มหาวิทยาลัยนาโรปะ เพราะโลกต้องการคนดีมากกว่าคนเก่ง

ในห้อง 'ข่าวพุทธศาสนา' ตั้งกระทู้โดย Catt Bewer, 22 ธันวาคม 2006.

  1. Catt Bewer

    Catt Bewer เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    3,768
    ค่าพลัง:
    +16,673
    [​IMG]


    ช่วงเวลานี้เป็นช่วงเวลาของการเตรียมตัวศึกษาต่อ ทั้งระดับปริญญาตรีและปริญญาโท เชื่อว่าคนส่วนใหญ่ก็คงมุ่งหมายเมียงมองไปที่มหาวิทยาลัยชั้นนำ ถ้าในประเทศก็คงหนีไม่พ้นมหาวิทยาลัยที่สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) จัดอันดับให้อยู่ในระดับดีเลิศ ดีเยี่ยม และดี (แต่จัดกันอย่างไรไม่ทราบสกอ.ถึงได้รับก้อนอิฐแทนดอกไม้)

    แต่ถ้านอกประเทศก็ต้องเป็นมหาวิทยาลัยในประเทศตะวันตกทั้งหลายโดยเฉพาะในอังกฤษและอเมริกา ที่ได้ชื่อว่าเป็นแหล่งรวมสถาบันอุดมศึกษาที่ทั่วโลกให้การยอมรับ

    บทความนี้เขียนขึ้นด้วยวัตถุประสงค์ที่จะแนะนำมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในสหรัฐอเมริกาให้ได้รู้จักกัน แต่เชื่อว่าถ้าพูดถึงมหาวิทยาลัยในสหรัฐ แล้ว คงมีน้อยคนนักที่จะนึกถึงหรือแม้แต่เคยได้ยินชื่อ "มหาวิทยาลัยนาโรปะ"

    ส่วนใหญ่คงคุ้นหูกับกิตติศัพท์ชื่อเสียงของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ เยล และฮาร์วาร์ด มากกว่า ซึ่งนั่นก็ไม่ใช่เรื่องที่แปลกหรือผิดแต่อย่างใด

    แต่เชื่อได้ว่าผู้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยนาโรปะเองก็คงไม่ปรารถนาจะให้มหาวิทยาลัยแห่งนี้อยู่ใน "สถานะ" เดียวกับมหาวิทยาลัยชั้นนำเหล่านั้นเป็นแน่

    มหาวิทยาลัยนาโรปะเป็นมหาวิทยาลัยเล็กๆ ตั้งอยู่กลางเมืองโบลเดอร์ รัฐโคโลราโด ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อตั้งโดย ชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช นักบวชชาวทิเบต

    ท่านชอเกียมไม่เพียงเป็นนักบวชในร่มเงาพระพุทธศาสนา แต่ยังเป็นศิลปิน นักวิชาการ นักปรัชญา และเป็นบัณฑิตสาขาศาสนาเปรียบเทียบจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซ์ฟอร์ด ประเทศอังกฤษด้วย

    หลังจีนเข้ายึดทิเบตในปี พ.ศ.2509 ท่านชอเกียมได้ลี้ภัยไปยังอินเดีย โดยในระหว่างนี้ท่านได้เผยแพร่ธรรมะอย่างสม่ำเสมอ ส่งผลให้ได้รับทุนการศึกษาจากอ๊อกซ์ฟอร์ด

    หลังเรียนจบในปี 2513 เดินทางไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่สหรัฐอเมริกายาวนานถึง 17 ปี จนได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในประเทศตะวันตก และมีกำลังเพียงพอที่จะก่อตั้งมหาวิทยาลัยนาโรปะ ขึ้นได้ในปี พ.ศ. 2517 <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right border=1><TBODY><TR bgColor=#ffe9ff><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    คำว่า "นาโรปะ" นั้นเป็นนามของมหาโยคีผู้มีชื่อเสียงแห่งอินเดีย ซึ่งมีชีวิตอยู่ในราวปี พ.ศ.1543-1643

    มหาวิทยาลัยนาโรปะเป็นมหาวิทยาลัย "ทางเลือก" ที่เลือกเดินไปคนละทางกับคอร์เนลล์ เยล ฮาร์วาร์ด และแม้แต่อ๊อกซ์ฟอร์ด โดยสิ้นเชิง ทั้งนี้เพราะนาโรปะไม่มุ่งวัตถุ แต่มุ่งไปที่จิตวิญญาณ ไม่มุ่งการวิ่งตามโลกาภิวัตน์ แต่มุ่งการภาวนา ไม่มุ่ง MBA แต่มุ่งศิลปะแขนงต่างๆ

    นาโรปะไม่เรียนรู้อย่างแยกส่วน แต่เรียนรู้ทั้งองค์รวมนาโรปะไม่เน้นการเรียนรู้ในห้องสี่เหลี่ยมแคบๆ ที่เรียกว่า "ห้องเรียน" แต่ให้ความสำคัญกับการเรียนรู้นอกห้องเรียนที่ปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมรอบตัวอยู่ตลอดเวลา

    นาโรปะไม่หวังให้มนุษย์เรียนรู้โลกและใช้ประโยชน์จากโลก แต่หวังให้เรียนรู้โลกเพื่อตอบสนองต่อโลกอย่างสร้างสรรค์ นาโรปะไม่ต้องการให้มนุษย์เรียนรู้ธรรมชาติเพื่อเอาชนะธรรมชาติ แต่ต้องการให้มนุษย์เรียนรู้ธรรมชาติเพื่ออ่อนน้อมต่อธรรมชาติ

    นาโรปะไม่เคารพภาคทฤษฎีมากเท่ากับการเคารพในประสบการณ์ตรงของผู้เรียน นาโรปะไม่เชื่อว่าอาจารย์ผู้สอนจะถูกต้องที่สุดและรู้ดีที่สุด แต่เชื่อว่าทั้งอาจารย์และนักศึกษาสามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันได้

    นาโรปะไม่สอนเพื่อเพิ่มพูน "อัตตา" บัณฑิต แต่สอนเพื่อให้บัณฑิตรู้วิธี "ฆ่า" อัตตาให้สิ้นซาก นาโรปะไม่หวังว่าบัณฑิตที่จบออกไปจะเติบโตทางธุรกิจ แต่หวังให้บัณฑิตเติบโตจาก "ด้านใน" ของตน

    นาโรปะไม่สอนให้ประดิษฐ์นวัตกรรมใหม่ๆ ล้ำยุค แต่สอนให้ชื่นชมและสืบทอดภูมิปัญญาดั้งเดิมของบรรพชน นาโรปะไม่สอนให้เราเชื่อความรู้ในตำรา

    แต่สอนให้น้อมรับความรู้มาพิจารณาอย่างแยบคาย หรือที่ศาสนาพุทธเรียกว่า "โยนิโสมนสิการ" ก็คือการคิดไตร่ตรองอย่างเชื่อมโยงเป็นเหตุเป็นผลนั่นเอง <TABLE style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px dotted; BORDER-TOP: #ffffff 1px dotted; BORDER-LEFT: #ffffff 1px dotted; BORDER-BOTTOM: #ffffff 1px dotted" cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left border=2><TBODY><TR bgColor=#ffffe8><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>

    และท้ายที่สุด นาโรปะไม่หวังให้มนุษย์เท่าทันโลก แต่หวังให้เท่าทันตัวเอง ณ ปัจจุบันขณะ ซึ่งถือเป็นหัวใจของสำคัญของการศึกษาแนวภาวนา

    สำหรับผู้ที่สงสัยว่านาโรปะมุ่งในวิถีตะวันออกและความเชื่อในแนวทางของศาสนาพุทธ แล้วจะตั้งอยู่ในประเทศทุนนิยม บวกบริโภคนิยมที่ผู้คนนับถือพระเจ้าเป็นที่สุดของชีวิตอย่างสหรัฐอเมริกาได้อย่างไร

    คำตอบก็คือ เพราะนาโรปะมิได้ปฏิเสธวิถีตะวันตก แต่เปิดกว้างสำหรับวิธีคิดที่แตกต่าง ถ้าใครรู้จักมหาวิทยาลัยวิศวภารตี-ศานตินิเกตัน ของ ท่านรพินนารถ ฐากูร ในประเทศอินเดียก็อาจจะเข้าใจความเป็นนาโรปะมากขึ้น

    ทั้งสองมหาวิทยาลัยมิเพียงเรียนรู้และสืบสานวิถีแห่งตะวันออก แต่ยังส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ข้ามวัฒนธรรม ผ่านความเชื่อและปรัชญาที่แตกต่างหลากหลายด้วย ทั้งนี้เพื่อมองหา "จุดร่วม" ที่มนุษยชาติมีร่วมกัน จึงไม่แปลกถ้าไปนาโรปะแล้วได้เห็นนักศึกษาตะวันตกที่เป็นคริสต์ศาสนิกชนนั่งภาวนากำหนดลมหายใจอยู่ที่นี่

    นาโรปะไม่ใช่มหาวิทยาลัยเถื่อน แต่เป็นมหาวิทยาลัยที่ได้รับการรับรองวิทยฐานะจากสหรัฐอเมริกาว่าเป็น "มหาวิทยาลัย" อย่างแท้จริง เปิดสอนทั้งระดับปริญญาตรี ปริญญาโท และประกาศนียบัตร

    ผู้ที่สนใจจะศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยแห่งนี้ไม่มีการสอบเอ็นทรานซ์หรือแอดมิชชั่น ขอเพียงแค่มีความสามารถในการสื่อสารภาษาอังกฤษได้ในระดับหนึ่ง อ่านหนังสือได้มีทัศนคติที่เป็นบวกและพร้อมจะเปิดเผย (แต่ในยุคที่โลกเต็มไปด้วยความรุนแรง การกดดัน การมองกันในแง่ร้าย และการประทุษร้ายซึ่งกันและกัน บางทีสำหรับมนุษย์แล้วการมีทัศนคติในแง่บวกอาจยากกว่าการทำข้อสอบทางวิชาการก็เป็นได้)

    ปัจจุบันนาโรปะมีนักศึกษาจากทั่วทุกมุมโลก รวมทั้งคนไทย

    อย่างไรก็ตาม เมื่อครั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏยังมีสถานะเป็นสถาบันราชภัฏอยู่นั้น สภาสถาบันราชภัฏเคยมีความคิดจะดึงพุทธธรรมเข้ามาประยุกต์ใช้ในการสอน และตั้งใจจะบรรจุไว้ในปรัชญาและพันธกิจของ พ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏด้วย โดยในครั้งนั้น ดร.ถนอม อินทรกำเนิด เลขาสภาสถาบันราชภัฏ ยังได้กล่าวอ้างถึงมหาวิทยาลัยนาโรปะด้วยว่า

    "แนวทางของมหาวิทยาลัยนาโรปะ หากศึกษาให้ถ่องแท้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการกำหนดทิศทางใหม่ของมหาวิทยาลัยราชภัฏได้เป็นอย่างดีโดยเฉพาะในกระบวนการผลิตครู เพราะนาโรปะมีกรอบพันธกิจและวิสัยทัศน์ที่สะท้อนให้เห็นถึงกระบวนการผลิตบัณฑิต ให้พร้อมออกไปเผชิญหน้ากับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคมสมัยใหม่โดยใช้ศีลธรรมและพุทธปัญญาของการอยู่ร่วมกัน มีการทำงานรวมกันเป็นชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยราชภัฏที่เน้นสอนให้บัณฑิตมีสำนึกในการรับใช้สังคมด้วยวิถีของจิตวิญญาณอย่างแท้จริงอยู่แล้ว"

    แต่ในที่สุดก็อย่างที่รู้ๆ กันอยู่ว่าพ.ร.บ.มหาวิทยาลัยราชภัฏ พ.ศ.2547 ได้ชูธงที่จะเป็น "สถาบันอุดมศึกษาเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น" ซึ่งก็ถือเป็นปรัชญาที่เหมาะสมสอดคล้องกับเอกลักษณ์และศักยภาพของราชภัฏอยู่ไม่น้อย

    เนื่องจากเป็นมหาวิทยาลัยที่ตั้งอยู่ในชุมชน และมีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับชุมชนท้องถิ่นมากกว่าสถาบันอุดมศึกษาอื่น

    กระนั้นก็ยังหวังว่า ประเทศไทยจะมีมหาวิทยาลัยที่จัดการศึกษาด้วยหลักไตรสิกขาอย่างแท้จริงสักที หรืออย่างน้อยที่สุดก็หวังว่ากระทรวงศึกษาธิการจะเล็งเห็นความสำคัญของการจัดการศึกษาแนวพุทธไม่น้อยไปกว่าที่ให้ค่ากับ "ความเป็นเลิศทางวิชาการ"

    เพราะโลกวันนี้ขาดแคลนและต้องการ "คนดี" มากกว่า "คนเก่ง"


    http://www.matichon.co.th/khaosod/khaosod_detail.php?s_tag=03raj04221249&day=2006/12/22
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  2. maiyasan

    maiyasan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    85
    ค่าพลัง:
    +1,182
    อนุโมทนาครับ ว่าแต่ว่าอยากทราบมากเลยครับว่ามีคนไทยหรือว่าเพื่อนสมาชิกเวปศึกษาที่นี่ และติดต่อได้หรือไม่ ช่วยตอบกลับด้วยครับ อยากไปศึกษาดูบ้าง ได้ข่าวช่วยโพสกลับด้วยครับ
     
  3. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,632
    ถ้าจำไม่ผิด ม.มหิดล เคยจะพยายามเปิดหลักสูตรปริญญาโท ชื่อสาขา(ถ้าจำไม่ผิด) จิตวิญญาณ แต่ก็ล้มไปเพราะอาจไม่สนองตอบหรือไม่คุ้มค่าเชิงธุรกิจ
     
  4. sacrifar

    sacrifar เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 ตุลาคม 2006
    โพสต์:
    551
    ค่าพลัง:
    +3,221
    น่าสนใจ และเห็นด้วยอย่างที่สุดครับ
     
  5. rosey

    rosey เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    163
    ค่าพลัง:
    +1,345
    เชื่อว่าในประเทศไทย หลังจากนี้น่าจะมีให้เปิดสอน
    เราเชื่ออย่างนั้นหน่ะ..
    (bb-flower (bb-flower (bb-flower
     
  6. jk_dhama

    jk_dhama เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +218
    [​IMG]

    เห็นด้วยอย่างยิ่งค๊ะประเทศไทยเราน่าจะมีนานแล้วเนอะ
     
  7. zipper

    zipper เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 กันยายน 2004
    โพสต์:
    5,226
    ค่าพลัง:
    +10,590
    มหาวิทยาลัยนาโรปะ มีเรียนออนไลน์ผ่านทางเวปครับ ถ้าใครสนใจก็ไปดูที่เวปของมหาวิทยาลัยได้ http://www.naropa.edu/ ที่ผ่านมากำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง Transpersonal psychology(จิตวิทยาผ่านพ้นตัวตน) และที่นี่ก็มีเปิดสอนเหมือนกัน

    ส่วนโรงเรียนของไทยที่มีอุดมการณ์เหมือนมหาวิทยาลัยนาโรปะ ก็น่าจะเป็นโรงเรียน สัตยาไส ของดร. อาจอง ที่อยู่ที่ลพบุรี อธิบายไม่ถูกว่าโรงเรียนนี้มีหลักการสอนยังไง ก็อปปี้บทความที่หามาได้เอามาให้อ่านเลยดีกว่า
    <hr>
    <div style="border:groove">"เราขอขอบพระคุณ คุณพ่อคุณแม่ ผู้ให้ชีวิตเรามา เราขอขอบพระคุณ คุณครูผู้อบรมสั่งสอน และธรรมชาติผู้ให้อาหารกับเรา เราขอตั้งใจรับประทานอาหารนี้เพื่อเป็นประโยชน์ ในการทำหน้าที่ของเราให้สมบูรณ์ และรับใช้ช่วยเหลือทุกคนด้วยรัก ความเสียสละและอ่อนน้อมถ่อมตน"

    ทุกคำข้าวของเด็กๆ ที่ โรงเรียนสัตยาไส ต.ลำนารายณ์ อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี (ในความอุปถัมภ์ของมูลนิธิสัตยาไส สอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการ มุ่งพัฒนาความรู้คู่คุณธรรมที่เป็นจริง) ทำให้กานพลูตื้นตันใจเป็นที่สุด เด็กที่นี่ตั้งแต่ชั้นอนุบาลไปจนถึง ป.6 ปลูกข้าวกินเองค่ะ แล้วกับข้าวก็ไม่มีเนื้อสัตว์ด้วย

    ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ผู้ก่อตั้งสถาบันการศึกษาสัตยาไสแห่งนี้ กล่าวว่า เพราะเวลาที่เรารับประทานอาหารเสร็จแล้วเราแผ่เมตตา ถ้าเรายังกินเนื้อสัตว์อยู่ มันแผ่เมตตาไปไม่ออก โรงเรียนแห่งนี้จึงมีหลักว่า ทำอย่างไร สอนอย่างนั้น

    "เรามีกฎสำหรับครูอยู่ 2 ข้อ ข้อแรกคือ เป็นตัวอย่างที่ดี และข้อสองคือ ถ้าจำข้อหนึ่งไม่ได้ ให้กลับไปดูข้อหนึ่งใหม่"

    เพราะคุณครูจะต้องอยู่กับเด็กๆ กินนอนอยู่รวมกัน 300 กว่าชีวิตตลอด 24 ชั่วโมง ดังนั้น การเป็นตัวอย่างที่ดีจึงมีความสำคัญมาก เพราะเด็กจะเลียนแบบพฤติกรรมของคุณครู ดังนั้น ถ้าคุณครูมีวิญญาณความเป็นแม่ ก็ไม่ต้องทำอะไรมาก เพราะถ้ารู้สึกถึงความเป็นแม่ ก็จะรู้สึกรักเด็กทุกคนเหมือนลูกอยู่แล้ว จากนั้นความรักอย่างไม่มีเงื่อนไขก็จะเต็มเปี่ยมไปจนล้นฝั่งน้ำป่าสักเลยค่ะ

    เด็กที่นี่จึงไม่เคยคิดหนีโรงเรียนเลย แม้ว่าจะไม่มีรั้วกั้น เพราะพวกเขามีความสุขกันอยู่ทุกคืนวันเชียวค่ะ ได้ตื่นแต่เช้าตี 5 มาสวดมนต์ นั่งสมาธิ เรียนรู้กับธรรมชาติรอบตัว เด็กทุกคนจึงเปี่ยมล้นไปด้วยจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ในการบูรณาการวิชาความรู้ไปสู่การใช้ชีวิต โดยที่ไม่ต้องใช้ตังค์ ไม่ต้องมีมือถือ แม้ว่านานๆ จะได้กลับบ้านสักครั้งหนึ่งคือทุกปิดเทอม พวกเขาก็ไม่เหงาค่ะ (ยกเว้นเฉพาะเด็กอนุบาลเท่านั้นที่ไป-กลับ เพราะเด็กยังเล็กมาก และต้องการอยู่ในอ้อมอกพ่อกับแม่ให้มั่นคงก่อน)

    ผลปรากฏว่า เด็กชั้น ม.6 เรียนจบไปสองรุ่น รุ่นละ 30 คน เอนทรานซ์ติดทุกคนเลยค่ะ เพราะสติแจ่มใส มีสมาธิในการเรียน และมีปัญญาในการศึกษาอย่างวิเคราะห์สังเคราะห์ และยังได้เรียนสองภาษาด้วยค่ะ เพราะที่นี่จะมีครูจากทั่วโลกแวะเวียนมาเป็นอาสาสมัครกันค่ะ

    กานพลูยังอยากเรียนเลยค่ะ เสียดาย อายุเลยไปจนนับไม่ถ้วนแล้ว สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดอยากให้ลูกได้รับสิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต โรงเรียนสัตยาไส เป็นทางเลือกที่งดงามมากเชียวค่ะ แล้วคุณจะรู้ว่า เมื่อความฝันกับความจริงบรรจบเป็นเส้นเดียวกันนั้น มันวิเศษขนาดไหน

    แต่ก่อนที่เด็กจะได้เรียนที่นี่ คุณครูจะสัมภาษณ์คุณพ่อคุณแม่ก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากให้ลูกเก่ง ก็หมดสิทธิค่ะ เขาไม่รับ แต่ถ้าอยากให้ลูกเป็นคนดี มีคุณธรรม ก็มาได้เลยค่ะ รับจำนวนจำกัดซะด้วย เพราะสอนไปตามกำลังของครูที่มีอยู่ค่ะ

    หลักการสอนของที่นี่เน้น 3 H คือ Head = สมอง heart = หัวใจ และhand = การกระทำทุกชนิดจะต้องสอดคล้องกับสมองและหัวใจค่ะ การเรียนการสอนที่นี่จึงเริ่มต้นจากความคิดดี คิดด้านบวกแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นการกระทำที่ดี เวลาพูดก็พูดจากใจ นั่นจึงทำให้เราเห็นเด็กๆ ทั้งโรงเรียนพูดไพเราะ อ่อนน้อมถ่อมตน ยิ้มแย้มแจ่มใส รุ่นพี่ช่วยรุ่นน้อง และที่สำคัญคือ เด็กๆ ทุกคนเป็นตัวของตัวเองมากๆ

    กานพลูก็แอบๆ ดูเวลาเขากินอาหาร ล้างจาน เล่นกันตรึม ตีกลอง เป่าแคน หรือการละเล่นบนเวทีต้อนรับแขก เวลาที่เขาอยู่กับเพื่อนๆ อยู่กับครู ทุกเวลาที่เขาอยู่ตรงไหนก็ตาม เราจะเห็นความสดชื่นออกมาจากแววตา และการกระทำของเขาทุกอย่างเลยค่ะ

    ไม่ใช่เรื่องยากเลยสำหรับ ดร.อาจอง ที่ทำให้การศึกษาที่งดงามเช่นนี้เป็นจริงขึ้นมาได้ จากเหตุปัจจัยที่อาจารย์อาจองได้พบกับท่านสัตยาไส ผู้นำทางจิต ทางวิญญาณในประเทศอินเดีย แล้วท่านสัตยาไสบอกกับอาจารย์ว่า ชีวิตที่เหลืออยู่ขออุทิศให้กับการศึกษา หลังจากนั้นอาจารย์ก็กลับมาบุกเบิกโรงเรียนสัตยาไสกับทีมงานมากว่า 15 ปี จนทำให้โรงเรียนแห่งนี้เป็นโรงเรียนตัวอย่างโด่งดังไปทั่วโลก

    จิรัฐกาล พงศ์ภคเธียร หรือครูอุ๊ยของเด็กๆ เล่าว่า มาครั้งแรกๆ แถวนี้ยังเป็นป่า และมีคนช่วยกันบริจาคเงินซื้อที่แห่งนี้ขึ้นมา สมัยนั้นมีคุณยายคนหนึ่งหอบเงินเหรียญมาเป็นถุงแล้วนำมามอบให้ บอกว่าอยากเห็นโรงเรียนสำหรับเด็กๆ ที่แท้จริง

    วันนี้ โรงเรียนที่อยู่ในใจของคุณยายคนนั้น ปรากฏขึ้นแล้วท่ามกลางภูเขา แม่น้ำ และโค้งรุ้ง รายล้อมด้วยนกนานาพันธุ์ ผีเสื้อ และดอกไม้นานาชนิดแย้มบาน เช่นเดียวกับแก้มสีชมพูของเด็กๆ ในชุดหลากสี

    ขอบคุณกลุ่มจิตวิวัฒน์ที่ชักชวนไปสัมผัสความสดชื่นที่โรงเรียนสัตยาไส ยังมีเรื่องเล่าอีกมากมายที่กานพลูยังเก็บไว้ในใจเตรียมไว้ให้กับทุกท่านค่ะ...


    *********************

    สนใจดูงานหรือจะฝากลูกฝากหลานไปเรียนโรงเรียนสัตยาไส ติดต่อสอบถามได้ที่ โทร.0-3646-2334-7

    โรงเรียนนี้ไม่ต้องเสียค่าเล่าเรียนใดๆ ทั้งสิ้น เพราะค่าใช้จ่ายของโรงเรียนทั้งหมดมาจากการบริจาคค่ะ


    http://www.nationweekend.com/weekend/20050804/wei08.shtml
    </div><hr>
    ส่วนเวปของโรงเรียนสัตยาไสไม่รู้ว่าใช่ที่นี่หรือเปล่า http://www.sathyasai.ac.th/ เพราะว่าเข้าไปไม่ได้

    ส่วนนี่เป็นที่อยู่

    โรงเรียนสัตยาไสย

    ตำบลลำนารายณ์

    อำเภอชัยบาดาล

    จังหวัดลพบุรี

    15130

    โทร.0-3646-2334 ถึง 7

    E-mail:ungthang19@hotmail.com


    มาเพิ่มเติมข้อมูลเกี่ยวกับโรงเรียนสัตยาไส รู้สึกว่าตอนนี้จะมีขยายไปเปิดที่ต่างประเทศแล้ว เพราะคนต่างประเทศก็สนใจโรงเรียนนี้เหมือนกัน

    http://area.obec.go.th/nonthaburi1/sopit/sp061122.doc
    http://www.moralcenter.or.th/web/moral/th/blog/detail.php?BlogID=19&GroupID=5
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 ธันวาคม 2006
  8. bue

    bue เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    333
    ค่าพลัง:
    +2,231
    คนดี....ที่ไม่มีคนรัก
     
  9. piakgear24

    piakgear24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2,696
    ค่าพลัง:
    +44,505
    ถ้าเราสามารถสร้างศรัทธาให้กลับคืนมาเหมือนพุทธกาลก็อาจทำให้คนสนใจมากกว่าที่เป็นอยู่ แต่ทุกวันนี้คนเราไปมุ่งเน้นที่วัตถุ
    มีคำถามที่น่าจะหาคำตอบยากคือ ทำอย่างไรจึงจะทำให้คนอยู่ในศีลในธรรมกันให้เยอะๆ คนที่ทำชั่วทุกวันเพราะว่าไม่มีความกลัวต่อบาป ทำอย่างไรให้เขามีความกลัวต่อบาป เพราะว่าถ้าทำให้คนส่วนใหญ่เห็นและกลัวต่อบาปแล้ว คนย่อมกลับมาทำแต่กุศลไม่มีทำชั่วแน่นอน ถึงแม้จะมีโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัยสอน แต่ถ้าหากไม่ค่อยมีใครสนใจจะเข้าเรียนก็คงไม่มีประโยชน์อันใด อยากให้ช่วยกันคิดว่าทำอย่างไรจึงจะเรียกความศรัทธาของผู้คนกลับมารักษาศีล
     
  10. magic power

    magic power เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 กันยายน 2006
    โพสต์:
    33
    ค่าพลัง:
    +200
    เป็นเรื่องที่ถูกต้องอย่างยิ่ง โลกต้องการคนดีมากกว่าคนเก่ง
    คนดีมีความซื่อสัตย์ ,จริงใจ ,มโนธรรม ทำการสิ่งใดๆๆก็หวังในความสำเร็จที่ดีเป็นที่ตั้ง
    คนเก่งแต่ไม่จริงใจและซื่อสัตย์ มักจะกอบโกยผลประโยชน์ส่วนตนมากกว่าส่วนรวม แล้วสังคมที่มีแต่คนเก่งจะอยู่กันได้อย่างไร.......(bb-flower(b-hmm)
     
  11. GARU

    GARU เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    320
    ค่าพลัง:
    +1,283
    น่าไปเรียน นะ ^^
     
  12. wara99

    wara99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    379
    ค่าพลัง:
    +892
    มหาวิทยาลัยนาโรปะ

    ผมอยากให้โรงเรียนแบบนี้เกิดในประเทศไทยหลายๆโรง
    ผมสงสารเด็กไทยที่พ่อแม่ไมมีสิทธิ์เลือกโรงเรียนให้ลูกตัวเองในปัจจุบันโรงเรียนชั้นดีหรือชั้นกลางก็มีแนวคิดเหมือนกันหมดคือใส่ความรู้เข้าไปในหัวเด็กแล้วออกไปแย่งงานกันทำ แย่งกันเป็นใหญ่ แข่งกันมีมาก มีดีกว่าคนอื่นในเรื่องวัตถุนิยม การศึกษาในปัจุบันทไห้เด็นมองไกลคิดไกล จนลืมพื้นฐานของท้องถิ่นตนเอง นำตนเองไปสู่ที่ดีกว่า เลยไม่สนใจถิ่นเกิด ในเรื่องจิตวิณญาณของเด็กให้ขึ้นอยู่กับพื้นเดิมของเด็กเองใครดีก็ดี ใครไม่ดีก็ตักเตือนแก้ไขให้ครูปากเปียกปากแฉะ ถ้าผู้ใหญ่ในประเทศเราเห็นแนวทาง คิดว่าในอนาคตเด็กไทยจะได้เป็นพุทธศาสนิกชนกันเต็มตัว มีใจรักในความเป็นไทยในแนววิถีพุทธได้มากกว่านี้
    น่าคิดครับปัจจุบันเด็กไทย หรือแม้แต่ผู้ใหญ่เอง ก็มีความเห็นผิดกันมากแก้กันไม่หวัดไหว
    ขอกราบขอบพระคุณ ดร. อาจอง ชุมสาย ที่ท่านได้ให้แนวคิดแบบนี้เกิดขึ้นกับโรงเรียนในประเทศไทย และขอให้เกิดขึ้นอีกมากๆทั่วประเทศไทยครับ
    ขออนุโมทนาในบุญกุศลของท่านในครั้งนี้ด้วย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 23 ธันวาคม 2006
  13. shesun

    shesun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 กรกฎาคม 2005
    โพสต์:
    471
    ค่าพลัง:
    +1,327
    เห็นด้วยค่ะ อยากให้มีมหาวิทยาลัย โรงเรียนดีๆแบบนี้ในทุกภาค ทุกจัหวัดของประเทศไทย ทุกวันนี้ โรงเรียน มหาวิทยาลัยสอนให้เด็กเก่ง กว่าเขาจะประสบความสำเร็จได้ ตะกายมาอยู่ระดับแนวหน้าได้ ต้องค่อสู้ ช่วงชิง แข่งขัน พอออกมาทำงานก็ไม่พ้นการชิงดีชิงเด่นในที่ทำงาน เอารัดเอาเปรียบ เพื่อตัวจะได้ดีและเด่นกว่า จึงถือเป็นความผิดพลาดทางการศึกษาที่ฝังรากลึกมานาน ยากที่จะเยียวยา ปัจจุบันเริ่มมีการเรียกร้องให้ปลูกฝังความมีคุณธรรมจริยธรรม ความเป็นคนดีให้แก่นักเรียน นักศึกษา การจะทำให้สำเร็จเป็นรูปธรรม ตรูบาอาจารย์ทุกท่านก็ต้องทำตัวให้เป็นตัวอย่างเช่นกัน ครูต้องศรัทธาในความดีและทำความดีก่อน จึงจะสอนศิษย์ให้เป็นคนดีได้ ร.ร สัตยาไสของ ดร. อาจองจึงเป็นตัวอย่างที่ดี สอนอย่างไร...ทำอย่างนั้น...ทำอย่างไร...สอนอย่างนั้น...ชอบจริงๆเลย....
     
  14. Specialized

    Specialized ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กุมภาพันธ์ 2006
    โพสต์:
    22,156
    กระทู้เรื่องเด่น:
    23
    ค่าพลัง:
    +83,352
    "นาโรปะไม่หวังให้มนุษย์เท่าทันโลก แต่หวังให้เท่าทันตัวเอง ณ ปัจจุบันขณะ ซึ่งถือเป็นหัวใจของสำคัญของการศึกษาแนวภาวนา"

    แหม ชอบตรงนี้จริงๆ
     

แชร์หน้านี้

Loading...