จะต่อวิชาอย่างไรครับ เมื่อเห็นดวงปฐมมรรคแล้ว

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย สมถะ, 6 พฤษภาคม 2006.

  1. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    จะต่อวิชาอย่างไรครับ เมื่อเห็นดวงปฐมมรรคแล้ว

    <!--MsgIDBody=0-->เรียนคุณสมถะ และเพื่อนสหธรรมิกผู้สนใจใฝ่เรียนรู้และกำลังฝึกฝนวิชาธรรมกายอยู่ครับ

    คืออย่างนี้ครับ มีน้องคนหนึ่ง เขาได้เห็นดวงปฐมมรรคขึ้นที่ศูนย์แล้ว
    ปัญหามีอยู่ว่า จะต่อวิชาอะไร และอย่างไรให้เขา
    ขอทราบหลักสูตรเบื้องต้น ระดับกลาง และระดับสูงเป็นนโยบายด้วยครับ
    ถ้าจะกรุณาลงรายละเอียดในหลักสูตรเบื้องต้นอย่างเป็นลำดับขั้นตอน จะเป็นพระคุณมาก

    ผมคิดว่า
    หากจะให้เขาคงเห็นดวงธรรมอยู่อย่างนั้น
    แล้วปล่อยให้เขาค่อย ๆ เห็นไปทีละกายจากกายโลกีย์ไปจนถึงกายธรรมนั้นน่าจะเป็นปัญหาอย่างยิ่ง

    เพราะผมเคยพบกับบางท่านที่มีประสบการณ์ทำนองนี้
    (ท่านเป็นคุณป้าอายุกว่า 70 แล้ว มีตัวตนอยู่จริง พำนักอยู่ที่สหรัฐอเมริกา)
    ท่านกรุณาให้ความรู้กับผมว่า
    คุณ...ฉันเห็นกายรูปพรหมมากว่าสิบปีแล้ว ไปต่อไม่ได้เลย ฉันจะทำอย่างไรดี พยายามแล้วก็ไปไม่ได้ไกลกว่านี้
    มีอีกครับ
    บางท่าน เป็นคนอายุน้อยรุ่นหนุ่มสาว
    ท่านแจ้งว่า
    พี่...ผมเห็นดวงธรรม เข้าไปจนถึงกายฝันแล้ว พยายามประคองไว้เข้าตำราที่ว่า ลุ้น เร่ง เพ่งจ๋าขอลาก่อน
    รอให้ไปเองแต่ละกาย ๆ
    ต่อมา ทั้งดวงทั้งกายหายหมดเลย จนป่านนี้ ผมยังทำอีกไม่ได้
    ถามพระท่านแล้ว ท่านก็ว่า ให้ทำใจเฉยๆ สบาย ๆ เดี๋ยวก็ได้เอง
    นี่ล่วงเลยมาเป็นปีแล้ว ทำอย่างไรดีครับ
    ถ้าทำได้อีก แล้วผมยังรักษาไม่ได้ เกิดหายไปอีก มันจะแย่กว่าเดิมอีกหรือเปล่าครับ

    ทั้งหมดนี้ ผมมีความเห็นว่า ท่านเหล่านี้ล้วนประสพกับปัญหาเรื่องความไม่ชัดเจนในการเรียนวิชาเบื้องต้น
    ดังนั้น จึงขอรบกวนท่านผู้รู้
    ช่วยชี้แจงหลักสูตรเบื้องต้นที่ชัดเจนสำหรับผู้เรียนผู้ฝึกด้วยครับ

    ขอขอบพระคุณล่วงหน้าและขออนุโมทนาในกุศลจิตที่จะได้พยายามชี้แจงเพื่อประโยชน์ของผู้เรียนครับ

    <!--MsgFile=0-->
    จากคุณ : <!--MsgFrom=0-->ผ่านเข้ามาพบ [​IMG]
    <!--MsgTime=0--><!--MsgIP=0--><!--InformVote=0--><SCRIPT language=JavaScript>MsgStatus(Msv[0], 0);</SCRIPT>


    เป็นคำถามที่ยากจะหาคนตอบได้จริงๆ ครับ เมื่อเราเป็นครูอาจารย์เขา ศิษย์ของเรามีความเพียรชอบ จนใจหยุด ใจนิ่ง เห็นดวงปฐมมรรคในท้องของตน เราผู้เป็นครูอาจารย์จะต่อวิชชาให้เขาอย่างไร เรื่องนี้สำคัญยิ่งครับ เพราะถ้าเราช่วยเขาจากดวงปฐมมรรคให้เห็นพระธรรมกายได้ ถือว่าเขาโชคดีมหาศาล แล้วเราจะหาอาจารย์ที่ว่านี้ได้ที่ไหน...


    จะต่อวิชาอย่างไรเมื่อท่านผู้ฝึกกับเราเห็น "ดวงปฐมมรรค" แล้ว ดวงปฐมมรรค นั้นคืออะไร


    ดวงปฐมมรรค หรือเรียกว่าดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน เรียกย่อๆ ว่าดวงธรรมก็ได้ ดวงใสก็ได้ หมายเอาเมื่อเราฝึกใจได้ระดับหนึ่งโดยการกำหนดนิมิตเป็นดวงแก้วขาวใสในท้องตรงฐานที่ 7 เมื่อใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้า ดวงนิมิตนั้นเปลี่ยนเป็น "ดวงปฐมมรรค" ตรงจุดเปลี่ยนนี้เรามักสังเกตไม่ทัน เมื่อใจหยุดนิ่งได้ถูกส่วนเข้าดวงนิมิตเปลี่ยนเป็นดวงปฐมมรรคทันที ปรากฏมีรัศมีสว่างโชติขึ้นมา ลืมตาก็เห็นหลับตาก็เห็น ยังความปราบปลื้มใจมาสู่ผู้ฝึก แต่เมื่อถึงตรงจุดนี้แล้วจะไปต่ออย่างไร ผู้ฝึกเองก็ไม่ทราบ จึงควรไปขอต่อวิชชาจากครูอาจารย์


    ครูอาจารย์ที่ฉลาดต้องรู้จักกำหนดหลักสูตรให้ผู้เรียนได้เรียนเป็นขั้นเป็นตอน กำหนดหลักสูตรให้ชัดเจนว่า ผู้ฝึกกับเราเขาจะต้องเรียนรู้อะไรบ้าง ฝึกอย่างไร เรียนอย่างไร ทำได้จุดนี้แล้วไปจุดไหนต่อ เมื่อผู้ฝึกเห็นดวงปฐมมรรคในท้องตรงฐานที่ 7 ได้แล้ว ควรต่อวิชชาอย่างไร จะต่อวิชชาให้เขาเห็น 18 กายเลยดีไหม แต่เวลาเรามีน้อยจะทำอย่างไร และผู้ฝึกก็ยังใหม่อยู่


    การต่อวิชา 18 กายให้ผู้ฝึกใหม่นั้นดูว่าจะยากไป ควรต่อให้เห็นพระธรรมกายเบื้องต้นก่อน เพราะกายธรรมรักษาได้ง่ายกว่ากายโลกีย์ เมื่อผู้ฝึกเห็นกายธรรมชัดเจนดีแล้ว เราค่อยเลื่อนชั้นในหลักสูตรต่อไป จนถึงวิชา 18 กาย การฝึกให้เห็นพระธรรมกายเบื้องต้นนั้น คือหลักสูตร 4 กายธรรม ได้แก่ กายธรรมพระโสดา กายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระอนาคามี กายธรรมพระอรหัตต์ วิธีการฝึกต่อวิชา จากดวงปฐมมรรคให้เห็น 4 กายธรรมเบื้องต้น มีดังนี้


    ขณะนี้ผู้ฝึกเห็นดวงปฐมมรรคในท้อง(ฐานที่ 7) ส่งในนิ่งไปกลางดวงปฐมมรรค ท่องใจ หยุดในหยุด ๆ ๆ ดวงใส(ดวงปฐมมรรค)จะใสขึ้น ชัดขึ้น สว่างขึ้น


    ลำดับต่อไป ให้สมมติใจคือความรู้สึกทั้งหมดของเราเป็นปลายเข็มเย็บผ้า เข็มเย็บผ้าคือใจของเรา ส่งเข็มใจสัมผัสนิ่งไปกลางดวงใส ท่องใจ หยุดในหยุด ๆ ๆ นึกให้เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงใส(ดวงปฐมมรรค) เห็นแล้ว. . . ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด นึกให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มว่างออกไป เกิดกายธรรม เป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 5 วา สูง 5 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระโสดา




    *** เมื่อเห็นกายธรรมพระโสดาแล้ว ท่องใจ หยุดในหยุดๆ ๆ กายธรรมพระโสดาจะใสขึ้น ชัดขึ้น สว่างขึ้น ลำดับต่อไป


    ส่งใจของเรามองปากช่องจมูกของกายธรรมพระโสดา (หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา) ท่องใจ หยุดในหยุด


    เลื่อนใจมองเพลาตาของกายธรรมพระโสดา (หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา)ท่องใจ หยุดในหยุด


    มองเข้าไปที่จอมประสาทในกลางกะโหลกศีรษะกายธรรมพระโสดา ท่องใจ หยุดในหยุด


    มองผ่านปากช่องลำคอลัดฐานลงไปในท้องกายธรรมพระโสดา ท่องใจ หยุดในหยุด เห็นดวงธรรม


    ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรมท่องใจ หยุดในหยุด เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม


    ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กในเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด นึกให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ว่างออกไป เกิด กายธรรม เป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 10 วา สูง 10 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระสกิทาคามี




    *** ท่องใจ หยุดในหยุดๆ ๆ ต่อไป นึกเลื่อนใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระสกิทาคามี (หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา) ท่องใจ หยุดในหยุด


    เลื่อนใจมองเพลาตาของกายธรรมพระสกิทาคามี (หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา)ท่องใจ หยุดในหยุด


    มองเข้าไปที่จอมประสาทในกลางกะโหลกศีรษะกายธรรมพระสกิทาคามี ท่องใจ หยุดในหยุด


    มองผ่านปากช่องลำคอลัดฐานลงไปในท้องกายธรรมพระสกิทาคามี ท่องใจ หยุดในหยุด เห็นดวงธรรม


    ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรมท่องใจ หยุดในหยุด เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม


    ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กในเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด นึกให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ว่างออกไป เกิด กายธรรม เป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 15 วา สูง 15 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระอนาคามี




    *** ท่องใจ หยุดในหยุดๆ ๆ ต่อไป นึกเลื่อนใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระอนาคามี (หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา) ท่องใจ หยุดในหยุด


    เลื่อนใจมองเพลาตาของกายธรรมพระอนาคามี (หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา)ท่องใจ หยุดในหยุด


    มองเข้าไปที่จอมประสาทในกลางกะโหลกศีรษะกายธรรมพระอนาคามี ท่องใจ หยุดในหยุด


    มองผ่านปากช่องลำคอลัดฐานลงไปในท้องกายธรรมพระอนาคามี ท่องใจ หยุดในหยุด เห็นดวงธรรม


    ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรมท่องใจ หยุดในหยุด เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม


    ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กในเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด นึกให้จุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ว่างออกไป เกิด กายธรรม เป็นพระพุทธรูปขาวใส เกตุดอกบัวตูม หน้าตักกว้าง 20 วา สูง 20 วา นั่งขัดสมาธิอยู่ในกลางว่างใส หันหน้าทางเดียวกับเรา เป็นสัดส่วนของกายธรรมพระอรหัตต์




    *** ท่องใจ หยุดในหยุดๆ ๆ ต่อไป นึกเลื่อนใจมองปากช่องจมูกของกายธรรมพระอรหัตต์ (หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา) ท่องใจ หยุดในหยุด


    เลื่อนใจมองเพลาตาของกายธรรมพระอรหัตต์ (หญิงข้างซ้าย ชายข้างขวา)ท่องใจ หยุดในหยุด


    มองเข้าไปที่จอมประสาทในกลางกะโหลกศีรษะกายธรรมพระอรหัตต์ ท่องใจ หยุดในหยุด มองผ่านปากช่องลำคอลัดฐานลงไปในท้องกายธรรมพระอรหัตต์ ท่องใจ หยุดในหยุด เห็นดวงธรรม


    ส่งใจนิ่งไปกลางดวงธรรมท่องใจ หยุดในหยุด เห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม ส่งใจนิ่งไปกลางจุดเล็กในเท่าปลายเข็ม ท่องใจ หยุดในหยุด ๆ ๆ ๆ ๆ เรื่อยไป กายธรรมพระอรหัตต์ก็จะใสแจ่มอยู่ในท้องของเรา พึงนึกให้เห็นกายธรรมพระอรหัตต์และดวงธรรมของกายธรรมพระอรหัตต์ใสแจ่มอยู่ในท้องของเรา ทุก อิริยาบถ ไม่ว่าเราจะยืน เดิน นั่ง นอน ลืมตาหรือหลับตาเชียวนะ.......


    จบการต่อวิชาจากดวงปฐมมรรคให้เห็นพระธรรมกายหรือหลักสูตร 4 กายธรรมเบื้องต้น




    **** เราใช้เวลาไม่นานเลยผู้ฝึกที่เห็นดวงปฐมมรรคก็จะเลื่อนชั้นขึ้นไป เห็นพระธรรมกายเบื้องต้น หลักสูตรนี้เป็นหลักสูตรเพื่อต้องการให้ผู้ฝึกสามารถรักษาสภาพใจที่หยุดนิ่งอยู่กับกายธรรมเนืองๆ เพราะการเห็นกายธรรมจะเห็นได้ชัดเจนกว่า รักษาให้อยู่กับเราได้ตลอดดีกว่าฝึกเข้า 18 กาย โดยให้ไปเห็นกายโลกีย์คือ กายมนุษย์ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม (ทั้งหยาบและละเอียด)ก่อน กายธรรมใสสว่างกว่ากายโลกีย์ รักษาได้ง่ายกว่ากายโลกีย์


    เมื่อฝึกได้ถึงขั้นนี้แล้ว ควรระลึกนึกถึงพระธรรมกายในท้องเนืองๆ ทุกอิริยาบถ และฝึกเดินวิชชา 4 กายธรรมนี้เป็นอนุโลมปฏิโลม คืออนุโลมหมายถึง เดินหน้า จากกายธรรมพระโสดา กายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระอนาคามี กายธรรมพระอรหัตต์ ปฏิโลมคือเดินถอยหลัง จาก กายธรรมพระอรหัตต์ ถอยกลับมาที่กายธรรมพระอนาคามี กายธรรมพระสกิทาคามี กายธรรมพระโสดา ฝึกเดินอนุโลมปฏิโลมให้กายธรรมต่างๆ ใสแจ่มตลอดไป เพื่อเตรียมพร้อมสู่การฝึกหลักสูตรต่อไป


    การที่เรามีปัญหาเดินวิชา 18 กายไม่ได้ตลอดจนครบ 18 กายก็เพราะเราใจเร็วด่วนได้เกินไป ไม่ฝึกใจไปทีละขั้นตอนจนชำนาญเสียก่อนนั่นเอง


    เมื่อสังเกตให้ดีจะเห็นว่าการเดินใจตามฐานต่างๆ ทุกครั้งที่จะเข้าหากายใหม่ เป็นเรื่องสำคัญยิ่ง เพราะไม่ทำอย่างนี้ ใจจะไม่เข้ากลาง เมื่อไม่เข้ากลางก็ไม่เห็นดวงใส(ดวงธรรม)ในท้องของกายนั้นๆ เมื่อไม่เห็นดวงธรรมก็ไปต่อไม่ได้


    มีคำถาม ขอถามเจ้าของกระทู้ และทุกคนช่วยอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมด้วยครับ จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรม(ดวงปฐมมรรค) นั้นคืออะไร สำคัญอย่างไร เคยได้ยินอาจารย์บ้างท่านบอกให้ผู้ที่เห็นดวงปฐมมรรคหรือเห็นพระธรรมกาย เอาใจแตะนิ่งๆ เบาๆ สบายๆ ให้องค์พระผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ผุดขึ้นมาเป็นสาย ให้ดวงธรรมผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ผุดขึ้นเป็นสาย ทำใจเบาๆ สบายๆ ไม่ทราบว่าทำอย่างนั้นได้อะไร ถูกหลักเกณฑ์หรือไม่ อย่างไร

    จากคุณ : <!--MsgFrom=6-->สมถะ [​IMG]



    ขอบพระคุณคุณสมถะมากครับ
    ที่ได้กรุณาตอบคำถามมาโดยละเอียด

    ผมขออนุญาตสรุปความนิดนึงนะครับ
    "ปัญหา" ที่ผมได้เรียนแจ้งในกระทู้ก็คือ
    ปัญหาการเรียนขั้นพื้นฐาน
    ที่ทำให้ผู้เรียนที่เริ่มเห็นดวงปฐมมรรคไม่สามารถเดินต่อไปเพื่อให้ครบ 18 กายได้
    ส่วนใหญ่ติดอยู่ที่กายโลกีย์ คือตั้งแต่กายมนุษย์นี้เป็นต้นไป แล้วไปต่อไม่ได้
    พอรักษาไว้ไม่ได้ก็หายไป

    คุณสมถะกำลังให้ความรู้ในทางปฎิบัติว่า
    จากการที่ได้เห็นดวงปฐมมรรคแล้ว
    ให้ต่อวิชาเข้าสู่กายธรรมพระโสดาทันที
    จากนั้นก็ต่อวิชาให้เข้าสู่กายธรรมพระสกิทาคามี พระอนาคามี และกายธรรมอรหัตต์โดยลำดับ

    หมายความว่า ให้เดินวิชาเข้าสู่กายธรรมเลย โดยยังไม่เดินวิชากับกายโลกีย์ คือตั้งแต่กายฝันไปจนถึงกายอรูปพรหมหยาบ

    หมายความต่อไปว่า ให้เดินวิชากับกายธรรมทั้ง 4
    คือโสดา สกิทาคามี อนาคามี และอรหัตต์ เหล่านี้ไปก่อน โดยวิชาโดยอนุโลม-ปฏิโลม จนกระทั่งกายธรรมทั้ง 4 นี้ใส
    ก็เป็นอันแน่ใจได้ว่า สามารถรักษาสภาวะใจให้หยุดนิ่งได้ดีขึ้นโดยลำดับ

    การเดินวิชาโดยอนุโลมนั้นหมายถึง เดินวิชาตั้งแก่กายธรรมโสดา-สกิทาคามี-อนาคามี-อรหัตต์
    ส่วนการเดินวิชาโดยปฎิโลมนั้นหมายถึง เดินวิชาจาก กายธรรมอรหัตต์-อนาคามี-สกิทาคามี-โสดา
    ทำซ้ำอย่างนี้จนกว่า "กายธรรม" จะใส

    เหตุที่ต้องเดินวิชาเฉพาะกายธรรมนี้ก่อนก็เป็นเพราะ
    กายธรรมนั้นสามารถ "ต่อรู้-ต่อญาณ" ให้เราเห็นวิชาได้โดยตลอดรอดฝั่ง
    ต่างฝ่ายต่างช่วยกัน
    คือ ยิ่งเราเดินอนุโลม-ปฏิโลม กายธรรมก็ยิ่งใส
    เมื่อกายธรรมยิ่งใส ก็ต่อรู้-ต่อญาณให้เราเดินวิชาได้ดีขึ้น หยุด นิ่ง แน่น ได้ดีขึ้น

    ดังนั้น
    การเดินวิชาเฉพาะกายธรรมนี้ก่อน จึงนับเป็นวิธีอันสำคัญ ที่จะช่วยให้เรารักษาวิชาเราไว้ให้ได้ ไม่เลือนหายไป
    เพราะเราสามารถประคองใจให้หยุดนิ่งได้ดีขึ้นโดยความช่วยเหลือของกายธรรมเหล่านั้น

    ต่อเมื่อเราหยุดนิ่งแน่นได้ดีแล้ว เราก็ไปเดินวิชา 18 กายต่อได้
    คราวนี้เมื่อถึงกายโลกีย์เราก็ไม่ต้องห่วงแล้ว
    เพราะเราอาศัยกายธรรมมาช่วยเราเดินวิชาให้ตลอดรอดฝั่งทั้ง 18 กาย

    นี่เอง จึงเป็นวิธีที่จะสามารถต่อวิชาให้ผู้เรียนสามารถเดินวิชา 18 กายได้อย่างตลอดรอดฝั่ง

    เสียดาย....
    คุณป้าคนนั้น หากรู้วิธีนี้ ป่านนี้คงก้าวหน้าไปไหนต่อไหนแล้ว
    น่าเสียดายจริงๆ ครับ <!--MsgFile=7-->

    จากคุณ : <!--MsgFrom=7-->มาดึก (ผ่านเข้ามาพบ)
    [​IMG]


    ต่อครับ เนื่องจากคุณสมถะได้กรุณาถามมาว่า

    ".....จุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงธรรม(ดวงปฐมมรรค) นั้นคืออะไร สำคัญอย่างไร เคยได้ยินอาจารย์บ้างท่านบอกให้ผู้ที่เห็นดวงปฐมมรรคหรือเห็นพระธรรมกาย เอาใจแตะนิ่งๆ เบาๆ สบายๆ ให้องค์พระผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ผุดขึ้นมาเป็นสาย ให้ดวงธรรมผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ผุดขึ้นเป็นสาย ทำใจเบาๆ สบายๆ ไม่ทราบว่าทำอย่างนั้นได้อะไร ถูกหลักเกณฑ์หรือไม่ อย่างไร..."

    ขออนุญาตแสดงความเห็นเป็นเรื่อง ๆ ไปนะครับ

    1...."จุดเล็กใสขนาดโตเท่าปลายเข็ม" ที่อยู่กลางดวงธรรมนั้นคืออะไร สำคัญอย่างไร

    จุดเล็กใสนั้นก็คือ "กลาง"
    หรือคำพระที่ท่านเรียกว่า "มัชฌิมาปฎิปทา" นั่นเอง
    จุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม หรือต่อไปจะเรียกว่า "กลาง" นี้ มีอยู่ทุกดวงธรรม
    ที่ดวงธรรมมานุปัสสนาสติปัฎฐาน เมื่อเข้ากลางได้ ก็เห็นดวงศีล
    เข้ากลางดวงศีลได้ ก็เห็นดวงสมาธิ
    เข้ากลางดวงสมาธิได้ ก็เห็นดวงปัญญา
    เข้ากลางดวงปัญญาได้ก็เห็นดวงวิมุตติ
    เข้ากลางดวงวิมุตติได้ ก็เห็นดวงวิมุตติญาณทัศนะ
    เข้ากลางดวงวิมุตติญาณทัศนะได้ ก็เห็นกายใหม่อีกกาย
    จะเป็นกายที่หยาบกว่า หรือละเอียดกว่ากายเดิมก็สุดแล้วแต่ว่าเราจะเดินวิชาไปหากายสุดหยาบ หรือกายสุดละเอียด

    หรือแม้จะเดินวิขาโดยซ้อนกาย หรือสับกาย ก็ต้องเดินเข้ากลางนี้ทั้งนั้น
    (นอกเรื่อง...จะไปนิพพาน ท่องไปทั่วภพสาม หรือโลกันต์ ก็ต้องเข้ากลางนี้ทั้งสิ้น)

    รวมความว่า หากไม่มี "กลาง" หรือ "จุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม" แล้ว เราก็หมดหนทางไป คือไปต่อไม่ได้
    ไม่รู้จะไปทางไหน
    ทางก็ตันอยู่อย่างนั้น

    ฉะนั้น "กลาง" นี้จึงสำคัญนัก
    เรียกว่าเป็นหัวใจเลยก็ว่าได้
    ทั้งพระและมารจึงต่างแย่งชิงกันสุดฤทธิ์
    ฝ่ายพระต้องการจะเปิดเผย ให้เห็นและเข้า "กลาง"ให้ได้
    ฝ่ายมารก็หวงแหน ปกปิด ปัดป้องอย่างเต็มที่ ไม่ให้เห็นและไม่ให้รู้ด้วย ถึงรู้ก็ให้รู้อย่างบิดเบือนอีก
    นอกจากนั้น ยังปัดให้ไปเรียนวิชาอย่างอื่นที่ออกนอกศูนย์ ออกนอกทาง
    ถ้าออกนอกศูนย์ ออกนอกทางแล้ว การจะเห็น "กลาง" ได้ก็หมดหวัง
    ดังนั้น กลาง หรือจุดเล็กใสเท่าปลายเข็ม จึงมีเรื่องราวและความสำคัญดังที่กล่าวมานี้

    2... ที่ว่า "...เคยได้ยินอาจารย์บ้างท่านบอกให้ผู้ที่เห็นดวงปฐมมรรคหรือเห็นพระธรรมกาย เอาใจแตะนิ่งๆ เบาๆ สบายๆ ให้องค์พระผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ผุดขึ้นมาเป็นสาย ให้ดวงธรรมผุดขึ้นมาเรื่อยๆ ผุดขึ้นเป็นสาย ทำใจเบาๆ สบายๆ ไม่ทราบว่าทำอย่างนั้นได้อะไร ถูกหลักเกณฑ์หรือไม่ อย่างไร...."

    ขออนุญาตแสดงความเห็นอันเป็นเชิงความรู้ครับ
    หากกระทบกับนโยบายหรือวิธีปฏิบัติที่สั่งสอนกันของท่านใดเข้า ผมต้องขอกราบขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

    ตามความรู้ที่แจ้งไว้ในข้อที่ 1.
    เมื่อจบ 6 ดวงธรรม ก็จะเข้าสู่กายใหม่ จะเป็นกายที่หยาบกว่า หรือละเอียดกว่ากายเดิมนั้น ก็สุดแล้วแต่วิธีการเดินวิชา
    ดังนั้น หากเดินวิชาไป โดยเห็นดวงธรรม (ไม่ใช่กายธรรมนะครับ คนละประเด็น) ผุดขึ้นมาไม่สิ้นสุด เป็นท่อ เป็นสายอย่างนั้นแล้ว
    เชื่อได้ว่า "ผิดหลักวิชา" ตามที่ได้เรียนเอาไว้ข้างต้นอย่างแน่นอน

    สาเหตุน่าจะมาจากการปล่อยให้ใจเบา ๆ สบาย ๆ เรื่อยไปอยู่อย่างนั้น
    คือไม่ยอมสั่งวิชาต่อไปว่าจะเอาอย่างไร
    จะเข้ากลาง หรือจะไปกายไหน จะสับกาย หรือจะซ้อนกาย หรือจะทำอะไรก็ไม่เอาให้แน่สักอย่าง
    และอย่างที่แจ้งให้ทราบอย่างชัดเจนแล้วว่า ทั้งพระและมาต่างๆแย่งชิง "กลาง" กันอย่างสุดฤทธิ์
    วิธีแย่ง หรือวิธีปกครองนั้น ทั้งพระและมารต่างต้องการปกครอง "ใจ"
    ใจประกอบด้วย เห็น-จำ-คิด-รู้
    หากเราไม่ยอมสั่งวิชา ไม่เดินตามตำราหรือตามคำแนะนำของครูบาอาจารย์ที่วางหลักเกณฑ์ตามแบบแผนวิธีที่ถูกต้อง
    คือปล่อยให้นิ่งๆ เบา ๆ สบาย ๆ อยู่อย่างนั้น ไม่ช้าก็เข้าสู่สภาวะของความ"เคลิบเคลิ้ม"
    คือมีความรู้สึก สบาย จนไม่อยากจะทำอะไรต่อไป
    นั่น แปลว่าท่านโดนยิงเครื่องเข้าแล้ว
    วิชาของมารที่จะยิงเข้ามาในเครื่อง คือดวงธรรมของเรานั้น จะทำให้เราชะงักและไม่เดินวิชาต่อ
    การที่ท่านรู้สึกเช่นนั้น นั่นก็แปลว่า ท่านโดนปกครองเข้าแล้ว
    เปรียบเสมือนใจเรานั้นโดน "หุ้ม" เอาไว้ด้วยวิชาของเขา ไม่ให้เราทำอะไรต่อ
    เป็นเพราะเราเปิดช่องว่าง ปล่อยใจเอาไว้ ไม่ยอมสั่งวิชาแท้ ๆ มารจึงได้ช่องอย่างนั้น

    และหากยังปล่อยให้ใจเผินลอยอยู่อย่างนั้น ไม่ช้า ท่านก็จะถูกปกครองมากขึ้น
    และเมื่อ ใจของท่านถูกปกครอง ก็แปลว่า เห็น-จำ-คิด-รู้ ก็ถูกปกครองลงอย่างสิ้นเชิง
    ท่านก็จะเห็น และจะจำ และจะคิด และจะรู้ ไปอย่างที่ผู้ปกครองเขาต้องการ
    นั่นคือ การเห็นของท่านจะผิดไปจากวิชาของธรรมภาคพระ
    คือแทนที่จะเห็นเพียง 6 ดวงธรรม แล้วเกิดกายใหม่ขึ้น ท่านก็จะเห็นการผุดขึ้นมาอย่างไม่ขาดสายของดวงธรรม(ไม่ใช่กายธรรม)
    เห็นเป็นท่อ เป็นสายแล้วยิ่งไปกันใหญ่

    นั่น ความเสียหายใหญ่หลวงเกิดขึ้นแล้ว
    วิชาของท่านเพี้ยนไปแล้ว
    และหากไม่ได้รับการแก้ไข
    จากหุ้มก็กลายเป็น เคลือบ เอิบ อาบ ซึม ซาบ ปน เป็น ไปจนถึงร้อยไส้
    และถูก "ทับทวี" ขึ้นไป จนละเอียดและลึกซึ้ง จนยากที่จะเยียวยา
    น่ากลัวนะครับเรื่องนี้ ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ เลย

    ดังนั้น ผมจึงขออนุญาตเรียกร้องให้พวกเราศึกษาตำราอันเป็นหลักที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำได้วางเป็นหลักเอาไว้
    ถ้าไม่มีความสำคัญ ท่านก็คงไม่ให้ศิษย์ของท่านทำเอาไว้ให้เป็นหลักฐานหรอกจริงไหมครับ

    จงประกอบเหตุ สังเกตผล ทนเอาเถิด ประเสริฐนัก นะครับ <!--MsgFile=8-->

    จากคุณ : <!--MsgFrom=8-->ผ่านเข้ามาพบ
    [​IMG]


    แก้ไข ความเห็นที่ 7 ครับ
    "หมายความว่า ให้เดินวิชาเข้าสู่กายธรรมเลย โดยยังไม่เดินวิชากับกายโลกีย์ คือตั้งแต่กายฝันไปจนถึงกายอรูปพรหมหยาบ"

    แก้เป็น "...........ไปจนถึงกายอรูปพรหมละเอียด"

    ขอโทษด้วยครับ มันดึกแล้ว ตาลาย <!--MsgFile=9-->

    จากคุณ : <!--MsgFrom=9-->ตาลาย..แก้ไข (ผ่านเข้ามาพบ)
    [​IMG]



    หลักเดียวครับ หยุดเป็นตัวสำเร็จ ตั้งแต่เบื้องต้นกระทั่งเป็นพระอริยเจ้า มองดูดวงธรรมที่เห็นไปเรื่อย ๆ โดยไม่ต้องคิดอะไรทั้งสิ้นครับ แล้วประสบการณ์ก็จะพัฒนาไปเองครับ <!--MsgFile=15-->

    จากคุณ : ......



     
  2. James Bond

    James Bond สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มีนาคม 2005
    โพสต์:
    25
    ค่าพลัง:
    +20
    1. วัดนี้ (วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม) เป็นวัดเดียวกันกับ วัดพระธรรมกาย ต.คลองสาม อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี หรือไม่ ?
      ตอบ วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นคนละสำนักปฏิบัติธรรม – คนละคณะบริหาร – คนละนโยบายวัตถุประสงค์ – คนละกิจกรรม กับ วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี
    2. วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสาขาของวัดพระธรรมกาย หรือไม่ ?
      ตอบ กรุณาอ่านคำตอบข้อแรก
    3. วัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นสายเดียวกับวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ หรือไม่ ?
      ตอบ หลวงพ่อ พระราชญาณวิสิฐ (เสริมชัย ชยมงฺคโล ป.ธ.๖) เจ้าอาวาสวัดหลวงพ่อสดธรรมกายาราม เป็นศิษย์ของพระคุณหลวงพ่อ พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) รองเจ้าอาวาสและอาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาธุระ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
      พระคุณหลวงพ่อ พระภาวนาโกศลเถร (วีระ คณุตฺตโม) นั้นท่านเป็นศิษย์โดยตรง และสืบทอดวิชชาธรรมกายทั้งหมด จากพระเดชพระคุณ หลวงพ่อวัดปากน้ำ พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร)*
      ส่วนเจ้าประคุณ สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ (วรปุญฺญมหาเถร ป.ธ.๙) เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ องค์ปัจจุบัน ก็เป็น พระอนุสาวนาจารย์ ของหลวงพ่อ พระราชญาณวิสิฐ และท่านยังเป็นรองประธานสถาบันพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย แห่งนี้ด้วย ดูเพิ่มเติมที่ ประวัติสถาบันฯ www.dhammakaya.org/wat/wat_institute.php และประวัติวัด www.dhammakaya.org/wat/wat_history.php
    - - - - - - - - - - - - - - - - -
    บางส่วนจาก ตอบปัญหาธรรม www.dhammakaya.org/dhmq/detail.php?ID=1
    * นับว่าหลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร เป็นศูนย์รวมหรือคลังแห่งวิชชาธรรมกาย ที่ได้รับถ่ายทอดมาจากพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำโดยตรง และยังเป็นที่รวมวิชชาธรรมกายชั้นสูง ที่ศิษย์ในพระเดชพระคุณหลวงพ่อวัดปากน้ำ ที่เป็นพระเถระรุ่นพี่ ได้จดทำบันทึกไว้ ก็ยังได้มารวมตกแก่หลวงพ่อพระภาวนาโกศลเถร องค์ปัจจุบันนี้อีกด้วย จึงเห็นว่าวิชชาธรรมกายทุกระดับทั้งเบื้องต้น เบื้องกลาง และวิชชาธรรมกายชั้นสูง ควรจะต้องมีการรวบรวมขึ้นเป็นหลักฐานอ้างอิงที่สำคัญต่อไป เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลังจะได้ศึกษาและปฏิบัติต่อไปอย่างถูกทางและสมบูรณ์ ตามที่พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้ถ่ายทอดไว้* (ได้จัดพิมพ์เป็นเล่ม ชื่อหนังสือว่า “มรรคผลพิสดาร” เล่ม 1-2-3 จัดพิมพ์โดย มูลนิธิพุทธภาวนาวิชชาธรรมกาย ไม่มีวางจำหน่าย แต่ทางวัดหลวงพ่อสดฯ จะพิจารณามอบให้โดยไม่คิดมูลค่า เฉพาะแก่ศิษย์ผู้ที่ปฏิบัติได้เข้าถึงแล้ว)
    1. เนื่องจาก มีท่านผู้สอนวิชชาธรรมกายหลายท่าน เช่น ที่ราชบุรี มีสำนักสวนแก้วที่แม่ชีหวานใจเป็นผู้สอน, ที่วัดพระธรรมกาย จ.ปทุมธานี, อ.การุณย์ บุญมานุช จ.จันทบุรี, วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ. ดังนั้นหากต้องการฝึกฝน จะพิจารณาอย่างไรว่าควรฝึกในที่ใด ?
      ตอบ หลักเกณฑ์พิจารณาเลือกสำนักปฏิบัติ ก็คงมีหลักใหญ่ๆ อยู่ 2-3 อย่าง เช่น
      1. พิจารณาดูปฏิปทา ข้อวัตรปฏิบัติต่างๆ โดยทั่วไป ของ อาจารย์ผู้สอนนั้นเองว่า ถูกต้อง เหมาะสม บริสุทธิ์ ตามธรรมวินัย เพียงใด และนำศิษย์ของตนทำกิจกรรมที่เกิดประโยชน์ที่เป็นแก่นสารแท้จริงเพียงไร เป็นต้น
      2. พิจารณาการสอนวิชชาธรรมกาย ของอาจารย์ผู้สอนนั้นว่า ตรงตามหลักคำสอนของหลวงพ่อเพียงใด และให้ “วิชชา” ความรู้แก่ศิษย์อย่างเต็มที่หรือไม่ เป็นต้น
      3. ข้อนี้อาจไม่สำคัญเท่าสองข้อแรก คือ เรื่องสัปปายะ ความสะดวกเกื้อกูล ในด้านที่อยู่ที่พัก อาหาร อากาศ ฯลฯ
      สำนักต่างๆ ที่ได้อ้างถึงนั้น ก็เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเหมือนกันทั้งนั้น ย่อมจะมีหลักการสอนในเบื้องต้นเหมือนๆ กัน ไม่แตกต่างกันมาก แต่การสอนในระดับเบื้องกลางและเบื้องสูง อาจารย์แต่ละท่านก็อาจจะมีวิธีการสอน รายละเอียด และความแม่นยำ แตกต่างกันไป ตามภูมิธรรม ภูมิปัญญา และอุปนิสัย ของท่านเอง อาจจะลองไปปฏิบัติที่สำนักใกล้บ้านก่อนก็ได้ ถ้ายังไม่รู้ว่าจะไปที่ใดดี ก็ลองมาฝึกปฏิบัติที่วัดหลวงพ่อสดธรรมกายารามดู แต่ต้องปฏิบัติอย่างจริงจัง (และไม่เคร่งเครียด) จึงจะได้ผลจริง
    อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ตอบปัญหาธรรม “ทำไมจึงได้ธรรมกายกันมาก
     
  3. ohogamez

    ohogamez เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +2,327
    ช่วยๆกันครับ

    เกิดมาหาแก้วกันเยอะ แต่ทีเขาปิดอยู่ก็มาก
     
  4. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR align=middle><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>
    ตำราของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

    </TD></TR><TR align=middle><TD vAlign=top align=left bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR align=middle><TD vAlign=top align=left width="59%" bgColor=#ffffff>
    ทางมรรคผล

    เป็นตำราที่เราเหล่าศิษย์หลวงพ่อเคยเห็นกันทุกคน ตำราวิชาธรรมกายหลักสูตรเบื้องต้นนี้ เป็นหนังสือแจกเป็นธรรมทานของวัดปากน้ำ
    </TD><TD width="41%">[​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>
    คู่มือสมภาร

    เป็นตำราหลักสูตรระดับกลาง ความเป็นมาเกิดจากสมเด็จพระสังฆราช (สมเด็จพระวชิรญาณวงศ์) วัดบวรนิเวศวิหาร ทรงบัญชาให้แม่ชีนวรัตน์ หิรัญรักษ์ เขียนความรู้ที่หลวงพ่อวัดปากน้ำสอน มาถวายแก่พระองค์ ด้วยพระองค์ทรงสนพระทัย แม่ชีนวรัตน์ก็นำความนี้ไปกราบหลวงพ่อ ศิษย์ของหลวงพ่อซึ่งประกอบด้วย แม่ชีนวรัตน์, แม่ชีสมทรง สุดสาคร, คุณฉลวย สมบัติสุข จึงได้ร่วมกันเรียบเรียงตำราคู่มือสมภาร ตามความรู้ที่หลวงพ่อได้สอนไว้ รวมเป็นเล่มหนังสือ จัดพิมพ์ขึ้นถวายแด่สมเด็จพระสังฆราช พิมพ์ในนามของ น.ส.ฉลวย สมบัติสุข เมื่อปี พ.ศ. 2492
    </TD><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>
    แต่ปรากฏว่าสมเด็จพระสังฆราชทรงประชวร แพทย์ห้ามใช้ความคิด จึงถวายหนังสือนี้แก่พระสาธุศีลสังวร (สนธ์ กิจฺจกาโร) ซึ่งท่านเจ้าคุณรูปนี้เป็นเลขานุการของสมเด็จฯ และท่านเจ้าคุณรูปนี้เป็นผู้เขียนคำนำไว้ในตำราคู่มือสมภารนั้นด้วย

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>
    วิชชามรรคผลพิสดารเล่ม ๑

    เป็นวิชาธรรมกายหลักสูตรระดับยาก เป็นหนังสือปกแข็ง ภาพปกเป็นภาพรูปวงกลมแสดงลักษณะของฐานที่ 7 เป็นรูปของธาตุ 6

    ความเป็นมาของตำราหลักสูตรนี้ พระมหาจัน (ป.ธ. 5) ได้บันทึกความรู้นี้ไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2481 แต่ยังมิได้พิมพ์ออกเผยแพร่ ทางวัดปากน้ำได้นำความรู้หลักสูตรนี้จัดพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2517 หลวงพ่อมรณภาพเมื่อปี พ.ศ. 2502 แปลว่าหลวงพ่อมรณภาพไปแล้ว 15 ปี จึงนำความรู้หลักสูตรนี้มาตีพิมพ์ได้

    </TD><TD vAlign=top><TABLE width="100%" align=center><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>
    ประวัติแห่งความพิสดารวิชาธรรมกายหลักสูตรนี้ หลักสูตรนี้นับว่าเป็นวิชาชั้นสูงยิ่ง ยากที่ใครจะเรียนรู้ได้ ผู้จดวิชาคือพระมหาจัน (ป.ธ. 5) ต้องยกย่องท่านว่าท่านเก่งมาก สามารถจดวิชายากๆอย่างนี้ได้

    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>
    วิชชามรรคผลพิสดาร ๒

    เป็นวิชาธรรมกายหลักสูตรระดับยากมาก เป็นความรู้ที่ท่านเจ้าคุณภาวนาโกศลเถร (อาจารย์วีระ คณุตฺตโม) อาจารย์ใหญ่ฝ่ายวิปัสสนาเป็นผู้จดบันทึกความรู้ เพิ่งพิมพ์เผยแพร่ในปี พ.ศ. 2519 ซึ่งหลวงพ่อมรณภาพไปแล้วถึง 17 ปี ทางวัดปากน้ำจึงได้พิมพ์วิชาธรรมกายหลักสูตรนี้เผยแพร่

    </TD><TD vAlign=top><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>
    หมายเหตุ : เพื่อความสมบูรณ์เท่าที่จะเป็นไปได้ของเนื้อหาวิชาที่ท่านจะได้จากห้องสมุดของชมรม ฯ จึงขออาราธนาตำราดั้งเดิมของหลวงพ่อวัดปากน้ำมาไว้ ณ ที่นี้ด้วย โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อขอเป็นอีกแรงหนึ่งของการเผยแผ่ธรรมะ และเพื่อเป็นการอนุรักษ์ตำราวิชาธรรมกายอันมีค่าต่อมนุษย์ทุกคนนี้เอาไว้​
    </TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2> </TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2> </TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>
    ตำราของอาจารย์การุณย์

    </TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>
    โปรดทราบ หนังสือส่วนใหญ่ที่ปรากฏภายในหน้านี้ ท่านสามารถซื้อได้ที่สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงครับ ทั้งนี้สมาชิกชมรมทุกคนมิได้มีผลประโยชน์จากการขายหนังสือแต่อย่างใด รายได้จากการขายเป็นของสำนักพิมพ์แต่เพียงผู้เดียว ทางชมรมให้บริการท่านได้อ่านทางเวปโดยสะดวกด้วยกุศลเจตนา หากท่านอ่านทางเวปไม่สะดวกก็โปรดสั่งซื้อ หากท่านเห็นว่าไม่คุ้มค่าก็โปรดอย่าได้มีอคติ มีข้อข้องใจประการใด อย่าได้ลังเลโปรดถามครับ ขอบคุณครับ​
    </TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff colSpan=2>
    ปราบมารภาค ๑ - ๕

    คำว่า “ ปราบมาร ” เป็นคำที่หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านใช้ สมัยที่ หลวงพ่อมีชีวิตอยู่ หลวงพ่อได้ทำงานสำคัญอย่างหนึ่ง งานนั้นคือ “ ปราบมาร ” หมายความว่า ต้องเป็นวิชาธรรมกายชั้นสูง จึงจะรู้จึงจะเห็น แล้วใช้ความรู้ชั้นสูงนั้นไปกำจัดอวิชชา ( มาร ) ที่มายึดอำนาจปกครองในธรรมภาคพระ
    งานปราบมารคือเนื้อหาสำคัญที่สุดในชีวิตของหลวงพ่อ การที่อวิชชา ( มาร ) มายึดอำนาจปกครองเช่นนี้ มีผลกระทบต่อมรรคผลนิพพาน มีผลกระทบต่อธาตุธรรม มีผลกระทบต่อมนุษย์ เกิดความเดือดร้อน มีการข่มเหงรังแกกัน เกิดสงคราม เกิดกลียุค ฝนฟ้าไม่ตกต้องตามฤดูกาลและทุกข์ร้อนด้วยประการต่างๆ ต้องเรียนวิชาธรรมกายถึงระดับแก่กล้า จึงจะรู้ จึงจะเห็น จึงจะทราบว่า “ มาร ” เขาทำวิชาปกครองไว้อย่างละเอียดลึกซึ้ง หากไม่เป็นวิชาธรรมกายแล้วรู้เห็นไม่ได้เลย แม้เป็นวิชาธรรมกายแล้ว แต่เป็นอย่างอ่อน ก็รู้เห็นไม่ได้เช่นเดียวกัน การที่หลวงพ่อทำวิชาเพื่อกำจัดอวิชชาที่ว่านี้ เรียกว่า “ ปราบมาร ”
    ปราบมารทั้งห้าเล่มที่จะปรากฏต่อท่านนี้เป็นประสบการณ์ตรงของอาจารย์การุณย์ ตลอดช่วงเวลาอันยากลำบาก ในการใช้วิชาธรรมกายชั้นสูงของหลวงพ่อวัดปากน้ำไปรู้เห็น แก้ไขและได้สร้างผลงานการปราบมารมากมาย พร้อมนำเสนอต่อท่าน

    ความรู้เช่นนี้ไม่ง่ายนักที่จะเกิดขึ้นและ ยากยิ่งนักที่จะนำมารวบรวมเพื่อนำเสนอต่อท่าน เชิญท่านศึกษาเพื่อเป็นความรู้ในฐานะผู้ใฝ่รู้วิชาธรรมกายคนหนึ่งเถิด
    </TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top align=middle bgColor=#ffffff colSpan=2><TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=99> </TD><TD vAlign=top align=middle width="20%"></TD><TD vAlign=top align=right width="20%"></TD><TD vAlign=top align=middle width="20%"></TD><TD vAlign=top align=middle width="20%">[​IMG]
    [​IMG]
    ปราบมาร
    ภาค ๔

    </TD><TD vAlign=top align=middle width="20%">
    [​IMG]
    ปราบมาร
    ภาค ๕


    </TD><TD vAlign=top align=middle width=86>

    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=bottom bgColor=#ffffff colSpan=2>
    แนวเดินวิชาหลักสูตรวิชชามรรคผลพิสดารของหลวงพ่อวัดปากน้ำ ๑ - ๒

    เป็นที่เข้าใจตรงกันว่า ตำราวิชาธรรมกายหลักสูตรมรรคผลพิสดาร ๑-๒ ของหลวงพ่อวัดปากน้ำนั้น เป็นความรู้ลึกซึ้ง ยากต่อการศึกษาค้นคว้า ผู้เขียนจึงได้ทำแนวเดินวิชาขึ้น เพื่อแก้ปัญหา ให้ความยากลดน้อยลงบ้าง และเพื่อให้เกิดประโยชน์ของวิชาอย่างแท้จริง และเพื่อเป็นการอนุรักษ์วิชาธรรมกายให้สืบไป
    จึงถือว่าเป็นหนึ่งในตำราวิชาธรรมกายที่ท่านควรมีไว้เป็นคู่มือ
    ท่านสามารถติดต่อซื้อหนังสือได้ที่สำนักพิมพ์เลี่ยงเชียงครับ 02 872-9898
    <TABLE width="100%"><TBODY><TR><TD> </TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD><TD> </TD><TD align=middle>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff height=193>
    ปุจฉาวิสัชนา - วิชาธรรมกาย

    หนังสือเล่มนี้ เกิดขึ้นจากการจดบันทึกความรู้อันประเมินค่ามิได้ในวิชาธรรมกายจากอาจารย์การุณย์ที่ได้ถ่ายทอดผ่านคณะวิทยากร เพื่อการอนุรักษ์สืบสาน และขยายผลความรู้วิชาธรรมกายของหลวงพ่อวัดปากน้ำในแง่มุมต่างๆ มิให้ดับสูญไป
    ดังคำกล่าวของหลวงพ่อวัดปากน้ำที่เคยกล่าวไว้แก่แม่ชีถนอม อาสไวย์ ว่า "รู้ไหม? ความรู้นี้ใช้เวลาค้นคว้ากันถึง 2,000 ปี เชียวหนา! "
    บางส่วนของหนังสือเล่มนี้ได้ปรากฏใน หน้า คำถาม-คำตอบวิชาธรรมกาย แล้วเชิญท่านศึกษาได้อย่างเต็มที่ หากท่านต้องการเป็นเจ้าของหนังสือเล่มนี้ กรุณาติดต่อคุณวันชัย 038 444-720 ราคาเล่มละ 350 บาท (ราคานี้ คือราคาต้นทุน หักด้วยเงินเรี่ยไรภายในชมรมครับ โปรดอย่าได้มีอคติ)
    </TD><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff>
    แนวเดินวิชา หลักสูตรคู่มือสมภารของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

    แนวเดินวิชาหลักสูตรคู่มือสมภารเล่มนี้ จัดเป็นวิชาธรรมกายชั้นสูง ท่านที่จะเรียนรู้หนังสือเล่มนี้ได้จะต้องฝึกวิชา ๑๘ กายได้แล้วและเข้านิพพานได้อย่างคล่องตัว
    เมื่อท่านสามารถเลื่อนชั้นมาเรียนหลักสูตรคู่มือสมภาร ขอให้ท่านตั้งใจฝึกไปทีละบท ว่าบทเรียนนี้มีความรู้อะไร มีขั้นตอนเดินวิชาอย่างไร มีวิธีฝึกอย่างไร แต่ละขั้นตอนมีรายละเอียดอย่างไร ขอให้ทบทวนความแม่นยำในทุกๆ ด้าน แล้วจึงเริ่มหลับตาเดินวิชา
    ระหว่างเดินวิชา อย่าได้ลืมตามาเปิดตำราเป็นอันขาด ต้องอดทนเดินวิชาให้จบบทฝึก แต่ละบทเรียนให้ฝึกหลายครั้ง จนกว่าจะแจ้งใจแม้จะใช้เวลานานแค่ไหน ก็อดทนฝึกบทเรียนนั้นๆ จนกว่าจะแจ้ง ใครมีวิธีเรียนอย่างนี้ หลวงพ่ออนุโมทนาแน่นอน
    </TD><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]
    [​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff height=193>
    ทางรอดของมนุษย

    เขียนขึ้นเพื่อแสดงถึงเส้นทางแห่งมรรคผลนิพพานที่พระอริยเจ้าในอดีตประสบความสำเร็จมาแล้ว ความรู้ที่พาไปสู่ความสำเร็จ ก็คือวิชาธรรมกายหลักสูตรนี้ ฉะนั้น ทางรอดของมนุษย์มีทางเดียวคือ ต้องเรียนรู้วิชาธรรมกายหลักสูตรนี้
    ท่านที่ต้องการฝึกฝนตนเองเป็นวิทยากร ต้องผ่านหลักสูตรนี้ครับ
    </TD><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>
    คู่มือวิปัสสนาจารย์

    อีกหนึ่งเล่มสำหรับผู้ใฝ่ธรรมและใฝ่ฝันการสร้างบารมีอย่างเอกอุ
    </TD><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff>
    ผู้ใดเห็นดวงธรรม ผู้นั้นเห็นตถาคต ตถาคตคือธรรมกาย

    หนังสือเล่มนี้ แสดงวิธีปฏิบัติทางใจ ตามคำสอนของพระบรมศาสดา ข้อที่ ๓ ที่ว่า สจิตฺต ปริโยทปนํ ซึ่งแปลว่า การทำใจให้สว่างใส ได้อธิบายวิธีปฏิบัติทางใจไว้อย่างชัดเจน ว่าทำใจอย่างไรจึงจะสว่างใส และเมื่อสว่างใสแล้ว เราจะเข้าถึงโมกขธรรมอะไรบ้าง และ เมื่อเข้าถึงธรรมเบื้องต้นแล้ว เราจะเข้าถึงธรรมชั้นสูงต่อไปไม่มีทีสิ้นสุด รวมเรียกว่าวิชาธรรมกาย ทั้งนี้ก็เพื่อให้แจ้งมรรคผลนิพพาน อันเป็นยอดปรารถนาของพระศาสนา
    หนังสือเล่มนี้ ได้แสดงความชัดเจนไว้แล้วอย่างครบถ้วน ทั้งความรู้ ปริยัติ ปฏิบัติ และปฏิเวธ รอแต่ความพากเพียรของผู้ศึกษาค้นคว้า ว่าจะเรียนจริงหรือเรียนเล่น เท่านั้น ( หนังสือเล่มนี้พิมพ์แล้วหลายครั้ง พิมพ์เท่าไรก็ไม่พอแก่ความต้องการของประชาชน โดยเฉพาะพระสงฆ์ทั่วประเทศ ให้ความสนใจแก่หนังสือเล่มนี้มาก )
    </TD><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD vAlign=top bgColor=#ffffff>
    อภินิหารหลวงพ่อวัดปากน้ำ

    หลวงพ่อเป็นผู้มีบารมีธรรมสูง สามารถบำเพ็ญกิจทางใจจนบรรลุวิชาธรรมกาย อันเป็นความรู้สูงสุดในพระศาสนา เป็นผู้ค้นพบความรู้กว่าคนทั้งหลาย หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงประวัติชีวิตของหลวงพ่อ ตั้งแต่เยาว์วัยจนกระทั่งมรภาพ ว่าหลวงพ่อมีบุญญาธิการ จนสามารถสร้างความสำเร็จนานาประการให้แก่พระศาสนาได้ สมควรที่เราท่านจะศึกษาจดจำและเคารพเทิดทูนบูชาในคุณธรรมของหลวงพ่อสืบไป
    </TD><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]
    </TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff colSpan=2>[​IMG]</TD></TR><TR bgColor=#f3f3f3><TD bgColor=#ffffff>
    คติธรรม คตินิยม การดำเนินชีวิตของหลวงพ่อวัดปากน้ำ

    คติธรรม คตินิยมของหลวงพ่อวัดปากน้ำ เป็นที่ใฝ่รู้ของคนทั้งหลาย การตีความคติธรรมของหลวงพ่อ ทำได้ยาก เพราะการบำเพ็ญธรรมของหลวงพ่อนั้น ท่านไปเห็นวิชาชั้นสูง ครั้นได้รู้เห็นธรรมอะไร ก็จะกล่าวเป็นคติออกมา บางคติเป็นโวหารคารมคมคาย ทำให้คิดไปได้หลายแง่หลายมุม จะยุติเป็นอย่างไรนั้น สุดแต่บัณฑิตทั้งหลายจะพิจารณาตามที่เห็นสมควรเถิด เมื่ออ่านหนังสือเล่มนี้แล้ว นำคติธรรมของหลวงพ่อมาใช้ จะสามารถเปลี่ยนจิตใจของเราให้มีคุณธรรม ชีวิตของเราจะมีสาระขึ้นกว่าเดิม มีเหตุผลขึ้นกว่าเดิม สภาพจิตใจจะโปร่งใสขึ้นกว่าเดิม เราจะไม่ปล่อยชีวิตของเราไปตามความผันแปรของสิ่งแวดล้อมอีกต่อไป
    </TD><TD align=middle bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    อ่านดูอีกที
     
  6. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,513
    ค่าพลัง:
    +27,181
    ไปต่อวิชชาที่วัดหลวงพ่อสดดีที่สุดจ้ะ
    มีรถออกจากวัดสระเกศด้านโรงเรียนวัดสระเกศ
    ทุกวันอาทิตย์ 7.00 am
    ฟรีจ้ะ
     
  7. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,166
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    เขาส่งเหตุ เข้ามาย่อย แยก ปะทะ ขวางกัน ไม่ให้รวมกันติด

    ตัดสุดละเอียดของแต่ละกลุ่มออก แล้วส่งกลับมาให้เห็นไปคนละอย่างตามที่เขาต้องการ


    ไม่มีใครผิดหรือ ถูก100 % คำตอบที่จะมีมาขั้นต่อไป เมื่อร่วมกันทำวิชชาภาคขาว เก็บเหตุของเขาเลยไปในอนาคตได้สำเร็จ ที่จะส่งมา จะทำต่อมาของเขา เราต้องรู้เห็นก่อน จึงเก็บได้

    สถานะการณ์ทุกวันนี้ เรายังช้ากว่าเขาอยู่หลายขุม เพียงตั้งรับ รักษาเขตธาตุธรรมที่มี รุกคืบหน้ายังไม่มากเท่าไร


    สามัคคีคือ พลัง
     
  8. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,166
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    ....
     
  9. นโมโพธิสัตโต

    นโมโพธิสัตโต ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ผู้ดูแลเว็บบอร์ด สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,166
    กระทู้เรื่องเด่น:
    24
    ค่าพลัง:
    +29,754
    ขอตัดเวร ตัดกรรม ไม่ขอเกี่ยวข้องอะไรทั้งสิ้น

    ผมกล่าวไว้มากแล้ว



    ***********
    อสงไขยก้าว เริ่มด้วยตนเป็นครูตน

    บำเพ็ญกุศล

    ละอกุศล

    ยังจิตให้พ้นจากกองทุกข์

    ************


    ขอขมาพระรัตนตรัย

    และฝากปกป้องวิชชาธรรมกาย และธรรมอันดีของผู้มีพระภาคเจ้า ไว้ด้วย


    ขอเหล่านักปราชญ์ และผู้เข้าถึงวิชชาธรรมกายอันบริสุทธิ์จงสามัคคีกัน


    ที่เหลือ หากสุดกำลังแล้ว วางภาระให้ฟ้า-ดิน ตัดสินด้วยความเที่ยงธรรม

    (f)
     
  10. tenis

    tenis เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    343
    ค่าพลัง:
    +1,228
    ccccccccccccccccccccccc
     
  11. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972
    [​IMG]

    เรียนทุกท่านที่สนใจปฏิบัติภาวนาวิชชาธรรมกาย ตั้งแต่ปรับความรู้เบื้องต้น ปูพื้นหลักการเรียนรู้ การปฏิบัติตามหลักวิชชา โปรดเข้ามาศึกษา และพูดคุยกนได้ตามลิ้งค์นี้ http://khunsamatha.fix.gs/index.php
     
  12. สมถะ

    สมถะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มกราคม 2006
    โพสต์:
    1,091
    ค่าพลัง:
    +972

แชร์หน้านี้

Loading...