ทางเลี้ยว - กรรมฐาน - การดูจิต - หลักกิโล

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Soulwalker, 22 มีนาคม 2012.

  1. Soulwalker

    Soulwalker สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    ประสพการณ์ผมที่อยากจะขอคำเเนะนำนะครับ

    ผมนั่งภาวนา พุทโธ มาก่อนหน้าเเล้ว หลายครั้งที่รู้สึกระหว่างภาวนา รู้สึกว่าตัวเราอยู่ในห้องสมาธิห้องหนึ่งในหัวตัวเอง จะรู้สึกเเบบนี้ได้ก็กินเวลาประมาณ 45-60 นาที
    ความรู้สึกอยู่ในห้องสมาธิ ขยายความก็คือ รู้สึกวิ้งๆ เเทบไม่รู้สึกตัวหรือไม่รู้สึกกายภายนอกส่วนบน ลมหายใจรู้บ้างไม่รู้บ้าง คำภาวนาพุทโธก็หายไป เเต่รู้ตัวเองเเละสมาธิชัดเจน รู้สึกอิ่มอร่อยดี
    บ่อยครั้งผมมาหยุดที่ห้องสมาธินี้ เเต่ไม่เคยก้าวข้ามได้ ด้วยสาเหตุคือเจ็บก้นมากจนต้องออกจากสมาธิทุกครั้งไป ไม่ว่าพยายามยังไงหลายเดือนมานี้ก็ "ไม่" เคยกลับเข้าห้องนั้นได้อีกเลย

    คราวนี้การภาวนาช่วงนี้ก็เปลี่ยนไป ผมเลิก ยอมเเพ้ที่จะเอาชนะมัน ไม่พยายามบังคับมัน ที่จะทำวิธีข้างต้น คือการไม่ภาวนา พุทโธ ทุกเข้าออกของลมหายใจ เพราะอยู่ๆก็ทำไม่ได้ ผมทำไม่ได้ที่จะบังคับให้
    จิตผูกกับทุกลมหายใจเข้าออกได้เหมือนกับเมื่อช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา เพราะจิตมันวอกเเวก เดี๋ยวก็ไปนึกนั่นนึกนี่ ได้ยินนั่นนี่ไปหมดเสียสมาธิ บ่อยๆก็สติลอยไป เหม่อๆ เบลอๆ รู้สติทีก็ดึงกลับมาดูลมหายใจเข้า
    ออกต่ออีกที ซักพักก็หลุดอีก ผมก็สุ่มเอาว่านี่อาจจะเป็นการเขยิบขั้นจาก สมถะกรรมฐานมาเป็นวิปัสนากรรมฐานเเล้ว เเต่ก็ไม่เเน่ใจ (เพราะเข้าใจว่าสมถะนั้นคือการมองที่รูปนามเเต่วิปัสนาคือการเห็นความรู้สึก
    ที่เข้ามากระทบจิตเเละเห็นไตรลักษณ์ของรูปนาม สับสนมาก) หลังๆมานี้ก็ทึกทักเอาเองว่าไอ้ที่เห็นจิตวอกเเวกนี้ เดาว่าน่าจะเป็น เห็นไตรลักษณ์ของจิต ตั้งอยู่ดับไป หรือขันธุ์ห้า ส่วนใหญ่จะสังขารขันธุ์ (เดาเอานะ)
    คืออาจจะเริ่มตามจิตตามใจตัวเองทันรึเปล่า นั่งพักนึงจิตก็ไปรู้อยู่ที่มือประสาน พักนึงจิตก็ไปรู้อยู่ที่เปลือกตา ผมสับสนมาก ว่านี่จะพาไปไหน นี่คือสมถะหรือวิปัสนา?

    ผมอยากถามผู้รู้ว่า ผมมาถูกทางมั้ย? ควรกลับไปวิธีเเรกคือพยายาม ผูกลมหายใจกับพุทโธให้ถี่ยิบวิธีเดิมหรือเอาวิธีที่สองตามจิตตามใจตัวเองซึ่งวิธีที่สองไม่เคยพาผมไปไหนเลยนอกจากทึกทักว่าเห็นไตรลักษณ์ของจิต
    วิธีที่สองนั่งเสร็จออกมาก็เกิดความลังเลสงสัย เป็นสุขบ้างไม่เป็นสุขบ้าง ลังเลว่าทางไหนคือถูกทางไหนคือผิด ทำไมผมถึงกลับเข้าห้องสมาธิไม่ได้อีกโดยวิธีเเรก เหมือนขาดอะไรไป โหยหาห้องนั้นอยู่
    ถ้าวิธีที่สองคือวิธีที่ถูก อยากถามว่า ปล่อยสังขารขันธ์ให้คิดไปเมื่ออยากคิดถูกหรือไม่ พอรู้ตัวก็ดึงกลับมาที่ลมหายใจ ตามรู้ตามดูเเบบนี้ไปเรื่อยๆเเต่ตรงไหนเล่าคือหลักกิโลที่จะบอกว่ามาถูกทาง?
    ดูว่ามันคิด หรือดูว่ามันรู้สึก ดูความรู้สึกดูยังไง เเล้วไปยังไงต่อ ขอผู้รู้ช่วยเเนะนำ
     
  2. นาอินจัง

    นาอินจัง Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2009
    โพสต์:
    304
    ค่าพลัง:
    +36
    อนุโมทนาค่ะ

    การทำสมถะ หากอินทรีย์เราอ่อน ต้องหาที่รองก้นหนาๆ หน่อยค่ะ รองก้นให้หลังตรง
    หากอินทรีย์เรากล้า พื้นธรรมดา เราก็นั่งได้ ไม่ว่าจะเป็นบริกรรมพุทโธ หรือกำหนดรู้เวทนา
    ก็คือ การทำสมถะ แต่การกำหนดรู้เวทนา เราจะได้ วิปัสนาไปพร้อมกัน คือ การเห็นกายในกาย หมายถึงรู้ความรู้สึก รู้ลมหมายใจ รู้อารมณ์ ต่อไปจะเห็นความเกิด และความดับ
    ก็ทำแบบที่เราทำไปเรื่อยๆ ค่ะ และ ก็อย่าไปคิดว่าสมาธิคืออะไร
    เท่าที่อ่านดู คุณเป็นคนใช้ได้ เลยนะ
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    โมทนาในการศึกษาธรรมครับ

    แนะนำให้ ฟังไฟล์นี้ แล้ว ถอดคำเทศน์ดูครับ ท่านจะได้แนวทางและการฝึกฝน
    แล้วลองทำตามนั้นดู หากยังไม่มีเวลาไปกราบพระสงฆ์

    http://palungjit.org/threads/รู้-เห...ามความเป็นจริง-โดย-หลวงปู่-พุธ-ฐานิโย.289310/
     
  4. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    เนี่ยะ เป๊ะเลย ตรงที่ปรารภสั้นๆว่า "รู้สติทีก็...." หลังจากกลับมาอยู่กับลมหายใจ ก็
    ต้องถือว่า "รู้สติ" หรือ "ไม่หลงลืมสติ" กลับมาพิจารณาที่ "สติ" มันจะระลึกได้แว๊บ
    เดียว แล้วก็เปลี่ยนไปเป็นการทำในรูปแบบเพื่อ เจริญสติ หรือ จังหวะในการ "รู้สติ" ให้
    กลับมามีอีกที

    ตรงรู้ว๊อกแว๊ก ก็คือ รู้สภาพธรรมที่เป็น "นิวรณ์" ที่เป็นเครื่องกั้น "ความสงบ" พอรู้ทัน
    ว่านิวรณ์กำลังกลุ้มรุมจิต ก็เกิดระลึกได้ว่า "หลงลืมสติ" พอระลึกได้ ก็เกิด "สติ" ชั่ว
    ฟ้าแลบ ชั่วงูแลบลิ้น หลังจากนั้นก็ผลิกไปทำความ "สงบของใจ" จะรู้ลมหายใจ หรือ
    บริกรรมคำอะไร ก็คือ การไขว้งานกลับมาที่ "สมถะ" ส่วนจังหวะฟ้าแล๊บนั่น ตอนรู้สติ
    นั่นถือว่า กำลังเจริญวิปัสสสนาให้เกิด ที่ละฟ้าแล๊บ ทีละกระพริบกระพ้อ

    ตรงนี้ให้ สังเกตุลงไปที่ สภาพรสที่เราเห็น รู้สึกว่า นี่คือ อาการโหยหา มันจะเหมือนการบีบ
    คั้น บีบเค้นที่หทัยวัตถุ ระลึกรู้สภาพนี้ไปตรงๆ พอชัดเจนก็ระบุเรียกไปเลยว่า นี่แหละ ที่
    เขาเรียกว่า "ตัณหา" แต่ ตัณหาตัวนี้เป็น "ความอยากดี" บุญเนี่ยะ เราต้องทำ เราต้อง
    สะสม ของมันมีผลมีอานิสงค์ ไม่ใช่ไม่มีอานิสงค์ เราทำทานเพื่ออะไร เราก็ใช้
    "ตัณหา" นี้เอาไปประกอบบุญกุศล ดังนั้น ไม่ห้าม แต่ต้องพิจารณารสที่มันบีบคั้นใจ เพื่อ
    เอามาเป็นอุบาย หาใจ ให้เจอ หา หทัยวัตถุให้เจอ ไง มันบีบเมื่อไหร่ มันช่วยเราหาใจ
    เจอทันที ดังนั้น ตัณหาบีบหน่อยๆ กดหน่อยๆ ไม่ว่ากัน ลุยไปให้มากๆ ด้วยซ้ำ แต่ต้อง
    ตามดูสภาพบีบเค้นหัวใจไว้ด้วยเท่านั้น แค่นี้ก็จะต่างจาก การทำสมถะแบบศาสนาอื่นแล้ว

    ศาสนาอื่น เขาทำสมถะ เขาไม่ได้ ตามพิจารณา "ใจ" ที่ถูกบีบเค้น จุดและต่อม ก็เท่านั้นเอง



    อันนี้ก็สมควรสับสน เพราะ สดับธรรมน้อยไปหน่อย ก็เลย ไปจำเอาว่า สมถะคือมอง
    รูปนาม พอใช้คำว่า "มอง" มันเลยไปเหมือน "ตามดู" ก็เลยทำให้สับสน ให้เปลี่ยน
    คำเป็น "สมถะคือการเพ่งไปที่รูป หรือ นาม ที่เลือกขึ้นมาตัวใดตัวหนึ่ง" ส่วน วิปัสสนา
    เป็นการ ตามดูความเปลี่ยนแปร ไม่เที่ยง เป็นทุกข ของ รูปนามทั้งหมดแบบ ดูรวมๆกัน
    ไม่เลือกเป็นตัวๆ แต่ เลือกทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเป็น รูปนาม ที่กำลังแสดงความไม่เที่ยงทั้งสิ้น แม้แต่ "การแว๊บไปรู้สติ"ก็ต้องแสดงความไม่เที่ยง หรือ แม้แต่ "ตัวกรรมฐานแบบ
    นั้นแบบนี้ มันก็ต้องแสดงความไม่เที่ยง" ให้เราได้พิจารณาตามรู้ตามดู

    จะเห็นนะว่า จะสมถะ หรือ วิปัสสนา ไม่ว่ามันเป็นอย่างไร จะนิยามถูกไหม จะทำถูกตาม
    นิยามหรือยัง จริงๆ แล้ว เราเอามาดูความไม่เที่ยง ดังนั้น จะถูกไหม มันไม่เกี่ยวอะไร
    เลย หากเป็นสมถะ หรือ วิปัสสนา มันแสดงความไม่เที่ยงให้เราเห็นได้ ก็ นั่นแหละ ให้
    เห็นตรงการแสดงความไม่เที่ยง ไปเลย ถูกผิดก็เป็นเพียงสิ่งให้เราได้เห็นว่า มันไม่เที่ยง

    ซึ่งจะเห็นว่า ธรรมใดก็ตาม เราก็ยกมาพิจารณาไปสู่การเห็นความไม่เที่ยง ตรงนี้คือ
    สิ่งที่พาเราไปสู่ เอกายนมรรค มรรคมีหนึ่งเดียว ไม่มีสอง มีสองเมื่อไหร่แปลว่า
    ขณะนั้น จิตมีตัณหา บีบจิตเค้นใจแล้ว เกิดเจตนา เกิดการกระทำกรรมแล้ว

    ตรงนี้ เวลาจิตมันพูดว่า เดาเอานะ ให้โยน เดาเอานะ ทิ้งไปเลย ตรงนี้เขาเรียกว่า
    "มารกระซิบหรอก" เราอย่าไปพูดตามมันบอกบท เพราะ เราปฏิบัติ ย่อมเห็นจริง
    ขณะปฏิบัติ คนปฏิบัติดีปฏบัติชอบ จะต้องไปสงสัยอะไร หละ ลุยเลยดีกว่าไปเชื่อ
    สิ่งที่เกิดจาก "เดาเอานะ"


    ตรงนี้เป็นความลังเล ให้ตามดูเป็น นิวรณ์ธรรมที่ชื่อ วิจิกิจฉะ มีมากๆ ตาจะปลับเปลือก
    เลยนะ มันจะยุบๆ ยิบๆ จะซ้ายก็ไม่ซ้าย จะขวาก็ไม่ขวา จะลืมตามก็ไม่ลืม จะปิดตาก็ไม่ปิด
    พอดี...................ลงคลองไปเลย ทำไมนะหรือ ก็เผลอไปเชื่อ "เดาเอานะ" เข้า
    ไง วิธีแก้ก็แค่ ทำความร่าเริง มั่นใจว่า เห้ยเราปฏิบัติดีปฏิบัตชอบอยู่แล้น ลุยลูกเดียว รู้ลูก
    เดียว ตามรู้ความไม่เที่ยงลูกเดียว มรรคมีหนึ่งเดียว ( ทำให้คล้ายๆ ชักธงรบ !! )

    ก็อย่างที่บอก ถ้าคุณเห็นว่า เอ เดี๋ยวก็กลับไปทำ "สมถะ" เอ เดี๋ยวก็อยากไปทำ
    "วิปัสสนา" ไอ้อาการกลับไปกลับมานั่นแหละ เขาเรียกว่า มันกำเริบกลับ มันไม่
    เที่ยง เป็น กุปธรรม กำเริบ

    หลักกิโล จึงอยู่ที่ ไม่รู้สึกว่า มันกลับไปกลับมา มันไม่รู้สึกว่า เรายังขาดการศึกษา
    ในสิ่งใด สมถะ และ วิปัสสนา เราได้เรียนหมดแล้ว และ เกิดขึ้นหมดแล้ว

    นะ หลักกิโลจึงอยู่ ปู้นนนนน!! ท้อไหม ท้อก็ขี้เกียจ หากเราจะท้อ เราก็จะสู้!!!


    ไม่เห็นต้องให้ ผู้รู้ที่ไหน บอกคุณเลย ก็คุณนั่นแหละ "ผู้รู้ ผู้รู้ มาดูในๆนี่"

    ข้างนอกไม่มีอะไรให้ดู ให้ฟัง
     
  5. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    คุณ จขกท ครับ ที่คุณเล่ามานี้ คือ ฟุ้งซานครับ ไม่ใช่วิปัสสนาแล้วครับ

    ที่ไปยอมแพ้ให้กับความสบาย จริงๆแล้วไม่ต้องอดทนแบบนั้นครับ

    แต่คุณควรที่จะมีจิตที่เป็นสมาธิแบบที่ ๑ และ ทำแบบสบายๆ จนกว่าจิตจะกลับเข้าที่เดิมครับ

    และ ทุกครั้งที่นั่งก็อย่าวิตกเรื่องที่คุณเจ็บก้น และ หากยังเจ็บอยู่ก็ลุกขึ้นครับ

    แต่พยายามทรงอารมณ์ของสมาธิไว้ครับ และ ให้เดินจงกลมแทน หรือแม้แต่ในท่วงท่าอื่น

    ก็สามารถทำสมาธิได้ครับ การที่คุณมีจิตที่วอกแวก ไม่ใช่วิปัสสนาครับ

    วิปัสสนา คือ ผู้ที่มีสมาธิที่แน่วแน่ มั่นคง ไม่วอกแวก มีการรับรู้บริบูรณ์ เห็นการปรุงแต่ง

    ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะนึกคิดสิ่งใด ก็จะเห็นต้นตอแห่งการนึกคิดนั้น และ เห็นอาการที่เกิดขึ้นมา

    ของอารมณ์ การตั้งอยู่ของอารมณ์ และ ดับไปของอารมณ์ โดยที่ไม่เข้าไปร่วมกับอารมณ์นั้น

    นี่คือ วิปัสสนาครับ เมื่อเห็นจนเบื่อหน่ายในการเกิดขึ้นของอารมณ์แล้ว จะเข้าใจว่าต้นตอ

    ที่ก่อให้เกิดอารมณ์มาจากไหน ซึ่งมาจากการปรุงแต่งนั่นเอง แล้วสิ่งที่จะเห็นต่อไป

    เหตุที่ก่อให้เกิดการปรุงแต่ง จึงเข้าใจถึงวิธีการหยุดการปรุงแต่ง ทั้งหมดที่ผมกล่าวมา

    เห็นโดยไม่ต้องนึกคิดเลยครับ เพียงแค่เฝ้าดูจิตของตนเองเท่านั้นครับ

    สาธุครับ
     
  6. คุรุวาโร

    คุรุวาโร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤษภาคม 2011
    โพสต์:
    3,465
    ค่าพลัง:
    +13,431
    การเจริญกรรมฐาน สิ่งที่ยากที่สุดคือ การตั้งคำบริกรรมครับ

    หลวงปู่เทศน์กล่าวว่า

    ตั้งสติกำหนดจิต เอาพุทโธไว้ที่จิต หรือเอาจิตไปไว้ที่พุทโธ ให้เห็นพุทโธอยู่กับจิต เห็นจิตอยู่
    กับพุทโธ อันเดียวกันนั่นแหละ อย่าส่งไปข้างนอก ข้างใน ข้างหน้า ข้างหลัง ตั้งอยู่เฉพาะหน้าอย่างเดียว คือ พุทโธ<?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    การตั้งจิตถูก ตั้งจิตตรง คือ ไม่นึกคิดถึงเรื่องอดีต อนาคต ทั้งภายนอก ภายใน ตั้งจิตไว้ที่พุทโธ เฉย ๆ ตรงกลางนั่นแหละ<o:p></o:p>
     
  7. ขันธ์

    ขันธ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    7,917
    ค่าพลัง:
    +9,181
    เป็นคำถามที่ดีแล้ว แสดงว่าเรามีธรรมวิจย คือ รู้จักวิจัยธรรมว่า เราควรทำอย่างไร
    ใครมาแนะนำอะไรในที่นี้ เราต้องไตร่ตรอง เพราะมันมีคนบ้าๆบอๆ กรรมฐานแตกมาอวดสอนคน สร้างบาปสร้างกรรมเต็มไปหมด

    ทีนี้ ที่เรายังสงสัยนี่เพราะว่า เรายังทำให้จิตสงบลงเป็นฐานสมาธิที่แท้จริงไม่ได้ เราจึงสงสัย
    แม้เราฝึกสติมา ฝึกปัญญามาก็จริง แต่ตัวความคิดที่เป็นสังขารอันมาจากนิวรณ์ ยังระคนปนกันกับตัวปัญญา และ สัญญา เมื่อสิ่งเหล่านี้ผุดขึ้นมา ทักทาย้รา เราก็แยกมันไม่ออก

    ให้หมั่นเจริญสติในชีวิตประจำวัน รู้การกระทำ รู้อารมณ์ ความรู้สึก รู้นี่คือ รู้ตัว น้อมจิตใจมาตั้งมั่นที่กายให้ได้
    ให้ทำสมถะลงไปให้ถึง ฐานความสงบ ที่เรียกว่าฌาณ 1 จึงจะเรียกได้ว่าคุมจิตตนได้
    ลดภาระงาน และความคิดลงไป ตะล่อมจิตเข้าสู่ความสงบให้บ่อย

    ลองทำดู มาถามผมก็ได้นะ ในที่นี้ ยังสงสัยอะไร ก็ถามมา จะเปลื้องความสงสัยให้

    อนุโมทนา มาถูกทางแล้ว แต่ยังไม่สงบพอ มีปัญญา มีสติในกุศล แต่ขาดสติเห็นองค์สมาธิ
     
  8. Soulwalker

    Soulwalker สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มีนาคม 2012
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +0
    เข้ามาขอบคุณสำหรับคำเเนะนำ เเละ กุศล ที่ดีครับ กราบขอบคุณครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...