ระยะเวลาของคำว่า กัป กับ อสงไขยกัป ยาวนานเท่าไหรหรอคับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย พิพัด, 22 มีนาคม 2007.

  1. พิพัด

    พิพัด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +53
    ระยะเวลาของคำว่า กัป กับ อสงไขยกัป ยาวนานเท่าไหรหรอคับ
    2 คำนี้แทนเวลากี่ปีหรอคับ
     
  2. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,329
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,265
    ต่อไปจะเทียบระยะเวลา 1 กัป 1 อสงไขย และ 1 ปทุมะนรก ให้พิจารณากันดู เพื่อปลงสังเวช
    กับอัตตา(อวิชา)ของสัตว์ทั้งหลาย ซึ่งเป็นค่าโดยประมาณ อาจจะมีความคลาดเคลื่อนมากกว่านี้ก็ได้
    ใครมีความรู้ในทางคณิตสาตร์ ก็สามารถช่วยแสดงความคิดเห็น เพื่อจะได้ค่าที่ถูกต้องมากขึ้น
    เรื่องของ กัป จากพระไตรปิกฏประมาณคำว่า 1 กัปได้ดังนี้
    สมมุติมีกล่องใบหนึ่ง กว้าง 100 โยชน์ ยาว 100โยชน์ และ สูง 100 โยชน์ ในเวลา 100 ปี ให้เอาเมล็ดผักกาด 1 เมล็ด
    ใส่ลงไปในกล่องนั้น ทำอย่างนี้จนเมล็ดผักกาดนั้นเต็มเสมอเรียบปากก่ลอง นั้นละจึงเท่ากับ 1 กัป
    (บางตำรากล่าวว่า กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์)
    วิเคราะห์คำนวณ 1 โยชน์ = 16 กิโลเมตร
    ดังนั้นกล่องใบนี้มีปริมาตร = 1600X1600X1600 = 4,096,000,000 ลูกบาตร์กิโลเมตร์
    ประมานว่า เมล็ดผักกาด มีขนาด .5 มิลลิเมตร
    1 กิโลเมตรเที่ยบเป็นมิลลิเมตรได้ดังนี้ 10X100X1000 = 1,000,000 มิลลิเมตร
    จะได้ 1 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเริ่ยงกัน = (1,000,000)/0.5 = 2,000,000 เมล็ด
    ดังนั้น 1600 กิโลเมตรใช้เมล็ดผักกาดเรี่ยงกัน = 1600X2,000,000 = 3,200,000,000 เมล็ด
    ถ้าเป็นปริมาตร คือ กว้าง*ยาว*สูง ต้องใช้เมล็ดผักกาดทั้งหมด คือ
    3,200,000,000X3,200,000,000X3,200,000,000 = 32,768,000,000,000,000,000,000,000,000 เมล็ด
    ใน 100 ปี ใส่เมล็ดผักเพียง 1 เมล็ด ดังนั้นต้องใช้เวลาทั้งหมดคือ
    32,768,000,000,000,000,000,000,000,000X100 = 327,680,000,000,000,000,000,000,000,000,000 ปี
    จึงได้เวลา 1 กัป ประมาณ สามร้อยยีสิบเจ็ดล้านหกแสนแปดหมื่นล้านล้านล้านล้าน ปี
    ประมาณ 3.3 X 10**32 ปี
    เครื่องหมาย ** เป็นเครื่องหมาย ยกกำลัง
    (หมายเหตุ บางตำรากล่าวว่า กว้าง 1 โยชน์ ยาว 1 โยชน์ สูง 1 โยชน์ จึงได้ 1 กัปล์ ประมาณ 3.3 X 10**26 ปี โดยเอา 0
    ออกไป 6 ตัว จากค่าที่คำนวณได้ในครั้งแรก)

    เรื่องของอสงไขย จากหนังสือสัมภารโพธิญาณ เป็นหนังสือเก่ามากแล้ว เรียบเรียงก่อนที่ผมเกิดเสียอีกประมาณ 42
    ปีมาแล้ว เสียดายไม่ได้จดชื่อผู้เรียบเรียง แต่ค่าที่ได้ก็ตรงกับผู้ที่คำนวณไว้ก่อน สามารถนับ 1 อสงขัย
    และเทียบกับหน่วยนับปัจจุบันได้ดังนี้
    สิบ สิบหน เป็น ร้อย 10**2
    สิบร้อย เป็น พัน 10**3
    สิบพัน เป็น หมื่น 10**4
    สิบหมื่น เป็น แสน 10**5
    ร้อยแสน เป็น โกฏิ 10**7
    ร้อยแสนโกฏิ เป็น ปโกฏิ 10**7 X 10**7 = 10**14
    ร้อยแสนปโกฏิ เป็น โกฏิปโกฏิ 10**7 X 10**14 = 10**21
    ร้อยแสนโกฏิปโกฏิ เป็น นนุตหนึ่ง 10**7 X 10**21 = 10**28
    ร้อยแสนนนุต เป็น นินนนุตหนึ่ง 10**7 X 10**28 = 10**35
    ร้อยแสนนินนุต เป็น อักโขภินีหนึ่ง 10**7 X 10**35 = 10**42
    ร้อยแสนอักโขภินี เป็น พินทะหนึ่ง 10**7 X 10**42 = 10**49
    ร้อยแสนพินทะ เป็น อัพภูทะหนึ่ง 10**7 X 10**49 = 10**56
    ร้อยแสนอัพภูทะ เป็น นิรพุทะหนึ่ง 10**7 X 10**56 = 10**63
    ร้อยแสนนิรพุทะ เป็น อหนะหนึ่ง 10**7 X 10**63 = 10**70
    ร้อยแสนอหนะ เป็น อพพะหนึ่ง 10**7 X 10**70 = 10**77
    ร้อยแสนอพพะ เป็น อฏฏะหนึ่ง 10**7 X 10**77 = 10**84
    ร้อยแสนอฏฏะ เป็น โสคันธิกะหนึ่ง 10**7 X 10**84 = 10**91
    ร้อยแสนโสคันธิกะ เป็น อุปละหนึ่ง 10**7 X 10**91 = 10**98
    ร้อยแสนอุปละ เป็น กมุมะหนึ่ง 10**7 X 10**98= 10**105
    ร้อยแสนกมุมะ เป็น ปทุมะหนึ่ง 10**7 X 10**105= 10**112
    ร้อยแสนปทุมะเป็น ปุณฑริกะหนึ่ง 10**7 X 10**112= 10**119
    ร้อยแสนปุณฑริกะ เป็น อกถานหนึ่ง 10**7 X 10**119= 10**126
    ร้อยแสนอกถาน เป็น มหากถานหนึ่ง 10**7 X 10**126= 10**133
    ร้อยแสนมหากถาน เป็น อสงไขยหนึ่ง10**7 X 10**133= 10**140
    ดังนั้น 1 อสงไขย = สิบยกกำลัง หนึ่งร้อยสีสิบ หรือ 1 ตามด้วย 0 จำนวน 140 มหากัป
    ข้อสังเกตุ จำนวนปีของมนุษย์โลกเทียบกับ 1 กัปนั้นยังมีความคลาดคลื่อนอีกมากมาย จึงให้ถึอกำหนดเอา
    โลกจักรวาลเมื่อก่อกำหนิดขึ้นจนกระทั้งพังทลายศูนย์หายไป 1 ครั้ง เป็น 1 กัป
    แต่จำนวน 1 อสงไขยมีกี่กัปนั้นเป็นจำนวนที่แน่นอน คือ 1 ตามด้วยเลข 0 จำนวน 140 ตัว หรือ 1 X 10**140

    อายุขัยของเทวดาเทียบกับปีของมนุษย์โลก
    หนึ่ง 1 ปีทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้น เท่ากับ 360 วันทิพย์ของสวรรค์แต่ละชั้น
    ชั้นจาตุ มีอายุ 500 ปีทิพย์ 1 วันทิพย์ เท่ากับ 50 ปีโลกมนุษย์
    ดังนั้นเท่ากับ 500X360X50 = 9,000,000 ปี
    ชั้นดาวดึงส์ " " 1000 " " 1 " " 100 " " เท่ากับ 36,000,000 ปี
    ชั้นยามา " " 2000 " " 1 " " 200 " " เท่ากับ 144,000,000 ปี
    ชั้นดุสิต " " 4000 " " 1 " " 400 " " เท่ากับ 576,000,000 ปี
    ชั้นนิมมา " " 8000 " " 1 " " 800 " " เท่ากับ 2,304,000,000 ปี
    ชั้นปรมิน " " 16000 " " 1 " " 1600 " " เท่ากับ 9,216,000,000 ปี
    อายุของพระพรหม รูปฌาน 1 ถึง รูปฌาน 4
    รูปฌาน 1 มีอยู่ 3 ชั้น
    สมาธิอย่างอ่อน ปาริสัชนาพรหม มีอายุ 1/3 กัป
    สมาธิยย่างกลาง ปุโรหิตพรหม มีอายุ 1/2 กัป
    สมาธิอย่างสูง มหาพรหม มีอายุ 1 กัป
    รูปฌาน 2 มีอยู่ 3 ชั้น
    สมาธิอย่างอ่อน ปริตตาภาพรหม มีอายุ 2 กัป
    สมาธิยย่างกลาง อัปปมาณภาพรหม มีอายุ 4 กัป
    สมาธิอย่างสูง อาภัสสราพรหม มีอายุ 8 กัป
    รูปฌาน 3 มีอยู่ 3 ชั้น
    สมาธิอย่างอ่อน ปริตตสุภาพรหม มีอายุ 16 กัป
    สมาธิยย่างกลาง อัปปมาณสุภาพรหม มีอายุ 32 กัป
    สมาธิอย่างสูง สุภกิณหาพรหม มีอายุ 64 กัป
    รูปฌาน 4 มีอยู่ 2 ชั้น
    เวหัปผลพรหม มีอายุ 500 กัป
    อสัญญสัตราพรหม มีอายุ 500 กัป
    สุทธาวาสพรหม มี 5 ชั้น เป็นภพของพระอนาคามี
    1. อวิหา มีอายุ 1,000 กัป
    2. อตัปปา มีอายุ 2,000 กัป
    3. สุทัสสา มีอายุ 4,000 กัป
    4. สุทัสสี มีอายุ 8,000 กัป
    5. อกนิฏฐา มีอายุ 16,000 กัป
    อรูปพรหม มี 4 ชั้น
    1.อากาสานัญจายตนพรหม มีอายุ 20,000 กัป
    2.วิญญาณัญจายตนพรหม มีอายุ 40,000 กัป
    3.อากิญจัญญายตนพรหม มีอายุ 60,000 กัป
    4.เนวสัญญานาสัญญายตนาพรหม มีอายุ 84,000 กัป

    พิจารณาดูจะเห็นว่า เมื่อมีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น 1 พระองค์ ขณะที่พระองค์มีพระชนชีพอยู่ แสงสว่างของ พระพุทธ
    พระธรรม พระสงฆ์ กระจายไปทั่วสากลจักวาลอย่างรวดเร็ว เหมือนกับสายฟ้าแลบ
    และแสงสว่างแห่งธรรมนั้นยังคงสว่างสไหวอยู่
    เมื่อพระองค์ดับขันท์ปรินิพพานแม้อายุขัยของภพมนุษย์นั้นจะเพียงน้อยนิด
    แต่แสงสว่างในธรรมนั้นก็ค่อยทยอยดับอย่างช้าๆ เริ่มต้นจากโลกมนุษย์นี้ก่อน แล้วทยอยดับไปยัง สวรรค์ชั้นจาตุ
    ชั้นดาวดึงส์ ชั้นยามา ชั้นดุสิต ชั้นนิมมา ชั้นปรมิน แล้วทยอยดับไปที่ รูปพรหมของฌานทั้ง 4 ซึ่งทยอยดับไปที่ละชั้น
    จนถึงสุทธาวาสพรหมทั้ง 5 ชั้นทยอยดับที่ละชั้น จนถึงอรูปพรหม ที่พระอริยะบางท่านจุติอยู่
    ถ้ายังไม่มีพระพุทธเจ้าพระองค์ใหม่บังเกิดขึ้นในใลก แสงสว่างของธรรมจากพระพุทธองค์นั้นเมื่อบังเกิดขึ้น
    แล้วทยอยดับจนหมดสิ้น ใช้เวลาเป็นแสนกัป รอจนพระพุทธเจ้าองค์ใหม่อุบัติขึ้นมาใหม่ในโลก
    แสงสว่างแห่งธรรมนี้ไม่มีมนุษย์หรือเทพหรือพระพรหมองค์ใดจะกระทำได้
    มีแต่เพียงพระพุทธเจ้าเท่านั้นจึงทำให้บังเกิดขึ้นได้

    เปรียบเทียบอายุในอเวจีนรก 1 ปทุมนรก กับมนุษย์โลกได้ ดังมีในพระไตรปิกฏดังนี้
    เมล็ดงา 1 เกีวยน มีอัตตรา 20 ขารี 1 ขารีเท่ากับ 256 ทะนาน เมื่อล่วงไป 1 แสนปีเอาเมล็ดงาออกจากเกวียน 1
    เมล็ดทำจนหมดจากเกีวยน ก็ยังไม่ถึง 1 อัพพุทะในนรกเลย
    การเปรียบเทียบ 1 อัพพุทะ ตามมาตรตราปัจจุบันอย่างคล่าวๆ
    1 ทะนาน เท่ากับ 1 ลิตร
    1 ลิตร เท่ากับ 1000 ลูกบาศเชนติเมตร
    เมล็ดงา 1 เมล็ด ประมาณ 1 มิลิเมตร ดังนั้น 1 เชนติเมตร เอาเม็ลดงาเรียงกันได้ 10 เมล็ด
    จะได้ 1 ลูกบาศเชนติเมตร จะมีจำนวน เมล็ดงา ประมาณ 10 X10 X 10 = 1000 เมล็ด
    จะได้ 1 ลิตรมีเมล็ดงาประมาณ 1000X1000 ประมาณ 1,000,000
     
  3. ธรรมวิวัฒน์

    ธรรมวิวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    26,329
    กระทู้เรื่องเด่น:
    82
    ค่าพลัง:
    +115,265
    <CENTER>เรื่องกัป
    </CENTER> กาลสมัยเริ่มแรกทีเดียว คือ ในยุคต้น คนเราไม่ใช่มีอายุน้อยนิดหนึ่งเพียง ๗0 - ๘0 ปี แล้วตายลงอย่างทุกวันนี้เลย ความจริง มนุษย์ในยุคนั้น เขามีอายุยืนนานถึงอสงไขยปี ที่ว่าอสงไขยปีนั้น ก็คือจำนวนปีมนุษย์ที่มีเลขหนึ่งขึ้นหน้า แล้ว
    ต่อด้วยเลขศูนย์หนึ่งร้อยสี่สิบตัว หรือจะว่าเป็นจำนวนปีที่นับด้วยเลขหนึ่งร้อยสี่สิบเอ็ดหลักก็ได้ อยากรู้ว่ามีจำนวนเท่าใด
    ก็ลอง คำนวณดูเถิด คือ ตั้งเลขหนึ่งเข้าแล้วเติมศูนย์ลงไปให้ได้หนึ่งร้อยสี่สิบศูนย์ กาลเวลาตามจำนวนตัวเลขดังกล่าวนี้ เป็นจำนวน อสงไขยปี เพราะมันเป็นจำนวนปีที่มากมายเกือบจะนับไม่ได้อย่างนี้ จึงมีชื่อเรียกว่า อสงไขยปี = จำนวนปีที่
    นับไม่ได้

    ในยุคต้น มนุษย์มีอายุนานได้อสงไขยปีนี่แล แล้วค่อยๆลดลงมา ร้อยปีลดลงหนึ่งปี ลดลงมาเรื่อยๆ ค่อยลดลงด้วย อาการอย่างนี้ จนกระทั่งอายุมนุษย์เหลือเพียงสิบปี อาการที่อายุลดลงนี้ พึงเห็นตัวอย่าง เช่น ในสมัยที่สมเด็จพระสัมมาสัม พุทธเจ้าของเรายังทรงพระชนม์ชีพอยู่มนุษย์ในสมัยนั้นมีอายุหนึ่งร้อยปี ตั้งแต่บัดนั้นมาจนถึงกาลทุกวันนี้ นับได้สองพันห้าร้อย ปีเศษ หรือจะพูดอีกทีว่านับได้ยี่สิบห้าร้อยปีเศษแล้ว ทีนี้ ร้อยปีลดลงเสียปีหนึ่งก็คงเหลือเจ็ดสิบห้าปี (๑00-๒๕ = ๗๕) จึง เป็นอันยุติได้ว่า ในสมัยทุกวันนี้ อายุมนุษย์มี ๗๕ ปี เป็นประมาณเท่านั้นเอง เมื่อลดลงไปจนกระทั่งเหลือนิดหน่อยเพียงสิบปี
    แล้ว คราวนี้ไม่ลดไปอีกละ แต่จะเพิ่มขึ้น คือ ค่อยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ร้อยปีเพิ่มขึ้นปีหนึ่ง เช่นเดียวกับตอนที่ลดลงนั่นเอง เพิ่มขึ้น ไปเรื่อยไม่หยุดยั้ง จนกระทั่งมนุษย์อายุยืนนานถึงอสงไขยปีตามเดิมอีก เวลานานหนึ่งรอบอสงไขยปีนี่เองเรียกว่า อันตรกัป

    เมื่อนับอันตรกัปที่ว่ามานี่ได้หกสิบสี่อันตรกัป จึงเป็นหนึ่งอสงไขยกัป ก็อสงไขยกัปนี้มีอยู่ ๔ อสงไขยกัป คือ
    ๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป ได้แก่ ตอนที่โลกกำลังถูกทำลาย ซึ่งได้แก่คำว่า สงฺวฏฺฏตีติ สงฺวฏฺโฏ = กัปที่กำลังพินาศ
    อยู่ เรียกว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป
    ๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ได้แก่ ตอนที่โลกถูกทำลายเสร็จแล้ว ซึ่งได้แก่คำว่า สงฺวฏฺโฏ หุตฺวา ติฏฐตีติ สงฺวฏฺฏฐายี = กัปที่มีแต่ความพินาศตั้งอยู่ เรียกว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
    ๓. วิวัฏฏอสงไขย ได้แก่ ตอนที่โลกกำลังพัฒนาคือกำลังจะกลับคืนเป็นปกติ ซึ่งได้แก่คำว่า วิวฏฺตีติ วิวฏฺโฏ =
    กัปที่กำลังเจริญขึ้นเรียกว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป
    ๔. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป ได้แก่ ตอนที่โลกพัฒนาเรียบร้อยแล้วเป็นอันดีแล้วซึ่งได้แก่คำว่า วิวฏฺโฏ หุตฺวา ติฏฐตีติ วิวฏฺฏฐายี = กัปที่เจริญขึ้นพร้อมแล้ว คือทุกสิ่งทุกอย่าง ตั้งอยู่ตามปกติ เรียกว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

    สัตว์โลกทั้งหลายเช่นมนุษย์เรานี้เป็นต้น จะมีชีวิตอยู่ในโลกนี้ได้ ก็เฉพาะตองอสงไขยกัปสุดท้าย คือ วิวัฏฏฐายี อสงไขยกัป นี่เท่านั้น ส่วนตอนทั้งสามกัปข้างต้นนั้น ไม่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่เลย ก็จะอยู่ได้อย่างไรเล่า เพราะเป็นตอนที่โลก กำลังพินาศ และผลมาเป็นปกติเอาเมื่อตอนอสงไขยกัปสุดท้ายนี่เอง
    อสงไขยกัปหนึ่งๆ นั้นนับเป็นเวลานานมาก ดังกล่าว คือ
    ๑. สังวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
    ๒. สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
    ๓. วิวัฏฏอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
    ๔. วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป นานถึง ๖๔ อันตรกัป
    รวมทั้ง ๔ อสงไขยกัป ก็เป็น ๒๕๖ อันตรกัป เวลาทั้งหมดนี้ เรียกว่า ๑ มหากัป

    ที่พรรณนามาทั้งหมดนี้ รู้สึกว่าจะเข้าใจยากอยู่สักหน่อย แต่ก็เป็นการจนใจเหลือวิสัยแท้ ไม่ทราบว่าจะทำอย่างไร จึงจะอธิบายให้ง่ายกว่านี้ได้อีกแล้ว ความจริง การรจนาเรียบเรียงหนังสือเรื่องนี้ ตั้งใจจะให้อ่านเข้าใจกันง่ายๆ เพราะโดย มากเป็นเรื่องราวนอกโลกมนุษย์ ใครที่เป็นคนเชื่อยาก เป็นผู้ที่มากไปด้วยจินตมัยปัญญา ก็อาจทึกทักเอาว่าเป็นเรื่องไม่เข้าท่า ไม่น่าเชื่อฟัง แต่ว่าความจริงไม่ใช่ เพราะเป็นเรื่องดีที่ควรรู้ไว้นักหนา รับฟังไว้พิจารณาเถิด วันนี้ไม่ศรัทธา แต่ว่าภายหน้าจะ ต้องเชื่อในเมื่อจิตใจเจริญขึ้นด้วยธรรมปฏิบัติ ฉะนั้น ขณะนี้ไม่ต้องคิดอะไรมาก อ่านฟังกันต่อไปดีกว่า
    ลำดับนี้ จะว่าด้วยเรื่องกัปซ้ำอีกที เพราะเท่าที่ว่ามาแล้วรู้สึกว่ายังขัดๆ อยู่ ยังไม่โล่งใจนัก เรื่องกัปนี้ เมื่อจะว่าซ้ำ
    อีกที ก็นับได้ดังนี้

    ๑ มหากัป เท่ากับ ๔ อสงไขยกัป
    ๑ อสงไขยกัป เท่ากับ ๖๔ อันตรกัป
    ๑ อันตรกัป เท่ากับ ๑ รอบอสงไขยปี

    หรือ
    ๑ รอบอสงไขยปี เป็น ๑ อันตรกัป
    ๖๔ อันตรกัป เป็น ๑ อสงไขยกัป
    ๔ อสงไขยกัป เป็น ๑ มหากัป

    เอาละ หวังว่า คงเป็นที่เข้าใจได้ง่ายขึ้นแล้ว
     
  4. พิพัด

    พิพัด Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +53
    ขอบคุณคับ
     
  5. wudiman

    wudiman เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    209
    ค่าพลัง:
    +1,333
    อนุโมทนาครับ ยาวนานจริงๆ ครับ
     
  6. humanFreedom

    humanFreedom สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2012
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +1
    1 กัลป์เท่ากับกี่ปีมนุษย์ครับ

    ผมลองทำเป็น Diagram เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าใจของผม ซึ่งรายละเอียดข้อมูลต่าง ๆ ก็ได้รวบรวมจากหนังสือทางพระพุทธศาสตร์และข้อมูลจากเวปไซต์ต่าง ๆ ครับ ถ้าผิดพลาดประการใดผู้รู้โปรดชี้แนะด้วยครับ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. CHOLPRATAN319

    CHOLPRATAN319 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    341
    ค่าพลัง:
    +2,552
    สาธุ ข้าพเจ้าขออนุโมทนาเป็นอย่างสูง <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ด้วยกุศลผลบุญการอนุโมทนาบุญในครั้งนี้
    ขอให้ข้าพเจ้าได้มีดวงตาเห็นธรรมและปัญญาเห็นธรรมโดยฉับพลัน
    ด้วยกุศลผลบุญนี้ขอจงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าสู่พระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ด้วยเถิด
    ภพภูมิอื่นใด ไม่ว่าจะเป็น อบายภูมิ โลกมนุษย์ สวรรค์ พรหม หรืออรูปพรหมก็ตาม ข้าพเจ้าไม่ปรารถนา... ข้าพเจ้าปรารถนาเพียงพระนิพพานเป็นที่สุด..<o:p></o:p>

    ตายเมื่อไหร่ขอไปพระนิพพานเมื่อนั้น..<o:p></o:p>
    นิพพานัง ปรมัง สุขขัง
    นิพพานัง ปัจจโย โหตุ<o:p></o:p>

    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใด ที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญแล้ว ณ โอกาสนี้ ข้าพเจ้าทั้งหลายขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เจ้ากรรมนายเวร ทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดี ขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน
    และข้าพเจ้าทั้งหลาย ขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่เทพเจ้าทั้งหลาย ที่ปกปักรักษาข้าพเจ้า และเทพเจ้าทั้งหลายทั่วสากลพิภพ และพระยายมราช ขอเทพเจ้าทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้ ขอจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศล ของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด
    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ ให้แก่ท่านทั้งหลาย ที่ล่วงลับไปแล้ว ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี เสวยความทุกข์อยู่ก็ดี เป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี ขอท่านทั้งหลาย จงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์ ความสุข เช่นเดียวกับข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด
    ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้บำเพ็ญมาแล้ว ณ โอกาสนี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัย ให้ข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เข้าถึงซึ่งพระนิพพาน ในชาติปัจจุบันนี้เถิด ตราบใดที่ข้าพเจ้ายังมิได้ซึ่งพระนิพพานเพียงใด ขอคำว่าไม่มี จงอย่าปรากฏแก่ข้าพเจ้าทุกเมื่อเทอญ.<o:p></o:p>
     
  8. พยัคฆ์หลับ

    พยัคฆ์หลับ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    206
    ค่าพลัง:
    +83
    กัป กัลป์ และอสงไขย

    การนับกาลเวลามี ๒ แบบ คือ แบบที่นับเป็นตัวเลข ๑ ๒ ๓ .... เพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ เรียกว่านับเป็นตัวเลขสังขยา คือ ตัวเลขที่นับได้
    ถ้ามากเกินจะนับไหวแล้ว ก็จะเปลี่ยนมานับโดยการอุปมา คือการเปรียบเทียบเอา

    แล้วตัวเลขแค่ไหนล่ะที่นับไม่ได้ เราจะนับกันสูงสุดแค่ไหน
    ตัวเลขที่กำหนดว่าไม่นับแล้ว เลิกนับแบบสังขยากันดีกว่า คือ ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว ซึ่งถือเป็นตัวเลขสูงสุดที่นับกัน ถ้าเกินไปกว่านี้ พระพรหมก็เบือนหน้าหนีแล้ว
    จำนวนที่เกินจาก ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัว จึงเรียกว่าเป็นจำนวน อสังขยา หรือ อสงไขยนั่นเอง

    กาลเวลาทางพุทธศาสนาที่พบเจอกันบ่อยๆ ก็คือ
    ๑. กัป
    ๒. อสงไขยปี
    ๓. รอบอสงไขย
    ๔. อันตรกัป
    ๕. อสงไขยกัป
    ๖. มหากัป
    ๗. อสงไขย
    ๘. พุทธันดร

    กัป
    ในความหมายแรก หมายถึงอายุกัป คือระยะเวลาที่เท่ากับอายุเฉลี่ยของมนุษย์ยุคนั้น ซึ่งผันแปรตั้งแต่ ๑๐ - อสงไขยปี
    สมัยพุทธกาล อายุกัปเท่ากับ ๑๐๐ ปี ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า ผู้บำเพ็ญอิทธิบาท ๔ สามารถมีอายุอยู่ได้ตลอดกัป ก็หมายถึงมีอายุอยู่ได้ ๑๐๐ ปี นั่นเอง
    และเนื่องจากตอนนี้อยู่ในช่วงอายุขาลง ทุก ๑๐๐ ปี อายุมนุษย์จะลดลง ๑ ปี ปัจจุปัน อายุกัปของเราจึงเหลืออยู่เพียง ๗๕ ปีเท่านั้น
    คำว่ากัป หรือกัปป์ หรือกัปปะ เป็นภาษาบาลี ส่วนภาษาสันสกฤติใช้คำว่า กัลป์ สรุปแล้ว กัป กับ กัลป์ ก็คือตัวเดียวกันนั่นเอง

    อสงไขยปี
    ก็คือ จำนวนปีที่ขึ้นต้นด้วย ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ปีนั่นเอง ตัวเลขนี้เป็นอายุของมนุษย์ยุคสร้างโลก เมื่อโลกเกิดขึ้นใหม่ พระพรหมที่หมดอายุก็จุติมาอุบัติเป็นสัตว์โลกผู้มีจิตประภัสสร ลอยไปลอยมาในอากาศได้ มีอาหารเป็นทิพย์ มีศีลธรรมดีดุจพระพรหม อายุจึงยืนยาวถึงอสงไขยหนึ่ง

    รอบอสงไขย
    ต่อมามนุษย์เริ่มไปกินง้วนดินเข้า จิตก็เริ่มหยาบ กายก็เริ่มหยาบ กิเลสก็พอกหนา เหาะไม่ได้ กลายเป็นมนุษย์เดินดิน อายุก็ค่อยๆ ลดลง ทุก ๑๐๐ ปี ลดลง ๑ ปี จนเหลือแค่ ๑๐ ปี ยุคนั้นก็เป็นยุคมิคสัญญี มนุษย์ฆ่าฟันกันเหมือนผักปลา ศีลธรรมก็ไม่มี พอฆ่ากันตายเกือบหมดโลก พวกที่เหลือสังเวชใจ เริ่มรักษาศีลกันอีกครั้ง อายุก็ค่อยๆ เพิ่มขึ้น ทุก ๑๐๐ ปี ก็เพิ่มขึ้น ๑ ปี จนกลับไปยืนยาวถึงอสงไขยปีอีกครั้ง
    เวลาทั้งหมดนี้ เรียกว่ารอบอสงไขย
    อันตรกัป
    ก็คือ ๑ รอบอสงไขยนั่นเอง

    อสงไขยกัป
    โลกนี้มีเกิดดับเป็นวัฏจักร รอบหนึ่งใช้เวลาทั้งสิ้น ๒๕๖ อันตรกัป คือ
    ๑ โลกกำลังถูกทำลาย อาจโดนไฟประลัยกัปเผา หรือน้ำประลัยกัปตกกระหน่ำ หรือลมประลัยกัปพัดทำลาย ทุกสรรพสิ่งจะถูกทำลายย่อยยับไม่มีเหลือเลย ทำลายตั้งแต่มหานรกขึ้นไปถึงพรหมอีกหลายชั้น ใช้เวลาทำลายทั้งสิ้น ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเฉพาะว่า สังวัฏฏอสงไขยกัป
    ๒ จากนั้นทุกอย่างก็ว่างเปล่า มืดมิด ไม่มีอะไรเลย เป็นเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า สังวัฏฏฐายีอสงไขยกัป
    ๓ จากนั้นโลกก็จะเริ่มก่อตัวขึ้นมาใหม่ มีผืนน้ำ มีแผ่นดิน รวมเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิวัฏฏอสงไขยกัป
    ๔ จากนั้นโลกจึงมนุษย์และสัตว์อาศัยอยู่ได้ เป็นเวลาอีก ๖๔ อันตรกัป หรือเรียกว่า ๑ อสงไขยกัป โดยมีชื่อเรียกเฉพาะว่า วิวัฏฏฐายีอสงไขยกัป

    มหากัป
    คือเวลา 1 รอบวัฏจักรการแตกดับของโลก หรือเท่ากับ ๒๕๖ อันตรกัป
    ๑ มหากัป อุปมาว่ามีพื้นที่ขนาดกว้าง ๑ โยชน์ ยาว ๑ โยชน์ สูง ๑ โยชน์ บรรจุเมล็ดพันธุ์ผักกาดไว้เต็ม ทุก ๑๐๐ ปีก็มาหยิบเมล็ดผักกาดออกเมล็ดหนึ่ง แม้จะหยิบเมล็ดผักกาดออกหมดแล้วก็ยังไม่นานเท่า ๑ มหากัป
    คำว่ามหากัป มักเรียกสั้นๆ ว่า กัป

    อสงไขย
    คงเคยได้ยินคำว่า ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป คำว่าอสงไขยในที่นี้หมายถึงระยะยาวนานมาก นับเป็นจำนวนกัปแล้วยังนับไม่ได้ คือจำนวนกัปมากกว่า ๑ ตามด้วย ๐ อีก ๑๔๐ ตัวเสียอีก
    ๔ อสงไขยกำไรแสนกัป ก็คือระยะเวลาที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญบารมีในช่วงปรมัตถ์ ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบัน

    พุทธันดร
    คือระยะเวลาตั้งแต่พระพุทธเจ้าองค์หนึ่งตรัสรู้ จนกระทั่งถึงพระพุทธเจ้าองค์ต่อปมาตรัสรู้ เรียกว่า ๑ พุทธันดร
    พุทธันดรของพระพุทธเจ้าแต่ละองค์ยาวไม่เท่ากัน ตัวอย่างเช่น ปัจจุบันเราอยู่ในอันตรกัปที่ ๑๒ และพระศรีอาริยเมตไตรยจะมาตรัสรู้ในอันตรกัปที่ ๑๓ จากนั้นไม่มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้เลยนานถึงอสงไขยหนึ่ง
    ดังนั้น ๑ พุทธันดรของพระสมณโคดมพุทธเจ้าจึงยาวนานแค่ ๑ อันตรกัป ส่วน ๑ พุทธันดรของพระศรีอาริยเมตไตรยยาวนานถึงอสงไขยหนึ่ง


    ที่มา เสริมความรู้ กัป กัลป์ และอสงไขย คือ...
     
  9. แสนสวาท

    แสนสวาท ชมรมสุวรรณภูมิธรรม

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2007
    โพสต์:
    2,399
    ค่าพลัง:
    +2,488
    อนุโมทนาสาธุการค่ะ
    ขออนุญาต เอาไปเผยแพร่นะคะ
    แสนสวาท
     
  10. jikkiijang

    jikkiijang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    215
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +335
    ทำไมหนังสือบางเล่มบอกว่า 1 กัป เท่ากับ 120 ปี
     
  11. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    พระไตรปิฎก ฉบับบาลีสยามรัฐ (ภาษาไทย) เล่มที่ ๑๖
    ๕. ปัพพตสูตร
    [๔๒๙] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ครั้นเข้า
    ไปเฝ้าแล้ว ฯลฯ เมื่อภิกษุรูปนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์
    ผู้เจริญ กัปหนึ่ง นานเพียงไรหนอแล
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่าเท่านี้ปี
    เท่านี้ ๑๐๐ ปี เท่านี้ ๑,๐๐๐ ปี หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ
    ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ
    [๔๓๐] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุเหมือนอย่างว่า ภูเขา
    หินลูกใหญ่ยาวโยชน์หนึ่ง กว้างโยชน์หนึ่ง สูงโยชน์หนึ่งไม่มีช่อง ไม่มีโพรง เป็นแท่งทึบ
    บุรุษพึงเอาผ้าแคว้นกาสีมาแล้วปัดภูเขานั้น๑๐๐ ปีต่อครั้ง ภูเขาหินลูกใหญ่นั้น พึงถึงการหมดไป
    สิ้นไป เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงการหมดไป สิ้นไป กัปนาน
    อย่างนี้แล บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้ว มิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่
    พันกัป มิใช่แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย
    ไม่ได้
    ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็เหตุเพียงเท่านี้พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่าย ในสังขารทั้งปวง
    พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๕
    ๖. สาสปสูตร
    [๔๓๑] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ ครั้น
    ภิกษุนั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปหนึ่งนานเพียงไร
    หนอแล ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุ กัปหนึ่งนานแล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปนั้นว่า เท่านี้ปี
    ฯลฯ หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ ปี ฯ
    ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ
    [๔๓๒] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุเหมือนอย่างว่า นคร
    ที่ทำด้วยเหล็ก ยาวโยชน์ ๑ กว้างโยชน์ ๑ สูงโยชน์ ๑เต็มด้วยเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีเมล็ดพันธุ์
    ผักกาดรวมกันเป็นกลุ่มก้อน บุรุษพึงหยิบเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดเมล็ดหนึ่งๆ ออกจากนครนั้น
    โดยล่วงไปหนึ่งร้อยปีต่อเมล็ดเมล็ดพันธุ์ผักกาดกองใหญ่นั้น พึงถึงความสิ้นไป หมดไป
    เพราะความพยายามนี้ ยังเร็วกว่าแล ส่วนกัปหนึ่งยังไม่ถึงความสิ้นไป หมดไป กัปนานอย่างนี้แล
    บรรดากัปที่นานอย่างนี้ พวกเธอท่องเที่ยวไปแล้วมิใช่หนึ่งกัป มิใช่ร้อยกัป มิใช่พันกัป มิใช่
    แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลายไม่ได้ ฯลฯ
    พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๖
    ๗. สาวกสูตร
    [๔๓๓] พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี
    เขตพระนครสาวัตถี ครั้งนั้นแล ภิกษุหลายรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ฯลฯ
    ครั้นภิกษุเหล่านั้นนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กัปทั้งหลาย
    ที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอ ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้วล่วงไปแล้ว มีมาก
    มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัปเท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป ฯ

    ภิ. ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม พระเจ้าข้า ฯ
    [๔๓๔] พ. อาจอุปมาได้ ภิกษุทั้งหลาย แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย มีสาวก
    ๔ รูปในศาสนานี้ เป็นผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี มีชีวิต ๑๐๐ ปีหากว่าท่านเหล่านั้นพึงระลึกถอยหลังไป
    ได้วันละแสนกัป กัปที่ท่านเหล่านั้นระลึกไม่ถึงพึงยังมีอยู่อีก สาวก ๔ รูปของเราผู้มีอายุ ๑๐๐ ปี
    มีชีวิต ๑๐๐ ปี พึงทำกาละโดยล่วงไป ๑๐๐ ปีๆ โดยแท้แล กัปที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว
    มีจำนวนมากอย่างนี้แล มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ร้อยกัป เท่านี้พันกัป
    หรือว่าเท่านี้แสนกัป ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่า สงสารนี้กำหนดที่สุดเบื้องต้นเบื้องปลาย
    ไม่ได้ ฯลฯ พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๗
    ๘. คงคาสูตร
    [๔๓๕] สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน เขต
    พระนครราชคฤห์ ครั้งนั้นแล พราหมณ์ผู้หนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ได้ปราศรัย
    กับพระผู้มีพระภาค ครั้นผ่านการปราศรัยพอให้ระลึกถึงกันไปแล้ว จึงนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
    ครั้นพราหมณ์นั้นนั่งเรียบร้อยแล้วได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ กัปที่ผ่าน
    ไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากเท่าไรหนอแล ฯ
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรพราหมณ์ กัปทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากแล
    มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัปเท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้
    ๑๐๐,๐๐๐ กัป ฯ
    พราหมณ์. ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ก็พระองค์อาจจะอุปมาได้ไหม ฯ
    [๔๓๖] พ. อาจอุปมาได้ พราหมณ์ แล้วจึงตรัสต่อไปว่า ดูกรพราหมณ์ แม่น้ำคงคา
    นี้ย่อมเกิดแต่ที่ใด และย่อมถึงมหาสมุทร ณ ที่ใดเมล็ดทรายในระยะนี้ไม่เป็นของง่ายที่จะกำหนดได้
    ว่าเท่านี้เม็ด เท่านี้ ๑๐๐ เม็ดเท่านี้ ๑,๐๐๐ เม็ด หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ เมล็ด ดูกรพราหมณ์ กัปทั้งหลาย
    ที่ผ่านไปแล้ว ล่วงไปแล้ว มากกว่าเมล็ดทรายเหล่านั้น มิใช่ง่ายที่จะนับกัปเหล่านั้นว่า เท่านี้
    กัป เท่านี้ ๑๐๐ กัป เท่านี้ ๑,๐๐๐ กัป หรือว่าเท่านี้ ๑๐๐,๐๐๐ กัป เมื่อเหล่าสัตว์ผู้มีอวิชชา
    เป็นที่กางกั้น มีตัณหาเป็นเครื่องประกอบไว้ ท่องเที่ยวไปมาอยู่ ที่สุดเบื้องต้นไม่ปรากฏ สัตว์
    เหล่านั้นได้เสวยทุกข์ ความเผ็ดร้อน ความพินาศ ได้เพิ่มพูนปฐพีที่เป็นป่าช้าตลอดกาลนาน
    เหมือนฉะนั้น ดูกรพราหมณ์ก็เหตุเพียงเท่านี้ พอทีเดียวเพื่อจะเบื่อหน่ายในสังขารทั้งปวง
    พอเพื่อจะคลายกำหนัด พอเพื่อจะหลุดพ้น ดังนี้ ฯ
    [๔๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว พราหมณ์ผู้นั้นได้กราบทูลว่า แจ่มแจ้ง
    ยิ่งนัก ท่านพระโคดม แจ่มแจ้งยิ่งนัก ท่านพระโคดม ขอพระโคดมผู้เจริญ จงทรงจำข้าพระองค์
    ว่าเป็นอุบาสก ผู้ถึงสรณะจนตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป ดังนี้ ฯ
    จบสูตรที่ ๘
     
  12. Unlimited Indy

    Unlimited Indy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    1,228
    ค่าพลัง:
    +803
    ขอบคุณทุกท่านที่ได้นำมาลงเป็นข้อมูลแก่ผู้ที่ยังไม่รู้ทั้งหลายครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...