สงสัยว่าพระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้วทําไมต้องละลึกคุณของต้นโพธิ์ด้วย

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ballbeamboy2, 30 ธันวาคม 2011.

  1. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ตัวผมลองมาคิดดู พอพระพุทธเจ้าตรัสรู้เสร็จ พระพุทธเจ้าใช้เวลา 4 อาทิตย์ได้ (ผมไม่แน่ใจประมาณนะครั้บ)

    เดินจงกลม รอบต้นไม้ นั่งสมาธิ ดูต้นโพธิ์ละลึกพระคุณ โดยไม่กระพริบตา(ยากน่าดูเลย) แล้วเทวดา เนรมิต ที่นั่งแก้ว ให้

    ผมเลยสงสัย ต้นโพธิ์ นั้นมีจิตรหรอครับ วิทย์ศาตร์ บอกว่า เป็นสิ่งมีชีวิตแต่ไม่ได้บอกว่ามีจิต ผมเรียนมาแค่นี้ แต่ผมไม่รู้ว่าพุทธ จะบอกว่ายังไง หรือว่า มีเทวดาคอยคุ้มครองดูแลรักษาอยู่

    แต่คงเป็นไปไม่ได้ เพราะต้นโพธิ์มาจากบังลังค์ของพระพุทธเจ้า หรือว่า ต้นโพธิ์ นั้นช่วยให้ความสงบร่มเย็น ไม่ต้องไปนั่งกลางแดด ร้อนๆ หรือเป็นไปได้ก็ไม่รู้

    แล้วผมคิดว่า ถ้าเอาเวลานั้น มาโปรดสัตว์เวไนย จะดีกว่า แต่ผมลองคิดไปคิดมา มันคงไม่ถึงเวลาอะมั้ง เพราะพระพุทธเจ้าฉลาดหลักแหลมมีปัญญา มากกว่าผมอีกมาก ผมไม่ควรจะไปคิดแบบพระพุทธเจ้า คิดไปก็อจินไตย คิดไปก็บ้าตาย
    เลิกคิดดีกว่า
    ส่วนคนที่จะตอบก็ไม่ต้องไปคิดแบบพระพุทธเจ้าทําไม่ได้หรอก เป็นไปได้ยาก

    ในความคิดผม ต้นไม้ ก็ต้นไม้นั้น แหละ จะถามไรก็ไม่ตอบ จะด่าจะชมยังไงก็เฉยๆ ผมจะถีบ หรือต่อย หรือมีคนไปตัด ผมไม่เคยเห็นต้นไม้ ชกหน้ากลับไป ต้นไม้นี่ ทรงพรหมวิหาร4 ได้สุดยอด อุเบกขานี่สุดยอด เมตตาสุดยอดจริงๆ ถ้าต้นไม้พูดได้สอนธรรมได้ คงจะ ยิ่งกว่าสุดยอด
     
  2. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    ตาบอดคลำช้าง
    .......................
     
  3. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    อย่าว่าแต่ ต้นโพธิเลย ที่พระพุทธองค์ทรงระลึกถึงในคุณ

    ลำพังแค่ ลมหายใจเข้าออก ซึ่งเป็นสภาพธรรมชาติอย่างหนึ่ง ไม่ต่างกับต้นไม้

    สภาพลมเข้าลมออก มันก็ไม่ใช่สิ่งมีชีวิต แต่ พระพุทธองค์ก็ทรง ระลึกถึงคุณ
    ของลมหายใจเข้าออกเสมอ ไม่เคยขาด ไม่เคยเว้น ไม่มีการหลงลืมลมหายใจ
    เข้าออกแม้แต่ลมหายใจเดียว

    เนี่ยะ แค่ลมหายใจนะ พระพุทธองค์ยังทรงระลึกถึงคุณตลอดเวลา เรื่องคุณของ
    ต้นโพธินั้นก็อาจจะน้อยกว่าระลึกถึงคุณของลมหายใจด้วยซ้ำ

    ดังนั้น หากจะสงสัย อย่าไปสงสัยต้นโพธิเลย มาสงสัยใน ลมหายใจเข้าออกดีกว่า

    ว่า พระพุทธองค์พบอะไรในลมหายใจเข้าออก ถึงได้ ระลึกถึงเสมอ ไม่ขาด ไม่เว้น
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2011
  4. jate2029

    jate2029 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มกราคม 2008
    โพสต์:
    391
    ค่าพลัง:
    +729
    เจ้าหนู จำไม อ่ะป่าวเนี่ย อิอิ ล้อเล่นนะครับ
    มะก่อนผมก็เคยสงสัยประมาณนี้แหละ
    โดนอาจารย์ ท่านเอ็ดเอาว่า ไม่ต้องไปสงสัยอะไรมากมายหรอก
    จะต้องไปถามหารากเหง้าอะไรนักหนา
    ธรรมใดพระพุทธเจ้าท่านแสดงไว้ดีแล้วก็ปฎิบัติตามไป มัวสงสัย ลังเล เมื่อไหร่จะก้าวหน้า
    ประมาณนี้นะครับ
     
  5. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    ผมก็ถามตัวเอง จะมาสงสัยไรนักหนา มาปฎิบัติดีกว่า
     
  6. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    เห็น ballbeamboy2 บอกว่าอยากเป็นพระโพธิสัตว์

    อัธยาศัยพระโพธิสัตว์ มีดังนี้

    ๑.เนกขัมมัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจที่จะออกบวชตลอดทุกชาติ รักในเพศบรรพชิตเป็นอย่างยิ่ง

    ๒.วิเวกัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจอยู่ในที่เงียบสงัด วิเวกผู้เดียว ที่ใดสงบสงัดปราศจากความอึกทึกครึกโครม ย่อมพอใจในสถานที่นั้นยิ่งนัก

    ๓.อโลภัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในการบริจาคทาน หากมีช่องทางใดที่จะบริจาคทานได้แล้ว จะไม่ละเว้นเลย จะทำอย่างเต็มที่เต็มกำลัง และยินดีพอใจที่จะคบหากับบุคคล ผู้ปราศจากความโลภ ไม่มีตระหนี่เป็นยิ่งนัก

    ๔.อโทสัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในความไม่โกรธ พยายามหักห้ามความโกรธอยู่ตลอดมา เจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งปวงด้วยความปรารถนาให้เขาพ้นจากทุกข์ภัยในวัฏสงสารเป็นยิ่งนัก

    ๔.อโทสัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในความไม่โกรธ พยายามหักห้ามความโกรธอยู่ตลอดมา เจริญเมตตาแก่สัตว์ทั้งปวงด้วยความปรารถนาให้เขาพ้นจากทุกข์ภัยในวัฏสงสารเป็นยิ่งนัก

    ๕.อโมหัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจในการทำลายโมหะ พยายามบำเพ็ญภาวนา เพื่อให้เกิดดวงปัญญา พิจารณาเห็นบาปบุญคุณและโทษตามความเป็นจริง และพอใจในการคบหาคนดี มีสติปัญญายิ่งนัก

    ๖.นิสสรณัชฌาสัย หมายถึง มีความพอใจที่จะยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการท่องเที่ยวเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในวัฏสงสาร โดยมีจิตที่ มุ่งตรงต่อพระนิพพานเพียงอย่างเดียว

    อัธยาศัย ๖ ประการนี้ มีอยู่ในบุคคลใด บุคคลคนนั้นได้ชื่อว่าเป็น "พระโพธิสัตว์"

    นอกจากนี้ยังมีฉันทะความพอใจในพระโพธิญาณมากน้อยเพียง
    ในหมวดธรรมที่ว่า ธรรมสโมทาน ข้อ "ฉันทตา" ใน มุนีนารถทีปนี ได้เปรียบเปรยกล่าวไว้ว่า


    น้ำใจพระโพธิสัตว์ (ฉันทตา)


    "กาลเมื่อโลกจักรวาล อันมีเนื้อที่กว้างใหญ่สุดประมาณนี้มีถ่านเพลิงซึ่งร้อนรุ่มสุมคุ ระอุ
    จนเต็มไปหมด ผู้ใดมีน้ำใจองอาจเพื่อจะเดินฝ่าบุกไปโดยเท้าเปล่าๆ ไปจนสุดหมื่นโลกจักวาลก็ดี"

    "ในเมื่อโลกจักรวาล อันมีเนื้อที่กว้างใหญ่สุดประมาณนี้มีเปลวไฟลุกแดงเป็นพืดยาวเต็มไปหมด
    ผู้ใดมีน้ำใจองอาจเพื่อจะเดินฝ่าบุกไปโดยเท้าเปล่าๆ ไปจนสุดหมื่นโลกจักรวาลก็ดี"

    ท่านผู้มีน้ำใจองอาจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญเห็นปานฉะนั้น จึงควรที่จะปรารถนาเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างพระบารมีเพื่อจะได้ตรัสรู้พระปรมาภิเษกสมโพธิญาณได้ เห็นไหมเล่า ว่าท่านผู้มีปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมินั้น จะต้องเป็นผู้มีน้ำใจกล้าหาญเด็ดเดี่ยวเพียงใด ถ้ามีน้ำใจอ่อนแอ
    มีความกลัวตายมากกว่าพระโพธิญาณแล้ว ก็ไม่มีทางที่จะได้ตรัสรู้เป็นสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เลย
    ก็ผู้ที่มีน้ำใจเด็ดเดี่ยวกล้าหาญเช่นว่ามานั้น หากันได้ง่ายๆ ในโลกที่ไหนเล่า

    อนึ่ง ผู้ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมินั้น ย่อมบำเพ็ญธรรมหนักแน่นด้วยน้ำใจเด็ดเดี่ยวมั่นคง ไม่ว่าจักเสวยพระชาติคือถือกำเนิดเป็นอะไรก็ตาม ย่อมจะมีน้ำใจสมาทานมั่นคง
    จะได้ย่อหย่อนเบื่อหน่ายส่ายพักตร์เป็นไม่มีเลย สมณพราหมณ์ อินทร์ พรหม ยม ยักษ์ ผู้ใดผู้หนึ่ง
    ซึ่งมีจิตคิดจะทดลองด้วยอุบาย มุ่งหมายจะให้พระโพธิสัตว์ละเสียซึ่งกุศลสมาทาน ก็มิอาจจะทำ
    ได้สำเร็จเลย กิริยาที่พระโพธิสัตว์ประกอบด้วยกุศาลสมาทานมั่นคงนี้ ในชาติที่พระองค์ถือกำเนิดเกิด
    เป็นมนุษย์จะขอยกไว้ ในที่นี้ ใคร่จะขอเล่าแต่เพียงชาติที่พระองค์ทรงเกิดเป็นสัตว์เดียรัจฉาน ก็
    ยังมีพระบวรสันอานประกอบไปด้วยกุศลสมาทานมั่นคง มีน้ำใจตรงแน่วไม่หวั่นไหว

    -------

    ท่านที่ปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิและจักได้มีโอกาสได้รับลัทธยาเทศนั้น
    ต้องเป็นผู้มีน้ำใจประกอบด้วย ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพระพุทธภูมิเป็นกำลัง
    มิได้ย่อท้อถอยในอุปสรรค ไม่ว่าจะใหญ่เล็กชนิดใดทั้งสิ้น
    ซึ่งในกรณีนี้ หากจะมีผู้ถามพระโพธิสัตว์ผู้ปรารถนาพระพุทธภูมินั้นว่า

    "ดูกรท่าน! การที่ท่านปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุดนี้
    ท่านยังจะมีน้ำใจกล้าแข็งสามารถทนทุกข์ในนรกได้ตลอด ๔ อสงไขย ๑ แสนมหากัปได้ หรือว่าหามิได้"

    เมื่อมีผู้มาสำทับถามเอาด้วยภัยในนรกเห็นปานฉะนี้ ท่านที่เป็นพระโพธิสัตว์ปรารถนาพระพุทธภูมินั้น
    ย่อมจะไม่มีความย่อท้อ อาจรับปากเอาด้วยความเต็มใจเป็นอย่างยิ่งว่า

    "อาตมานี่แหละ จะสู้อุตส่าห์ทนทุกข์ในนรกอันน่ากลัวนักหนา ไปให้ได้ตลอดเวลาอันยาวนานตามที่ว่ามานั่นเพื่อแลกเอากับพระปรมาภิเษก สัมโพธิญาณด้วยใจสมัครให้จงได้"

    ในกรณีนี้ หากจะมีผู้ใดใครผู้หนึ่ง ซึ่งใคร่จะสอบถามถึงน้ำใจที่รักปรารถนาอย่างแรงกล้าในพระโพธิญาณ กับพระโพธิสัตว์เจ้าอีกต่อไปด้วยอุปมาปัญหาว่า

    "อันตัวท่าน ซึ่งปรารถนาพระพุทธภูมินั้น ท่านยังจะสามารถเดินบุกเข้าไปในป่าไม้ไผ่อันแน่นหนาไปด้วยเรียวหนามที่คม กล้า เป็นป่าไผ่ใหญ่เต็มไปหมดตลอดทั้งจักรวาลโลกธาตุนี้ ซึ่งมีความกว้างใหญ่ วัดได้ไกลถึงสิบสองแสนสามพันสี่ร้อยห้าสิบโยชน์ ตัวท่านจะสามารถเหยียบย่ำบุกฝ่าขวากหนามไปไกลให้ถึงที่สุดตามกำหนดนี้ เพื่อจะความเอาพระโพธิญาณมาไว้ในเงื้อมมือแห่งตนได้ฤา?"

    และว่า

    "อันตัวท่าน ซึ่งปรารถนาพระพุทธภูมินั้น ท่านยังจะสามารถเดินตลุยด้วยเท้าเปล่า ไปในกองถ่านเพลิงอันมีเปลวไฟรุ่งโรจน์โชตนาการ ซึ่งเต็มไปในห้วงจักรวาลโลกธาตุนี้ได้ฤา?"

    พระโพธิสัตว์เจ้า ผุ้มีน้ำใจประกอบไปด้วยฉันทะ ความใคร่พอใจทั้งมีความปรารถนาอย่างแรงกล้า ในพระปรมาภิเษก สัมโพธิญาณ ย่อมจะมีใจองอาจกล้าหาญ ยอมรับเอาด้วยความยินดี เต็มใจเป็นนักหนาว่า

    "อาตมาคือว่าตัวเรานี่แหละ จะสู้ก้มหน้าฟันฝ่าอุปสรรคอันตรายทั้งหลาย มิได้อาลัยแก่เลือดเนื้อร่างกายและชีวิตของตน จะสู้อดทนเดินบุกเหยียบย่ำไปให้ถึงที่สุด จะรุดหน้าก้าวไปคว้าเอาพระปรมาภิเษก สัมโพธิญาณด้วยใจรักให้จงได้"

    ท่านผู้มีน้ำใจกอรปด้วยฉันทะอย่างแรงกล้า มีความรักความปรารถนาในพระโพธิญาณเป็นเบื้องหน้ามิได้หวาดผวากลัยภัยในนรก เป็นอาทิ เห็นปานฉะนี้แล้ว จึงจะปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมิได้สำเร็จสมความปรารถนา หากว่าเป็นผู้มีปกติขลาดหวาดหวั่นไหว มีน้ำใจมิได้กล้าหาญ กลัวทุกข์ กลัวภัยและรักรูป รักกาย รักชีวิต มีจิตสันดานย่อท้ออยู่ การที่จะปรารถนาซึ่งพระพุทธภูมินั้น ย่อมจะสำเร็จลงมิได้อย่างแน่นอน และสมเด็จพระชินวรสัมมาสัมพุทธเจ้าก็ทรงหาพยากรณ์ไม่ นี่เป็นธรรมสโมธานประการที่แปด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 ธันวาคม 2011
  7. หม้อหุงข้าว..!

    หม้อหุงข้าว..! เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,103
    ค่าพลัง:
    +1,072
    และลองนับจำนวนพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้ อย่างพระผู้มีพระภาคเจ้าพระสมณโคดม
    เมื่อครั้งยังเป็นพระโพธิสัตว์ จะต้องตั้งมโนปณิธานปรารถนาในใจ
    ว่าต้องเจอพระพุทธเจ้ามาแล้วกี่พระองค์ และกล่าววาจาตั้งความปรารถนาต่อหน้าพระพักตร์ กับพระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วอีกกี่พระองค์

    นี่เพียงแค่พระพุทธเจ้า ประเภทปัญญาธิกะ เมื่อเทียบกับ ศรัทธาธิกะ และวิริยาธิกะ แล้ว
    ถือว่า ระยะเวลาการบำเพ็ญน้อยกว่าทั้งสองอย่าง
    ลองพิจารณาดูยาวนานเพียงใด กว่าจะได้รับพุทธพยากรณ์ ว่าจะได้ตรัสรู้ในภายภาคหน้า

    ข้อมูลนี้เป็นประการใด ก็ลองพิจารณาเอาตนเป็นที่ตั้ง
    ว่าอยู่ในขั้นใดประเภทใด "ปรารถนาในใจ กล่าววาจา หรือว่าได้รับการพยากรณ์แล้ว"

    "กิจฺโฉ พุทฺธานมุปฺปาโท"
    ความเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นเรื่องยาก

    http://palungjit.org/threads/พระพุทธเจ้ามีกี่พระองค์.42758/page-3#post4541262
     
  8. naroksong

    naroksong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    412
    ค่าพลัง:
    +1,135
    พระพุทธเจ้าไม่ได้ระลึกถึงคุณของต้นโพธิครับ แต่ทรงระลึกถึงเหตุแห่งการได้มาของโพธิบัลลังก์อันประเสริฐ

    ...ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนบัลลังก์ชัย เปล่งอุทานนี้*แล้ว ได้มีพระดำริดังนี้ว่า เราแล่นไปถึงสี่อสังไขยกับแสนกัป ก็เพราะเหตุบัลลังก์นี้ เราตัดศีรษะอันประดับแล้วที่ลำคอ แล้วให้ทานไปตลอดกาลมีประมาณเท่านี้ ก็เพราะเหตุบัลลังก์นี้ เราควักนัยน์ตาที่หยอดดีแล้ว (และ) ควักเนื้อหัวใจให้ไปให้บุตร เช่นชาลีกุมาร ให้ธิดาเช่นกับกัณหาชินากุมารี และให้ภรรยาเช่นพระมัทรีเทวี เพื่อเป็นทาสของคนอื่นๆ เพราะเหตุบัลลังก์นี้. บัลลังก์นี้เป็นบัลลังก์ชัย เป็นบัลลังก์ประเสริฐของเรา ความดำริของเราผู้นั่งบนบัลลังก์นี้ ยังไม่บริบูรณ์เพียงใด เราจักไม่ลุกขึ้นจากบัลลังก์นี้เพียงนั้น ดังนี้ จึงทรงนั่งเข้าสมาบัติหลายแสนโกฏิอยู่ ณ บัลลังก์นั้น นั่นแหละตลอดสัปดาห์... (อรรถกถา)


    * เราเมื่อแสวงหานายช่าง (คือตัณหา) ผู้กระทำเรือน เมื่อไม่ประสบ ได้ท่องเที่ยวไปยังสงสารมิใช่น้อย ความเกิดบ่อยๆ เป็นทุกข์. ดูก่อนนายช่างผู้กระทำเรือน เราเห็นท่านแล้ว ท่านจักทำเรือนไม่ได้อีกต่อไป ซี่โครงทั้งปวงของท่าน เราหักแล้ว ยอดเรือนเรากำจัดแล้ว จิต (ของเรา) ถึงวิสังขาร (นิพพาน) แล้ว เราได้ถึงความสิ้นตัณหาแล้ว.

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 30 ธันวาคม 2011
  9. เตหิณรัตน์

    เตหิณรัตน์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +476
    ต้นโพธิ์ตรงสถานที่นั้น คือ จุดหรือสถานที่ๆพระโพธิสัตว์ได้บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณครับ ตรงจุดนี้ เรียกว่าตาของโลก เป็นจุดที่พระโพธิสัตว์สำเร็จเป็นพระพุทธเจ้าครับจุดนี้เป็นเพียงจุดเดียว หรือสถานที่เดียวครับที่พระโพธิสัตว์ทั้งหลายจะต้องมานั่งตรัสรู้อริยสัจ4ที่นี่ครับเหมือนกันหมดทุกพระองค์ครับ และตรงตาของโลกนี้สูงไปตลอดบนชั้นฟ้าถ้ามีสัตว์อะไรขืนจะบินผ่านก็จะต้องตายครับ เรื่องก็มีอยู่ในพระไตรปิฏกครับ สมัยหนึ่งที่พระอานนท์เสวยพระชาติเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ และพระพุทธเจ้าของเรายังทรงเป็นพระโพธิสัตว์ทรงเสวยพระชาติเป็นที่ปรึกษาของของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นผู้ที่มีปัญญามาก(ตำแหน่งนี้เรียกว่าอะไรผมจำไม่ได้ต้องขออภัยครับ)วันหนึ่งพระเจ้าจักรพรรดิได้ขี่ช้างแก้วจะผ่านจุดตาของโลกนี้ แต่ที่สุดก็ผ่านไปไม่ได้เหมือนมีกำแพงแก้วมากั้นไว้ จึงเรียกพระโพธิสัตว์มาถามว่าช้างแก้วเหาะมาถึงจุดนี้แล้วทำไมถึงหยุดไม่ยอมไปต่อพระโพธิสัตว์ทรงทราบด้วยปัญญาบารมี จึงบอกว่า จุดนี้เป็นตาของโลกเป็นจุดที่พระโพธิสัตว์ทุกพระองค์ต้องมาตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ที่จุดนี้จึงไม่สามารถมีสัตว์หรืออะไรที่จะบินผ่านหรือแม้แต่เทวดาและพรหมก็ไม่สามารถที่จะเหาะผ่านที่จุดนี้ไปได้ พระเจ้าจักรพรรดิจึงอยากพิสูจน์จึงลองพยายามไสช้างให้ผ่านไปให้ได้ ผมไม่แน่ใจนะครับน่าจะลองถึง3ครั้งจนช้างต้องตายลงไป(และก็ไม่แน่ใจนะครับว่าช้างกลั้นใจตายหรือเปล่าเพราะความเคารพในพระพุทธเจ้าจึงไม่อาจที่จะยอมผ่านไปได้)และเป็นธรรมดาของพระเจ้าจักพรรดิเมื่อช้างแก้วตายลงไป ช้างแก้วเชือกใหม่จะเหาะมาจากป่าหินพานทันที แล้วในสมัยที่พระพุทธเจ้ายังทรงพระชนมายุอยู่ถ้าพระพุทธองค์เสด็จไปที่แห่งใดๆ จุดที่เหนือพระเศรียรขึ้นไปจากเบื้องล่างตลอดชั้นฟ้าจะเป็นกำแพงแก้วรอบๆพระพุทธองค์แม้สัตว์เทวดาหรือพรหมก็ไม่อาจบิน หรือเหาะผ่านไปได้ต้องชนกำแพงแก้วใสที่กั้นโดยรอบไว้ แล้วเรื่องที่พระพุทธเจ้าทรงยืนมองโพธิบัลลังค์ ถึง7วันก็เพราะท่านยืนมองความสำเร็จครับเพราะเป็นความสำเร็จที่ไม่ธรรมดาครับเป็นเรื่องที่ยากยิ่งที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งพึงจะสำเร็จได้จึงไม่แปลกที่พระพุทธองค์ทรงยืนมองไม่กระพริบตาเลยที่จุดนั้นถึง7วัน ก็สมควรกับเหตุและผลแล้วครับ อย่างถ้าตอนนี้มีใครซักคนฉลาดมากสร้างจานบินที่ลํ้ายุคได้จนถึงกับปฏิวัติยุคจรวดเดี่ยวนี้เสียใหม่ เขาคนนั้นก็คงจะชื่นชมลูบคลำ กับผลงานของตัวเองตลอดชีวิตมั่งครับ แต่นี้คือลีลาของพระพุทธเจ้าครับ เป็นลีลาของผู้ที่สงบจากกิเลสทั้งปวงแล้ว เป็นลีลาที่สวยงามน่าเลื่อมใจที่ชื่นชมกับผลงานในสถานที่ตรัสรู้ของตัวเอง เพราะท่านสร้างบารมีมายาวนานถึง20อสงไขยกับเศษอีกแสนมหากัปล์เมื่อเทียบกับยืนดูแค่7วันนี้ก็สมควรกันดี ส่วนที่คุณบอกว่าทำไมท่านไม่เอาเวลาไปเทศนาสั่งสอนธรรมละมายืนทำไม ไปโปรดสัตว์จะไม่ดีกว่าหรือ เพราะยังไม่ถึงเวลาครับ อย่างวันที่ประสูติ ตรัสรู้ นิพพาน หรือเทศนาธรรมจักร วันที่เจอกับปัจวัคคีทั้ง5 วันที่ท่านเจอกับพระอัครสาวกก็ดีทุกอย่างมีเวลาของมันครับ เหมือนกับผลไม้ที่ต้องรอจนสุกก่อนถึงจะเก็บกินได้ หรือข้าวกล้าที่รอเวลาออกรวงเพื่อเก็บเกี่ยว ทุกอย่างมีการเกิดขึ้นตั้งอยู่และดับไปในตัวของมันอยู่แล้วครับ เป็นไปตามเหตุและผล และเรื่องการสำเร็จของพระพุทธเจ้าก็เป็นอจินไตย4นะครับคือ 1.พุทธวิสัยของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 2.ณานวิสัยของผู้ที่ได้ณาน 3.วิบากกรรม 4.ความคิดเรื่องโลกและจักรวาลว่าเกิดขึ้นมาอย่างไร 4อย่างนี้เป็นเรื่องที่ปถุชนไม่ควรเก็บไปคิดเพราะเหลือวิสัยครับปัญญาน้อยและกิเลสท่วมหัวเต็มดวงใจ คิดมากๆก็จะเป็นบ้าได้ เพราะเป็นวิสัยของพุทธญาณเท่านั้นครับที่จะทราบได้ดีที่สุดและถูกต้องที่สุดครับผมเองก็ไม่ได้รู้อะไรมากนะครับ แต่ก็พอจะตอบคุณได้ว่าพระพุทธเจ้าทำไมทรงทำ และไม่ทำอย่างนั้นที่คุณบอกมา สุดท้ายนี้เรามานั่งสมาธิกันเถอะครับถ้าได้อะไรดีๆบ้างก็คงคลายความสงสัยไปได้บ้าง ดีกว่าให้ทาน และรักษาศีลเพียงอย่างเดียวหรือ2อย่าง บารมีจะได้เต็มไวๆทางพ้นทุกข์ก็จะง่ายขึ้นอีก<O:p></O:p>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 31 ธันวาคม 2011
  10. คนมีกำกึด

    คนมีกำกึด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    137
    ค่าพลัง:
    +278
    ตามพระไตรปิฎกเขียนไว้ 7 สัปดาห์(49 วัน ครับ) ทำไมพระพุทธเจ้าถึงต้องระลึกถึงคุณของต้นโพธิ์ ข้อนี้ไม่มีเหตุผลครับ ตอบไม่ได้ ปุถุชนมีกิเลสอย่างเราๆ เข้าใจมิติการระลึกโดยที่การระลึกคุณนั้นมีกิเลส แต่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงเป็นพระอรหันตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ การระลึกคุณของพระองค์ไม่ได้ระลึกคุณอย่างผู้มีกิเลส เพราะฉะนั้นการสงสัยนี้ ตอบไม่ได้ครับ

    แล้วการที่บอกว่า ทำไมไม่เอาเวลานี้ไปโปรดเวไนยสัตว์ ข้อนี้ท่านต้องทราบนะครับว่า พระพุทธเจ้านั้นมีพระดำริเป็นผู้ขวนขวายน้อย พระองค์เห็นว่าธรรมของพระองค์นั้นลึกซึ้งยากแก่การเข้าใจ พระองค์จะไม่สอนครับ จนสหัมบดีพรหมต้องมาอารธนาจนเกิดบทสวดที่ใช้ในการขอให้พระเทศน์ในปัจจุบัน การมาทูลเชิญอารธนานั้นมีพระอรรถกถาตีความไว้สองแบบคือ แบบแรกตามหนังสือ พระองค์ทรงขวนขวายน้อยซึ่งจะสร้างผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อมวลมนุษยชาติ ประการที่สอง เป็นพิธีหนึ่งที่พรหมจะต้องมาอารธนาให้พระพุทธเจ้าแสดงธรรม เพราะอินเดียถือว่าพระพรหมเป็นผู้สูงสุด นี่พระพรหมมาโปรดให้แสดงธรรมเองต้องไม่ธรรมดา เพราะแม้แต่พรหมก็ยอมรับ(ท่านจะเชื่อข้างไหนก็ตามแต่ครับ ผมแค่ยกมาเพราะได้เรียนรู้มาแบบนี้เฉยๆครับ)
     
  11. ballbeamboy2

    ballbeamboy2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 สิงหาคม 2011
    โพสต์:
    1,622
    ค่าพลัง:
    +1,618
    โอ้วแจ่มแจ้งครับ

    ไฟร้อนๆ เดินข้ามจักรวาล เป็นผม ไม่ถึง 1 นาที ตายไปนานแล้ว แต่ถ้าไม่ตายแต่ทนร้อนทนหนาวได้ก็พอจะทําได้อยู่
     

แชร์หน้านี้

Loading...