Miyamoto Musashi

ในห้อง 'จักรวาลคู่ขนาน' ตั้งกระทู้โดย foleman, 3 สิงหาคม 2012.

  1. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    [​IMG]

    มูซาชิ
    หรือ ซามูไรดาบคู่ มิยาโมโตะ มูซาชิ
    Miyamoto Musashi



    ศักยภาพของความเป็นคน ของ "มูซาชิ" ..

    มูซาชิ เป็นบุคคลตัวอย่างที่พัฒนาตนเองจากเด็กหนุ่มที่บ้าเลือดไร้ทิศทาง ฝึกควบคุมตัวเองให้รู้จักสงบนิ่งเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์อันเลวร้าย เลิกนิสัยมุทะลุดุดันชอบเอาชนะแบบบ้าเลือด แล้วหันมาแสวงหาหนทางการเป็นนักสู้ที่แท้จริง ละเอียดอ่อนทั้งกับผู้อื่นและตัวเอง ในระหว่างการเข้าเผชิญกับเหตุการณ์ต่างๆนั้นการใช้กำลังกับภูมิปัญญาต้องนำมาใช้ทั้งสองประการโดยมิแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด

    มูซาชิ มิได้มีชัยชนะแค่ในสมรภูมิเท่านั้น หากยังแสวงหาการพัฒนาทางด้านจิตวิญญาณ-ความหมายแห่งชีวิต และความเป็นเลิศในเชิงดาบไปพร้อม ๆ กัน

    เขาเป็นลูกของซามูไรบ้านนอกขาดแม่ ซึ่งในวัยเด็กทำท่าว่าจะเป็นคนที่เอาดีอันใดไม่ได้ อย่างไรก็ตามลักษณะเด่นของมูซาชิคือเป็นคนบึกบึนไม่ยอมแพ้ใครซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญอย่างหนึ่งของนักรบ สำหรับการเป็นนักรบนั้นแตกต่างจากนักฆ่าโดยสิ้นเชิง นักรบย่อมเห็นคุณค่าของชีวิตไม่ว่าของตนเอง หรือของผู้อื่น ไม่โอ้อวดเสี่ยงภัยอย่างไร้สาระ พร้อมเสียสละชีวิตเพื่อบรรลุจุดมุ่งหมายที่เหมาะสมจริง ๆ เท่านั้น

    จิตใจของ มูซาชิ อยู่เหนือเรื่องของศักดิ์ศรีหน้าตาที่เป็นเพียงเปลือกนอก ตลอดจนลาภ ยศ สรรเสริญทั้งปวง อันนี้ทำให้มูซาชิสามารถหลีกเลี่ยงสมรภูมิที่ไม่จำเป็นได้โดยไม่แยแสกับเสียงติฉินนินทา ทว่ายามใดที่ต้องรบ เขาก็สามารถรบได้ด้วยความสงบนิ่งดุจภูผา ศัตรูคนแล้วคนเล่าร่วงล้มด้วยเพลงดาบไร้สำนักของเขา

    แม้ในยามที่มีชื่อเสียงแล้วก็ตาม มิยาโมโตะ มูซาชิก็ยังใช้ชีวิตเหมือนนักพรตผู้ถือดาบ กินอยู่สมถะ นุ่งเจียมห่มเจียม ครองตัวเป็นนักดาบไร้สังกัดปราศจากฐานะตำแหน่งใด ๆ ในวงจรอำนาจซึ่งกำลังแก่งแย่งชิงดีกันอย่างเอาเป็นเอาตาย


    "พุทธนิกาย เซน"

    เน้นการถ่ายทอดคำสอนนอกคัมภีร์ ไม่ยึดมั่นกับถ้อยคำและตัวอักษร มุ่งตรงไปยังจิตวิญญาณของมนุษย์ เพื่อให้มองย้อนเข้าไปในธรรมชาติแท้ของตนเองแล้วบรรลุพุทธภาวะที่อยู่ภายใน

    เป็นการมองเข้าไปสู่ธรรมชาติที่แท้จริงของตนเองแล้วค้นพบสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นความรู้แจ้งได้อย่างชัดเจน และสิ่งนั้นก็จะส่องประกายแจ่มกระจ่างสว่างไสวให้ชีวิตทั้งหมดของเขาไปตลอด

    อันที่จริงชีวิตของเซนเริ่มต้นด้วยการมองเข้าไปรู้แจ้งภายในอย่างฉับพลัน (intuitive looking-into) ซึ่งแตกต่างจากกระบวนการเรียนรู้ในทางโลกหรือกระบวนการทางตรรกะใดๆ ซึ่งหลายท่านเข้าใจมาแล้วว่าเป็นการ"เจริญสติ"นั่นเอง


    เมื่อมาพิจารณากระบวนการทางความคิดของมูซาชิก็แปลกประหลาดไม่เหมือนใคร เขากับบอกว่า การต่อสู้ของเขาตั้งแต่อายุ ๑๓ - ๒๙ ปี "ยังไม่เคยหยิบยื่นชัยชนะให้กับผู้ใด" เมื่อพูดอย่างนี้ก็แสดงให้รู้ว่า ในความคิดของเขาการต่อสู้ที่ผ่านมานั้นเขาคิดอยู่ตลอดเวลาว่าชัยชนะเดิมทีมันอยู่กับเขา ส่วนเขาจะมอบให้คู่ต่อสู้ของเขาหรือไม่นั้นก็อยู่ที่เขาเป็นคนกำหนด


    มูซาชิ กล่าวถึง ?วิถีแห่งกลยุทธ์?

    มีความจำเป็นที่จะต้องเข้าใจถึงสรรพสิ่งและรู้พื้นฐานของ ?วิถีแห่งกลยุทธ์? อย่างถ่องแท้

    สรรพสิ่งและศิลปะแขนงต่าง ๆ ล้วนต้องมี ?วิถี? ของมัน

    สำหรับ ?วิถี? ของนักสู้ก็คือ ?ความพยายามยอมรับในความตาย? ความตายเป็นสิ่งที่ทุกผู้คนต้องพบพาน แต่สำหรับชนชั้นนักสู้แล้ว ต้องเผชิญหน้ากับความตายอย่างมีคุณค่า โดยปราศจากความอับอาย

    ?มุซาชิ? มีความเห็นต่อการเปิดสอน ?เพลงดาบ? โดยทั่วไป เป็นเพียงหนึ่งในแนวทางการแสวงหาผลประโยชน์เป็นหลัก หาใช่แก่นวิถีแห่งกลยุทธ์ที่จริงไม่


    มูซาชิ ไม่เห็นด้วยกับการเลือกใช้อาวุธไปตามความถนัดและความชอบพอของตนเอง ในทุกสถานการณ์โดยไม่คำนึงถึงสภาพแวดล้อม อันจะนำไปสู่ความหายนะได้

    มูซาชิ ใช้ดาบทั้งสองมือ ดาบหนึ่งสั้น อีกดาบหนึ่งยาว เลือกใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพพื้นที่และช่วงเวลา ปัจจัยในการเอาชัยของมูซาชิ ไม่ใช่ความเร็วของเพลงดาบ แต่เน้นที่จังหวะในการเข้าโจมตีเป้าหมาย นักสู้ต้องหยั่งรู้ถึงจังหวะของคู่ต่อสู้ และช่วงชิงลงมือในจังหวะที่ฝ่ายตรงข้ามคาดไม่ถึงจึงมีโอกาสสำเร็จ

    สรรพสิ่งล้วนมีจังหวะ แม้แต่ ?ความว่าง? ก็ยังมีจังหวะ การดำเนินชีวิตของคนยังต้องมีจังหวะของชีวิต

    นักสู้มีจังหวะแห่งการเติบโตและล่มสลาย

    พ่อค้ามีจังหวะของการร่ำรวยและล้มละลาย

    สรรพสิ่งจึงมีทั้งจังหวะและการรุ่งเรืองและเสื่อมโทรม

    กลยุทธ์ก็เป็นเช่นสิ่งอื่นที่มีจังหวะอันหลากหลาย

    นักสู้พึงแยกแยะจังหวะที่เหมาะสมออกจากจังหวะที่ไม่เหมาะสม

    โดยเรียนรู้จากขนาดเล็กใหญ่ ความเร็วช้า และลำดับก่อนหลัง

    ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อจังหวะของกลยุทธ์

    หากไม่เรียนรู้ถึงจังหวะย่อมไม่อาจบรรลุถึงกลยุทธ์

    และที่สำคัญมีเพียงการฝึกฝนเท่านั้น ที่เป็นวิถีแห่งการเรียนรู้ถึง ?จังหวะ? ของกลยุทธ์


    สมาธิและจิตใจ คือรากฐานของกระบวนท่าทั้งปวง

    จุดแห่งสมาธิก็คือ การตรวจสอบแก่นแท้ของสภาพแวดล้อมที่มีอยู่จริงอย่างลึกซึ้ง

    เข้าใจถึงปรากฏการณ์เปลือกนอก ที่ฝ่ายตรงข้ามจงใจเปิดเผยให้เห็น

    เล็งเห็นถึงสภาพของระยะไกล และสามารถฉกฉวยความมีเปรียบจากระยะใกล้

    หยั่งรู้ถึงแนวทางเพลงดาบที่แท้ของฝ่ายตรงข้าม โดยไม่หลงกลต่อรูปแบบการเคลื่อนไหวภายนอกของคู่ต่อสู้

    การต่อสู้ทุกครั้งจึงจะต้องมีการคิดคำนวณและวางแผน โดยไม่ถูกเบี่ยงเบนไปจากสภาพแวดล้อมที่ถูกสร้างขึ้น



    โดยปกติพวกเราจะมีภาระงานที่ต้องดำเนินการมากมาย ทำให้เวลาในการอ่านนั้นมีจำกัด

    ดังนั้นการนำเสนอในที่นี้ผมจะเสนอในจุดที่เกี่ยวข้องทั้งนั้น......

    บางส่วนของ บล็อก skyexits เขียนไว้ดีมาก
    รายละเอียด : SKY EXITS FILMS PRODUCTION HOUSE BANGKOK: Dreams : มูซาชิ (ฉบับท่าพระจันทร์)

    เมื่อได้อ่าน "คัมภีร์ห้าห่วง" ของมูซาชิ เราจะยิ่งตระหนักชัดว่า มูซาชิเป็นผู้ที่ช่ำชองใน "ตำราพิชัยสงครามของซุนหวู่" อย่างหาตัวจับยากคนหนึ่ง จนแทบกล่าวได้ว่า กลยุทธ์ของมูซาชิ ใน คัมภีร์ห้าห่วงคือ ตำราพิชัยสงครามของซุนหวู่ในระดับปัจเจก นั่นเอง

    คำสอนของซุนหวู่ ต่อไปนี้ล้วนเป็นหลักกลยุทธ์ที่มูซาชิได้ฝึกฝนจนชำนาญ

    "ย่อม สามารถเอาชนะได้ เมื่ออีกฝ่ายเดาใจไม่ถูก"

    "จะรู้ว่าได้เปรียบมากหรือน้อย ต้องประเมินสถานการณ์ เสียก่อน"

    "จงคว้าชัยมาโดยยอมให้เกิดความสูญเสียน้อยที่สุด"

    "ต้องรู้ว่า เมื่อไหร่ควรโจมตี เมื่อไหร่ควรหลีกเลี่ยงการปะทะ"

    "จงเอาชนะด้วยสติปัญญาเสียก่อน ที่จะเริ่มทำสงคราม"

    "จงสู้รบเมื่ออยู่ในตำแหน่งที่มีแต่ทางชนะ" "ต้องใช้ทั้ง ความประหลาดใจ และ การโจมตีตรงหน้า ได้อย่างเหมาะสม"

    "รสมีอยู่เพียงไม่กี่รส แต่ถ้าเรารู้จักผสมกันจะได้รสชาติอันโอชะแห่งชัยชนะมากมายให้ลิ้มได้ไม่รู้จบ"

    "จงใช้พลานุภาพที่ทรงพลัง ใช้จังหวะเวลาที่แม่นยำ"

    "จงบีบข้าศึกให้เคลื่อนไหวไปในทางที่เป็นประโยชน์ต่อฝ่ายเรา"

    "จงลึกลับอย่างมีเหลี่ยม ไปถึงอย่างไม่มีรูปแบบที่เห็นได้ชัด จงเร้นกายอย่างลี้ลับ ไปถึงอย่างไม่มีเสียง แล้ว ใช้ทักษะทุกอย่างควบคุมการตัดสินใจของข้าศึก"

    "จงเป็นฝ่ายเลือกรบ จงหลีกเลี่ยงสงครามที่เราไม่ต้องการ"

    "จงรบให้ชนะอย่างเด็ดขาด อย่าให้ข้าศึกมีโอกาสได้โงหัวขึ้นมาอีก"

    "จงจัดรูปแบบการรบดุจ น้ำ จงทำตัวได้ดั่ง เงา"

    "ชัยชนะได้มาจากการสร้างโอกาสโจมตี แม่ทัพต้องไม่ปล่อยให้โอกาสหลุดลอย"

    จากวิถีแห่งกลยุทธ์เชิงบูรณาการของมูซาชิ ทำให้เราตระหนักได้ว่า การจะเป็นนักกลยุทธ์ และนักรบที่ดีได้อย่างมูซาชินั้น จำเป็นจะต้องฝึกฝนการใช้มันสมองซีกซ้าย (ส่วนที่เป็นความคิด ตรรกะ เหตุผล) และมันสมองซีกขวา (ส่วนที่เป็นญาณ สมาธิ ศิลปะ ความงาม พลังสร้างสรรค์) ให้ใช้งานได้ดีทั้งสองส่วน กล่าวคือ นักกลยุทธ์ที่ดีควรเป็นบุคคลที่มีทั้งญาณทัสนะ (intuitive) และตรรกะเหตุผล (rational) อยู่ในตัวเองอย่างพร้อมบริบูรณ์


    จบแบบไม่บริบูรณ์


    เชิญ"พลเรือน"ครับผม

    ผู้ส่ง หน.ดม email url ip 119.31.12.243 ตอบเมื่อ 18 พ.ค.53 เวลา 08:42
     
  2. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ครูคนแรกของมูซาชิ ซึ่งทำให้มูซาชิ รู้จักมรรคาของนักสู้ที่แท้จริง

    เป็นพระนิกายเซน ชื่อ ทากุอัน

    [​IMG]

    มูซาชิ ใช้เวลา สิบเจ็ดปี ไปกับการต่อสู้ ประลองฝีมือกับ ยอดฝีมือ ไม่มีสักครั้งที่จะพ่ายแพ้

    เมื่อวัยสามสิบ เขาเริ่มมองย้อนไปข้างหลัง พบว่าที่ผ่านมา มันมิใช่หนทางที่เขาต้องการ ฝีมือที่เป็นเยี่ยมยุทธ จากนั้น ก็เริ่มให้ความสนใจเรื่องอื่นของชีวิต

    เพราะชีวิตมิใช่มีเพียงวิชาบู๊ หรือ การต่อสู้ประลองฝีมือเท่านั้น

    เขาเริ่มเปลี่ยนแปลงตนเองเพื่อค้นพบบมรรคาที่ตนเองต้องการ

    ยังคงเดินทางไปทั่วญี่ปุ่น ประลองยุทธไปด้วย ขณะเดียวกันก็วาดรูป แกะรูปสลัก ในยามที่เว้นว่างจากการฝึกฝีมือ

    ปี ค.ศ. ๑๖๔๓ สะสมประสบการณ์มามากพอ ก็เลยเริ่มเขียนตำราที่ได้จากชีวิตจริง ผู้แปลหลายคนเรียกมันว่า คัมภีร์ห้าห่วง มีทั้งหมด ๕ บท คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ และ ว่าง

    คำว่าว่าง ในหนังสือเขียนว่า สุญตา หากเราคิดว่า ว่างจะเหมาะสมกว่า แต่คำที่เพราะพริ้งกว่านั้น ควรใช้คำว่า ใจ

    ดังนั้น ห้าบท ก็ควรเป็น ดิน น้ำ ลม ไฟ และ ใจที่ปล่อยวาง

    ทั้งหมดนั้นก็คือ เบญจธาตุ ที่เป็นคนเรานั่นเอง (ความเห็นข้าพเจ้าเอง)

    เขาใช้เวลาสองปีในการเขียนหนังสือเล่มนี้ แล้วก็อำลาโลกไปแบบคนที่มองเห็นความจริงอย่างหนึ่งว่า ในขณะที่คนเราพยายามหาความสุขภายนอก เรากลับลืมไปว่าสุขที่แท้จริง สิ่งที่เราวิ่งตามหานั้น อยู่ไม่ไกลเลย หากเป็นความสุขภายใน ใจที่นิ่งสงบและปล่อยวางเท่านั้น จึงจะนำพาสุขที่แท้จริงให้กับเราได้


    การที่มูซาชิ มีมุมมองที่ละเอียดลึกล้ำ ในแบบฉบับตนเอง อาจเป็นเพราะเขาถนัดทั้งมือซ้าย และ มือขวาก็ได้

    แต่เราไม่อาจทราบได้ว่า เขาเกิดมาพร้อมกับ ความถนัดสองมือแบบนั้น หรือว่าเกิดจากความพยายามในการฝึกฝน เพื่อใช้อวัยวะที่มีมาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

    หากผลที่เกิดนั้น หมายถึงว่า สมองสองข้างของเขาสามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิผล สมองข้างซ้ายทำให้เขาคิดเขียนคัมภีร์ เบญจธาตุขึ้นมา (ขออนุญาตใช้คำนี้ เนื่องจากคำว่าห้าห่วง มันแสลงใจ) ส่วนสมองซีกขวาทำให้เขาชำนาญด้านศิลปะ มีมุมมองทีมองจากผลลัพธ์ ย้อนไปหาวิธีการที่สมองซีกซ้ายจะเป็นคนรับคำสั่ง เหมือนกับการติดกระดุมจากปลายเสื้อขึ้นไปด้านบน ท่านจะไม่มีวันติดกระดุมผิด (เว้นแต่เฟอะฟะขนาดหนัก)

    นักบู๊ที่นิยมศิลปะ ซึ่งพอจะนึกภาพออก ก็เห็นจะมีลี้คิมฮวง เจ้าของ มีดบินมิพลาดเป้า ยามว่างลี้คิมฮวง มักจะใช้เวลาแกะสลักตุ๊กตาไม้ ที่หน้าคล้ายกับ ลิ้มซีอิม หลายคนไพล่ไปนึกว่าเป็นเพราะมันยังมิอาจลืมอดีต แต่ที่ทำแบบนั้น อาจเป็นพราะมันมีเหตุผลในการฝึกปรือพลังข้อมือ เพราะการซัดอาวุธที่แม่นยำ กำลังแรงพอเหมาะ จะต้องมีมือคู่ที่แข็งแกร่งจึงทำการได้สำเร็จ การแกะสลักเพื่อฝึกฝีมือ และขณะเดียวกันเป็นการฝึกใจ ให้นิ่งอยู่กับสิ่งหนึ่ง เป็นการเจริญสติ มากกว่าการฝึกสมาธิ

    กล่าวเช่นนี้ได้เพราะ ในขณะที่มันแกะรูปปั้นตุ๊กตาไม้ หากมีใครสักคนคิดทำร้ายมัน มันยังรับรู้ และสามารถซัดอาวุธใดๆ ที่ใกล้มือ เพื่อป้องกันอาวุธลับนั้นได้ด้วย

    อันที่จริง พวกเราไปอ่านหนังสืออื่นๆ มากมาย แต่ท้ายที่สุด เราก็พบว่า คำสอนในพระพุทธศาสนาของเรานั้น ถือเป็นเอกอุ และ ยอดเยี่ยมทีสุดแล้ว เพราะหลายตำรา หลายคัมภีร์ ต่างนำเรื่อง ความว่าง ไปแตกแขนงทั้งสิ้น

    ถึงจะจบแบบบริบูรณ์ ก็ยังเขียนต่อได้ เพราะยังมีภาคผนวก ให้เขียนได้อีก

    อ่านมูซาชิ ที่เป็นหนังสือแปล ซึ่งต้องบอกว่าอ่านแล้วไม่สนุกเลย
    เพราะในเรื่องจะเน้นที่เนื้อหาล้วน ๆ เป็นนามธรรมก็มากมาย

    ดังนั้นก็เลยคว้าอะไรมาไม่ได้สักอย่าง ที่มูซาชิ นับถือ ท่านทากุอันเป็นอาจารย์
    เป็นเพราะว่า ท่านทากุอันอาสาทางการมาจับโจร (มูซาชิตอนก่อนบ่ม)

    อาจารย์ต่อรองกับทางการว่า ถ้าจับตัวได้แล้ว ขอให้ท่านกำหนดวิธีการลงโทษโจรผู้นี้เอง นั่นคือที่มาในการให้อยู่ในห้องมืดสนิท ไร้แสงไฟ เป็นเวลาสองปี

    อันนี้ก็เขียนแบบลางเลือนเต็มที เมื่อวานพยายามไปรื้อค้นหาหนังสือ กำลังกลัวอยู่ว่า
    จะให้ใครไปแล้ว

    มูซาชิเกิดหลังซูนวู เป็นไปได้ว่าจะใช้วิชาของซุนวูมาประยุกต์ ซูนวูใช้แนวชาวพุทธมาเป็นแกนในการเขียนคัมภีร์

    ในหลักห้าห่วงของมูซาชิ ก็ไม่พ้น

    เข้าใจหลักการพื้นฐาน ของสรรพสิ่ง สรรพศาสตร์ (ดิน)

    ปรับใจไปตามสภาวะ ไม่ติดในรูปแบบ จับใจตนเองได้(น้ำ)

    อ่านใจผู้อื่นออก ในแบบจุลภาค คือ ระดับปัจเจกชน ด้วยคติว่าในมุ้งใหญ่ย่อมมีมุ้งเล็ก ฟังแกนนำอย่างเดียวหาพอไม่ ต้องไปให้ถึงระดับรากหญ้า (ไฟ)

    กำหนดลีลารูปแบบฝีมือเฉพาะตน แต่ต้องรู้จักทางของศัตรูด้วย (ลม)
    และท้ายที่สุด

    วาง ว่าง ว้าง.....เมื่อปล่อยวาง จนใจว่าง สู้ความเวิ้งว้าง นั่นก็คือ ใจที่ว่าง ย่อมไร้ขีดจำกัด ศักยภาพจักสูงสุดนั่นเอง

    ....อ่านแล้วอย่าให้อธิบายเด็ดขาด แม้จะเขียนมาเอง
    แต่ทว่า คำพูดสวยหรูเหล่านี้ ข้าพเจ้าได้อาศัยการอ่านมา แล้วก็ลอกเขามาทั้งสิ้น

    กำลังพยายามหารูป เจ็ดเซียนซามูไรอยู่ เพราะเห็นว่าวิถีเจ็ดเซียน
    คือวิถีที่คนเรี่ยดินเยี่ยงเรา พอเข้าใจได้

    เก่งขนาดมูซาชิ ก็ยังมีเวลาที่ถึงทางตันเหมือนกัน

    เวลาถึงทางตันทำไง ถามผู้ใหญ่ ก็มักจะอึ้งกิมกี่ ทุกรายไป

    ถามเด็กๆ เขาจะตอบว่า ก็ให้เลี้ยวกลับไง

    ใครเล่นโกะเป็น ต้องรู้ว่า มีกติกาหนึ่งที่เป็นข้อห้ามในนั้น
    ห้ามฆ่าตัวตาย นั่นคือ ห้ามวางหมากลงไปในจุดอับ

    มูซาชิแนะเรื่องขาลงว่า
    ๑ ทบทวนตัวเอง อยู่กับตัวเองอย่าตะแบง
    ๒ หากรักที่จะทำอะไร เช่น การฝึกเดินหมากล้อม วาดรูป รำกระบี่ ก็ให้ฝึกแบบเน้นๆ
    ทำอย่างเดียวให้หนัก
    ๓ ปลีกตัวออกจากสถานะการณ์ อย่าดึงดัน ไปในที่ที่ไม่มีใครรู้จัก
    อันนี้เราแนะ ไปฝึกปฏิบัติธรรม สวดมนต์

    การสวดมนต์ในภาษาบาลี เป็นภาษาที่ยาก แต่นั่นคือ อุบายที่ท่านจะสอนให้เรามีสมาธิมุ่งไปยังคำอ่านเหล่านั้น ก่อนจะสอนให้เราปฏิบัติในขั้นต่อๆ ไป

    เรื่อง ก็คือในหมู่บ้านแห่งหนึ่งของญี่ปุ่น ในสมัยก่อน
    จะมีโจรผู้ร้ายมาปล้นเมือง อยู่เป็นระยะ ที่มาเป็นระยะ เพราะจะรอให้ชาวบ้าน
    เก็บเกี่ยวพืชผล เต็มยุ้งฉางเสียก่อน แล้วมันก็จะมาปล้น

    รูปแบบการปล้น มีทั้งหัวหน้า ใช้ม้าเป็นพาหนะ มีเสื้อเกราะด้วย หอก ดาบ ฯลฯ

    สาเหตุการปล้นก็คือ เพื่อเสบียงอาหาร ทรัพย์สิน ฉุดคร่าผู้หญิง
    เป็นหลักพื้นฐานของการปล้นระดับชาวบ้าน แต่ก็กวาดได้ยกเมืองเหมือนกัน

    หนังเรื่องนี้ ผู้สร้างและกำกับคือ คุโรซาวา อะกิระ ยังเป็นหนังขาวดำอยู่

    เรื่องการปล้นสะดมภ์ แล้วตามด้วยเผาเมือง ก็มีแล้วเช่นกัน

    ทำไมต้องเผา ในเมื่อได้ดังใจแล้ว ?

    คำถามนี้น่าคิด แต่ลองหาคำตอบดูกันหน่อยไหม

    ๑ ทำลายขวัญและกำลังของเจ้าทรัพย์ ภาษิตที่ว่า โจรปล้นเจ็ดครั้งไม่เท่าไฟไหม้ครั้งเดียว นั่นก็สาหัสพออยู่แล้ว ยังแถมปล้นแล้วเผาเสียอีก อย่างนี้อำมหิตจริงๆ เจ้าทรัพย์จะได้ห่วงกับการดับไฟ ไม่มีเวลาติดตาม รวมทั้งหมดแรงที่จะตามล่าโจร

    ๒ ทำลายหลักฐาน เบาะแสการลงมือ
    ๓ เป็นสันดานดิบ ของพวกไม่ทำมาหากิน ไม่ปล้นเขากิน หรือ รับจ้างป่วนบ้านเมือง
    จนรวยล่ำ อ้วนไปตามๆ


    คนในหมู่บ้านนั้น รวมตัวกันไปปรึกษา พ่อเฒ่าประจำหมู่บ้าน เพื่อให้หาคำตอบ

    พ่อเฒ่า ซึ่งตามองไม่เห็น แต่ใจกลับเห็น....เพราะให้คำแนะนำว่า

    ข้ามองเห็น ชายฉกรรจ์ สะพานดาบ
    ซามูไร มือปราบ เหล่าโจรร้าย
    อย่ามัวรอ จงเร่งรีบ เดินทางไป
    วิ่งหาเหล่า ซามูไร พเนจร

    ลูกบ้านก็ลังเล พร้อมกับค้านเสียงอ่อย ว่า ชาวบ้านไม่มีเงินจ้างซามูไรหรอก
    พวกเราจนกรอบ

    พ่อเฒ่า สมแล้วที่เป็น กุนซือประจำหมู่บ้าน
    " ก็ซามูไรไส้แห้งไง ต้องมีบ้างละน่า ซามูไรที่มีฝีมือ
    มีอุดมการณ์ จนไส้แห้ง "
    " อ้าว มีอุดมการณ์ทำไมไส้ต้องแห้ง "


    "... ดูปากข้า....เพราะ อุ ดม การณ์ มิ ได้ มี ไว้ กิน .."

    ในที่สุดชาวบ้านก็ตั้งตัวแทน ไปเพื่อเสาะหาซามูไร มาปราบโจร

    เดินทางมาสี่ห้าวัน เงินใกล้หมดแล้ว ยังไม่พบซามูไรที่ยินดีช่วยเลย
    คนหนึ่งปฏิเสธเพราะบอกว่า.....


    .. ข้าคือซามูไร ผู้ทรงเกียรติ
    งานเคร่งเครียดระดับชาติ รอสะสาง
    เล็กๆ ไม่ ต้องงานใหญ่ จึงเข้าทาง
    คิวไม่ว่าง จากวันนี้ จนสิ้นปี

    คนทั้งหมดกำลังสิ้นหวังมาก ในที่สุดเตรียมตัวกลับบ้าน

    ระหว่างทางก็พบเหตุการณ์ โดยบังเอิญ ชายผู้หนึ่งนั่งโกนผมอยู่ริมแม่น้ำ
    มีชาวบ้านมุงดูเขาอยู่ ใกล้ๆ กันมีอารามร้างแห่งหนึ่ง เมื่อเขาโกนผลเสร็จ
    ก็รับชามข้าวจากชาวบ้าน แล้วเดินไปร้องตะโกนที่หน้าอารามร้าง

    ที่แท้อารามแห่งนั้น เป็นสถานที่ซึ่งโจรจับสตรี เพื่อเป็นตัวประกัน
    เรียกร้องเงินทองจากชาวบ้าน ชายที่โกนผม อาสาชาวบ้านจับโจร
    แลกข้าวกินเป็นอาหาร ส่วนอาหารชามนั้นก็ใช้เป็นเหยื่อล่อโจร

    ตามหลักการเจรจา คือ ชายศรีษะโล้นบอกว่า เขาเป็นพระ และเข้ามาเพื่อขอให้โจรปล่อยตัวหญิงผู้นั้น พร้อมทั้งนำอาหารให้โจรกิน เพื่อมีแรงเดินทาง ตัวเขาจะยอมเป็นตัวประกัน
    แทนสตรีคนนั้น

    เมื่อมีโอกาสเข้าไปในอารามร้าง ก็รวบตัวโจร แล้วก็ช่วยผู้หญิงออกมาได้
    โอกาสที่ฉวยได้ คือ ทำให้โจรวางใจ สิ้นความระแวง แล้วจึงสามารถจับมันได้

    กลุ่มชาวบ้านที่มาหาซามูไร ก็เลยเจรจากับซามูไร ผู้นี้ แต่เขากลับบอกว่า
    ข้ามิใช่ซามูไร ข้ารู้จักการต่อสู้ แต่ไม่ได้เป็นซามูไรแบบมียศ ไม่มีสังกัด
    เดินทางไปเรื่อยๆ เพื่อความอยู่รอด

    จากการที่เกลี้ยกล่อมจนเค้นความเป็นซามูไร ของชายคนนี้ออกมาได้
    เขาก็ยอมรับงาน ชิ้นนี้

    ขั้นต่อไปก็คือ เขาจะต้องหากลุ่มซามูไร เพราะกลุ่มโจรเหล่านั้น มิอาจจะต้านทานได้
    ด้วยกำลังคนเพียงคนเดียว


    [​IMG]

    ชายผู้ช่วยตัวประกัน กับ บรรดาชาวบ้าน ก็เริ่มหาซามูไร ซึ่งหากได้ยากมาก
    เขาต้องการทั้งหมด ๗ คน (รวมหัวหน้าด้วย)

    แล้วก็ได้มาเจ็ดคนจริงๆ หกคนเป็นซามูไร ที่เคยฝึกดาบมาบ้าง พอจะอ้อมแอ้มเรียกว่า
    มีฝีมือซามูไร ส่วนอีกคนหนึ่ง คนสุดท้าย รับบทโดย โตชิโร มิฟูเน่ คนนี้เป็น ประเภท หุ่นให้ ใจรัก นั่นคือหน่วยก้านก็ไม่เลว เป็นชายฉกรรจ์ แต่เขาไม่เคยฝึกดาบ

    นอกเรื่องสักนิด มีข้อสังเกตว่า ตัวเลข ๗ มักเป็นตัวเลขที่นิยมใช้ในการตั้งค่ายของจีน เช่น ค่ายกระบี่ ๗ ดาวของบู๊ตึ๊ง ด้วยความเห็นส่วนตัวก็คิดว่า เนื่องจากเพลงกระบี่ อาศัยการวางตำแหน่งของ ดาวเหนือ ๗ ดวง จึงต้องมีเจ็ดคน

    คิดต่อไป ทำไมต้องอิงดาวเหนือ ๗ ดวง เนื่องจาก การเกาะกลุ่มของเทหวัตถุบนฟ้า ที่รวมกันได้เป็นระบบ แปลว่า จะต้องมีแรงดึงดูดระหว่างกัน อันก่อให้เกิดสมดุลย์ ค่ายที่สมดุล มองลึกลงไป ทางเคมี มีคำว่า equilibrium ภาวะสมดุล ของสารเคมีที่ทำปฏิกิริยากัน จนเกิดภาวะนี้ นั่นคือ มีจะมีเสถียรภาพสูง สารเคมีบางตัวนำมาผสมกัน ตอนเป็นสารตั้งต้นมีสีหนึ่ง ต่อเมื่อเขย่าไปเรื่อยๆ จนมันทำปฏิกิริยากันแบบสมดุล จะเปลี่ยนเป็นสีหนึ่ง เขย่าไปอีก มันก็จะเป็นอีกสีหนึ่ง หยุดเขย่า ก็คงสีเดิม ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ จะได้สีสลับไปมา ณ จุดสมดุล

    เมื่อคิด่เช่นนี้ก็เลยชักอยากเปลี่ยนคำว่าศักยภาพความเป็นคน เป็น ดุลยภาพแห่งความเป็นคน ซึ่งแปลความเองว่า มันคือ การเป็นคนซึ่งอยู่ด้วยภาวะสมดุลย์ มีความพอดี .....

    อาจมีคำถามว่า ทำไมต้องหาซามูไรแค่เจ็ดคนเท่านั้น

    คำตอบก็คือ งบประมาณยังไม่ผ่านสภาหมู่บ้าน เพราะงบหมด ก็โจรมันเล่น ปล้นเรียบ เผาอีกต่างหาก แล้วดันตะแบง ประทานโทษ ของใช้คำหยาบคายว่า ถุยออกมาว่า มันร่ำหาความเป็นธรรม ในหมู่บ้าน ซึ่งคำๆ นี้พวกมันมิรู้จักเลยสักนิด

    ประการที่สองก็คือ เวลาจำกัด จัดหาไม่ทัน

    ประการที่สามก็คือ ในขณะนั้น ขาดแคลนซามูไรคุณภาพที่มีคุณธรรม จะมีก็แต่ พวกที่เรียกตัวเองว่า กูรู้(จักแต่พูด) หรือ คุรุ ซึ่งแปลว่าผู้รู้ อันที่จริงมันรู้จักแต่พูดตามในวงเล็บ และยังคอยขโมยซีนหากินไปวันๆ จึงไม่อาจหาคนได้ครบจำนวน

    ประการสุดท้าย เป็นผลพลอยได้ .... นั่นก็คือ หัวหน้าซามูไร เกิดความคิดว่า ชาวบ้านควรรู้จักศิลปการป้องกันตัวเองจาก โจรร้าย ที่อาจมาในภาค Badmen Return !!!


    เพราะตอนจบของภาคแรก มันขโมยคำพูดของคนเหล็กมาว่า
    " I'll be back !!! ' โถ เลวจนไม่มีที่ติจริงๆ


    [​IMG]


    เพื่อมิให้เสียเวลา ในที่สุด ทั้งหมดก็เดินทางถึงหมู่บ้าน แล้วซามูไรก็เริ่มต้นวางแผนการสู้รบกับโจรร้าย ด้วยกลวิธีที่ง่ายๆ ไร้เอกสารอ้างอิง

    ๑ แบ่งพื้นที่รับผิดชอบ รอบหมู่บ้านเป็นเขตๆ แต่ละเขตมีหัวหน้าดูแล มีซามูไร เป็นหัวหน้าร่วมกับ หัวหน้าฝ่ายชาวบ้าน

    ๒ ทุกคนจะรักษาพื้นที่ของตัวเองไว้ ไม่มีการทิ้งพื้นที่เด็ดขาด ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น
    ห้าม ทิ้ง พีนที่

    ๓ กำหนดจุดที่มีคนคอยสังเกตการณ์ จับตามองข้าศึก เมื่อมีความเคลื่อนไหว ให้ส่งสารต่อๆ ไปยัง คนดูต้นทางของด่านถัดไป วิธีการ ไม่ได้ใช้โทรศัพท์มือถือ แต่ใช้ระบบไร้สาย นั่นคือ ตะโกน ด้วยปากเปล่า ต่อๆ กันไป ก็ต้องแบบนี้เพราะไม่มีสปอนเซอร์หลักอย่างเป็นทางการ และ ไม่มีห้างมาตั้งให้รีดไถ ขู่ก็ไม่ได้ ต้องพึ่งตัวเอง

    ๔ กำหนดวางกับดักสำหรับ เส้นทางที่คิดว่าโจรจะควบม้าผ่าน

    จากนั้น หัวหน้าซามูไรก็กำหนดธงขึ้นมาเพื่อใช้เป็น สัญลักษณ์ เป็นตัวปลุกใจให้ต่อสู้
    เป็นรูป วงกลม และ สามเหลี่ยม รวม ๗ อันในธง นั้น (ขออภัย ยังหารูปที่สแกนไว้ เมื่อสองปีก่อนไม่เจอเลย ขอติดไว้ก่อน)

    เมื่อโจรบุกมาถึง ชาวบ้าน ก็ต่อสู้ยิบตา บ้านเรือนเสียหายไปบ้างเพราะโดนเผา แต่โจรก็ล่าถอยไป ชาวบ้านบอกว่า ปีหน้ามันคงมาอีก แต่ก็อย่าหวังว่าจะได้กินกันง่ายๆ อีกต่อไป เพราะการป้องกันตัวจากโจรถ่อย ถือเป็นเอกสิทธิอันชอบธรรมที่เจ้าทรัพย์ทุกคนพึงมี

    ซามูไร เจ็ดคน ตายห้า เหลือ สองคน สองคนที่เหลือยืนมองภาพโจรที่ล่าถอย และรำพึงว่า ที่ชนะคือ ชาวบ้าน ส่วนซามูไรอย่างเราพ่ายแพ้โดยสิ้นเชิง

    นักเขียนผู้หนึ่งสรุปประเด็นของหนังเรื่องนี้ว่า ในโลกนี้อย่ามัวหวังพึ่ง หรือ มัวรอ อัศวินม้าขาวมาช่วย เพราะนั่นคือภาพสมมติ เจ็ดเซียนซามูไรไม่มีจริง

    ขอเพิ่มเติมจากประเด็นในหนังสือเรื่อง มนุษย์ทองคำคนที่ ๘ ของเส้าหลิน ... เราทุกคนเป็นวีรบุรุษได้ หากเรามุ่งมั่น เข้มแข็ง และ กล้าหาญพอ

    หนังเรื่อง เจ็ดเซียนซามูไร เป็นหนังที่นักวิจารณ์ต่างยกให้เป็นสุดยอดของหนัง และก็เลยยกให้ คุโรซาวา อคิระ เป็นยอดคนทำหนังด้วย

    อ่านคำวิจารณ์ที่ยกย่องกันมากๆ ก็เลยไปหามาดูเพราะอยากพิสูจน์คำกล่าวอ้างนั้น ความเห็นส่วนตัวต่อหนังเรื่องนี้ก็ต้องบอกว่า หนังแสดงความเป็นจริงหลายอย่างในชีวิตจริงของผู้คน หนังเรื่องนี้สร้างประมาณปี ๑๙๕๐ แถวๆ นั้น บวกลบไม่เกิน ๕ ปี แม้ว่าตอนจบของเรื่องจะไม่ได้เป็นตามรูปแบบหนังโบราณ คือ ฝ่ายคนดี ชนะคนร้ายอย่างราบคาบ ไม่เสียหายเลย แต่จบด้วยความเสียหายของสองฝ่ายพอๆ กัน น่าจะอยู่ตรงที่สัจธรรมที่อยากนำเสนอว่า ....

    ในโลกเรานั้น ความเห็นแก่ตัวยังคงยึดครองได้ทุกพื้นที่ แม้แต่ในหมู่บ้านที่แร้นแค้น ลำบากเพราะมีโจรปล้นก็ตาม ยังมีช่องว่างให้คนหากำไรได้บนความยากเข็ญ

    มีภาพของความฉวยโอกาส อยู่ปะปนกับความเสียสละ ความร่วมมือร่วมใจกันเพื่อปกป้องผลประโยชน์ส่วนใหญ่ ซึ่งหากสัดส่วนของคนฝ่ายหลังมีมากกว่า จึงจะทำการได้สำเร็จ

    ซึ่งมีข้อแม้ว่า ความฉวยโอกาสนั้น จะต้องไม่มีอยู่ในหมู่ผู้นำ เพราะหากมีอยู่ในระดับสูงแล้ว ความหายนะจะต้องบังเกิดแน่


    เกียรติยศ เกียรติศักดิ์ ของผู้คน ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งที่เขาได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ แต่อยู่ที่การกระทำของตนเองเท่านั้น

    ซามูไรไม่ได้มีความหมายเป็นเพียงขุนนางของโชกุน ที่จะทำงานอันทรงเกียรติ ไปต่อสู้รบกับข้าศึกในสงครามเท่านั้น แต่หากเขามีเพียงดาบไม้ มือเปล่า ดาบหัก หรืออาวุธใดๆ ที่คว้ามาได้เพื่อทำหน้าที่ปกป้องคุ้มครองผู้บริสุทธิ์ ผู้อ่อนแอ จากภัยของผู้รุกราน ต่างหากคนผู้นั้นจึงนับเป็นซามูไรที่แท้จริง


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=3 width=800 align=center><TBODY><FORM name=mainfrm action=msgdel.php method=post><TR bgColor=#ffffff><TD class=bottombox>ผู้ส่ง พลเรือน email url ip 58.136.50.215 ตอบเมื่อ 17 มี.ค.54 เวลา 07:42</TD><TD width="10%" bgColor=#ffffff></TD></TR><TR bgColor=#ffffff><TD align=right width="10%" bgColor=#ffffff></TD></TR></FORM></TBODY></TABLE>
     
  3. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ซามูไรคนสุดท้ายตัวจริง

    1. หุงถ่านก่อนตีเหล็ก


    ภาพยนตร์เรื่อง เดอะล๊าสซามูไร (The Last Samurai) ได้นำเอาความกล้าหาญของนักรบญี่ปุ่นยุคโบราณมา

    เสนอต่อสายตาท่านผู้ชมได้อย่างวิเศษประกอบกับการแสดงของดาราอย่าง ทอม ครู๊ส (Tom Cruise) และ เคน
    วาทานาเบ (Ken Watanabe) และเหล่าผู้แสดงประกอบชาวญี่ปุ่นที่เล่นเป็นกบฎซามูไรได้อย่างสมบทบาท
    สำหรับเราชาวคนรักปืนก็ได้มีโอกาสเห็นอาวุธสารพัดชนิดที่น่าสนใจอีกมากมาย แต่หนังก็คือหนังจะให้ตรงตาม
    ความจริงทั้งหมดคงไม่มีคนดู ดังนั้นก็ขออนุญาตนำความจริงออกมาตีแผ่ เพราะเห็นว่ามีสาระน่ารู้และเป็นเรื่อง
    ใกล้ๆกับประวัติศาสตร์สำคัญภาคหนึ่งของไทยเราเช่นกัน



    [​IMG]


    ซามูไรคนสุดท้ายตัวจริงนั้นมีชื่อว่า ไซโก้ ทากาโมริ (Saigo Takamore) เป็นรัฐบุรุษสำคัญในประวัติศาสตร์เกิดเมื่อ
    200 ปีมาแล้วในตระกูลซามูไรระดับล่างๆสังกัดท่านเจ้าเมือง ซัทซึมะ (Satsuma) ไซโก้เป็นคนร่างยักษ์ แข็งแรง
    เฉียบแหลม สนใจใฝ่หาความรู้สมัยใหม่ จนได้รับความวางใจให้เป็นทหารเอกประจำตัวท่านเจ้าเมืองตั้งแต่อายุ
    26 ปี ตัวไซโก้นั้นบังเอิญเกลียดชังท่านโชกุน และปรารถนาที่จะคืนอำนาจให้แก่องค์พระจักรพรรดิอันเป็นความรู้สึก
    ที่มีอยู่ทั่วไปของชาวซัทซึมะ อันเป็นเหตุการณ์บ้านเมืองยุคก่อนที่หนัง เดอะล๊าสซามูไรจะเริ่มเรื่อง


    ญี่ปุ่นยุคที่ไซโก้ลืมตาดูโลกนั้นอยู่ภายใต้การปกครองที่เข้มงวดของโชกุนตระกูล โตกูกาว่า (Tokugawa) คำว่าโชกุน
    (Shogun) ท่านอย่าไปนึกว่าเหมือนนายกรัฐมนตรี แต่แท้จริงแปลว่า "ผู้นำทางการทหาร" ซึ่งได้อำนาจบริหารบ้าน
    เมืองด้วยการสนับสนุนของกองทัพซามูไรในสังกัด กระทำการแอบอ้างว่าทุกอย่างทำในพระนามและพระราชประสงค์
    ขององค์พระจักรพรรดิ ซึ่งถูกดองเค็มให้ไร้สิทธิและเสียงอยู่ในวังหลวงกรุงเกียวโต ด้วยเหตุที่ตระกูลโตกูกาว่าเป็น
    โชกุนขึ้นมาจากสงครามกลางเมืองต้องปราบปรามคู่แข่งมากมายก่อนจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จ จึงเป็นเผด็จการเต็มรูป
    หลักรัฐศาสตร์โตกูกาว่าคือปกครองให้ชาวบ้านโง่เอาไว้จะได้ไม่หือ ปิดประเทศไม่ติดต่อกับคนต่างชาติ ไม่รับ
    วิทยาการสมัยใหม่และสุดท้ายก็ห้ามประชาชนตาดำๆมีอาวุธ ทั้งนี้ยังหาข้อสันนิษฐานไม่ได้ว่าโตกูกาว่าไปลอกเลียน
    แบบใคร หรือบังเอิญมีลูกหลานเหลือรอดมาสอนนโยบายนี้กับประเทศเพื่อนบ้านในภายหลังหรือไม่


    โชกุน โตกุกาว่า ปิดประเทศไว้มิดชิดถึง 250 ปี เพราะฉลาดในการตั้งระบบเครือข่ายเจ้าเมืองระดับซีอีโอ ถึง 260 คน

    คุมหมดทุกเมือง มีตำแหน่งเป็นภาษาญี่ปุ่นเรียกว่า ท่านไดเมียว (Diamyo) ก็คล้ายกับท่านลอร์ด อัศวินของฝรั่ง
    หรือขุนศึกระดับพระยากินเมืองของไทย พระยาซีอีโอ เหล่านี้มีหน้าที่เลี้ยงซามูไร เอาไว้รับใช้ และรวมกันขึ้นต่อท่าน
    โชกุน ที่พวกเขาเรียกว่า ท่านประธานพรรค หรือบอสใหญ่ ในกรุงโตเกียว ดังนั้นท่านโชกุนก็ต้องผูกใจเสริมสร้างความ
    จงรักภักดี ในเหล่าซามูไรไว้ให้กินอยู่อย่างดี ทำให้ซามูไรมีฐานะทางสังคมสูงกว่าชาวบ้าน ได้อยู่กินฟรี มีเบี้ยหวัด
    เป็นรูปของเงินและข้าวสาร ทุกๆต้นมีนาคมก็ไม่ต้องเสียภาษี ภงด. อะไรเลย แถมยังเป็นคนกลุ่มเดียวที่มีสิทธิถือ


    อาวุธ(ดาบ) เรียกว่าได้ใบพกพาอาวุธตลอดชีพ ประเทศญี่ปุ่นยุคที่ไซโก้เกิดมาจึงถูกกลืนโดยพรรค ญ.ร.ต. (ญี่ปุ่น
    รักโตกูกาว่า) พรรคไหนไม่เล่นด้วยก็จะถูกดูดถูกกลืนซามูไรให้ย้ายสังกัดมา หรือมิฉะนั้น พ่อคุณก็ยกทัพไปปราบจน
    เละ ท้ายที่สุดซามูไรกลายเป็นชนชั้นที่ร่ำรวย มีอภิสิทธิ เมื่อบ้านเมืองไม่มีสงครามนานๆ เข้า ก็ได้แต่เมาเหล้าเล่น
    ไฮโล ไปวันๆหาสาระไม่ได้ อย่างดีก็มาท้าดวลดาบกันกลางถนน อย่างกับหนังคาวบอยตะวันตก

    มีต่อ
     
  4. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    2. ลงฆ้อนขึ้นรูปดาบ

    ฉากแรกในหนังเริ่มที่ยอดดอยซึ่ง เคน วาทานาเบ ในบทของท่านคัทซึโมโต้ กำลังนั่งสมาธิอยู่ ภูมิประเทศที่เป็น
    ทิวเขา ในหนังตรงกับสภาพแวดล้อม ของก๊กซามูไรที่ไซโก้สังกัด คือ ก๊กเมือง ซัทซึมะ ซึ่งเป็นคู่อาฆาตของตระกูล
    โตกูกาว่ามานับศตวรรษ ก๊กนี้ใหญ่เป็นอันดับสองของประเทศ ตั้งอยู่บนเกาะกิวซิว (Kyushu) มีเมืองหลวงชื่อ
    คาโกซิม่า (Kagoshima) ความที่อยู่ห่างไกลความเจริญแวดล้อมด้วยป่าเขา ยากต่อการทำนา ทำให้ชาวซัทซึมะ
    มีความแข็งแกร่ง ทรหด ตามธรรมชาติ เหมาะแก่การเป็นนักรบ เมื่อทำนาไม่ค่อยได้ (ในหนังจะเห็นว่าทำนาเป็น
    บ่อเล็กๆ อยู่บนเขา) ก็ต้องหารับประทานแบบนักเลงคือ ตั้งด่านเก็บค่าผ่านทางกระบวนลำเลียงสินค้าที่ผ่านไปมา
    เอาเป็นทุนไว้ใช้ ซ่องสุมซามูไรไว้ถึง 27,000 คน การที่อยู่บนเขาโดดเดี่ยวตนเองทำให้ชาวซัทซึมะ มีความรู้สึกเป็น
    อิสระไม่ยอมขึ้นกับใคร


    ยังมีซามูไรอีกก๊กหนึ่ง ซึ่งเกลียดโตกูกาว่าไม่แพ้กัน และผลิตซามูไรสำคัญๆ ออกมามาก คือ ก๊กเมืองโชซู (Choshu)



    ตั้งอยู่บนเกาะฮอนซู เมืองหลวงชื่อเมือง ฮากิ (Hagi) ก๊กนี้ใหญ่เป็นอันดับสี่ของประเทศ ทำนาได้ผลดีกว่าก๊กแรก
    และคุมช่องแคบที่เรือทุกลำจากต่างประเทศจะต้องผ่านมาญี่ปุ่นจึงเป็นก๊กที่ล่ำซำเป็นที่หลบภัยของซามูไรที่ไม่ชอบ
    ระบอบโตกูกาว่า ถึง 11,000 คน ถ้าอยากรู้ว่าชาวโชซูเขาเกลียดชังโตกูกาว่าขนาดไหน ผมขอบอกเพียงว่าตลอด
    250 ปีนั้น เมื่อเด็กชาวโชซูเข้านอน พ่อแม่จะบอกให้หันตีนซามูไรน้อย ๆ ไปทางกรุงโตเกียวที่โชกุนอาศัยอยู่ และ
    ทุกๆวันขึ้นปีใหม่ ซามูไรอาวุโสจะเดินขบวนไปถามท่านเจ้าเมืองว่า


    " ปีนี้ถึงเวลาเล่นงานเจ้าโตกูกาว่าหรือยัง ขอรับนายท่าน?"
     
  5. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    3. ลับคมซามูไร

    กระแสพายุของการล่าเมืองขึ้นพัดมาถึงท่านโชกุนในปี ค.ศ. 1840 เมื่ออังกฤษรบชนะจีนในสงครามฝิ่น

    ชาวญี่ปุ่นแม้จะถูกปิดตามานานแต่ก็มีผู้ใฝ่รู้หลายคน ลงทุนแอบแปลตำราฝรั่ง บางท่านลงทุนแปลงตัวลงเรือไปถึงเมืองนอก
    เพื่อจะพบความจริงว่าญี่ปุ่นล้าหลังเกินไปแล้ว

    ถึงตอนนี้ มีบางอย่างพอจะเปรียบได้ว่าสถานการณ์เมืองภายในประเทศญี่ปุ่น ช่วงนั้นต่างกับในเมืองสยามโดยสิ้นเชิง

    (ตรงกับปลายสมัย ร. 3) ชาวญี่ปุ่นถูกกดขี่ปิดกั้นเสรีภาพ และคลื่นลมการปฏิวัติโหมแรงขึ้นทุก ๆ วัน คนญี่ปุ่นที่ต้อง
    ดิ้นรนขวนขวายหาวิชาความรู้และกลายเป็นกระแสความมุมานะที่จะไปคว้าหาสิ่งที่ดีและมั่นคงกว่า

    ส่วนสยามสมัย ร. 3 ศึกสงครามกับพม่าอยู่ไกลความจริงเสียแล้ว รัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวมีความมั่นคง สามารถส่งเรือไปค้าขายมี กำไรเป็นกอบเป็นกำสะสมไว้เป็นกองทุนสำรอง ประชาชนในสยามก็เป็นสุขไม่ต้องดิ้นรนเหมือนเมืองอื่น ข้าราชการ ไทยมีข้อมูลความเจริญของฝรั่งพอสมควรและไม่ถูกปิดกั้น

    แม้แต่ ร. 4 ซึ่งยังทรงผนวชกับกำลังทรงเรียนภาษาต่างประเทศอย่างขะมักเขม้น


    ข้อสังเกตอีกเรื่องเกี่ยวกับความใจกว้างที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ จึงดูเหมือนว่ามีคนรู้เรื่องฝรั่งแอบอยู่ในเงามืดสมัยโตกูกา
    ว่าอยู่ไม่น้อย ญี่ปุ่นไม่เหมือนจีนที่ทนงตนว่าเจริญกว่าฝรั่งจึงยินดีที่จะเรียนรู้และนำวิทยาการของชาติตะวันตกมา
    พัฒนาประเทศ


    แล้วจู่ๆ ในปี ค.ศ. 1853 เรือรบเหล็กใช้เครื่องจักรไอน้ำของท่านนายพลเรือ แมทธิว เพอรี่ (Matthew Perry) ได้ทำ
    ความตื่นตระหนกแก่ชาวญี่ปุ่นอย่างมาก ประตูที่ปิดตายมา 250 ปี จึงต้องแง้ม....ออกจนได้


    โชกุนให้ทูตฝรั่งเข้าพบและกล้อมแกล้มทำสัญญาการค้าตามมาตรฐานฝรั่ง อย่างที่ไทยเราเคยโดน นั่นคือ เสียเปรียบทุกเรื่อง

    ในสายตาของชาวบ้านท่านโชกุนก็หน้าแตกหมอไม่รับเย็บ หมดสิ้นศรัทธายิ่งกว่าบางประเทศพยายามปิดข่าวโรคระบาดในปลา
    ซามูไรหนุ่ม ๆจึงเริ่มลับดาบเตรียมจังหวะล้มรัฐบาลกันเป็นทิวแถว
     
  6. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    4. ทิ้งดาบมาจับปืน

    เมื่อทูตอเมริกันเหยียบโตเกียวนั้น ท่านพระยาซัทซึมะ เจ้านายของไซโก้ได้สังเกตว่า ทหารอเมริกันทุกคนมีปืนไรเฟิล



    ครบมือมีความพร้อมเพรียง มิได้แยกชั้นวรรณะแบบซามูไรซึ่งจะไปรบก็ต้องมีคนตามไปแบกเกราะ ถือปิ่นโต ป้อน ข้าวป้อนน้ำรุงรังนัก จึงเลื่อมใสและได้


    ขอยืมปืนตัวอย่างจากพวกทูตมากระบอกหนึ่ง ความที่ท่านเป็นนักประดิษฐ์ ตัวเอ้ ก็จับถอดออกก๊อบปี้กันทั้งคืนรุ่งขึ้นก็คืนเจ้าของไปแล้วตั้งใจเอาว่าญี่ปุ่นจะต้องปฏิวัติระบบอุตสาหกรรมแบบฝรั่ง

    เอาไว้ทำไม... ก็เอาไว้ผลิตปืนเป็นแสน ๆ กระบอกเพื่อสู้ฝรั่งไงครับ กระแสการเมืองยุคที่ถูกบังคับให้เปิดประเทศ คือ


    "ไล่พวกคนตะวันตกป่าเถื่อนไปจากญี่ปุ่นให้ได้ "


    ในปีถัดมาท่านก็สั่งไซโก้และเพื่อนๆให้หัดทหารก๊กซัทซึมะแบบฝรั่ง และลองตั้งโรงหล่อปืนใหญ่บ้าง เช่นเดียวกับ ก๊กโชซู ซึ่งก้มหน้าสะสมปืนผาหน้าไม้ไว้เมื่อได้ฤกษ์งามยามดี ในปี ค.ศ. 1863 ก็สั่งปิดช่องแคบซิโมโนเซกิ ขนปืน
    ใหญ่ที่เก็บตังซื้อมาได้ ตั้งยิงเรือฝรั่งเอาดื้อ ๆ ให้หายแค้น ผลก็คือสู้ไม่ได้โดนเรือปืนฝรั่งรุมยำเละไปทั้งเมือง ส่วน ก๊กซัทซึมะของไซโก้นั้นโดนอังกฤษยึดไว้ครึ่งเมืองฐานที่ส่งนินจาไปไล่ฟันทูตอังกฤษถึงบ้าน ทหารอังกฤษจับคน
    ร้ายตัดหัวเสียบประจาน แถมต้องเสียเงินทองทำขวัญอีกพะเรอเกวียน


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=690 border=0 NOF="LY"><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=28 height=12></TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=4 height=262></TD><TD width=472 colSpan=14>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>



    นินจาก๊กซัทซึมะบุกบ้านกงศุลอังกฤษกลางดึก (ปี 1861)

    ผลการรบนี้น่าคิด

    "เพราะญี่ปุ่นเป็นชาติที่แพ้แล้วจำเก็บไปทำการบ้าน"

    "มิได้อาละวาดฟาดหัวฟาดหางกับเมียที่บ้าน"


    พวกหนุ่ม ๆ หัวใหม่ยอมรับว่าเรายังไม่เก่งพอและเหมือนฟุตบอลทีมชาติที่ไปแพ้เขามาก็ต้องรักษาอาการบอบช้ำ คิดปรับแผนปรับตัวผู้เล่น (ครม.) และถ้าอาการหนักอย่างญี่ปุ่นก็พาลคิดเปลี่ยนโค้ช (โชกุน) มันซะเลย
     
  7. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    5. วันปฏิวัติ

    ก๊กโชซู เริ่มระดมพลก่อนเพื่อนโดยใช้ทหารชาวเมืองที่หัดรูปกระบวนทัพแบบฝรั่ง เป็น "หน่วยจู่โจม " หรือโชไท (Shotai) ประกอบไปด้วยอดีตซามูไรและชาวบ้านร่วมรบกันโดยไม่ถือชั้นวรรณะ จากนั้นจึงดื่มน้ำสาบานกันทั้ง
    คณะเพื่อไปโค่นอำนาจโชกุน


    หนังเรื่อง เดอะล๊าส ซามูไร เริ่มกันจริง ๆ ก็ตรงจุดนี้ คือท่านโชกุนตกใจมากวิ่งโล่ไปจ้างทหารฝรั่งเพื่อฝึกทหารของ ตนไว้สู้พวกแข็งข้อ ครูฝึกตัวจริงกลับเป็นนายทหารฝรั่งเศส หาใช่ผู้กองเนทาน หรือ ทอม ครู๊ส

    ในปี ค.ศ. 1868 ก๊กซัทซึมะของท่านไซโก้จึงผนวกกำลังร่วมขบวนการอย่างเต็มตัวจนการแข็งข้อลุกลามออกเป็นสงครามกลางเมือง ภายในปีเดียวกันนั้น ไซโก้ก็ยกทัพเข้าเมืองเกียวโตถวายบังคมองค์พระจักรพรรดิเมอิจิแล้วเชิญให้เสด็จกลับมา ปกครองประเทศ

    ส่วนท่านโชกุนนั้นฮึดสู้แบบไว้ลายตระกูลโตกูกาว่าที่ตำบลโทบ้า (Toba) และ ฟูชิมิ (Fushimi) ท่านที่ได้ชมภาพยนตร์ จะพบว่า

    ความจริงนั้นกลับกันหมด ฝ่ายที่แกว่งดาบกลับเป็นทหารซามูไรกองหน้าของโชกุน เข้ารบกับทหารกบฏที่ มีปืนแก๊ปเอ็นฟิลด์ แต่งฝรั่งรบแบบฝรั่งเปี๊ยบ


    ไม่มีหรอกครับที่ฝ่ายกบฏอย่าง ทอม ครู๊สและวาทานาเบจะใส่เกราะควบม้าฝ่าดงกระสุนอย่างในหนัง

    บทของ ทอม ครู๊สนั้นผมเข้าใจว่าผู้สร้างภาพยนตร์ได้เค้าเรื่องจาก

    นายทหารฝรั่งเศสซึ่งโชกุนจ้างมาชื่อจริงคือ ผู้พัน จูลส์ บรูเน่ย์ (Jules Brunet)

    ผู้ซึ่งมิได้ถูกกบฏจับได้อย่างในหนังแต่ดันไปรบแพ้พวกท่านไซโก้ เลยแปรสภาพจากฝ่ายรัฐบาล (อดีต) หนีไปกับซามูไรแตกทัพไปตั้งรัฐอิสระไม่ขึ้นกับรัฐบาลใหม่อย่างเปิดเผย

    ท้ายที่สุดชาวบ้านเขา ไม่เอาด้วย เลยต้องแอบกลับบ้านไปอยู่กับเมียแหม่มที่ฝรั่งเศสอดได้จีบแม่หม้ายญี่ปุ่นแบบพระเอก ทอม ครู๊สอย่าง น่าเสียดาย


    จึงบังเอิญเหลือเกินที่ปี ค.ศ. 1868 กลายเป็น ปีที่พระมหากษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่ของเอเชีย 2 พระองค์ได้ขึ้นครองราชย์
    เมื่อทรงพระเยาว์และต่อมาก็จะได้รับยกย่องว่าทรงทำคุณประโยชน์ไว้แก่ประชาชนทั้ง 2 ชาติ อย่างอเนกอนันต์และ
    ทำให้รอดจากการเป็นเมืองขึ้นมาได้ นั่นคือ



    พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

    และ

    องค์สมเด็จพระจักรพรรดิเมอิจิ


    ผิดกันแต่ว่าการขึ้นครองราชย์ของทางญี่ปุ่นออกจะบู๊อยู่สักหน่อย แต่ทรงได้เปรียบกว่า ร.5 หลายย่างก้าว เพราะได้คนรุ่นหนุ่มที่มีความรู้อย่างใหม่ เห็นโลกมามาก ผ่านศึกสงครามนับไม่ถ้วน และมีแนวทางการเมืองเดียวกัน
    ดังนั้นสามารถฟอร์มคณะรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพได้ง่ายและรวดเร็ว


    ส่วน ร. 5 ของเราท่านต้องซุ่มสร้างคนรุ่นใหม่กับพระหัตถ์ของท่าน ส่วนมากก็เป็นพระเจ้าน้องยาเธอซึ่งอ่อนวัยกว่าๆ จะงัดข้อกับเหล่าขุนนางกลุ่มคุมอำนาจได้ก็ใช้เวลานานถึง 10 ปี

    เป็นอันตอบคำถามบางส่วนได้ว่า ทำไมญี่ปุ่นจึง
    เดินเครื่องได้เร็วกว่าสยามนักแม้นจะเริ่มปฏิรูปปีเดียวกัน

    [​IMG]

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=690 border=0 NOF="LY"><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD class=TextObject width=468 colSpan=13>ท่านไซโก้ (ซ้าย) กำลังเจรจาขอให้โชกุนยอมสละอำนาจ (ปี 1868)(L - SAIGO min)

    </TD><TD colSpan=9></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    6. เดินหน้าเต็มตัว

    เมื่อทีมชาติญี่ปุ่นได้องค์เมอิจิมาเป็นโค้ชใหม่แล้ว ซามูไรนักปฏิวัติก็เริ่มวางตัวผู้เล่นในตำแหน่งต่าง ๆ โดยฟอร์ม รัฐบาลซึ่งประกอบด้วยผู้รู้วิทยาการของตะวันตกที่มาจากก๊กทั้งสองไซโก้ตอนนี้ได้เป็นทั้งเทียบเท่า ผบ. ทบ. และได้
    เป็นอาจารย์ใกล้ชิดองค์พระจักรพรรดิจริงดังที่ในหนังอ้างไว้ และให้ไซโก้คุมกำลัง ทหารหลวง (Imperial Guard) ถึง 50,000 คน เพื่อค้ำจุนรัฐบาลและสนับสนุนการปฏิรูปสังคมตามแผน สโลแกนของรัฐบาลนี้ก็คือ

    ญี่ปุ่นต้องรวยและแกร่ง


    "Rich Country, Strong Army"

    ท่านผู้อ่านที่คิดว่าการปฏิรูปแบบเมอิจิ คงจะผ่อนสั้นผ่อนยาวถนอมน้ำใจคนเก่าแบบที่ ร. 5 ทรงยึดถือ ขอเล่าว่า

    ท่านคิดแบบไทย ๆ ญี่ปุ่นนั้นเป็นคนดุดันเอาเป้าหมายเป็นที่ตั้ง ยิ่งถูกโตกูกาว่าเก็บกดมานานก็เหมือนคนเบรกแตก ซึ่งอดเอานิสัยซามูไรเดิมๆมาใช้ไม่ได้คือ ใครขวางก็ฟันดะ ตรงนี้ขอให้สังเกตหนังญี่ปุ่นรุ่นเก่ามักจะจบแบบไม่สวย
    คือ ไม่ฟันกันตายเกลื่อนก็ต้องเลือดตกยางออก น้ำตาท่วมจอ

    ไอ้จะมา Happy Ending แบบหนังไทย หรือพระเอก จูบนางเอกก่อนปิดฉากแบบหนังฝรั่งนั้นไม่มีละครับ


    เมื่อการพัฒนาประเทศมาถึงขั้นที่ต้องปรับกองทหารให้แกร่งตามนโยบาย ก็พบปัญหาเดียวกับสมัย ร. 5 อีกคือการ ที่หาคนมาเป็นทหารได้ไม่เพียงพอ จะเอาอดีตซามูไรมาเป็นทหารก็แก่เกินฝึกวิชาใหม่ๆ จะให้เข้าเรียนนายร้อย จปร.
    บางคนก็ไม่สามารถผ่านการศึกษาขั้น ประถม มัธยม ขึ้นมาได้เพราะอาจไม่เคยต้องเข้าโรงเรียน ดังนั้นจึงต้องดัน พรบ. เกณฑ์ทหาร ออกใช้เป็นครั้งแรกในปี ค.ศ. 1871 ก่อนเมืองไทยถึง 20 ปี

    แต่การกระทำเช่นนั้นกลายเป็นเหตุให้ทางเดินของคณะปฏิวัติและไซโก้ต้องแยกกันอย่างน่าเสียดาย
     
  9. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    7. ศักดิ์ศรีซามูไร

    คณะ ปว.ปรารถนาจะเห็น"กองทัพแห่งชาติ" ญี่ปุ่นที่มีกำลังพลประจำการนับแสนไม่มีชั้นวรรณะ และมีอาวุธทันสมัย ไซโก้ก็เห็นเช่นเดียวกันแตกต่างกันที่ ไซโก้เห็นว่าชนชั้นซามูไรยังมีบทบาทผู้นำทหารอยู่เช่นเดิม และควรเป็นนาย
    ทหารหรือส่วนกำลังรบหลัก พวกลูกชาวบ้านให้เป็นมือรอง ๆ อยู่แต่ในครัวก็ได้



    ส่วนผลการพัฒนาก็กระทบความเป็นอยู่ของซามูไรอย่างมาก จากเคยมีนายเลี้ยง ก็กลายเป็นคนตกงานท่านไซโก้ ก็เป็นซามูไรคนหนึ่ง จึงสะเทือนใจ ปรารถนาที่จะรักษาเกียรติภูมิซามูไรเอาไว้คู่กับประเทศญี่ปุ่น เลยพาลไปตำหนิ
    รัฐบาลว่าเร่งปฏิรูปบ้านเมืองเร็วเกินไป และต้องการให้มีกองทัพซามูไรล้วนออกไปทำการรบจริงให้ประชาชนเห็นอีก สักครั้ง

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=690 border=0 NOF="LY"><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=28 height=5></TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=7 height=287></TD><TD width=394 colSpan=8>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>


    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=690 border=0 NOF="LY"><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD class=TextObject width=515 colSpan=13>ทหารรุ่นใหม่ขององค์พระจักรพรรดิกำลังจะไปปราบท่านไซโก้ (ปี 1877)

    ความขัดแย้งระหว่างไซโก้กับรัฐบาลมาแตกหักกันที่เรื่องเกาหลี ลูกแกะซึ่งเพิ่งหลุดจากเงื้อมมือจีน และไซโก้ ประสงค์จะผนวกเข้ามาเป็นประเทศเดียวกันก่อนที่ฝรั่งจะมาแย่งไปกินเสียเอง

    เขาได้เสนอตนต่อ ครม. ว่าจะไปเป็นทูตเยือนเกาหลี ระหว่างนั้นก็ให้คนมาลอบฆ่าเขาเสีย เพื่อเป็นเหตุให้ญี่ปุ่นประกาศสงครามได้ กลอุบายสละ ชีพพลีแบบนี้ ขอให้คนไทยเข้าใจว่า เมื่อ 100 ปีก่อนเขายังทำกันมิใช่เรื่องอ่านเล่นในสามก๊ก ญี่ปุ่นเคยทำมาแล้วเพื่อหาเรื่องยึดแมนจูเรีย


    ระหว่างนั้นรัฐบาลฉุกคิดได้ว่าญี่ปุ่นยังไม่มีความแข็งแกร่งทางอุตสาหกรรมพอที่จะไปชักศึกเข้าบ้าน การยึด เกาหลีอาจเป็นชนวนให้รัสเซียเข้ามาขัดขวางและญี่ปุ่นยังไม่พร้อมจะรบกับฝรั่ง ซึ่งเป็นการประเมินตนเองได้ถูกต้อง


    ฉากนี้ไปตรงกับในหนังเมื่อหัวหน้าซามูไรอย่างคัทซึโมโต้ ผิดใจกัน ครม. ถึงกับลาออกกลางที่ประชุม ไซโก้ก็ทำเช่นเดียวกัน และออกไปตั้งโรงเรียนสอนวิชากึ่งวัฒนธรรมกึ่งการเมืองเงียบ ๆ ที่บ้านเกิด

    พวกซามูไรที่ต่อต้านการพัฒนาประเทศก็มาห้อมล้อม และก่อเหตุไม่สงบกันทุกวันโดยที่แม้ไซโก้จะอยากอยู่เงียบ ๆ ก็ยังถูกเด็ก ๆ ลากเข้ามาสู่ความ วุ่นวายจนได้ด้วยเห็นว่าเคยเป็นผู้มีปากมีเสียงดังในคณะรัฐบาล ตรงนี้ทำให้เห็นว่าการที่ ไซโก้พะวงกับความหลัง ยุคซามูไรรุ่งเรือง ทำให้เขาเสียอนาคต ผิดกับฝ่ายรัฐบาลที่เด็ดเดี่ยวกว่า ไม่มีการลังเลสงสัยในนโยบายที่วางเอาไว้แต่ต้น ตามเรื่องจริงมีรัฐมนตรีบางคนได้แอบส่งซามูไร 50 คน ไปลอบสังหารเขา แต่ไม่สำเร็จ


    ซึ่งในหนังได้ผูกเรื่อง ให้เป็นนินจา แอบมาเก็บคัทซึโมโต้ ขณะมีงานรื่นเริงประจำปี เมื่อคิดฆ่ากันแบบนี้ ไซโก้จึงตัดสินใจว่า รัฐบาลเห็น เขาเป็นศัตรูจึงเข้าทำการกบฏเสียเลย โดยรวบรวมพรรคพวกถืออาวุธครบ เดินทางเข้าสู่กรุงโตเกียว โดยอ้างว่ามา โดยสันติและกดดันให้ชะลอการพัฒนาประเทศ

    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=690 border=0 NOF="LY"><TBODY><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=28 height=14></TD></TR><TR vAlign=top align=left><TD colSpan=10 height=255></TD><TD width=170 colSpan=2>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    อนุสาวรีย์รัฐบุรุษไซโก้ กลางกรุงโตเกียว

    แต่เลยเกิดปะทะกับทหารหลวงที่หน้าปราสาท คูนาโมโต้ (Kunamoto Castle) ณ จุดนี้ทหารเกณฑ์ลูกชาวนาที่พวกซามูไรเคยดูหมิ่นไว้ สู้ไม่ถอย และกบฏ 18,000 คน ถูกสกัดพอมีเวลาให้ ทหารหลวง 43,000 คน มาช่วยได้ทัน ตรงนี้ก็ต่างกับในหนังเหมือนคนละเรื่อง ทหารรุ่นใหม่มีปืนชไนเดอร์ (Snider) ยิงเร็ว และ ยิงปืนแม่น ไม่วิ่งหนีคมดาบ เหมือนก่อนอีกแล้วการรบยืดเยื้อต่อไปถึง 6 เดือน ล้มตายลงนับหมื่น


    ประวัติศาสตร์ได้บันทึกไว้ว่าทหารล้มตายลง มากจนต้องขออาสาซามูไรเก่า ๆ มาเป็นตำรวจกองปราบ และเข้าร่วมรบ โดย

    เป็นการดวลดาบ กันเป็นครั้งสุดท้ายในแผ่นดินญี่ปุ่น


    แล้วที่สุดในเดือนกันยายน ค.ศ. 1877 ไซโก้ซึ่งได้รับบาดเจ็บ ก็กระทำฮาราคีรีโดยขอให้สมุนทำการ ตัดศีรษะ แทนการถูกจับกุม กล่าวกันว่าคนญี่ปุ่นยังคงรัก นับถือน้ำใจซามูไรร่างยักษ์คนนี้เสมอ รัฐบาลใหม่แสดงการ คารวะแก่อดีตเพื่อนและศัตรูร่วมตายโดยประกาศมิให้เรียกว่าเป็นกบฏและตั้งให้เป็นรัฐบุรุษ ปรากฏอนุสาวรีย์อยู่ใน สวนสาธารณะอูเอโน กลางกรุงโตเกียวทุกวันนี้


    </TD><TD colSpan=7></TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผมเห็นว่าท่านไซโก้มิได้ตายฟรี บรรดาหัวกะทิที่เหลือในรัฐบาลต่างก็เป็นซามูไรกันมาทั้งนั้น และมิได้ทอดทิ้งวัฒนธรรมตลอดจนความคิดของนักรบบูชิโดเสียเลย กองทัพญี่ปุ่นได้นำวิถีนักรบจากลัทธิบูชิโด มาเขียนเป็น


    "กฎทหาร" (Soldiers' Code)


    เพื่อเสี้ยมสอนให้ทหารรุ่นใหม่หลอมวิญญาณของตนให้กล้าหาญ และยอมสละชีพเพื่อองค์พระจักรพรรดิ เช่น ซามูไรรุ่นเก่า คำขวัญที่ชนชั้นซามูไรต้องเคยใส่ใจว่า

    " หน้าที่นั้นหนักกว่าขุนเขา ความตายนั้นเบากว่าขนนก"

    ได้กลายมาเป็นคำขวัญของทหารเกณฑ์ ลูกชาวไร่ชาวนารุ่นใหม่ของญี่ปุ่นและเป็นเอกลักษณ์อันน่าเกรงขามต่อศัตรูต่างชาติในเวลาต่อมา



    โดย จ่าน้อม ทหารหน้า
    www.thailandoutdoor.com

     
  10. apichayo

    apichayo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    488
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,936
    ชอบอ่านกระทู้คุณคุณ foleman ข้อมูลลึกและมีสาระดี ครับ
     
  11. foleman

    foleman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    571
    ค่าพลัง:
    +505
    ขอขอบคุณ คุณนาฬาคิริง เช่นกันครับ!

    ด้วยความยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งครับ!(smile)(smile)(smile)
     

แชร์หน้านี้

Loading...