จิตไม่เกิดดับ เพราะจิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิตจึงไม่ใช่กองทุกข์

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย ธรรมภูต, 16 สิงหาคม 2011.

  1. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    โดยทั่วๆไปแล้ว เมื่อได้ยินได้ฟังจากตำรานิยมที่พูดกันว่า "จิต" เกิดดับ ก็เชื่อว่า "จิต" เกิดดับตามๆกันไป โดยไม่เคยพิจารณาให้ถ่องแท้ ขาดหลักกาลามสูตร ทั้งๆที่เรื่องแบบนี้ โดยความเป็นจริงเราสามารถพิสูจน์ได้โดยไม่ยากเย็นอะไรเลย

    ตามที่พูดกันว่า "จิต" เกิดดับเร็วมาก ชั่วลัดนิ้วมือเดียว เกิดๆดับๆเป็นแสนโกฏิครั้งนั้น ใครเป็นผู้นับล่ะ? จึงพูดออกมาได้ว่าเกิดๆดับๆถึงแสนโกฏิครั้ง? ถ้าไม่มีผู้นับหรือมีสิ่งที่ยืนตัวรู้อยู่ตลอดระยะเวลาของการเกิดๆดับๆนั้น ก็แสดงว่าสอนแบบเดาสวดกันเอาเองตามมติชอบใจเท่านั้น ไม่ใช่หลักของพระพุทธศาสนาแน่นอน

    เพราะพระพุทธศาสนานั้น เป็นศาสนาแห่งเหตุและผลที่สามารถตริตรองตามและปฏิบัติให้รู้เห็นตามความเป็นจริงได้ พระพุทธองค์จึงทรงได้ชื่อว่าเป็น "ศาสดาเอกของโลก" พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงได้มาแบบฟลุ๊กๆหรือเดาๆเอาเท่านั้น

    ตำราที่มีขึ้นมาในภายหลัง มักกล่าวไว้ว่า "จิต" เกิดๆดับๆตลอดเวลารวดเร็วมาก ส่วนพระพุทธพจน์นั้น มักกล่าวว่า "จิต" มีการเปลี่ยนแปลง แส่ส่าย กวัดแกว่ง ซัดส่าย ฯลฯ ไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดตลอดเวลาอย่างรวดเร็วมาก ไม่ใช่ "จิต" เกิดๆดับๆ ที่เกิดๆดับๆคือเงาของจิตหรืออาการของจิต (จิตสังขาร) ที่เป็นไปตามอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดต่างๆ

    เมื่อเรารู้อย่างนี้แล้ว เราควรหาธรรมที่เป็นเครื่องแก้ มาเพื่อพิจารณาให้รู้เห็นตามความเป็นจริง โดยนำเอาธรรมเครื่องแก้ "ร้อนเอาเย็นเข้าแก้ เร็วเอาช้าเข้าแก้ มืดเอาสว่างเข้าแก้ เกียจคร้านเอาความเพียรพยายามเข้าแก้ ฯลฯ" การนำเอาธรรมมาเป็นเครื่องแก้กันนั้น เพื่อพิสูจน์ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ไม่ใช่เชื่อโดยขาดการพิสูจน์ให้เห็นจริง

    มีพระพุทธพจน์รับรอง และพ่อแม่ครูบาอาจารย์หลายท่านได้สอนอย่างแยบคายไว้ว่า ธรรมอันเป็นเครื่องแก้ "จิต" ที่กลับกลอก ดิ้นรน เปลี่ยนแปลง แส่ส่ายออกไปหากิเลสตลอดระยะเวลาอย่างรวดเร็ว นั่นก็คือการลงมือปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา(สัมมาสมาธิ) ที่เรียกว่ากายคตานุสสติกรรมฐาน หรือพิจารณากายในกาย (อานาปานสติ) เป็นภายใน ดังใน มหาสติปัฏฐานสูตร ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า

    "ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์
    เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญแห่งทุกข์และโทมนัส
    เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน
    หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่า
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี
    นั่งคู้บัลลังก์ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า

    เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น

    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน
    เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาว
    เมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด

    ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน
    เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว
    เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว
    เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น
    เมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวงหายใจออก
    ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า"


    พระพุทธพจน์ทรงแสดงธรรมอันเป็นเครื่องแก้จิต ที่มีความกลับกลอก แส่ส่ายดิ้นรน กวัดแกว่ง เปลี่ยนแปลง ฯลฯ ออกไปหากิเลสอย่างรวดเร็วนั้น ด้วยอานาปานสติกรรมฐาน การกำหนดรู้ลมหายใจเข้าออก

    พระบาลีกล่าวไว้ว่า รู้ชัดว่า ทุกลมหายใจเข้าออก ไม่ว่าสั้น ยาว หยาบ ละเอียด กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า-ออก

    มีตรงไหนครับที่พระองค์ทรงตัดว่าจิตเกิดๆดับๆ มีแต่พระองค์ทรงกล่าวไว่ว่า "รู้ชัดว่า" การรู้ชัดว่านั้น ต้องรู้อยู่ตลอดระยะเวลาของกองลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า-ออก ถ้าจิตเกิดๆดับๆ ตลอดระยะเวลาแล้ว พระพุทธองค์จะทรงตรัสว่า "รู้ชัดว่า" ได้ล่ะหรือ?

    อย่าเชื่ออะไร โดยขาดการพิจารณาตริตรองตามและไม่ได้ลงมือปฏิบัติ ให้รู้เห็นตามความเป็นจริง ควรจะนำมาสมาทาน เพื่อพิสูจน์ให้เห็นชัดก่อน(รู้ชัดว่า) จึงค่อยเชื่อก็ยังไม่สาย

    แม้ในกาลามสูตร พระพุทธองค์ท่านเองก็ตรัสไว้ชัดเจนแล้วว่า อย่าเพิ่งเชื่อ ให้ฟังด้วยดี แล้วนำมาสมาทานดูว่า เกิดประโยชน์เป็นจริงตามนั้นมั้ย? ถ้าไม่เป็นไปตามความเป็นจริงแล้ว ผู้รู้ติเตียน คำสอนเหล่านั้น ควรปัดทิ้งเสียอย่าเชื่อ


    ปัจจุบันนี้ ยังมีที่สอนกันแบบเดาสวด อวดภูมิตนเอง เอาสีข้างเข้าถูว่า "จิตเป็นกองทุกข์" "จิตเป็นสิ่งเหลวไหล ไร้สาระ บังคับบัญชาไม่ได้ เป็นอนัตตา" ซึ่งขัดแย้งกับความเป็นจริงและพระพุทธพจน์ที่ทรงสั่งสอนไว้ดีแล้วอย่างยิ่ง

    ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์ จิตเป็นสิ่งเหลวไหล ไร้สาระ บังคับบัญชาไม่ได้ไปเสียแล้ว เรายังจะฝึกฝนอบรมจิตไปทำไมให้เสียเวลาเปล่า แล้วจะฝึกฝนอบรมจิตให้รู้จักวิธีประคองจิต รักษาจิต ชำระจิต โน้มน้อมจิต ตั้งจิตไว้ชอบ ฯลฯ เพื่ออะไร?

    จิตไม่ใช่ตัวทุกข์ ถ้าจิตเป็นตัวทุกข์เสียเองแล้ว จิตจะเป็นสุขอย่างยิ่งได้อย่างไร จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ และ ขันธ์ ๕ (อาการของจิต) ก็ไม่ใช่จิต เมื่อไม่มีจิตก็ไม่มีขันธ์ ๕ จะมีขันธ์ ๕ โดยไม่มีจิตก็ไม่ได้เช่นกัน เพราะขันธ์ ๕ เป็นเพียงอาการของจิต ขันธ์ ๕ เกิดขึ้นได้ต้องอาศัยจิต จึงปรากฏออกมาได้ เหมือนร่างกายที่ไม่มีจิตครอง(คนตาย) ย่อมรู้อะไรไม่ได้นั่นเอง


    ด้วยเหตุนี้ พระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ จึงทรงสั่งสอนให้ฝึกฝนอบรมจิต ดังพระบาลีว่า

    อธิจิตฺเต จ อาโยโค เอตํ พุทฺธานสาสนํ
    การทำให้ "จิต" มีธรรมอันยิ่ง(อธิจิต) เป็นคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย


    และมีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า อธิจิตตสิกขาเป็นไฉน?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่
    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป
    มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
    และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    นี้ชื่อว่า อธิจิตตสิกขา

    และมีพระพุทธพจน์กล่าวไว้ว่า สัมมาสมาธิเป็นไฉน?

    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม
    บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข อันเกิดแต่วิเวกอยู่
    บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตกและวิจารสงบไป
    มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่ เพราะปีติสิ้นไป จึงมีอุเบกขา
    มีสติสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย บรรลุตติยฌาน
    ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข
    บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
    และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆ ได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    นี้ชื่อว่า สัมมาสมาธิ


    จากพระพุทธพจน์ เราจะเห็นได้ว่า การศึกษาอธิจิตตสิกขา ก็คือแบบแผนของการปฏิบัติสัมมาสมาธิดีๆ นี่เอง แสดงว่าจิตที่ได้รับการอบรมปฏิบัติสัมมาสมาธินั้น เป็นการอบรมจิตให้มีธรรมอันยิ่ง(อธิจิต) นั่นเอง

    เมื่อจิตมีธรรมอันยิ่ง จิตย่อมเป็นสัมมาทิฐิ คือจิตก็จะรู้เห็นตามความเป็นจริงว่า ที่จิตเป็นทุกข์ เหตุเพราะจิตชอบแส่ส่าย เปลี่ยนแปลง กวัดแกว่ง ซัดส่ายดิ้นรนส่งออกไป(สมุทัย) รับอุปกิเลสที่เป็น “แขก” จรเข้ามา แล้วยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของๆตน ผลจึงเป็นทุกข์

    เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงอย่างนี้แล้ว ย่อมต้องละเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย คือสละคืนปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นออกไปจากจิต อาการแส่ส่าย เปลี่ยนแปลง กวัดแกว่ง ซัดส่าย ฯลฯ ที่ชอบส่งออกไปของจิตก็จะดับลงไป(นิโรธ) ด้วยเช่นกัน

    ซึ่งมีทางเดียวเท่านั้นคือต้องปฏิบัติสมาธิกรรมฐานภาวนา(มรรค) จิตจึงจะมีกำลังมากพอในการสละปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น ในรูปและอารมณ์ความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ออกไปได้ตามความเป็นจริง (สัมมาทิฐิ).....


    ธรรมภูต
     
  2. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128
    เอาละวา ท่าน จขกท. ท่านอธิบายกว้าง แต่ ขวาง ไม่รู้ไปคว้าเอาพระไตรปิฎกฉบับไหนมาว่า จิตเที่ยง จิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิต ไม่ใช่กองทุกข์
     
  3. Darkever

    Darkever เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2011
    โพสต์:
    450
    ค่าพลัง:
    +333
    "หลังจากที่เมื่อก่อนเราพิจารณาว่า กายเป็นอสุภ ะ
    เมื่อหมดปัญหาจากกาย พิจารณากายไม่ทัน
    มันอิ่มมันพอกับกายแล้ว จิตจะพลิก เมื่อก่อนพิจารณาว่ากายเป็นอสุภะ
    ธรรมขั้นสูงพลิก กลายเป็นว่า กายไม่ไช่อสุภะหรอก จิตตังหากที่เป็นอสุภะ
    จิตตังหากที่ไปถือเอากายว่าเป็นของสวย เป็นของสกปก
    กายเข้าสักแต่ว่ากายอยู่แล้วไม่ไช่สวย ไม่ไช่สกปก แต่เป็นเพียงธาตุของโลกธรรมดาๆ
    จิตตังหากเป็นอสุภะ จิตตังหากที่เป็นเหตุไปถือกายว่าดี ว่าชั่ว"

    โอวาท หลวงตามหาบัว
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 สิงหาคม 2011
  4. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    พูดไปเริ่อยเฉื่อยก็ได้เนาะ ตรงไหน"จิตเที่ยง" เอาหลักฐานมายันหน่อยสิ

    อย่าดีแต่ยัดเยียดข้อกล่าวหาโดยขาดหลักฐานสิ

    พระพุทธพจน์ที่ยกล้วนมีที่มาที่ไปทุกข้อความ

    ชัดเจนโดยไม่ต้องไปตีความให้เสียเวลา โดยสาวกรุ่นหลัง...
     
  5. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    [๒๓๐] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้-

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี ณ ที่นั้นแล พระผู้มีพระภาคตรัสเรียก ภิกษุทั้งหลายว่า ... ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ข้อ นั้นเพราะเหตุไร เพราะเหตุว่า ความเจริญก็ดี ความเสื่อมก็ดี การเกิดก็ดี การตาย ก็ดี ของร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ย่อมปรากฏ ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงเบื่อหน่ายบ้าง คลายกำหนัดบ้าง หลุดพ้นบ้าง ในร่างกายนั้น แต่ตถาคตเรียก ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิต เป็นต้นนั้นได้ เลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือ ไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา ดังนี้ ตลอดกาลช้านานฉะนั้น ปุถุชนผู้มิได้สดับ จึงไม่อาจจะเบื่อหน่าย คลาย กำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย ฯ

    [๒๓๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปุถุชนผู้มิได้สดับ จะพึงเข้าไปยึดถือเอา ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูต ๔ นี้ โดยความเป็นตน ยังชอบกว่า แต่จะ เข้าไปยึดถือเอาจิตโดยความเป็นตนหาชอบไม่ ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ เมื่อดำรงอยู่ ปีหนึ่งบ้าง สองปีบ้าง สามปี บ้าง สี่ปีบ้าง ห้าปีบ้าง สิบปีบ้าง ยี่สิบปีบ้าง สามสิบปีบ้าง สี่สิบปีบ้าง ห้าสิบปี บ้าง ร้อยปีบ้าง ยิ่งกว่าร้อยปีบ้าง ย่อมปรากฏ แต่ว่าตถาคตเรียกร่างกายอันเป็น ที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ฯ

    [๒๓๒] ดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อย กิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกาย อันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณ บ้าง จิตเป็นต้นนั้นดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉัน นั้นแล ฯ

    [๒๓๓] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้สดับ ย่อมใส่ใจโดยแยบคาย ด้วยดีถึงปฏิจจสมุปบาทธรรม ในร่างกายและจิตที่ตถาคตกล่าวมานั้นว่า เพราะเหตุ ดังนี้ เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ คือ เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา เพราะ ตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ เพราะภพ เป็นปัจจัย จึงมีชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชราและมรณะ โสกปริเทวทุกข โทมนัสและอุปายาส ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ อนึ่ง เพราะอวิชชาดับด้วยสำรอกโดยไม่เหลือ สังขารจึงดับ เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ ฯลฯ ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการอย่างนี้ ฯ

    [๒๓๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับ มาพิจารณาอยู่อย่างนี้ ย่อมหน่ายแม้ในรูป ย่อมหน่ายแม้ในเวทนา ย่อมหน่ายแม้ในสัญญา ย่อมหน่าย แม้ในสังขารทั้งหลาย ย่อมหน่ายแม้ในวิญญาณ เมื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลายกำหนัดจึงหลุดพ้น เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดังนี้แล ฯ

    http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=16&A=2519&Z=2566
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 สิงหาคม 2011
  6. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    มูลการของสังสารวัฏฏ์


    ฐีติภูตํ​ ​อวิชฺชา​ ​ปจฺจยา​ ​สงฺขารา​ ​อุปาทานํ​ ​ภโว​ ​ชาติ

    ​คนเราทุกรูปนามที่​ได้​กำ​เนิดเกิดมา​เป็น​มนุษย์ล้วน​แล้ว​แต่มีที่​เกิด​ ทั้ง​สิ้น​ ​กล่าวคือมีบิดามารดา​เป็น​แดนเกิด​ ​ก็​แลเหตุ​ใด​ท่าน​จึง​บัญญัติปัจจยาการแต่​เพียงว่า​ ​อวิชฺชา​ ​ปจฺจยา​ ​ฯลฯ​ ​เท่า​นั้น​ ​อวิชชา​ ​เกิดมา​จาก​อะ​ไรฯ​ ​ท่านหา​ได้​บัญญัติ​ไว้​ไม่​ ​พวกเราก็​ยัง​มีบิดามารดาอวิชชาก็​ต้อง​มีพ่อแม่​เหมือน​กัน​ ​ได้​ความ​ตามบาทพระคาถา​เบื้องต้นว่​ฐีติภูตํ​ ​นั่นเอง​เป็น​พ่อแม่ของอวิชชา​ ​ฐีติภูตํ ​ได้​แก่​ จิตดั้งเดิม​ ​เมื่อฐีติภูตํ​ ​ประกอบไป​ด้วย​ความ​หลง ​จึง​มี​เครื่องต่อ​ ​กล่าวคือ​ ​อาการของอวิชชา​เกิดขึ้น​ ​เมื่อมีอวิชชา​แล้ว​จึง​เป็น​ปัจจัย​ให้​ปรุงแต่ง​เป็น​สังขารพร้อม​กับ​ ความ​เข้า​ไปยึดถือ​ ​จึง​เป็น​ภพชาติคือ​ต้อง​เกิดก่อต่อ​กัน​ไป​ ​ท่านเรียก​ ​ปัจจยาการ​ ​เพราะ​เป็น​อาการสืบต่อ​กัน​ ​วิชชา​และ​อวิชชาก็​ต้อง​มา​จาก​ฐีติภูตํ​เช่นเดียว​กัน​ ​เพราะ​เมื่อฐีติภูตํกอปร​ด้วย​วิชชา​จึง​รู้​เท่า​อาการ​ทั้ง​หลายตาม​ความ ​เป็น​จริง​ ​นี่พิจารณา​ด้วย​วุฏฐานคามินี​ ​วิปัสสนา​ ​รวมใจ​ความ​ว่า​ ​ฐีติภูตํ​ เป็น​ตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฏฏ์​ (การเวียนว่ายตายเกิด) ​ท่าน​จึง​เรียกชื่อว่า "มูลตันไตร" (หมาย​ถึง​ไตรลักษณ์) ​เพราะ​ฉะ​นั้น​เมื่อ​จะ​ตัดสังสารวัฏฏ์​ให้​ขาดสูญ​ ​จึง​ต้อง​อบรมบ่มตัวการดั้งเดิม​ให้​มีวิชชารู้​เท่า​ทันอาการ​ทั้ง​หลาย ตาม​ความ​เป็น​จริง​ ​ก็​จะ​หายหลง​แล้ว​ไม่​ก่ออาการ​ทั้ง​หลาย​ใดๆ​ ​อีก​ ​ฐีติภูตํ​ ​อัน​เป็น​มูลการก็หยุดหมุน​ ​หมดการเวียนว่ายตายเกิด​ใน​สังสารวัฏฏ์​ด้วย​ประการฉะนี้​

    นายทองดี..: ๖. ​มูลการของสังสารวัฏฏ์
     
  7. แปะแปะ

    แปะแปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    780
    ค่าพลัง:
    +128

    จิตไม่เกิดดับ เพราะจิตไม่ใช่ขันธ์ ๕ จิตจึงไม่ใช่กองทุกข์

    จิตไม่เกิดไม่ดับ ก็เป็นจิตเที่ยงน่ะซิไม่ได้ยัดเยียดข้อกล่าวหา ก็ตรงหัวเรื่องนั่นไง<!-- google_ad_section_end -->
     
  8. หลบภัย

    หลบภัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,207
    ค่าพลัง:
    +3,123
    ปฎิจจสมุปบาท :cool:
     
  9. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    [​IMG]

    ๑.ไฉนจึงทรงเรียกร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตรูป ๔ ว่า
    จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง ???

    รูปร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๖ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ อากาศ วิญญาณธาตุ(ธาตุรู้ = จิต)
    ( อ้างอิงจาก “วิภังคสูตร” )

    มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแห่ง รูปขันธ์
    ผัสสะ เป็นปัจจัยแห่ง เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์
    รูปและนาม เป็นปัจจัยแห่ง วิญญาณขันธ์

    ( อ้างอิงจาก “มหาปุณณมสูตร” )

    มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแห่งรูป
    (รูปที่ไม่มีจิตครอง เรียก อนุปาทินกสังขาร เช่น ก้อนหิน ดิน ทราย)
    รูปชนิดนี้ประกอบด้วยธาตุ ๔ ไม่มีธาตุรู้(จิต) จึงรู้อะไรไม่ได้

    มหาภูตรูป ๔ เป็นปัจจัยแห่งรูปขันธ์ (รูปร่างกาย)
    (รูปที่มีจิตครอง เรียก อุปาทินกสังขาร)
    รูปร่างกายมนุษย์ ประกอบด้วยธาตุ ๔ + ธาตุรู้(จิต) ดังนั้นมนุษย์จึงรู้อะไรได้

    รูปขันธ์ มีอายตนะภายใน ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ
    เป็นช่องทางของจิตในการติดต่อกับอารมณ์
    (รูปารมณ์ สัททารมณ์ คันธารมณ์ รสารมณ์ โผฏฐัพพารมณ์ ธัมมารมณ์)

    อายตนะภายใน ๖ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เมื่อผัสสะกับ
    อายตนะภายนอก ๖ รูป เสียง กลิ่น รส กายสัมผัส ธัมมารมณ์ (เป็นคู่ตามลำดับ )
    ทำให้เกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ หรือนามขันธ์ ๔ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ

    รูปขันธ์ ๑ และนามขันธ์ ๔ รวมเป็นขันธ์ ๕
    หรือก็คือ อารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ นั่นเอง
    หรือเรียกว่า จิตสังขาร (จิตที่ปรุงแต่งไปตามอารมณ์)


    จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง หรือ จิตเป็นต้นนั้น ที่ทรงตรัสถึง
    ก็คือ จิตที่ผสมอารมณ์แล้วเกิดอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์
    หรือ จิตสังขาร หรือ ขันธ์ ๕ นั่นเอง.


    ๒.ปุถุชนผู้มิได้สดับ ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นในจิตเป็นต้นนั้นได้เลย
    ข้อนั้นเพราะเหตุไร

    เพราะว่าจิตเป็นต้นนี้ อันปุถุชนมิได้สดับ รวบรัดถือไว้ด้วยตัณหา ยึดถือด้วยทิฐิ
    ว่า นั่นของเรา นั่นเป็นเรา นั่นเป็นตัวตนของเรา

    นั่นก็คือ
    ปุถุชน จิตถูกอวิชชาครอบงำ เกิดตัณหา อุปาทาน ยึดถือขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน
    ปุถุชน ไม่อาจเบื่อหน่าย คลายกำหนัด หลุดพ้นจากการยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ ๕ ได้เลย

    แต่พระอริยสาวก เห็นขันธ์ ๕ ด้วยปัญญาอันชอบ ตามเป็นจริงว่า
    ขันธ์ ๕ไม่ใช่ของเรา ขันธ์ ๕ไม่เป็นเรา ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตนของเรา

    ย่อมเบื่อหน่ายในขันธ์ ๕ เมื่อเบื่อหน่ายย่อมคลายกำหนัด
    เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่นในขันธ์ ๕

    (smile)
     
  10. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    [​IMG]

    พระพุทธพจน์ส่วนนี้ ผู้ศึกษาจำนวนมาก ยึดเอาตามตัวหนังสือที่เห็น
    ที่พระองค์ตรัสว่า
    “การยึดถือเอาร่างกายเป็นตนยังชอบกว่าการยึดถือเอาจิตเป็นตน”
    โดยขาดความเฉลียวใจถึงความนัยที่ซ่อนไว้

    โปรดสังเกตพระพุทธพจน์ที่มีมา
    เมื่อทรงตรัสถึง ปุถุชน(คนหนาด้วยกิเลส )
    จะมีนัยที่ตรงกันข้ามกับพระอริยสาวกเสมอ


    พระพุทธพจน์ส่วนนี้ก็เช่นกัน ทรงหมายให้เห็นว่า

    ปุถุชนผู้มิได้สดับยึดถือเอาร่างกายเป็นตน ชอบกว่า...
    เพราะสามารถมองเห็นได้ชัดเจนว่า
    ร่างกายนี้มีอายุ ๑ ปีบ้าง...๒ ปีบ้าง...ร้อยปีบ้าง...เป็นต้น

    แต่พระตถาคตทรงเห็นมากกว่านั้น
    ทรงเห็นว่าร่างกายประกอบด้วยธาตุ ๔+ธาตุรู้(จิต)
    เพราะมีจิตครอง จึงทำให้เกิดเป็นขันธ์ ๕ ขึ้น
    หรือก็คืออารมณ์และอาการของจิตที่เนื่องด้วยอารมณ์ หรือ จิตสังขารนั่นเอง

    และขันธ์ ๕ เกิดขึ้นที่จิตและดับไปจากจิต ตลอดเวลาทั้งกลางคืนและกลางวัน

    (smile)
     
  11. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    [​IMG]

    ทรงเปรียบ จิต เหมือน วานร

    จิตมีดวงเดียว ท่องเที่ยวไปสู่ที่ไกลได้ (เอกจรํ)
    วานรตัวเดียว เที่ยวไปในป่าใหญ่

    วานรจับกิ่งไม้ เปรียบเหมือน จิตผสมอารมณ์

    ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป
    เหมือนจิตปล่อยอารมณ์นั้น ผสมอารมณ์อื่น ปล่อยอารมณ์เดิม ผสมอารมณ์ใหม่ต่อไป
    ตลอดเวลาทั้งกลางคืนและกลางวัน

    นั่นก็คือ จิตปรุงแต่งไปตามอารมณ์
    ทำให้เกิดขันธ์ ๕ ตลอดเวลาทั้งกลางวันและกลางคืน
    จึงทรงให้พระสาวกพิจารณาขันธ์ ๕ ทั้งกลางวันและกลางคืน


    ดังปรากฏใน เผณปิณฑสูตร ความว่า

    พระพุทธเจ้าผู้เป็นเผ่าพันธุ์แห่งพระอาทิตย์ ทรงแสดงแล้วว่า
    รูปอุปมาด้วยกลุ่มฟองน้ำ
    เวทนาอุปมาด้วยฟองน้ำ
    สัญญาอุปมาด้วยพยับแดด
    สังขารอุปมาด้วยต้นกล้วย
    และวิญญาณอุปมาด้วยกล.

    ภิกษุย่อมเพ่งพิจารณาเห็นเบญจขันธ์นั้นโดยแยบคายด้วยประการใดๆ
    เบญจขันธ์นั้น ย่อมปรากฏเป็นของว่าง เป็นของเปล่า ฯลฯ

    นี้เป็นความสืบต่อเช่นนี้ นี้เป็นกลสำหรับหลอกลวงคนโง่
    เบญจขันธ์เพียงดังว่าเพชฌฆาตผู้หนึ่ง
    เราบอกแล้ว สาระย่อมไม่มีในเบญจขันธ์นี้.

    ภิกษุผู้มีความเพียรอันปรารภแล้วมีสัมปชัญญะ มีสติ
    พึงพิจารณาขันธ์ทั้งหลายอย่างนี้ ทั้งกลางวัน ทั้งกลางคืน.

    ภิกษุเมื่อปรารถนาบทอันไม่จุติ (นิพพาน) พึงละสังโยชน์ทั้งปวง
    พึงกระทำที่พึ่งแก่ตน พึงประพฤติดุจบุคคลผู้มีศีรษะอันไฟไหม้ ดังนี้
    .

    (smile)
     
  12. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    [​IMG]
    ปุถุชน จิตมีอวิชชาครอบงำ ทำให้หลงผิดยึดขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน
    ทำให้เกิดทุกข์ขึ้นที่จิต


    ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิด
    เมื่อสิ่งนี้มี สิ่งนี้จึงมี เพราะสิ่งนี้เกิดขึ้น สิ่งนี้จึงเกิดขึ้น
    เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร
    เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
    ...ฯลฯ...
    ความเกิดขึ้นแห่งกองทุกข์ทั้งปวง จึงมีด้วยประการ อย่างนี้


    พระอริยสาวกปฏิบัติมรรคมีองค์ ๘ ตามเสด็จพระบรมศาสดา
    จิตหลุดพ้นจากการยึดขันธ์ ๕ เป็นอัตตาตัวตน เกิดวิชชาขึ้นที่จิตแทนที่
    เพราะอวิชชาดับไปจากจิต ทุกข์จึงดับไปจากจิต


    ปฏิจจสมุปบาทฝ่ายดับ
    เมื่อสิ่งนี้ไม่มี สิ่งนี้จึงไม่มี เพราะสิ่งนี้ดับ สิ่งนี้จึงดับ
    เมื่ออวิชชาไม่มี สังขารจึงไม่มี เพราะอวิชชาดับ สังขารจึงดับ
    เมื่อสังขารไม่มี วิญญาณจึงไม่มี เพราะสังขารดับ วิญญาณจึงดับ
    เมื่อวิญญาณไม่มี นามรูปจึงไม่มี เพราะวิญญาณดับ นามรูปจึงดับ
    ...ฯลฯ...
    ความดับแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ ย่อมมีด้วยประการ อย่างนี้



    (smile)


     
  13. ยอดคะน้า

    ยอดคะน้า เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 มกราคม 2010
    โพสต์:
    947
    ค่าพลัง:
    +710

    เห็น ว่า ฐีติ คือความตั้งขึ้น ภูตัง คือความแปรเปลี่ยนไป

    ผู้ที่ภาวนามาถึงขึ้น ฐีติภูตัง จะเห็นความตั้งขึ้น และความแปรเปลี่ยนไปของจิต

    จิตเดิมคือ จิตปภัสสร หรือที่หลวงตามหาบัวเรียกว่า จิตเดิมคืออวิชา

    คนละอย่างกัย ฐีติภูตัง
    ฐีติภูตัง จะเรียกตามบาลี อีกอย่างที่ความหมายเหมือนกันคือ

    ฐีติธรรมญาน คือ เครื่องรู้แห่งความตั้งขึ้นแปรเปลี่ยนไป
     
  14. ธรรมะสวนัง

    ธรรมะสวนัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,305
    ค่าพลัง:
    +1,255
    อ่าน มหาศักยมุนีโคตมสูตร ปฏิจจสมุปบาทธรรมฝ่ายเกิด-ฝ่ายดับ

    [​IMG]
    โดยทั่วไปที่มีมาในพระสูตรอื่นๆ จะเขียนไว้ชัดเจน
    และเป็นอันเข้าใจตรงกันว่า

    พระอริยสาวก ย่อมเบื่อหน่ายในรูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
    เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนด
    เพราะคลายกำหนัด จิตจึงหลุดพ้น
    เมื่อหลุดพ้นแล้ว ก็เกิดญาณรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ฯลฯ

    พระอริยสาวก จิตหลุดพ้นจากการถือมั่นว่าขันธ์ ๕ เป็นตน
    เพราะจิตรู้อยู่ เห็นอยู่ว่า ขันธ์ ๕ ไม่ใช่ตน ตนไม่ใช่ขันธ์ ๕
    ถึงขันธ์ ๕ จะแปรปรวนไป จิตหาแปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไปไม่


    (อ้างอิง นกุลปิตาสูตร)

    ส่วนปุถุชน เมื่อขันธ์ ๕ แปรปรวนไป จิตก็แปรปรวนตามขันธ์ ๕ ที่แปรปรวนไป
    เพราะจิตมีอวิชชาครอบงำ ไม่รู้จักอริยสัจ ๔ ตามความเป็นจริง
    เพราะไม่ได้ปฏิบัติอริยมรรคมีองค์ ๘ ตามเสด็จพระบรมศาสดา




    [​IMG] ความเพียรมีผล ความพยายามมีผล

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย จงยังสมาธิให้เกิดขึ้นเถิด
    ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง ดังนี้


    จะมัวรีรออะไรกันอยู่คะ...เริ่มต้นปฏิบัติสมาธิภาวนากันอย่างจริงจังนับแต่วินาทีนี้

    ยินดีในธรรมทุกๆ ท่านค่ะ

    ธรรมะสวนัง

    (smile)
     
  15. paetrix

    paetrix เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 เมษายน 2011
    โพสต์:
    2,478
    ค่าพลัง:
    +1,878
    :cool::cool::cool: จิตหลุดพ้น ไม่เรียกว่าจิต เรียกว่านิพพาน แล้ว ไม่นับว่าเป็นอะไรได้อีก..สิ่งที่มีอาสวะกิเลส เกาะ นั่นแหละ เรียกว่า จิต:cool:
     
  16. เกิดดับ

    เกิดดับ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +20
    พระสูตรชัดเจนครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ชัดเจนแล้วครับ

    หากจิตไม่เกิดดับ ก็คงไม่มีจิตตานุปัสสนาสฏิบัติฐาน
    ทุกสิ่งเกิดดับหมดครับ มีสิ่งเดียวที่ไม่เกิด มันจึงไม่มีดับ นั่นคือจุดหมายสูงสุดของศาสนาพุทธครับ
     
  17. เกิดดับ

    เกิดดับ สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    18
    ค่าพลัง:
    +20
    พระสูตรชัดเจนครับ พระพุทธเจ้าท่านตรัสไว้ชัดเจนแล้วครับ

    หากจิตไม่เกิดดับ ก็คงไม่มีจิตตานุปัสสนาสฏิบัติฐาน
    ทุกสิ่งเกิดดับหมดครับ มีสิ่งเดียวที่ไม่เกิด มันจึงไม่มีดับ นั่นคือจุดหมายสูงสุดของศาสนาพุทธครับ
     
  18. GoingMarry

    GoingMarry เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2010
    โพสต์:
    41
    ค่าพลัง:
    +124
    กายคือรูป เจตสิกคือเวทนา สัญญา สังขาร จิตคือวิญญาณ
     
  19. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ขอเถอะนะ โดยเฉพาะธรรมะของท่านพระอาจารย์หลวงตามหาบัว

    ควรบอกที่มาที่ไป(ทำลิ้ง)ให้ชัดเจนหน่อย

    เหตุเพราะมีพระบางรูปที่ยังชอบแอบอ้างธรรมะของท่านพระอาจารย์หลวงตาเป็นประจำ

    โดยที่องค์ท่านพระอาจารย์หลวงตาไม่รู้เรื่องด้วยเลย

    และอย่าพยายามยกมาสั้นๆเพียงแค่นั้น อาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้

    เพราะท่านพระอาจารย์หลวงตามีเทศน์ไว้ในหลายแห่งเรื่อง"จิตบริสุทธิ์"

    ว่างๆจะยกเรื่องจิตบริสุทธิ์เพราะไม่ถือเอากายของท่านพระอาจารย์หลวงตามาวางให้อ่าน
     
  20. oatthidet

    oatthidet เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    3,498
    ค่าพลัง:
    +1,876
    อนุโมทนากับ จขกท ด้วยครับ เป็นความรู้ที่ดีมากครับ เป็นประโยชน์อย่างมากครับ

    เพราะว่ามี จิต จึงมีการเกิดอยู่ แต่หากอบรมสั่งสอน จิต แล้ว จิต จะเห็นความเป็นจริงที่มีอยู่บนโลก

    แล้ว จิต จะวางลงเสีย ซึ่งยังความเบื่อหน่ายบังเกิดขึ้นภายใน จิต เห็นสิ่งที่เข้ามาเกี่ยวข้องอยู่

    แต่ก่อนจะเป็นเช่นนี้ได้ ก็ต้องแสวงหา จิต เพื่อนำมาอบรมสั่งสอน ไม่ให้เกิดอาการแส่ส่าย เปลี่ยนแปลง กวัดแกว่ง ฯลฯ

    และเมื่อ จิต ตั้งมั่นดีแล้ว อารมณ์จึงจะ สงบนิ่ง จิต ไม่ส่งออกไปรับรู้สิ่งที่มากระทบอายตนะ

    และทั้งที่ได้บอกกล่าวไปแล้ว ว่าให้ทดลองดูก่อน กลับไม่ทันได้ทดลองเลย ก็ชิงตอบมาเสียก่อน เป็นเรื่องที่น่าเสียดายอย่างยิ่ง

    ขอให้เจริญในธรรมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 สิงหาคม 2011

แชร์หน้านี้

Loading...