ไว้มากพอจิตนั้นจะพลิกขึ้นเป็นจิตมหากุศลดวงที่ ๕ พร้อมแล้วสำหรับการรับฟังพระสัจธรรมเพื่อการสั่งสมในชาติภพถัดไป หรือเพื่อการบรรลุธรรมในชาตินี้ ท่านนั้นจะฟังพระอภิธรรมเข้าใจ สามารถแทงตลอดสัมปยุตธรรม แทงตลอดอริยสัจน์ ๔ บรรลุเญยธรรม

    แต่ถ้าเป็นโสมนัสในโลภะ จิตนั้นประกอบไปด้วยโมหะ ๒ดวง ไม่มีทางเลยที่จะรับพระสัจธรรมได้ หากฟังจนจบได้ก็เป็นเพียงการฟังแบบผิวเผิน ไม่สามารถทำความเข้าใจ เอาไปใช้จริงไม่ได้ เพราะอกุศลเจตสิกปรุงแต่งอกุศลมูลจิตไปพร้อมกับการฟังธรรมตั้งแต่ต้นจนจบ

    ผู้เกิดด้วยจิตมหากุศลดวงที่ ๑ จิตนั้นเป็นโสมนัสตลอดชาติภพที่เกิด แม้ช่วงบรรลุธรรมจิตนั้นเป็นจิตมหากุศลดวงที่ ๕ ก็ตามที แต่หลังการเป็นพระอริยะแล้วภวังคจิตนั้นยังคงเป็นจิตมหากุศลดวงที่ ๑ ตามเดิม เว้นแต่จุติใหม่จิตนั้นจะนำเกิดด้วยจิตมหากุศลดวงที่ ๕

    ผู้เกิดด้วยจิตมหากุศลดวงที่ ๕ ย่อมไม่ใช่จิตของปุถุชน (น้อยมากกกกกที่เป็นจิตปุถุชน) เพราะเกิดด้วยจิตบรรลุธรรม อันเป็นจิตของพระอริยะระดับพระโสดาบันขึ้นไปจนถึงพระอนาคามี เพราะพระอรหันตร์จิตนั้นย่อมไม่นำเกิด
     
  13. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710
    เข้าใจเช่นนั้นเหมือนกันครับ เพียรผิด ย่อมทำให้ไปอบายภูมิได้

    ลุงหมานลองดูซิว่า
    คนที่เข้าใจปฏิจสมุปบาทได้อย่างไม่ผิวเผิน
    ผู้นั้น จะมีคุณธรรม มี สติ มีสมาธิ มีปัญญาอย่างไร

    ผู้ที่จะนำ ปฏิจสมุบปาทมากล่าวได้อย่างดี
    แม้พระพุทธเจ้าก็ยังเอ่ย ว่าเป็นสิ่งที่ละเอียด

    แล้วดู การกล่าว ที่ขีดเส้นใต้


    นามรูปปริจเฉทญาณ กว่าจะผ่านได้ไม่ใช่ง่ายๆ เลยนะคะ อย่าคิดว่าง่ายๆ ค่ะ
    เมื่อก่อนเคยอ่านตำราพระท่านหนึ่งเขียนไว้ เหมือนกำหนดรู้กันได้ง่ายๆ
    พอมาเรียนเรื่องวิปัสสนาแล้ว ถึงได้รู้ว่า แค่ญาณแรกก็ยากมากเลย
    ยิ่งญาณที่2 คือ ปัจจยปริคคญาณ ต้องอาศัยความเข้าใจจากการศึกษาให้เข้าใจได้จริงๆ
    แล้วถึงจะเข้าใจ ปฏิบัติได้เข้าถึง ต้องเข้าใจปฏิจสมุปบาท ต้องเข้าใจคัมภีร์ปัฏฐาน
    เข้าใจได้ผิวเผิน ไปไม่ถึงแน่ๆ ญาณที่ 2 นี้



    รูปนามปริเฉท เป็น ปัญญาญาณอ่อนๆ ที่เพิ่งเริ่มเกิดในปุถุชน
    ที่ฝึกเดินสติปัฏฐาน
    หากเพียรไปยังไม่ข้ามโครต ก็ยังมีโอกาสพลาดสุคติภูมิได้

    อย่างนี้เรียกว่า เพียรผิดหรือเปล่า หรือจะเรียกว่า เข้าใจผิดดี
    เมื่อเข้าใจ ก้เพียรผิด เล็งเป้าผิด

    แต่ใช่ว่า การเล็งเป้าผิด จะไม่มีผล
    หากมีการเล็งซ้ำๆ อย่างต่อเนื่อง จังหวะการยิงจะใกล้เข้าเป้า มากขึ้น
    ความเพียรแม้จะผิดก้ มีผลพลิกได้เสมอ หากไม่หยุดเพียร
    สำคัญที่ไม่หยุดเพียร ก้จะสมกับปัญญาเกิดจากการปฏิบัติ

    พระท่าน ที่เขียนว่า กำหนดรู้ได้ง่ายๆ
    พระท่านก็พูดตามพระศาสดา

    พระพุทธเจ้าท่านก็สอนการกำหนดรู้ไว้ง่ายๆ

    แต่ผู้ที่กำหนดรู้ได้ยาก คือ ผู้ที่ ไม่ทำตามคำสอนตะหาก


    เรื่องระลึกย้อนหลังไปรู้ได้ถึงเหตุ 3 ของการเกิด
    ยิ่งไปกันใหญ่

    เข้าใจว่า หากรู้ได้ไปถึงขั้นนั้นก่อนแล้ว จะไปฝึกสติปัฏฐานให้มันเหนื่อยทำไม
    ผู้ที่มีฐานะ รู้ได้ในเหตุ3ของการเกิด ปุถุชนไม่มีสิทธิรู้ได้แน่นอน

    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>





    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>



    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    พอเอ่ยถึงพระอภิธรรม บางท่านก็ร้องว่า ยาก เป็นธรรมที่ยาก เป็นเรื่องที่มากเกิน ไม่จำเป็นที่จะศึกษา ความเป็นจริงก็คือ ข้าพเจ้าไม่เถียงว่าพระอภิธรรมไม่ยาก เนื่องจากพระอภิธรรมปิฎก เป็นพระพุทธวจนะที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแต่ปรมัตถธรรม เป็นสภาวธรรมล้วนๆ ไม่มีสมมติบัญญัติเจือปนเลย ดังนั้นจึงเป็นธรรมที่พึงรู้ได้โดยยาก ผู้ที่จะศึกษาเล่าเรียนพระอภิธรรมให้มีความฉลาดรอบรู้ได้เป็นอย่างดีนั้น จึงต้องเป็นบุคคลที่เป็นติเหตุกะปฏิสนธิเท่านั้น คือบุคคลที่เกิดมาด้วยเหตุ ๓ ได้แก่ อโลภะ อโทสะ และอโมหะ ส่วนบุคคลที่เป็นทวิเหตุกะปฏิสนธินั้น ไม่สามารถจะศึกษาเล่าเรียนให้มีความฉลาดรอบรู้ได้ และหากถามว่าจำเป็นต้องศึกษาไหม ข้าพเจ้าขอตอบด้วยหัวใจว่า จำเป็นอย่างยิ่ง ยิ่งกว่าการเรียนวิชาใดๆ ในโลกนี้ แต่หากถามว่า การศึกษาพระอภิธรรมแค่ไหนที่จะเรียกว่าไม่มากเกินไปนั้น คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยที่ท่านสร้างมา และเป็นเรื่องความพอใจของแต่ละท่านซึ่งยากที่จะนำมาเปรียบเทียบกัน ในเรื่องนี้ ข้าพเจ้าจำแนกบุคคลออกเป็น ๖ ประเภท คือ

    • ผู้ที่ไม่สนใจศึกษาพระอภิธรรมเลย ด้วยไม่เคยทราบ ไม่เเคยแม้จะได้ยินชื่อนี้มาก่อน หรือเคยได้ยิน แต่ไม่ทราบว่าคืออะไร ประเภทหนึ่ง
    • ผู้ทีทราบว่าพระอภิธรรมคืออะไร แต่สำคัญผิดเห็นว่าเป็นเพียงคำสอนที่เกจิอาจารย์รจนาขึ้นเพื่อสั่งสอนศิษย์ในภายหลังเท่านั้น ไม่ใช่พุทธพจนะ จึงไม่ศึกษาเล่าเรียน อีกประเภทหนึ่ง
    • และอีกประเภทหนึ่ง ผู้ที่ไม่สนใจศึกษา เพราะมีความเห็นว่าเป็นเรื่องที่ไม่จำเป็นต้องศึกษา ไม่เห็นประโยชน์ บุคคลประเภทที่สามนี้ นอกจากตนเองไม่ศึกษาแล้วยังมักจะไม่สนับสนุน หรือไม่เห็นด้วยกับผู้ที่ศึกษา
    • ส่วนอีกประเภทหนึ่ง คือผู้ที่มีความสนใจที่จะศึกษาแต่คิดว่ายาก กลัวว่าจะต้องท่องจำ คิดว่าตนคงไม่สามารถศึกษาพระอภิธรรมได้
    • หรืออีกประเภทหนึ่ง คือผู้ที่มีความสนใจเพราะคิว่าเป็นธรรมที่ควรศึกษา แต่ไม่มีเวลา หรือสนใจพอประมาณ ศึกษาบ้าง แต่มิได้ขวนขวาย หรือแสวงหาครูอาจารย์
    • อีกประเภทหนึ่ง คือผู้ที่ศึกษาพระอภิธรรมเพื่อเป็นพื้นฐานของการปฏิบัติกรรมฐาน
    • ประเภทสุดท้าย คือบุคคลที่ทุ่มเทกาย ใจให้กับการศึกษาพระอภิธรรมเป็นอย่างมาก แสวงหาครูอาจารย์ และสถานที่เรียน ทั้งท่อง ทั้งจำ ทั้งยังเผยแผ่แก่ผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็มีมาก ข้าพเจ้าได้แต่อนุโมทนาเมื่อได้ยินว่าท่านเหล่านี้ (เพื่อนๆ ร่วมชั้นเรียนพระอภิธรรมของข้าพเจ้าเอง) เช้าวันเสาร์ไปเรียนที่วัดเพลงวิปัสสนาฯ บ่ายไปเรียนที่วัดสามพระยา เย็นไปติวที่วัดมหาธาตุฯ รุ่งขึ้นวันอาทิตย์เช้าไปเรียนที่วัดสังเวชฯ แล้วตอนบ่ายกับตอนเย็น ก็ไปเรียนที่อื่นๆ อีก เป็นต้น เรียกว่าเรียนได้วันละ ๓ เวลา
    โดยส่วนตัวแล้วข้าพเจ้่าคิดว่า เหตุที่สำคุญที่สุดที่ทำให้พุทธศาสนิกชนไม่สนใจศึกษาพระอภิธรรมก็เพราะว่าไม่ทราบว่าพระอภิธรรมเป็นการศึกษาเรื่องอะไร เกี่ยวข้องกับชีวิตที่เป็นอยู่อย่างไร เมื่อไม่เข้าใจว่าพระอภิธรรมเกี่ยวข้องกับชีวิตอย่างไร คิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ก็ไม่เห็นประโยชน์ของการศึกษาพระอภิธรรม จึงไม่ศึกษา
    ดังนั้นข้าพเจ้าจะกล่าวถึงการศึกษาพระอภิธรรม และประโยชน์ และข้อคิดในการศึกษาพระอภิธรรมโดยย่อ หากท่านอ่านมาถึงบันทัดนี้ ข้าพเจ้าเข้าใจว่าท่านเป็นผู้ที่มีความสนใจในการศึกษาพระธรรมพอสมควร ท่านคิดหรือไม่่ว่าท่านจัดอยู่ในประเภทใดข้างต้น ถ้าท่านอยู่ในประเภทที่ ๑ - ๔ ข้าพเจ้าหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เมื่อท่านอ่านบทความนี้จบลงแล้ว ท่านจะเปลี่ยนทัศนคติมาเป็นอย่างน้อยก็ประเภทที่ ๕

    http://www.analaya.com/index.php?option=com_content&view=article&id=43&Itemid=91&limitstart=2

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 18 ตุลาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...