จุดเริ่มต้นแห่งจักรวาล และ มนตด และหายนะของมุนษย์ชาติ การล่มสลาย

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย Nonimage, 30 กันยายน 2012.

  1. Nonimage

    Nonimage Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +49
    ผมมีวีดีโอดีๆ มาให้ดูครับ
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=xLLOcJGpa3o&feature=related]สตีเฟน ฮอว์กิ้งกับคำถามสำคัญของเอกภพ - YouTube[/ame]
     
  2. Nonimage

    Nonimage Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    45
    ค่าพลัง:
    +49
    สตีเฟน วิลเลียม ฮอว์คิง (เกิดวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2485) เป็นนักฟิสิกส์ทฤษฎีและนักจักรวาลวิทยา ศาสตราจารย์ประจำมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ หนังสือวิทยาศาสตร์ของเขาและการปรากฏตัวต่อสาธารณะได้ทำให้เขาเป็นผู้มีชื่อเสียงด้านวิชาการ ผลงานวิทยาศาสตร์สำคัญของเขาจนถึงปัจจุบันมีการบัญญัติทฤษฎีบทเกี่ยวกับภาวะเอกฐานเชิงความโน้มถ่วงในกรอบของทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไป ร่วมกับโรเจอร์ เพนโรส และการทำนายเชิงทฤษฎีที่ว่าหลุมดำควรปล่อยรังสี ซึ่งปัจจุบันมีชื่อว่า รังสีฮอว์คิง (บางครั้งเรียก รังสีเบเคนสไตน์-ฮอว์คิง)
    ฮอว์คิงเป็นโรคเซลล์ประสาทสั่งการที่เกี่ยวข้องกับอะไมโอโทรฟิก แลเทอรัล สเกลอโรซิส (แอลเอเอส) เป็นสภาพที่ลุกลามขึ้นในช่วงหลายปี ปัจจุบัน เขาแทบเป็นอัมพาตทั้งร่างและสื่อสารผ่านอุปกรณ์สังเคราะห์เสียงพูด เขาแต่งงานสองครั้งและมีลูกสามคน ฮอว์คิงประสบความสำเร็จกับผลงานวิทยาศาสตร์สำหรับบุคคลทั่วไป (popular science) ซึ่งเขาอภิปรายทฤษฎีของเขาและจักรวาลวิทยาโดยรวม ซึ่งมีประวัติย่อของกาลเวลา (A Brief History of Time) และจักรวาลในเปลือกนัท (The Universe in a Nutshell) ซึ่งอยู่ในรายการขายดีที่สุดของบริติชซันเดย์ไทมส์ทำลายสถิตินานถึง 237 สัปดาห์

    การทำงาน

    ฮอว์คิงเริ่มทำงานในสาขาสัมพัทธภาพทั่วไป และเน้นที่ฟิสิกส์ของหลุมดำ เมื่อปี พ.ศ. 2508 ขณะที่กำลังทำงานวิจัยเพื่อทำวิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต ฮอว์คิงได้อ่านรายงานของนักคณิตศาสตร์และนักฟิสิกส์ ชื่อ โรเจอร์ เพนโรส (Roger Penrose) ซึ่งเพนโรสเสนอทฤษฎีที่ว่าดวงดาวที่ระเบิดอยู่ภายใต้แรงโน้มถ่วงของตัวเอง จะมีปริมาตรเป็นศูนย์ และมีความหนาแน่นเป็นอนันต์ อันเป็นสภาพที่นักฟิสิกส์เรียกว่า ซิงกูลาริตี้(singularity) ผลลัพธ์ที่ได้ก็คือหลุมดำ ซึ่งไม่ว่าแสงหรือวัตถุใดๆ ก็หนีออกมาไม่ได้
    จากนั้น ในปี พ.ศ. 2513 ฮอว์คิงและเพนโรสก็ได้ร่วมกันเขียนรายงานสรุปว่าทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปของไอน์สไตน์ นั้นกำหนดให้เอกภพต้องเริ่มต้นในซิงกูลาริตี้ ซึ่งปัจจุบันนี้รู้จักกันว่า บิ๊กแบง และจะสิ้นสุดลงที่ หลุมดำ
    ฮอว์คิงเสนอว่า หลุมดำไม่ควรจะเป็นหลุมดำเสียทีเดียว แต่ควรจะแผ่รังสีอะไรออกมาบ้าง โดยเริ่มที่วัตถุจำนวนมหาศาลนับพันล้านตัน แต่มีความหนาแน่นสูง คือกินเนื้อที่ขนาดเท่าโปรตอน เขาเรียกวัตถุเหล่านี้ว่าหลุมดำจิ๋ว (mini black hole) ซึ่งมีแรงโน้มถ่วงและมวลมหาศาล แต่สุดท้ายหลุมดำนี้ก็จะระเหิดหายไป การค้นพบนี้ถือเป็นงานชิ้นเยี่ยมชิ้นหนึ่งของฮอว์คิง
    เมื่อ ปี พ.ศ. 2517 เขาได้เป็นสมาชิกที่มีอายุน้อยที่สุดของราชบัณฑิตยสถานของอังกฤษ และได้รับตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาฟิสิกส์แรงโน้มถ่วง ที่มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ในปี พ.ศ. 2520 และเมื่อในปี พ.ศ. 2522 ก็ได้รับการแต่งตั้งเป็น “เมธีคณิตศาสตร์ลูเคเชียน” (Lucasian Chair of Mathematics - เป็นตำแหน่งที่ตั้งขึ้นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2206 (ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช) บุคคลที่ 2 ที่ได้รับตำแหน่งนี้ก็คือ เซอร์ไอแซก นิวตัน คนทั่วไปจึงเปรียบเทียบสตีเฟน ฮอว์คิง กับนิวตันและไอนสไตน์)
    สตีเฟน ฮอว์คิงเชื่อว่ามีความเป็นไปได้ที่นักฟิสิกส์จะพัฒนาทฤษฎีที่จะรวมเอาแรงทั้ง 4 ของธรรมชาติเข้าด้วยกัน นั่นคือ แรงโน้มถ่วง, แรงแม่เหล็กไฟฟ้า, แรงนิวเคลียร์แบบอ่อน และแรงนิวเคลียร์แบบเข้ม อันจะนำไปสู่ ทฤษฎีสรรพสิ่ง (Theory of Everything) ที่เคยกล่าวกันมา ส่วนเรื่องการขยายตัวของเอกภพนั้น ฮอว์คิงเชื่อว่า เอกภพขยายตัวออกไปโดยมีความเร่ง
     
  3. นาวาซ

    นาวาซ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +57
    หลุมดำก็เป็นแค่ ดาว ดาวหนึ่งซึ่งใหญ่มากๆ แต่ไม่ได้เปนทรงกลม แต่มีรูโหว่ ตรงปากลึกเข้าไปถึงตรงกลางดาว เหมือนแอปเปิ้ลมีรู ทุกสิ่งทุกอย่างที่ไหลวนเข้าไปในรู เดี๋ยวมันก็ไหลกลับออกมา แต่อาจจะนานหลายหมื่นปี .......
     

แชร์หน้านี้

Loading...