ขอสอบถามเรื่องของการฝึก เกษา โลมา นขา ทันตา ตโจ ครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย วิญญาณนิพพาน, 22 มีนาคม 2011.

  1. วิญญาณนิพพาน

    วิญญาณนิพพาน ทีมงานอาสาฯ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 เมษายน 2008
    โพสต์:
    22,608
    กระทู้เรื่องเด่น:
    51
    ค่าพลัง:
    +21,017
    สวัสดีครับ คือ ตอนนี้ผมสนใจอยากจะฝึก เกษา โลมา นขา ทันตา ตโจ เเต่ผมไม่รู้จะปฎิบัติยังไงครับ ผมทราบเเล้วว่า เกษา โลมา นขา ทันตา ตโจ คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ถ้าเราจะฝึกนี่ต้องฝึกยังไงหรือครับ ? เเละคําเหล่านี้เกี่ยวกับการฝึกเจริญอสุภะ เเละมรณานุสติรึเปล่า ? ผมดูจากศัพท์เเล้วน่าจะใช่ ลองไป search ดู เหมือนเค้าให้บริกรรม ถ้าบริกรรมนี่้ทํายังไงหรือครับ ? เก เข้า ศา ออก โล เข้า มา ออก อย่างนี้รึเปล่าครับ ? เเล้วตอนปฎิบัติต้องนึกภาพยังไงหรือครับ ? รบกวนเเนะนําด้วยครับทุกคน อนุโมทนาครับทุกคน
     
  2. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -กรรมฐาน 5 ให้พิจารณาตามเป็นจริง ว่ามันเป็นอสุถะ จะได้ผลมากคือ จิต ต้องเป็นสมาธิก่อน
    -ทางนี้ละจะทำให้ท่านตกกระแสได้เมื่อทำให้มากเจริญให้มาก
    -ผมพิจารณาอย่างนี้ว่า ยก ฟัน มาพิจารณา เมื่อไม่ทำความสะอาดมันจะเป็นอย่างไร เมื่อมันพุมันเป็นอย่างไร เมื่อมันหลุดออกแล้วเอามาต่อใหม่ได้มั้ย มันทำตามบรรชาเราไม่ได้เลย และที่สุดถามมันว่ามันเป็นฟันมั้ย และเงียบรอฟังคำตอบจากมัน แน่นอนไม่มีคำตอบเพราะมันเป็น ธาตุดิน เกิดขึ้น แปรป่วน ดับไป เป็นธรรมดา สอนจิตให้รู้ตามเป็นจริง เมื่อรู้แล้วจิตจะคลายความยึดมั่น
     
  3. โชแปง

    โชแปง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    851
    ค่าพลัง:
    +63
    ผล เป็นเหตุในขณะเดียวกัน
    พิจารณาเหตุ นำไปสู่ ผล
    เหตุหนึ่งนำไปสู่อีกเหตุหนึ่ง
    ย่อยลงไป แขนหรอ
    ย่อยลงไป เนื้อหนังหรอ
    ย่อยลงไป กระดูกหรอ ฯลฯ
    ย่อยลงไป ดูว่าตรงไหนหรอที่เป็นแขนกู

    พิจารณาอสุภะเป็นการทวนไปหาเหตุ จุดเริ่มต้น
    ปัญญาจึงเข้าใจภาพรวมทั้งหมด เกิดความเห็นไม่เที่ยง ไม่มีแก่นสาร ไม่งามตามจริง

    แบ่งเป็นกองๆอย่างที่พระท่านว่าไว้ก็ได้ จนลงสู่ธาตุ
    ทีนี้ต้องมาดูอีกทีว่า ปัญญายึดธาตุ เห็นธาตุเป็นที่สุดรึเปล่า หรือ ปัญญาจะเห็นถูกต้อง ความมีกู ไม่มีกู

    โดยเนื้อแท้ พิจารณาอสุภะ ยังเป็นบัญญัติสมมุตติอยู่
    เห็นว่านี่ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง
     
  4. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    [​IMG]

    สติปัฏฐานสูตร

    กายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ปฏิกูลบรรพ

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นที่สุดรอบเต็ม ด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่า มีอยู่ในกายนี้
    ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อใน กระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร
    ไถ้มีปากสองข้าง เต็มด้วยธัญญชาติต่างอย่างคือ
    ข้าวสาลี ข้าวเปลือก ถั่วเขียว ถั่วเหลือง งา ข้าวสาร
    บุรุษผู้มีนัยน์ตาดี แก้ไถ้นั้นแล้ว พึงเห็นได้ว่านี้ข้าวสาลี นี้ข้าวเปลือก นี้ถั่วเขียว นี้ถั่วเหลือง นี้งา นี้ข้าวสาร ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    ย่อมพิจารณาเห็นกายนี้แหละ เบื้องบนแต่พื้นเท้าขึ้นไป เบื้องต่ำแต่ปลายผมลงมา มีหนังเป็นสุดรอบ เต็มด้วยของไม่สะอาดมีประการต่าง ๆ ว่ามีอยู่ในกายนี้ ผม ขน ฯลฯ ไขข้อ มูตร ดังพรรณนามาฉะนี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายในกายภายในบ้าง ฯลฯ
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ


    สติปัฏฐานสูตร ๑๒/๘๔

    ที่มา พระไตรปิฏก ฉบับ ปฏิบัติ โดย ธรรมรักษา หน้า ๓๑.
     
  5. บุรุษไร้เงา

    บุรุษไร้เงา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มกราคม 2007
    โพสต์:
    8,442
    ค่าพลัง:
    +35,042
    แวะมาอ่านครับ...
    ส่วนที่เจ้าของกระทู้พูดที่ผมเข้าใจก็คือส่วนที่เรียกว่ารูปธรรม นะครับ ซึ่งแนวปฎิบัติแบบผมจะผ่านเรื่องรูปมาเพราะผมใช้สมถะข่มจึงไม่ได้พิจารณากายและไม่มีเรื่องนิวรณ์มาเกี่ยวข้อง จะไม่รู้เรื่อง กาย เรื่องเวทนาครับ..แต่จะไปเน้นที่แยกรูปแยกนามไปเลยแล้วก็พิจารณาตามรู้ตามดูสภาพความเป็นจริงโดยใช้สติแทน...
    แต่ไม่ใช่ว่าจะพิจารณากายไม่ได้นะครับ..จริงๆดูกายแบบผมเนี่ยเห็นกายชัดกว่าในความคิดผมนะครับ คือไม่ต้องไม่ดูวีดีโอ ไปเอารูปภาพศพ รูปภาพอวัยวะภายในอะไรมาดู หรือไม่ต้องนึกๆเห็นๆ หรือ มโนภาพอวัยวะอะไรเลยครับและไม่ใช่ วิปัสสนึกคิดเองเอ่อเองนะครับ..เอาเป็นว่าคุณจะเห็นอวัยวะภายในร่างกายของตัวเองแบบไม่ต้องไปใช้เครื่องเอ็กเรย์.เห็นๆเลยว่า
    หัวใจกำลังเต้นๆ เห็นๆเลยว่ากระดูกเป็นอย่างไร แล้วที่คำสอนเคยเขียนว่าร่างกายเป็นโพรงเป็นอย่างไร.แล้วการที่คุณไปเห็นจะเกิดความคิดในจิตเองว่าน่าขยะขะแยงน่ากลัว
    จนคิดถึงเมื่อไรอยากจะอ๊วก สะอิดสะเอียดขนาดไหน...
    ผมเขียนๆบอกเล่าให้ฟังนะครับ..เผื่อสนใจจะมาพิจารณากายแบบผมแนวๆของผมเป็นอีกทางเลือกครับผม..
    อนุโมทนาอีกรอบนะครับ...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 มีนาคม 2011
  6. vitcho

    vitcho เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    360
    ค่าพลัง:
    +748
    การปฏิบัติ มูลกรรฐานนี้..พึง ปฏิบัติ สมะกรรมฐาน..ให้จิตสงบลงก่อน..พอ มีกำลัง จิต ในการ ใช้ โยนิโสมนสิการ

    โยนิโสมนสิการ คือ การ คิด อย่างแยบคาย ด้วยเหตุด้วยผล
    มองลงในสิ่งที่ พินิจ อย่าง ตรงๆไปตรงมา ...

    การ นำมูลกรรมฐาน 5 อย่างนี้มาพิจารณาให้มองไปว่า ของ ทั้ง 5อย่างนี้ มันไม่สวยไม่งาม..ให้พิจารณษไป ทีละอย่าง มองว่ามันไม่งาม มันสกปรก มันไช่เรา และ มันไม่อาจบังคับบัญชาได้ มันเป็น อนัตตา....

    พิจาราณาบ่อยๆ ทุกวัน เมื่อ มีเวลาว่าง..หาก พิจารณษ เป็นเวลาได้ ยิ่งดี หลังจาก นั่งสมาธิแบบสมถะ ยิ่งดี..นานๆไ ป สิ่งที่จะได้ก่อนเลย คือ การละอัตตา
    ตัวตนได้ คำว่า ตัวกู จะหายไป...
     
  7. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
  8. jintanakarn

    jintanakarn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +236
    การฝึกสมาธิตามหลักพุทธศาสนามีมากมายหลายวิธีตามแต่จริตของแต่ล่ะคน ส่วนการบริกรรม ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง นั้นคือการฝึกสมาธิตามรู้กายซึ่งมีทั้ง32ประการ แต่ย่อมาเพียง5ประการ ของพระกัมฐานเบื้องต้นเพื่อใช้ในการพิจารณากาย ว่าเป็นของไม่เที่ยงมีการเปลี่ยนแปลง ไม่สวยไม่งาม เมื่อรู้ตามสภาพความเป็นจริงจิตก็เกิดการเบื่อหน่ายแล้วทำให้คลายกำหนัดความยึดติดในร่างกายได้ วิธีปฏิบัติในขั้นต้นเมื่อนั่งตามสภาพการนั่งสมาธิแล้ว นั่งหลับตาหายใจปกตินึกถึงคำบริกรรม เมื่อเริ่มนึกถึงคำบริกรรมส่วนใดให้จิตเพ่งไปส่วนนั้นตามลำดับ ไม่ไช่บริกรรมเฉยๆ เช่นเมื่อบริกรรมว่าผมให้จิตอยู่ผมแต่ไม่ต้องไปพิจารณาว่าเป็นของไม่เที่ยงไม่สวยงามเพียงแต่ให้รู้เฉยๆว่านี่คือผมและเปลี่ยนจากผมมาที่ขนให้จิตตามมาที่ขนและเล็บตามลำดับจนถึงหนังวนเวียนอยู่อย่างนี้จนเกิดสภาวะที่สงบ เมื่อจิตจดจ่อกับร่างกายและรับรู้อยู่อย่างนี้ตลอดก็จะเกิดสมาธิ
     
  9. bosslnwskr10

    bosslnwskr10 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    1,912
    ค่าพลัง:
    +1,512
    ผมเจโต ขั้นแรกคือฝึกเล่นกับอารมณ์ตัวเองอ่ะคับ
     
  10. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    จำจนขึ้นใจ

    ในอรรถกถา บอกว่าคนราคะจริตควรพิจารณาความเป็นปฎิกูลของอวัยวะเหล่านี้

    ส่วนคนโทสะจริต ควรพิจารณาสีของอวัยวะเหล่านี้

    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=kylDVP6bEeY&feature=related]Anatomy For Beginners - Digestion - YouTube[/ame]

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
  11. กาน้ำ

    กาน้ำ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    89
    ค่าพลัง:
    +153
    <center>พระไตรปิฏก เล่มที่ ๓๕ พระอภิธรรมปิฎก เล่มที่ ๒ วิภังคปกรณ์</center> <table align="center" background="" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0" width="90%"> <tbody><tr><td>[​IMG]</td> </tr><tr><td vspace="0" hspace="0" bgcolor="darkblue" width="100%">[​IMG]</td></tr></tbody></table>
    <center>กายานุปัสสนานิเทส </center><center>[เห็นกายในกายภายใน] </center> [๔๓๒] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายในเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุ ในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายใน แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาด มีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ- *นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิตเข้า ไปในกายภายนอก <center>[เห็นกายในกายภายนอก] </center> [๔๓๓] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายภายนอก แต่พื้นเท้าขึ้นไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วยของไม่สะอาดมี ประการต่างๆ ว่า ในกายของเขาผู้นั้น มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหาร- *เก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ภิกษุนั้น ย่อมเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้น ภิกษุ- *นั้น ครั้นเสพ เจริญ ทำให้มาก กำหนดด้วยดี ซึ่งนิมิตนั้นแล้ว ย่อมน้อมจิต เข้าไปในกายทั้งภายในและภายนอก <center>[เห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอก] </center> [๔๓๔] ก็ภิกษุ พิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภายนอกเนืองๆ อยู่ เป็นอย่างไร ภิกษุในศาสนานี้ พิจารณาเห็นกายทั้งภายในและภายนอก แต่พื้นเท้าขึ้น ไปในเบื้องบน แต่ปลายผมลงมาในเบื้องต่ำ มีหนังหุ้มอยู่โดยรอบ เต็มไปด้วย ของไม่สะอาดมีประการต่างๆ ว่า ในกายนี้ มี ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ดี เสลด หนอง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร ด้วยอาการอย่างนี้ ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายทั้งภายในและภาย นอกเนืองๆ อยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัส เสียได้ในโลก [๔๓๕] ในบทเหล่านั้น บทว่า พิจารณาเห็นเนืองๆ มีนิเทสว่า การ พิจารณาเห็นเนืองๆ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า การพิจารณาเห็นเนืองๆ ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึง แล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยการพิจารณาเห็นเนืองๆ นี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า พิจารณา เห็นเนืองๆ [๔๓๖] บทว่า อยู่ มีนิเทสว่า สืบเนื่องกันอยู่ ประพฤติเป็นไปอยู่ รักษาอยู่ เป็นไปอยู่ ให้เป็นไปอยู่ เที่ยวไปอยู่ พักอยู่ ด้วยเหตุนั้นจึงเรียกว่า อยู่ [๔๓๗] บทว่า มีความเพียร มีนิเทสว่า ความเพียร เป็นไฉน การปรารภความเพียรทางใจ ฯลฯ สัมมาวายามะ อันใด นี้เรียกว่า ความเพียร ภิกษุ เป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามา ถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยความเพียรนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีความเพียร [๔๓๘] บทว่า มีสัมปชัญญะ มีนิเทสว่า สัมปชัญญะ เป็นไฉน ปัญญา กิริยาที่รู้ชัด ฯลฯ ความไม่หลง ความวิจัยธรรม สัมมาทิฏฐิ อันใด นี้เรียกว่า สัมปชัญญะ ภิกษุเป็นผู้เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้ว ด้วยสัมปชัญญะนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสัมปชัญญะ [๔๓๙] บทว่า มีสติ มีนิเทสว่า สติ เป็นไฉน สติ ความตามระลึก ฯลฯ สัมมาสติ นี้เรียกว่า สติ ภิกษุ เป็นผู้ เข้าไปถึงแล้ว เข้าไปถึงแล้วด้วยดี เข้ามาถึงแล้ว เข้ามาถึงแล้วด้วยดี เข้าถึงแล้ว เข้าถึงแล้วด้วยดี ประกอบแล้วด้วยสตินี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า มีสติ [๔๔๐] บทว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก มีนิเทสว่า โลก เป็นไฉน กายนั้นเอง ชื่อว่าโลก แม้อุปาทานขันธ์ ๕ ก็ชื่อว่า โลก นี้เรียกว่า โลก อภิชฌา เป็นไฉน ความกำหนัด ความกำหนัดนัก ฯลฯ ความกำหนัดนักแห่งจิต อันใด นี้เรียกว่า อภิชฌา โทมนัส เป็นไฉน ความไม่สบายทางใจ ความทุกข์ทางใจ ความเสวยอารมณ์ที่ไม่สบายเป็น ทุกข์อันเกิดแต่เจโตสัมผัส กิริยาเสวยอารมณ์ที่ไม่สบาย เป็นทุกข์อันเกิดแต่ เจโตสัมผัส อันใด นี้เรียกว่า โทมนัส อภิชฌาและโทมนัสดังกล่าวมานี้ ถูกกำจัด ถูกกำจัดราบคาบ สงบ ระงับ เข้าไประงับ ดับไป ดับไปอย่างราบคาบ ถูกทำให้พินาศไป ถูกทำให้พินาศไป ด้วยดี ถูกทำให้เหือดแห้ง ถูกทำให้เหือดแห้งด้วยดี ถูกทำให้มีที่สุดปราศไปแล้ว ในโลกนี้ ด้วยเหตุนั้น จึงเรียกว่า กำจัดอภิชฌาและโทมนัสเสียได้ในโลก <center>กายานุปัสสนานิเทส จบ
    </center>
     
  12. ปุณฑ์

    ปุณฑ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2008
    โพสต์:
    2,760
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +4,692
    การพิจารณาร่างกายว่าเป็นของไม่สวยงาม
    การพิจารณากายลม(อานาปานสติ)
    หรือการพิจารณาร่างกายว่าเป็นอศุภะ
    ฯลฯ
    ก็ถือว่า เป็นกายคตานุสสติ ด้วย

    ๘. กายคตานุสสติกรรมฐาน โดยหลวงพ่อฤาษีลิงดำ

    กายคตานุสสติ แปลว่า พิจารณากายให้เห็นว่า ไม่สวยไม่งาม มีความโสโครก
    ตามกฎแห่งความเป็นจริงเป็นอารมณ์ กายคตานุสสตินี้เป็นกรรมฐานสำคัญที่พระอริยเจ้า
    ทุกองค์ไม่เคยเว้น เพราะพระอริยเจ้าก่อนแต่จะได้สำเร็จมรรคผล ทุกท่านนิยมพิจารณา
    ให้เห็นว่าไม่สวย ไม่น่ารัก น่ารังเกียจ เพราะมีสภาพน่าสะอิดสะเอียนตามปกติเป็นอารมณ์
    และกายคตานุสสตินี้ เป็นกรรมฐานพิเศษกว่ากรรมฐานกองอื่น ๆ เพราะถ้าพระโยคาวจร
    พิจารณาตามกฎของกายคตานุสสติผลที่ได้รับจะเข้าถึงปฐมฌานแต่ถ้ายึดสีต่าง ๆ ร่างกาย
    ที่ปรากฏมีสีแดงของเลือดเป็นต้น ยึดเป็นอารมณ์ในการเพ่งเป็นกสิณ กรรมฐานกองนี้ก็มี
    ผลได้ฌาน ๔ ตามแบบของกสิณ
    การพิจารณาท่านเขียนไว้ใน วิสุทธิมรรค วิจิตรพิศดารมาก จะไม่ขอกล่าวตามจน
    ละเอียด ขอกล่าวแต่เพียงย่อ ๆ พอได้ความ หากท่านนักปฏิบัติมีความข้องใจ หรือสนใจ
    ในความละเอียดครบถ้วน ก็ขอให้หา หนังสือวิสุทธิมรรคมาอ่าน จะเข้าใจละเอียดมาก
    ขึ้นตามแนวสอนในวิสุทธิมรรค ท่านให้พิจารณาอาการ ๓๒ คราวละ ๕ อย่าง เช่น
    พิจารณา ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ รวม ๕ อย่างเป็นหมวดหนึ่ง ท่านให้พิจารณา
    ตามลำดับและ ย้อนกลับ เช่น พิจารณาว่า เนื้อ หนัง ฟัน เล็บ ขน ผม ย้อน จากปลาย
    มาต้น
    เรียกว่า ปฏิโลม คือถอยกลับ ให้พิจารณาทั้งสีและสัณฐาน สภาพตามความเป็น
    จริงว่าไม่มีอะไรสวยงาม เพราะมีความสกปรกโสโครกอยู่เป็นปกติ ต้องคอยขัดสีฉวีวรรณ
    อยู่เสมอ ๆ ทั้ง ๆ ที่คอยประคับประคองอยู่เพียงใด สิ่งเหล่านี้ก็ยังจะมีการแปดเปื้อนสกปรก อยู่เสมอ...

    อ่านต่อที่
    http://www.palungjit.org/smati/books/index.php?cat=269
     
  13. เกิดดับ

    เกิดดับ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +20
    บริกรรม เกษา โลมา นขา ทันตา ตโจ กลับไปกลับมาบ่อยๆก่อนครับ ให้จิตเป็นสมาธิ (หรือหากท่านชำนาญสมาธิวิธีอื่น ก็ทำวิธีนั้นก่อนก็ได้)
    เมื่อจิตเป็นสมาธิ ให้ ออกพิจารณาทีละส่วนเลยครับ เอาให้เห็นถึงความไม่สวยไม่งามของมัน

    ลองฟังหลวงตาท่านสอนดูครับ
    [ame=http://www.youtube.com/watch?v=MaqhPILyFrU]การปฏิบัติเริ่มต้น จนเข้าถึงพระนิพพาน โดย หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน - YouTube[/ame]
     
  14. Tamjugg

    Tamjugg เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กันยายน 2012
    โพสต์:
    657
    ค่าพลัง:
    +1,029
    เมื่อท่านเห็นคนสวย แล้วหญิงสาวแสนสวยแยกเอาส่วนต่างๆของร่างกายมาให้ท่าน ท่านจะยังชอบอยู่? เช่น ผม ขน เล็ป ฟัน หนัง เป็นส่วนๆมาให้ท่าน และอีกประการคือเป็นที่ไหลออกของสิ่งปฏิกูลสกปรก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2013
  15. สับสน!

    สับสน! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 เมษายน 2010
    โพสต์:
    0
    ค่าพลัง:
    +3,984
    ..เคยดูพระเครื่องไหมครับดูแบบเซียนนะ ..ต้องใช้.."ความรู้สึก".. ดูจึงจะเห็นครับ..ตอนจิตเราสงบ
    ..บางคน 3 ปี ยังมองเล็บไม่เป็นเล็บเลยครับ อิอิ:cool:
     
  16. Enzo Zen

    Enzo Zen เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มกราคม 2021
    โพสต์:
    1,107
    ค่าพลัง:
    +675
    ^ คนเนี้ยะรู้จริง

    ไม่ใช้คำบริกรรม เกษา โลมา นขา ทันตา ตโจ กลับไปกลับมา ยังได้เลย แต่ใช้ "ความรู้สึก" ทำให้ภาพที่ตั้งขึ้นย้อนกลับไปกลับมาแทน

    ท่องคำบริกรรม แต่จิตไม่รู้สึกถึงภาพอุคหนิมิตที่ตั้งขึ้น ฝึกกี่ปี ๆ ภาพก้อไม่ปรับเป็นปฎิภาค ..ส่วนลมไม่ต้องไปดูก็ได้

    ถ้าฝึกถูก ....ไม่ถึงปี จิตก็ได้ปฎิภาคแระ ไม่ยากส์
     
  17. ฟางว่าน

    ฟางว่าน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,080
    ค่าพลัง:
    +968
    ภาวนา เกศา โลมา นขา ตันตา ตโจ หรือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ให้เห็นเป็นไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกข์ขัง อนัตตา และเห็นเป็นปฏิกูล เพื่อจิตคลายอาสวะ ละอุปาทาน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 กันยายน 2021

แชร์หน้านี้

Loading...