เงินเฟ้อที่เพิ่มความรุนแรงขึ้นแล้ว??? รู้ทันโลก (โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน)

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย k.kwan, 11 พฤศจิกายน 2010.

  1. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิกฤตการเมืองไม่นิ่ง'ตูนิเซีย-อียิปต์-โอมาน'ต้องปรับคณะรัฐมนตรี

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2554 03:33 น.


    [​IMG]



    เหตุชุมนุมทางการเมืองในโอมาน


    เอเอฟพี - สุลต่านกอบูสแห่งโอมาน มีคำสั่งปรับคณะรัฐมนตรีครั้งใหญ่เมื่อวันจันทร์(7) ตามหลังการประท้วงต่อต้านรัฐบาลยืดเยื้อหลายสัปดาห์ ขณะที่ ตูนิเซีย และ อิยืปต์ สองชาติที่มีเหตุจลาจลนองเลือดตะเพิดผู้นำจอมเผด็จการก่อนลุกลามไปทั่วภูมิภาคก็ต้องปรับเปลี่ยนคณะบริหารชุดใหม่อีกครั้ง เหตุประชาชนไม่พอใจที่หลายคนมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลที่พวกเขาเพิ่งขับไล่พ้นจากอำนาจ

    "สุลต่านแห่งโอมาน มีคำสั่งปรับคณะรัฐมนตรี" ผู้ประกาศข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่องหนึ่งระบุ ก่อนอ่านรายชื่อของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่

    คำสั่งปรับคณะรัฐมนตรีครั้งนี้เป็นไปตามคามคาดหมายหลังจากเมื่อวันเสาร์(5)สุลต่านกอบูส ปลดรัฐมนตรี 2 ราย ขานรับต่อเสียงคร่ำครวญของผู้ชุมนุม จากปัญหาคอรัปชันและปฏิรูปประชาธิปไตยที่ล่าช้า

    การปักหลักในเมืองโซฮาร์ เข้าสู่วันที่ 9 ของการชุมนุมแล้วเมื่อวันจันทร์(7) ด้วยนักเคลื่อนไหวเรียกร้องขอให้ขับรัฐมนตรีที่มีความเกี่ยวข้องกับปัญหาคอรัปชันเพิ่มเติม

    แม้มีผู้ประท้วงเสียชีวิต 1 รายในเหตุปะทะกันระหว่างตำรวจกับผู้ชุมนุมที่เมืองโซฮาร์เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว แต่โอมาน ยังคงห่างไกลจากเหตุความรุนแรงที่นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในชาติต่างๆในภูมิภาคนี้ทั้งอียิปต์และตูนิเซีย รวมถึงวิกฤตที่ยังไม่คลี่คลายในลิเบีย

    ทั้งนี้แม้สถานการณ์ในอียิปต์และตูนิเซีย สงบลงไปแล้ว ทว่าความไม่แน่นอนทางการเมืองยังคงเกาะกุมอยู่ โดยล่าสุดประธานาธิบดีรักษาการณ์ของตูนิเซียเมื่อวันจันทร์(7) ประกาศรายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่เป็นชุดที่ 3 แล้วนับตั้งแต่ซิเน อัล-อาบิดีน เบน อาลี ถูกโค่นลงจากอำนาจและลี้ภัยไปยังต่างแดน

    รัฐบาลรักษาการณ์ 2 ชุดก่อนหน้านี้มีอันต้องล่มสลายลง เหตุประชาชนยังคงเดินหน้าชุมนุมขับไล่อย่างต่อเนื่อง หลังพวกเขามองว่ารัฐมนตรีหลายคนมีความใกล้ชิดกับรัฐบาลของ เบน อาลี เกินไป ในจำนวนนั้นรวมไปถึงนายกรัฐมนตรีโมฮัมเมด กานูชี ซึ่งเพิ่งได้รับแต่งตั้งเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ จนเขาต้องยอมลาออกจากตำแหน่งไป

    ขณะเดียวกันอีกด้านหนึ่งในอียิปต์ คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ได้เข้าสาบานตนรับตำแหน่งแล้วเมื่อวันจันทร์(7) ณ พิธีซึ่งจัดขึ้นในกรุงไคโร

    โดยรัฐบาลของนายกรัฐมนตรี เอสซาม ชาราฟ ประกอบด้วยรัฐมนตรีหน้าใหม่ 6 ราย อาทิ นาบิล อัล อาราบี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างปรัเทศ อับดุลเลาห์ โกรับ รัฐมนตรีพลังงาน รวมไปถึงรัฐมนตรีมหาดไทย วัฒนธรรม ยุติธรรมและแรงงาน

    อนึ่ง ชาราฟ เข้ามารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทนอาเหมด ชาฟิก นายกรัฐมนตรีรักษาการ ซึ่งถูกมองว่าเป็นคนของอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัค ได้ประกาศลาออกจากตำแหน่งกะทันหันเมื่อวันพฤหัสบดี (3) สร้างความยินดีปรีดาแก่ผู้ประท้วงยกใหญ่หลังจากที่พวกเขาหวังให้มีการขุดรากถอนโคนระบอบมูบารัคให้สิ้นซาก

    Around the World - Manager Online -
     
  2. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ฝ่ายต้านรบ.บาห์เรนชุมนุมหน้าสถานทูตมะกัน วอนอเมริกากดดันปฏิรูป

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2554 01:24 น.


    [​IMG]



    นักเคลื่อนไหวบาห์เรนชุมนุมด้านนอกสถานทูตสหรัฐฯ


    เอเอฟพี - นักเคลื่อนไหวฝ่ายสนับสนุนประชาธิปไตย ชุมนุมหน้าสถานทูตสหรัฐฯประจำบาห์เรนเมื่อวันจันทร์(7) เรียกร้องวอชิงตันกดดันทางการสำหรับปฏิรูปประชาธิปไตยภายในประเทศ หลังจากเดินขบวนประท้วงต่อเนื่องมาหลายสัปดาห์

    รายงานข่าวระบุว่านักเคลื่อนไหวหลายสิบคนรวมตัวกันบริเวณรั้วด้านหน้าของสถานทูตพร้อมตะโกนเป็นภาษาอังกฤษต่อต้านระบอบกษัตริย์ ขณะเดียวกันบางส่วนก็ตะโกนเป็นภาษาอาหรับว่า "ประชาชนต้องการโค่นล้มการปกครอง"

    ประเทศหมู่เกาะแห่งนี้ที่มีประชากรราว 1.2 ล้านคนและปกครองโดยราชวงศ์อัล-คาลิฟา มานานกว่า 200 ปั ถือเป็นพันธมิตรทางยุทธศาสตร์สำคัญของอเมริกาและเป็นที่ตั้งของฐานทัพเรือที่ 5 ของสหรัฐฯ

    เมื่อเดือนที่แล้ว ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แสดงท่าทีสนับสนุนให้เปิดเจรจาระดับชาติภายในบาห์เรน และบอกว่ามันควรเป็นไปอย่าง "ครอบคลุม ไม่แบ่งแยก และตอบสนองความต้องการของประชาชน"

    ถ้อยแถลงของโอบามา มีขึ้นหนึ่งวันหลังกษัตริย์ฮามาด บิน อิสซา อัล-คอลีฟา ปรับคณะรัฐมนตรี หลังจากก่อนหน้านั้นทรงพระราชทานอภัยโทษนักเคลื่อนไหวชาวชีอะห์ขานรับต่อการชุมนุม

    อย่างไรก็ตามผู้ชุมนุมประท้วงที่มารวมตัวกัน ณ สถานทูต แสดงความข้องใจว่าการเจรจาจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้จริงหรือไม่ และใครจะเป็นผู้รับประกันว่าแต่ละฝ่ายจะปฏิบัติตามสัญญา

    ผู้ชุมนุมได้ส่งมองหนังสือแก่เจ้าหน้าที่ทูตสหรัฐฯ โดยในเนื้อหานั้นเรียกร้องรัฐบาลสหรัฐฯ ยับยั้งจุดยืนทางลบใดๆของการเจรจาที่สนับสนุนการกดขี่และข่มเหงประชาชนชาวบาห์เรน

    ทั้งนี้การประท้วงเรียกร้องเปลี่ยนระบอบการปกครองในชาติที่มีชาวชีอะห์เป็นชนกลุ่มใหญ่แต่ปกครองโดยราชวงศ์สุหนี่ เข้าสู่วันที่ 22 แล้วเมื่อวันจันทร์(7)ท่ามกลางการชุมนุมขับไล่รัฐบาลในหลายๆประเทศในภูมิภาคเดียวกัน จนนำไปสู่การโค่นล้มประธานาธิบดีอียิปต์และตูนิเซีย

    แต่แกนนำผู้ชุมนุมที่นำโดยกลุ่มชีอะห์มีจุดยืนที่เป็นทางสายกลางมากกว่า ลดระดับการเรียกร้องเหลือเพียงขอให้มีการปฏิรูปการปกครองครั้งใหญ่เช่นมีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและมีระบอบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ พร้อมกับขอให้รัฐบาลลาออกเพื่อรับผิดชอบต่อเหตุสังหารผู้ประท้วงไปหลา

    Around the World - Manager Online -
     
  3. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รมต.จีนชี้ “ชุมนุมมะลิ” ไม่ได้ตึงเครียดอย่างที่เป็นข่าว

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มีนาคม 2554 18:27 น.


    [​IMG]



    หยัง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีต่างประเทศจีน โบกมือทักทาย ก่อนนั่งลงตอบคำถามผู้สื่อข่าวบริเวณห้องแถลงข่าวของที่ประชุมสภาประจำปีของจีน เมื่อ 7 มี.ค. (ภาพเอเอฟพี)


    เอเอฟพี - รัฐมนตรีต่างประเทศจีนชี้แจงวันนี้ (7 มี.ค.) โดยเผยความเห็นว่า การเรียกร้องของกลุ่มประท้วงต่อต้านรัฐบาลที่ลามเลียมาจากโลกอาหรับ หรือที่เรียกว่า “การปฏิวัติดอกมะลิ” ไม่ได้ส่งผลให้สถานการณ์ภายในจีนตึงเครียดอย่างที่เป็นข่าว

    หยัง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีต่างประเทศจีนบอกกับนักข่าวแบบสรุปแบบสั้น ๆ ระหว่างการประชุมสภาฯ ประจำปีของจีน ว่า “ผมไม่เห็นสัญญาณความตึงเครียดใด ๆ ในจีน”

    รัฐบาลจีนอาจจะเป็นโดมิโนตัวสุดท้ายที่อาจต้องพังครืนจากอำนาจหากประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้าน ซึ่งเห็นตัวอย่างจากประเทศแถบแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลางมาแล้ว ดังนั้นรัฐบาลจีนจึงคุมเข้ม โดยกักตัวนักเคลื่อนไหว และออกข้อจำกัดแก่นักข่าวต่างประเทศ ตลอดจนควบคุมการรวมตัวของสาธารณชน

    ผู้อยู่เบื้องหลังชักใยในโลกออนไลน์ ที่เรียกร้องให้มีการรวมตัว “ชุมนุมดอกมะลิ” ทุกวันอาทิตย์ ในใจกลางมหานครต่าง ๆ 13 แห่งในจีน ระบุว่า “เขาต้องการทำให้พลเมืองจีนตระหนัก พร้อมปลุกความไม่พอใจเกี่ยวกับเรื่องช่องว่างรายได้ การฉ้อราษฎร์บังหลวง และปัญหาด้านการปกครองให้เป็นประเด็นเพื่อการเรียกร้อง”

    ขณะที่ หยัง ก็ชี้แจงว่า “ด้วยเหตุที่เศรษฐกิจจีนที่ปฏิรูปไปมาก ก็ช่วยยกระดับฐานะประชาชนได้หลายล้านคนให้พ้นจากความยากจน และตอนนี้คนจีนก็กำลังยุ่งอยู่กับการพัฒนาภายในมากกว่าจะสนใจการประท้วง”

    อย่างไรก็ตาม ความเห็นของหยัง ขัดแย้งกับความเห็นของนายกรัฐมนตรี เวิน จยาเป่า ซึ่งเมื่อวันเสาร์ (5 มี.ค.) เวินได้แสดงความไม่พอใจในประเด็นความไม่เป็นธรรมทางสังคมเหล่านี้อย่างมากทีเดียว

    ในตลอดช่วงวันหยุดสองสัปดาห์ที่ผ่านมา แม้ไม่มีรายงานการประท้วงที่ชัดเจน แต่พื้นที่ที่ถูกกำหนดไว้รวมพลในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ก็คลาคล่ำไปด้วยตำรวจ ขณะที่นักข่าวต่างประเทศถูกห้ามมิให้เสนอข่าว ถูกกักตัว และถูกปฏิบัติอย่างหยาบคาย

    นักข่าวของบลูมเบิร์ก ถูกเตะต่อยทำร้ายร่างกายจากคนที่ดูเหมือนตำรวจสายลับของจีนเมื่อวันที่ 27 ก.พ. ณ บริเวณย่านศูนย์การค้าใจกลางกรุงปักกิ่ง ซึ่งขณะนี้เขาเรียกร้องการรักษาทางการแพทย์

    ขณะที่หยัง ปฏิเสธว่า ตำรวจไม่ได้ทำร้ายใคร “มันไม่มีเรื่องราวว่าตำรวจจีนเคยทำร้ายนักข่าวเลย”

    เจ้าหน้าที่รัฐบาลปักกิ่งกล่าวในการแถลงข่าวเมื่อวันอาทิตย์ (5 มี.ค.) ว่า นักข่าวจะต้องได้รับใบอนุญาตการรายงานข่าว จึงจะมีสิทธิ์เข้าไปทำข่าวยังบริเวณย่านการค้ากรุงปักกิ่ง “หากไม่ได้รับอนุญาต ก็อย่าได้หวังว่าจะเข้าไปได้”

    ขณะที่ในเซี่ยงไฮ้ นักข่าวต่างประเทศถูกสั่งห้ามเข้าใกล้บริเวณที่มีการ “ชุมนุมดอกมะลิ”

    จีนยกระดับการกดดันนักข่าวในช่วงวันหยุดที่ผ่านมา โดยเซี่ยงไฮ้กักตัวนักข่าวไว้อย่างน้อย 15 คน และปักกิ่งก็มีหน่วยเจ้าหน้าที่ไปตรวจเยี่ยมนักข่าวที่ไม่ได้รับอนุญาตให้รายงานข่าวที่บ้านพัก ในเวลาดึกดื่นก็ไม่เว้น เพื่อต้องการตรวจสอบเอกสารและย้ำเรื่องข้ดจำกัดการรายงานข่าว

    ขณะที่นักข่าวของเอเอฟพีก็มีเจ้าหน้าที่ตำรวจมาเยี่ยมที่บ้านพักเมื่อวันเสาร์ (5 มี.ค.) และขอตรวจเอกสารการพักอาศัยด้วย

    นักข่าวที่ถูกกักตัวในเซี่ยงไฮ้คนหนึ่งเล่าว่า “มีนักข่าวอย่างน้อย 15 คน สัญชาติฝรั่งเศส เยอรมัน สเปน และญี่ปุ่น ถูกกักตัวไว้ประมาณ 3 ชั่วโมง ใกล้ ๆ กับพื้นที่ที่ระบุว่าจะมีการประท้วงเมื่อวันอาทิตย์ (5 มี.ค.)”

    China - Manager Online -
     
  4. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    “พาณิชย์” เชือดค้าส่งรายใหญ่ตุนน้ำมันปาล์ม “เทือก” ฟุ้งแก้ปัญหาสำเร็จแล้ว

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2554 00:07 น.

    "พาณิชย์" จับจริง ค้าส่งรายใหญ่ 4 ราย ตุนน้ำมันปาล์ม กว้านซื้อจากห้างมาขายต่อเกินราคา ขวดละ 50-55 บาท ส่งดำเนินคดี คุก 7 ปี ปรับ 1.4 แสน เตรียมชง "บอร์ดปาล์ม" ชุดเทพเทือก วันนี้ ตัดสินใจนำเข้าอีกหรือไม่ "สุเทพ" ฟุ้งความเดือดร้อน ปชช.ลดลงแล้ว

    นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า กรมฯ ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ชุดเฉพาะกิจออกตรวจสอบการจำหน่ายน้ำมันพืชปาล์มฝาสีชมพู และตรวจสอบพบว่ามีผู้จำหน่ายส่งรายใหญ่ จำนวน 4 ราย ที่อ.เมือง จ. ฉะเชิงเทรา 1 ราย อ.หนองแค จ.สระบุรี 1 ราย และอ.โชคชัย จ.นครราชสีมา 2 ราย มีพฤติกรรมซื้อน้ำมันปาล์มฝาสีชมพูแบบยกล็อตจากห้างค้าปลีก แล้วมาจำหน่ายเกินราคาที่กำหนด โดยจำหน่ายขวดและถุง ลิตรละ 50-55 บาท เจ้าหน้าที่จึงได้ประสานเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมดำเนินคดีข้อหาจงใจจำหน่ายสินค้าราคาสูงเกินสมควร มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

    “เป็นการปฎิบัติการตามนโยบายของนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ที่ได้ขอให้กรมฯ เข้มงวดในการติดตาม ตรวจสอบการจำหน่ายน้ำมันปาล์มฝาจุกสีชมพู อย่าให้มีการฉกฉวยโอกาส และขายปลีกเกินไปกว่าราคาที่กำหนดลิตรละ 47 บาท”

    ทั้งนี้ หากตรวจพบการกระทำผิดจะดำเนินคดีตามกฎหมายทันที และผู้ที่แจ้งเบาะแสจะได้รับเงินสินบนนำจับ 25 % ของค่าปรับที่ผู้กระทำความผิดได้ชำระต่อศาล

    นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ ที่มีนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง เป็นประธาน วันนี้ (8 มีนาคม 2554) จะรายงานผลการกระจายน้ำมันปาล์มฝาจุกสีชมพูจากโควตา 1.5 หมื่นตัน ที่ให้ซื้อผลผลิตในประเทศมาบรรจุขวด ซึ่งได้มีการผลิตและกระจายออกสู่ตลาดใกล้หมดแล้ว และล่าสุดน้ำมันปาล์มนำเข้า 3 หมื่นตัน ก็มาถึงท่าเรือครบแล้ววานนี้ (7 มี.ค.) กำลังอยู่ระหว่างการกระจายไปยังโรงกลั่นเพื่อบรรจุขวดก่อนจะกระจายสู่ผู้บริโภคต่อไป

    “ต้องดูว่า ถ้านำเข้า 3 หมื่นตันเข้ามาแล้ว จะเพียงพอหรือไม่ ถ้าเพียงพอก็ไม่จำเป็นต้องนำเข้าเพิ่ม เพราะตอนนี้ผลผลิตในประเทศก็ทยอยออกมา โดยต้องพิจารณากันทุกด้าน ทั้งในด้านผู้บริโภค และเกษตรกร ถ้ายังไม่เพียงพอ ผู้บริโภคก็เดือดร้อน แต่ถ้านำเข้ามามาก ก็อาจจะกระทบต่อราคาผลผลิตปาล์มของเกษตรกรได้”

    นายอนุกูล แต้มประเสริฐ ผู้อำนวยการองค์การคลังสินค้า (อคส.) กล่าวว่า น้ำมันปาล์มดิบแยกไขที่นำเข้าจากอินโดนีเซีย 3 หมื่นตัน ได้ทยอยส่งมาถึงท่าเรือของไทยตั้งแต่วันที่ 3-7 มี.ค. ซึ่งอคส.ได้ส่งมอบให้กับโรงกลั่นน้ำมันปาล์มจำนวน 10 แห่ง เพื่อกลั่นและบรรจุเป็นน้ำมันปาล์มบรรจุขวดฝาสีชมพูประมาณ 22 ล้านขวด และจำหน่ายในราคา 47 บาท

    นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวถึงข้อท้วงติง ของนายบัญญัติ บรรทัดฐาน กรรมการสภาที่ปรึกษาพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เกี่ยวการทำงานในเรื่องการทำงานแก้ไขปากท้องของประชาชน โดยยอมรับว่า นายบัญญัติเคยออกมาเตือนเรื่องนี้แล้ว และได้ปฎิบัติแก้ไขไปบ้างแล้ว บางเรื่องก็ต้องให้ผู้ที่มีอำนาจหน้าที่เขาดำเนินการ ตนเป็นประเภทยาสามัญ เวลาไม่มียาอื่น ก็ใช้ไปก่อน ถ้ามีเขายาพิเศษเฉพาะอยู่แล้วก็ต้องรักษาไปตามอาการของโรค

    เมื่อถามว่า โรคน้ำมันปาล์มก็ยังแก้ไม่สำเร็จ นายสุเทพ กล่าวว่า แก้ได้ดีแล้ว แก้สำเร็จแล้ว ขณะนี้ความเดือดร้อนของประชาชนลดลงแล้ว เรื่องน้ำมันปาล์มไม่ขาดแคลนแล้ว

    Business - Manager Online -
     
  5. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 8 มีนาคม 2554 01:00
    <DD class=columnist-name>กาแฟดำ </DD>อุ้มราคาดีเซล คือการฝืนความจริงที่รอวันปะทุ

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    เมื่อวานเขียนถึงการที่รัฐบาล “อุ้ม” ราคาน้ำมันขายปลีกของดีเซลที่ 30 บาทต่อลิตรว่าเป็นเพียงการซื้อเวลาเท่านั้น

    แต่ไม่สามารถจะแก้ปัญหาอย่างยั่งยืนหรือจริงจังได้
    อีกทั้งยังเป็นการเอาเงินของคนใช้น้ำมันเบนซิน และแก๊สโซฮอล์มาอุ้มคนใช้ดีเซลซึ่งเป็นการสร้างความเหลื่อมล้ำและไม่ยุติธรรมในสังคมอย่างชัดเจน
    อีกทั้งยังสวนทางกับนโยบายของรัฐบาล ที่เรียกร้องให้ประชาชนช่วยกันประหยัดการใช้พลังงาน อย่างที่อธิบายได้ยากยิ่ง
    นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ บอกว่าเงินกองทุนน้ำมันยังมีอยู่ประมาณ 8,000 ล้านบาท จึงสามารถอุ้มราคาดีเซลที่ 30 บาทไปถึงปลายเดือนเมษายนได้
    แต่ท่านคงไม่ได้ประเมินว่าความวุ่นวายในตะวันออกกลางวันนี้ จะดันให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งเกิน 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลไปอีกเท่าไหร่
    อีกทั้งกองทุนน้ำมันที่ว่านี้ก็มีภาระอย่างอื่นมากมายนอกจากการอุ้มราคาดีเซล (5 บาทต่อลิตร) เช่นต้องชดเชยราคา LPG ที่น้ำเข้าจากต่างประเทศ และยังต้องอุ้มราคา NGV (กิโลละ 2 บาท)
    และยังมีภาระต้องชดเชยส่วนต่างของราคาเบนซินกับแก๊สโซฮอล์
    ไม่นับที่กองทุนน้ำมันต้องช่วยให้รถแท็กซี่เปลี่ยนจาก LPG มาเป็น NGV อีกด้านหนึ่ง
    พูดง่ายๆ คือนักการเมืองที่มาปกครองประเทศนั้นนึกว่า “กองทุนน้ำมัน” นี้เป็นยาสารพัดนึก มีปัญหาเรื่องจะเอาใจคนกลุ่มนั้นกลุ่มนี้ที่เป็นฐานเสียงการเมืองของตัวเอง ก็จะไปหยิบอาวุธตัวนี้มาใช้ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เงินของตัวเอง หากแต่เป็นเงินที่เก็บจากประชาชนนี่แหละมาเล่นแร่แปรธาตุ เพราะนึกว่ามันสามารถจะแก้ปัญหาของตัวเอง ในฐานะผู้รับผิดชอบบ้านเมืองได้หมด
    นายกฯ อ้างว่าถ้ายอมให้ราคาดีเซลขึ้น ราคาสินค้าอื่นๆ ก็จะพากันขึ้นตามมาด้วย
    ข้อนี้พิสูจน์ในแง่ความเป็นจริงแล้วใช่หรือไม่?
    ความจริงก็พิสูจน์แล้วว่าแม้รัฐบาลจะอุ้มราคาดีเซลแล้ว ราคาสินค้าต่างๆ ก็หาได้หยุดยั้งการขยับตัวขึ้นไปแต่อย่างไรไม่
    เหตุผลก็ชัดเจนว่าต้นทุนของสินค้าไม่ได้อยู่ที่ค่าขนส่งที่ใช้รถที่ใช้ดีเซลอย่างเดียว แต่ราคาวัตถุดิบที่กระโดดขึ้นมานั้นเป็นปัจจัยหลักในการกำหนดว่าราคาสินค้าจะขึ้นหรือไม่
    เราเคยศึกษากันอย่างจริงจังหรือไม่ว่าราคาน้ำมันดีเซลมีผลต่อราคาสินค้ามากน้อยเพียงใด? หรือรัฐบาลเพียงแค่คาดเดาเอาเองว่ามันเป็นเช่นนั้นเพราะมีคนบอกว่าเป็นอย่างนั้น
    ถ้ารถบรรทุกหันไปใช้ NGV เสียเป็นจำนวนมากแล้ว ราคาดีเซลกับค่าขนส่งสินค้า ก็มิได้เป็นเหตุผลของการอ้างจะขึ้นราคาขายปลายทางแก่ผู้บริโภคได้อีกต่อไปเช่นกัน
    อีกทั้งในกระบวนการผลิตสินค้านั้น ยังใช้น้ำมันดีเซลมากน้อยเพียงใด? มีการศึกษาหรือไม่ว่าการใช้ไฟฟ้าและน้ำมันเตามาแทนดีเซลในการผลิตนั้น ทำให้สัดส่วนของต้นทุนปรับเปลี่ยนไปอย่างไร?
    รัฐบาลก็ต้องเอาข้อมูลและข้อเท็จจริงเหล่านี้มาชี้แจงบอกกล่าวกับประชาชน และหากจะมีการตรึงราคาบ้างก็ต้องมีเวลาที่จำกัด และจะต้องเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วนของสังคม นั่นคือจะต้องให้แบ่งสรรกันรับภาระราคากันให้ทั่วถึง
    นั่นย่อมแปลว่ารัฐบาลอาจจะตรึงราคาในภาวะที่ความผันผวนสูง แต่ต้องไม่ส่งสัญญาณว่าจะตรึงที่ 30 บาทไปอีก...บางครั้งอาจจะต้องยอมปล่อยให้เกิน 30 บาทเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง และอาจจะเอาภาษีสรรพสามิตมาเสริมบางส่วน มิใช่ใช้กองทุนน้ำมันเพื่อการอุดหนุนทั้งหมด อันเป็นการปฏิเสธที่จะบอกความเป็นจริงกับประชาชน
    ถามว่ารัฐบาลทราบหรือไม่ว่าความจริงเป็นอย่างไร? ตอบว่ารู้ แต่ไม่กล้าบอกความจริง หรือบอกแต่บอกไม่หมด และกลัวว่าจะเสียคะแนนทางการเมือง
    แต่ความกลัวที่จะเผชิญกับความจริงของรัฐบาล ก็เท่ากับเป็นการหลอกให้ประชาชนอยู่ใน “โลกลวง” ซึ่งก็ต้องถือเป็นการปิดบังซ่อนเร้นข้อเท็จจริงจากประชาชนอีกเหมือนกัน
    ถือเป็นความบกพร่องทางการเมืองอันใหญ่หลวง

     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 8 มีนาคม 2554 01:00
    แจงสี่เบี้ย

    มาตรการรัดเข็มขัดของผู้ดีอังกฤษ

    โดย : วงศพัทธ์ ปิยเศรษฐ์
    <!-- Begin Media Content --><SCRIPT type=text/javascript>$(function() {$('#media-content').tabs();});</SCRIPT>
    มาตรการรัดเข็มขัดทางการคลัง (Fiscal Consolidation) ด้วยการลดรายจ่ายภาครัฐในปริมาณที่สูงและปรับเพิ่มภาษีที่มีความแน่วแน่ในประเทศอังกฤษ

    นับเป็นยาที่แรงกว่าประเทศอื่นๆ ทั้งๆ ที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวชัดเจนและมาตรการดังกล่าว ก็มีส่วนทำให้ GDP ในไตรมาสที่ 4 ปี 2553 หดตัวร้อยละ 0.6 เทียบกับไตรมาสก่อนที่ขยายตัวร้อยละ 0.7 ทำให้เกิดคำถามว่าทำไมรัฐบาลอังกฤษถึงจำเป็นต้องดำเนินนโยบายดังกล่าวในขณะนี้ วันนี้จึงขอมาเล่าสู่กันฟัง ดังนี้

    วิกฤติเศรษฐกิจการเงินโลกครั้งล่าสุด ส่งผลให้สถาบันการเงินหลายแห่งในประเทศอังกฤษล้มละลายและเข้าขอรับความช่วยเหลือจากภาครัฐ ส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะและการขาดดุลการคลังพุ่งสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ โดยหนี้สาธารณะต่อ GDP พุ่งสูงขึ้นเป็นร้อยละ 68 ในปี 2552 จากร้อยละ 43 ในปี 2550 และการขาดดุลการคลังต่อ GDP พุ่งสูงขึ้นอย่างมากเป็นร้อยละ 10.2 ในปี 2552 จากที่ขาดดุลเพียงร้อยละ 2.6 ในปี 2550 ขณะที่การเลือกตั้งรัฐบาลเมื่อเดือนพฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา พรรค Conservative และ Liberal Democrats ซึ่งชูประเด็นการลดระดับหนี้ที่อยู่ในระดับสูง ชนะคู่แข่งอย่างพรรค Labour (ที่เน้นเรื่องการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญและเป็นรัฐบาลก่อนหน้า) อย่างล้นหลาม เนื่องจากประชาชนชาวผู้ดีส่วนใหญ่มองว่าการขาดดุลการคลังของอังกฤษในระดับสูงดังกล่าว จะส่งผลเสียอย่างใหญ่หลวงต่อเศรษฐกิจอังกฤษในระยะยาว

    รัฐบาลผสมที่นำโดยนาย David Cameron ประกาศแผน Fiscal Consolidation ในเดือนมิถุนายน 2553 หลังจากเข้ารับตำแหน่งได้เพียง 50 วัน โดยแผนดังกล่าวต้องการลดรายจ่ายจำนวน 110 พันล้านปอนด์จนถึงปี 2558 (คิดเป็นร้อยละ 6.1 ของ GDP) ซึ่งเป็นแบบ Front-loaded โดยแบ่งเป็นมาตรการลดรายจ่ายจำนวน 81 พันล้านปอนด์ และมาตรการเพิ่มรายได้จำนวน 29 พันล้านปอนด์ จากการเพิ่มภาษีต่างๆ เช่น การขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) จากร้อยละ 17.5 เป็นร้อยละ 20 ซึ่งได้ปรับขึ้นไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยคาดว่าจะส่งผลให้ระดับหนี้สาธารณะของอังกฤษมีเสถียรภาพมากขึ้น และทยอยปรับลดลงในปี 2557 สำหรับรายจ่ายพบว่า ได้เน้นไปที่การลดรายจ่ายจำพวกภาคบริการของภาครัฐ ถึงกว่าร้อยละ 40 อาทิเช่น การลดการใช้จ่ายด้านการทหาร การลดรายจ่ายเกี่ยวกับการประกันสุขภาพ และการปรับเพิ่มค่าเล่าเรียน การลดรายจ่ายดังกล่าวอย่างรวดเร็ว จึงกระทบต่อการฟื้นตัวอย่างชัดเจน

    คำถามสำคัญ คือ ทำไมต้องใช้ยาแรงและเป็นแบบ Front-loaded ในขณะที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่ง หากพิจารณาจากสถานการณ์พบว่าอังกฤษมีความจำเป็นจากปัจจัยสำคัญ ดังนี้

    ปัจจัยแรก คือ ความจำเป็นต้องลดความกังวลและผลกระทบของปัญหาหนี้สาธารณะในกลุ่มประเทศยูโร ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อความเชื่อมั่นต่อความสามารถในการชำระหนี้ของรัฐบาลอังกฤษ ซึ่งสะท้อนจาก CDS (credit default swap) ของอังกฤษที่ปรับสูงขึ้นตามกลุ่มประเทศ PIIGS ชัดเจน แม้จะไม่สูงเท่า

    ปัจจัยที่สอง คือ การที่บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อาทิเช่น Moody’s และ S&P ได้ออกมาประกาศเตือนอังกฤษอยู่หลายรอบว่าหากไม่มีมาตรการปรับลดระดับหนี้อย่างจริงจัง อังกฤษอาจต้องเสียอันดับความเชื่อถือระดับ AAA ซึ่งอาจส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคธนาคารที่ยังคงเปราะบางมาก

    ปัจจัยสุดท้าย คือ ภาคการคลังของอังกฤษมีสัดส่วนรายจ่ายที่เป็นภาระผูกพันต่อภาครัฐค่อนข้างสูง โดยเฉพาะสวัสดิการต่างๆ แม้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นในอนาคตก็จะยังไม่สามารถลดรายจ่ายประเภทนี้ได้มากนัก และจะเป็นภาระสะสมต่อภาครัฐ ดังนั้น รัฐบาลอังกฤษจึงต้องรีบปรับลดรายจ่ายอย่างเร่งด่วน

    การที่รัฐบาลอังกฤษต้องเร่งออกมาตรการรัดเข็มขัดขนานใหญ่ จนทำให้เศรษฐกิจชะลอตัวลงนั้น นับเป็นบทเรียนสำคัญว่าการสร้างเสริมความสามารถในการกระตุ้นเศรษฐกิจทางการคลัง (Fiscal room) ในยามภาวะปกติเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากในทุกวิกฤติที่ผ่านมาภาครัฐจำเป็นต้องใช้มาตรการต่างๆ เพื่อเข้าช่วยเหลือพยุงเศรษฐกิจ ดังนั้น วินัยทางการคลังจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นไม่ว่าจะเป็นประเทศพัฒนาหรือกำลังพัฒนาก็ตามในโลกที่วิกฤติมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้บ่อยครั้งขึ้น

    ในกรณีของประเทศไทย ในช่วงปี 2550-2554 การขยายตัวของงบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นมากกว่าการขยายตัวของการจัดเก็บรายได้ถึง 2 เท่า กล่าวคือ งบประมาณรายจ่ายเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 8.8 ต่อปี ขณะที่รายได้สุทธิของรัฐบาลเพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 4.2 ต่อปี ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายตัวของรายจ่ายด้านสวัสดิการและการศึกษา ซึ่งมีสัดส่วนรวมกันถึงร้อยละ 45 ของงบประมาณทั้งหมดที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตามข้อกำหนดในรัฐธรรมนูญและโครงสร้างประชากรที่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยเฉพาะจากการขยายสวัสดิการต่างๆ เช่น เบี้ยผู้สูงอายุ การสมทบ กองทุนประกันสังคม การสนับสนุนกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นต้น แม้ว่าในปัจจุบันที่ประเทศไทยยังไม่มีปัญหาความยั่งยืนทางการคลัง แต่ความไม่สมดุลของรายรับและรายจ่ายข้างต้นที่ต่อเนื่อง ก็อาจทำให้ความสามารถในการรองรับวิกฤติในอนาคตลดลง

    ดังนั้น ในภาวะที่เศรษฐกิจขยายตัวดีต่อเนื่อง ภาครัฐจึงควรดูแลระมัดระวังการใช้จ่าย เพื่อไม่ให้ต้องไปรัดเข็มขัดในอนาคตจนหายใจลำบากอย่างอังกฤษในขณะนี้


    บทความนี้ เป็นข้อคิดเห็นส่วนบุคคล จึงไม่จำเป็นต้องสอดคล้องกับข้อคิดเห็นของธนาคารแห่งประเทศไทย

     
  7. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 7 มีนาคม 2554 20:16
    คอมฯคลังฝรั่งเศสโดนแฮค

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    ปารีส - กระทรวงการคลังฝรั่งเศสปิดคอมพิวเตอร์หมื่นเครื่อง หลังโดนโจมตีไซเบอร์จากแฮคเกอร์ที่ใช้อินเทอร์เน็ตแอดเดรสในจีน

    นายฟรังซัวส์ บารอน รัฐมนตรีงบประมาณฝรั่งเศส เผยว่ากระทรวงการคลังฝรั่งเศสปิดคอมพิวเตอร์ 10,000 เครื่อง หลังจากถูกแฮคจากแฮคเกอร์ที่ไล่ล่าหาเอกสารเกี่ยวเนื่องกับกลุ่มจี 20 ซึ่งฝรั่งเศสทำหน้าที่ประธานในปีนี้ ขณะนี้ทางการกำลังตรวจสอบการแฮค
    นายบารอนกล่าวว่านี่น่าจะเป็นครั้งแรกที่ระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลฝรั่งเศสถูกแฮคครั้งใหญ่ โดยการล้วงข้อมูลเกิดขึ้นเมื่อเดือนธ.ค. และบีบให้กระทรวงต้องเพิ่มระบบรักษาความปลอดภัย
    ทั้งนี้ ประธานาธิบดีนิโกลาส์ ซาร์โกซี ระบุว่าเป้าหมายของกลุ่มจี 20 คือการปฏิรูประบบการเงินและการค้า เพื่อขจัดความไม่สมดุลอันเป็นสาเหตุของวิกฤตเศรษฐกิจครั้งล่าสุด ซาร์โกซีหวังจะได้รับการสนับสนุนจากประเทศตลาดเกิดใหม่ และชูความช่วยเหลือด้านการพัฒนารวมถึงการเก็บภาษีธุรกรรมการเงิน เป็นหัวใจหลักของแผนการปฏิรูป

     
  8. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 6 มีนาคม 2554 08:59
    ธ.กลางผู้ดีเตือนอังกฤษเสี่ยงวิกฤติการเงิน

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    ลอนดอน - ผู้ว่าการธนาคารกลางผู้ดี เตือนอังกฤษเสี่ยงเกิดวิกฤติการเงินอีกครั้ง หากไม่ผลักดันการปฏิรูปภาคธนาคาร

    นายเมอร์วิน คิง ผู้ว่าการธนาคารกลางอังกฤษ ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์เดลีเทเลกราฟ วานนี้ (5 มี.ค.) ว่าระบบธนาคารในอังกฤษยังมีความไม่สมดุล อันเริ่มขยายตัวขึ้น และอังกฤษเสี่ยงที่จะเกิดวิกฤติการเงินขึ้นอีกครั้ง หากไม่ผลักดันการปฏิรูปภาคธนาคาร
    คำพูดของนายคิงมีขึ้น ในช่วงที่คณะกรรมการภาครัฐกำลังพิจารณาว่าสถาบันการเงิน ควรถูกบังคับให้แยกธุรกิจด้านการลงทุนและค้าปลีกออกจากกันหรือไม่

    "เราปล่อยให้ระบบธนาคารขยายตัวออกไปเรื่อยๆ เหมือนเป็นการบ่มเพาะความผุพังของตัวเอง เรายังไม่ได้แก้ปัญหาธนาคารที่ใหญ่เกินจะปล่อยให้ล้ม หรือสำคัญเกินจะปล่อยให้ล้ม ซึ่งแนวคิดที่ว่า สำคัญเกินกว่าจะปล่อยให้ล้มนั้น ไม่ควรมีในระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี" นายคิงระบุ
    เมื่อเดือนที่แล้ว รัฐบาลประกาศว่าได้ทำข้อตกลงกับธนาคารรายใหญ่ๆ เรื่องการจ่ายโบนัสและการปล่อยกู้โดยรวม ในความพยายามสกัดการให้ผลตอบแทนมากเกินแก่ผู้บริหาร และเพิ่มความแข็งแกร่งแก่การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
    นายจอร์จ ออสบอร์น รัฐมนตรีคลัง กล่าวว่า โบนัสโดยรวมที่ธนาคาร 4 รายใหญ่ที่สุดในประเทศ จ่ายให้แก่พนักงานนั้น จะลดลงจากปีที่แล้ว อันเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลง
    ทั้งนี้ ธนาคารกลางตรึงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับต่ำเป็นประวัติการณ์ 0.50% เมื่อเดือนก.พ. ในช่วงที่อังกฤษกำลังเผชิญการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอันไม่แน่นอนและเงินเฟ้อ นายคิงกล่าวว่า มีความเป็นไปได้ของการขึ้นดอกเบี้ยแต่เสริมว่าหากขึ้นดอกเบี้ยเร็วไปจะไม่มีประโยชน์ เพราะแม้ราคาสินค้าที่สูงขึ้นจะเพิ่มแรงกดดันให้มีการขึ้นดอกเบี้ย แต่ธนาคารกลางก็วิตกเกี่ยวกับการฟื้นตัวอันเปราะบาง

     
  9. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 8 มีนาคม 2554 06:00
    สาวไทยในสมรภูมิบาห์เรน ภูริดา อินเขียวสาย

    โดย : ชุติมา ซุ้นเจริญ

    [​IMG]

    มีคนไทยอาศัยอยู่ในบาห์เรนประมาณ4,000คน หนึ่งในนั้นคือนักธุรกิจสาวไทยที่ออกไปร่วมชุมนุมกับคนบาห์เรนเพื่อทวงถามความยุติธรรมในโลกอาหรับ

    แค่ได้ชื่อว่าเป็นนักธุรกิจหญิงผู้ไปบุกเบิกตลาดสินค้าไทยในดินแดนตะวันออกกลางอย่างบาห์เรน ก็เรียกคะแนนความยากไปไม่น้อยแล้ว ยิ่งได้รู้ว่าเธอคนนี้ออกไปร่วมชุมนุมกับชาวบาห์เรนนับหมื่นคนที่จตุรัสเพิร์ล ยิ่งทำให้การกลับมาเมืองไทยครั้งล่าสุดของ ภูริดา อินเขียวสาย ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นอีกเท่าตัว

    ในหมวกของ Business Development Director บริษัท ไพศาตร์วิศวกรรม จำกัด ภูริดา คือผู้บริหารที่ต้องนำพาธุรกิจของครอบครัวก้าวไปข้างหน้า การหาตลาดใหม่ๆ เป็นหน้าที่ที่เธอทำได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง โดยเฉพาะเมื่อเลือกไปลงทุนที่ประเทศบาห์เรน ซึ่งเธอมองว่า "มีโอกาส"

    "เราประเมินแล้วว่าหนึ่งคือโอกาสทางการค้า สองโดยสถานภาพทั้งหญิงและชายสามารถพูดคุยกันได้ สามเป็นประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษทำให้เราสามารถสื่อสารได้ และสี่สินค้าไทยเป็นที่ต้องการมาก"

    จากธุรกิจด้านอุปกรณ์ไฟฟ้า ขยายสู่งานก่อสร้าง ตามด้วยสปาและร้านอาหาร หลังลงหลักปักฐานทำธุรกิจในบาห์เรนได้ 6 ปี, 2 ปีหลังเธอถึงขั้นย้ายถิ่นพำนักไปอยู่ที่นั่น ซึ่งการได้เรียนรู้ความแตกต่างทางการเมือง วัฒนธรรม รวมถึงความเหลื่อมล้ำระหว่างคนกลุ่มต่างๆ ในบาห์เรน เป็นเหตุผลให้ผู้หญิงตัวเล็กๆ ในนามนักธุรกิจไทย ตัดสินใจถือป้าย "No Corruption" ไปร่วมชุมนุมกับคนอีกหลายเชื้อชาติ แม้ว่าผลจากการปราบปรามในช่วงแรกจะรุนแรงถึงขั้นมีผู้เสียชีวิตก็ตาม



    การไปทำธุรกิจในประเทศที่ค่อนข้างมีความแตกต่างทางวัฒธรรมต้องปรับตัวเยอะไหม

    ชอบคำถามนี้มากค่ะ ต้องปรับตัวทุกอย่าง คือแรกๆ ที่ไปเราก็ยังมีพฤติกรรมเหมือนเดิม ใช้ชีวิตแบบที่เราใช้ในเมืองไทย แต่พอไปอยู่ต้องศึกษาหลายเรื่อง เรื่องแรกคือวัฒนธรรม เนื่องจากเขาเป็นประเทศมุสลิม ก็ต้องระมัดระวังเรื่องการแต่งตัว เรื่องที่สองคือภาษา ถึงแม้คนบาห์เรนจะใช้ภาษาอังกฤษได้ดี พอไปอยู่ก็รู้สึกว่าต้องพูดภาษาอารบิกบ้างเพื่อที่จะสื่อสารบางอย่าง หรือใช้ทักทายเขาได้ ซึ่งทำให้เขารู้สึกว่าเราเคารพเขา

    ส่วนเรื่องที่สามก็คือธุรกิจ คนที่โน่นเวลาคุยงานหรือติดต่องาน ไม่ค่อยตรงต่อเวลา แล้วเวลาคุยงานมักจะมีท่าทีที่รุนแรง ใช้น้ำเสียงดุดัน เขาจะมีแอ๊คชั่นในการคุย ชอบตบโต๊ะ ซึ่งเป็นพฤติกรรมปกติของเขา ยิ่งถ้าคุยธุรกิจจะดูค่อนข้างก้าวร้าว ถ้าเราไปแบบนิ่มๆ แบบไทยๆ ค่อนข้างจะถูกเขาเอาเปรียบ ก็ต้อง aggressive ขึ้น

    แต่ข้อดีในการทำธุรกิจที่บาห์เรนคือ เขา Play in Game คือคุยงานก็คืองาน จบแล้วก็จบ ไม่มีเรื่องอื่นเข้ามา ซึ่งในกลุ่มประเทศ GCC (ประเทศกลุ่มอ่าวอาหรับ) 6 ประเทศ พฤติกรรมทางธุรกิจค่อนข้างต่างกัน ต้องบอกว่าคนบาห์เรนใจดีที่สุดแล้ว เขาค่อนข้างเป็นมิตรกับคนไทย


    แล้วคนบาห์เรนทั่วไปที่ไม่ใช่นักธุรกิจล่ะคะ

    คนบาห์เรนพัฒนาไปเยอะ เขาเป็นเมืองขึ้นอังกฤษมานาน เพราะฉะนั้นระบบระเบียบในประเทศจะค่อนข้างไปทางอังกฤษ ประกอบกับระบบการศึกษา บาห์เรนเป็นประเทศที่การศึกษาค่อนข้างที่ดี แม้แต่คนคูเวต การ์ตาก็มาเรียนที่บาห์เรน เพราะฉะนั้นคนรุ่นใหม่ค่อนข้างจะปรับตัวเองไปเยอะ คือจะออกแนวฝรั่งมากขึ้น แต่เขาก็ใช้ชีวิตคู่ไปกับวิถีของชาวมุสลิมได้ค่อนข้างดี

    สังเกตจากอะไร ข้อแรกคือการพูด เด็กรุ่นใหม่จะพูดภาษาอังกฤษมากกว่าภาษาอารบิก การแต่งตัว ผู้ชายจะนิยมใส่สูทหรือชุดตะวันตกมากกว่าชุดคลุมสีขาว หรือวัยรุ่นผู้หญิงเดี๋ยวนี้จะนิยมใส่เสื้อผ้าแบบตะวันตกมากกว่า เนื่องจากบาห์เรนไม่ได้มีกฎหมายบังคับว่าจะต้องใส่อบายะห์ คือชุดสีดำ ก็เป็นเหตุให้รัฐบาลเขาออกมารณรงค์ให้คนรุ่นใหม่ใส่ชุดประจำชาติมากขึ้น คือต้องบอกว่าบาห์เรนเป็นประเทศมุสลิมที่ค่อนข้างเปิด และอะลุ้มอะหร่วยมาก

    ถ้าพูดถึงความเป็นอยู่ต้องแบ่งออกเป็นสองกลุ่ม บางส่วนถือว่ายังมีคุณภาพชีวิตที่ไม่ดีนัก ส่วนอีกกลุ่มถือว่ามีคุณภาพชีวิตที่ค่อนข้างดี ถ้าเทียบกับบ้านเราถือว่าดีมาก แต่ถ้าเทียบในกลุ่ม GCC 6 ประเทศ คือ ซาอุดิอาระเบีย การ์ตา คูเวต บาห์เรน โอมาน และยูเออี ดิฉันให้บาห์เรนอยู่อันดับ 5 เนื่องจากว่าเป็นประเทศที่มีน้ำมันน้อยมาก ไม่เพียงพอแม้แต่จะใช้ในประเทศ เศรษฐกิจหลักของประเทศพึ่งพาธุรกิจจากซาอุดิอาระเบีย แล้วก็พึ่งพาคนต่างชาติ

    ในบาห์เรนตอนนี้ประชากรประมาณ 1 ล้าน 2 แสนคน, 6 แสนคนเป็นบาห์เรน อีก 6 แสนเป็นชาวต่างชาติ ไม่ว่าจะเป็นชาวยุโรปที่ย้ายเข้ามาอยู่เมื่อหลายสิบปีก่อน โดยเฉพาะคนอังกฤษ เดี๋ยวนี้ก็มีคนแถบสแกนดิเนเวียน คนอเมริกัน นอกนั้นก็จะเป็นอินเดีย ปากีสถาน ที่เขามาอยู่ตอนหลังๆ ส่วนเอเชียตอนนี้จีนบุกตะวันออกกลางค่อนข้างมาก แค่ชาวจีนในบาห์เรนก็เกือบหมื่นคนแล้ว


    ดูเหมือนบาห์เรนไม่ได้มีแรงกดดันเท่ากับประเทศอาหรับอื่นๆ แล้วอะไรคือจุดเริ่มต้นของการชุมนุม

    บาห์เรนเป็นประเทศที่มีความหลากหลายด้านเชื้อชาติ ศาสนา ถึงแม้ว่าจะเป็นประเทศมุสลิม ทีนี้ในบาห์เรนจุดเริ่มต้นจริงๆ ของปัญหาเกิดจากมุสลิมสองกลุ่มที่มีความเชื่อในศาสนาที่ต่างกัน แล้วมันมีการสะสมมานาน ประกอบกับผู้ปกครองประเทศหรือกษัตริย์อาจจะให้ความสำคัญไม่เท่ากัน คือในบาห์เรน จะมีคนนิกายสุหนี่ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ อีก 80 เปอร์เซ็นต์เป็นชีอะห์ ซึ่งคนกลุ่มนี้เขามีความรู้สึกว่าเขาไม่ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานในชีวิต ขณะที่คนอีก 20เปอร์เซ็นต์ มีอำนาจมากกว่า มีสิทธิมากกว่า ก็เลยเกิดการชุมนุมขึ้นมา

    อีกอย่างต้องบอกว่ามันเป็นโดมิโนเหมือนที่เขาว่า คือได้รับแรงบันดาลใจจากตูนิเซีย อียิปต์ แล้วก็ลิเบียด้วย ทำให้คนกลุ่มนี้รู้สึกว่าเขาน่าจะทำได้ แต่ถ้าถามว่าเรื่องการประท้วงในบาห์เรนเป็นอย่างไร ต้องบอกว่ามีมานานแล้ว ไม่ใช่เพิ่งมี เป็นแบบกลุ่มเล็กๆ ทุกวันศุกร์ เพื่อเรียกร้องสวัสดิการจากรัฐบาล มีการเผายาง ตำรวจก็ออกมาควบคุมสถานการณ์ คือเราอยู่ที่นั่น เราเห็นจนเป็นปกติ แล้วเขาก็จะทำในจุดเดิมๆ ไม่ได้กระจายตัว

    คราวนี้ก็เหมือนกัน แต่ว่าเขาเปลี่ยนยุทธศาสตร์จากจุดเดิมๆ ที่เคยประท้วงมาเป็นที่จตุรัสเพิร์ล ซึ่งเป็นวงเวียนที่ใหญ่มากและเป็นสัญลักษณ์ของบาห์เรน มันก็เลยทำให้กลายเป็นจุดสนใจขึ้นมา

    ตอนแรกเริ่มชุมนุมกันประมาณวันที่ 14 กุมภาพันธุ์ มีคนอยู่แค่ประมาณ 100-120 คน ออกมาเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความเป็นธรรมกับเขามากขึ้น ทีนี้พอกลุ่มชีอะห์ออกมาเรียกร้อง มีการพูดจาพาดพิงถึงคนสุหนี่ ทำให้คนสุหนี่ออกมาพูดว่าเขาก็ไม่ได้สะดวกสบายอย่างที่คิด มีจุดที่อยากจะเรียกร้องเหมือนกัน ก็เลยกลายเป็นว่าสองกลุ่มนี้มาคุยกัน แล้วเกิดคำว่า "No Sunni No Shia We are Bahrainy" ขึ้นมา ผู้นำทั้งสองกลุ่มก็เลยมาร่วมกันประท้วง

    จุดประสงค์หลักมี 3 ข้อ ข้อแรกคือเรียกร้องสิทธิขั้นพื้นฐาน คือในประเทศมุสลิม ปกติรัฐบาลจะจัดสรรเรื่องบ้านพักให้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย แต่คนบาห์เรนบางคนรอมา 15 ปี 20 ปียังไม่ได้บ้าน เรื่องที่สองคือพื้นฐานการศึกษา เขารู้สึกว่ามีช่องว่างระหว่างคนรวยกับคนจน โรงเรียนที่จัดให้คนรวยได้รับการสนับสนุนมาก มีสิ่งอำนวยความสะดวก มีสระว่ายน้ำ ห้องหนึ่งแค่ 20 กว่าคน ส่วนโรงเรียนของคนจน ไม่มีอะไรเลย เด็กนักเรียนห้องหนึ่ง 50 กว่าคน แล้วเรื่องโรงพยาบาลทั้งประเทศมีโรงพยาบาลแค่ 3-4 โรงพยาบาล บางคนถึงต้องมา medical check upที่เมืองไทย

    ทีนี้ก็รวมไปถึงการเรียกร้องเรื่องความไม่เทียมกันในสังคมด้วยว่า มันมีช่องว่างระหว่างผู้ปกครองกับประชาชนค่อนข้างมาก แล้วก็เรียกร้องในเรื่องของการเลือกตั้ง คือพูดเป็นนัยๆ ว่าอยากให้กษัตริย์มีการจัดตั้งรัฐบาลโดยการเลือกตั้ง ซึ่งถ้าเป็นกรณีนั้นก็จะกระทบกับระบบกษัตริย์มาก เพราะว่าทุกวันนี้เขาปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามที่มีการร่างรัฐธรรมนูญขึ้นมา กษัตริย์จะต้องอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ ซึ่งกษัตริย์เองก็ค่อนข้างจะไม่ยอมในเรื่องนี้


    ประเด็นเรื่องชนชั้น ความไม่เท่าเทียม คล้ายๆ กับข้อเรียกร้องของกลุ่มผู้ชุมนุมในบ้านเรา จริงๆ แล้วมันมีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

    บ้านเราดีกว่าค่ะ การเข้าถึงระหว่างเรากับรัฐมีมากกว่า ระหว่างเรากับชนชั้นปกครองมีมากกว่า แล้วระหว่างคนต่อคนมีมากกว่า สำหรับที่นั่นระหว่างรัฐกับประชาชนไม่ต้องพูดถึง คุณไม่มีสิทธิมาถามว่ารัฐทำอะไรใช้เงินไปเท่าไหร่ ระหว่างชนชั้นปกครองกับชนชั้นล่าง ชนชั้นปกครองก็มองว่าเธอเป็นประชาชนของฉันต้องทำตามคำสั่ง ระหว่างคนต่อคนก็มีการแบ่งแยกอีกว่าเธอเป็นกลุ่มไหน เพราะความแตกต่างด้านนิกาย

    ความเหลื่อมล้ำด้านชนชั้น ที่โน่นดูง่ายมากว่าใครเป็นชนชั้นไหน ดูจากนามสกุล เธอมาจากตระกูลนี้ก็คือชนชั้นสูง นั่นเท่ากับว่าต่อให้คุณทำดีแค่ไหน คุณเก่งแค่ไหนมันไม่ได้ช่วยคุณให้ได้รับการยอมรับ ที่นั่นมองคนจากตรงนี้ บ้านเราถือว่าเปลี่ยนไปเยอะ เราก้าวไปอีกขั้นแล้ว เพียงแต่ว่าอาจจะต้องปรับเรื่องความเข้าใจ

    ไทยกับบาห์เรนต่างก็มีพระมหากษัตริย์เหมือนกัน แม้จะแตกต่างกันในแง่ระบอบการปกครอง เคยแลกเปลี่ยนความเห็นกันในเรื่องนี้ไหมคะ
    จากที่ได้อยู่ทั้งสองประเทศ ความแตกต่างคือความรู้สึกของประชาชนที่มีต่อสถาบันกษัตริย์แตกต่างกันมาก แล้วการปฏิบัติก็ต่างกันมาก เราทำอะไรหลายๆ อย่างก็อยากทำเพื่อในหลวง อย่างครั้งหนึ่งดีใจมาก เมื่อหลายปีก่อนตอนที่ครบรอบ 60 ปีครองราชย์ บาห์เรนเป็นประเทศที่ให้ความร่วมมือดีนะคะ เราขอตั้งพระบรมฉายาลักษณ์ แล้วมาฉลองกัน เขาก็โอ.เค. เขาถามว่ายูรักในหลวงกันขนาดนี้เลยเหรอ เพราะอะไร เขาไม่เคยรู้สึกแบบนี้ ดิฉันมีเพื่อนคนบาห์เรนคนหนึ่งทำงานในหน่วยงานราชการ เขาบอกว่า คนไทยโชคดีที่มีกษัตริย์ที่รักคนไทย นี่คือสิ่งที่เขาพูดกับดิฉันเมื่อไม่นานนี้เอง


    ตอนนี้สถานการณ์การชุมนุมที่บาห์เรนเป็นอย่างไร

    การชุมนุมค่อนข้างจะยืดเยื้อ ณ ปัจจุบันชุมนุมมาเป็นวันที่ 15 แล้ว (นับถึงวันที่ 1 มีนาคม) ถือว่าชุมนุมนาน แต่อย่างที่บอกว่าในบาห์เรนค่อนข้างจะมีระเบียบพอสมควร เขาไม่ได้ปิดถนน ไม่ได้ปิดสนามบิน แล้วเขาก็มีการกันถนนให้คนทั่วไปสัญจรไปมา ใช้ชีวิตตามปกติ แล้วเขาก็จะมีการผลัดเวรกันมาชุมนุมด้วย สมมติบางคนชุมนุม 8 ชั่วโมงแล้วอีกกะก็จะมาอยู่แทน คือชุมนุมตลอด 24 ชั่วโมงไม่มีคนขาดเลย แล้วเมื่อสองวันที่แล้วผู้ชุมนุมเพิ่มเป็น15,000 คน


    ก่อนหน้านี้เคยมีความพยายามสลายการชุมนุมด้วย?

    ความรุนแรงมันเริ่มตั้งแต่วันที่ 16 กุมภาพันธ์ คือตอนนั้นรัฐบาลมีลักษณะจะปราบปรามโดยใช้กำลัง ทีนี้ปัญหาก็คือเช้าวันนั้นประมาณตี 3 มีตำรวจเข้าสลายการชุมนุมด้วยการยิงปืน จุดนี้ก็มีผู้เสียชีวิต 6 คน แล้วมีนายแพทย์คนหนึ่งเขาก็ออกมาเปิดคลินิคเพื่อรับผู้ชุมนุมที่บาดเจ็บมารักษาตัว ปรากฏว่านายแพทย์คนนี้ถูกทำร้ายโดยตำรวจ ต้องเข้าไอซียู ก็เป็นเหตุให้คนบาห์เรนโกรธแค้นแล้วออกมาเยอะขึ้น จากหลักพันกลายเป็น 6-7 พันคน แล้วเนื่องจากบาห์เรนเป็นประเทศที่เล็กมาก ตำรวจมีน้อย ทำให้กำลังตำรวจสู้ไม่ได้

    ขณะนั้นรัฐบาลก็ออกมาพูดว่าเขาจำเป็นต้องสลายการชุมนุม แต่ผู้ชุมนุมบอกว่าไม่ควรใช้ความรุนแรง เพราะผู้ชุมนุมไม่มีอาวุธ การครอบครองอาวุธในบาห์เรนถือเป็นเรื่องที่ร้ายแรงมาก กฎหมายคือประหารชีวิต เพราะฉะนั้นคนบาห์เรนจะไม่มีอาวุธ แล้วคนที่ไปชุมนุมก็เป็นผู้หญิง เด็ก คนชรา ก็เลยทำให้คนรู้สึกโกรธมาก ออกมาเยอะขึ้น


    มีคนรุ่นใหม่ไปร่วมชุมนุมมากน้อยแค่ไหน

    คือแกนนำ 70 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนหนุ่มสาว มีการศึกษา แต่คนที่มาร่วมชุมนุมก็จะมีความหลากหลาย แล้วเขาก็มีการเรียกร้องให้ปล่อยตัวผู้นำฝ่ายค้านที่ติดคดีทางการเมืองประมาณ 90 คนให้ออกมาด้วย


    แล้วทำไมถึงได้ตัดสินใจไปร่วมชุมนุม

    นักธุรกิจในบาห์เรนเราจะมีกลุ่มที่สื่อสารกันอยู่ประจำ ทีนี้ต้องเล่าว่าการไปทำธุรกิจในบาห์เรนมันจะมีปัญหาหลายๆ ด้าน เช่น เรื่องกฎหมายที่ไม่ชัดเจน เรื่องการปฏิบัติของเจ้าหน้าที่ เจ้าหน้าที่มักปฏิบัติต่อนักธุรกิจไม่เท่าเทียมกัน ถ้าเป็นคนยุโรปจะได้รับการปฏิบัติที่ดีกว่า แต่ถ้าเป็นเอเชีย อย่างสิงคโปร์ ญี่ปุ่นจะได้รับสิทธิมากกว่า แต่พอเป็นคนจีน คนไทย คนเกาหลี ก็จะมีการกีดกันพอสมควร ซึ่งอันนี้เรารู้สึกว่าไม่ค่อยยุติธรรมกับเรา

    แล้วก็เรื่องการทำธุรกิจในบาห์เรนจะมีระบบที่เรียกว่าสปอนเซอร์ คือคุณจะตั้งบริษัทหรือทำธุรกิจในบาห์เรนได้ ต้องให้คนบาห์เรนเป็นหุ้นส่วน อาจจะไม่ได้เข้ามาทำธุรกิจแต่ว่าใช้ชื่อเขา ในกฎหมายไม่ได้ระบุชัดเจนว่าต้องแบ่งสันปันส่วนกันเท่าไหร่ พอเราทำธุรกิจไปแล้วส่วนใหญ่สปอนเซอร์จะอยากได้ค่าคอมมิชชั่นเพิ่มขึ้นๆ แล้วมันไม่จบไม่สิ้น มีการฟ้องร้อง แจ้งความ แต่ส่วนใหญ่คนบาห์เรนจะชนะ ด้วยเหตุผลอะไรก็ไม่รู้

    ในกลุ่มนักธุรกิจก็เลยมานั่งคุยกัน ตอนแรกก็แค่ 70-80 คน ไปๆ มาๆ กลายเป็น 300 -400 คน พวกเรารวมตัวกันและคิดว่ามีสิทธิที่จะพูด เพราะว่าเราอาศัยอยู่ในประเทศนี้ เราเป็นนักลงทุน มาสร้างความเจริญ เราก็น่าจะมีสิทธิพูดว่าปัญหาของเราคืออะไร ปัญหาหลักที่เราพูดคือเรื่องคอรัปชั่น ธุรกิจส่วนใหญ่ที่ทำ ไม่ว่าจะก่อสร้าง ร้านอาหาร สปา ทุกอย่างมันมีเบี้ยบ้ายรายทางเยอะมาก


    บรรยากาศการชุมนุมเป็นอย่างไรบ้าง

    บรรยากาศก็ดูสบายๆ นะ ตอนแรกยังงงเลยว่ามาชุมนุมเขาเอาดนตรีมาเล่น เอาเต้นท์มาตั้ง เอาอาหารมาทาน แล้วก็มาสูบชิชา ส่วนเราก็ไปแบบปกติ เรียบๆ ไม่ได้มีอุปกรณ์อะไรมีแค่ป้ายผ้าเล็กๆ เขียนว่า "No Corruption" แค่นั้นเอง

    ถึงวันนี้ถามว่าบาห์เรนน่าไปทำธุรกิจมั้ย ก็ยังมองว่าน่าไปทำนะ ยังรู้สึกดีใจที่ตัดสินใจถูกที่ไม่ได้ไปลงทุนที่ดูไบ แล้วมายึดหัวหาดประเทศนี้ เพราะว่าเมื่อ 6 ปีที่แล้วมันไม่มีอะไรเลย แต่คนมีกำลังที่จะซื้อ แล้วพออยู่ๆ ไป เราไม่ได้แค่มิดเดิลอีสต์ เราทำธุรกิจไปได้ถึงแอฟริกา ตอนนี้ได้ถึงยุโรปตะวันตกตะวันออกด้วย


    ออกไปร่วมชุมนุมอย่างนี้ ไม่กลัวว่าจะมีผลกระทบกับธุรกิจเหรอคะ

    ในการชุมนุมเราไม่ได้สนับสนุนฝ่ายรัฐบาลหรือฝ่ายค้าน ไปชุมนุมเพื่อให้รู้ว่าเรารู้สึกอย่างไร แล้วทำไมเราต้องเรียกร้อง จริงๆ แล้วมันน่าจะเป็นผลดีนะ เขาจะได้เอากลับไปคิดว่าคนที่อยู่ที่นี่รู้สึกอย่างไร เพราะที่ผ่านมาเราไม่ได้พูด ไม่ได้ชี้แจง เราไม่มีโอกาส แล้วการชุมนุมก็เป็นไปอย่างสันติ เป็นการเรียกร้องอย่างมีเหตุและมีผล ไม่ได้ไปร่วมกับกลุ่มที่รุนแรง หรือกลุ่มที่สนับสนุนใครคนใดคนหนึ่ง เรียกว่าเป็นโอกาสที่เราได้พูดแค่นั้นเอง แล้วไม่ใช่เราคนเดียว ก็เกือบ 90 เปอร์เซ็นต์ ของนักลงทุนหรือนักธุรกิจที่นั่น


    ที่เมืองไทยเคยไปร่วมชุมนุมทางการเมืองบ้างไหม

    ไม่เคย แต่ว่าติดตามข่าวตลอด พอดีช่วงที่เขามีการชุมนุมกันไม่ได้อยู่ที่เมืองไทย แต่มีข่าวออกไป คนที่นั่นส่วนใหญ่เขาก็จะถามว่า "ยู สีอะไร" ก็บอกว่าไม่มีสี ยังไงเราก็คนไทย อยากให้ประเทศสงบ อยากบอกว่าข่าวเมืองไทยสำหรับที่โน่นเป็นที่ติดตามนะคะ เพราะว่าคนบาห์เรนส่วนใหญ่เคยมาเมืองไทย และเขามีทัศนคติที่ดีว่าคนไทยใจดีมีน้ำใจ แล้วก็มีความเป็นกันเอง พอบ้านเราเกิดผลกระทบ เจอใครส่วนใหญ่จะถามถึงว่าเมืองไทยเป็นอย่างไร แก้ไขอย่างไร จะสงบมั้ย ปีหน้าฉันจะไป medical check up ได้หรือเปล่า


    ตอนนั้นเห็นความรุนแรงในบ้านเราแล้วรู้สึกอย่างไร

    อยู่ที่โน่นเรามองกลับมาเหมือนพี่กับน้องทะเลาะกัน นั่งคุยกันได้มั้ย แล้วมันจะดีกับประเทศของเราเอง มองในแง่ของคนทำธุรกิจนะคะ ถ้าเราทะเลาะกันอย่างนี้ คนที่บาดเจ็บก็คือประเทศ


    กำลังจะกลับไปบาห์เรนแล้ว เตรียมรับมือกับสถานการณ์อย่างไรบ้าง

    คือจริงๆ ถ้าให้ประเมินจากที่อยู่ที่นั่นมา ไม่ได้กลัวนะ คิดว่าคงกลับไปทำงานตามปกติ แต่ถ้าพูดถึงการเตรียมการส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องการอพยพมากกว่า เพราะเรามีพนักงานที่เป็นคนไทยทั้งหมด ก็เตรียมการว่าถ้าเกิดปัญหาจะประสานงานกับสถานทูตหรือกรมแรงงานเพื่อเอาคนกลับอย่างไร นั่นคือจุดที่เรามอง ส่วนเรื่องธุรกิจถ้ามันเกิดขึ้นจริงๆ ก็คงต้องดูว่าเราสามารถกลับเข้าไปควบคุมได้มั้ย หรือเคลียร์ของได้มั้ย เพราะยังไงสถานประกอบการเราอยู่ในประเทศเขา เราคงแก้เรื่องอื่นไม่ได้ อย่างแรกคือต้องดูแลพนักงานก่อน

    แต่อย่างที่บอก ดูจากสถานการณ์แล้ว ไม่ได้มีความกังวล ค่อนข้างรู้สึกว่ายังดำเนินการต่อไปได้ แล้วน่าจะดีขึ้นด้วยซ้ำถ้ารัฐบาลมีการปรับเปลี่ยน แก้ไขเรื่องกฎหมายการลงทุน เรื่องคอรัปชั่น


    ที่ผ่านมาธุรกิจได้รับผลกระทบไม่น้อยไม่เหมือนกัน?

    ธุรกิจก่อสร้างจะกระทบมากที่สุดเพราะว่า ส่วนใหญ่ลูกค้าจะโทรมาบอกว่าหยุดทุกอย่างไว้ก่อน งานที่จะมีการประมูลก็หยุดประมูลชั่วคราว แต่วันสองวันมานี้ก็ได้รับอีเมลว่าเดี๋ยวจะมีการประชุมประเมินสถานการณ์ ส่วนร้านอาหาร คนก็น้อยลง หายไปครึ่งหนึ่ง สปาก็ปิดชั่วคราว เพราะว่าพนักงานส่วนใหญ่เป็นผู้หญิงเราก็กังวลเรื่องความปลอดภัย


    โดยส่วนตัวแล้วประเมินว่าการชุมนุมจะจบลงอย่างไร

    ตอนนี้กลายเป็นว่าเป็นการชุมนุมระดับแรงงาน ระดับกลางๆ ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ หรือพนักงานออฟฟิศไม่มาชุมนุมแล้ว แต่เท่าที่มองต้องบอกว่ากลุ่มนี้อาจจะไม่ได้รับความสนใจจากรัฐบาลมากนัก เพราะกลุ่มนี้เป็นคนบาห์เรนน้อยมาก ส่วนใหญ่จะเป็นคนต่างชาติที่เข้ามาทำงาน แล้วถ้าให้ประเมินก็คิดว่าสถานการณ์น่าจะใกล้จบแล้ว


    ถึงตอนนี้อยากบอกอะไรกับคนไทยคะ

    อยากบอกว่ารักเมืองไทยมากขึ้น ทุกครั้งที่กลับมารู้สึกว่านี่คือบ้าน คนไทยอยู่เมืองไทยบางทีเราไม่รู้สึกว่าเรารักบ้าน พอเราไปอยู่ในประเทศที่เราเห็นความแตกต่าง เรารู้สึกว่าเราโชคดี ถ้าถามคนบาห์เรนนะ ส่วนใหญ่จะบอกว่าคนไทยโชคดี อยากไปอยู่เมืองไทย

     
  10. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    สงครามแห่งยุค ปกติการก่อสงครามในดินแดนประเทศที่เป็นมุสลิมแล้วละก็อเมริกาไม่คิดนาน สบช่องเป็นหวด
    มุสลิมไทยดอทคอม : 6 มีค. 54
    สงครามไม่ปรานีใคร
    สหรัฐอเมริกายุคประธานาธิบดี “บารัค โอบามา” เล่นอะไรแปลกๆ
    ตามปกติการก่อสงครามในดินแดนประเทศที่เป็นมุสลิมแล้วละก็ อเมริกาไม่คิดนาน สบช่องเป็นหวด
    แต่กับ “กัดดาฟี” สหรัฐทำไมยึกยักก็ไม่รู้ ทั้งๆ ที่เครื่องบินรบของกัดดาฟี บินทิ้งระเบิดใส่ประชาชนที่เมือง Brega อย่างหนักหน่วงหลายระลอกแล้ว
    นายซาอิฟ อัล อิสลาม ลูกชายของกัดดาฟีให้สัมภาษณ์สื่อตะวันตกในกรุงตริโปลีว่า แค่ทำให้กลัวและให้ประชาชนถอนตัวออกจากเขตบ่อน้ำมัน เพราะเมืองนี้เป็นเมืองสำคัญที่สุดของลิเบีย น้ำมันกับแก๊สเจาะจากบ่อเมืองนี้ และการส่งออกก็ใช้ท่าเรือเมืองนี้ หากยังไล่กบฏออกไปไม่ได้ ประชาชนลิเบียทั้ง 6 ล้านคนก็จะอดตาย เพราะขายแก๊สกับน้ำมันไม่ได้
    ดูมันพูด...ทิ้งระเบิดใส่ประชาชนมือเปล่า...แค่ทำให้กลัว
    สหรัฐอเมริกายังมะงุมมะงาหรา อย่างล่าสุด 3 มี.ค.2554 ตามเวลาในวอชิงตัน ดี.ซี. “โรเบิร์ต เกต” แถลงต่อรัฐสภาว่า ถ้าจะประกาศเขต NO FLY ZONE เหนือน่านฟ้าลิเบียละก็ จำเป็นต้องมีเครื่องบินรบเพิ่ม มากกว่าที่จะใช้จากเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐแต่เพียงฝ่ายเดียว
    แต่ประธานาธิบดีโอบามากลับบอกว่า...เพนตากอน...ทำได้
    the US defence secretary, Robert Gates, told a congressional committee that establishing a no-fly zone would have to begin with an attack on Libyan territory, in order to destroy Muammar Gaddafi's air defence weapons. He noted that the overall military effort would require more planes than are available from a single US aircraft carrier, but said if Barack Obama wanted a no-fly zone established, the Pentagon could do it.
    However, the idea has been rejected by Russia, which holds a veto-wielding seat on the UN security council.
    อย่างไรก็ตาม ความคิดที่จะประกาศเขตห้ามบินในลิเบียถูกขัดขวางโดยรัสเซีย ในที่ประชุมคณะมนตรีมั่นคงสหประชาชาติ
    ก็ยึกยักกันอยู่
    บ้านเราจะเกิดสงครามประชาชนฆ่ากันเองรึไม่ ตอบว่า ถ้าความไม่ยุติธรรมยังดำรงอยู่ คนมันก็ต้องสู้
    ถ้าสถานการณ์ในไทยเป็นอย่างนี้ต่อไป ในที่สุดประชาชนกับประชาชนก็จะถูกยุให้ฆ่ากัน
    “นายสบาย” ไม่อยากให้เกิดสงครามประชาชนในไทยเลย
    วันนี้จึงขอลงรูปให้ชม ประชาชนลิเบียฝ่ายต่อต้านตั้งด่านอยู่บนถนนเมือง Brega ไป Tripoli เกิดสงสัยเด็กหนุ่มคนหนึ่งที่เดินมาบนถนน เป็นฝ่ายสนับสนุนกัดดาฟี ก็เลยล็อกตัวนั่งลงบนพื้นถนน เอาปืนพกจ่อหัวและชูด้วยกำปั้นขู่ โดยไอ้หนุ่มน้อยสีหน้าท่าทางกลัวแทบตาย
    สงคราม ถ้าเกิดแล้วมันไม่ปรานีใครทั้งนั้น
    ก็ลงรูปให้ชมกัน เพื่อไม่ให้บ้านเรา...ประชาชนต้องรบกับประชาชน
    นายสบาย
    ที่มา นสพ.บ้านเมือง
    ʧ
     
  11. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    รัฐบาลซาอุประกาศห้ามประชาชนชุมนุมทุกรูปแบบ หลังเพิ่งออกนโยบายประชานิยมป้อง ปฏิวัติ
    มุสลิมไทยดอทคอม : 6 มีค. 54
    รัฐบาลซาอุประกาศห้ามประชาชนชุมนุมทุกรูปแบบ หลังเพิ่งออกนโยบายประชานิยมป้อง "ปฏิวัติ"

    กระทรวงมหาดไทยของประเทศซาอุดีอาระเบีย ได้ประกาศให้การชุมนุมประท้วงและเดินขบวนทุกรูปแบบเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และเจ้าหน้าที่ความมั่นคงจะใช้มาตรการทุกวิถีทางในการป้องกันไม่ให้เกิดความ พยายามใดๆ ที่จะสร้างความวุ่นวายแก่ระเบียบของสาธารณะ

    ประกาศดังกล่าวถูกแถลงผ่านทางสถานีโทรทัศน์ของรัฐ หลังเกิดเหตุการประท้วงต่อเนื่องของกลุ่มมุสลิมนิกายชีอะห์ซึ่งเป็นคนส่วน น้อยในประเทศ บริเวณเมืองทางภาคตะวันออก ที่เป็นแหล่งผลิตน้ำมันสำคัญของซาอุดีอาระเบีย

    โดยกล่มผู้ประท้วงได้เรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนักโทษ ที่พวกเขาอ้างว่าถูกจับกุมโดยมิได้เป็นผู้ต้องหาในคดีความใดๆ

    "กฎหมายในราชอาณาจักรแห่งนี้ได้ห้ามการชุมนุม ประท้วงทุกรูปแบบ ทั้งที่เป็นการเดินขบวนหรือการปักหลักอยู่กับที่ เพราะการกระทำเหล่านั้นขัดกับหลักกฎหมายอิสลามชารีอะห์ ตลอดจนคุณค่าและประเพณีของสังคมซาอุดีอาระเบีย" แถลงการณ์ของกระทรวงมหาดไทยซาอุฯ ระบุและว่า "กฎหมายได้บัญญัติเอาไว้ว่าให้เจ้าหน้าที่ใช้ทุกมาตรการเพื่อขัดขวางมิให้ผู้ใดพยายามจะล่วงละเมิดกฎหมายดังกล่าว"

    ทั้งนี้ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา กษัตริย์อับดุลเลาะห์แห่งซาอุดีอาระเบีย เพิ่งทุ่มงบประมาณราว 3.7 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 1 ล้านล้านบาท) เพื่อออกนโยบายจำนวนมากที่มอบผลประโยชน์ด้านต่างๆ ให้แก่ประชาชน เพราะหวังจะป้องกันราชอาณาจักรแห่งนี้จากกระแส "ปฏิวัติดอกมะลิ" ที่แพร่กระจายไปทั่วโลกอาหรับ
    ที่มา นสพ.มติชน
     
  12. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วิเคราะห์มันหยด อ่าวอาหรับเดือดเพราะ,,, โดย: บันฑิตย์ สะมะอุน
    มุสลิมไทยดอทคอม : 7 มีค. 54
    อีกหนึ่งก้าวย่างในโลกตะวันออกกลาง
    โดย: บันฑิตย์ สะมะอุน

    แหล่งข่าวเว็บไซต์ Loading...

    [​IMG]


    เหตุการณ์ประท้วงที่ระบาดอยู่ในกลุ่มประเทศตะวันออกกลางได้เกิดผลกระทบไปทั่วโลก ด้วยสาเหตุหลายปัจจัย เช่น ตะวันออกกลาง เป็นแหล่งพลังงานสำคัญของโลก (ทั้งพลังงานหลักและพลังงานทางเลือก) ตะวันออกกลาง เป็นแหล่งอารยธรรมสำคัญของโลก ศาสนาหลักใหญ่ๆ คือ ยิว คริสต์ และอิสลาม ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในดินแดนตะวันออกกลาง

    การหวังครอบครองพื้นที่ในตะวันออกกลาง จึงเป็นความคิดดั้งเดิมของบรรดามหาอำนาจทั้งเก่าและใหม่ ที่คอยแย่งชิงผลประโยชน์มหาศาลที่ยังคงมีอยู่แม้ในปัจจุบัน สหรัฐอเมริกาเป็นประเทศหนึ่งที่มีอิทธิพลสูงในตะวันออกกลางแต่เสี่ยงต่อความมั่นคงมากที่สุด หลังจากการเปลี่ยนถ่ายอำนาจจากอังกฤษสู่สหรัฐอเมริกา พร้อมกับการก่อตั้งประเทศอิสราเอลขึ้นบนแผ่นดินของชาวปาเลสไตน์

    หลังจากนั้นตะวันออกกลางก็เริ่มเกิดการเปลี่ยนแปลงอีกครั้งหนึ่ง เป็นความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองมากกว่าความเปลี่ยนแปลงทางศาสนาวัฒนธรรมอย่างที่ผ่านมา เป็นการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง ระบบเศรษฐกิจ การศึกษาและวัฒนธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดแลกเปลี่ยนและผลัดเปลี่ยนกันระหว่างมหาอำนาจทั่วโลก (ฝรั่งเศส รัสเซีย อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ฯลฯ)

    ปัญหาที่เกิดขึ้นกับประเทศในตะวันออกกลางคือการต้านรับกระแสการเปลี่ยนแปลงของลัทธิทุนนิยมต่างๆไม่ทัน ไม่สามารถหาประโยชน์ได้จากกระแสโลกาภิวัตน์ โลกตะวันออกกลางต้องตะลึงกับผลกระทบอย่างใหญ่หลวงที่ได้เกิดขึ้นแล้วในวันนี้ มาตรฐานในการดำเนินชีวิตของคนอาหรับสูง ค่าครองชีพที่สูง และค่านิยมของคนอาหรับที่นิยมความหรูหราฟุ่มเฟือย ซึ่งเป็นวิถีชีวิตที่ดูจะเข้ากันได้กับลัทธิทุนนิยมสมัยใหม่ในบางส่วน

    การรับเอาโลกาภิวัฒน์ของโลกตะวันออกกลางแบบขาดสำนึก และไม่รู้เท่าทันคือจุดอ่อนที่เกิดขึ้นในระบบการปกครองแบบเก่าในพื้นที่ตะวันออกกกลาง คือ ผู้นำที่มีอำนาจเบ็ดเสร็จ การครองอำนาจของผู้นำเวลานาน ความไม่ชัดเจนในการจัดการเรื่องการเงินและผลประโยชน์ที่น่าจะเป็นของรัฐแต่กลับกลายไปเป็นของส่วนตัวและกลุ่มพวกพ้อง

    ปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้น คือ หลังจากที่ผู้นำหมดอำนาจ ไม่ว่าจะเป็นการหมดอำนาจด้วยการเสียชีวิต อย่าง ยัสเซอร์อาราฟัต หรือ การหมดอำนาจโดยการขับไล่จากประชาชนอย่างผู้นำ ฮุสนี มุบาร็อก ที่เห็นได้ชัดคือเกิดกระบวนการไล่ล่า หรือตรวจสอบบัญชีของผู้นำเหล่านี้ที่มีจำนวนมากมายมหาศาล

    โดยบางครั้งไม่ชัดเจนและไม่ตรวจสอบไม่ได้ว่าเงินดังกล่าวนั้นมาจากแหล่งใดหรือมาด้วยรูปแบบใด จุดนี้ก็เป็นจุดหนึ่งที่ซ้อนเร้นที่จำเป็นต้องตรวจสอบ ที่อาจจะนำไปสู่การเผยให้เห็นเบื้องหลังความจริงของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในตะวันออกกลางได้อีกแนวทางหนึ่ง ซึ่งบริบทในพื้นที่อย่างภูมิภาคตะวันออกกลางมีภารกิจซ้อนเร้นมากมายที่สาธารณะชนเข้าไม่ถึงข้อมูล เช่น แหล่งเงินทุนภายในประเทศ แหล่งเงินทุนที่ไหลมาจากต่างประเทศ ตลาดมืดที่ยิ่งใหญ่ การฟอกเงิน และปัญหาอื่นๆอีกมากมาย

    [​IMG]

    ในมุมมองของผู้เขียน เหตุการณ์ประท้วงเพื่อขับไล่ผู้นำของตนในพื้นที่ตะวันออกกลางในปัจจุบัน ควรตั้งสมมติฐานอยู่บนความจริง คือ เรื่องเศรษฐกิจ เรื่องปากท้องของประชาชน และเรื่องวิทยาการของสื่อเทคโนโลยี (กระแสโลกาภิวัตน์) ส่วนเรื่องกลุ่มขบวนการต่างๆที่เคยมีอยู่ในอดีตนั้น เป็นเพียงเหยื่อล่อที่น่าจะใช้ไม่ได้แล้วกับเหตุการณ์ปัจจุบัน

    แม้บางกลุ่มจะมีความต้องการจะให้เกิดขึ้นแต่คงปลุกไม่ขึ้น เพราะหากจะคิดบนสมมุติฐานว่า กลุ่มขบวนการอย่างอัลกออีดะห์ กลุ่มหะมาส กลุ่มอิควาน หรือ กลุ่มอื่นๆมีส่วนอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์

    หากจะวิเคราะห์บนสมมุติฐานนี้แล้ว ควรมองว่ากลุ่มขบวนการดังกล่าวนี้มีเหตุผลอันใด ถึงต้องอยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ประท้วง เพราะหากมองอีกแง่มุมหนึ่งจะพบว่า กลุ่มขบวนการเหล่านี้มีความต้องการให้อิทธิพลของต่างชาติ หรือมหาอำนาจลดบทบาทลงหรือให้หมดไปจากพื้นที่มากกว่าการทำลายล้างผู้นำของตัวเอง ยกเว้นผู้นำที่คอยเป็นตัวแทนรักษาผลประโยชน์ให้แก่ต่างชาติหรือมหาอำนาจโดยไม่สนใจต่อความต้องการของประชาชนของตนเอง

    จุดนี้ก็เป็นอีกจุดหนึ่งที่ควรพิจารณา ว่าผู้นำที่ถูกประชาชนของตนเองขับไล่ในปัจจุบันนี้มีคุณลักษณะดังกล่าวหรือไม่ ปัญหาน่าจะเป็นเรื่องของภาวะผู้นำและจริยธรรมผู้นำมากกว่าเรื่องของแนวคิดหรืออุดมคติของกลุ่มแนวคิดขบวนการ ซึ่งเป็นเรื่องที่พิสูจน์ไม่ได้ด้วยหลักฐานเชิงประจักษ์ แต่จะเป็นได้ก็แค่เพียงกระโถนไร้ค่าที่ให้ผู้หมดทางเลือกจะถุยใส่

    หากใช่แล้ว ประเด็นของการขับไล่ผู้นำก็เป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทั่วทุกมุมโลก

    ซึ่งเป็นที่ทราบโดยทั่วไปแล้วว่า ต่างชาติ หรือมหาอำนาจมักจะใช้วิธีสร้างตัวแทนของตนขึ้นในพื้นที่ตะวันออกกลาง และนับวันตัวแทนของมหาอำนาจก็ดูจะเริ่มลดน้อยลงเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องสร้างตัวแทนตัวอื่นเข้ามาดูแลผลประโยชน์ของตัวเอง

    การมองว่ากลุ่มขบวนการเก่าที่เคยมีบทบาทในอดีตมีส่วนในการอยู่เบื้องหลังในเหตุการณ์ประท้วง แม้แต่ผู้นำอย่างกัดดาฟี ก็ยังพูดอย่างชัดเจนว่ากลุ่มอัลกออีดะห์ อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ชุมชนขับไล่ผู้นำของตน แต่เหตุผลที่ กัดดาฟี ให้นั้นไม่มีเหตุผลและดูจะไร้น้ำหนัก

    นอกจากนั้นยังมีกลุ่มหะมาส กลุ่มอิควาน ฯลฯ ซึ่งลึกๆแล้วได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือจากทั้งภายในและต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่ถูกมองเป็นอันดับต้นคือ อิหร่าน

    การลากอิหร่าน เข้ามาเกี่ยวข้องในเหตุการณ์รุนแรงในครั้งนี้ มันคุ้มค่าอย่างยิ่งที่จะตัดเสี้ยนหนามและลดส่วนแบ่งต่างๆในภูมิภาคตะวันออกกลาง ของมหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและพันธมิตร

    หากย้อนกลับไปมองเหตุการณ์ ๑๑ กันยายน วันที่เครื่องบินวิ่งพุ่งชนตึกเวิลด์เทรดและแพนทาก้อนที่ผ่านมา หรือสงครามก่อนหน้านั้น ปรากฎการณ์ที่เห็นชัดก็คือ สหรัฐอเมริกาและพันธมิตร เปิดสงคราม โดยไม่สนใจใยดีต่อประชาคมโลก ทั้งสงครามอ่าว สงครามอัฟกานิสถาน สงครามอิรัก เป็นส่วนหนึ่งของสงครามที่เกิดขึ้นโดยมีสหรัฐฯ เป็นหัวหน้านำทีมบุกโจมตี

    [​IMG]


    ผลที่เกิดขึ้นคืออำนาจและอิทธิพลของสหรัฐฯเริ่มลดถอยลงไปมาก หลายประเทศในตะวันออกกลางเลือกที่จะคบค้าสัมพันธ์กับจีนมากกว่าตะวันตกและยุโรป จนเป็นเหตุให้ในปัจจุบันนี้ตลาดสำคัญของตะวันออกกลาง กลายเป็นประเทศจีนมากกว่าในกลุ่มประเทศตะวันตกและยุโรป

    การวางตัวของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯและพันธมิตร ดูจะมืดมนมากขึ้นในตะวันออกกลาง ผลของสงครามที่สหรัฐฯก่อขึ้นกลับมาทำลายสหรัฐฯเอง ความบอบช้ำและความโกรธแค้นต่อสหรัฐฯทั้งในภูมิภาคตะวันออกกลางและประเทศทั่วโลก เป็นตัวทำลายความน่าเชื่อถือและความมั่นคงในภูมิภาคต่างๆ ของมหาอำนาจอย่างสหรัฐฯเป็นอย่างดี

    การที่สหรัฐฯไม่สามารถทำสงครามโดยตรงกับกลุ่มประเทศตะวันออกกกลางอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต เพราะอาจจะต้องสูญเสียมากกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบันที่ต้องมาตกหลุมพางในตะวันออกกลาง

    เหตุการณ์ลุกขึ้นประท้วงขับไล่ผู้นำของตนเองในตะวันออกกลาง ซึ่งผู้นำในแต่ละประเทศที่ประชาชนลุกขึ้นขับไล่นั้น มักมีเบื้องหน้าเบื้องหลัง ที่เกี่ยวโยงกับผลประโยชน์ที่ทับซ้อนกันกับผลประโยชน์ของมหาอำนาจในตะวันออกกลาง

    สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนคือผู้นำที่ถูกประชาชนลุกขึ้นประท้วงขับไล่นั้น ไม่ได้ตอบคำถามใดๆที่ประชาชนต้องการให้ตอบ เพราะตอบไม่ได้ โดยเฉพาะประเด็นเรื่องผลประโยชน์ของชาติที่ถูกลักขโมยโดยชาติมหาอำนาจ

    นี่คือวันนี้ที่ความจริงช่วงหนึ่งหรือตอนหนึ่งที่ถูกเปิดเผยให้ประชาคมโลกได้รับรู้

    ความวุ่นวายในตะวันออกกลางในครั้งนี้ได้เค้นความจริงบางอย่างออกมาให้ประชาคมโลกได้รับรู้สิ่งที่ซ่อนเร้น พลังประชาชนที่ออกมาประท้วงผู้นำของตนเป็นพลังที่บริสุทธิ์ หรือเป็นพลังที่ถูกจัดตั้งขึ้น เป็นเรื่องที่ยากจะอธิบาย เนื่องจากในภูมิภาคตะวันออกกลาง ยังเป็นที่หมายตาและเป็นที่ต้องการของต่างชาติหลายประเทศ

    พลังประชาชนที่ต้องการให้ผู้นำของตนรักษาผลประโยชน์ของประเทศชาติ ไม่ปล่อยให้ต่างชาติรุกลานและฉกชิงผลประโยชน์ของชาติไปอย่างหน้าตาเฉย ได้แสดงออกมาให้เห็นแล้วในปัจจุบัน

    ความจริงแล้วความไม่พอใจกับเรื่องดังกล่าว(ผู้นำของตนและการฉกชิงผลประโยชน์จากต่างชาติ) มีมานานแล้ว แต่ไม่มีเครื่องมือและโอกาสอย่างโลกในยุคปัจจุบัน

    [​IMG]


    ที่เหลือตอนนี้มีสองประเทศคือซาอุดิอารเบียและอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจในตะวันออกกลาง

    ทั้งสองประเทศนี้มีความแตกต่างกันหลายด้าน ตั้งแต่เรื่องของลัทธิความเชื่อ (ชีอะห์และซุนนีย์) เชื้อชาติที่แตกต่างกัน ระบบการปกครองประเทศแตกต่างกัน

    ความต้องการที่จะเป็นมหาอำนาจในพื้นที่ตะวันออกกลางเหมือนกัน ความพยายามที่จะทำให้เกิดความขัดแย้ง และแตกแยกความสามัคคีของคนภายในชาติ คือ สาเหตุหลักของความพ่ายแพ้ในทุกยุทธศาสตร์

    ที่เห็นเป็นประจักษ์ในปัจจุบันคือมหาอำนาจในตะวันออกกลาง(ประเทศในตะวันออกกลาง)กำลังถูกลดบทบาทลงให้ลดจำนวนน้อยลงเรื่อยๆ หนึ่งในนั้นคืออิรักซึ่งประเทศอยู่ในสภาวะล่มจมอย่างที่เห็นในปัจจุบัน สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือประเทศมุสลิมหลายประเทศต้องกลับมาทบทวน และ สานสายสัมพันธ์ให้มีความแน่นแฟ้นและมั่นคงยิ่งขึ้น สร้างความพร้อมในด้านต่างๆเพื่อต้านรับกับกระแสของโลกด้วยความไม่ประมาทและการรู้เท่าทัน

    ความเป็นพี่น้องมุสลิมนั้นลึกซึ้งไม่มีใครสามารถแทรกแซงเข้ามาได้ ที่สามารถทำได้ คือ จะทำอย่างไร ให้ความเป็นพี่น้องมุสลิมเกิดความบาดหมางและแตกแยกกันเองภายใน

     
  13. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ซาอุดี้คุมเข้มหลังชีอะฮฺชุมนุม

    มุสลิมไทยดอทคอม : 7 มีค. 54 11:09:00 พิมพ์หน้านี้ | ส่งให้เพื่อน


    สำนักข่าวมุสลิมไทย ซาอุดี้คุมเข้มหลังชีอะฮฺชุมนุม

    สำนักข่าวอัล-จาซีร่า - ทางการซาอุดี้สั่งห้ามการรณรงค์ประท้วง และการเดินขบวนทุกชนิด หลังจากที่มีการชุมนุมของกลุ่มชาวชีอะฮฺในซาอุดี้ ในเมืองทางตะวันออกของประเทศ

    [​IMG]


    สถานีโทรทัศน์ทางการประกาศแถลงการณ์ของรัฐมนตรีกระทรวงกิจการภายในประเทศว่า ฝ่ายรักษาความมั่นคงจะดำเนินมาตรการทุกอย่าง เพื่อป้องกันความพยายามที่จะก่อความวุ่นวายที่ขัดต่อระเบียบ

    หนังสือพิมพ์อินดิเพนเด้นท์ ของอังกฤษรายงานว่า มีการลำเลียงกำลังพลประมาณ 10,000 คนโดยใช้เส้นทางถนนหลวงไปยังเมืองดัมมาม และเมืองอื่นๆ ทางตะวันออกที่มีชาวชีอะฮฺชุมนุมอยู่ เพื่อควบคุมการลุกฮือที่อาจจะมีขึ้น

    ในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา มีชาวชีอะฮฺออกมาชุมนุมกันเพื่อเรียกร้องความเป็นธรรมหลายอย่าง นับตั้งแต่ความเสมอภาคทางเศรษฐกิจ โอกาสในการทำงาน และการถูกจับกุมคุมขังโดยไม่มีการไต่สวน เป็นต้น

    สดๆ ร้อนๆ เมื่อวันเสาร์ก็มีการประท้วงที่เมือง Hoful และเมือง Qatif

    ทางการซาอุดี้ออกมาปฏิเสธว่าไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างชาวซุนนี กับชีอะฮฺในประเทศ

    ทันทีที่กลับจากการพักฟื้นหลังการผ่าตัดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา กษัตริย์อับดุลเลาะฮฺทรงประกาศทุ่มเงิน 37,000 ล้านดอลล่าร์ เพื่อพัฒนาสังคมและประชาชนชาวซาอุดี้ - www.muslimthai.com


     
  14. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ผู้ว่าแบงก์ชาติ ชี้ วิกฤตยุโรปพาทุนนอกไหลเข้าไทยต่อเนื่อง ยันปีหน้า
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=center align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=center align=left>8 มีนาคม 2554 12:00 น.</TD></TR></TBODY></TABLE>
    ผู้ว่าแบงก์ชาติ ชี้ วิกฤตเศรษฐกิจยุโรป ทำนักลงทุนต่างชาติหันมาลงทุนในไทยสูง ทั้งผ่านทางตรงและทางหลักทรัพย์ คาดปีนี้และปีหน้า จะมีเงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง แม้มีการขายหุ้นออก แต่โดยรวมยังไม่มาก

    วันนี้ (8 มี.ค.) นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงาน สัมมนาหัวข้อ "ทิศทางเศรษฐกิจไทยภายใต้ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย ว่า ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา มีเงินทุนเคลื่อนย้ายเข้ามาในไทยจากปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ ยุโรป สหรัฐฯ และญี่ปุ่น มีทั้งเข้ามาลงทุนโดยตรง และหลักทรัพย์ และล่าสุดยังมีปัญหาความไม่สงบทางการเมืองในประเทศแถบตะวันออกกลาง ซึ่งส่งผลให้อุปทานน้ำมันในตลาดโลกปรับตัวสูง และอาจกระทบภาพรวมเศรษฐกิจโลก

    นอกจากนี้ ยังมีเรื่องการปรับตัวของธนาคารกลาง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซีย ที่เริ่มถอนมาตรการการเงินแบบผ่อนคลาย ซึ่งทำให้แนวโน้มค่าเงินบาทในปีนี้ มีความผันผวนตาม

    ส่วนแนวโน้มปีนี้และปีหน้า คาดว่า จะยังมีเงินทุนไหลเข้าต่อเนื่อง แม้ 2 เดือนแรก จะมีการขายหุ้นออก เป็นผลมาจากที่ตลาดหุ้นไทยปีที่แล้ว มีการปรับตัวขึ้นค่อนข้างมาก แต่โดยรวมเงินยังไหลออกไม่มาก ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ ยังมีเงินสุทธิไหลเข้ามาลงทุน

    Stock Markets - Manager Online -
     
  15. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    วันที่ 8 มีนาคม 2554 10:48

    'กัดดาฟี'ขอลงจากอำนาจแลกความปลอดภัย

    โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

    [​IMG]

    สื่ออาหรับเผย ผู้นำลิเบียเสนอขอลงจากอำนาจโดยแลกกับความปลอดภัยของตัวเองและครอบครัว

    หนังสือพิมพ์ อัสชาร์ค อัล ออว์ซัท ที่มีสำนักงานอยู่ที่กรุงลอนดอน และหนังสือพิมพ์ อัล บายัน ที่มีสำนักงานอยู่ในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รวมถึงสถานีโทรทัศน์อัล จาซีราห์ รายงานว่า พันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี ผู้นำลิเบีย กำลังมองหาหนทางทำข้อตกลงในการก้าวลงจากอำนาจ แต่ยังไม่มีรายงานยืนยันอย่างเป็นทางการแต่อย่างใด โดยอัล จาซีราห์ ระบุว่า พันเอกกัดดาฟี ได้เสนอขอจัดการประชุมเจรจากับฝ่ายต่อต้านที่สภาผู้แทนราษฎร เพื่อกรุยทางให้เขาก้าวลงจากตำแหน่งด้วยหลักประกันที่แน่นอน
    ทั้งนี้ อัล จาซีราห์ ระบุว่า พันเอกกัดดาฟี เสนอไปยังสภาเฉพาะกาล ที่ทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงให้กับดินแดนตะวันออก ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของฝ่ายต่อต้าน ขณะที่แหล่งข่าวในสภาเฉพาะกาลเปิดเผยต่อผู้สื่อข่าวของอัล จาซีราห์ ที่เมืองเบนกาซีว่า พันเอกกัดดาฟี ต้องการหลักประกันด้านความปลอดภัยของตัวเขา และครอบครัว รวมถึงขอไม่ให้มีการฟ้องร้องดำเนินคดีเขาด้วย แต่ทางสภาเฉพาะกาลได้ปฏิเสธ เนื่องจากจะกลายเป็นการให้เกียรติแก่พันเอกกัดดาฟี่ และสร้างความไม่พอใจให้กับคนที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงของเขา
    ด้านแหล่งข่าวในสภาเฉพาะกาลอีกคนหนึ่ง เปิดเผยว่า ได้ยินว่ามีการเสนอสูตรที่จะให้พันเอกกัดดาฟีส่งมอบอำนาจให้กับรัฐสภา และออกนอกประเทศ พร้อมกับเงินอีกก้อนหนึ่ง แต่เรื่องเงินกลายเป็นประเด็นสำคัญที่เป็นอุปสรรคต่อการทำข้อตกลง
    สภาเฉพาะกาลยืนยันว่า จะไม่มีการเจรจากับพันเอกกัดดาฟี และการเจรจาใด ๆ จะตั้งอยู่บนพื้นฐานที่เขาต้องลาออกเท่านั้น
    ขณะที่ หนังสือพิมพ์ อัสชาร์ค อัล ออว์ซัท ระบุว่า พันเอกกัดดาฟีได้ส่งตัวแทนการเจรจาไปยื่นข้อเสนอต่อฝ่ายต่อต้านที่เบนกาซีว่า เขาจะยอมลงจากอำนาจถ้ารับประกันความปลอดภัยต่อตัวเขาและครอบครัว รวมถึงทรัพย์สมบัติของเขาด้วย
    ส่วนหนังสือพิมพ์ อัล บายัน รายงานอ้างแหล่งข่าวที่เป็นคนวงในของพันเอกกัดดาฟีว่า เขากำลังเริ่มมองหาสถานที่ปลอดภัยนอกประเทศแล้ว
    แหล่งข่าว ระบุว่า เขาได้ติดต่อกับชาติอาหรับและแอฟริกา เพื่อหาสถานที่ปลอดภัยพอที่เขาจะเดินทางออกจากลิเบีย ในสภาพที่เหมาะสมและไม่เสื่อมเสียเกียรติ ซึ่งการแตกแยกอย่างรุนแรงภายในกองทัพลิเบีย ทำให้พันเอกกัดดาฟีสูญเสียการควบคุมพื้นที่ส่วนใหญ่ให้ฝ่ายต่อต้าน
    อย่างไรก็ตาม สถานีโทรทัศน์ อัล อาราบิยา รายงานว่า นายซาอาดี หนึ่งในบุตรชายของเขาพร้อมจะเข้าสู่สงครามกลางเมือง ถ้าบิดาก้าวลงจากอำนาจ

    '
     
  16. benz_sudta

    benz_sudta สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    8
    ค่าพลัง:
    +3
    ถึง 100 หน้าเมื่อไรน่าจะจัดงานฉลองแล้วมอบโล่ห์เลยนะ ^__^
     
  17. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    ขอบคุณไว้ล่วงหน้าละกันค่ะ งานฉลองขอเป็นพลุดอกไม้ไฟสวยๆ นะ
    hee hee hee!!!
     
  18. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    'กัดดาฟี'จวกชาติต.ต.ยุ'ลิเบีย'แตก USแย้มยังไม่ถึงเวลาส่งอาวุธให้กบฏ

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2554 23:32 น.


    [​IMG]



    เมืองราส ลานูฟ สมรภูมิแนวหน้าและเป็นแนวป้องกันทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของฝ่ายกบฎ ยังคงถูกโจมตีทางอากาศเป็นระลอกๆ ต่อเนื่องมาจากวันจันทร์ (7)


    เอเอฟพี/เอเจนซี - ระบอบมูอัมมาร์ กัดดาฟี ของลิเบีย จวกชาติตะวันตกว่าสมคบคิดวางแผนกันเพื่อทำให้ลิเบียแบ่งแยกแตกคอกัน ขณะที่อีกด้านหนึ่งก็เดินเกมไม้อ่อนยื่นข้อเสนอขอเจรจากับผู้นำฝ่ายกบฏ แม้ว่ากัดดาฟีจะส่งเครื่องบินดาหน้าถล่มใส่เมืองราส ลานูฟ ซึ่งเป็นสมรภูมิแนวหน้าอย่างไม่หยุดหย่อน ทางด้านสหรัฐฯ ระบุว่ายังเร็วเกินไปที่จะส่งอาวุธยุทโธปกรณ์เข้าไปสนับสนุนพวกกบฏนักรบที่ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าเป็นมิตรกับวอชิงตันหรือไม่ พร้อมกันนี้ยังได้ประกาศชัดว่าจะไม่มีการส่งกำลังทหารรุกเข้าไปทางบกจนกว่าจะไร้ซึ่งหนทางอื่นจริงๆ

    เหตุการณ์ลุกฮือโค่นล้มระบอบปกครองอันยาวนานกว่า 40 ปีของกัดดาฟีที่นำไปสู่สงครามกลางเมืองนองเลือดยังคงดำเนินยืดเยื้อต่อไปเป็นสัปดาห์ที่ 3 โดยที่กรุงตริโปลี รัฐมนตรีการต่างประเทศมูสซา คูสซา ของลิเบียได้ออกมาประณามชาติตะวันตกว่ากำลังพยายามทำให้ประเทศลิเบียแตกแยกด้วยการลักลอบสร้างสัมพันธภาพกับกลุ่มผู้นำฝ่ายกบฏ

    “มันชัดเจนว่าฝรั่งเศส, สหราชอาณาจักร และสหรัฐฯ กำลังติดต่อกับพวกแปรพักตร์ในภาคตะวันออกของลิเบียอย่างใกล้ชิด ซึ่งหมายความว่ามีการสมรู้ร่วมคิดกันขึ้นที่จะแบ่งแยกลิเบีย” คูสซา กล่าว ท่าทีอันโกรธเกรี้ยวของฝ่ายรัฐบาลคราวนี้มีขึ้นหลังจากรัฐมนตรีการต่างประเทศวิลเลียม เฮกของอังกฤษ ออกมายอมรับว่าเกิดความเข้าใจผิดกันขึ้นจนทำให้กองกำลังพิเศษที่รัฐบาลอังกฤษส่งเข้าไปเพื่อติดต่อกับกลุ่มกบฏนั้น ถูกกักขังโดยพวกฝ่ายค้านกัดดาฟีเอง

    ด้านสหรัฐฯ ก็ออกมาแสดงท่าทีที่ชัดเจนว่า จะไม่เร่งรีบตัดสินใจเกี่ยวกับนโยบายตอบโต้ลิเบียอันจะนำพากองทัพอเมริกาเข้าสู่ห้วงสงครามครั้งใหม่และจุดกระแสแอนตี้อเมริกาให้ลุกโชนขึ้นมาอีก ทั้งนี้รัฐบาลของประธานาธิบดีบารัค โอบามา กำลังถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างสาดเสียเทเสียโดยเฉพาะจากพวกนักการเมืองฝ่ายพรรครีพับลิกันและนักวิจารณ์แนวอนุรักษ์นิยม กรณีที่วอชิงตันระมัดระวังตัวเกินเหตุจนไม่อาจดำเนินการยับยั้งหรือยุติเหตุจลาจลนองเลือดในลิเบียได้ทันท่วงที

    เจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาว แถลงว่า การส่งทหารบุกเข้าไปทางบกนั้นจะเป็นตัวเลือกสุดท้ายในลิสต์ทั้งหมดของสหรัฐฯ นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า การบังคับให้น่านฟ้าลิเบียเป็นเขตห้ามบินเป็นทางเลือกที่ต้องมีการไตร่ตรองอย่างละเอียดรอบคอบ หลังจากก่อนหน้านี้ก็มีเจ้าหน้าที่รัฐบาลหลายคนออกมาเตือนว่า ข้อบังคับ “โนฟลายโซน” เป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ อีกทั้งหากนำมาบังคับใช้จริงก็ยังไม่อาจรับประกันร้อยเปอร์เซ็นต์ว่าจะสามารถหยุดยั้งกองกำลังกัดดาฟีไม่ให้โจมตีทางอากาศใส่พลเรือนได้อีกกรณีที่พวกเขาใช้เฮลิคอปเตอร์ติดอาวุธปืนบินโจมตีในระดับเพดานบินต่ำ

    นอกจากนี้คาร์นีย์ยังประกาศด้วยว่า “มันยังไม่ถึงกำหนดเวลาที่จะส่งอาวุธไปยังตู้ไปรษณีย์ปลายทางในลิเบียตะวันออก” แต่กระนั้นวอชิงตันก็ไม่ได้ปิดกั้นหนทางนี้เสียทีเดียว โดยคาร์นีย์แย้มว่า การเสริมเขี้ยวเล็บให้แก่ฝ่ายกบฏด้วยอาวุธของสหรัฐฯ นั้นยังคงเป็นทางเลือกที่เป็นไปได้อยู่

    อย่างไรก็ตาม คำประกาศของคาร์นีย์ขัดแย้งอย่างชิ้นเชิงกับคำกล่าวของฟิลิป โครว์ลีย์ โฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ ที่ย้ำชัดและแสดงท่าทีเชิงสนับสนุนมติของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งบังคับห้ามไม่ให้มีการขนส่งอาวุธยุทโธปกรณ์ทุกชนิดเข้าไปยังดินแดนลิเบีย

    ขณะเดียวกัน นักวิเคราะห์ก็ลงความเห็นกันว่า การที่สหรัฐฯ ยึกยักเช่นนี้เป็นเพราะมีปัจจัยสำคัญหลายประการเข้ามาเกี่ยวข้องนั่นก็คือ จวบจนบัดนี้เจ้าหน้าที่ข่าวกรองของสหรัฐฯ ยังไม่อาจระบุจำแนกตัวแสดงหลักๆ ที่อยู่ในกลุ่มฝ่ายค้านล้มล้างระบอบกัดดาฟีได้ชัดเจน นอกจากนี้จุดมุ่งหมายของพวกกบฏเหล่านี้ก็ยังคลุมเคลือไม่แน่ชัด และประการสำคัญสหรัฐฯ เองก็ยังไม่แน่ใจด้วยว่าฝ่ายกบฏจะมองตนเป็นมิตรหรือไม่

    สำหรับสถานการณ์การสู้รบในสงครามกลางเมืองลิเบีย ที่เมืองราส ลานูฟ สมรภูมิแนวหน้าและเป็นแนวป้องกันทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของฝ่ายกบฎ ยังคงถูกโจมตีทางอากาศเป็นระลอกๆ ต่อเนื่องมาจากวันจันทร์ (7) โดยเฉพาะตรงบริเวณชานเมืองด้านตะวันออกที่ถูกเครื่องบินขับไล่ของกองกำลังกัดดาฟีทิ้งบอมบ์เมื่อวันอังคาร (8) อย่างไรก็ตามรายงานข่าวระบุว่า การโจมตีคราวนี้ส่วนใหญ่พลาดเป้า และมีขีปนาวุธลูกหนึ่งตกลงมายังจุดถัดจากถนนราว 100 เมตร บริเวณใกล้กับบ้านเรือนซึ่งตั้งอยู่ในเขตชานเมือง ขณะที่ผู้สื่อข่าวภาคสนามของเอเอฟพี รายงานว่า กลุ่มกบฏที่ปักหลักประจำการอยู่ตามป้อมด่านตรวจเข้าเมืองมีจำนวนน้อยลงกว่าเมื่อหลายวันที่ผ่านมา ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งบอกว่า ฝ่ายกบฏเริ่มทยอยกันล่าถอยออกจากเมืองศูนย์กลางที่ตั้งของท่อส่งน้ำมันสายสำคัญของประเทศแห่งนี้บ้างแล้ว

    การสู้รบตามเมืองต่างๆ อาทิ มิสราตา, ซีระเตะห์ก็ยังคงดำเนินต่อไป แม้ว่าโฆษกฝ่ายกบฏจะแถลงวันอังคาร (8) ว่า กัดดาฟี ได้หยิบยื่นข้อเสนอขอเปิดการเจรจากับบรรดาผู้นำของฝ่ายค้าน อย่างไรก็ตาม พวกฝ่ายกบฏระบุว่า พวกเขาได้ปฏิเสธกลับข้อเสนอนี้อย่างไม่ใยดี

    “พวกเราจะไม่ต่อรองอะไรกับเขาเป็นเด็ดขาด เขาทราบดีว่าสนามบินอยู่ในกรุงตริโปลี และสิ่งจำเป็นที่สุดที่เขาต้องทำในเวลานี้ก็คือการไปให้พ้นจากประเทศนี้ และยุติการเข่นฆ่านองเลือดเสีย” มุสตาฟา กะห์อีเรียนี โฆษกฝ่ายกบฏประกาศมาจากที่ทำการใหญ่ในเมืองเบงกาซี

    แต่กระนั้น รัฐบาลลิเบียก็ออกมาปฏิเสธทันควันผ่านทางโทรทัศน์ทางการระบุว่า ฝ่ายรัฐบาลไม่ได้จัดการเจรจาพูดคุยกับฝ่ายกบฏแต่อย่างใด

    Around the World - Manager Online - '
     
  19. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    หลายฝ่ายถกเครียดใช้กำลังลุย'ลิเบีย'สเปนเตือนควรเป็นหนทางสุดท้าย

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 มีนาคม 2554 03:31 น.


    [​IMG]



    ฝ่ายกบฏปะทะกับฝ่ายสนับสนุนกัดดาฟีอย่างต่อเนื่อง


    เอเอฟพี - นายกรัฐมนตรีสเปน ออกความเห็นวานนี้(8) ว่าการแทรกแซงทางทหารใดๆในลิเบีย ควรเป็นหนทางสุดท้ายและต้องได้รับอนุมัติจากสหประชาชาติ ขณะที่กำลังมีความพยายามหารือกันในหลายฝ่ายถึงความเป็นไปได้ในการใช้ปฏิบัติการทางทหารต่างๆ ในจำนวนนั้นรวมถึงกำหนดเขตห้ามบิน

    นายโฆเซ่ หลุยส์ โรดริเกซ ซาปาเตโร นายกรัฐมนตรีสเปน กล่าวว่า "ก่อนที่จะเข้าแทรกแซงลิเบีย เราต้องเน้นถึงหลักที่ต้องปฏิบัติตามและอย่างแรกเลยคือต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ" และ "การแทรกแซงใดๆควรเป็นหนทางสุดท้าย" เขาบอกกับผู้สื่อข่าวระหว่างให้การต้อนรับ เซบาสเตียน ปิเนรา ประธานาธิบดีชิลี

    ทั้งนี้ชาติมหาอำนาจตะวันตกมีกำหนดหารือกันในกรุงบรัสเบลส์ ประเทศเบลเยียม ในวันพฤหัสบดี(10) เพื่อประเมินทางเลือกต่างๆสำหรับใช้ปฏิบัติการทางทหารเข้าแทรกแซงลิเบีย ขณะที่ประเทศแห่งนี้กำลังดำดิ่งสู่สงครามกลางเมือง

    โดยการประชุมระดับสูงครั้งนี้ ทางอังกฤษและฝรั่งเศส จะเรียกร้องกำหนดเขตห้ามบินเหนือน่านฟ้าลิเบีย ซึ่งจะถูกนำเข้าพูดคุย ณ ที่ประชุมคณะมนตรีความมั่นคงแห่งประชาชาติอย่างเร็วที่สุดในช่วงสัปดาห์นี้

    นอกจากนี้แล้วทางเลือกต่างๆที่ชาติตะว้นตกจะร่วมหารือกันนั้น ยังรวมไปถึงการมอบอาวุธแก่กลุ่มกบฏและจำกัดการเงินต่อโมฮัมมาร์ กัดดาฟี ด้วยมาตรการคว่ำบาตรที่หนักหน่วงขึ้น

    หนังสือพิมพ์นิวยอร์กไทมส์รายงานเมื่อวันอาทิตย์(6) ว่าบรรดานักวางแผนด้านกลาโหมของสหรัฐฯ กำลังตระเตรียมทางเลือกต่างๆ สำหรับตอบโต้ลิเบีย ซึ่งครอบคลุมทั้งการโจมตีทางบก เรือ และอากาศ ขณะที่ชาติพันธมิตรของวอชิงตันก็กำลังตัดสินใจที่จะแทรกแซงลิเบียเช่นกัน

    ขณะเดียวกันทางเอเอฟพีก็รายงานเพิ่มเติมว่าทางรัฐมนตรีต่างประเทศชาติอาหรับก็มีกำหนดประชุมฉุกเฉินเช่นกันในวันเสาร์นี้(12) เพื่อหารือถึงความเป็นไปได้ในการกำหนดเขตห้ามบินเหนือลิเบีย หลังจากเครื่องบินฝ่ายสนับสนุนกัดดาฟี ยังคงโจมตีทางอากาศต่อฝ่ายกบฏแบบรายวัน

    เจ้าหน้าที่รายหนึ่งเปิดเผยว่าการประชุมครั้งนี้มีเป้าหมายหารือกันเพื่อหามาตรการปกป้องประชาชนชาวลิเบีย ในจำนวนนั้นคือการกำหนดเขตห้ามบิน

    Around the World - Manager Online -
     
  20. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    จีนโล่งภาพลักษณ์ในสายตาชาวโลกกระเตื้องขึ้น

    โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 8 มีนาคม 2554 19:17 น.


    [​IMG]

    ไชน่า เดลี/เอเจนซี - บีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส โพล เผยภาพลักษณ์ของจีนในสายตาประชาคมโลกดูดีขึ้น ติดอันดับ 8 ของโลกรองจากสหรัฐฯ ที่ได้อันดับ 7 ชี้คนแอฟริกา เอเชีย ลาตินอเมริกา ส่วนใหญ่มองจีนในแง่บวกเพิ่มขึ้น ขณะที่เพื่อนบ้านจีนและชาวตะวันตก กลับเป็นกังวลกับบทบาทและการแผ่อิทธิพลของจีนที่กำลังไปท้าทายระเบียบโลกเก่า

    วันนี้ (8 มี.ค.) หนังสือพิมพ์ไชน่า เดลีเผยแพร่รายงานโดยอ้างถึงผลการสำรวจของบีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส โพล ที่ระบุว่าภาพลักษณ์ของอิทธิพลจีนในสายตาประชาคมโลกนั้นดูดีขึ้น โดยผลโพลดังกล่าวถูกระบุว่า ประเทศที่ได้รับความนิยมจากประชาคมโลกที่สุดคือเยอรมนี รองลงมาคือ สหราชอาณาจักร ขณะที่มหาอำนาจอย่างสหรัฐอเมริกาและจีนนั้นอยู่ในอันดับ 7 และ 8 ตามลำดับ ขณะที่ประเทศที่ได้รับความนิยมต่ำสุด 3 อันดับในสายตาชาวโลกคือ อิหร่าน เกาหลีเหนือและปากีสถาน

    ปัจจุบัน ประชาคมโลกราวร้อยละ 44 มองภาพลักษณ์ของอิทธิพลจีนในเชิงบวก ซึ่งถือว่ากระเตื้องขึ้นเมื่อเทียบกับตัวเลขร้อยละ 41 ในปี 2553 และร้อยละ 39 ในปี 2552 ขณะที่ตัวเลขผู้ถูกสำรวจที่มองอิทธิพลของจีนไปในแง่ลบในห้วงปี 2553 และ 2554 ถือว่าคงที่คืออยู่ที่ร้อยละ 38

    ผลการสำรวจแสดงให้เห็นว่าประเทศจีนค่อนข้างเป็นที่นิยมชมชอบของคนในทวีปแอฟริกา เอเชีย และลาตินอเมริกา ขณะที่ชาวตะวันตกค่อนข้างมองประเทศจีนในแง่ลบ

    เพื่อนร่วมทวีปอย่างเอเชียต่างๆ อย่างเช่นชาวปากีสถานและอินโดนีเซียนั้นต่างมองประเทศจีนในแง่บวกโดย ชาวปากีสถานกว่าร้อยละ 66 และชาวอินโดนีเซียกว่าร้อยละ 63 ต่างมองเห็นแง่ดีของอิทธิพลจีนในปัจจุบัน ขณะที่เพื่อนบ้านที่มีพรมแดนติดกับจีนและมีข้อพิพาทกันมาต่อเนื่องยาวนานอย่าง ชาวเกาหลีใต้ ชาวอินเดีย และชาวญี่ปุ่นกลับเห็นตรงกันข้าม (ดูแผนภาพประกอบ)

    [​IMG]
    “ปัจจัยที่ทำให้ผลการสำรวจออกมาเป็นเช่นนี้ เพราะบทบาทของจีนในการสนับสนุนให้เกิดสันติภาพในโลกและบทบาทที่จีนมีต่อเศรษฐกิจโลก” ศาสตราจารย์หลี่ หย่งฮุย คณบดีวิทยาลัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยภาษาต่างประเทศปักกิ่งให้ทัศนะ พร้อมกล่าวว่า “อย่างไรก็ตาม การที่จีนเข้าไปมีส่วนร่วมในประเด็นระหว่างประเทศ และความแตกต่างในเชิงความคิดระหว่างจีนกับชาติตะวันตกก็ถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ชาวตะวันตกมองจีนในแง่ลบ”

    ศ.หลี่ กล่าวด้วยว่า ผลโพลดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าชาวตะวันตกค่อนข้างเป็นกังวลกับการเติบโตอย่างมีพลวัตของจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อการเติบโตของจีนไปท้าทายระเบียบโลกเดิมที่ชาติตะวันตกเป็นผู้กำหนดขึ้น

    “เยอรมนีเป็นประเทศที่ค่อนข้างเสรีในการรับมือกับประเด็นระหว่างประเทศ ” ซู เฮ่า ผู้อำนวยการศูนย์ยุทธศาสตร์และการบริหารความขัดแย้งแห่งวิทยาลัยความสัมพันธ์ระหว่างประเทศแห่งประเทศจีนวิเคราะห์สาเหตุว่า เหตุใดเยอรมนีจึงเป็นที่นิยมสูงสุดในสายตาของประชาคมโลก ขณะที่มองว่าจีนเป็นเสมือนเครื่องยนต์ในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก และความท้าทายที่จีนกำลังเผชิญอยู่ก็คือจะทำอย่างไรที่จะปรับปรุงภาพลักษณ์ของตัวเองในสายตาคนต่างชาติให้ดีขึ้นได้

    การสำรวจบีบีซี เวิลด์ เซอร์วิส ดังกล่าวดำเนินการโดยบริษัทโกลบสแกน ร่วมกับโครงการทัศนคติต่อนโยบายระหว่างประะเทศ (พีไอพีเอ) ของมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ ซึ่งทำการสัมภาษณ์ผู้คนจาก 27 ประเทศทั่วโลกจำนวน 28,619 คน โดยเป็นการสัมภาษณ์โดยตรงและสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม 2553 ถึง วันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา

    China - Manager Online -
     

แชร์หน้านี้

Loading...