อภินิหารพระเครื่อง 25 ศตวรรษ M16 กระหน่ำยิงไม่ระคายผิว

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย olanrakpong, 20 กรกฎาคม 2010.

  1. aj_1081009

    aj_1081009 สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2007
    โพสต์:
    55
    ค่าพลัง:
    +5
    พระเครื่อง 25 ศตวรรษของคุณ norrag สวยดีครับ เนื้ออมเหลือง
     
  2. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    ขอบคุณครับบบบ.....คุณพ่อผมเกิดปี2500...จึงมอบไว้ให้ผมติดตัวครับบ ^^
     
  3. กวาวชไม

    กวาวชไม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2009
    โพสต์:
    4,336
    ค่าพลัง:
    +14,779
    25 พุทธศตวรรษ พระดีที่เริ่มจะแพง
    วันนี้พาไปดูพระใกล้ๆมหิดล ศาลายากันนะครับ เมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้มีพิธีพุทธาภิเษกพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเมืองไทยและเป็นที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลกด้วย
    และนอกจากนี้ยังได้มีการสร้างพระพุทธลีลา สูง 2,500 นิ้ว (62.50 ม.) บนเนื้อที่ 2,500 ไร่ ที่ตำบลศาลายา อ.นครปฐม
    (พุทธมณฑลปัจจุบัน) กับได้สร้าง พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ ทั้งหลายขึ้น โดยมี พล.อ. เผ่า ศรียานนท์ เป็นประธานกรรมการจัดสร้าง มีสองเนื้อดังนี้
    ก. พระเนื้อชิน
    มีส่วนผสมของโลหะต่างๆอันประกอบด้วย พลวง, ดีบุก, ตะกั่วดำผสมด้วยนวโลหะ คือ ชินหนัก 1 บาท
    ,เจ้าน้ำเงินหนัก 2 บาท ,เหล็กละลายตัวหนัก 3 บาท เหล็กบริสุทธิ์ หลัก 4 บาท ,ปรอท หนัก
    5 บาท ,สังกะสีหนัก 6 บาท ทองแดงหนัก 7 บาท ,เงินหนัก 8 บาท, ทองคำหนัก 9 บาท,
    ตลอดจนแผ่นทองแดง,ตะกั่ว,เงินที่พระอาจารย์ต่างๆ เกือบทั้งราชอาณาจักรได้ลงเลขยันต์คาถา
    ส่งมาให้และเศษชนวนหล่อพระในพิธีแห่งอื่นๆ รวมหล่อผสมลงไปในคราวนี้ด้วย จำนวนจัดสร้าง 2,421,250 องค์
    ด้านหน้าเหรียญเป็นรุป พระศรีทศพลญาณประธานพุทธมณฑลสุทัศน์ ด้านหลัง ประกอบด้วยยันต์มะอะอุ ซึ่งก็คือ ศีล สมาธิ ปัญญา และ ยันต์ อิสวาสุ คือ หัวใจพระรัตนตรัย พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
    ข.พระผง (ดิน)
    ผสมด้วยผงเกษรดอกไม้ 108 อย่าง ตลอดจนผสมด้วยดินหน้าพระอุโบสถ
    จากพระอาจารย์ต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรและผงพุทธาคมต่างๆ ที่บรรดาพระอาจารย์ได้มอบให้มา
    รวมทั้งพระผงต่างๆ แบบของโบราณและของพระอาจารย์ต่างๆ ที่ได้สร้างไว้แต่โบราณกาล
    อันได้ส่งอุทิศมาให้ผสมรวมเป็นผงในครั้งนี้ด้วยมากมายหลายแห่ง จำนวนจัดสร้าง 2,421,250 องค์
    ค. พระเครื่องทองคำ
    แบบลักษณะและขนาดเดียวกับพระเนื้อชินใช้ทองคำหนักองค์ละประมาณ 6 สลึง
    โดยให้สร้างเป็นจำนวนเพียง 2,500 องค์การสร้างพระเครื่องทองคำ ตามข้อนี้ ได้ใช้ทุนโดยวิธีเรียกเงินล่วงหน้าจาก
    ผู้สั่งจอง องค์ละ 1,000 บาท ส่วนเงินสมทบทุนอันแท้จริงนั้นองค์ละ 2,500 บาท เมื่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว
    ผู้สั่งจองจะต้องส่งเงิน ส่วนที่เหลืออีก 1,500 บาท เวลามาขอรับองค์พระไป
    การสร้างพระเครื่องนี้ ได้ลงมือทำพิธีปลุกเสกสรรพสิ่งตลอด 3 วัน 3 คืน ในพระอุโบสถวัดสุทัศน์เทพวราราม
    ราชวรมหาวิหาร มีสมเด็จพระราชาคณะ , เจริญพระพุทธมนต์ 25 รูป พระคณาจารย์ปลุกเสก บรรจุพุทธาคมครบ 108 รูป
    พระคณาจารย์ 108 รูปนี้ได้อาราธนามาจากจังหวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร ดังมีรายชื่อพระคณาจารย์ ดังต่อไปนี้
    1. พระครูอาคมสุนทร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    2. พระครูสุนทรสมาธิวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    3. พระญาณาภิรัต อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    4. พระครูพิบูลย์บรรณวัตร อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    5. พระครูสุนทรศีลาจารย์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    6. พระครูพิศาลสรกิจ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    7. พระมหาสวน อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    8. พระอำนวย อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    9. พระปลัดสุพจน์ อ.พระนคร วัดสุทัศน์เทพวรารามฯ จ.พระนคร
    10. พระครูวิสิษฐ์วิหารการ อ.พระนคร วัดชนะสงคราม จ.พระนคร
    11. พระสุธรรมธีรคุณ (หลวงพ่อวงษ์) วัดสระเกศ จ.พระนคร
    12. พระอาจารย์สา อ.พระนคร วัดชนัดดาราม จ.พระนคร
    13. พระปลัดแพง อ.พระนคร วัดมหาธาตุฯ จ.พระนคร
    14. พระวิสุทธิสมโพธิ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    15. พระวรเวทย์คุณาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    16. พระครูฐาปนกิจประสาท อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    17. พระอินทรสมาจารย์ อ.พระนคร วัดพระเชตุพนฯ จ.พระนคร
    18. พระครูวินัยธรเฟื่อง อ.พระนคร วัดสัมพันธ์วงศ์ จ.พระนคร
    19. พระครูภักดิ์ อ.พระโขนง วัดบึงทองหลาง จ.พระนคร
    20. พระครูกัลญาณวิสุทธิ อ.ยานนาวา วัดดอนทวาย จ.พระนคร
    21. พระอาจารย์มี อ.ยานนาวา วัดสวนพลู จ.พระนคร
    22. พระอาจารย์เหมือน อ.บางเขม วัดโรงหีบ จ.พระนคร
    23. พระหลวงวิจิตร อ.ดุสิต วัดสะพานสูง จ.พระนคร
    24. พระอาจารย์หุ่น อ.มีนบุรี วัดบางขวด จ.พระนคร
    25. พระราชโมลี อ.บางกอกน้อย วัดระฆัง จ.ธนบุรี
    26. หลวงวิชิตชโสธร วัดสันติธรรมาราม จ.ธนบุรี
    27. พรครูโสภณกัลญานุวัตร วัดกัลญาณมิตร จ.ธนบุรี
    28. พระครูภาวนาภิรัต อ.บางขุนเทียน วัดหนัง จ. ธนบุรี
    29. พระครูทิวากรคุณ อ.ตลิ่งชัน วัดตลิ่งชัน จ.ธนบุรี
    30. พระครูไพโรจน์วุฒิคุณ วัดโพธินิมิตร จ.ธนบุรี
    31. พระครูญาณสิทธิ์ อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    32. พระอาจารย์มา อ.ตลิ่งชัน วัดราชสิทธาราม จ.ธนบุรี
    33. พระอาจารย์หวน อ.ตลิ่งชัน วัดพิกุล จ.ธนบุรี
    34. พระมหาธีวัฒน์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    35. พระอาจารย์จ้าย อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    36. พระอาจารย์อินทร์ อ.ภาษีเจริญ วัดปากน้ำ จ.ธนบุรี
    37. พระครูกิจจาภิรมย์ อ.บางกอกใหญ่ วัดอรุณราชวราราม จ.ธนบุรี
    38. พระครูวินัยสังวร อ.ธนบุรี วัดประยูรวงศวาส จ.ธนบุรี
    39. พระสุขุมธรรมาจารย์ อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนราม จ.ธนบุรี
    40. พระครูพรหมวินิต อ.ธนบุรี วัดหงษ์รัตนาราม จ.ธนบุรี
    41. พระอาจารย์อิน อ.คลองสาน วัดสุวรรณอุบาสิการ จ.ธนบุรี
    42. พระครูวิริยกิจ อ.คลองสาน วัดประดู่ฉิมพลี จ.ธนบุรี
    43. พระปรีชานนทมุนี อ.บางบัวทอง วัดโมลี จ.นนทบุรี
    44. พระครูปลัดแฉ่ง (หลวงพ่อแฉ่ง) อ.ปากเกร็ด วัดศรีรัตนาราม จ.นนทบุรี
    45. พระปลัดยัง (หลวงพ่อยัง) อ.ปากเกร็ด วัดบางจาก จ.นนทบุรี
    46. พระอาจารย์สมจิต วัดป่ากระเหรี่ยง จ.ราชบุรี
    47. พระอาจารย์แทน อ.เมือง วัดธรรมเสน จ.ราชบุรี
    48. พระครูบิน อ.บางแพ วัดแก้ว จ.ราชบุรี
    49. พระอินทร์เขมาจารย์ อ.เมือง วัดช่องลม จ.ราชบุรี
    50. พระธรรมวาทีคณาจารย์ อ.เมือง วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม
    51. พระครูสังฆวิชัย วัดพระปฐมเจดีย์ จ.นครปฐม
    52. พระอาจารย์สำเนียง อ.บางเลน วัดเวทุนาราม จ.นครปฐม
    53. พระอาจารย์เต๋ อ.กำแพงแสน วัดสามง่าม จ.นครปฐม
    54. พระอาจารย์แปลก อ.เมือง วัดสระบัว จ.ปทุมธานี
    55. พระครูปลัดทุ่ง อ.เมือง วัดเทียมถวาย จ.ปทุมธานี
    56. พระครูบวรธรรมกิจ อ.เมือง วัดโบสถ จ.ปทุธานี
    57. พระครูโสภณสมาจารย์ อ.เมือง วัดหนองบัว จ.กาญจนบุรี
    58. พระครูวิสุทธิรังษี อ.เมือง วัดเหนือ จ.กาญจนบุรี
    59. พระมุจจรินโมฬี อ.หนองจิก วัดมุจจริน จ.ปัตตานี
    60. พระครูรอด อ.เมือง วัดประดู่ จ.นครศรีธรรมราช
    61. พระครูวิศิษฐ์อรรถการ อ.ฉวาง วัดสวนขวัญ จ.นครศรีธรรมราช
    62. พระครูสิทธิธรรมาจารย์ (พระอาจารย์ลี) อ.เมือง วัดโศกการาม จ.สมุทรปราการ
    63. พระอาจารย์บุตร อ.เมือง วัดใหม่บางปลากด จ.สมุทรปราการ
    64. พระอาจารย์แสวง อ.พระประแกง วัดกลางสวน จ.สมุทรปราการ
    65. พระครูศิริสรคุณ อ.เมือง วัดท้ายหาด จ.สมุทรสงคราม
    66. พระครูสมุทรสุนทร อ.เมือง วัดพวงมาลัย จ.สมุทรสงคราม
    67. พระสทุธิสารวุฒาจารย์ อ.อัมพวา วัดเสด็จ จ.สมุทรสงคราม
    68. พระอาจารย์อ๊วง อ.อันพวา วัดบางคณาทอง จ.สมุทรสงคราม
    69. พระครูไพโรจน์วุฒาจารย์ (รุ่ง) อ.กระทุ่มแบน วัดท่ากระบือ จ.สมุทรสาคร
    70. พระครูวิเศษสมุทรคุณ อ.กระทุ่มแบน วัดดอนไก่ดี จ.สมุทรสาคร
    71. พระครูสักขิตวันมุนี อ.เมือง วัดป่าเลไลย์ จ.สุพรรณบุรี
    72. พระอาจาย์แต้ม อ.เมือง วัดพระลอย จ.สุพรรณบุรี
    73. พระครูโฆษิตธรรมสาร (ครื้น) อ.เมือง วัดสังโฆ จ.สุพรรณบุรี
    74. พระครูวรกิจวินิจฉัย (พริ้ง) อ.เมือง วัดวรจันทร์ จ.สุพรรณบุรี
    75. พระครูสำฤทธิ์ (เอี้ยง) อ.เมือง วัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
    76. พระวรพจน์ปัญญาจารย์ องเมือง วัดอรัญญิการาม จ.ชลบุรี
    77. พระครูธรรมาวุฒิคุณ อ.เมือง วัดเสม็ด จ.ชลบุรี
    78. พระครูธรรมธร (หลาย) อ.เมือง วัดราศฎร์บำรุง จ.ชลบุรี
    79. พระอาจารย์บุญมี อ.บางละมุง วัดโพธิ์สัมพันธ์ จ.ชลบุรี
    80. พระพรหมนคราจารย์ อ.พรหมบุรี วัดแจ้งพรหมนคร จ.สิงห์บุรี
    81. พระครูศรีพรหมโศกิต (แพ) อ.พรหมบุรี วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี
    82. พระชัยนาทมุนี อ.เมือง วัดบรมธาตุ จ.ชัยนาท
    83. พระอาจารย์หอม (หลวงพ่อหอม) อ.เมือง วัดชากหมาก จ.ระยอง
    84. พระอาจารย์เมือง อ.แม่ทา วัดท่าแพ จ.ลำปาง
    85. พระครูอุทัยธรรมธานี อ.เมือง วัดท้าวอุ่ทอง จ.ปราจีนบุรี
    86. พระครูวิมลศีลจารย์ อ.ประจันตคาม วัดศรีประจันตคาม จ.ปราจีนบุรี
    87. พระครูสนุทรธรรมประกาศ อ.ปากพลี วัดโพธิ์ปากพลี จ.นครนายก
    88. พระครูบาวัง อ.เมือง วัดบ้านเด่น จ.ตาก
    89. พระครูสวรรควิริยกิจ อ.เมือง วัดสวรรคนิเวส จ.แพร่
    90. พระครูจันทร (อ.ชุมแสง จ.นครสวรรหลวงพ่อจันทร์) วัดคลองระนงค์
    91. พระครูสีลกิติคุณ (อั้น) วัดพระญาติฯ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    92. พระอาจารย์แจ่ม วัดวังแดงเหนือ อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    93. พระครูเล็ก วัดบางนมโค อ.เสนา จ.อยุธยา
    94. พระอาจารย์มี วัดอินทราราม อ.เสนา จ.อยุธยา
    95. พระอาจารย์หวาน วัดดอกไม้ อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    96. พระอาจารย์หน่าย วัดบ้านแจ้ง อ.บางปะหัน จ.อยุธยา
    97. พระครูประสาทวิทยาคม (นอ) วัดกลาง อ.ท่าเรือ จ.อยุธยา
    98. พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก อ.บางไพร จ.อยุธยา
    99. พระอธิการเจาะ วัดประตูโลกเชษฐ์ อ.เสนา จ.อยุธยา
    100. พระอาจารย์ศรี วัดสระแก อ.พระนครศรีฯ จ.อยุธยา
    101. พระสุวรรณมุนี (ชิต) วัดมหาธาตุ อ.เมือง จ.อยุธยา
    102. พระครูศุข วัดโตนดหลวง อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
    103. พระครูพิบูลย์ศีลาจารย์ วัดโพธิ์กรุ อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
    104. พระครูทบ (หลวงพ่อทบ) วัดส่วางอรุณ อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
    105. พระสวรรคนายก วัดสุวรรคคาราม อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย
    106. พระโบราณวัตถาจารย์ วัดราชธานี จ.สุโขทัย
    107. พระครูปี้ วัดกิ่งลานหอย กิ่ง อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย
    108. พระครูวิบูลย์สมุทร วัดเสด็จ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์ สร้างพุทธมณฑลเมื่อวันที่ 28 กรกฏาคม พ.ศ. 2498 และเสด็จฯ ทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรูปจำลอง "พระพุทธปฏิมาประธานพุทธมณฑล" และทรงกดพระพิมพ์ พระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษ เนื้อดินผสมเกสรจำนวน ๓๐ องค์ ณ มณฑลพิธีวัดสุทัศนเทพวรา ราม เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500 พระลีลา 25 พุทธศตวรรษ เนื้อชิน แบ่งแยกย่อยได้ตามนี้
    1. พิมพ์ธรรมดา ไม่มีเข็ม
    พิมพ์เลี่ยมเดิมข้อเท้าตุ่ม(นิยมมาก หายาก) ที่ตรงข้อเท้าหน้า จะมีเม็ดนูนเห็นได้ชัด
    2 พิมพ์สวมรองเท้าบู๊ต(นิยมมาก หายาก)
    ที่ตรงเท้าหน้า จะอูมหนา นิ้วเท้ามักจะติดไม่ชัด บางองค์เท้าอูมหนามาก
    จนไม่มีเส้นแตกที่ส้นเท้า ให้ดูจุดตายที่กลางฝ่าเท้าแทน เพราะจะมีเส้นขีดลงมาจากกลางฝ่าเท้าหน้า
    3 พิมพ์มีเข็ม
    3. พิมพ์นิยม มีเข็ม(เข็มขวาง)
    3.1 พิมพ์เม็ดพระศกชัด(นิยมมาก หายาก)
    3.2 พิมพ์เม็ดพระศกไม่ชัด(นิยมมาก หายาก)
    4. พิมพ์ธรรมดา ไม่มีเข็ม เลี่ยมเดิม
    4.1 พิมพ์เลี่ยมเดิมเลี่ยมทองเหลือง(นิยม หายาก)
    4.2 พิมพ์เลี่ยมเดิมเลี่ยมดีบุก(นิยม หายาก)
    4.3 พิมพ์เลี่ยมเดิมข้อเท้าตุ่ม(นิยมมาก หายาก) ที่ตรงข้อเท้าหน้า จะมีเม็ดนูนเห็นได้ชัด
    5. พิมพ์นิยม มีเข็ม เลี่ยมเดิมตั้งแต่ปี 2500
    5.1 พิมพ์เลี่ยมเดิมเลี่ยมทองเหลือง(นิยมมาก หายาก)
    5.2 พิมพ์เลี่ยมเดิมเลี่ยมดีบุก(นิยมมาก หายาก)
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 กุมภาพันธ์ 2012
  4. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    สุดยอดครับคุณกวาวไชม ^^
     
  5. พี เสาวภา

    พี เสาวภา ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    38,014
    ค่าพลัง:
    +146,292
    ดีด้วยคนครับ หาไม่ยาก พอหาได้ รีบๆหากันน่ะครับ
     
  6. Amuletism

    Amuletism เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 เมษายน 2009
    โพสต์:
    5,779
    ค่าพลัง:
    +18,372
    มีอยู่องค์เดียวครับ
    [​IMG]
     
  7. NARKA

    NARKA เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    1,568
    ค่าพลัง:
    +4,560
    ไม่ใช่ไม่เชื่อหรือลบหรู่นะ
    ประสบการณ์เดียวไม่อาจกล่าวอ้าง
    ถ้าเช่นนั้น กองทัพบก ให้ทหาร อส.และตำรวจห้อย...ปราบผู้ร้าย3 จว.ชายแดนราบคาบไปนานแล้ว
    ..ผู้ร้ายแต่ละรายมันจะสั่นหัว...บอก..."คนอาไร้...ยิงไม่เข้า...ฮา)
    ..เมื่อ เมย.55 ดูทีวี เพชฌฆาตบางขวางคนสุดท้ายสิ้น ท่านเล่าให้นักข่าวฟัง เคยยิงนักโทษประหารคนหนึ่ง แต่ยิงไม่ออก ไปตรวจดูจึงรู้ว่า อมพระไว้ในปาก จึงง้างเอาออก และยิง ก็เข้าและตาย แต่ไม่บอกเป็นพระอะไร....
    ...แสดงว่า..พระเหรียญ ดิน ชิน ผง พวกนี้ สามารถมีฤทธิ์ได้จริง..
    ..แต่ฤทธิ์นั้น เวลาแสดง...มันน่าจะต้องไปเกี่ยวข้องกับอะไรๆบางอย่าง เช่น ทำไมจึงคุ้มครองคนชั่วนักโทษ...นี่เอาอะไรมาอธิบายได้....หรือมนต์ที่ใช้นั้น อาจารย์องค์นั้นๆคณะนั้นๆเก่ง คุ้มครองหมดทั้งคนดีคนชั่ว หรือไปเกี่ยวกับคนทำดี ไม่ดี คนไม่ถึงฆาต ไม่ถึงที่ ไม่ถึงอายุขัยฯลฯ....
    ...แต่รวมๆผมเชื่อว่า มนต์คาถา คุ้มครองทุกคน ทั้งดีและชั่ว...แต่ตายไม่ตายอยู่ที่กรรม
    ..ทหารไทยไปรบเวียตนามสมัยสงคราม ห้อยพระเหนียวทั้งนั้น แต่ตายเพราะโดนปืนใหญ่ปืนครก...ร่างกายไม่มีแผล แต่กระดูกหักช้ำในตาย..นี่แปลกมากๆ ท่าน พ.ท.ศุภชัยฯของใหญ่ ท่าไม้ เห็นกับตา....
    ......25 พุทธศัตวรรษนี่...ตามประวัติเป็นพระดีจริงๆ สมควรบูชา แต่ระวังของปลอมน่าจะมีบ้าง...
     
  8. ศรัทธาพญาเวนไตย

    ศรัทธาพญาเวนไตย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 พฤศจิกายน 2010
    โพสต์:
    867
    ค่าพลัง:
    +1,383
    ผมสงสัยทำไมเขาถึงโดนหักคอได้อะครับ พระไม่ช่วยครั้งที่สองหรอครับ ครั้งเเรกกันกระสุน ไม่ได้ลบหลู่นะครับ พอดีอ่านเเล้วเเปลกจริงๆ ครับ
     
  9. watnatangnok namai

    watnatangnok namai เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ธันวาคม 2012
    โพสต์:
    293
    ค่าพลัง:
    +3,986
    พระอาจารย์จง (หลวงพ่อจง) วัดหน้าต่างนอก บ้านหน้าไม้ อ.บางไทร จ.อยุธยา
    หนึ่งใน4ขุนพลพระเวทย์ จาด-จง-คง-อี๋ ก็ไปร่วมพุทธาภิเศกด้วยครับนับว่าเป็นวัตถุมงคลที่มีพุทธคุณสูงมากครับ สมกับคำกล่าวที่ว่าราคาหลักร้อยเเต่พุทธคุณหลักล้าน
     
  10. manitou

    manitou Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    128
    ค่าพลัง:
    +56
    มืเรื่อง กล่าวถึงอภินิหารของพระเครื่องยี่สิบห้าพุทธศตวรรษอีกเรื่องหนึ่งว่า เมื่อปี 2501 นายทหารบกผู้หนึ่งพกพระเครื่อง รุ่นนี้ติดตัวเป็นประจำ เขาเดินเดินทางไปต่างจังหวัดเพื่อประสงค์จะพบสหายอันมีถิ่นบ้านเรือนอยู่ไกลจากตัวเมืองลึกเข้าไปกลางป่า เมื่อเดินทางมาถึงตำบลนั้นแล้ว ภายหลังจากการสอบถามชาวบ้านก็ทราบว่าบ้านของสหายชาวป่าที่จะต้องการพบตัวอยู่นั้นบ้านเขาอยู่ลึกกลางป่า หนทางเข้าบ้านรกชัฏและเปลี่ยว เนื่องด้วยไม่ชินต่อสถานที่และธรรมชาติสิ่งแวดล้อม ทำให้นายทหารผู้นั้น ต้องเสียเวลาเดินหาทางเข้าบ้านอยู่เป็นเวลานาน แต่ในที่สุดก็หาเจอจนได้ เมื่อมิตรทั้งสองพบกันก็ปรีดาปราโมทย์ในฐานะเพื่อนเก่าจากกันเป็นเวลานาน ตอนหนึ่งของการสนทนา นายทหารได้บ่นให้เพื่อนผู้เป็นเจ้าของบ้านฟังว่าเมื่อกี้ต้องเดินวนเวียนอยู่ตรงทางเข้าบ้าน ตั้งหลายเที่ยวเพราะหลงเดินไปมาอยู่ที่เก่านั่นเอง พูดจบเพื่อนชาวป่าผู้นั้นก็ตกตะลึงพรึงเพริด ครั้นได้สติเขากล่าวว่าตรงทางที่ว่านั้น เขาได้ขึงเชือกป่านเรี่ยดินขวางทางเอาไว้เพื่อดักคนร้ายที่เคยเข้ามาในด้านนั้น คนที่เดินผ่านจะต้องสะดุดเชือกกลและทันทีที่เชือกกระตุก หลาวไม้ไผ่ซึ่งทำไว้อย่างแหลมคมจะพุ่งเข้าสู่ร่างที่สะดุดเชือกโดยแรง เชือกกลที่ดักไว้นี้ตามปกติเขาจะขึงไว้ตอนกลางคืน พอรุ่งเช้าปลดออกเพื่อความปลอดภัยแก่คนในบ้าน และเมื่อเช้านี้เขาได้ลืมปลดเชือกประการคนร้ายนั้นออกเสียด้วย ครั้นแล้วทั้งสองก็พากันไปดูบริเวณที่นายทหารจากมิตรแดนไกล (ที่เกือบเอาชีวิตมาทิ้งเสียในป่า) เดินทางเข้าบ้านก็พบว่า เชือกนั้นยังขึงขวางทางเรี่ยดินไว้ อย่างปกติ โดยนายทหารผู้มีพระยี่สิบห้าพุทธศตวรรษติดตัวไม่เดินไปสะดุดทั้งๆที่เขาเดินกลับไปมาอยู่ที่นั่นโดยไม่รู้เรื่องถึง 5-6 เที่ยว

    (ข้อมูลจากนามานุกรมพระเครื่อง พินัย ศักดิ์เสนีย์)
     
  11. tanapoj

    tanapoj เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    614
    ค่าพลัง:
    +997
    พอจะมีกะเขานิดหน่อยครับ:cool::cool::cool:
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSC08583.jpg
      DSC08583.jpg
      ขนาดไฟล์:
      177.5 KB
      เปิดดู:
      352
    • DSC08584.jpg
      DSC08584.jpg
      ขนาดไฟล์:
      179.8 KB
      เปิดดู:
      435
    • DSC08603.jpg
      DSC08603.jpg
      ขนาดไฟล์:
      176.8 KB
      เปิดดู:
      298
    • DSC08601.jpg
      DSC08601.jpg
      ขนาดไฟล์:
      180.5 KB
      เปิดดู:
      178
  12. bizkitmanza

    bizkitmanza เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มกราคม 2013
    โพสต์:
    123
    ค่าพลัง:
    +196
    ที่ท่าพระจันทร์ บริเวณที่ตรงข้ามกับกำแพง ม.ธรรมศาสตร์ เกือบๆถึงหัวมุมถนน มีพระ 25 พุทธศตวรรษวางให้เช่าอยู่เยอะมาก ใส่กรอบเรียบร้อย ไม่ต้องดูอะไรมากดูแค่สายตาปกติก็รู้ครับว่าเก๊ ราคาก็ 20 บาทครับ เหอะๆๆๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...