ปฏิจจสมุปบาท ฉบับแปล...

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย อุรุเวลา, 20 ธันวาคม 2011.

  1. โฮดี้๐๐

    โฮดี้๐๐ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +14

    บางทีคนที่ดูไร้สาระที่สุด อาจจะมีอะไรบางอย่างซ่อนอยู่ก็ได้นะขอรับ เพียงแต่เมื่อมีปัจจัยเพียงพอสิ่งหนึ่งสิ่งใดย่อมแสดงออกมิใช่หรือขอรับ คนถ่อยเมื่อวันวานอาจจะกลายเป็นพระแท้ในวันนี้ก็ได้ นับประสาอะไรกับข้าน้อยล่ะท่านเทพ ฮิฮิฮิ
     
  2. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    จากการที่ได้สนทนากับเอ็งในหลาย ยูสเซอร์นับว่าเอ็งมีความตั้งใจ นับถือๆๆ
     
  3. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    นิพพานพรหมไงครับ จิต ยังเหลือ ^^
     
  4. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    จขกท ลองโหลดฟังดูเพิ่มเติมในนี้ก็ได้ครับ เป็นเสียงอธิบายครับ พอดีเมื่อก่อนผมเคยฟังๆอยู่แต่ลืมๆไปมั้งแล้ว ^^"
     
  5. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002


    ขอขอบคุณท่าน blackangel ครับ

    ปฏิจจสมุปบาท ใช้ว่าจะแปลจากพจนานุกรมแล้วเข้าใจได้เลย คำแปลจากพจนานุกรมเป็นแค่ความเข้าใจเบื้องต้น จริง ๆ แล้วคำของพระพุทธเจ้าลึกซึ้งกว่ามากครับ ผมยกตัวอย่างคำว่า "ทุกข์" พระพุทธเจ้าไม่ได้หมายความคำว่า "ทุกข์" แค่ความรู้สึกสุขและทุกข์ แต่พระองค์หมายถึง ทุกสิ่งที่มีการเกิดและมีความดับสลายไปล้วนเป็นทุกข์ สุขก็ทุกข์ ทุกข์ก็ทุกข์ พระอานนท์บอกว่าปฏิจจสมุปบาทเป็นเรื่องเข้าใจได้ง่าย แต่พระพุทธเจ้าทรงบอกว่า ปฏิจจสมุปบาทใช่ว่าจะเข้าใจได้ง่ายเป็นเรื่องยาก ขอเชิญท่านทั้งหลายศึกษาเอาเถิด
     
  6. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต)
    พระธรรมปิฎก (ประยุทธ์ ปยุตฺโต)


    อิทัปปัจจยตา “ภาวะที่มีอันนี้ๆ เป็นปัจจัย”,
    ความเป็นไปตามความสัมพันธ์แห่งเหตุปัจจัย, กระบวนธรรมแห่งเหตุปัจจัย,
    กฎที่ว่า
    “เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี, เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น;
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้ก็ไม่มี, เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้ก็ดับ”,
    เป็นอีกชื่อหนึ่งของหลัก ปฏิจจสมุปบาท หรือ ปัจจยาการ
     
  7. โฮดี้๐๐

    โฮดี้๐๐ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +14
    ถ้าไปเข้าใจว่านิพพานคือสภาวะบางอย่างให้เข้าถึงหรือให้ไปถึง นั้นเป็นความเห็นผิดนะขอรับ เป็นความเห็นที่เรียกว่า สัสสตทิฏฐิ ขอรับ ส่วนถ้าหลงไปเข้าใจว่า นิพพานคือการดับจิตไม่มีเหลือนี่ก็เป็นความเห็นผิดเช่นกันนะขอรับ เป็นอุจเฉกทิฏฐิไป

    ส่วนที่ว่านิพพานของพราหณ์นี้ดับแล้วเหลือจิต เข้าใจว่าเป็นความสับสน อันที่จริงหลักของเขาหมายถึงการเข้าไปหลอมรวมกับตัวตนที่แท้คือพรหมัน(อาตมัน หรือ ชีวาตมัน) สิ่งที่ตรงกันข้ามกับสิ่งนี้คืออนัตตาขอรับ จะเรียกว่าเป็นนิพพานของเขาก็ได้ในความหมายว่าเป็นเป้าหมายของมรรคาของเขา ดังนั้นใช้คำว่าดับแล้วเหลือจิตมิได้ขอรับมันคนล่ะความหมายกัน ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าจึ่งสอนสิ่งที่เรียกว่าอนัตตาเพื่อปลดความคิดที่ไปยึดเอาความคิดที่ว่ามีตัวตนที่แท้เที่ยงแท้ถาวรของพราหณ์ หรือก็คือความคิดเห็นที่ว่าจิตนี้เที่ยงแท้แน่นอน
    ส่วนเรื่องดับนี้เข้าใจว่าสับสนระหว่างนิพพาน กับลัทธิจารวาก ซึ่งสอนว่าจิตนี้ไม่เที่ยงแท้ถาวรและดับสูญไปที่สุด

    แต่ดับในความหมายของนิพพานนี้ คือ ดับความคิดทวิลักษณ์เหล่านี้ มิใช่ดับจิตเพราะดับจิตนี้มันเป็นความคิดว่าจิตนี้สูญ ความคิดทวิลักษณ์เหล่านี้ก็เช่น เที่ยงไม่เที่ยง สูญไม่สูญ มาไป เกิดตาย ดำขาว มืดสว่าง คู่ต่างๆด้วยเหตุนี้เราจึ่งพูดว่านิพพานนี้คือความว่าง ว่างอย่างยิ่งนี้คือนิพพาน และ อีกคำหนึ่งคือสุขอย่างยิ่ง สุขอย่างยิ่งนี้ไม่เหมือนคำว่าสุขทั้วไป แต่กินความหมายว่าว่างจากความยึดมั่นถือมั้วว่า สุข ว่าทุกข์ นี่แหละคือสุขอย่างยิ่ง

    ที่กล่าวมานี้กระผมมิได้ต้องการจะอวดรู้อันใด เพราะปกติกระผมจะไม่พูดเรื่องพวกนี้ แต่จะแหย่คนอื่นเล่นเท่านั้น ทำตัวไร้สาระตามภาษา ลุงเทพแกถึงได้ถามไงว่านี่ใช่กระผมจริงรึเปล่าขอรับ แต่ที่พูดเพราะชื่นชมคุณอุรุเวลา ที่เขาสนใจเรื่องปฏิจจสมุปบาทซึ่งถ้าไม่มีความตั้งใจที่จะสนใจจริง ในศาสนาพุทธก็จะไม่รู้จักเรื่องนี้เป็นแน่ และ เขาจับจุดได้ว่าเรื่องนี้นี่แหละที่เขาควรสนใจไม่ใช่พวกเรื่องที่เป็นเปลือกเป็นอะไรไป เขาจับจุดได้นี่แสดงว่าไม่ธรรมดาเลย เพราะพระบางรูยังไม่รู้เลย คิดว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว ทำจิตบลาๆๆ กฏแห่งกรรม ทำนองนี้เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา

    เรื่องนี้มันยาก เพราะไม่ค่อยได้ยิ่งได้ฟังกัน เพราะพระก็ไม่สอนหรือยังเข้าใจผิดกันมากเลย ที่สอนก็เอาไว้สวด ไว้โอ้อวดกัน และ พูดราวกับว่าเป็นของสูงทั้งที่เรื่องนี้พระพุทธเจ้าท่านสอนฆารวาสมากกว่าพระเสียอีก สำหรับเรื่องนี้ในคัมภีร์อ.ชั้นหลังก็ยังเข้าใจผิดกัน ขนาดอัจฉริยะอย่างท่านพุทธโฆษา ผู้รจณาคัมภีร์วิสุทธิ์มรรคก็ยังยอมรับว่าท่านไม่เข้าใจเรื่องนี้ นอกจากนี้ในพระอภิธรรมก็ยังมีที่อธิบายผิดมากเพราะมีอ.ชั้นหลังหลายคนเขียนจะให้ทุกคนเข้าใจจริงๆเหมือนกันหมดมันเป็นไปไม่ได้ นักเรียนห้องเดียวกันยังเก่งไม่เท่ากันเลย ที่เข้าใจแต่สอนไม่ได้ พูดไม่ได้ก็มาก ที่ขยายออกไปจนลึ้กซึ้งและเข้าใจยากๆจนมีลักษณะเป็นอภิปรัชญาก็มาก ปัญหามันมาก ก็สมล่ะที่พวกเราพี่ๆน้องๆจะมึนตึบกัน และ บายดีกว่าทำนองนี้ ที่พูดมิได้ต้องการบอกว่ากระผมเก่ง เปล่าเลยกระผมเพียงโชคดีที่เกิดในยุคหลังยุคที่มี อ. เก่งๆหลายท่าน ท่านได้อธิบายงานไว้ว่านี้ผิดนี่ถูก อย่างท่านพุทธทาส ท่านตรุงปะ เป็นต้น จึงจับจุดได้ก็แค่นั้น กระผมมีเรื่องที่ไม่รู้อีกมากซึ่งท่านอาจจะรู้เพียงแต่ท่านไม่ได้สังเกตุเห็นก็เท่านั้น อย่างเรื่องบอล กระผมไม่รู้หรอกว่าแต่ล่ะลีกมันต่างกันอย่างไร? หรือ ภาษาอังกฤษ ภาษาไทยนี่ปวดสมองเด็กม.สามเยี่ยงกระผมมาก ขอบพระคุณครับ ที่มีกระทู้ดีๆแบบนี้ออกมาบ้าง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ธันวาคม 2011
  8. โฮดี้๐๐

    โฮดี้๐๐ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +14
    เล่มนี้กระผมก็มีขอรับ
     
  9. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    วันนี้โฮดี้มาแปลก ? สงสัยพรุ้งนี้ฝนตกแหงๆ 555:cool:
     
  10. โฮดี้๐๐

    โฮดี้๐๐ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +14
    5555 พรุ่งนี้ข้าน้อยขอสัญญาว่าจะกลับไปเป็นโฮดี้ที่ไร้สาระเหมือนเดิมขอรับ พี่<!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->blackangel<!-- google_ad_section_end --><SCRIPT type=text/javascript> vbmenu_register("postmenu_5479251", true); </SCRIPT> ที่เคารพรักของข้าน้อย
     
  11. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=OhWrYwwcyPg"]"สิ่ง" สิ่งหนึ่งซึ่งบุคคลพึงรู้แจ้ง - YouTube[/ame]
    http://pobbuddha.com/tripitaka/upload/files/849/index.html


    ไม่งั้นก็ลองฟัง อ่านเพิ่มเติมจากอันนี้
    http://palungjit.org/threads/การปฏิบัติเริ่มต้นจนเข้าถึงพระนิพพาน.6323/
    http://nkgen.com/473.htm
     
  12. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    แต่โดยส่วนตัวผมอยากให้ฟังอันนี้ครับ
    ปล.ผมเป็นคนอธิบายไม่ค่อยเก่ง+ขี้เกียจพิมพ์ 555

    ถ้าฟังอันนี้ก็อาจจะเข้าใจมากขึ้นกว่าเดิมครับ อาจจะร้องอ่อ :cool:

    อันนี้เหมือนจะเป็นแบบอธิบายละเอียดๆ
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=9Hi1manKOK4&feature=related"]หลวงปู่เกษม นิพพานแล้วสูญ 1/4 - YouTube[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=6OWpsdsZPFM&feature=related"]หลวงปู่เกษม นิพพานแล้วสูญ 2/4 - YouTube[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=5TcAG2Y3Aok&feature=related"]หลวงปู่เกษม นิพพานแล้วสูญ 3/4 - YouTube[/ame]
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=31eAvcYbLGk&feature=related"]หลวงปู่เกษม นิพพานแล้วสูญ 4/4 - YouTube[/ame]

    ส่วนอันนี้เหมือนๆกับอันบนแต่จะตัดบางส่วน
    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=5ebQDQwGTUc"]เมื่อนิพพานแล้ว จะสูญหรือไม่สูญ ? - YouTube[/ame]
     
  13. blackangel

    blackangel เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    1,750
    ค่าพลัง:
    +1,919
    เห้ยแกล้งแซวเล่นล้อเล่นเฉยๆ 555 สาระมั้งผสมไร้สาระมั้งก็ได้ ไม่ต้องไร้สาระอย่างเดียวเหมือนเดิมหรอก
     
  14. สุรีบุตร

    สุรีบุตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +7
    ทำไมไม่มีคำแปลความหมายของอวิชชาละครับ??
    อวิชชาความไม่รู้ ในปฏิจจสมุปบาทนี้ อวิชชาไม่รู้ในอะไรครับ??
     
  15. เทพธรรมบาล

    เทพธรรมบาล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    1,215
    ค่าพลัง:
    +291
    ไม่รู้ในทุกอย่างไงหล่ะเพราะผัสสะทั้ง6มันไม่ได้แสดงผลความจริงออกมา
     
  16. สุรีบุตร

    สุรีบุตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +7
    โฮดี้

    ที่นี้กระผมจะมาขยายความนะขอรับ ก่อนอื่น กระผมจะชี้ที่ผิดก่อนนะขอรับ

    เพราะอวิชชาเป็นเหตุ จึงมีสังขาร (ร่างกาย,ตัวตน,ขันธ์ ๕) สังขารในที่นี้มิได้สื่อความถึงขันธ์5นะขอรับ แต่เป็นสังขารตัวเดียวกันกับสังขารที่อยู่ในขันธ์5ขอรับ
    สังขารนี้หมายถึง การปรุงแต่งถูกครับ

    ต่อมา วิญญาณนี้ก็คือตัวเดียวกันกับวิญญาณที่อยู่ในขันธ์ห้านั้นแหละขอรับ
    วิญญาณในขันธ์5นั้น คือ ใจ หรือว่า จิตละครับ??


    ส่วนนามรูป ก็คือนาม กับรูป สองตัวนี้ที่อยู่ในขันธ์ 5นั้นแหละขอรับ

    นามรูป ก็คือขันธ์5ทั้งหมดเลยครับ

    ที่นี้เราจะเห็นได้ว่าตัวตนของเรานั้นประกอบจาก 5กองนี้ แต่ตอนนี้เรามีอยู่ 4 ขันธ์ คือ สังขาร วิญญาญ นาม และ รูป
    ไม่ถูกนะครับที่ว่า4ขันธ์ ครบ5ขันธ์ตั้งแต่นาม รูปแล้วครับ 1 คือรูป อีก4ได้แก่ เวทนา1 สัญญา2 สังขาร3 วิญญาณ4 ถึงจะไม่มีเอ่ยถึงเวทนาและสัญญามาก่อน แต่เวทนาและสัญญาก็รวมอยู่ใน นาม แล้วครับ จึงครบขันธ์5 ตั้งแต่ นาม รูปแล้วครับ แต่อยากให้จำ เวทนา และสัญญานี้ว่าเป็นของเก่า เรียกว่า เวทนาเก่า สัญญาเก่า

    ซึ่งเมื่อประชุมพร้อมกัน มันก็จะก่อให้เกิดสฬายตนะ หรือ ก็คือ อยาตนะ 6นั้นเอง คงแปลเองได้นะขอรับ


    จากนั้นเจ้าอยาตนะนี้มันก็จะพร้อมสำหรับการรับรู้ เมื่อมีอะไรมากระทบถูก หรือ เกิดผัสสะนั้นเอง เช่นตาเห็นรูปเป็นต้น มันก็จะปรุงแต่งไปเป็นเวทนาขึ้นมา(เห็นไหมขอรับขันธ์ 5นี่ครบแล้ว) แต่แค่นี้ยังไม่ทุกข์นะขอรับ มันต้องปรุงต่อไปเสียก่อน คือเมื่อเกิดเวทนาก็จะเกิดตัณหา เพราะเราเกิดความรู้สึกทุกข์ รู้สึกสุขขึ้นมา โดยทั้วไปเราก็ย่อมเกิดความอยากที่จะสุข เช่นคุณพี่เห็นสาวสวย คุณพี่รู้สึกสุขใจที่คุณพี่ได้เห็นเธอ ดังนั้นจึ่งอยากเห็นอีก นี่ไงขอรับเกิดตัญหาแล้ว เมื่อเกิดตัญหาก็เกิดความยึดมั่นถือมั้น ว่าการได้พบเธอคนนี้จะก่อให้เกิดความสุข(นี่คือเหตุที่ก่อให้เกิดทุกข์จริงๆ ดังคำที่ว่าอุปทานขันธ์ 5 นั้นแหละคือตัวทำให้เกิดทุกข์) จากนั้นมันก็จะอาศัยกันเกิดต่อไปอย่างที่คุณพี่บอกนี้แลจนเป็น อะไรก็สุดแล้วแต่

    [/QUOTE]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2011
  17. สุรีบุตร

    สุรีบุตร สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กรกฎาคม 2011
    โพสต์:
    21
    ค่าพลัง:
    +7
    อวิชชา แปลว่าความไม่รู้ในทุกอย่าง ทุกอย่างที่ว่าก็คือ นาม-รูปนั้นเอง เพราะทุกอย่างก็ไม่พ้นไปจาก นาม-รูป
    ก็แปลว่า อวิชชาในปฏิจจสมุปบาท แปลว่ามีความไม่รู้ใน นามรูปทั้งหลายมาก่อนที่จะมี นามรูปใหม่เกิดขึ้น จนเกิดเป็น สฬายตนในปฏิจจสมุปบาท หรือ ก็คือ อยาตนะ 6ต่อมาครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2011
  18. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ ผู้รู้ปรากฏตัวแล้วหามาตั้งนาน ใน GOOGLE ไม่เจอมาเจอที่นี่เอง (ผลการค้นหาประมาณ 1,530,000 รายการ (0.10 วินาที) ตอนตั้งกระทู้ไม่คิดว่าจะมีคนสนใจ กระทู้นี้น่าจะหายไปตั้งแต่วันแรกแล้ว เพราะท่าน โฮดี้๐๐ แท้ๆเรียกแขก ในป่าลึก ๆ อาจยังมีพระอรหันต์ในโลกไซเบอร์ก็ยังมีผู้รู้ ศาสนาพุทธไม่มีวันเสื่อมถ้ายังมีผู้รู้ในอริยสัจ ๔ และมรรค ๘ อยู่

    ผมขอเดาครับ

    วิญญาณอาศัยนามรูป(รูป เวทนา สัญญา สังขาร)เป็นสถานที่อาศัย วิญญาณและนามรูปอาศัยกันและกัน พระพุทธเจ้าเปรียบเหมือนแสงกับฉากถ้าไม่มีฉากก็ไม่มีแสง พระอานนท์เปรียบเหมือนไม้สองกำพิงกัน ถ้าไม่มีนามรูปวิญญาณก็ไม่มีที่ตั้งอาศัย วิญญาณไปเกาะกับรูปบ้าง ไปเกาะเวทนาบ้าง ไปเกาะสัญญาบ้าง ไปเกาะสังขารบ้าง ถ้าใครนั่งสมาธิและสังเกตเห็นสภาวะจิต จิตรู้อยู่กับลมหายใจ แต่จิตมันสงบนิ่งหรือตั้งอยู่ได้ไม่นาน มันจะหาสถานที่เกิด มันจะไปนึกอดีตบ้างนึกอนาคตบ้าง ถ้าไม่รีบดึงกลับมารู้อยู่กับลมหายใจ มันก็ปรุงแต่งไปจะนานแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับจิตว่าจะรู้ทันตอนไหน พระพุทธเจ้าสอนให้อยู่กับลมหายใจ อยู่กับปัจจุบัน อยู่กับการงานที่ทำ
     
  19. อุรุเวลา

    อุรุเวลา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    3,464
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +8,002
    ปฏิจจสมุทปปบาทก็คืออริยสัจ ๔

    ทุกข์(การมีอยู่ของทุกข์ ความเศร้าโศกความเสียใจ ความผิดหวัง การพลัดพราก ความเกลียด ความอิจฉา ความวิตก เกิด แก่ เจ็บ ตาย ความยึดมั้นถือมั่นในขันธ์ทั้ง 5 ล้วนเป็นทุกข์)
    สมุทัย(เหตุเกิดแห่งทุกข์อันมีอวิชชาคือความไม่รู้ คือปฏิจจสมุปปบาทสายเกิด)
    นิโรธ(ความดับทุกข์ คือปฏิจจสมุปปบาทสายดับ)
    มรรค(หนทาดับทุกข์ อันได้แก่ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ เจรจาชอบ การงานชอบ เลี้ยงชีพชอบ ความเพียรชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ)
     
  20. โฮดี้๐๐

    โฮดี้๐๐ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ธันวาคม 2011
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +14
    ขอขยายและขอขอบคุณ คุณพี่สารีบุตร ในความหวังดีนะครับ อันนี้เป็นความผิดของกระผมเองที่เขียนไม่เคลียส์ เลยทำให้คุณพี่เป็นห่วงว่ากระผมจะสับสนว่า นามรูปกับ ขันธ์ 5นี้เป็นคนละตัวหรือ ว่านามรูปคือ รูปขันธ์ นามขันธ์ แต่อันที่จริงกระผมเองไม่ได้สับสนหรอกครับ เพียงแต่จะพูดว่า ปฏิจจสมุปบาทแบบทั้วไปนี้ต้อแงการจะชี้ชัดว่า อวิชชาเป็นรากฐานให้ขันธ์ 5 ที่มีอยู่แล้วนี้แสดงตัวออกมาในทางทุกข์หรือในทางทำให้เกิดทุกข์ขึ้นมาได้ โดยอวิชชาปรุงให้เกิดสังขาร และ สังขารปรุงให้เกิดวิญญาณ หรือพูดง่ายๆว่า อวิชชาทำให้สังขารและวิญญาณแสดงตัวออกมาในแง่ที่จะเกื่อหนุนให้ความทุกข์เกิดขึ้นมาได้ และ มีข้อเท็จจริงที่ต้องจำก็คือวงจรนี้จึ่งไม่ได้เกิดขึ้นมาแบบลอยๆ แต่มันเกิดมาพร้อมๆกันเพราะมีนี่จึ่งมีนั้น อย่างมองในมิติเวลาว่าต้องเกิดนี้เวลานี้ ถัดมาเวลานั้นจึ่งเกิดนั้น มันเกิดขึ้นมาพร้อมๆกันในชั่วขณะเดียว ที่นี่เดี๋ยวนี้แหละแล้วจะไม่หลง

    เพื่อความเข้าใจง่ายเราจะแบ่งออกเป็น สองชุด นั้นคือ

    ชุดแรก

    อวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ

    ชุดนี้ของตั้งชื่อน่ารักๆ ว่าชุดพร้อมที่จะแสดงตัวออก แต่ยังไม่แสดงตัวออก

    โดยจะอธิบายว่า จิตของเรานี้ธรรมชาติเดิมแท้ คือ ความว่าง แต่เพราะเรามีอวิชชา(ความไม่รู้)ห่อหุ้มอยู่เราจึ่งมองไม่เห็นถึงสิ่งนี้ ด้วยเหตุนี้เราจึ่งทุกข์เพราะกระแสเหตุปัจจัยของความทุกข์นั้นมีรากฐานมากจากการปรุงแต่งสืบต่อกันไปเรื่อยๆของ อวิชชา

    อวิชชาปรุงให้เกิดสังขาร(การรวมตัวกันขึ้นหรือตัวกระตุ้น) และ สังขารปรุงให้เกิดวิญญาณ(ตัวรับรู้) หรือพูดง่ายๆว่า อวิชชาทำให้สังขารและวิญญาณแสดงตัวออกมา ในแง่ที่พร้อมจะเกื่อหนุนให้ความทุกข์เกิดขึ้นมาได้ อย่างไรก็ตามเพียงแต่ว่าขันธ์ทั้ง 5 มิได้เป็นอิสระต่อกันมันเชื่อมโยงกัน ดังนั้น เมื่อสังขารและวิญญาณแสดงตัวออกมา ตัวอื่นก็จะต้องมีด้วย ตรงนี้เราเรียกทั้งหมดที่ปรากฏขึ้นมานี้ว่า นามรูป โดยอธิบายได้ดังนี้ เพราะมีอวิชชาเป็นรากฐาน ดังนั้นจิตของเราจึ่งพร้อมสำหรับความรู้สึกในทางลบ หรือ พร้อมสำหรับให้ความรู้สึกในทางลบแสดงตัวออก ตรงนี้คือ สังขาร เมื่อเป็นเช่นนี้ก็จะก่อให้เกิด ความสามารถของจิตที่จะไปรับรู้อารมณ์ในส่วนไม่ดีได้ นี่คือ วิญญาณ อย่างไรก็ตามเหล่านี้มิได้แยกขาดจากกันกับ สัญญา เวทนา รูป ดังนั้นเมื่อเรียกรวมๆกันจึ่งเรียกว่า นามรูป ดังนั้นจึ่งถือได้ว้าจิตที่มีอวิชชาครอบงำนี้มัน พร้อมที่จะเศร้า หมอง ร้อนรน ขุ่นเครือง และ จำอารมณ์พวกนี้ได้เสมอๆ นี่คือ นาม แต่เราก็รู้อีกว่ามันไม่ได้แสดงตัวออกมาได้แค่ในทางข้างในเท่านั้น มันพร้อมจะแสดงออกมาทางกิริยาท่าทางของเราด้วยไอ้สภาวะจิตที่ไม่ดีเหล่านี้ นี่เรียกว่ารูป รวมกันเป็น นามรูป แต่อย่างที่เราบอกในชุดนี้มันยังไม่ได้แสดงตัวออก เพื่อให้การแสดงตัวออกเกิดขึ้นได้มันต้องอาศัยทางผ่าน ทางผ่านนี้เราเรียกว่า สฬายตนะ หรือ อยาตนะ จากนั้นเจ้าอยาตนะนี้มันก็จะพร้อมสำหรับการรับรู้ เมื่อมีอะไรมากระทบถูก

    ชุดสอง

    ชุดนี้ของตั้งชื่อน่ารักๆ ว่าชุดที่แสดงตัวออก

    สฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
    เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส


    จิตตลอดจนกิริยาท่าทางที่เราได้กล่าวไปแล้วนี้นั้น โดยทั้วไปเราถือว่ามันหลับอยู่ แต่มันจะตื่อขึ้นเมื่อมีอะไรไปยุ่งกับมัน ไปแหย่มัน นี่เรียกว่า เกิดผัสสะนั้นเอง เช่นตาเห็นรูปเป็นต้น นี่คือเกิดผัสสะขึ้นมา หรือ พุดว่าเกิดการกระทบกันของอยาตนะภายในและภายนอก จากนั้น มันก็จะปรุงแต่งไปเป็นเวทนา(รู้สึกทุกข์รู้สึกสุข)ขึ้นมาแต่แค่นี้ยังไม่ทุกข์นะขอรับ มันต้องปรุงต่อไปเสียก่อน คือเมื่อเกิดเวทนามันจะปรุงให้เกิดตัญหา เมื่อถึงขั้นนี้จิตนั้นมันพร้อมสำหรับจะถูกครอบงำด้วยตัญหาแล้วใกล้จะแสดงสิ่งที่หลับที่เราได้พูดไปอยู่ร่อมล่อแล้ว เพราะเราเกิดความรู้สึกทุกข์ รู้สึกสุขขึ้นมา โดยทั้วไปเราก็ย่อมเกิดความอยากที่จะสุข เช่นคุณพี่เห็นสาวสวย คุณพี่รู้สึกสุขใจที่คุณพี่ได้เห็นเธอ ดังนั้นจึ่งอยากเห็นอีก นี่ไงขอรับเกิดตัญหาแล้ว เมื่อเกิดตัญหาก็เกิดความยึดมั่นถือมั้น ว่าการได้พบเธอคนนี้จะก่อให้เกิดความสุข(นี่คือเหตุที่ก่อให้เกิดทุกข์จริงๆ ดังคำที่ว่าอุปทานขันธ์ 5 นั้นแหละคือตัวทำให้เกิดทุกข์) ดังนั้นโดยสรุปอุปทานจะ แสดงตัวสองแบบคือ การเอาตัวไปผูกมัดกับสิ่งหนึ่งๆ หรือ ดิ้นรนหนีสิ่งหนึ่งๆ เมื่อถึงขั้นนี้ จิตจะเริ่มแสดงตัวออกมาให้เห็นเด่นชัดครอบงำทุกๆๆการกระทำของเราและกำลังจะกระทำออกไป นี่เรียกว่าภพ แปลว่า ความมีความเป็น นั้นคือเริ่มมีความรู้สึกว่า นี่คือฉัน มีฉัน นี่ไม่ใช่ฉัน หรือไม่ใช่ของฉัน จากนั้นภพก่อให้เกิดชาติ นั้นคือไม่เริ่มอีกต่อไป แต่เชื่อมั้น และ แสดงออกอย่างจริงจังไปเลยด้วยความรู้สึกหรือแสดงออกมาอย่างเด่นชัดว่า เราเป็นนั้นเป็นนี่ มีพฤติกรรมแบบนี้ ฉันคือผู้กำลังกระทำ ไม่กระทำ ฉันคือใคร เป็นนักบุฯญ เป็นคนบาป เป็นผู้ไม่ทำชั่ว เป็นผู้ที่ได้หญิงคนนี้มาครอบครอง นี่ชาติ
    และ แล้วชรามรระ ความทุกข์ หรืออะไรทำนองนี้ก็เกิดขึ้น

    เสริม มีปัญหาให้คิดเล็กน้อย จากประสบการณ์ก่อนอื่นนามรูปนี้ ข้าน้อยสงสัยว่ามันคืออะไร หว่าตั้งแต่ตอนแรกแล้วขอรับ ต่อมาข้าน้อยถึงได้อ้อ เมื่อไปอ่านในหนังสือของท่านพุทธทาสขอรับชื่อว่าปฏิจจสมุปบาทฉบับพระโอทฐ์ ว่า มันคือ นามกับรูปในขันธ์ 5 ขอรับแต่เขาเอามาเรียกรวมๆกัน เพียงแต่ท่านบอกไว้ว่า ขั้นนี้มีนามกับรูปปรากฏขึ้นมาด้วย อันที่จริงท่านก็หมายความว่า ขั้นนี้นามกับรูปแสดงตัวออกมาไม่ใช่เกิดขึ้นมา ไอ้คำว่าเกิดขึ้น มีขึ้น นี้แหละมันทำให้เราหลงไปว่าอวิชชาทำให้ขันธ์ห้าเกิดขึ้น ต้องเป็นอวิชชาทำให้ขันธ์ 5 แสดงตัวออกไปในทางที่พร้อมจะทุกข์ ดังนั้นดับอวิชชาจึ่งไม่ได้กินความว่าสลายขันธ์ 5 แต่กินความว่าตัดวงจรที่ทำให้ขันธ์ 5 ที่แสดงตัวออกในแง่ที่จะเอื้อให้เเก่การเกิดความทุกข์นั้นไม่มีโอกาสได้แสดงตัวออกมา เกิดหมายถึงแสดงตัวออก ตายหมายถึงไม่แสดงตัวออก ถ้าเข้าใจคำคู่นี้ก็จะเข้าใจเรื่องนี้ ในเล่มที่ชื่อว่าอิทัปปจัยตาก็เขียนไว้เช่นนี้ แต่ข้าน้อยก็มิได้ชะล่าใจไปเชื่อหรอกครับ ต่อมาก็ไปดูอีกในหนังสือของท่านติช นัทท์ ฮัทท์ ในหนังสือที่ท่าน อ. ส.ศิวรักษ์ แปลไว้ว่าด้วยคำสอนของวิญญาณวาท ก็เป็นทำนองนี้ หรือลองไปหาดูในหนังสือพุทธธรรมดูขอรับจะเข้าใจได้ถุกต้องขึ้น (แต่อ่านเล่มนี้อาจจะเขวมากขึ้นก็ได้ครับ)
    ลองอ่านบทความนี้ดูขอรับจะเข้าใจได้มากขึ้น เพราะข้าน้อยดูแลอันนี้ใช้ได้เลย เดาว่าคนเขียนแกมีความรู้ดีมากครับทางนี้ พึ่งเปิดเจอเมื่อกี้นี้แล้วจะเข้าใจที่ข้าน้อยพยามพูดมาตลอดครับ ท่านสารี อย่าไปเข้าใจว่าขันธ์นี้เกิดจากอวิชชามิเช่นนั้นจะเกิดความึนว่า ทำไมมีเก่าใหม่ มีวิญญาณข้ามภพชาติแบบที่ไม่ใช่ของพุทธธรรมแบบของพุทธธรรมลึกกว่านั้นเยอะครับ หรือหลงว่าไม่มีอวิชชาแล้วไม่มีขันธ์ แต่เข้าใจว่ากินความว่าพูดถึงการแสดงตัวออกของแต่ละขันธ์ในทางที่จะทำให้พร้อมสำหรับเกิดทุกข์เพราะอวิชชาดีกว่าขอรับ แล้ว จะไม่สับสนขันธ์ เก่าใหม่ แบบในอรรถกถาบางอัน และ จะไม่ปัญหาแบบคร่อมชาติภพ

    http://nkgen.com/743.htm

    อันนี้แถมให้คุณพี่สารีบุตรครับ หรือ พี่ทุกๆคนครับที่กระผมแสดงไปนี้

    กระผมมิได้อธิบายตามคัมภีร์วิสุทธิ์มรรคที่นิยมกันมา และ ที่คุณพี่(สารีบุตรพุดและทัก)คาดว่ามีรากฐานมาจากตรงนี้ขอรับ และเข้าใจว่าคุณพี่มีความรุ้ที่ใช้ได้เลย ที่นี้ลองดูปัญหาของเรานะครับถ้าไม่กล่าวอย่างที่กระผมได้กล่าวไป นั้นคือ มันจะเกิดปัญหาขอรับคือ นามรูปคือขันธ์ 5 นี่มันครบบริบรูญ์ แล้ว แล้วทำไมมันไปเกิดขึ้นมาอีกได้ในซีกทั้ง 12 นี้ นั้นคือเกิดซ้ำอีก อย่างเวทนานี้ก็อยู่ในนาม แล้วมามีเวทนาอะไรอีก ที่นี้กระผมพูดถึงขันธ์ 5ที่แสดงตัวออกมาจนกระทั้งเราไม่รู้คิดไปว่ามันเกิดขึ้นมา หรือ เหมือนว่ามันเกิดขึ้นมาใหม่ในทางจิตครับ นั้นคือ มิได้อธิบายโดยโยงไปว่าคุณมีขันธ์ 5 อยู่แล้ว เพื่อป้องกันความสับสน กล่าวก็คือในวงจรนี้ขันธ์ 5 ที่ว่าครบแล้วนี้ มันยังไม่ทำงานออกมาทุกตัวในชุดแรกขอรับ จะแสดงตัวออกมาในชุดสองตรงเกิดภพ ด้วยเพราะมีผัสสะเกิดขึ้นในส่วนต้น

    ที่นี้แถมอีก ลองพิจารณาคำว่านามดูเราจะเห็นว่ามันกินความหมายรวมเอา เวทนา สัญญา เจตนา ผัสสะ มนสิการ นี่ในสุตันตปิกฏยังมีอีกนะเยอะมาก แต่ในอภิธรรมเขาจะเอาแค่วิญญาณ สัญญา เวทนา สังขาร นี่อันนี้เขานิยมดังนั้นเราเลยเข้าใจผิดกันว่านามรูปนี่มีแค่ห้าตัวอย่าหลงครับ งงไหม

    ส่วนไอ้สัญญาเก่า เวทนาเก่านี้ เข้าใจว่าก็มีรากฐานมาจาก คัมภีร์วิสุทธิ์มรรค และ เป็นประเด็นที่กลายมาเป็นการตีความไปในเรื่องต่อตายคร่อมชาติภพขอรับและเป็นเรื่องที่อ.ชั้นหลังกล่าวไว้ จนคนหลงไปว่าเป็นของพุทธเจ้าไป ทั้งที่ในสมัยนั้นเขาไม่ได้สนใจปัญหาตายแล้วเกิดใหม่หรือไม่ เขาสนใจว่าจะดับความทุกข์ได้อย่างไร เดียวก็มีคนมาแสดงความเข้าใจผิดในเรื่องนี้แน่ๆ ข้างล่างนี้ ดังนั้นต้องระวังว่าเรามีขันธ์ 5 อยู่แล้วจริง และพิจารณาในบริบทว่าที่นี่เดี๋ยวนี้ ตัวไหนที่ยังไม่เกิดในขณะจิตหนึ่ง หรือยังไม่สำแดงตัวตามวงจรปฏิจจสมุปบาท

    วิญญาณนี้ คือ จิตขอรับ มิใช่ใจ ใจคือทวาร วิญญาณมีแปดตัวครับ ตัวที่คือจิตที่แท้ คือวิญญาณตัวที่แปด โดยไล่ดังนี้ คือวิญญาณหู วิญญาณตาไล่ไปบลาๆๆจนครบตามชื่ออยาตนะ 5 จากนั้นก็จะมีอีกสามตัวคือมโนวิญาณ มนัส และ อาลัยวิญาณจะเรียกว่าจิตสำนึก ตัวเกื้อหนุนจิตสำนึก และ จิตไร้สำนึกก็ได้ครับใกล้เคียงกัน 5 ตัวแรกจะเกิดเมื่อเกิดผัสสะจากการถูกกระทบถูก โดยอาจจะมีมโนวิญาณ(ธรรมารมณ์)มาร่วม และ มีมนัสมาเป็นน้ำหนุน ส่วนอาลัยวิญาณเป็นธรรมชาติแท้ของเราและเป็นรากฐานที่แท้ๆ ที่ว่าตรัสรู้ก็คือเห็นหรือเข้าใจถึงธรรมชาติแท้ของเจ้าตัวนี้ครับ สำนวนศาสนามันใช้คำอื่นๆ เช่น ปรีชาญาณบ้า จิตเดิมแท้ จิตหนึ่ง ธรรมชาติแห่งพุทธะ จิตว่างขอรับ เมื่อเราวิปัสนาเราจะเห็นว่าจิตนี้เกิดดับอยู่ตลอด นั้นคือเราเห็นการผุดขึ้นเกิดดับของวิญญาณทั้งเจ็ดตัว ส่วนรอยต่อนั้นคือ ช่องว่างไอ้เจ้าช่องว่างนี้เรียกว่า อาลัยวิญาณขอรับ มันเป็นที่รวมเอาไว้ซึ่งเมล็ดพันธ์ต่างๆ อย่างความโกรธ ความรัก ความดีงาม สังสารวัฏ การตรัสรู้ รอวันพุดขึ้นมาทางมโนวิญญาณ ส่วนไอ้ที่พุดขึ้นมาทางมโนนี้จะมีอำนาจมาเพียงใดขึ้นกับมนัสขอรับ ด้วยเหตุนี้เขาก็เลยใช้คำว่าจิตว่างแทนมัน(อาลัยวิญาณ) เพื่อบ่งชี้ว่ามันว่างก็จริงแต่มันก็เป็นจิตด้วยดังนั้นมันก็ยังสั่นไหวกระเพื่อมได้


    [ame="http://www.youtube.com/watch?v=xxwWfOKCQlY&feature=related"]Boom Boom Pow - Black Eyed Peas Chipmunk Version Lyrics (HQ) - YouTube[/ame]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 24 ธันวาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...