เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง (สมเด็จพระญาณสังวรฯ)

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย เทพออระฤทธิ์, 7 มีนาคม 2009.

  1. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top>[​IMG]

    เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง
    ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก




    “ชีวิตของทุกๆ คนที่ผ่านพ้นไปรอบปีหนึ่งๆ นับว่าเป็นลาภอย่างยิ่ง ผู้ที่นับถือพระพุทธศาสนาจึงถือเป็นปรารภเหตุทำบุญ เพื่อความเจริญอายุ วรรณ สุข พล ยิ่งขึ้น”

    สมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    ขอพุทธานุภาพแห่งคุณพระศรีรัตนตรัย ตลอดจนกุศลผลบุญที่ท่านได้กระทำมา จงคุ้มครองให้ท่านและครอบครัว พร้อมทั้งบริวาร ปราศจากทุกข์ภัยทั้งหลายทั้งสิ้น ขอให้ท่านจงเจริญด้วยจตุรพิธพรชัย คิดปรารถนาสิ่งใดขอให้สมปรารถนาในสิ่งนั้น โดยมีธรรมบารมีแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเกราะคุ้มครองป้องกัน และมีพระธรรมเป็นประทีปส่องสว่างในการดำเนินชีวิต ขอให้พบกับชีวิตที่สมบูรณ์ ให้พบกับความสะอาด สว่าง สงบ แห่งชีวิตและจิตใจ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลจงมีแด่ท่านทุกทิพาราตรีกาลเทอญ.
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 7 กรกฎาคม 2012
  2. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [​IMG]


    สารบัญ[
    เรื่อง เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง
    จากพระนิพนธ์
    เรื่อง เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง
    จากพระนิพนธ์ “ความสุขอยู่ที่ไหน ?”
    ของสมเด็จพระญาณสังวร
    สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

    สิ่งปรารถนาของมนุษย์
    ความสุขทางร่างกาย
    ความสุขทางจิตใจ
    ความสุขอยู่ที่ไหน ?
    เหตุแห่งความสุข และเหตุแห่งความทุกข์
    เงื่อนไขของความสุข
    สิ่งภายนอกไม่ใช่ตัวเหตุของความสุข
    สิ่งภายนอกที่เป็นอุปกรณ์แห่งความสุข
    ความสุขเบื้องต้นพบได้อย่างไร
    สุจริต...วิถีทางของคนดี
    ทุจริต...วิถีทางแห่งความชั่ว
    วิถีทางของผู้ไม่ฉลาด
    ธรรมะในใจควรประพฤติคู่กันไปกับสุจริต
    เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง
    ผลแห่งสุจริตธรรม
    วิธีปฏิบัติสุจริตธรรม
    การแผ่เมตตาปรารถนาดีต่อกัน
    ผู้สุจริตย่อมเป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า
    ผู้ประพฤติธรรมสุจริตเป็นสุขทุกทิวาราตรีกาล
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 2 กรกฎาคม 2012
  3. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [​IMG]


    เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง
    ผู้ทำดีย่อมได้ดี ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว



    ๏ สิ่งปรารถนาของมนุษย์

    อันความสุขย่อมเป็นที่ปรารถนาของคนทุกๆ คน และทุกๆ คนย่อมเคยประสบความสุขมาแล้ว ความสุขเป็นอย่างไร จึงเป็นที่รู้จักกันอยู่ ในเวลาที่กายและจิตใจอิ่มเอิบ สมบูรณ์ สบาย ก็กล่าวกันว่าเป็นสุข ความสุขจึงเกิดขึ้นที่กายและใจนี่เอง

    ๏ ความสุขทางร่างกาย

    สำหรับกายนั้น เพียงให้เครื่องอุปโภคบริโภคพอให้เป็นไปได้ก็นับว่าสบาย แม้กายสบายดังกล่าวมานี้ ถ้าจิตไม่สบาย กายก็พลอยซูบซีดเศร้าหมองด้วย

    ส่วนกายเมื่อไม่สบายด้วยความเจ็บป่วย หรือด้วยความคับแค้นอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าจิตยังร่าเริงสบายอยู่ ก็ไม่รู้สึกว่าเป็นทุกข์เป็นร้อนเท่าใดนัก และความไม่สบายของกายก็อาจบรรเทาไปได้ เพราะเหตุนี้ความสุขจิตสุขใจนั่นแลเป็นสำคัญ

    ๏ ความสุขทางจิตใจ

    อันความสุขทางจิตใจนี้ คิดๆ ดูก็เห็นว่าหาได้ไม่ยากอีก เพราะความสุขอยู่ที่จิตใจของตนเอง จักต้องการให้จิตเป็นสุขเมื่อใดก็น่าจะได้ ใครๆ เมื่อคิดดูก็จักตองยอมรับว่าน่าคิดเห็นอย่างนั้น แต่ก็ต้องยอมจนอีกว่า สามัญชนทำไม่ได้เสมอไป เพราะยังต้องการเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุข มีเงินทอง เครื่องอุปโภคบริโภค เป็นต้น

    ถ้าเครื่องอุปกรณ์แห่งความสุขขาดไป หรือมีไม่เพียงพอ ก็ทำให้เป็นสุขมิได้ นี้เรียกว่ายังต้องปล่อยใจให้เป็นไปตามเหตุการณ์อยู่ ข้อนี้เป็นความจริง เพราะเหตุฉะนี้ ในที่นี้จึงประสงค์ความสุขที่มีเครื่องแวดล้อม หรือที่เรียกว่า
     
  4. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [​IMG]

    ๏ สิ่งภายนอกไม่ใช่ตัวเหตุของความสุข

    อนึ่ง ถ้าได้สิ่งนั้นๆ มาด้วยการกระทำที่ไม่ดี การกระทำนั้นก็จักเป็นเครื่องตัดทอนตนเองอีกส่วนหนึ่ง ข้อความที่กล่าวมานี้แสดงว่าสิ่งภายนอกอุดหนุนความสุขสำราญให้บ้าง แต่จัดเป็นเหตุของความสุขหรือ ? ถ้าเป็นเหตุของความสุข ผู้ที่มีสิ่งภายนอกบริบูรณ์จักต้องเป็นสุขทุกคน

    แต่ความจริงไม่เป็นอย่างนั้น ผู้ที่บริบูรณ์ด้วยสิ่งภายนอกแต่เป็นทุกข์มีถมไป เพราะเหตุนี้สิ่งภายนอกจึงมิใช่ตัวเหตุของความสุข เป็นเพียงเครื่องแวดล้อมอุดหนุนความสุขดังกล่าวแล้วเท่านั้น

    ๏ สิ่งภายนอกที่เป็นอุปกรณ์แห่งความสุข

    อันสิ่งภายนอก มีเงินทอง ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น อันเป็นอุปกรณ์แห่งความสุข เมื่อคิดดูให้ซึ้งลงไป จักเห็นว่าเกิดจากการกระทำของตนเอง ถ้าตนเองอยู่เฉยๆ ไม่ทำการงานอันเป็นเหตุที่เพิ่มพูนสิ่งภายนอกเหล่านั้น สิ่งภายนอกนั้นก็จะไม่เกิดขึ้น ที่มีอยู่แล้วก็ต้องแปรเปลี่ยนไป ถ้าไม่มีใหม่มาชดเชยก็จักต้องหมดไปในที่สุด เพราะเหตุฉะนี้จึงกล่าวได้ว่า สิ่งภายนอกที่เป็นอุปกรณ์แก่ความสุขนั้น ก็เกิดขึ้นเพราะการกระทำของตนเองในทางธรรม

    ๏ ความสุขเบื้องต้นพบได้อย่างไร

    ผู้ปรารถนาสุขเบื้องต้น จึงสมควร หมั่นประกบการงาน หาเลี้ยงชีพตามทางของตนๆ โดยไม่ตัดรอนกัน ไม่เฉื่อยชา เกียจคร้าน และแก้ไขในการงานของตนให้ดีขึ้น ก็จักไม่ต้องประสบความแร้นแค้น ขัดข้อง

    ถ้าไม่หมั่นประกอบการงานของตนให้ดีขึ้น ปล่อยไปตามเรื่อง ก็อาจจักต้องประสบความยากจนค่นแค้น ต้องอกแห้งเป็นทุกข์ และนั่นเป็นความผิดต่อประโยชน์ปัจจุบันของตนเอง

    ๏ สุจริต...วิถีทางของคนดี

    การทำอย่างหนึ่งทางธรรมเรียกว่าดี เป็นวิถีทางของคนฉลาด และทางโลกยกย่องนับถือว่าดี การทำอย่างนี้เรียกว่า สุจริต แปลว่า ประพฤติดี ประพฤติดีทางกายเรียกว่ากายสุจริต ประพฤติดีทางวาจาเรียกว่าวจีสุจริต ประพฤติดีทางใจเรียกว่ามโนสุจริต

    กายสุจริต จำแนกเป็น ๓ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกามประเวณี

    วจีสุจริต จำแนกเป็น ๔ คือ ไม่พูดปด ไม่พูดส่อเสียด ไม่พูดคำหยาบ ไม่พูดเพ้อเจ้อเหลวไหล

    มโนสุจริต จำแนกเป็น ๓ คือ ไม่เพ่งเล็งทรัพย์สมบัติของผู้อื่น ด้วยโลภ
     
  5. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [​IMG]


    ๏ วิถีทางของผู้ไม่ฉลาด

    ทุจริตทางธรรมเรียกว่าไม่ดี เป็นวิถีทางของผู้ไม่ฉลาด ทางโลกก็เหยียดหยามว่าเลว ไม่ดี โดยนัยนี้จึงเห็นว่าทั้งทางโลกทั้งทางธรรม นับถือสิทธิของผู้อื่น หรือเรียกว่านับถือขอบเขตแห่งความสงบสุขของผู้อื่น เพราะสุจริตและทุจริตที่จำแนกไว้อย่างละ ๑๐ ประการนั้น โดยความก็คือ ไม่ประพฤติละเมิดสิทธิ หรือไม่เบียดเบียนความสงบสุขของผู้อื่น และการประพฤติละเมิดสิทธิและความสงบสุขของผู้อื่นนั้นเอง แต่ทางโลกนับถือสิทธิของบุคคลและสัตว์เดียรัจฉานบางจำพวก ไม่นับถือบางจำพวก โดยอาศัยกฎหมายเป็นหลัก ส่วนทางธรรมนับถือทั่วไป ไม่มีแบ่งแยกยกเว้น เพราะทางธรรมละเอียด ประณีต

    ๏ ธรรมะในใจควรประพฤติคู่กันไปกับสุจริต

    อนึ่ง ทุจริตอยู่เฉยๆ ประพฤติไม่ได้ ต้องประพฤติด้วยความขวนขวายพยายาม จนผิดแผกแปลกไปจากปกติ จึงจัดเป็นทุจริตได้ ส่วนสุจริตประพฤติได้โดยไม่ต้องลงทุนลงแรง ประพฤติไปตามปกติของตน ไม่ต้องตบแต่งเปลี่ยนแปลงก็เป็นสุจริตได้

    เพราะเหตุนี้ เมื่อว่าทางความประพฤติ สุจริตจึงประพฤติได้ง่ายกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เพราะเหตุไรทุจริตจึงเกิดขึ้นได้ ? ข้อนี้เป็นเพราะยังขาดธรรมในใจเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้ง ความประพฤติจึงเป็นไปตามใจของตนเอง ผู้รักษาศีลหรือประพฤติสุจริต หรือแม้ประพฤติกฎหมายของบ้านเมือง ถ้าไม่มีธรรมอยู่ในใจบ้างแล้ว ก็มักจะรักษาหรือประพฤติทำนองทนายความว่า เพราะการกระทำบางอย่างไม่ผิดศีลตามสิกขาบท ไม่ผิดสุจริตตามหัวข้อ แต่ผิดธรรมมีอยู่ และจะประพฤติหรือรักษาให้ตลอดไปมิได้ เพราะเหตุนี้ จึงสมควรมีธรรมในใจสำหรับประพฤติคู่กันไปกับสุจริต

    ๏ เหตุแห่งความสุขที่แท้จริง

    ผู้ประพฤติสุจริตธรรม ย่อมเป็นคนไม่มีภัย ไม่มีเวร มีกายวาจาใจปลอดโปร่ง นี้เป็นความสุขที่เห็นกันอยู่แล้ว

    ส่วนผู้ประพฤติทุจริตอธรรม ตรงกันข้าม มีกายวาจาใจ หมกมุ่น วุ่นวาย แม้จักมีทรัพย์ ยศ ชื่อเสียงสักเท่าใด ก็ไม่ช่วยให้ปลอดโปร่งได้ ต้องเปลืองทรัพย์ เปลืองสุข ระวังทรัพย์ ระวังรอบด้าน นี้เป็นความทุกข์ที่เห็นกันอยู่แล้ว

    ส่วนในอนาคตเล่าจักเป็นอย่างไร ? อาศัยพุทธภาษิตที่แสดงว่า...

    กลฺยาณการี กลฺยาณํ...ผู้ทำดีย่อมได้ดี
    ปาปการี จ ปาปกํ...ผู้ทำชั่วย่อมได้ชั่ว


    ๏ ผลแห่งสุจริตธรรม

    จึงลงสันนิษฐานได้ว่า สุจริตธรรมอำนวยผลที่ดีคือความสุข ทุจริตอธรรมอำนวยผลที่ชั่วคือความทุกข์ แม้ในอนาคตแน่แท้ อนึ่ง ในที่นี้รวมผลแห่งสุจริตธรรมทั้งสิ้น แสดงรวมยอดอย่างเดียวว่าความสุข เพราะเหตุนี้สิ่งใดเป็นอุปกรณ์แห่งความสุข หรือเรียกว่าสุขสมบัติ เช่น ความบริบูรณ์ทรัพย์ ผิวพรรณงาม อายุยืน ยศ ชื่อเสียง เป็นต้น สิ่งนั้นทั้งหมดเป็นผลแห่งสุจริตธรรม

    ๏ วิธีปฏิบัติสุจริตธรรม

    จักแสดงวิธีปฏิบัติสุจริตธรรมสักคู่หนึ่ง โดยย่อไว้เผื่อผู้ต้องการต่อไป คือ ไม่พยาบาท กับ เมตตา

    เมื่ออารมณ์ร้ายอย่างเบา คือความหงุดหงิดไม่พอใจแรงขึ้นเป็นความฉุนเฉียวร้ายกาจ แรงขึ้นอีกเป็นพยาบาท เหล่านี้อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น ควรทำความรู้จักตัวและพิจารณาโดยนัยว่า นี้เท่ากับทำโทษตน เผาตนโดยตรง มิใช่ทำโทษหรือแผดเผาผู้อื่นเลย คราวที่ตนผิดใจยังเคยให้อภัย ไม่ถือโทษโกรธแค้น เหตุไฉนเมื่อผู้อื่นทำผิดใจจึงมาลงโทษแผดเผาตนเล่า ผู้อื่นที่ตนโกรธนั้นเขามิได้ทุกข์ร้อนไปกับเราด้วยเลย

    อนึ่ง ควรตั้งกติกาข้อบังคับสำหรับตนว่า เมื่อเกิดอารมณ์ร้าย มีโกรธเป็นต้นขึ้น จักไม่พูด จักไม่แสดงกิริยาของคนโกรธ หรือตั้งกติกาประการอื่น ซึ่งอาจจักรักษาอารมณ์ร้ายเหล่านั้นไว้ข้างใน มิให้ออกมาเต้นอยู่ข้างนอก และพยายามดับเสียด้วยอารมณ์เย็นชนิดใดชนิดหนึ่ง ด้วยการพิจารณาให้แยบคาย มิให้ลุกกระพือสุมอกอยู่ได้
     
  6. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [​IMG]


    ๏ การแผ่เมตตาปรารถนาดีต่อกัน

    เมตตา มิตร ไมตรี สามคำนี้เป็นคำหนึ่งอันเดียวกัน

    เมตตา คือความรักใคร่ปรารถนาจะให้เป็นสุข
    มิตร คือผู้มีเมตตาปรารถนาสุขประโยชน์ต่อกัน
    ไมตรี คือความมีเมตตาปรารถนาดีต่อกัน


    ผู้ปรารถนาจะปลูกเมตตาให้งอกงามอยู่ในจิต พึงปลูกด้วยการคิดแผ่ ในเบื้องต้นแผ่ไปโดยเจาะจงก่อน ในบุคคลที่ชอบพอ มีมารดาบิดา ญาติมิตรเป็นต้น โดยนัยว่าผู้นั้นๆ จงเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่มีความเบียดเบียน ไม่มีทุกข์ มีสุขสวัสดิ์รักษาตนเถิด

    เมื่อจิตได้รับการฝึกหัดคุ้นเคยกับเมตตาเข้าแล้ว ก็แผ่ขยายให้กว้างออกไปโดยลำดับดังนี้ ในคนที่เฉยๆ ไม่ชอบไม่ชัง ในคนที่ไม่ชอบน้อย ในคนที่ไม่ชอบมาก ในมนุษย์และดิรัจฉานไม่มีประมาณ

    เมตตาจิต ย่อมให้ความสุขแก่ชนส่วนรวมตั้งแต่สองขึ้นไปด้วย คือหมู่ชนที่มีไมตรีจิตต่อกัน ย่อมหมดความระแวง มีโอกาสประกอบการงานอันเป็นประโยชน์แก่ตนเองและหมู่เต็มที่ มีความเจริญรุ่งเรือง และความสงบสุขโดยส่วนเดียว

    ๏ ผู้สุจริตย่อมเป็นสุขทั้งโลกนี้และโลกหน้า

    เพราะเหตุนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้เป็นพระบรมศาสดาของเราทั้งหลาย ผู้ทรงมีพระเมตตาไมตรี มีมิตรภาพในสรรพสัตว์ ทอดพระเนตรเห็นการณ์ไกล จึงได้ทรงประทานศาสนธรรมไว้หนึ่งฉันทคาถา แปลความว่า บุคคลพึงประพฤติธรรมให้เป็นสุจริต ไม่พึงประพฤติธรรมให้เป็นทุจริต ผู้มีปกติประพฤติธรรมย่อมอยู่เป็นสุขในโลกนี้และในโลกอื่นดังนี้

    เพราะฉะนั้น ผู้ปรารถนาสุข เมื่อจับตัวเหตุการณ์แห่งความสุขและความทุกข์ได้แล้ว ควรเว้นทุจริตอธรรมอันเป็นเหตุของความทุกข์ ควรประพฤติสุจริตธรรมอันเป็นเหตุของความสุข ถ้าประพฤติดังนี้ชื่อว่า ได้ก่อเหตุการณ์ของความสุขสมบัติไว้แล้ว

    ๏ ผู้ประพฤติธรรมสุจริตเป็นสุขทุกทิวาราตรีกาล

    ถ้ามีปัญญาในชีวิตปัจจุบันของผู้ประพฤติสุจริตธรรม หรือทุจริตอธรรมเกิดขึ้น พึงทราบว่า ในคราวที่สุจริตธรรมที่ได้ทำไว้แล้วกำลังให้ผลอยู่ ผู้ประพฤติทุจริตอธรรมย่อมพรั่งพร้อมด้วยสุขสมบัติและความสดชื่น ร่าเริง อาจสำคัญทุจริตธรรมดุจน้ำหวาน และอาจเย้ยหยันผู้ประพฤติสุจริตธรรมได้ แต่ในกาลที่ทุจริตอธรรมของตนให้ผล ก็จักต้องประจวบทุกข์พิบัติซบเซาเศร้าหมอง ดุจต้นไม้ในฤดูแล้ง

    อนึ่ง ในคราวทุจริตอธรรมที่ได้ทำไว้แล้วกำลังให้ผลอยู่ ผู้ประพฤติสุจริตธรรมก็ยังต้องประสบทุกข์พิบัติซบเซาอับเฉาอยู่ก่อน แต่ในกาลที่สุจริตธรรมของตนให้ผล ย่อมเกิดสุขสมบัติย่างน่าพิศวง ดุจต้นไม้ในฤดูฝน แม้สุจริตธรรมจักยังไม่ให้ผลโดยนัยที่กล่าวนี้ กาย วาจา และใจ ของตนก็ย่อมปลอดโปร่งเป็นสุขสงบ เป็นผลที่มีประจำทุกทิวาราตรีกาล




    ขอขอบคุณข้อมูลจาก

    http://www.dhammajak.net/board/viewtopic.php?t=8841
     
  7. เปาชุนไหล

    เปาชุนไหล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    435
    ค่าพลัง:
    +2,240
    ความสงบ นี่่สุขจริงหนอ....




    แม้จะไม่ใช่ความสุขที่แท้จริง ถาวรยั่งยืืน เหมือนการหมดกิเลส
    แต่ปุถุชนคนธรรมดานั้น แค่จะหาความสุขจากความสงบยังหาเวลาได้ยาก

    ที่ว่ายาก เป็นเพราะตนเอง บอกกับ ตนเองว่า "ไม่มีเวลา"

    ทั้งๆที่เวลา ของมนุษย์ทุกคน ใน1วันก็มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน


    บุญและการภาวนา เป็นเหตุปัจจัยให้ คนที่เกิดในชาติถัดๆมา มีนิสัย รักความสงบ มีความสุขจากความสงบ จึงทำให้บางคน ทำความสงบได้ง่าย ยาก ต่างกัน

    แต่ แม้ว่า ใครจะมีเหตุปัจจัยเก่ามาอย่างไร

    หากตนไม่ขวนขวายในการที่จะส้รางเหตุปัจจัยใหม่ รวมทั้งคนที่ไม่มีนิสัยปัจจัยเก่า (ไม่มีบุญเก่ามากเท่าไร) ก็ยากที่จะเปลี่ยนแปลงชีวิตตนในทางที่ดีขึ้นได้



    การทำความดี ทำบุญ ทำจิตใจให้สงบผ่องใส นั้น ไม่ได้เป็นการลงทุนอะไรมากมาย
    และยังมองไม่เห็นเลยว่า การทำความดี นั้น จะมีผลเสียตามมาแต่อย่างใด

    คนที่ฉลาดมักจะทำในสิ่งที่คิดว่าดี แม้จะยังไม่เห็นผลดีในทันทีก็ตาม แต่รู้ว่า หนทางที่ตนได้ทำนั้น เป็นการปูทางไปสู่ความสุขที่แท้จริง

    คนที่ไม่ฉลาดนั้น ก็จะจมปลักคิดว่าชีวิตตนเอง เกิดมาไม่มีความสุข ก็จะไม่มีความสุขแบบนี้ตลอดไป ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีได้ และก็จะคิดเสมอๆว่า การกระทำสู่หนทางการมีความสุขนั้น เป็นการกระทำโดยเปล่าประโยชน์ เสียเวลา น่าเบื่อ ไม่เห็นจะได้ผลอะไรเลย แล้วสุดท้าย คนแบบนี้ก็จะไม่มีความสุขไปตลอดชีวิต
    เกิดมาชาติใหม่ ก็จะต้องมาลุ้นอีกว่าชีวิตตน จะหันเห เปลีั่ยนแปลงไปในเส้นทางบุญ เส้นทา่งแห่งความสุขได้หรือไม่



    เพราะฉะนั้น เราท่านทั้งหลายเกิดมาชาตินี้แล้ว จงเลือกเอาว่าจะทำตนให้มีความสุข
    หรือจะปิดกั้นตนเองไม่ให้มีความสุข



    ความสุขทั้งหลายในโลก(โลกียะ)ก็คือความทุกข์ที่น้อยลงนั้นเอง หาใช่ความสุขที่แท้จริงไม่ แต่ความสุขที่แท้จริง คือความสุขแบบโลกุตระ ความสงบจากสมาธิก็เป็นความสุข เป็นความสุขที่มากกว่าความสุขทางโลกมากนัก แต่ทว่าก็ยังไม่ใช่ความสุขที่ยั่งยืน เพราะเมื่อเราไม่สงบ ความสุขก็หายไป ความสุขที่แท้จริงคือการชำระล้างกิเลสในใจ (จิต) ให้หมดไป นี่เป็นความสุขที่แท้จริง ไม่ต้องกลับมาทุกข์อีก
     
  8. คาปูชิโน

    คาปูชิโน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +70
    ข้างห้วงมหานทีแห่งความทุกข์
     

แชร์หน้านี้

Loading...