จิตพร้อม? รับภัยพิบัติ

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย ภูภู, 6 เมษายน 2012.

  1. Talnoi

    Talnoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +112
    ขออนุญาตเข้ามาทักทายก่อนนะคะ แอบอ่านมานานแล้ว
    แต่หาวิธีเข้ามา post ไม่ได้ ยัง โลว์เทค อยู่ค่ะ
     
  2. Talnoi

    Talnoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กรกฎาคม 2012
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +112
    อ๊ะ post ได้แล้ว ดีใจมากเลยค่ะ
    ได้อ่านกระทู้นี้แล้ว และได้นำไปฝึกดูแล้ว
    อยากจะขอความเมตตา จากคุณครู
    ช่วยฝึกทาง email ได้ไหมค่ะ
    เพราะยังทำตัวไม่ถูก
    หวังว่าคงได้รับความเมตตา
    ขอบพระคุณมากค่ะ
     
  3. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    โมทนาสาธุกับคุณTalnoiด้วยครับ..
    เอ้านี่..ส่งemail แนะนำตัวเองและพื้นฐานตนเองไปให้ครูเพ็ญ (ครูใหญ่)ก่อนนะครับ ตามนี้เลย..
    natthapatpun@gmail.com

    ขอบารมีแห่งพระรัตนตรัย ช่วยดลบันดาลให้กุศลผลบุญของข้าพเจ้าที่สั่งสมมาทุกภพชาติจนถึงปัจจุบัน จงถึงแก่คุณTalnoi ให้ปฎิบัติธรรมก้าวหน้าถึงฝั่งฝามรรคผลนิพพานในชาตินี้ด้วยเทอญ.. สาธุ สาธุ
     
  4. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    การแยกกาย แยกจิต
    เอ๊า! คุณจารุณีนี่ ยกจิตไปแล้วไม่ใช่หรอ มาถามทำไมเนี๊ย
    ลูกศิษย์ใครหว๋า! แล้วเธอผ่านมาได้ยังไง
    แต่ถ้าจำไม่ผิด เธอมาจากครูเพ็ญใช่ไหม๊?
    แต่ถ้าผ่านครูเพ็ญ ไม่น่ารอดมานะ ครูคงสอนไปแล้ว แต่เธอคงน่าจะลืม
    สัญญาคงตกกระป๋องตามครูเพ็ญแน่ๆ
    อันนี้ขอตอบสำหรับผู้ที่จิตยกแล้วก่อนนะ
    เดี๋ยวจะตอบคนที่จิตยังไม่ได้ยก
    ขอตอบคุณจารุณีก่อนนะ...

    สำหรับการแยกกาย แยกจิตของเธอนั้น ให้เธอกำหนดจิตขึ้นไปอยู่กับพระพุทธเจ้าข้างบนพระนิพพาน
    โดยที่จิตไม่ต้องกลับมาลงมาอีก หมายความว่า ฝากจิตไว้ข้างบนไว้ตลอดเวลา จิตไม่ต้องลงๆขึ้นๆ
    ระหว่างกายหยาบกับกายละเอียด หรืออาทิสมานกาย หรือเรียกสั้นๆว่า จิต
    เพราะร่างกายนี้เป็นสมบัติของโลก ร่างกายนี้เป็นที่อยู่อาศัยของจิตชั่วคราว เมื่อหมดอายุขัยแล้ว
    ทุกคนก็จะต้องทิ้งร่างไร้วิญญาณ(ที่คนส่วนใหญ่คิดว่า ร่างกายเป็นของเรา)ไว้บนโลก หรือคืนให้กับธรรมชาติเขาไป

    พวกที่มีฤทธิ์ทางใจ หรือมโนยิทธิ กำหนดจิตในขณะที่จิตกำลังทรงฌานสูงขึ้นไปข้างบนพระนิพพาน
    เพื่อทรงอารมณ์พระนิพพานให้ตลอดเวลา จิตจะได้ชิน และจิตจะได้ไม่ไปยึด หรือเกี่ยวข้องกับกายหยาบมากเกินไป

    ข้อดีสำหรับผู้ทำจิตเกาะพระได้สำเร็จ(จิตยกแล้ว) นอกจากจิตจะมีกำลังมาก จิตที่ยกขึ้นเหนือขันธ์5
    จิตเข้าใจแล้วว่า ร่างกายนี้มิใช่เรา ของเรา จิตจึงไม่เข้าไปยึดเกี่ยวอีกต่อไป เพราะฉะนั้นแล้ว สำหรับจิตที่ยกไปแล้ว
    ใครจะด่า ใครจะว่า ใครจะนินทา หรือใครจะฆ่าก็เชิญ
    ไม่มี คำว่า ติดใจ เพราะจิตที่ยกแล้ว ได้ละสังโยชน์ในเบื้องสูงแล้ว
    แต่ถ้าใครยังรู้สึกว่าตนเองยังมีโกรธอยู่นิดๆ ให้ท่านรีบแก้ไขด่วน(ซ่อมจิตด่วน) นั่นก็หมายความว่า
    จิตของท่านยังไม่ละขันธ์5จริง จิตจึงยังมีอัตตามานะหลงเหลืออยู่
    แต่ถ้าไม่มีเหลือ เราก็จะไม่รู้สึกโกรธใครอีกแล้ว
    เพราะถ้าใครหลงเหลือ เพียงนิดเดียวก็จะถือว่า จิตของท่านยังไม่ยก
    หรือจิตยังคงเป็นอนาคามีอยู่

    ใครรู้ตัว ได้โปรดไปทรงอิทธิบาท4มาใหม่ คือไปทบทวน ไปรื้อฟื้นกันใหม่
    เพราะคนที่จิตยกไปแล้ว
    พวกเราก็ต้องทำจิตเกาะพระต่อไป ก็เหมือนพระอรหันต์ที่ท่านจบกิจแล้ว ท่านก็ยังทำภาวนาต่อเนื่อง
    เพื่อให้จิตเคยชิน และทำให้สติเกิดตลอดเวลา นั่นเอง
    เพราะตราบใดยังครองขันธ์5กันอยู่ เพื่อความไม่ประมาท จะต้องเจริญสติให้ได้ตลอดเวลา
    หรือทรงอารมณ์พระนิพพานให้ได้กันตลอดชีวิต ปฎิบัติให้เคยชิน
    ถึงแม้นรู้ว่าตนเองจะตายไม่กี่นาทีข้างหน้านี้ จิตใจก็เฉย เพราะกายตาย แต่จิตไม่ได้ตายตามกายไปด้วย
    เราฝึกฝนจิตมาดีแล้ว กำลังใจย่อมมีสูงกว่าคนที่ไม่ได้ฝึก
    ส่วนใหญ่จิตที่ยกไปแล้ว จะปฎิเสธขันธ์5อยู่แล้วและจะปฎิเสธไปวันตาย
    ในยามที่เจ็บป่วย หรือเจ็บปวดทางร่างกาย เราก็จะไม่กังวลมาก
    เพราะจิตเข้าใจเจ็บป่วยหรือเจ็บปวดนั้นเป็นเรื่องของกาย ไม่ใช่เรื่องของจิต

    ตอบแค่นี้คิดว่าเธอรู้แล้ว และทำได้แล้ว เพราะจิตยกแล้ว
    แต่เธอจะทำสม่ำเสมอหรือเปล่านั้น พี่ภูไม่ทราบ
    หมั่นทรงอารมณ์พระนิพพานเข้าไปไว้ เรา(จิต)จะได้ไม่หลง
    แต่วิธีแยกกาย แยกของพี่ภูนี้(แบบจิตเกาะพระ) ความหมายก็จะคล้ายๆ การฝึกตาย ก่อนตายจริงๆ หรือระลึกถึงมรณานุสสติ

    แต่วิธีการแยกกาย แยกจิตของจิตเกาะพระนี้จะเข้มข้นกว่า
    เพราะจิตเกาะพระได้แนบแน่นแล้ว
    จิตทรงอารมณ์พระนิพพานได้ดีกว่าและต่อเนื่อง ไม่ทำๆหยุดๆ เหมือนจิตที่ยังไม่ยก เพราะพลังจิตไม่เท่ากัน

    ถ้าเราไม่ฝึก กำลังใจก็ไม่ถึงนิพพาน เพราะเราไม่รู้วันตาย
    ถึงไม่รู้ก็ไม่เป็นไร รู้ทีหลังว่าตายไปแล้ว ก็ไม่เสียใจ เพราะจิตไม่หลง
    กายตาย แต่จิตไม่ตาย จิตจะต้องจุติไปยังภพอื่นต่อไป
    แต่ถ้าเราฝึกมาดีแล้ว หรือเราฝึกตาย ก่อนตายจริง หรือเราได้แยกกาย แยกจิตไว้ก่อนล่วงหน้าแล้ว
    เรากำหนดจิต ทรงอารมณ์พระนิพพานอยู่เนื่องๆสม่ำเสมอดีแล้ว เมื่อถึงตายจริงๆ
    คำว่า จิตก็ไม่มีหลง เพราะจิตฝึกมาดีแล้ว

    เหมือนคนต่างถิ่นไปที่แห่งใหม่ เราจะต้องศึกษา จำเส้นทางหรือจำชื่อถนนให้แม่นเสียก่อน
    วันหน้าไปใหม่ เราก็จำได้ ไปถูก และไม่หลงทางด้วย
     
  5. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    วิธีแยกจิตออกจากกายทำได้อย่างไร
    โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ​


    ถาม : วิธีแยกจิตออกจากกายทำอย่างไร ?

    ตอบ :ท่านที่สามารถแยกจิตออกจากกายได้เด็ดขาดคือ ไม่ติดใจ ไม่มีเยื่อใยในกายอีกต่อไป ถือว่าจิตกับกายเป็นคนละส่วนกัน คือ พระอรหันต์ จิตของพระอรหันต์เป็นจิตที่มีประกายพรึกงดงาม แสงสว่างสดใส ไม่มีกิเลสพัวพันอีก


    ท่านที่แยกจิตออกจากกายได้ 75 % คือ พระอนาคามี อีก 25 % ยังติดในรูปฌานและอรูปฌาน มานะ ถือตัว จิตฟุ้งซ่านในฝ่ายกุศลนอกเรื่องจากอรูปฌาน มานะ ถือตัว จิตฟุ้งซ่านในฝ่ายกุศลนอกเรื่องจากพระนิพพาน มีอวิชชา เล็กน้อย คิดว่าได้คุณธรรมแค่พระอนาคามีก็พอแล้ว อย่างไร ๆ ก็ได้ ไปเกิดชั้นสุทธาวาสเป็นพรหมสบาย ๆ อยู่แล้ว ค่อยไปปฏิบัติต่อที่พรหมเพื่อไปพระนิพพานต่อก็ได้

    จิตที่ไม่ติดใจในกายได้ 50 % คือ จิตของพระสกิทาคามี ยังมีกามฉันทะ ปฏิฆะ ความโกรธไม่พอใจเล็กน้อย มีความเห็นตรงตามคำสอนพระพุทธองค์ มีศีล 5 ครบ มีกรรมบถ 10 ครบถ้วน ไม่พูดเพ้อเจ้อ หยาบคาย เหลวไหล

    ท่านที่แยกจิตออกจากกายได้ 25 % คือ พระโสดาบัน ท่านเอาจิตไปพิจารณาว่ากายต้องตายเพราะกายเป็นธาตุ 4 เป็นของโลก จิตเป็นของละเอียด เป็นนามธรรมมาอาศัยกายซึ่งเป็นรังที่แสนสกปรกรกรุงรัง จิตต้องมีภาระดูแลทำความสะอาดทุกวันเหม็นเน่าสาบสางทุกวัน มีแต่โรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียนเป็นทุกข์เป็นโทษ กายเป็นที่อาศัยของจิตชั่วคราว สติพิจารณาตัวตนไว้ว่าตัวเราคือจิต กายทำอะไรให้จิต จิตทำอะไรให้กาย เป็นการพิจารณาที่ตัดสักกายทิฏฐิให้เห็นว่า กายกับจิตเป็นคนละส่วนกัน

    ท่านที่แยกจิตออกจากกาย ความจริงจิตก็ยังอยู่อยู่ในกายนั่นแหละยังไม่ตาย แต่จิตไม่รักหวงแหนหลงใหลว่ากายเป็นของจริงเหมือนอย่างสมัยปุถุชน

    เราท่านที่ยังไม่ได้เป็นพระอริยบุคคลก็หัดแยกจิตออกจากกายตามวิธีที่พระพุทธองค์ทรงสอนไว้ดังนี้

    1. พิจารณาร่างกายเป็นธาตุ 4 ขันธ์ 5 (รูป-นาม) ไม่ใช่ตัวตนของเรา เราจริง ๆ คือ จิตหรือ อทิสมานกาย กายในที่เป็นนาม มองไม่เห็นแต่เป็นผู้รู้คิดผู้มีสติปัญญา ไม่หลงในกายที่มีแต่สิ่งสกปรก มีแต่ทุกข์ คือ หิวเหนื่อยร้อนหนาวปวดทุกวัน เมื่อกายตายจิตไม่ตายตามกาย

    2. หัดแยกจิตออกจากกาย คือ หัดทำสมาธิ ด้วยอานาปานุสสติ กำหนดรู้ลมหายใจเข้าออกอยู่เสมอ มีพุท-โธ สัมมาอรหัง นะมะพะธะ นะโมพุทธายะ ประจำลมหายใจ จิตสะอาดด้วย พุทธานุสสติกรรมฐานและการกำหนดจิตตามลมหายใจเข้าหายใจออก จิตก็ไม่หลงติดพัวพันในร่างกายคนที่เรารักอีกต่อไป จะมีปัญญารู้ว่าไม่น่าติดใจหลงใหลใฝ่ฝันในกายเรากายเขาเพราะสกปรก ตายทุกคน ถ้าจิตเป็นฌาน 4 จิตจะมีพลังแก่กล้า ก็ช่วยให้แยกจิตออกจากกายได้เด็ดขาด ไม่มีความรู้สึกทรมานเป็นทุกข์เวทนาในรเมื่อร่างกายเจ็บป่วยใกล้ตายไม่ต้องใช้ยาระงับปวด เป็นประโยชน์ในการตายอย่างสงบสุข แต่ต้องฝึกเข้าฌานตอนที่ร่างกายดีแข็งแรงจึงจะได้ผล ถ้าฝึกสมาธิตอนป่วยจิตจะไม่สงบฟุ้งซ่าน ไม่เป็นสมาธิ

    3. หัดแยกจิตโดยฝึกหัด มโนมยิทธิ ตามที่หลวงพ่อพระราชพรหมยาน วัดท่าซุง อุทัยธานี สอนไว้ ให้ยกจิตหรืออทิสมานกาย ออกจากกายเนื้อที่เป็นกายจอมปลอมไปกราบองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าที่พระนิพพานทุกวันวันละ 5 นาที ทำบ่อย ๆ จิตจะชินเมื่อใกล้ตายจะไปพระนิพพานได้ง่าย เพราะ จิตเป็นผู้ไป ตั้งใจไปไหนตายแล้วจิตจะไปที่นั่น แม้มีกิเลสวุ่นวายมากมาย แม้ก่อนตาย กายจะเจ็บปวดทรมาน จิตไม่สนใจในความอยากโกรธ ไม่เกลียด ไม่หลงในกายเห็นกายเป็นทุกข์โทษทรมานเป็นวิปัสสนาญาณ จิตกำหนดพระนิพพานไว้ทุกวัน จะเป็นพลังความดีที่ช่วยให้เข้าถึงพระนิพพานได้ง่าย ถ้านึกถึงพระพุทธองค์ทุกวัน พระพุทธเจ้าท่านเมตตาคน สัตว์อยู่แล้ว พระองค์ก็เปล่งฉัพพรรณรังสีมาให้ผู้ที่นึกถึงพระองค์ได้เห็นพระรูปพระโฉมที่งดงามเป็นทิพย์ของพระพุทธองค์ จิตของผู้ตายจะสดชื่นเบิกบานลืมความเจ็บปวดของกายหมด จิตสบายเป็นสุข ก็ติดตามพระพุทธองค์เข้าสู่พระนิพพาน ซึ่งเป็นทางลัดง่าย ๆ ที่จิตเราค่อย ๆ ทำไปให้มั่นใจ สักวันคงพ้นทุกข์แน่นอน
     
  6. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ยินดีต้อนรับครับ
    ทำจิตให้สบาย แล้วศึกษาจิตเกาะพระให้ท่องแท้เสียก่อน จึงลงมือปฎิบัติ
    กาย low tech ได้ แต่จิตอย่า low tech ก็แล้วกัน

    ***น่าเห็นใจครูเพ็ญเน๊อะ ใครๆก็รักแต่ครูเพ็ญ คือทุกท่านจะถูกส่งไปที่HR
    Human resource (ผอ.ใหญ่ฝ่าย(จิต)บุคคล)
    ไม่ต้องห่วงนะครูเพ็ญ ผมบอกท่านพ่อแร๊ะ พวกเขาจะค่อยๆทะยอยเดินทางมานะ อย่ามาทีเดียว มาพร้อมกัน ครูของพี่ภูตายก่อนแน่ๆ
     
  7. jprabs

    jprabs เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +1,229
    ทุกข์ในไตรลักษณ์ต่างจาก
    ทุกข์ในอริยสัจอย่างไร
    [​IMG]
    เนื่องจากมีการสนทนากันในเว็บจิตเกาะพระ เมื่อคืนนี้
    จึงอยากนำเนื้อหามาลงไว้ให้พวกเราได้อ่านกันโดยกว้างขวาง
    และจะได้เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกันอีกด้วย


    ไตรลักษณ์คือลักษณะของความจริง ๓ อย่าง
    คือความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน

    ทุกสรรพสิ่งทั้งรูปและนามล้วนมีลักษณะ
    ๓ อย่างที่กล่าวมาแล้วนี้ทั้งสิ้น

    เราสามารถสังเกตได้จากสภาวะต่างๆ
    เช่น โทสะที่เกิดขึ้นแล้วนั้น ไม่ได้ค้างคา
    อยู่ในจิตไปตลอดทั้งวัน คงโมโหหงุดหงิดอยู่
    เพียงชั่วขณะหนึ่ง แล้วก็จางหายไป ลักษณะที่กำลัง
    จางไปนั้นเรียกว่าไม่เที่ยง แปรปรวน เป็นอนิจจัง
    ลักษณะที่หายไปหรือดับไปนั้นเรียกว่าทุกข์
    สภาวะที่เกิดแล้วดับซ้ำๆ อยู่อย่างนั้นนั่นเองคือทุกข์
    ถ้าสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นแล้วตั้งอยู่ถาวรไม่สูญสลาย
    สิ่งนั้นไม่เป็นทุกข์ เป็นแต่สุขอย่างเดียว
    แต่ในความจริงนั้น ทุกสิ่งล้วนมีทุกขลักษณะ
    อยู่ด้วยกันทั้งสิ้น ไม่มีสิ่งใดเลยที่ตั้งอยู่มั่นคงถาวร

    ความเอร็ดอร่อยในรสชาดของอาหารก็เช่นเดียวกัน
    คงอร่อยอยู่เพียงชั่วครู่แล้วก็จางหายไป จะเห็นว่า
    มีทุกขลักษณะอยู่ในความเอร็ดอร่อยนี้ด้วยเช่นกัน

    เมื่อเข้าใจตามลำดับอย่างนี้แล้วจะเห็นว่า
    สิ่งที่พวกเราต่างเรียกว่าทุกข์ก็ดี มีโทสะเป็นต้น
    สุขก็ดี มีความอร่อยเป็นต้น ล้วนไม่เที่ยง
    เป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน จึงมีคำกล่าวที่ว่า
    "เมื่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา นอกจากทุกข์แล้ว
    ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์แล้วไม่มีอะไรดับ
    ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป"

    ความสุขหรือความทุกข์นั้นเป็นเพียงบัญญัติ
    ที่เราสมมติขึ้นมาเพื่อใช้เรียกขานอาการของ
    ความยินดี-ไม่ยินดี เท่านั้น แท้จริงแล้วสิ่งนั้น
    ไม่มีอยู่ แต่สิ่งที่มีอยู่โดยความเป็นปรมัตถสัจจะ
    หรือความจริงสูงสุด ก็คือทุกข์นั่นเอง อันเป็น
    สภาวะของความเกิด-ดับอยู่เรื่อยไป ที่มีอยู่
    ทั้งในความยินดีและความไม่ยินดีนั้นแหล่ะ

    ทุกข์ในอริยสัจ คือสภาวะที่ทนได้ยาก
    อึดอัดทรมาน ความรู้สึกหนัก หน่วงเหนี่ยว
    คับแคบ ทุรนทุราย ของรูปนามขันธ์ ๕
    ก็คือกายและจิต มากน้อยก็สุดแล้วแต่
    ความหยาบความละเอียดของทุกข์นั้นๆ
    สมุทัยคือสาเหตุแห่งทุกข์ ปัจจัยที่ทำให้เกิดทุกข์
    นิโรธคือวิธีการหรือทางดับทุกข์
    มรรคคือการปฏิบัติให้ถึงความสิ้นทุกข์
    พระพุทธองค์ทรงตรัสสั่งสอนไว้ว่า...
    "ทุกข์เป็นสิ่งที่ต้องกำหนดรู้ สมุทัยต้องละ
    นิโรธต้องทำให้แจ้ง มรรคต้องเจริญให้มาก"

    เราถึงย้ำเตือนกันอยู่เสมอๆ ว่าอย่าข่มความคิด
    อย่าข่มอารมณ์ที่มากระทบ เพราะนั่นคือทุกข์
    ที่พระพุทธองค์ทรงแนะว่าให้กำหนดรู้เท่านั้น
    อะไรที่เป็นสาเหตุให้เกิดทุกข์ ก็นั่นแหล่ะให้ไป
    ข่มไปตัดกันที่ตรงนั้น จิตส่งออกนอกเป็นสมุทัย
    เหตุแห่งทุกข์ ก็ต้องไปละตรงที่จิตส่งออกนั้นเอง
    วิธีการละก็คือการเจริญสติ ประคับประคองสติ
    และจิตไว้ให้อยู่กับฐาน ซึ่งนี่เป็นนิโรธต้องทำให้แจ้ง
    ต้องรู้ต้องเข้าใจว่าวิธีการทำมันเป็นอย่างนี้
    เมื่อรู้แล้วก็ลงมือปฏิบัติ หมั่นประคองสติไว้อยู่เนืองๆ
    ไม่ให้จิตส่งออกนอก นี่จึงเป็นมรรคต้องทำให้มาก

    จะถึงความสิ้นทุกข์ได้ก็ต้องดับที่เหตุ ก็จิตเรา
    นี้แหล่ะ เป็นเหตุใหญ่แห่งทุกข์ทั้งปวง
    เมื่อละจิตสังขารหรือความปรุงแต่งของจิตได้แล้ว
    ก็จะเกิดจิตวิเวก ความเป็นกลางวางเฉย
    ต่อสิ่งปรุงแต่งทั้งปวง ความหนักอึ้งถูกยก
    ออกไป ความเบาสบาย โปร่งโล่งก็เข้ามาแทนที่

    เมื่อกล่าวมาถึงจุดนี้ ท่านคงพอจะเข้าใจแล้วว่า
    ทุกข์ในไตรลักษณ์คือสภาวะเกิด-ดับ และ
    ทุกข์ในอริยสัจคือสภาวะแห่งความอึดอัดทรมาน

    อย่างไรก็ตาม แม้จะแตกต่างกันในความหมาย
    และสภาวะ แต่ธรรมทั้งสองบทนี้ต่างก็มีอยู่
    ในกันและกัน มิได้แยกกันอยู่โดยเป็นเอกเทศ
    เหตุใดจึงกล่าวเช่นนี้ ขอให้ชาวจิตเกาะพระ
    นำไปพิจารณาโดยแยบคายด้วยสติปัญญา
    เพื่อความเข้าใจและความเจริญในธรรมยิ่งๆ
    ขึ้นไป ของตัวท่านเองด้วยเถิด....



    โห...ยาวจัง อุตส่าห์พิมพ์ตั้งนาน :z16
    ใครผ่านเลยไปไม่ยอมอ่าน จำไว้เลย
    (deejai)​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 25 กรกฎาคม 2012
  8. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    ทำไม ช่วงนี้ครูมือตกจัง!
    เอ๊ย! ไม่ใช่
    ทำไม ช่วงนี้ไม่มีใครยกจิตกันบ้างเลย
    พวกเราอย่าคิดว่า จิตนี้จะยกง่ายๆกันนะ
    ส่วนจิตที่เขายกกันง่าย ที่ผ่านมานั้น ก็เพราะว่าจิตสะสมบุญเก่ามาก
    จิตเบื่อทุกข์มาก จิตเบื่อการเกิดมาก จิตเบื่อร่างกายมาก

    แต่ถ้าใครรู้ตัวว่า ตนเองยังวิ่งตามกระแสโลกกันอยู่
    จงโปรดเข้าใจกันใหม่นะว่า อีกยาวไกล กว่าที่จิตจะยก

    ถึงอย่างไรก็ตามที ก็ขอให้ผู้ปฎิบัติได้จิตพระโสดาบันเบื้องต้นก็ยังดี
    ส่วนที่เหลือก็ต้องรอกำลังใจตนเองให้มีมากกว่านี้ก่อน
    เดี๋ยวจิตจะค่อยๆพัฒนาไปเอง

    ใครทำเล่น ได้เล่น แถมเสียเวลาทั้งสองฝ่าย
    แต่ถ้าใครตั้งใจปฎิบัติ อันนี้สำเร็จแน่ อย่าไปดูคนอื่นที่กำลังใจ
    หรือบุญบารมีเขาพร้อมกันนะ เดี๋ยวกำลังใจจะตก
    ผู้ปฎิบัติจะต้องมีระเบียบ วินัยที่ดี คือเวลาปฎิบัติก็อย่าไปสนใจคนอื่น
    ให้สนใจดูจิตตนเองเพียงอย่างเดียว
    ทำไปๆ ทำลูกเดียว สงสัยได้ แต่ขอให้ปฎิบัติก่อน
    ทำไปมีสงสัยแน่ไม่ต้องกลัว แต่อย่าสงสัยก่อนการปฎิบัติ
    ให้ปฎิบัตินำความสงสัย
    ทำไปๆ อย่าอยาก อย่าไปหวังผลในการปฎิบัติมาก
    ให้ปฎิบัติไปด้วยความสบายใจ ไม่จริงจังเกินไป
    การปฎิบัติธรรม จึงไม่เหมือนกับการทำงานทางโลก
    คือ การทำงานทางโลก จะต้องได้ให้มากที่สุด
    แต่ทำงานทางธรรม(ปฎิบัติธรรม) จะต้องละปล่อยวางให้มากที่สุด

    ***ขอฝากจิตที่พร้อมจะยกกันไวๆนี้ ขอให้เพิ่มความเพียร ก็คือ
    ระลึกถึงพระให้มากๆ สติจะได้เยอะๆ
    ครูแนะอะไรให้เชื่อฟัง และทำตามอย่างเคร่งครัด
    แต่ส่วนใหญ่ที่ใกล้จะยกกัน ตรงที่ขาดความเพียร+ความสงสัยมาก
    ทำไมไม่ปฎิบัติให้มากๆ เมื่อพวกเราปฎิบัติมากๆแล้ว
    จิตจะทรงฌานไว เมื่อจิตทรงฌานไว จิตก็จะผ่านวิปัสสนาไว
    จิตก็จะยกไว คนที่ติดสงสัยมากนั้น เป็นเพราะว่าสติน้อยเกินแล้ว
    พอสติน้อยไป เราก็ตามจิตไม่ทัน พอสติตามจิตไม่ทัน
    ก็เลยเกิดความสงสัยเกิดขึ้น เมื่อสงสัยเกิดขึ้นมาก
    การปฎิบัติจึงล่าช้า และเกิดกังขาว่า เอ๊! เราจะมาถูกทางไหม๊หน๋อ ทันที
    อีกไม่นานความเบื่อหน่ายในการปฎิบัติของตนจึงตามมาทันที
    มาลดความอดทน มาบากบั่นในการปฎิบัติทันที
    ในที่สุดก็ไปไม่รอด เพราะเราดื้อเอง จะไปโทษใครได้
    เพราะการปฎิบัตินี้จะต้องอาศัยพึ่งตนเอง 80-90%

    ***สตินะ สติ
    ใครขยันสร้างสติมาก จิตจะยกไว

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 กรกฎาคม 2012
  9. watjojoj

    watjojoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    562
    ค่าพลัง:
    +9,793
    คุณภูกล่าวได้ตรงใจยิ่งนักครับ บางครั้งไอ้คำว่าเรามาถูกทางไหมน้อนี่มันก็แว๊บมาทำให้หลงทางไปหลายวันเหมือนกัน ขอบคุณครับที่เตือนสติ
     
  10. ่jarunee

    ่jarunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +1,917
     
  11. natthapatpun

    natthapatpun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    1,124
    ค่าพลัง:
    +25,214
    [​IMG]

    ก่อนนอนคืนนี้อย่าลืมนึกถึงพระ
    โมทนา สาธุ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  12. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    นั่นดิ! พี่ภูก็ว่าเธอรู้แล้วนะ
    พี่ภูขอโมทนาในผลของการปฎิบัติของเธอด้วย
    พี่ภูดีใจ ที่เธอ(จิต)เธอออกจากวงวนกับกิเลสของตนเองได้
    นั่นเป็นเพราะว่า การปฎิบัติของเธอเองล้วนๆ
    และไม่ใช่เป็นเรื่องที่ง่ายดายนัก ที่คนปกติจะทำได้แบบเธอ
    หมดห่วงไปอีกหนึ่งดวงจิตแล้ว
    และขอให้เธอจงทำหน้าที่แบบครูวิทย์ของเธอต่อไป
    ตราบใดที่เธอยังมีลมหายใจอยู่ เธออย่าหยุดสร้างบารมีของตนเอง
    อย่าลืมทรงอิทธิบาท4 ทรงพรหมวิหาร4
    มีเมตตามากๆกับผู้ที่ยังไม่เห็นธรรม ที่เธอกำลังบำเพ็ญอยู่
    ที่กำลังแนะนำธรรมะให้ผู้คนอยู่นั้น ถูกต้องแล้ว
    และก็อย่าลืมทรงอารมณ์พระนิพพานให้ได้ตลอดเวลา
    โดยการมีสติให้มาก จะได้ไม่พลั้งเผลอ
    สุดท้ายอย่าลืมสร้างdown line เหมือนคุณเกษนะ ฮ่าๆ
    นี่ขนาดจิตของคุณเกษยังไม่ได้ยกนะ นี่ก็เป็นการสร้างบุญทางอ้อมของเธอ
    คุณจารุณี เธอก็ต้องสร้างบารมีของตนเอง โดยช่วยยกจิตคน
    ตามแต่ทางโลกของเธอจะอำนวย ไม่มีใครมาบังคับกัน
    อยากได้บารมีเพิ่ม ก็ต้องสร้างเอง
    ขอใจเธอมากๆนะครับ

    ***ต่อไปละคำชม ละคำสรรเสริญเยินยอให้ได้ มีสติมากเมื่อไหร่ ก็ละได้เมื่อนั้น
    เพราะต่อไปนี้ จิตที่ยกแล้ว หรือจิตบุญนั้น จะมีแต่คำชมเข้ามาหาตนมาก
    ควรหลบให้ดี แต่ถ้าใครไปหลงวิ่งตาม จบเฮ่!
    โดยเฉพาะคนที่ปรารถนาพระนิพพาน นอกจากละอาสวะกิเลสต่างๆได้แล้ว
    ยังต้องละสุขเป็นตัวสุดท้าย ให้เหลือเพียงแต่ คำว่า ความว่าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กรกฎาคม 2012
  13. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    รางวัล
    สำหรับจิตบุญ จิตบำเพ็ญ และจิตเกาะพระทุกๆท่าน
    โดยเฉพาะคุณครูเพ็ญ และคุณครูจิตเกาะพระทุกๆท่าน


    [​IMG]

    ขอให้ทุกท่านเจริญในศีล ในธรรมยิ่งๆขึ้นไป โดยเฉพาะท่านที่ปรารถนาพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ โดยทั่วหน้ากันด้วยเทอญ
     
  14. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    วันนี้วันพระ

    [​IMG]

    ผู้เจริญทั้งหลายพากัน
    ทำบุญ ทำทาน ปล่อยสัตว์ ละเว้นการเบียดเบียน
    สวดมนต์ไหว้พระ ฟังเทศน์ ฟังธรรม
    รักษาศีล ทำภาวนา แผ่เมตตา

    สร้างสติง่ายๆ โดยระลึกถึงพระพุทธเจ้าให้มาก
    เป็นการสะสมบุญภายในแห่งตนได้ตลอดเวลา
    ระลึกถึงพระพุทธเจ้าครั้งใด สติก็มาทันที จิตก็นิ่งทันที ปัญญาเกิดทันที
    และบุญก็ได้ทันที เพราะการสำรวมแห่งจิตเพียงอย่างเดียว
    นี่คือวิธีสร้างบุญใหญ่ คือบุญภายใน หรือที่พวกเรากำลังพากันปฎิบัติจิตเกาะพระกัน
    นี่เป็นวิธีลัดเดินเข้าสู่สายมรรคมีองค์๘ (ศีล สมาธิ ปัญญา)
    นี่เป็นทางเดินเข้าสู่พระนิพพานโดยตรง
    เพียงท่านที่มีความปรารถนาที่แท้จริง
    ขอเชิญเข้ามาหาคำตอบด้วยตนเอง
    ที่นี่ คือ ธรรมปฎิบัติบูชา มิใช่อามิสบูชา
    ที่นี่ คือ ผู้ที่มีกำลังใจพร้อมที่จะไปสู่การปฎิบัติ เดินตรงเข้าสู่มรรคผล
    และมีจุดมุ่งหมายสูงสุดของผู้ปฎิบัติ ก็คือ เพื่อพระนิพพาน
    หรือเพื่อความหลุดพ้น

    การปฎิบัติจิตเกาะพระ นอกจากสามารถจะละกิเลสหยาบ กลางและละเอียดได้
    อาทิ เช่น ***มานะ
    เพราะกิเลสละเอียดตัวนี้ นักภาวนา หรือผู้ปฎิบัติธรรม มักจะละได้ยาก
    มานะนี้ยิ่งกว่าอัตตาเสียอีก ถึงพยายามมองหาก็มองไม่เห็น หรืออาศัยตามกำลังใจตน ก็ไม่สามารถละกิเลสตัวละเอียดกันนี้ได้
    นอกจากจิตผู้นั้นมีกำลังใจมาก(พลังจิตเกิดจากฌานสูง)
    ซึ่งจิตจะต้องผ่านวิปัสสนาญาณก่อน จึงจะรู้ จึงจะสามารถละกันได้
    คือจะต้องใช้ปัญญาพิจารณากันนานๆ แต่จะทำกันได้ไว อันได้แก่
    ปฎิบัติจิตเกาะพระ
    แต่ถ้าไม่เชื่อก็ให้ไปสอบถามผู้ที่ยกจิตแล้ว หรือจิตบุญทั้งหลาย
    สำหรับผลของการปฎิบัติจิตเกาะพระนี้ จะเป็นคำตอบสุดท้ายของผู้ที่มีความลังเล สงสัยมาก


    ***มานะ ในสังโยชน์
    หมายถึง ความถือตัว ถือตน ทนงตน ความถือว่าตนเป็นนั่นเป็นนี่
    หรือการถือตัวว่า ดีกว่าเขาเหนือกว่าเขา ด้อยกว่าเขา เสมอเขา
    จึงย่อมก่อให้เกิดการปรุงแต่งกิเลสต่างๆนาๆ
    จึงไม่ใช่ มานะ ในภาษาไทยที่มีความหมายถึงว่า ความพยายาม ความตั้งใจแต่อย่างใด
    "มานะ ๓ เป็นไฉน คือ ความถือตัวว่าเสมอเขา๑ ความถือตัวว่าเลวกว่าเขา๑ ความถือตัวว่าดีกว่าเขา๑
    มานะ ๓ นี้ควรละ"

    (ตถตา)ดับไปได้ด้วยการมองทุกสรรพสิ่งเป็นดุจความว่าง(สุญญตา)
    การสิ้นไปของมานะเรียกอีกอย่างหนึ่ง ว่า วิราคะ

    เป็นสังโยชน์เบื้องสูง เป็นกิเลสชั้นละเอียด เป็นทั้งอนุสัยกิเลส และเป็นการละสังโยชน์ ข้อที่๘/๑๐

    ได้แก่...
    ถือว่าเราดีกว่าเขา
    ถือว่าเราเสมอเขา
    ถือว่าเราเลวกว่าเขา
     
  15. Linda2009

    Linda2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    956
    ค่าพลัง:
    +9,998
    เอ่อ..รบกวนผู้ที่จิตยกแล้วเมตตาตอบทีค่ะ อิฉันก็ทำๆแล้วก็ทำ พยาย้ามพยามก็ติดๆดับๆ ก็ตามเก็บธรรมมะอ่านไปเรื่อยๆ บางอยางย้อนกลับไปอ่านก็เข้าใจมากขึ้น จริงๆก็มีคำตอบอยู่ในหลายโพสท์ค่ะ แต่ถ้าตอบเป็นข้อๆแบบนี้และอยู่ในที่เดียวกันก็จักแหล่มมากฮ่ะ:eek:
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 กรกฎาคม 2012
  16. ภูภู

    ภูภู เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    3,042
    ค่าพลัง:
    +56,089
    การปฎิบัติจิตเกาะพระ
    พวกเรามอง/จับ/จ้อง/เพ่ง/เกาะ/นึก/ระลึกถึงพระกัน อย่างไร?

    ตรงนี้ผู้เขียนคิดว่า มีอีกหลายคนที่นึกไม่นึก และไม่รู้จะถามว่าอย่างไรดี
    เพราะความไม่ค่อยจะเข้าใจ
    สำหรับผู้ที่ยกจิตไปแล้ว หรือคนที่กำลังปฎิบัติกันอยู่ในเวลาอยู่นี้
    เขาทำกันอย่าไงไม่รู้

    แต่สำหรับผู้เขียนจะปฎิบัติแบบนี้ และขอแนะนำผู้มาใหม่/ปฎิบัติใหม่พร้อมกันไปด้วย คือ
    1.เมื่อเราเลือกภาพพระที่เรารัก ที่เราชอบได้แล้ว
    2.สำหรับผู้มาใหม่/ทำใหม่ๆ ให้มองภาพพระด้วยตาเปล่า มองแบบสบายๆ อย่าไปเพ่งมาก
    แล้วก็หันหน้าไปทางอื่น แล้วลองหลับตาดู และกำหนดจิตดูว่า เป็นอย่างไร
    พอจะจำภาะพระกันได้ไหม๊
    แต่ถ้ายังก็ทำแบบเดิมไปเรื่อยๆ จนกว่าภาพพระนั้นจะเปลี่ยนไป คือเมื่อจิตเป็นสมาธิ
    หรือจิตทรงฌานสูงไปตามลำดับ ภาพพระก็จะเปลี่ยนไปเรื่อยๆ
    ตามความละเอียดจิตของผู้ปฎิบัติ เช่น
    ถ้าจิตทรงฌาน1-2 ภาพพระจะเปลี่ยนไป หรือจิตเขาอาจจะเปลี่ยนภาพพระใหม่ไปเลยก็มี
    แต่ขอให้เราตามใจจิตตนเองนะ เราก็ไปตามหาภาพพระ ที่จิตเขาจับมาได้นั้น
    แล้วให้เรากำหนดจิตดูภาพนั้น ที่จิตเขาเลือก ส่วนจิตจะเลือกดูส่วนไหนของภาพพระก็ต้องตามใจจิตตนเองอีก เราแค่มีสติตามดูเฉยๆ อย่านำสติไปขัดขวางจิตเขา ตามดู ตามรู้จิตเท่านั้น
    อย่างอื่นไม่ต้องทำอะไร
    จิตทรงฌาน3 ภาพพระจะเปลี่ยนสีใสเหมือนแก้ว อันนี้จิตคุณเป็นคนเห็น
    ไม่ใช่ตาเปล่าของคุณแล้ว ตอนนี้ภาพพระจะปรากฎขึ้นเองบ้างแล้ว เป็นระยะๆ
    เรามีแค่สติเท่านั้น
    ใครถึงช่วงนี้ให้เร่งสร้างสติให้มาก โดยให้เราระลึกถึงภาพพระบ่อยๆ
    พอสติมากขึ้นภาพพระก็จะเป็นเป็นสีรุ้ง หรือประกายพรึก
    นี่จิตทรงฌาน4 แล้ว และขอให้เราประคองอารมณ์จิตแบบนี้ไปเรื่อยๆ
    กระทำทั้งหลับตาและก็ลืมตานะ ทำจิตเกาะพระไม่ทำเฉพาะตอนนอน หรือหลับตา
    3.สำหรับลักษณะการมอง หรือระลึกถึงพระนั้น เป็นอย่างไร ข้อนี้สำคัญมากที่สุด
    ขอให้พวกเรามองพระด้วยปัญญา(วิปัสสนา) มิใช่มองแบบเฉยๆ(สมถะ)
    คือในขณะที่เราจ้องมองภาพพระอยู่นั้น ให้ตาเนื้อมองไปที่ภาพพระ แล้วให้จิตของเรา
    ระลึกไปถึงพระพุทธเจ้าจริงๆ และก็ให้ระลึกถึงคุณงามความดีของพระองค์ท่านด้วย
    แต่ถ้าใครจ้องมองพระแถมน้ำตาไหลนองหน้า อันนี้คุณทำถูกต้องมากที่สุด
    เพราะการจ้องมองภาพพระนี้ เราจะต้องให้เกิดปิติให้ได้ พอเลยปิติไปเล็กน้อย
    จิตจะเข้าสมาธิมากไปจนถึงจิตทรงฌาน
    แต่จะต้องระวังสำหรับผู้ที่เกิดปิติมาก คือน้ำตาจะไหลออกมามากเกินไป
    ขอให้เรามีสติมาก หรือให้นึกถึงลมหายใจ เดี๋ยวน้ำตาค่อยๆหายไปเอง
    มองพระต้องมองให้ลึกซึ้งแบบนี้ ไม่ใช่ให้มองก็มองไปแบบเม่อลอย อันนี้ไม่ถูก
    อันนผู้เขียนจะเจาะลึก ลงรายละเอียดให้มากกว่านี้ เผื่อคนหลังไม่ค่อยเข้าใจ
    คือมองดูภาพพระตั้งนานแล้ว ทำไมจิตไม่รวม ไม่เป็นสมาธิ ไม่เข้าถึงฌานสักที
    4.ผู้เขียนขอผ่านเข้ามาข้อสุดท้ายเลย ก็คือ หลังจากจิตทรงฌานสูงขึ้นไปเรื่อยๆ
    ตามที่สติเราเกิดมาก และต่อเนื่อง จิตก็จะยิ่งนิ่งมาก จิตก็จะละเอียดมากไปตามลำดับ
    พอจิตฟักตัว(จิตทรงฌานสูงต่อเนื่อง)ได้สักระยะนึง จิตเขาจะเข้าสู่วิปัสสนาเอง
    อันนี้สำคัญระยะตอนปลาย หรือก่อนที่จิตจะยก แต่ถ้าจิตติดสุขจากฌาน
    แต่ถ้าสติผู้ปฎิบัติมีน้อยเกินไป จิตก็จะติดฌานอยู่นานมาก คือทำไมจิตเราถึงไม่ยกสักที
    อย่ากังวล แก้ง่ายนิดเดียว ก็คือ เร่งสติให้เกิดมากๆ จิตจะได้นิ่งนาน
    พอจิตนิ่งนาน จิตก็จะทรงฌานนานตามไปด้วย
    ในขณะที่จิตทรงฌานสูงขึ้นไปเรื่อยนี้ จิตเขาจะทำวิปัสสนา โดยที่ตนเองก็ยังไม่ทราบ
    อย่าลืมนะว่า เราเคยอยู่กับร่างกาย(กายหยาบ)มานาน เรานึกว่าเรามีเราคนเดียวในร่างกาย
    คุณเคยสงสัยกันบ้างไหม๊ว่า เหมือนเรามีสองคนในร่างเดียวกัน
    บางคนยิ่งมากมากกว่าสองคนในร่างเดียวกัน อันนี้ไม่ต้องไปสงสัย
    ผู้เขียนจะเฉลยให้ฟังว่า
    คนนึงก็คือ ตัวคุณ(สติ) คนที่สองที่ว่านี้ก็คือ จิตของคุณเอง
    ส่วนคนที่สามนั้นก็คือ จิตที่แยกตัวออกมา(จิตเกิด-ดับ) ก็คือ เจตสิก
    หรือตัวจิตไปคิดฟุ้งซ่าน
    แต่สำหรับจิตที่ฝึกมาดี หรือจิตพระอรหันต์ ท่านจะเหลือดวงเดียว คือ
    สติรวมกับจิตเป็นหนึ่งเดียวกัน(จิตพุทธะ หรือจิตเข้าถึงสภาวะแห่งธรรมชาติ)
    และตัวจิตจะไม่เกิด-ดับ เพราะจิตปราศจากอาสวะกิเลส
    และข้อสุดท้ายนี้เอง ที่ผมก็ไม่เคยเฉลยให้กับใครฟังมาก่อนเลย
    นอกจากครูเพ็ญ แต่นานมากแล้ว แต่ไม่ทราบว่าท่านจะจำได้ไหม
    สำหรับผู้ที่ยกจิตใหม่ๆจะงงมาก เหตุที่งงก็คือ จิตตนเองยกแบบไม่รู้ตัว
    และตรงนี้นี่ไง ขนาดคนที่จิตยกไปแล้ว ก็ยังรู้สึกงงๆ
    เพราะจิตยกเหนือขันธ์5ตนเอง ก็ยังไม่รู้ตัว
    เพราะเราคือสติ สติก็คือเรา ต่อมาเมื่อสติรวมกับจิต เราถึงจะเห็นจิตตนเองได้
    ต่อไปเมื่อสติ+จิต= ก็จะรู้สึกตัวมากขึ้น นี่คือตัวเราหรือนี่
    สำหรับจิตที่ยกแล้ว อาการ อารมณ์ของสติ+จิต=ตัวเรา จะเปลี่ยนไป
    คือจะยอมทำใจยอมรับสภาพ ยอมรับทุกข์ เข้าใจทุกข์ ไปจนถึง
    ละ ปล่อย วาง กับคำว่า สิ่งสมมุติมากขึ้น โดยที่ตนเองก็ยังงงๆต่อไป
    อีกสักพักหนึ่งเมื่อเรา หรือร่างกายเราปรับตัวได้ง่ายขึ้น
    จิตยกนี่ เรามานั่งนึกยกจิตเองไม่ได้นะ เหมือนคนที่อยากมีดวงตาเห็นธรรมกันน่ะ
    เขาก็ทำไม่ได้กันนะ เพราะเรื่องที่จะเข้าไปเรียนรู้เรื่องทุกข์นั้น เป็นเรื่องของจิตตนเอง
    เวลาเราปฎิบัติธรรม เราจะต้องเอาสติเข้าไปให้ถึงจิตตนเอง
    ตอนนี้สำหรับผู้ที่จิตยังไม่ยกนั้น คุณก็ลองถามตนเองดูกันสิว่า จิตของคุณนั้น
    อยู่ที่ไหน กำลังทำอะไรอยู่?
    ผู้เขียนท้าเลยว่า ตอบไม่ได้กันสักคนเดียว เพราะอะไร
    ก็เพราะว่าคนที่จะเห็นจิตตนเองได้นั้น จะต้องผ่านการฝึกดูจิตมาอย่างช่ำชอง
    แต่ถ้าฝึกดูจิตแล้ว ฝึกแบบสติน้อยกันนะ ชาตินี้ก็ไม่ได้เห็นจิตของตนเอง
    ทำจนตายก็ไม่เห็นจิต เพราะขาดความเพียร+ความต่อเนื่อง นั่นเอง
    แต่ถ้าคุณไม่สามารถมองเห็นจิตประภัสสรของคุณได้นะ ชาตินี้ก็จะไม่ได้ดวงตาเห็นธรรม

    บางคนถามว่า แล้วดวงจิตเดิมแท้ของตนเองอยู่ที่ไหน อันนี้คนถามหนักเข้าไปอีก
    แค่จิตธรรมดาๆ ก็ยังมองไม่เห็นกัน
    นี่จะมาดู มารู้จิตดวงเดิม หรือจิตประภัสสรกัน ไม่มีทาง

    ฟังให้ดีๆนะ ถ้าพวกเราอยากรู้ว่าจิตตนเองนั้นอยู่ที่ไหน ทำอะไร
    พวกเราจะต้องมีสติมากๆ คือสร้างสติให้มากที่สุดกันก่อน
    เพราะสติเกิดมาก จิตก็เริ่มนิ่ง สติก็จะเริ่มมองเห็นจิต
    ที่แท้ตัวสตินี่เอง คอยไปรับอาสา รับหน้าที่เป็นผู้รายงานเรื่องจิตให้กับเราี่
    เพราะจิตเป็นนาม เราจะเอาตาเปล่าไปมอง ก็มองไม่เห็น
    เพราะฉะนั้น เราจะต้องเอานามไปดูนาม เราจึงจะมองเห็น
    นั่นก็คือ สติตนเอง
    ใครอยากได้บุญใหญ่กัน ก็หัดสร้างสติกันมากเข้าสิ!

    ***ผู้เขียนคิดว่า ได้อ่านบทความอันนี้แล้ว อาจจะหายโง่ หายงงไปหลายคน
    ไม่เข้าใจ ถามมาใหม่ ผู้เขียนจะได้ตอบให้ตรงประเด็น



    ***ผู้เขียนอธิบายไม่เก่ง แต่รักหมดใจ เอ๊ยพูดได้ทุกเรื่อง
    ขอให้ครูเพ็ญมาขยายความหน่อย เพื่อความเข้าใจมากยิ่งขึ้นกันอีกที
    เพราะครูคือ ครูละเอียด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 26 กรกฎาคม 2012
  17. ลูกพลัง

    ลูกพลัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2012
    โพสต์:
    413
    ค่าพลัง:
    +8,932
    โมทนาสาธุกับท่านพี่ภูด้วยครับ.. ที่นำธรรมะดีๆมาเผื่อแผ่พี่ๆน้องๆในกระทู้นี้

    เราขอขยายความหน่อยเรื่องที่ขีดเส้นใต้ด้านบนน่ะ..
    กำลังใจระดับฌาน4หยาบเป็นอย่างน้อย จึงจะวิปัสสนาตัดสังโยชน์ตั้งแต่ข้อ4-10 ให้เด็ดขาดได้ คือไม่กลับมากำเริบอีกต่อไป.. ตัดได้ขาด ละวางลงได้จริงๆ
    อริยบุคคลตั้งแต่ระดับพระอนาคามีขึ้นไป ท่านก็อาศัยกำลังจากฌาน4นี้เป็นบาตรฐานเพื่อนำไปวิปัสสนา(ปลงลงที่ไตรลักษณ์) จัดการกับปัจจัยกระทบต่างๆที่เข้ามา(กิเลสต่างๆ)
    ถ้าผู้ปฎิบัติธรรมใช้กำลังจากฌานต่ำไปวิปัสสนา ก็จะปลงได้ลงเช่นกัน.. แต่ปัญหาคือกิเลสมันยังสามารถที่จะกลับมากำเริบได้ใหม่อีก หรือไม่ก็ถ้าเจอปัจจัยกระทบซัก8-10ริกเตอร์นี่.. เป๋เลยครับ.. เอาไม่อยู่!.. ต้องระวังอย่าประมาท เดี๋ยวจะเข้าใจตนเองผิดไปนะครับ..
    ต้อง"ถอนรากถอนโคน"กับเจ้ากิเลสนี่.. อย่าเลี้ยงเชื้อเอาไว้นะครับ..

    ประเด็นอยู่ที่.. ทำอย่างไร? How?
    ก็เหมือนเดิมครับ.. คือทำจิตเกาะพระให้ได้ดังนี้:-
    1. ทรงฌานให้ได้ทั้งวันทั้งคืน คือทรงฌานให้ได้ตลอดเวลานาที จนกระทั่งจิตเราทรงฌานเป็นออโต้ โดยที่สติเราไม่ต้องไปกำหนดมันแล้ว(เพียงแค่ระหว่างวัน เราแค่เอาสติแอบมาดูจิตเราหน่อยซิว่ามันยังทำการทรงฌานอยู่หรือเปล่า? ไม่ใช่ดันส่งจิตออกไปแส่ส่ายภายนอกเรื่องของชาวบ้านชาวเมือง..) ==> ข้อนี้สำคัญมากที่สุด! เพราะมันคือความต่อเนื่องของกำลังฌานสมาบัติของผู้ปฎิบัติธรรม ผลคือจิตเราจะนิ่งถึงนิ่งมากที่สุดในระหว่างวัน ผลต่อมาคือสติเราจะรู้เท่าทันปัจจัยกระทบต่างๆได้รวดเร็วขึ้น แล้วโน้มปัญญามาพิจารณาไตรลักษณ์เพื่อตัดละวางปัจจัยกระทบได้อย่างเด็ดขาดจริงๆ คำว่าปัจจัยกระทบนี้คือสภาวะของ สุข ทุกข์ เฉย ทั้ง3สิ่งนี้คือปัจจัยที่เราต้องพบเจออยู่ทุกๆวัน ต้องเอาให้อยู่นะครับ..
    2. เมื่อถ้าเราทำข้อที่1ได้ ข้อที่2ก็จะตามมาเองนั่นคือ ภาพพระจะค่อยๆกลายเป็นแก้วใสและต่อไปด้วยภาพพระจะเป็นประกายพฤกษ์เอง ==> นั่นก็คือการทรงฌาน4แล้ว

    หลักคิดแบบง่ายๆนะครับ(ภาษาสมมุติทางโลก)คือ
    สมมุติว่าทุกท่านมีบุญบารมีเท่าเทียมกันและจะต้องปฎิบัติจิตเกาะพระให้ได้ถึงฌาน4 จำเป็นที่จะต้องใช้เวลาจับภาพพระทั้งสิ้น240ชม.ก็จะสำเร็จได้ คราวนี้มาดู
    - ท่านแรกทำๆหยุดๆหรือลืมๆ รวมความว่าได้1ชม.ต่อวัน ก็แปลว่าท่านนี้ต้องใช้เวลาถึง240วัน จึงจะสำเร็จได้
    - ท่านที่สองทำๆหยุดๆเหมือนกัน แต่ระหว่างทำท่านทำได้ยาวนานกว่า รวมความว่าได้5ชม.ต่อวัน ก็แปลว่าท่านนี้ต้องใช้เวลาถึง48วัน จึงจะสำเร็จได้
    - มาท่านนี้ความเพียรสูงมากคือทำตามที่คุณครูบอก ทรงฌานทั้งวันทั้งคืนเลย รวมความว่าได้24ชม.ต่อวัน ก็แปลว่าท่านนี้ใช้เวลาเพียงแค่10วัน จึงจะสำเร็จได้
    Note: ก็ขอให้ผู้ปฎิบัติธรรมทุกๆท่านลองสำรวจตรวจสอบตนเองดูนะครับ.. (ของแบบนี้ตัวใครตัวมัน"ปัจจตัง" ครูฝึกไปกินข้าวแทนท่านแล้วจะให้ท่านอิ่ม มันไม่ได้หรอกครับ..)

    จะเห็นได้ว่าเราตั้งสมมุติฐานว่าบุญบารมีเท่ากันนะครับ เกิดแล้วถ้าบุญบารมีมันไม่เท่ากันล่ะ แล้วเราจะทำอย่างไร?
    ตอบ: ความเพียร..ยังไงละครับ เราจะต้องตั้งอยู่บนความไม่ประมาท "ชีวิตนั้นไม่เที่ยง ความตายเป็นสิ่งที่เที่ยงแท้แน่นอน" ทุกท่านทราบดี.. แต่จะมีใครซักกี่คนที่"ซาบซึ้งและตระหนัก แล้วโน้มนำมาปฎิบัติ" เกิดพลาดท่าเสียที ดันตายไปก่อนนี่.. น่าเสียดายแย่เลยเรา.. เกิดชาติหน้ามาจะพบเจอพุทธศาสนาหรือเปล่าก็ไม่รู้ แถมจะมาเจอจิตเกาพระอีกหรือเปล่าก็ไม่แน่..
    "ของบางอย่างมันก็พอที่จะทำแทนกันได้ แต่บางอย่างมันไม่สามารถจริงๆ ดั่งการที่จะไปสู่พระนิพพานนี่.."
    ไม่ใช่ฟ้าเป็นผู้ลิขิต หากแต่ว่าตัวท่านนั้นเองเป็นผู้ลิขิต

    ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปด้วยเทอญ..สาธุสวัสดี
     
  18. ่jarunee

    ่jarunee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2012
    โพสต์:
    118
    ค่าพลัง:
    +1,917
    [FONT=&quot]เรื่องพรหมวิหาร ๔[/FONT]​
    <center>[​IMG]</center>


    [FONT=&quot] เมื่ออาทิตย์ที่ ๑๖ พ.ค. ๒๕๓๖ สมเด็จองค์ปฐม ทรงพระเมตตาตรัสสอนเรื่องพรหมวิหาร๔ ให้ มีความสำคัญ ดังนี้[/FONT]

    [FONT=&quot] ๑. จงมองหาความพอดีของร่างกายให้พบ และประการสำคัญ มองหาความพอดีของจิตให้พบเช่นกัน โดยอาศัยมัชฌิมาปฏิปทาเป็นทางสายกลาง อันไม่เบียดเบียนทั้งกายและจิตของตนเองเป็นหลัก[/FONT]

    [FONT=&quot] ๒. จงมีพรหมวิหาร ๔ เป็นพื้นฐานของศีล สมาธิ ปัญญาขึ้นในจิตของตน เจริญพรหมวิหาร ๔ อยู่เนือง ๆ เพื่อเป็นกำลังเลี้ยงศีล สมาธิ ปัญญา ให้ทรงตัว ที่เจ้าอึดอัดขัดข้องกายและจิตอยู่นี้ เพราะพรหมวิหาร ๔ อ่อนเกินไป ขอให้ศึกษาทบทวนพรหมวิหาร ๔ ให้เป็นที่เข้าใจยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วย[/FONT]

    [FONT=&quot] ๓. บุคคลใดขาดพรหมวิหาร ๔ ในจิตและกายของตน บุคคลนั้นยากที่จักทำความเพียรให้บรรลุมรรคผลขั้นสูงสุด ได้ยาก[/FONT]

    [FONT=&quot] ๔. ขาดพรหมวิหาร ๔ ในจิตและกายของตน อารมณ์ก็จักมีแต่ความเร่าร้อน หาความสงบระงับมิได้ ให้หมั่นศึกษาพรหมวิหาร ๔ ดู และให้คิดพิจารณาทบทวนถึงเหตุผลของการมีและไม่มีพรหมวิหาร ๔ ด้วย อย่าศึกษาเพียงแค่อ่านและใช้สัญญารู้เพียงแค่ตัวหนังสือหยาบเกินไป ผลไม่เกิด[/FONT]

    [FONT=&quot] ๕. อ่านทบทวนแล้วพิจารณาได้ผลอย่างไร เข้าใจว่าอย่างไรในพรหมวิหาร ๔ นี้ ก็ให้ลงบันทึกไว้ด้วย ซักซ้อมจิตให้มีอารมณ์เกาะพรหมวิหาร ๔ เข้าไว้[/FONT]

    [FONT=&quot] ๖. พรหมวิหาร ๔ มีหลายระดับ จากกำลังอ่อน ๆ เอาเพียงแค่ศึกษาพื้น ๆ ก็พอ ถ้ารู้เพียงแค่นั้น ศีล สมาธิ ปัญญา จะเข้าถึงขั้นอธิจิตสิกขากับอธิปัญญาสิกขาได้ยาก[/FONT]
    [FONT=&quot] ธัมมวิจัย ขออนุญาตเขียนไว้เป็นตัวอย่าง ตามคำสั่งของสมเด็จองค์ปฐมที่ว่า ให้ทบทวน ให้หมั่นศึกษา ให้หมั่นพิจารณาได้ผลอย่างไรให้บันทึกไว้ด้วย จึงขอเขียนเป็นข้อ ๆ ดังนี้[/FONT]

    [FONT=&quot] ๑. พรหมวิหาร ๔ เป็นอารมณ์คิด พิจารณาทั้ง ๔ ข้อ การคิดพิจารณา เป็นต้นเหตุทำให้ปัญญาเกิด ใครไม่ทำตามท่านก็เป็นกรรมของผู้นั้น[/FONT]

    [FONT=&quot] ๒. พรหมวิหาร ๔ เป็นทั้งอาหารและกำลังของ ศีล สมาธิ ปัญญา ผู้ใดอยากรู้รายละเอียดให้อ่านหรือฟังเทปที่หลวงพ่อฤๅษีท่านสอนไว้ มีรายละเอียดอยู่มากมาย[/FONT]

    [FONT=&quot] ๓. เมตตา ความรัก ท่านให้หลักไว้ ๓ ข้อ คือ การกระทำนั้น (กรรม) ต้องไม่เบียดเบียนตนเอง (จิต) เป็นข้อแรก กรรมนั้นต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น (ร่างกาย) และกรรมนั้นต้องไม่เบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่น หากขัดกับข้อใดข้อหนึ่งใน ๓ ข้อนี้แล้ว การกระทำนั้นมิใช่เมตตาในพุทธศาสนา[/FONT]

    [FONT=&quot] ๔. ปัญญาทางพุทธ ท่านให้ใช้ถามและตอบจิตของตนเองด้วยเหตุด้วยผล โดยไม่ขัดต่อศีล สมาธิ ปัญญา อย่าไปถามคนอื่น บางคนยังไม่ทันใช้ความเพียรของตน หรือยังไม่ได้ปฏิบัติก็ถามผู้อื่นเสียก่อนแล้ว สงสัยเสียก่อนทำ ให้เลิกนิสัยนี้เสีย[/FONT]

    [FONT=&quot] ๕. ธรรมทุกอย่างในพุทธศาสนา ต้องได้ด้วยความเพียรที่จิตและกายของตนเท่านั้น จึงจะเป็นของแท้ ของจริง คือ เพียรมากพักน้อยก็ได้เร็ว เพียรน้อยพักมากก็ได้ช้า[/FONT]

    [FONT=&quot] ๖. พรหมวิหาร ๔ มี ๓ ระดับ เช่น ใครไม่มีเมตตา ก็ให้ทานทำทานไม่ได้ ถ้ามีเมตตาขั้นต่ำ สามารถทำทานได้ และทำแล้วยังมีอารมณ์เสียดายในทานอยู่ และยังหวังผลตอบแทนจากการทำทานของตน ยังไม่สนใจการรักษาศีล ถ้ามีเมตตาขั้นกลาง ทำทานแล้วจิตยังนึกอธิษฐานขอนั่นขอนี่อยู่ (หวังผลตอบแทน) ขอมากกิเลสก็ยังมาก ขอน้อยกิเลสก็บางลง พวกนี้ยอมรักษาศีล เริ่มเจริญภาวนาด้วย ถ้ามีเมตตาสูงไม่หวังผลตอบแทนใด ๆ ทั้งสิ้น จิตไม่อธิษฐานขออะไรทั้งหมดใน ๓ โลก คือ มนุษย์โลก เทวโลก และพรหมโลก จิตทำเพื่อพระนิพพานจุดเดียว พวกนี้มี ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นปกติอยู่กับจิต[/FONT]

    [FONT=&quot] ๗. พรหมวิหาร ๔ นี้ละเอียดมาก จึงขอเขียนไว้แค่เป็นตัวอย่าง หากผู้ใดมีพรหมวิหาร ๔ เต็มและทรงตัว ผู้นั้นก็จบกิจในพระพุทธศาสนาเพราะเมื่อหมดอารมณ์เบียดเบียนตนเอง (จิต) ได้ถาวรแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะไปเบียดเบียนผู้อื่นได้ จิตพ้นภัยตนเองแล้ว เพราะภัยที่ร้ายแรงที่สุดของการปฏิบัติธรรมก็คือ ภัยจากอารมณ์จิตของตนเองทำร้ายจิตตนเอง กรรมหมดตรงนี้ เพราะจิตดวงนี้ไม่สร้างกรรมอีก ไม่ต่อกรรมอีก[/FONT]

    [FONT=&quot] ๘. มัชฌิมาปฏิปทาหรือทางสายกลาง ก็คือพรหมวิหาร ๔ นี่เอง(ไม่ขอเขียนรายละเอียด)[/FONT]
    [FONT=&quot] ๙. แค่เมตตาความรักข้อแรกในพรหมวิหาร๔ หากผู้ใดเข้าใจและนำไปปฏิบัติจะเห็น จะรู้อารมณ์จิตของตนเองได้อย่างดีและจะอุทานว่า พรหมวิหาร ๔ นี้จริง ๆ แล้ว มันง่ายนิดเดียว[/FONT]

    [FONT=&quot] ๑๐. คนส่วนใหญ่มักจะเมตตาผิดตัวคือไปเมตตากายมากกว่าจิต และบางคนหลงคิดว่ากายคือตัวเขา เพราะเขาไม่รู้จักจิต มีรายละเอียดอยู่มากไม่ขอเขียน การกระทำของเขาจึงเพิ่มสักกายทิฏฐิแทนที่จะลดสักกายทิฏฐิ เพราะสักกายทิฏฐิ พระท่านแปลว่า ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวเนื่องกับร่างกาย[/FONT]

    [FONT=&quot] ๑๑. พรหมวิหาร ๔ ของชาวโลก กับพรหมวิหาร ๔ ของชาวธรรม จึงแตกต่างกันชนิดตรงกันข้าม[/FONT]

    [FONT=&quot] ๑๒. หากเอาพรหมวิหาร ๔ พิจารณาควบคู่กันไปกับบารมี ๑๐ แล้ว จะทำให้เกิดผลดีทั้งสองฝ่าย เพราะธรรม ๒ หมวดนี้ ต่างก็อาศัยกันและกัน ช่วยเสริมกำลังให้แก่กัน เพราะบารมี ๑๐ ก็มาจากศีล สมาธิ ปัญญา และพรหมวิหาร ๔ ก็เป็นอาหารของศีล สมาธิ ปัญญา หากเข้าใจดีแล้ว การพิจารณาคุณของพรหมวิหาร ๔ จึงมีมากสุดประมาณ ยากที่จะพิจารณาลงให้จบได้อย่างบริบูรณ์ เพราะว่าต้องอาศัย บารมีธรรมหรือบารมี ๑๐ ซึ่งก็มีตั้งแต่หยาบ กลาง และละเอียดเช่นกัน ในข้อนี้เป็นการแนะนำขององค์สมเด็จท่าน [/FONT]
    [FONT=&quot]
    [/FONT]​

    [FONT=&quot]
    [/FONT]​

    [FONT=&quot]**พล.ต.ท.นพ.สมศักดิ์ สืบสงวน ผู้รวบรวม**[/FONT]​
     
  19. supatorn

    supatorn ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    43,537
    กระทู้เรื่องเด่น:
    169
    ค่าพลัง:
    +33,037
    เพิ่งกลับมาจากหน้า121 ค่ะคล้ายๆกับว่ายังขาดอะไรอยู่อย่างหนึ่ง ตอนนี้หายสงสัยแล้วค่ะกลัวท่านอาจารย์ภูจะว่า"อย่ามัวสงสัย ขอให้ทําๆๆๆ" เลยขอกราบGoodnight catt1แด่อาจารย์ทุกๆท่าน และเพื่อน"จิตเกาะพระ"ทุกๆท่าน ขอให้ทุกๆท่านไปนิพพานในชาตินี้ค่ะ ชิตังเม
     
  20. dutchanee

    dutchanee เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    1,127
    ค่าพลัง:
    +12,745
    โลกมันยุ่งก็เป็นของธรรมดา เป็นเรื่องของความไม่เที่ยง
    โลกวุ่นวายก็เป็นธรรมชาติของการขับเคลื่อนของกิเลส
    มานั่งคิดดูนะ การขับเคลื่อนของกิเลสนั้น มันเหมือนกับ
    สไปเดอร์เวป หรือ ใยของแมงมุมนะ เหมือนเวป เหมือน
    อินเตอร์เน็ต มัน ต่อสายเชื่อมกันไปหมด กระดิกฝั่งโน้นนิด
    ฝั่งนี้กระเทือนเลื่อนลั่น โฮ๊ะโฮ๊ะ มันเก่งสุดพรรณา 55555
    พิจารณาลึกเข้าไปอีก แล้ว เหตุไฉน ข้าเจ้าจึงต้องมาเป็น
    แมงเม่า แมงวัน แมงยุง แมงผีเสื้อ แมงนั่นแมงนี่ เข้ามาเกาะ
    ติดกับใยอันเหนียวแน่นนี้ละหนอ เกาะติดไปนานๆ ก็เป็นเหยื่อ
    ของแมงมุม กัดกินจิตใจ เหมือนนายหนุ่มท่านนั้น ที่ไปยิง
    เพื่อนในโรงหนัง โธ่... น่าสงสาร ทั้งคนยิงและคนถูกยิง
    ดูหนังอยู่ดีดี๊... ดั๊น เข้าไปแสดงสด กะเขา จนได้555555
    ว่าไปแล้ว......
    ไหง งานนั้น ไม่เห็นมี สไปเดอร์แมว...ไปช่วยอ่ะ55555
    รู้มั้ยทำไม เพราะสไปเดอร์แมว ท่านมัวเข้าไปกำกับจิต
    ของนายหนุ่ม นศ.ประสาทวิทยา เข้าให้นะสิ 55555
    ผู้กำกับสายกิเลส 55555......
    อารมณ์ฮาเริ่มมาอีกแล้วหลังจาก จบวิปัสสนาใหญ่ไปพักที่แล้ว
    นี่เปล่า ฮา กับเรื่องที่เกิดนะ แต่เป็นเรื่อง ฮา ของ จิตที่ท่านมอง
    เห็นสัจจะธรรม ว่า แค่หนังเรื่องเดียว ก็สะเทือนไปถึง ชีวิตมานุด
    ได้เป็นสิบ ท่านทั้งหลาย เห็นรึยัง ว่าการทำงานของกิเลสนั้น
    ช่างอุกอาจ ความลึกล้ำ ตามแทบไม่ทัน มองเแทบไม่เห็น
    ข้าเจ้า ขอยกนิ้วให้กับท่านเจงเจง กิเลสตัวนี้ก็คือ ตัวหลง
    นะจ๊ะ กิเลสนี่ ท่านมีกันหลายมีกันเยอะแบ่งหน้าที่การงาน
    กันทำไปตามสายงานต่างๆ เหมือนเดินไปตามใยของแมงมุม
    ท่านทำงานกันได้เปอร์เฟกมาก thumb up
    อ๊าว...ไหง มาชมเชยกิเลสกันล่ะนี่ จะกลับใจไปเป็นสาวก
    ของกิเลสเรอ(มีคำถามผุดมาจากจิตผู้อ่าน555555)
    เปล๊า...ตอบดังๆ.... จะให้ ท่านผู้เจริญทางจิตทั้งหลายได้มอง
    ตามให้เห็น ให้พิจารณากันต่อไปไง รู้อย่างงี้ เห็นอย่างนี้
    แล้วยังจะอยู่ให้กิเลสลวงล่อเข้าไปติดกับดักให้แน่น ให้เหนียว
    ให้ลึกเข้าไปอีกเรอ จริงๆแล้ว เราก็อยู่ติดกับกิเลสกันอยู่แล้ว
    เพราะเราอยู่ในโลกสมมติ โลกของกิเลส โลกของการละครสด
    แต่จะเราจะต้องพยายามดิ้น ดิ้นออกมาเพื่อให้หลุดจากใยบ่วง
    ของกิเลส หลุดเมื่อไหร่ ได้ไปพระนิพพานเมื่อนั้น
    พระนิพพานเท่านั้นที่เป็นสถานที่กิเลส เข้าไปไม่ถึง เอื้อมไปไม่ได้
    เพราะพระนิพพาน มีพลังอำนาจอันยิ่งใหญ่มหาศาล เปรียบ
    สถานใดไม่มีอีกแล้ว กิเลส จึงเหลือแค่น้อยนิด อุปมาได้ดั่ง
    โลกใบนี้(กิเลส) กับ มหาจักรวาล(พระนิพพาน) อุปม๊า..อย่า ง๊ง
    อ๊าว ที่พูดมาก็เป็นเรื่องจริงนะ
    กิเลส มักชนะจิตมานุดได้ตลอด หากท่านจะ
    thumb down กิเลสก็ มีวิธีเดียว คือ......
    การฝึกจิตของท่าน
    ฝึกเพื่อดึงจิต ให้หลุดออกมาจาก สไปเดอร์เวป ออกมาจาก
    วงจรการทำงานของกิเลส ออกมาจากพลังมืด พลังดำ เวปของกิเลส
    นี่ มีพลังมากนะ มีเยอะแล้วกันน่า ถึงสามารถดึงจิตเราเข้าไปหามันได้
    เหอะ...ยังไง๊ ยังไง ก็สู้ พลังขาว บ่ดั๊ย เด้อนาย.......
    อ๊าว....แล้วจะออกมายังไงอ่ะ จากกิเลสเวป
    (คำถามที่ถามจากใครก็ไม่รู๊..5555555555)
    ที่พอจะรู้ได้ในตอนนี้ ในกระทู้นี้ คือ
    จิตเกาะพระ จบ ธรรมะสไปเดอร์เวปกิเลส 5555555
    (ปล. ใครไม่เข้าใจ ก็ขออภัยที่เผลออ่านไปแล้วนะ
    ใครที่เก็ตแล้ว ก็ฝึกฝนกันต่อไป
    ใครที่ยกแล้ว อ่านไป แล้วมาช่วยฮาเย้ย เจ้ากิเลสกันหน่อย)
     

แชร์หน้านี้

Loading...