ด่วน!กฐินสามัคคี ปฏิสังขรณ์องค์ พระอัฏฐารสยืนคู่ เดียวในโลก อายุ 700 กว่าปี

ในห้อง 'ร้องเรียนและปัญหา' ตั้งกระทู้โดย por410, 22 มีนาคม 2011.

  1. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
    ว. วชิรเมธี เป็นนามปากกาของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี ภูมิลำเนาของท่านอยู่ที่บ้านครึ่งใต้ ต.ครึ่ง อ.เชียงของ จ.เชียงราย ท่านเป็นคนที่รักการอ่านมาตั้งแต่เด็ก อ่านทุกอย่างที่ขวางหน้า จึงทำให้ท่านซึมซับความรู้ทุกรูปแบบ เมื่อยังเด็ก มารดาได้พาท่านไปทำบุญที่วัดบ่อยๆ ทุกวันพระ ซึ่งผลจากการติดตามมารดาไปทำบุญบ่อยๆ นี้เอง ต่อมาได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านสนใจหลักธรรมคำสอนในพระพุทธศาสนา และทำให้หนังสือที่ท่านอ่านไม่ได้ถูกจำกัดอยู่เพียงหนังสือความรู้หรือหนังสือบันเทิงทั่วไปเท่านั้น แต่หนังสือธรรมะก็เป็นหนังสือที่ท่านสนใจด้วยเช่นกัน
    หลังจากจบชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ท่านก็ได้ขออนุญาตมารดาบวชเป็นสามเณรที่วัดครึ่งใต้ แตกต่างจากเพื่อนๆ ในวัยเดียวกันที่มุ่งเรียนต่อในชั้นมัธยมศึกษา เมื่อบวชเป็นสามเณรแล้ว ท่านตั้งใจศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมแผนกนักธรรม จนจบนักธรรมชั้นเอก แล้วย้ายมาพำนักอยู่ที่วัดพระสิงห์ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีจนสำเร็จการศึกษาเปรียญธรรม ๖ ประโยค ต่อมาเมื่ออายุครบ ๒๑ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุที่วัดบ้านเกิด และย้ายมาพำนักที่วัดเบญจมบพิตร ในกรุงเทพมหานคร เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกบาลีต่อจนสำเร็จเป็นเปรียญธรรม ๙ ประโยค ซึ่งถือเป็นการศึกษาขั้นสูงสุดของคณะสงฆ์ไทย
    ด้านการศึกษาทางโลกนั้น ท่านสำเร็จการศึกษาเป็น “ศึกษาศาสตรบัณฑิต” (สังคม-มัธยมศึกษา) จากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และ “พุทธศาสตรมหาบัณฑิต” จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ปัจจุบันท่านได้รับเชิญให้เป็นอาจารย์สอนนักศึกษาระดับปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรุงเทพฯ
    นอกจากนั้นก็ยังรับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายวิชาการทางพระพุทธศาสนาให้กับหน่วยงานต่างๆ อีกมากมาย ในแง่จริยวัตรส่วนตัวนั้นนอกจากท่านจะเป็นพระนักวิชาการ พระนักคิด นักเขียน แล้วท่านก็ยังสนใจฝึกสมาธิภาวนาอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลากว่าสิบปี
    ผลงานหนังสือของท่านมีเกือบ 20 เล่ม ผลงานซึ่งเป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป คือ ธรรมะติดปีก, ธรรมะหลับสบาย, ธรรมะดับร้อน, ธรรมะบันดาล, ธรรมะรับอรุณ, ธรรมะราตรี, ปรัชญาหน้ากุฏิ, ปรัชญาหน้าบ้าน, DNA ทางวิญญาณ, ตายแล้วเกิดใหม่ตามนัยพระพุทธศาสนา และท่านยังได้เขียนบทความลงในนิตยสารหลายฉบับ เช่น เนชั่นสุดสัปดาห์, ชีวจิต, หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ, WE, HEALTH &CUISINE ฯลฯ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
    ← ประวัติพระอาจารย์รัตน์ รตนญาโณ
    สติปัฏฐาน๔ →

    ประวัติ และอภินิหาร ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู)

    พฤษภาคม 24, 2010 โดย allweare9999 ให้ความเห็น

    <SCRIPT src="http://s0.wp.com/wp-content/plugins/adverts/adsense.js?m=1306158910g&1" type=text/javascript></SCRIPT>ประวัติและอภินิหาร ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู)
    อสูรผู้ภักดีในล้นเกล้า รัชกาลที่ 6

    โดย…รณธรรม ธาราพันธุ์
    “วังพญาไท” ในยุคปรัตยุบันไม่ใคร่มีใครรู้จักเสียแล้ว กาลที่เนิ่นนานผ่านมากว่า 71 ปีย่อมกลืนกินทุกสรรพสิ่ง ไม่ว่ารูปหรือนาม ความทรงจำถึง “วังพญาไท” ในวันนี้ ย่อมมีอยู่เพียงหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ชาติไทย
    แต่ ถ้ากล่าวถึง “โรงพยาบาลพระมงกุฏฯ” หลายคนคงเคยสดับฟังและอาจเคยเข้ารับการรักษา หรืออาจถือกำเนิดที่นี่ซ้ำไป ทราบกันไหมว่าโรงพยาบาลพระมงกุฏในวันนี้ อดีตเคยเป็นวังอันสวยสดงามสง่า และเป็นที่ประทับของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 มาก่อน
    <!–
    แนบไฟล์:
    –>
    <!–คำอธิบาย: พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินี ทรงฉายที่ปีนัง
    –> พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบรมราชินี ทรงฉายที่ปีนัง
    [​IMG]
    <!-- 6_03.JPG [ 65.32 KiB | เปิดดู 551 ครั้ง ] -->
    ลึกเข้าไปทางด้านทิศเหนือของ “วัง พญาไท” ซึ่งติดกับคลองสามเสน ปรากฏศาลเทพารักษ์อันโดดเด่นงดงาม ประดับกระจกสีพร่างพรายล้อแสงตะวันระยิบระยับอยู่ใกล้ ๆกับต้นไทรใบดกหนา ภายในศาลประดิษฐานอยู่ด้วยรูปหล่อทองสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่กว่าคนจริงเล็กน้อย รูปร่างล่ำสันสมชายชาตรี
    ร่างงาม นั้น สวมชฎาทรงเทริด (เซิด) อย่างไทยโบราณ ถือไม้เท้าเป็นเครื่องประดับ นุ่งผ้าโจงกระเบนอย่างผู้มียศศักดิ์ สวมสร้อยสังวาลย์ และพาหุรัด อีกทั้งกำไลมือ กำไลเท้าสมภาคภูมิ
    หากใครสักคนไปเฝ้าดูอยู่ ที่นั่น จะพบว่ามีผู้คนมากหน้าหลายตาหลากอาชีพมาสักการะบูชาอยู่มิได้ขาด ท่านผู้นั้นเป็นใครหรือจึงมีคนเคารพบูชาเพียง นั้น แม้ว่าเป็นภูมิเจ้าที่ธรรมดา การแต่งกายก็บ่งชัดว่าไม่ใช่
    เชิญเถิดท่านทั้งหลายมาทำความรู้จักกับ “อสูรผู้ภักดี” อย่างน่าสรรเสริญท่านนี้กันเถิด<!–
    แนบไฟล์:
    –>
    <!–คำอธิบาย: ศาลท่านท้าวหิรัญพนาสูร ใน ร.พ.พระมงกุฎฯ
    –> ศาลท่านท้าวหิรัญพนาสูร ใน ร.พ.พระมงกุฎฯ
    [​IMG]
    <!-- _03.JPG [ 88.91 KiB | เปิดดู 557 ครั้ง ] -->
    ย้อนหลังไปในอดีตกาลที่ผ่านพ้นมาถึง 90 ปี ครั้งกระนั้น พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร” ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนินไปประพาส ณ มณฑลพายัพ โดยขบวนรถไฟหลวง
    ครั้น ถึงจังหวัดนครสวรรค์ ก็เสด็จพระราชดำเนินโดยขบวนเรือพระที่นั่งไปขึ้นบกที่จังหวัดอุตรดิตถ์ จากนั้นพระองค์ก็เสด็จพระราชดำเนินโดยทรงม้าต่อไป ซึ่งในครั้งกระโน้น อุตรดิตถ์และดินแดนทางฝ่ายเหนือยังมีสภาพเป็นป่ารกชัฏ อุดมสมบูรณ์ด้วยแมกไม้นานาพรรณ แลเกลื่อนกล่นด้วยส่ำสัตว์น้อยใหญ่ ไม่ปรากฏถนนหนทางดังเช่นปัจจุบัน
    ใช่เพียงหมู่สัตว์ร้ายและไข้ป่าที่ ขึ้นชื่อลือชาว่าน่าหวาดสยองเป็นที่สุดเท่านั้น ความเงียบของไพรพฤกษ์ ความมืดครึ้มของดงดิบ ก็มีผลที่จะสั่นคลอนประสาทของผู้เป็นข้าราชบริพารที่ว่าแข็งให้หวั่นไหวได้ อย่างน่าประหลาด ภูตผีปีศาจเป็นเรื่องที่ฝังรากหยั่งลึกอยู่ในจิตใจของคนไทยมาช้านาน ไม่อาจบอกได้ว่าเริ่มมาแต่ครั้งไหน ทว่ามันยังมีอิทธิพลเรื่อยมาทุกรุ่นทุกคนจนทุกวันนี้ ผู้ตามเสด็จในขบวนทั้งหลายก็ยังมีความเชื่ออย่างนี้เช่นกัน ด้วยความวิตกในจิตใจและความแบบบางของร่างกายอย่างชาววัง จึงได้มีผู้ล้มป่วยเป็นไข้ป่าอยู่เป็นอันมาก
    วันหนึ่งของการเดินทาง เมื่อพลบค่ำ ข้าราชการที่ตามเสด็จไปด้วยก็จัดเตรียมพลับพลาที่ประทับในป่าถวาย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ดังเช่นที่เคยปฏิบัติมา
    ในราตรีนั้นเอง สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ได้ทรงสุบินนิมิตเห็นปรากฏแก่สายพระเนตร เป็นบุรุษชาติผู้หนึ่ง กอปรด้วยรูปร่างที่ใหญ่โตแลกล้ามเนื้ออันล่ำสันบึกบึน มีผิวกายคล้ำเยี่ยงคนกรำแดด ที่ตัวนั้นมิได้สวมเสื้อ คงนุ่งเพียงผ้าเตี่ยวมีลายเชิงสีแดงคาดรัดเอวอย่างงดงาม ร่างกายล้วนเต็มไปด้วยอาภรณ์สูงค่าประดับองค์ บนศีรษะครอบไว้ด้วยชฎาทรงเทริดอันเป็นเครื่องบ่งถึง “ภพภูมิ” ที่ไม่ “ธรรมดา”
    บุรุษลึกลับผู้นั้นย่างกายเข้ามาอย่างองอาจผ่าเผย ทว่าแฝงไว้ด้วยความอ่อนน้อมในที เมื่อร่างอัศจรรย์มาหยุดยืนอยู่เบื้องปลายแท่นพระบรรทมแล้ว ก็ยกมือขึ้นประนม แล้วกราบบังคมทูลด้วยเสียงที่อ่อนโยนลุ่มลึกขึ้นว่า
    “ข้าพระพุทธเจ้าชื่อ ฮู เป็นอสูรชาวป่าซึ่งยึดมั่นอยู่ในสัมมาปฏิบัติ มีความศรัทธาเลื่อมใสในพระองค์ จะขอถวายตัวเพื่อเป็นข้าราชบริพารคอยรับใช้ และติดตามเสด็จไปด้วยทุกหนแห่งเพื่อพิทักษ์เบื้องพระยุคลบาท มิให้ภยันตรายมากร้ำกรายพระองค์”
    <!–
    แนบไฟล์:
    –>
    <!–คำอธิบาย: ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู)
    –> ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู)
    [​IMG]
    <!-- _03.JPG [ 76.06 KiB | เปิดดู 557 ครั้ง ] -->
    สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ ทรงสดับฟังด้วยความสุขุมอย่างเข้าพระทัย เมื่ออสูรนามว่า “ฮู” กล่าวจบลง พระองค์จึงทรงมีพระราชดำรัสถามว่า
    “แล้วจะให้ข้าพเจ้าปฏิบัติอย่าง ไร”
    อสูรผู้มีป่าเป็นเรือนพักได้กราบบังคมทูลว่า
    “ไม่ต้องมี อะไรมาก โปรดพระราชทานที่เฉพาะให้ข้าพระพุทธเจ้าอยู่ และแบ่งพระกระยาหารจากเครื่องเสวยของพระองค์ ก็เพียงพอแล้ว”
    เมื่อจบ การสนทนา อสูรชาวป่าก็ถวายบังคมลาอันตรธานไปจากพลับพลาที่ประทับในราตรีนั้น
    ครั้นอรุณ รุ่ง พระองค์ก็ทรงมีพระราชวินิจฉัยอยู่ในพระราชหฤทัยอยู่เพียงพระองค์เดียวว่า เมื่อคืนนั้นจักทรงพระสุบินไปโดยธรรมดาของธาตุขันธุ์ หรือเป็น “เทพนิมิต” ทว่าหลังจากนั้นไม่นาน บรรดาข้าราชบริพารทั้งหลายทั้งปวงที่เป็นไข้ป่ากันงอมแงมก็พากันหายจากอาการ เจ็บป่วยโดยสิ้นเชิง และผู้ที่ไม่เคยเป็นก็พากันรอดพ้นจากไข้ป่าแลภัยทั้งหลายทั้งปวง
    เมื่อ ทรงทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ดูเป็นการสมจริงดังคำอ้างของบุรุษผู้มีที่มาอันพิสดารได้กล่าวรับรองไว้ ยิ่งไปกว่านั้น ประดาข้าราชบริพารที่ตามเสด็จไปด้วย ก็เกิดพบเห็นชายรูปร่างใหญ่โตน่าเกรงขามคนหนึ่งมักยืนหรือนั่งอยู่ใต้ต้นไม้ ใกล้ ๆที่ประทับของพระองค์เสมอ ๆ
    บางครั้งก็เห็นเพียงคนเดียว แต่บางครั้งก็พากันเห็นพร้อมกันหลายคน ทำเอาข้าราชบริพารทั้งนั้นวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างอกสั่นขวัญแขวน เพราะในกลุ่มผู้ที่ตามเสด็จทั้งหลายไม่มีชายรูปร่างหน้าตาอย่างนี้มาด้วยเลย เมื่อความข้อนี้ทราบถึงพระเนตรพระกรรณ จึงทรงมีพระราชดำรัสให้จัดธูปเทียนและเครื่องโภชนาการเลิศรสไปสังเวยที่ริม ป่าละเมาะใกล้กับพลับพลาที่ประทับนั้น เวลาเสวยก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้แบ่งพระกระยาหารจาก “เครื่องต้น” ไปเซ่นสรวงเสมอ และได้ถือเป็นพระราชกรณียกิจจนกระทั่งสิ้นรัชกาล
    ข้าราชบริพารที่ ใกล้ชิดในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสมัยนั้น มักพบเห็นพิธีการอันแปลกประหลาดอยู่อย่างหนึ่งเป็นประจำทั้งเช้าและเย็น นั่นคือการแบ่งเครื่องเสวยออกสังเวยท่านฮูอยู่ เป็นประจำมิได้ขาด โดยหลวงปราโมทย์กระยานุกิจ (มา) เป็นผู้รับผิดชอบในการเซ่นสรวง
    เกี่ยวกับเรื่องนี้ “พระมหาเทพกษัตรสมุห” สมัยที่เป็นมหาดเล็กตั้งเครื่องเสวยเล่าว่า
    “เวลาผมตั้งเครื่องวัน ไหนแล้ว หลวงปราโมทย์กระยานุกิจ แผนกวรภาชน์ซึ่งเป็นผู้จัดแบ่งพระกระยาหารไปเซ่นสรวงท้าวหิรัญฮู ลืมเอาไปเซ่นสรวง มักจะมีถ้วยชามแตกโฉ่งฉ่างให้ได้ยินไปถึงพระกรรณจนถูกกริ้ว หรือไม่เช่นนั้นก็มีเรื่องอื่นๆทำให้หลวงปราโมทย์กระยานุกิจถูกกริ้วทุก ครั้งไป จนถึงกลับถูกถอดจากหลวงเป็นขุน จากขุนเป็นนายมา (ชื่อเดิมของท่าน) แล้วก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นหลวงอีก เวลามีอะไรเกิดขึ้น ผมว่ากับหลวงปราโมทย์ฯ ซึ่งเป็นเพื่อนกันว่า ลืมอีกล่ะซิ แกบอกว่าลืมจริง ๆ”
    ในช่วงเวลานี้เอง ที่สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชเจ้าได้ทรงโปรดเกล้าให้ “พระยาอนุศาสตร์จิตรกร” ช่างเขียนประจำพระองค์ ร่างรูปท่านฮูขึ้นตามที่ทรงพระสุบินให้ทอดพระเนตร ทรงทักท้วงและอธิบายแก้ไขจนได้รูปร่างลักษณะตลอดจนเครื่องประดับประดาเป็น ที่พอพระราชหฤทัยแล้ว ก็ทรงให้พระยาอนุศาสตร์จิตรกรไปเขียนเป็นภาพให้งดงามตามพระราชประสงค์ต่อไป
    ———————————
    ลุ มาถึงปี พ.ศ. 2453 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชสยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็น “พระบาท สมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว” จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้หล่อรูปท่านฮู ขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดเล็ก สูง 20 เซ็นติเมตร เป็นจำนวน 4 รูป เมื่อเดือนเมษายน 2554 ซึ่งถือเป็นรูปหล่อ “รุ่นแรก” ของท่านฮู
    จากนั้นก็ มีพระราชพิธีเชิญดวงวิญญาณท่านฮูมาสถิตสถาพรในรูปจำลองทั้ง 4 องค์ และโปรดเกล้าฯพระราชทานนามเป็นพิเศษว่า “ท้าว หิรัญพนาสูร” และได้ทรงนำไปติดไว้ที่หน้ารถยนต์พระที่นั่งสีขาวชื่อ “เนเปีย” รูปหนึ่ง
    ทรงประดิษฐาน ไว้ข้างพระที่ในห้องพระบรรทมรูปหนึ่ง (ปัจจุบันอยู่ที่วังรื่นฤดี ซอย 38 ถนนสุขุมวิท ซึ่งเป็นวังที่ประทับของ “สมเด็จ พระเจ้าภคินีเธอฟ้าเพชรรัตนราชสุภาสิริโสภาพัณณวดี” และได้ทรงตั้งเครี่องเสวยเซ่นสรวงเป็นกิจวัตร)
    อยู่ที่บ้าน “พระยาอนิรุทธเทวา (ม.ล.ฟื้น พึ่งบุญ)” ซึ่งทายาทยังคงเก็บประดิษฐานไว้ที่บ้านปากคลองเทเวศน์ตราบเท่าทุกวันนี้
    และ อีกรูปหนึ่ง พ.อ.สุชาติ ปาลวัฒน์วิไชย กับ พ.ต.อุลิศ ลีนะวัติ (ยศในปี พ.ศ. 2504) ได้นำมาประดิษฐานไว้ให้คนเจ็บไข้ได้สักการะหลังหมวดพระยาบาลที่ 8 โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า (เป็นเรือนไม้ 2 ชั้น ทาสีเขียวแก่ อยู่ทางทิศตะวันตกของวังพญาไท ต่อมาภายหลังได้ถูกรื้อแล้วสร้างเป็นโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์และอนามัยกอง ทัพบก ในปี พ.ศ. 2506 และในปัจจุบันได้ย้ายไปประดิษฐานอยู่ที่หน้า “พระที่นั่งอุดมวนาภรณ์” ในโรงพยาบาลพระมงกุฏฯ นั่นเอง)
    กล่าวถึงรูปหล่อท่านท้าวหิรัญฮูองค์ แรกที่ทรงโปรดฯ ให้นำไปติดไว้ที่หน้ารถพระที่นั่ง “เนเปีย” นั้น พระมหาเทพกษัตรสมุห กรุณาเล่าว่า
    “ท้าว หิรัญฮู ที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้หล่อขึ้น พระองค์โปรดฯ ให้นำไปติดไว้ที่หน้ารถพระที่นั่ง เพราะเมื่อเวลาที่เสวยพระราชสมบัติแล้ว พระองค์เสด็จไปทรงซ้อมรบเป็นประจำ เป็นเหตุให้ทรงพบเห็นภูติผีปีศาจอยู่บ่อย ๆ แต่พอติดรูปหล่อท่านท้าวหิรัญฮูแล้ว ก็ไม่ทรงพบภูติผีปีศาจอีกเลย
    โดย ปกติพระองค์จะทรงทำบุญให้ท้าวหิรัญฮูทุกปี แต่จำไม่ได้ว่าวันไหน ซึ่งมีอยู่สองวันคือ วันจักรีกับวันสงกรานต์ พระองค์ทรงทำบุญแล้วก็ทรงทำทานด้วย การทำทานนั้นพระองค์ทรงโปรยสตางค์ใหม่ แย่งกันสนุก ผมก็ยังแย่งมาถึง พ.ศ. 2460”
    นั่นคือคำบอกเล่าของพระมหา เทพกษัตรสมุห ข้าราชบริพารท่านหนึ่งที่ได้ทรงใกล้ชิดกับองค์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว จนสิ้นราชการ
    สำหรับ รูปหล่อองค์ที่ติดอยู่หน้ารถพระที่นั่งนั้น มักปรากฏเหตุอัศจรรย์อยู่เสมอ จะเพราะด้วยเป็นรูปที่ใกล้ชิดกับองค์ล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 ก็ไม่อาจทราบได้
    เพราะ เมื่อล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 เสด็จสวรรคต “พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7” ก็พระราชทานรถพระที่นั่ง “เนเปีย” ให้กับ “กรมหมื่นอนุวัตรจาตุรนต์” ซึ่งกรมหมื่นอนุวัตรฯ ได้ใช้ขับเข้าเฝ้าทุกวัน ต่อมาไม่นานกรมหมื่นอนุวัตรฯ ก็ได้พบเห็นเหตุการณ์ที่ชวนแปลกประหลาดใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะบ่อยครั้งที่รถพระที่นั่งซึ่งจอดอยู่ในโรงเก็บรถในวัง (ตรงสี่แยกถนนหลานหลวง หลังกรมโยธาเทศบาลเดี๋ยวนี้) จะเปิดไฟสว่างจ้าเองเสมอ
    ทีแรกก็คิดว่ามีใครไปเปิดเล่น แต่เมื่อลงไปตรวจดูแล้วก็ไม่พบเห็นผู้หนึ่งผู้ใดเลย แล้ววันแห่งการบอกลาระหว่างเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงกับรถ “อสูรสถิต” คันนี้ก็มาถึง เมื่อคืนวันหนึ่งรถเจ้าปัญหาได้เปิดไฟสว่างจ้าเหมือนเช่นเคย มิหนำซ้ำยังจอดขวางอยู่ในโรงเก็บรถที่แคบแสนแคบ
    การที่รถพระที่นั่ง จอดขวางในโรงเก็บด้วยลักษณะการเช่นนี้ ต่อให้ใครที่ว่าเก่งแสนเก่งก็ขับรถกลับออกจากโรงรถไม่ได้ ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อคนขับรถจะเอารถพระที่นั่งออกจึงต้องใช้วิธีขึ้นแม่แรงยกรถเป็นการใหญ่ ใช้เวลาร่วม 2 ชั่วโมง รุ่งขึ้นกรมหมื่นอนุวัตรฯ กระหืดกระหอบเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว แล้วเล่าเรื่องนี้ถวายให้ทรงทราบ และพูดให้พระมหาเทพกษัตรสมุหฟังว่า
    “ทำให้ฉันไม่กล้าขี่รถคันนี้”
    จาก นั้นกรมหมื่นอนุวัตรฯ ก็ถวายรถคืนพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้วยไม่กล้าที่จะเอาไว้เพราะเหตุนี้เอง
    ———————————
    ย้อน กลับไปในรัชสมัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ 6 อีกครั้ง พระองค์โปรดฯ ให้สร้างวังพญาไทขึ้นจนเสร็จสมบูรณ์ใน พ.ศ. 2465 ก็ได้ทรงมีพระราชดำริที่จะให้วังพญาไทมีศาลเทพารักษ์ เข้าทำนองศาลพระภูมิประจำบ้านคนไทยโดยทั่วไป
    ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะให้ท่านท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) เป็นเทพารักษ์ประจำวัง จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระยาอาทรจุรศิลป์ (มล.ช่วง กุญชร) นายช่างกรมศิลปากรสมัยนั้นดำเนินการสร้างโดยด่วน แต่มาติดขัดที่คนซึ่งมีลักษณะล่ำสันแข็งแรงและใหญ่โตมาเป็นแบบนั้น ครั้นแล้วก็ทรงนึกถึง “นายตาบ พรพยัคฆ์” มหาดเล็กรับใช้ของพระองค์ ซึ่งมีรูปร่างสูงใหญ่ มีกำลังร่างกายแข็งแรงมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ “เจ้าพระยาธรรมา” กรมมหาดเล็กหลวงนำตัวนายตาบมาเป็นต้นแบบในการขึ้นรูปท้าวหิรัญพนาสูร<!–
    แนบไฟล์:
    –>
    <!–คำอธิบาย: ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) องค์ต้นแบบที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    รัชกาลที่ 6 ทรงหล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2465
    –> ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) องค์ต้นแบบที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
    รัชกาลที่ 6 ทรงหล่อขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2465
    [​IMG]
    <!-- _02-11.JPG [ 62.5 KiB | เปิดดู 556 ครั้ง ] -->
    ทรงโปรดเกล้าฯ ให้มิสเตอร์ “แกล เล็ตตี” นายช่างชาวอิตาลีซึ่งมาทำงานประจำอยู่ที่กรมศิลปากรเป็นผู้หล่อด้วยทอง สัมฤทธิ์ ดังนั้นองค์ท้าวหิรัญพนาสูรจึงละม้ายคล้ายคลึงนายตาบทุกประการ เว้นเพียงท้าวหิรัญพนาสูรไม่มีหนวดเหมือนนายตาบเท่านั้นเอง
    เมื่อ หล่อเสร็จสรรพเรียบร้อย ก็ทรงโปรดฯ ให้มีคำจารึกที่ฐานเทพารักษ์ว่า
    “พระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรมหาวชิราวุธมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อวันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พุทธศักราช 2465 เวลา 5 นาฬิกา กับ 9 นาที 41 วินาที หลังเที่ยง”
    มีเรื่องแปลกก่อนที่จะยก องค์ท้าวหิรัญพนาสูรขึ้นบนศาลเรื่องหนึ่งเพราะนายช่างแกลเลตตี เป็นชาวอิตาเลียน ไม่เชื่อในเรื่องลึกลับอัศจรรย์แต่ประการใด เธอจึงใช้เชือกผูกคอรูปหล่อ เพื่อชักขึ้นตั้งบนฐานในศาลจตุรมุข ก็ในทันทีนั้นเอง เธอเกิดเป็นโรคคอเคล็ดเหลียวไปมาไม่ได้เป็นที่น่าอัศจรรย์ เพราะเธอทำกับรูปท่านอย่างไร ผล อย่างเดียวกันนั้นก็กลับมาที่เธอ
    เมื่อ เธอยอมใจให้กับท่านฮู ก็จัดหาดอกไม้ธูปเทียนมาขอขมาลาโทษ ประหลาดนักเธอก็พลันหายจากโรคคอเคล็ดในบันดล! นับว่าอำนาจของท่านฮูนั้ไม่ใช่น้อยนิดเลย
    ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) เมื่อหล่อและประดิษฐานบนศาลเรียบร้อยแล้ว ก็ได้กระทำพระราชพิธีบวงสรวงอย่างเป็นทางการเมื่อวันเสาร์ที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2465 ต่อมานั้นราวอีก 2 เดือน ก็ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายตาบ พรพยัคฆ์ มหาดเล็กซึ่งเป็นต้นแบบในการปั้นรูปท้าวหิรัญฮู ให้มีบรรดาศักดิ์เป็น “ขุนหิรัญปราสาท” เพื่อให้มีชื่อสอดคล้องกับท้าวหิรัญพนาสูร กับให้มีสร้อยเกี่ยวพันถึงปราสาทราชวังด้วย การที่นายตาบได้รับพระราชทานยศศักดิ์ครั้งนี้เห็นจะเป็นด้วยบารมีของท่านฮู เป็นแน่แท้
    —————————————————————–
    ฤทธานุ ภาพท้าวหิรัญพนาสูร
    นับ แต่ชื่อท่านฮู เป็นที่แพร่หลายไปในหมู่ชาววัง ความขลังของท่านก็ดูจะครอบคลุมไปทั่วคุ้มทั่ววังและหาได้หยุดยั้งลงเพียง นั้นไม่ กลับลามเลียเข้าสู่หัวใจของชาวบ้านผู้สนใจในท่านอีกหลายร้อยหลายพันคน
    ผู้ ไปบนบานศาลกล่าว ผู้มีทุกข์ร้อนอันไม่เหลือวิสัย เมื่อไปอ้อนวอนขอพรท่านฮู ก็มักปรากฏเหตุอัศจรรย์ให้เขาเหล่านั้นผ่านพ้นภัยพิบัติต่าง ๆมาได้ตลอด ยิ่งทำให้ชื่อเสียงของผู้ศักดิ์สิทธิ์ท่านนี้เอิกเกริกครึกโครมยิ่งขึ้น
    <!–
    แนบไฟล์:
    –>
    <!–คำอธิบาย: ท้าวหิรัญพนาสูร เมื่อเชิญพวงมาลัยออกหมดแล้ว
    –> ท้าวหิรัญพนาสูร เมื่อเชิญพวงมาลัยออกหมดแล้ว
    [​IMG]
    <!-- _10.JPG [ 56.72 KiB | เปิดดู 560 ครั้ง ] -->
    ขอตัดตอนบางข้อความของใครคนหนึ่งซึ่งประสบกับความศักดิ์สิทธิ์ ของท่านท้าวหิรัญพนาสูร จากหนังสือพิมพ์รวมไทย ปีที่ 11 ฉบับที่ 441 วันที่ 11-25 ตุลาคม พ.ศ. 2527 ดังนี้
    “จากคำบอกเล่าของ น.ส.ชลัช เกตุสิงห์ ซึ่งได้ป่วยมีอาการ ตกเลือดมาก เมื่อเร็ว ๆนี้ได้เข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ซึ่งตัวเองบอกว่ารู้สึกตัวว่าใกล้จะหมดแรง ขณะกำลังรอหมอตรวจก็ได้รำลึกถึงท่านท้าวหิรัญพนาสูร ขอให้ช่วยให้มีสติอย่าให้ช็อคเลย ก็ปรากฏว่าร่างกายกระฉับกระเฉงจนหมอแปลกใจว่าทั้ง ๆที่เลือดออกมากแต่ยังไม่มีท่าทีอ่อนแอ กลับเดินได้จนหมอตรวจเสร็จ และให้อยู่ใน รพ. เพื่อรักษาตัวทันที ซึ่งเตียงคนไข้นั้นได้หมายเลขที่ 31 ก็ได้นำไปซื้อล็อตเตอรี่ เลขท้าย 31 และ 13 ไว้ ก็ถูกล็อตเตอรี่ จึงเชื่อมั่นว่าท่านท้าวหิรัญพนาสูรได้ช่วยมา ตลอด จึงทำให้เลื่อมใสท่านมาก”
    ———————————
    หรือ พล.ต.ม.จ. พิสิษฐดิสพงษ์ ดิศกุล ประชวร โรคปัสสาวะเป็นโลหิตมารักษาองค์ที่โรงพยาบาลพญาไท นายแพทย์ทำการเอกซเรย์แล้วก็เห็นควรว่าต้องถวายการผ่าตัด แต่พระญาติได้ไปบูชาสักการะท่านท้าวหิรัญพนาสูร การณ์ก็พลิกผันด้วยโรคที่กำเริบหนักหนาในครั้งนั้น กลับหายไปได้อย่างไร้ร่องรอยโดยไม่ต้องผ่าตัดแต่อย่างใด
    ———————————
    คุณศรีศิลป์ สุขาศาสตร์ ได้เล่าถึงท้าว หิรัญฮู ขณะมานอนป่วยอยู่ ณ โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า ไว้ในเรื่อง “ชีวิตมหัศจรรย์ เรื่องจริงที่ประหลาด ซึ่งผู้เขียนประสบมาระหว่าง พ.ศ. 2507-2520” ความว่า
    “ผมไม่ ได้คิดอะไรอย่างอื่นวุ่นวายในวันนั้น นึกแต่ว่าจะได้กลับบ้านในวันรุ่งขึ้นเท่านั้น คืนนั้นเองก็ได้พบเหตุการณ์ที่แปลกประหลาดมหัศจรรย์เป็นครั้งแรกในชีวิต
    ผม นอนเสียเต็มอิ่มแล้วตื่นขึ้นมาประมาณ 11.30 น. พูดแบบง่าย ๆก็คือวันนั้นเป็นวันพฤหัสบดีนั่นเอง ขณะที่ผมนอนลืมตาคิดอะไรเล่น ๆอยู่บนเตียง พอดีเห็นแมวแอบเข้ามาในห้องไม่ทราบว่ามาทางไหน ผมก็ลุกขึ้นนั่งบนเตียง ส่งเสียงไล่แมวออกไป
    ส่วนภรรยาผมนั้นนอนหลับ สนิทอยู่บนเตียงใกล้ ๆกัน ครู่เดียวเท่านั้นแหละครับ ไม่ทราบว่าเสียงใครพูดมาชัดถ้อยชัดคำ เป็นเสียงผู้ชาย เป็นเสียงมาไกล ๆ
    “พรุ่งนี้เอ็งจะกลับบ้านแล้ว อย่าลืมไปลาข้านะ”
    ผมตกตะลึงไปหมด ใคร? ใครพูดมาจากไหนกัน! เหลียวมองไปรอ ๆก็ไม่เห็นใคร ไฟฟ้าในห้องก็เปิดสว่าง ครู่เดียวก็เสียงมาอีก
    “เอ็งจะไปดีแล้ว ไม่ต้องกลัวอะไรทั้งนั้น”
    ผมนั่งตัวเย็นอยู่บนเตียงนั้นเอง คิดอะไรไม่ออกทั้งนั้น ควรที่จะรีบปลุกภรรยาก็ไม่ได้ปลุก มันงงจนไม่ทราบจะทำอะไรถูก ยังไม่ทันไรก็มีเสียงนั้นอีก
    “อย่า ลืมไปลาข้านะ คราวนี้ข้ายังไม่เอาอะไรมาก ขอแค่พวงมาลัยสามพวง ใหญ่สองเล็กหนึ่ง”
    คิดดูก็แล้วกันว่าผมจะตกตะลึงขนาดไหน มีแต่เสียง แต่ไม่เห็นคนพูด เสียงมีอำนาจอย่างไรชอบกล กินเวลาประมาณ 10 นาที ทิ้งจังหวะพูดเป็นช่วงๆ ไม่หลับไม่นอนมันแล้วครับ
    หลังจากนั้น เป็นใครก็คงนอนไม่หลับเหมือนกัน แปลกเหลือเชื่อ มีแต่เสียง ไม่มีตัว อะไรกันนี่!! ปลอบอกปลอบใจเสียด้วยว่าไม่ต้องกลัวอะไรจะเกิดขึ้นกับผมอีก ท่านที่พูดมีแต่เสียงนั้นเสมือนจะทราบอะไรล่วงหน้าจึงได้ให้กำลังใจกับผม
    คืน นั้นผมไม่ได้นึกกลัวอะไรเลย แปลกจริง ๆตามธรรมดาก็ไม่ใช่คนกลัวอะไร แต่เรื่องผีเรื่องสางขอยอมแพ้ แต่คราวนั้นทำไมไม่นึกกลัวเลยก็ไม่ทราบ แถมอุ่นใจด้วยซ้ำไป มีเกรง ๆบ้างด้วยรู้สึกว่าจะเป็นผู้ที่มีอำนาจอะไรสักอย่างมาพูดด้วย…”
    ———————————
    นั่น ก็เป็นคำบอกเล่าของท่านผู้มีความเกี่ยวข้องกับ “อสูร” ผู้เปี่ยมเมตตาแห่งวังพญาไท ในเชิง “รักษาโรค” ปัดเป่าความทุกข์ทางธาตุขันธ์ร่างกาย บางคนอาจสงสัยว่า “ท่านฮู” บำบัดได้เพียงโรคาพยาธิเท่านั้นหรือ ไม่เท่านั้นดอกครับ ถ้าเก่งแค่นั้นก็ไม่ใช่ “องครักษ์พิเศษ” ของรัชกาลที่ 6 น่ะสิ
    <!–
    แนบไฟล์:
    –>
    <!–คำอธิบาย: ท้าวหิรัญพนาสูร ด้านข้างที่เห็นดำ ๆที่ปากท่านคือ ‘ฝิ่น’
    ซึ่งคนเข้าใจว่าท่าน ‘ชอบ’ จึงเอาไปป้ายที่ปากท่าน
    –> ท้าวหิรัญพนาสูร ด้านข้างที่เห็นดำ ๆที่ปากท่านคือ ‘ฝิ่น’
    ซึ่งคนเข้าใจว่าท่าน ‘ชอบ’ จึงเอาไปป้ายที่ปากท่าน
    [​IMG]
    <!-- _07.JPG [ 57.82 KiB | เปิดดู 554 ครั้ง ] -->
    ย้อนหลังไปประมาณ 4-5 ปีที่แล้ว จะชี้เฉพาะว่าเป็นปีอะไรผมก็จำไม่ถนัดนัก แต่ถ้าพูดถึงเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสลดเหตุหนึ่ง ท่านผู้อ่านคงพอนึกออกได้บ้างว่าเคยเกิดอุปัทวเหตุเรือโดยสารข้ามแม่น้ำเจ้า พระยาลำหนึ่งพลิกคว่ำจมลง จมลงทั้ง ๆที่มีผู้โดยสารอยู่เพียบลำเรือ เหตุนั้นทำให้มีคนตายกันมากมายหลายสิบคน เอาเป็นว่าเกือบจะหมดลำทีเดียว เพราะมีแต่คนแออัดยัดเยียด จะหามีสักคนหนึ่งที่อยู่ในสภาพพร้อมรับมือเหตุร้ายก็เปล่า ทุกคนเตรียมตัวไปทำงาน เตรียมตัวไปเรียน เขาไม่ได้เตรียมตัวไปว่ายน้ำ
    ขณะ ที่ผู้เคราะห์ร้ายรายหนึ่งกำลังโต้กับกระแสคลื่นน้ำที่เย็นเยียบอยู่นั้น ก็เกิดความคิดขึ้นว่าตนต้องไม่รอดเป็นแน่แท้ เพราะชุดหรือก็อมน้ำ แรงจะพยุงตัวให้ลอยก็ไม่มี ในสำนึกสุดท้ายที่กำลังจะหมดไป วินาทีนั้นเองมหัศจรรย์ก็พลันบังเกิด ด้วยมือใครไม่ทราบได้ใหญ่โตเกินจะเป็นมนุษย์มนา ผิวคล้ำอย่างคนกร้านแดดวาดเข้ามาคว้าหมับเข้าที่คอเสื้อ ยื้อยุดฉุดไว้มิให้จมลง
    ผู้ประสบเคราะห์ร้ายและดีพร้อม ๆกัน พยายามมองหาตัวเจ้าของมือ แต่ก็ไม่อาจพบได้ เพราะตอนนี้เขาลอยเท้งเต้งอยู่กลางแม่น้ำเจ้าพระยา ใครเล่าจะเก่งกล้าสามารถขนาดเอาตัวเองเป็นหลักพยุงคนอื่นไว้ได้ คิดถึงตรงนี้ก็ขนลุกซู่ชูชัน รู้ทันทีว่าต้องเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์มาคุ้มครองเป็นแน่แท้
    เมื่อมี ผู้มาช่วยเหลือขึ้นฝั่งได้สำเร็จ เขาก็สำรวจตรวจตราตังเอง จึงได้พบตัวเขานั้นมีเหรียญท่านท้าวหิรัญพนา สูรอยู่เพียงเหรียญเดียว จะแขวนหรือเหน็บอยู่ผมก็ลืมถามเสีย รู้แตว่าเหรียญนั้นอยู่ติดกับตัวและติดอยู่จนทุกวันนี้ ผมไม่อาจเปิดเผยชื่อเสียงเรียงนามของเขาได้ บอกได้แต่เพียงว่าเขาเป็นแพทย์อยู่ รพ.ศิริราช
    ที่เกือบตายก็เพราะจะข้ามไปทำงานนี่แหละ
    ความ จริงแล้วยังมีอีกคนหนึ่งที่รอดตายจากเหตุการณ์วันนั้น และคนนี้ก็ประสบความศักดิ์สิทธิ์ของท่านฮูในลีลาที่คล้ายคลึงกัน คือมีมือมาคว้าคอเสื้อไว้ไม่ให้จมลง คนก็แขวนเหรียญรุ่นเดียวกันนี้แหละ
    ท่านมีสองมือ ท่านก็คว้าสองคน พอดีเลยเนาะ
    ———————————
    ไม่ ใช่ว่าผมจะฟังแต่เขาเล่าหรอกหนา ผมเองก็ประสบพบเจอเองเหมือนกัน นั่นเป็นวันแรกที่ผมนัดกับ ร.อ.ฉัตรไชย ประจุศิลป์ ที่กองวิทยาการ กรมแพทย์ทหารบก ว่าจะไปรับเหรียญท้าวหิรัญฮูรุ่นแรกที่ยังมีเหลืออยู่ ร.อ.ฉัตรไชย ท่านก็ยุ่งเรื่องงาน ผมเองก็แย่เรื่องรถติด กว่าจะกระดึบคืบคลานผ่านอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิไปได้ ผมก็เจียนคลั่ง เพราะเวลามันเหลืออีกเพียงไม่กี่นาทีก็จะเป็นเวลา 16.30 น. อันเป็นเวลาเลิกงานของข้าราชการ
    ท่านฉัตรไชย ก็ย้ำนักย้ำหนาว่าให้มาก่อนสี่โมงสิบห้า เพราะท่านต้องไปรับลูกและภรรยา แต่การจราจรมันไม่เอื้ออำนวยผมเลยกลุ้มมาก ผมก็พึ่งสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ผมน้อมใจอธิษฐานอยู่ในรถที่ติดเป็นบ้าเป็นหลังว่า “ท่านปู่ (ท้าวหิรัญฮู) ผมมีความตั้งใจมารับเหรียญไปสักการะบูชาด้วยใจจริง หากว่าท่านปู่รับทราบและเห็นใจ โปรดทำอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้ให้ผมได้พบ ร.อ.ฉัตรไชย และให้ได้เหรียญกลับบ้านด้วยเถิด หากว่าเป็นไปดังคำขอ ผมจะเอาพวงมาลัย 3 พวงไปถวายที่ศาลให้ได้ภายในวันนี้เช่นกัน”
    จบคำ อธิษฐาน ผมก็เบาใจขึ้นมาหน่อย คล้าย ๆกับเราได้ระบายความรู้สึกให้ใครสักคนฟัง พอรถเคลื่อนตัวเข้าไปติดอยู่ในถนนราชวิถี น้องชายผมก็บอกว่า
    “พี่ ต่อ วิ่งข้ามสะพานลอยไปเองเถอะ ไม่อย่างนั้นไม่ทันแน่ เดี๋ยวอั๊วจะเอารถเข้าไปจอดในซอยตรงข้ามกรมแพทย์เอง”
    ผมเห็นด้วยใน ทันที จึงรีบลงจากรถควบปุเลง ๆไปยังกรมแพทย์ฯ ด้วยใจระทึก ลุ้นอยู่ว่าทันหรือไม่ทัน เพราะนี่ก็อีก 4 นาทีจะสี่โมงครึ่ง ท่านฉัตรไชยจะไปถึงไหนแล้วก็ไม่รู้
    พอผมพรวดพราดเข้าไปยังเคาน์เตอร์ ประชาสัมพันธ์ในตึก ก็ต้องประหลาดใจว่า กรมแพทย์เขาช่างประหยัดไฟกันเสียจริง ยังไม่สี่โมงครึ่งดีเลยก็ปิดไฟเสียทั้งตึก ละล่ำละลักว่า ร.อ.ฉัตรไชย ประจุศิลป์ กลับไปหรือยัง ผมเข่าอ่อนยวบกับคำตอบ
    “เดินออกไปแล้วค่ะ”
    แต่ความอยาก ทำให้ผมไม่ถอย รีบถามต่อเลยว่า
    “ห้องท่านอยู่ไหนครับ”
    “ขึ้น ชั้นสอง พ้นบันไดแล้วเลี้ยวซ้ายค่ะ จะขึ้นไปทำไมคะ เขากลับไปแล้วนี่คะ”
    ผม ไม่สนหรอก บอกขอบคุณแล้วก็ควบขึ้นไปชั้นสองทันที มาถึงที่แล้วนี่นาขอให้เห็นหน้าห้องก็ยังดี วันหน้าวันหลังมาจะได้ไม่ต้องถาม พอถึงชั้นบนผมก็ยืนงง เพราะในตัวตึกมืดครึ้มอึมครึมไปหมด มองหน้ากันก็เห็นอย่างสลัวลางเหลือเกินสุดจะคลำทางต่อไป จึงเอ่ยถามสุภาพสตรีเลือดทหารท่านหนึ่ง ท่านก็ดีใจหายพาไปชี้ให้ดูห้องเสร็จสรรพ
    ผมกล่าวขอบคุณแล้วก็เคาะ ประตูห้องกระจกก่อนจะเปิดก้าวเข้าไป ภายในห้องสว่างกว่าข้างในตึกนิดหน่อยเพราะมีหน้าต่าง ร.อ.ฉัตรไชย ลุกจากโต๊ะทำงานมาสนทนากับผมอย่างเป็นกันเองด้วยความใจดีเหลือจะกล่าว ก็คุยกันมืด ๆอย่างนั้นแหละ
    ทักทายกันไปพอสมควรแล้ว ประโยคต่อมาทำเอาผมน้ำลายเหนียวแทบจะเคี้ยวได้เลย ท่านว่า
    “นี่ผมก็ เตรียมตัวจะกลับตั้งนานแล้วนะนี่ คิดว่าคุณจะไม่มาเสียแล้ว แต่อยู่ ๆไฟก็ดับ ผมเลยเก็บของเก็บเอกสารไม่ได้ เลยนั่งรออยู่สักพักหนึ่ง คุณก็มาพอดี”
    โอ้โฮ ! อะไรจะอัศจรรย์ขนาดนั้น ผมหัวใจพองคับอก เชื่อมั่นว่าต้องเป็นเพราะท่านท้าวช่วยเหลือเป็นแน่ ผมจึงคุยกับท่านฉัตรไชยอย่างเต็มตื้นที่สุด และเมื่อถึงตอนที่ ร.อ.หนุ่มเข้าไปในห้องหยิบเหรียญพร้อมกับหนังสือประวัติ และรูปภาพบูชามาให้ ท่านก็เอ่ยว่า
    “ผมเห็นว่าคุณศรัทธาในท่านท้าวหิรัญพนาสูร ก็เลยมอบหนังสือให้พร้อมภาพบูชา ซึ่งจริง ๆแล้วของสองอย่างนี้ผมไม่ค่อยได้ให้ใคร ต้องขอดูความศรัทธาเขาก่อน เพราะหนังสือและภาพนี้ส่วนที่ไว้แจกหมดไปนานแล้ว”
    ผมน้อมรับของทั้ง หมดด้วยความยินดีปรีดาเป็นอย่างยิ่ง นึกในใจว่าท่านฮูและร.อ.ฉัตรไชย ช่างกรุณาผมเสียจริง เชื่อไหมครับ ทันทีที่ผมรับของที่ต้องการมาวางลงบนโต๊ะตรงหน้า ไฟฟ้าก็ติดพรึ่บขึ้น สว่างจ้าไปทั้งห้อง ผมมองหน้า ร.อ.ฉัตรไชย ได้ถนัดชัดตาเป็นครั้งแรก ท่านเองก็มองหน้าผมอย่างกับจะรู้ใจ ก่อนจะพูดขึ้นมาว่า
    “ผมชักสงสัย แล้วละว่า ท้าวหิรัญฮู อาจจะช่วยเหลือคุณ เพื่อให้ผมอยู่คอยคุณก่อนก็ได้นะ”
    แหม! มันช่างตรงกับใจผมเสียเหลือเกิน ผมจึงเล่าให้ท่านฟังหมดว่าอธิษฐานอะไร อย่างไร เล่าจบ ท่านก็บอกให้ผมรีบไปแก้บนที่ศาลท่านฮูเสียเร็ว ๆก่อนจะมืด เพราะท่านฮูไม่ชอบคนผิดสัจจะ
    ผมก็เลยมีอันไปนั่งเอี่ยมเฟี้ยมอยู่ หน้าศาลท่านจนได้ กราบแล้วกราบอีกระลึกถึงคุณท่านอยู่ไม่รู้วาย หากท่านไม่ช่วย การเข้ากรุงเทพฯ เพื่อเดินทางไปบูชาเหรียญของผมในครั้งนั้น ก็เสียเที่ยวเปล่าเป็นแน่ ผมจึงเชื่อมั่นในท่านจริง ๆ
    —————————————————————–
    วัตถุ มงคลของท้าวหิรัญพนาสูร
    รูปหล่อรุ่นแรก สร้างเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2454 โดยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ให้หล่อขึ้นด้วยทองสัมฤทธิ์ขนาดเล็ก สูง 20 ซม. (8 นิ้ว) เป็นจำนวน 4 องค์ ปัจจุบันล้วนตกอยู่กับเจ้าฟ้าและทายาทข้าราชบริพารในเบื้องยุคลบาทของล้น เกล้ารัชกาลที่ 6 เท่านั้น ใครที่คิดอยาก ได้ ขอให้ลืมความคิดนั้นเสีย
    รูปหล่อรุ่นสอง เมื่อมีผู้เลื่อมใสศรัทธาเรียกร้องมากเข้า การสร้างรูปเหมือนท่านฮูจึงเกิดขึ้นเป็นคำรบ ที่สอง โดย พล.ท.สมุท ชาตินันทน์ เจ้ากรมแพทย์ทหารบกในสมัยนั้น (ปีพ.ศ. 2512) เป็นผู้ดำเนินการสร้างขึ้น จะเรียกว่าเป็นรุ่นแรกของประชาชนก็คงไม่ผิด เพราะรุ่นหนึ่งไม่มีวันถึงมือใครอยู่แล้ว รูปหล่อรุ่น 2 นี้ลักษณะคล้ายคลึงกับรุ่นแรกทุกประการ แต่ขนาดย่อมลงมาประมาณ 1 นิ้ว เท่ากับว่าสูง 18 ซม. (7 นิ้ว) เนื้อเป็น นวโลหะ (รมดำ) จำนวนการสร้างก็ 100 องค์ ผู้ปั้นและผู้หล่อเป็นคนเดียวกันคือ อ.เสถียร วงศ์ลอย อาจารย์โรงเรียนเพาะช่าง
    เมื่อสร้างเสร็จก็นำไปขอ บารมีของท่านเจ้าคุณนรรัตนราชมานิตย์ หรือ ท่านธัมมวิตักโกภิกขุ วัดเทพศิรินทราวาส อธิษฐานจิต “บินเดี่ยว” ให้ นับว่ารุ่นนี้ดีเลิศที่สุด เพราะประเสริฐทั้งผู้อธิษฐานและผู้ถูกอธิษฐาน และยังเป็นการพบกันระหว่าง 2 องครักษ์ที่รัชกาลที่ 6 ทรงพระราชทานความเมตตาสนิทสนมด้วยเป็นที่สุด
    <!–
    แนบไฟล์:
    –>
    <!–คำอธิบาย: รูปหล่อท้าวหิรัญพนาสูร รุ่น 3 ปี พ.ศ.2525
    และทิวทัศน์วังพญาไท
    –> รูปหล่อท้าวหิรัญพนาสูร รุ่น 3 ปี พ.ศ.2525
    และ ทิวทัศน์วังพญาไท
    [​IMG]
    <!-- 3_03.JPG [ 67.16 KiB | เปิดดู 553 ครั้ง ] -->
    รูปหล่อรุ่นสาม เนื่องในวโรกาสฉลองกรุงรัตนโกสินทร์มีอายุครบ 200 ปี ใน พ.ศ. 2525 กรมแพทย์ทหารบกจึงได้ดำเนินการจัดสร้างรูปเหมือนท่านท้าวหิรัญพนาสูร อีกเป็นครั้งที่ 2 (ของกรมแพทย์ฯ)
    ขนาดของรูปหล่อสูง 23 ซม. (9 นิ้ว) สร้างเป็นเนื้อนวโลหะ (รมดำ) จำนวน 499 องค์ โดย อ.ผดุงศักดิ์ ศิลากรณ์ อาจารย์หน่วยผลิตหุ่นจำลอง โรงเรียนเวชนิทัศน์ คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นผู้ดำเนินการปั้นและหล่อแบบ
    เมื่อต้นแบบรูป เหมือนเสร็จบริบูรณ์ ก็ไปอาราธนาท่านเจ้าประคุณพระโพธิสังวรเถร (ไพฑูรย์ อัตตทีโป) วัดโพธินิมิตร ตลาดพลู ธนบุรี มาเป็นองค์ประธานฝ่ายสงฆ์ ทำพิธีเททองเมื่อวันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2525 เวลา 09.56 น. เมื่อพิธีเททองเสร็จสิ้นลง ก็นำรูปทั้งหมดไปแต่ง
    จากนั้นก็ถึงการปลุกเสก องค์เสกก็ยังคงเป็นองค์เดิมที่เททอง คือ หลวงพ่อไพฑูรย์ อัตตทีโป โดยเสกแบบบินเดี่ยว เฉกเช่นท่านเจ้าคุณนรฯ
    <!–
    แนบไฟล์:
    –>
    <!–คำอธิบาย: เหรียญท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) เนื้อทองแดงรุ่น แรก ปี พ.ศ.2525 (ด้านหน้า-หลัง)
    –> เหรียญท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) เนื้อทองแดงรุ่น แรก ปี พ.ศ.2525 (ด้านหน้า-หลัง)
    [​IMG]
    <!-- _03.JPG [ 48.54 KiB | เปิดดู 552 ครั้ง ] -->
    เหรียญรุ่นแรก จัดสร้างพร้อมกับรูปหล่อรุ่นสาม ในปี พ.ศ. 2525 จำนวนสร้างประมาณ 10,000 เหรียญ เป็นเนื้อทองแดงล้วน โดยประกอบพิธีทั้งแบบพราหมณ์ และแบบพุทธ อย่างถูกต้องตามหลักทุกประการ
    เมื่อหลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิตร ธนบุรี ทำการปลุกเสกรูปหล่อและเหรียญรุ่นนี้จนครบกำหนดฤกษ์มงคลของท่านแล้ว ก็ยังนำของทั้งหมดมาประกอบพิธีบวงสรวง อัญเชิญท่านท้าวหิรัญพนาสูรลงสถิตในของทั้งหมดนั้นอีกด้วย
    รูปหล่อรุ่นสามนี้ “หมดสนิท” ผมเคยได้ ยินคนถามหากันในราคา 5 หมื่นบาท ฟังรื่นหูดีชอบกล
    <!–
    แนบไฟล์:
    –>
    <!–คำอธิบาย: เหรียญรุ่น 2 ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) เนื้อทองแดงรุ่น แรก ปี พ.ศ.2538
    สมเด็จพระญาณสังวร เป็นองค์ประธานมังคลาภิเษก (ด้านหน้า-หลัง)
    –> เหรียญรุ่น 2 ท้าวหิรัญพนาสูร (ฮู) เนื้อทองแดงรุ่น แรก ปี พ.ศ.2538
    สมเด็จพระญาณสังวร เป็นองค์ประธานมังคลาภิเษก (ด้านหน้า-หลัง)
    [​IMG]
    <!-- 2_03.JPG [ 42.22 KiB | เปิดดู 552 ครั้ง ] -->
    สำหรับท่านที่มีความต้องการ เหรียญรุ่นแรกแต่ไม่อาจหาได้ ตอนนี้วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์พระมงกุฎเกล้าได้ทำการสร้างขึ้นมาใหม่ เนื่องในโอกาสที่มีอายุครบ 20 ปีพอดี ในวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2538 ทางวิทยาลัยจึงได้จัดสร้างเหรียญขึ้นเป็นที่ระลึก โดยจัดพิธีมังคลาภิเษกพร้อมวัตถุมงคลอีกหลายชนิด ณ วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำพู โดยมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เป็นองค์ประธาน
    เหรียญ นี้มีให้บูชาที่ ศาลท่านท้าวหิรัญพนาสูรใน ร.พ.พระมงกุฏ ด้วย
    <!–
    แนบไฟล์:
    –>
    <!–คำอธิบาย: ภาพเขียนขนาดบูชา ท้าวหิรัญพนาสูร
    ปลุกเสกโดยหลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิตร ปี พ.ศ.2525
    –> ภาพเขียนขนาดบูชา ท้าวหิรัญพนาสูร
    ปลุกเสก โดยหลวงพ่อไพฑูรย์ วัดโพธินิมิตร ปี พ.ศ.2525
    [​IMG]
    <!-- _04.JPG [ 42.6 KiB | เปิดดู 546 ครั้ง ] -->
    ก่อนจบเรื่องของท่าน ขอฝากคาถาสำหรับบูชาและอัญเชิญท่านท้าวมาปกปักรักษา เพื่อเป็นสิริมงคลแก่ตนดังนี้
    ระ หินะ ภูมาสี ภะสะติ นิรันตะรัง ลาภะสุขัง ภะวันตุเม ฯ
    สวด 3, 5, 7, 9 จบ ก็เป็นอันใช้ได้
    ขอ อ้างเอาบารมีของท่านท้าวหิรัญพนาสูร จงคุ้มครองทุกท่านให้มีความสุขความเจริญ
    สวัสดีครับ
    บทความนี้ได้ตีพิมพ์เมื่อ วันที่ 16 ธันวาคม 2539 และ 1 มกราคม 2540
     
  3. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
  4. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
    พระเดชพระคุณ ศาสตราจารย์ ดร. พระธรรมโกศาจารย์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเป็น อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เจ้าคณะภาค ๒ เจ้าอาวาสพระอารามหลวง วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร กรุงเทพมหานคร และเป็นคณะเลขานุการประธานคณะผู้ปฎิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

    ท่านเกิดเมื่อวันที่ ๑๗ เดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๘ จังหวัดสุพรรณบุรี และบรรพชาเป็นสามเณรมื่ออายุ ๑๒ ปี ในปี พ.ศ. ๒๕๑๙ ขณะที่ยังเป็นสามเณร ท่านก็สำเร็จการศึกษาขั้นสูงสุดในด้านบาลีศึกษาของประเทศไทย คือเปรียญธรรมประโยค ๙ ในปีเดียวกัน ท่านก็อุปสมบทที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระบรมราชูปถัมภกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

    สองปีต่อมา ท่านได้รับปริญญาตรีพุทธศาสตรบัณฑิต สาขาปรัชญา เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย หลังจากนั้น ท่านได้เข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยเดลี ประเทศอินเดีย ได้รับประกาศนียบัตรภาษาฝรั่งเศส ปริญญาโททางอักษรศาสตร์และทางปรัชญา และปริญญาเอก ตามลำดับ วิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอกของท่านซึ่งเขียนเป็นภาษาอังกฤษและได้รับการตีพิมพ์ในชื่อเรื่องว่า “การไร้อัตตาในลัทธิสิ่งที่ดำรงอยู่ของซาตร์และในพุทธศาสนาดั้งเดิม” ได้รับความนิยมและพิมพ์ซ้ำอีกหลายครั้ง

    หลังจากที่จบปริญญาเอก ท่านได้เป็นอาจารย์บรรยายที่ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ระยะหนึ่ง ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ มหาเถรสมาคม อนุมัติให้ไปเป็นพระธรรมฑูต ประจำวัดธัมมาราม ชิคาโก สหรัฐอเมริกา และกลับมารับตำแหน่งผู้อำนวยการกองวิชาการ และเป็นคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยท่านแรก และได้รับแต่งตั้งเป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยจากสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๐ และในปีถัดมาก็ได้รับแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะภาค ๒ รับผิดชอบเขตปกครองคณะสงฆ์จังหวัดอยุธยา จังหวัดสระบุรี จังหวัดอ่างทอง

    นอกจากงานปกครองคณะสงฆ์แล้ว ท่านยังเป็นพระภิกษุผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิชาการของประเทศไทยรูปหนึ่ง ได้นิพนธ์หนังสือเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาและปรัชญากว่า ๖๐ เล่ม งานพิมพ์ต่าง ๆ ของท่านทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ รวมทั้งหนังสืออื่น ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ปรัชญากรีก พุทธวิธีสร้างสันติภาพ จริยธรรมชาวพุทธ โลกทัศน์ของชาวพุทธ และวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากล สหประชาชาติ

    ท่านได้รับเชิญให้กล่าวบรรยายธรรมทั้งทางวิทยุและโทรทัศน์ และได้รับเชิญให้บรรยายธรรมเป็นประจำทุกปีทั่วประเทศและทั่วโลกตั้งแต่ ๒๐ ปีที่แล้วมา ซึ่งรวมทั้งการบรรยายธรรมเป็นชุดต่อเนื่องในสหรัฐอเมริกา ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ เป็นผู้แทนของประเทศไทยเสนอบทความทางวิชาการ ในที่ประชุมใหญ่ขององค์การพุทธศาสนิกสัมพันธ์แห่งโลก ที่กรุงเทพมหานคร และในที่ประชุมสัมมนาผู้นำทางศาสนาที่จัดเนื่องในการประชุมใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ กรุงไคโร ประเทศอียิปต์

    ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๕๔๓ ท่านได้รับเชิญไปบรรยายเรื่อง “พุทธทัศนะสลายความขัดแย้ง” ในการประชุมสุดยอดผู้นำทางศาสนาและจิตวิญญาณเพื่อสันติภาพโลก ณ องค์การสหประชาชาติ นิวยอร์ค สหรัฐอเมริกา สามเดือนต่อมาท่านได้บรรยายพิเศษเรื่อง “การเผยแผ่พระพุทธศาสนาเพื่อสันติภาพของโลก” ในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธเพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลกครั้งที่สอง ณ พุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม ประเทศไทย

    ด้วยการเป็นที่ยอมรับในงานบทความด้านวิชาการและการสละอุทิศตน เพื่อสังคมในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ของท่าน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยจึงพระราชทานตำแหน่งศาสตราจารย์สาขาปรัชญาแก่ท่าน ที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ ๑๖ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๖

    ท่านได้เป็นประธานคณะกรรมการจัดงานในการประชุมสุดยอดผู้นำชาวพุทธ เพื่อการเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งโลก ครั้งที่สอง เป็นเจ้าภาพร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและพุทธศาสนานิกายเนนบุตสุชุของญี่ปุ่น การประชุมจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ ๙ – ๑๑ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๔๓ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเทคนิคการเผยแผ่พระพุทธศาสนา และเพื่อสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้นำชาวพุทธทั่วโลก และเพื่อเฉลิมฉลองมหามงคลสมัยในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของประเทศไทยครบรอบ ๗๒ พระชันษา

    นอกจากนี้ ท่านยังเป็นประธานคณะกรรมการริเริ่มกอตั้งการจัดประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก ณ พุทธมณฑล และ ยูเอ็นเอสแคป ระหว่างวันที่ ๑๒ -๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๕

    สองปีต่อมา ท่านได้ทำหน้าที่เสมือนประธานคณะกรรมการจัดงานการประชุมสภาผู้นำศาสนาแห่งโลก พร้อมกับการจัดการประชุมสุดยอดผู้นำเยาวนเพื่อสันติภาพแห่งโลก ณ พุทธมณฑล ระหว่างวันที่ ๒๔-๒๙ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๔๗ และเป็นประธานคณะกรรมการจัดงาน การประชุมการทำงานร่วมกันชาวพุทธนานาชาติ ครั้งที่หนึ่ง หัวข้อ “เอกภาพและความร่วมมือของชาวพุทธ” ณ พุทธมณฑล และยูเอ็นเอสแคป กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ ๑๖-๒๐ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๗ และจากนั้นเป็นต้นมาก็เป็นแกนหลัก และประธานการจัดงานเฉลิมฉลองวันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลกที่ประเทศไทย และเป็นประธานคณะกรมมการการจัดงานประชุมนานาชาติ วันวิสาขบูชา วันสำคัญสากลของโลก ครั้งที่สอง และครั้งที่สาม อย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. ๒๕๔๘และ พ.ศ. ๒๕๔๙ ตามลำดับ

    ท่านเป็นประธานคณะกรรมการการจัดงานการประชุมนานาชาติ ครั้งที่สี่ วันวิสาขบูชาวันสำคัญสากลของโลก ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๖ -๒๙ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๕๐

    เดิมท่านเป็นที่รู้จักกันในนามของพระมหาประยูร มีฤกษ์ พระเมธีธรรมาภรณ์ พระราชวรมุนี พระเทพโสภณ ด้วยการที่ท่านเป็นที่ยอมรับในเรื่องการสนับสนุนส่งเสริมต่าง ๆ แก่คณะสงฆ์และสังคมอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันท่านจึงได้รับพระบรมราชโองการ เลื่อนสมณศักดิ์ เป็น พระธรรมโกศาจารย์ จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ ๕ เดือนธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๘
    เพื่อติดตามผลงาน เทปวิดีโอ เสียงบรรยาย
    -http://www.mcu.ac.th/ebooks/ - เว็บไซต์วัดประยูรวงศาวาส http://www.watprayoon.org/
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2011
  5. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
  6. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
  7. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
    อนุโมทนาสาธุครับ หลวงพ่ออวยพรครับ

     
  8. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=732 border=0><TBODY><TR><TD class=text_brown12_bold align=middle>[SIZE=+1]วัดประโชติการาม[/SIZE]

    </TD></TR><TR><TD align=middle>

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top align=left><TABLE cellSpacing=1 cellPadding=1 width="90%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=text_brown_normal>
    ประวัติ
    หลวงพ่อสิน หลวงพ่อทรัพย์ และประวัติวัดประโชติการาม
    ตำบลบางกระบือ อำเภอเมือง จังหวัดสิงห์บุรี
    **************
    ประวัติวัดประโชติการาม (เดิมชื่อวัดประชด)
    ในอดีตกาลนานมาแล้ว ตามตำนานได้แจ้งว่ามีสัตว์หนึ่งมีลักษณะคล้ายสิงห์ อาศัยในถ้ำคูหา อยู่ในบริเวณที่เป็นที่ตั้งวิหารพระพุทธไสยาสน์ สิงห์ตัวนี้ได้ไปหากินแขวงเมืองชัยนาท ไปพบบุตรีของเศรษฐีผู้หนึ่ง (ไม่ปรากฎชื่อ) มีความปฏิพัทธ์รักใคร่ในนางนั้นเป็นกำลัง เมื่อได้ทีจึงรวบรัดนางนั้นขึ้นหลังพามายังคูหาแห่งตน และได้สมสู่เป็นสามีภรรยาด้วยกันมาช้านานก็มีครรภ์ ครั้งถึงกำหนดก็คลอดบุตรชายเป็นมนุษย์ บิดามารดามีความชื่นชมยินดีเป็นที่สุด และขนานนามบุตรว่า สิงหนพาหุ ครั้งสิงหนพาหุเจริญวัยขึ้น เมื่อสิงห์ผู้เป็นบิดาไปเที่ยวหาอาหารในป่า สิงหนพาหุก็ไปเที่ยวด้วยเสมอ แต่หาทราบไม่ว่าสิงห์นั้นเป็นบิดาของเธอ วันหนึ่งได้โอกาสจึงอ้อนวอนตามมารดาว่าบิดาของข้าพเจ้าคือใคร มารดาจึงตอบเป็นนัย ๆ ว่าวันนี้เจ้าไปเที่ยวกับใครคนนั้นแหละคือบิดาของเจ้า สิงหนพาหุเมื่อทราบชัดว่า สิงห์นั้นเป็นบิดาของตนตามคำมารดาบอก ก็เกิดความโหมนัสน้อยใจ คิดละอายแก่เพื่อนมนุษย์ ด้วยว่าบิดาของตนเป็นสัตว์เดรจฉาน เหตุนี้เองจึงทำให้สิงหนพาหุคิดเห็นผิดเป็นชอบ คอยหาโอกาสที่จะประหารชีวิตบิดาเสีย ครั้งวันหนึ่งคิดเห็นอุบายอันเหมาะสม ที่จะทำลายชีวิตบิดาได้แล้ว ก่อนจะไปป่าจึงขอให้มารดาห่ออาหารให้พ่อหนึ่งแล้วเดินทางเข้าสู่ป่า พร้อมกับสิงห์ผู้เป็นบิดา พบสัตว์ฝูงหนึ่งที่ใกล้บริเวณต้นโพธิ์ สิงห์จึงให้บุตรคอยอยู่ใต้ต้นโพธิ์นั้น ตอนออกเที่ยวจับสัตว์ในป่าเพลินอยู่ ฝ่ายสิงหนพาหุคอยบิดาอยู่ เมื่อไม่เห็นบิดากลับมาจึงขึ้นต้นโพธิ์ตระโกนร้องเรียก เมื่อบิดากลับมาถึงแล้ว จึงจัดอาหารให้รับประทานภายใต้ต้นโพธิ์ สิงหนพาหุถืออาวุธแอบหลังคอยทีอยู่ พอได้ทีก็ฟันคอบิดาขาดตายในที่นั้นจึงตัดกิ่งโพธิ์คลุมศพบิดาไว้ในสถานที่นั้น ๆ จึงมีนามว่าโพธิ์ตระโกนตั้งแต่วันนั้นมาจนบัดนี้ ครั้งเสร็จจากการทำลายชีวิตบิดาแล้ว จึงกลับมายังคูหาแจ้งความตายที่ตนได้ปลงชีวิตบิดาแก่มารดาทุกประการ นางมีความเศร้าโศกร่ำไห้ถึงสามีมิวายวัน ครั้งวายโศกแล้ว จึงปรึกษากับสิงหนพาหุ จะปลงศพบิดาเจ้าที่ไหนจึงจะสมควร ได้รับตอบว่าควรจะปลงศพที่โคกจันทร์ซึ่งเป็นบริเวณใกล้คูหา เป็นอันตกลงนำศพมาทำฌาปนกิจที่โคกจันทร์บัดนี้ สถานที่นั้นก็ยังมีปรากฎอยู่ ครั้งปลงศพเสร็จแล้ว สิงหนพาหุจึงอาราณนาพระเถรานุเถระทั้งหลายให้มาประชุมพร้อมกัน ในสถานที่สมควรแห่งหนึ่งแล้วจึงเรียกถามว่า บัดนี้ข้าพเจ้าได้พิจารณาโทษที่กระทำผิดต่อบิดานั้นแล้ว จะกระทำอย่างไรดีจึงจะพ้นโทษนั้นได้ พระสงฆ์ทั้งหลายจึงบอกว่าควรจะสร้างพระพุทธรูปและกุฏิวิหารถวายเป็น สังมิการาม แด่พระสงฆ์ทั้หลาย ผู้มาแต่จาตุทิศทั้งสี่นั่นแหละเห็นว่าจะเป็นบุญกุศลช่วยบรรเทาบาปกรรมอันหนักยิ่งของท่านได้บ้าง สิงหนพาหุจึงได้เริ่มก่อสร้าง พระพุทธไสยาสน์ขึ้นองค์หนึ่ง เอาทองคำโคสมกำยาว 1 เส้น ทำเป็นแกนพระพุทธรูปได้สร้างทับคูหาไว้ และสร้างกุฏิวหารเป็น พระอารามสำเร็จบริบูรณ์ จึงได้มีการประชุมพระสงฆ์ ฉลองถวายปัจจัยไทยธรรมครั้งเสร็จแล้ว จึงเรียนถามพระสงฆ์อีกวาระหนึ่งว่า ด้วยเดชะอำนาจกุศลสมภาร ที่ข้าพเจ้าได้ก่อสร้างพระพุทธรูปและพระอารามนี้ จะพ้นโทษได้หรือยัง พระสงฆ์จึงบอกว่า อาจเป็นอานิสงส์ช่วยได้บ้างแล้ว ครั้งต่อมาสิงหนพาหุ จึงได้จัดสร้างพระอารามขึ้นที่ต้นโพธิ์ ซึ่งเป็นสถานที่ทำลายชีวิตบิดาถึงแก่กรรมอีกแห่งหนึ่ง จึงได้นามว่า วัดสะบาป บัดนี้ยังปรากฏอยู่ แต่ร้างเสียแล้ว ครั้งสร้างวัดสะบาปแล้วมาสร้างวัดกึ่งโยชน์ ปัจจุบันเรียกว่า วัดยวด อยู่บนถนนสายสิงห์บุรี บางระจัน มีพระนั่งอยู่สององค์สิงหนพาหุกลัวว่าบาปยังไม่สิ้นไปจึงมาสร้างขึ้นอีกวัดหนึ่งชื่อ วัดประชด เพื่อให้บาปพ้นไปเพื่อเป็นการชดเชยหรือประชดให้ จึงได้สร้างพระพุทธรูปยืนปางห้ามญาติขึ้น 2 องค์ และได้ขนานนามว่า หลวงพ่อสิน สูง 3 วา 3 ศอก 5 นิ้ว ส่วนองค์หลังขนาดนามว่า หลวงพ่อทรัพย์ สูง 6 วา 7 นิ้ว และด้านหลังมณฑกหลวงพ่อสร้าง ได้สร้างพระมหาเจดีย์ใหญ่องค์หนึ่ง แต่บัดนี้ได้ทรุดโทรมหักพังเหลือแต่ซาก เมื่อทางคณะกรรมการวัดได้ทำการก่อสร้างพระอุโบสถหลังปัจจุบัน ก็ได้ช่วยกันถมดินและเศษอิฐ ซึ่งสลักหักพังมาถมพื้นอุโบสถให้สูงเสมอกับวิหารหลวงพ่อทั้งสององค์ แต่น่าอัศจรรย์ตรงกลางพระเจดีย์ไม่มีใครสามารถทำลายได้ คงปล่อยให้เป็นโคกสูงอย่างนั้นเอง จนกระทั่งวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7 ปี พ.ศ.2496 พระอธิการปั้น ซึ่งขณะนั้นจำพรรษาอยู่วัดยาว ตำบลทับยา อำเภออินทร์บุรี ได้ครุ่นคิดอยู่เสมออยากจะมาเที่ยววัดประชดเหลือเกิน บังเอิญวันดังกล่าวก็มีโอกาสได้มา ก็เกิดฝนตกลงมาอย่างหนัก จนพระอธิการปั้นไม่สามารถกลับวัดได้ จนเวลาบ่าย 6 โมงเย็นจึงหาย พระอธิการปั้นจึงได้เข้าไปนมัสการหลวงพ่อสิน และหลวงพ่อทรัพย์ แล้วก็ออกเดินทางไปด้านหลังหลวงพ่อทรัพย์จะออกถนนเหลือยแถไปทางด้านพระเจดีย์ ซึ่งตอนนั้นเป็นดินอยู่ แลเห็นพระพุทธรูปยืนอยู่บนโคกดิน ดังนั้น ท่านจึงเกินไปตั้งใจจะไปเอาพระพุทธรูป พระพุทธรูปนั้นก็จางหายไป เห็นแต่ไหใบใหญ่มีฝาปิดโผล่อยู่บนผิวดิน จึงเข้าไปเอาปลายร่มกระทุ้งดู เห็นฝาเปิดไหอยู่จึงเข้าใจว่าคงจะเป็นกรุพระหรือของมีค่าแน่นอน จึงรีบไปบอกพระภายในวัดประชดนี้ให้มาดู แล้วช่วยกันลอกขุดดู (พระขณะนั้นมีพระเต่า พระฉ่ำ พระหยวก พระแหยม และนายปลั่งซึ่งกำลังเป็นนาคอยู่) ในขณะที่ขุดนั้นได้เกิดปาฏิหาริย์ เสียงดัง แต่ก็ไม่พบอะไร เมื่อตั้งสติดีแล้ว ก็ช่วยกันยกไหซึ่งมี 4 หูแบบโบราณ เมื่อเปิดฝาออกดูก็พบพระเครื่องปางต่าง ๆ มากมายและตอนกลาง ๆ ไหก็มีพระบูชาปางต่าง ๆ หลายสิบชนิด กำไรข้อมูลแบบทองคำ ทองเหลือง แหวนแบบหนวดกุ้งอย่างเก่ามากมาย พระจึงให้มรรคทายกไปแจ้งเรื่องให้ ท่านเจ้าคุณสิหราชมุนี เจ้าคณะจังหวัดสิงห์บุรี วัดสังฆราชาวาส เมื่อพระคุณเจ้ามาถึงวัดประชด ก็ได้ตั้งคณะกรรมการตรวจดูพระและจำนวน และได้นำออกให้ประชาชนเช่าเพื่อนำรายได้ไปสมทบในการสร้างพระอุโบสถ ซึ่งขณะนั้นยังไม่ได้เทพื้นและช่อฟ้าหน้าบรรณและทำฝาผนัง และแท่น พระประทาน ขณะนี้ยังเหลือแต่ไห 4 หู ซึ่งสำหรับใส่น้ำพระพุทธมนต์ประจำวัดเป็นประจำมีความศักดิ์สิทธิ์ ตามความปรารถนาของผู้ขก ฝาไหนั้นขณะที่ได้กรุใหม่ ๆ มีประชาชนมาชมกันมากก็เอาฝาเปิดวางไว้ข้างไฟ ได้มีเด็กชายเบี้ยว ชัยศิลป์จะเข้าไปดูในไห ดูไม่ถึงเหยียบไปบนฝาไห แล้วก็เกิดปาฏิหาริย์ล้มลงเดินไม่ได้ หลวงพ่อฟุ้ง อุตตโม ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสอยู่วัดสะเดา ขณะได้กรุพระท่านมาช่วยบัญชางานที่วัดประชดด้วย และท่านได้ตั้งเจตนาว่าจะนำพระบูชาและพระเครื่องไปให้คนเช่าและจำนำเงินมาสร้างพระเจดีย์แทนเจดีย์องค์เก่า และท่านได้บอกบิดามารดาของเด็กชายเบี้ยวให้มาขอขมา และอาราธนาน้ำมนต์ที่โอ่งนั้นไปให้เด็กดื่ม และอาบ เด็กชายเบี้ยวก็หายเป็นปกติเดินได้ในวันนั้นเอง
    วัดประชดนี้สร้างมาประมาณหลายร้อยปีแล้วคงจะเป็นสมัยสุโขทัย เพราะได้พิจารณาสิ่งปรักหักพัง และองค์พระพุทธรูปและลวดลายฝาผนัง และทรุดโทรมมาแต่ครั้งใดไม่มีใครสันนิษฐานได้ถูกต้อง เพราะเมื่อข้าพเจ้าจำความได้ และได้รับคำบอกเล่าจากญาติผู้ใหญ่ว่า หลวงพ่อสินองค์หน้าน้น ซุ้มวิหารและกำแพงพังเหลือแต่องค์หลวงพ่อสิน องค์ท่านเอนจวนจะล้ม ในขณะนั้นมีสามเณรที่มีภูมิลำเนาเดิมอยู่ใต้วัดประชด ได้ไป จำพรรษาและเรียนภาษาบาลีที่วัดมหรรณ์ กรุงเทพฯ ได้ขึ้นมาเยี่ยมญาติโยมเห็นว่าองค์หลวงพ่อจะล้ม จึงได้ชักชวนญาติโยม เอาไม้เสามาค้ำองค์หลวงพ่อไว้ แล้วได้ตั้งสัตย์อธิษฐานว่าถ้าต่อไปข้าพเจ้าประกอบอาชีพอะไร ถ้าร่ำรวยจะกลับมาสร้างวิหารให้หลวงพ่อ ก็เป็นจริงเพราะสามเณรองค์นั้นคือ ท่านมหาสม พ่วงภักดี ได้ทำการค้าหนังสือเกี่ยวกับ พระธรรมวินัย และพระไตรปิฎก จนมีเงินพอจะปฏิสังขรณ์องค์หลวงพ่อได้ ก็มาสร้างวิหารที่องค์หลวงพ่อสิน ดังที่ปรากฏอยู่ในทุกวันนี้ และท่านมหาสม ก็ดำเนินกิจการเจริญรุ่งเรืองและได้ทำการเฉลิมฉลองและได้ทำการเปิดกรุ รูปเหรียญ หลวงพ่อทรัพย์ หลวงพ่อสิน โดยได้อาราธนาพระเกจิอาจารย์ที่ทรงวิทยาคุณเมื่อ พ.ศ.2502 โดยมีหลวงนฤนาท ประไพ เป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ และท่านพระครูเกศีวิกรม (หลวงพ่อพูล) วัดสังฆราชาวาส สิงห์บุรี เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีท่านเจ้าคุณสิงหปุราจารย์ (หลวงพ่อลพ) วัดโบสถ์ อินทร์บุรี หลวงพ่อเปิ่น เจ้าอาวาสวัดบ้านไร่ หลวงพ่อเชน เจ้าอาวาสวัดสิงห์ หลวงพ่อสาด วัดเสาธงทอง หลวงพ่อฟุ้ง วัดสะเดา ได้ร่วมกันทำพิธีปลุกเสก ซึ่งพระคุณเจ้าทุกองค์ก็ได้ล่วงลับไปหมดแล้ว และเหรียญที่ได้กระทำพิธีพุทธาภิเษกครั้งนี้ ได้จัดจำหน่ายแก่ประชาชน เพื่อนำรายได้มาบูรณะซ่อมแซมกุฏิ ส่วนเหรียญที่เหลือ หลวงพ่อพูล ได้รวบรวมไปเก็บไว้ที่วัดสังฆราชาวาสเหรียญนี้มีคนนำไปใช้ได้ผลดีทางเมตตามหานิยม ค้าข้าย หาลาภ คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ป้องกันภัยได้ดีมาก จนประชาชนเข้าใจว่าเหรียญนี้ได้หมดสิ้นไปแล้ว และทางวัดก็ไม่เคยได้สร้างเหรียญชนิดนี้อีกเลยจนเมื่อ พ.ศ.2516 ข้าพเจ้าได้ไปอาราธนาพระครูบรรสารวิจิตร เจ้าคณะอำเภอเมืองสิงห์บุรีองค์ปัจจุบัน ไปเป็นประธานในการวางศิลาฤกษ์ศาลาการเปรียญ ท่านเจ้าคณะอำเภอได้มอบเหรียญหลวงพ่อสินและหลวงพ่อทรัพย์ซึ่งมีอายุมาร่วม 35 ปี รุ่นเก่ามาให้ประชาชน จึงได้ทราบว่าหลวงพ่อพูลนำไปเก็บนั้น ยังอยู่ไม่หมด และเป็นเหรียญรุ่นนั้นรุ่นเดียว บัดนี้ทางวัดได้นำมาให้ประชาชนได้เช่า ตั้งแต่วันทำพิธีวางศิลาฤกษ์ศาลาการเปรียญ ถ้าใครจ้องการก็ไปติดต่อคณะกรรมการวัดได้ทุกเวลา ช้าไปอาจจะหมดก็ได้







    หลวงพ่อสิน หลวงพ่อทรัพย์

    ประวัติและอภินิหารหลวงพ่อสิน หลวงพ่อทรัพย์
    ในขณะนี้ประชาชนที่อยู่ห่างไกลและใกล้กับวัดประโชติการาม ซึ่งมีความเคารพและเชื่อมั่นในหลวงพ่อสินและหลวงพ่อทรัพย์ที่จะช่วยปิดเป่าความทุกข์ร้อนของท่าน ด้วยการอาราธนาศีลจากหลวงพ่อสินองค์หน้า และเราก็ไปขอพรจากหลวงพ่อทรัพย์ ท่านที่ต้องการสิ่งใดก็สมความปรารถนา เช่นที่ได้มีปรากฏมาแล้ว ได้แก่การค้าขาย ก็นำโชคลาภมาให้และช่วยปัดเป่าภัยอันตรายต่าง ๆ ตลอดจนการเจ็บปวดโรคปัจจุบันก็ได้หายในชั่วพริบตาทุกวันนี้มักจะได้เห็นการแก้บนเป็นประจำส่วนมากประชาชนมักพูดกันว่า ถ้าใครบนด้วย ใบศรี หัวหมู ข้าวปากหม้อ ไข่ต้ม ประทัด หลวงพ่อชอบมากได้ผลทันตาเห็น
    หลวงพ่อทรัพย์มีความสูง 6 วา 7 นิ้ว หลวงพ่อสินสูง 3 วา 3 ศอก 5 นิ้ว


    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มิถุนายน 2011
  9. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
  10. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
  11. iracha

    iracha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +572
    ขอร่วมทำบุญ จำนวน 100.-บาท จะโอนเงินเข้าบัญชี ธ.ไทยพาณิชย์ ในนาม
    คุณสมเกียรติ ชวดชุม อย่างช้าวันที่ 29 มิ.ย.54 หากโอนแล้ว จะแจ้งให้ทราบอีกครั้งหนึ่ง
    และขออนุโมทนากับทุกท่านที่ร่วมทำบุญในครั้งนี้ ด้วยครับ
     
  12. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
  13. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
  14. sudsud111

    sudsud111 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    99
    ค่าพลัง:
    +305
    ขอร่วมทำบุญด้วยครับ สาธุ สาธุ
    โอนเมื่อกี้อาจจะเข้าพรุ่งนี้นะครับ

    เลขที่บัญชี XXXX282556
    ยอดเงินคงเหลือในบัญชี
    บัญชีผู้รับเงิน
    เลขที่บัญชี 2072211930 - นาย สมเกียรติ ชวดชุม
    จำนวนเงิน
    จำนวนเงินที่ต้องการโอน 100.00 บาท
    ค่าธรรมเนียม 10.00 บาท
    วันที่ทำรายการ 28/06/2554 - 23:43:17
     
  15. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
  16. iracha

    iracha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +572
    วันนี้ เวลา 08.38 น. ได้โอนเงินจำนวน 100.-บาท เข้า บ/ช ธ.ไทยพาณิชย์ เลขที่
    บ/ช 207-221-193-0 เพื่อร่วมทำบุญกฐินสามัคคี ปฏิสังขรณ์องค์พระอัฎฐารสยืนคู่ แล้ว
     
  17. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
  18. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
    ชื่อ..นายนิตย์
    คำจันทร์..พร้อมกล่มพลังจิกทุกๆคน อนุโมนายาสาธุนะครับ
     
  19. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
    อนุโมทนาสาธุ ครับหลวงพ่อคุ้มครอล


     
  20. por410

    por410 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    535
    ค่าพลัง:
    +39
    อนุโมทนาสาธุ ครับหลวงพ่อคุ้มครอง




     

แชร์หน้านี้

Loading...