วิชาธรรมกาย เทียบเคียงกับข้อมูลในพระไตรปิฎก

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย ปราชญ์ขยะ, 6 ธันวาคม 2006.

  1. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    **** วิชาธรรมกาย เทียบเคียงกับข้อมูลในพระไตรปิฎก ****

    <!--MsgIDBody=0-->วิชาธรรมกายคืออะไร ? เทียบกับข้อมูลในพระไตรปิฎก

    การนำเสนอข้อมูลนี้อีกครั้งมิได้มุ่งประสงค์หักล้างความคิดของใคร เพียงแต่นำเสนอในส่วนที่พอจะนำมาซึ่งความเข้าใจซึ่งกันและกันได้บ้าง ขอท่านทั้งหลายได้โปรดพิจารณาด้วยใจเป็นกลาง


    หลายท่านข้องใจ หลายท่านสงสัย หลายท่านอยากให้ข้าพเจ้าเขียนวิชาธรรมกายเทียบเคียงข้อมูลในพระไตรปิฎก ไม่ใช่ไม่อยากทำ แต่ถ้าให้แสดงข้อมูลออกมาก็ต้องค้นคว้าอย่างละเอียด และจะให้เขียนสั้น ๆ ก็ไม่ได้ เอาเป็นว่าจะขอเสนอข้อมูลเท่าที่ค้นคว้ามาได้ ขอได้โปรดอ่านและพิจารณาดูเอาเองเถิด


    ก่อนอื่น... ข้าพเจ้าเห็นใจท่านที่มีความเห็นไม่ตรงกันเพราะท่านคิดว่าวิชาธรรมกายสอนให้ติดนิมิต ดวงแก้วที่เห็นในท้องเป็นแค่นิมิต พระธรรมกายหรือกายพระพุทธรูปเกตุดอกบัวตูมที่เห็นเป็นแค่นิมิต พระพุทธเจ้าไม่ได้สอนให้ใช้ดวงแก้วเป็นนิมิต


    อันที่จริงแล้ว ข้าพเจ้าก็อธิบายว่า นิมิตดวงแก้วก็คืออาโลกกสิณ หมายถึงกสิณแสงสว่าง แต่แสงสว่างยากที่จะกำหนดหมายลงไปได้ จึงให้ใช้เป็นดวงแก้วใสแทน ซึ่งตรงนี้ความจริง ถ้าเราจะเอาความกันแล้วพระพุทธองค์ก็ทรงเคยฝึกนิมิตแสงสว่าง ดังจะยกมาให้พิจารณากันดังนี้



    พระไตรปิฎก เล่ม ๑๔ หน้า ๒๗๖ (ขอกล่าวแต่โดยย่อ)


    พระผู้มีพระภาคประทับ ณ ที่พักแรมทำด้วยอิฐในนาทิกคาม เสด็จไปเยี่ยมพระอนุรุทธ์ พระนันทิยะ พระกิมพิละ ณ ป่าโคสิงคสาลวัน


    ตรัสถามถึงการบรรลุคุณพิเศษ ก็กราบทูลถึงคุณพิเศษที่ได้เริ่มต้นแต่รูปฌาณ ๔ จนถึงอรูปฌาณ ๔ และคุณพิเศษที่สูงขึ้นไปกว่านั้นอีกข้อหนึ่ง คือ สัญญาเวทษิตนิโรธ (สมาบัติที่ดับสัญญาและเวทนา)


    ในส่วนที่เกี่ยวกับคุณพิเศษ กราบทูลว่า รู้สึกว่ามีแสงสว่างและเห็นรูป แต่ไม่นาน แสงสว่างนั้นและการเห็นรูปก็หายไป ไม่ได้บรรลุนิมิตนั้นอีก ตรัสตอบว่า ควรบรรลุนิมิตนั้น แล้วตรัสเล่าถึงเหตุการณ์เมื่อก่อนตรัสรู้ว่า เคยทรงประสบภาวะเช่นนั้นเหมือนกัน แต่ทรงสอบสวนถึงต้นเหตุ ซึ่งทรงแก้ทีละอย่าง ๆ เหตุเหล่านั้นคือ ความสงสัย, การไม่ทำในใจ, ความหดหู่ง่วงงุน, ความหวาดสะดุ้ง, ความตื่นเต้น, ความย่อหย่อน, ความเพียรตึงเกินไป, ความเพียรหย่อนเกินไป, ความอยาก, ความกำหนดหมายต่าง ๆ , การเพ่งรูปมากเกินไป (รวมเป็นความเศร้าหมองแห่งจิต ๑๑ อย่าง) ในที่สุด เมื่อทรงทราบว่าเป็นเครื่องเศร้าหมองแห่งจิตก็ทรงละได้หมดทุกอย่าง


    ตรัสเล่าต่อไปอีกว่า เมื่อทรงบำเพ็ญเพียรไป ก็ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่าง แต่ไม่ทรงเห็นรูปบ้าง ทรงเห็นรูปแต่ไม่ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่างบ้าง ตลอดคืนบ้างตลอดวันบ้าง ตลอดทั้งวันทั้งคืนบ้าง เมื่อทรงสอบสวนถึงเหตุปัจจัยก็ทรงคิดว่าในสมัยใดไม่สนใจรูปนิมิต (เครื่องหมายคือรูป) สนใจแต่โอภาสนิมิต (เครื่องหมายคือแสงสว่าง) ในสมัยนั้นก็รู้สึกว่ามีแสงสว่าง แต่ไม่เห็นรูป;ในสมัยใดไม่สนใจโอภาสนิมิต สนใจแต่รูปนิมิต ในสมัยนั้นย่อมเห็นรูป แต่ไม่รู้สึกว่ามีแสงสว่าง


    ต่อจากนั้นทรงแสดงถึงการที่ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่างน้อย, เห็นรูปน้อย, ทรงรู้สึกว่ามีแสงสว่างไม่มีประมาณ เห็นรูปไม่มีประมาณ, เมื่อทรงสอบสวนถึงเหตุปัจจัยก็ทรงคิดว่า ในสมัยใดสมาธิน้อย ในสมัยนั้นจักษุก็น้อย ทำให้รู้สึกว่ามีแสงสว่างน้อย เห็นรูปน้อย ด้วยจักษุน้อย แต่ในสมัยใดสมาธิไม่มีประมาณในสมัยนั้นจักษุก็ไม่มีประมาณ ทำให้รู้สึกว่าแสงสว่างไม่มีประมาณ เห็นรูปไม่มีประมาณ ครั้นทรงทราบว่าได้ทรงละอุปกิเลสแห่งจิต (ทั้ง ๑๑) ได้แล้ว ก็ทรงคิดว่าได้เจริญสมาธิโดยส่วน ๓ แล้วในบัดนี้


    >>> หมายเหตุ สูตรนี้แสดงหลักวิชาในการปฏิบัติจิตใจชั้นสูง น่าเลื่อมใสเป็นพิเศษในทางปฏิบัติที่แสดงว่า พระพุทธศาสนานั้นมิใช่เรื่องสำหรับพูดเท่านั้น แต่จะต้องอาศัยความเข้าใจอย่างลึกซึ้งในทางปฏิบัติด้วย ที่ยกมาแสดงก็เพื่อให้ช่วยกันพิจารณาว่านิมิตแสงสว่างนี้ แม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงเคยฝึกผ่านมา และทรงยืนยันด้วยว่า ควรบรรลุนิมิตนั้น คือทำให้ยิ่งขึ้น แต่ไม่ใช่ความหมายว่าให้ยึดติดนิมิต ข้อนี้ควรพิจารณา



    ฉะนั้น ในเรื่องของวิชาธรรมกายที่ใช้อาโลกกสิณ คือ กสิณแสงสว่างเป็นนิมิตแล้วย่อรวมเป็นดวงแก้วซึ่งแทนแสงสว่าง ดวงแก้วเป็นเพียงสื่อให้เห็นดวงธรรมที่ประจำอยู่ศูนย์กลางกายของแต่ละคน ไม่ได้สอนให้ติดนิมิต ดวงแก้วเพียงเป็นทางผ่านให้เห็นดวงธรรมประจำกายของจริงเท่านั้น



    ท่านจะฝึกแบบอานาปานัสสติ คือ การกำหนดลมหายใจเข้าออกก็ได้ เพราะที่สุดของลมหายใจเข้าและจุดเริ่มต้นของลมหายใจออกก็คือศูนย์กลางกาย ไม่ต้องนึกเป็นดวงแก้วก็ได้ ตามดูลมหายใจอย่างเดียว แต่เมื่อใดที่ลมหายใจเข้า-ออกยาวเท่ากัน ตรงที่สุดของลมหายใจเข้านั่นเอง ท่านจะเห็นดวงธรรม (ดวงปฐมมรรค) ตรงนั้น เห็นแล้วเอาใจนิ่งตรงนั้น ไม่ส่งใจมารับลมหายใจออกอีก ท่านก็จะเห็นดวงธรรม (ดวงปฐมมรรค) ชัดเจน ดวงธรรมเป็นสื่อให้เห็นกายในกาย และเห็นกายธรรมในที่สุด (กาย ๑๘ กายหลัก) โดยไม่ต้องฝึกนึกดวงแก้วเป็นนิมิตก็ได้



    แต่การฝึกแบบนึกดวงแก้วใสเป็นนิมิตหรือเรียกอีกอย่างว่า อาโลกกสิณ คือ กสิณแสงสว่างนี้ ซึ่งเป็นวิธีหนึ่งในสมถกัมมัฏฐาน ๔๐ วิธี ที่พระพุทธเจ้าทรงรับรอง ประเด็นอยู่ที่ว่าบางท่านคิดว่าทุกอย่างที่เห็นในการฝึกวิชาธรรมกายเป็นเพียงนิมิต ไม่ใช่ของจริง ซึ่งต้องบอกว่า นิมิตที่เราใช้ คือ ดวงแก้วนั้นเป็นเพียงสื่อ เป็นเพียงที่รวมของใจไม่ให้ซัดส่าย เพื่อรวมใจได้ง่าย เมื่อกำหนดนิมิตได้แล้ว นิมิตจะเปลี่ยนเป็นดวงธรรม (ดวงปฐมมรรค) เมื่อเปลี่ยนเป็นดวงปฐมมรรค คือ ดวงใสสว่างโชติมีรัศมีปรากฏขึ้นมาทันที ซึ่งการเปลี่ยนจากนิมิตเป็นดวงปฐมมรรคนี้เกิดเร็วมาก จนใจเราจับการเปลี่ยนแปลงไม่ทัน นี่คือเห็นของจริงละนิมิตได้แล้ว เมื่อเห็นได้ดังนี้ ท่านว่าให้เข้ากลางของกลางตรงกลางดวงใสจะมีจุดเล็กใสโตเท่าปลายเข็ม เอาใจนิ่งไว้ตรงกลางดวงใสเห็นจุดเล็กใส เอาใจนิ่งกลางจุดเล็กใส เมื่อใจนิ่งถูกส่วนเข้า จุดเล็กใสจะว่างออก เห็นกายในกายในว่างใสนั้น คือ เห็นกายมนุษย์ละเอียดหรือกายฝัน นั่งอยู่ในว่างใสนั้น เรานั่งอย่างไรกายฝันก็นั่งอย่างนั้น รูปร่างหน้าตาเหมือนเราแต่งกายเหมือนเรา แต่กายนี้ใสเป็นแก้ว จากนั้นเดินใจตามฐาน ๗ ฐานของกายฝันนั้น (ตรงนี้มีขั้นตอนและรายละเอียด โปรดศึกษาจากหนังสือทางมรรคผล ๑๘ กาย) พอส่งใจมาถึงฐานที่ ๗ ของกายฝัน จะเห็นดวงธรรมเป็นดวงใสในท้องกายฝัน ส่งใจนิ่งกลางดวงธรรม เห็นจุดใสเท่าปลายเข็ม นิ่งกลางจุดใสเท่าปลายเข็ม แล้วเราก็ลำดับดวงธรรม ๖ ดวง ได้แก่ ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน (ดวงปฐมมรรค) ดวงศีล ดวงสมาธิ ดวงปัญญา ดวงวิมุตติ และดวงวิมุตติญาณทัสสนะ รวม ๖ ดวง


    พอจุดใสเท่าปลายเข็มกลางดวงวิมุตติญาณทัสสนะว่างออก จะเห็นกายในกายอีกกาย คือ กายทิพย์หยาบ รูปร่างหน้าตาเหมือนเรา กายใส่ชฎาเครื่องทรงเหมือนอย่างตัวละครในเรื่องรามเกียรติ์ กายขาวใส จากนั้นเราก็เดินใจ ๗ ฐาน ของกายทิพย์หยาบ เห็นดวงธรรมในท้องกายทิพย์หยาบ ลำดับดวงธรรม ๖ ดวง แล้วเห็นกายทิพย์ละเอียด เดินวิชาตามแนวนี้เรื่อยไปจนครบ ๑๘ กาย กายทั้ง ๑๘ กายนี้ เป็นกายในกายหรือเรียกว่ากายละเอียด


    กายทุกกายมีใจครอง ใจ คือ เห็น จำ คิด รู้ เราสามารถพูดคุยสอบถามความรู้กับกายในกายของเราได้ทุกกาย เพราะตั้งแต่กายมนุษย์ละเอียด (กายฝัน) จนถึงกายธรรมพระอรหัตต์ละเอียด มีศีลมีธรรม เชื่อถือได้ มีเพียงกายมนุษย์หยาบกายเดียวที่เชื่อความรู้ไม่ได้ เมื่อพิจารณาดูแล้ว กายในกายเหล่านี้ไม่ใช่นิมิตแล้ว เพราะทุกกายมีชีวิตจิตใจ พูดคุยด้วยได้ ไม่ใช่เป็นแค่รูปนิมิต ควรพิจารณาให้ดี



    <!--MsgFile=0-->
     
  2. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    เรื่องกายละเอียดนี้ถามว่า กายละเอียดของเรามีที่มาจากไหน กายละเอียดของเราได้แก่ กายฝัน กายทิพย์ กายพรหม และกายอรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียด



    โปรดดูหนังสือบาลีเล่ม "ปฐโม ภาโค" หน้า ๑๐ ยมกวคฺค วณฺณนา แห่ง ธมฺมปทฏฺฐกถา ปฐโม ภาโค เรื่องพระมหาปาละจักษุพิการ



    มีเรื่องย่อว่า พระมหาปาละ ตั้งสัจจะปฏิบัติกิจจงกรม ๓ เดือน โดยไม่นอน ต่อมานัยน์ตาเกิดอาพาธ หมอคนหนึ่งนำยาหยอดตามาถวายให้หยอด การหยอดนั้นต้องนอน น้ำยาจึงจะเข้าตา เวลาผ่านไป วันหนึ่งหมอยามาพบพระมหาปาละ เห็นว่านัยน์ตายังไม่หาย หมอจึงถามว่าพระเดชพระคุณหยอดตาด้วยยาที่ถวายไว้หรือเปล่า พระมหาปาละก็นิ่ง ไม่ตอบ หมอถามอีกว่า นั่งหยอดหรือนอนหยอด พระมหาปาละก็นิ่ง แต่เกรงใจเจ้าของยา เพราะเขาถวายมาแล้ว เลยพูดไปว่า จะปรึกษาดูก่อน หมอถามว่าพระเดชพระคุณจะปรึกษาใครเล่า เพราะในที่นั้นไม่มีใครเลย พระมหาปาละตอบว่า จะปรึกษากับ "กรัชกาย" คัดมาเฉพาะบางตอนดังนี้



    ๑. คจฺฉาวุโส, มนฺเตตวา ชานิสฺสามิ

    (ผู้อาวุโส ข้าปรึกษาดูก่อน แล้วจึงจะรู้)



    ๒. เถรสฺส จ ตตฺถ เนว ญาตี น สาโลหิตา

    (ในที่นั้นไม่มีญาติสายโลหิตของพระเถระเลย)



    ๓. เกน สทฺธึ มนฺเตยฺย ?

    (จะปรึกษากับใครเล่า?)



    ๔. กรชกาเยน ปน สทฺธึ มนฺเตนฺโต

    (ปรึกษากับ "กรัชกาย" อยู่)



    คำว่า "กรัชกาย" ได้แก่กายละเอียด เป็นกายในกาย เพราะกรัชกาย แปลว่า ธุลีในสรีระ


    ธุลี แปลว่า ละออง, ฝุ่น, ละเอียด

    สรีระ แปลว่า ร่างกาย


    - ไม่ทราบว่าพระมหาปาละปรึกษากายละเอียดกายไหน ทราบแต่ว่ากรัชกายบอกว่า จะเห็นแก่ศาสนาหรือเห็นแก่จักษุ เมื่อตั้งสัตย์ว่าจะไม่นอน ก็จงเห็นแก่ศาสนา ต่อมาพระมหาปาละจักษุพิการได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์


    *************************************

    ที่มาของชื่อดวงธรรม

    ดวงธรรมมี ๖ ดวง มีชื่อเรียกดังนี้

    ๑. ดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

    ๒. ดวงศีล

    ๓. ดวงสมาธิ

    ๔. ดวงปัญญา

    ๕. ดวงวิมุตติ

    ๖. ดวงวิมุตติญาณทัสสนะ



    >> เทียบได้กับธรรมขันธ์ ๕ ในธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒ คือ


    ๑. สีลขันธ์ หมวดศีล

    ๒. สมาธิขันธ์ หมวดสมาธิ

    ๓. ปัญญาขันธ์ หมวดปัญญา

    ๔. วิมุตติขันธ์ หมวดวิมุตติ

    ๕. วิมุตติญาณทัสสนะขันธ์ หมวดวิมุตติญาณทัสสนะ


    ธรรมกายในวิสุทธิมรรคโบราณ หน้า ๑๗๖

    "พระธรรมกาย อันบริสุทธิ์ด้วยแก้วอันกล่าวแล้วคือ พระสีลขันธ์ สมธิขันธ์ ปัญญาขันธ์ วิมุติขันธ์ วิมุติญาณทัสสนะขันธ์ อันบริสุทธิ์บริบูรณ์ด้วยอาการทั้งปวง..."


    *************************************


    ที่มาของชื่อธรรมกาย


    ๑. ธรรมกายโคตรภูหยาบ (กายธรรม)

    ๒. ธรรมกายโคตรภูละเอียด (กายธรรมละเอียด)

    ๓. ธรรมกายพระโสดาหยาบ

    ๔. ธรรมกายพระโสดาละเอียด

    ๕. ธรรมกายพระสกิทาคามีหยาบ

    ๖. ธรรมกายพระสกิทาคามีละเอียด

    ๗. ธรรมกายพระอนาคามีหยาบ

    ๘. ธรรมกายพระอนาคามีละเอียด

    ๙. ธรรมกายพระอรหัตต์หยาบ

    ๑๐. ธรรมกายพระอรหัตต์ละเอียด



    >> เทียบได้กับมรรค ๔ ผล ๔ ในธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒ คือ


    มรรค ๔ ผล ๔

    ๑. โสดาปัตติมรรค ๑. โสดาปัตติผล

    ๒. สกิทาคามิมรรค ๒. สกิทาคามิผล

    ๓. อนาคามิมรรค ๓. อนาคามิผล

    ๔. อรหัตตมรรค ๔. อรหัตตผล



    คำว่า "ธรรมกายโคตรภู" นั้น เป็นธรรมกายเบื้องต้น ได้แก่ การยกสภาพจิตใจเข้าสู่ความเป็น "อารยะ" เป็นโคตรภูบุคคล หลวงพ่ออธิบายว่าใครทำได้เท่ากับ "บวชใน" คือบวชกายละเอียดด้วย ถ้าเป็นสตรีเท่ากับบวชใน แต่ถ้าเป็นบุรุษเท่ากับบวชนอกและบวชใน เป็นการบวช ๒ ชั้น (เป็นภิกษุอยู่แล้ว) กรณีนี้เองที่สตรีสามารถสร้างบารมีได้เท่าบุรุษ เพราะสตรีไม่สามารถบวชเป็นบรรพชิตได้ มีศีลได้อย่างมาก แค่ศีล ๘ แต่ถ้าจะสร้างบารมีให้ทันชาย ก็ต้องทำธรรมกายให้เป็นเท่านั้น



    เรื่องชื่อของดวงธรรม ได้แสดงมาแล้ว ๕ ชื่อ ส่วนดวงธรรมดวงแรก เรียกว่า ดวงปฐมมรรค หรือดวงธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน คำว่า "ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน" มาจากไหน คำนี้เป็นชื่ออยู่ในเรื่องสติปัฏฐาน ๔ โปรดทบทวนดู



    ส่วนที่เกี่ยวกับชื่อของกายโลกีย์ ได้แก่ กายทิพย์ กายพรหม กายอรูปพรหม ทั้งหยาบและละเอียด มาจากคำ "กรัชกาย" ตามที่กล่าวมาแล้ว และท่านจะพบในพระไตรปิฎกอีก เช่น เล่ม ๑๑ อัคคัญญสูตร ความว่า ผู้ใดมีศรัทธาตั้งมั่นในตถาคต ผู้นั้นย่อมควรที่จะกล่าวว่า เราเป็นบุตร เป็นโอรสของพระผู้มีพระภาค เป็นผู้เกิดจากธรรม อันธรรมสร้าง เป็นธรรมทายาท (ผู้รับมรดกธรรม) ทั้งนี้เพราะคำว่า ธัมมกาย (กายธรรม) พรหมกาย (กายพรหม) และผู้เป็นธรรม ผู้เป็นพรหม นี้เป็นชื่อของตถาคต



    ตามที่อ้างอิงมานี้ ก็เพื่อจะแสดงว่า เรื่องของธรรมกายมีที่ค้นคว้า ยิ่งค้นมากก็ยิ่งพบมาก แต่ที่อ้างมานั้นส่วนใหญ่อยู่ในหนังสือ "ธรรมวิภาค ปริเฉทที่ ๒" เป็นหนังสือของนักธรรมโท ท่านหาอ่านได้ง่าย



    คำว่า "ธรรมกาย" มีปรากฏในหนังสือต่าง ๆ มากมาย ที่ผมยกมาแสดงนั้นเพียงเล็กน้อย ท่านที่มีความประสงค์จะค้นคว้าที่มาของคำ "ธรรมกาย" ว่ามีในที่ใดบ้างนั้น โปรดค้นจากหนังสือ "ธรรมกาย" (พิมพ์ที่โรงพิมพ์ไทยพาณิชยการ สีลม พระนคร พิมพ์เมื่อเดือนกันยายน ๒๔๙๙) จะพบว่าพระทิพย์ปริญญา (ธูป กลัมพสุต ป.ธ.๖) รวบรวมไว้มาก และกล่าวไว้ในหนังสือดังกล่าวนั้นแล้ว



    หนังสือที่ใช้ประกอบในการเรียบเรียง

    ๑. พระไตรปิฎก

    ๒. คู่มือวิปัสสนาจารย์

    ****************************************************
    <!--MsgEdited=1-->
     
  3. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    ธรรมกายในพระไตรปิฎก


    (๑) พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า พระองค์เป็นธรรมกาย

    “ตถาคตสฺส เหตํ วาเสฏฺฐา อธิวจนํ ธมฺมกาโย อิติปิ พฺรหฺมกาโย อิติปิ ธมฺมภูโต อิติปิ พฺรหฺมภูโต อิติปิ”
    “วาเสฏฐะและภารทวาชะ คำว่า ธรรมกาย ก็ดี พรหมกาย ก็ดี
    ธรรมภูต ก็ดี พรหมภูต ก็ดี เป็นชื่อของตถาคต”

    ที.ปา.11/55/92


    *************************************

    (๒) พระแม่น้ามหาปชาบดีโคตมี ผู้เป็นพระอรหันต์ แสดงว่าตนเป็นธรรมกาย

    “อหํ สุคต เต มาตา
    สทฺธมฺมสุขโท นาถ
    สํวทฺธิโตยํ สุคต
    อานนฺทิโย ธมฺมกาโย
    มุหุตฺตํ ตณฺหาสมนํ
    ตยาหํ สนฺตมจฺจนฺตํ
    พนฺธนารกฺขเน มยฺหํ ตุวํ ธีร ปิตา มม
    ตยา ชาตมฺหิ โคตม.
    รูปกาโย มยา ตว
    มม สํวทฺธิโต ตยา.
    ขีรํ ตฺวํ ปายิโต มยา
    ธมฺมขีรมฺปิ ปายิตา.
    อนโณ ตฺวํ มหามุเน.”


    “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์
    ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโลกนาถ พระองค์เป็นผู้ประทานความสุขอันเกิดจากพระสัทธรรมให้หม่อมฉัน
    ข้าแต่พระโคดม หม่อมฉันเป็นผู้อันพระองค์ให้เกิด.
    ข้าแต่พระสุคตเจ้า รูปกายของพระองค์นี้ อันหม่อมฉันทำให้เจริญเติบโต.
    ธรรมกาย อันน่าเพลิดเพลินของหม่อมฉัน อันพระองค์ทำให้เจริญเติบโตแล้ว.
    หม่อมฉันให้พระองค์ดูดดื่มน้ำนมอันระงับเสียได้ซึ่งความอยากชั่วครู่ แม้น้ำนมคือพระสัทธรรมอันสงบระงับล่วงส่วน พระองค์ก็ให้หม่อมฉันดูดดื่มแล้ว.
    ข้าแต่พระมหามุนี ในการผูกมัดและรักษา พระองค์ชื่อว่ามิได้เป็นหนี้หม่อมฉัน.”

    ขุ.อป.๓๓/๑๕๓/๒๘๔


    *************************************

    (๓) พระสรภังคเถระ ผู้เป็นพระอรหันต์ กล่าวถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ว่า ทรงอุบัติเป็นธรรมกาย ผู้คงที่

    “เมื่อก่อนเราผู้ชื่อว่าสรภังคะ ไม่เคยได้เห็นโรคคืออุปาทานขันธ์ ๕ ได้ครบบริบูรณ์ทั้งสิ้น. โรคนั้นอันเราผู้ทำตามพระดำรัสของพระพุทธเจ้าซึ่งเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่ ได้เห็นแล้ว. พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่า พระวิปัสสี พระสิขี พระเวสสภู พระกกุสันโธ พระโกนาคมนะ พระกัสสปะ ได้เสด็จไปแล้วโดยทางใดแล พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโคดมก็ได้เสด็จไปแล้วโดยทางนั้น. พระพุทธเจ้า ๗ พระองค์นี้ ทรงปราศจากตัณหา ไม่ทรงถือมั่น ทรงหยั่งถึงความสิ้นกิเลส เสด็จอุบัติแท้โดย ** ธรรมกาย ผู้คงที่ ทรงเอ็นดูอนุเคราะห์สัตว์ทั้งหลาย ได้ทรงแสดงธรรมคืออริยสัจ ๔ อันได้แก่ ทุกข์ เหตุเกิดทุกข์ ความดับทุกข์ ทางเป็นที่สิ้นทุกข์ เป็นทางไม่เป็นไปแห่งทุกข์ อันไม่มีที่สุดในสงสาร เพราะกายนี้แตกและเพราะความสิ้นชีวิตนี้ การเกิดในภพใหม่อย่างอื่นมิได้มี. เราเป็นผู้หลุดพ้นแล้วจากสรรพกิเลสและภพทั้งปวง.”

    *************************************

    (๔) ตรัสว่าพระปัจเจกพุทธเจ้าทั้งหลาย มีธรรมกายมาก ได้ตรัสแก่พระอานนท์เวเทหมุนี ซึ่งได้ทูลถามพระผู้มีพระภาค เมื่อประทับอยู่ในวิหารเชตวันว่า “ได้ทราบว่า พระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้ามีจริงหรือ เพราะเหตุไร ท่านเหล่านั้นจึงได้เป็นพระปัจเจกสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้เป็นปราชญ์ ?” ว่า


    “วิสุทฺธสีลา ... มหนฺตธมฺมา พหุธมฺมกายา ...”


    “นักปราชญ์เหล่าใด มีศีลบริสุทธิ์ มีปัญญาหมดจดดี มีจิตตั้งมั่น ประกอบความเพียร เจริญวิปัสสนา... ไม่บรรลุความเป็นสาวกในพระศาสนาของพระชินเจ้า (นักปราชญ์เหล่านั้นย่อมเป็นสยัมภูปัจเจกชินเจ้า) มีธรรมใหญ่ มีธรรมกายมาก...”

    ขุ.อป.๓๒/๒/๒๐


    *************************************

    (๕) กล่าวถึงผู้ที่ได้เห็นธรรมกาย ย่อมปลาบปลื้มยินดี

    "ธมฺมกายญฺจ ทีเปนฺติ เกวลํ รตนากรํ วิโกเปตํ น สกฺโกนฺตี โก ทิสฺวา นปฺปสิทติฯ"

    "บุคคลใดยังธรรมกายให้สว่างแล้วทั้งสิ้น อันเป็นบ่อเกิดแห่งรัตนะทั้งหลาย อันบุคคลทั้งหลายไม่มีผู้ใดจะทำร้ายได้ ใครเล่าเมื่อเห็นแล้วจะไม่ปลาบปลื้มยินดีนั้นไม่มี"

    ขุ.อป.๓๒/๑๓๙/๒๔๓ <!--MsgFile=2-->
     
  4. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    คำอธิบายเพิ่มเติม...


    อานาปนัสสติ ผู้ฝึกธรรมกายสามารถฝึกได้ทุกคน เพราะเป็นวิธีหนึ่งที่ทำให้เห็นพระธรรมกายนั่นเอง แม้แต่กัมมัฏฐานทั้ง ๔๐ วิธี ที่พระพุทธเจ้ารับรองก็สามารถฝึกเพื่อเข้าถึงพระธรรมกายได้ทั้งหมด อย่าสับสนระหว่างการฝึกอานาปานัสสติ กับการฝึกเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย เพราะผู้ฝึกแบบอานาปานัสสติก็สามารถเข้าถึงพระธรรมกายได้เช่นกัน


    ขอเรียนว่าเรื่องอานาปานัสสติที่พระพุทธเจ้าทรงสอนนั้น เป็นเรื่องเดียวกับฐานของใจทั้ง 7 ฐาน คืออย่างนี้ครับ


    หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านก็ปฏิบัติแบบอาณาปานัสสติ คือกำหนดลมหายใจเข้าออก เมื่อท่านปฏิบัติจริงจังโดยอธิษฐานขอเอาชีวิตเข้าแลก ณ วัดโบสถ์บน บางคูเวียง หลวงพ่อฯก็ใช้วิธีแบบอาณาปานัสสติ แต่มีช่วงนึงลมหายใจเข้ากับลมหายใจออกยาวเท่ากัน ก็จะเห็นดวงปฐมมรรคแวบนึง เป็นอย่างนี้อยู่หลายครา หลวงพ่อจึงไม่เอาใจวิ่งเข้าวิ่งออกตามลมหายใจอีก โดยเอาใจนิ่งที่ดวงที่เห็นอย่างเดียว และในที่สุดหลวงพ่อเห็นจุดเล็กใสเท่าปลายเข็มกลางดวงใส แล้วจึงเห็นวิชชาความรู้ต่างๆ ขึ้นมา


    ซึ่งเมื่อมาเปรียบโดยหลักวิชชาแล้ว อานาปานัสสติคือการกำหนดลมหายใจเข้าออกนี้ ลมหายใจวิ่งเข้าวิ่งออกครบทั้ง 7 ฐานทุกครั้ง หลวงพ่อฯจึงได้ความรู้เพิ่มอีกว่า ทั้ง 7 ฐานนี่ เป็นทางไปเกิดมาเกิดของสัตว์ดโลกด้วย เป็นที่หลับที่ตื่นของสัตว์โลกด้วย หลวงพ่อท่านจึงใช้ฐานที่ตั้งถึง 7 ฐาน จะเรียกว่าฐานของลมหายใจ 7 ฐานก็ได้ ถามว่าทำไมไม่มีบัญญัติไว้ในสมัยพุทธกาล เพราะเหตุว่าการกำหนดอานาปานัสสติครอบคลุมเรื่องฐานของใจทั้ง 7 ฐานอยู่แล้ว เพียงแต่ยุคนี้หลวงพ่อท่านทำให้ชัดเจนขึ้น และแทนที่หลวงพ่อจะสอนแบบกำหนดลมหายใจแบบอาณาปานัสสติ หลวงพ่อก็มาสอนแบบอาโลกสิณ(กสิณแสงสว่าง) และแสดงทางเดินของใจถึง 7 ฐาน เพราะเหมาะกับคนทุกจริตนั่นเอง


    โดยหลักการบำเพ็ญภาวนานั้นต้องมีองค์ประกอบ 3 อย่าง คือบริกรรมนิมิต บริกรรมภาวนา และที่ตั้งของใจ ถ้าเป็นอานาปานัสสติ บริกรรมนิมิต คือ ลมหายใจ บริกรรมภาวนาจะเป็นอะไรก็ได้ เช่น พุทโธ ที่ตั้งของใจก็คือลมวิ่งเข้าวิ่งออก ลมวิ่งออกจากจุดไหน ลมวิ่งเข้ามาถึงจึดไหน นั่นก็คือที่ตั้งของใจนั่นเอง ในกาลก่อนมีพระอริยสงฆ์หลายท่านก็ปฏิบัติแบบอาณาปานัสสติจนเห็นดวงปฐมมรรคเช่นกัน เช่น สมเด็จโตฯ ครูบาศรีวิชัย หลวงปู่มั่น ฯลฯ เพียงแต่ท่านปฏิบัติได้แล้วท่านก็ไปกำหนดจิตตรงว่างใสในดวงนั้น ก็ส่งผลให้รู้เห็นอะไรต่ออะไรได้ด้วยญาณทัสสนะ เพียงแต่หลวงพ่อวัดปากน้ำโชคดีกว่าตรงที่หลวงพ่อ เข้ากลางของกลางได้ เพราะหลวงพ่อละจากดวงใสแรก โดยเข้ากลางของกลางจนไปเห็นเรื่องกายในกาย


    จึงขอให้เข้าใจเถิดว่า อานาปานัสสตินั่นแหละที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ไม่ผิด สามารถเห็นกายในกายได้เหมือนกัน พระพุทธเจ้าเพียงเป็นผู้บอกทาง เมื่อเราปฏิบัติแล้ว ผลจะเกิดกับเราเอง


    <!--MsgFile=3-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  5. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    พระวินัยปิฎก เล่ม ๔ มหาวรรคภาค ๑ - หน้าที่ 15

    ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร/ปฐมเทศนา


    [๑๓] ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาครับสั่งกะพระปัญจวัคคีย์ว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ที่สุด สองอย่างนี้อันบรรพชิตไม่ควรเสพ คือ การประกอบตนให้พัวพันด้วยกามสุขในกามทั้งหลาย เป็นธรรมอันเลว เป็นของชาวบ้านเป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑ การประกอบความเหน็ดเหนื่อยแก่ตน เป็นความลำบาก ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ปฏิปทาสายกลาง ไม่เข้าไปใกล้ที่สุดสองอย่างนั้น นั่นตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ** ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ** ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบเพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็ปฏิปทาสายกลางที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ด้วยปัญญาอันยิ่ง ทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพานนั้น เป็นไฉน?


    ปฏิปทาสายกลางนั้น ได้แก่อริยมรรค มีองค์ ๘ นี้แหละ คือปัญญาอันเห็นชอบ ๑ ความดำริชอบ ๑ เจรจาชอบ ๑ การงานชอบ ๑ เลี้ยงชีวิตชอบ ๑ พยายามชอบ ๑ ระลึกชอบ ๑ ตั้งจิตชอบ ๑


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลคือปฏิปทาสายกลางนั้น ที่ตถาคตได้ตรัสรู้แล้ว ** ด้วยปัญญาอันยิ่งทำดวงตาให้เกิด ทำญาณให้เกิด ** ย่อมเป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้เพื่อนิพพาน.



    /////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////


    จะเห็นว่า มีข้อความว่า ทำดวงตาให้เกิด ซึ่งทรงกล่าวไว้ชัดเจนนะครับ และคำว่า "เห็น" นั้นพระพุทธองค์ย้ำไว้ชัดในการพิจารณามหาสติปัฏฐานสูตร ดังต่อไปนี้ครับ


    //////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////



    ๙. มหาสติปัฏฐานสูตร (๒๒)


    [๒๗๓] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้

    สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ในกุรุชนบท มีนิคมของชาวกุรุ ชื่อว่ากัมมาสทัมมะ ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูกรภิกษุ ทั้งหลาย ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า พระพุทธเจ้าข้า พระผู้มีพระภาค ได้ตรัสพระพุทธภาษิตนี้ว่า


    ดูกรภิกษุทั้งหลาย หนทางนี้เป็นที่ไปอันเอก เพื่อ ความบริสุทธิ์ของเหล่าสัตว์ เพื่อล่วงความโศกและปริเทวะ เพื่อความดับสูญ แห่งทุกข์และโทมนัส เพื่อบรรลุธรรมที่ถูกต้อง เพื่อทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน หนทางนี้ คือ สติปัฏฐาน ๔ ประการ ๔ ประการ เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะมีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ พิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้ ๑ ฯ

    จบอุทเทสวารกถา


    [๒๗๔] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นกายในกายอยู่อย่างไรเล่าภิกษุในธรรมวินัยนี้ ไปสู่ป่าก็ดี ไปสู่โคนไม้ก็ดี ไปสู่เรือนว่างก็ดี นั่งคู้บัลลังก์ ตั้งกายตรง ดำรงสติไว้เฉพาะหน้า เธอมีสติหายใจออก มีสติหายใจเข้า เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจเข้า สั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกองลมหายใจทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้ตลอดกอง ลมหายใจทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออกย่อมสำเหนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย นายช่างกลึงหรือลูกมือของนายช่างกลึงผู้ขยัน เมื่อชักเชือกกลึงยาว ก็รู้ชัดว่า เราชักยาวเมื่อชักเชือกกลึงสั้น ก็รู้ชัดว่า เราชักสั้น แม้ฉันใด ภิกษุก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อหายใจออกยาว ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกยาว เมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่าเราหายใจเข้ายาว เมื่อหายใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจออกสั้น เมื่อหายใจ เข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า เราหายใจเข้าสั้น ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลม ทั้งปวงหายใจออก ย่อมสำเนียกว่า เราจักเป็นผู้กำหนดกองลมทั้งปวงหายใจเข้า ย่อมสำเนียกว่า เราจักระงับกายสังขารหายใจออก ย่อมสำเหนียกว่า เรา จักระงับกายสังขารหายใจเข้า ดังพรรณนามาฉะนี้


    ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นกายใน กายภายในบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นกายในกายทั้ง ภายในทั้งภายนอกบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือความเกิดขึ้นในกายบ้าง พิจารณาเห็น ธรรมคือความเสื่อมในกายบ้าง พิจารณาเห็นธรรมคือทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในกายบ้าง ย่อมอยู่ อีกอย่างหนึ่ง สติของเธอที่ตั้งมั่นอยู่ว่า กายมีอยู่ ก็เพียง สักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฐิไม่อาศัย อยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูกรภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ ฯ

    จบอานาปานบรรพ


    //////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////


    คำว่า "เห็น" นั้นต้องใช้ "ตา" ดูจึงเห็น และตาดูนั้น ใช้ตาอะไรดู ตาก็มีละเอียดเข้าไปเป็นชั้นๆ ดังพระสูตรในข้อความด้านล่างนี้


    ////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////



    พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๑ ขุททกนิกาย มหานิทเทส -


    [๕๐] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า

    เราย่อมเห็นหมู่สัตว์นี้ไปในตัณหาในภพทั้งหลาย ดิ้นรนอยู่ในโลก


    นรชนทั้งหลายที่เลว ยังไม่ปราศจากตัณหาในภพน้อยภพใหญ่ ย่อมร่ำไรใกล้ปากมัจจุ.


    สัตว์ดิ้นรนอยู่ในโลกเพราะตัณหา


    [๕๑] คำว่า เราย่อมเห็น ... ดิ้นรนอยู่ในโลก มีความว่า คำว่า ย่อมเห็น คือ ย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู ด้วย มังสจักษุบ้าง ทิพยจักษุบ้าง ปัญญาจักษุบ้าง พุทธจักษุบ้าง สมันตจักษุบ้าง. คำว่า ในโลก คือ ในอบายโลก มนุษยโลก เทวโลก ขันธโลก ธาตุโลก อายตนโลก. คำว่า ดิ้นรนอยู่ คือ เราย่อมเห็น ย่อมแลดู ตรวจดู เพ่งดู พิจารณาดู [ซึ่งหมู่สัตว์นี้] ดิ้นรน กระเสือกกระสน ทุรนทุราย หวั่นไหว เอนเอียง กระสับกระส่ายไปมา


    //////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////


    จะเห็นว่า พระพุทธเจ้าตรัสว่า ตามี 5 ประเภท ซึ่งก็รับมาสอดคล้องกับวิชชาธรรมกายที่กล่าวข้างบน ดังนี้


    เมื่อจะพิจารณาอะไรทั้งหมดในชั้นวิปัสสนาภูมินี้ มีพิจารณา ขันธ์ ๕ – อายตนะ ๑๒ –
    ธาตุ ๑๘ – อินทรีย์ ๒๒ – อริยสัจ ๔ – ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ เป็นต้น ต้องใช้ตาธรรมกายดูจึงจะเห็น เพราะเป็นกายละเอียด อายตนะและเห็น – จำ – คิด – รู้ ก็ละเอียด จึงจะดูของละเอียดได้



    ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูปขันธ์ เวทนาขันธ์ สัญญาขันธ์ สังขารขันธ์ วิญญาณขันธ์


    รูปขันธ์อย่างละเอียด(ย้ำว่าอย่างละเอียด)เล็กกว่าปลายขนจามรี ตั้งอยู่ภายในกำเนิดเดิม ลักษณะกลมใสสะอาด ส่วนเวทนาขันธ์ – สัญญาขันธ์ – สังขารขันธ์ – วิญญาณขันธ์ทั้ง ๔ นี้ ก็ละเอียดและเล็กกว่ารูปขันธ์ กล่าวถึงขนาดของรูปขันธ์ว่ามีขนาดเท่าไร ? นามธรรมทั้ง ๔ ก็เท่านั้น ลักษณะกลมใสสะอาดเท่ากัน ซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ นี่คือกล่าวด้วยส่วนละเอียดของขันธ์ ๕


    ส่วนหยาบของขันธ์ ๕ นั้น ส่วนของกายโตเท่าไร ? เวทนา – สัญญา – สังขาร – วิญญาณ ก็โต
    เท่าตัวเหมือนกัน ถ้ากายมนุษย์ที่ใหญ่ ๆ ขึ้นไปจนตัวเต็มจักรวาลขนาดของเวทนา – สัญญา – สังขาร – วิญญาณ ก็โตขึ้นเท่าขนาดของลำตัวเหมือนกันขันธ์ ๕ กายหนึ่ง ๆ ก็มีเป็นชั้น ๆ ซ้อนกันอยู่ตามลำดับของกาย จนสุดหยาบสุดละเอียด เหมือนอย่างแบบฟอร์มแต่งกายของทหาร ตำรวจ ข้าราชการ เช่น นายสิบ นายร้อย นายพัน นายพล เป็นตัวอย่าง





    สำคัญตรงนี้ ครับ ตรงที่ว่าเราจะเข้าถึงตาละเอียด ญาณทัสสนะที่ละเอียดเพื่อเข้าไปดู ไปรู้ ไปเห็น สภาวธรรมเหล่านี้ตามความเป็นจริงได้มากน้อยแค่ไหน วิปัสสนาญาณจึงจะเกิดแก่เรา เพื่อชำแรกกิเลสหลุดออกไปเป็นชั้นๆ จนสุดหยาบสุดละเอียด หมดกิเลสเป็นสมุเฉทประหานถึงฝั่งพระนิพพานอันเป็นจุดหมายปลายทาง....... <!--MsgFile=4-->
     
  6. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    พระพุทธศาสนานั้น ใช่ว่าเราจะใช้สมองตรึกนึกตรองข้อธรรมต่างๆ แล้วจะเข้าใจแจ่มแจ้งได้ เราต้องปฏิบัติให้เข้าถึงธรรมนั้นๆ สมาธิขั้นสมถะเป็นเบื้องต้น เมื่อใจสงบระงับมีกำลังจึงยกภูมิสูงขึ้นสู่ภาควิปัสสนา ภาควิปัสสนานั้นเราต้องมีรู้ญาณหรือมีญาณทัสสนะเห็นธรรมตามความเป็นจริงได้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ในเรื่อง ขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อริยสัจ ๔ ใช่ว่าเราจะใช้สมองคิดตรึกตรองแล้วจะเข้าใจสภาวธรรมเหล่านี้อย่างแจ่มแจ้งได้ เราต้องปฏิบัติให้รู้ให้เห็นจริงๆ ให้เกิดเป็นอธิจิต อธิปัญญา รู้เห็นตามสภาพความเป็นจริง



    เวลาฝึกสมาธินั้นหลายท่านบอกว่าเราฝึกสมถะจนจิตสงบ พอออกจากสมาธิแล้วจะใช้ปัญญาคิดพิจารณาข้อธรรมต่างๆ แล้วเป็นวิปัสสนาได้หรือไม่ ชื่อว่าไม่ได้แน่นอน เพราะขั้นตอนของสมถะและวิปัสสนาต้องต่อเนื่องกันไปในขณะหลับตาทำสมาธิอยู่ เช่น เราต้องการพิจารณาขันธ์ ๕ เมื่อปฏิบัติสมาธิเบื้องต้นจนจิตสงบแล้วต่อไปก็ยกภูมิขึ้นสู่วิปัสสนา รู้เห็นขบวนการของขันธ์ ๕ รู้ญาณชนิดนี้เป็นรู้ญาณละเอียดขั้นอธิจิต อธิปัญญา จึงมีตาวิเศษ รู้เห็นขบวนการของขันธ์ ๕ อย่างแจ่มแจ้งชัดเจน เพียงแต่ว่าใจเราละเอียดอยู่ในระดับใด ถ้าละเอียดอยู่ในขั้นโลกีย์ก็ไม่สามารถรู้เห็นสภาพธรรมชั้นสูงในภาคโลกุตระได้ เพราะชั้นโลกีย์เราจะมีคุณธรรมคือ ระดับจิตได้แค่ มนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม ซึ่งทั้ง ๔ ระดับนี้ พิจารณาได้แต่ธรรมแบบโลกีย์ เช่น มนุษยธรรมได้แก่ใจระดับที่มีหิริโอตตัปปะ เทวธรรมคือใจที่มีศีลห้าธรรมห้า(กุศลกรรมบถ ๑๐) พรหมธรรมได้แก่ ใจที่สำเร็จฌานโลกีย์ ๔ ระดับ หรืออย่างหยาบต้องมีพรหมวิหารธรรม ๔ อรูปพรหมธรรมได้แก่ ใจที่สำเร็จอรูปฌาน ๔ นี่คือรู้ส่วนเห็นนั้น ตาหยาบก็เห็นของหยาบ ตาละเอียดก็เห็นของละเอียด เหมือนนักวิจัยใช้กล้องส่องดูอนุภาคเล็กๆ ถ้ากล้องมีกำลังขยายสูงเราก็เห็นได้ละเอียด



    >>> ตามนุษย์เรียกว่ามังสะจักษุ

    ตาเทวดา(ทิพย์)เรียกทิพจักษุ

    ตาพรหมเรียกว่าปัญญาจักษุ

    ตาอรูปพรหมเรียกว่าสมันตจักษุ

    ตาระดับโลกุตรภูมิเรียกว่าพุทธจักษุ



    เข้าถึงภูมิระดับใดใจก็มีตาระดับนั้น รู้เห็นได้ละเอียดกว่ากันเป็นชั้นๆ รู้และเห็นธรรมต่างๆ ทั้งโลกียธรรมและโลกุตรธรรมได้เป็นชั้นๆ ไป ตามแต่ภูมิธรรมที่เข้าถึง เมื่อใจละเอียดมีอย่างนี้แล้ว ก็เป็นธรรมดาที่ว่า มีใจที่ใดต้องมีกายครองที่นั่น ก็กายกับใจเป็นของคู่กัน เหมือนรูปกับนามเป็นของคู่กัน เมื่อมีรูปย่อมมีนาม เมื่อมีนามย่อมมีรูป เมื่อใจมีกายก็ต้องมารองรับ ใจละเอียดกายก็ละเอียด ใจหยาบกายก็หยาบ ใจหยาบช้าทำแต่กรรมชั่ว กายที่มารองรับก็อัปลักษณ์น่าเกลียดอย่างเช่น สัตว์นรก เปรต อสูรกาย และพวกสัตว์เดียรัจฉานต่างๆ นี่เพราะใจหยาบช้ากายก็หยาบช้า ถ้าใจละเอียดกายก็ละเอียดเป็นเครื่องรองรับกันเสมอ เช่น ทิพย์ พรหม อรูปพรหม เมื่อใจเรางามกายที่งามสมกับใจก็มารองรับซึ่งกันและกัน ตรงนี้เป็นผังสำเร็จ เป็นผังชีวิตที่ซ้อนกันเป็นชั้นๆ ถ้าเราเข้าใจเรื่องกายกับใจเช่นนี้ได้ เราก็จะสามารถเข้าใจสภาวธรรมต่างๆ ได้ง่ายเข้า



    วิชชาธรรมกายสอนเรื่องกายละเอียดต่างๆ นั้นมิได้หมายเรื่องนิมิตหรือเห็นอะไรสักแต่เป็นนิมิต แต่นี้เป็นผังชีวิตของจริงที่พระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายท่านได้รู้ได้เห็น เพียงแต่ว่าต้องปฏิบัติจนเข้าถึงจึงจะหมดข้อสงสัย เพราะธรรมของพระพุทธเจ้าเป็นของลุ่มลึกเกินวิสัยแห่งปุถุชนที่จะคาดเดาเอาเองได้ ต้องไปรู้ไปเห็นด้วยญาณทัสสนะอันละเอียดจึงจะเข้าใจ ที่พระองค์ไม่ทรงตรัสไว้โดยละเอียดเพราะเนื้อแท้แล้วพระองค์ต้องการให้เราปฏิบัติเพื่อเข้าถึงเองดีที่สุด พระองค์จึงตรัสบอกแต่วิธีการเข้าถึง เช่น ให้ปฏิบัติตามกัมมัฏฐาน ๔๐ วิธี หรือแบบอานาปานัสติ หรือสติปัฏฐาน ๔ เพื่อให้เข้าถึง กาย เวทนา จิต ธรรม ที่ละเอียด เข้าถึงได้แล้วจะเข้าใจแหมดข้อกังขาเอง



    ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย ใจละเอียดมีตาละเอียด ตาละเอียดมีญาณทัสสนะที่ละเอียด รู้ได้เห็นได้อย่างละเอียดถึงรูปแบบและขบวนการของสภาวธรรมในระดับวิปัสสนาได้ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของขันธ์ ๕ อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘ อินทรีย์ ๒๒ ปฏิจจสมุปบาท ๑๒ อริยสัจ ๔ หรือธรรมขั้นโลกุตรใดๆ ก็รู้เห็นได้หมด เพียงขอให้เข้าถึงใจละเอียดเป็นอธิจิต อธิปัญญาเถิด แต่พิจารณาอย่างเดียวไม่พอต้องทำการสะสางธาตุธรรมภายในให้หมดกิเลสเป็นชั้นๆ ได้ด้วย เพระกิเลสอวิชชาเขาก็มีเป็นชั้นๆ ซ้อนอยู่ในกายและใจของเราที่เป็นชั้นๆ อยู่ ด้วยเหมือนกัน ชำระสะสางกิเลสให้หมดจากจิตใจได้จึงเชื่อได้ว่าหลุดพ้นจริง หมดภพหมดชาติ หมดการเวียนว่ายตายเกิดจริง



    ถ้าเรารู้จักกายมนุษย์หยาบกายนี้กายเดียวไม่มีทางกำจัดกิเลสเข้าไปเป็นชั้นๆ ได้ เพราะกิเลสระดับละเอียดเขามีอยู่ เขาก็อยู่ในชั้นละเอียดเข้าไป กายและใจมนุษย์ไม่สามารถรู้เห็นได้ ต้องใช้รู้ญาณทัสสนะที่ละเอียดเข้าไปจึงจะทำลายกิเลสให้หมดจนสุดหยาบสุดละเอียด



    หลวงพ่อวัดปากน้ำมีวิริยคติที่ว่า “บัดนี้ของจริงที่พระพุทธเจ้าทรงรู้เห็น เราก็ยังไม่รู้เห็น สมควรที่เราจะลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง” ในที่สุดหลวงพ่อเข้าถึงกายละเอียใจละเอียดเป็นชั้นๆ ซึ่งมีกายและใจละเอียดถึง ๑๘ ชั้น (วิชา ๑๘ กาย) จึงได้รู้เห็นผังของจริง เมื่อเรารู้เห็นเป็นชั้นๆ เข้าไป ต่อไปงานสะสางธาตุธรรมเป็นชั้นๆ เข้าไปจนหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ก็ทำได้ นี้จึงชื่อว่าเป็นเหตุเป็นผลรองรับกัน ฉะนั้นเราเข้าถึง กายมนุษย์ ทิพย์ พรหม อรูปพรหม กายธรรม ทั้งหลายและละเอียด ก็คือเรามีหนทาง(มรรควิธี)แห่งการกำจัดกิเลสอวิชชาเป็นชั้นๆ เข้าไป ตามที่กล่าวมาแล้วส่วนขั้นปฏิบัติจริงจังนั้นจะต้องว่ากันโดยละเอียดต่อไป... <!--MsgFile=6-->

     
  7. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    >>> ขอให้เราระลึกอยู่เสมอว่า วิปัสสนา แปลว่า เห็นแจ้ง เห็นต่าง ๆ เห็นวิเศษ รู้วิเศษ เห็นวิภาคเป็นส่วน ๆ ในขันธ์ ๕ – อายตนะ ๑๒ – ธาตุ ๑๘ – อินทรีย์ ๒๒ – อริยสัจจธรรม ๔ – ปฏิจจสมุปบาท ๑๒




    >>> ถ้าไม่เห็นแล้ว ตัวรู้ไม่เกิด คือรู้ไม่ได้ ตัวรู้เกิด ปัญญาจึงจะเกิดตามมาครับ



    วิปัสฺสนา ภาวิตา กิมตฺถมนุโภติ
    ** วิปัสสนาแปลว่าความเห็นแจ้ง เป็นขึ้นแล้วต้องการอะไร


    ปญฺญา ภาวิยติ
    ** ต้องการทำปัญญาให้เป็นขึ้น


    ถ้าเราไม่เห็นแจ้ง เราก็หมดสิทธิที่จะเข้าถึงธรรมวิเศษ ตรองดูเถิดท่านทั้งหลาย เราเล่นแต่ตัวรู้กัน แต่ตัวเห็นไม่เกิด แล้วที่รู้นะจะรู้จริงได้อย่างไร พิจารณาดูนะครับ ที่เขาว่า "ภาพหนึ่งภาพแทนความหมายได้พันคำ" น่ะจริงแท้แน่นอน... <!--MsgFile=8-->
     
  8. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    ขอยกประสบการณ์ในการปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย

    จากบันทึกของพระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส)*


    *************************************


    >>> ถ้าผู้ใดจะทำทางวิปัสสนา


    ให้ตั้งกายให้ตรง ทำสติไว้เฉพาะหน้า ไม่ให้เผลอ เท้าขวาทับเท้าซ้าย มือขวาทับมือซ้าย อย่าให้เกยกันมาก แต่พอหัวแม่มือซ้ายกับนิ้วชี้ขวาจรดกัน แล้วหลับตาภาวนาว่า “สัมมาอะระหัง” หลับตาแล้วมันมีกลเม็ดอยู่อย่างหนึ่ง คือเหลือบตาขึ้นข้างบนเหมือนอย่างไปข้างหลัง กลับมองลงไปในกลางตัว ตามหลอดลมหายใจ เพราะมันเป็นรูกลวงลงไปตั้งแต่เพดานจนถึงสะดือ สุดลมหายใจที่อยู่เพียงสะดือตรงนั้น เรียกว่า “ที่สิบ” เหนือสะดือขึ้นมาสองนิ้วมือ เรียกว่า “ที่ศูนย์” เป็นที่ตั้งสติ


    เอาเห็น จำ คิด รู้ ทั้งสี่นี้ลงไปหยุดนิ่งอยู่ที่นั่น เพราะที่ตรงนั้นมีดวงธรรมประจำอยู่ทุกคน ธรรมดวงนี้สำหรับทำให้เกิดเป็นกายมนุษย์ ใสบริสุทธิ์เท่าฟองไข่แดงจากไก่ สว่างเหมือนแสงไฟ ให้ลงไปนิ่งนึกอยู่แต่ตรงนั้นอย่าไปทางไหน ดินถล่มฟ้าทลาย คอขาดบาดตายก็อย่าตกใจ ให้นิ่งแน่นอยู่เหนือสะดือสองนิ้วมือนั้นให้ได้ ซ้ายขวาหน้าหลัง ไม่ไป ล่างบน ไม่ไป นิ่งอยู่กึ่งกลางกาย ข้างใน ข้างนอก อย่าออกไป ถ้าออกข้างนอก ถึงธรรมเกิดขึ้น สว่างได้ ก็เป็นวิปัสสนูปกิเลส ไม่ใช่วิปัสสนา วิปัสสนูปกิเลสนี้เป็นของภาคดำ ไม่ใช่ของภาคขาว



    >>> เมื่อกายสงบดีแล้ว หรือเกิดตัวเบาขึ้น นั่นเป็นกายานุปัสสนาสติปัฏฐาน, เมื่อเกิดความสุขกายขึ้น เป็นเวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน, ถ้าเกิดแสงสว่างขึ้นที่เหนือสะดือสองนิ้วมือ จะเล็กหรือจะใหญ่ก็ตาม ประมาณสักเท่าดวงดาวหรือไข่แดงของไก่ เป็นอุคคหนิมิตขึ้นอย่างนั้นแล้ว รักษาไว้ นี่เรียกว่า ปฐมมรรค ถ้าใสอย่างกระจกส่องหน้าอย่างนั้นหละเป็นธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน


    ถ้าขยายเป็นปฏิภาคออกไปใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ได้ ก็จะเห็นกายในกายผุดขึ้นในกลางดวงนั้นเหมือนอย่างกายมนุษย์เราไม่ผิดเพี้ยน เรียกว่า กายมนุษย์ละเอียด (ในกลางกายมนุษย์ละเอียด มีกายทิพย์) กายนี้สำหรับไปเกิดมาเกิด กายนี้ถ้าหลุดจากกายมนุษย์หยาบ (กายเนื้อ) เมื่อไร ก็ตายเมื่อนั้น แต่ต้องพูดถึงกายนี้ให้รู้เรื่องกันเสียก่อน เพราะเป็นกายไปเกิดมาเกิด เป็นกายสมุทัย


    กายนี้เมื่อมาเกิดเข้าครรภ์บิดามารดานั้น สูงถึงแปดศอก มาเข้าครรภ์บิดาก่อน ถ้าจะเป็นหญิงก็เข้าทางช่องจมูกซ้าย ถ้าจะเป็นชายก็เข้าทางช่องจมูกขวา เข้าไปอยู่เหนือศูนย์สะดือสองนิ้วมือของบิดาก่อน แล้วมารดาจึงตั้งครรภ์ขึ้นทีหลัง ตั้งครรภ์ด้วยกันทั้งสองคนจึงรักบุตรด้วยกันทั้งคู่ บิดามารดาร่วมประเวณีกันเข้า ถ้ายังไม่ตกสูญก็ยังไม่เกิด ถ้าตกสูญเมื่อไรก็เกิดเมื่อนั้น


    ที่เรียกว่าตกสูญนั้นคือ บิดามารดาทั้งสองสนุกเพลิดเพลินนั้น มันนิ่งแน่น ดึงดูดเหมือนเหล็กตาปูตอก เพลิดเพลินจนตากลับด้วยกันทั้งสองข้าง นั่นแหละมันตกสูญหละ คืออายตนะในมดลูกของมารดา มันดึงดูดเอากายแปดศอกออกจากช่องจมูกของบิดา เข้าไปในช่องจมูกของมารดา เข้าไปติดอยู่ในแอ่งมดลูก แล้วก็น้ำเลี้ยงหัวใจของบิดามารดา ข้างพ่อนิดหนึ่งข้างแม่นิดหนึ่งประสมกันเข้าประมาณเท่าเมล็ดโพธิเมล็ดไทร แล้วกายแปดศอกนั้นก็เข้าไปอยู่ในนั้นได้


    >>> เหมือนอย่างพระพุทธเจ้าเข้าไปเดินจงกรมในเมล็ดพันธุ์ผักกาดได้ กายพระพุทธเจ้าก็ไม่เล็กลงไป เมล็ดพันธุ์ผัดกาดก็ไม่ใหญ่ขึ้น วิธีนั้นทีเดียว หรืออีกนัยหนึ่ง เช่นกระจกวงเดือนเล็กเท่าแว่นตา ส่องภูเขาใหญ่ ๆ เข้าไปอยู่ในนั้นได้ ภูเขาก็ไม่เล็กลงไป กระจกก็ไม่ใหญ่ขึ้น แต่อยู่ในกระจกนั้นได้


    วิธีเดียวกับที่เรามาเกิดในครรภ์บิดามารดา เมื่อสายเลือดของบิดามารดาข้นแข็งเป็นก้อนเข้า ก็แตกออกเป็นปัญจสาขา ห้าแห่งเป็นกายมนุษย์ขึ้น เป็นศีรษะ เป็นมือทั้งสอง เท้าทั้งสอง กายสัมภเวสีที่มาเกิดนั้นก็เล็งลงเท่ากายมนุษย์ ตาตรงกัน หูตรงกัน จมูก ปาก แขนขา ตรงกันหมด เชื่อมติดเป็นกายเดียวกันกับกายมนุษย์ (กายเนื้อ) แล้วก็เจริญใหญ่ขึ้นมาจนคลอดออกจากครรภ์มารดา อย่างนี้เรียกว่ากายมาเกิด


    วิธีไปเกิดเมื่อเวลาใกล้จะตายนั้น ธาตุธรรมก็ดึงดูดเอากายมนุษย์กับกายมนุษย์ละเอียด (ซึ่งมีกายทิพย์ซ้อนอยู่) ให้หลุดจากกัน คนไข้กายมนุษย์ก็บิดตัว สะดุ้ง หรือสยิ้วหน้า พอกายหลุดจากกัน กายทิพย์ก็ตกสูญอยู่ที่เหนือสะดือสองนิ้วมือของกายมนุษย์เท่าไข่แดงของไก่ แล้วเกิดขึ้นเป็นกายสูงแปดศอกเดินออกทางช่องจมูกเที่ยวหาที่เกิดต่อไป ทิ้งกายมนุษย์ไว้ให้เน่าไป


    >>> ถ้าผู้ใดเข้าถึงธรรมกายแล้วจะเห็นได้อย่างชัดเจน ผู้ที่ไม่รู้เรื่องก็เดาเอาว่าวิญญาณไปเกิด วิญญาณอย่างเดียวไปเกิดไม่ได้ ต้องไปเกิดทั้งกายจึงจะได้ เพราะกายเราทุกกายที่ซ้อนกันอยู่นั้น กายหนึ่ง ๆ ต้องมีหัวใจสำหรับจำ ในหัวใจต้องมีดวงจิตเท่าดวงตาดำ ลอยอยู่ในน้ำเลี้ยงหัวใจสำหรับคิด วิญญาณซ้อนอยู่ในดวงจิตเท่าแววตาดำหรือหัวไม้ขีดไฟ สำหรับรู้ เหมือนกันหมดทุกอาย เมื่อรู้เรื่องกายซ้อนกันแล้ว ก็ฟังง่ายเข้า เมื่อรู้เรื่องกายทิพย์นี้แล้วก็จะได้ดำเนินต่อไป <!--MsgFile=9-->

     
  9. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    ขอยกประสบการณ์ในการปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย

    จากบันทึกของพระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส)*

    (ต่อ)


    *************************************

    กายในกายนับตั้งแต่กายมนุษย์หยาบหรือกายเนื้อ ก็มีกายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์หยาบ, กายทิพย์ละเอียด ซึ่งเป็นกายที่สี่นับจากกายมนุษย์ ถึงกายนี้แล้วก็จะสามารถทำกัมมัฏฐานได้ ๓๐ ที่ตั้ง ตั้งแต่กสิณ ๑๐, อสุภะ ๑๐, และอนุสสติ ๑๐ ตาของกายนี้ (นับแต่ตาของกายมนุษย์ละเอียดเป็นต้นไป) เป็นทิพยจักษุ* สามารถเห็นสวรรค์ นรก เปรต อสุรกาย แล้วเอากายทิพย์นี้แหละไปนรก สวรรค์ เปรต อสุรกาย ได้ทุกแห่ง ไปพูดจาปราศรัยกันกับพวกเหล่านั้นได้ ถามถึงบุรพกรรมทุกข์สุขกันได้ทั้งนั้น
    แต่ว่ายังไม่เห็นพรหมโลกเพราะละเอียดกว่าสวรรค์มาก


    ดวงธรรมในกายทิพย์นี้เรียกว่า ทุติยมรรค พอขยายออกเป็นปฏิภาคใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ก็จะเห็นกายที่ ๕ ขึ้นอีก ผุดขึ้นที่กลางดวงทุติยมรรค เรียกว่ากายรูปพรหมหยาบ และในกลางกายรูปพรหมหยาบก็มีกายรูปพรหมละเอียด เป็นกายที่ ๖ กายนี้สวยงามประดับประดาอาภรณ์ยิ่งกว่าเทวดา (กายทิพย์) กายนี้ทำกัมมัฏฐานได้ ๔ ที่ตั้ง คือรูปฌาน ๔ ดวงตาของกายนี้เป็นปัญญาจักษุ สามารถเห็นพรหมโลกทั้ง ๑๖ ชั้น แล้วเอากายนี้ไปพรหมโลกทั้ง ๑๖ ชั้นได้ ไปไต่ถามทุกข์สุขกับรูปพรหมทั้ง ๑๖ ชั้นได้ แต่ว่ายังไม่เห็นอรูปพรหม ๔ ชั้น เพราะละเอียดกว่ารูปพรหมมาก


    ต้องเอาเห็น จำ คิด รู้ เข้าไปหยุดนิ่งอยู่เหนือสะดือสองนิ้วมือในกลางกายรูปพรหมที่ ๖ นี้อีก ดวงธรรมในกายนี้เรียกว่า ตติยมรรค พอขยายเป็นปฏิภาคใหญ่ออกไปเท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็จะเห็นกายอรูปพรหมหยาบ ในกลางกายอรูปพรหมหยาบก็จะเห็นกายอรูปพรหมละเอียดเป็นกายที่ ๘ กายรูปพรหมนี้สวยงามยิ่งขึ้นไปอีก กายนี้ทำกัมมัฏฐานได้ ๖ ที่ตั้ง คือ อรูปฌาน ๔ และ อาหาเรปฏิกูลสัญญา กับจตุธาตุววัตถานะ รวมเป็น ๔๐ กัมมัฏฐานด้วยกัน ดวงตาของกายนี้เป็นสมันตจักษุ สามารถเห็นอรูปพรหม ๔ ชั้น แล้วเอากายนี้ไปอรูปพรหม ๔ ชั้นได้ ไปไต่ถามทุกข์สุขกันได้ แต่ยังไม่เห็นนิพพาน


    ต้องเข้าไปนิ่งอยู่เหนือศูนย์สะดือสองนิ้วมือ ในกลางกายอรูปพรหมละเอียดซึ่งเป็นกายที่ ๘ นี้อีก ดวงธรรมในกายนี้เรียกว่า จตุตถมรรค พอขยายเป็นปฏิภาคใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ ก็จะเห็นกายอีกกายหนึ่งเป็นกายที่ ๙ กายนี้เรียกว่า “ธรรมกาย” เหมือนพระพุทธรูป เกตุแหลมเหมือนดอกบัวตูม สวยงาม ใสเหมือนแก้ว ดวงตาของกายนี้เรียกว่า พุทธจักษุ เห็นนิพพาน แล้วเอากายนี้แหละไปนิพพานได้ พระพุทธเจ้าอยู่ที่ไหนก็เห็นหมด ทั้งขาว กลาง ดำ ไปพบปะเห็นทั้งนั้น เรื่องห่มผ้าม้วนขวา ม้วนซ้ายจะไปรู้เรื่องได้หมด


    >>> ถ้าท่านผู้ใดทำได้ถึงพระธรรมกายนี้แล้วจึงค่อยเชื่อ หรือจะไม่เชื่อก็ตามใจท่านเถอะ เพราะคนเรามีอยู่สามพวก ขาวพวกหนึ่ง ดำพวกหนึ่ง กลางพวกหนึ่ง ถ้าพวกขาวก็เชื่อ ถ้าพวกดำก็ไม่เชื่อ ถ้าพวกกลางก็เฉย ๆ


    *** ถ้าอยากจะรู้ว่าเป็นพวกขาว กลาง หรือดำ ก็สังเกตดูเอา

    >> ถ้าซื่อตรง นักปราชญ์ ฉลาดใจบุญ ก็ให้รู้ว่าเป็นเครื่องหมายของภาคขาว,


    >> ถ้าคดโกง เก่งกาจ ฉลาดใจพาล ก็ให้รู้ว่าเป็นเครื่องหมายของภาคดำ,


    >> ถ้าไม่ตรง ไม่โกง นั่นก็เป็นเครื่องหมายของภาคกลาง <!--MsgFile=10-->
     
  10. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    ขอยกประสบการณ์ในการปฏิบัติภาวนาตามแนววิชชาธรรมกาย

    จากบันทึกของพระครูวินัยธร (ชั้ว โอภาโส)*

    (ต่อ)


    *************************************

    ธรรมกายนี้ก็มีหยาบละเอียดกว่ากันเข้าไปตามลำดับ

    กายธรรมกายแรกซึ่งเป็นกายที่ ๙ นั้นเรียกว่า ธรรมกายโคตรภูหยาบ ในธรรมกายโคตรภูหยาบก็มีธรรมกายโคตรภูละเอียด,

    ในกายโคตรภูละเอียดก็มีกายพระโสดาปัตติมรรค ในกายพระโสดาปัตติมรรคก็มีกายพระโสดาปัตติผล,

    ในกายพระโสดาปัตติผลก็มีกายพระสกิทาคามิมรรค ในกายพระสกิทาคามิมรรคก็มีกายพระสกิทาคามิผล,

    ในกายพระสกิทาคามิผลก็มีกายพระอนาคามิมรรค ในกายพระอนาคามิมรรคก็มีกายพระอนาคามิผล,

    ในกายพระอนาคามิผลก็มีกายพระอรหัตมรรค ในกายพระอรหัตมรรคก็มีกายพระอรหัตผล เป็น ๑๘ กายด้วยกัน <!--MsgFile=11-->


    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  11. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    กายตั้งแต่กายมนุษย์ กายทิพย์ กายรูปพรหม กายอรูปพรหม ทั้งหยาบทั้งละเอียดหมดทั้ง ๘ กายนี้เป็นกาย ปัญจขันธ์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ใช่ตัวตน บุคคล เราเขา ไม่ใช่ตัวเรา ไม่ใช่ของเรา


    แต่กายทั้ง ๑๐ นับตั้งแต่กายธรรมโคตรภูขึ้นไปจนถึงธรรมกายพระโสดา ธรรมกายพระสกิทาคา ธรรมกายพระอนาคา ธรรมกายพระอรหัต ทั้งหยาบทั้งละเอียด นี้เป็นกายธรรมขันธ์


    กายปัญจขันธ์เป็นกายโลกีย์ กายธรรมขันธ์เป็นกายโลกุตตระ กายปัญจขันธ์สำหรับทำภูมิสมถะ คือ กัมมัฏฐาน ๔๐ กายโลกุตตระสำหรับทำภูมิวิปัสสนาไม่มีที่สิ้นสุด


    ************************************ <!--MsgFile=12-->

    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224444 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD align=left bgColor=#000000 colSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#224444 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>

    สมถกัมมัฏฐาน ๔๐


    แต่นี้ต่อไปจะกล่าวถึงกัมมัฏฐาน ๔๐ ก่อน ซึ่งจะใช้แต่เฉพาะกายโลกีย์ทั้ง ๘ คือ กายมนุษย์ กายมนุษย์ละเอียด, กายทิพย์ กายทิพย์ละเอียด, กายรูปพรหม กายรูปพรหมละเอียด, กายอรูปพรหม กายอรูปพรหมละเอียด


    >>> ถ้าจะทำกัมมัฏฐาน ๔๐ ต้องสับกายซ้อนกายเสียก่อนจึงจะทำได้คล่องแคล่ว คือให้ถอยกลับออกมาจากกายที่ ๘ ออกมากายที่ ๗, แล้วก็ออกมากายที่ ๖, แล้วก็ออกมากายที่ ๕ ....แล้วก็ออกมากายที่ ๑, แล้วกลับเข้ากายที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ....ถึงกายที่ ๘, แล้วก็กลับออกมาจากกายที่ ๘ ....ออกมากายที่ ๑ ให้ฝึกสับกายซ้อนกายอย่างนี้สัก ๗ เที่ยว หรือให้มากกว่า ๗ เที่ยวก็ได้ ให้เป็นวสี และก็ให้กายมันใสนั่นเอง ให้ใสเป็นแก้วทุกกาย


    เมื่อกายใสดีแล้ว ให้เข้าตั้งกสิณในดวงทุติยมรรคของกายทิพย์ พอดวงทุติยมรรคใสและใหญ่เท่าดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ นึกบริกรรมว่าปฐวีกสิณัง ดินก็เกิดขึ้นในดวงนั้นเป็นปฐวีกสิณ ใสเหมือนแก้ว, พอจิตละเอียดนิ่งแน่นเลยดินลงไป น้ำก็ผุดขึ้นเป็นอาโปกสิณในกลางดวงดินนั้น ดินก็เพิกหายไป เมื่อจิตละเอียดเลยน้ำลงไป ลมก็ผุดขึ้นเป็นวาโยกสิณในกลางดวงอาโปกสิณนั้น อาโปกสิณก็เพิกหายไป, ผุดขึ้นแล้วก็เพิกหายไปเป็นลำดับ คือ ที่ ๔ ก็เตโชกสิณ, ที่ ๕ ก็นิลกสิณ (สีเขียว), ที่ ๖ ปิตกสิณ (สีเหลือง), ที่ ๗ โลหิตกสิณ (สีแดง), ที่ ๘ โอทาตกสิณ (สีขาว), ที่ ๙ อาโลกกสิณ (แสงสว่าง), ที่ ๑๐ อากาสกสิณ (ว่างเปล่า), พอจิตละเอียดเลยกสิณลงไปหนักเข้า กสิณก็เพิกหายไป ทีนี้อสุภะ ๑๐ ก็เกิดขึ้น


    คือกายเรานั้นเองเกิดขึ้นเป็นศพ ที่ ๑ เป็นศพที่ขึ้นพอง, ที่ ๒ เป็นศพที่ขึ้นสีเขียว, ที่ ๓ เป็นศพที่ขึ้นอืดเต็มที่มีน้ำหนองไหล, ที่ ๔ เป็นศพที่ขาดปริ, ที่ ๕ เป็นศพที่ฝูงสัตว์กัดกิน, ที่ ๖ เป็นศพที่หลุดจากกัน, ที่ ๗ เป็นศพที่ขาดหลุดกระจัดกระจาย, ที่ ๘ เป็นศพที่เต็มไปด้วยเลือด, ที่ ๙ เป็นศพที่เต็มไปด้วยหมู่หนอน, ที่ ๑๐ เป็นศพที่เหลือแต่ร่างกระดูก เมื่อจิตละเอียดนิ่งแน่นเลยอสุภะลงไป อสุภะก็เพิกหายไป อนุสสติ ๑๐ ก็เกิดขึ้น


    พอจิตละเอียดเข้าถึงพุทธานุสสติ คุณพระพุทธเจ้าก็เกิดขึ้น, พอจิตเข้าถึงธัมมานุสสติ คุณพระธรรมก็เกิดขึ้น, พอจิตเข้าถึงสังฆานุสสติ คุณพระสงฆ์ก็เกิดขึ้น, แล้วก็เกิดขึ้นตามลำดับไป, ที่ ๔ ระลึกถึงคุณของศีล คุณศีลก็เกิดขึ้น, ที่ ๕ ระลึกถึงคุณทาน คุณทานก็เกิดขึ้น, ที่ ๖ ระลึกถึงคุณที่ทำให้เกิดเป็นเทวดา คุณที่ทำให้เป็นเทวดาก็เกิดขึ้น, ที่ ๗ ระลึกถึงกาย คุณที่ทำให้ระลึกถึงกายก็เกิดขึ้น, ที่ ๘ ระลึกถึงลมหายใจเข้าออก คุณที่ทำให้ระลึกถึงลมหายใจเข้าออกก็เกิดขึ้น, ที่ ๙ ระลึกถึงความตาย คุณที่ทำให้ระลึกถึงความตายก็เกิดขึ้น, ที่ ๑๐ ระลึกถึงคุณพระนิพพาน คุณที่ทำให้ระลึกถึงความดับทุกข์ก็เกิดขึ้น
    กายทิพย์นี้ทำได้ ๓๐ ที่ตั้งดั่งนี้แล


    พอจิตละเอียดนิ่งแน่นเลยอนุสสติ ๑๐ ลงไป เข้าถึงเมตตาพรหมวิหาร พอจิตคิดรักใคร่ในสัตว์ทั่วไป (ปรารถนาจะให้สัตว์ทั่วไปมีความสุข) ปฐมฌานก็เกิดขึ้นในกลางกายทิพย์ พร้อมกับรูปพรหมนั่งอยู่บนดวงฌาน ประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์ ดวงฌานนั้นกว้างสองวาหนาหนึ่งคืบ กลมเหมือนดวงจันทร์ ใสเหมือนกระจกส่องหน้า


    พอจิตนิ่งแน่นละเอียดหนักเข้าถึงกรุณาพรหมวิหาร อยากจะให้สัตว์พ้นทุกข์ ทุติยฌานดวงที่ ๒ ก็ผุดขึ้นในกลางดวงปฐมฌาน ปฐมฌานก็เพิกหายไป วิตก วิจาร ก็หายไปด้วย, เหลืออยู่แต่ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์


    พอจิตละเอียดนิ่งแน่นหนักเข้าไปถึงมุทิตาพรหมวิหาร ความพลอยดีใจเมื่อผู้อื่นได้ดี ตติยฌานก็ผุดขึ้นในกลางดวงทุติยฌาน ทุติยฌานก็เพิกหายไป ปีติก็ละหายไปด้วย


    พอจิตละเอียดนิ่งแน่นเข้าไปถึงอุเบกขาพรหมวิหาร ไม่ดีใจ ไม่เสียใจเมื่อผู้อื่นได้ทุกข์ จตุตถฌาน ฌานที่ ๔ ก็ผุดขึ้นมากลางดวงฌานที่ ๓ ฌานที่ ๓ ก็เพิกหายไป สุขก็หายติดไปด้วย เหลืออยู่แต่เอกัคคตารมณ์กับอุเบกขาที่ผุดขึ้นมากับฌานที่ ๔


    กายรูปพรหมนี้ทำได้อีก ๔ ที่ตั้ง รวมเป็น ๓๔ กัมมัฏฐาน
    พอจิตละเอียดนิ่งแน่นหนักเข้า เลยรูปฌานทั้ง ๔ เข้าไป


    กายอรูปพรหมก็ผุดขึ้นในดวงตติยมรรคในกลางกายรูปพรหม อรูปพรหมนั่งอยู่บนอากาศ (อากาสานัญจายตนะ) เห็นอากาศมีอยู่เต็มว่างกว้างสองวา หนาหนึ่งคืบ กลมเหมือนดวงจันทร์ ถ้าวัดกลมรอบตัวก็หกวา ถึงรูปฌาน ๔ วัดกลมรอบตัวก็หกวาเหมือนกัน


    พอจิตละเอียดเลยอากาศหนักเข้าไป ก็คิดว่าอากาศนี้ยังหยาบนัก วิญญาณัญจายตนะก็ผุดขึ้นในกลางดวงอากาศ เป็นอรูปฌานที่สอง กว้างสองวา หนาหนึ่งคืบเหมือนกัน อากาศนั้นก็เพิกหายไป


    พอจิตละเอียดนิ่งแน่นหนักเข้าเลยวิญญาณัญจายตนะเข้าไป ก็คิดว่าวิญญาณนี้ยังหยาบนัก อากิญจัญญายตนะ คือความว่างเปล่าไม่มีอะไรที่ละเอียดหนักยิ่งขึ้นไปอีกก็ผุดขึ้นในกลางดวงวิญญาณัญจายตนะ เป็นอรูปฌานที่สาม วิญญาณัญจายตนะก็เพิกหายไป


    >>> ตรงอรูปฌานที่ ๓ นี้ที่พระพุทธเจ้าไปติดอยู่ที่สำนักของอาฬารดาบส ต้องไปเรียนต่อที่สำนักของอุทกดาบส อุทกดาบสก็บอกให้ทำจิตให้ละเอียดให้ยิ่งขึ้น จนได้เนวสัญญานาสัญญายตนฌานเกิดขึ้นอีก เป็นกัมมัฏฐาน ๓๘


    ที่ตั้ง ที่ ๓๙ อาหาเรปฏิกูลสัญญา เห็นอาหารที่เขาบริโภค อาหารนั้นเป็นของละเอียดนัก ซึมซาบอยู่ในข้าวในน้ำ เหมือนเค็มซึมอยู่ในเกลือ หวานซึมอยู่ในน้ำตาล หล่อเลี้ยงร่างกายเราอยู่ทั่ว เบื้องบนถึงปลายผม เบื้องต่ำถึงปลายเท้า ข้าวน้ำนั้นก็กลั่นเป็นมูตรคูถไป,


    ที่ ๔๐ จตุธาตุววัตถานะ เห็นธาตุหล่อเลี้ยงอาหารและร่างกายเรา เบื้องบนถึงปลายผม เบื้องต่ำถึงปลายเท้า ขนเส้นหนึ่ง ผมเส้นหนึ่ง ยาวไปแค่ไหน ธาตุก็รักษาไปตลอดแค่นั้น



    >>>> เป็น ๔๐ กัมมัฏฐานด้วยกัน เรียกว่า สมถะภูมิ
    แต่ข้างในกายเราจึงจะเอา ถ้าเกิดข้างนอกเป็นทัศนูปกิเลส ใช้ไม่ได้ <!--MsgFile=13-->


    <CENTER><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 border=0><TBODY><TR><TD><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#222244 border=0><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD vAlign=top bgColor=#000000 rowSpan=2><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" bgColor=#224422 border=0><TBODY><TR><TD width=10>[SIZE=-3] [/SIZE]</TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE></CENTER>
     
  12. Peacefulness

    Peacefulness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +246
    [​IMG]
     
  13. Peacefulness

    Peacefulness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +246
    [​IMG]
     
  14. Peacefulness

    Peacefulness เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +246
    งานบุญกฐินพระราชทาน วัดปากน้ำภาษีเจริญ

    ข้าพเจ้าขอ อนุโมทนาบุญ กับ ทุกๆท่าน ด้วยครับ สาธุ...สาธุ...สาธุ...ครับ [​IMG] [​IMG] [​IMG]

    เชิญทุกๆท่าน ร่วมอนุโมทนาบุญ งานบุญกฐินพระราชทาน ที่ วัดปากน้ำภาษีเจริญ ประจำปี 2549 ได้ที่นี้ครับ คลิ๊กที่นี้<!-- / message --><!-- edit note -->
     
  15. treichimplee

    treichimplee Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +77
    ดีใจคะ

    (verygood) อ่านแล้วคะ เข้าใจแล้วคะ ตอนนี้พักเที่ยงอยู่คะ เลยแวบมา
     
  16. cheterk

    cheterk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    512
    ค่าพลัง:
    +1,568
  17. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
    โปรดอ่านอีกครั้งหนึ่ง
     
  18. ปราชญ์ขยะ

    ปราชญ์ขยะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    95
    ค่าพลัง:
    +256
  19. อักขรสัญจร

    อักขรสัญจร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    4,514
    ค่าพลัง:
    +27,181
    ไว้วันหลังค่อยมาอ่านอีกครั้งนะฮะ
    วันนี้ขอรอบเดียวก่อน
     
  20. nic6789

    nic6789 สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +5
    แล้วเรื่อง บินไปถวายข้าว พระพุทธเจ้า ที่อายัตนนิพพาน ทุกอาทิตย์ต้นเดือน
    แม่ชีจันทร์ ปัดระเบิด
    อวด อภินิหาร ไปนรก สวรรค์ ระลึกชาติ
    ทำบุญแบ่งสาย MLM , ชู ธงธรรมกาย เป็นยังไง
     

แชร์หน้านี้

Loading...