ถามเกี่ยวกับทำบุญกฐินครับ ๆ ^^

ในห้อง 'บุญ-อานิสงส์การทำบุญ' ตั้งกระทู้โดย จริงจัย, 21 สิงหาคม 2011.

  1. จริงจัย

    จริงจัย สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2010
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +12
    เนื่องจากงานกฐินที่ผ่านๆมา ได้มีโอกาสร่วมทำุบุญหลายงาน แต่ไม่ได้ร่วมทำบุญโดยการถวายผ้าไตร แต่ผมร่วมทำบุญโดยปัจจัยเป็นตัวเงินมากกว่า .. อยากถามว่า จะได้อานิสงส์กฐินทานไหม แล้วใช้ปัจจัยเงินนี่เท่ากับ จุลกฐิน หรือ กฐินแบบไหนครับ .. ^^
     
  2. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    อนุโมทนาบุญกับท่าน จขกท. ด้วยนะครับ
    ลองอ่านดูนะครับ

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] พระองค์ทรงตรัสว่า คนถวายผ้ากฐิน หรือ ร่วมในการถวายกฐินทานครั้งหนึ่ง จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นพระอรหันต์ก็ได้ ได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิปกครองโลก ๕๐๐ ชาติ เมื่อบุญน้อยลงมาจะเป็น พระมหากษัตริย์ ๕๐๐ ชาติ เป็น มหาเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ เป็น อนุเศรษฐี ๕๐๐ ชาติ เป็น คหบดี ๕๐๐ ชาติ แต่คนที่ทอดผ้ากฐิน หรือว่าร่วม ในการทอดผ้ากฐินครั้งหนึ่งก็ดี บุญบารมีส่วนนี้ยังไม่ทันหมดก็ปรากฏว่า ท่านเจ้าของทานไปนิพพานก่อน แต่ถ้าหากว่ายังไม่ถึงพระนิพพาน เพียงใดอานิสงส์จะให้ผลแก่ท่านผู้นั้น เมื่อตายจากความเป็นคนไปเกิดเป็นเทวดาแล้วก็จะลงมาเป็น [/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] แต่ในปัจจุบันจัดกฐินเป็น ๓ อย่างคือ ๑. จุลกฐิน ๒. ปกติกฐิน ๓. มหากฐิน[/FONT]
     
  3. supphakrit

    supphakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +178
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p> </o:p>
    อานิสงส์ของการถวายกฐิน<o:p></o:p>
    <HR style="COLOR: white" align=center SIZE=1 width="100%" noShade>
    <INS>การทอดกฐิน และ อานิสงส์ของการทอดกฐิน</INS><INS>

    “การทอดกฐิน” เป็นอริยะประเพณี ที่สืบทอดมามากกว่า 2,500 ปี นับตั้งแต่ครั้งที่พระพุทธองค์ยังทรงมีพระชนม์ชีพอยู่ มีต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ถือเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนทั้งหลาย ทุกยุคทุกสมัย มีความศรัทธาเลื่อมใสว่า เป็น “ยอดของมหากุศล” จะเป็นเหตุนำทางให้ผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในการทอดกฐินนั้น ได้มหานิสง</INS>ค์<INS>อันยิ่งใหญ่สุดประมาณ</INS><INS>

    ด้วยเหตุนี้ การทำบุญทอดกฐิน จึงเป็นงานบุญที่อยู่ในใจ และ อยู่ในเส้นทางของชีวิตชาวไทย ในหนึ่งปีที่จะพลาดไม่ได้ สำหรับในปีนี้ เพื่อให้การทำบุญทอดกฐินของท่านพุทธศาสนิกชน ดำเนินอยู่บนรากฐานของความมีศรัทธา เต็มใจ และ สุขใจที่ได้ทำบุญ มิใช่สักแต่ว่าทำบุญ ด้วยความเกรงใจเหมือนปีก่อนๆที่ผ่านมา เราควรทำบุญด้วยความเข้าใจที่ถูกต้อง การทำบุญทอดกฐินนั้น เป็นการทำบุญตามพุทธประสงค์ คือ ทำบุญอย่างผู้รู้ ที่เข้าใจคุณค่า และ ความหมายของบุญที่กระทำ

    ดังนั้น จึงควรอย่างยิ่งที่เราจะได้ศึกษาความเป็นมา และ ความสำคัญของประเพณี รวมทั้งอานิสงส์ของการทอดกฐิน ดังมีเรื่องราวโดยย่อดังต่อไปนี้
    ที่มาของประเพณีทอดกฐิน

    ในสมัยพุทธกาล ภิกษุชาวเมืองปาไฐยรัฐจำนวน ๓๐ รูป เดินทางมาเฝ้าพระศาสดา แต่ไม่ทันวันเข้าพรรษา จึงจำพรรษา ณ เมืองสาเกตุในระหว่างทาง พอออกพรรษาฝนยังตกชุกอยู่ ภิกษุเหล่านั้นก็เดินทางมาเข้าเฝ้าพระศาสดาด้วยความลำบาก ระยะนั้นมีฝนตกชุก หนทางที่เดินชุ่มไปด้วยน้ำ เป็นโคลนเป็นตม ต้องบุกต้องลุยมาจนกระทั่งถึงกรุงสาวัตถี พระศาสดาตรัสถามถึงความเป็นอยู่ และ การเดินทาง ภิกษุเหล่านั้นจึงกราบทูลให้ทรงทราบ จากนั้นพระพุทธองค์ทรงมีพระพุทธานุญาต ให้มีการถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุทั้งหลาย ผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส โดยกำหนดระยะเวลา คือ นับจากวันออกพรรษาตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 เป็นระยะเวลา 1 เดือน (ปี 2552 นี้ ตรงกับวันจันทร์ที่ 5 ตุลาคม ถึง วันจันทร์ที่ 2 พฤศจิกายน 2552) กฐิน จึงได้ชื่อว่าเป็น กาลทาน ทำได้ในช่วงเวลานี้เท่านั้น

    การทอดกฐินนั้น ส่วนใหญ่มักจัดขึ้นในช่วงสายประมาณ 10.00 น. และมักต่อด้วย การถวายภัตตาหารเพล จากนั้น ก็ทำพิธีทอดกฐินในเวลาประมาณ 13.00 น. โดยธรรมเนียมปฏิบัติ มักมี “บริวารกฐิน” เพื่อถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ซึ่งไว้ใช้เป็นค่าใช้จ่ายภายในวัด เป็นค่าน้ำ ค่าไฟตลอดทั้งปี รวมทั้งค่าก่อสร้าง เช่น เทปูนสร้างถนน เทปูนทำทางเดินไปอุโบสถ ไปศาลาอเนกประสงค์ ไปศาลาสวดศพ ฯลฯ ทั้งส่วนซ่อมแซม และ ต่อเติมเสริมใหม่ เพื่อให้เกิดความสะดวกแก่พระภิกษุสามเณร และ พุทธบริษัทได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน
    ความพิเศษของกฐิน

    ในปีหนึ่ง แต่ละวัดสามารถรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว นอกจากนั้นแล้ว กฐินทานก็มีความพิเศษแตกต่างจากทานอย่างอื่น ได้แก่

    1. จำกัดประเภททาน คือ ต้องถวายเป็นสังฆทานเท่านั้น จะถวายเฉพาะเจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่งเหมือน การให้ทานอย่างอื่นไม่ได้
    2. จำกัดเวลา คือ ต้องถวายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับแต่วันออกพรรษา เป็นต้นไป
    3. จำกัดงาน คือ พระภิกษุที่กรานกฐินต้องตัด เย็บ ย้อม และครองให้เสร็จภายในวันที่กรานกฐิน
    4. จำกัดไทยธรรม คือ ผ้าที่ถวายต้องถูกต้องตามลักษณะที่สงฆ์กำหนดไว้
    5. จำกัดผู้รับ คือ พระภิกษุผู้รับกฐิน ต้องเป็นผู้ที่จำพรรษาในวัดนั้นโดยไม่ขาดพรรษา และมีจำนวนไม่น้อยกว่า 5 รูป
    6. จำกัดคราว คือ วัดๆ หนึ่งรับกฐินได้เพียงปีละ 1 ครั้งเท่านั้น
    7. เป็นพระบรมพุทธานุญาต
    การให้ทานอย่างอื่น ทายกทูลขอให้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอนุญาต เช่น มหาอุบาสิกาวิสาขา ทูลขออนุญาตถวายผ้าอาบน้ำฝน แต่ผ้ากฐินนี้ พระองค์ทรงอนุญาตเอง นับเป็นพระพุทธประสงค์โดยตรง

    อานิสงส์ของการทอดกฐิน
    อานิสงส์กฐินนี้ หลวงปู่ปาน แห่งวัดบางนมโค อ.เสนา จ.พระนครศรีอยุธยา ท่านเคยเทศน์ และ ก็เทศน์ตามบาลี ฉะนั้น การทำบุญ จะเป็นเงินก็ตาม จะเป็นของก็ตาม ถือว่า ทุกอย่างเป็น อานิสงส์กฐิน พระสูตรตามที่ท่านกล่าวไว้ในบาลี พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า บุคคลใดตั้งใจทอดกฐินแล้วในชีวิตหนึ่ง ในฐานะที่เป็นเจ้าภาพกฐินก็ดี หรือ เป็นบริวารกฐินก็ดี (แต่ถ้าเป็นกฐินสามัคคี หมายความว่า ทุกคนจะเป็นเจ้าภาพเหมือนกันหมด) จะทำบุญน้อย จะทำบุญมาก มีอานิสงส์เสมอกัน แต่ทว่าปริมาณอาจจะแตกต่างกัน

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่า "โภ ปุริสะ ดูกรท่านผู้เจริญ บุคคลใดเคยตั้งใจทอดกฐินไว้ในพระพุทธศาสนา แม้ครั้งหนึ่งในชีวิต ถ้าตายจากความเป็นคน ยังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด ท่านผู้นั้นจะได้ไปเกิดเป็นเทวดา หรือนางฟ้า ถ้าหมดอายุขัยของเทวดา หรือนางฟ้า เมื่อจุติ (ตาย) แล้ว เมื่อบุญหย่อนลงมา จะเกิดเป็นเทวดาเกิดเป็นนางฟ้าไม่ได้ ก็จะลงมาเป็นมนุษย์ จะเกิดเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ เมื่อเป็นพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว บุญหย่อนลงมา ก็จะเป็นพระมหากษัตริย์ หลังจากนั้น จะเป็นมหาเศรษฐี

    คำว่ามหาเศรษฐีนี่ หมายถึง การมีทรัพย์สินเงินทอง ตั้งแต่ ๘๐ โกฏิขึ้นไป (หรือ มากกว่า 800 ล้านขึ้นไป) เขาเรียกว่าเป็น มหาเศรษฐี แต่ถ้าตั้งแต่ ๔๐ โกฏิ ขึ้นไป ( หรือ มีทรัพย์ตั้งแต่ 400 ล้านขึ้นไป) เขาเรียก อนุเศรษฐี เมื่อเป็นมหาเศรษฐี แล้ว ต่อมาจะไปเกิดเป็นอนุเศรษฐี หลังจากนั้น ก็จะเป็นคหบดี ฯลฯ

    ก็รวมความว่า การตั้งใจทอดกฐินครั้งหนึ่ง พระพุทธเจ้าท่านตรัสว่า นอกจากจะเป็นเทวดาเป็นนางฟ้า เป็นเศรษฐีมหาเศรษฐีแล้ว บุคคลที่ตั้งใจทอดกฐินครั้งหนึ่งในชีวิต จะปรารถนาพระโพธิญานก็ย่อมได้ นั่นหมายความว่า จะปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้าก็ได้ จะปรารถนาเป็นอัครสาวกก็ได้ จะปรารถนาเป็นมหาสาวกก็ได้ จะปรารถนานิพพาน เป็นพระอรหันต์ปกติก็ได้ ฉะนั้น การทอดกฐินแต่ละคราว ขอให้บรรดาท่านพุทธบริษัทโปรดทราบถึงอานิสงส์ และ มีความตั้งใจในการทอดกฐิน คนที่เคยตั้งใจทอดกฐินแล้วแต่ละครั้ง รวมความว่า ถ้ายังไม่ถึงพระนิพพานเพียงใด คำว่า ยากจนเข็ญใจจะไม่มีแก่บรรดาญาติโยมพุทธบริษัทในชาติต่อๆไปทุกชาติ

    โดยสรุป อานิสงส์จากการทำบุญทอดกฐิน ถ้าจะมาเกิดเป็นมนุษย์

    1. จะได้เกิดมาในตระกูลที่ดี มีสัมมาทิฐิ มีเกียรติยศ มีชื่อเสียงที่ดีงาม
    2. จะเกิดมาโดยมีร่างกายที่ได้คุณลักษณะที่งดงามสมส่วน
    3. จะเกิดมามีผิวพรรณงดงาม จิตใจแจ่มใส ร่าเริงเบิกบาน
    4. จะเกิดมามีทรัพย์สมบัติมาก ไม่ลำบากในการแสวงหาทรัพย์
    5. เมื่อละโลกแล้ว อย่างน้อยได้ไปบังเกิดในสวรรค์<o:p></o:p>
    </INS>

    เรื่องนี้ทั้งพระครูวิหารกิจจานุการ หรือหลวงปู่ปาน วัดบางนมโค และพระราชพรหมยาน หรือหลวงพ่อฤๅษีลิงดำ วัดท่าซุง เคยพูดไว้เกี่ยวกับอานิสงส์การถวายกฐิน ซึ่งให้ใช้การสังเกตครับ มิได้ยกพระพุทธพจน์ขึ้นอ้าง แสดงว่า พระพุทธเจ้าไม่เคยตรัสถึงอานิสงส์แห่งการถวายกฐินตรง ๆ ท่านว่า ให้สังเกตดูถ้าไปร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินตั้งแต่ ๓ ครั้งขึ้นไป ความเป็นอยู่จักคล่องตัวขึ้น คำว่า "คล่องตัว" นี่ ไม่ได้หมายความว่า "รวย" แต่หมายถึงมีความเป็นอยู่สะดวกสบายขึ้นกว่าแต่ก่อน อันนี้เป็นแค่เศษของความดี<o:p></o:p>
    ท่านยกอานิสงส์ที่พระสมณโคดมพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันทรงเคยไปเกิดในสมัยของพระปทุมมุตตรพุทธเจ้า มีชื่อว่า มหาทุกขตะ เป็นคนจนมาก แล้วมีโอกาสได้ร่วมถวายกฐินด้วยหลอดด้ายเพียงหลอดเดียว พระปทุมมุตตรพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ถึงการบรรลุพระโพธิญาณของมหาทุกขตะ เป็นพระสมณโคดมพุทธเจ้าในอนาคตกาลนั้นมีการถวายกฐินนี้เป็นปัจจัยแสดงว่า การตั้งใจถวายกฐินนั้นแม้ปรารถนาพระโพธิญาณ ความเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาลก็สำเร็จ สำมะหากระไรกับสิ่งอื่น ย่อมต้องสำเร็จตามประสงค์<o:p></o:p>
    แล้วกล่าวทิ้งท้ายว่า "บุคคลที่ตั้งใจทำบุญกฐิน พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่า แม้แต่ทิพยจักษุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งถือว่าเลิศแล้ว ที่สุดยังมองไม่เห็นเลยว่า อานิสงส์นั้นจะไปสิ้นสุดตรงไหน ส่วนใหญ่ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จะเป็นพระมหากษัตริย์ หรือเป็นเศรษฐีมหาเศรษฐี เกิดแล้วเกิดอีกอยู่ในระดับของความดีนี้ตลอดจนกระทั่งไม่สิ้นสุดของอานิสงส์กฐิน ก็จะเข้านิพพานเสียก่อน ฟังดูแล้วน่าทำไหม ร่วมกับเขาบ่อย ๆ"<o:p></o:p>

    กฐินเป็นกาลทานที่มีระยะเวลาเพียงเดือนเดียว และวัดหนึ่งๆ จะรับกฐินได้เพียงครั้งเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเป็นพระบรมพุทธานุญาตของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยพระองค์เอง กฐินจึงมีอานิสงส์มาก ต้องมีการ เตรียมแจ้งข่าว แก่หมู่ญาติหรือสหสามัคคีร่วมกัน ผู้ถวายกฐินต้องรู้พระวินัย ต้องกระทำพิธีถวายผ้ากฐินในพระอุโบสถ โดยสงฆ์ทุกรูปต้องญัตติ ต้องตั้งเจตนาถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ทุกรูปในวัดนั้น จึงจะได้อานิสงส์แก่ผู้ถวายโดยแท้จริง ดังเช่น
    ในสมัย พระพุทธเจ้าทรงพระนามว่า สมเด็จพระกัสสปพุทธเจ้า ความว่า : มีเศรษฐี ๔ คน ที่เคยเกิดเป็นเทวดาและมนุษย์ เวียนเกิดสับเปลี่ยนกันไป มีรูปงาม ปัญญาดี มียศ มีบริวาร มีวิมานสีทองดั่งสีของจีวร ที่อาศัยสุขสบายเป็นสัปปายะ เศรษฐีทั้ง ๔ ได้แก่ ชฏิละเศรษฐี เมณฑกะเศรษฐี โชติกะเศรษฐี และปุณณะเศรษฐี ได้ทอดกฐินสม่ำเสมอ และหมั่นทำบุญกุศลไม่ขาดสาย พร้อมทั้งเจริญศีล ภาวนา เมื่อมาเกิดในสมัยของสมเด็จพระสมณโคดมพุทธเจ้า ท่านเศรษฐีได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์
    บุญกุศลอื่นๆ นอกจากการทอดกฐินแล้ว ท่านเศรษฐีได้เคยปฏิบัติ ดังนี้อย่างสม่ำเสมอ
    ชฏิละเศรษฐี ชอบทำบุญด้วยการสละทรัพย์มากมาย
    เมณฑกะเศรษฐี ทำถนนถวายวัด ให้ความสะดวกแก่สงฆ์
    โชติกะเศรษฐี ชอบสร้างวัด
    ปุณณะเศรษฐี ปลูกต้นไม้ใหญ่ให้ร่มเงาในบริเวณอาราม


    นิทานกฐินครั้งโบราณกาล

    กฐินตามเรื่องของ โบราณจารย์ท่านกล่าวไว้ มีกฐินบูด กฐินเน่า กฐินเศร้าหมอง กฐินบริสุทธิ์ เป็นคำพูดของผู้เฒ่าผู้แก่กล่าวมาปรัมปรา ท่านยกนิทานมาเล่าว่า มีมหาเศรษฐีคนหนึ่ง มีสมบัติมากมาย มีเงิน ๘๐ โกฏิ จะทอดกฐิน ขณะถวายกฐินได้ประกาศเชิญเทวดา ไม่ว่าจะเป็นอากาศเทวา หรือภุมเทวา ให้มาอนุโมทนากฐินของเขา วันนั้นมีเทวดาองค์หนึ่งมาอนุโมทนากฐิน พอมาจวนจะถึงวัด (วัตร) มีต้นไทรใหญ่อยู่ต้นหนึ่ง บังเอิญมีบุรุษผู้หนึ่งอยู่ใต้ต้นไทรนั้น ได้ยินเสียงเทวดาจรกล่าวชวนรุกขเทวดาที่ต้นไทรให้ไปอนุโมทนากฐินของมหา เศรษฐี แต่รุกขเทวดาที่ต้นไทรบอกให้เทวดานั้นไปก่อนเถิด เมื่อนุโมทนาแล้ว เป็นอย่างไรให้กลับมาเล่าให้ฟังด้วย ปรากฏว่า
    กฐินกองที่ ๑ เมื่อเทวดาไปอนุโมทนา ปรากฎว่า เจ้าของกฐินและคณะศรัทธา แจกสุรายาเมา ผู้มาร่วมงานเมามายส่งเสียงอึกทึกครึกโครมไม่เกิดความสงบสงัด ไม่ปฏิบัติตามธรรม พอถวายกฐินและอนุโมทนาแล้ว เทวดาจรกลับมา บุรุษผู้นั้นยองอยู่คอยฟังข่าวจากเทวดาจร รุกขเทวดาถามว่า กฐินของมหาเศรษฐี เป็นอย่างไรบ้าง เทวดาจรกล่าวว่าเป็น "กฐินบูด" ทำไมจึงบูด เพราะมีการดื่มเหล้าเมายาเอิกเกริก เฮฮา โกลาหล ไม่มีความสงบ ไม่ปฏิบัติตามธรรม แล้วเทวดาก็จากไปบุรุษผู้นี้นำเรื่องนี้มาเล่าให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีเสียใจ ตั้งใจจะทำกฐินใหม่อีกครั้ง
    กฐินกองที่ ๒ คราวนี้ในงานกฐินไม่มีเหล้ายาเมามาเกี่ยวข้อง แต่มีการฆ่าวัว ฆ่าควาย ฆ่าหมู ฆ่าไก่ กันอย่างใหญ่โต เพื่อเลี้ยงดูผู้มาร่วมงานให้อิ่มหนำสำราญ โดยไม่คิดว่าการกระทำเช่นนั้น เป็นบาป เป็นกรรม เมื่อถึงคราวทอดกฐิน เศรษฐีให้รางวัลบุรุษคนนั้นให้ไปคอยดักฟังว่าเทวดาท่านจะกล่าวถึงงานกฐิน ครั้งนี้ว่าอย่างไร บุรุษผู้นั้นไปคอยดักฟังที่ต้นไทรต้นเก่า เมื่อถึงเวลาประกาศให้เทวดาไปอนุโมทนา รุกขเทวดาก็ไม่ไป แต่ขอให้เทวดาจรไปแล้วให้กลับมาเล่าให้ฟัง เทวดาจรกลับมาบอกว่า เป็น "กฐินเน่า" เพราะมีการฆ่าสัตว์ นำมาเลี้ยงกันมากมาย บุรุษผู้ดักฟังกลับไปเล่าให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีเสียใจอีก ก็จะทำกฐินอีกเพื่อแก้ไข เนื่องจากยังไม่พ้นเขตกฐินกาล
    กฐินกองที่ ๓ เศรษฐีรีบทำกฐินอย่างรีบด่วนเนื่องจากกลัวจะไม่ทันกับกาลสมัย คราวนี้เกิดอารมณ์โทสะ ดุด่าว่ากล่าวทาสกรรมกรต่างๆ นานา เนื่องจากไม่ทันใจ มีโทสะ ความโกรธอยู่ในจิต ใครทำอะไรให้ก็ไม่ถูกใจ เมื่อถึงเวลาทอดกฐิน แม้ไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ไม่มีสุรายาเมา แต่มีเสียงดุด่าว่ากล่าวผู้อื่น เศรษฐีให้รางวัลบุรุษผู้นั้นให้ไปคอยดักฟังข่าวจากเทวดาว่าจะพูดเกี่ยวกับตน อย่างไรบ้าง เทวดาจรมาชวนรุกขเทวดาที่ต้นไทรอีก แต่รุกขเทวดาไม่ไป ขอให้เทวดาจรกลับมาเล่าข่าวให้ฟัง เมื่ออนุโมทนาแล้ว เทวดาจรกลับมาบอกว่า กฐินคราวนี้สมบูรณ์ทุกอย่าง แต่เสียอย่างเดียว เป็น "กฐินเศร้าหมอง" เพราะจิตใจของเศรษฐี เจ้าภาพกฐินไม่บริสุทธิ์ เศร้าหมองด้วยความโกรธ บุรุษผู้นั้นไปบอกเศรษฐีตามที่ได้ยินมา เศรษฐีเสียใจยิ่ง เพราะทำกฐินมา ๓ ครั้งแล้ว ยังไม่กฐินครั้งใดบริสุทธิ์เลย จึงกระทำกฐินอีกเป็นครั้งที่ ๔
    กฐินกองที่ ๔ เศรษฐีกระทำความดี มีอารมณ์สดชื่น แจ่มใส ไม่โกรธใคร ไม่นำสุรายาเมามาเกี่ยวข้อง ไม่มีการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต เมื่อถึงเวลาทอดกฐิน ก็ประกาศ เชิญเทวดามาอนุโมทนาอีก คราวนี้เทวดาจรกลับไปเล่าให้รุกขเทวดาฟังว่า คราวนี้ "กฐินบริสุทธิ์" บุรุษผู้นั้นกลับมาเล่าให้เศรษฐีฟัง เศรษฐีดีใจ มีความสุข ได้อานิสงส์ของการทำกฐินคราวนี้ สมบูรณ์เต็มที่ สมความปรารถนา ทุกประการ

    อีกเรื่องหนึ่งเกี่ยวกับอานิสงส์กฐิน คือ ในสมัยครั้งศาสนาของพระกัสสปสัมมาสัมพุทธเจ้า มีบุรุษยาจกเข็ญใจไร้ที่พึ่งชาวเมืองพาราณสี ชื่อ "ติณบาล" อาศัยอยู่กับเศรษฐีผู้มั่งคั่งด้วยทรัพย์นับได้ ๘๐ โกฏิ โดยยอมตนเป็นคนรับใช้รักษาไร่หญ้าให้เศรษฐี เพื่อแลกกับอาหารที่หลับนอน เขามีความคิดว่า "ตัวเราเป็นคนยากจนเช่นนี้ เพราะไม่เคยทำบุญอันใดไว้ในชาติปางก่อน มาชาตินี้จึงตกอยู่ในฐานะผู้รับใช้คนอื่น ไร้ญาติขาดมิตร ไม่มีสมบัติติดตัวแม้แต่น้อย" เมื่อคิดได้ดังนี้ เขาจึงแบ่งอาหารที่เศรษฐีให้ออกเป็นวันละ ๒ ส่วน ส่วนหนึ่งถวายแก่พระภิกษุผู้เที่ยวบิณฑบาต อีกส่วนหนึ่งเอาไว้สำหรับตนเอง ไว้บริโภค ด้วยเดชกุศลผลบุญนั้น ท่านเศรษฐีเกิดสงสาร จึงเพิ่มอาหารให้อีก ๒ ส่วน เขาได้แบ่งอาหารนั้นออกเป็น ๓ ส่วน ส่วนที่หนึ่ง ถวายแก่พระภิกษุสงฆ์ ส่วนที่สอง แจกทานแก่คนยากจน ส่วนที่ ๓ เอาไว้บริโภคเอง เขาทำอยู่เช่นนั้นเป็นเวลาช้านาน
    ต่อมาเป็นวันออกพรรษา เหล่าชนผู้ศรัทธาในพระพุทธศาสนาต่างพากันทำบุญกฐินเป็นการใหญ่ แม้ท่านเศรษฐีก็เตรียมการจะถวายกฐิน จึงประกาศให้ประชาชนทั้งหลายทราบโดยทั่วกันว่า สิริธรรมเศรษฐี จะได้ทำบุญกฐิน ติณบาลได้ยินเกิดความเลื่อมใสขึ้นในใจทันทีว่า "กฐินทานนี้แหละจะเป็นทานอันประเสริฐ" เข้าไปถามเศรษฐีว่า กฐินทานมีอานิสงส์อย่างไร เศรษฐีตอบว่า "กฐินทานมีอานิสงส์มากมายนัก สมเด็จพระบรมศาสดาตรัสสรรเสริญว่าเป็นทานอันประเสริฐ" ติณบาลได้ยินดังนั้นเกิดความโสมนัสปลาบปลื้มเป็นอันมาก จึงพูดกับเศรษฐีว่า "กระผมมีความประสงค์จะร่วมอนุโมทนาในการบำเพ็ญทานครั้งนี้ด้วยท่านจะเริ่ม งานเมื่อใด" เศรษฐีตอบว่า "เราจะเริ่มงานเมื่อครบ ๗ วัน นับจากวันนี้ไป"
    ติณบาลได้ฟังก็ดีใจยิ่งนัก เขามีความศรัทธายินดีเต็มใจที่จะร่วมทำบุญกฐินนี้ด้วย แต่ตนเองเป็นคนยากจน ไม่มีเงินทองข้าวของเครื่องใช้จะอนุโมทนากับเศรษฐี จะมีแต่ก็ผ้าผืนเดียวที่นุ่งอยู่ ในที่สุดก็ตัดสินใจ เปลื้องผ้าที่นุ่งอยู่ไปซักฟอกให้สะอาด เอาใบไม้มาเย็บนุ่งแทนผ้า แล้วเอาผ้านั้นไปเร่ขายในตลาด ชาวตลาดพากันหัวเราะลั่น เมื่อเห็นอาการนั้น ติณบาลประกาศว่า "ท่านทั้งหลายหยุดก่อน อย่าหัวเราะข้าพเจ้าเลย ข้าพเจ้ายากจน ไม่มีผ้าจะนุ่ง จะขอนุ่งใบไม้แต่ในชาตินี้เท่านั้น ชาติหน้าจะนุ่งผ้าทิพย์" ในที่สุด เขาขายผ้านั้นได้ในราคา ๕ มาสก (๑ บาท) แล้วนำไปอนุโมทนากับเศรษฐี ก็พอดีกับบริวารกฐินทุกอย่างบริบูรณ์ เว้นแต่ขาดด้ายเย็บผ้าอย่างเดียวสำหรับเย็บไตรจีวร เศรษฐี ได้นำเงินนั้นซื้อด้ายเย็บไตรจีวร
    ในกาลครั้งนั้นเกิดโกลาหลไปทั่วในหมู่ชนตลอดจนเทพเทวาในสรวงสวรรค์ ต่างพากันแซ่ซ้องสรรเสริญ ทานของติณบาล เสียงสาธุการ ความเสียสละในทานของติณบาล ดังลั่นเข้าไปถึงพระราชวัง พระเจ้าพาราณสี ทรงทราบเหตุผล รับสั่งให้นำติณบาล ให้เข้าเฝ้า แต่ติณบาลไม่กล้าเข้ามาเพราะไม่มีผ้านุ่ง พระองค์ทรงตรัสถามความเป็นมาของเขาโดยตลอด ให้ราชบุรุษนำผ้าสาฎกราคาแสนตำลึงไปพระราชทานแก่ติณบาล นอกจากนั้นได้พระราชทานบ้านเมือง ทรัพย์สมบัติ ช้าง ม้า วัว ควาย ทาสี ทาสา เป็นอันมาก และโปรดให้ดำรงตำแหน่งเศรษฐี ในเมืองพาราณสี มีชื่อว่า "ติณบาลเศรษฐี" จำเดิมแต่นั้นเป็นต้นไป
    กาลต่อมา ติณบาลเศรษฐี เมื่อดำรงชีวิตอยู่พอสมควร แก่ อายุขัยแล้ว ก็จุติไปจากโลกมนุษย์ ไปปฏิสนธิเป็นเทพบุตรในดาวดึงส์สวรรค์เสวยทิพยสมบัติอยู่ในวิมานแก้ว สูง ๕ โยชน์ (๑ โยชน์ = ๑๖ กิโลเมตร) มีนางเทพอัปสร หนึ่งหมื่นเป็นบริวาร ส่วนสิริธรรมเศรษฐี ครั้นจุติจากโลกมนุษย์แล้ว ไปปฏิสนธิในดาวดึงส์สวรรค์ มีนางฟ้าเป็นบริวาร เช่นเดียวกับ ติณบาลเศรษฐี ดังนี้
    นี่คือ อานิสงส์ของกฐินทานที่ติณบาลได้ตั้งใจกระทำด้วยความบริสุทธิ์ใจ ในทานมัยในเขตบุญของพระพุทธศาสนา

    กฐิน เป็นเรื่องบุญกิริยาวัตถุ ๑๐ โดยเฉพาะในเรื่องของทานมัยที่เป็นไปถูกต้องตามพระธรรมวินัย ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ เป็นการสร้างมหากุศลของจิตที่เป็น “ญาณ” รู้ถูกต้องตามพระพุทธธรรมคำสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า คำว่า “บุญ” หมายถึง มหากุศลตั้งแต่กามาวจรมหากุศล รูปาวจรมหากุศล อรูปาวจรมหากุศล โลกุตตรมหากุศล คำว่า “กิริยา” หมายถึง มหากิริยาจิตของพระอรหันต์ คำว่า “วัตถุ” หมายถึง วัตถุธรรม ๗๒ ได้แก่ : จิต ๑ เจตสิก ๕๒ นิปผันนรูป ๑๘ นิพพาน ๑ วัตถุในภาษาโลก แปลว่า ที่ตั้ง หรือวัตถุสิ่งของ แต่ในภาษาธรรม หมายถึง บุคคลผู้มีจิต เจตสิก รูป (มนุษย์ เทวดา พรหม) ผู้สามารถสร้างบุญมหากุศลนี้ได้ และสามารถพัฒนาไปสู่ความเป็นพระอริยบุคคลไปตามลำดับจนถึงพระอรหันต์ แม้สัตว์เดรัจฉานก็สามารถสร้างบุญมหากุศลได้ สร้างมหากุศลเก็บเป็นมหาวิบาก ส่งผลให้ได้เกิดเป็นมนุษย์หรือเทวดา การจะถึงกระแสโลกุตตระ ต้องเปลี่ยนภพภูมิเป็นมนุษย์หรือเทวดาเสียก่อน การจะพัฒนาไปสู่กระแสโลกุตตระได้นั้น จะต้องน้อมนำกระแสธรรม ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ ของพระผู้มีพระภาคเจ้าเข้าสู่จิต แล้วจิตจะพัฒนาไปสู่กระแสโลกุตตระ โดยมีพระผู้มีพระภาคเจ้า (พระพุทธพจน์) เป็นผู้นำไป มิใช่เราจะปฏิบัติได้เอง หรือเราจะมีตัวรู้ผุดขึ้นมาเอง หรือปฏิบัติไปตามคำสอนของอาจารย์ที่มิได้นำพุทธธรรมมาสอน แล้วเราจะเข้าถึงธรรมได้อย่างไร การปฏิบัติโดยปราศจากคำสอนของพระพุทธเจ้า ล้วนนำไปสู่อบายภูมิ ทั้งสิ้น

    <o:p></o:p>
     
  4. นางสาวอยู่จ้ะ

    นางสาวอยู่จ้ะ ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    1,041
    ค่าพลัง:
    +3,865
    ขอบคุณ และ สาธุค่ะ, เมื่อก่อน
    ทราบมาว่าอานิสงส์กฐินทานนั้นมาก
    แต่ไม่เคยรู้ว่าเพราะเหตุใด ตอนนี้ก็
    รู้แล้ว ขอบคุณค่ะ
     
  5. supphakrit

    supphakrit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มกราคม 2010
    โพสต์:
    138
    ค่าพลัง:
    +178
    เนื่องจากการทอดกฐินเป็นสังฆทานที่จำกัดกาล นอกจากจะ อานิสงส์มหาศาลแล้ว ยังทำง่ายๆ ไม่ต้องเสียเวลาแสวงหา-เลือกพระที่เป็นพระจริงๆ ให้เสียเวลา <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    - และหากเราโชคดี ได้ถวายกับตัวแทนสงฆ์ที่มารับสังฆทานเป็นพระอริยเจ้านี่ อานิสงส์ยิ่งจะทวีเป็นแสนๆ เท่า<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    - และยิ่งเป็นพระอริยเจ้าระดับพระอรหันต์ด้วยแล้วยิ่งทวีคูณขึ้นไปอีก <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    - และถ้าหากเป็นพระอรหันต์ที่ออกจากสมาบัติมารับสังฆทานด้วยแล้ว ยิ่งมีอานิสงส์อภิมหาศาล<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เฉกเช่น ในสมัยองค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันเสวยพระชาติเป็น "สุเมธดาบส" สมเด็จพระพุทธทีปังกรทรงต้องการให้ท่านสุเมธดาบสบารมีเต็มเร็วๆ จึงตรัสสั่งให้พระอรหันต์ที่ติดตามนับแสนรูปเข้าสมาบัติก่อนโดยมีพระองค์เป็นประธาน หลังจากนั้นจึงรับการถวายสังฆทานจากท่านสุเมธดาบส

    สังฆทานที่จะได้อานิสงส์ครบนั้น หลวงพ่อท่านบอกว่าควรมีพระพุทธรูปหน้าตักตั้งแต่ ๕ นิ้วขึ้นไป พร้อมปัจจัย ๔ ครบถ้วน และถ้าเราทำเป็นประจำอานิสงส์คือ "สวรรค์ชั้นนิมมานรดี" ความจริงสวรรค์ชั้นนี้เป็นที่อยู่ของท่านมีทรงสมบัติและได้อภิญญา
    แต่ไม่ได้เข้าฌานตาย ผมขอยกตัวอย่างบางตอนที่หลวงพ่อท่านเล่าไว้ใน หนังสือธรรมปฏิบัติเล่ม ๑๐ หน้า ๔๔-๔๘ ขอคัดบางตอนที่ตรงประเด็นดังนี้<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    -------------------------------------------<o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    ...ก็เป็นอันว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททำบุญวันนี้ ๒ อย่าง ใช้ทั้งข้าวสุก และข้าวสาร คนที่ใส่บาตรข้าวสารระวังให้ดีนะตายไปท้องขึ้นนะ แต่ความจริงเขามีผล ข้าวสารใช้วันหลังได้ใช่ไหม

    แต่ว่าบุญใส่บาตรข้าวสุกก็ดี ทำบุญใส่ข้าวสารก็ดี ด้วยปัจจัยเงินทองก็ตาม หรือดอกไม้จัดเป็นการบูชา ถือว่าเป็น พุทธบูชา คือบูชาพระพุทธเจ้าด้วย เป็น ธรรมะบูชา บูชาพระธรรมด้วย เป็น สังฆบูชา บูชาพระอริยสงฆ์ด้วย ถ้าจัดเป็นทานทุกส่วนที่ท่านทำเป็นสังฆทานทั้งหมด

    และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสังฆทานนี่บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีอานิสงส์มากเป็นกรณีพิเศษ องค์สมเด็จพระบรมโลกเชิษฐ์ตรัสว่า

    "การถวายทานกับพระองค์ ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่าสังฆทาน ๑ ครั้ง"

    เห็นไหม บรรดาญาติโยมพุทธบริษัททำบุญเมื่อวานก็ดี วันนี้ก็ดี เป็นการถวายสังฆทาน ถวายกับพระกลุ่มใหญ่ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งการถวายสังฆทานนี่ทุกคนถ้าเวลาจะตาย จิตใจนึกถึงสังฆทานที่ท่านถวายแล้ว ถวายวันนี้ก็ตาม วันก่อนก็ตาม วันพระทุกวันพระที่ท่านมาใส่บาตรเป็นการถวายสังฆทานเหมือนกัน

    รวมความว่าสังฆทานนี่มีอานิสงส์ใหญ่ ถ้าตายจากความเป็นคน ที่อยู่ของคนถวายสังฆทานก็คือ ชั้นนิมมานรดี ชั้นที่ ๕ แต่ว่าส่วนใหญ่คนถวายสังฆทานไปเกิด "ชั้นดาวดึงส์" กันมาก เพราะอะไร เพราะว่าไม่รู้จักชั้นที่ ๕ จิตใจตั้งใจจะไปดาวดึงส์ก็ไปอยู่ดาวดึงส์ อย่างตัวอย่างมีอยู่ในพระไตรปิฏกมีอยู่ว่า

    ในสมัยสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ เวลานั้นมีหญิง ๒ คน พี่สาวชอบถวายทานเฉพาะพระสงฆ์ที่เขาชอบ เขาชอบองค์ไหนก็ถวายองค์นั้น ก็ได้บุญใหญ่ โดยมากส่วนมากเวลานั้นมีพระอรหันต์ อานิสงส์สูง
    ทีนี้น้องสาวจะถวายทานบ้าง เจอะพระอรหันต์องค์หนึ่งท่านบอกว่า ถวายทานอาตมาน่ะดีอานิสงส์มาก เพราะอาตมาเป็นพระอรหันต์ แต่ว่าถึงแม้จะเป็นพระอรหันต์ก็ตาม การถวายทานมีอานิสงส์สู้ถวายสังฆทานไม่ได้ ขอให้โยมถวายเป็นสังฆทานเถอะ โยมคนนั้นก็ถวายเป็นสังฆทาน

    เมื่อตายแล้วต่างคนก็ต่างเข้าไปสู่สวรรค์ พี่สาวชอบถวายทานเป็นส่วนบุคคล เลยไปเกิดเป็นนางฟ้าบน สวรรค์ชั้นดาวดึงสเทวโลก น้องสาวไปเกิดบน ชั้นนิมมานรดี ชั้นที่ ๕ ก็มีรัศมีกายสว่างกว่า สวยกว่าพี่สาวมาก

    วันหนึ่งน้องสาวมาเยี่ยมพี่สาวที่ ชั้นดาวดึงส์ ยืนคุยกัน พระอินทร์ ก็มองดูคิดว่า นางฟ้าองค์นี้มาจากไหน สวยมาก แสงสว่างก็มาก เครื่องประดับตัวก็สวย เมื่อน้องสาวลากลับไปแล้ว พระอินทร์ก็เรียกพี่สาวมาหา

    ถามว่า "นางฟ้าที่มาคุยกับเธอเมื่อกี้มาจากไหน"

    เธอก็ตอบว่า "มาจากชั้นนิมมานรดี ชั้นที่ ๕ เขาเป็นน้องสาว"

    พระอินทร์ก็ถามว่า "ในสมัยที่เป็นมนุษย์ เธอชอบทำบุญอะไร จึงมีรูปร่างหน้าตาสวย เครื่องแต่งกายก็สวยมาก แสงสว่างก็สว่างมาก" <o:p></o:p>

    เธอก็บอกว่า "น้องสาวชอบถวายสังฆทาน"

    นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท เฉพาะสังฆทานน่ะ ตายจากความเป็นคนไปเกิดชั้นที่ ๕ ของสวรรค์ ถ้ากลับมาเกิดเป็นคนเมื่อไหร่ องค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาตรัสว่า >>>

    "คนที่ถวายสังฆทานแล้วครั้งหนึ่งในชีวิต แม้แต่ครั้งเดียว ถวายด้วยศรัทธาแท้ ในสถานที่ใดที่เต็มไปด้วยความยากจนเข็ญใจมีความแร้นแค้น คนถวายสังฆทานแล้วจะไม่ไปเกิดที่นั่น ในดินแดนเต็มไปด้วยความร่ำรวยมีความสุข มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ จะเกิดที่นั่น"

    เป็นอันว่า คนที่ถวายสังฆทาน บรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่าน วันนี้ท่านถวายสังฆทานกันแล้ว ผลที่จะพึงได้ก็คือ

    ๑. เกิดเป็นนางฟ้า หรือเทวดาชั้นที่ ๕

    ประการที่ ๒ ท่านเกิดใหม่กี่ชาติก็ตาม ยังไม่ถึงนิพพานเพียงใด คำว่ายากจนเข็ญใจจะไม่มีในท่าน

    แล้วก็ประการที่ ๓ ที่ทายกบอกว่า มะตะกะ ภัตตานิ การถวายวันนี้ถวายให้แก่คนตาย วันนี้พระยายมปล่อยคน ปล่อยเฉพาะคนที่รอการสอบสวน สัตว์นรกปล่อยไม่ได้นะ เปรต อสุรกาย ปล่อยไม่ได้ ปล่อยเฉพาะคนที่รอการสอบสวน คนที่ตายไปแล้วมีบุญน้อยพอสมควร มีบาปน้อย ไม่แน่ใจว่าจะไปสวรรค์นรก ก็ไปรอการสอบสวนก่อน แต่รอมากนับแสน แต่การรอของสัตว์พวกนี้ก็รอนานเพราะว่า ๕๐ ปีของเราเป็น ๑ วันในเขตของพระยายม

    ฉะนั้นวันนี้ปล่อยสัตว์ออกมา ขอบรรดาญาติโยมพุทธบริษัททั้งหลายถ้วนหน้า หลังจากทำบุญจบแล้วให้ตั้งใจอุทิศส่วนกุศลให้แก่บุคคลทั้งหลายเหล่านั้น ที่ใช่ญาติไม่ใช่ญาติ ตั้งใจโดยเฉพาะนะ ถ้าญาติออกชื่อได้จะดีมาก ถ้าออกชื่อได้นี่เขาได้แน่นอน จะพ้นการสอบสวนไปสวรรค์ทันที

    สำหรับที่ไม่ใช่ญาติ หรือญาติออกชื่อไม่ได้ ก็นึกในใจก็แล้วกันว่า ญาติก็ดี ไม่ใช่ญาติก็ดี ที่มีความสุขก็ตาม มีความทุกข์ก็ตาม ขอให้โมทนาผลบุญที่เราทำในวันนี้ ถ้าเขามีโอกาสโมทนาได้ เขาจะมีความสุข ละจากสภาพจากความเป็นสัมภเวสีไปสวรรค์ทันที...<o:p></o:p>

    <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    กรณีตัวอย่างกำลังบุญถวายสังฆทาน <o:p></o:p>
    <o:p></o:p>
    เรื่อง เผาตามประเพณีจีน (กงเต็ก) มีหมอที่จังหวัดพิจิตร หมอผู้หญิงนะ แกเคยไปเจริญพระกรรมฐานที่วัด พ่อเป็นจีน เวลาพ่อแกตาย แกทำบุญเต็มที่ทั้งประเพณีไทย และประเพณีจีน <o:p></o:p>
    ปรากฎว่าวันหนึ่งแกนั่งเจริญพระกรรมฐานอยู่ เตี่ยก็มาบอกว่า “อีหนู! ตึกขี้เถ้า รถยนต์หรือแบงค์ขี้เถ้าที่มึงเผาไปกูไม่ได้รับเลย ผีเขาไม่ใช้ขี้เถ้า”

    แกก็ถามว่า “จะให้ทำยังไงล่ะ”

    เตี่ยบอกว่า “ถวาย สังฆทานให้กูก็แล้วกัน ที่เอ็งทำบุญไปครั้งนั้น เตี่ยไม่ได้รับเลย และเอ็งก็ไม่ได้บุญด้วย แต่ที่เตี่ยไม่ตกนรกเพราะเตี่ยนึกถึงพระพุทธเจ้าอยู่”

    ลูกสาวถามว่า “จะเอาอะไรบ้าง”

    เตี่ยบอกว่า“ ถ้า มีพระพุทธรูปหน้าตักกว้าง ๕ นิ้วขึ้นไป เตี่ยจะมีรัศมีกายสว่างมาก เพราะเทวดาหรือพรหมเขาถือ ความสว่าง ของร่างกาย ไม่ได้ดูที่เครื่องแต่งตัว ถ้ามีผ้าจีวรด้วยเครื่องประดับของเตี่ยจะสวยขึ้นกว่าเดิม และถ้ามีอาหารด้วยความเป็นทิพย์ของร่างกายจะดีกว่าเก่า”

    แล้วแกขึ้น รถมาที่นี่มาขอถวายสังฆทาน ก็บอกแกว่าจะถวายสังฆทานที่ไหนก็ได้ แกก็ไม่ยอม ถามว่าทำไมไม่ถวายวัดใกล้ๆ แกตอบว่าไม่ไว้ใจ กลัวเขาจะเอาพระพุทธรูปไปขาย ก็เลยมาถวายที่นี่ แกถามว่า เตี่ยดีขึ้นหรือไม่ ก็ตอบว่า เป็นเรื่องของคุณ ต้องสัมผัสกันเอง เวลาทำสมาธิให้ทำใจปกติ อย่างไปนึกถึงเตี่ย จิตฟุ้งซ่านมันจะไม่เห็น แกก็พยายามทำใจแบบนั้น

    ตอนเช้าแกก็มาบอกว่า แกดีใจนอนไม่หลับ เตี่ย แกมาแพรวพราวสวยระยับกว่าเก่า และเห็นตัวเองว่าออกไปคุยกับเตี่ย ก็สวยคล้ายเตี่ย เพราะว่าการถวายสังฆทานให้คนตายนั้นเราเองก็ต้องได้เต็ม ๑๐๐ เปอร์เซ็นต์ และผีต้องโมทนาจึงจะได้ บุญก็ยังอยู่ที่เราเต็มที่
    ในเมื่อแกทำเอง อานิสงส์สูง เพราะ กังวลน้อย บุญมาก กังวลมากบุญน้อย ถ้าจัดงานเป็นพิเศษจะไม่ได้บุญเลย งานยิ่งใหญ่เท่าไร บุญยิ่งหดมากเท่านั้น พอเริ่มงานก็ฆ่าปลา ฆ่าเป็ด ฆ่าไก่ บาปเข้ามาก่อน บุญมันเข้าไม่ได้มันไม่ถูกกัน

    บุญเหมือนแสงสว่าง บาปเหมือนกับความมืด ที่ไหนมืดที่นั้นต้องไม่มีสว่าง ถ้ามีสว่างมันจะมืดหรือ ถ้าเขาฆ่าไว้เยอะแยะแล้วเราไม่ได้สั่งมันไม่มีอะไร มันจำเป็นนักหรือว่าเวลาทำบุญต้อง เลี้ยงเหล้ากันด้วย จะต้องฆ่าสัตว์ พระองค์ไหนเขาสั่ง ลงทุนทำบุญทำศพหมดไป ๕-๖ หมื่น พระได้ไปกี่สตางค์ ค่าอาหารพระกินไปสักกี่ช้อน มันเป็นหมื่นหรือเปล่า เงินหมื่นจ่ายอะไรกันแน่ บางทีหมดค่าเหล้าไปกี่พันก็ไม่รู้ หมดค่าเชือดไก่เชือดปลาเท่าไร อันนี้ตัวบาปทั้งนั้น ไม่ใช่เรื่องบุญแล้วอ้างว่าทำบุญ ใช่ไหม

    การถวายสังฆทานนี่ดีที่สุด สังฆทานนี่บุญใหญ่ด้วย กังวลน้อยด้วย ไปซื้อพระพุทธรูปมาองค์หนึ่ง ซื้อไม่ต้องโมโห อย่าไปต่อขอลดเขามากนักก็แล้วกัน และก็มีอะไร เขาไม่จำกัด ข้าวถ้วย แกงถ้วย ขนมถ้วย น้ำสักแก้ว เขาก็ไม่ว่าอะไร เราคนเดียวทำ ได้เลยเรียบร้อย นี่บาปนิดเดียวก็ไม่มี ตัวกังวลก็ไม่มี บุญก็บริสุทธิ์ และบุญสังฆทานเป็นบุญใหญ่มาก...

    ที่พระพุทธเจ้าบอกว่า ทำบุญกับท่าน ๑๐๐ ครั้ง มีผลไม่เท่ากับถวายสังฆทาน ๑ ครั้ง แล้วลงทุนก็ไม่มาก กังวลก็ไม่มี

    ส่วน การอุทิศ ส่วนกุศล เคยถามพระยายมท่านว่า แม้แต่พระที่อยู่นิพพานยังทราบการทำบุญของคน คนทำความดีนี่ พระนิพานทราบ แล้วท่านก็โมทนา นิพพานอยู่อันดับสูงสุดมาก ก็นรกนี่แค่ตูดหมาจะโมทนาไม่ได้หรือ...

    พระยายมบอกว่า จะเปรียบเทียบให้ฟัง สมมุติว่าตัวท่านนี่นะ ผมเอาไฟเผาด้วย เอาหอกดาบขวานมาฟันมาแทงด้วย เจ็บอยู่แบบนั้น ร้อนก็ร้อน ใครเขาส่งขนมให้กิน ท่านจะกินได้ไหม ท่านเปรียบเทียบง่ายจริง ๆ กินไม่ได้ ร้อน

    ท่านก็บอกว่า ทุกขเวทนามันมาก ไม่มีโอกาสโมทนา นรกมี ๒ อันดับ ขุมใหญ่กับบริวาร กับยมโลกียนรก ถ้ายมโลกียนรกต้องแบ่งขั้น ถ้าหนักเกินไปก็ไม่มีสิทธิ์โมทนา ถ้าปานกลางไม่หนักมากอาจจะโมทนาได้เลย โดยเฉพาะถ้าเป็นบุญสังฆทานเห็นจะสู้ไม่ไหว ถ้าถามว่าสังฆทานดึงคนตกนรกได้ไหม ควรจะตอบว่ายังดึงไม่ได้ดีกว่า
    <o:p></o:p>
    ตัวอย่าง
    ขอเชิญร่วมทอดกฐินสามัคคีประจำปี พ.ศ.2552 108 วัดกรรมฐาน (เพิ่มอีก338 วัดรวมเป็น 446 วัด)พัฒนาคุณธรรมคู่พัฒนาเศรษฐกิจ
    ถวายเป็นพระราชกุศลแด่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์
    กลุ่มนิตยสารโลกทิพย์-โลกลี้ลับ สถาบันศึกษาพุทธศาสนาทางไปรษณีย์/net สภาชาวพุทธ มูลนิธิโลกทิพย์ ได้เป็นแกนนำรวมศรัทธาชาวพุทธทั่วโลก ในการทอดกฐินสามัคคี เพื่อทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาหลายปีแล้ว
    สำหรับกาลกฐินในปี 2552 นี้ ระหว่างวันเสาร์ที่ 27 ตุลาคม ถึงวันเสาร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ.2552
    กระผมนายมงคล เนินอุไร และ นางพนิดา ชอบวณิชชา(มารดา) ได้ร่วมกันบริจาคเป็นประเดิมไว้วัดละ 500 บาท เป็นเงิน 54,000 บาท พร้อมกันนั้นได้เชิญชวนผู้อ่านนิตยสารโลกทิพย์-โลกลี้ลับทั้งในและนอกประเทศให้ร่วมในมหากุศลครั้งนี้ด้วย<O<?xml:namespace prefix = v ns = "urn:schemas-microsoft-com:vml" /><v:shapetype id=_x0000_t75 stroked="f" filled="f" path="m@4@5l@4@11@9@11@9@5xe" o:preferrelative="t" o:spt="75" coordsize="21600,21600"> <v:stroke joinstyle="miter"></v:stroke><v:formulas><v:f eqn="if lineDrawn pixelLineWidth 0"></v:f><v:f eqn="sum @0 1 0"></v:f><v:f eqn="sum 0 0 @1"></v:f><v:f eqn="prod @2 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="prod @3 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @0 0 1"></v:f><v:f eqn="prod @6 1 2"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelWidth"></v:f><v:f eqn="sum @8 21600 0"></v:f><v:f eqn="prod @7 21600 pixelHeight"></v:f><v:f eqn="sum @10 21600 0"></v:f></v:formulas><v:path o:connecttype="rect" gradientshapeok="t" o:extrusionok="f"></v:path><o:lock aspectratio="t" v:ext="edit"></o:lock></v:shapetype><v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=_x0000_i1042 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape></O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=_x0000_i1041 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape>
    สามารถร่วมทำบุญได้โดย<O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=_x0000_i1040 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape></O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_5 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1039"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape>
    1.ส่งเงินทาง ธนาณัติ ในนาม นายมงคล เนินอุไร 481/11 ถนนประชาสงเคราะห์ซอย2 เขตดินแดง กรุงเทพฯ10400<O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_6 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1038"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape></O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_7 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1037"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape>
    2.โอนเงินผ่านบัญชีออมทรัพย์ ธนาคารกสิกรไทย สาขาถนนดินแดง ชื่อบัญชี นายมงคล เนินอุไร หมายเลขบัญชี 049-2-08710-8 (โปรดส่งโทรสารเพื่อแจ้งเอกสารการโอน พร้อมชื่อและที่อยู่กลับมายังสำนักงาน หลังทำการโอนเรียบร้อยแล้ว)<O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_8 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1036"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape></O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_9 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1035"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape>
    3.สอบถามรายละเอียด โทร.0-2248-3291-3 โทรสาร0-2246-6463<O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_10 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1034"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape></O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_11 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1033"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape>
    ที่มาข้อมูล หนังสือโลกทิพย์ หน้าที่98 ฉบับที่472 ปีที่28 กรกรฎาคม พ.ศ.2552<O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_12 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1032"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape></O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_13 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1031"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape>
    ขออนุโมทนากับทุกท่านที่ร่วมกุศลมา ณ ที่นี้ สาธุ...<O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_14 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1030"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape></O<v:shape style="WIDTH: 14.25pt; HEIGHT: 14.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_15 alt="http://palungjit.org/images/smilies/tongue-smile.gif" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1029"> <v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image001.gif" o:title="tongue-smile"></v:imagedata></v:shape><o:p></o:p>
    หมายเหตุ นี้คือตัวอย่างการทอดกฐิน 108 วัดกรรมฐานครับ เมื่อปี 2552 ใครที่มีจิตกุศล มีศรัทธาก็เชิญโอนเงินเข้าบัญชีข้างต้นได้เลยครับ จะวัดละบาท สองบาทก็ได้หรือตามกำลังศรัทธาครับ ที่ผมแนะนำให้ถวายกฐินสามัคคีกับวัดกรรมฐาน สาเหตุเนื่องจากว่า เป็นพระสุปฏิปันโน คือบวชเพื่อไปนิพพาน ชำระกิเลส ถือเป็นเนื้อนาบุญอันเลิศ ตามตัวหนังสือสีเขียว ข้างบนครับ <o:p></o:p>
    ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพกฐินสามัคคี เพื่อนำปัจจัยสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ๔ องค์ และวิหารทาน ดังนี้

    <v:shape style="WIDTH: 169.5pt; HEIGHT: 116.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_1 alt="http://www.pranippan.com/new/board/uploads/post-1-1313044241.jpg" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1028"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image002.jpg" o:title="post-1-1313044241"></v:imagedata></v:shape><v:shape style="WIDTH: 169.5pt; HEIGHT: 116.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_2 alt="http://www.pranippan.com/new/board/uploads/post-1-1313043809.jpg" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1027"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image003.jpg" o:title="post-1-1313043809"></v:imagedata></v:shape><v:shape style="WIDTH: 169.5pt; HEIGHT: 116.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_3 alt="http://www.pranippan.com/new/board/uploads/post-1-1313043822.jpg" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1026"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image004.jpg" o:title="post-1-1313043822"></v:imagedata></v:shape><v:shape style="WIDTH: 169.5pt; HEIGHT: 116.25pt; VISIBILITY: visible; mso-wrap-style: square" id=Picture_x0020_4 alt="http://www.pranippan.com/new/board/uploads/post-1-1313043836.jpg" type="#_x0000_t75" o:spid="_x0000_i1025"><v:imagedata src="file:///C:\DOCUME~1\BOSS\LOCALS~1\Temp\msohtmlclip1\01\clip_image005.jpg" o:title="post-1-1313043836"></v:imagedata></v:shape>

    ๑. วันเสาร์ที่ ๑๕ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๓.๓๐ น.
    ทอดกฐินสามัคคีเพื่อนำปัจจัยสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ทรงเครื่องมหาจักรพรรดิ ปางมารวิชัย หน้าตัก ๔ ศอก ๙ นิ้ว และมหาวิหาร ณ วัดจันทร์ตะวันตก อ.เมือง จ.พิษณุโลก

    ๒. วันอาทิตย์ที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๕.๐๐ น.
    ทอดกฐินสามัคคีเพื่อนำปัจจัยสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ปางมารวิชัย หน้าตัก ๖๐ เมตร มีซุ้มเรือนแก้ว และวิหาร ณ วัดใหม่ฉายหิรัญ อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี

    ๓. วันอาทิตย์ที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๔ เวลา ๑๒.๓๐ น.
    ทอดกฐินสามัคคีเพื่อนำปัจจัยสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ปางมารวิชัย มีซุ้มเรือนแก้ว หน้าตัก ๔ ศอก และวิหาร ณ สำนักสงฆ์มะอึกแรด อ.บ่อไร่ จ. ตราด

    ๔. วันอาทิตย์ที่ ๖ พฤศจิกายน ๒๕๕๔ เวลา ๑๒.๓๐ น.
    ทอดกฐินสามัคคีเพื่อนำปัจจัยสร้างพระพุทธรูปสมเด็จองค์ปฐม ปางมารวิชัย มีซุ้มเรือนแก้ว หน้าตัก ๔ ศอก และวิหาร ณ สำนักวิปัสสนาสัจธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

    - ต้องการร่วมเดินทางไปทำบุญด้วยกัน โทร. ๐๘ - ๖๐๐๘๖๐๐๙

     
  6. สองเสาร์

    สองเสาร์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2011
    โพสต์:
    254
    ค่าพลัง:
    +124
    อนุโมทนาบุญด้วยคะ
    สาธุ สาธุ สาธุ
    ขอให้ท่านเจริญในธรรมยิ่งๆ ขึ้นไปคะ
     
  7. Way Paramaphurich

    Way Paramaphurich Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2011
    โพสต์:
    6
    ค่าพลัง:
    +32
    กำลังจะทอดกฐินปีนี้พอดี ขออนุญาติcopyข้อมูลไปบอกบุญต่อนะครับ^^
     

แชร์หน้านี้

Loading...