ยกมือเข้า เอามือออก (หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ)

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย nondanun, 3 พฤศจิกายน 2010.

  1. nondanun

    nondanun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    5,980
    กระทู้เรื่องเด่น:
    13
    ค่าพลัง:
    +32,612
    [​IMG]


    ยกมือเข้า เอามือออก

    หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ


    แรกเริ่มหลวงพ่อมีเหตุจูงใจอะไรที่ทำให้เดินเข้าสู่หนทางแห่งพุทธธรรม


    หลวงพ่อเป็นเณรตั้งแต่อายุ 11 ปีกว่า ถึงไปบวช
    คือ ญาติๆ กันท่านไม่มีเณรใช้ เลยเอาไปบวชเป็นเณรใช้
    พอดีบวชตอนนั้น ธรรมดาวัดนี้ไม่มีโรงเรียน หลวงพ่อเขียนหนังสือไม่เป็น
    อ่านไม่ได้ ไปเรียนตัวธรรมกับตัวลาว เคยรู้ไหมตัวลาว หนังสือเมืองลาว ไทยน้อยน่ะ
    เขาเรียกว่าไทยน้อย หลวงพ่อได้เรียนอันนั้น
    พอเรียนอันนั้นแล้วก็ฝึกกรรมฐาน วิธี "พุทโธ"
    หายใจเข้า "พุท" หายใจออก "โธ" เรียกว่า เอาพระพุทธเจ้ามาไว้กับจิตกับใจเรา


    ในระยะนั้น หลวงพ่อให้ฝึกหลายวิธี เพราะท่านเป็นพระกรรมฐาน
    ก็ฝึกสัมมาอะระหัง หายใจเข้า หายใจออก
    จากนั้นก็มีอาจารย์มาอีกองค์หนึ่งเป็นเพื่อนๆ ของท่านนั่นเอง
    แนะนำให้ฝึกหัดวิธีนับ 1, 2, 3
    หายใจเข้า 1 หายใจออก 2 หายใจเข้า 3 หายใจออก 4
    นับ 1, 2, 3 ถึง 10 แล้วก็นับจาก 10 ลงมาถึง 1
    หัดนับย่อ แล้วก็นับขึ้นไปถึง 20 ให้ผูกกับลมหายใจ
    นับจาก 20 ลงมาถึง 1 ท่านว่าขลังอีกซะด้วย อันนี้เราไม่รู้ ก็ต้องทำแหละ
    บวชเป็นเณรระยะปี 6 เดือน 2 พรรษา
    ที่ฝึกกรรมฐานจากท่านก็เลยออกมาเป็นหนุ่ม
    ช่วงเป็นหนุ่มท่านก็พยายามให้ฝึกหัดฟังเทศน์
    ครูบาอาจารย์แต่ละองค์มาเทศน์ต้องไปฟัง
    หรือใครพูดที่ไหนก็ต้องไปฟังท่านสอน ให้ทำอยู่อย่างนั้นแหละ
    ก็ไม่รู้ ก็รู้แต่ที่ว่าตามแบบ
    ต่อมาอายุ 20 ปี หลวงพ่อก็ไปบวชเป็นพระหนุ่มตามธรรมดา 16 เดือน
    ก็ทำตามที่ครูบาอาจารย์สอน
    สึกออกมามีครอบครัวก็ทำอยู่เรื่อยๆ มา
    หลวงพ่อมาที่อุดร มาเที่ยวที่อุดร ก็เลยมีพระองค์หนึ่งได้วิธีพองยุบขึ้นไป
    ท่านก็สอนวิธีพองยุบให้ หลวงพ่อก็ทำอยู่ในระยะนั้นในเกณฑ์ 8 ปีได้
    ทำวิธีพองยุบ แล้วก็ทำอานาปานสติ อานาปาฯ ทั้งหมดแหละ
    ถ้าพูด พุทโธ ก็เป็นอานาปาฯสัมมาอะระหัง ก็เป็นอานาปาฯ
    นับ 1, 2, 3 ก็เป็นอานาปาฯ พองยุบ ก็เป็นอานาปาฯ ทั้งนั้น
    หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ แต่โดยหลักพุทธศาสนา
    แต่ไม่รู้ว่าทางไหนไปที่ไหน หลวงพ่อไม่รู้


    ต่อมา หลวงพ่อเป็นคนชอบทำบุญ ทำบุญประจำทุกปี
    บ้านหลวงพ่อบุญเรื่องชาดกเวสสันดร บุญประจำปี
    เดือน 5 เดือน 6 บุญเข้าพรรษา ออกพรรษา บุญต่างๆ หลวงพ่อทำมาบ่อย
    เข้าใจแต่ทำบุญเท่านั้น ไม่รู้ว่าบุญคืออะไรก็ไม่รู้ อยู่ที่ไหนใกล้ไกลยังไงก็ไม่รู้
    หลวงพ่อไม่รู้จริงๆ แต่ทำได้ เพราะทำตามเพื่อนๆ
    พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ครูบาอาจารย์สอนยังไง ก็ต้องทำเพราะเราไม่รู้
    และอยากจะเป็นคนดี ไม่อยากจะเป็นคนเลว


    ต่อมาเมื่ออายุในเกณฑ์ 46 ปี หลวงพ่อมีความคิดอยากทดลอง ธรรมนี้เป็นอย่างไร
    หลวงพ่อทำมานานแล้ว แต่มันไม่รู้
    อย่างว่าแหละถึงอายุ 46 ปี ก็เลยตัดสินใจจะทำ
    จะออกนอกบ้านจากบ้านเราไป ไปหาที่ปฏิบัติธรรมะ
    มาที่จังหวัดหนองคาย มาพบเพื่อนๆ ก็เลยมีพระองค์หนึ่ง ท่านเป็นปลัดอำเภอ
    ชื่อหลวงพ่อวันทอง ท่านเกษียณแล้วเลยบวช
    ไปสอนวิธีพองยุบอีกแล้ว นึกว่าจะแปลก แต่ไปๆ มาๆ มันไม่แปลก ก็เหมือนเดิม


    ต่อมา หลวงพ่อก็เลยเคลื่อนไหวในตัวนี่แหละ เคลื่อนไหวไปมา
    กำหนดให้มีความรู้สึกตัวมากเข้า
    แต่ขอกรรมฐานท่าน วัน 8 ค่ำ วัน 9 ค่ำ ก็มาทำแบบที่ท่านสอน
    ไม่ใช่ทำอย่างนั้นหรอก ทำวัน 8 ค่ำ ถ้าจะได้กรรมฐานก็ต้องทำเต็มที่แหละ
    ทำไปทำมา มันก็ขี้เกียจ วัน 9 ค่ำ ก็ต้องทำ
    วัน 10 ค่ำ หลวงพ่อก็เกิดเข้าใจ เข้าใจธรรมะโดยที่ไม่เคยนึกฝันว่าจะเป็นอย่างนั้น
    เกิดความเข้าใจ เรื่องรูป เรื่องนาม รูปธรรม นามธรรม รูปโรค นามโรค นี้มี 2 อย่าง
    โรคทางเนื้อหนังต้องไปหาหมอที่โรงพยาบาล โรคทางใจต้องเจริญสติ
    ให้รู้สึกสำนึกจิตใจนึกคิดมันเข้าใจไปอย่างนั้น
    เกิดรู้อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา นี้รู้จริง
    แต่ก่อนหลวงพ่อรู้ แต่ไม่รู้อย่างนี้ ผมหงอก ฟันหัก
    เนื้อหนังมันแห้งไปเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    นานๆ เป็นทุกข์ เมื่อมารู้คราวนี้ มันไม่เป็นอย่างนี้ อันนั้นมันเป็นทุกขเวทนา
    ทุกข์ประเภทนั้นมันแก้ไม่ได้
    ตัวอนิจจัง ตัวทุกขังนั้น ตัวอิริยาบถ ตัวทุกอิริยาบถนี่เลย
    หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น เคลื่อนไหว เหยียดกาย เหยียดหัว
    กระพริบตา หายใจ ก้มเงย กลืนน้ำลายเป็นทุกข์ทั้งนั้น
    มันนึกมันคิดเป็นทุกข์ทั้งนั้น ติดอยู่กับตัวรูปนี้เอง หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น
    แปลกขึ้นมา พอดีเข้าใจอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    หลวงพ่อเกิดรู้สมมุติขึ้นมา สมมุติอะไรรู้ให้ครบ รู้ให้จบ รู้ให้ถ้วน
    บวชแล้วสึก สึกแล้วบวช อันนี้มันเป็นสมมุติสงฆ์
    มันไม่ใช่สงฆ์โดยปรมัตถ์ สมมุติเข้าใจอย่างนั้น


    เมื่อรู้อันนี้ก็เลยรู้ผี เทวดาขึ้นมา
    ผีคือเป็นอย่างนั้น เทวดาก็ต้องเป็นอย่างนั้น
    หนูเคยเห็นผีไหม คนไม่มีตาทิพย์ไม่เห็น เคยเห็นเทวดาบ้างไหม
    เราไม่มีตาทิพย์ หลวงพ่อเกิดเผอิญมีความจริงใจขึ้นมา
    ผีคือคนทำชั่ว พูดชั่ว คิดชั่ว ก็คือผี นางนี้คือผี
    โอ้ ! ตัวผีคือไม่ใช่ตัวคน
    เป็นตัวลักษณะประเภทของจิตใจนึกคิด ตัวนั้นเป็นผี
    เทวดาคือ คนนี้สวยงามเป็นเทวดา
    เคยได้ยินบ้างไหม คนใดอยู่ดีกินดี ไม่โกหก ไม่หลอกลวง
    ก็เอะ ! คนเฒ่า คนแก่ คนนี้คือพระธรรมก็เข้าใจเป็นอย่างนั้น
    โอ้ ! ตัวพระธรรมจริงๆ คือตัวคนนั่นเอง
    หลวงพ่อก็เข้าใจ เรื่องสมมุตินี้ให้ว่าทุกอย่างที่สมมุติขึ้นในโลก
    หลวงพ่อเข้าใจโดยไม่เก้อเขิน
    ใครจะพูดอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา
    เราจะศึกษาให้รู้ก็ต้องเข้าใจอย่างนั้น


    พอรู้เรื่องสมมุติแล้วก็เลยรู้เรื่องศาสนาขึ้นมา
    ศาสนาแปลว่า คำสั่งสอนของท่านผู้รู้
    ใครจะรู้เรื่องอะไร ก็ต้องนำเรื่องนั้นมาสอน
    พุทธศาสนาแปลว่าที่พึ่ง หรือศาสนาก็แปลว่า ที่พึ่ง พึ่งได้จริงๆ
    บางคนก็พึ่งผี บางคนก็พึ่งเทวดา บางคนก็พึ่งฤกษ์งามยามดี
    เสียเคราะห์ สะเดาะโศกเป็นอย่างนั้น คนเราเป็นอย่างนั้น พึ่งไปอย่างนั้น
    หลวงพ่อแต่ก่อน หลวงพ่อก็กลัวผี เรียนมนต์
    หลวงพ่อเรียนมนต์กันผี แล้วก็เรียนมนต์คงมีด คงพร้า คงปืน
    หลวงพ่อเรียนเพราะว่าหลวงพ่อเป็นคนเที่ยวๆ อยู่บ้าง
    หลวงพ่อยังคงจำได้อยู่นะ บางคำนะ


    ตัวมนต์เหล่านั้นเป็นเรื่องสมมุติ สำหรับคนที่ยังไม่เข้าใจ
    ให้เขาพึ่งอย่างนั้นไปก่อน เมื่อเรารู้ดีก็ไม่ต้องไปพึ่งอย่างอื่น
    พึ่งตัวเรา "ตนเป็นที่พึ่งของตน" โอ้ ! มันพึ่งตัวเองจริงๆ เพราะการทำดี
    โอ้ ! หลวงพ่อก็เลยเข้าใจหลักพุทธศาสนา
    ศาสนาก็คือตัวคน ไม่ได้พูดถึงวัดวาอาราม พระพุทธรูป
    อันนั้นก็ศาสนาเหมือนกัน อันนั้นเป็นเพียงศาสนาสมมุติขึ้นมา
    อันนั้นก็จริง จริงโดยสมมุติ ศาสนาจึงคือคน
    ตัวทุกคนแหละคือศาสนา
    ถ้าเราไปด่าคนไปโกรธคน ก็เท่ากับเราไปโกรธศาสนา
    แล้วเราก็ไม่มีศาสนาแล้ว
    เราอย่าไปโกรธคนนั้นคนนี้ เราไม่รู้ศาสนาแล้ว
    คล้ายว่าไปทำร้ายคน ว่าด้วยการกระทำก็ดี
    คำพูดก็ดี เรียกว่าทำลายศาสนาทั้งนั้น
    หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น ศาสนาจึงคือตัวคนทุกคน


    ศาสนาแปลว่าคำสอน สอนที่ไหน
    ตามองดูว่าเขาทำดี หรือทำชั่วก็ต้องรู้ หูมีหน้าที่ฟัง
    คนใดพูดธรรมะ คนใดพูดที่ไม่เป็นธรรมะ
    คนใดพูดธรรมลึกๆ หรือตื้นๆ ต้องรู้ หรือเข้าใจอย่างนั้น
    อ้อ ! ผู้หญิงก็เป็นศาสนา ผู้ชายก็เป็นศาสนา
    คนไทย คนจีน ให้ชื่อว่าคนก็เป็นศาสนาทั้งนั้น
    เขาจะถือศาสนาคริสต์ อิสลาม หรือว่าศาสนาใดก็ตาม
    หลวงพ่อก็เลยเกิดรับรองว่า
    ทุกคนต้องรู้คำสอนเรื่องพุทธศาสนา
    รู้จักศาสนาดีแล้ว รู้จักบาปขึ้นมา รู้จักบุญขึ้นมา
    บาปคืออะไร บาปคือคนไม่รู้
    บาปคือยังโง่หลงอยู่นั่นเอง บาปคืออยู่ที่มืด
    ยังไม่มีความสว่างในใจก็เป็นบาปทั้งนั้น
    บุญคืออะไร บุญคือเรารู้ บุญคือเราแจ้ง
    บุญคือเราฉลาด บุญคือเราไม่โง่นั่นเอง
    เรารู้เท่าทันเหตุการณ์นั่นเอง


    ตอนเช้าหลวงพ่อรู้ ประมาณตี 5 จากนั้นหลวงพ่อเกิดความรู้แปลกขึ้นมา
    อันนี้หลวงพ่อลืมตัวไป ก็เลยคิดว่าจะไปสอนคนนั้นอย่างนั้น
    ไปสอนผี สอนเทวดา เข้าใจไปอย่างนั้น ตอนนั้นหลวงพ่อไม่รู้
    ไม่รู้ว่าหลวงพ่อเป็นอะไร ก็ภูมิใจในความรู้อันนั้น
    ตกเย็นไปอาบน้ำมา หลวงพ่อก็นุ่งกางเกง
    คล้ายๆ คือ มีคนมาผลักตรงข้างๆ หลวงพ่อ
    มองคนก็ไม่เห็น เอ๊ะ ! มันเป็นอะไร
    คิดขึ้นมาครั้งที่ 2 หลวงพ่อรู้ โอ้ ! มันคิดแล้ว
    คิดเป็นครั้งที่ 3 หลวงพ่อรู้ โอ้ ! ความคิดมันเป็นอย่างนี้
    พอมันคิดปุ๊บ มันดึงเราไปเลย เราไม่มีที่กำหนดรู้
    เราไปเพลินกับความรู้ หลวงพ่อก็สมมุติเอานะ
    ทำเหมือนแมวกับหนู หนูมันตัวโต แมวมันตัวเล็ก
    พอดีหนูออกมา แมวมันตัวเล็กจับหนู
    พอหนูวิ่งแมวตัวเล็กก็ติดหนูไป มันเอาชนะแรงหนูไม่ได้
    ความคิดเหมือนกัน ตัวสติมันพอดีตัวความคิด
    คิดไปตัวนี้ก็เข้าไป บัดนี้เราต้องสมมุตินะ ไม่ต้องไปโกรธหนู
    ไม่ต้องไปโกรธแมว แต่ให้อาหารแมวมากๆ
    ให้อาหารแมวก็ต้องทำความรู้สึก
    ถ้าพูดทางธรรมะ ก็เรียกว่าสติ สร้างสติให้มาก
    ถ้าพูดตามภาษาของหลวงพ่อก็ต้องให้มีความรู้สึกมาก
    ความไม่รู้สึกนั้นก็จะหายไป
    พอคิดปุ๊บ มันมีความรู้สึกอย่างนี้มาก
    มันก็มีความคิดเห็น โอ้ ! มันคิดได้นั่น ทิ้งไปเลย
    มาอยู่กับความรู้สึก ตรงกับคำสอนของพระพุทธเจ้า
    ให้เรามีสติกำหนดรู้ในอิริยาบถทั้ง 4 ยืน เดิน นั่ง นอน
    อ้อ ! อันนี้เอง ไม่ใช่สติอันนั้น
    อันนี้มันเป็นความรู้สึกนี้เอง ตัวสติเท่านั้นก็ยังไม่พอ
    ให้มีสติกำหนดรู้ในอิริยาบถย่อย คู้ เหยียด เคลื่อนไหว
    โดยวิธีให้มีสติรู้ ตัวครูบาสอนอย่างนั้น แล้วก็จำได้
    แต่ว่าไม่รู้ทำ พอดีท่านสอนความเคลื่อนไหว
    พอคิดปุ๊บ บางทีมันผิด มันก็จูงความคิดไป
    ทำความรู้สึก ความคิดมันก็หยุดมาหาความรู้สึกตัว
    อ้อ ! เข้าใจ พระพุทธเจ้าท่านสอน ทุกข์ย่อมกำหนดรู้
    มากำหนดตัวทุกข์ตัวนั้นเอง ตัวทุกข์ตัวนั้นมันกำหนดไม่ได้
    ก็เข้าไปในความคิดเลย หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น
    ใครจะพูดยังไงหลวงพ่อก็ว่าดีของเขา ไม่ใช่ดีของเรา
    เรารู้เรื่องนี้ก็ต้องเอาอันนี้ไปจับ ไปจับเป็นทางวิธีปฏิบัติ
    ที่เราทำนี่ไม่ต้องขึ้นกับเงื่อนไขที่ไหน
    เพราะพระพุทธเจ้าท่านก็สอนไว้แล้วในหนังสือกาลามสูตร
    อย่าเชื่อถือโดยเขาเล่าลือกันมา
    อย่าเชื่อถือโดยเขาพูดตามกันมา อย่าเชื่อถือโดยเห็นว่ามีในตำรา
    อย่าเชื่อถือโดยเห็นว่าเขาทำกันอย่างนั้น
    แม้ที่สุด 10 ข้อนะ ที่หลวงพ่อเคยเขียนเอาไว้
    ไม่ให้เชื่อถือทางครูบาอาจารย์
    อึ้ม ! มันจริง ไม่ต้องเชื่อใครทั้งหมด เชื่อเพราะเรารู้
    เชื่อเพราะการกระทำของเรา เข้าใจไหม
    ตัวทุกข์กำหนดรู้ สมุทัยต้องละ ตัวสมุทัยก็ตัวคิดนี่เอง
    มันละไม่ได้ พอดีมันมากำหนดทางนี้ปุ๊บ มันวาง
    มันเลยมาหยุดที่ความรู้สึกนี่ มรรคต้องเจริญทำบ่อยๆ
    ทำความรู้สึกอันนี้บ่อยๆ อันนี้ขัดจังหวะประเดี๋ยวคิดปั๊บ
    เราก็เห็น ไม่ใช่ตาเห็น ใจมันเห็น
    คิดมันอยู่ที่ตรงนี้ ทำอย่างนี้
    นี่เราทุกข์ต้องรู้ สมุทัยต้องละ
    มรรคต้องเจริญ นิโรธธรรมต้องทำให้แจ้งด้วยรู้



    ตอนเย็นนั้น น้ำหนักหลวงพ่อประมาณ 100 กิโล
    หลวงพ่อเขียนเอาไว้นะ หลวงพ่อเดินไปเดินมา
    มันมีต้นข่อย ต้นพุทรา เดินไปคล้ายๆ
    คือหลวงพ่อมีของหนักๆ ในตัวหลวงพ่อ 100 กิโล
    หลวงพ่อสลัดทิ้งไป 60 กิโลอย่างน้อยที่สุด เราเกิดมาในชีวิตนี้
    ทำพุทโธ อะระหัง พองยุบ รักษาศีลอุโบสถ
    ทำอะไรมันไม่เป็นอย่างนี้ เรื่องวัตถุ วัตถุ หมายถึงทุกอย่างเลย
    ต้นไม้ ภูเขา ห้วย หนอง คลอง บึง
    ดิน ฟ้า อากาศ เป็นวัตถุทั้งนั้น วัตถุอีกชนิดหนึ่ง
    เงินทอง เสื้อผ้า เป็นวัตถุ
    วัตถุอีกชนิดหนึ่งนี่คือตัวเราเป็นวัตถุ
    อันนี้เป็นวัตถุ วัตถุในที่นี่คือใจ วัตถุมันมากที่สุด
    ปรมัตถ์หมายถึงสิ่งที่มองเห็น กำลังเผชิญหน้า
    เป็นภายนอกภายในวัตถุเหมือนกัน
    ปรมัตถ์หมายถึงของจริงๆ ไหม พูดถึงจิตใจทีเดียว
    อ๋อ ! จิตใจเป็นปรมัตถ์ ก็เลยดูอาการ
    อ๋อ ! สภาพความเปลี่ยนแปลงของโลกเป็นอย่างนี้
    หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ ดิน ฟ้า อากาศ ก็เป็นอย่างนั้น
    ต้นไม้ ภูเขา หนอง คลอง บึง ก็เป็นอย่างนั้น
    เสื้อผ้า เงินทอง อัตตา สิ่งเหล่านั้นเป็นอาการข้างหนึ่ง
    แต่มันไม่รู้ว่าเป็นอะไร แต่คนมีหน้าที่รู้เป็นอะไร
    ก็เลยดู โอ้ ! เรื่องโลภะ โทสะ โมหะ มันเป็นอย่างนี้
    เมื่อเราเห็น เรารู้ลักษณะของมัน แล้วมันก็เลยหนีไป
    โอ้ !ผ้าขาวที่มันสะอาดนะ คนทุกคนเกิดมามันสะอาดแล้ว
    แต่มันมาเปรอะเปื้อนสิ่งต่างๆ เข้ามา มันก็สกปรก
    โอ้ ! จิตใจคนทุกคนเหมือนกัน หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น



    ก่อนที่หลวงพ่อเข้าใจแนวทางนี้
    ไม่ทราบว่าหลวงพ่อได้รับคำแนะนำจากอาจารย์ท่านใดหรือไม่



    หลวงพ่อก็มีแรงจูงใจ หลวงพ่อวันทอง แนะนำให้ทำพองยุบ
    แต่ตอนหลวงพ่อเข้าใจ หลวงพ่อไม่มีครู ไม่มีอาจารย์
    คือหลวงพ่อทำอยู่ที่นั่นแล้วก็ได้ ไม่มีใครสอน
    ทดลองขึ้นมา ปฏิบัติขึ้นมา ทำอีกหลายหน
    มีพระ 23 รูป มีอยู่ 5 รูป ไปปฏิบัติพร้อมกัน รู้ไม่เหมือนกัน
    หลวงพ่อรู้แต่คนเดียว และก็มีเพื่อนที่รักคนหนึ่ง
    เขาก็เป็นร้อยเอกอยู่ที่กรุงเทพฯ นี่เอง คนนี้หลวงพ่อได้วิธีทำมาหากิน
    แต่คราวไปปฏิบัติธรรมะก็ไปปฏิบัติพร้อมกัน
    แล้วไปหาหลวงพ่อ หลวงพ่อหนีไม่คุย
    เพราะว่าทุกวันเขาต้องมาหาหลวงพ่อ
    หลวงพ่ออยู่กุฏิเล็กๆ หลวงพ่อจ้างคนปลูกกุฏิ หลวงพ่อไปทำ
    หลวงพ่อไม่พูดไม่คุยกับใครทั้งหมด
    ทำเป็นหน้าที่ของตัวเอง ก็เลยรู้ รู้แล้วหลวงพ่อก็ไม่เชื่อใคร
    เรื่องคำพูดของคน หลวงพ่อไม่เชื่อจริงๆ
    แม้ตำรับตำราก็เชื่อเป็นบางตอน
    ไม่ใช่จะปฏิเสธ มีไว้ก็ดีแล้ว หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น


    หลวงพ่อเคยได้ศึกษาหลักธรรมตามหลักสูตร ของสถาบันสงฆ์หรือไม่


    นักธรรมตรี นักธรรมโท นักธรรมเอก ไม่เคย
    สมัยนั้นไม่มีนักธรรม ไม่มีนักธรรมตรี นักธรรมโท
    ตัวไทยหลวงพ่ออ่านไม่เป็น เพิ่งอ่านเป็นตอนที่หลวงพ่อออกมาบวชครั้งนี้
    มีพระไปฝึกกรรรมฐานกับหลวงพ่อสอนให้


    ตามทรรศนะของหลวงพ่อคิดว่า
    การรู้หนังสือหรือไม่รู้หนังสือ นี้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมหรือไม่


    ไม่สำคัญ รู้ก็ปฏิบัติได้ ไม่รู้ก็ปฏิบัติได้ ไม่สำคัญเรื่องนี้
    คนจนก็ปฏิบัติได้ คนรวยก็ปฏิบัติได้
    หลวงพ่อไม่ได้กำหนด จะถือศาสนาไหนก็ทำได้ มารับรองได้



    ความรู้นั้นมันเป็นเรื่องตำรา มันเป็นประวัติศาสตร์
    แต่ตอนที่ปฏิบัตินี้มันไม่เกี่ยวข้อง มันเกี่ยวข้องกับตัวเรา
    ให้เราลดน้อยลง ความโกรธนี่เรื่องโทสะ โมหะ โลภะ นี่น่ะให้มันหมดไป
    แล้วความยึดมั่นถือมั่นหมดไป สิ่งนี้หมด
    แล้วศีลก็จะปรากฏขึ้นมาว่าเรามีศีลหรือไม่มีศีล
    มันก็ไปตรงกับตำราว่าศีลเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างหยาบ
    สมาธิเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างกลาง
    ปัญญาเป็นเครื่องกำจัดกิเลสอย่างละเอียด
    ฉะนั้น ตำราไม่ใช่ตัวเราเป็น เมื่อตัวเราเป็นจึงจะรู้
    โอ้ ! กิเลสอย่างหยาบ คืออันนี้ๆ หมดไป
    ขณะนี้เราจึงจะรู้ว่า ศีลคืออะไร ศีลก็ปกตินี่เอง
    หนูเดี๋ยวนี้เป็นยังไง จิตใจปกติหรือไม่ปกติขณะนี้
    ถ้าไม่ปกติแล้วไม่มีศีล ในขณะเราเป็นปกติ
    แล้วถ้าหนูทำอย่างนี้ๆ ตลอดเวลา ก็มีศีลเอง
    อันศีล 5 ศีล 10 ศีล 200 ศีล 300 อันนั้นเป็นศีล
    หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น ในขณะหลวงพ่ออยู่
    หลวงพ่อก็ เออ มีศีลแล้ว หลวงพ่อเป็นพระได้ในวันนั้นเลย
    ผมยังยาวยังนุ่งกางเกงอยู่ ยังมาสอน
    นี่หลวงพ่อก็ว่าได้นะ จน 2 ปีกว่า หลวงพ่อสอนญาติสอนโยม
    หลวงพ่อเสียสละสร้างสำนักปฏิบัติธรรมในขณะเป็นโยม
    เพราะหลวงพ่อเห็นว่าที่เราทำมานี่ดีแล้ว
    แต่เราไม่เข้าใจเมื่อมาทำอย่างนี้ หลวงพ่อรับรองได้
    ใครจะมาปฏิบัติธรรม หลวงพ่อพูดความจริง
    ไม่ใช่แต่เฉพาะคนถือศาสนาพุทธ ถือศาสนาอะไรก็ได้
    หลวงพ่อให้เวลา 90 วันอย่างเร็วนะ อย่างกลางให้เวลา 1 ปี
    อย่างช้าไม่เกิน 3 ปี ตำราเขาบอกว่า 7 ปี
    หลวงพ่อจะให้เวลาอย่างช้าไม่เกิน 3 ปี แต่ต้องทำวิธีนี้จริงๆ




    ถึงขั้นหลุดพ้นเลยหรือเปล่า


    ไม่ กำหนดหลุดพ้นหลวงพ่อไม่ทำ กำหนดหลุดพ้น
    หลุดพ้นหมายถึงอะไร นิพพานหมายถึงอะไร คนไม่รู้
    หลวงพ่อไม่รู้ แต่คนอื่นอาจจะรู้ คนไม่รู้มี
    นิพพานไม่ใช่หมายถึงอย่างที่เราพูดกัน นิพพานก็คือความดับ
    คนใดรู้สภาพภาวะการเกิดดับ อันนั้นรู้จักว่าคนทุกคนต้องมาที่นี่
    นั่น ผลนิพพาน ทุกคนต้องไปที่นั่น
    ถึงจะรู้ก็ต้องไปที่นั่น ไม่รู้ก็ต้องไปที่นั่น คือนิพพาน
    แต่เราเรียน ตายเสียก็ตายไป เมื่อยังมีลมหายใจเราต้องรู้ก่อน
    แต่ไม่รู้ก็ต้องไปที่นั่น ก็ต้องตายจริงๆ แต่ว่ารู้ตั้งแต่วันนี้ดีกว่า
    อันนั้นคือนิพพาน หลวงพ่อพูด ไม่เหมือนกับคนอื่นพูด
    หลวงพ่อพูดตามใจจริงนะ
    อันนี้แต่ว่าบางคนอาจเป็นได้ บางคนอาจเป็นไม่ได้


    หลวงพ่อคิดว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าจริง แต่คนปฏิบัติไม่จริง
    มรรคผลนิพพานไม่ล้าสมัย
    ขอให้มีคนอยู่เถอะก็ใช้ได้
    คำสอนมันไม่มีแล้ว เพราะคนไม่ทำ มันไม่มีแล้ว
    นิพพานหมายถึง มีคนอยู่ที่ไหนก็ต้องมีนิพพานที่นั่น


    นิพพานของหลวงพ่อหมายถึงสามารถจะเกิดได้ทุกขณะ


    ทุกขณะทีเดียว นิพพานถาวรก็ได้
    แต่ถ้ารู้จริงๆ แล้วมันไม่เปลี่ยนแปลงเลย เรียกว่ามั่นคง
    ถ้าว่านิพพานอย่างธรรมดา หนูจิตใจเป็นปกติเฉยๆ
    เย็นอยู่อย่างนั้น นี้นิพพานชั่วขณะ


    นิพพาน พระพุทธเจ้าท่านประสบมา นั่นเป็นนิพพานมั่นคง
    นิพพานถาวรไม่เปลี่ยนแปลง
    คือทุกคนต้องมาเช่นนั้นจริงๆ ถ้าหากเรายังไม่รู้ เดี๋ยวนี้ยังไม่ไปนิพพาน
    แน่นอนที่สุด หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น
    ตอนเช้าหลวงพ่อเดินกลับไปกลับมา
    โอ้ ! นี่มันเป็นอย่างนี้ มันหลุดไปหมด ถ้ามีคนรู้อย่างนี้
    อย่างน้อยก็ประมาณหลายสิบคนที่หลวงพ่อสอน
    โอ้ ! ไม่เคยมีอย่างนี้เลย ท่านว่าความทุกข์อันนี้เป็นอย่างนี้
    ความสุขอันนี้มันเป็นอย่างนี้ ความไม่มีทุกข์มันเป็นอย่างนี้
    มันเข้าสู่สภาพจริงๆ คนเราไม่เข้าใจ
    ถ้าพระพุทธเจ้าตัดผมครั้งเดียว ผมพระพุทธเจ้าไม่ยาวอีกต่อไป
    โอ้ ! มันของจริงๆ มันเข้าสู่สภาพของมัน
    เหมือนกับอะไรมันกำหนดไม่ได้ เหมือนกับที่เราขันเกลียวน๊อต ขันออก
    ไขออก มันหลุดจากกันเท่านั้นเอง
    เขายกมาไว้ในอายตนะ 12 ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นภายใน
    รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส เป็นภายนอก
    เขาว่าต้องอย่าไปยึดถือความจริง ไม่เป็นเช่นนั้น
    มันหมด มันเข้าสู่สภาพ มันหมด


    เห็นหนังสือ "ศรัทธา" ของหลวงพ่อไหม? หลวงพ่อให้รูป
    รูปศรัทธาเชือกมันขาด มันขาดออกจากกัน
    แล้วมันก็เข้าเชื่อมกันได้นะ นี่พระพุทธเจ้าสอนอย่างนั้น
    แต่ว่าธรรมอันนี้ไม่เป็นอันนั้น มันจะรู้ก่อนไม่ได้ คาดคะเนไม่ได้ นึกเดาไม่ได้
    มันเป็นแล้วจึงจะรู้ เมื่อมันยังไม่เป็นอย่างนั้น
    หลวงพ่อไม่นึกไม่ฝันว่ามันจะเป็นอย่างนั้น
    หลวงพ่อไม่รู้ว่าตายแล้วต้องไปเกิดสวรรค์ ตายแล้วไปเกิดนิพพาน
    โอ้ ! อันนั้นมันเป็นคำพูดของตัวบุคคล
    ความจริงนิพพานมันอยู่ในตัวเรานี่เอง ในปัจจุบันนี้เอง
    ใครรู้ก็ปฏิบัติให้มันรู้ เอาไปใช้ทำการทำงาน
    ต้องทำงานของเราจริงๆ คนรู้ธรรมะอันนี้ก็ไปทำหน้าที่ของเราได้
    ทำนา ทำสวน ซื้อขายอะไรได้ทั้งนั้น
    แต่ว่าสิ่งที่ไม่ทำมันไม่ทำ สิ่งที่ทำไม่ได้มันมี


    คนไม่รู้หนังสือนี่ จะศึกษาธรรมด้วยวิธีใด



    ต้องทำอย่างที่หลวงพ่อทำนี่เอง ต้องเรียนจังหวะ
    จังหวะให้เป็น ให้มันรู้ตัวเอง สร้างจังหวะ
    ยกมือเข้า เอามือออก มันมีวิธี นั่งก็ต้องมีวิธี นอนก็ต้องมีวิธี ยืนก็ต้องมีวิธี
    ให้หาวิธีกลไกให้คนนั้นมีความรู้สึกอยู่เสมอ
    เมื่อมีความรู้สึก ความไม่รู้มันจะค่อยๆ จางไปๆ ความรู้สึกจะมากขึ้นๆ
    ความรู้สึกมากขึ้นๆ ก็เกิดปัญญาเรียกทางธรรมะว่า
    ญาณเกิดขึ้น ญาณของปัญญาเกิดขึ้น


    แต่เขาจะไม่สามารถรู้เกี่ยวกับหลักธรรมในพระไตรปิฎกได้


    ได้ พระไตรปิฎกคือตัวเรานี่เอง พระไตรปิฎกก็หมายถึงตัวคนนั่นเอง
    เกศา โลมา นขา ตา เนื้อ หนัง
    เอาคนไปพูดข้างนอก คนไปติดข้างนอก เลยไม่ได้วกเข้ามาถึงจิตใจ
    หลวงพ่อเข้าใจอย่างนี้ คนอื่นว่าผิด เป็นเรื่องของเขา
    แต่หลวงพ่อเชื่อมั่นว่าพระไตรปิฎก
    หลวงพ่อรู้ดี แต่คนอื่นอาจจะไม่รู้อย่างหลวงพ่อ
    พระไตร 3 ปิฎก คือ พระวินัย พระสูตร พระอภิธรรม พระไตรปิฎก
    พระสูตรคือร่างกายเรานี่เอง
    ทำดี พูดดี ทำชั่ว พูดชั่ว พระไตรปิฎกก็คือคำพูดนี่เอง พูดดี พูดชั่ว
    พระอภิธรรมปิฎกก็คือใจนั่นเอง
    สองปิฎกนี้จึงไปเท่ากับปิฎกเดียว พระสุตตันตปิฎก 21,000 นะ
    พระวินัยปิฎก 21,000 เป็น 42,000
    บัดนี้พระอภิธรรมปิฎกเดียวเป็น 42,000
    รวมกันเป็น 84,000 ความจริงมาจากใจทั้งนั้น
    โอ้ ! นี่เราศึกษาตามครูบาอาจารย์มาเลย
    ไม่ได้มาศึกษาที่ตัวเรา หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น
    ศึกษาให้มันจบๆ เป็นวิธีลัดๆ ทีเดียว
    แต่ว่าไม่ต้องเสียเวลา เขียนหนังสือเป็นก็ได้
    เขียนหนังสือไม่เป็นก็ได้ คนเฒ่า คนแก่ กินข้าวเป็น นอนเป็น
    เดินไปไหนมาไหนได้ รู้ทั้งนั้น
    คนที่ไม่รู้หนังสือก็ยิ่งรู้เร็ว
    เพราะเขาไม่เคยกับตำรับตำรา เขาจะรู้แล้วเขาจะเลิกเอง


    ตำรับตำรานี้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมหรือไม่


    ไม่เป็น ว่าจะเป็นก็ได้ไม่เป็นก็ได้
    เพราะรู้แล้วมันไปวิ่งเข้าหาตำรา อันนี้มันไม่มีตำราที่จะไป
    คนไม่มีความรู้จะวกเข้ามาหาตัวอยู่เสมอ
    โอ้ ! อันนี้พระพุทธเจ้าว่าอย่างนั้น


    ถ้ารู้กว้างขวางก็ควรรู้ตำรา แต่ถ้าคนไม่รู้กว้างขวางเอาความดีเลวนั้น
    คนที่ไม่รู้ตำรามันไม่มีทางไป
    ไม่เหมือนคนที่รู้กว้างขวาง เออ อันนี้มันไปตรงกับสูตรนั้น
    อันนี้ไปตรงกับสูตรนี้ เพราะเขามีตำรา
    ต้องเอาอันนั้นมาเป็นเครื่องวัด
    เพราะมันรู้ภายใน มันวิ่งออกไปหาตำราทันที


    แต่คนไม่มีตำรา มันต้องเอาตัวเรานี่เองมาเป็นเครื่องวัด
    อันนี้ไปทำอย่างนั้นมันผิดอันนั้น
    อันนี้ไปทำอันนั้น มันผิดอันนั้น มันดีเหมือนกัน
    แต่ว่าถ้าหากว่าจะไปเที่ยวสอนเขา ก็ต้องมีตำรา
    อย่างที่หลวงพ่อไปสอนคน
    คนที่มีความรู้เขาก็ไม่ฟัง แต่ว่าฟังก็ได้ ไม่ฟังก็ได้
    หลวงพ่อได้พูดได้สอนหลวงพ่อก็พอใจ
    พูดความจริงมหาเปรียญ 7 ประโยค หลวงพ่อเคยสอนมาแล้ว
    หลวงพ่อเขียนหนังสือไม่เป็น คราวนั้นหลวงพ่อไปอุบลฯ
    เขาไล่หลวงพ่อ หลวงพ่อไม่มีตำรา
    ดี ตำราหลวงพ่อก็ยอมรับ แต่ว่ามันแก้ทุกข์ได้ไหม มันแก้ทุกข์ไม่ได้
    ก็ดี แต่ว่าเรียนมาเพื่อเพิ่มทุกข์
    ถามไปถามมา หลวงพ่อมีปัญหา แก้ทุกข์ได้ถ้าทำตามแบบ
    อุบลฯ มาถึงขอนแก่นค่ารถ 20 คราวนั้น
    เขาให้เงินหลวงพ่อ 20 ให้หลวงพ่อมา เขาเป็นเปรียญ 7 ประโยค
    หลวงพ่อก็เลยมาสอน เป็นคนพูดจริง
    เขามีไหน้ำมนต์ แอ่งน้ำมนต์
    คุณรู้ไหมน้ำมนต์มีเทียนใต้น้ำมนต์ โอ้ ! มันหยดตามแอ่งน้ำมนต์
    พอดีหลวงพ่อมา หลวงพ่อให้คำมั่นสัญญา
    ถ้าจะให้ผมไปสอนต้องทำจริงๆ งานชิ้นอื่นไม่ต้องทำ ต้องไปวัด
    พอดีหลวงพ่อมาก็ไปอยู่ในป่าใกล้ๆ ไปอยู่เช่นนั้น
    ไม่นานเขาก็รู้ ภายใน 7 วัน แต่ไม่รู้มาก รู้ก็แตกฉานเลย
    เขารู้เลิกเลยอันนั้นก็ดี ไม่ใช่ไม่ดี
    ดีเพราะว่าคนเขาไม่มีที่พึ่ง ก็ต้องทำให้เขาบ้าง
    แต่ถ้าคนรู้แล้วเขาจะเลิก เขาเลิกเอง แต่สอนให้เขารู้ เขาเลิกเลย
    เลยไม่ทำน้ำมนต์ให้คน แต่ว่าอยากให้เขาละ โลภ โกรธ หลงแทน
    เขายังไม่ถึงขั้นนั้น ขั้นละ โลภ โกรธ หลง มันอีกเรื่องหนึ่ง ขั้นละเรื่องศาสนา
    เรื่องบาป เรื่องบุญ เรื่องผี เรื่องเทวดา นี่ขั้นหนึ่ง มันเป็นขั้นเป็นตอน


    มีบางคนเห็นว่า แนววิธีการปฏิบัติแต่ละแนวก็ตาม
    คือไม่มีแนวไหนผิด หรือแนวไหนถูก
    มันขึ้นอยู่กับว่า คือเขาชอบนิยมใช้คำว่าจริต
    จริตของแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับกรรม
    ขึ้นอยู่กับนิสัยใจคอพื้นเพ อันนี้หลวงพ่อคิดอย่างไร


    หลวงพ่อไม่ได้ว่าอะไร ใครชอบอย่างไรก็เลือกเอา
    หลวงพ่อไม่ได้บังคับว่าคนชอบอย่างนั้นว่าเขาผิดก็ไม่ได้
    เขาไม่รู้เขาจึงทำ ถ้าเขารู้แล้วเขาต้องไม่ทำ
    สมมุติเอานะ คุณเดินไปนี่มีงูพิษอยู่คุณจะเดินไปไหม
    นี่มันมีงูพิษอยู่นี่ แน่ก็อย่างนั้นซิ เขาไปเดินให้งูพิษกัดเขา
    เพราะเขาไม่รู้ก็เท่านั้นเอง เดินไปนั้นเขาจะไปลงคลอง
    เขารู้ไหม เขาไม่รู้เขาจึงไป ถ้าเขารู้ เขาก็ไม่ต้องไป ไม่ต้องว่าจริต
    หลวงพ่อไม่รู้เรื่องจริตคนอย่างนั้นอย่างนี้
    หลวงพ่อไม่ใช่จะเป็นคนมองเห็นอย่างนั้น
    แต่ว่าวิธีทำอันนี้จะทำผิดยังไง หลวงพ่อรับรอง



    ถ้าทำต้องรู้ ลองดู กำมือรู้สึกไหม
    ความรู้สึกต้องมีอยู่ทุกคนอยู่แล้ว กระพริบตารู้ไหม
    หายใจรู้ไหม แน่ะ ความรู้สึกอันนี้มันมีอยู่ในคนที่ว่า
    ไม่เลือกจริตวิสัย ไม่เลือกชนชั้นวรรณะ
    ไม่เลือกใครทั้งนั้น ทั้งหมดเลย ความรู้สึกมันมีอยู่ในคนทุกคนแหละ
    แต่มันไม่ได้ทำเช่นนั้น มันไปทำอย่างอื่น
    สมมุติเอานะ คุณเคยเห็นกุญแจไหม กุญแจถ้าเป็นลูกของมันเสียแล้ว
    ไขมันไม่นาน แต่ถ้าไม่ใช่ลูกของมัน
    บิดแล้วมันก็ไม่ไข นี่มันเป็นอย่างนี้
    เดี๋ยวนี้กุญแจเขาไม่เป็นลูกก็ต้องหาวิธีก็ได้นะ
    กุญแจผีอะไรนี่เขาเอามาทำใหม่ได้
    แต่ว่าถ้าเป็นของธรรมชาติจริงๆ แล้ว เข้าไปแป๊บเดียว
    ไขเปิดออกมาได้ทันที น็อต เกลียว น็อต ก็เหมือนกัน
    ถ้าหมุนกลับคลายทุกตัว ถ้าหมุนขึ้นไปข้างหน้า
    ไม่มีโอกาสจะคลายได้ เข้าใจไหม แหวนน็อตกับเกลียวน็อตเท่านั้นเอง


    มันเป็นธรรมชาติจริงๆ แล้วศึกษาธรรมะกับธรรมชาติจริงๆ
    มันเป็นธรรมชาติของคน มันรู้สึก สัตว์เดรัจฉานมันก็รู้
    แต่มันไม่รู้ที่ว่าคำสอนของพระพุทธเจ้าสอนทุกเพศทุกวัย
    แต่คนใดจะเอามาสอนนั้นเป็นเรื่องของคนๆ นั้น
    ใครชำนาญเรื่องใดก็เอามาสอน
    แต่หนีจากความรู้สึกไม่ได้
    คนบ้ามันก็รู้ แต่เขาไม่รู้ รู้ยังไง ไม่รู้ยังไง
    หลวงพ่อสอนเขา เขาไม่เอาเขาไม่ชอบ (หัวเราะ)
    คนบ้า คนวิกลจริต นี่นะเดี๋ยวพูดแล้วจะโกรธขึ้นมาเล่นงานเราเอาก็ได้
    สัตว์เดรัจฉานมันก็ไม่มีความจำ แต่คนมันต้องจำได้ ไม่มากก็น้อย
    ต้องรู้ทุกคนแหละ หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น

    ทราบมาว่า หลวงพ่อเน้นในเรื่องการฝึกสติ ใช่หรือไม่ครับ
    ถูกแล้ว จะว่าฝึกสติก็ได้ ทำความรู้สึกก็ได้
    เราจะพูดคือ รู้สึก ถ้าไม่รู้ก็ไม่มีสติ ถ้ามีสติละก็รู้
    คือฝึกความรู้สึกตัวให้มาก
    ถ้าเรารู้สึกตัวแล้ว สิ่งที่ไม่รู้สึกตัวมันจะค่อยๆ หายไป



    เอาตัวอิริยาบถนั้นแหละมันถึงจะรู้ ถ้าไม่มีอิริยาบถใด มันก็รู้ไม่ได้
    คือที่หลวงพ่อฝึกนี่ ให้มันรู้สึกตัว
    หรือว่ามีสติอยู่กับในอิริยาบถ แต่ก่อนหลวงพ่อเคยทำ พูดความจริงนะ
    หลวงพ่อเคยทำพุทโธหรือสัมมาอะระหัง
    นับ 1, 2, 3 ของอานาปานสติ มันเกี่ยวข้องกับลมหายใจทั้งนั้น
    คือได้ฝึกสงบ แต่มันไม่เข้าใจ
    แต่ถ้ามีข้อสงสัยต้องไปดูตำรา มันติด
    บัดนี้หลวงพ่อเลยมาทำความรู้สึก ไม่ต้องไปดูลมหายใจ
    บัดนี้ลมหายใจก็ดูบ้าง ไม่ใช่ว่าไม่ดู แต่ว่าพอดีมันคิดให้รู้สึกตัว
    ไม่ต้องไปคิดที่เราไปดูลมหายใจ
    บางทีเราออกไปวิพากษ์วิจารณ์เอา สิ่งที่คิดมันเป็นสิ่งที่ปกปิดเราไว้


    ถ้าเราทำความรู้สึกนี่ ความไม่รู้มันจะค่อยลดไป
    แล้วความรู้สึกมันจะได้ทำหน้าที่ของมัน คือเราไปดูลมหายใจ
    เวลาเราคิดไป ก็เลยไปคิดเอา คิดว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้
    มันเลย สิ่งนั้นก็เลยไม่ให้ความรู้สึกนี่ปรากฏขึ้นมาได้
    หลวงพ่อก็เลยมาเอาความรู้สึก เอาความรู้สึกมันจะได้ทำหน้าที่ของมัน



    จะทำให้เกิดปัญญาได้อย่างไร

    คุณจะรู้เอง คุณกินข้าวแล้วยัง ทานแล้วหิวไหม ไม่หิว
    หลวงพ่อก็ไม่รู้ด้วย คุณจะรู้เองว่าไม่หิวข้าว
    ถ้าเรารู้หลักพุทธศาสนาจริงๆ แล้ว
    ตามแนวคำสอนของพระพุทธเจ้า จะไม่สงสัย เพราะว่ามันมี
    พระพุทธเจ้าสอนว่ามี ญาณเกิดขึ้นมาเอง
    ถ้าเราไปคิดมันมีสงสัย ถ้าเราไปนั่งดูลมหายใจก็ดี มันสงบ
    เมื่อมันสงบแล้วความสงบนั้น เราไม่รู้ว่าสงบนั้นมันมีหลายแบบ
    สงบแบบไม่รู้ก็มี สงบแบบไม่เห็นก็มี
    สงบแบบเห็นก็มี นี่มันพูดยาก สงบคำเดียวนะ
    แล้วทุกคนต้องการความสงบ ความสงบแบบสมถะแบบหนึ่ง
    สงบแบบวิปัสสนาแบบหนึ่ง
    สมถะนั้นคุณเข้าใจว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าซิ อ้อ !
    หลวงพ่อก็เข้าใจอย่างนั้นแต่ก่อน เดี๋ยวนี้หลวงพ่อไม่เข้าใจแล้ว
    สมถะเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างไร


    ในสมัยเมื่อเจ้าชายสิทธัตถะกุมารไปศีกษากับอาฬารดาบสและอุทกดาบส
    ทำกรรมฐานสมาบัติ 8 ใช่ไหม
    เป็นพระพุทธเจ้าแล้วหรือยัง
    แน่ะ ! คุณจะไปเข้าใจว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าทำไม
    ออกจากนั้นมา พวกปัญจวัคคีย์ติดตามมาด้วยนะ
    มากลั้นลมหายใจ เข้าออก ไม่พูดไม่คุย คุณก็รู้ใช่ไหมเรื่องนี้
    เป็นพระพุทธเจ้าแล้วหรือยัง นี่
    คนมาทำอย่างนั้น ไม่ใช่เป็นพระพุทธเจ้า นี่เป็นคนอย่างเรานี่เอง


    จากนั้นท่านก็มาบำเพ็ญที่ต้นโพธิ์
    ที่ใต้ต้นโพธิ์ก็เลยได้ตรัสรู้ในทันใดนั้น เพราะว่าท่านมาบำเพ็ญทางจิต
    แน่ะ คำว่า "บำเพ็ญทางจิต" นี่เราก็ไม่เข้าใจ
    หลวงพ่อก็ไม่เข้าใจ หรือว่าดูลมหายใจ
    นี่บำเพ็ญทางจิตไม่ใช่อย่างนั้น คือ ดูความคิด นี่เอง
    เราคิดปุ๊บเราเห็น รู้เข้าใจ
    ความคิดมันถูกรู้ทันที
    บัดนี้เมื่อมันอยู่ตรงทาง ปัญญามันก็มากขึ้น มากขึ้น


    พระพุทธเจ้าสอนไว้ว่าให้มีสติกำหนดรู้
    ให้รู้ในอิริยาบถทั้ง 4 ยืนขึ้น เดิน นั่ง นอน
    นี่ก็ยังไม่พอ ให้มีสติกำหนดรู้ในอิริยาบถ นั่ง คู้ เหยียด เคลื่อนไหว
    แม้โดยวิธีใดก็ตาม แล้วแต่ใครจะทำวิธีไหนก็ตาม
    แต่ว่าให้รู้สึก ความรู้สึกของรูปกายภายนอก เราพอมองเห็นได้
    แต่ความรู้สึกภายในมองไม่เห็น
    เราเลยเอาความรู้สึกนี่ ดึงไม่ให้มันไปกับความคิด
    ถ้าหลวงพ่อทำแต่ก่อนนั่งอย่างนี้ พอมาคิดดู พอไม่รู้ไปกับความคิดเลย



    มีอาจารย์บางท่านบอกว่า ถึงอย่างไรก็ต้องเจริญสมถะก่อนถึงจะไปวิปัสสนาได้
    โดยยกเอาพระพุทธเจ้าเป็นตัวอย่างว่า
    พระพุทธเจ้าก็ได้สมาบัติ 8 ก่อน จึงจะไปได้ อันนี้เป็นความจริงไหมครับ


    ถูกของเขา หลวงพ่อไม่ค้าน แต่หลวงพ่อรับรองว่าทำก็ได้ ไม่ทำก็ได้
    หลวงพ่อตัดสินใจ ถ้าคุณมีจังหวะมา ไม่เกิน 3 ปี
    คุณจะรู้ว่า เออ ! นั้นมันผิด นี่มันถูก ว่าทางไม่ใช่ทาง ไม่ต้องไปทำอะไรมาก
    เอาแต่ความรู้สึกนั่นเอง จะเป็นสมถะก็ได้
    จะเป็นวิปัสสนาก็ได้ จะเป็นอย่างไรก็ได้


    อันสมถะนั้นเราไม่เข้าใจ คำว่า "สมถะ" "กรรมฐาน" นี่ไม่เข้าใจกัน
    เมื่อหลวงพ่อทำพุทโธ หลวงพ่อก็ไม่เข้าใจ
    นับ 1 2 3 - 10 - 20 นับย้อนกลับไปกลับมา
    1 2 3 4 5 6 7 8 9 10 แล้วก็ 10 9 8 7 6 5 4 3 2 1 มา
    แต่ให้ถูกจังหวะกับลมหายใจ นับตั้งแต่ 1 - 20
    นับตั้งแต่ 20 ลงมาถึง 1 ก็ไม่รู้
    แล้วครูบาอาจารย์ก็ว่า ขลังด้วยนะเรื่องนี้ ไปที่ป่าลึกหรืออะไร ผีมันกลัวนะ
    ท่านสอนทำเพราะเราไม่รู้ว่าต้องทำ ไม่เห็นผีแล้วก็ไม่กลัว
    เมื่อมาทำ อ๋อ ! เรื่องนั้นมันจริง
    เมื่อหลวงพ่อมารู้ธรรมะ เจอผีเราไม่มีตาทิพย์ นั้นมันอยู่ที่มองทะลุ
    เห็นคนนั้นเป็นคนนี้ มันไม่ถูกอีกแล้ว
    แต่คนอื่นอาจจะเข้าใจอย่างนั้น เข้าใจว่านั่งอยู่ที่นี้ มองเห็นคนเดินไปโน้น
    เห็นตับไต ไส้ พุง หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้นว่าตาทิพย์ หูทิพย์ก็เหมือนกัน
    หลวงพ่อเข้าใจว่า คุณพูดตรงไหน
    หลวงพ่อต้องรู้จัก หลวงพ่อหยั่งรู้เมื่อมาทำ
    ความจริงไม่ใช่อย่างนั้น
    ตาทิพย์ก็หมายถึงบุคลิกของคนมีปัญญา
    สามารถที่จะมองเห็นอะไรต่างๆ ในตัวเรา
    แล้วหูทิพย์ก็สามารถจะฟังได้บทบาท คำพูดของคนถูกผิด
    เราฟังได้ทั้งนั้น เราเข้าใจว่า เออ ! นี่แหละหูทิพย์ แค่นี้
    ถ้าอย่างนั้นเราอยู่อย่างนี้ คนอื่นพูดให้เราอย่างนั้น
    ได้ยินไหม ไม่ได้ยิน ไม่ได้ยินก็แสดงว่านั้นเป็นคำอุตริแล้ว
    เป็นพวกอุตริแล้ว หลวงพ่อไม่ได้ว่าใคร
    หลวงพ่อว่าหลวงพ่อเอง (หัวเราะ) เป็นอุตริแล้ว
    เราเดินสายไม่ถูกมันก็ไม่เข้าเรื่อง



    มีคนบอกว่า เราจะไปสู่ทางที่ถูกต้องได้
    มันขึ้นอยู่ที่วาสนาบารมี อันนี้เป็นความจริงหรือไม่ครับ



    ไม่จริง วาสนาหมายถึงอะไร บารมีหมายถึงอะไร
    นั้นมันคำพูดติดปากกันมานานแสนนานแล้ว
    เรื่องวาสนาบารมีนี้ หลวงพ่อก็เคยเชื่ออย่างนั้น


    เดี๋ยวนี้หลวงพ่อไม่เชื่อแล้ว คุณอายุกี่ปี
    พ่อคุณสอนคุณคำแรกสุดคุณจำได้ไหม (ไม่ได้ครับ) ยังจำไม่ได้
    คุณจะไปเชื่อได้ยังไง ยังงั้น อันนั้นเขาพูดไว้ดีแล้ว ดีของเขา
    หลวงพ่อก็เคยคิดอย่างนั้นมาแต่ก่อน
    เดี๋ยวนี้หลวงพ่อไม่เอาแล้ว ให้เขาเชื่อกันไป
    บางอย่างหนูสู้หลวงพ่อไม่ได้ คุณสู้หลวงพ่อไม่ได้นะ
    จะถึงระดับปัญญาไม่เหมือนกัน จะให้เหมือนกันไม่ได้
    แต่รู้ธรรมะต้องรู้อย่างเดียวกัน คุณไม่มีวาสนาบารมี
    คุณจะเกิดมาเป็นคนอย่างไร
    ก็เป็นสัตว์เดรัจฉานซิ มันสมบูรณ์แล้วเกิดเป็นคนนี้หมดแล้ว


    ศาสนาก็คือตัวคนนั้นเอง ทุกคนนะเป็นศาสนาทั้งนั้น
    ยิ่งถือลัทธิใดก็ตาม หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น
    แต่ก่อนหลวงพ่อเข้าใจว่า ศาสนาต้องมีวัดแล้วก็ต้องมีโบสถ์ มีเจดีย์
    มีคัมภีร์อะไรต่างๆ มีพระสงฆ์ หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น
    บัดนี้หลวงพ่อไม่เข้าใจ ศาสนาคือมีคน ถ้ามีคนที่ไหน
    นั่นแหละคือตัวศาสนา คนใดไปทำลายให้ศาสนาเสื่อมสูญ
    คนนั้นเป็นอนันตริยกรรม ก็หมายถึงด่าเขา ฆ่าเขา
    นั้นทำลายศาสนาแล้ว ศาสนาจึงคือตัวคน
    หลวงพ่อเข้าใจอย่างนั้น พุทธศาสนาคือระดับสติปัญญา
    "พุทธะ" จึงแปลว่า ผู้รู้ อันนี้รูปกายนี้รู้ไม่ได้
    ต้องสติปัญญารู้ จึงว่าคุณสมบูรณ์แล้ว มีแล้ว
    ถ้าคุณไม่มีวาสนาบารมี คุณไม่ต้องเกิดเป็นคน คุณต้องไปเป็นสัตว์



    หนังสือพบพระวิปัสสนา : ธรรมทรรศน์จากวิปัสสนาจารย์
    ที่มา...
    007242 - ¡
     
  2. suthipongnuy

    suthipongnuy ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต ผู้สนับสนุนเว็บพลังจิต

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    661
    ค่าพลัง:
    +1,428
    อนุโมทนาสาธุ

    วันที่ 6-14 พ.ย.53 จะไปปฏิบัติธรรมที่วัดป่าสุคะโต ตามแนวทางหลวงพ่อเทียน
    หลังจากเคยไปครั้งแรกเมื่อปี51 ไปตอนนั้นได้ประโยชน์มหาศาล คือได้ "สติ" กลับมา

    ขอเชิญสหายธรรมทุกท่าน ร่วมอนุโมทนาบุญในครั้งนี้ด้วยเทอญ
     
  3. pagorn

    pagorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    768
    ค่าพลัง:
    +2,848
    ติง นิ่ง คือคำภาวนาของท่านหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ
    ติง เป็นภาษาอีสาน คือขยับ [โดยสติรู้ตามตามหลักหลวงพ่อเทียน]
    นิ่ง ใช้ได้ทั้งอีสานและภาคกลาง คือ การหยุด [โดยสติรู้ตามตามหลักหลวงพ่อเทียน]

    ประวัติหลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ
    หลวงพ่อเทียน จิตฺตสุโภ เดิมชื่อ พันธ์ อินทผิว เกิดเมื่อวันที่ ๕ กันยายน พ.ศ. ๒๔๕๔ ที่บ้านบุฮม ต.บุฮม อ.เชียงคาน จ.เลย บิดาชื่อจีน มารดาชื่อ โสม บิดาของท่านเสียชีวิตตั้งแต่ท่านยังเด็ก ในสมัยนั้นหมู่บ้านบุฮมยังไม่มีโรงเรียน ท่านจึงไม่ได้เรียนหนังสือ ในวัยเด็กท่านได้ช่วยมารดาทำไร่ทำนา เช่นเดียวกับเด็กอื่น ๆ ในหมู่บ้าน<O:p</O:p
    เมื่ออายุได้ ๑๐ กว่าปี ท่านได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่กับหลวงน้าที่วัดในหมู่บ้าน ได้เรียนตัวหนังสือลาวและตัวหนังสือธรรม พออ่านออกและเขียนได้บ้าง และได้เริ่มฝึกกรรมฐานตั้งแต่คราวนั้น ท่านได้ปฏิบัติหลายวิธี เช่น วิธีพุทโธ วิธีนับหนึ่ง สอง สาม... หลังจากบรรพชาเป็นสามเณรได้ ๑ ปี ๖ เดือน ก็ลาสิกขาบทออกมาช่วยทางบ้านทำมาหากิน<O:p</O:p
    เมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุตามประเพณีได้ศึกษาและทำสมาธิกับหลวงน้าอีกครั้งหนึ่ง หลังจากบวชได้ ๖ เดือน ท่านได้ลาสิกขาออกมา และแต่งงานมีครอบครัวเมื่ออายุ ๒๒ ปี มีบุตรชาย ๓ คน ท่านมักจะเป็นผู้นำของคนในหมู่บ้านในการทำบุญจนเป็นที่นับถือและได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านถึง ๓ ครั้ง แม้จะมีภาระมาก ท่านก็ยังสนใจการทำสมาธิและได้ปฏิบัติอย่างสม่ำเสมอตลอดมา<O:p</O:p
    ต่อมาท่านได้ย้ายไปอยู่ในตัวอำเภอเชียงคานเพื่อให้ลูกได้เรียนหนังสือ ท่านได้ประกอบอาชีพ เป็นพ่อค้าเดินเรือค้าขาย ขึ้นล่องตามลำน้ำโขง ระหว่างเชียงคาน-หนองคายเวียงจันทร์ บางครั้งไปถึงหลวงพระบาง ทำให้ท่านได้มีโอกาสพบปะกับอาจารย์กรรมฐานหลายรูป จึงเกิดความสนใจธรรมะมากขึ้น นอกจากนี้ ท่านยังเห็นว่าแม้จะทำความดี ทำบุญ และปฏิบัติกรรมฐานมาหลายวิธีตั้งแต่อายุยังน้อย แต่ท่านก็ยังไม่สามารถเอาชนะความโกรธได้ ท่านจึงอยากค้นคว้าหาทางออกจากสิ่งเหล่านี้<O:p</O:p
    ปี พ.ศ. ๒๕๐๐ เมื่ออายุได้ ๔๕ ปีเศษ ท่านได้ออกจากบ้านโดยตั้งใจแน่วแน่จะไม่กลับจนกว่าจะพบธรรมะที่แท้จริง ท่านได้ไปปฏิบัติธรรมที่วัดรังสีมุกดาราม ต.พันพร้าว อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย (ปัจจุบันคือ อ.ศรีเชียงใหม่) โดยทำกรรมฐานวิธีง่าย ๆ คือ ทำการเคลื่อนไหว แต่ท่านไม่ได้ภาวนาคำว่า “ติง-นิ่ง” (ติงแปลว่า ไหว) อย่างที่คนอื่นทำกัน ท่านเพียงให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวของร่างกายและจิตใจเท่านั้น ในชั่วเวลาเพียง ๒-๓ วัน ท่านก็สามารถหลุดพ้นจากความทุกข์ได้อย่างเด็ดขาด โดยปราศจากพิธีรีตองหรือครูบาอาจารย์ ในเวลาเช้ามืดของวันขึ้น ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ ซึ่งตรงกับวันจันทร์ที่ ๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๐๐ <O:p</O:p
    หลังจากนั้น ท่านได้กลับมาเผยแพร่ชี้แนะสิ่งที่ท่านได้ประสบมาแก่ภรรยาและญาติพี่น้องเป็นเวลา ๒ ปี ๘ เดือน โดยในขณะนั้นท่านยังฆราวาสอยู่<O:p</O:pวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๐๓ ท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุอีกครั้งหนึ่ง เนื่องจากเห็นว่าถ้าหากบวชเป็นพระภิกษุแล้ว จะทำให้การเผยแพร่ธรรมะสะดวกขึ้น<O:p</O:p
    คำสอนของหลวงพ่อได้แพร่หลายออกไปทั้งในประเทศและต่างประเทศ ได้มีผู้ปฏิบัติตามเพิ่มจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ หลวงพ่อได้อุทิศชีวิตให้กับการสอนธรรมะอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อยหรือสุขภาพของร่างกาย จนกระทั่งอาพาธเป็นมะเร็งที่กระเพาะอาหารเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๕ ถึงแม้ว่าสุขภาพของท่านจะทรุดโทรมลงมาก แต่ท่านก็ยังคงทำงานของท่านต่อไปจนถึงวาระสุดท้ายของชีวิต
    <O:p</O:p
    หลวงพ่อได้ละสังขารอย่างสงบ ณ ศาลามุงแฝกบนเกาะพุทธธรรม สำนักปฏิบัติธรรมทับมิ่งขวัญ ต.กุดป่อง อ.เมือง จ.เลย เมื่อวันที่ ๑๓ กันยายน พ.ศ.๒๕๓๑ เวลา ๑๘.๑๕ น. รวมอายุได้ ๗๗ ปี และได้ใช้เวลาอบรมสั่งสอนธรรมะแก่คนทั้งหลายเป็นเวลา ๓๑ ปี
    <O:p</O:p
    [​IMG]
    หนังสือแจกเป็นธรรมทาน ประจำเดือน มีนาคม ๒๕๔๙ </O:p<O:p</O:p[​IMG] <NOSCRIPT></NOSCRIPT>​
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 3 พฤศจิกายน 2010

แชร์หน้านี้

Loading...