ร่วม เสวนา กันครับว่า...จิตสงบ กับ จิตตั้งมั่น เหมือนหรือต่างกันอย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย รีล มาดริด, 31 กรกฎาคม 2012.

  1. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    ผม มา สังเกตุ ปฏิกิริยา ของ จิต..ที่สงบ และ จิต ที่ ตั้งมั่น ได้..มองเห็นว่า มีความแตกต่างกันไป..แม้ แท้จริง แล้ว อาการ..แห่งความ สงบ จะเหมือนกัน...

    แต่ พบว่า ไม่เหมือน กัน นัก..ในแง่ ความ วิเวก ใคร มีประสบการณ์ แบบไหน เช่นไร เคย ประสบบ้างไหม ลองๆ มา เล่าให้ ฟังกันบ้างครับ...
     
  2. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ระลึกได้ในส่วนของ มรรค ผล ครับ
     
  3. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    ผม มาสังเกตุ ตนเอง หลังจาก ทำสมาธิ ภาวนาแบบ รู้อารมณ์ เดียว..ด้วยบริกรรม พุทโธ..พอหลังจาก ลุก ออกจากการนั่งแล้ว..จิตจะ สงบเต็มตื้น แบบนิ่งๆ สักพักใหญ่ๆ แต่หลังจากลืมตา และมองไปรอบตัว เห็นอะไรต่ออะไร..

    จิต ก็ โผไปมาๆ จับ สิ่งใหม่ๆ..หรือแม้แต่ หู ก็ เริ่มจับประเด็น เสียงที่ได้ยินใหม่ๆจิต ก็ เคลื่อนจาก ฐาน ที่เพิ่ง สงบ ออกไป แส่ส่ายใหม่..จับโน่นจับนี่ ร่ำไป

    มันไม่อาจ สงบ ตั้งอยู่ กับที่ได้เหมือนตอน นั่ง ภาวนา..
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2012
  4. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    เห็นด้วยในความต่าง

    จิตสงบ เมื่อถูกรบกวน ก็ขุ่นขึ้นมา

    จิตตั้งมั่น เมื่อเกิดสภาวะ ก็ตามรู้ได้ทันกาล...
     
  5. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    แต่ การ ปฏิบัติ แบบ รู้ สึกตัว...นั้น
    มันเหมือน การ เรียนรู้ ความเป็นไป ของ สภาวะ ต่างๆรอบๆตัวตลอดเวลา
    มัน มีการ ป้อน ข้อมูล ให้กับจิต ตลอดเวลา จิตมัน หยุดตัว((สงบ เข้าฐาน))
    ตลอดเวลา ที่ เรา รู้สึกตัว...เมื่อเจอเหตุการณ์ หนึ่งๆ ในแต่ละช่วงของวัน
    และมีการ รู้สึกตัวตามไป จิต จะจำได้ว่า แบบนี้ มัน ผ่านมาแล้ว พอไปเจอ
    เรื่อง เก่า ที่ เคยผ่านมาแล้ว จิต มัน ไม่ แส่ส่ายไปจับใหม่อีกเลย..มัน เฉยๆ
    มันไม่วุ่นวายใหม่...

    รู้สึกว่า ไม่ได้ ไป แบก ของหนักใหม่....
    ไมได้เสพ อารมณ์ แบบเก่าๆ ที่ เคย ทิ้งไปแล้ว...มัน คือ เรื่องของการ ไม่เอา อารมณ์ ที่เคย วางแล้ว จากความเคยชิน ของจิต ที่สามารถตัด การเสพ นั้นๆ ได้แล้ว....แบบ นี้ ที่กล่าวมา ผมว่า จิต สบาย กว่า มากครับ

    ความ เบา มันเกิด ความสงบ ได้ เจอ เหตุ อะไรตรงหน้า มัน ตั้งมั่นได้ เลย
    ต่างจาก การภาวนา แบบ สมถะ มากๆ..ที่หาก หยุดภาวนาเมื่อไร ใจจะวิ่งไป
    จับ เหตุเกิดใหม่ๆ เสมอๆ แม้ จะเป็น เหตุเก่าๆ ที่พบมาชั่ว ชีวิต...

    พวก คุณ ว่า เป็น อย่าง ที่ ผม เล่ามา มั้ยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2012
  6. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    ต้องพิจารณาในส่วนของกำลังด้วย ว่ากันเป็นขณะๆไป
     
  7. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    จิตสงบนั้น คืออยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเดียว สงบจนไม่สนอย่างอื่น
    จิตตั้งมั่น คือจิตที่พร้อมปล่อยวางทุกอย่าง ไม่ให้ติดข้องค้างในใจ
    เมื่อเหตุปัจจัยหมดลง ก็กลับมาอยู่ที่ฐานความสงบในทันที พร้อมจะรับรู้ทุกอย่างตามความเป็นจริง พร้อมจะละอุปาทาน และอารมณ์ที่ไม่เป็นความจริงไม่ให้ตั้งอยู่ในใจได้ในทุกขณะจิตครับ
     
  8. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    ทุกๆท่าน ..น่าจะเคย ทำสมาธิ มา ในรูปแบบที่ ต่างกันออกไป...

    ใคร เกิดสภาวะ จิตดิ่ง..แน่งแน่ แนบนิ่งแค่ไหน..ผม ว่า...ทุกคนย่อมรู้ได้ ในจิตจใจ ตนเอง....ก็ ขออ นุโมทนา กับทุกๆท่าน..ที่ มี ใจฝักใฝ่ การ บำเพ็ญ สมณะธรรม....

    ใคร มีประสบการณ์ ด้าน ความสงบมากๆ ก็ ช่วยนำมาเล่า กันบ้างนะครับ..ว่า
    ความสงบ นิ่งๆ มากๆนั้น ให้ความสุข กับ เรา จริงหรือ ไม่...

    ปล. อยากฟัง ความเห็น และ ความรู้สึก ของความสุขของทุกท่าน ครับ อันเกิด จาก ความสงบ ของ สมาธิ ครับ...
     
  9. deemonster

    deemonster เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2007
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +805
    บทนี้ยาวหน่อย หากแต่น่าสนใจ น้อมพิจารณานะครับ
    เชิญสดับ
    <center>อนุปุพพวิหารอาพาธ
    (อาการที่อารมณ์อันละได้ด้วยฌานใด จะมากลายเป็นสัญญาที่ทำความอาพาธให้แก่การเข้าอยู่ในฌานนั้น)
    </center>
    อานนท์ ! ครั้งก่อนแต่การตรัสรู้ เมื่อเรายังไม่ได้ตรัสรู้ ยังเป็น โพธิสัตว์อยู่, ความรู้ได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เนกขัมมะ (ความหลีกออกจากกาม) เป็นทางแห่งความสำเร็จ, ปวิเวก (ความอยู่สงัดจากกาม) เป็นทางแห่งความ สำ เร็จ ดังนี้, แต่แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เสื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนกขัมมะ ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำ ให้จิตของเรา เป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะว่าโทษในกามทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำ มาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งการออกจากกาม เราก็ยังไม่เคย ได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความ คิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้ากระไร เราได้เห็นโทษในกามทั้งหลาย แล้วนำมา ทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในการหลีกออกจากกามแล้ว พึง เสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำ ให้จิต ของเราพึงแล่นไปพึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่เห็น อยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำ เช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนกขัมมะ โดยที่ เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะสงัดจาก กามและอกุศลธรรมทั้งหลาย จึง บรรลุฌานที่ ๑ อันมีวิตกวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวก แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือ ฌานที่ ๑ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในทางกามก็ยังเกิด แทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำ จัดอาพาธ ข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะสงบวิตกวิจารเสียได้ พึงบรรลุฌานที่ ๒ เป็น เครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌานที่ ๒) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ ว่านั่นสงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิตกธรรม เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำ มา ทำ การคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอวิตกธรรม เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิด ขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในวิตก แล้วนำ มาทำ การคิดนึกใน ข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอวิตกธรรมแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่าง ทั่วถึงไซร้, ข้อนั้ นแหละ จะเป็ นฐานะที่จะทํ าให้ จิตของเราพึ งแล่นไป พึ ง เลื่อม ใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรม โดยที่ เห็ นอยู่ว่านั่ น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำ เช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอวิตกธรรม (คือฌ านที่ ๒) นั้น โดยที่ เห็น อ ยู่ว่า นั่น ส ง บ .อ า น น ท์ ! เมื่อ เป็น เช่น นั้น, เร า แ ล เพ ร า ะ ส ง บ วิตกวิจารเสียได้ จึง บรรลุฌานที่ ๒ เป็นเครื่องผ่องใสแห่งจิตในภายใน นำให้ เกิดสมาธิมีอารมณ์อันเดียว ไม่มีวิตกวิจาร มีแต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิ แล้ว แลอยู่. อานนท์! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรม คือฌ านที่ ๒ นี้ ก ารทำ ในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในวิตกก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยัง เป็นอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำ จัดอาพาธ ข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะความจางไปแห่งปีติ พึงอยู่อุเบกขา มีสติแล สัมปชัญญะ และพึงเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌานที่พระ อริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่ หลุดออกไป ในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำ ให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะว่าโทษในปีติเป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิด นึกให้มา และทั้งอานิสงส์แห่งนิปปีติกฌาน เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคย รู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เรา สืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในปีติ. แล้วนำมาทำ การคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในนิปปีติกฌานแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้. ข้อ นั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำ ให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในนิป ปีติกฌ าน โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดย กาลต่อมาเราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ ได้ หลุดออกไป ในนิปปีติกฌาน (คือฌานที่ ๓) นั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เมื่อเป็นเช่นนั้น, เราแล เพราะความจางไปแห่งปีติ จึงเกิดอุเบกขา มีสติและสัมปชัญญะ และย่อมเสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุฌานที่ ๓ อันเป็นฌาน ที่พระอริยเจ้ากล่าวว่า ผู้ได้ฌานนี้เป็นผู้อยู่อุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุขแล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๓ นี้ การทำในใจตามอำนาจ แห่งสัญญาที่เป็นไปในปีติก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นอาพาธ (ในทาง จิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุขแล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใด ก็ฉันนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำ จัดอาพาธข้อ นั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะละสุขและทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่ง โสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน พึงบรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์และสุข มีแต่ความ ที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะอุเบกขา แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอทุกขมสุข (คือฌานที่ ๔) นั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำ ให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้นแก่ เราว่า เพราะว่าโทษในอุเบกขาสุข เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำ มา ทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอทุกขมสุข เราก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิด ขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอุเบกขาสุข แล้วนำมาทำการคิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอทุกขมสุขแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่าง ทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำ ให้จิตของเราพึงแล่นไป พึง เลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอทุกขมสุข โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอทุกขม-สุข (คือฌานที่ ๔) นั้น โดยที่ เห็น อยู่ว่านั่น ส งบ. อ าน น ท์ ! เมื่อ เป็น เช่น นั้น, เราแล เพ ราะล ะสุข และทุกข์เสียได้ เพราะความดับหายไปแห่งโสมนัสและโทมนัสในกาลก่อน จึง บรรลุฌานที่ ๔ อันไม่ทุกข์ไม่สุข มีแต่ความที่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์เพราะ อุเบกขา แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหารธรรมคือฌานที่ ๔ นี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปในอุเบกขา ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์ เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาหาร ฉันใดก็ฉันนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำ จัดอาพาธข้อ นั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นรูปสัญญา (ความกำหนดหมายในรูป) โดย ประการทั้งปวงได้, เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่งปฏิฆสัญญา (ความกำหนดหมาย อารมณ์ที่กระทบใจ), เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งความกำหนหมายในภาวะต่าง ๆ (นานัตตสัญญา) พึงบรรลุอากาสานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มี ที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่ แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำ ให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะว่าโทษในรูปทั้งหลาย เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมา ทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากสานัญจายตนะ เราก็ยังไม่เคยได้ รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิด ได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในรูปทั้งหลาย แล้วนำมาทำการ คิดนึก ในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากาสานัญจายตนะแล้ว พึงเสพใน อานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำ ให้จิตของเรา พึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญจายตนะ โดยที่ เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำ เช่นนั้นแล้วอย่าง ทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากาสานัญ- จายตนะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เมื่อเป็นเช่นนั้น เราแล เพราะผ่านพ้นรูปสัญญาโดยประการทั้งปวงเสียได้ เพราะความตั้งอยู่ไม่ได้แห่ง ปฏิฆสัญญา เพราะไม่ได้ทำในใจซึ่งนานัตตสัญญา จึง บรรลุอากาานัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อากาศไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่, อานนท์ ! แม้เมื่อเรา อยู่ด้วยวิหารธรรม คือ อากาสานัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญา ที่เป็นไปในรูปทั้งหลาย ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้น ยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา. เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวางเพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราว่า เพื่อกำจัดอาพาธขึ้นนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว พึง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำในใจว่า "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้ว แลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่นั่น สงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำ ให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากาสานัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งวิญญาณัญจายตนะ เรา ก็ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากาสานัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในวิญญาณัญจายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้จิต ของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญาณัญจายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำ เช่นนั้นแล้ว อย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในวิญญา- ณัญ จายตนะนั้น โดยที่เห็นว่าอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! เราแล ผ่านพ้น อากาสานัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุวิญญาณัญจายตนะ อันมีการทำ ในใจว่า "วิญญาณไม่มีที่สิ้นสุด" แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเรา อยู่ด้วยวิหารธรรมคือวิญญาณัญจายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่ เป็นไปในอากาสานัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา. เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพ ราะ อาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำ จัดอาพาธ ข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นวิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวง เสียแล้ว พึงบรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมีการทำในใจว่า "อะไร ๆ ไม่มี" แ ล้ว แ ล อ ยู่เถิด ดังนี้. อ าน น ท์ ! แม้ก ระนั้น จิต ขอ งเราก็ยังไม่แล่น ไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็น อยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำ ให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะว่าโทษในวิญญาณัญจายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ ได้นำ มาทำ การคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งอากิญจัญญายตนะ เราก็ ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษวิญญาณัญจายตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในอากิญจัญญายตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะที่จะทำให้ จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญจัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำ เช่นนั้นแล้ว อย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในอากิญ- จัญ ญ ายต นะนั้น โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้น วิญญาณัญจายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุอากิญจัญญายตนะ อันมี การทำ ในใจว่า "อะไร ๆ ไม่มี" แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วย วิหารธรรมคืออากิญจัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไปใน วิญญาณัญจายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทาง จิต) แก่เรา, เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะอาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำ จัดอาพาธ ข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เสียแล้ว พึงบรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออกไป ในเนวสัญญานาสัญญายตนะนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำ ให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะว่าโทษในอากิญจัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้ นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งเนวสัญญานาสัญญายตนะ เราก็ ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในอากิญจัญญยตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในเนวสัญญานาสัญญา- ยตนะแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้. ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะ ที่จะทำ ให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนว- สัญญานาสัญญายตนะ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ทำ เช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในเนวสัญ ญ านาสัญ ญ ายตนะนั้น โดยทีเห็นอยู่ว่านั้น สงบ. อานนท์! เราแล ผ่านพ้นอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุเนวสัญญานาสัญญายตนะ แล้วแลอยู่. อานนท์ ! แม้เมื่อเราอยู่ด้วยวิหาร- ธรรมคือเนวสัญญานาสัญญายตนะนี้ การทำในใจตามอำนาจแห่งสัญญาที่เป็นไป ในอากิญจัญญายตนะ ก็ยังเกิดแทรกแซงอยู่. ข้อนั้นยังเป็นการอาพาธ (ในทางจิต) แก่เรา. เหมือนผู้มีสุข แล้วยังมีทุกข์เกิดขึ้นขัดขวาง เพราะ อาพาธ ฉันใดก็ฉันนั้น. อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า เพื่อกำ จัดอาพาธ ข้อนั้นเสีย ถ้ากระไรเรา เพราะผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการ ทั้งปวงเสียแล้ว พึงบรรลุสัญญาเวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่เถิด ดังนี้. อานนท์ ! แม้กระนั้น จิตของเราก็ยังไม่แล่นไป ไม่เลื่อมใส ไม่ตั้งอยู่ได้ ไม่หลุดออก ไปในสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น ทั้งที่เราเห็นอยู่ว่านั่น สงบ อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า อะไรหนอ เป็นเหตุ เป็นปัจจัย ที่ทำ ให้จิตของเราเป็นเช่นนั้น. อานนท์ ! ความรู้สึกได้เกิดขึ้น แก่เราว่า เพราะว่าโทษในเนวสัญญานาสัญญายตนะ เป็นสิ่งที่เรายังมองไม่เห็น ยังไม่ได้นำมาทำการคิดนึกให้มาก และทั้งอานิสงส์แห่งสัญญาเวทยิตนิโรธ เราก็ ยังไม่เคยได้รับเลย ยังไม่เคยรู้รสเลย ; จิตของเราจึงเป็นเช่นนั้น, อานนท์ ! ความคิดได้เกิดขึ้นแก่เราสืบไปว่า ถ้าหากเราได้เห็นโทษในเนวสัญญานาสัญญา- ยตนะ แล้วนำมาทำการคิดนึกในข้อนั้นให้มาก ได้รับอานิสงส์ในสัญญาเวทยิต- นิโรธแล้ว พึงเสพในอานิสงส์นั้นอย่างทั่วถึงไซร้, ข้อนั้นแหละ จะเป็นฐานะ ที่จะทำให้จิตของเราพึงแล่นไป พึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ในสัญญา- เวทยิตนิโรธ โดยที่เห็นอยู่ว่านั่น สงบ. อานนท์ ! โดยกาลต่อมา เราได้ ทำเช่นนั้นแล้วอย่างทั่วถึง จิตของเราจึงแล่นไป จึงเลื่อมใส ตั้งอยู่ได้ หลุดออกไป ใน สัญ ญ าเวท ยิต นิโรธนั้น โด ย ที่เห็น อ ยู่ว่านั่น สงบ. อ าน น ท์! เราแล ผ่านพ้นเนวสัญญานาสัญญายตนะโดยประการทั้งปวงเสียแล้ว จึง บรรลุสัญญา- เวทยิตนิโรธ แล้วแลอยู่ (ไม่มีอาพาธอะไร ๆ อีกต่อไป). อนึ่ง อาสวะทั้งหลาย ได้ถึงความสิ้นไปรอบ เพราะเราเห็น (อริยสัจสี่) ได้ด้วยปัญญา.</pre>http://pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/1485/index.html
     
  10. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    จะให้ว่าเหรอ ไม่ค่อยอยากว่าเลยนะ แต่เมื่อขอให้ว่า ก็ต้อง ฮึ่ม!!!

    ฮึ่มเดียวไม่พอแหะ .....เอาใหม่

    ฮึ่ม!!! ฮึ่ม!!! ฮึ่ม!!!

    ***********

    จะว่า! แล้วนะ ขอมาเองนะ ช่วยม่ายล่าย

    *********

    เอายัง

    ************

    ถ้าไปยกกล่าว แบบนั้น มันจะทำให้ มันแยกออกจากกัน ทำให้การกล่าว
    ปฏิปทาที่เป็นเนื้อเดียวกัน ไม่ก้ำเกินกัน กลายเป็น ก้ำเกินกัน เมื่อไหร่
    สภาพธรรมสองอันนี้ ก้ำเกินกัน ก็กลายเป็น ผลัดกันดับ แทนที่จะ ดับพรึบ
    ไปจากจิตให้เห็นเป็นทุกขสัจจแห่งจิตพร้อมใจรักสมัครสมาน ล้วนมิตร จิต
    ชื่นบาน สราญเริงอยู่ ต่อรูป ต่อนาม

    ถ้าจะเสนอให้พินาความต่าง ก็ให้ ดู ธรรมคู่ตรงข้ามที่ถูกขจัด หรือปล่อย

    ไม่มีอะไรสุขเท่าความ สงบ : เพราะ สงัดจากกาม พยาบาท วิหิงสา

    ไม่มีอะไรพ้นสุขและทุกข์อย่างยิ่งเท่า : รู้แจ้ง รูป นาม โลกทั้งใบจะให้
    เธอคนเดียว

    ต่างคนต่างพูด.....ไม่ออก...ได้แต่มองตาม......เข้าใจ
    รักที่ให้กัน.....เหมือนโดนกั้นขวางทางไป

    อย่าเลยอย่ารู้ว่าฉัน....ขาดขันธ์...จะเป็นอย่างไร

    แค่รู้ไว้ ว่าโลกทั้งใบจะให้เธอคนเดียว ( กูไม่เอา นั่นแหละ )


    สรุป :

    จิตสงบคือ สงัดจากวิตก3

    จิตที่สงัดจากวิตก3 ย่อมแจ้งรูปนามได้ตามความเป็นจริง จิตตั้งมั่น

    นี่ ยังมี ธรรมเอก อีกนะ ไม่ใช่ อันเดียวกันกับ จิตสงบ หรือ จิตตั้งมั่น

    ธรรมเอก คือ ไม่ยึดมั่นถือมั่นในจิตสงบ ในจิตตั้งมั่น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2012
  11. JitJailove

    JitJailove เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    736
    ค่าพลัง:
    +741
    นี่แหล่ะ ไอ้ตรงใจที่วิ่งไปเนี่ยแหล่ะสำคัญ
    มันวิ่งไปหาอดีต กับ อนาคต
    ก็ตามดูใจ
     
  12. KRIDROCKER

    KRIDROCKER Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +95
    วันก่อน ไปเดินออกกำลังกายที่สวนสาธารณะแห่งหนึ่ง
    เจอผู้หญิงถูกสเปค จิตมั่นดีดดิ้น วิ่งปรูด แน่น ร้อนผ่าวๆ
    พยายามพิจารณาไตรลักษณ์ เดิน ไปหนึ่งรอบ วนกลับมาที่เดิม
    ยังเจอผู้หญิงอยู่ กิเสลมันเติมเข้ามาเรื่อยๆ สติไม่อยู่กับเนื่อกับตัว
    ต้องรีบเดินให้เร็วเพื่อจะกลับมา ตรงที่ผู้หญิงอยู่อีก
    ดึงสติกลับมา พิจารณา ความเน่าเหม็นโสโครกของร่างกาย
    แต่มันก็แว้บไปแว้บมา เร่งพิจารณาอีก มากขึ้นๆ เริ่มดีขึ้น
    มาหยุดเดินที่สระน้ำ นั่งลง ค่อยผ่อนคลาย เยือกเย็นขึ้น
    พิจารณาได้ชัดแจ้งขึ้น ถึงต่างแต่ก็เสริมซึ่งกันและกัน
     
  13. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    ....................................................................

    ขอ ย่อย พิจารณา หน่อยนะ ครับ....
    ตอนแรก เจอสาวถูกใจ มันดีด เลย..ตอนที่ใจดีดนั้น คุณ ยังไม่รู้สึกตัว ว่า ใจ กำลัง หลงสาวแล้ว แต่ใจคุณ เข้าจับกิเลส ทันที และไม่มีการ รู้สึก ที่ใจ ว่ากำลังดิ้น ไปชอบสาว ทำให้ จิตไม่เป็นกลาง และ เสพ กิเลสไปเต็มๆ เพราะว่า...รีบที่จะ วิ่งวนกลับมา ดู อีก เพราะ เป็น สาว ที่ถูกใจ...

    จิตคุณ กำลัง จับ ความเกิด ภพ นั้นๆ แบบ ไม่รู้ สึกถึงตัวจิตเอง...
    แต่ จิต คุณ มี การดึง ตัวจิตเองกลับมา ด้วยการ พยายาม ระลึก ไตรลักษณ์ ..ซึ่ง การทำแบบนี้ มันไม่ถูก วิธีการ ของการ ฝึก เพื่อให้เห็นไตรลักษณ์..ดังนั้น ใจจึงไม่สงบลงได้..ด้วยการ คิด ถึง ไตรลักษณ์ ไม่มีทาง ที่การคิด ว่า สรรพสิ่งล้วน อยู่ใต้ กฏไตรลักษณ์ แล้ว จิต จะ สงบ ได้ทันที

    แต่เมื่อ เวลาผ่านไป คุณ คิดเรื่องไตรลักษณ์ มากขึ้น และ เดิน หรือวิ่ง ผ่าน สาวคนนั้นไปแล้ว หลังจากที่มอง มา หลายรอบ ด้วยความอยากมอง..
    คุณ รู้มั้ยว่า เกิด สภาวะ 2 อย่าง..ใน จิต ของคุณ......

    อย่างแรก คุณ กำลัง ทำสมถะกรรมฐาน ด้วยการ บริกรรม ภาวนาในใจ การที่คุณ คิดเรื่องไตรลักษณ์ มากๆ เท่ากับ กำลังโน้ม ใจ ด้วย การคิดๆๆ ใจจะ น้อมลงเรื่อยๆ ด้วยการ บริกรรมผ่านความคิด แล้วจิตคุณ ก็ สงบลงได้ เมื่อผ่านไป สัก ระยะ ตามที่คุณ บอกตอนท้าย

    สภาวะที่ 2 คือ จิต คุณ เป็นไปตาม สัจจะ...คือ อะไรก็ตาม ที่เกิด แล้ว จะต้องดับไป แน่นอน..ความอยาก ของคุณ ที่เห็นสาว ในตอนแรก..ใจคุณ จับ และ ยึดความ งาม ของสาว ไปแล้ว...เกิดการปรุงแต่งไปแล้ว..และ สภาวะ นั้น ก็ดับไป แล้ว แต่ก็ กลับมา เห็นใหม่ ใจคุณ สร้าง ภพ ใหม่อีกครั้ง..((อยากใหม่)) จิตคุณ เกิดๆ ดับๆ ไปเรื่อยๆ และ ความเกิดดับย่อยๆนี้เอง ที่ จิต มัน ชินและเริ่ม เบื่อ เหตุเดิมๆ ทำให้ ปล่อยวางลงได้ง่ายขึ้น....

    ผม พิจารณ ตาม สภาวะ นะครับ...ผิด ถูกอย่างไร
    ต้อง ขอ อภัยด้วย..ครับ....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 สิงหาคม 2012
  14. รีล มาดริด

    รีล มาดริด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +717
    ความสงบ...หากว่าตามตำรา..นั้น มี 2 แนวทาง แน่นอน..

    อย่างแรก คือ อารัมณูปนิฌาณ เกิดได้ด้วยการ รู้ อารมณ์เดียว หรือ การ ทำสมถะ

    อย่างที่ 2 คือ ลักขณูปนิฌาณ..เกิด ได้ ด้วย การ รู้ รูปนาม เป็น ปัจจุบันขณะ..สมาธิ แบบนี้เกิดได้ด้วยการ เจริญสติ เท่านั้น

    สมาธิแบบแรก เกื้อหนุน..การ ฝึก แบบ ที่ 2 มาก หาก ใครที่ไม่ทำ สมถะเลยบ้าง แต่จะมา หัด เจริญสติเลย บางที ก้ ยาก เกินไป..แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น บางคน ก้ สามารถ หัด เจริญสติได้เลยโดยไม่ เคยทำสมถะ มาเลยก้มี..นั่น อาจเป็น บารมี เก่าก่อน ของภพชาติ ก่อนๆ เขาอาจทำมามากพอแล้ว ก็เป็นได้...เรื่องแบบนี้มีแต่ พระอรหันต์ ผู้ทรง เดช ที่สามารถ เห็น อดีต ของผู้ อื่นได้เท่านั้น.....

    ตัวอย่าง บุคคลที่ไม่ทำ สมถะ เลย..คือ หลวงพ่อ เทียน...
    ท่าน เคยพุดเองเลยว่า ท่าน ไม่ทำสมถะ เลย ท่าน ฝึก รูสึกตัวอย่างเดียว
    และ จิตท่าน ก็ เกิดความรู้มากมาย รู้รุป รู้นาม และ สุดท้ายจิตจ ท่าน ก็ แจ้งว่า จิต สิ้นอาสวะ แล้ว...จากการ เจริญสติ อย่างเดียว แบบ สัมปชัญญะบรรพพะ..ตาม ตำราใน กายานุปัสสนากรรมฐาน บรรพะ ที่ 3
     
  15. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    การทรงอารมณ์ หรือจะเรียกว่าตั้งมั่นนั้น ให้ผลที่แตกต่างอย่างมาก มากกว่าจิตที่สงบนิ่งแค่เพียงชั่วคู่

    จิตสงบในขณะนั่งปฎิบัติ จะให้ผลที่น้อย เพราะสามารถปรุงแต่งได้เสมอ ต่างจากการทรงอารมณ์

    ซึ่งเป็นนิสัยที่สงบโดยบริบูรณ์ จะไม่ดิ้นรนขนขวาย ในสิ่งที่เป็นไปได้ยาก และ รู้จักยอมรับในความเป็นจริงได้ง่าย

    " หยุด " เท่านั้นที่จะนำพาความสำเร็จมาสู่ตนเอง

    สาธุครับ
     
  16. telwada

    telwada เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2004
    โพสต์:
    1,606
    ค่าพลัง:
    +1,817
    คุณขอรับ คุณเข้าใจความหมายของภาษาไม่ถูกต้องแล้วขอรับ อีกทั้งคุณยังกล่าวเพ้อเจ้อคิดไปว่า "จิตสงบ"กับ"จิตตั้งมั่น" แตกต่างกัน ไม่เหมือนกัน แต่ในทางที่เป็นจริงแล้ว
    จิตสงบ กับ จิตตั้งมั่น ก็คือ สิ่งเดียวกัน มีความหมายเดียวกัน นั่นก็คือ ความมีสมาธิ
    คุณคงเข้าใจไปว่า จิตตั้งมั่น หมายถึง จิตที่มีความมุ่งหมายว่าจะกระทำการใด กระทำการหนึ่ง ไม่ใช่ขอรับ คนละความหมายกัน
    ถ้าคุณมีสมาธิ นั่นก็คือ "จิตสงบ" และนั่นก็คือ "จิตตั้งมั่น"ขอรับ
    จิตสงบ หรือ จิตตั้งมั่น นั้นจะสามารถทำให้บุคคลสามารถนำเอาความรู้ความสามารถที่มีอยู่ออกมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดีกว่าปกติ หรือดีกว่า บุคคลที่มี จิตสงบหรือจิตตั้งมั่นน้อยขอรับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 กรกฎาคม 2012
  17. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คนที่มีความคิดเห็นไม่ถูกน่ะ คือ คุณต่างหาก ไม่ใช่ จขกท ครับ

    เขาได้รู้ในสิ่งที่ควรแล้ว ไว้คุณฝึกจนเป็นนิสัยแล้วจะเข้าใจเองครับ

    สาธุครับ
     
  18. ปุณบพิธ

    ปุณบพิธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2012
    โพสต์:
    1,102
    ค่าพลัง:
    +2,134
    จริงๆ แล้ว มันก็คงไม่มีคำว่าถูก หรือ ผิด เพราะเป็นเรื่องของภาษา ซึ่งเป็นความเข้าใจของแต่ละบุคคล

    แต่คุณ telwada เข้าใจไม่เหมือนคนส่วนใหญ่ และไม่เหมือนที่หลวงปู่ หลวงตาทั้งหลายท่านสอน นะครับ
     
  19. Norlnorrakuln

    Norlnorrakuln เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    3,813
    ค่าพลัง:
    +15,095
    ด้วยความรู้อันน้อยนิด ผมเข้าใจว่า!

    จิตสงบ เป็นอุเบกขาจิต
    จิตตั้งมั่น เป็นจิตที่อยู่ในองค์ฌาณ อันประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา...เรื่อยไปจนถึงฌาณ ๔ ตั้งมั่นอยู่ในเอกัคคตาจิตนั้น
    จิตเป็นสมาธิ ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปนาสมาธิ

    คือเป็นธรรมอันเดียวกัน แต่ ใช้สมมุติเรียกขณะจิตที่อยู่ในสภาวะธรรม ต่างกันครับ :cool:
     
  20. ทศมาร

    ทศมาร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 เมษายน 2010
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +237
    จิตตั้งมั่นจะโปร่งโล่ง แยกธาตุออก โดยรู้เหมือนกับลืมตาก็มองเห็นรูปโดยไม่ต้องตั้งใจเลย
     

แชร์หน้านี้

Loading...