จิ. เจ. รุ. นิ.

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Samarnl, 31 สิงหาคม 2012.

  1. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]....[​IMG]....[​IMG]....[​IMG]....
    ปรมัตถธรรม 4
    ปรมัตถธรรมหมายถึงธรรมที่มีเนื้อความไม่เปลี่ยนแปลง ไม่วิปริตผันแปร มี 4 กลุ่มคือ จิต, เจตสิก, รูป และนิพพาน
    ส่วนบัญญัติธรรมหมายถึงสิ่งที่บัญญัติขึ้น สมมติขึ้นเพื่อเรียกขาน ปรมัตถธรรมจึงมีทั้งสามัญลักษณะและวิเสสลักษณะ
    แต่บัญญัติธรรมนั้นไม่มีวิเสสลักษณะ
    สามัญลักษณะคือลักษณะที่ธรรมทั้งหลายมีอยู่ร่วมกันเป็นสามัญ สำหรับสังขตธรรมนั้นสามัญลักษณะมี 3 ประการ
    จึงเรียกว่าไตรลักษณ์ ได้แก่ อนิจจลักษณะ, ทุกขลักษณะ และอนัตตลักษณะ
    ลักษณะที่ไม่เป็นสามัญหรือลักษณะที่ทำให้ธรรมตัวหนึ่งแตกต่างจากธรรมตัวอื่น
    เป็นลักษณะพิเศษเฉพาะตัวของปรมัตถธรรมเรียกว่าวิเสสลักษณะ วิเสสลักษณะมีลักษณะ 4 ประการ
    ที่ต้องพูดถึง ได้แก่ ลักษณะ (เครื่องแสดง), รสะ (หน้าที่), ปัจจุปัฏฐาน (อาการปรากฎ) และปทัฏฐาน (เหตุใกล้ให้เกิด)
     
  2. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ประโยชน์ที่สัตว์โลกต้องการนั้นมี ๓ อย่าง คือ

    ๑. ทิฏฐธัมมิกัตถะ คือ ประโยชน์ในอัตภาพนี้ คือในโลกนี้นั่นเอง
    อันได้แก่ ความสุขความสบายที่พึงแสวงหาด้วยทรัพย์ ไม่เป็นคนยากคนจนไร้ทรัพย์ เป็นต้น
    ๒. สัมปรายิกัตถะ คือ ประโยชน์ในภายภาคหน้า คือในโลกหน้าเกี่ยวกับการเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ เป็นต้น
    ๓. ปรมัตถประโยชน์ คือ ประโยชน์อย่างยิ่ง คือพระนิพพาน อันเป็นธรรมที่ดับทุกข์ทั้งปวง

    พระพุทธเจ้าทรงจำแนกหมวดธรรมที่เป็นเป็นไปเพื่อประโยชน์แต่ละอย่างไว้
    ทรงแนะนำหมวดธรรมเหล่านั้น โปรดสัตว์ผู้มีความสามารถจะรับเอาประโยชน์นั้นๆ
    สัตว์เหล่านั้น ฟังธรรมแล้วก็เกิดปัญญา รู้จักทำเหตุที่ตรงต่อผลอันเป็นประโยชน์ต่อตนที่ต้องการ
    ก็ได้รับประโยชน์นั้นๆไป ต่อมา แม้พระพุทธเจ้าจะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพานแล้ว
    ธรรมเทศนาเกี่ยวกับหมวดธรรมที่เป็นประโยชน์ทั้ง ๓ ก็ยังไม่สูญหาย
    ทว่า มีเนื้อหาปรากฎอยู่ในปกรณ์ส่วนพระสูตรและพระวินัย นั่นเอง
    ก็แต่ว่า คำพูดเกี่ยวกับธรรมหมวดนั้น โดยเฉพาะเกี่ยวกับประโยชน์อย่างยิ่ง สุขุม ลึกซึ้งนัก
    มักกล่าวพาดพิงถึงปรมัตถธรรม ๔ คือ จิต เจตสิก รูป นิพพาน ถ้าผู้ศึกษา ซึ่งในปัจจุบันนี้
    ล้วนเป็นผู้มีโอกาสได้ฟังธรรมที่เหมาะสมแก่อัธยาศัยจากพระโอษฐ์
    ไม่มีความรู้พื้นฐานด้านปรมัตถธรรมมาก่อนแล้ว
    ย่อมเป็นเป็นการยากที่จะเกิดความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง ในหมวดธรรมเหล่านั้น
    เช่น หมวดขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ สัจจะ ๔ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท
    ซึ่งล้วนแล้วเป็นปรมัตถธรรม เพราะฉะนั้น ก็ควรปลูกฝังความรู้ด้านปรมัตถธรรม ๔ ไว้ก่อน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2012
  3. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    กมฺมุนา วตฺตตีโลโก สัตว์โลกย่อมเป็นไปตามกรรม

    สาธุครับ
     
  4. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ก็แต่ว่า เนื้อหาสาระว่าด้วยปรมัตถธรรม ๔ นี้
    มีรายละเอียดชัดเจนอยู่ในปกรณ์พระอภิธรรม เมื่อเป็นเช่นนี้
    ก็จำเป็นต้องศึกษาพระอภิธรรมปิฏก ก็พระอภิธรรมปิฎกนั้น ประกอบด้วยปกรณ์ ๗ คือ
    ธัมมสังคณี วิภังค์ ธาตุกถา ปุคคลบัญญัติ กถาวัตถุ ยมก และมหาปัฏฐาน ซึ่งแต่ละปกรณ์
    มีเนื้อหาลึกซึ้งกว้างขวางมาก จงเป็นเรื่องยากที่ผู้เริ่มต้นศึกษาจะใช้เป็นแบบฉบับการศึกษาให้ได้ความรู้ตั้งแต่ต้น
    เพราะเป็นธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่เทวดาทั้งหลายในชั้นดาวดึงส์
    ซึ่งล้วนเป็นผู้ตั้งมั่นดีด้วยสัมมาทิฏฐิ ในคำสอนของพระพุทธเจ้ามาก่อนแล้ว
    ด้วยเหตุนี้ วงการปริยัติ โดยเฉพาะในสมัยปัจจุบันนี้ จึงนิยมเรี่มต้นการศึกษาด้วยปกรณ์ที่เกิดรุ่นหลัง
    ที่ชื่อว่าพระอภิธัมมัตถสังคหะก่อน เพราะเหตุนี้ปกรณ์นี้ วางระเบียบการศึกษาปรมัตถธรรม ๔ ไว้
    เป็นที่สะดวกแก่ผู้เริ่มต้นเป็นอย่างดียิ่ง โดยการที่ท่านรวมย่อเอาเนื้อความในพระอภิธรรมปิฎก ๗ ปกรณ์นั้น
    มากำหนดแบ่งเนื้อหา จำนวน ๙ ปริเฉท (๙ตอน)
    แยกปรมัตถธรรมให้ศึกษากันเป็นแต่ละอย่าง ไม่กล่าวปะปนพร้อมๆกันไป หลายๆอย่าง
    เหมือนอย่างที่ปรากฎในพระอภิธรรมปิฎก ทำให้ผู้ศึกษาได้ศึกษาเป็นเรื่องๆ ในปริจเฉทหลังๆ
    จึงกล่าวปะปนร่วมกันไป เพื่อแสดงถึงการทำงานร่วมกัน หรือความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกัน
    แห่งสภาวธรรมเหล่านั้น จึงปรากฎว่า เป็นที่สะดวกอย่างยิ่งแก่ผู้เริ่มต้นศึกษาพระอภิธรรมทั้งหลาย
    เพราะไม่สับสนฝั่นเฝือ ท่านกำหนดเนื้อหาสาระที่ต้องศึกษาไปตามลำดับ ในปริเฉททั้ง ๙ ไว้อย่างนี้

    มีโอกาสจะมากล่าวต่อไป......ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2012
  5. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ชนทั้งหลายที่อยู่ในโลกด้วยกันทุกวันนี้
    ล้วนแต่เสาะแสวงหาวิชาความรู้ต่างๆ เพื่อจะนำมาประดับสติปัญญาของตนๆด้วยกันทั้งสิ้น
    ทั้งนี้ก็เพราะเห็นว่าบุคคลใดขาดเสียซึ่งวิชาความรู้เสียแล้วบุคคลนั้นก็ย่อมจะได้รับแต่ความลำบาก
    เพราะมิอาจที่จะยกฐานะคือความเป็นอยู่ของตนให้รุ่งโรจน์ได้ มีแต่ใช้กำลังกายเป็นที่พึ่งอย่างเดียว
    มิอาจที่จะอาศัยปัญญาอันเป็นกำลังทางใจให้เป็นที่พึ่งแก่ตนได้

    ด้วยเหตุนี้วิชาที่ชนทั้งหลายมุ่งหวังอยู่ทั่วทุกคนนั้นมีอยู่ ๒ อย่าง คือ
    วิชาทางโลกอย่างหนึ่ง วิชาทางธรรมอย่างหนึ่ง วิชาทางโลกนั้นย่อมให้ผู้ศึกษาได้รับผลแต่ในปัจจุบันชาติ
    ชาตินี้ชาติเดียว หาได้ติดตามไปในภพอื่นๆได้ไม่ มิหนำซ้ำวิชาบางอย่างก็ทำให้ผู้ศึกษาให้ได้รับผลร้ายก็มี
    ส่วนวิชาทางธรรมนั้นไม่มีการให้โทษแม้แต่ประการใดๆ มีแต่ให้ผู้นั้นได้รับความสุขใจปรากฏขึ้นถ่ายเดียว
    และต่อไปภายภาคหน้าก็ยังช่วยอุดหนุนให้ได้รับความสุขที่เกี่ยวกับ มนุษย์ เทวดา ตลอดจนถึงพระนิพพานอีกด้วย
    ความสุขทั้ง ๓ อย่างนี้พระนิพพานเป็นความสุขอย่างยิ่ง เพราะไม่มีการผันแปลไปอย่างอื่น คงมีแต่แต่ความสุขที่สงบจากทุกข์ทั้งปวง

    เมื่อได้พิจารณาใครครวญดูในวิชาทางธรรม โดยถี่ถ้วนแล้ววิชาทางธรรมที่จะอำนวยผลให้แก่ผู้ศึกษาได้รับความสุขโดยเร็วนั้น
    ได้แก่วิชาความรู้ที่เกี่ยวกับพระอภิธรรม กล่าวคือ นามรูปและบัญญัติ ส่วนวิชาทางธรรมที่นอกจากนี้เพียงแต่เป็นเครื่องประกอบ

    ผู้ที่จะได้รับความรู้ในรูปนามและบัญญัติ ซึ่งในด้านพระอภิธรรมนั้นมีอยู่ด้วยกัน ๒ ทางคือทางปริยัติและทางปฏิบัติ
    รู้ทางปริยัติเรียกว่า สุตมยปัญญาและจินตามยปัญญา รู้ทางปฏิบัติเรียกว่า ภาวนามยปัญญา
    ความรู้ที่เป็นปริยัติและปฏิบัติทั้ง ๒ นี้ รู้โดยอาศัยปริยัติเป็นการรู้โดยกว้างขวาง พร้อมทั้งบัญญัติรูปนามเหล่านั้นด้วย
    ส่วนการรู้โดยอาศัยการปฏิบัตินั้น เป็นการรู้ที่เข้าถึงสภาพธรรมของรูปนามที่กำลังเป็นไป
    ปรากฎชัดเจนแก่ปัญญาของตนๆที่กำลังเพ่งเพียรพินิจอยู่ แต่ความรู้นั้นอาศัยการปฏิบัติอย่างเดียวแล้ว
    ถึงแม้จะรู้สภาพธรรมของตนๆก็ตาม แต่ก็มิอาจรู้ทั่วถึงบัญญัติของธรรมนั้นๆได้ ทั้งนี้จัดว่าเป็นความรู้ที่ยังคับแคบอยู่
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 31 สิงหาคม 2012
  6. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]
     
  7. bankbankbank

    bankbankbank เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 สิงหาคม 2012
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +885
    ลุงหมาน ไม่ทำให้ผิดหวังจริงๆ......

    สาธุ ธรรม ที่นำมาลงไว้ครับ...ชัดเจน เป๊ะๆๆๆๆ
    ........................................................

    เรียนปริยัติ ต้องเรียน แบบนี้ ครับ ถูกต้อง ดีงาม.....
     
  8. มะหน่อ

    มะหน่อ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    1,652
    ค่าพลัง:
    +1,210
    ภาพที่ลุงหมานแสดง
    ภาพสุดท้ายคือรูปโกฎ
    หรือหากผมเพี้ยนคือโกศ
    เกศา

    แต่ในนิทานวรรคหรืออภิธรรมผมไม่ชัดตรงนี้นะครับลืมไป
    ท่องเที่ยวไปดังกับนอแรตฉันนั้น แล้วสุดท้ายคือปราสาทราชวังธงทิว
    มันหมายถึงอะไรครับลุงหมาน
    แล้วที่บ้านผมนี้หากตายแล้วเขาทำปราสาทให้เอาศพไว้ข้างใน
    มีครบครับธงทิว

    และปีที่แล้วนี่เองไปเห็นที่หนึ่ง
    ปราสาทเป็นรูปหงส์อีกต่างหาก
    เรือเป็นหงส์
    ตรงนี้อธิบายได้ไหมครับ
    ว่าเราต้องตายก่อน

    และโกฎที่ท่านแสดงต้องอยู่ในเมรพิธีที่ฌาปณกิจนะครับ

    ต้องขอกราบขอบพระคุณลุงหมานที่เอาธรรมดีๆอย่างนี้มาแสดงนะครับ
    ผมไปถามใคร ใครก็ไม่ตอบ
    พระบรมสารีริกธาตุเขี้ยวแก้ว ที่เห็นในภาพเป็นกระดูก
    ทำไมไม่เป็นธาตุหรือแก้วดังที่เราเข้าใจว่าพระอรหันต์กระดูกเป็นธาตุ
    พระพุทธองค์ท่านเลือกทางสายกลางหรือเปล่าขอรับ

    และปรมัติ
    ผมไปฟังธรรมวันนี้
    ปรม + อัตา
    ดังนั้นผู้ที่ปรมัติมีอัตาหรือไม่ครับ

    ท่านถึงบอกว่าหากท่านมาถึงปรมัติท่านจะรู้หรือไม่ว่านิพพานคืออะไร
    หรือไม่อย่างไรครับ
    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วครับ
     
  9. คิงฆอง

    คิงฆอง สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 เมษายน 2012
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +14
    ขออนุญาต ติดตาม กระทู้ นี้ด้วยนะครับ
    ปรบมือให้เลยครับพี่ แปะ แปะ สาธุ สาธุ
     
  10. ติงติง

    ติงติง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38,272
    ค่าพลัง:
    +82,731
    เอ๋! แปะ แปะ นี่เสียงปรบมือหรือชื่อคนคะคุณคิงฆอง

    ป.ล. น้อมอนุโมทนาในธรรมทานค่ะคุณลุงหมาน
     
  11. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    "ปูชา จะ ปูชะนียานัง" บูชาบุคคลที่ควรบูชา

    ให้ลุงหมานเลย

    สาธุครับ ลุงหมาน
     
  12. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ขอขอบคุณทุกท่านครับ
    ที่ติดตามอ่านธรรมะของพระพุทธองค์
    การอนุโมทนาถือว่าเป็นโอสถวิเศษที่ได้รับ
    ชนิดที่ให้ผลทันทีรู้ได้สัมผัสได้

    อิอิ น้องๆคลอดออกมาใหม่ๆ น่าตาสดใสเยอะอ่ะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2012
  13. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    [​IMG]
    คุณมะหน่อครับ ภาพนี้เป็ภาพจำลองของภูมิ ๓๑
    ที่สัตว์โลกทั้งหลายยังท่องเที่ยวเวียนตายเวียนเกิดอยู่ตามภูมิต่างๆ
    ลองกดที่ภาพดูจะขยายให้เห็นชัดเจนครับ
    ถ้ายังเห็นไม่ชัดต้องกดอีกหนึ่งที่เป็นแว่นขยายนั่นแหละที่นี้ล้นจอเลย ๕๕๕ ​

    แต่ในนิทานวรรคหรืออภิธรรมผมไม่ชัดตรงนี้นะครับลืมไป
    ท่องเที่ยวไปดังกับนอแรตฉันนั้น แล้วสุดท้ายคือปราสาทราชวังธงทิว
    มันหมายถึงอะไรครับลุงหมาน อ่านตรงนี้ครับ

    และปรมัติ
    ผมไปฟังธรรมวันนี้
    ปรม + อัตา
    ดังนั้นผู้ที่ปรมัติมีอัตาหรือไม่ครับ

    ท่านถึงบอกว่าหากท่านมาถึงปรมัติท่านจะรู้หรือไม่ว่านิพพานคืออะไร
    หรือไม่อย่างไรครับ
    ขอท่านเจริญในธรรมยิ่งแล้วครับ<!-- google_ad_section_end -->
    ปรมัตถธรรม คือ สภาพของรูปนามที่เป็นองค์ธรรมอันประเสริฐ ไม่มีการผิดแปลกผันแปรอย่างไร
    และเป็นธรรมที่เป็นประธานในอัตถบัญญัติและนามบัญญัติ ชื่อว่า ปรมัตถ์ สภาวะระดับพื้นฐานที่สุดที่มีอยู่จริง
    หรืออาจกล่าวว่าเป็นสภาวะอันประเสริฐก็ได้ เพราะหากใคร่ครวญในสภาวะเหล่านี้แล้ว ก็สามารถบรรลุอริยธรรมได้

    ปรมัตถธรรม สรุปแล้วมี 4 อย่าง คือ1. จิต มี 89 หรือ 121 ดวง
    2. เจตสิก มี 52 ดวง
    3. รูป มี 28 รูป
    4. นิพพาน มีเพียง 1 เท่านั้น
    ในทางพุทธศาสนา สิ่งที่มีอยู่แท้จริงในสรรพสิ่งนี้ มีอยู่จริงๆ 4 อย่างเท่านั้น ไม่มากกว่านี้ หรือน้อยกว่านี้ เรียกว่าปรมัตถธรรม 4 คือ
    1. รูป ได้แก่ รูปธาตุทั้งหลาย คือ ดิน น้ำ ไฟ และลม
    2. เจตสิกได้แก่ นามธรรมแท้ๆ ได้แก่ ความรู้สึก นึก คิด ต่างๆ
    3. จิต ได้แก่สภาวะที่สามารถเชื่อมต่อนามธรรมให้มีผลต่อรูปธาตุ เช่นการเครื่อนไหวของกาย จนเป็นเหตุให้เกิดเจตนาและสร้างกรรมได้
    4. นิพพาน การหมดเหตุปัจจัยของรูปและนาม ก็เป็นความจริงแท้ที่มีอยู่จริงอย่างหนึ่ง
    โดยจัดเป็นรูป 28 นับเป็นรูปธรรม จัดจิต 89 หรือ 121 เจตสิก 52 เป็นนามธรรม นิพพาน 1 เช่นนี้ก็ได้
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2012
  14. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    จิตปรมัตถ์

    ลักษณะของจิต
    จิตมีความหมายเข้าใจสับสนกันอยู่ ปุถุชนส่วนมากเข้าใจว่าเป็นธรรมชาติอย่างหนึ่ง
    สิงสถิตย์อยู่ในร่างกายของคนและสัตว์ คืออยู่ที่หัวใจ
    หรือบางท่านก็ว่าอยู่ที่มันสมอง ไม่เกิดไม่ดับคงสภาพอยู่ ดังนั้นเป็นนิตย์นิรันดร
    เมื่อเกิดขึ้นครั้งแรกนั้นบริสุทธิ์ผุดผ่องประภัสสร ไม่มีมลทินมัวหมอง
    ต่อ ๆ มาจึงมีกิเลสตัณหา เข้าครอบงำเป็นเหตุให้เศร้าหมองหมกหมุนอยู่ในโลภโกรธหลง
    ทำให้วนเวียนอยู่ในวัฏฏะสงสาร (ผู้ที่ยังต้องเกิดอีก)
    เที่ยวล่องลอยไปเพื่อหาโอกาสที่จะเกิดหรือปฏิสนธิใหม่
    เหมือนดังบุคคลที่สละทิ้งบ้านเก่าท่องเที่ยวไปหาบ้านใหม่อยู่ฉะนั้น
    นี้เป็นความเข้าใจของปุถุชนเป็นส่วนมาก
    ซึ่งเป็นความเข้าใจห่างไกลจากความแท้จริงของสภาวธรรมที่เรียกว่าจิต

    สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนว่า จิตเป็นนามธรรมชนิดหนึ่ง
    ไม่มีรูปร่าง ไม่ใช่รูปธรรม คือไม่สามารถที่จะมองเห็นได้ด้วยตา
    หรือสัมผัสถูกต้องได้ด้วยกาย จึงเป็นเรื่องที่ปุถุชนเข้าใจได้ยากอยู่เอง
    เพราะไม่มีลักษณะที่จะหยิบยกจับถูกต้องมองเห็นได้
    แต่ถึงกระนั้นก็ดี ก็ยังมีลักษณะที่จะ รู้จักจิตได้ในทางอาการที่แสดงออก
    เช่นเมื่อตาสัมผัสกับรูป จิตก็รู้คือเห็นและรู้ว่าสวยงามดีไม่ดีเหล่านี้
    และเป็นอาการของจิต จิตมีคุณลักษณะ รู้ซึ่งอารมณ์ที่มากระทบ
    "อารมฺมณวิชานนลกฺขณํ" รู้ในเมื่อขณะกระทบอารมณ์ คือ

    [​IMG]
    รูปารมณ์ (รูป)กระทบจักขุปสาท (ตา) = จักขุวิญญาณ รู้ "เห็น"
    สัททารมณ์ (เสียง) กระทบโสตปสาท (หู) = โสตวิญญาณ รู้ "ได้ยิน"
    คันธารมณ์ (กลิ่น) กระทบฆานปสาท (จมูก) = ฆานวิญญาณ รู้ "กลิ่น"
    รสารมณ์ (รส) กระทบชิวหาปสาท(ลิ้น) = ชิวหาวิญาณ รู้ "รส"
    โผฏฐัพพารมณ์ (สัมผัสถูกต้อง) กระทบกายปสาท (กาย) = กายวิญญาณ รู้ เย็น ร้อน อ่อน แข็ง หย่อน ตึง
    ธรรมารมณ์ (เรื่องราว) กระทบใจ (ใจ) =มโนวิญญาณ รู้ "คิดนึก"

    ธรรมชาติที่รู้หรือธาตุรู้นี้แหละเรียกว่า จิต
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2012
  15. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    สาธุค่ะลุง
    ลุงหมาน หนูแวะมาทักทายค่ะ
    เมื่อวานหนูอยู่หน้าจอทั้งวัน ดูซีดีพระอาจารย์
     
  16. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    สิ่งใดไม่เรียนรู้จริง ก็ยากอยู่ที่จะละได้ ?
    สิ่งใดไม่เรียนรู้จริง ก็ยากยิ่งที่จะเข้าใจ ?
    สิ่งใดไม่ได้สำผัส ก็ยากยิ่งที่จะรู้สึกได้ ?
    สิ่งใดไม่เคยรู้สิ่งนั้นเป็นสิ่งที่รู้ได้ยากยิ่ง ?
    ตำรามีมากองมากมายถ้าไม่ท่องก็จำไม่ได้ ?
    ความรู้ที่มีไว้ถ้าไม่เอามาสาธยายก็ลืม ?
     
  17. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ประโยชน์ที่จะได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรม
    * จะทราบว่า หลักธรรมคำสอนที่ถูกต้อง ในพระพุทธศาสนาคืออะไร และหัวใจของพระพุทธศาสนาอยู่ที่ไหน
    * จะเข้าใจธรรมชาติของร่างกายและจิตใจ ที่รวมกันเป็นชีวิตหรือขันธ์ 5 อันประกอบด้วย รูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาน ว่าแท้จริงแล้ว เป็นแค่เพียงสถาวะที่ปรากฏเกิดขึ้น ตามเหตุตามปัจจัย ที่ปรุงเเต่งขึ้นมาเท่านั้น มิใช่สัตว์ มิใช่เป็นบุคคล มิใช่เป็นเรา มิใช่เป็นเขา ตามที่หลงผิดกัน
    * จะมีความเข้าใจ เรื่องของบัญญัติธรรม และปรมัตถธรรมอย่างชัดเจน
    * จะตัดสินได้ด้วยตนเอง ว่าอะไรเป็น ''บุญ'' อะไรเป็น ''บาป''
    * จะมีความเข้าใจในเรื่อง ของการทำบุญมากขึ้น รู้ว่าจะต้องทำบุญอย่างไรจึงจะได้รับอานิสงส์สูงสุด
    * จะทราบว่าบุญบาปที่ทำไปแล้ว กลับมาส่งผลได้อย่างไร ทำไมเราจึงเกิดมาแตกต่างกัน
    * จะทราบว่าตายแล้วไปไหน ชาติหน้ามีจริงหรือไม่ นรก สวรรค์ อยู่ที่ไหน
    * จะเข้าใจเรื่องกรรมและผลของกรรม (วิบาก) เป็นอย่างดี
    * จะเข้าใจเรื่องการทำสมาธิและ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง
    * จะเข้าใจเรื่อง มรรค ผล นิพพาน อย่างถ่องแท้
    * จะได้รับความรู้ในสาระอื่น ๆ อันเป็นประโยชน์ ในการดำเนินชีวิตมากมาย ฯลฯ
    ที่มา : ระเบียบการการศึกษาพระอภิธรรมทางไปรษณีย์
     
  18. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    ประโยชน์ที่ได้รับจากการศึกษาพระอภิธรรมมีอยู่มากมายหลายประการ แต่ที่สำคัญมี โดยสังเขปดังนี้

    ๑. การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าถึงแก่นของพระพุทธศาสนา
    เพราะพระอภิธรรมเกิดจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธองค์
    การเข้าถึงพระอภิธรรมจึงเท่ากับเข้าถึงพระปัญญาคุณของ พระพุทธองค์อย่างแท้จริง

    ๒. การศึกษาพระอภิธรรม ก็คือศึกษาธรรมชาติการทำงานของกายและใจซึ่งเป็นธรรมชาติ
    ที่มีอยู่ในตัวเราและสัตว์ทั้งหลายเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องจิต (วิญญาณ),
    เรื่องเจตสิก, เรื่องอำนาจจิต, เรื่องวิถีจิต, เรื่องกรรมและการส่งผลของกรรม,
    เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด, เรื่องสัตว์ใน ภพภูมิต่างๆ และเรื่องกลไกการทำงานของกิเลส
    ทำให้รู้ว่าชีวิตของเราในชาติปัจจุบันนี้มาจากไหนและ มาได้อย่างไร
    มีอะไรเป็นเหตุมีอะไรเป็นปัจจัย เมื่อได้คำตอบชัดเจนดีแล้วก็จะรู้ว่าตายแล้วไปไหนและ ไปได้อย่างไร
    อะไรเป็นตัวเชื่อมโยงระหว่างชาตินี้กับชาติหน้า ทำให้หมดความสงสัยแล้วเกิดอีกหรือไม่ นรก สวรรค์ มีจริงไหม
    ทำให้มีความเข้าใจเรื่องกรรม และการส่งผลของกรรม (วิบาก) อย่างละเอียด ลึกซึ้ง

    ๓. ผู้ศึกษา พระอภิธรรมจะเข้าใจเรื่องของปรมัตถธรรม หรือสภาวธรรมอันจริงแท้ตาม ธรรมชาติ
    ในพระอภิธรรมจะแยกสภาวะออกให้เห็นว่าทุกสิ่งไม่ใช่ตัวตน ไม่ใช่สัตว์ ไม่ใช่บุคคลอะไร ทั้งนั้น
    คงมีแต่สภาวธรรมคือ จิต เจตสิก รูป ที่วนเวียนอยู่ในความเกิด แก่ เจ็บ ตาย
    โดยอาศัยเหตุอาศัยปัจจัยอุดหนุนซึ่งกันและกัน เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป เกิดขึ้นใหม่แล้วก็ดับไปอีก
    มีสภาพเกิดดับอยู่เช่นนี้ โดยไม่รู้จักจบจักสิ้น แม้ใครจะรู้หรือไม่รู้ก็ตาม
    สภาวธรรมทั้ง ๓ นี้ก็ทำงานอยู่เช่นนี้โดยไม่มีเวลาหยุด พักเลย สภาวธรรมหรือธรรมชาติเหล่านี้
    มิใช่เกิดขึ้นจากพระผู้เป็นเจ้า พระพรหมพระอินทร์ หรือสิ่ง ศักดิ์สิทธิ์ใด ๆ เป็นผู้บันดาลหรือเป็นผู้สร้าง
    แต่สภาวธรรมเหล่านี้เป็นผลอันเกิดมาจากเหตุ คือ กิเลสตัณหานั่นเองที่เป็นผู้สร้าง

    ๔. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจสภาวธรรมอีกประการหนึ่ง
    อันเป็นจุดมุ่งหมาย สูงสุดในพระพุทธศาสนาที่ต้องการให้เข้าถึงนั่นก็คือนิพพาน
    นิพพาน หมายถึง ความหลุดพ้นจากกิเลสตัณหา ผู้ที่ปราศจากกิเลสตัณหาแล้วนั้น
    เมื่อหมดอายุขัย ก็จะไม่มีการสืบต่อของ จิต + เจตสิก และรูป อีกต่อไป
    ไม่มีการสืบต่อภพชาติ หยุดการเวียนว่ายตายเกิด พ้นจากทุกข์ทั้งปวงโดยสิ้นเชิง
    จึงกล่าวว่านิพพานเป็นธรรมชาติที่ปราศจากกิเลสตัณหา
    เป็นธรรมชาติที่ดับทุกข์โดยสิ้นเชิงและเป็นธรรมชาติที่ พ้นจากจิต เจตสิก รูป นิพพาน
    มิใช่เป็นแดนสุขาวดีที่เป็นอมตะและเพียบพร้อมด้วยความสุขล้วน ๆ ตลอดนิรันดร์กาลตามที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ

    ๕. การศึกษาพระอภิธรรมจะทำให้เข้าใจคำสอนที่มีคุณค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา
    เพราะ แค่การทำทาน รักษาศีล และการทำสมาธิก็ยังมิใช่คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนา
    เนื่องจากเป็นเหตุให้ต้องเกิดมารับผลของกุศลเหล่านั้นอีก ท่านเรียกว่า วัฎฎกุศล
    เพราะกุศลชนิดนี้ยังไม่ทำให้พ้นไปจากการเวียนว่ายตายเกิด คำสอนที่มีค่าสูงสุดในพระพุทธศาสนาคือ
    การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานตามแนวมหาสติปัฎฐาน ๔ เพื่อให้เห็นว่าทั้งนามธรรม (จิต + เจตสิก) และรูปธรรม (รูป)
    มีสภาพที่ไม่เที่ยง ทนอยู่ไม่ได้ ไม่ใช่ตัวตน บังคับบัญชาไม่ได้ มีการเกิดดับ เกิดดับ ตลอดเวลา
    หาแก่นสาร หาตัวตน หาเจ้าของไม่ได้เลย เมื่อมีปัญญาเห็นแจ้งในสภาวธรรมตามความเป็นจริงเช่นนี้
    แล้วก็จะนำไปสู่ การประหาณกิเลสและเข้าถึงพระนิพพานได้ในที่สุด

    ๖. การศึกษาพระอภิธรรม จะทำให้เข้าใจเรื่องอารมณ์ของวิปัสสนาซึ่งต้องใช้นามธรรม (จิต + เจตสิก)
    และรูปปรมัตถ์เป็นอารมณ์ เมื่อกำหนดรู้อารมณ์ในการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานได้ ถูกต้อง การปฏิบัติก็ย่อมได้ผลตามที่ต้องการ

    ๗. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการสั่งสมปัญญาบารมีที่ประเสริฐที่สุดไม่มีวิทยาการใด ๆ ในโลก
    ที่ศึกษาแล้วจะทำให้เกิดปัญญารู้แจ้งโลกเท่ากับการศึกษาพระอภิธรรม

    ๘. การศึกษาพระอภิธรรม เป็นการช่วยกันรักษาหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ไว้
    ให้อนุชนรุ่นหลังและเป็นการช่วยสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรตลอดไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 1 กันยายน 2012
  19. Workgroup

    Workgroup เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    693
    ค่าพลัง:
    +1,947
    ลุงหมาน ถามหน่อยครับ วันนี้ กาย หรือสังขาร มันสะอึก สะอึก 2 ครั้ง ครับ

    แต่ใช่ สมาธิ บอก ไปว่า จะ สะอึก ทำไมหน่อ 2 ครั้ง

    หายสะอึก แบบ นี้ เรียกว่าอะไรครับ
     
  20. Samarnl

    Samarnl เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,287
    ค่าพลัง:
    +4,704
    อันนี้เรียกว่าธาตุ ๔ บกพร่องไม่สมดุลย์กัน

    อันนี้เรียกว่า ถามอะไรไม่รู้เรื่อง
     

แชร์หน้านี้

Loading...