ท่านที่สวดพระคาถามหาจักรพรรดิ์ เป็นวัตร เชิงแบ่งบันความรู้ประสบการณ์ครับ

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย prom20, 3 กรกฎาคม 2012.

  1. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    ขอบคุณครับ ช่วยๆกันอย่างนี้เรื่อยๆนะครับ ผมขอโมทนาในกุศลด้วยนะครับคุณArrowhead
     
  2. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    การปฏิบัติพระกรรมฐานของหลวงปู่ดู่โดยละเอียด

    ขั้นตอนที่ ๑
    ให้ท่านกล่าว นะโม ขึ้นมา ๓ ครั้งดังนี้
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

    ข้าพระพุทธเจ้าขอกราบนมัสการนอบน้อมต่อองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคตที่จะเกิดขึ้น
    ข้าพเจ้าขอระลึกถึงพระปัญญาธิคุณขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ซึ่งบังเกิดขึ้นแล้ว ทำให้จิตของพระพุทธองค์เต็มไปด้วยความบริสุทธิ์แจ่มใส
    เรียกว่า พระบริสุทธิคุณ
    และเมื่อพระองค์มีพระบริสุทธิคุณ และมีพระปัญญาธิคุณแล้ว
    ก็มิได้นิ่งนอนใจ หวังเพียงเพื่อที่จะช่วยให้สัตว์โลกทั้งหลาย
    ที่กำลังระทมไปด้วยความทุกข์ได้พ้นทุกข์
    ซึ่งมีวิธีการที่จะทำให้จิตของตนเองนั้น เกิดความสว่างจากความดี จากคุณธรรม
    เป็นพระคุณในข้อที่ ๓ อันนี้เรียกว่า พระมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่ไม่มีประมาณ
    ข้าพระพุทธเจ้า ขอน้อมรับ ระลึกถึงพระคุณ
    ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า นับตั้งแต่บัดนี้...
    พุทธัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
    ธัมมัง ชีวิตัง เมปูเชมิ
    สังฆัง ชีวิตัง เมปูเชมิ

    ข้าพเจ้าขอเอาชีวิตจิตใจ ร่างกาย ถวายเป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    ในบางครั้งที่เราทำสมาธิ เราอาจจะไม่มีดอกไม้ธูปเทียน
    เราก็ใช้วิธีเอาชีวิต จิตใจ ถวายเป็พุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา
    เพราะว่าพระพุทธองค์ พระธรรม พระสงฆ์
    จะเป็นผู้ชุบชีวิต ทำจิตของเราจากการที่เป็นผู้ที่มีสันดานบาปหยาบช้า
    เป็นปุถุชน ให้เป็นสาธุชนหรือกัลยาณชน ในที่สุดจนเป็นพระอริยบุคคล
    เนื่องจากว่า ในพระพุทธศาสนานั้น ไม่ได้สอนเพียงให้ทำดี และละความชั่ว
    แต่มีขั้นตอนอีกอย่างหนึ่งคือ วิธีการทำจิตให้บริสุทธิ์
    เมื่อจิตที่บริสุทธิ์แจ่มใสแล้ว จะเป็นจิตที่เป็นเหมือนพระอริยะ
    จึงกล่าวได้ว่า ศาสนาพุทธ เป็นศาสนาเอกของโลก
    เนื่องจากพระพุทธองค์ ทรงค้นพบสัจจะธรรม
    ทรงพบทุกข์ - เหตุของทุกข์ - วิธีการดับทุกข์ และผลที่ได้รับจากการดับทุกข์
    หลังจากนั้น ให้ตั้งใจสมาทานศีล
    เนื่องจากว่าในวันหนึ่งๆ นั้น เราอาจจะไปทำผิดศีลข้อหนึ่งข้อใด
    การสมาทานศีลจะป็นการทำจิตให้พร้อม
    เพราะเมื่อสมาทานศีลแล้ว จิตของเราก็จะบริบูรณ์
    โดยให้ระลึกนึกถึงดังนี้

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ทุติยัมปิพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ทุติยัมปิสังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ตะติยัมปิพุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    ตะติยัมปิสังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    ข้าพเจ้าขอถึงซึ่งพระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์
    ว่าเป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ทั้งครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ และครั้งที่ ๓
    การที่เราได้กล่าวไตรสรณคมน์นี้ ก็เป็นการประกาศตนเองเป็นพุทธมามกะ
    เมื่อประกาศตนเป็นพุทธมามกะได้ ก็จะต้องมีศีล
    ศีลของฆราวาส หรือศีลของปุถุชนทั่วไป คือ ศีล ๕
    ศีลแปลว่า ความปกติ จะเป็นปกติได้ก็อยู่ที่กฎเกณฑ์ของสังคม
    พระพุทธเจ้าทรงมองสังคมว่า ถ้าไม่มีการล่วงละเมิดศีลทั้ง ๕ ข้อนี้
    สังคมนั้น ก็จะเป็นสังคมที่สงบ
    เนื่องจากว่า ถ้าคนทุกรูป ทุกนาม ถือศีล รักษาศีล
    ศีลก็จะรักษาตัวเรา และรักษาสังคม
    หลังจากนั้น ให้พึงกำหนดจิต
    กล่าวอาราธนาบารมีพระ

    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะะหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ (๓ ครั้ง)

    พุทธัง อาราธนานัง กะโรมิ
    ธัมมัง อาราธนานัง กะโรมิ
    สังฆัง อาราธนานัง กะโรมิ

    นะโม โพธิสัตโต อาคันติมายะ อิติภะคะวา (๓ ครั้ง)
    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ (๓ ครั้ง)

    ข้าพระพุทธเจ้าทั้งหลาย
    ขออารธนาบารมีขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์
    ทั้งแสนโกฎิจักรวาล พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ ทั้งแสนโกฎิจักรวาล
    พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
    บารมีหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด
    บารมีของหลวงพ่อดู่ วัดสะแก
    ขอได้โปรดได้ควบคุมการปฏิบัติสมาธิของข้าพเจ้า
    ให้มีจิตใจที่สะอาด ให้มีจิตใจที่สว่าง และมีจิตใจที่สงบด้วยเทอญ
    ลำดับต่อไปให้นึกถึง ความผิดที่เราได้เคยกระทำมา
    ด้วยกาย วาจา ใจ หรืการประมาทพลาดพลั้งในพระรัตนตรัย
    คือ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ซึ่งการกระทำของเราจะเป็นไปด้วยเจตนาหรือไม่ก็ตาม
    เราตั้งใจที่จะขอขมาโทษ เพราะว่ากรรมที่ได้ประมาทในพระรัตนตรัยนั้น
    จะทำให้จิตของเราเนิ่นช้าต่อคุณธรรมที่ควรจะได้
    จงดำริขึ้นในใจว่า

    โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    ทำจิตของเรานึกถึงบารมีของ หลวงปู่ทวด หลวงปู่ดู่
    ทำจิตของเรานึกถึงบารมีของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    รวมทั้งบุญที่เราเคยทำมาตั้งแต่อดีตชาติ ปัจจุบัน และในขณะนี้
    แผ่เมตตาไปโดยไม่มีประมาณไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายว่า

    พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโยโหตุ
    การที่เราจะทำสมาธิต่อไปนั้น ให้นั่งเอาเท้าขวาทับเท้าซ้าย
    มือขวาวางไว้บนมือซ้าย มือขวากำพระไว้ในมือ
    กำพระไว้ในอุ้งมือโดยให้หัวแม่มือชนกัน
    ตั้งกายให้ตรง ทำกายให้ตรงไม่ต้องยืดหรือเกร็งตัวจนเกินไป
    นั่งให้สบายๆ เสร็จแล้วนำความรู้สึกนึกคิดทั้งหมดมาวางไว้ที่ตรงหน้าผาก
    เหมือนเราคิดอะไรในใจ ความคิดอะไรวางไว้ตรงนั้น
    ซึ่งหน้าผากนี้ จะเป็นฐานหนึ่งของลมหายใจเช่นกัน
    ไม่ต้องนึกถึงลมหายใจเข้าออก
    เพราะลมหายใจเป็นของที่ละเอียด แต่จิตของเราจะเป็นของที่หยาบ
    ของที่หยาบจะไปจับของที่ละเอียดนั้น เป็นไปได้ยาก
    อันแรกเราก็ำหนดฐานของลมหายใจไว้ตรงที่กลางหน้าผาก
    แล้วบริกรรมในใจว่า

    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    หรือคาถามหาจักรพรรดิก็ได้เช่นกัน

    การบริกรรมนี้ก็ให้บริกรรมไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบไม่ต้องร้อน
    ไม่ต้องเร่ง ทำใจให้สบายๆ
    ทีนี้ บางครั้งก่อนที่เราจะบริกรรมนั้น เราอาจจะสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆ
    เพื่อเป็นการปรับอารมณ์ ให้จิตของเราสบาย
    โปรดจำไว้อย่างหนึ่งว่า ให้ปฏิบัติหรือให้ทำอย่างสบายๆ
    อย่าไปเคร่งเครียด อย่าไปเร่งรัด
    เพราะจะทำให้ไม่ได้อะไรขึ้นมา
    ให้ทำใจเราให้ยึดอยู่แต่คำภาวนา

    หน้าที่ของเราก็คือ การบริกรรมนี้ เขาเรียกว่า การทำงานของจิต
    เนื่องจากว่าจิตของคนเรานั้นจะสนองทันทีในการคิด วุ่นวาย สับสน ปรุงแต่ง
    เมื่อมีการปรุงแต่งแล้ว จิตของเราก็จะหาความสงบไม่ได้
    เมื่อจิตหาความสงบไม่ได้ ก็เป็นจิตที่วุ่นวายสับสน
    เมื่อจิตวุ่นวายสับสน ก็หความสุขไม่ได้
    ดังพุทธภาษิตของพระพุทธเจ้าที่ตรัสไว้ว่า

    นัตถิ สันติปะรัง สุขัง
    สุขยิ่งกว่าความสงบไม่มี
    การที่เราได้มาบำเพ็ญสมาธิ ได้ชื่อว่า เรากำลังทำให้จิตได้ทำงาน
    เพื่อให้เกิดความสงบ
    เพราะจิตที่สงบเท่านั้นจึงจะเป็นการพักจิต ฟอกจิต
    คนเราทุกวันนี้ อาบน้ำชำระร่างกายวันละ ๓ เวลา
    แต่ว่าไม่ได้ฟอกจิตของตัวเองเลย
    เรารับประทานอาหารวันละหลายมื้อ แต่ว่าเราไม่ได้ให้อาหารแก่จิตเลย
    เมื่อจิตซึ่งปราศจากความสงบ ความสมบูรณ์พูนสุขเข้าไปสะสมอยู่ในตัว
    จิตนั้นจะไปเกิดเป็น อาสวะ เป็นกิเลสซึ่งหมักหมม
    พอหมักหมมแล้วก็จะเกิดเป็นพิษต่อเจ้าของ
    เขาเหล่านั้นจะหาหนทาง หรือหาตัวเองไม่พบ
    เนื่องจากว่า ไม่ได้เข้ามาสู่การปฏิบัติในทางพระพุทธศาสนา
    เพราะการปฏิบัติภาวนาเป็นวิถีทางที่พระอริยเจ้าทั้งหลายได้ดำเนินมา
    เราซึ่งได้ชื่อว่า เป็นลูกหลานขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ก็ควรกะทำตาม ประพฤติยึดแนวตามที่เรากล่าวกันว่าเรานับถือ
    บูชาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์นั้น

    การนับถือบูชาคือการยอมรับและนำมาปฏิบัติตาม
    พระพุทธองค์ทรงสำเร็จพระสัมมาสัมโพธิญาณได้ก็ด้วยวิถีแห่งการบำเพ็ญสมาธิ

    เพราะเมื่อจิตสงบแล้ว ก็จะเกิดกำลังของจิตขึ้น
    เมื่อเราวิเคราะห์ไตร่ตรองได้แล้ว
    เราก็มีปัญญารู้ตามว่า สิ่งนั้นผิด สิ่งนั้นถูกโดยจิตใจของเราเอง
    หรือเรียกว่า เป็นคนที่รู้จริง ไม่ได้รู้ตามทฤษฎี
    คนที่รู้ตามทฤษฎีนั้น โอกาสที่จะทำจิตใจของตนเอง
    เพื่อที่จะค้นคว้าเข้าไปหาจิตของตนเองนั้นเป็นไปได้ยาก
    การที่เราบำเพ็ญภาวนาและกล่าวไตรสรณคมน์นั้น
    เมื่อจิตของเรายังไม่สงบนิ่ง
    ก็ให้กำหนดให้จิตเห็นเป็นตัวหนังสือปรากฎขึ้นในห้วงใจของเรา
    ที่จิตของเรา เหมือนกับเรากำลังเขียนหนังสือลงบนกระดานดำ
    หรือเขียนหนังสือฉายลงบนจอภาพ
    พอเราภาวนาว่า พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ก็ให้เขียนเป็นตัวหนังสือไปตามนั้นทั้ง ๓ อย่าง
    พอจิตของเราชำนาญก็จะทำได้ดี
    เนื่องจากว่าเราใช้จิตของเราทำงานถึง ๒ อย่างคือ

    เมื่อจิตมีงานทำทั้ง ๒ อย่าง
    การที่จิตจะส่ายก็จะลดน้อยลง
    จิตก็จะมุ่งมั่นอยู่กับการภาวนาอย่างสม่ำเสมอ
    ภาวนาไปเรื่อยๆ อย่างที่บอก ไม่ต้องรีบ
    ให้ถือ มัชฌิมา ปฏิปทา
    คือว่าในตอนแรกๆ ไม่ต้องนั่งนาน ทั้งนี้ เพราะจิตยังไม่คุ้นเคย
    ก็จะเกิดทุกขเวทนาขึ้นมา คือการปวดเมื่อยตามร่างกาย
    แรกๆ เราก็อย่าไปฝืนนั่ง
    พอจิตของเราเริ่มมีกำลังขึ้น เราก็ค่อยๆ เพิ่มทีละนิดๆ
    เพื่อให้จิตคุ้นอยู่กับคำภาวนา เมื่อจิตสงบแล้วมันจะมีตัวชี้
    ความสงบนั้นแสดงผลอยู่ที่ใจ
    คือ ใจหรือจิตของเราจะไม่ฟุ้งซ่าน
    จะมีความสบายกาย เบาเนื้อ เบาตัว เบาจิต เบาใจ
    เนื่องจาก จิตกับกายกำลังแยกออกจากกัน

    การที่จิตกับกายเริ่มแยกออกจากกันนั้น
    เกิดจากจิตที่เป็นสมาธิในขั้นหยาบ ขั้นกลาง ขั้นละเอียดเป็นลำดับๆ
    ไม่มีวิธีการใดเลย ในทางพระพุทธศาสนา ที่จะยิ่งใหญ่ไปกว่าการบำเพ็ญสมาธิ
    เพราะเมื่อมีสมาธิแล้ว สิ่งที่ติดตามมาก็คือ ปัญญา
    เราจึงมีปัญญาเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ เนื่องจากว่าเราจะเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง
    ในขณะที่เราไม่ได้บำเพ็ญสมาธิ เข้ามาอยู่ในสายตาของเรา
    เข้ามาอยู่ในอารมณ์ของเราอยู่ตลอด
    เมื่อจิตของเราได้รับการทำสมาธิแล้ว จิตมีกำลังแล้ว
    ก็เริ่มที่จะพิจารณาความเป็นจริง
    ความเป็นจริงที่แสดงออก เมื่อแสดงออกมาแล้ว เราจะเข้าใจสิ่งเหล่านั้น
    อันนี้คือ วิถีทางหรือกระบวนการที่ทำให้จิตเกิดวิปัสสนา
    วิปัสสนาคือปัญญา

    ปัญญาเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ก็ย่อมที่จะไปคุมศีล หรือคุมสมาธิ
    คือว่าเราจะรักษาศีล ทำสมาธิโดยไม่ต้องมีใครมาบังคับ
    เพราะปัญญาเราเริ่มจะรู้แจ้งเห็นจริงแล้วว่า
    สิ่งเหล่านั้นเป็นคุณ เหมือนกับเราต้องรับประทานอาหาร หรือเราต้องหายใจ
    พอสิ่งเหล่านี้เป็นคุณ เราก็ถือว่าเป็นสิ่งหนึ่งซึ่งจะประจำตัวของเรา
    การที่เราได้เกิดมาเป็นมนุษย์ ได้มาพบพระพุทธศาสนา
    และได้มาปฏิบัติธรรมนั้น เป็นสิ่งที่ยากเย็นมาก
    เพราะบารมีของผู้ที่จะมาศึกษา มาปฏิบติภาวนานั้น
    เป็นบารมีขั้นสุดท้ายในการที่จะตัดภพ ตัดชาติ
    การที่จะตัดภพตัดชาติได้ บารมีของท่านผู้นั้นจะต้องเข้มข้น
    จึงสามารถจะตัดสินได้เลยว่า บุคคลนั้นมีบารมีเข้มข้นหรือยัง
    ถ้าเราเริ่มที่จะพอใจในการบำเพ็ญสมาธิ ปฏิบัติภาวนานั่นแหละ
    ขอให้รู้ว่า บารมีของเรากำลังบังเกิดขึ้น
    และกำลังจะดำเนินไปสู่ทางที่ดีงามที่สุด

    ให้บริกรรมไปเรื่อยๆ บริกรรมไป ทำจิต ทำใจ ตั้งสติให้คุมคำภาวนาไว้ตลอด
    ไม่ให้จิตส่ายโอนเอียงไปข้างหน้าไปข้างหลัง
    ให้ทำจิตใจของเราให้เหมือนเรากำลังเข้าเฝ้าองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เรากำลังอยู่เบื้องพระพักตร์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    เรากำลังอยู่ในแวดวงพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
    เมื่อเราได้บำเพ็ญมาแล้วด้วยดี
    ทุกครั้งก่อนที่เราจะเริ่มทำสมาธิหรือเริ่มภาวนา
    ให้ตั้งจิตของเราให้มีเมตตา อ้างเอาบุญญาธิการขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระปัจเจกพุทธเจ้า พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
    ขอบุญบารมีของหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืด หลวงปู่ดู่ วัดสะแก
    รวมทั้งบุญบารมีของข้าพเจ้าที่ได้กระทำมาด้วยดี
    ขอแผ่ผลบุญนี้ไปไม่มีประมาณ ณ กาลบัดนี้

    พุทธัง อนันตัง ธัมมัง จักรวาลัง สังฆัง นิพพานะปัจจะโย โหตุ
    สัพเพพุทธา สัพเพธัมมา สัพเพสังฆา
    พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญ จะยังพะลัง
    อะระหันตานัญจะเตเชนะรักขัง พันธามิสัพพะโส

    ขออำนาจบุญบารมีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    จงมาสถิตติดอยู่ในใจของข้าพเจ้าตลอดไป

    พุทธังกำลังกล้า ธัมมังกำลังแกร่ง สังฆังกำลังแรง
    ด้วยฤทธิ์แห่งพระกำลัง ขอเชิญพระปัจเจกมาช่วยเสกกับพระอรหันต์
    ให้เป็นวิมานแก้วล้อมรอบครอบตัวพัวพัน คอยป้องกันภยันตราย

    พุทธัง อธิษฐามิ
    ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระพุทธเจ้า
    ธัมมัง อธิษฐามิ
    ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระธรรม
    สังฆัง อธิษฐามิ
    ขอการอธิษฐานของข้าพเจ้า จงสำเร็จได้ด้วยอานุภาพพระอริยสงฆ์ทั้งหลายด้วยเทอญ

    ก่อนที่เราจะลืมตาขึ้นมานั้น ให้พึงพิจารณาว่าทุกสิ่งทุกอย่าง
    พอเกิดขึ้น แล้วมาตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป
    นี่เป็นของจริงแท้แน่นอน เป็นสัจธรรมที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงเล็งเห็น
    ด้วยพระญาณอันประเสริฐว่า ขึ้นชื่อว่าโลกแล้วจะต้องถึงคราวอันตรธานสูญหายวิบัติไป
    โลกภายนอกเช่น บุคคล สิ่งของทั้งหลาย
    โลกภายใน คือโลกของเราเอง เปรียบเสมือนพวกร่างกาย
    เมื่อถึงวันเวลาซึ่งเรายืมเขามา คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศธาตุ
    มาประชุมรวมกันเป็นร่างกาย โดยมีจิตปฏิสนธิวิญญาณของเราครองอยู่ สิงสถิตรวมอยู่
    จึงถือได้ว่า พ่อแม่เป็นผู้ที่ให้ร่างกายให้เรามาอาศัยอยู่
    ถึงเวลาแล้วเขาก็ต้องเรียกคืนไป โลกก็จะต้องกลับคืนไปสู่โลก
    ไม่มีคนหนึ่งคนใดจะเอาทรัพย์สมบัติอะไรไปได้ แม้แต่เพียงหยิบมือ หรือเพียงธุลีเดียว
    สิ่งที่จะติดตัวไปได้นั้นคือ บุญ บาป ชั่ว ดี เท่านั้น
    หมั่นพิจารณาอยู่เสมอๆ ว่า พอร่างกายนั้นตาย เราไม่สามารถจะนำเอาอะไรไปได้
    การที่เราได้คิดอยู่ทุกวัน คิดถึงความตายอยู่เสมอๆ
    จิตของเราก็จเป็นจิตซึ่งทรงอานุภาพ และเป็นจิตที่ไม่ประมาท
    ในการที่จะสร้างคุณงามความดียิ่งๆ ขึ้นไป
    สมดังที่พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสบอกกับพระอานนท์ว่า
    ตถาคตคิดถึงความตายอยู่ทุกลมหายใจเข้าออก
    พระดำรัสนี้ย่อมแสดงถึงว่า
    ผู้มีสติพร้อมบริบูรณ์ก็จะระลึกความตายเหมือนสายฟ้าแลบ
    เมื่อระลึกดังนี้ได้อยู่อย่างสม่ำเสมอ จิตของเราก็จะเป็นจิตที่เมตตา
    ไม่อาฆาต ไม่พยาบาท บุคคลหนึ่งบุคคลใด

    และก่อนที่จะลืมตา ให้ทำจิตของเราให้แจ่มใส
    แผ่เมตตาและสูดลมหายใจเข้าไปลึกๆ
    อธิษฐานถึงความดีอันนี้ ขอให้ติดตัวตลอดไป

    เรียบเรียงจาก "ร่มเงาพุทธฉัตร"
    ขอกราบขอบพระคุณอาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์
     
  3. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    หลวงปู่ดู่.

    "ผู้ใดที่เคยสร้างบุญสร้างกุศลมากับข้า
    เคยเป็นศิษย์เป็นอาจารย์
    เป็นลูกเป็นหลาน
    สร้างบุญกุศลมากับข้ามา


    แม้ในชาตินี้ไม่ได้พบสังขารธรรม
    ของข้า แต่พอพบ
    เห็นหลักธรรมคำสั่งสอนของข้า
    แล้วเกิดศรัทธา

    คนผู้นั้นแหละเคยสร้างบุญ
    สร้างกุศลมากับข้า
    เคยเป็นศิษย์เป็นอาจารย์
    เป็นลูกเป็นหลานของข้า

    ขอให้ตั้งใจปฏิบัติธรรมะภาวนาไตรสรณคมณ์
    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ


    เวลาเหลืออีกไม่มากแล้ว
    รีบพากันปฏิบัติเพื่อจะได้ไว้เป็นที่พึ่งในภายหน้า
    ข้าจะคอยช่วยศรัทธาข้าจริงนับถือข้าจริง


    แกคิดถึงข้า ข้าก็คิดถึงแก แกไม่คิดถึงข้า
    ข้าก็คิดถึงแก


    ข้าอยู่ใกล้ ๆ แกจำไว้ "
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    หลักการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นแนวหลวงปู่ดู่

    การปฏิบัติภาวนา
    หลักการปฏิบัติธรรมเบื้องต้นแนวหลวงปู่ดู่

    คำภาวนา
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณัง คัจฉามิ

    มี ความหมายว่า "ข้าพเจ้าขอรับเอาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก" ซึ่งจะขอขยายความเทียบตามหลักของ วิสุทธิมรรคคัมภีร์ ที่รจนาโดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ดังนี้

    ๑. ฐานของจิต
    การกำหนด ฐานของจิต ให้กำหนดไว้ที่หน้าผาก หรือระหว่างคิ้วทั้งสอง ตามหลักของวัดประดู่ทรงธรรม และของสมเด็จพระสังฆราชไก่เถื่อน วัดพลับ ถือว่าเป็นฐานที่ ๗ ซึ่งตามหลักท่านวางไว้ถึง ๙ ฐาน โดยฐานต่างๆ เหล่านี้ เป็นเสมือนทางผ่านของลมหายใจที่ไปกระทบ เหมือนกับหลักของอานาปานสติ ฐานทั้ง ๙ ฐานที่กำหนดไว้มีดังนี้

    ฐานที่ ๑ อยู่ต่ำกว่าสะดือ ๑ นิ้ว
    ฐานที่ ๒ อยู่เหนือสะดือ ๑ นิ้ว
    ฐานที่ ๓ อยู่ที่ทรวงอก หรือที่ตั้งของหทัยวัตถุ
    ฐานที่ ๔ อยู่ที่คอหอย หรือตรงกลางลูกกระเดือก
    ฐานที่ ๕ อยู่ที่ท้ายทอย เรียกว่า โคตรภูญาณ (ทางวิทยาศาสตร์ถือเป็นที่ตั้งของสมองส่วน CEREBELLUM)
    ฐานที่ ๖ อยู่ตรงกลางกระหม่อม
    ฐานที่ ๗ อยู่กึ่งกลางหน้าผาก เรียกว่า อุณาโลม หรือทิพยสูญระหว่างคิ้ว
    ฐานที่ ๘ อยู่ระหว่างตาทั้ง ๒ ข้าง
    ฐานที่ ๙ อยู่ปลายจมูก

    หลวง ปู่ท่านบอกว่า การที่ให้ตั้งจิตไว้ตรงตำแหน่งกลางหน้าผากที่เดียวในเบื้องต้นนั้น ก็เพื่อจะได้ไม่ไปพะวงกับลมหายใจ ซึ่งอาจทำให้จิตใจวอกแวกในขณะที่ปฏิบัติ สำหรับผู้เริ่มภาวนาบางราย แต่ฐานสำคัญที่ท่านเน้นก็คือ ฐานที่ ๖ (ตรงกลางกระหม่อม) ท่านว่าฐานจริงๆ อยู่ตรงนี้ แต่จะต้องให้มีความชำนาญในทางสมาธิเสียก่อน จึงค่อยเอาจิตไปตั้งที่ฐานนี้ เพราะจะมีกำลังมาก สำหรับฐานที่หน้าผากนั้น ถ้าท่านเคยดูภาพยนต์อินเดียที่มีพระศิวะ เขาจะเรียกว่าตรีเนตร หรือตาที่ ๓ คือ ถ้าภาวนาให้ถูกจุด จะทำให้จิตสงบได้ง่าย และมีทิพยจักขุญาณเกิดขึ้น วิธีการภาวนาคือ ให้ใจเสมือนกับเราคิดเรื่องใดเรื่องหนึ่ง แต่ในที่นี้ให้นึกถึงจุดเดียวคือ คำภาวนา เหมือนกับเราคิดเลขในใจทำนองนั้น ทำใจเฉยๆ ไม่ต้องคาดคั้น คิดเดา หรืออยากเห็นนั่นเห็นนี่ เพราะเรื่องเหล่านี้ล้วนเป็นนิวรณ์ทั้งสิ้น หน้าที่หรืองานของเราในที่นี้คือภาวนา

    ๒. คำภาวนา
    คำภาวนาที่ให้ ภาวนาคือ ให้เรามีจิตระลึกถึงภาษาพระ หมายถึง พุทธานุสติ ธัมมานุสติ สังฆานุสติกรรมฐาน ทำใจให้มีการเคารพเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ อันจะเป็นกรรมฐาน ที่ทำให้ผู้ที่มีศรัทธาจริต หรือมีความเชื่อ เข้าถึงธรรมะได้โดยง่าย

    ๓. เครื่องชี้ว่าจิตสงบ
    เมื่อปฏิบัติจน จิตเริ่มสงบแล้ว จะเกิดความสว่างขึ้นที่จิต พร้อมกันนั้น จะมีสิ่งที่เป็นตัวชี้บอกว่า จิตของเราเป็นอย่างไรบ้าง อันได้แก่ปิติต่างๆ เช่น อาการขนลุก ตัวเบา น้ำตาไหล ร่างกายโยกโคลง รู้สึกเหมือนกายขยายใหญ่ เป็นต้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้ จะเป็นตัวชี้ถึงจิตว่า เริ่มจะสงบแล้ว ให้ผู้ปฏิบัติวางใจเฉยๆ อย่าไปยินดีหรือยินร้าย บางท่านที่มีนิสัยวาสนาบารมีทางรู้ทางเห็นภายใน ก็อาจจะเกิดองค์พระปรากฎขึ้นจากแสงสว่างเหล่านั้น

    ในเรื่องการเห็น แสงสว่างนี้ บางสำนักท่านว่าอย่าไปสนใจ เอามืดดีกว่า เพราะเดี๋ยวจะหลง แต่ตามความเห็นของผู้เขียน นึกถึงคำบาลีที่ว่า "นัตถิ ปัญญา สมาอาภา" แสงสว่างเทียบด้วยปัญญาไม่มี ดังนั้น ผู้ที่เห็นแสงสว่างปรากฎขึ้น ก็เป็นนิมิตอันหนึ่ง ซึ่งแสดงให้รู้ประจักษ์อยู่ที่ตัวเราต่างหากว่า จะใช้แสงสว่างนี้ไปในทางที่ถูกต้องหรือไม่ เพราะหลวงปู่ท่านบอกว่า การปฏิบัติต้องทำให้รู้ เห็น เป็น และได้ สำหรับในขั้นต้นนี้ "รู้" หมายถึงให้มีสติรู้อยู่กับคำภาวนา เมื่อ "เห็น" ก็ให้รู้ว่า "เห็น" อะไร รู้จักกลั่นกรองด้วยสติปัญญา และเมื่อมีความชำนาญแล้วก็จะเป็น "เป็น" นั้นคือเห็นองค์พระได้ทุกครั้ง และสามารถที่จะทำได้ เมื่อต้องการทำให้เกิดขึ้น นี่แหละ คือหลักแห่ง "อภิญญา"

    หลักในการ นั่งสมาธิ ให้ขาขวาทับขาซ้ายมือขวากำพระวางบนมือซ้าย ให้นิ้วหัวแม่มือทั้งสองจรดกัน วางบนตักพอสบายๆปรับกายให้ตรง ผ่อนคลายกล้ามเนื้อทุกส่วน สูดลมหายใจยาวๆ ลึกๆ สัก ๓ ครั้ง
    ครั้งที่ ๑ ให้ภาวนาว่า พุทธัง สรณัง คัจฉามิ
    ครั้งที่ ๒ภาวนาว่า ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ
    และครั้งที่ ๓ ภาวนาว่า สังฆัง สรณังคัจฉามิ

    จาก นั้น จึงผ่อนลมหายใจให้เป็นไปตามธรรมชาติยังไม่ต้องนึกคิดสิ่งใด ทำใจให้ว่างๆ วางอารมณ์ทั้งที่เป็นอดีตและอนาคตเมื่อลมหายใจเริ่มละเอียด และจิตใจเริ่มโปร่งเบาขึ้นบ้างแล้วจึงค่อนเริ่มบริกรรมภาวนา โดยกำหนดจิตไว้ที่หน้าผาก (เอาสติมาแตะรู้เบาๆ)แล้วตั้งใจภาวนาคาถาไตรสรณคมน์ ดังนี้
    พุทธัง สะระณัง คัจฉามิ
    ธัมมัง สะระณัง คัจฉามิ
    สังฆัง สะระณังคัจฉามิ

    เมื่อบริกรรมภาวนาจบแล้วก็ให้วกกลับมาเริ่มต้นใหม่เช่นนี้เรื่อยไป

    มี สิ่งที่ควรทราบเพิ่มเติมก็คือ ขณะที่บริกรรมภาวนาอยู่นั้นให้มีสติระลึกอยู่กับคำภาวนา โดยไม่ต้องสนใจกับลมหายใจคงปล่อยให้ลมหายใจเข้าออกเป็นไปตามธรรมชาติ ปราศจากการควบคุมบังคับภาวนาด้วยใจที่สบายๆ และให้ยินดีกับองค์พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ที่เกิดขึ้นในจิตเมื่อจิตมีความสงบสว่าง ก็น้อมแผ่เมตตาออกไป โดยว่า
    พุทธัง อนันตัง
    ธัมมัง จักรวาลัง
    สังฆัง นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ

    แล้วตั้งใจภาวนาต่อไป

    เมื่อจิตถอนขึ้นจากความสงบให้ยกเอากายหรือเรื่องหนึ่งเรื่องใดขึ้นพิจารณา โดยน้อมไปสู่พระไตรลักษณ์ คือ

    อนิจจัง (ความไม่เที่ยง)
    ทุกขัง (ความทนได้ยาก)
    และอนัตตา (ความไม่ใช่ตัวตนอันเที่ยงแท้)

    เมื่อ รู้สึกว่าจิตเริ่มซัดส่ายหรือขาดกำลังในการพิจารณา ก็ให้วกกลับมาภาวนาคาถาไตรสรณคมน์อีกเพื่อดึงจิตให้เข้าสู่ความสงบอีกครั้ง ทำสลับเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะเลิก

    ก่อนจะเลิกให้อาราธนาพระเข้าตัวโดยว่า
    สัพเพ พุทธา สัพเพ ธัมมา สัพเพสังฆา
    พะลัปปัตตา ปัจเจกานัญจะยังพะลัง
    อะระหันตานัญ จะเตเชนะ
    รักขัง พันธามิ สัพพะโส

    พุทธัง อธิษฐามิ ธัมมัง อธิษฐามิ สังฆังอธิษฐามิ

    แล้วจึงแผ่เมตตาอีกครั้งโดยว่าเช่นเดียวกับที่กล่าวแล้วในตอนต้น

    อนึ่ง การภาวนานั้นท่านให้ทำได้ทุกอิริยาบท คือ ยืน เดิน นั่ง นอน การปฏิบัติจึงจะก้าวหน้าและชื่อว่าตั้งอยู่ในความไม่ประมาท....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • art_342200.jpg
      art_342200.jpg
      ขนาดไฟล์:
      46.8 KB
      เปิดดู:
      54
  5. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    คณะศิษย์ของหลวงปู่ดู่ กับ ท่านพุทธทาส
    เมื่อเอ่ยถึงท่านพุทธทาส แห่งสวนโมกขพลาราม จ.สุราษฎร์ธานี หลายๆ คนต้องรู้จัก เพราะท่านเป็นพระที่สอนการปฏิบัติธรรมแบบทางตรงไม่อ้อมค้อม จนบางครั้งมีผู้สงสัยว่า ไม่เห็นท่านเอ่ยถึงนรก สวรรค์ ชาตินี้ ชาติหน้า

    ซึ่งบรรดาลูกศิษย์ของท่านหลายๆ คน เลยตัดสินว่าที่ท่านไม่พูดนั้นแสดงว่า ไม่มีจริงเพราะท่านสอนแบบประโยชน์ในปัจจุบันจริงๆโดยเขาอ้างว่าตามพระไตรปิฎก ที่พระพุทธเจ้าสอนพุทธธรรมกำมือเดียวแต่ใบไม้ที่นอกกำมือมีอีกมาก จะปฏิเสธไปเลยทีเดียวไม่ได้ตามการวิเคราะห์ของผู้เขียนผู้ที่เข้ามาสนใจในการปฏิบัติธรรม มีหลายจำพวก แยกได้คือ

    ๑.มาด้วยศรัทธา
    ๒.มาด้วยความทุกข์
    ๓.มาเพื่อสร้างปัญญา

    พวกที่ศรัทธานั้นมีหลายประเภทบางคนมาด้วยสนใจในอิทธิฤทธิ์ พวกพระเครื่อง ฯลฯโดยเริ่มจากวัตถุมงคลเป็นตัวชักนำพวกที่มาด้วยความทุกข์ ไม่รู้จะหันหน้าไปพึ่งใครเลยเข้ามาหาศาสนาพวกที่ศรัทธาแท้ๆ นั้น เสมือนพวกเรียนอุดมศึกษา ระดับมหาวิทยาลัยท่านพุทธทาส ท่านจะสอนเน้นนักศึกษาระดับนี้เป็นการสอนแบบเซน (สูญญตวาทะ)

    บางครั้งการสอนเรื่องจิตว่างของท่านซึ่งใช้คำว่า "จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง"เป็นการทำงานเพื่องานทำบุญโดยไม่หวังอะไรซึ่งระดับจิตต้องพัฒนาไปอีกขั้นหนึ่งเคยมีวิวาทะระหว่างท่านคึกฤทธิ์กับท่านพุทธทาสในเรื่องนี้มีหนังสือตีพิมพ์ออกมาเป็นการพูดกันคนละมุม

    เมื่อมีเหตุการณ์เป็นเช่นนี้ จึงเกิดข้อสงสัยในพวกปฏิบัติธรรมว่าท่านพุทธทาส อาจเป็นพระประเภทสุขวิปัสสโกทำให้ไม่รู้เรื่องสวรรค์ นรกแต่ในความเป็นจริงแล้วถึงแม้ว่าได้แบบปัญญาล้วนๆ ก็ย่อมไม่ปฏิเสธในเรื่องเหล่านี้

    ผู้ที่ปฏิบัติสายอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระและสายมโนมยิทธิของหลวงพ่อฤาษีลิงดำและสายวัดปากน้ำ เกิดความคลางแคลงใจอย่างมากแต่ก็มีพระในสายนี้ออกมารับรองเช่น พระอาจารย์ชา สุภัทโท จ.อุบลราชธานีท่านจะรับรองการเทศน์ของท่านพุทธทาสเป็นอย่างมากหลวงพ่อเกษม เขมโก ซึ่งอยู่จังหวัดลำปางพูดถึงท่านพุทธทาสให้ลูกศิษย์ฟังว่าท่านเป็นพระอนาคามี เป็นต้น
    เมื่อมีคณะศิษย์ของหลวงปู่ดู่ได้เดินทางไปนมัสการท่านพุทธทาสโดยนำสังฆทานพร้อมพระพุทธรูปที่อธิษฐานจิตโดยหลวงปู่เพื่อนำไปถวาย พร้อมคำถามที่จะกราบเรียนถึงเรื่องลึกลับต่างๆ ว่าจะมีจริงหรือเป็นตามคำเล่าลือหรือไม่ว่าท่านไม่เชื่อเรื่องเหล่านี้

    ผู้คนไปนมัสการท่านมาก เป็นปกติของพระผู้ใหญ่คณะที่ไปจัดแจงนำสังฆทานเข้าไปถวายเมื่อเห็นว่าปลอดคน ท่านพุทธทาสรับสังฆทานเสร็จเรียบร้อยท่านถามว่า "พระนำมาจากไหน" เมื่อได้รับคำตอบจากคณะศิษย์ ท่านพูดขึ้นมาว่า "เรื่องนี้ต้องคุยกันนาน ไว้ตอนกลางคืนมาคุยกันใหม่" สรุปว่ายังไม่รู้คำตอบที่แท้จริงเพราะภายในวัดสวนโมกข์ไม่ค่อยมีการสร้างพระพุทธรูปและวัตถุมงคลต่างๆ

    ตกกลางคืนตามที่ท่านนัดหมายเมื่อคณะศิษย์ของหลวงปู่เข้าไปกราบท่านท่านจึงพูดขึ้นว่า

    "เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าจะปฏิเสธเรื่องของพระพุทธเจ้าไม่ได้นรก สวรรค์นั้น ก็เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นจริงชาตินี้ ชาติหน้า แม้แต่ยุคพระศรีอาริย์ก็มีจริงแต่เราเล็งเห็นความหยาบของจิตในมนุษย์เหล่านี้เราเลยไม่สอน สอนแต่บรมธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้น"

    คณะที่ไปกราบรับฟังและพร้อมกับขอขมาโทษในองค์ท่านเพราะทุกคนไม่คิดจะได้ฟังประโยคเหล่านี้ ทำให้หมดสงสัย

    ซึ่งตรงกับที่หลวงปู่ดู่เคยพูดไว้เมื่อมีลูกศิษย์ของท่านกล่าวเชิงวิจารณ์ท่านพุทธทาสโดยท่านเตือนว่า

    "อย่าไปประมาทท่าน ท่านก็มีดีของท่าน เราไม่รู้จริง เดี๋ยวเป็นบาปนะแก"

    "เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า
    จะปฏิเสธเรื่องของพระพุทธเจ้าไม่ได้
    นรก สวรรค์นั้น ก็เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นจริง
    ชาตินี้ ชาติหน้า แม้แต่ยุคพระศรีอาริย์ก็มีจริง
    แต่เราเล็งเห็นความหยาบของจิตในมนุษย์เหล่านี้
    เราเลยไม่สอน สอนแต่บรมธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้น"

    ท่านพุทธทาส ภิกขุ.



    ที่มา : ร่มเงาพุทธฉัตร
    ผู้เขียน : อาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _resize-1.jpg
      _resize-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.5 KB
      เปิดดู:
      54
    • 97497_resize.jpg
      97497_resize.jpg
      ขนาดไฟล์:
      22.5 KB
      เปิดดู:
      48
  6. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    "เราเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้า
    จะปฏิเสธเรื่องของพระพุทธเจ้าไม่ได้
    นรก สวรรค์นั้น ก็เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นจริง
    ชาตินี้ ชาติหน้า แม้แต่ยุคพระศรีอาริย์ก็มีจริง
    แต่เราเล็งเห็นความหยาบของจิตในมนุษย์เหล่านี้
    เราเลยไม่สอน สอนแต่บรมธรรมของพระพุทธเจ้าเท่านั้น"
    ท่านพุทธทาส ภิกขุ.

    หลวงปู่เกษม พระอริยเจ้าที่เป็นสหธรรมิกที่เคารพกันมากกับหลวงปู่ดู่กล่าวกับลูกศิษย์ว่า

    "อยากฟังธรรมะ ให้ไปหาท่านพุทธทาส อยากไหว้พระปฏิบัติดี ให้ไปไหว้หลวงพ่อดู่ วัดสะแก"



    จริงๆแม้จะน้อยหายากแต่คำสอนท่านพุทธทาสเคยอ่านเจอท่านมีกล่าวถึงที่ท่านสัมพัสภูมิเปรตด้วยเรื่องของเรื่องคือท่านไปวัดแห่งหนึงไปกราบพระที่เป็นกัลยาณมิตรพอตกเย็นๆท่านนั่งสบายๆชมวิวทิวทัศน์จิตทำสมาธิท่านก็ได้ยินเสียงโหยหวนท่านจึงพิจารณาตามดูท่านก็เล่าว่าเป็นเสียงเปรตที่เป็นทายกของวัดตอนยังมีชีวิตอยู่แต่ยักยอกเงินวัดไปทำให้ต้องมาเป็นเปรต

    แม้ว่าจะมีบันทึกเรื่องราวแบบนี้ของท่านพุทธทาสอยู่น้อยนิดแต่ก็น่าจะแสดงถึงภูมิจิตและสิ่งที่ท่านรู้ได้ส่วนหนึง

    คนเข้าใจผิดเรื่องท่านพุทธทาสภิกขุกันมานานแล้วเนื่องจากส่วนหนึงเข้าใจไปว่าท่านปฎิเสธเรื่องนรก-สวรรค์และสอนบิดเบือนคำสอนของพระพุทธเจ้าเหตุที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะคนบางคนตีความธรรมะของท่านด้วยความเข้าใจส่วนตัวและตัดเอาแค่บางประโยคจากหนังสือธรรมะท่านที่มีเป็นจำนวนมากมาขยายความทำให้เข้าใจไปว่าท่านบิดเบือน
    ไม่อยากอธิบายยืดยาวนักเอาเป็นว่าน้อยคนนักที่จะรู้ถึงเหตุการ์ณหนึงซึ่งผมเคยได้ยินมาจากศิษย์สายหลวงพ่อฤาษีคนเก่าๆว่ามีครั้งหนึงหลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านให้ศิษย์พานั่งรถไปหาท่านพุทธทาส เข้าใจว่าที่สวนโมกข์ น้อยคนนักที่จะรู้เพราะเป็นการพบกันส่วนตัวพอท่านเจอกันต่างองค์ก็ไหว้ซึ่งกันและกัน และสนทนาธรรมกันอีกกว่า2 ชั่วโมง พอตอนลูกศิษย์พาหลวงปู่ฤาษีขับรถกลับท่านพูดให้ลูกศิษย์ ในรถได้ยินกันชัดแจ๋วว่า "เออ อย่างนี้สิถึงจะคุยถูกคอ"

    ธรรมะท่านพุทธทาสท่านลึกซึ้งและเน้นที่ปัจจุบันมากและอีกประการเหตุที่ท่านสอนลักษณะนั้นเพราะท่านมีวาระที่ต้องการให้ศาสนาพุทธเผยแพร่หลักธรรมเป็นสากลแก่นานาชาติเห็นได้จากที่หนังสือท่านได้รับการแปลเป็นภาษาต่างๆอีกทั้งที่ท่านได้รับการยกย่องจาก unesco

    มีหลายคนที่ปฎิบัติตามแนวคำสอนของท่านและเป็นคนดีในสังคมมีมากมายนั้นเป็นเพราะเขาเหล่านั้นเลือกเอาสิ่งที่ดีโดยไม่เสียเวลากับสิ่งที่ไม่ดีที่พิสูจน์ไม่ได้ ธรรมะของท่านพุทธทาสนั้นเป็นเสมือนมะม่วงที่มีแต่เม็ด ไม่มีเนื้อหวานๆให้ลิ้มรสแต่จะเข้าถึงความขมที่เม็ดเลย

    ของจริงนิ่งเป็นใบ้ อนุโมทนา สาธุด้วยครับ ธรรมะ คือ ธรรมชาติ ประเสริฐโดยแท้ หลายท่านพบกระทู้นี้แล้วเป็นนิมิตรหมายที่ดี ถ้าท่านเคย ปรามาส ท่านพุทธทาสเอาไว้ ขอให้นึกย้อนกลับไป ดูดีๆ ข้อความ ที่เราไม่รู้จริงแล้ว พูดออกไป เวลานี้ หลวงปู่ท่านเมตตา มายืนยันให้แล้ว ว่า ท่านไม่ได้เป็นอย่างที่ บัณฑิตในโลกทั้งหลาย เคยพูดจา จาบจ้วง ล่วงเกิน ท่าน ก็ขอ ขมาท่าน

    โยโทโส โมหะจิตเต .... ขอขมาขอให้ท่าน อโหสิกรรม ให้สิ้นเวรสิ้นกรรมในกระทู้นี้ครับ

    ลงทุนน้อยๆ ได้ อกุศลกรรมมากๆ ก็คือกรรมทางวาจา พูด จาบจ้วง ล่วงเกิน ปรามาส พระรัตนตรัย พระผู้ประพฤติดีทั้งหลาย คนเรานั้นไม่ทำชั่ว 24 ชม. ไม่ได้เป็นซาตานมาเกิด หลวงปู่ท่านสอนเสมอ คนดีเค้าไม่ตีใคร ขอให้เก็บไปคิด และหมั่นปฏิบัติดีกันมาก พบท่านไหนดี ก็อนุโมทนากับท่านครับ ขออนุโมทนา สาธุด้วยครับ
     
  7. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    บทขอขมาพระรัตนตรัย


    โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต
    มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    การกระทำอันหลงผิดอันใด
    ซึ่งกระทำล่วงเกินแล้วในคุณพระพุทธเจ้า
    ข้าพเจ้าขอกล่าวคำขอขมา
    เพื่อการบาปกรรมทั้งหลายทั้งปวงจงสูญสิ้นไป

    โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต
    มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    การกระทำอันหลงผิดอันใด
    ซึ่งกระทำล่วงเกินแล้วในคุณพระธรรมเจ้า
    ข้าพเจ้าขอกล่าวคำขอขมา
    เพื่อการบาปกรรมทั้งหลายทั้งปวงจงสูญสิ้นไป

    โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต
    มะยา ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    การกระทำอันหลงผิดอันใด
    ซึ่งกระทำล่วงเกินแล้วในคุณพระสงฆ์เจ้า
    ข้าพเจ้าขอกล่าวคำขอขมา
    เพื่อการบาปกรรมทั้งหลายทั้งปวงจงสูญสิ้นไป
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 22 กรกฎาคม 2012
  8. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975

    พระศรีอาริย์



    เมื่อผู้เขียนได้รับมอบหมายจากหลวงปู่ให้สร้างลูกแก้วสารพัดนึกโดยใช้ปูนซีเมนต์ขาวผสมผงตอนแรกผู้เขียนจะทำ ๑๐๘ องค์ท่านบอกว่าไม่พอ อีกหน่อยจะหายากลูกละพันยังหาไม่ได้ท่านได้บอกเคล็ดลับของการเสกว่าถ้าจะรู้ว่าใช้ได้หรือยังต้องดูในที่มืดๆ จะมีแสงสว่างนั้นแหละใช้ได้แล้วนอกจากนี้ท่านยังให้เจาะเป็นช่องว่างตรงกลางไว้ ตอนแรกผู้เขียนจะขอท่านไม่ต้องเจาะ ท่านบอกไม่ได้เดี๋ยวจะเหมือนลูกกระสุนซึ่งเด็กสมัยก่อนจะรู้ คือนำดินเหนียวมาปั้นก้อนกลมๆ
    ไว้สำหรับใช้กับหนังสติกเพื่อยิงนกรูที่เจาะให้ว่างนั้นแทนอากาศธาตุเวลานั่งภาวนาเกิดแสงสว่างพวกแกก็ไปตามแสงสว่างนั้นแหละจะไปถึงวิมานแก้ว ที่อยู่ของพระพุทธเจ้าจะเห็นลูกแก้วลอยเต็มวิมานให้ขอท่านแล้วอธิษฐานกลืนไว้ตรงทรวงอก

    มีลูกศิษย์หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เป็นนักปฏิบัติได้มาเจอกับผู้เขียนที่หน้ากุฏิหลวงปู่ขณะนั้นท่านกำลังถวายข้าวพระอยู่ลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งเลยให้เขานั่งดูสักครู่เขาบอกว่าหลวงพ่อกำลังถวายของ พระพุทธเจ้าอยู่บนวิมานแก้ว มีพระมากมาย ผู้เขียนเลยบอกว่าถ้าเห็นพระแล้วทำอย่างไรต่อ เขาบอกไม่รู้ ลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งเลยพูดว่าหลวงปู่บอกไว้ ถ้าเจอพระให้อธิษฐานเรียกพระเข้าตัว เขาก็ทำตาม และบอกว่าหลวงพ่อองค์นี้ไม่น่าจะธรรมดาเพราะตอนที่ท่านประสิทธิพระเครื่องให้เขาเห็นแต่งตัวแบบเทวดา พอลืมตามาเห็นท่านยิ้มๆ

    มาครั้งหลัง เขาบอกว่ามาพบหลวงปู่ท่านเป่าหัวให้สว่างไป ๗ วันคุยกันไปคุยกันมาผู้เขียนเลยให้เขานั่งดูลูกแก้วมหาจักรพรรดิ (แก้วสารพัดนึก)เขานั่งสักครู่แล้วบอกว่าตรงกลางลูกแก้วเห็นเป็นแสงสว่างเลยให้เขาเดินจิตไปไหว้พระพุทธเจ้าจนไปถึงพระพุทธรูปองค์ที่ ๔พอไปถึงองค์ที่ ๕ พออธิษฐานก็เห็นพระหน้าตัก ๒๐ วาตามที่หลวงปู่บอกไว้ ลูกศิษย์หลวงปู่คนหนึ่งให้เขาอธิษฐานเข้าไปในองค์พระเขาเห็น พระศรีอาริย์ นั่งอยู่ตรงกลางหลวงปู่ทวด เหยียบน้ำทะเลจืดอยู่ขวาหลวงปู่ดู่อยู่ซ้ายมือของพระศรีอาริย์ ลูกศิษย์หลวงปู่ดู่บอกว่าขอให้อธิษฐานว่าหลวงปู่ทวดกับหลวงปู่ดู่ เป็นองค์เดียวกันหรือไม่หรือท่านจะเป็น อัครสาวกเบื้องซ้ายขวาของพระศรีอาริย์ในอนาคตอธิษฐานเสร็จเขาบอกว่าเห็นทั้งสามองค์ มารวมเป็นหลวงปู่ดู่ แสดงว่าทั้ง สามองค์เป็น องค์เดียวกัน

    ตั้งแต่นั้นมาเขามีความเคารพหลวงพ่อมาก เพราะจากประสบการณ์ที่ลูกแก้วมหาจักรพรรดิ์แสดงให้เขารู้เห็นด้วยตัวเอง

    มีลูกศิษย์ของท่านเป็นคริสต์ แต่ได้มาปฏิบัติ ขณะที่นั่งปฏิบัติที่กรุงเทพหลวงปู่ทวดมาโปรดในนิมิตเมื่อหลวงปู่ยกมือขึ้นประทานพรเขาเห็นรูปผีเสื้อ ตรงกลางฝ่ามือเขารีบขับรถจากกรุงเทพฯ มาหาหลวงปู่ที่วัดหลังจากกราบหลวงปู่แล้วเขาก็ขอดูเห็นเป็นรูปผีเสื้อจริงหลวงปู่ท่านบอกว่า
    “หลวงปู่ทวด ไม่ใช่ข้าแสดงท่านเป็นครูบาอาจารย์ท่านจะทำอย่างไรก็ได้ เออ...โมทนาสาธุด้วย”

    หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่ามีชาวบ้านแถบวัดสะแกเป็นผู้หญิง ปฏิบัติเก่งอยากเห็นพระศรีอาริย์มากจึงขอหลวงปู่ทวด ช่วยพาไปวิมานพระศรีอาริย์เมื่อไปถึง เขาบอกหลวงพ่อว่าเป็นเหมือนโรงลิเกประดับประดาอย่างสวยงามหลวงปู่ทวดบอกว่า แกรอประเดี๋ยวพระศรีอาริย์ ท่านจะออกมาจากฉากคอยดูให้ดีหลวงปู่ทวดหายไปสักครู่ก็มีพระศรีอาริย์เดินออกมาจากฉากพอพระศรีอาริย์หายไป เป็นหลวงปู่ทวดเดินมาเธอเลยถามหลวงปู่ว่าไหนล่ะพระศรีอาริย์หลวงปู่บอกว่าแกก็ดูเองซิสลับกันไปมาเช่นนี้จนปฏิบัติเสร็จเขาก็มาเล่าให้หลวงปู่ฟังท่านก็พูดกับผู้เขียนว่า

    “คนเราบางทีต้องอาศัยไหวพริบปฏิภาณ”
    แกเลยงงว่าใครคือพระศรีอาริย์
    “แล้วแกล่ะว่าเป็นใคร”

    ท่านพูดแล้วหัวเราะอย่างอารมณ์ดี

    นะโม โพธิสัตโต พรหมปัญโญ


    เรียบเรียงจาก

    กราบอาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์ ผู้เขียน
    ด้วยความเคารพอย่างยิ่ง
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _1.jpg
      _1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31.9 KB
      เปิดดู:
      53
  9. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    "ดวงเหนือดวง!" การอธิษฐานฝากดวงไว้กับหลวงปู่

    ผมคิดว่าสมาชิก หลายๆท่านในเว็บรวมไปถึงลูกหลานหลวงปู่หลวงตาม้าคงจะพอทราบกันดีว่าหลวงปู่ ดู่ พรหมปัญโญนั้นเป็นพระสุปฏิปัณโณที่ท่านเอาใจใส่กับการสอนลูกศิษย์เป็นอย่างมาก มีคนเคยพูดเอาไว้ว่า "พระสงฆ์เป็นผู้มีจิตวิญญาณของความเป็นครูบาอาจารย์สูง ถ้าพระท่านเป็นอาจารย์ของใคร พระท่านจะเคี่ยวกรำจนลูกศิษย์ผู้นั้นได้ดี ท่านจะไม่ปล่อยปละละเลยเด็ดขาด"

    "เขามาจากไกล ๆ เป็นร้อยเป็นพันกิโล ถ้าไม่เจอข้า เขาจะผิดหวัง ผู้ที่มาหาข้านี้ล้วนแต่เคยสร้างบุญสร้างกุศลมากับข้า ข้าก็จะนั่งคอยอยู่นี้แหละ"

    คำพูดนี้แสดงถึงมหาเมตตาบารมีของหลวงปู่ดู่ที่มีต่อมหาชนอย่างมากมายเกินกว่าที่จะกล่าวได้...

    ณ ตอนนั้น ผมได้เดินทางไปที่วัดพุทธพรหมปัญโญเป็นครั้งแรกของชีวิต เห็นหลวงตาม้าท่านนั่งอยู่ในถ้ำใหญ่และกำลังสนทนาธรรมกับศิษย์ผู้สูงอายุ ท่านหนึ่ง ผมนั่งอยู่เกือบจะหลังสุดและไม่สามารถมองเห็นหน้าของศิษย์ผู้สูงอายุท่าน นั้นได้ แต่ก็ยังได้ยินทุกถ้อยทุกคำของบทสนทนาอย่างชัดเจน

    แต่ว่า...นับตั้งแต่เกิดมา การฟังครั้งนี้ถือว่าเป็นการฟังที่มีประโยชน์มากที่สุดครั้งหนึ่งในชีวิตเลย ก็ว่าได้ หลวงตาม้าท่านพูดอย่างชัดถ้อยชัดคำได้ใจความว่า

    "...ให้นึกถึงหลวง ปู่(ดู่) แล้วอธิษฐานบอกท่านว่า ขอยกให้หลวงปู่เป็นพ่อแม่ครูอาจารย์ของข้าพเจ้า ขอให้หลวงปู่ช่วยดูแลทั้งทางโลกและทางธรรม และขอฝากดวงฝากชีวิตนี้ไว้กับหลวงปู่ นับตั้งแต่บัดนี้ ไปจนกว่าข้าพเจ้าจะเข้าสู่พระนิพพาน..."

    ทันทีที่คำพูดนี้เข้าหู ผมอาศัยครูพักลักจำ รีบกำพระนึกถึงหลวงปู่ดู่และอธิษฐานในทันใด! ก็ได้ยินหลวงตาม้าท่านพูดต่อไปได้ใจความว่า...

    "อย่างที่หลวงพ่อฤาษีลิงดำท่านผูกพันกับสมเด็จองค์ปฐมเป็นพิเศษก็เพราะท่านเคยอธิษฐานอย่างนี้กับสมเด็จองค์ปฐมเนี่ยแหละ คราวนี้ถึงแม้สมเด็จองค์ปฐมท่านเข้านิพพานไป ท่านก็ยังตามมาดูแลหลวงพ่อฤาษีลิงดำได้"



    และท่านได้อธิบายเพิ่มได้ใจความว่า...

    "ถ้าทำอย่างนี้ ต่อไปเรื่องซวยๆจะไม่ค่อยมีในชีวิต เพราะเราฝากดวงไว้กับหลวงปู่แล้ว"

    การฝากดวงไว้กับ หลวงปู่นี้ผมเห็นว่ามีประโยชน์เป็นอย่างมากสำหรับลูกหลานหลวงปู่ดู่หลวงตาม้าเป็นอย่างยิ่ง เมื่อเราฝากตัวเป็นลูกหลานท่านอย่างเต็มตัวแล้ว เราก็ควรจะทำตัวให้สมกับที่เป็นลูกศิษย์ลูกหลานของพระมหาโพธิสัตว์บารมีเต็ม ที่จะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งในอนาคตกาลเบื้องหน้า

    ครั้งหนึ่ง หลวงตาม้าท่านเคยพูดกับผมและพวกพี่บอยว่า "กลับลงไปจากถ้ำแล้ว อย่าไปทำให้เสียชื่อนะ อย่าลืมว่าเทวดาเขารู้จักหลวงตาเยอะนะ กลับลงไปแล้วที่สอนไปก็ให้ทำด้วย เจอกันครั้งหน้าเดี๋ยวก็รู้ว่าใครทำหรือไม่ทำ(หัวเราะ)"

    หลวงตาม้าท่านเมตตาย้ำว่า "รักทุกคน ไว้ใจบางคน ไม่เกลียดใครเลยสักคน นี่คือสูตรของหลวงปู่ดู่"
     
  10. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    พิธีการสร้างพระกลางลาน

    มีอยู่คราวหนึ่ง ทางวัดสะแกประสงค์จะสร้างพระโดยการทำพิธีกันที่กลางลานวัด โดยมี หลวงปู่สี พินทสุวัณโณ เป็นประธานในการทำพิธีพุทธาภิเษกพร้อมด้วยคณาจารย์อีกหลายท่าน อาทิ หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ เป็นต้น หลวงปู่สี ท่านเป็นคณาจารย์ซึ่งมีพลังจิตสูง แต่ในการศึกษาเบื้องแรกของท่านจะทำไปในลักษณะของทางพราหมณ์ เนื่องจากการร่ำเรียนของท่าน ท่านคิดว่าพรหม นั้นน่าจะเป็นอมตะสูงสุด

    หลวงพ่อดู่ท่านเล่าว่า "เราก็มาคำนึงว่าของที่ออกไปให้ญาติโยมบูชานี้ต้องให้ดีจริง มิเช่นนั้นจะมีผลเสียกับวัดสะแก"

    คือเจตนาของท่านเพื่อรักษาศักดิ์ศรีของวัดสะแกในฐานะที่หลวงพ่ออาศัยอยู่ที่ วัดสะแกด้วย ดังนั้นท่านจึงคิดวิธีที่จะช่วยเหลือพิธีครั้งนี้ ท่านเล่าว่า "ฉันก็ตั้งจิตอธิษฐานให้สายไฟที่ออกไปจากกุฎินี้เป็นสายสิญจน์ เพราะสมัยก่อนกุฎิของฉันเป็นศูนย์รวมจ่ายไฟออกไปยังที่ต่างๆในวัด"

    เมื่อพิธีพุทธาภิเษกผ่านไปอีกวันหนึ่ง หลวงปู่สีเดินมาที่หน้ากุฎิหลวงพ่อดู่ แล้วท่านพูดขึ้นว่า "ยวง ไปถามหลวงปู่ทวดทีว่า ใครเอาอะไรไปครอบให้พระของข้า" (ยวงมีศักดิ์เป็นหลานของหลวงพ่อดู่)

    หลวงพ่อจึงยกมือขึ้นไหว้หลวงปู่สีแล้วกล่าวขึ้นว่า "หลวงพี่ครับ ผมเองเป็นคนเอาวิมานแก้วพระพุทธเจ้าไปครอบให้"
    หลวงปู่สีไม่พูดอะไรแล้วจึงเดินกลับกุฎิ หลวงพ่อดู่บอกว่า "ผู้ที่เขามีความรู้แล้วเขามาเห็นในสิ่งที่เราอธิษฐานลงไป เขาย่อมที่จะมีไหวพริบที่จะศึกษาต่อไป" แสดงว่านักปราชญ์ย่อมที่จะศึกษาจากผู้ที่มีคุณธรรมสูงกว่า

    และผู้เขียนจึงเรียนถามว่า "หลวงปู่สีได้ศึกษาจากไหนมาศึกษาจากหลวงพ่อหรืออย่างไร" ท่านบอกว่า "ท่านก็ศึกษาจาก(พระ)ที่ท่านอธิษฐานไปให้นั้นเอง"

    ตั้งแต่นั้นมาหลวงปู่สีได้บอกกับคณะศิษย์ของท่านว่า "ให้ปฎิบัติตามอาจารย์ดู่ เพราะท่านดำเนินมาถูกทางแล้ว รู้วิธีการ" หลวงปู่สีนับเป็นเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งที่เป็นลูกศิษย์ของ หลวงพ่อกลั่น

    เมื่อพิธีพุทธาภิเษกเรียบร้อยแล้ว หลวงปู่สี ต้องมาศึกษาพระอีกครั้งหนึ่งว่าการปลุกเสกมีสิ่งใดขาดตกบกพร่องตรงไหนหรือไม่ จะได้พิจารณาแก้ไข เมื่อมาทราบสิ่งที่ท่านเองไม่เคยศึกษามาก่อน จึงเกิดความสงสัยและเพื่อให้แน่ใจยิ่งขึ้น ท่านจึงมาถามที่กุฎิหลวงพ่อโดยตรง แต่มีข้อชวนให้สะกิดใจว่า ทำไมหลวงปู่สี จึงมีความแน่ใจอย่างมากว่าหลวงพ่อเป็นผู้ช่วยทำ คงจะเป็นเพราะบารมีที่ท่านอธิษฐานให้นั้น มีหลวงพ่อดู่อยู่ในวัตถุมงคลด้วยแน่นอน

    หลวงพ่อดู่ท่านเล่าต่ออีกว่า "เมื่อบวชมาก็มีหลวงปู่สีกับฉันเท่านั้นที่ภาวนา องค์อื่นๆไม่ได้ทำเวลาฉันจะภาวนาต้องแอบไปทำในโบสถ์กลัวคนจะเห็น ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคนมาล้อฉันเลยว่ากำลังทำเสน่ห์อยู่หรือไง สมัยก่อนครูบาอาจารย์ก็หายากเย็น เมื่อเรานำผลการปฎิบัติไปเล่าให้อุปัชฌาย์ฟัง ท่านก็พูดอยู่อย่างเดียวว่า บุญ นิมนต์ทำต่อเถิด" ไม่พูดอะไรไปมากกว่านี้เลย

    ผู้เขียนเลยเรียนถามว่า "สงสัยหลวง ปู่กลั่นคงมีอนาคตังสญาณล่วงรู้ล่วงหน้าว่าหลวงพ่อคงจะพบวิธีการปฎิบัติต่อ ไปในภายภาคหน้าด้วยตัวเองกระมังครับ ท่านเลยไม่สอนอะไรมาก" หลวงพ่อยิ้มแล้วไม่ตอบว่ากระไร

    จนกระทั่งวันหนึ่งที่ผู้เขียนไปนมัสการหลวงพ่อ ท่านได้พูดว่า "หลวงปู่สีท่านเป็นชั้นอาจารย์ ข้าจะไปสอนพระสังฆราชได้อย่างไร ก็ต้องให้หลวงปู่ทวดท่านสอน แต่เป็นการสอนทางใน คนที่เขาเก่งเมื่อเขารู้ว่ายังมีการปฎิบัติที่สูงกว่านี้ ท่านก็ศึกษาจากพระที่ท่านทำ ถ้าคนเราลองมีทิฐิว่าข้าแน่ ก็จะไม่เจอของดี"

    ในสมัยที่หลวงปู่สีท่านยังมีชีวิตอยู่ ในแต่ละปีก่อนเข้าพรรษาหลวงปู่ท่านจะไปทำวัตร คือการไปถวายเครื่องสักการะบูชา จวบจนกระทั่งหลวงปู่มรณภาพ ซึ่งการมรณภาพของท่านก็เป็นไปอย่างอาจหาญ โดยท่านบอกว่า เขาเอาเราแน่แล้ว ว่าแล้วท่านก็นั่งสมาธิดับสังขาร แสดงถึงการปฎิบัติของท่านที่ทำมาโดยตลอด ทำให้ท่านไม่หวาดกลัวกับอันตรายใดๆทั้งสิ้น


    จากหนังสือ กายสิทธิ์ 2 โดย อาจารย์ศุภรัตน์ แสงจันทร์
     
  11. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    พระของหลวงปู่ดู่กับครูบาอาจารย์สำนักอื่นๆ"]

    หลายปีก่อนมีผู้นำพระของหลวงปู่ (พระพรหมผง)ไปมอบให้อาจารย์ของเขา อาจารย์ผู้นี้จัดว่าเป็นฆราวาสผู้มีความรู้และคุณธรรมสูงท่านหนึ่งถึงขนาดว่า สมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช ขอเชิญให้ไปร่วมนั่งปรกในโบสถ์วัดบวรในสมัยก่อนโน้นซึ่งดูเหมือนจะเป็นฆราวาสเพียงท่านเดียวที่ได้รับเกียรตินี้

    อาจารย์ผู้นี้เมื่อได้รับพระพรหมของหลวงปู่แล้วก็พิจารณา (ภายใน) แล้วกล่าวกับบรรดาศิษย์ว่า

    "นึกไม่ถึงว่าในเมืองไทยยังจะมีผู้อธิษฐานจิตพระได้สูงเช่นนี้กระแสรัศมีสีขาวในองค์พระนี้ ถือว่าสูงสุดแล้ว ไม่มีเกินกว่านี้อีกแล้วที่ผ่านมาอย่างมากก็เห็นแต่กระแสรัศมีสีเหลืองทอง"
    จากนั้นอาจารย์ท่านนี้ก็ได้ให้ลูกชายของท่านเปลี่ยนมาห้อยพระพรหมของหลวงปู่แทน แต่ผลที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งก็คือทำให้ลูกศิษย์กรรมฐานของท่านส่วนหนึ่งพากันศึกษารายละเอียดว่าหลวงปู่ดู่คือใครอยู่ที่ไหน ท่านสอนอย่างไรและหนึ่งในนั้นก็เป็นผู้ถ่ายทอดให้ข้าพเจ้าได้รับทราบข้อมูลนี้

    บัดนี้ตัวอาจารย์ท่านนั้นก็ได้ละสังขารไปแล้วนับเป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่งเมื่อทราบว่าในบรรดาลูกศิษย์นับร้อยของท่านมีเพียงส่วนน้อยนิดที่ฝึกอบรมสวดมนต์ทำภาวนากับท่านส่วนใหญ่ก็เพียงติดตามเอาวัตถุมงคลบ้าง ขอให้ท่านสงเคราะห์เรื่องโลก ๆ บ้างให้ท่านแก้คุณไสย์ให้บ้าง ทั้ง ๆที่ท่านพยายามจะให้ลูกศิษย์มาปฏิบัติเพื่อให้ได้สิ่งที่จะเป็นที่พึ่งที่เที่ยงแท้แก่ตัวศิษย์เองแต่ผู้มีศรัทธาถึงขั้นมาปฏิบัติภาวนานั้นมีน้อยเกิน

    เรื่องการตรวจสอบคุณพระที่อยู่ในองค์พระเครื่องพระบูชาอาจารย์ท่านนี้ก็ได้ถ่ายทอดให้ศิษย์กรรมฐานของท่านซึ่งนอกเหนือจากการพิจารณาอาการปีติที่ขึ้นมาถึงศีรษะแล้ว ก็ยังต้องอาศัยตัวเห็นคือ อาการแสงสีของรัศมีที่ปรากฏอีกด้วย

    ดังนั้น จึงสมจริงกับคำว่า "ของจริงย่อมทนต่อการพิสูจน์" และคุณธรรมของหลวงปู่ย่อมไม่อาจปกปิดได้ในผู้มีคุณธรรมเช่นกัน
     
  12. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    พระใจเพชรกับคนตาเพชร!

    ครั้งหนึ่ง มีผู้ไปเล่าเรื่อง "แมวตาเพชร" ให้หลวงปู่ดู่ ฟัง ซึ่งหลวงปู่ท่านก็มิได้อัศจรรย์อะไรนัก พลางกล่าวเสริมอีกด้วยว่า

    "...มีคนมาหาเพชรตาแมว ข้าบอกว่าถ้าอยากหาคนตาเพชร ก็หลวงพ่อเกษมนั่นไง!!..."

    และเมื่อคำพูดนี้ได้ยินไปถึงหลวงปู่เกษม ท่านครูบาเจ้าผู้เป็นตนบุญแห่งลำปาง ก็กล่าวสวนออกมาเลยทีเดียวว่า

    "...หลวงพ่อดู่ นั้นแหละที่เป็นพระใจเพชร..."

    ก็การที่หลวงปู่เกษม ท่านยกย่องหลวงปู่ดู่ ว่าเป็น "พระใจเพชร" นั่นย่อมนับเป็นการชอบด้วยเหตุและผลยิ่งแล้ว เพราะหลวงปู่ดู่นั้นท่านเป็น "พระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพุทธภูมิ"

    ซึ่งถ้าบุคคลนั้น จิตใจไม่แข็งแกร่งเป็นเพชรจริงๆแล้ว ก็มิอาจจะบรรลุดังความปรารถนาได้เป็นอันเด็ดขาด ซึ่งการดังนี้ พระคุณเจ้าหลวงปู่บุดดา พระอริยเจ้ารูปสำคัญยิ่งแห่งยุคได้เคยกล่าวพยากรณ์รับรองหลวงปู่ดู่ไว้ครั้ง หนึ่งว่า "ที่คุณปรารถนานั้นนะ...สำเร็จแน่...ต่อไปคุณจะได้เป็นพระพุทธเจ้า!!!!..." ซึ่งด้วยเหตุอันนี้ ความเป็นพระใจเพชรของหลวงปู่ดู่ จึงหาได้เกินเลยต่อความเป็นจริงแต่ประการใดอย่างแท้จริงเลย...

    ก็หากว่าองค์หนึ่งซึ่งเป็นพระ โพธิสัตว์เจ้า ซึ่งเป็นพระใจเพชร อีกองค์หนึ่งซึ่งเป็นพระอรหันต์เจ้าซึ่งเป็นพระตาเพชร มาจับมือผนึกพลังอธิษฐานฤทธิ์ในมงคลวัตถุใดๆแล้ว อนุภาพอย่างพิเศษที่เปี่ยมล้นไปด้วยความผูกพันทางใจระหว่างสหายธรรมรู้ใจด้วย กันอย่างนี้ จักทรงกฤษดาภินิหารอันแกร่งกล้าน่าประทับใจสักเพียงใดกันละหนอ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • _resize-1.jpg
      _resize-1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      36.5 KB
      เปิดดู:
      44
    • _1.jpg
      _1.jpg
      ขนาดไฟล์:
      31.9 KB
      เปิดดู:
      49
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2012
  13. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    คติธรรมสั้นๆของหลวงปู่เกษม เขมโก สุสานไตรลักษณ์ ลำปาง
    อาจเป็นที่สนใจของท่านผู้อ่านบ้าง มีดังนี้


    (((((ถ้าต้องพูดกับคนทุกคนแล้ว ..คงไม่มีเวลาปฏิบัติธรรมแน่.)))))."

    (ผมขออธิบายแทรกตรงนี้ว่า ตลอดชีวิตหลวงปู่เกษม ส่วนใหญ่ เห็นแต่ภาพในอิริยาบทหลับตาเจริญภาวนาตั้งแต่วัยหนุ่ม จนชรา น้อยนักที่จะเห็นภาพหลวงปู่ อยู่ในอิริยาบทสบายๆ หรือ เทศน์ให้คนฟังเป็นเรื่องยาวๆ)

    "..ไม่กินก็อยาก ไม่ปากก็ใจ สารพัดยัดเข้าไป ..ถ้าเจ็บท้องไม่ร้องหาใคร นอนอยู่ในป่าช้าผู้เดียว.." "

    (ผมขออธิบายแทรกตรงนี้ว่า

    วรรคแรก อาจกล่าวอีกอย่างว่า เมื่อยังมีตัณหา (ความทะเยอทะยานอยาก) ย่อมดิ้นรนไขว่คว้าหาสิ่งของมากมาย มาสนองตอบตัณหาทั้งทางกายทางใจของตนเอง

    วรรคที่สอง อาจกล่าวอีกอย่างว่า เมื่อยังมีตัณหาอยู่ ย่อมไม่มีทางพ้นทุกข์ทางกายทางใจไปได้)



    " การเห็นเป็นเหตุแห่งการคิด การคิดเป็นเหตุแห่งการเห็น...ถ้าคิดดีก็เป็นทางเย็น ถ้าคิดไม่เป็นก็เย็นสบาย .."


    (ผมขออธิบายแทรกตรงนี้ ว่า

    สองวรรคแรก เป็นการอธิบายว่า ถ้ามีผัสสะ 6 ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ มากๆ จะทำให้จิตไม่สงบ

    วรรคที่สาม เป็นการอธิบายว่า แม้จิตยังไม่สงบ ถ้าคิดเรื่องกุศุล ก็ยังนับว่าดี

    วรรคที่สี่ ถ้าสามารถเจริญภาวนาจนถึงขั้นดับความคิด (สัญญาเวทยิตนิโรธ)ได้ ก็เย็นสบาย เพราะคิดไม่เป็น ซึ่งเป็นระดับพระอนาคามี และพระอรหันต์ ที่ชำนาญการทำสมาธิเลยขั้นอรูปฌานเท่านั้น จึงจะทำได้)

    " ตายเป็นเหม็นเน่า เราเขาเหมือนกัน...อยู่ไปทุกวัน ใครได้ก็ดี ใครมีก็ได้ !"

    (ผมขออธิบายแทรกตรงนี้ ว่า

    สามวรรคแรก กล่าวถึง มนุษย์ที่มีสภาวะเกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นธรรมดาเหมือนกัน

    สองวรรคสุดท้าย ใคร(มนุษย์ธรรมดานี่แหละ บำเพ็ญจน)ได้ (บรรลุธรรมขั้นพระอรหันต์)ก็ดี ใครมี(คุณธรรมขั้นอรหันต์)ก็ได้ ถ้าบำเพ็ญได้สำเร็จ


    " พระนิพพาน..ความรู้พิเศษ.. พระนิพพานเปรียบเหมือนคุณของอากาศ..อธิบายว่า..อากาศมีคุณ 10 ประการ


    1. ไม่รู้จักเกิด
    2. ไม่รู้จักแก่
    3. ไม่รู้จักตาย
    4. ไม่กลับเกิดอีก
    5. ไม่จุติ
    6. ใครจะข่มเหงลอบลักเอาไปไม่ได้
    7. เป็นของดำรงสภาพไว้ได้โดยไม่ต้องอาศัยอะไร
    8. สำหรับฝูงนกบินไปมา
    9. ไม่มีอะไรมากางกั้น..แล
    10. ที่สุดไม่ปรากฏ
    Be Happy!

    (ขออธิบายแทรกตรงนี้ ตามความเข้าใจของผม ว่า

    -ข้อ 8 9 10 น่าจะหมายถึง ความว่าง)
    (ผมขออนุญาต เอาของเขามาครับ)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2012
  14. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975

    คำสอนหลวงปู่ดู่...


    คนเราเกิดมาไม่เห็นมีอะไรดี มีดีอยู่อย่างเดียว คือ สวดมนต์ไหว้พระปฏิบัติภาวนาคือ มองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นของชั่วคราว มีแต่ปัญหามีแต่ทุกข์ แล้วก็เสื่อม พังสลายไปในที่สุด
    ดูก่อนท่านผู้เห็นภัยในวัฏฏสงสาร(การเวียนว่ายตายเกิด) ทั้งหลาย ถ้าท่านต้องการพ้นภัยจากการเกิดแก่เจ็บตาย ท่านควรมีคุณธรรม 6 ประการนี้ไว้เป็นประจำจิตประจำใจ ทุกท่านย่อมจะได้บรรลุมรรคผลนิพพาน ถึงความสุขใจอย่างยอดเยี่ยม
    คุณ 6 ประการนั้นคือ
    1. ข่มจิตในเวลาที่ควรข่ม
    2. ประคับประคองจิตในยามที่ควรประคับประคอง
    3. ทำจิตให้ร่าเริงในยามที่ควรร่าเริง
    4. ทำจิตวางเฉยในยามที่ควรวางเฉย
    5. มีจิตน้อมไปในอริยมรรค อริยผลอันประณีตสูงสุด
    6. มีจิตตั้งมั่นในพระนิพพานเป็นจุดหมายปลายทางของชีวิตผู้ปฏิบัติที่มีความสามารถฉลาด
    ย่อมจะต้องศึกษาจิตใจและอารมณ์ของตนให้เข้าใจ และรู้จักวิธีกำหนดปล่อยวางหรือควบคุมจิตใจและอารมณ์ให้ได้ เปรียบเสมือนเวลาที่เราขับรถยนต์ จะต้องศึกษาให้เข้าถึงวิธีการขับขี่ที่ปลอดภัย บางครั้งควรเร่ง บางคราวควรผ่อน บางทีก็ต้องหยุดเร่งในเวลาที่ควรเร่ง ผ่อนในเวลาที่ควรผ่อน หยุดในเวลาที่ควรหยุด ก็จะสามารถถึงที่หมายได้อย่างปลอดภัย
    ข้อสำคัญที่สุดของการปฏิบัติคือ ต้องไม่ประมาท ต้องปฏิบัติให้เต็มที่ตั้งแต่วันนี้ ใครจะรู้ว่าความตายจะมาถึงเราเมื่อไร ถ้าเราปฏิบัติไม่เป็นเสียแต่วันนี้ เวลาใกล้จะตายมันก็ไม่เป็นเหมือนกัน เหมือนคนที่เพิ่งคิดหัดว่ายน้ำ เวลาใกล้จะจมน้ำตาย นั่นแหละก็จมตายไปเปล่า ๆ ถ้าใน 1 วันนี้ไม่ปฏิบัติภาวนาวันนั้นขาดทุนเสียหายหลายล้านบาท
    จงมองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้ไม่ว่า คนสัตว์สิ่งของ เงิน ทอง ลาภ ยศ นินทา สรรเสริญ เป็นของโกหกของสมมุติ ภาพมายาทั้งนั้น ทุกอย่างไม่ใช่ของจริงเป็นของหลอกลวงที่คนไม่ฉลาดต่างพากันหลงใหลกับสิ่งของ สมมุติของโกหก ไม่ว่าอารมณ์ดี อารมณ์ร้าย ก็ไม่ใช่ของเราจริงผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ทุกข์ทั้งหลายเกิดจากเหตุ(คือ ความไม่รู้ ความอยากได้) ถ้าต้องการดับทุกข์ ต้องดับเหตุก่อน คือ ให้รู้ว่าทั้ง 3 โลก เป็นอนิจจัง เปลี่ยนแปลงเป็นโทษเป็นทุกข์เป็นปัญหา และสูญสลายตายกันในที่สุด ถ้าเรามีญาณก็จะรู้ ทุกสิ่งทุกอย่างที่เกิดในชีวิตเราไม่มีการบังเอิญเลย
    ผู้ปฏิบัติธรรมย่อมพิจารณาร่างกายคนสัตว์ในโลกว่าน่าเกลียดน่ากลัว เป็นทุกข์เป็นโทษเป็นภาระต้องดูแลอย่างหนัก เน่าเหม็นแตกสลายตายไปกันหมด ผู้ที่มีศรัทธาแท้คือผู้ที่เชื่อและยอมรับ พระพุทะ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่พึ่งแทนที่จะเอาความโลภ ความโกรธ ความหลงมาเป็นที่พึ่ง ผู้ปฏิบัติตามพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน คือ ให้ขยันภาวนา แล้วความโลภ ความโกรธ ความหลงจะน้อยลงและหมดไป
    ผู้ปฏิบัติต้องหมั่นตามดูจิต รักษาจิต ผู้ฝึกจิตถ้าทำจิตให้มีอารมณ์หลายอย่างจะสงบไม่ได้ และ ไม่สภาพของจิตตามเป็นจริง ถ้าทำจิตให้ดิ่งแน่วแน่อยู่ในอารมณ์อันเดียว โดยเห็นว่าทุกสิ่งทุกอย่างแตกสลายตายหมดสิ้นแล้ว จิตก็มีกำลังเปล่งรัศมีแห่งความสว่างออกมาเต็มที่ มองสภาพของจิตตามเป็นจริง ได้ว่าอะไรเป็นจิต อะไรเป็นกิเลส อะไรควรรักษา อะไรควรละทิ้งออกจากจิต ไม่ควรใส่ใจสนใจเรื่องของผู้อื่น ควรตั้งใจตรวจสำรวจดูจิตของเราเองว่ายังมีความโลภ ความโกรธ ความหลง คิดว่าร่างกายนี้ยังเป็นของจิตหรือไม่ ตามความเป็นจริงแล้ว จิตกับกายไม่ใช่อันเดียวกัน เพียงแต่มาอาศัยกันชั่วคราวเท่านั้น
    อารมณ์วางเฉยมี 3 อย่าง
    1. วางเฉยแบบหยาบ คือ อารมณ์ปุถุชนที่เฉย ๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว ซึ่งมีเป็นครั้งคราวเท่านั้น
    2. วางเฉยแบบกลาง มีในผู้ปฏิบัติสมาธิภาวนา มีความรู้ตัว มีความสงบของจิต วางอารมณ์จากความดี ความชั่ว สุข ๆ ทุกข์ ๆ ใด ๆ ในโลกีย์วิสัย เฉยบ่อยมากขึ้น
    3. วางเฉยแบบละเอียด คือ อารมณ์ของพระอริยเจ้า พระอรหันต์ ซึ่งไม่มีอารมณ์สุขหรือทุกข์ ดีหรือชั่ว ดีใจปนเสียใจ วิตกกังวลฟุ้งซ่านรำคาญใจ ไม่มี ไม่คิดปรุงแต่งไปในอดีต ปัจจุบัน อนาคต มีความวางเฉยในร่างกายของท่านเอง จะเจ็บปวดทรมาน จิตท่านนิ่งเฉยอยู่ในจิตของท่านว่าจิตส่วนจิต กายเป็นเพียงของสมมุติของชั่วคราว ตายเมื่อไร ท่านก็พร้อมที่จะทิ้งรูปนามขันธ์ เสวยวิมุติสุขแดนอมตะทิพย์นิพพานติดตามองค์พระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ของดีนั้นมีอยู่ในตัวเราทุกคน ของดีนั้นอยู่ที่จิตของท่านทุกท่าน ของไม่ดีอยู่ที่ร่างกาย
    จิตมี 3 ขั้น ตรี โท เอก
    ถ้าตรีก็ต่ำหน่อย ยังวุ่นวายเป็นทุกข์กับเรื่องของโลก
    ขั้นโท ก็มีศีลครบ มีเมตตา ทำบุญทำทาน
    ขั้นเอกนี่ ดีมาก จิตก็มองดูทุกสิ่งทุกอย่างในโลกมนุษย์ สัตว์ นรก เป็นทุกข์ มีความเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แล้วก็ตายสลายผุพังไปกันหมดสิ้น ตัวอนัตตา ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ของตน ไม่มีใครเป็นเจ้าของ บังคับเอาไว้ให้คงที่ก็ไม่ได้ ตัวนี้แหละเป็นตัวเอก ไล่ไปไล่มา ให้มันเห็นร่างกายคนเรา ตานแน่ ๆ คนเราหนีตายไม่พ้น แม้เพียงวันเดียว
    1. ตายน้อย ก็คือ นอนหลับทุกคืน หลับชั่วคราว คือ ตายทุกคืน ตื่นตอนเช้า
    2. ตายใหญ่ ก็คือ นอนหลับตลอดกาล แต่จิตไปตื่นตรงที่มีกายใหม่ มีกายใหม่ที่อื่นเป็นกายผี กายสัตว์ กายเทวดา กายพรหม แล้วแต่ผลบุญหรือผลบาปที่ทำไว้ตอนเป็นคน
     
  15. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975

    หลวงปู่ดู่ กล่าวถึง แดนพระนิพพาน

    แหล่งที่มา : หนังสือร่มเงาพุทธฉัตร พระอาจารย์ศุภรัตน์เป็นผู้เขียน


    หลวงปู่ดุลย์ อตุโล ท่านเป็นพระเถระ ลูกศิษย์พระอาจารย์มั่น ภูริทัตตะเถระ พระปรมาจารย์สายกรรมฐานของภาคอีสาน ผู้เขียนได้รับฟังข่าวคราวจากทางหนังสือพระเครื่อง เกี่ยวกับรูปถ่ายที่ช่างภาพถ่ายรูปท่านในท่านั่งห้อยขา แต่พอล้างฟิลม์ออกมากลับมีรูปซ้อนเป็นภาพนั่งสมาธิ โดยที่ท่านไม่ได้เปลี่ยนอริยาบท ซึ่งเขาเรียกว่าเป็นกายทิพย์ที่ท่านแสดง ขณะนั้นผู้เขียนทำงานเป็นพนักงานสินเชื่อ หัวหน้าแม่สอด-แม่ระมาด จังหวัดตากอยากไปนมัสการท่าน ความตั้งใจตอนนั้นเพียงเพื่อไปขอวัตถุมงคลและมีความเชื่อลึกๆ ในใจว่าท่านเป็นพระอรหันต์ เมื่อหยุดพักร้อนจึงเดินทางไปหาเพื่อนซึ่งจบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ รุ่นเดียวกัน ซึ่งรับราชการเป็นอาจารย์ที่วิทยาเขตเกษตรสุรินทร์ พอถึงสุรินทร์เรียบร้อยเพื่อนก็ถามว่าทำไมอยากมากราบหลวงปู่ ได้ตอบเพื่อนว่า”เขาว่าท่านเป็นพระอรหันต์เลยอยากมาขอเหรียญทีท่านปลุกเสก” โดยใจตอนนั้นไม่ปรารถนาธรรมอะไรจากท่าน เพราะอยู่ในช่วง เป็นนักล่าวัตถุมงคล


    พอผู้เขียนไปถึงวัดหลวงปู่กำลังตื่นจาก จำวัดพอดี เพราะขณะนั้นท่านอายุมากแล้วจำเป็นต้องพักผ่อน เมื่อทางพระอุปัฎฐาก อนุญาตให้เข้าพบผู้เขียน ได้เข้าไปกราบท่านและได้ถวายปัจจัยแล้วนั่งเงียบอยู่ ไม่ทราบจะเริ่มต้นอย่างไร เสียงหลวงปู่พูดขึ้นว่า “เณรไปหยิบเหรียญมาให้ข้าที เขาอยากได้” ผู้เขียนดีใจมากรับเหรียญมาเก็บไว้แล้วกราบลาท่านกลับ


    ภายหลังได้อ่านหนังสือหลวงปู่ฝากไว้ ทำให้นึกเสียใจว่า ทำไมเราไม่ไปขอฟังธรรมจากท่านในตอนนั้นเพราะเนื้อธรรมที่แสดงนั้นเป็นธรรม ล้วนๆไม่ว่าทั้งทางคดีโลกและคดีธรรม โดยเฉพาะเรื่องจิตคือพุทธะ และประโยคที่กินใจมากคือ “คนเราเป็นทุกข์เพราะความคิด”


    มีคำพูดของหลวงปู่ที่กล่าวถึงความว่าง หรือสูญญตาว่า เป็นสมบัติของจิตเรา หรือที่เรียกว่าจิตเดิมแท้ มีสภาพบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ถ้าเราทำให้ปราศจากความปรุงแต่ง จึงจะถึงสภาวะนี้ได้ แต่หลวงปู่ไม่ได้พูดถึงแดนนิพพานเหมือนกับสาย มโนมยิทธิของหลวงพ่อฤาษีลิงดำ และหลวงพ่อดู่ พรหมปัญโญ สิ่งเหล่านี้อยู่ในความกังขาข้องใจของผู้เขียนมาก หลวงพ่อดู่ท่านคงรู้ความคิด ท่านจึงพูดว่า “นิพพานจริงๆ แล้วเป็นความว่าง ไม่มีอะไรเลย” ผู้เขียนจึงเรียนถามว่าแล้ววิมานแก้วพระพุทธเจ้าที่เราขึ้นไปกราบกัน “ไม่ใช่หรือ” ท่านตอบว่า”ใช่” เป็นพุทธนิมิตเป็นเครื่องรองรับผู้ปฏิบัติ ทำให้นึกถึงในประวัติของพระอาจารย์มั่น ตอนที่สำเร็จเป็นพระอรหันต์ มีพระพุทธเจ้าเสด็จมาแสดงนิมิตให้เห็นพระอาจารย์มั่นเกิดความสงสัย จนกระทั่งพระพุทธเจ้าท่านตรัสขึ้น “จนถึงบัดนี้เธอยังสงสัยอะไรอีกหรือ ตถาคตมาในรูปธรรม ไม่ได้มาในนามธรรม” นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังได้แสดงนิมิต ให้พระอาจารย์มั่นดู คือในสมาคม เณรน้อยอรหันต์มาถึงก่อนก็นั่งหัวแถว พระผู้ใหญ่,พระพุทธเจ้าเสด็จมาทีหลังก็นั่งตามลำดับมา ซึ่งพระอาจารย์มั่นก็เข้าใจว่า “ความบริสุทธิ์ของพระองค์เสมือน ไม่มีใครมากน้อยไปกว่ากัน “แสดงถึงว่าเมื่อความเป็นพระอรหันต์แล้วถึงวิมุติธรรมคือความเสมอภาคของธรรม แต่ถ้าเป็นพุทธประเพณี นิมิตนั้นก็แสดงอีกโดยพระพุทธเจ้านั่งเป็นประธานตามด้วยพระอัครสาวกและพระ ผู้ใหญ่ตามลำดับอาวุโส


    วันหนึ่งหลวงพ่อ(ดู่)ได้เล่าถึงการปฏิบัติ โดยท่านเป็นผู้บอกว่า “เมื่อ ไปถึงวิมานแก้วได้แล้ว เป็นวิมานแก้วของพระพุทธเจ้าก็เหมือนกุฏิของพระพุทธเจ้า นอกจากนี้ก็มีวิมานพระธรรม อยู่ไปทางขวามือของพระพุทธเจ้ามีตู้พระไตรปิฎกอยู่หลายตู้ เขียนเป็นภาษาบาลีอักษรขอม ถ้าอยากรู้แปลว่าอะไรให้ถามหลวงปู่ทวด ซ้ายมือเป็นวิมานของพระสงฆ์ มีพระสงฆ์อยู่พระพุทธเจ้าเป็นประธาน แกเดินจิตให้ดีจากวิมานแก้วจะไปถึงพระพุทธรูป 4 องค์ของกัปป์นี้ มีลักษณะหน้าตักกว้างไม่เท่ากันตามบารมี องค์แรกเป็นของพระกกุสันโธมีหน้าตักกว้าง 20 วา องค์ที่สองพระโกนาคม หน้าตัก 15 วา องค์ที่สาม ของพระกัสสปหน้าตัก 10 วา องค์ที่สี่ หน้าตัก 5 วา ถ้าเป็นพระศรีอริย์องค์ที่ห้า ยังไม่ปรากฎถ้าอธิษฐาน ขอดูจะพบว่ามีหน้าตักเท่ากับองค์แรก เพราะท่านสร้างบารมีมาถึง 16 อสงไขยกับแสนมหากัปป์ ทำจิตให้ดี เดินจิตให้ถึงที่หลังพระทั้ง สี่องค์ มีที่เวิ้งว้างไม่มีประมาณนั้นแหละคือ แดนพระนิพพานจริงๆ ไม่มีอะไรเลยเป็นสภาพของความว่าง แต่ไม่ใช่สูญนะแก”


    ผู้เขียนถึงบางอ้อในคำสอนของท่าน ซึ่งสุดท้ายก็มาอยู่ในแบบเดียวกันตรงกับที่หลวงปู่ดุลย์ พูดไว้ไม่มีผิดเพี้ยน แต่หลวงพ่อท่านสอนแบบพระโพธิสัตว์ที่บุญญาธิการเต็มเปี่ยมแล้ว สาธุ สาธุ สาธุ
     
  16. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    คัดลอกจากหนังสือไตรรัตน์ 3
    ซึ่งรวบรวมประวัติและคำสอนของ
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา //ที่คุณ vira ได้เอามาลงในกระทู้อีกทีหนึ่ง


    จะเอาโลกหรือเอาธรรม
    บ่อยครั้งที่มีผู้มาถามปัญกากับหลวงพ่อ
    โดยมักจะนำเอาเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวกับหน้าที่การงาน สามี
    ภรรยา ลูกเต้า ญาติ มิตร หรือคนอื่นๆมาปรารถให้หลวงพ่อฟังอยู่เสมอ
    ครั้งหนึ่งท่านได้ให้คติเตือนใจผู้เขียนว่า
    “โลกเท่าแผ่นดิน ธรรมเท่าปลายเข็ม”
    ซึ่งต่อมาท่านได้ให้ความหมายว่า
    “เรื่องโลกมีแต่เรื่องยุ่งของคนอื่นทั้งนั้น ไม่มีที่สิ้นสุด
    เราไปแก้ไขเขาไม่ได้ ส่วนเรื่องธรรมนั้นมีที่สุด มาจบที่ตัวเรา
    ให้มาไล่ดูตัวเอง แก้ไขที่ตัวเราเอง ตนของตนเตือนตนด้วยตนเอง
    ถ้าคิดสิ่งที่เป็นธรรมแล้วต้องกลับเข้ามาหาตัวเอง
    ถ้าเป็นโลกแล้วจะมีแต่ส่งออกไปข้างนอกตลอดเวลา
    เพราะธรรมแท้ๆย่อมเกิดจากในตัวของเรานี้ทั้งนั้น”


    "อานิสงส์การภาวนา"

    หลวงพ่อท่านเคยพูดเสมอว่า

    "อุปัชฌาย์ข้า (หลวงพ่อกลั่น) สอนว่า
    ภาวนาได้เห็นแสงสว่างเท่าปลายหัวไม้ขีด
    ชั่วประเดี๋ยวเดียวเท่าช้างกระดิกหู งูแลบลิ้น
    ยังมีอานิสงส์มากกว่าตักบาตรจนขันลงหินทะลุ"

    พวกเรามักจะได้ยินท่านคอยให้กำลังใจอยู่บ่อยๆว่า

    "หมั่นทำเข้าไว้ หมั่นทำเข้าไว้ ต่อไปจะได้เป็นที่พึ่งภายหน้า"

    เสมือนหนึ่งเป็นการเตือนให้เราเร่งความเพียรให้มาก
    การให้ทานรักษาศีลร้อยครั้งพันครั้งก็ไม่เท่ากับนั่งภาวนาหนเดียว
    นั่งภาวนาร้อยครั้งพันครั้ง กุศลที่ได้ก็ไม่เท่า
    กุศลจิตที่สงบเกิดเป็นสมาธิเกิดปัญญาเพียงครั้งเดียว


    "ศีล สมาธิ ปัญญา"


    เกี่ยวกับพระไตรสิกขา คือ ศีล สมาธิ และปัญญานั้น
    หลวงพ่อท่านเคยอธิบายไว้ให้ฟังว่า

    ผู้มี "ศีล" ดี ย่อมเป็นพื้นฐานของสมาธิ
    และสามารถยังปัญญาให้เกิดได้

    ผู้มี"สมาธิ"ดี ย่อมสามารถสร้างปัญญาให้เกิด
    และเล็งเห็นความสำคัญของการมีศีล

    สำหรับผู้ที่มี"ปัญญา" ดีแล้ว ย่อมมีความฉลาด
    สามารถครอบคลุม รู้ถึงวิธีการรักษาศีล
    และย่อมได้ตัวสมาธิด้วย


    จะเห็นว่าพระไตรสิกขาทั้งสามข้อนี้ เกี่ยวเนื่องกันหมด
    โดยที่ต่างฝ่ายต่างก็เป็นปัจจัยที่เกื้อหนุนกัน
    ดังเช่นคำของครูบาอาจารย์บางท่านว่า

    สมาธิอบรมปัญญา และปัญญาอบรมสมาธิ
    ซึ่งท่านเน้นด้านปัญญาที่มีความสำคัญครอบคลุมทุกอย่าง

    ดังภาพข้างล่างซึ่งหลวงพ่อดู่ท่านเคยเขียนอธิบายให้ศิษย์ท่านหนึ่ง

    ศีล ------------ สมาธิ ------------- ปัญญา
    สมาธิ ------------ ปัญญา ------------ ศีล
    ปัญญา ------------ ศีล ------------ สมาธิ




    " แสงสว่างเป็นกิเลส ? "


    มีคนเล่าให้หลวงพ่อฟังว่า
    มีผู้กล่าวว่าการทำสมาธิแล้ว
    บังเกิดความสว่างหรือ
    เห็นแสงสว่างนั้นไม่ดี เพราะเป็นกิเลส
    มืดๆจึงจะดี

    หลวงพ่อท่านกล่าวว่า

    "ที่ว่าเป็นกิเลสก็ถูกแต่เบื้องแรก
    ต้องอาศัยกิเลสไปละกิเลส
    (อาศัยกิเลสส่วนละเอียดไปละกิเลสส่วนหยาบ)

    แต่ไม่ได้ให้ติดในแสงสว่างหรือหลงแสงสว่าง
    แต่ให้ใช้แสงสว่างให้ถูก ให้เป็นประโยชน์

    เหมือนอย่างเราเดินผ่านไปในที่มืดต้องใช้แสงไฟ

    หรือจะข้ามแม่น้ำ มหาสมุทรก็ต้องอาศัยเรือ อาศัยแพ
    แต่เมื่อถึงฝั่งแล้วก็ไม่ได้แบกเรือแบกแพขึ้นฝั่งไป"


    แสงสว่างอันเป็นผลจากการเจริญสมาธิก็เช่นกัน
    ผู้มีสติปัญญาสามารถใช้เพื่อให้เกิดปัญญาอันเป็นแสงสว่างภายใน
    ที่ไม่มีแสงใดเสมอเหมือนดังธรรมที่ว่า


    "นัตถิ ปัญญา สมา อาภา
    แสงสว่างเสมอด้วยปัญญาไม่มี"


    "อุบายวิธีทำความเพียร"

    ครั้งหนึ่งได้สนทนาปัญหาธรรมกับหลวงพ่อ
    ท่านเล่าให้ผู้เขียนฟังว่า.............เขามาถามปัญหาข้า
    ข้าก็ตอบไม่ได้อยู่ปัญหาหนึ่ง

    ผู้เขียนเรียนถามท่านว่า
    "ปัญหาอะไรครับ"

    ท่านเล่าว่า
    " เขาถามว่า ขี้เกียจ (ปฎิบัติ) จะทำอย่างไรดี "

    หลวงพ่อหัวเราะ ก่อนที่จะตอบต่อไปว่า
    "บีะ ขี้เกียจก็หมดกัน ก็ไม่ต้องทำซิ "

    สักครู่ท่านจึงเมตตาสอนว่า

    "หมั่นทำเข้าไว้ๆ ถ้าขี้เกียวจให้นึกถึงข้า
    ข้าทำมา 50 ปี อุปัชฌาย์ข้าสอนไว้ว่า
    ถ้าวันไหนยังกินข้าวอยู่ก็ต้องทำ
    วันไหนเลิกกินข้าว......นั่นแหล่ะถึงไม่ต้องทำ"



    "แนะวิธีปฏิบัติ"


    เคยมีสุภาพสตรีท่านหนึ่งมีปัญหาถามว่า
    นั่งปฏิบัติภาวนาแล้วจิตไม่รวม ไม่สงบ
    ควรจะทำอย่างไร ท่านแก้ให้ว่า

    "การปฏิบัติ ถ้าอยากเป็นเร็วๆ มันก็ไม่เป็น
    หรือไม่อยากให้เป็น มันก็ประมาทเสีย ไม่เป็นอีกเหมือนกัน

    อยากเป็นก็ไม่ว่า ไม่อยากเป็นก็ไม่ว่า
    ทำใจให้เป็นกลางๆ ตั้งใจให้แน่วแน่ใน
    กัมมัฏฐานที่เรายึดมั่นอยู่นั้น
    แล้วภาวนาเรื่อยไป

    เหมือนกับเรากินข้าวไม่ต้องอยากให้มันอิ่ม
    ค่อยๆกินไปมันก็อิ่มเอง

    ภาวนาก็เช่นกัน ไม่ต้องไปคาดหวังให้มันสงบ

    หน้าที่ของเราคือภาวนาไปก็จะถึงของดี ของวิเศษในตัวเรา
    แล้วจะรู้ชัดขึ้นมาว่าอะไรเป็นอะไร ให้หมั่นทำเรื่อยไป "


    "เสกข้าว"



    ครั้งหนึ่งเคยมีศิษย์บางท่าน
    นำข้าวมาให้หลวงพ่อท่านเสก
    อธิษฐานจิตให้ทานเสมอ

    ซึ่งท่านก็เมตตาไม่ขัด
    แต่บ่อยๆเข้าท่านก็พูดว่า

    "เสกอะไรกันให้บ่อยๆเสกเองบ้างซิ"

    คำพูดนี้ท่านได้ขยายให้ฟังภายหลังว่า

    คำว่า เสกเอง คือ การเสกตนเองให้เป็นพระ
    ซึ่งหมายถึงการปฏิบัติต่อจิตใจของตนเอง
    ยกระดับให้สูงขึ้น หรือมีใจเป็นพระบ้าง

    มิใช่จะให้ท่านอธิษฐานเสกเป่าของภายนอก
    เพื่อหวังเป็นมงคลถ่ายเดียว โดยไม่คิดเสกตนเองด้วยตนเอง



    "ของจริง ของปลอม"

    เมื่อหลายปีก่อน ได้เกิดไฟไหม้ที่วัดสะแก
    บริเวณกุฏิตรงข้ามกุฏหลวงพ่อ แต่ไฟไม่ไหม้กุฏิหลวงพ่อ
    เป็นที่อัศจรรย์ใจแก่ศิษย์และผู้ที่พบเห็นเป็นอย่างยิ่ง

    ถึงขนาดมีฆราวาสท่านหนึ่งคิดว่าหลวงพ่อ
    ท่านมีพระดี มีของดี ไฟจึงไม่ไหม้กุฏิท่าน

    ผู้ใหญ่ท่านนั้นได้มาที่วัดและกราบเรียนหลวงพ่อว่า
    "หลวงพ่อครับ ผมขอพระดีที่กันไหได้หน่อยครับ"

    หลวงพ่อยิ้ม ก่อนตอบว่า
    "พุทธัง ธัมมัง สังฆัง ไตรสรณคมน์นี่แหละพระดี"

    ผู้ใหญ่ท่านนั้นก็รีบบอกว่า
    "ไม่ใช่ครับ ผมขอพระเป็นองค์ๆ อย่างพระสมเด็จน่ะครับ"

    หลวงพ่อท่านก็ยืนยันหนักแน่นอีกว่า
    "ก็พุทธัง ธัมมัง สังฆัง นี่แหละมีแค่นี้ล่ะ ภาวนาให้ดี"

    แล้วหลวงพ่อก็มิได้ให้อะไรจนผู้ใหญ่ท่านนั้นกลับไป
    หลวงพ่อจึงได้ปรารภธรรมอบรมศิษย์ที่ยังอยู่ว่า

    "คนเรานี่แปลก ข้าให้ของจริงกลับไม่เอา จะเอาของปลอม"


    "จะตามมาเอง"

    หลายปีมาแล้ว มีพระภิกษุรูปหนึ่ง
    ได้มาบวชปฏิบัติธรรมอยู่ที่วัดสะแก

    ก่อนที่จะลาสิกขาเข้าสู่เพศฆราวาส
    ท่านได้นัดแนะกับเพื่อนพระภิกษุ
    ที่จะสึกด้วยกัน 3 องค์ว่า

    เพื่อความเป็นสิริมงคล
    ก่อนสึกพวกเราจะไปกราบขอให้
    หลวงพ่อพรมน้ำมนต์และให้พร

    ท่านได้เล่าให้ผู้เขียนฟังว่า

    ขณะที่หลวงพ่อพรมน้ำมนต์ ให้พรอยู่นั้น
    ท่านก็นึกอธิษฐานอยู่ในใจว่า

    "ขอความร่ำรวยมหาศาล
    ขอลาภขอผลพูนทวี
    มีกินมีใช้ไม่รู้หมด
    จะได้แบ่งไปทำบุญมากๆ"

    หลวงพ่อหันมามองหน้าหลวงพี่
    ที่กำลังคิดละเมอเพ้อฝันถึงความร่ำรวยนี้
    ก่อนที่จะบอกว่า

    "ท่าน ที่ท่านคิดน่ะมันต่ำ คิดให้สูงไว้ไม่ดีหรือ
    แล้วเรื่องที่ท่านคิดน่ะจะตามมาทีหลัง"


    " คำสารภาพของศิษย์ "

    เราเป็นศิษย์รุ่นปลายอ้อปลายแขม
    และมีความขี้เกียจเป็นปกติ
    เราไม่เคยสนใจทำอะไรจริงจังยาวนาน
    คือเราสนใจทำจริงจังแต่ก็ประเดี๋ยวเดียว

    เมื่อเราได้ไปวัด ด้วยความอยากเห็นอยากรู้
    เหมือนเพื่อนบางคนที่เขารู้ เขาเห็น
    เราจึงพยายามทำ แต่มันไม่ได้
    ความพยายามของเราก็เลยลดน้อยถอยลง
    ตามวันเวลาที่ผ่านไป

    แต่ความอยากของเรามันไม่ได้หมดไปด้วย
    พอขี้เกียจหนักเข้า เราจึงถามหลวงพ่อว่า

    "หนูขี้เกียจเหลือเกินค่ะ จะทำยังไงดี"

    เราจำได้ว่าท่านนั่งเอนอยู่
    พอเรากราบเรียนถามท่าน
    ก็ลุกขึ้นมานั่งฉับไว มองหน้าเรา แล้วบอกว่า

    "ถ้าข้าบอกแกไม่ให้กลัวตาย แกจะเชื่อข้าไหมล่ะ"

    เราเงียบเพราะไม่เข้าใจที่ท่านพูดตอนนั้นเลย
    อีกครั้งหนึ่งปลอดคน เรากราบเรียนถามท่านว่า

    "คนที่ขี้เกียจอย่างหนูนี้ มีสิทธิถึงนิพพานได้หรือไม่"

    หลวงพ่อท่านนั่งสูบบุหรี่ยิ้มอยู่และบอกเราว่า
    "ถ้าข้าให้แกเดินจากนี่ไปกรุงเทพฯแกเดินได้ไหม"

    เราเงียบแล้วยิ้มแห้งๆท่านจึงพูดต่อว่า
    "ถ้าแกกินข้าวสามมื้อ มันก็มีกำลังวังชา เดินไปถึงได้
    ถ้าแกกินข้าวมื้อเดียว มันก็พอไปถึงได้แต่ช้าหน่อย
    แต่ถ้าแกไม่กินข้าวเลย มันก็คงไปไม่ถึง ใช่ไหมล่ะ"

    เรารู้สึกเข้าใจข้อความนี้ซึมซาบเลยทีเดียว
    แล้วหลวงพ่อท่านก็พูดต่อว่า

    "เรื่องทำม้งธรรมะอะไรข้าพูดไม่เป็นหรอก
    ข้าก็เป็นแต่พูดของข้าอย่างนี้แหล่ะ"
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2012
  17. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    คัดลอกจากหนังสือไตรรัตน์ 3
    ซึ่งรวบรวมประวัติและคำสอนของ
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา //ที่คุณ vira ได้เอามาลงในกระทู้อีกทีหนึ่ง



    " สั้นๆก็มี "


    เคยมีผู้ปฏิบัติกราบเรียนถามหลวงพ่อว่า

    "หลวงพ่อครับ ขอธรรมะสั้นๆ
    ในเรื่องวิธีปฏิบัติเพื่อให้ กิเลส 3 ตัว
    คือ โกธร โลภ หลง หมดไปจากใจเรา
    จะทำได้อย่างไรครับ "

    หลวงพ่อตอบเสียงดังฟังชัด
    จนพวกเราในที่นั้นได้ยิน
    กันทุกคนว่า "สติ"



    " วัดผลการปฏิบัติด้วยสิ่งใด "


    มีผู้ปฏิบัติหลายคน ปฏิบัติไปนานเข้าชักเขว
    ไม่แจ้งว่าตนปฏิบัติไปทำไม หรือปฏิบัติไปเพื่ออะไร

    ดังครั้งหนึ่ง เคยมีลูกศิษย์กราบเรียนถามหลวงพ่อท่านว่า

    "ภาวนามาก็นานพอสมควรแล้ว รู้สึกว่ายังไม่ได้รู้ได้เห็นสิ่งต่างๆ
    มีนิมิตภายนอก แสงสีต่างๆเป็นต้น ดังที่ผู้อื่นเขารู้เห็นทางปฏิบัติกันเลย"

    หลวงพ่อท่านย้อนถาม สั้นๆว่า

    "ปฏิบัติแล้ว โกธร โลภ หลง แกลดน้อยลงหรือเปล่าล่ะ
    ถ้าลดลงข้าว่าแกใช้ได้"




    " หนึ่งในสี่"


    ครั้งหนึ่งหลวงพ่อได้ปรารภธรรมกับผู้เขียนว่า

    "ข้านั่งดูดยา มองดูซองยาแล้วก็ตั้งปัญหาถามตัวเองว่า
    เรานี่ปฏิบัติได้ 1 ใน 4 ของศาสนาแล้วหรือยัง?

    ถ้าซองยานี่แบ่งเป็น 4 ส่วน เรานี่ยังไม่ได้ 1 ใน 4
    มันจวนเจียนจะได้แล้วมันก็คลาย
    เหมือนเรามัดเชือกจนเกือบจะแน่นได้ที่แล้วเราปล่อย
    มันก็คลายออก เรานี่ยังไม่เชื่อจริง ถ้าเชื่อจริงก็ต้องได้ 1 ใน 4 แล้ว"

    ต่อมาภายหลังท่านได้ขยายความให้ผู้เขียนฟังว่า

    ที่ว่า 1 ใน 4 นั้น อุปมาดัง
    การปฏิบัติธรรมเพื่อให้บรรลุ
    มรรคผลในพระพุทธศาสนา

    ซึ่งแบ่งเป็นขั้น โสดาบัน สกิทาคามี
    อนาคามี และ อรหัตผล

    อย่างน้อยเราเกิดมาชาติหนึ่งชาตินี้
    ได้พบพระพุทธศานาซึ่งเปรียบเสมือน
    สมบัติอันล้ำค่าแล้ว

    หากไม่ปฏิบัติธรรมให้ได้ 1 ใน 4
    ของพุทธศาสนาเป็นอย่างน้อย
    คือ เข้าถึงความเป็นพระโสดาบัน
    ปิดประตูอบายภูมิให้ได้

    ก็เท่ากับว่าเราเป็นผู้ประมาทอยู่
    เหมือนเรามีข้าวแล้วไม่กิน
    มีนาแล้วไม่ทำ ฉันใดฉันนั้น



    " ธรรมโอวาท "


    เกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันในวงของผู้ปฏิบัติธรรม
    หลวงพ่อท่านได้ให้โอวาทเตือนผู้ปฏิบัติว่า

    "การมาอยู่ด้วยกัน ปฏิบัติด้วยกัน
    มากเข้าย่อมมีเรื่องกระทบกระทั่งกันเป็นธรรมดา
    ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนคนธรรมดาอยู่
    ทิฐิความเห็นย่อมต่างกัน
    ขอให้เอาแต่ส่วนดีมาสนับสนุนกัน
    อย่าเอาเลวมาอวดกัน"

    การปรามาสพระก็ดี การพูดจาจาบจ้วงใน
    พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    หรือท่านที่มีศีล มีธรรมก็ดี จะเป็นกรรมติดตัวเรา
    และขัดขวางการปฏิบัติธรรมในภายหน้า ดังนั้น
    หากเห็นใครทำความดีก็ควรอนุโมทนายินดีด้วย
    แม้ต่างวัด ต่างสำนัก หรือ แบบปฏิบัติต่างกันก็ตาม

    ไม่มีใครผิดหรอก เพราะจุดมุ่งหมายต่างก็เป็นไป
    เพื่อความพ้นทุกข์เช่นกัน
    เพียงแต่เราจะทำให้ดี ดียิ่ง ดีที่สุดเท่านั้น

    ขอให้ถามตัวเราเองเสียก่อนว่า
    "แล้วเราล่ะ ถึงที่สุดแล้วหรือยัง?"


    " ไม่พยากรณ์ "

    เกี่ยวกับการปฏิบัติธรรมแล้วจะได้สำเร็จ
    มรรค ผล นิพพานหรือไม่
    เคยมีพระภิกษุท่านหนึ่งได้มากราบนมัสการ
    และเรียนถามหลวงพ่อว่า

    "หลวงพ่อครับ กระผมจะได้สำเร็จหรือไม่
    หลวงพ่อช่วยพยากรณ์ทีครับ"

    หลวงพ่อนิ่งสักครู่หนึ่งก่อนตอบว่า
    "พยากรณ์ไม่ได้"

    พระภิกษุรูปนั้นได้เรียนถามต่อว่า
    "เพราะเหตุไรหรือครับ"

    หลวงพ่อจึงตอบว่า

    "ถ้าผมบอกว่าท่านได้สำเร็จหากท่านเกิดประมาท
    ไม่ปฏิบัติต่อ มันจะสำเร็จได้อย่างไร
    และถ้าผมบอกว่าท่านไม่สำเร็จท่านก็คงจะขี้เกียจ
    และจะทิ้งการปฏิบัติไป นิมนต์ท่านทำต่อไปเถอะครับ"




    " หลวงพ่อทวดกับศิษย์ "


    ในตอนบ่ายของวันหนึ่ง
    หลวงพ่อดู่ได้สนทนาธรรม
    กับศิษย์ผู้ปฏิบัติท่านหนึ่งว่า

    "ข้าโมทนาสาธุด้วย ไม่เสียทีที่เกิดมาแล้ว
    นิพพานะ ปัจจะโยโหตุ เอาจริงได้เลย

    เรียนแล้วต้องไปประดับเอาเอง
    ไปถามครูบาอาจารย์ตัวนอก
    ตัวนอกเขาก็ปุถุชนเหมือนกัน
    ใครอ่านหนังสือมากใครรู้มาก
    เขาแบ่งกันออกไป"

    จากนั้นท่านก็ได้เล่าถึงหลวงพ่อทวดให้ฟังว่า

    ฉันไม่ใช่เป็นอาจารย์หรอก
    อาจารย์นั่นพระพุทธเจ้า

    หลวงพ่อทวดนั่น ฉันก็เป็นลูกศิษย์ท่าน
    หลวงพ่อทวดท่านก็ไม่ยอมเป็นอาจารย์นะ
    เคยมีลูกศิษย์จะขอให้หลวงพ่อท่านตั้งแบบให้
    ได้ถามท่านว่า

    "หลวงพ่อ ช่วยตั้งแบบปฏิบัติให้ที"

    "ข้าตั้งไม่ได้" ท่านตอบ

    "เพราะเหตุไร หลวงพ่อ" ศิษย์เรียนถาม

    "ก็ข้าเป็นศิษย์พระสมณโคดม ถ้าข้าตั้ง
    ข้าก็สบประมาทท่าน ผิดจากแบบพระไตรปิฎก
    ต้องหาแบบใหม่มา เป็นบาป" ท่านตอบ

    "ถ้าอย่างนั้น ผมขอหลวงพ่อช่วยเหลือในหมู่คณะปฏิบัติ"
    ศิษย์ขอร้อง

    ท่านจึงตอบว่า
    "เออ! งั้นได้ ช่วยเหลือสนับสนุนพระพุทธเจ้าเดิม
    เพื่อประโยชน์พระศาสนาต่อไปภายหน้า"


    "นายระนาดเอก"
    เกี่ยวกับเรื่องไหวพริบ
    ปฏิภาณและตัวปัญญา

    หลวงพ่อท่านได้ยกตัวอย่าง
    เรื่องของนายระนาดเอกไว้ให้ฟังว่า

    สมัยก่อนการเรียนระนาดนั้น
    อาจารย์จะสอนวิชาการตีระนาดแม่ไม้ต่างๆโดยทั่วไปแก่ศิษย์

    ส่วนแม่ไม้วิชาครูจะเก็บไว้เฉพาะตน
    มิได้ถ่ายทอดให้แก่ศิษย์ผู้หนึ่งผู้ใด
    อยู่มาวันหนึ่ง นายระนาดเอกพักผ่อนนอนเล่น
    อยู่ใต้ถุนเรือนที่บ้านอาจารย์ของตน

    ได้ยินเสียงอาจารย์ของเขากำลังต่อเพลงระนาด
    ทบทวนแม่ไม้วิชาครูอยู่

    นายระนาดเอกก็แอบฟัง
    ตังใจจดจำไว้จนขึ้นใจ

    วัหนึ่งอาจารย์ได้เรียกศิษย์ทุกคน
    มาแสดงระนาดให้ดูเพื่อทดสอบฝีมือ

    ถึงครานายระนาดเอก ก็ได้แสดงแม่ไม้วิชาครู
    ซึ่งไพเราะกว่าศิษย์ผู้อื่น

    อาจารย์รู้สึกแปลกใจมาก
    ที่ศิษย์สามารถแสดงแม่ไม้ของครูได้
    โดยที่ตนไม่เคยสอนมาก่อน

    จึงถามนายระนาดเอกว่าไปได้
    แม่ไม้นี้มาจากไหน

    นายระนาดเอกจึงตอบว่า"ได้มาจากใต้ถุนเรือน ครับ"
    แล้วหลวงพ่อได้สรุปให้พวกเราฟังว่า

    การเรียนธรรมก็เช่นกัน ต้องลักเขา แอบเขาเรียน
    คือจดจำเอาสิ่งที่ดีงามของผู้อื่นมาปฏิบัติแก้ไขตนเองให้ได้

    ตัวท่านเองสอนได้ บอกทางได้ แต่ไม่หมด
    ที่เหลือเราผู้ปฏิบัติต้องค้นคว้าเอง

    ฝึกฝนนำไปปฏิบัติด้วยตนเอง
    ใครไหวดีก็เรียนได้เร็ว
    เหมือนนายระนาดเอกในเรื่องนี้


    "สำเร็จที่ไหน"

    มีผู้ปฏิบัติธรรมบางท่านข้องใจ
    ข้อปฏิบัติธรรมะเกี่ยวกับการวางที่ตั้ง
    ตามฐานของจิตในการภาวนา
    จึงได้ไปเรียนถามหลวงพ่อ
    ตามที่ได้เคยรับรู้ รับฟังมาว่า

    "การภาวนาที่ถูกต้อง
    หรือจะสำเร็จมรรคผลได้นั้น
    ต้องตั้งจิตวางจิตไว้ที่กลางท้องเท่านั้น ใช่หรือไม่?"

    หลวงพ่อท่านตอบอย่างหนักแน่นว่า
    "ที่ว่าสำเร็จนั้นสำเร็จที่จิต ไม่ได้สำเร็จที่ฐาน
    คนที่ภาวนาเป็นแล้วจะตั้งจิตไว้ที่ปลายนิ้วชี้ก็ยังได้"

    แล้วท่านก็บอกจำนวนที่ตั้งตามฐานต่างๆของจิตให้ฟัง
    จะเห็นได้ว่าท่านไม่ได้เน้นว่าต้องวางจิตใจที่เดียวที่นั่นที่นี่
    เพราะฐานต่างๆของจิตเป็นทางผ่านของลมหายใจทั้งสิ้น

    ท่านเน้นที่สติและปัญญาที่มากำกับใจต่างหาก
    สมดังในพระพุทธพจน์ที่ว่า

    "มโน ปุพพงคมา ธมมา มโนเสฏฐา มโนมยาฯ"

    "ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน
    มีใจเป็นใหญ่เป็นประธาน
    สำเร็จได้ด้วยใจ"



    "อารมณ์อัพยากฤต"


    เคยมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่งได้กราบเรียนถามหลวงพ่อว่า
    อารมณ์อัพยากฤตไม่จำเป็นต้องมีได้เฉพาะพระอรหันต์ ใช่หรือไม่?

    ท่านตอบว่า
    "ใช่ แต่อารมณ์อัพยากฤตของพระอรหันต์ท่านทรงตลอดเวลา
    ไม่เหมือนปุถุชนที่มีเป็นครั้งคราวเท่านั้น"

    ท่านอุปมาอารมณ์ให้ฟังว่า
    เปรียบเสมือนคนไปยืนที่ตรงทางสองแพร่ง

    ทางหนึ่งไปทางดี (กุศล)
    อีกทางหนึ่งไปในทางที่ไม่ดี (อกุศล)

    ท่านว่า อัพยากฤตมี 3 ระดับ คือ

    - ระดับหยาบ คืออารมณ์ปุถุชนที่เฉยๆ ไม่คิดดี ไม่คิดชั่ว
    ซึ่งมีเป็นครั้งคราวเท่านั้น

    - ระดับกลาง มีในผู้ปฏิบัติสมาธิ มีสติ มีความสงบของจิต
    วางอารมณ์จากสิ่งที่ดี ที่ชั่ว
    ดังที่เรียกว่าอุเบกขารมณ์

    - ระดับละเอียด คือ อารมณ์ของพระอรหันต์
    ซึ่งไม่มีทั้งอารมณ์ที่คิดปรุงไปในทางดีหรือในทางไม่ดี
    วางอารมณ์อยู่ได้ตลอดเวลาเป็นวิหารธรรมของท่าน


    "การบวชจิต - บวชใน"


    หลวงพ่อเคยปรารภไว้ว่า.......

    จะเป็นชายหรือหญิงก็ดี
    ถ้าตั้งใจประพฤติปฏิบัติ
    มีศีล รักในการปฏิบัติ

    จิตมุ่งหวังเอาการพ้นทุกข์เป็นที่สุด
    ย่อมได้มีโอกาสเป็นพระกันได้ทุกๆคน

    มีโอกาสที่จะบรรลุมรร ผล นิพพาน
    ได้เท่าเทียมกันทุกคน

    ไม่เลือกเพศ เลือกวัย หรือฐานะ แต่อย่างใด

    ไม่มีอะไรจะมาเป็นอุปสรรคในความสำเร็จได้
    นอกจากใจของผู้ปฏิบัติเอง

    ท่านได้แนะเคล็ดในการบวชจิตว่า ...........

    พุทธัง สรณัง คัจฉามิ....
    ให้นึกว่าเรามีพระพุทธเจ้า
    เป็นพระอุปฌาย์ของเรา

    ธัมมัง สรณัง คัจฉามิ.....
    ให้นึกว่าเรามีพระธรรม
    เป็นพระกรรมวาจาจารย์

    สังฆัง สรณัง คัจฉามิ....
    ให้นึกว่าเรามีพระอริยสงฆ์
    เป็นพระอนุสาวนาจารย์

    แล้วอย่าสนใจขันธ์ 5 หรือร่างกายเรานี้
    ให้สำรวมจิตให้ดี มีความยินดีในการบวช
    ชายก็เป็นพระภิกษุ หญิงก็เป็นพระภิกษุณี
    อย่างนี้จะมีอานิสงส์สูงมาก
    จักเป็นเนกขัมบารมีขั้นอุกฤษฎ์ทีเดียว"


    "อุเบกขาธรรม"
    เรามักจะเห็นการกระทำที่เป็นคำพูด
    และการแสดงออกอยู่บ่อยๆ

    ส่วนการกระทำที่เป็นการนิ่ง
    ที่เรียกว่ามีอุเบกขานั้นมักไม่ค่อยได้เห็นกัน

    ในเรื่องการสร้างอุเบกขาธรรมขึ้นในใจนั้น
    ผู้ปฏิบัติใหม่เมื่อได้เข้ามารู้ธรรม เห็นธรรม
    ได้พบเห็นสิ่งแปลกๆและคุณค่าของพุทธศาสนา

    มักเกิดอารมณ์ความรู้สึกว่าอยากชวนคนมาวัด
    มาปฏิบัติให้มากๆ โดยลืมดูพื้นฐานจิตใจ
    ของบุคคลที่กำลังจะชวนว่าเขามีความสนใจ
    มากน้อยเพียงใด

    หลวงพ่อท่านบอกว่าให้ระวังให้ดีจะเป็นบาป
    เปรียบเสมือนกับการจุดไฟไว้ตรงกลางระหว่าง 2 คน

    ถ้าเราเอาธรรมะไปชวนเขา เขาไม่เห็นด้วย
    ปรามาสธรรมนี้ ซึ่งเป็นธรรมของพระพุทธเจ้า

    ก็เท่ากับว่าเราเป็นคนก่อนแล้วเขาเป็นคนจุดไฟ บาปทั้งคู่
    เรียกว่าเมตตาจะพากันตกเหว

    แล้วท่านก็ยกอุทาหรณ์สอนต่อว่า

    "เหมือนกับมีชายคนหนึ่งตกอยู่ในเหวลึกมีผู้จะมาช่วย

    คนที่หนึ่งมีเมตตาจะมาช่วยเอาเชือกดึงขึ้นจากเหว
    ดึงไม่ไหวจึงตกลงไปในเหวเหมือนกัน

    คนที่สองมีกรุณามาช่วยดึงอีก ก็ตกเหวอีก

    คนที่สามมีมุทิตามาช่วยดึง
    ก็พลาดตกเหวอีกเช่นกัน

    คนที่สี่สุดท้ายเป็นผู้มีอุเบกขาธรรม
    เห็นว่าเหวนี้ลึกเกินกว่ากำลังของตนที่จะช่วย
    ก็มิได้ทำประการใดทั้งๆที่จิตใจก็มีเมตตาธรรมที่จะช่วยเหลืออยู่

    คนสุดท้ายนี้จึงรอดชีวิตจากการตกเหวตาย
    เพราะอุเบกขาธรรมนี้แล "

    มี

    เคยมีนักปฏิบัติท่านหนึ่ง
    ได้เคยถามหลวงพ่อเกี่ยวกับ
    เรื่องของพระนิพพาน


    หลวงพ่อท่านได้ตอบให้ฟัง
    เป็นเรื่องที่ชวนให้คิดว่า

    "พระนิพพานอุปมาขนาดเท่าเส้นผม
    ผู้ที่จะผ่านพ้นในขั้นสุดท้ายไปได้
    หรือไม่ได้อยู่เพียงนิดเดียวในการทำจิต
    ตัดจุดนี้ได้หรือไม่เท่านั้น

    พระพุทธเจ้าตอนที่ท่านจะปรินิพพาน
    ท่านได้ปรินิพพานไปในระหว่างรูปฌาณและอรูปฌาณ

    ผู้ที่ดับขันธ์ในระหว่างทรงรูปฌาณ
    ย่อมได้เป็นรูปพรหม ซึ่งยังไม่วิมุติหลุดพ้น

    ผู้ที่ดับขันธ์ในขณะทรงอรูปฌาณ
    ย่อมได้เป็นอรูปพรหม ซึ่งก็ยังเป็นสมมุติอยู่เช่นกัน

    ส่วนพระพุทธเจ้าท่านดับขันธ์ระหว่างช่วงทั้งสอง
    เป็นการดับขันธ์ด้วยความบริสุทธิ์เหนือสมมุติโดยสิ้นเชิง

    ไม่ติดอยู่ทั้งในรูปฌาณและอรูปฌาณ
    ซึ่งเป็นวิปัสนูกิเลสทั้งสองอย่าง

    พระอรหันต์บางประเภทที่ไม่สามารถ
    เจริญอรูปสมาบัติท่านก็ดับขันธ์ไป
    ด้วยความบริสุทธิ์เช่นกัน

    แม้อยู่ก็อยู่ด้วยจิตที่บริสุทธิ์ไม่ติดในสมมุติใดๆ
    เพราะความชำนาญในด้านสมาธิ
    ของพระอรหันต์แต่ละประเภทนั้นไม่เท่ากัน
     
  18. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    คัดลอกจากหนังสือไตรรัตน์ 3
    ซึ่งรวบรวมประวัติและคำสอนของ
    หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา //ที่คุณ vira ได้เอามาลงในกระทู้อีกทีหนึ่ง



    "ปรารภธรรม"


    แต่ไหนแต่ไรมาคนเราเกิดมาแล้ว
    มีแต่ความวุ่นวายสารพัดอย่าง
    ปรุงแต่งต่างๆนานานับไม่ถ้วนเหลือที่จะคณา

    เมื่อเราทำความสงบแม้เพียงประเดี๋ยวเดียว ก็รู้สึกว่า
    เย็นใจสบายใจ เราก็ควรรักษาความเย็นอันนี้
    ความสบายอันนั้นไว้ให้ตลอดไป

    จึงจะเป็นไปเพื่อความสุขซึ่งเป็นความปรารถนาของคนทั่วไป
    เมื่อได้ความสุขนั้นมาแล้วก็จงรักษาความสุขนั้นไว้
    ของหาได้ง่ายแต่รักษาได้ยาก

    ครั้นทำได้แล้ว
    ที่จะรักษาไว้ให้ได้นานนั้นยากที่สุด

    เพราะอะไร เพราะกิริยา
    อาการทุกอย่างของเรา มันกระทบ
    กระเทือนอยู่ตลอดเวลา เป็นต้นว่า ยืนเดิน นั่ง นอน
    การพูด การคุย การกิน สารพัดทุกอย่าง เป็นเรื่องกระทบ
    อายตนะทุกสิ่งทุกประการ จิตมันก็ส่งไปตามอายาตนะจึงว่ารักษาได้ยาก

    ถ้าหากผู้ทำได้ชำนิชำนาญ
    คล่องแคล่วเสียแล้ว ท่านรู้เท่ารู้เรื่อง
    ท่านตามรู้ตามเห็นทุกสิ่งทุกประการ มันจะมาแบบไหน
    ก็ตามรู้เรื่องของมัน จิตส่งไปก็เป็นธรรมะ จะคิดนึกก็เป็นธรรมะ

    มันปรุงมันแต่งก็เป็นธรรมะ
    ถ้ารู้เท่ารู้เรื่องมันก็เป็นธรรมดาเป็นของมันอย่างนั้น
    เป็นธรรมะทั้งหมด ผู้ปฏิบัติจะเห็นความดีความชั่วของตน
    ตรงนี้แหละ มันเป็นธรรมหรือมันเป็นโลก ก็เห็นกันที่ตรงนี้ ที่จิตนี้


    "ปลูกต้นธรรม"

    ครั้งหนึ่งหลวงพ่อเคยเปรียบการปฏิบัติธรรม
    เหมือนการปลูกต้นไม้

    ท่านว่า.....ทำนี้มันยาก ต้องคอยบำรุง
    ดูแลรักษาเหมือนกับเราปลูกต้นไม้

    ศีล............................นี่คือดิน
    สมาธิ.........................คือ ลำต้น
    ปัญญา.......................คือ ดอก ผล

    ออกดอกเมื่อใดก็มีกลิ่นหอมไปทั่ว
    การปฏิบัติธรรมก็เช่นกัน

    ผู้รักการปฏิบัติต้องคอยหมั่นรดน้ำพรวนดิน
    ระวังรักษาต้นธรรม ให้ผลิดอก ออกใบ มีผลน่ารับประทาน

    ต้องคอยระวัง ตัวหนอน คือ โลภ โกธร หลง
    มิให้มากัดกินต้นธรรมได้

    อย่างนี้...จึงจะได้ชื่อว่าผู้รักธรรม
    รักการปฏิบัติจริง



    "เรารักษาศีล ศีลรักษาเรา"

    ศีลเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่สุดของการ
    ปฏิบัติธรรมทุกอย่าง

    หลวงพ่อมักจะเตือนเสมอว่า
    ในขั้นต้นให้หมั่นสมาทานรักษาศีลให้ได้
    แม้จะเป็นโลกียศีล รักษาได้บ้าง ไม่ได้บ้าง
    บริสุทธิ์บ้าง ไม่บริสุทธิ์บ้าง
    ก็ให้เพียรระวัง รักษาไป

    สำคัญที่เจตนาที่จะรักษาศีลไว้
    และปัญญาที่คอยตรวจตราแก้ไขตน

    "เจตนาหัง ภิกขเว สีลัง วทามิ"
    ท่านว่าเจตนาเป็นตัวรักษาศีล

    "เจตนาหัง ภิกขเว ปุญญัง วทามิ"
    เจตนาเป็นตัวบุญ

    จึงขอให้พยายามสั่งสมบุญนี้ไว้
    โดยอบรมศีลให้เกิดขึ้นที่จิต
    เรียกว่า เรารักษาศีล

    ส่วนจิตที่อบรมศีลดีแล้วจนเป็นโลกุตรศีล
    เป็นศีลที่ก่อให้เกิดปัญญาในอริยมรรค อริยผลนี้
    จะคอยรักษาผู้ประพฤติปฏิบัติมิให้เสื่อมเสีย
    หรือตกต่ำไปในทางที่ไม่ดีไม่งามนี้แลเรียกว่า
    ศีลรักษาเรา



    "การอุทิศส่วนกุศลภายนอกภายใน"


    มีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ
    การอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตายของหลวงพ่อ
    ซึ่งท่านเมตตาทำเป็นปกติ
    จึงมีความหวังว่าเมื่อตนตาย
    หลวงพ่อท่านจะเมตตาให้บุญส่งวิญญาณ
    ส่งจิตไปสวรรค์ไปนิพพานได้
    ด้วตนเป็นผู้เข้าวัดทำทานและปรนนิบัติหลวงพ่อมานาน

    หลวงพ่อท่านก็เมตตาเตือนว่า
    "ถ้าข้าตายไปก่อน แล้วใครจะส่ง(บุญ)ให้แกล่ะ"

    ด้วยความไม่เข้าใจ ท่านผู้นั้นจึงมีคำตอบว่า
    "ขอให้หลวงพ่ออยู่ต่อไปนานๆ ให้พวกผมตายก่อน"

    นี่เป็นจุดชวนคิดในคำเตือนของท่านที่บอกเป็นนัยว่า
    การไปสู่สุคติหรือการหลุดพ้นนั้น ต้องปฏิบัติ
    ต้องสร้างด้วยตนเองเป็นสำคัญ มิใช่หวังจะพึ่งบุญพึ่งกุศลผู้อื่น

    การอาศัยผู้อื่นเมื่อตายแล้วนั้น
    เป็นเพียงส่วนน้อยที่อาจจะได้
    อีกทั้งยังเป็นความไม่แน่นอนด้วย สู้ทำด้วยตัวเองไม่ได้

    เป็นแง่คิดให้คิดว่า ต้องปฏิบัติตน
    ให้มั่นใจในตนเองตั้งแต่ก่อนตาย
    เมือถึงเวลาจำต้องทิ้งขันธ์จะไม่ต้อง
    มัวกังวลต่อภพชาติภายหน้า

    โดยเฉพาะการปฏิบัติให้รู้แจ้งในธรรม
    ตั้งแต่ปัจจุบันชาตินี้เป็นดียิ่งทีเดียว



    "คนดีของหลวงพ่อ"

    ธรรมะที่หลวงพ่อนำมาอบรมพวกเรา
    เป็นธรรมที่สงบเย็นและไม่เบียดเบียนใคร
    ด้วยกรรมทั้งสามคือ ความคิด การกระทำ และคำพูด
    ครั้งหนึ่งท่านเคยอบรมศิษย์เกี่ยวกับวิธีสังเกต
    คนดีสั้นๆประโยคหนึ่งคือ "คนดีเขาไม่ตีใคร"
    ทุกสิ่งทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการปฏิบัติธรรม
    หรือการทำงานในทางโลกนั้นย่อมมีการกระทบกระทั่งกัน
    เป็นธรรมดาของโลกปุถุชน หากเรากระทำการใดซึ่งชอบ
    ด้วยเหตุและผล คือ ได้พยายามทำอย่างดีที่สุดแล้ว

    อย่าไปกลัวว่าใครเขาจะว่าอะไรเรา ใครเขาจะโกธรเรา
    แต่ให้กลัวที่เราจะไปว่าอะไรเขา กลัวที่เราจะไปโกธรเขา



    "หลวงพ่อกับในหลวง"


    หลวงพ่อเคยเล่าให้ฟังว่าเมื่อหลายสิบปีก่อน
    ครั้งที่ท่านได้ฟังข่าวในหลวงรัชกาลที่ 8 เสด็จสวรรคต

    ท่านเกิดความสลดสังเวชมากว่าคนไทย
    หลายคนยังขาดกตัญญูกตเวทิตาคุณต่อพระเจ้าอยู่หัว
    ท่านคิดอยู่เสมอว่า ทำอย่างไรจะให้คนไทยมีความรักชาติ
    ศาสนา และพระมหากษัตริย์ องค์ท่านเองนั้น
    ตั้งแต่บัดนั้นจนกระทั่งทุกวันนี้ แม้กาลเวลาล่วงเลยไป
    หลายสิบปี กิจวัตรอันหนึ่งที่ท่านทำอยู่มิได้ขาด
    คือ การสวดมนต์ถวายพระพรแด่ในหลวงทุกวันตลอดมา
    ขอให้พระองค์มีพระชนมายุยิ่งยืนนานเป็นมิ่งขวัญคนไทยตลอดไป

    หลวงพ่อยังได้กล่าวกับผู้เขียนอีกว่า
    เพราะพระเจ้าแผ่นดิน(ร.9) ท่านปฏิบัติ(ธรรม)
    ต่อไปพุทธศานาในเมืองไทยจะเจริญขึ้น
    เพราะท่านเป็นผู้นำเป็นแบบอย่าง
     
  19. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ
    นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ

    โยโทโส โมหะจิตเต นะพุทธัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    โยโทโส โมหะจิตเต นะธัมมัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    โยโทโส โมหะจิตเต นะสังฆัสมิง ปาปะกะโต มะยา
    ขะมะถะเม กะตัง โทสัง สัพพะปาปัง วินัสสันตุ

    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต ฯ

    หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้งล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย อันมีพระพุทธเจ้าทุก ๆ
    พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม และพระอริยสงฆ์ทั้งหลาย ในชาติก่อนก็ดี ชาตินี้
    ก็ดี ด้วยทางกายก็ดี ด้วยทางวาจาก็ดี ด้วยทางใจ และด้วยเจตนาหรือไม่มีเจตนาก็ดี รู้เท่าไม่ถึงการณ์ก็ดี
    ขอองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุก ๆ พระองค์ พระธรรม พระอริยสงฆ์ทั้งหลาย
    และผู้มีพระคุณทุกท่าน ได้โปรดอดโทษให้แก่ข้าพระพุทธเจ้าตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ตราบเท่าเข้าสู่
    พระนิพพานด้วยเทอญ ฯ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2012
  20. prom20

    prom20 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มิถุนายน 2012
    โพสต์:
    3,086
    ค่าพลัง:
    +8,975
    ว่างๆ ก็เข้ามาอ่านกันนะครับ
    ได้บุญด้วยครับ
    ผมอ่านไปด้วยแชร์ไปด้วยครับ
    จัดเป็นธรรมะทานได้เหมือนกันครับ
    ทั้งผู้แชร์(เผยเเพร่) และผู้ที่อ่าน หรืออนุโมทนา เพราะถือว่ามีส่วนเกี่ยวข้องเกี่ยวพันธ์ในธรรมทานนี้ ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต (สายใยกับธรรมะทานนี้)
    แต่ผมก็ไม่ได้อ่านทั้งหมดครับ เพราะไม่ทันครับ อ่านเรื่อยๆ อ่านไปแชร์ไปบ้าง แชร์ไปก่อนบ้างนะครับ
    ว่างๆท่านใดนำธรรมะใดๆของหลวงปู่ หลวงพ่อ หรือหลวงตา...เชิญนะครับ ผมขออนุโมทนาในกุศลทั้งหมดทั้งมวลด้วยครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 กรกฎาคม 2012

แชร์หน้านี้

Loading...