2 สิ่ง ที่ทำให้เกิด "ความสง่า"

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Lightning~, 17 เมษายน 2012.

แท็ก: แก้ไข
  1. Lightning~

    Lightning~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +125
    [​IMG]


    บางคนใส่เสื้อผ้าน่ารักๆ แต่งตัวดูดี แต่คนเหล่านั้น พออยู่ใกล้แล้ว กลับไมได้รู้สึกดีด้วยเลย เราได้เพียงแค่รู้สึกดีที่ดูด้วยดวงตา แต่เมื่อดูด้วยใจเรากลับพบกับสิ่งที่ไม่เห็นสวย ไม่เห็นดี ไม่เห็นมีอะไรน่ามองเลยสักอย่าง ไม่มีความงดงามเอาเสียเลย แต่บางคน แม้ไม่ได้แต่้งตัวเลย อาจจะดูธรรมดา เรียบ ๆ แต่เพราะอะไรมองแล้ว ถึงรู้สึกว่าทำไมเราปลื้มคนคนนี้จัง

    คำตอบก็คือ


    โบราณสอนว่า

    "คนจะงาม งามที่ใจ ใช่ใบหน้า

    คนจะสวย สวยจรรยา(นิสัย) ใช่ตาหวาน

    คนจะแก่ แก่ความรู้ ใช่อยู่นาน

    คนจะรวย รวยศีลทาน ใช่บ้านโต"


    ในพระพุทธศาสนา ท่านสอนว่า หากคนเรา มีสิ่ง 2 สิ่งต่อไปนี้ จะเรียกได้ว่า "เป็นคนสวย" , "เป็นคนงาม" , "เป็นคนสง่า ", เป็นคนน่ารัก" , เป็นคนน่ามอง


    หรือเป็นแม้แต่ไอดอลของคนทั่วไป แม้ว่าจะมีทรงผมกระเซอะกระเซิง ไม่ได้แต่งหน้า ไม่มีเสื้อผ้าสวยๆ ใส่ แต่คนที่มองแล้วกลับรู้สึกชื่นใจ ชอบใจ และรู้สึกดี บางครั้ง สิ่งนี้อาจทำให้คนที่เห็นหรือแม้แต่ได้ยินศรัทธาในตัวเรา และขนลุกได้


    2 สิ่งนั้นคือ สิ่งที่เรียกว่า "ขันติ" และ "โสรัจจะ"

    ขันติ ในภาษาไทยเราใช้คำว่า ความอดทน แต่คำว่าอดทนนี้ฟังแล้วดูเหมือนว่าเราช่างพบเจอกับเรื่องหนักเสียเหลือเกินจึงต้องอดทน แต่ที่จริงแล้ว ความหมายตามตัวในพระบาลีนั้น คำว่าขันติ ท่านแปลว่า "ความใจเย็น" , "ความไม่ใจร้อน" , "ความเย็นใจ" , "ความชื่นใจ" , "ความไม่ดุร้าย" , ความไม่ปากร้าย" , "ความไม่เกรี้ยวกราด"


    หรือเรียกได้ว่า ความมีอารมณ์แจ่มใส ไม่ทำอะไรให้เครียด นี้ก็เข้าในความหมายของขันติได้

    คนที่มีขันติ จะเป็นคนที่ผู้อื่นศรัทธา เพราะโดยปรกติแล้ว เราไม่ค่อยได้เห็นว่าใครเป็นคนที่ดีจริง จนกว่าเราจะได้เห็นเขาอยู่ในสถานการณ์บางอย่าง เช่น สถานการณ์กดดัน หรือถูกต่อว่า หรือพบกับเรื่องขัดใจ หากในสถานการณ์แบบนั้น ใครสักคนแสดงให้เราเห็น หรือเราแสดงให้ใครเห็นได้ว่า สบายๆ กับเรื่องนั้นๆ ไม่เครียด ไม่ด่าตอบ ไม่ว่าตอบ ไม่โกรธตอบ เขาใส่อารมณ์มา ไม่ใส่อารมณ์กลับ ภายในไม่กี่วันเท่านั้น ความดีตรงนี้จะถูกกระจายไปปากต่อปาก และไม่นานเลย เราก็จะเป็นที่รักของคนหลายๆ คน และหากเรารักษาความดีนี้ไว้ได้เสมอต้นเสมอปลาย ทุกๆ วัน ทุกๆ เวลา เราก็จะมีความสุขและความสบายใจอยู่ทุกเวลา


    ถ้าใจเย็นไม่เป็น ไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ ไม่อดทน สิ่งที่จะได้รับก็คือ

    "1. ผู้ไม่อดทนย่อมไม่เป็นที่รัก ไม่เป็นที่ชอบใจของคนเป็นอันมาก
    2. ย่อมเป็นผู้โหดร้าย
    3. ย่อมเป็นผู้เดือดร้อน (ตรงกันข้าม คนที่ใจเย็นสุขุมจริง ย่อมไม่เดือดร้อนกับเรื่องอะไรเลย)
    4. ย่อมเป็นผู้หลงก่อนสิ้นใจ (เช่น เห็นอกุศลนิมิตที่น่ากลัวก่อนตาย)
    5. เมื่อตายไปย่อมเข้าถึงอบาย ทุคติ วินิบาต นรก ๑ " (1)


    คนที่มีขันติ จะเป็นคนที่สูง คือ มีค่ามาก เพราะคนแบบนี้หาได้ยาก คนที่ขาดความอดทน เป็นคนไม่มีค่าเลย คนที่อดทน อดกลั้นความเจ็บใจได้ ถือว่าเยี่ยมที่สุด แกร่งที่สุด แต่คนอ่อนแอ จะต้องคอย อดและคอยทนอยู่เสมอ เพราะจิตใจกระปวกกระเปียก ไม่ีมีความแข็งแกร่้ง เดือดร้อนง่ายกับเรื่องง่าย ๆ

    มีทางเลือกอยู่สองทางเมื่อเจอสิ่งที่ไม่ดี ที่ทำให้ต้องอัดอั้นใจ คือ เราจะ ง่าย โดยการที่ทำให้สิ่งต่าง ๆ มาทำให้เราลำบากได้ไหม หรือเราจะเป็นคนที่ ลำบากกับอะไรได้ยาก เพราะเราเก่ง และแกร่ง เหมือนนักรบในสงครามที่สวมเกราะหนา แม้จะถูกฟันหรือแทง ก็ไม่สะทกสะท้าน มองให้เห็นประโยชน์ของขันติ ความอดทน แล้วขันติจะเกิด สิ่งที่ทำให้เกิดประโยชน์ยิ่งกว่าขันติไม่มี


    "ในเวลาเกิดความลำบาก

    บุคคลใดอดทนความลำบากได้

    บุคคลนั้น ย่อมไม่เป็นไปตามความลำบาก"(2)



    1.อขันติสูตร
    ����Ҵ��� ������к�÷Ѵ �����ûԮ�������� �� - ����ص�ѹ��Ԯ�������� ��
    2. อินทริยชาดก ว่าด้วย ดี ๔ ชั้น
    ��ö��� �Թ���ªҴ� ��Ҵ��� �� � ���� ˹�ҵ�ҧ��� � �� �
     
  2. Lightning~

    Lightning~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +125
    สำหรับข้อที่ 2 "โสรัจจะ"


    คำว่าโสรัจจะนั้น มีความหมายว่า "ความสงบเสงี่ยม"

    แต่ความสงบเสงี่ยมนี้ ไม่ได้แปลว่า "นิ่ม" ในสายตาของใครๆ แต่ตามความหมายจากพระไตรปิฎกวิภังค์ หมายถึง "การไม่ล้ำขอบเขต" , "การไม่ล่วงเลยเขตแดน" ทางการการแสดงออกและคำพูด (ทางกายและวาจา) เพราะถ้าได้เลยขอบเขตออกไปแล้ว จะเป็นการกระทำที่น่ารังเกียจหรือมีโทษทันที


    การไม่ล่วงเลยเขตแดนโดยหลักใหญ่ มีทางการแสดงออก 3 และทางคำพูด 4 นั่นคือ


    ทางกาย ได้แก่

    1. การฆ่าสัตว์ หรือแม้แต่การทำร้ายสัตว์หรือสิ่งมีชีวต บางทีอาจจะไม่ฆ่า แต่ก็แกล้งให้เขาเดือดร้อนแบบต่างๆ ฆ่าสัตว์ใหญ่ืถือว่าใจร้าย ฆ่าสัตว์เล็กถือว่าใจดำ จิตใจที่สูงส่ง และมีความสง่า ลักษณะแรกที่ต้องมีประจำคือ "ความรัก" ความเอ็นดู ยิ่งถ้าไม่ทำร้ายสัตว์ตัวเล็ก ๆ สักตัว ก็แปลได้ว่าจิตใจเราออกจากการทำลายชีวิตของใครแล้ว พอเราไม่ทำลายชีวิตใคร ชีวิตของเราก็จะได้รับแต่สิ่งดี ๆ จิตที่ขาวพาขึ้นที่สูง จิตที่ดำพาลงที่ต่ำ การทำร้าย การฆ่า หรือแม้แต่การเอา่มือตบ เอามือบี้ แสดงว่าจิตแสดงความเห็นแก่ตัวออกมา และเป็นสีดำ สีดำไม่เคยให้ความสว่างกับใครเลย

    2. การขโมยของ

    และ

    3. การเกินเลยกับคนรักคนอื่น

    สามข้่อนี้ให้ท่องไว้ในใจว่า ''ฆ่าสัตว์ใจดำ ขโมยของสกปรก เป็นชู้น่ารังเกียจ''


    ทางคำพูดได้แก่

    1. พูดโกหกทุกอย่างแม้แต่คำล้อเล่นก็ไม่ได้ (อ้าง:ม.ม.๑๒๗) เราคงไม่ชอบใครที่มาโกหกกับเรา ไม่ว่าเป็นเพื่อน หรือเป็นแฟน เพราะคำโกหก มันทำให้คนคนนั้นไม่มีตัวตนอีกเลย

    2. นินทา การนินทานี้ก็มีสองเหตุผล คือ นินทาเพราะอยากให้เค้าแตกแยกกันเพราะไม่ชอบจริงๆ กับนินทาเพราะจ้องจะเอาใจว่าเราเป็นพวกเค้าก็เลยนินทาอีกฝ่ายให้ฟัง ทั้งสองข้อนี้ ทำให้เราสกปรกมากๆ

    3. การพูดคำหยาบ แบ่งออกเป็น พูดคำหยาบเพราะโกรธจริงๆ อยากจะด่าออกไป กับพูดจาใช้คำคะนอง ฟังแล้วไม่น่าฟัง

    4. พูดเพ้อเจ้อไร้สาระ ไม่มีประโยชน์ รวมไปถึง พูดไม่ถูกเวลา พูดพร่ำเพรื่อ พูดไม่มีที่สุดหรือไม่รู้จบ พูดลอยๆ แบบไม่คิด ขาดเหตุผล ก็รวมอยู่ในข้อนี้


    หากจะเอ่ยคำใด ให้ระลึกเสมอว่า


    สหสฺสํ อปิ เจ วาจา
    อนตฺถปทสญฺหิตา
    เอกํ อตฺถปทํ เสยฺโย
    ยํ สุตฺวา อุปสมฺมติ ฯi

    หากพูดคำตั้งพันคำ ที่ไม่มีประโยชน์เลย
    คำคำเดียวที่มีประโยชน์ ที่คนฟังแล้วจิตใจสงบได้
    ประเสริฐกว่า


    Better than a thounsand useless words
    Is one beneficial single word,
    Hearing which one is pacified.(1)


    หากเพื่อนๆ ค่อยๆ สังเกตุทีละข้อ เพื่อนๆ จะเห็นได้ว่า ทุก ๆ ข้อ หากใครทำลงไปก็จะทำให้คนคนนั้นดูไม่น่าชอบเอาเสียเลย คงไม่มีใครอยากอยู่กับคนที่พูดมากทั้งวัน หรืออยู่กับคนที่นินทาคนอื่น เป็นต้น


    แต่ขยายออกไปกว่านั้น คำว่า "สงบเสงี่ยมนี้ รวมไปถึงการไม่คะนองมือคะนองเท้า เช่น นั่งกระดิกเท้า การไม่ทำตัวตลก การไม่เล่น การไม่โยกหัวเอียงคอไปมา หรืออาการคะนองอื่นๆ ที่เรามองได้ว่า เป็นอาการคะนอง


    ทั้งหมดนี้ เรียกว่า "โสรัจจะ" ผลของการมีโสรัจจะนี้ ที่เราเห็นได้ชัดเจนคือ เมื่อเราอยู่กับผู้หลักผู้ใหญ่ ท่านจะมองเด็กที่มีสัมมาคารวะ และมีความไม่คึกคะนองว่าเป็นคนดี และท่านจะเอ็นดู หากเป็นคนรุ่นเดียวกัน เค้าก็จะให้เกียรติกับเรา และหากเป็นรุ่นน้องๆ ลงไป เค้าก็จะเคารพนับถือเรา และปลื้มเรา


    และนอกจากขันติและโสรัจจะ ยังมีธรรมอีกสองข้อที่ทำให้เราพบเจอความสิ่งดี ๆ และงามสง่าได้อีก คือ การใช้คำพูดอ่อนหวาน และการต้อนรับแขก ทั้งการต้อนรับแขกจริง ๆ เช่นการรินน้ำให้ดื่ม หรือการกล่าวคำทักทาย สิ่งเหล่านี้ช่วยให้จิตใจเราสะอาด ส่งผลให้เกิดความรู้สึกดีต่อกันได้ และลดอัตตา ทิฎฐิ ลดความกระด้างของจิตจากความหยิ่งที่จะมีต่อกันได้ เพราะเกิดความเกรงใจซึ่งกันและกัน

    โดยในพระไตรปิฎกท่านแสดงว่าดังนี้

    "[๔๑๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ขันติ ๑ โสรัจจะ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้แล ฯ

    [๔๑๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒ อย่างนี้ ๒ อย่างเป็นไฉน คือ ความเป็นผู้มีวาจาอ่อนหวาน ๑ การต้อนรับแขก ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรม ๒อย่างนี้แล ฯ"(2)



    ขันติ และโสรัจจะนี้ เป็นธรรมที่ทำให้งาม หรือ เรียกว่า เป็นสิ่งที่ให้บุคคลเป็นผู้งามสง่า ไม่ใช่ทำให้ดูแย่ รวมไปถึงธรรมอีกสองข้อคือการกล่าววาจาอ่อนหวานและการต้อนรับ ทำให้ผู้ทำได้อย่างนี้เป็นคนที่น่าศรัทธา น่ารักใคร่ อยู่ใกล้แล้วเย็นใจ น่าปลื้มใจ สิ่งเหล่านี้ ไม่เป็นสิ่งน่ารังเกียจ ไม่เคยมีใครรังเกียจ ไม่มีใครรังเกียจอยู่ และจะไม่มีใครรังเกียจ ไม่ว่าจะทำกับใคร เวลาใด หรือสถานที่ใดก็เป็นสิ่งที่ดี ไม่ึขึ้นอยู่กับกาลเวลา ทำเมื่อไหร่ดีเมื่อนั้น ทั้งเป็นการฝึกตนในทางกาย และวาจา เพื่อให้บริสุทธิ์ไร้มลทิน เป็นบาทของการขัดเกลากิเลสขั้นสูงในการวิปัสสนาเพื่อให้พ้นจา่กสิ่งที่ทำให้จิตใจหม่นหมอง ขัดเกลาจิตใจให้จิตบริสุทธิ์ มีแต่ใจที่บริสุทธิ์ต่อไปกับทุกคนและตนเอง และสิ่งที่ได้รับที่สุดคือจิตใจของเรา มีความสงบและมีความสุข และเป็นความสุขที่ไม่บกพร่องเหมือนความสุขอื่น ๆ เลย


    สิ่งสำคัญที่สุดของธรรมทั้งสองข้อนี้ ไม่ใช่เพื่อให้เราดูดีในสายตาของคนอื่น แต่ธรรมทั้งสองข้อนี้ ทำให้เรามีความเป็น "ปรกติ" กับสภาวะธรรม กับโลก กับชีวิต แสดงออกด้วยภาวะจิตที่ตรงกับความเป็นจริง มากที่สุด


    ***********************


    (1) http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.php?B=25&A=544&Z=586
    (2)http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=2461&Z=2507
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2012
  3. Lightning~

    Lightning~ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    13
    ค่าพลัง:
    +125
    เสริมในส่วนของการพูด

    การพูดที่เหมาะสม ไม่ควรพูดไร้สาระและพูดเล่นด้วยคำไม่จริง เพราะทำให้จิตหลงอารมณ์ หลงความสนุก เป็นจิตที่หวั่นไหวไปในอารมณ์ง่าย ไม่สงบ และทำมาก ๆ จะส่งผลให้มีความกระวนกระวาย (หากไม่เชื่อลองพูดเล่นตลอด จะรู้สึกได้เองว่า รู้สึกแย่ ๆ ยังไงบอกไม่ถูก เพราะจิตเริ่มไม่ทรงตัวในทางสติและในทางดีแล้ว)

    การพูดที่ดี จากพระไตรปิฎก -


    1. ท่านสอนว่า เวลาที่จะพูดอะไรนั้น ให้ "กล่าวคำพูดอันควรจำไว้ในหทัย" คือ ใช้คำที่มีค่า มีความหมาย พูดดีให้จำขึ้นใจ ไม่ใช่พูดแล้วไม่มีความหมาย พูดลอย ๆ ทำให้คำพูดของตัวเองไม่มีราคา เสื่อมค่า.
    พูดในเวลาที่เหมาะสม. อธิบายว่า พูดในเวลาที่สมควรจะูพูด.
    พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ โทษท่านเรียกว่าเอลา



    2. ให้พิจารณาคำสอนที่โอรสของเจ้าชายสิทธัตถะคือพระราหุลได้รับสอนว่า "ไม่มีบาปกรรมใด ที่คนไม่ละอายที่จะพูดโกหก จะทำไม่ได้

    เพราะเหตุนั้นแล้ว ราหุล เธอจงศึกษาว่า เราจะไม่กล่าวมุสา แม้เพราะจะให้หัวเราะกันเล่น เธอพึงศึกษาอย่างนี้แล"(2)



    3. สำรวมคำพูดเสมอ แม้กับคนที่สนิท อย่าให้จิตหลงระเริงพูดคำไม่ดีออกไป จะพูดอะไร คิดให้ดี อย่างฟุ้งซ่าน

    โย มุขสญฺญโต ภิกฺขุ มนฺตภาณี อนุทฺธโต
    อตฺถํ ธมฺมญฺจ ทีเปติ มธุรํ ตสฺส ภาสิตํ.

    ภิกษุใด สำรวมปาก มีปกติกล่าวด้วยปัญญา
    ไม่ฟุ้งซ่าน แสดงอรรถและธรรม, ภาษิตของภิกษุนั้น
    ย่อมไพเราะ
    (3)



    4. ถ้าถึงเวลาที่มีคนทำให้เราเจ็บใจ อยากจะว่า จะพูึดแรงๆ กับใคร คิดถึงความจริงข้อนี้เสมอว่า ทำอะไร สิ่งนั้นก็จะกลับมา ทางที่ดี อย่าเริ่มใช้คำพูดหรือทำอะไรไม่ดีกับใครเลย


    มาโวจ ผรุสํ กญฺจิ วุตฺตา ปฏิวเทยฺยุ ตํ

    "เธออย่าได้กล่าวคำหยาบกับใคร คนอื่นที่ถูกเธอว่าแล้วก็จะโต้ตอบเธอ"(4)



    5. พิจารณาเรื่องของพราหมณ์ผู้นี้ ซึ่งจะถูกฝังลงหลุม เพราะพูดไม่ดี ท่านไม่ได้พูดว่าใครเลย ทั้งไม่ได้พูดโกหก แต่พูดไม่มีขอบเขต ฟุ้งซ่าน เลยต้องถูกฝัง พระโพธิสัตว์จึงสอนท่านว่า

    "คนที่พูดล่วงเลยขอบเขตที่ควรจะพูด ย่อมได้ประสบการจองจำ การถูกฆ่า
    ความเศร้าโศกเสียใจและการเสียน้ำตา"(5)


    *********************

    (1) http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=29&A=4612
    (2) http://84000.org/tipitaka/pitaka_item/sutta_line.php?B=13&A=2383
    (3) http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=35&p=3
    (4) http://84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=25.0&i=20&p=4
    (5) http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=27&i=1826
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 เมษายน 2012
  4. งูเกา

    งูเกา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +13
    ดีนะที่ผมไม่ใช่พระภิกษุ สติยังดีอยู่ไม่เห็นว่าตัวเองเป็นพระภิกษุ ไม่งั้นคนรอบข้างคงไล่ไปบวชแล้ว..
    ศีล5 ศิล8 ก็พอแล้ว อะไรจะขนาดนั้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 เมษายน 2012
  5. โอม อุดมชัย

    โอม อุดมชัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    512
    ค่าพลัง:
    +2,527
    กำลังฝึกอยู่พอดีเลย กับคำว่า ขันติ เพราะรอบกายมีแต่คนขาดสิ่งนี้อยู่มาก
     
  6. ทิพย์ปทุโม

    ทิพย์ปทุโม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    555
    ค่าพลัง:
    +2,471
    <meta http-equiv="CONTENT-TYPE" content="text/html; charset=utf-8"> <title></title> <meta name="GENERATOR" content="OpenOffice.org 3.1 (Linux)"> <style type="text/css"> <!-- @page { margin: 2cm } P { margin-bottom: 0.21cm } --> </style>
    " [FONT=Tahoma, sans-serif]ถ้าถึงเวลาที่มีคนทำให้เราเจ็บใจ อยากจะว่า จะพูดแรงๆ กับใคร คิดถึงความจริงข้อนี้เสมอว่า
    ทำอะไร สิ่งนั้นก็จะกลับมา ทางที่ดี อย่าเริ่มใช้คำพูดหรือทำอะไรไม่ดีกับใครเลย
    [/FONT]"
    [FONT=Tahoma, sans-serif]ข้อความนี้ดีมากเลย มันเหมือนลูกบอลที่เราปาเข้ากำแพง แรงเท่าไหร่ มันก็กลับมาหาเราแรงเท่านั้น [/FONT]

    [FONT=Tahoma, sans-serif]รู้จักการนั่งสมาธิ กำหนดจิตไว้กับตัวเอง สามารถปิดอายตนะภายนอกไม่ให้กระทบภายในได้
    ขณะที่สิ่งแวดล้อมอึกทึกวุ่นวาย พูดจาไม่สำรวม เราสามารถนิ่งได้ แม้กำลังโดนว่ากระทบ
    [/FONT]

    [FONT=Tahoma, sans-serif]พระธรรมของพระพุทธองค์ ใช้ได้ดี ทั้งฆราวาส ญาติโยม และ สมณเพศ
    หากรู้จักนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์กับชีวิตประจำวัน ขอบคุณเจ้าของกระทู้มาก ๆ ที่หาสาระดี ๆ
    มาให้ได้อ่านกัน
    อ่านไปให้พิจารณาตนเองไป อันไหนเรายังไม่ได้ทำ ก็เร่งทำให้ไว ๆ
    อันไหนที่เราทำอยู่แล้ว ก็ภูมิใจที่ได้ทำแล้ว เวลาจะตายก็หมดกังวลว่า
    ความดีนี้เรายังไม่ได้ทำ บุญนี้ยังไม่ได้สร้าง จะได้ไม่บังเกิดแก่เรา อะไรทำนองนั้นค่ะ
    [/FONT]
    </pre>
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  7. Imwaew Loveggod

    Imwaew Loveggod Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    101
    ค่าพลัง:
    +47
    คนสมัยนี้เป็นแบบนี้กันมาก เราเสียอีกที่ถูกมองว่าเป็นสิ่งแปลกเเยก เเต่ก็ช่างเถิด เเม้นับถือศาสนาเดียวกัน เเต่ความหมายที่เข้าใจต่างกันลึกซึ้ง ยากที่จะอธิบาย เพราะงั้นสู้ๆกันนะค่ะ ชาวพลังจิตทุกคน
     
  8. นายสิบหก

    นายสิบหก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กุมภาพันธ์ 2012
    โพสต์:
    32
    ค่าพลัง:
    +202
    เป็น คิหิปฏิบัติ ที่ควรพิจารณานำมาใช้เลยครับ
    อนุโมทนา สาธุ ครับ
     
  9. สิมันตรา

    สิมันตรา สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 เมษายน 2012
    โพสต์:
    15
    ค่าพลัง:
    +9
    ขอบคุณสำคำแนะนำในความหมายของทั้งสองสิ่งนี้นะคะ อนุโมทนาบุญค่ะ สาธุ
     
  10. อณูหนึ่ง

    อณูหนึ่ง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    37
    ค่าพลัง:
    +44
    ผู้ให้ธรรมทาน ชื่อว่าให้อมฤตธรรม
    -ขออนุโมทนาบุญให้ทุกท่านค่ะ-

    กำลังฝึกขันติ ด้วยสติ เพราะ อคติ ย่อมคิดว่าตัวเองถูกอยู่เสมอ ขอบคุณมากค่ะ ^_^
     
  11. Pearlpearl

    Pearlpearl สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    58
    ค่าพลัง:
    +21
    อ่านแล้วได้ความรู้ดีมากค่ะ
    ขันติกับโสรัจจะ จะนำไปฝึกปฏิบัติกับตัวเองนะคะ :)
     
  12. MonkeyAstro

    MonkeyAstro เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    225
    ค่าพลัง:
    +202
    ขันติ ผมต้องฝึกเยอะๆเลยครับ ^^
     
  13. parttime2home

    parttime2home สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤษภาคม 2012
    โพสต์:
    14
    ค่าพลัง:
    +7

แชร์หน้านี้

Loading...