คุณคือ ชาวพุทธที่ไหว้ พระอิฐ พระปูน อยู่หรือเปล่า

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย เกาทัณฑ์, 3 กุมภาพันธ์ 2012.

  1. เกาทัณฑ์

    เกาทัณฑ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +4
    จาก พระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย ๙๑ เล่ม

    รูปเหมือนพระพุทธเจ้าไม่มี ผู้ใดบังอาจเอาทองเหลือง โลหะที่ขุดจากดิน มาแทนพระองค์ บาปมาก
    เล่ม 32 หน้า 214 บรรทัด 6

    อปฺปฎิโม (ไม่มีผู้เปรียบ) ความว่า อัตภาพ ( ความเป็นตัวตน )เรียกว่ารูปเปรียบ ชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบ เพราะรูปเปรียบอื่นเช่นกับอัตภาพของท่านไม่มี อีกอย่างหนึ่ง มนุษย์ทั้งหลายกระทำรูปเปรียบใดล้วนแล้วด้วยทองและเงินเป็นต้น ในบรรดารูปเปรียบเหล่านั้น ชื่อว่าผู้สามารถกระทำโอกาสแม้สักเท่าปลายขนทราย(แม้เพียงนิดนึง) ให้เหมือนอัตภาพของพระตถาคต ย่อมไม่มี เพราะเหตุนั้น จึงชื่อว่าไม่มีผู้เปรียบแม้โดยประการทั้งปวง.
    อปฺปฎิสโม (ไม่มีผู้เทียบ) ความว่า ชื่อว่าไม่มีผู้เทียบ เพราะใคร ๆ ชื่อว่าผู้จะเทียบกับอัตภาพของพระตถาคต นั้นไม่มี
    รูปเหมือนพระพุทธเจ้า...ไม่มี เล่ม 11 หน้า 66
    ….ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้ว ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคต ดำรงอยู่ ต่อเมื่อกายแตกสิ้นชีวิตแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจะไม่เห็นตถาคต......
    เล่ม 13 หน้า 121
    .....ดังที่พระองค์ตรัสไว้ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระมหาบุรุษทรงปลื้มพระทัยนักแลเมื่อผลกรรมปรากฏ
    ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดยาว อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่ยาว
    ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดสั้น อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่สั้น
    ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดล่ำ อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่ล่ำ
    ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดเรียว อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่เรียว
    ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดกว้าง อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กว้าง
    ทรงงดงาม เพราะอวัยวะส่วนใดกลม อวัยวะส่วนนั้นย่อมตั้งอยู่กลมดังนี้
    อัตตภาพของพระมหาบุรุษสะสมไว้ด้วย ทานจิต บุญจิต ตระเตรียมไว้ด้วยบารมี ๑๐
    ด้วยประการฉะนี้.ศิลปินทั้งปวงหรือผู้มีฤทธิ์ทั้งปวงในโลก ไม่สามารถสร้างรูปเปรียบได้..
    ธรรม – วินัย คำสอนที่พระองค์ตรัสต่างหากเล่า คือตัวแทนพระศาสดา พระพุทธรูปไม่ใช่ตัวแทนพระพุทธเจ้าแน่นอนเด็ดขาดซะยิ่งกว่าไหนไหนต่อไหนไหน เล่ม 13 หน้า 320

    ....ดูก่อนอานนท์ บางที่พวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์ (พุทธพจน์) มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
    แม้ร่างกายของพระพุทธเจ้าก็ยังถือว่าต่ำทราม พระพุทธเจ้าคืออาการรู้อันไม่มีที่สิ้นสุด บริสุทธิคุณอันประมาณไม่ได้และพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงสงสารปรารถนาสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์อย่างไม่มีประมาณของพระองค์ หาใช่ร่างกายของพระองค์ หรือพระธาตุไม่ แม้ร่างกายของพระพุทธเจ้าก็ยังต่ำทราม ร่างกายของพระองค์ก็เผาไปแล้วไม่ต้องกล่าวถึงพระพุทธรูปเลย
    เล่ม 54 หน้า 261
    หม่อมฉันจักไม่ได้เห็นพระพักตร์ของพระองค์ซึ่งมีอาการดุจอมตะอีก ข้าแต่พระมหาวีระผู้เลิศของโลก การถวายบังคมของหม่อมฉันจักไม่สัมผัสพระยุคลบาทของพระองค์ ซึ่งละเอียดอ่อนดี วันนี้หม่อมฉันจะนิพพาน.
    พระศาสดาตรัสว่า ประโยชน์อะไรของเธอด้วยรูปนี้ในปัจจุบัน รูปนี้ล้วนปัจจัยปรุงแต่ง ไม่น่ายินดีเป็นของต่ำทราม. พระมหาปชาบดีเถรีพร้อมด้วย ภิกษุณีเหล่านั้น ไปสำนักของภิกษุณีของตนแล้ว นั่งพับเพียบบนอาสนะอันประเสริฐ.
    เล่ม 20 หน้า 288 ผู้ยึดติดในรูป อันตรายมาก ไม่เว้นแม้แต่ร่างกายของพระพุทธเจ้า
    ในขณะนั้นท่านพระราหุลเสด็จไป ณ เบื้องพระปฤษฎางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแลดูพระตถาคตตั้งแต่พื้นพระบาทจนถึงปลายพระเกสา.
    ท่านพระราหุลนั้นทอดพระเนตรเห็นความงดงามของเพศพระพุทธเจ้าของพระผู้มีพระภาคเจ้า จึงดำริว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระสรีระวิจิตรด้วยมหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการงดงาม ได้เป็นดุจเสด็จไปท่ามกลางผงทองคำอันกระจัดกระจาย เพราะแวดล้อมด้วยพระรัศมีวาหนึ่ง ดุจกนกบรรพตอันแวดล้อมด้วยสายฟ้า ดุจทองคำมีค่าวิจิตรด้วยรัตนะอันฉุดคร่าด้วยยนต์ แม้ทรงห่มคลุมด้วยผ้าบังสกุลจีวรสีแดง ก็ทรงงามดุจภูเขาทองอันปกคลุมด้วยผ้ากัมพลแดง ดุจทองคำมีค่าประดับด้วยสายแก้วประพาฬ ดุจเจดีย์ทองคำที่เขาบูชาด้วยผงชาด ดุจเสาทองฉาบด้วยน้ำครั่ง ดุจดวงจันทร์วันเพ็ญโผล่ขึ้นในขณะนั้นไปในระหว่างฝนสีแดง. สิริสมบัติของอัตภาพที่ได้เตรียมไว้ด้วยอานุภาพแห่งสมติงสบารมี. จากนั้นพระราหุลเถระก็ตรวจดูตนบ้าง ทรงดำริว่า แม้เราก็งาม หากพระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงครองความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิในมหาทวีปทั้ง 4 ได้ทรงประธานตำแหน่งปริณายกแก่เรา เมื่อเป็นเช่นนั้น. ภาคพื้นชมพูทวีปจักงามยิ่งนัก จึงเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพแม้พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดำเนินไปเบื้องหน้าก็ทรงดำริว่า บัดนี้ราหุลมีร่างกายสมบูรณ์ด้วยผิวเนื้อและโลหิตแล้ว. เป็นเวลาที่จิตฟุ้งซ่านไปในรูปารมณ์เป็นต้นอันน่ากำหนัด. ราหุลยังกาลให้ล่วงไปเพราะเป็นผู้มักมากหรือหนอ. ครั้นแล้วพร้อมกับทรงคำนึงได้ทรงเห็นจิตตุปบาท(ความคิด)ของราหุลนั้น ดุจเห็นปลาในน้ำใสและดุจเห็นเงาหน้าในพื้นกระจกอันบริสุทธิ์. ก็ครั้นทรงเห็นแล้วได้ทรงทำพระอัธยาศัยว่า ราหุลนี้เป็นโอรสของเรา เดินตามหลังเรา มาเกิดฉันทราคะอันอาศัยเรือนเพราะอาศัยอัตภาพว่า เรางาม ผิวพรรณของเราผ่องใส. ราหุลแล่นไปในที่มิใช่น่าดำเนิน ไปนอกทาง เที่ยวไปในโคจร ไปยังทิศที่ไม่ควรไปดุจคนเดินทางหลงทิศ. อนึ่งกิเลสของราหุลนี้เติบโตขึ้นในภายในย่อมไม่เห็นแม้ประโยชน์ตน แม้ประโยชน์ผู้อื่น แม้ประโยชน์ทั้งสองตามความเป็นจริง. จากนั้นจักถือปฏิสนธิในนรกบ้าง ในกำเนิดเดียรัจฉานบ้าง ในปิตติวิสัยบ้าง ในครรภ์มารดาอันคับแคบบ้าง เพราะเหตุนั้นจักตกไปในสังสารวัฏอันไม่รู้เบื้องต้นที่สุด.
    ***แต่ถ้ายังอยากกราบพระพุทธรูป หรือยินดีในรูปต่อไปก็ได้ ก็แค่เตือนว่าอาจจะมีเปรตภูมิ เดรัจฉานภูมิ หรือนรก รอสำหรับคนที่กราบ จะเชื่อหรือไม่ ข้าพเจ้าก็ไม่อาจจะบังคับใครได้.***

    คนพาลย่อมพอใจรูปทั้งหลาย และผู้ใด ถึงเห็นร่างกายพระพุทธเจ้า แต่ไม่เห็นธรรม(ไม่เข้าใจคำสอน)ก็ขึ้นชื่อว่าไม่เห็นพระองค์ ผู้ใดเห็นธรรม(เข้าใจคำสอน) ผู้นั้นจึงเห็นพระพุทธเจ้า เล่ม 52 หน้า 115
    (สัทธรรม หมายถึง ธรรมที่ดี, ธรรมที่แท้, ธรรมของคนดี โดยพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต) จาก พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์)
    เราก็ออกบวชเป็นบรรพชิต เราเป็นผู้ไม่อิ่มด้วยการดูพระรูปอันประเสริฐเกิดเพราะบารมีทุกอย่าง มีดวงพระเนตร(ดวงตา)สีนิล ล้วนเกลื่อนกล่นไปด้วยวรรณสัณฐานอันงดงาม ครั้งนั้น พระศาสดาทรงทราบว่าเรายินดีในพระพุทธรูป(ร่างกายของพระพุทธเจ้า) จึงได้ตรัสสอนเราว่า อย่าเลยวักกลิ ประโยชน์อะไรในรูปที่น่าเกลียด ซึ่งคนพาลชอบเล่า ก็บัณฑิตใดเห็นสัทธรรมบัณฑิตนั้นชื่อว่าเห็นเรา ผู้ไม่เห็นสัทธรรม ถึงจะเห็นเราก็ชื่อว่าไม่เห็น กายมีโทษไม่สิ้นสุด เปรียบเสมอด้วยต้นไม้มีพิษ เป็นที่อยู่ของโรคทุกอย่างล้วนเป็นที่ประชุมของทุกข์ เพราะฉะนั้น ท่านจงเบื่อหน่ายในรูป พิจารณาเห็นความ เกิดขึ้นและความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย จักถึงที่สุด แห่งสรรพกิเลสได้โดยง่าย เราอันสมเด็จพระโลกนาย ผู้แสวงหาประโยชน์พระองค์นั้น ทรงพร่ำสอนอย่างนี้
    ***แต่ว่า ควรกราบโดยระลึกถึงคุณพระพุทธ ธรรม สงฆ์ นั่นแหละได้บุญ และตรงตามจุดประสงค์ของการสร้างเจดีย์ แม้แต่ต้นโพธิ์ ก็ไม่ได้ให้กราบต้นโพธิ์ ให้กราบความเป็นพุทธ ของพระพุทธเจ้า
    แม้ร่างกายของพระพุทธเจ้าก็ยังถือว่าต่ำทราม พระพุทธะคืออาการรู้อย่างหาที่สุดไม่ได้ ความเมตตากรุณาอันไม่มีประมาณของพระองค์และความบริสุทธิ์อันสูงสุด หาใช่ร่างกายของพระองค์ หรือพระธาตุไม่***

    คนส่วนใหญ่ในโลกก็ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป หากคนส่วนใหญ่ไม่พูดและปฏิบัติตามธรรม ผู้ที่เอาตามคนส่วนใหญ่ ย่อมเป็นไปเพื่อความทุกข์ทรมาน อย่างไม่สิ้นสุดของมนุษย์และเทวดาทั้งหลาย
    เล่ม 16 หน้า 373
    ธรรมวาที คือ“ผู้มีปกติกล่าวธรรม”, ผู้พูดเป็นธรรม, ผู้พูดตามธรรม, ผู้พูดตรงตามธรรมหรือพูดถูกต้องตามหลัก ไม่พูดผิดธรรม ไม่พูดนอกหลักธรรม ส่วนอธรรมวาที คือ ผู้กล่าวสิ่งที่มิใช่ธรรม, ผู้ไม่พูดตามหลักไม่พูดตามธรรม, ผู้พูดไม่เป็นธรรม, ผู้ไม่เป็นธรรมวาที(พจนานุกรมพุทธศาสน์ ป.อ.ปยุตโต)
    เมื่อภิกษุ ๒ รูป วิวาทกัน พวกอันเตวาสิก(ผู้อยู่ในสำนักของอาจารย์)ของเธอทั้งสองนั้นในวิหารนั้นก็วิวาทกัน. ภิกษุณีสงฆ์ ผู้รับโอวาทของพวกภิกษุเหล่านั้น...ก็วิวาทกัน แต่นั้นพวกอุปัฏฐาก(ผู้คอยปรนนิบัติรับใช้)ของภิกษุเหล่านั้น ก็วิวาทกัน. ลำดับนั้นเหล่าอารักขเทวดา(เทพที่รักษามนุษย์ แต่ละคน มีทุกคน) ของพวกมนุษย์ก็ ( แยก ) เป็นสองฝ่าย. บรรดาเทวดาเหล่านั้น เหล่าอารักขเทวดา ของพวกมนุษย์ผู้เป็นธรรมวาที ก็เป็นธรรมวาทีด้วย. สำหรับพวกมนุษย์ผู้เป็นอารักขมวาที ก็เป็นอธรรมวาทีตาม. จากนั้นเหล่าภุมมเทวดา(เทวดาสถิตต้นไม้ เป็นต้น) ผู้เป็นมิตรของอารักขเทวดา จึงแตกกัน. เทวดาและมนุษย์ทั้งหมด ยกเว้นพระอริยสาวกเสีย ต่อ ๆ กันไป จนกระทั่งถึงพรหมโลกก็ ( แยก ) เป็นสองฝ่าย ด้วยประการฉะนี้. ก็พวกที่เป็นอธรรมวาทีเทียวมีจำนวนมากกว่าพวกธรรมวาที.
    ลำดับนั้น พวกเทวดาและมนุษย์ก็ปรารถนาที่จะยึดถือสิ่งที่ชนเป็นอันมากพากันยืดถือ พวกอธรรมวาทีที่มากกว่า นั่นแหละ ก็แก้สภาพที่เป็นธรรมแล้ว พากันยึดถือสภาพที่มิใช่ธรรม.พวกอธรรมวาทีเหล่านั้น กระทำสภาพที่มิใช่ธรรมให้อยู่ในเบื้องหน้ากล่าวอยู่ จึงบังเกิดในอบายทั้งหลาย. วิวาทของภิกษุทั้งสองฝ่าย ย่อมมีเพื่อมิใช่ประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความทุกข์ แห่งเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ด้วยประการฉะนี้.
    หากยังขืนเอาตามคนส่วนใหญ่ที่ทำบาป ก็จะได้ไปเป็นเปรต-อสุรกาย-สัตว์เดรัจฉานและไปนรก อย่างที่คนส่วนใหญ่เขาไป หากเป็นปุถุชน เล่ม 33 หน้า 206
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สัตว์ที่จุติ (ตาย) จากมนุษย์กลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย (ภูมิแห่งเปรต) มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากมนุษย์ไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากเทพยดากลับมาเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากเทพยดาไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากเทพยดากลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากเทพยดาไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากนรกกลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากนรกไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานกลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิส้ย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยกลับมาเกิดในมนุษย์ มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในนรก เกิดในกำเนิดสัตว์เดียร้จฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในเทพยดา มีเป็นส่วนน้อย สัตว์ที่จุติจากปิตติวิสัยไปเกิดในนรก
    เกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉาน เกิดในปิตติวิสัย มากกว่าโดยแท้
    เปรียบเหมือนในชมพูทวีปนี้ มีสวนที่น่ารื่นรมย์ มีป่าที่น่ารื่นรมย์ มีภูมิประเทศที่น่ารื่นรมย์ มีสระโบกขรณี (สระบัว) ที่น่ารื่นรมย์ เพียงเล็กน้อย มีที่ดอน ที่ลุ่ม เป็นลำน้ำ เป็นที่ตั้งแห่งตอและหนาม มีภูเขาระเกะระกะเป็นส่วนมากโดยแท้ฉะนั้น

    ดาวน์โหลดพระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย ฉบับมหามกุฎราชวิทยาลัย ๙๑ เล่ม ได้ที่ดาวน์โหลดโปรแกรมพระไตรปิฎกและอรรถกถาไทย (PDF)
     
  2. เอกวัฒน์

    เอกวัฒน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    359
    ค่าพลัง:
    +2,431
    ไปอยู่กับ พระเกษมเลยแบบนี้เข้ากันได้
     
  3. anima

    anima สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +0
    ผมเชื่อว่าชาวพุทธส่วนใหญ่ กราบไหว้พระพุทธรูป ไม่ใช่ด้วยเหตุผลว่า พระพุทธรูปมีความงดงาม ผ่องผุดเหมือนทองคำ เหมือนที่พระราหุลเกิดจิตราคะตามที่คุณยกมาอ้างแน่นอนครับ

    กระดาษ ทิ้งไว้อย่างไรก็เป็นแค่กระดาษครับ แต่ถ้าเอามาวาดภาพลงไป คนจะเห็นแค่มันเป็นกระดาษกับหมึกก็เป็นไปได้ครับ แต่ผมเชื่อว่าคนส่วนใหญ่ คงเข้าใจความหมายของภาพที่ถูกวาดลงไปและระลึกเหตุการณ์ในภาพนั้นตามไปได้ และแน่นอนก็ยังคงตระหนักว่านั่นเป็นเพียงแค่กระดาษและรอยแต้มของหยดหมึก

    บาปบุญ อยู่ที่เจตนาครับ ถ้าคุณคิดว่าพระพุทธรูปเป็นแค่อิฐแค่ปูน ก็เป็นแค่อิฐแค่ปูนครับ ไม่มีเหตุผลอะไรที่จะไปกราบไหว้ แต่ถ้าคิดว่าเป็นเครื่องหมายให้ระลึกถึงพระคุณของพระศาสดา ผู้มีทรงคุณยิ่งต่อโลก ก็ย่อมเป็นไปได้เช่นกันครับ

    คนส่วนใหญ่มองเห็นด้วยตา ง่ายกว่านึกภาพเอาเองครับ เถียงกันไปยังไงก็ไม่จบหรอก เพราะมันเป็นเรื่องของมุมมอง ตึงไปบ้างหย่อนไปบ้างก็ไม่ดีครับ อย่าเยอะนัก ไม่มีแก่นสารอันใดที่จะพัฒนาตัวเองเลย
     
  4. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    บางอย่างที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ เราๆๆทั้งหลายก็ไม่อาจจะเข้าใจได้นะครับ
    พระพุทธองค์ถึงได้เปรียบเวนัยทั้งหลายเสมือนดอกบัวแต่ละเหล่านะครับ


    ท่าน จขกท. ลองอ่านพระไตรปิฎกหลายเล่ม(มี 91 เล่ม หรือโหลดตามเว็ปที่ท่าน แสดงมาก็ได้ครับ)ดูนะครับ
    เนื่อหาเกี่ยวกับพระพุทธรูปนะครับ มีกล่าวไว้เยอะเลยนะครับ
    ช่วงที่พระพุทธเจ้ายังทรงบำเพ็ญพระบารมีอยู่นั้น พระองค์ก็สร้างพระพุทธรูป,บูรณะพระพุทธรูป,ปิดทองพระพุทธรูป ด้วยเนื้อของพระองค์มาแล้วนะครับ
    อานิสงส์มีแสดงไว้ด้วย อานิสงส์ประมาณมิได้เลยนะครับ
     
  5. yindee1917

    yindee1917 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    229
    ค่าพลัง:
    +211
    ครูบาอาจารย์ของอาตมาองค์หนึ่ง คือ หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ วัดสะแก อยุธยา ท่านบอกว่าถ้าติดในวัตถุมงคลก็ดีกว่าติดในวัตถุอัปมงคล โบราณาจารย์ท่านมีปัญญา ท่านฉลาดมาก ท่านสอนให้เรายึดในพุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ คือ ระลึกถึงพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ด้วยการสร้างวัตถุมงคลพระเครื่องขึ้นมา ให้เราปฏิบัติกรรมฐานใหญ่โดยที่เราไม่รู้ตัว ท่านให้เราอาราธนาทุกวัน โดยระลึกถึงทุกวันเป็นอนุสสติอยู่ แล้วมีข้อกำกับว่า ถ้าหากว่าศีลบริสุทธิ์ สิ่งทั้งหลายทั้งปวงเหล่านี้ ก็จะมีอานุภาพคุ้มครองเราได้ระดับหนึ่ง ที่ไม่เกินกฎของกรรม

    ดังนั้นที่อาตมายอมเสียสตางค์ทีละมากๆ หามาให้แก่ญาติโยมทั้งหลายก็เพื่อเป็นอนุสสติ เพื่อเป็นการปฏิบัติ เพราะไม่ว่าการเดินทางไปในที่ใดก็ตาม ถ้ามีสิ่งให้ยึดให้เกาะมันจะปลอดภัยมากกว่า

    การปีนเขาก็ดี การขึ้นบันไดก็ดี ถ้ามีที่ให้ยึดให้เกาะมันก็จะปลอดภัยกว่าคนที่ไม่ยอมยึดไม่ยอมเกาะ จำไว้ว่าเราต้องยึดก่อน เราถึงจะมีสิ่งที่ปล่อยวางได้ ถ้าเราไม่ยึดก่อนจะเอาอะไรมาวาง ทุกคนที่บอกว่าอนัตตาๆ ไม่เอาอะไรๆ นั้น ไม่เอาอะไรแล้ว มันยึดถือตัวไม่เอาอะไรนั้นแหละ ยึดคำว่าอนัตตานั้นแหละ

    จำไว้ว่า ถ้ายังไม่มีอัตตาก็จะหาอนัตตาไม่ได้ มันต้องมีอัตตาขึ้นมาก่อนมันถึงจะวางลงเป็นอนัตตาได้ เหมือนกับที่เราขึ้นมาบนห้องนี้ เราเดินขึ้นบันได เราเกาะบันไดมาด้วยความระมัดระวัง ไม่ประมาทตามคำที่พระพุทธเจ้าท่านสอน พอเราเดินมาถึงหน้าประตู เปิดประตูเข้ามา เราได้แบกราวบันไดเข้ามาหรือไม่ ? เราก็ไม่ได้แบกราวบันไดมาด้วย...ฉันใดก็ฉันนั้น

    เราไม่สามารถปล่อยวางได้ ถ้าไม่มีสิ่งให้ยึดเกาะ มันต้องรู้จักยึดก่อนมันถึงจะรู้จักวาง พระพุทธเจ้าท่านเปรียบเอาไว้ว่า เหมือนกับแม่ลูกลงไปงมจับปลา ลูกชายจับได้หัวงูกำไว้แน่นเลย “แม่ๆ ได้ปลาตัวเบ้อเร่อเลย” แม่ คือครูบาอาจารย์เห็นเข้าก็ “เออ...ดีไอ้หนูลูกกำให้แน่นๆ เดี๋ยวมันจะหลุดไป” เพื่อไม่ให้ลูกตกใจ แล้วพอเสร็จแล้วลูกกำแน่นดีแล้ว “ไอ้หนูขึ้นฝั่งไปลูก เสร็จแล้วดึงหางมันออกมาสลัดมันไปไกลๆ เลยลูก” พอลูกเหวี่ยงทิ้งไปเสร็จเรียบร้อยแล้วบอก “นั่นงูพิษนะลูกคราวหน้าอย่าไปจับมัน” ถ้าไม่กำให้แน่นตายไหมตอนนั้นน่ะ ?...ตาย...ไม่เหลือหรอก...ประมาณลักษณะเดียวกัน เพราะฉะนั้นเราต้องยึดก่อน



    สนทนากับพระอาจารย์เล็ก สุธมฺมปญฺโญ
    ณ บ้านอนุสาวรีย์ฯ วันเสาร์ที่ ๓๐ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๕๔๓
     
  6. เกาทัณฑ์

    เกาทัณฑ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +4
    ตอบ

    @ คุณ เอกวัฒน์ ผมจะอยู่กับคนที่ผมใช้ปัญญาคิดพิจารณาเเล้วว่าถูกต้อง ซึ่งก็คือพระพุทธเจ้า ผมเองก็เอาข้อมูลมาจากพระไตรปิฏก ลองตอบผมมาซิครับ ว่าผมมั่วตรงไหน
    @ คุณ anima ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ เเล้วเราทำไมไม่ไหว้เเบบนึกถึงเลยละครับ จะมาสร้างรูปให้มันยึดติดเสียทำไม

    รักสิ่งใด...ตายแล้วก็จะไปอยู่กับสิ่งนั้น เล่ม 43 หน้า 17 บรรทัดที่ 7
    ...ลำดับนั้น พี่สาวของท่านจัดแจงวัตถุมียาคูและภัตเป็นต้น เพื่อประโยชน์แก่ภิกษุสามเณรผู้ทำจีวรของพระติสสะนั้น.ก็ในวันที่จีวรเสร็จ พี่สาวให้ทำสักการะมากมาย.ท่านแลดูจีวรแล้ว เกิดความเยื่อใยในจีวรนั้นคิดว่า "ในวันพรุ่งนี้ เราจักห่มจีวรนั้น"แล้วพับพาดไว้ที่สายระเดียง ในราตรีนั้น ไม่สามารถให้อาหารที่ฉันแล้วย่อยไปได้มรณภาพ (ตาย) แล้ว เกิดเป็นเล็นที่จีวรนั้นนั่นเอง……
    อาลัยสิ่งใด. ตายแล้วไปเกิดอยู่กับสิ่งนั้น เล่ม 51 หน้า 107 บรรทัดที่20
    …พระศาสดาตรัสว่า
    ภัททชิ รัตนปราสาทที่เธอเคยอยู่ในเวลาที่เธอเป็นพระราชามีนามว่า มหาปนาทะอยู่ตรงไหน ?
    พระภัททชิเถระกราบทูลว่า จมอยู่ในที่นี้พระเจ้าข้า.
    พระศาสดาตรัสว่า ภัททชิ ถ้าเช่นนั้น เธอจงตัดความสงสัยของเพื่อนสพรหมจารีทั้งหลาย.
    ในขณะนั้น พระเถระ ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว ไปด้วยกำลังฤทธิ์ ยกยอดปราสาทขึ้นด้วยหัวแม่เท้าแล้วชะลอปราสาท สูง ๒๕ โยชน์เหาะขึ้นบนอากาศ และเมื่อเหาะขึ้นได้ ๕๐ โยชน์ ก็ยกปราสาทขึ้นพ้นจากน้ำ
    ลำดับนั้นญาติทั้งหลายในภพก่อนของท่าน เกิดเป็นปลาเป็นเต่าและเป็นกบ ด้วยความโลภอันเนื่องอยู่ในปราสาท เมื่อปราสาทนั้น ถูกยกขึ้นก็หล่นตกลงไปในน้ำพระศาสดาเห็นสัตว์เหล่านั้นตกลงไป จึงตรัสว่า ภัททชิ ญาติทั้งหลายของเธอจะลำบาก.พระเถระจึงปล่อยปราสาท ตามคำของพระศาสดา……….

    แต่ว่า ควรกราบโดยระลึกถึงคุณพระพุทธ ธรรม สงฆ์ นั่นแหละได้บุญ และตรงตามจุดประสงค์ของการสร้างเจดีย์ แม้แต่ต้นโพธิ์ ก็ไม่ได้ให้กราบต้นโพธิ์ ให้กราบความเป็นพุทธ ของพระพุทธเจ้า
    แม้ร่างกายของพระพุทธเจ้าก็ยังถือว่าต่ำทราม พระพุทธะคืออาการรู้อย่างหาที่สุดไม่ได้ ความเมตตากรุณาอันไม่มีประมาณของพระองค์และความบริสุทธิ์อันสูงสุด หาใช่ร่างกายของพระองค์ หรือพระธาตุไม่


    @ คุณต้นละ
    ถ้ามีในพระไตรจริงๆ ก็ลองบอกมาซิครับว่าอยู่หน้าไหนเล่มที่เท่าไร มีเเต่ทำพระธาตุเจดี

    มุ่งไปในมิจฉาธรรม หมายถึง บอกว่าตัวเองเป็นชาวพุทธ แต่ทำลายคำสอนของพระพุทธเจ้าเช่นบอกว่าถวายเงินพระแล้วได้บุญ พระเครื่องต่างๆนี่ดี เจริญ เป็นพุทธคุณ ทำพระเครื่อง เครื่องรางของขลังขาย สร้างพระพุทธรูปเอามาเป็นตัวแทนหรือเป็นเจดีย์ ทั้งๆที่พระพุทธเจ้า สอนเจดีย์มีแค่ 3 อย่าง คือพระธาตุ ๑ สิ่งของที่พระองค์เคยบริโภคใช้สอย เช่น ต้นโพธิ์ สถานที่ประสูติ ตรัสรู้ ปรินิพพานเป็นต้น ๑ และ ธรรม คือ คำสอน ๑
    เจดีย์ คือ ของที่ทำให้น้อมระลึกไปถึงพระพุทธเจ้า ,ที่เคารพนับถือ ,บุคคล สถานที่

    @ คุณ yindee1917

    คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าท่านว่าห้ามพระภิกษุปลุกเสก และ ทำน้ำมนต์ รวมทั้งการปลุกเสกเครื่องรางของขลัง พระพุทธรูปด้วย ภิกษุปลุกเสกเลขยันต์....ผิดศีล เป็นผู้ทุศีล เล่ม 11 หน้า 315
    (ติรัจฉานวิชาคือ วิชาชั้นต่ำที่ขัดทางนิพพาน)
    1. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา (วิชาที่ขัดกับพระนิพพาน)เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะ ( อาหาร ) ที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ทายอวัยวะ ทายนิมิต( เครื่องหมาย ) ทายฟ้าผ่า เป็นต้น ทำนายฝัน ทำนายลักษณะ ทำนายหนูกัดผ้า ทำพิธีบูชาไฟ ทำพิธีเบิกแว่นเวียนเทียน ทำพิธีซัดแกลบบูชาไฟทำพิธีซัดรำบูชาไฟ ทำพิธีซัดข้าวสารบูชาไฟ ทำพิธีเติมเนยบูชาไฟ ทำพิธีเติมน้ำมันบูชาไฟ ทำพิธีเสก เป่าบูชาไฟ ทำพลีกรรมด้วยโลหิต เป็นหมอดูอวัยวะ ดูลักษณะที่บ้าน ดูลักษณะที่นา เป็นหมอปลุกเสก เป็นหมอผี เป็นหมอลงเลขยันต์คุ้มกันบ้านเรือน เป็นหมองู เป็นหมอยาพิษ เป็นหมอแมลงป่อง เป็นหมอรักษาแผลหนูกัด เป็นหมอทายเสียงนกเป็นหมอทายเสียงกา เป็นหมอทายอายุ เป็นหมอเสกกันลูกศร เป็นหมอทายเสียงสัตว์ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.......
    ....6. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้ คือ ให้ฤกษ์อาวาหมงคล ให้ฤกษ์วิวาหมงคล ดูฤกษ์เรียงหมอน ดูฤกษ์หย่าร้าง ดูฤกษ์เก็บทรัพย์ ดูฤกษ์จ่ายทรัพย์ ดูโชคดี ดูเคราะห์ ให้ยาผดุงครรภ์ ร่ายมนต์ให้ลิ้นกระด้าง ร่ายมนต์ให้คางแข็ง ร่ายมนต์ไห้มือสั่น ร่ายมนต์ให้หูไม่ได้ยินเสียง เป็นหมอทรงกระจก เป็นหมอทรงหญิงสาว เป็นหมอทรงเจ้า บวงสรวงพระอาทิตย์ บวงสรวงท้าวมหาพรหม ร่ายมนต์พ่นไฟ ทำพิธีเชิญขวัญ แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง.
    7. ภิกษุเว้นขาดจากการเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชา เช่นอย่างที่สมณพราหมณ์ผู้เจริญบางจำพวก ฉันโภชนะที่เขาให้ด้วยศรัทธาแล้ว ยังเลี้ยงชีพโดยทางผิดด้วยติรัจฉานวิชาเห็นปานนี้คือ ทำพิธีบนบาน ทำพิธีแก้บน ร่ายมนต์ขับผี สอนมนต์ป้องกันบ้านเรือน ทำกะเทยให้กลับเป็นชาย ทำชายให้กลายเป็นกะเทย
    ทำพิธีปลูกเรือน ทำพิธีบวงสรวงพื้นที่ พ่นน้ำมนต์ รดน้ำมนต์ ทำพิธีบูชาไฟ ปรุงยาสำรอก ปรุงยาถ่าย ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องบน ปรุงยาถ่ายโทษเบื้องล่าง ปรุงยาแก้ปวดศีรษะ หุงน้ำมันหยอดหู ปรุงยาตา ปรุงยานัตถุ์ ปรุงยาทากัด ปรุงยาทาสมาน ป้ายยาตา ทำการผ่าตัด รักษาเด็ก ชะแผล แม้ข้อนี้ก็เป็นศีลของเธอประการหนึ่ง
     
  7. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130



    เจ้าของกระทู้ตอบผมได้ไหมครับว่า

    พระเดชพระคุณหลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว พระสงฆ์สายพระป่าที่มรณภาพ ท่านกราบไหว้พระอิฐพระปูน ตอนนี้ท่านไปอยู่ไหนครับ พอจะบอกได้ไหมครับ?

    พระเดชพระคุณหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง , หลวงปู่ดู่ วัดสะแก ตอนนี้ท่านไปอยู่ไหนครับ ?


    พระอริยสงฆ์เหล่านั้นท่านกราบพระอิฐสร้างพระปูนเป็นร้อยเป็นพันองค์ ทำไมร่างกายท่านไม่เน่าเปื่อย กระดูกของท่านหลังจากประชุมเพลิงเปลี่ยนสภาพเป็นพระธาตุ ?
     
  8. Nattawut8899

    Nattawut8899 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +7,056
    teayang , tonnk ถ้าท่านไม่ยึดติดวัตถุเเล้ว
    ผมขอเงิน บ้าน รถยนต์ ที่ดินของท่านได้มั๊ยครับ
    ผมจะเอาไปขายนำเงินไปทำบุญ สร้างพระพุทธรูป

    ระงับ โทสะ โมหะ ดวยนะครับ
     
  9. เกาทัณฑ์

    เกาทัณฑ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +4
    ตอบ นะครับ
    คำสอนของพระสงฆ์ ยังเชื่อไม่ได้เลยเสียทีเดียว จะต้องเทียบเคียงกับคำสอนของพระพุทธเจ้าก่อนจึงจะเชื่อได้ อ้างจากพระไตรปิฎกชุด 91เล่มของมหามกุฏราชวิทยาลัย เพราะ
    ตัวแทนพระพุทธเจ้าคือคำสอนของพระองค์ เล่ม 13 หน้า 320
    ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ บางที่พวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดี อันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัย อันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา
    พระอรหันต์ที่ศึกษาน้อย...ทำให้ผู้เกี่ยวข้องบาปมาก หากพาทำผิดธรรมวินัย เล่ม 16 หน้า 302 , 308

    ...พระขีณาสพ (อรหันต์) ที่ฟังมาน้อย ย่อมไม่ต้องอาบัติ ( ละเมิด ) ที่เป็นโลกวัชชะ ( การละเมิดที่มีโทษทางโลก ) ก็จริงอยู่ แต่เพราะไม่ฉลาดในพุทธบัญญัติ ก็ย่อมจะต้องอาบัติในกายทวาร ( ทางกาย ) ประเภททำวิหาร ทำกุฏิ ( ให้คลาดเคลื่อนไปจากพุทธบัญญัติ ) อยู่ร่วมเรือน นอนร่วมกันกับอนุปสัมบัน ( ผู้ไม่ใช่ภิกษุ ) เป็นต้น ย่อมต้องอาบัติในวจีทวาร ( ทางคำพูด ) ในประเภทชักสื่อ หรือกล่าวธรรมโดยบท หรือพูดเกินกว่า 5 – 6 คำ หรือบอกอาบัติที่เป็นจริง เป็นต้น ย่อมต้องอาบัติเพราะรับเงินรับทอง ในทางมโนทวาร ( ความคิด ) ด้วยอำนาจยินดีเงินทองที่เขาเก็บไว้เพื่อตน. แม้พระขีณาสพ (พระอรหันต์) ขนาดพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรก็ยังเกิดมโนทุจริต (ความคิดชั่ว) ขึ้นได้ ด้วยอำนาจที่นึกตำหนิ ในมโนทวาร. เมื่อศากยะปาตุเมยยกะ ขอขมาพระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อประโยชน์แก่พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ ในคราวที่ทรงประณามพระเถระทั้งสองนั้น พร้อมกับภิกษุประมาณ 500 รูป ในเรื่องปาตุมะ พระเถระ อันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสถามว่า." เธอคิดอย่างไร สารีบุตร เมื่อภิกษุสงฆ์ถูกเราประณามแล้ว".ดังนี้ ก็ให้เกิดความคิดขึ้นว่า "เราถูกพระศาสดาประณาม เพราะไม่ฉลาดเรื่องบริษัท. ตั้งแต่บัดนี้ไป เราจะไม่สอนคนอื่นละ" จึงได้กราบทูลว่า"ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระพุทธเจ้ามีความคิดอย่างนี้ว่า " ภิกษุสงฆ์อันพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประณามแล้ว, บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า จักทรงขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่ แม้เราทั้งสองก็จักขวนขวายน้อย ประกอบทิฐธรรมสุขวิหารธรรมอยู่. ลำดับนั้น พระศาสดา เมื่อจะทรงยกข้อตำหนิ เพราะมโนทุจริตนั้น ของพระเถระ จึงตรัสว่า"เธอจงรอก่อนสารีบุตร. ความคิดอย่างนี้ไม่ควรที่เธอจะให้เกิดขึ้นอีกเลยสารีบุตร". แม้เพียงความคิดว่า "เราจะไม่ว่ากล่าวสั่งสอนคนอื่น อย่างนี้"ก็ชื่อว่าเป็นมโนทุจริต ของพระเถระ แต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่มีพระดำริเช่นนั้น และการที่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ทรงบรรลุพระสัพพัญญุตญาณแล้ว จะไม่พึงมีทุจริตนั้น ไม่ใช่ของน่าอัศจรรย์. แม้แต่ดำรงอยู่ในภูมิแห่งพระโพธิสัตว์ ทรงประกอบความเพียรอยู่ ๖ ปี พระองค์ก็มิได้มีทุจริต.
    ส่วนในคำว่า ทกฺขิเณยฺยคฺคิ ( ไฟอันเกิดจากผู้ควรรับของทำบุญ ) นี้ คำว่า ทกฺขิณา ( ของทำบุญ ) คือปัจจัย 4. ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า ทักขิไณยบุคคล ( ผู้สมควรรับของทำบุญ ). ภิกษุสงฆ์ ชื่อว่า มีอุปการะมากเเก่คฤหัสถ์ ( โยม ) ด้วยการชักนำ ให้ประพฤติในกัลยาณธรรม ( ธรรมอันดีงาม ) ทั้งหลายเป็นต้นว่า สรณะ 3 ศีล 5 ศีล 10 การเลี้ยงดูมารดาบิดา การบำรุงสมณพราหมณ์ผู้มีธรรม. คฤหัสถ์ (โยม) ที่ปฏิบัติผิดในภิกษุสงฆ์(เช่น ถวายเงิน ทอง ข้าวสาร และของที่ทำให้พระผิดศีล) บริภาษด่าทอภิกษุสงฆ์ ย่อมไปเกิดในอบายมีนรกเป็นต้น ดังนั้น แม้ภิกษุสงฆ์ท่านก็เรียกว่า ทักขิเณยยัคคิ ด้วยอรรถว่า ตามเผาไหม้โดยนัยก่อนเช่นกัน. และเพื่อจะให้ความข้อนี้กระจ่าง ควรจะแถลงเรื่องเวมานิกเปรต (เปรตที่ได้รับสุขและทุกข์สลับกันไป) โดยละเอียดด้วย
    เล่ม 36 หน้า 234 พระอรหันตสาวกก็อาจมีความประพฤติน่ารังเกียจได้
    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการเป็นไฉน ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ(พระชั่ว) แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรมอกุปปธรรม (เป็นพระอรหันต์) ธรรม 5 ประการเป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงแพศยา ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงหม้าย ย่อมเป็นผู้คบหาสาวเทื้อ ย่อมเป็นผู้คบหาบัณเฑาะก์ ย่อมเป็นผู้คบหาภิกษุณี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม 5 ประการนี้แล ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม.
    ขนาดพระอรหันตสาวกผู้เลิศทางด้านปัญญากว่าสาวกทั้งปวงอย่างพระสารีบุตร ก็ยังเคยสอนผิดพลาด เล่ม 58 หน้า 751 เป็นต้นไป
    ได้ยินว่า พระเถระให้ศีลแก่คนทุศีลทั้งหลาย มีพรานเนื้อและคนจับปลาเป็นต้น ที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งท่านได้พบได้เห็นเท่านั้นว่า ท่านทั้งหลายจงถือศีล ท่านทั้งหลายจงถือศีล. ชนเหล่านั้น มีความเคารพในพระเถระ ไม่อาจขัดขืนถ้อยคำของพระเถระนั้น จึงพากันรับศีลก็แหละครั้นรับแล้วก็ไม่รักษา คงกระทำการงานของตน ๆ อยู่อย่างเดิมพระเถระเรียกสัทธิวิหาริกทั้งหลายของตนมาแล้วกล่าวว่า อาวุโสทั้งหลายคนเหล่านี้รับศีลในสำนักของเรา ก็แหละครั้นรับแล้วก็ไม่รักษา.สัทธิวิหาริกทั้งหลายกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านให้ศีลโดยความไม่พอใจของชนเหล่านั้น พวกเขาไม่อาจขัดขืนถ้อยคำของท่านจึงรับเอา ตั้งแต่นี้ไป ขอท่านอย่าได้ให้ศีลแก่ชนทั้งหลายเห็นปานนี้. พระเถระไม่พอใจต่อถ้อยคำของสัทธิวิหาริก. ภิกษุทั้งหลายได้สดับเรื่องราวนั้นแล้วก็สนทนากันขึ้นในโรงธรรมสภาว่า อาวุโสทั้งหลาย ได้ยินว่า พระสารีบุตรให้ศีลแก่คนที่ท่านได้ประสบพบเห็นเท่านั้น. พระศาสดาเสด็จมาแล้วตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอนั่งสนทนากันเรื่องอะไรหนอ เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบว่า เรื่องชื่อนี้พระเจ้าข้า จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน พระสารีบุตรนี้ก็ให้ศีลแก่คนที่ตนได้ประสบพบเห็น ซึ่งไม่ขอศีลเลย แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้.
    อาจารย์ของพวกเราให้ศีลแก่คนที่ได้ประสบพบเห็น ซึ่งไม่ขอศีลเลย จำเดิมแต่บัดนี้ไป เราจะทำอาจารย์นั้นได้ให้ศีลเฉพาะแก่พวกคนที่ขอเท่านั้น เมื่อพวกมาณพนั้นกำลังนั่งสบายอยู่ เขาจึงลุกขึ้นไปยกศิลาก้อนใหญ่
    โยนลงไปในซอกเขา โยนซ้ำแล้วซ้ำเล่าอยู่นั่นแหละ.
    ลำดับนั้นมาณพเหล่านั้นจึงลุกขึ้นพูดกะการันทิยมาณพนั้นว่า อาจารย์ ท่านทำอะไร. การันทิยมาณพนั้นไม่กล่าวคำอะไร ๆ. มาณพเหล่านั้นจึงรีบไปบอกอาจารย์. อาจารย์มาแล้ว เมื่อจะเจรจากับการันทิยมาณพนั้นจึงกล่าวคาถาที่ ๑ ว่า :-
    ท่านผู้เดียวรีบร้อน ยกก้อนหินใหญ่กลิ้งลงไปในซอกเขาในป่า ดูก่อนการันทิยะ จะประโยชน์อะไรแก่ท่าน ด้วยการทิ้งก้อนหินลงในซอกเขาเล่านี้หนอ.
    การันทิยมาณพนั้นได้ฟังคำของอาจารย์นั้นแล้ว ประสงค์จะท้วงอาจารย์ จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :-
    ข้าพเจ้าเกลี่ยหินก้อนเล็กก้อนใหญ่ลง จักกระทำแผ่นดินใหญ่นี้ ซึ่งมีมหาสมุทรสี่ เป็นขอบเขต ให้ราบเรียบเพียงดังฝ่ามือ เพราะฉะนั้น ข้าพเจ้าจึงได้ทิ้งหินลงในซอกเขา.
    พราหมณ์ได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :-
    ดูก่อนการันทิยะ เราสำคัญว่า มนุษย์คนเดียวย่อมไม่สามารถจะทำแผ่นดินให้ราบเรียบดังฝ่ามือได้ ท่านพยายามจะทำซอกเขานี้ให้เต็มขึ้น ท่านก็จักละชีวโลกนี้ไปเสียเปล่าเป็นแน่.
    การันทิยมาณพได้ฟังดังนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :- ข้าแต่ท่านพราหมณ์ หากว่ามนุษย์คนเดียวไม่สามารถจะทำแผ่นดินใหญ่นี้ให้ราบเรียบได้ ฉันใด ท่านก็จักนำมนุษย์เหล่านี้ผู้มีทิฏฐิต่าง ๆ กันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน.คำที่เป็นคาถานั้นมีความว่า ถ้ามนุษย์คนเดียวนี้ ไม่อาจ คือ ไม่สามารถทำแผ่นดิน คือ ปฐพีใหญ่นี้ให้ราบเรียบ ฉันใด ท่านก็จักนำมนุษย์ทุศีลผู้มีทิฏฐิ(ความเห็น)ต่างกันมาไม่ได้ ฉันนั้นเหมือนกัน คือท่านกล่าวกะมนุษย์เหล่านั้นว่า พวกท่านจงรับศีล จักนำมาสู่อำนาจของตนไม่ได้ฉันนั้น
    ****เพราะเหตุที่พระอรหันตสาวกทั้งหลายมีความรู้น้อย มีความแจ่มแจ้งน้อยกว่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้ามากมาย จึงไม่สามารถจะมีญาณหยั่งไปรู้ได้ทั่วถึงในธรรมชาติทั้งหมดเหมือนกับพระผู้มีพระภาคเจ้า พระอรหันต์สาวกจึงไม่สามารถที่จะรู้แจ้งได้ทั้งหมดว่าสิ่งใดผิด สิ่งใดถูก สิ่งใดเป็นโทษ สิ่งใดไม่เป็นโทษ จึงทำให้พระอรหันต์ผู้หลุดพ้น ผู้หมดจดรอบแล้วนี่แหละ กระทำการบางอย่างที่เป็นสิ่งผิดต่อธรรมชาติที่ถูกต้อง ยิ่งถ้าเป็นพระอรหันต์ที่ศึกษาพระธรรมวินัยน้อยด้วยแล้ว โอกาสที่จะทำผิดก็มีมากและมีบ่อยๆด้วย ปุถุชนคนโง่ที่ศึกษาพระธรรมวินัยน้อยก็พลอยตามเอาตัวอย่างที่ผิดๆนั้น และการกระทำที่ผิดนี้ก็ย่อมมีโทษเกิดขึ้นเช่นนี้ บาปก็ย่อมเกิดทับถมจิตสันดานของปุถุชนมากขึ้นๆอยู่ตลอดเวลาที่กระทำผิด เพราะเหตุแห่งความที่เป็นผู้มีการศึกษาพระธรรมวินัยน้อยทั้งพระอรหันต์ผู้เป็นอาจารย์และปุถุชนคนโง่ผู้เป็นศิษย์ แม้พระอรหันต์สาวกในครั้งพุทธกาลผู้มีอภิญญาใหญ่ ก็มีการกระทำผิดด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์เหมือนกันและก็เป็นสาเหตุให้พระผู้มีพระภาคเจ้าตำหนิและห้ามไม่ให้บรรดาภิกษุทั้งหลายกระทำการเช่นนั้นอีกต่อไป

    @ Nattawut8899

    อันนี้ก็เเล้วเเต่ครับ ว่า สติปัญญาของเเต่ละบุลคลมันไม่เท่ากัน ถ้าจะกวนเชิญทางอื่นนะครับ ถ้าสร้างทาง ลงนรก ก็เชิญ เถอะครับ ผมไม่เอาด้วย คนหนึ่งละ
     
  10. Nattawut8899

    Nattawut8899 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    1,413
    ค่าพลัง:
    +7,056
    การตีความพระไตรปิฏกนั้นไม่ง่ายครับ พระที่ท่านปฏิบัติดี ยังต้องเรียน
    เราปถุชน มาอ่านเองตีความเอง อาจจะผิดครับ

    เเละขอเถอะครับ อย่าบอกว่า คนนั้น ทำอย่างนั้น อย่างนี้เเล้ว
    หรือถ้าไม่ได้คิดเหมือน ท่านเเล้ว จะตกนรก ระวังจะกลับไปหาท่านเอง
    เพราะหลายท่าน web นี้มีคุณธรรมสูงครับ
     
  11. เกาทัณฑ์

    เกาทัณฑ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +4
    มันจะมีประโยชน์อะไรครับ การตีความหมายนั้นผมไม่เข้าใจ เพราะ เห็นเเล้วพระไตรๆ ก็บอกไว้หมดเเล้ว เเล้วถามหน่อยว่า ถ้าคุณธรรมมันยังเป็นความเห็นที่ผิด เเล้วพาลากกันไปลงนรกยาวนี้ มันจะมีประโยชน์ อะไรครับ???

    เเล้ว ผม ก็ บอกไปตาม ความหวังดี ตาม จริง ของ ผม


    การอธิบายธรรมที่เป็นผลจากการตรัสรู้ ของพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เป็นอันตรายมาก เพราะโอกาสที่จะเข้าใจผิด พูดผิด ปฏิบัติผิดมีได้ง่าย พระไตรปิฎกเป็นเหมือนรัฐธรรมนูญ กฎหมายทั่วไปจะขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญไม่ได้ฉันใด การอธิบายธรรมขัดแย้งกับพระไตรปิฎกพุทธศาสนิกชนที่ดีย่อมถือว่าทำไม่ได้เช่นเดียวกันฉันนั้น

    อันนี้ก็เเล้วเเต่บุลคลนะครับ ว่าจะคิดได้หรือไม่ได้ นะครับ
     
  12. อย่าลืมฉัน

    อย่าลืมฉัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +2,807
    ที่อาเฮียถามคุณยังตอบไม่ตรงคำถามเลย ว่าท่านอยู่ไหน
    แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่า ถ้ากราบไหว้พระพุทธรูปแล้วจิตใจระลึกถึงพระพุทธเจ้ามันจะลงนรก
    ไม่เคยได้ยินคำว่ายึดสมมุติเพื่อละสมมุติเหรอ ไอ้น้อง...
     
  13. เกาทัณฑ์

    เกาทัณฑ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +4
    ท่าน จะอยู่ไหน นั่นไม่สำคัญ หรอกครับ ถ้า ท่านเป็นพระอรหัต จริง ท่านก็ไปนิพพานซิครับ ท่านไม่ต้อง ไปเกิดที่ไหนเเล้วขนาดพระสารีบุตรยอดสาวกผู้เลิศด้านปัญญายังสอนผิดได้ เเล้วจะอะไรกับพระอรหัตสมัยนี้ละครับ เเต่ถ้าเราเชื่อเเบบผิดๆ ใครละครับที่จะได้ผลนั้น เเล้ว คำว่ายึดสมมุติเพื่อละสมมุติ มันอยู่ส่วนไหนของพระไตรปิฏกครับ ช่วยบอกผมหน่อย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 4 กุมภาพันธ์ 2012
  14. อย่าลืมฉัน

    อย่าลืมฉัน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +2,807

    ครับ ผมยอมแพ้พี่แล้วครับ ไปแล้วจ้า ไม่เอาแล้วจ้า ;k01
     
  15. เกาทัณฑ์

    เกาทัณฑ์ สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กุมภาพันธ์ 2011
    โพสต์:
    24
    ค่าพลัง:
    +4
    อันนี้ก็เเล้วเเต่นะครับ ผมไม่ได้อยากจะลองภูมิหรือ อวดดี กับ ใครๆ ผมเเค่หวังดี เเต่ใครจะมองว่าผม ซ่า อันนี้ก็เเล้วเเต่ครับ ไปห้ามไม่ได้
     
  16. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>***แต่ถ้ายังอยากกราบพระพุทธรูป หรือยินดีในรูปต่อไปก็ได้ ก็แค่เตือนว่าอาจจะมีเปรตภูมิ เดรัจฉานภูมิ หรือนรก รอสำหรับคนที่กราบ จะเชื่อหรือไม่ ข้าพเจ้าก็ไม่อาจจะบังคับใครได้.*** </TD></TR></TBODY></TABLE>



    +++++++++++++++++++++++++++++++

    <TABLE style="BORDER-TOP-WIDTH: 0px" class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" align=center><TBODY><TR><TD class=thead colSpan=2>วันนี้ 02:35 PM</TD></TR><TR title="Post 5663657" vAlign=top><TD class=alt2 width=125 align=middle>taeyang</TD><TD class=alt1>อ้างอิง:
    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: 1px inset; BORDER-LEFT: 1px inset; BORDER-TOP: 1px inset; BORDER-RIGHT: 1px inset" class=alt2>ข้อความดั้งเดิมโดยคุณ paeyim [​IMG]
    ที่อาเฮียถามคุณยังตอบไม่ตรงคำถามเลย ว่าท่านอยู่ไหน
    แล้วคุณรู้ได้อย่างไรว่า ถ้ากราบไหว้พระพุทธรูปแล้วจิตใจระลึกถึงพระพุทธเจ้ามันจะลงนรก
    ไม่เคยได้ยินคำว่ายึดสมมุติเพื่อละสมมุติเหรอ ไอ้น้อง...


    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    ท่าน จะอยู่ไหน นั่นไม่สำคัญ หรอกครับ ถ้า ท่านเป็นพระอรหัต จริง ท่านก็ไปนิพพานซิครับ ท่านไม่ต้อง ไปเกิดที่ไหนเเล้วขนาดพระสารีบุตรยอดสาวกผู้เลิศด้านปัญญายังสอนผิดได้ เเล้วจะอะไรกับพระอรหัตสมัยนี้ละครับ เเต่ถ้าเราเชื่อเเบบผิดๆ ใครละครับที่จะได้ผลนั้น เเล้ว คำว่ายึดสมมุติเพื่อละสมมุติ มันอยู่ส่วนไหนของพระไตรปิฏกครับ ช่วยบอกผมหน่อย

    </TD></TR></TBODY></TABLE>






    สรุปว่าการกราบพระอิฐพระปูนของคุณ ลงนรกหรือเปล่า


    คำตอบของเจ้าของกระทู้ จะบอกว่ายกเว้นพระอริยสงฆ์ที่กราบพระอิฐพระปูนที่ไม่ต้องลงนรกหรือครับ ?


    พระอริยสงฆ์ เช่น พระเดชพระคุณหลวงตามหาบัว จะไม่บอกลูกศิษย์เลยหรือครับ ว่าอย่าไปกราบพระอิฐพระปูน นะเดี๋ยวลงนรก


    .
     
  17. nouk

    nouk เพราะยึดจึงทุกข์

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    11,401
    ค่าพลัง:
    +23,708
    ผิด...ถูก ดูที่เจตนา ผู้กระทำย่อมรู้เอง
     
  18. auychaiqc

    auychaiqc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +135
    เต็มตื้นล้นใจเลยครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  19. Phanudet

    Phanudet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    8,434
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +15,647
    อุทเทสิกเจดีย์ ตามความหมายของ อรรถกถา.

    ผมไม่รู้นะ แต่อย่างไรผมก็จะกราบพระพุทธรูป เพราะเมื่อผมได้กราบแล้ว ผมสบายใจ..

    ผมไม่สนว่าใครเขาจะว่าอย่างไรว่ายึดติดถือมั่น ถ้าจะยึดติดก็พร้อมที่จะยึดติด เพราะคิดว่าอย่างไรก็ได้ยึดติดในความดี มันก็ดีกว่าผมจะไปยึดติดใน สุรา การพนัน ตลอดจนทั้งอารมณ์ขุ่นมัวที่มัวติดอยู่ในใจในเรื่องที่ห้ามกราบพระพุทธรูป..

    อย่าว่าแต่พระพุทธรูปเลย รูปปู่ย่าตายายที่ท่านตายไปแล้ว ท่านมีพระคุณต่อผม ผมก็ไหว้ จะให้ผมไม่ไหว้เพราะคิดว่าท่านไม่ใช่ปู่ย่าตายาย เพราะปู่ย่าตายายตายไปแล้ว เอาโยนทิ้งไป ทำลายไป ผมคิดว่า ใจผมคงไม่หยาบกระด้างขนาดนั้นนะ....

    ผมทำแล้วผมมีความสุข ผมได้เห็นและนึกถึงพระพุทธเจ้าได้แม้ท่านจะปรินิพพานไปนานแล้ว ผมได้ทำความดีตามคำสอนของท่านได้ แค่นี้ผมก็พอใจแล้ว...

    ............................................................

    [​IMG]
    พระพุทธรูปที่หลวงปู่มั่นเคยบูชาเป็นประจำ
    ที่วัดป่าบ้านหนองผือท่านประดิษฐ์ฐานรองด้วยองค์ท่านเอง



    ...เจดีย์นั้นมี ๓ อย่าง คือ บริโภคเจดีย์ อุทิสสกเจดีย์ ธาตุกเจดีย์.
    บรรดาเจดีย์ทั้ง ๓ นั้น โพธิพฤกษ์ ชื่อว่าบริโภคเจดีย์ พระพุทธปฏิมา ชื่อว่าอุทิสสกเจดีย์ พระสถูปที่มีห้องบรรจุพระธาตุ ชื่อว่าธาตุกเจดีย์...


    อรรถกถา ขุททกนิกาย ขุททกปาฐะ นิธิกัณฑ์ในขุททกปาฐะ พรรณนาคาถาที่ ๗ .

    http://www.84000.org/tipitaka/attha/...p?b=25&i=9&p=1<!-- google_ad_section_end --> ​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กุมภาพันธ์ 2012
  20. auychaiqc

    auychaiqc เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2011
    โพสต์:
    176
    ค่าพลัง:
    +135
    เรียนคุณ paeyim ตอนแรกที่อ่านตามลงมาก็รู้สึกตึงๆ ในความรู้สึกเหมือนกันครับ..แต่พอเห็นประโยคคำพูดและ "หมูวงแตก" ของคุณแล้วผมฮาจนน้ำตาใหลเลยครับ..เป็นอันว่าไม่เครียดแล้วและขอให้ตัวใครตัวมันนะครับ ^_^
     

แชร์หน้านี้

Loading...