สนทนากับองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า โดย พ.อ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ตั้งคณา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย chilaoon, 11 ตุลาคม 2010.

  1. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    และติดเพลินจนเป็นทุกข์อย่างยิ่งมาแล้วเช่นกันด้วยอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง
    และก็ได้ประโยชน์อนันต์จากการนำไปใช้สนับสนุนการเจริญวิปัสสนาอย่างถูกต้อง
    นักปฏิบัติจึงต้องพึงโยนิโสมนสิการในข้อธรรมให้ดี
    หรือการใช้หลักกาลามสูตรกำกับนั่นเอง
    ส่วนผู้ที่ต้องการประโยชน์จากฌานสมาธิ
    นอกเหนือไปจากการนำไปเจริญวิปัสสนาเพื่อการดับทุกข์ เช่น อยากรู้นั่น อยากเห็นนี่
    อยากมีอำนาจ อยากให้เป็นไปดังใจปรารถนา ชอบแช่หรือประคองให้ในความสุข
    หรือชอบแช่ในความสบาย ฯลฯ. พึงศึกษาด้วยตนเองอย่างระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง!
    เพราะเมื่อทำเหตุแล้ว ย่อมมีผลเกิดขึ้นอย่างไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้
    ตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง
    อนึ่งพึงระลึกว่า ทั้งฌานและสมาธิเป็นเป็นเพียงเครื่องอยู่
    และเป็นเพียงเครื่องสนับสนุนการเจริญวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญา
    ยังไม่ใช่เครื่องดับกิเลสแต่โดยตรง
    เพื่อจะได้ไม่หลงเข้าไปจนเกิดการติดเพลิน(นันทิ)ในวังวนของความสุข สงบ สบาย
    ที่พึงเกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมถะ เนื่องจากความหลงว่าเป็นนิโรธ
    จนเกิดวิปัสสนูปกิเลส ซึ่งจักเกิดอย่างแน่นอนด้วยอวิชชาความไม่รู้จริง
    ดูกรจุนทะ แต่ธรรมคือฌานเหล่านี้ เราไม่กล่าวว่า เป็นธรรมเครื่องขัดเกลา
    ในวินัยของพระอริยะ
    เรากล่าวว่า ยังเป็นเพียงธรรมเครื่องอยู่ให้เป็นสุขในอัตภาพนี้
    ในวินัยของพระอริยะ(เท่านั้น)
    สัลเลขสูตร
    สมถสมาธิและฌาน
    ที่ใช้ในพระศาสนาจึงเป็นไปในลักษณะการใช้งานเพื่อเป็นเครื่องเกื้อหนุนปัญญาหรือการเจริญวิปัสสนา
    กล่าวคือ ปุถุชนย่อมมีจิตหรือใจที่ตามปกติแล้วย่อมซัดส่ายสอดแส่ไปในกิเลส
    หรือสิ่งต่างๆ หรือก็คือสอดส่ายไปในเหล่ากิเลสคือนิวรณ์ ทั้ง ๕
    เหล่าใดเหล่านั้นเป็นธรรมดา จึงจำต้องทำให้สงบระงับลงเสียก่อนด้วยสมถะ
    ก็เพื่อนำไปใช้ให้ยังประโยชน์ในการวิปัสสนานั่นเอง
    จึงพอแยกได้ตามที่ปฏิบัติกันโดยทั่วไปเป็น ๒ ลักษณะ คือ
    ๑. เจริญสมถสมาธิหรือฌาน จนถึงระดับประณีต เช่น ฌาน ๔
    หรือตามกำลังสมาธิของตน แล้วเมื่อถอนออกมา ก็ดำเนินการเจริญวิปัสสนาต่อไป
    ๒. เจริญสมาธิระดับแค่จิตตั้งมั่นหรือขณิกสมาธิ
    เมื่อจิตไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปภายนอกแล้ว ก็เจริญวิปัสสนาทางปัญญา กล่าวคือ
    พิจารณาธรรมดังพระไตรลักษณ์ อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท ฯ. เลย
    วิธีนี้ดีที่สุดเหมาะแก่การปฏิบัติโดยทั่วไป
    และเมื่อปฏิบัติได้อย่างถูกต้องดีงามกล่าวคือ
    อยู่ในธรรมะวิจยะหรือการโยนิโสมนสิการได้อย่างแนบแน่น
    ขณิกสมาธินี้ก็สามารถเจริญหรือเลื่อนไหลเป็นฌานสมาธิในระดับประณีตได้เองอีกด้วยโดยธรรมชาติ
    ซึ่งมีข้อดีคือมักไม่เกิดการติดเพลินในฌานสมาธิจนเสียการ
    หรือเรียกกันว่าวิปัสสนาสมาธิ หรือสมาธิเพื่อการวิปัสสนานั่นเอง
    กล่าวคือ ไม่ว่าจักปฏิบัติในแบบใด
    จำเป็นต้องประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาทางปัญญา
    มิฉนั้นจะทำให้กลับกลายเป็นมิจฉาสมาธิด้วยการติดเพลินหรือนันทิ
    เกิดวิปัสสนูปกิเลสเสียโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชา
    หรือกล่าวสั้นๆอย่างชัดเจนอย่างมั่นใจก็คือ ถ้าปฏิบัติแต่สมาธิล้วนๆแล้ว
    ย่อมต้องกลายเป็นมิจฉาสมาธิอันให้โทษอย่างแน่นอนในที่สุด โดยไม่อาจหลีกเลี่ยงได้
    ไม่ว่าใครๆใดๆทั้งสิ้น
     
  2. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ประโยชน์ของฌานสมาธินั้น
    จุดประสงค์เพื่อให้เกิดความสงบและกำลังจิตอันเกิดขึ้นจากการระงับไปชั่วขณะของทุกข์
    กล่าวคือ การระงับของไปของนิวรณ์ ๕ หรือกิเลสส่วนหนึ่งเสียก่อน กล่าวคือ
    เมื่อจิตเป็นสมาธินั้นเหล่ากิเลสในนิวรณ์ทั้ง ๕ เป็นอันย่อมระงับไปชั่วระยะหนึ่ง
    เพราะเป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์หรือคู่ปรับกันโดยธรรมชาติ
    จึงอยู่ด้วยกันไม่ได้ด้วยดี ดั่งนํ้ากับไฟ หรือ นํ้ากับนํ้ามันนั่นเอง
    เป็นวิกขัมภนวิมุตติที่ยังแปรปรวนได้ ที่แม้เกิดความสุข สงบ
    สบายขึ้นอันเกิดจากการระงับไปของนิวรณูปกิเลส
    ดังนั้นจึงนำความสงบและกำลังจิตที่เกิดขึ้นนั้นเป็นเครื่องหนุนเพื่อการวิปัสสนา
    กล่าวคือ เพื่อใช้จิตที่สงบประกอบด้วยสติไปในการพิจารณาธรรมให้เกิดปัญญาญาณ
    และเป็นองค์สำคัญยิ่งในการหยุดทุกข์ได้ในระดับหนึ่ง จึงหยุดการคิดปรุงแต่งฟุ้งซ่าน
    กล่าวคือ จึงถือว่าเป็นกำลังของจิตในการหยุดการคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการปรุงแต่งที่เกิดขึ้นในองค์ธรรมชรา
    อันล้วนแล้วแต่เป็นการปรุงแต่งภายใต้อุปาทานขันธ์๕
    อันกล้าแข็งจึงไม่สามารถหยุดได้ด้วยกำลังของจิตปุถุชนธรรมดาๆ
    ดังที่แสดงในเรื่องปฏิจจสมุปบาท
    จึงจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจในธรรมให้ถูกต้องดีงาม
    เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในฌานสมาธิอย่างถูกต้องดีงามเช่นกัน
    ไม่ไปติดเพลิน(นันทิ)แต่ในฌานสมาธิด้วยกริยาจิตหรืออาการของจิตแบบต่างๆโดยไม่รู้(อวิชชา)และไม่รู้ตัว
    จนเกิดวิปัสสนูปกิเลส และปัญหาต่างๆอย่างต่อเนื่องทั้งต่อกายและจิตโดยไม่รู้ตัว
    ดังเช่น จิตส่งใน
    อันเป็นอาการแสดงออกของการติดเพลินหรือติดในองค์ฌานต่างๆและเป็นไปโดยไม่รู้ตัวสักนิด
    พึงเข้าใจว่า สมาธิและฌานนั้นเป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน (ปฏิจจสมุปบันธรรม)
    เพราะสมาธิเป็นเหตุ จึงเป็นปัจจัยให้เกิดฌานขึ้น
    ดังนั้นนักปฏิบัติบางคนจึงกล่าวว่าปฏิบัติแต่สมาธิหรือปฏิบัติแต่วิปัสสนา ถามว่า
    ฌานคืออะไร? ไม่รู้จัก! ไม่เคยปฏิบัติ! แล้วจะเกิดฌานขึ้นได้อย่างไง? กล่าวคือ
    จึงเป็นฌานอีกด้วยโดยไม่รู้ตัวด้วยไม่เข้าใจ จึงมิใช่คนละเรื่องกัน
    แต่เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอย่างแนบแน่น เป็นเหตุเป็นปัจจัยกันนั่นเอง
    ก็เพราะว่า
    ฌาน ก็คือ ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก
    [พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต)]

    ดังนั้นจึงเป็นเหตุปัจจัยที่สัมพันธ์กันอยู่อย่างแนบแน่นเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน
    ดังนั้นเมื่อปฏิบัติสมาธิได้ผลดีก็อาจเป็นฌานอันเป็นไปตามสภาวธรรมขึ้นได้เอง
    และอาจจะไม่รู้ตัวเพราะไม่มีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องมาก่อนด้วยอวิชชา
    ดังนั้นนักปฏิบัติบางท่านปฏิบัติสมาธิแต่เพียงอย่างเดียวและอย่างได้ผลเป็นสมาธิที่พอควรหรือค่อนข้างแน่วแน่เป็นบางครั้ง
    จึงมีจิตเป็นฌานเกิดขึ้นด้วยแต่ไม่รู้ตัว จึงไม่ยอมรับหรือไม่ยอมเชื่อ,
    ด้วยฌานและสมาธิสามารถสลับสับกันไปมาได้ อุปมาดั่ง กำมือและแบมือ
    ซึ่งต่างก็ล้วนคือ มือ ที่เพียงแสดงอาการหรือกริยาที่แตกต่างกันนั่นเอง
    จึงเกิดอาการสลับสับเปลี่ยนกันได้ในขณะปฏิบัติ
    ดังในผู้ที่ปฏิบัติสมาธินั้นเมื่อสติอ่อนลงด้วยสั่งสมยังไม่กล้าแข็ง
    หรือเกิดความล้าจากการที่สติตั้งมั่น
    จึงเกิดอาการเลื่อนไหลไปสู่ฌานได้โดยธรรมหรือธรรมชาติ
    เพราะความที่ทั้งสมาธิและฌานนั้นล้วนเป็นสภาวธรรม(ธรรมชาติ)ของชีวิตอย่างหนึ่งเช่นกัน
    อันเมื่อปฏิบัติได้(ทำเหตุได้ถูกต้อง) ย่อมเกิดผล เหมือนกันแก่คนทุกชาติ ทุกศาสนา
    ทุกภาษา อันเป็นไปตามหลักอิทัปปัจจยตา
    ดังนั้นจึงยังมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องนำไปใช้ให้เป็นประโยชน์อย่างถูกต้องแนวทางด้วยจึงจะเป็นสัมมาสมาธิที่อำนวยผลในสัมมาสติและสัมมาปัญญาในการดับทุกข์
    อันเป็นสุขสงบบริสุทธิ์อย่างแท้จริง อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดของพระพุทธศาสนา
    จิตเป็นสมาธิ จิตเป็นฌาน จำเป็นต้องรู้ต้องเข้าใจไว้ไหม?
    ในสติปัฏฐานสูตร ในหัวข้อจิตตานุปัสสนา
    คือการมีสติรู้เท่าทันตามความจริงของจิตคือจิตสังขาร ได้กล่าวไว้อย่างชัดเจน
    จิตเป็นสมาธิก็รู้ว่าจิตเป็นสมาธิ จิตเป็นมหรคตก็รู้ว่า จิตเป็นมหรคต
    ก็คืออาการที่จิตเป็นฌาน ก็รู้ว่าจิตเป็นฌานนั่นเอง
    แล้วกล่าวไว้ในตอนท้ายบทอีกด้วยว่า แล้วไม่ยึดมั่นถือมั่น
    จึงเป็นสิ่งที่ควรรู้เข้าใจเป็นอย่างยิ่ง เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ให้ถูกทาง
    และไม่ปล่อยให้เลื่อนไหลเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวคือขาดสติ
     
  3. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    พราะคือเกิดการติดเพลินหรือนันทิคือตัณหาขึ้นนั่นเอง
    จึงเกิดอุปาทานความยึดมั่นโดยไม่รู้ตัว
    อันเป็นการดำเนินเป็นไปตามวงจรการเกิดขึ้นของทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท
    อันย่อมส่งผลเป็นทุกข์ในที่สุด
    ก่อนอื่นควรทำเข้าใจความหมายของ สมาธิ และ ฌาน โดยทั่วๆไปก่อน
    ตามความหมายใน พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์ โดย พระธรรมปิฎก(ป.อ. ปยุตฺโต)
    หมายถึงดังนี้
    สมาธิ "ความมีใจตั้งมั่น, ความตั้งมั่นแห่งจิต, การทำให้ใจสงบแน่วแน่
    ไม่ฟุ้งซ่าน,
    การมีจิต(หมายถึงสตินั่นเอง)กำหนดแน่วแน่อยู่ในสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ"
    ฌาน "ภาวะจิตสงบประณีต ซึ่งมีสมาธิเป็นองค์ธรรมหลัก,
    การเพ่งอารมณ์จนใจแน่วแน่เป็นอัปปนาสมาธิ(สมาธิแน่วแน่)

    สมาธิ
    สมาธิ แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ
    ๑. ขณิกสมาธิ สมาธิชั่วขณะ เป็นสมาธิขั้นต้น
    ซึ่งคนทั่วไปอาจใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่การงานในชีวิตประจำวัน
    และการปฏิบัติธรรมให้ได้ผลดี และใช้เป็นจุดตั้งต้นในการเจริญวิปัสสนาได้ดี
    คืออาการที่จิตค่อนข้างแน่วแน่ในสิ่งที่กำหนดคืออารมณ์ ได้ดีพอสมควร
    คือเป็นระยะยาวพอควร โดยไม่งุ่นง่านหงุดหงิดกล่าวคือด้วยอาการสบายใจ
    อาจมีการซัดส่ายสอดแส่ออกไปภายนอกบ้างเป็นครั้งคราวออกไปผัสสะกับสิ่งต่างหรือธรรมารมณ์อื่นๆบ้างอยู่
    แต่ก็ไม่ถึงกับเตลิดเปิดเปิงไป แล้วก็มีสติระลึกรู้กลับมาอยู่กับอารมณ์ หรือกิจ
    หรืองานได้ดีดังเดิม
    ๒. อุปจารสมาธิ สมาธิเฉียดๆ หรือสมาธิจวนจะแน่วแน่
    เป็นสมาธิขั้นระงับนิวรณ์ได้ดี ก่อนจะเข้าสู่ภาวะแห่งฌาน
    กล่าวว่าเป็นสมาธิในบุพภาคคือเบื้องต้นแห่งอัปปนาสมาธิ
    กล่าวคืออาการของจิตที่แน่วแน่ในอารมณ์ แทบไม่ซัดส่ายออกไปจากสิ่งที่กำหนด(อารมณ์)
    หรือกิจหรืองานที่กระทำเลย, ด้วยเหตุที่จิตไม่ซัดส่ายไปผัสสะกับกิเลสในนิวรณ์ ๕
    ให้เกิดเวทนาต่างๆขึ้น
    จึงเป็นปัจจัยให้เกิดความสุขความสงบความสบายเพราะกิเลสในนิวรณ์ ๕
    จึงเป็นอันระงับไปในขณะนั้นๆ ด้วยปฏิจจสมุปบันธรรม (รายละเอียดของ นิวรณ์ ๕)
    ๓. อัปปนาสมาธิ สมาธิแน่วแน่ หรือสมาธิที่แนบสนิท เป็นสมาธิระดับสูงสุด
    ซึ่งมีในฌานทั้งหลาย เป็นสมาธิในฌาน
    กล่าวคืออาการของจิตที่แนบแน่นแน่วแน่อยู่กับสิ่งที่เป็นอารมณ์อย่างดียิ่ง
    คือไม่หลุดออกไปจากอารมณ์หรือสิ่งที่กำหนดหรือกิจที่ทำอยู่ในขณะนั้นๆเลย
    เป็นอาการเบื้องต้นของปฐมฌานนั่นเองที่แน่วแน่ในสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ คือวิตก
    พร้อมทั้งวิจารนั่นเอง
    โดยทั่วไปจึงจัดเป็น ๓ ระดับดังข้างต้น แต่ก็มีตำราหรือคัมภีร์บางแห่ง
    ได้เพิ่มขึ้นมาอีกหนึ่งคือ วิปัสสนาสมาธิ แทรกอยู่ระหว่าง ขณิกสมาธิและอุปจารสมาธิ
    จึงจัดเป็น ๔ เป็นสมาธิที่ใช้ในการเจริญวิปัสสนา
    คือใช้ขณิกสมาธินั้นพร้อมไปในการพิจารณาธรรมหรือโยนิโสมนสิการ
    คือการวิปัสสนานั่นเอง จึงเรียกเฉพาะเป็นวิปัสสนาสมาธิ
    และเมื่อใช้วิปัสสนาสมาธินี้ได้อย่างแนบแน่นดีงามแล้ว
    ก็สามารถไหลเลื่อนไปเกิดสมาธิหรือฌานในระดับประณีตขึ้นได้เองเป็นลำดับอีกด้วย
    จึงเป็นสมาธิที่เหมาะแก่การเจริญวิปัสสนาเป็นที่สุด
    สมาธิ สามารถได้จำแนกออกเป็น ๓ ในอีกลักษณาการหนึ่งเช่นกัน
    แต่เป็นการจำแนกแตกธรรม ตามการปฏิบัติหรือการใช้งาน คือ
    สัมมาสมาธิ เป็นสมาธิที่ดีงามยิ่ง เป็นสมาธิเพื่อความหลุดพ้น กล่าวคือ
    เป็นสมาธิเพื่อประโยชน์ในการนำไปใช้ในการวิปัสสนา เพื่อให้เกิดปัญญารู้แจ้งเห็นจริง
    จึงเป็นสมาธิในองค์มรรค ๘ อันดีงามยิ่งนั่นเอง
    สมาธิ เป็นสมาธิโดยทั่วไปที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
    จึงมีคุณประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต ในชีวิตการงาน
    มิจฉาสมาธิ เป็นสมาธิที่เกิดจากการปฏิบัติผิด
    จนไปเกิดการติดเพลินคือหลงเพลินไปในความสุข สงบ
    สบายต่างๆที่เกิดขึ้นจากอำนาจของฌานสมาธิ
    ยังเสริมด้วยเข้าใจผิดหรืออวิชชาด้วยอีกว่าเป็นหนทางแห่งการหลุดพ้นโดยแท้จริงแล้ว
    ไม่เข้าใจว่าเพียงเพื่อเป็นบาทฐานหรือเครื่องสนับสนุนในการเจริญวิปัสสนา
    ให้เกิดสัมมาญาณอันเป็นมรรคองค์ที่ ๙
    จึงมักจมแช่หรือกำหนดอยู่แต่ในฌานสมาธิด้วยสุขสงบสบาย
    หรือเป็นการปฏิบัติเพื่อหวังนำไปใช้ประโยชน์ในทางโลกแบบผิดๆ
    ด้วยเข้าใจผิดเป็นไปในทางอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
    เป็นสมาธิที่ก่อให้เกิดทุกข์และโทษภัยเป็นที่สุดในภายหน้าแก่ผู้ปฏิบัติเองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
     
  4. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ฌาน
    ฌาน ประกอบด้วย องค์ฌาน อันมี ๖ เป็นเหตุปัจจัยกัน หมายถึง ฌาน
    มีสมาธิความตั้งใจมั่นดังข้างต้นเป็นองค์ธรรมหรือองค์ประกอบหลักดังที่กล่าวแล้ว
    ยังประกอบด้วยองค์ธรรมหรือองค์ประกอบของฌานที่สำคัญๆอีก ๖ องค์ ด้วยกัน คือ
    ๑. วิตก ความตรึก, ตริ, การคิด, ความดำริ, การยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ หรือ
    การตรึงจิตไว้กับอารมณ์, อารมณ์ ในทางธรรมหรือพุทธศาสนานั้น หมายถึง
    สิ่งที่จิตไปยึดเหนี่ยว หรือกำหนด ดังเช่น จิตไปยึดเหนี่ยวในคำบริกรรมต่างๆ เช่น
    พุทโธ ดังนั้นคำบริกรรม"พุทโธ"จึงทำหน้าที่เป็นอารมณ์,
    จิตยึดเหนี่ยวหรือกำหนดในคำบริกรรม"สัมมาอรหัง"เป็นอารมณ์,
    หรือจิตยึดเหนี่ยวหรือกำหนดตาม"ลมหายใจ"เป็นอารมณ์,
    หรือจิตยึดเหนี่ยว"การคิดพิจารณาในธรรม"เป็นอารมณ์(วิปัสสนาสมาธิ),
    การยึดเหนี่ยวหรือกำหนดใน"อิริยาบถ"
    คือการเคลื่อนไหวในส่วนต่างๆของร่างกายเป็นอารมณ์ เช่น อาการเคลื่อนไหวของมือ,
    ท่าร่ายรำ, การเต้น, การร้องสรรเสริญดังบางศาสนา,
    จิตจึงสามารถเกิดวิตกได้จากการไปยึดเหนี่ยวได้ทั้งในการบริกรรม การเพ่ง การเต้น
    การร้อง การรำ การเต้นรำบูชาดังประเพณีบางแห่ง หรือดังในทวีปอาฟริกา ฯลฯ.
    ดังนั้นการปฏิบัติเช่นการเต้น การรำ การร้องฯ.ต่างล้วนสามารถใช้เป็นวิตกได้ทั้งสิ้น
    จึงกลับกลายหรือเกิดเป็นสมาธิหรือฌานได้ ทั้งโดยที่รู้ตัว
    หรือโดยไม่รู้ตัวก็เพราะความไม่รู้
    ฌานสมาธิ ความจริงยิ่งแล้ว จึงมีแฝงอยู่ในทุกศาสนา
    เพียงแต่มีความแตกต่างกันในรูปแบบที่ปฏิบัติกันเท่านั้นเอง, ส่วนในพุทธศาสนานั้น
    ก็มีความโดดเด่นแตกต่างกว่าศาสนาอื่นๆ
    ตรงที่การนำสมาธิหรือฌานไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติต่อไปคือเจริญวิปัสสนา
    ด้วยจุดมุ่งหมายให้เกิดสัมมาญาณ ที่ยังให้เกิดสัมมาวิมุตติ เป็นที่สุด
    คำว่า" วิตก" นี้มาจากบาลี จึงไม่ใช่ความหมายในภาษาไทยที่หมายความกันว่า
    ความเป็นกังวล
    ๒. วิจาร ความตรอง, การพิจารณาอารมณ์, การปั้นอารมณ์, การฟั้นอารมณ์
    คือการเคล้าอารมณ์ให้เข้าเป็นเนื้อเดียว หรือกลมกลืนราบรื่นไปกับจิตหรือสติ
    หรือก็คือการทำจิตหรือสติให้แน่วแน่เบิกบานหรือยินดี(ปราโมทย์)ในอารมณ์ที่นำมาเป็นเครื่องวิตกนั่นเอง
    จึงไม่ใช่คำว่า " วิจารณ์ " ในทางโลกหรือภาษาไทย อันมีความหมายถึง
    การติชม, การแสดงความคิดเห็น
    ๓. ปีติ ความซาบซ่าน, ความอิ่มเอิบ, ความดื่มด่ำในใจ
    อันยังผลให้รู้สึกสุขสบายทั้งต่อกายและจิต จัดแบ่งออกตามอาการที่ปรากฎมี ๕ คือ
    ๓.๑ ขุททกาปีติ ปีติเล็กน้อยพอขนลุก ขนชัน น้ำตาไหล นํ้าตาคลอ
    หรือนํ้าตาซึม ด้วยความอิ่มเอิบ ด้วยความยินดี
    ๓.๒ ขณิกาปีติ ปีติชั่วขณะรู้สึกแปลบๆ ดุจฟ้าแลบ
    หรือดั่งยุงกัด มดไต่ ไรตอม หรือคล้ายมีประจุอ่อนๆ
    ยุบยิบหรือแปลบๆตามบางส่วนของกายหรือใบหน้า
    ๓.๓ โอกกันติกาปีติ ปีติเป็นระลอก รู้สึกไหลซู่เป็นระยะๆ
    ดุจดั่งคลื่นที่ซัดฝั่งเป็นระลอกๆ เช่น ดั่งรู้สึกขนหัวลุกชันเป็นระลอกๆซู่
    หรือความรู้สึกซู่ซ่ากายเช่นขนลุกขนชันเป็นระลอกๆ (คล้ายดั่งอาการเวลาปวดท้องถ่าย)
    ๓.๔ อุพเพคาปีติ ปีติโลดลอย ใจฟู รู้สึกตัวเบา
    หรือ(รู้สึกราวกับว่า)ตัวลอย เปล่งอุทานเป็นคำพูดต่างๆนาๆออกมาด้วยความอิ่มเอิบ
    ร้องไห้โฮ สะอึกสะอื้น หรือตัวโยก ตัวคลอน กายสั่นเทิ้ม แหงนคอหงาย
    คู้กายควํ่า หรือรู้สึกว่าตามร่างกายหรือศีรษะมีอาการยืด หด ขยาย...พอง ยุบ ฯลฯ.
    ผู้เขียนเรียกปีติแบบนี้ว่า ปีติแบบโลดโผน
    ๓.๕ ผรณาปีติ ปีติซาบซ่าน อิ่มเอิบ ซาบซ่านอาบไปทั่วร่าง
    เย็นซาบซ่าน หรือคล้ายมีมวลประจุอ่อนๆ ลูบไล้ซาบซ่านไปทั่วร่าง
    เป็นองค์ประกอบของสมาธิโดยทั่วๆไป
    บางคนมีปีติที่รุนแรงโลดโผนแบบอุพเพคาปีติ
    เมื่อเกิดขึ้นแล้วทั้งผู้ปฏิบัติและผู้พบเห็นก็เกิดความตกใจหรือกลัวหรืออธิโมกข์เลื่อมใสไปผิดๆ
    หรือเกิดวิจิกิจฉาจนต้องหยุดการปฏิบัติไปก็มี
    แล้วยังร่วมด้วยอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง
    จึงฟุ้งซ่านหรือปรุงแต่งไปต่างๆนาๆทั้งจากเจ้าตัวเอง และผู้พบเห็น
    ทั้งอีกผู้สั่งสอน ดังเช่น ปีติจนกายสั่นเทิ้ม หรืออุทานคำพูดออกมาแบบต่างๆนาๆ
    ก็มักเกิดการเข้าใจผิด, สอนกันผิดๆ, อ้างกันไปผิดๆว่า
    เป็นเจตภูตหรือกายทิพย์กำลังออกจากร่างไปเสียก็มี เป็นผีเข้า เป็นเจ้าทรง
    เป็นองค์ประทับก็มี
    ยิ่งถ้าผู้ปฏิบัติและผู้พบเห็นหรือผู้สอนไปประกอบน้อมเชื่อด้วยอธิโมกข์
    ในที่สุดก็จะรู้สึกและเข้าใจว่าเป็นไปดังนั้นจริงๆอย่างเหนียวแน่นด้วยมายาของจิต
    ด้วยไม่รู้หรืออวิชชา ว่าเป็นเพียงอาการของปีติ อันเป็นฌานวิสัย อันเป็นอจินไตย
    จึงเกิดได้นานารูปแบบตามจริต, การสั่งสม, วิสัยการปฏิบัติของนักปฏิบัติเอง ฯลฯ.
    เป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติอย่างหนึ่งของปีติเองเป็นธรรมดาๆ
    ๔. สุข ความสบาย, ความสำราญ (สุข สบาย, มีความผ่อนคลายและสงบกว่าปีติ
    กล่าวคือ คล้ายปีติที่มีทั้งสุขสบาย
    แต่เด่นชัดทางกายและใจน้อยกว่าและรุนแรงโลดโผนน้อยกว่าปีติ แต่อยู่ยาวนานกว่า)
    ๕. อุเบกขา ความสงบ ความมีใจเป็นกลาง
    ความวางเฉยต่อสังขารสิ่งปรุงแต่งต่างๆ
    ๖. เอกัคคตา ความมีอารมณ์เป็นหนึ่งเดียว คือ
    ความมีจิตแน่วแน่เป็นเอกหรือเป็นสำคัญ
    ฌาน จัดแบ่งออกเป็น ๒ ระดับใหญ่ๆ ด้วยกัน คือ รูปฌาน และอรูปฌาน
     
  5. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    รูปฌาน
    หมายถึงฌานที่ใช้รูปอันหมายถึงสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยอายตนะทั้งหลายเป็นอารมณ์หรือเป็นองค์วิตก
    เช่น คำบริกรรมต่างๆ ลมหายใจ แสง สี วัตถุ เช่น กระดูก ขน ผม ฯลฯ
    ใช้เป็นเครื่องกำหนดหรือเครื่องตรึงจิต หรือกสิณนั่นเอง แบ่งย่อยออกเป็นอีก ๔
    ระดับ เรียกกันว่า ฌาน ๔ คือ
    ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ กล่าวคือ
    เมื่อเกิดปฐมฌานขึ้นย่อมมีองค์ประกอบของฌานอีก ๕ องค์ร่วมด้วย คือ วิตก วิจาร ปีติ
    สุข เอกัคคตา
    ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๓ (ปีติ สุข เอกัคคตา)
    ๓. ตติยฌาน มีองค์ ๒ (สุข เอกัคคตา)
    ๔. จตุตถฌาน มีองค์ ๒ (อุเบกขา เอกัคคตา
    ฌาน ๕ ก็เหมือนอย่าง ฌาน ๔ นั่นเอง แต่ตามแบบอภิธรรม
    ท่านซอยละเอียดออกไป โดยเพิ่มข้อ ๒ แทรกเข้ามา คือ ๑. ปฐมฌาน มีองค์ ๕ (วิตก
    วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ๒. ทุติยฌาน มีองค์ ๔ (วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา) ข้อ
    ๓. ๔. ๕. ตรงกับข้อ ๒. ๓. ๔. ในฌาน ๔ ข้างต้นตามลำดับ
    อรูปฌาน
    หมายถึงฌานที่ใช้สิ่งที่เป็นอรูปธรรมหรือสิ่งที่ไม่มีตัวไม่มีตนคืออรูป
    เป็นเครื่องกำหนดหรือเครื่องอยู่ คือเป็นอารมณ์ แบ่งออกเป็นอีก ๔ ระดับเช่นกัน คือ
    กำหนด อากาศหรือช่องว่าง (อากาสานัญจายตนะ)
    กำหนด วิญญาณ (วิญญานัญจายตนะ)
    กำหนด ความว่างหรือความไม่มีสิ่งใด (อากิญจัญญายตนะ
    หรือสุญญตาก็เรียกกัน)
    กำหนด ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่ คือ
    เลิกกำหนดสัญญาในสิ่งใดๆ (เนวสัญญานาสัญญายตนะ)
    ดังที่กล่าวมาเหล่านี้
    เป็นอาการโดยพื้นฐานของสมาธิและฌานในเบื้องต้นโดยทั่วไป
    แต่เมื่อเป็นวสีคือมีความชำนาญจาการปฏิบัติ ก็ไม่เป็นลำดับดังข้างต้นได้ ขึ้นกับวสี
    และเหล่าจริต สติ สมาธิ และแนวทางปฏิบัติที่ได้สั่งสมนั่นเอง

    รูปฌาน หรือเรียกกันทั่วๆไปว่าฌาน
    จัดแบ่งโดยทั่วไปเป็น ๔ ระดับ จึงมักเรียกกันทั่วไปว่า ฌาน ๔ อันมี
    ๑. ปฐมฌาน ในสภาวะของปฐมฌาน
    ประกอบด้วยความมีใจแน่วแน่หรือตั้งมั่นในสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้แล้วคือสมาธิ
    แล้วยังประกอบด้วยองค์ประกอบของฌานหรือองค์ฌานอีก ๕ องค์ อันมี วิตก วิจาร ปีติ
    สุข เอกัคคตา หมายความว่า ในปฐมฌานนี้มีองค์ฌานทั้ง ๕ ที่กล่าวนี้
    เกิดขึ้นร่วมกับสมาธิที่เป็นองค์หลัก กล่าวคือ มีองค์ฌานทั้ง ๕
    เกิดขึ้นทำหน้าที่หรือทำงานอยู่เป็นองค์ประกอบหรือส่วนประกอบที่สำคัญร่วมด้วย
    เพียงแต่จะเห็นความเด่นชัดแรงเข้มขององค์ฌานต่างๆมีแตกต่างกันไป เช่นในปฐมฌาน
    จะเห็น วิตก วิจาร และปีติ ได้เด่นชัดกว่า สุข และ เอกัคคตา
    อันละเอียดอ่อนถูกบดบังอยู่ด้วยองค์วิตก วิจาร และปีติ
    แต่ก็เกิดขึ้นแล้วในขณะนั้นๆเช่นกัน
    ๒. ทุติยฌาน ในสภาวะของทุติยฌาน หรือฌาน ๒
    ประกอบด้วยจิตเป็นสมาธิและองค์ฌาน ๓ องค์ มี ปีติ สุข เอกัคคตา
    สภาวะขององค์ฌานที่แรงเข้มจนเด่นชัดในฌาน ๒ ก็คือปีติ
    ๓. ตติยฌาน ในสภาวะของตติยฌาน หรือฌาน ๓ ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒ องค์ มี
    สุข เอกัคคตา สภาวะองค์ฌานที่เด่นชัดคือสุข
    ๔. จตุตถฌาน ในสภาวะของจตุตถฌาน หรือฌาน ๔ ประกอบด้วยองค์ฌาน ๒
    องค์เหมือนตติยฌานหรือฌาน ๓ อันมี เอกัคคตา และอุเบกขา
    สภาวะองค์ฌานที่เด่นชัดคือเอกัคคตา จิตอันแน่วแน่เป็นหนึ่งเดียวของจิต
    จึงเป็นเหตุให้เกิดผลคืออุเบกขาความวางเฉยตามมาเอง
    ก็อันเนื่องจากจิตแน่วแน่เป็นเอก(เอกัคคตา)จึงย่อมระงับการฟุ้งซ่านสอดแส่ไปในสิ่งอื่นโดยสิ้นเชิง
    จึงเป็นกลางหรืออุเบกขาวางเฉยต่อสังขารทั้งปวง
    เกิดตามร่วมขึ้นมาด้วยโดยธรรมหรือธรรมชาติ
    ด้วยความเป็นไปตามหลักเหตุปัจจัยคือปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง
    อาการขององค์ฌานต่างๆในฌาน ดังเช่น
    ปีติและสุขอันเป็นองค์ประกอบของฌานนั้นคล้ายคลึงกัน
    จนยากต่อการสื่อเป็นภาษาเพื่อแสดงความหมายหรือความรู้สึกอย่างตรงๆแทบไม่ได้
    ตามปกติแล้วเป็นอาการปัจจัตตัง
    แต่จะพยายามสื่อหรือยกตัวอย่างให้พอเห็นพอให้เข้าใจได้บ้างพอสังเขป ดังนี้
    ดังเช่น
    เมื่อได้มาพบกันโดยบังเอิญกับบุคคลอันเป็นที่รักใคร่ชอบพออย่างมากหรือเป็นที่เคารพนับถืออย่างมากที่ไม่ได้เจอะเจอกันเป็นเวลานานและมีความคิดถึงด้วยความรักเอาการอยู่
    ดังนั้นเมื่อเกิดมาประสบพบกัน อาการที่เกิดขึ้นเมื่อไปพบกันเข้าในขณะจิตแรกๆนั้น
    จะเกิดอาการทางโลกๆที่เรียกกันว่าความยินดี คือ มีความรู้สึกอิ่มเอิบและเป็นสุข
    จนบางครั้งนํ้าตาซึมหรือนํ้าตาไหลเอิบอาบ(คืออาการขุททกาปีติ)
    และอาจประกอบด้วยการอุทานทักทายกันลั่นด้วยอาการลิงโลดยินดี
    เหล่านั้นเป็นอาการปีติหรือความอิ่มเอิบใจ ซาบซ่านใจ,
    หลังจากนั้นสักพักแล้วจิตก็ย่อมคลายอาการของความอิ่มเอิบลิงโลดยินดีอันรุนแรงหรือปีติดังกล่าวลงโดยธรรมหรือธรรมชาติ
    กล่าวคือย่อมเกิดอาการผ่อนคลายขึ้น ปีติแผ่วเบาลงจนดับไปคือปัสสัทธิ,
    แล้วจึงเริ่มการสนทนาปราศัย คือทักทาย พูดคุย หรือถามไถ่ในสารทุกข์สุขดิบ
    อันย่อมประกอบด้วยอาการของความสุข ความสบายใจที่ได้มาพบกัน
    แต่อาการแผ่วเบากว่าปีติข้างต้น เหล่านี้คืออาการของสุขนั่นเอง
    ถ้าพิจารณาโดยแยบคายจริงๆคือการโยนิโสมนสิการต่อไป
    ก็จะพบว่าจิตขณะนั้นก็ประกอบด้วยเอกัคคตาด้วย กล่าวคือ
    มีจิตที่ค่อนข้างแน่วแน่หรือจดจ่อเป็นเอกอยู่กับบุคคลนั้น
    ไม่สนใจหรือให้ความสนใจน้อยลงในบุคคลหรือแม้สิ่งอื่นๆรอบข้าง
    บุคคลนั้นจึงเป็นเอกหรือธรรมเอก ส่วนบุคคลอื่นๆรอบข้างหรือสิ่งอื่นในชั่วขณะนั้น
    เป็นเพียงฉากหรือองค์ประกอบย่อยๆเท่านั้น
    เมื่อพิจารณาต่อไปให้ดีโดยแยบคายก็จะพบความจริงว่า ในขณะแรกที่ประสบพบกันนั้น
    บุคคลอันเป็นที่รักที่คิดถึงนั้นได้ทำหน้าที่เป็นอารมณ์หรือองค์ฌานวิตกโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง
    กล่าวคือ เป็นที่กำหนดหรือเป็นที่ยึดหมายของจิตในขณะนั้นเพียงแต่เป็นไปโดยไม่รู้ตัว

    และจิตขณะนั้นก็ได้มีการวิจารเคล้าแนบแน่นกลมกลืนลื่นไหลด้วยความสบายใจไปกับการวิตกในบุคคลคนนั้นด้วยความยินดีแล้วนั่นเอง
    จึงสอดส่ายไปในสิ่งต่างๆน้อยลงโดยไม่รู้ตัว จึงยังให้เกิดองค์ฌานต่างๆขึ้นคือ สุข
    เอกัคคตา โดยอาการของธรรมหรือโดยธรรมชาติที่เป็นเช่นนี้เอง เป็นธรรมดา
    จริงๆแล้วอาการดังกล่าวข้างต้น
    จึงเป็นอาการของฌานที่เกิดโดยธรรมชาติของชีวิตนั่นเอง
    เพียงแต่ไม่รู้ด้วยอวิชชาเพียงเพราะไม่ได้เล่าเรียนรู้มา
    และเพียงแต่ไม่แรงเข้มเด่นชัดดังในขณะปฏิบัติพระกรรมฐานที่มีจิตแน่วแน่เป็นสมาธิกว่า
    และตั้งใจจดจ่ออย่างแน่วแน่เป็นเอก
    จึงมีกำลังเพราะไม่ซัดส่ายสอดแส่ไปภายนอกจึงย่อมสังเกตุเห็นอาการต่างๆที่เกิดขึ้นและเป็นไปได้เด่นชัดมากกว่า
    จึงแรงเข้มจนเด่นชัดขึ้นกว่าในสภาวธรรมทั่วไปตามธรรมดา
    แต่ความจริงยิ่งแล้วก็เหมือนกันทุกประการ และประกอบครบด้วยองค์ฌานทั้ง ๕ คือ วิตก
    วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ดังแสดงข้างต้น จึงควรเข้าใจว่าเป็นเรื่องธรรมชาติ
    ก็เพื่อที่ไม่ไปยึดติดยึดถือด้วยอธิโมกข์ หรือตามความเชื่อผิดๆ(มิจฉาทิฏฐิ)
    หรือตามการปรุงแต่งต่างๆนาๆด้วยความเข้าใจอย่างผิดๆด้วยอวิชชาสืบๆกันต่อมา
    สมาธิหรือฌานแม้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนา
    แต่ต้องขาดเสียซึ่งการติดเพลินหรือติดใจอยาก(นันทิ)แม้ที่เกิดจากความไม่รู้หรืองมงาย
    จึงปฏิบัติจนไปติดเพลิน กล่าวคือ
    ต้องเป็นการปฏิบัติเพื่อให้ใจสงบก็เพื่อนำไปใช้ให้เป็นบาทเป็นฐานหรือเป็นเครื่องเกื้อหนุน
    เป็นกำลังไปในการเจริญปัญญาหรือวิปัสสนา เพื่อการดับไปแห่งทุกข์นั่นเอง
    จึงจักถือว่าเป็นสัมมาสมาธิในทางพุทธศาสนา
    แต่ถ้าเป็นไปโดยอาการของการติดเพลินในความสุข สงบ สบาย หรือเพื่ออิทธิฤทธิ์
    เพื่อประโยชน์ในทางโลก ลาภ ยศ ชื่อเสียง สรรเสริญ
    ก็จัดว่าเป็นมิจฉาฌานสมาธิทั้งสิ้น อันยังโทษให้ในภายหลังโดยไม่รู้ตัว
    ต้องพิจารณาโดยแยบคายเพราะมักแอบแฝงอยู่ในจิตในรูปของการปฏิบัติดีปฏิบัติชอบนั่นเอง
    กล่าวคือเป็นไปโดยไม่รู้ตัว, มิจฉาสมาธิและมิจฉาญาณมักแสดงอาการของการติดสุข
    ด้วยอาการจิตส่งในไปเสพรสความสุข หรือแม้ทุกข์ที่จรมา
    นักปฏิบัติมักยึดติดครูบาอาจารย์ด้วยกริยาจิตของฌานสมาธิดังนี้เช่นกัน
    กล่าวคือเมื่อไปหาครูบาอาจารย์หาได้สนใจในธรรมหรือคำสอนอย่างจริงจังให้เกิดปัญญาขึ้นไม่
    กล่าวคือไม่ได้นำธรรมหรือคำสอนนั้นๆมาเป็นวิตกหรือเครื่องพิจารณาเลย
    กลับไปคอยยึดในตัวครูบาอาจารย์เป็นวิตก
    และวิจารเคล้าจิตไปในตัวอาจารย์ด้วยความอิ่มเอิบยินดีด้วยหวังในบุญในกุศลหรือด้วยศรัทธาที่มักเป็นอธิโมกข์โดยไม่รู้ตัว
    เมื่ออยู่ใกล้ครูบาอาจารย์แล้วจึงรู้สึกสุขสงบสบาย
    ปลอดจากทุกข์ด้วยอำนาจของฌานนั่นเองที่เกิดขึ้นจากระงับไปของนิวรณ์ ในขณะนั้น
    และเป็นไปดังนี้โดยไม่รู้ และไม่รู้ตัวสักนิด จึงไม่เกิดประโยชน์อันควร
    และมักยังให้เกิดอธิโมกข์ อันเป็นวิปัสสนูปกิเลส
    ยึดมั่นแต่ในครูบาอาจารย์แต่อย่างงมงายขาดเหตุผล ไม่ประกอบด้วยปัญญา
    ไม่เป็นไปตามหลักกาลามสูตร
    ฌาน เมื่อปฏิบัติจนเป็นสังขารที่สั่งสมอย่างดีแล้ว คือเป็นวสี
    มีความชำนาญขึ้น ก็สามารถทำให้เกิดขึ้นได้แม้ในวิถีจิตปกติในขณะดำเนินชีวิต
    เป็นไปคล้ายในลักษณะอาการที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติที่กล่าวข้างต้น
    ที่เกิดในวิถีจิตชีวิตปกติธรรมดา จึงมักก่อปัญหาแก่ผู้ติดเพลินกล่าวคือ
    เสพเพลินอยู่ตลอดเวลาไป แม้ในวิถีจิตจนเกิดการติดเพลินอย่างรุนแรง
    คือเมื่อไม่สามารถทรงอยู่ได้เพราะเป็นเพียงสังขารอย่างหนึ่ง
    หรือเลื่อนไหลซัดส่ายจากการผัสสะใดๆก็ดี ย่อมเกิดความไม่สบายกาย
    ไม่สบายใจอย่างรุนปรงขึ้น
    สภาวะของฌาน
     
  6. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    มื่อจะเริ่มปฏิบัตินั้น
    ต้องตกลงใจเลือกสิ่งที่จะเป็นอารมณ์เพื่อเป็นเครื่องวิตกคือไว้ตรึงจิต อันหมายถึง
    สิ่ง หรืออุบายวิธีที่จะให้เป็นที่ยึดเหนี่ยว,ที่กำหนด หรือเป็นที่อยู่
    หรือเครื่องอยู่ของจิตเสียก่อน ดังเช่นอาจเป็น ลมหายใจ, คำบริกรรมต่างๆดังเช่น
    พุทโธ สัมมาอรหัง อัฐิ(กระดูก) ผม ขน บทสวดมนต์ต่างๆ ฯลฯ,
    การเพ่ง(กสิณ)ในวัตถุใดเป็นอารมณ์
    หรือจับหรือน้อมมโนภาพไปในส่วนใดส่วนหนึ่งของกายหรือภายในกาย,
    การเพ่งอยู่ที่อิริยาบถการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างสมํ่าเสมอ ซํ้าซ้อนเป็นอารมณ์
    ดังเช่น กระบังลม(ท้อง)ที่หายใจเข้าออก และอาจมีการบริกรรมสำทับไปด้วยอีกก็ได้เช่น
    ยุบหนอ พองหนอ, การกำหนดจิตอยู่กับการเคลื่อนไหวของมือ ของนิ้ว
    หรือการเคลื่อนไหวอวัยวะส่วนต่างๆ
    โดยมักเคลื่อนไหวอย่างเป็นจังหวะซ้ำ้ซ้อนต่อเนื่อง, การเดินจงกรม
    อย่างมีกริยาจิตติดตามหรือจดจ่อในท่วงท่า
    หรือการร่ายรำมวยจีนที่ย่อมมีกริยาจิตติดตามท่วงท่าหรือการร่ายรำ,
    การกำหนดจิตอยู่กับการร้องเพลงหรือสวดมนต์ อาจพร้อมการเคลื่อนไหวโยกตัว ฯลฯ.
    สิ่งต่างๆดังที่กล่าวนี้ จึงล้วนทำหน้าที่เป็นอารมณ์
    ดังนั้นจะเห็นได้ว่าการทำสมาธิหรือฌานนั้นสามารถกระทำได้ในทุกอริยบถนั่นเอง
    ไม่ใช่ต้องนั่งนิ่งๆหลับตาแต่อย่างเดียวเพราะขึ้นอยู่กับจิตเป็นสำคัญ
    ดังนั้นการเลือกอารมณ์ใดๆมาเป็นเครื่องวิตก จึงขึ้นอยู่กับจริต, ศรัทธา, ผู้สอน
    การฝึกฝนและประสบการณ์ของนักปฏิบัติเองเป็นสำคัญ
    และบางอย่างก็อาจเหมาะหรือให้ผลเลิศกับนักปฏิบัติคนหนึ่ง
    แต่ก็อาจไม่เหมาะกับอีกบุคคลหนึ่งก็เป็นไปได้ ด้วยเหตุดังนี้นี่เอง
    แม้กระทั่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงได้ทรงบัญญัติบันทึกในพระไตรปิฎกไว้ถึง
    ๔๐ แบบด้วยกัน เรียกกันว่า กรรมฐาน ๔๐ ไว้ในเลือกปฏิบัติ,
    แต่ในปัจจุบันนี้ได้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกมากมายตามแต่สำนักปฏิบัติหรือผู้สอนต่างๆ
    ที่พากันบัญญัติขึ้นมาใหม่ๆ
    แต่มักเป็นไปโดยไม่รู้เหตุผลอย่างแจ่มแจ้งเพราะมักมาจากการสังเกตุ,การทดลอง,การถ่ายทอดหรือความเชื่อบางประการ,
    เมื่อหลากหลาย เมื่อปฏิบัติไป นักปฏิบัติจึงพากันกังวลแอบเกิดวิจิกิจฉาขึ้นว่า
    ที่ปฏิบัติมาถูกหรือผิด?
    ควรใช้อะไรเป็นอารมณ์หรือเครื่องกำหนด,เครื่องอยู่หรือเครื่องล่อจิตกันแน่?,
    อาจารย์คนนี้สอนดีกว่า?, อาจารย์คนไหนอะไรดีกว่า?, ตามตำราหรือคัมภีร์หรือไม่?,
    แบบใดจึงจะให้ผลดีกว่ากัน?.....ฯลฯ.
    พึงเข้าใจว่า การใช่สิ่งใดเป็นอารมณ์ในการวิตกนั้น
    สิ่งเหล่านั้นทั้งปวงความจริงแล้วล้วนเป็นเพียงอุบาย อันเป็นคำบาลีที่หมายถึงวิธี
    กล่าวคือต่างล้วนเป็นเพียงอุบาย ให้จิตมีที่ยึดเหนี่ยว
    กล่าวคือมีที่อยู่อันเหมาะอันควรทั้งสิ้น ก็เพื่อจิตจักไม่ซัดส่าย สอดแส่
    คือฟุ้งซ่านออกไปผัสสะปรุงแต่งต่อสิ่งต่างๆทั้งภายนอกและภายในเอง
    ก็เพื่อที่จิตจะได้รวมเป็นหนึ่งหรือเป็นธรรมเอกกับในสิ่งหรืออารมณ์ที่ใช้เป็นเครื่องวิตก
    คือแน่วแน่เป็นสมาธิเบื้องต้นเสียก่อน
    ดังนั้นจึงไม่ควรวิจิกิจฉาหรือปรุงแต่งไปกังวลจนเสียการแต่อย่างใด
    เหตุเพราะความกังวลสงสัยหรือวิจิกิจฉาเป็น ๑ ในนิวรณ์ ๕ นั้น
    ซึ่งเป็นธรรมที่เป็นปฏิปักษ์กับฌานสมาธิโดยตรงตามธรรมหรือโดยธรรมชาติ
    กล่าวคือเมื่อมีนิวรณ์ ๕ ใดเกิดขึ้น
    ฌานหรือสมาธิก็ไม่อาจสำเร็จผลได้เพราะความเป็นเหตุเป็นปัจจัยคือปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง
    คือจิตซัดส่ายไปปรุงแต่งจนเกิดเวทนาต่างๆนาๆขึ้น
    จึงย่อมรวมเป็นสมาธิไม่ได้เป็นธรรมดา, ส่วนเมื่อเกิดฌานสมาธิแล้ว นิวรณ์ ๕
    ก็ไม่สามารถเข้าครอบงำได้ในขณะนั้น ด้วยความเป็นปฏิปักษ์กันโดยธรรมดังกล่าว,
    แต่ในการปฏิบัติบางอย่าง ก็มีการใช้อารมณ์บางอย่างเป็นวิตกหรือกสิณ
    ที่มีจุดประสงค์เพื่อต้องการเห็น,ให้เข้าใจในบางอย่างให้กระจ่างชัดตามความจริง
    ก็เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความยึดคลายความอยากจากการไปรู้ความจริงในสิ่งที่นำมาวิตกนั้น
    ดังเช่น อสุภ(ศพ) กระดูก ผม ขน ฯลฯ.
    ก็พึงใช้สิ่งนั้นๆเป็นเครื่องกำหนดหรือเครื่องอยู่โดยการใช้เป็นคำบริกรรมหรือกสิณได้
    ก็เพื่อให้จิตได้ไปยึดเหนี่ยวหรือกำหนดในสิ่งนั้นๆได้อย่างเหนียวแน่นหรือแนบแน่นนั่นเอง

    ดังนั้นเมื่อเลือกได้อารมณ์เป็นเครื่องวิตกหรือเครื่องอยู่หรือเครื่องกำหนดแล้ว
    ก็พึงปฏิบัติแบบสมาธิโดยทั่วไป คือมีสติอยู่กับคำบริกรรมเป็นต้น กล่าวคือ วิตก
    หมายถึงการยกจิตหรือสติตรึงกับสิ่งที่ยึดเป็นอารมณ์นั่นเอง
    หรือก็คือมีสติอยู่กับอารมณ์เช่นคำบริกรรม"พุทโธ" และวิจาร
    คือการเฟ้นหรือเคล้าให้จิตหรือสตินั้นเข้ากลมกลืนลื่นไหลไปกับอารมณ์นั้นๆได้เป็นอย่างดีหรือแนบแน่นหรือกลมกลืน
    เพื่อให้เกิดสมาธินั่นเอง, เมื่อ วิตก วิจาร อยู่ในหน้าที่ได้อย่างดีแล้ว
    ย่อมหมายถึงจิตย่อมสอดส่ายออกไปปรุงแต่งต่ออารมณ์หรือสิ่งต่างๆน้อยลง
    จิตจึงอยู่แต่กับสิ่งที่วิตกตั้งไว้เป็นอารมณ์เป็นส่วนใหญ่
    อันคือช่วงของสมาธิในระดับขณิกสมาธินั่นเอง
    เมื่อจิตดำเนินต่อไปได้จนเป็นสมาธิแน่วแน่เป็นลำดับในวิตกนั้นๆได้ในที่สุดแล้ว
    นิวรณ์ ๕
    อันเป็นทุกข์จึงย่อมถูกระงับไปด้วยหลักเหตุและผลหรือหลักปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง
    เพราะการที่จิตแน่วแน่ย่อมไม่ซัดส่ายไปปรุงแต่งให้เกิดการกระทบกับกิเลสของนิวรณ์ทั้ง
    ๕ นั่นเอง และองค์ฌานอื่นๆที่เหลือก็จะสำเร็จขึ้นโดยธรรมหรือธรรมชาติ
    กล่าวคือเกิดขึ้นเองตามสภาวธรรมหรือโดยธรรมชาติ
    อันเป็นเหตุเนื่องมาจากจิตเป็นสมาธินั่นเอง มิได้เกิดแต่บุญหรือกุศลแต่อย่างใด
    แต่เป็นไปเพราะทำเหตุถูกต้อง จึงเป็นปัจจัยให้เกิดผลขึ้นอย่างนี้เป็นธรรมดา
    เป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบันธรรมนั่นเอง, จึงเกิดองค์ฌานต่างๆขึ้นอันมี ปีติ คือ
    ความอิ่มเอิบ ความซาบซ่าน, สุข คือ ความสุข ความสบาย, และเอกัคคตา
    คือความมีจิตแน่วแน่แต่ก็ยังไม่เป็นหนึ่งเดียวบริบูรณ์ถึงขีดสุดเพราะยังประกอบด้วยองค์ฌานอื่นๆดังที่กล่าวนั้นก็ยังคงมีอยู่
    แต่ความรู้สึกจะเด่นชัดออกไปทางปีติ และแม้การวิตก วิจารก็ยังคงมีอยู่
    ตามความจริงนั้นจึงครบองค์ทั้ง ๕ แล้ว อันประกอบด้วย วิตก วิจาร ปีติ สุข
    เอกัคคตา อันคือครบองค์ประกอบของปฐมฌาน คือประกอบด้วยสมาธิและองค์ฌานทั้ง ๕,
    เพียงแต่ว่า สุข และเอกัคคตาอันเป็นของละเอียดอ่อนเบาบางอันประณีตกว่านั้น
    ถูกบดบังอยู่ด้วยกำลังของวิตก วิจาร และโดยเฉพาะปีติ ที่แรงเข้มเด่นชัดกว่า
    และปีติอันย่อมจะปรากฏอาการต่างๆได้อย่างหลากหลายตามวิสัยของนักปฏิบัติเป็นเหตุปัจจัย
    ดังตัวอย่างในปีติที่กล่าวข้างต้นมาแล้ว
    ปฐมฌาน
    ปฐมฌาน นี้เองที่มีคุณประโยชน์ในการปฏิบัติวิปัสสนาโดยตรงที่สุดในฌานทั้ง
    ๔ เพราะ ณ ขณะปัจจุบันจิตนี้ ครบองค์ฌานทั้ง ๕ อยู่
    กล่าวคือสติก็ยังบริบูรณ์อยู่เพราะยังทำหน้าที่ วิตก วิจาร ในอารมณ์นั้นๆได้อยู่
    ส่วนองค์ฌานอื่นๆก็อำนวยประโยชน์ให้เกิดความสงบ สบาย ไม่ซัดส่าย ไม่สอดแส่
    อันเนื่องจาการระงับไปชั่วคราวของนิวรณ์ ๕ จึงเป็นกำลังของจิตอันดีเลิศ,
    ดังนั้นเมื่อเข้าปฐมฌานแล้วก็อาจพึงวางการ วิตก วิจาร ในอารมณ์เหล่านั้น
    แล้วเลือกเฟ้นธรรมอันถูกต้องดีงามขึ้นมาพิจารณา กล่าวคือเป็นการดำเนินการ วิตก
    วิจาร ในข้อธรรมนั่นเอง ดังเช่น ปฏิจจสมุปบาท พระไตรลักษณ์ อริยสัจ ขันธ์๕
    อิทัปปัจจยตา ฯลฯ อนึ่งธรรมนั้นต้องถูกต้องดีงามด้วย
    ในบางท่านที่ชำนาญจนเป็นวสีอาจเข้าฌานจนครบฌานทั้ง ๔
    แต่ในที่สุดเมื่อจะปฏิบัติวิปัสสนาก็ต้องถอนออกมาจากความสงบสบายเหล่านั้น
    มาอยู่ในระดับไม่สูงกว่าปฐมฌานนี้อีกครั้ง หรือสมาธิก็ระดับขณิกสมาธิ
    อันย่อมพร้อมด้วยกำลังของจิตอันดีเลิศ
    อันเกิดแต่สมาธิหรือฌานต่างๆในระดับประณีตพร้อมทั้งสติอันแน่วแน่และมีกำลัง
    กลับมาในการดำเนินวิปัสสนาต่อไป,
    หรือก็คือการยกเอาข้อธรรมมาพิจารณาเป็นอารมณ์หรือวิตกอีกครั้งหนึ่ง
    แล้ววิตกวิจารในธรรมนั้นๆอย่างใช้ปัญญาหาเหตุหาผล
    แทนคำบริกรรมหรือวิตกเดิมในปฐมฌานนั่นเอง
    ทุติยฌาน
    ทุติยฌาน ถ้าไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนา
    หรือต้องการฌานที่สูงประณีตขึ้นไปเป็นลำดับกว่านี้ เมื่ออยู่ในปฐมฌานแล้ว
    จิตไม่กวัดแกว่งสอดส่ายไป หรือไม่จดจ่อจนยึดติดในสิ่งใดที่เกิดขึ้น เช่น ในวิตก
    วิจาร หรือปีติ เมื่อประคองจิตให้อยู่ในความสงบได้ จิตก็จะเลื่อนไปสู่ฌานที่ ๒
    หรือทุติยฌานอันเป็นไปตามกระแสสภาวธรรม คือเกิดการผ่อนคลายจึงปล่อยวางในองค์วิตก
    วิจาร จึงคงเหลือเพียงองค์ ๓ กล่าวคือการวิตก,วิจารจะเลือนหรือหายไปเอง
    ดังนั้นคำบริกรรมหรืออารมณ์อันที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวหรือที่ตรึงของจิตนั้นจึงหยุดไปเอง
    คงเหลือแต่องค์ฌาน ปีติ สุข เอกัคคตารมณ์,
    อันมีองค์ฌานปีติแรงเข้มเด่นชัดที่สุด อันมักเป็นผรณาปีติ อันอิ่มเอิบ ซาบซ่าน
    หรืออาจปรากฏปีติอาการต่างๆหลากหลายตามฌานวิสัยของนักปฏิบัติอันเป็นอจินไตย
    ดังตัวอย่างอันหลากหลายในปีติ ข้อ๓ข้างต้น จิต ณ บัดนี้ทิ้งการวิตก วิจารเอง
    จึงไม่มีการวิตก,วิจารหรือคำบริกรรมใดๆอีก อันเป็นสุขที่ประณีตขึ้น
    อันเกิดแต่ปีติอย่างเด่นชัด
    ขอให้โยนิโสมนสิการด้วยว่าตั้งแต่ทุติยฌานไป สตินั้นได้เริ่มผ่อนคลายออก
    จิตอยู่กับสภาวะของฌานอย่างค่อนข้างบริบูรณ์
    คำบริกรรมที่ต้องอาศัยการวิตก,วิจารที่ต้องใช้สติเป็นเครื่องเอื้ออำนวยหรือเครื่องตรึงไว้จึงหายไป
    หรือสตินั้นได้ผ่อนคลายไปแล้วเหมือนกับคำบริกรรมนั่นเอง
    มีสติแต่การปฏิบัติอย่างแน่วแน่ แต่อย่างเดียว
    จึงทำให้ไม่สามารถเจริญวิปัสสนาอันละเอียดอ่อนเป็นที่สุดได้
    เพราะการเจริญวิปัสสนาหรือการเจริญปัญญานั่นเอง
    ต้องใช้ปัญญาที่มีสติเป็นผู้ช่วยคอยกำกับ ดังนั้นตั้งแต่ฌาน๒ไป
    จึงมีประโยชน์ในแง่เป็นเครื่องอยู่ให้เป็นสุข หรือพักผ่อน สร้างสมพลังของจิต
    อันเกิดแต่ความอิ่มเอิบ สุขสบาย
    ประณีตอย่างดียิ่ง(ถ้าไม่ไปประกอบด้วยการยึดติดคือติดเพลินในปีติ ความสุข ความสบาย
    หรือความสงบ จนกลายเป็นสังขารกิเลสในวงจรปฏิจจสมุปบาทอันเป็นโทษ
    ตามที่เขียนกล่าวอยู่เสมอๆ)
    จึงใช้เป็นเครื่องสนับสนุนต่อการวิปัสสนาหรือการใช้ปัญญาได้ดียิ่ง
    ดังเช่นเมื่อพิจารณาธรรมใดแล้วแล้วเกิดความรู้ความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้ง
    ฌานระดับสูงเหล่านั้นก็เป็นเครื่องสนับสนุนได้อย่างหลายรูปแบบ เช่น เป็นกำลังของจิต
    หรืออาจจะแสดงนิมิตที่ยังประโยชน์ต่อการวิปัสสนาคือ
    ยังให้เกิดภาพหรือความเข้าใจจนเกิดนิพพิทาต่างๆ อย่างมั่นคงหนักแน่น
    ดังนั้นนิมิตอย่างนี้จึงยังประโยชน์ แต่นิมิตโดยทั่วๆไปแล้วขอให้จำไว้ว่าให้โทษ
    ถ้าไปยึดไปอยากไปชอบไปติดเพลินในนิมิตนั้นๆ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าเกิดนิมิตแล้วไปยึดหรือคิดปรุงแล้วน้อมเชื่อไปในทางเป็นบุญเป็นกุศลเป็นฤทธิ์เป็นเดช
    แล้วนำไปใช้ประโยชน์ในทางโลกๆ ขอให้รู้ตามความเป็นจริงว่าเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    บุญกุศลนั้นจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงได้ก็ต่อเมื่อไม่ยึดติดหรือติดเพลินในนิมิตเหล่านั้น
    แล้วสามารถดำเนินไปในวิปัสสนาอันยังให้เกิดปัญญาจึงเป็นการปฏิบัติที่ยังให้เกิดบุญกุศลอันยิ่งใหญ่ที่สุดและลัดสั้นตัดตรงที่สุดแล้ว
    ตติยฌาน
    ตติยฌาน หรือเรียกกันว่าฌาน๓ เมื่อยังประคองจิตอยู่ในฌานได้อยู่ต่อมา
    ไม่ซัดส่ายออกไป และไม่จดจ่อเสพรสในปีติที่เกิดขึ้น จิตก็จะทิ้งปีติ
    จิตก็จะผ่อนคลายละเอียดประณีตขึ้นไปอีก กล่าวคือเลื่อนไปสู่ฌานที่๓
    ปีติอันเด่นชัดในฌานที่๒ก็หายไป เหลือองค์ฌานเพียงแค่ ๒ คือ สุข และ เอกัคคตา
    อันมีสุขปรากฎเด่นชัดขึ้นมาในความรู้สึกรับรู้(เวทนา)แทน
    เอกัคคตาอันเป็นหนึ่งเดียวนั้นก็มีอยู่ แต่ยังไม่บริบูรณ์
    เพราะยังมีองค์ฌานสุขนั้นแทรกซ้อนอยู่จึงยังไม่เป็นหนึ่งเดียวโดยบริบูรณ์
    และเอกัคคตาเป็นของละเอียดแม้เกิดขึ้นแล้ว แต่ถูกสุขอันแรงเข้มเด่นชัดกว่าบดบังไว้
    ในสภาวะนี้จึงมีความสุข ความสบาย ความสำราญ อันประณีตขึ้นไปอีกลำดับหนึ่งเป็นสำคัญ
    นิมิตและภวังค์ สิ่งที่ต้องผ่าน
    ขณะที่ปฏิบัติสมถะหรือฌานผ่านมาถึงจุดนี้ กล่าวคือตั้งแต่เริ่มเป็นสมาธิ
    และในฌานที่๒ และ ๓ ถ้ายังไม่มีสติที่สั่งสมจากการปฏิบัติอย่างถูกต้อง
    มักเกิดปรากฎการณ์ธรรมชาติ(สภาวธรรม)หลายๆอย่างขึ้น เช่น ภวังค์บ้าง
    นิมิตบ้างขึ้นเป็นธรรมดา ดังเช่น นิมิตต่างๆ เช่น รูปนิมิต-การเห็นเป็นภาพ
    หรือโอภาส-แสง,สีอันวิจิตรพิศดารต่างๆขึ้นอันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นปัจจัย
    หรือเสียงนิมิต-การได้ยินเป็นเสียงอันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติ
    หรือนามนิมิต-เป็นข้อคิด,ความคิดที่ผุดขึ้นในใจ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติ
    สิ่งเหล่านี้เองที่นักปฏิบัติจะรู้สึกอัศจรรย์ จึงพากันไปติดเพลิน ตื่นตา
    ตื่นใจ แล้วยึดติด ยึดถือ
    การเกิดของนิมิตและภวังค์เหล่านี้เป็นเรื่องธรรมดาที่ควรพึงรู้
    จะได้ไม่ไปหลงยึดติด,ยึดถือว่าเป็นสิ่งวิเศษจนเกินจริง
    อันย่อมเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนผิดอยู่
    ที่จะนำไปสู่การปรุงแต่งจนหลงผิดไปต่างๆนาๆ
    นิมิตและภวังค์ที่ปรากฎขึ้นนี้เป็นเรื่องปกติตามธรรมชาติ
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะปฏิบัติใหม่ๆ เกิดได้กับคนทุกชาติ,ศาสนา,ภาษา,เพศ,วัย ฯ
    นิมิตที่เกิดนี้นักปฏิบัติย่อมไม่มีประสบการณ์มาก่อนเลยในชีวิตหรืออวิชชาอันมีโดยการเกิดนั่นเอง

    จึงย่อมพิศวงในความรู้สึกสุขสบายตลอดจนเคลิบเคลิ้มจากอำนาจของภวังค์ที่เสมือนจริงหรืออัศจรรย์
    วิจิตรพิศดารเสียจนนักปฏิบัติที่ไม่รู้ตามความเป็นจริงมาก่อนจะไปน้อมเชื่อ หลงเชื่อ
    หลงยึด ติดเพลิน อย่างง่ายดายและงมงายอย่างอธิโมกข์
    โดยเฉพาะในผู้ที่มีความรู้สึกอยากเห็นภาพอดีต อนาคตต่างๆ
    หรือผู้ที่ผ่านการฝึกน้อมนึกให้เห็นภาพต่างๆ หรือฝึกอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต
    จึงพึงจดจำไว้ว่าโดยทั่วไปแล้ว ภาพหรือนิมิตที่เห็นนั้น เห็นจริง
    แต่สิ่งที่ถูกเห็นนั้นไม่จริง จึงอย่าพึงไปยึดติดหรือติดเพลิน ให้ปล่อยวางเสีย
    อย่าติดตาม,อยากดู,อยากรู้,อยากเห็นไป ให้กลับมาอยู่กับจิตหรือก็คือสตินั่นเอง
    หรือที่บางท่านเรียกว่าผู้รู้, ธาตุรู้ ฯ.ดังเดิม
    กล่าวคือกลับมาอยู่กับสติคือในฐานที่กำหนดเดิม
    และเช่นกัน ในระยะนี้เอง จิตอาจมีอาการเคลิบเคลิ้มลงภวังค์บ้างเป็นระยะ
    อาจลงภวังค์แบบมีความรู้สึกว่า วูบๆวาบๆ ที่รู้สึกราวกับทิ้งดิ่งคล้ายตกเหว
    หรือรู้สึกราวกับว่าวูบตกจากที่สูง แล้วก็รู้สึกตัววาบกลับมา
    กล่าวคือเมื่อบริกรรมหรือทำอะไรอยู่ก็จะรู้สึกวูบเลือนหายไป
    แล้วมีสติวาบกลับมาสู่สภาพเดิม อันเป็นอาการที่เรียกว่าภวังคบาต (ภวังค์ -
    เรียกขณะจิตที่ จิตหยุดการรับรู้ในทวารทั้ง ๖ จากอำนาจของภวังค์โดยธรรมชาติ),
    ภวังคบาตดังนี้อาจเกิดขึ้นเป็นระยะๆ (หรือเคลิบเคลิ้มจนลงภวังค์ลึก หลับไปเลยก็ได้)
    ที่เรียกกันบ้างว่าตกภวังค์ หรืออาจเห็นภาพนิมิต และย่อมประกอบไปด้วยความรู้สึกที่
    สงบ สบาย สภาวะของจิตในขณะนี้จึงเป็นสภาวะที่อ่อนไหวเป็นที่สุด
    บางครั้งนักปฏิบัติที่เข้าใจในธรรมอย่างถูกต้องจากการใช้ปัญญาพิจารณา(วิปัสสนา)
    หรือมีผู้ที่คอยแนะแนวชี้แจงสั่งสอนขณะอยู่ในสภาวะนี้
    ซึ่งถ้าการเข้าใจนั้นเกิดจากการใช้ปัญญาวิปัสสนาที่ถูกต้องดีงาม
    คือการชี้แนวนั้นเป็นการชี้นำไปในทางให้เกิดปัญญาเพื่อการดับทุกข์
    โดยชี้แนวพิจารณาธรรมอย่างถูกต้องอันน้อมให้เกิดปัญญา
    จิตก็อาจน้อมไปเกิดนิมิตต่างๆที่อำนวยประโยชน์กับนักปฏิบัติ อันได้ผลรวดเร็วดี
    และเป็นการน้อมเชื่ออย่างถูกต้องและมั่นคง
    หรืออาจเกิดนิมิตจากคำบริกรรมที่นำมาวิตก,วิจารเคล้ากับจิตอย่างแนบแน่นนั่นเองที่เรียกว่าบริกรรมนิมิต
    แต่ก็มีโทษยิ่งอยู่เหมือนกันเพราะถ้ามีความเชื่อความเข้าใจอย่างผิดๆในธรรมอยู่
    หรือมีผู้สอนหรือชี้แนวจูงจิตที่นักปฏิบัติมีอธิโมกข์ได้น้อมนำไปในขณะนั้นอย่างผิดๆ
    เช่น บอกให้เห็น,ให้ยึด,ให้เกิด,ให้ติดตามในสิ่งต่างๆ เช่น ภาพ โอภาส(แสง) สี
    เสียง ภาพของนรก สวรรค์ วิมาน เทวดา แม้แต่พระพุทธเจ้า
    หรือการบอกให้จดจ่อให้ยึดในความรู้สึกปีติ สุข สงบ สบายต่างๆที่เกิดจากองค์ฌาน,
    จิตอันอยู่ในสภาพอ่อนไหวบริสุทธ์คือจางคลายจากการปรุงแต่ง,ความเชื่อเดิมๆ
    และปราศจากกิเลสในนิวรณ์๕ ด้วยกำลังของฌาน
    จึงพร้อมที่จะถูกน้อมนำไปได้ง่ายๆไปเกิดเห็นนิมิตต่างๆตามความเชื่อ หรือตามคำสอน
    หรือการชี้แนวจูงจิตที่ผิดๆนั้นโดยไม่รู้ตัว
    จึงเกิดนิมิตต่างๆเช่นภาพนิมิตหรือนามนิมิตเป็นไปในแนวทางที่คิดหรือถูกจูงจิตบอกกล่าวไว้นั้นเอง
    ถ้าเป็นอย่างนี้ก็จะทำให้นักปฏิบัตินั้นได้รับผลร้ายในภายหลัง
    คือเกิดความเชื่อความเข้าใจอย่างผิดๆหรืองมงายและติดเพลิน
    และกำลังความน้อมเชื่อให้เห็นด้วยอำนาจของฌานอันขาดปัญญานั้นก็มีอำนาจรุนแรงมหาศาล
    จึงมักมีผู้อาศัยใช้ประโยชน์จากการนี้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน
    หรืออาจเป็นกุศลเจตนาแต่เพราะความไม่รู้(อวิชชา)
     
  7. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    งใช้วิธีจูงจิตในสภาวะนี้ให้เห็นในสิ่งต่างๆเหล่านั้นอันล้วนมิได้ก่อให้เกิดปัญญาในการดับทุกข์
    และเป็นที่นิยมแพร่หลายอย่างมากในปัจจุบัน เพราะให้ผลรวดเร็วทันใจ
    เพราะความไม่รู้จึงไม่เห็นโทษและยังทำให้นักปฏิบัติเกิดอธิโมกข์ในผู้ที่ชี้แนวหรือสั่งสอนนั้นๆอีกอย่างแรงกล้า
    จึงเป็นที่ถูกใจกันทั้ง ๒ ฝ่าย
    แต่เป็นศรัทธาอย่างผิดๆหรืองมงายคือเป็นอธิโมกข์ในวิปัสสนูปกิเลสนั่นเอง
    อันเกิดภายในจิตอันละเอียดอ่อนซับซ้อนเนื่องเพราะความต้องการยึดเป็นที่พึ่งในการปฏิบัติโดยไม่รู้ตัว
    เนื่องจากยังมีความไม่เข้าใจในธรรมอย่างถูกต้องจึงมีความกลัวอยู่ในที
    จึงเกิดการไปยึดติดยึดหวังให้ช่วยเหลือให้เกื้อกูลจากผู้ที่ชี้แนวหรือสั่งสอนนั้นๆโดยไม่รู้ตัว
    เพราะอธิโมกข์ที่ทำให้เห็น,ให้เกิดในสิ่งอันแสนสุข แสนสบาย น่าตื่นตา ตื่นใจ ลี้ลับ
    ที่ไม่เคยประสบมาก่อนในชีวิต
    และตนยังไม่มีวิชชาหรือปัญญาเข้าใจอย่างถ่องแท้ด้วยตนเองจนไม่จำต้องเชื่อผู้อื่น
    ในคำสอนของพระศาสดา สิ่งเหล่านี้เป็นธรรมชาติของสรรพสัตว์
    ที่ล้วนมีความกลัวแอบแฝงอยู่
    โดยธรรมชาติจึงหาที่ยึดหรือพึ่งพิงในสิ่งที่ตนเองไม่รู้ไม่เข้าใจหรือควบคุมเองไม่ได้

    ตลอดจนการปรุงแต่งไปตามความเชื่อ(ทิฏฐุปาทาน)หรือตามการบอกกล่าวกันต่อๆมา(สีลัพพตปาทาน)ที่นอนเนื่อง
    ดังเช่นว่า ได้อานิสงส์เป็นบุญเป็นกุศลอันยิ่งใหญ่
    ตามที่ถ่ายทอดกันต่อๆมาโดยไม่รู้ไม่เข้าใจตามความเป็นจริงอย่างถี่ถ้วนว่ายังต้องประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนา
    จึงเกิดเป็นอธิโมกข์ในวิปัสสนูปกิเลสอันเป็นโทษ,
    อันการจักได้อานิสงส์เป็นผลบุญอันยิ่งใหญ่จริงได้นั้น
    จักต้องประกอบด้วยการเจริญวิปัสสนาเป็นสำคัญ
    โอภาสและนิมิตต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านี้นี่เอง
    ที่ผู้ไม่รู้หรือแม้ผู้สอนบางท่านกลับนำไปจำแนก
    คือนำไปตีความหมายต่างๆกันออกไปตามความเชื่อ,ความเข้าใจไปว่าเป็นลำดับขั้นลำดับชั้นของผลบุญ
    หรือฌานสมาธิไปเสียด้วยอวิชชา เช่น เห็นแสงดังนั้นๆเป็นขั้นนั้น,ฌานนั้นๆ
    เห็นนิมิตอย่างนี้อย่างนั้นเป็นขั้นนั้น ฯ.
    ผู้ฝึก,ผู้ปฏิบัติย่อมต้องเชื่อคล้อยตามผิดๆไปด้วยเพราะอธิโมกข์เป็นธรรมดา
    เพราะเป็นก้าวปฏิบัติจึงย่อมเชื่อเนื่องด้วยย่อมยังไม่มีความรู้ตามความเป็นจริงอย่างเป็นเหตุเป็นผลอย่างแท้จริง
    จึงต้องยึดในสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นหลักใจหลักปฏิบัติเป็นธรรมดา
    อาการของนิมิต ปีติ ภวังค์
    หรือสภาวะต่างๆในฌานนั้นไม่มีใครที่สามารถระบุได้ว่าจะต้องเกิดอย่างไร
    มากน้อยแต่อย่างใด เวลาใด และไม่สามารถระบุได้ว่าถ้าปฏิบัติอย่างนี้จะเกิดนิมิต
    หรืออาการปีติ, สุขอย่างนั้นๆลงไปอย่างเจาะจง หรือต้องปฏิบัตินานเท่าใด?
    เพราะฌานวิสัยนั้นพระพุทธองค์ท่านจัดเป็นอจินไตย อันมี ๔ คือ พุทธวิสัย ฌานวิสัย
    กรรมวิบาก โลกจินดาคือโลกเกิดดับอย่างไร กล่าวคือ
    เป็นเรื่องที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้ว่าเป็นเรื่องไม่ควรไปเสียเวลายุ่งหรือพิจารณาให้ปวดหัวจนหัวแตกตาย
    เหตุที่พระองค์ท่านได้ทรงตรัสไว้ดังนี้
    เป็นเพราะว่าฌานนั้นยังเป็นเพียงสังขารสิ่งปรุงแต่งอย่างหนึ่ง
    จึงแปรปรวนไม่เที่ยงได้จากเหตุปัจจัยต่างๆล้วนมากหลาย เช่น
    สัญญา(ความจำ)ของนักปฏิบัติเองอันแสนจะแปรปรวนไปตามแต่ละบุคคลอยู่แล้วโดยการสั่งสมโดยธรรมหรือธรรมชาติ
    การปฏิบัติ จริต สันดาน ความเพียร ข้อพิจารณา และสภาวะของฌานเอง และแม้แต่ผู้สอน
    ฯลฯ. จึงไม่สามารถระบุหรือทำนายวิสัยของฌานให้ชัดแจ้งเจาะจงลงไปได้ดั่งเช่น ๒+๒ =
    ๔ เป็นสูตรตายตัวว่า ทำอย่างนี้ต้องเป็นอย่างนั้น จะเกิดอะไรขึ้น และเมื่อใด
    ต้องเกิดเรียงลำดับชัดแจ้งไหม เห็นนิมิตอะไร ฯลฯ เป็นต้น
    จึงได้แต่กล่าวไว้เป็นพื้นฐานโดยทั่วไปเท่านั้นเอง (รายละเอียดการเกิดขึ้นของ
    นิมิตและภวังค์)
    จตุตถฌาน
    จตุตถฌาน หรือเรียกกันว่า ฌาน ๔ มีองค์ฌาน ๒ องค์เช่นกันกับฌานที่ ๓
    แต่เป็นเอกัคคตาและอุเบกขา เอกัคคตาอันมีจิตรวมเป็นหนึ่งเดียว
    เพราะความที่จิตเป็นหนึ่งจึงไม่เอนเอียงไปปรุงแต่งต่อสิ่งใดๆจึงเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดองค์ฌานอุเบกขาคือใจเป็นกลางวางเฉยต่อสังขารต่างๆเป็นผลขึ้นมาแทรกอีกองค์ฌานหนึ่งด้วย
    จึงยังคงมีองค์ ๒ เช่นเดียวกับฌาน ๓ ที่ฌาน ๔ นี้จิตจะรวมเป็นหนึ่งเดียว
    ใจเป็นกลาง วางเฉยต่อสังขารต่างๆ อาการต่างๆขององค์ฌานอื่นๆ คือ วิตก วิจาร
    ปีติ สุข ต่างล้วนหายไปสิ้น ไม่มีอาการของนิมิต
    หรือตกภวังค์ชนิดวูบวาบหรือทิ้งดิ่ง(ภวังคบาต) และมักมีอาการเหมือนกายหายไป เช่น
    รู้สึกว่ามือเท้าหรือกายหายไป หรือรู้สึกลมหายใจละเอียดจนหายไป
    เหล่านี้เป็นอาการปกติธรรมดาที่พึงรู้อย่าตกใจหรือดีใจเพราะจะทำถอนออกจากสมาธิหรือฌานเสีย
    จนในที่สุดจิตก็ทิ้งความรู้สึกรับรู้ทางกาย อยู่ในภพของจิต
    เป็นภาวะที่ประณีตที่สุดในรูปฌานทั้ง ๔ นี้ จิตขณะนั้นรวมเป็นหนึ่งเดียว
    อันเป็นภวังค์หรือภวังคจิตอีกอย่างหนึ่งเช่นกัน เรียกว่าภวังคุปัจเฉทะ
    [ไม่ใช่ภวังค์ชนิดวูบวาบลืมตัวทิ้งดิ่งที่อาจเห็นนิมิตสั้นๆ(ภวังคบาต)
    หรือภวังค์ชนิดปล่อยเพลิดเพลินท่องเที่ยวไปกับอารมณ์ภวังค์เช่นในนิมิตต่างๆเหมือนที่ผ่านๆมา(ภวังคจลนะ)]
    จิตจึงไม่ซัดส่าย ไม่สอดแส่ สงบ สว่าง ไม่ยึดกาย มีสติ ก็เพียงแค่รู้อยู่
    (เอกัคคตารมณ์) ยินดีอยู่ในความสงบ (อุเบกขา) จึงเป็นเครื่องอยู่อันดีเลิศ
    แต่ไม่มีสติในสิ่งอื่นๆหรือขาดสัมปชัญญะ จึงไม่สามารถใช้ในการวิปัสสนาได้
    แต่จิตเกิดการพักผ่อนอย่างสมบูรณ์ จึงยังให้กำลังจิตอย่างสูงยิ่งเมื่อถอนออกมาแล้ว
    แต่ขณะอยู่ในฌาน ๔
    ย่อมไม่สามารถปฏิบัติวิปัสสนาได้โดยตรงเนื่องจากสตินั้นอยู่แต่ในเอกัคคตารมณ์และอุเบกขา
    หรือองค์ทั้ง ๒ นี้เท่านั้น
    ซึ่งเมื่อถอนออกมาจากฌานแล้วจึงควรนำไปวิปัสสนาคือใช้ปัญญาในการพิจารณาธรรมอย่างยิ่ง
    และต้องเลือกเฟ้นธรรมอันต้องถูกต้องดีงามด้วยเช่นกัน
    เพื่อให้เกิดญาณก็จะบังเกิดผลดีในการวิปัสสนาแก่นักปฏิบัติ
    (อ่านรายละเอียดเรื่องการเกิดนิมิตและภวังค์ต่างๆ ได้ในบท นิมิตและภวังค์)
    ฌาน จึงเกิดขึ้นเป็นลำดับดังที่กล่าวมาข้างต้น
    แต่เมื่อมีความชำนาญจากการสั่งสมคือปฏิบัติ ก็อาจไม่เป็นไปตามลำดับขั้นอีกต่อไปได้
    ขึ้นอยู่กับวสีคือความชำนาญนั่นเอง
    ข้อพึงสังวรระวัง ฌานหรือสมาธินั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นมรรคปฏิบัติ
    เป็นบาทฐานหรือขุมกำลังหรือเครื่องเกื้อหนุนของจิตอันสำคัญยิ่งในการปฏิบัติวิปัสสนา
    เพื่อยังให้เกิดปัญญาญาณหรือสัมมาญาณอันคือความเข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในธรรม
    เพราะโดยธรรมชาติปกติของปุถุชนนั้นจะส่งจิตออกไปภายนอกตามการกระทบผัสสะ
    หรือไปตามความคิด จึงไปปรุงแต่งต่อสิ่งต่างๆนาๆอยู่ตลอดเวลาโดยไม่รู้ตัว
    ดังในกิเลสของนิวรณ์ ๕
    จิตหรือกำลังจิตจึงย่อมถูกแบ่งออกไปหลายกระแสตามการผัสสะทั้งหลายเหล่านั้น
    จิตและปัญญาจึงถูกแบ่งทอนกำลังลงไปหลายกระแสโดยไม่รู้ตัว
    อันย่อมทำให้กำลังย่อยๆที่ถูกแบ่งแยกเหล่านั้นย่อมไม่กล้าแข็งพอที่สนับสนุนปัญญาให้ทะลุทะลวงธรรมต่างๆให้เห็นสภาวธรรมตามจริงอันเป็นของละเอียดอ่อนแลลึกซึ้งได้
    จึงต้องมีฌานสมาธิเป็นเครื่องเกื้อหนุนหรือเป็นบาทเป็นฐาน
    แต่ฌานสมาธิก็เปรียบได้ดังยาหรือมีดทั้งหลาย จะเป็นคุณหรือเป็นโทษ
    ขึ้นกับผู้ใช้หรือนักปฏิบัตินั่นเองเป็นปัจจัยสำคัญที่สุด
    อันย่อมมีทั้งคุณและทั้งโทษอยู่ในตัวเองเช่นกัน
    หรือจะเรียกว่าทางสายกลาง(มัชฌิมา)ก็ได้ คือ ไม่เอนเอียงไปสุดโต่งไปด้านใดด้านหนึ่ง
    จึงไม่ใช่มีแต่คุณฝ่ายเดียว
    เมื่อปฏิบัติโดยไม่ได้ปฏิบัติวิปัสสนาด้วยก็จะเกิดการไปยึดติดเพลินโดยไม่รู้ตัวและต้องเกิดขึ้นอย่างเป็นจริงแท้แน่นอนเป็นที่สุด
    เพียงขึ้นอยู่กับระยะเวลาเท่านั้นที่เกิดแต่เหตุปัจจัยอื่นๆ
    และไม่มีทางรู้ตัวจริงๆเพราะเป็นไปโดยธรรมชาติของจิตหรือชีวิตเอง
    ซึ่งถ้ามีความถูกใจ ชอบใจ สบายใจในสิ่งใด(เสวยอารมณ์สุขสงบสบาย-สุขเวทนา)
    จิตก็จะไปติดใจอยากในสิ่งนั้นๆไว้โดยอาการธรรมชาติของจิตอันเป็นสังขารที่ได้สั่งสมมาตั้งแต่เกิด
    หรืออย่างยาวนานจนไม่รู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้น
    และเมื่อได้กระทำบ่อยๆครั้งเข้าโดยมีความสุขสบายต่างๆอันเกิดแต่องค์ฌานอันยังไม่เที่ยงเป็นเครื่องล่อลวงให้เกิดการติดเพลินอันเป็น
    นันทิ คือเกิดตัณหาขึ้น
    ดังนั้นจึงย่อมต้องดำเนินไปตามกระบวนการของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ปฏิจจสมุปบาทอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
    อันก่อให้เกิดเป็นสังขารตามที่ได้สั่งสมไว้
    กล่าวคือสังขารอันเกิดแต่อวิชชาความไม่รู้ในปฏิจจสมุปบาท
    สังขารนี้เกิดแต่ตัณหาและอวิชชาจึงไม่มีคุณแต่อย่างใดเพราะอาจมีผู้ไปเข้าใจผิดว่าถ้าเป็นสังขารแล้วก็หมายถึงมีความชำนาญ(วสี)ดีเลิศ

    ดังนั้นในการปฏิบัติถ้าไม่ดำเนินวิปัสสนาอันถูกต้องดีงามควบคู่ไปด้วยก็จะเกิดการติดเพลินอยู่กับองค์ฌานต่างๆตามวิสัย
    เช่น ปีติความซาบซ่านความอิ่มเอิบบ้าง สุขความสุขความสบายบ้าง
    เอกัคคตาความมีใจนิ่งๆบ้าง อุเบกขาความสงบบ้าง
    ล้วนเป็นไปโดยไม่รู้ตัวและไม่สามารถหลบเลี่ยงได้ในที่สุด
    เพราะในระยะแรกนั้นจะมีแต่ความสงบ ความสุข แสง สี เสียง อันน่าตื่นตาตื่นใจ
    ใครเตือนก็จะไม่ฟัง แต่เมื่อผ่านไประยะหนึ่ง
    ก็จะเกิดผลร้ายทั้งต่อกายและจิตเป็นที่สุด
    และยังไม่รู้ตัวอีกด้วยเพราะคิดว่าเป็นที่เหตุปัจจัยอื่นๆเช่นกายบ้าง
    ยังเพียรไม่พอบ้าง ระยะเวลาที่จะให้โทษนั้น ตั้งแต่หลายอาทิตย์ ถึงหลายปี
    ขึ้นอยู่กับเหตุปัจจัยต่างๆ เช่น การปฏิบัติ จริต ความชำนาญ ความเพียร
    เป็นเหตุเป็นปัจจัยกัน
    ไม่สามารถระบุได้แน่ชัดลงเพราะดังที่ได้กล่าวไว้แล้วว่าฌานวิสัยอันเป็นอจินไตย
    แต่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนเพราะได้ทำเหตุไปแล้ว และเป็นเหตุอย่างไม่ถูกต้อง
    ผลจึงย่อมเกิดขึ้นเป็นธรรมดา
    นักปฏิบัติที่ปฏิบัติอย่างถูกต้อง
    ไม่ไปติดเพลินเพราะมีปัญญารู้ทั้งในคุณและโทษ
    และปฏิบัติวิปัสสนาด้วยจุดประสงค์อย่างแน่วแน่ในความสุขอันเกิดแต่การดับไปแห่งทุกข์
    พร้อมทั้งมีความรู้ความเข้าใจอย่างเหมาะสมแล้ว
    ก็ไม่ต้องหวาดระแวงในสิ่งต่างๆที่กล่าวไปแล้วให้เป็นกังวลในการปฏิบัติ
    เพราะคุณของฌานสมาธินั้นก็มากอนันต์และเป็นมรรคปฏิบัติที่สำคัญ
    เพราะเป็นกำลังที่ยังให้เกิดทั้งสติและปัญญา
    และเป็นกำลังจิตในการสร้างธรรมชาติใหม่หรือสังขารใหม่อันเกิดแต่วิชชา
    แทนธรรมชาติจิตของปุถุชนที่โดยปกติธรรมชาติแล้วปล่อยไหลเลื่อนไปตามตัณหา อุปาทาน
    อาสวะกิเลส อันก่อทุกข์เป็นที่สุดหรือเป็นไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง กล่าวคือ
    ฌานสมาธิ นี้เป็นกำลังของจิตอันสำคัญยิ่ง
    ให้มีกำลังในการหยุดการคิดปรุงแต่งต่างๆนาๆที่เกิดขึ้นในองค์ธรรมชรา
    อันเร่าร้อนเผาลนและมีกำลังแรงเนื่องจากประกอบด้วยอุปาทาน ในวงจรปฏิจจสมุปบาท

    อนึ่งการเจริญวิปัสสนาทางปัญญานั้นสามารถปฏิบัติได้ตั้งแต่สมาธิระดับขณิกสมาธิ
    หรือสมาธิเริ่มต้นก็ใช้งานได้ดีอย่างยิ่งแล้ว ที่เรียกว่าวิปัสสนาสมาธินั่นเอง
    เพราะเมื่อเป็นสมาธิอยู่ในการพิจารณาได้อย่างแน่วแน่
    หรือการโยนิโสมนสิการได้อย่างแนบแน่น ก็จะเกิดฌานในระดับต่างๆได้โดยธรรมชาติ
    และเป็นไปอย่างถูกต้องดีงามอย่างยิ่งเสียด้วย
    เพราะขาดความติดเพลินหรือตัณหาในองค์ฌานต่างๆนั่นเอง
    ผู้เขียนจึงกล่าวเสมอๆให้ใช้สมาธิระดับขณิกสมาธิในการพิจารณาธรรมก็พอเพียง
    เพราะเมื่อทำอย่างถูกต้องดีงามแล้วย่อมเกิดสมาธิหรือฌานต่างๆขึ้นเองโดยสภาวธรรมหรือธรรมชาติ
    และโดยปราศจากตัณหาหรือความติดเพลินในองค์ฌานต่างๆ
    กล่าวคือเป็นสัมมาสมาธิหรือสัมมาฌานอันบริสุทธิ์ถูกต้องดีงามนั่นเอง
    จากประสบการณ์ของผู้เขียนเอง วิธีนี้ดีที่สุดและเหมาะแก่ภาวะทางโลกๆในปัจจุบัน
    ปฏิบัติได้แทบทุกที่ทุกเวลาอันควร
    ลดและป้องกันการติดสุขหรือติดเพลินในองค์ฌานต่างๆได้
    เพราะไม่ไปเสียเวลามุ่งปฏิบัติแต่สมถะฝ่ายเดียวจนอาจผิดพลาดติดเพลินโดยไม่รู้ตัว
    ในสายตานักปฏิบัติทั่วไป
    อาจคิดว่าการพิจารณาใช้ความคิดใช้สติใช้ปัญญาและสมองอย่างเต็มที่
    ไม่น่าจะเป็นสมาธิได้ เพราะจิตใจน่าจะว้าวุ่นจาการคิดพิจารณา
    ไม่อาจรวมเป็นสมาธิได้ ตามความเป็นจริงแล้ว
    ถ้าจิตแน่วแน่อยู่กับการพิจารณาอันถือเอาข้อธรรมข้อพิจารณาเป็นเครื่องอยู่นั้นเป็นสมาธิอย่างดีเลิศ
    เพียงแต่เครื่องกำหนดหรือเครื่องอยู่(วิตก)มีขนาดใหญ่เป็นกลุ่มก้อนกว่าเท่านั้นเอง
    จึงเหมือนการทำกิจหรืองานอย่างมีสมาธินั่นเอง จึงเป็นสมาธิได้อย่างแน่นอน
    และเรียกกันว่า วิปัสสนาสมาธิ
    ในขณะจิตนั้นจิตย่อมไม่ส่งออกไปปรุงแต่งในเรื่องภายนอกอันก่อทุกข์จนซัดส่ายหลุดออกจากสมาธินั้น
    จิตเป็นสมาธิหรือแน่วแน่เป็นเอกอยู่ในกลุ่มก้อนของข้อธรรม(การพิจารณา)
    และยังให้เกิดภูมิรู้ภูมิญาณสั่งสมขึ้นอย่างแท้จริง
    และเมื่อสั่งสมจนพอดีแล้วก็จะเกิดภูมิรู้ภูมิญาณขึ้น
    ข้อสำคัญให้พิจารณาธรรมหรือสภาวะธรรม อย่าเอาความทุกข์ของตัวเองโดยตรงๆล้วนๆ
    อันไม่ใช่ปรมัตถ์มาพิจารณาโดยเด็ดขาด เพราะจิตจะว้าวุ่นไหลเข้าไปเป็นทุกข์ทันที
    อันทำให้ซัดส่ายปรุงแต่งจนไม่สามารถดำเนินการพิจารณาอย่างแนบแน่นได้ต่อไป
    สมาธิก็ไม่สามารถเกิดได้
     
  8. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ฌานสมาธิที่ใช้ในการปฏิบัติธรรมในชีวิตประจำวัน
    จึงมิได้เกิดเฉพาะแต่ในสภาวะที่ต้องอยู่นิ่งๆ
    หรือต้องจดจ่อแน่วแน่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างเดียวล้วนๆจนไม่รับรู้สิ่งอื่นใดๆ
    หรือเกิดแต่คำบริกรรมเท่านั้น
    เพียงแต่แน่วแน่หรือจิตเป็นเอกในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมากกว่า
    ความจริงแล้วทั้งฌานและสมาธิเป็นสภาวะธรรมชาติของชีวิตอย่างหนึ่ง
    แต่ไม่เคยพิจารณาจึงไม่สังเกตุเห็นเท่านั้น ดูการจงกรม
    การมีสติกับอิริยาบถ(จึงควรดำเนินวิปัสสนาควบคู่ไปด้วย) แม้แต่การจ็อคกิ้ง
    การเคลื่อนไหวบางส่วนของร่างกายแบบต่อเนื่อง รำมวยจีน ว่ายนํ้าระยะยาว
    การพูดคุยธรรมะ การสนทนากับผู้ถูกใจ ฯลฯ.
    ต่างล้วนก่อให้เกิดฌานสมาธิได้ทั้งสิ้นถ้าจิตใจอยู่ในสภาพผ่อนคลาย กล่าวคือ
    สิ่งที่เป็นวิตกนั้นเป็นที่ถูกใจ
    จิตจะวิจารหรือเคล้ากันได้อย่างง่ายดาย(เป็นเทคนิคที่นำไปใช้ในการปฏิบัติสมถะให้เป็นสมาธิได้ง่ายขึ้น)
    การจ๊อคกิ้งหรือการเคลื่อนไหวร่างกายต่างๆ เกิดแต่ธรรม อริยาบถบดบังทุกข์
    เมื่อกระทำอย่างต่อเนื่อง อย่างผ่อนคลาย จิตจึงเกิดเป็นฌานสมาธิโดยไม่รู้ตัว เกิด
    ปีติ อิ่มเอิบ เกิดสุข ความสบาย และเอกัคคตา
    จิตเป็นเอกแต่ไปทางจดจ่อกับความสุขสบายที่เกิดขึ้นเป็นสภาวะทางโลกๆ
    หรือการรำมวยจีน ที่มีการเคลื่อนไหว อันคือการร่ายรำเคลื่อนไหวทำหน้าที่เป็นวิตก
    ซึ่งจะได้ผลดีต้องใช้จิตหรือสติติดตามการเคลื่อนไหวอันแช่มช้านั้น
    เป็นอาการของวิจาร คือเคล้าจิตนั้นให้ลื่นไหลไปกับอารมณ์ อันคือ
    การเคล้าไปกับการเคลื่อนไหวอันแช่มช้อยนั้นไปกับจิตอย่างแนบแน่นนั่นเอง
    จึงยังให้เป็นฌานสมาธิได้เป็นอย่างดีเช่นกัน
    แต่สิ่งเหล่านี้ก็เป็นไปในทางโลกเพื่อหวังความสุขสบายยังไม่ก่อให้เกิดปัญญาแต่อย่างใด

    ดังนั้นการที่พิจารณาข้อธรรมอันเป็นการเคลื่อนไหวทางจิตหรือความคิดอย่างต่อเนื่องแต่จำกัดอยู่ในธรรมโดยการพิจารณาไม่สอดส่ายออกไปนอกวงจึงเป็นสมาธิอย่างแน่นอน
    แม้แต่องค์ฌานทั้งหลายยังคงเกิดมีได้ในภาวะจิตตื่นปกติทั่วไป ! ในผู้ที่ชำนาญ
    หรือผู้ที่สั่งสมจนเป็นสัญญาความจำได้อย่างหนึ่งโดยไม่รู้ตัวก็สามารถเกิดองค์ฌาน
    ปีติ สุข เอกัคคตา และอุเบกขา ตลอดจนนิมิต(น้อมนึกภาพหรือให้เห็น -
    จริงหรือไม่จริงเป็นอีกเรื่องหนึ่งตามวาสนา)ได้ในสภาวะวิถีจิตหรือจิตตื่นธรรมดาๆได้จริงๆ
    ! เพราะไม่จำเป็นต้องเป็นไปตามลำดับขั้นดังที่กล่าวมาโดยละเอียดอีกต่อไป
    แต่เป็นอจินไตยไปตามจริตและการสั่งสมปฏิบัติและวาสนาเป็นสำคัญ
    ถึงแม้ว่าไม่ได้ปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือฌาน สมาธิอย่างเต็มรูปแบบ
    องค์ฌานต่างๆก็เกิดมีได้ในภาวะจิตตื่นในวิถีชีวิตประจำวัน ฟังดูแล้วไม่น่าเชื่อ
    แต่มันเป็นเช่นนั้นจริงๆ จึงเกิดปัญหาขึ้น
    เพราะเมื่อปฏิบัติไปจนชำนาญเข้าหรือเป็นวสี
    หรือกลายเป็นสังขารที่ได้สั่งสมไว้จนเคยชินด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง(อวิชชา)ในปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
    บางท่านก็รู้ตัว แต่ไม่รู้ตามความเป็นจริงในโทษ
    แต่นักปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่รู้ตัวและทั้งไม่รู้ตามความเป็นจริงเนื่องจากเป็นเรื่องละเอียดอ่อนซึ่งโดยปกติจะทราบจากครูบาอาจารย์ผู้รู้
    หรือมีความเข้าใจธรรมอย่างถูกต้องเท่านั้น
    องค์ฌานต่างๆจึงสามารถเกิดจากความเคยชินเองโดยอัติโนมัติได้คือ"กระทำไปเองโดยไม่รู้ตัว"
    จึงเกิดการแอบเสพรสอร่อยขององค์ฌานต่างๆโดยไม่รู้ตัวด้วยอาการจิตส่งใน
    ที่กระทำถี่บ่อยมากขึ้นเป็นลำดับ
    จนกลายเป็นประจำจึงส่งเสริมเพิ่มพูนจนเป็นสังขารอันแก่กล้ายิ่งขึ้นไปอีก
    จึงยิ่งทำให้เกิดการต่อเนื่องด้วยติดเพลิน
    จึงเริ่มเกิดโทษภัยต่างๆขึ้นทั้งทางกายและจิต
    เหตุเพราะไม่ได้ดำเนินวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญาเกิดนิพพิทาด้วย
    จึงต้องเป็นเช่นนั้นเอง
    เมื่อโยนิโสมนสิการแล้วจะพบว่า ในสมัยพุทธกาล
    พระอริยสาวกที่บรรลุธรรมขั้นต่างๆขณะกำลังฟังธรรมจากพระองค์นั้น
    เกิดปัญญาดวงตาเห็นธรรมในขณะที่กำลังวิตก วิจารอยู่นั่นเอง กล่าวคือ
    จิตหรือสติของท่านสนใจใฝ่คิดตรึกตรองหาเหตุหาผลตามคำสอนจนเป็นสมาธิตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์คือคำสอนนั้นพร้อมทั้งการวิตกและวิจารในธรรมที่พระองค์ท่านกำลังสั่งสอนอยู่นั่นเอง
    จึงยังให้เกิดปีติอันอิ่มเอิบ และย่อมเป็นสุข
    และเอกัคคตาอันมีจิตเป็นเอกอยู่ในธรรมที่วิตกวิจารนั้น
    อันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาตินั่นเอง
    เกิดปฐมฌานขึ้นในขณะที่ท่านอยู่ในภาวะปกติธรรมดานั่งฟังธรรมอยู่ด้วยความสำรวมและวิตกวิจารด้วยความสนใจยิ่ง
    พึงระลึกว่า
    การปฏิบัติสมาธิและฌานนั้นเป็นสิ่งที่มีมานานก่อนพระพุทธศาสนาเสียอีก
    แม้แต่องค์พระศาสดาก็ทรงเล่าเรียนมาจากอาจารย์เหล่าพราหมณ์ทั้งหลาย
    จนเชี่ยวชาญชำนาญยิ่งจนถึงระดับสูงสุดทั้งของรูปฌานและอรูปฌาน และใช้เวลาอีกหลายปี
    รวมทั้งการทรมานพระวรกายด้วยกำลังอำนาจของสมาธิและฌานเช่นกัน
    แต่ก็ไม่เป็นเหตุให้ตรัสรู้ จนได้ดำเนินไปในมรรคาแห่งวิปัสสนา
    จึงเป็นเหตุปัจจัยให้ตรัสรู้
    ในภายหลังจึงเพียงทรงใช้สิ่งที่เล่าเรียนมาเหล่านี้มาเครื่องสนับสนุน(เป็นบาทฐาน)การปฏิบัติวิปัสสนาให้ดำเนินไปอย่างมีกำลังและมั่นคง
    กล่าวคือทรงเล็งเห็นทั้งคุณและโทษอย่างแจ่มแจ้งนั่นเอง(สายกลาง-มัชฌิมา)
    จึงนำเอาส่วนที่เป็นประโยชน์มาใช้งานเป็นฐานกำลังของการวิปัสสนาเพื่อยังให้เกิดปัญญาหรือสัมมาญาณ

    ดังนั้นการปฏิบัติฌานสมาธิจึงต้องควบคู่กับการปฏิบัติวิปัสสนาให้เกิดปัญญาควบคู่กันไปด้วยเสมอ
    มิฉนั้นก็จะเป็นเช่นดังโยคีทั้งหลายที่เจริญฌานสมาธิได้อย่างกล้าแข็ง
    จนสามารถบังคับจิตและกายได้อย่างน่าอัศจรรย์เท่านั้นเอง
    แต่ท่านเหล่านั้นก็มิได้จัดว่าเป็นอริยสาวกในทางพุทธศาสนาเลย
    เพียงแต่ได้บุญคือความใจฟู อิ่มเอิบ ไปตามความเชื่อความยึดของฝ่ายเขาเท่านั้น
    แต่ไม่พ้นไปจากภพชาติอันยังให้เกิดความทุกข์อันเร่าร้อน
    พึงระลึกอีกด้วยว่าทั้งรูปราคะอันเกิดแต่รูปฌาน
    และอรูปราคะอันเกิดแต่อรูปฌานนั้น เป็นสิ่งที่ต้อง ละ ในที่สุด อันคือข้อ๖ และ ๗
    ของสังโยชน์เบื้องสูงนั่นเอง ละ นี้หมายถึง
    ฌานหรือองค์ฌานต่างๆยังคงมีอยู่เป็นธรรมดาเพราะเป็นสังขารวิบากแล้ว
    แต่ขาดเสียซึ่งการติดเพลิน(นันทิ)คือตัณหาในองค์ฌาน เช่น ปีติ ความสุขสบาย(สุข)
    ความแน่วแน่แต่แบบแช่นิ่ง(เอกัคคตา) ความสงบแบบติดเพลิน(อุเบกขา)
    หรือแม้แต่การวิตกวิจารเช่นคำบริกรรมหรือตามลมหรือตามอิริยาบถแต่ฝ่ายเดียวนั่นเองอย่างขาดสติ
    อันเป็นเครื่องเคียง ที่มักบังเกิดแอบแฝง(side effect -
    ผลข้างเคียง)ขึ้นในการปฏิบัติเพราะความไม่รู้และโดยไม่รู้ตัว
    โดยเฉพาะผู้ที่มุ่งอยู่ในฌานแต่ฝ่ายเดียวโดยขาดการวิปัสสนาให้เกิดปัญญาเห็นสิ่งต่างๆตามความเป็นจริง
    ลำพังฌานแต่เพียงอย่างเดียวไม่สามารถบรรลุดึงจุดประสงค์ของการดับทุกข์ได้
    สมาธิหรือฌานทำให้เกิดปัญญานั้นหมายถึงเป็นเครื่องสนับสนุนเป็นเครื่องเกื้อกูล
    มิใช่ตัวสมาธิหรือฌานยังให้เกิดปัญญาโดยตรงๆ เช่น
    เข้าใจผิดคิดว่าเมื่อบรรลุในฌานแล้วบางครั้งจะเกิดปัญญารู้แจ้งหรือบรรลุมรรคผลบางสิ่งขึ้น
    จึงมุ่งแต่ปฏิบัติสมถะ ขาดเสียซึ่งการวิปัสสนา
    จึงกลับกลายเป็นให้โทษเกิดการติดเพลินที่เกิดเป็นโทษเป็นไปตามวงจรของทุกข์ปฏิจจสมุปบาท
    อันเป็นธรรมชาติอันมีกำลังเกินกว่ามนุษย์ปุถุชนธรรมดาจะไปสู้ได้
    ในพระอริยเจ้าทั้งหลายก็ยังคงมีฌานหรือองค์ฌานต่างๆทั้งหลายอยู่เป็นปกติ
    แต่ท่านเหล่านี้มีมหาสติอันขาดเสียแล้วด้วยความติดเพลินหรือยึดติดในฌานหรือองค์ฌานเหล่านั้น
    เพราะฌานสมาธิก็เป็นคล้ายดั่งสังขารทางโลกอื่นๆเช่นการอ่านหนังสือออก
    การขี่จักรยาน บุคคลิก ฯ. นั่นเองจะทิ้งก็ทิ้งไม่ได้
    ท่านก็ยังคงใช้ประโยชน์จากสิ่งเหล่านี้ในแง่เป็นเครื่องอยู่
    หรือในระดับขันธ์๕นั่นเอง อันไม่เป็นโทษ กลับกลายเป็นเครื่องอยู่อันวิเศษ
    แต่สิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นในภายหลัง อย่าได้พยายามไปกระทำให้เป็นเครื่องอยู่ดังท่าน
    ด้วยความตั้งใจกระทำตรงๆดื้อๆ ต้องเกิดมาแต่จิตอันแจ่มแจ้งเท่านั้น
    เหตุที่กล่าวติงในเรื่องโทษแทรกอยู่บ่อยครั้งนั้น
    เพราะศรัทธาแต่อย่างผิดๆอันคืออธิโมกข์
    และกำลังจิตอันเกิดจากอำนาจมิจฉาฌานสมาธิอย่างผิดๆคือติดเพลินโดยไม่รู้ตัวนั้นมีอำนาจรุนแรงเหลือเกิน
    อันจะรู้ถึงอำนาจนี้ได้ต้องโยนิโสมนสิการในปฏิจจสมุปบาทโดยละเอียดและแยบคายก็จะเกิดญาณรู้แจ้งขึ้นได้
    เนื่องจากในปัจจุบัน โลกได้วิวัฒนาการไปอย่างมาก
    มีสื่อต่างๆที่เผยแพร่ไปได้อย่างรวดเร็ว ทุกรูป ทุกแบบ
    แต่มีสื่อต่างๆที่กล่าวถึงอย่างตรงๆไว้น้อยมากหรือแทบไม่มีเลย
    และนักปฏิบัติที่ไม่มีครูบาอาจารย์ที่รู้จริงๆคือรู้ตามความเป็นจริงคอยปรึกษาดูแลกำกับอย่างใกล้ชิด
    เมื่อปฏิบัติผิดพลาดไปจึงไม่สามารถแก้ไขอะไรได้
    ผู้เขียนจึงแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมาไว้บ้างเพื่อป้องกันกัลยาณมิตรนักปฏิบัติผู้ใฝ่ความดีงามทั้งหลาย
    และป้องกันการบิดเบือนในธรรมขององค์พระศาสดาอันเป็นเลิศ
    ผู้สั่งสอนตามความเป็นจริงในเรื่องทุกข์ เพื่อใช้ไปในการดับทุกข์
    อันเป็นสุขสงบบริสุทธ์อย่างแท้จริง ที่ได้ถูกบิดเบือนไปทั้งจากผู้แสวงหาผลประโยชน์
    และทั้งจากผู้ที่มีกุศลเจตนาแต่ไม่รู้ตามความเป็นจริง(อวิชชา)ที่สามารถเผยแพร่ไปได้อย่างผิดๆอย่างกว้างขวางกว่าในอดีตที่ผ่านมามากมายนักจนน่าเป็นห่วงทั้งในพระพุทธศาสนาและนักปฏิบัติผู้ใฝ่ดี
    เพราะความทันสมัยสะดวกในการติดต่อและสื่อสารกันนั่นเอง
    และยังโดยอาศัยอธิโมกข์จากผู้ที่ไม่รู้ตามความเป็นจริงช่วยกันเผยแผ่ต่อๆออกไป
    อันทำให้นักปฏิบัติผู้มุ่งหวังในการดับทุกข์หรือจางคลายจากทุกข์อย่างแท้จริง
    อันเป็นจุดมุ่งหมายสูงสุดทางพระศาสนา คือ มิได้มุ่งหวังแต่การเป็นที่พึ่งทางใจ
    หรือเพียงการสะสมบุญ,กุศลเพื่อภายภาคหน้าให้เก้อหรือเนิ่นช้าออกไปแต่ฝ่ายเดียว
    ย่อมไม่ได้ตามที่มุ่งหวังตั้งปณิธานไว้
    และกลับก่อทุกข์โทษภัยโดยไม่รู้ตัวเพิ่มขึ้นเสียอีก
    ตลอดจนเป็นภัยต่ออนุชนนักปฏิบัติรุ่นหลังผู้จักสืบทอดพระศาสนาต่อไปในภายภาคหน้า
    ด้วยมิจฉาทิฏฐิ(ความเชื่อตามความคิดความรู้ตามที่ยึด แต่อย่างผิดๆ)
    และสีลัพพตปรามาส(เชื่อตามที่ถ่ายทอดบอกๆกันมา แต่อย่างผิดๆหรืองมงาย)
     
  9. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ในสมัยนี้ เนื่องจากสังคมอันเร่งรัดเพราะจากความเจริญก้าวหน้าทางวัตถุ
    เมื่อมีทุกข์มากระทบก็ทำบุญทำทานเป็นการใหญ่
    หรือปฏิบัติพระกรรมฐานเพื่อดับทุกข์ความเร่าร้อนในเรื่องนั้นๆ
    หรือโดยการคิดสร้างสมบุญกุศลเป็นเจตนาใหญ่ โดยไม่มีการศึกษาเตรียมการใดๆเลย
    ไม่มีความรู้ในธรรมสักนิด อาจรู้จักก็แค่ศีล๕
    ดังนั้นเมื่อมาปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยตนเองหรือตามสำนักต่างๆที่ห่างไกลจากบ้านตน
    เริ่มต้นด้วยฌานสมาธิโดยไม่มีข้อธรรมความคิดใดๆไว้ศึกษาพิจารณาใดๆเลย
    เมื่อกลับมาบ้าน ไม่ได้อยู่กับครูบาอาจารย์ดังแต่อดีต
    ที่ทั้งมีความรู้และคอยสั่งสอนและกำกับกันอย่างใกล้ชิด
    เมื่อมาปฏิบัติเองต่อที่บ้าน เพราะความไม่รู้ไม่มีผู้ดูแล
    เมื่อประสบความสำเร็จในการปฏิบัติฌานสมาธิ
    จิตจึงจดจ่ออยู่กับฌานสมาธิล้วนๆอันสุขสบาย เพราะไม่รู้
    และเพราะไม่รู้ว่าจะไปโยนิโสมนสิการ พิจารณาในธรรมใด,อย่างไรให้เกิดปัญญา
    เพราะความที่ไม่มีพื้นธรรมหรือความรู้มาก่อนเลยสักนิด หรือมีแบบผิดๆอันเป็นโทษ
    ดังนั้นในสมัยนี้นักปฏิบัติและสำนักทั้งหลายควรมีหรือควรให้ความรู้ความเข้าใจในธรรมะที่ถูกต้องดีงามเป็นเบื้องต้นเสียก่อนบ้างเพื่อจะได้นำไปประกอบการพิจารณาในธรรมะนั้นๆขณะปฏิบัติพระกรรมฐานหรือฌานสมาธิ
    ควรเป็นธรรมะที่ถูกต้องดีงามซึ่งเมื่อนำไปพิจารณาแล้วยังให้เกิดปัญญาขึ้น
    ไม่ใช่ธรรมะที่เกี่ยวแต่บุญกุศลแต่ฝ่ายเดียว
    ส่วนธรรมะฝ่ายบุญฝ่ายกุศลนั้นก็มอบให้แก่บุคคลที่ไม่ได้ต้องการปฏิบัติพระกรรมฐานเพื่อเป็นขวัญกำลังจิตกำลังใจ
    มีที่ยึดเหนี่ยวในพระศาสนาในการประพฤติปฏิบัติอันถูกต้องดีงามในศีลในธรรมสืบต่อไปจนพร้อมแก่การปฏิบัติธรรมในภายหน้า

    สำหรับฝ่ายปฏิบัติธรรมหรือพระกรรมฐานนั้นก็ควรแจงจุดประสงค์อย่างแจ่มแจ้งแก่นักปฏิบัติว่าปฎิบัติพระกรรมฐานเพื่อจุดประสงค์ในการวิปัสสนาพิจารณาธรรมให้เกิดความรู้ความเข้าใจตามความเป็นจริง
    เพื่อการปล่อยวาง เพื่อพ้นไปจากทุกข์หรือจางคลายจากทุกข์อย่างถาวร
    ไม่ใช่เพื่อการติดเพลินเสพรสในความสุขสบายที่เกิดแต่ฌานสมาธิอันยังไม่เที่ยง
    ดูในสมัยพุทธกาล
    ล้วนแล้วแต่ได้ฟังธรรมของพระองค์ท่านแล้วเกิดความซาบซึ้งกินใจในธรรมต่างๆเหล่านั้นจากพระองค์ท่านก่อนทั้งสิ้น
    แล้วจึงพากันออกบวชเพื่อปฏิบัติวิปัสสนากัน
    ผู้เขียนต้องเรียนตามความเป็นจริงอย่างตรงไปตรงมาว่า
    การปฎิบัติฌานสมาธิแต่เพียงฝ่ายเดียวโดยไม่เจริญปัญญา
    ไม่ได้ยังให้เกิดกุศลใดๆโดยตรงอย่างที่มีผู้เข้าใจกัน
    และยังก่อโทษทุกข์ภัยให้โดยไม่รู้ตัว
    แม้แต่สมาธิเพื่อความสงบของจิตทางโลกๆตามที่เขานิยมฝึกปรือกันอยู่เป็นจำนวนมากในผู้ที่เคร่งเครียดในธุรกิจการงานนั้นก็ให้โทษเหมือนกัน
    เพราะเมื่อเกิดความสงบ ความสบาย
    จิตนั้นก็ย่อมดำเนินเป็นไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง
    คือเกิดอาการติดเพลินโดยธรรมชาติของชีวิต
    จึงจิตส่งในโดยไม่รู้ตัวจนกลายเป็นสังขารอันให้โทษยิ่งในภายหน้า
    จึงมีอานิสงค์เพียงแต่เพียงบุญที่ทำให้ใจฟูอิ่มเอิบให้ความสุขความสบายสงบและระงับทุกข์ได้ชั่วคราวในขณะที่ทรงอยู่ได้
    อันล้วนยังไม่เที่ยง แต่ก่อทุกข์โทษภัยในภายหน้าให้โดยไม่รู้ตัวจนไม่คุ้ม
    แต่ถ้าเป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปเป็นบาทฐานหรือเครื่องหนุนในการวิปัสสนาให้เกิดสติและปัญญาในการดับทุกข์

    เยี่ยงนี้จึงถือได้อย่างจริงจังว่าสมควรปฏิบัติและให้อานิสงค์ที่เป็นทั้งบุญและกุศลโดยตรงและอย่างสูงสุด
    เหนือกว่าบุญกุศลใดๆที่ได้ประพฤติปฏิบัติมาแต่เก่าก่อนทั้งสิ้น

    สุดท้ายนี้ผู้เขียนขอกราบอาราธนาข้อธรรมจากหนังสือพุทธธรรม
    โดยท่านพระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต) ปัจจุบันดำรงพระสมณศักดิ์ "พระพรหมคุณาภรณ์"
    เพื่อให้นักปฏิบัติได้พิจารณาให้เกิดปัญญามั่นคงในการปฏิบัติให้เป็นไปอย่างถูกต้องแนวทาง
    ตามที่ท่านได้บันทึกไว้ในหนังสือ"พุทธธรรม"อันทรงคุณค่ายิ่ง มีความดังนี้
    "สมาธิ เป็นองค์ธรรมที่สำคัญยิ่งข้อหนึ่งก็จริง
    แต่ก็มีขอบเขตความสำคัญที่พึงตระหนักว่า สมาธิมีความจำเป็นแค่ไหนเพียงใด
    ในกระบวนการปฏิบัติ เพื่อเข้าถึงวิมุตติ
    อันเป็นจุดหมายของพุทธธรรม(ธรรมของพระพุทธเจ้า
    อันมีจุดมุ่งหมายอยู่ที่ความสุขอันเกิดจากการดับทุกข์ - webmaster)
    ขอบเขตความสำคัญนี้ อาจสรุปดังนี้
    ๑. ประโยชน์ของสมาธิ ในการปฏิบัติเพื่อเข้าถึงจุดหมายของพุทธธรรมนั้น
    อยู่ที่การนำมาใช้เป็นที่ทำการสำหรับให้ปัญญาปฏิบัติการอย่างได้ผลที่สุด
    และสมาธิที่ใช้ในการนี้ก็ไม่จำต้องเป็นขั้นที่เจริญถึงที่สุด
    ลำพังสมาธิอย่างเดียวแม้จะเจริญถึงขั้นฌานสูงสุด หากไม่ก้าวสู่ขั้นใช้ปัญญาแล้ว
    ย่อมไม่สามารถทำให้ถึงจุดหมายของพุทธธรรมได้อย่างเป็นอันขาด
    ๒. ฌานต่างๆทั้ง ๘ ขั้น แม้จะเป็นภาวะจิตที่ลึกซึ้ง
    แต่ในเมื่อเป็นผลของกระบวนการปฏิบัติที่เรียกว่าสมถะอย่างเดียวแล้ว
    ยังเป็นเพียงโลกีย์เท่านั้น จะนำไปปะปนกับจุดมุ่งหมายทางพุทธธรรมหาได้ไม่
    ๓. ในภาวะแห่งฌานที่เป็นผลสำเร็จของสมาธินั้น กิเลสต่างๆสงบระงับไป
    จึงเรียกว่าเป็นการหลุดพ้นเหมือนกัน
    แต่ความหลุดพ้นนี้มีชั่วคราวเฉพาะเมื่ออยู่ในภาวะนั้นเท่านั้น
    และถอยกลับสู่สภาพเดิมได้ ไม่ยั่งยืนแน่นอน
    ท่านจึงเรียกการหลุดพ้นชนิดนี้ว่าเป็นโลกียวิโมกข์ (ความหลุดพ้นขั้นโลกีย์)
    เป็นกุปปวิโมกข์ (ความหลุดพ้นที่กำเริบคือเปลี่ยนแปลงกลับกลายหายสูญได้)
    และเป็นวิกขัมภนวิมุตติ (ความหลุดพ้นด้วยข่มไว้ คือ
    กิเลสระงับไปเพราะถูกกำลังสมาธิข่มไว้ เหมือนเอาแผ่นหินทับหญ้า
    ยกแผ่นหินออกเมื่อใด หญ้าย่อมกลับงอกงามขึ้นได้ใหม่)
    (สามารถอ่านรายละเอียดเหตุผลได้ในนิวรณ์ ๕ - webmaster)
    จากข้อพิจารณาที่กล่าวมานี้ จะเห็นว่า
    ในการปฏิบัติเพื่อเข้าสู่จุดมุ่งหมายของพุทธธรรมนั้น
    องค์ธรรมหรือตัวการสำคัญที่สุดที่เป็นตัวตัดสินใจในขั้นสุดท้าย จะต้องเป็นปัญญา
    และปัญญาที่ใช้ในการปฎิบัติการในขั้นนี้ เรียกชื่อเฉพาะได้ว่า วิปัสสนา ดังนั้น
    การปฏิบัติจึงต้องก้าวมาถึงขั้นวิปัสสนาด้วยเสมอ ส่วนสมาธิ นั้นแม้จะจำเป็น
    แต่อาจยืดหยุ่นเลือกใช้ขั้นใดขั้นหนึ่งก็ได้ เริ่มแต่ขั้นต้นๆ
    ที่เรียกวิปัสสนา-สมาธิ ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับขณิกสมาธิ และอุปจารสมาธิ
    เป็นต้นไป.........."
    (พุทธธรรม หน้า ๘๖๘ - ๘๖๙)
    ธรรมข้อคิด จากพระอริยเจ้าเพื่อให้เกิดความมั่นคงในแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง

    จาก อตุโล ไม่มีใดเทียม หน้า๔๙๕
    มีผู้ไปกราบเรียนหลวงปู่(หมายถึง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล)
    เรื่องสมาธิว่าปฏิบัติได้ดีอย่างยิ่ง เหลือแต่ความสุข สุขอย่างยิ่ง เย็นสบาย
    แม้จะให้อยู่อย่างนี้นานเท่าไรก็ได้
    หลวงปู่ยิ้มแล้วพูด
    "เออ ก็ดีแล้วที่ได้ผล พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ
    จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็ได้แค่นั้นแหละ
    ยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทาน ให้ละสุขนั้นเสียก่อน
    แล้วพิจารณาขันธ์ ๕ ให้แจ่มแจ้งต่อไป"
    "สิ้นโลก เหลือธรรม" จากเทสรังสีอนุสรณาลัย
    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี หน้า๑๐๒
    ขอสรุปใจความย่อๆ ในหนังสือเล่มนี้ว่า(หมายถึงหนังสือ "สิ้นโลก
    เหลือธรรม") พระคณาจารย์ทั้งหลายที่ได้ศึกษาเรื่องจิต-ใจยังไม่เข้าใจแจ้งชัด
    ขอได้โปรดอย่าไปสอนสานุศิษย์ทั้งหลาย เพราะอาจเป็นบ้าเป็นบอไปก็ได้
    ขายขี้หน้าพาหิรกะภายนอกศาสนา เพราะศาสนาพุทธสอนให้เข้าถึงจิต-ใจ
    แต่ผู้สอนไม่เข้าถึงจิต-ใจ จึงทำให้ลูกศิษย์เห็นผิด เกิดวิปลาสเป็นบ้าไปต่างๆนานา
    แล้วก็ทอดทิ้งให้ระเกะระกะอยู่ทั่วไป ผู้เขียน(หมายถึงหลวงปู่เทสก์
    เทสรังสี)ได้ประสบเรื่องนี้มามากแล้ว ถ้าผู้นั้นยังพอมีสติอยู่
    ก็พอพูดกันรู้เรื่องบ้าง ถ้าเป็นมาก ก็พูดไม่รู้เรื่องกัน
    แล้วก็เลยพากันทอดทิ้งกันหมด น่าสงสารจริงๆ พุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงจิต-ใจ
    ให้มีสติควบคุมจิตของตนให้เป็นคนดีเรียบร้อย แต่ว่าผู้สอนกลับสอนตรงกันข้าม
    จึงเป็นหนทางให้เสื่อมพุทธศาสนา คนภายนอกเลยพากันเห็นว่า พุทธศาสนาสอนคนให้เป็นบ้า
    บุญ กับ กุศล
    โดย ท่านพุทธทาส
    "..........ในการเจริญสมาธิ ก็เป็นอย่างเดียวกันอีก คือ สมาธิเอาบุญก็ได้
    เอากุศลก็ได้ สมาธิเพื่อดูนั่นดูนี่ ติดต่อกับคนโน้นคนนี้ที่โลกอื่น
    ตามที่ตนกระหาย จะทำให้เก่งกว่าคนอื่น หรือ สมาธิเพื่อการไปเกิดในภพนั้น ภพนี้
    อย่างนี้เรียกว่า สมาธิเอาบุญ หรือ ได้บุญ เพราะทำใจให้ฟู ให้พอง
    ตามความหมายของมันนั่นเอง(webmaster-บุญ แปลว่า ความใจฟู ความอิ่มเอิบ)
    ซึ่งเป็นของที่ปรากฏว่า ทำอันตรายแก่เจ้าของถึงกับต้องรับการรักษาเป็นพิเศษ
    หรือรักษาไม่หายจนตลอดชีวิตก็มีอยู่ไม่น้อย เพราะว่าสมาธิเช่นนี้
    มีตัณหาและทิฏฐิเป็นสมุฎฐาน แม้จะได้ผลอย่างดีที่สุด
    ก็เพียงได้เกิดในวัฏสงสารตามที่ตนปรารถนาเท่านั้น ไม่เป็นไปเพื่อนิพพาน
    ส่วนสมาธิที่มีความมุ่งหมาย เพื่อการบังคับใจตัวเองให้อยู่ในอำนาจ
    เพื่อกวาดล้างกิเลสอันกลุ้มรุมจิตให้ราบเตียน
    ข่มขี่มิจฉาทิฎฐิอันจรมาในปริมณฑลของจิต ทำจิตให้ผ่องใส
    เป็นทางเกิดของวิปัสสนาปัญญา อันดิ่งไปยังนิพพาน เช่นนี้เรียกว่า สมาธิได้กุศล
    ไม่ทำอันตรายใคร ไม่ต้องหาหมอรักษา ไม่หลงวนเวียน ในวัฎสงสาร
    จึงตรงกันข้ามจากสมาธิเอาบุญ"
    หลักเกณฑ์การปฏิบัติสมาธิ - ปัญญา (๓ พฤษภาคม ๒๕๔๑)
    โดย พระมหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    "หลักใหญ่ให้จิตสงบได้นั้นแหละของดี
    เพียงจิตสงบเท่านั้นก็ตัดความกังวลวุ่นวาย
    ซึ่งเคยประจำจิตเสียดแทงจิตออกได้โดยลำดับลำดา จนถึงกับเป็นขั้นสบาย
    เพราะฉนั้นผู้ภาวนาเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว
    จึงมักขี้เกียจในการพิจารณาธรรมทั้งหลายด้วยปัญญา
    นอนจมอยู่กับสมาธินั้นเสียไม่ออกพินิจพิจารณา
    สุดท้ายก็เข้าใจว่าความรู้ที่แน่วแน่แห่งความเป็นสมาธิของตนนั้นเป็นมรรคผลนิพพานไปเลย
    ในข้อนี้ผมเคยเป็นแล้ว จึงได้นำมาอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ
    ว่าสมาธิต้องเป็นสมาธิ ปัญญาต้องเป็นปัญญา เป็นคนละสัดเป็นคนละส่วน
    เป็นคนละอันจริงๆ ไม่ใช่อันเดียวกัน หากเป็นอยู่ในจิตอันเดียวกันนั่นแล
    เป็นแต่เพียงไม่เหมือนกัน.............ผู้ที่เป็นสมาธิ
    ถ้าไม่ออกพิจารณาทางด้านปัญญา จะเป็นสมาธิอย่างนั้นตลอดไป จนกระทั่งวันตาย
    ก็หาเป็นนิพพานได้ไม่ หาเป็นปัญญาได้ไม่ ต้องเป็นสมาธิอยู่ตลอดไป
    นี่ละท่านจึงสอนให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา
    มีความจำเป็นอย่างนี้ให้ทุกๆท่านจำไว้ให้แม่นยำ นี่สอนด้วยความแม่นยำด้วย
    สอนด้วยความแน่ใจของเจ้าของ เพราะได้ผ่านมาแล้วอย่างนี้
    ติดสมาธิก็เคยติดมาแล้ว........."
    อตุโลไม่มีใดเทียม หน้า ๔๖๙
    .........ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้
    ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด
    เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา
    เมื่อสติมันติดต่อกัน(webmaster- เป็นสัมมาสมาธิ ที่หมายถึง
    แม้สติมีความเกิดดับๆ..ตามสภาวะของสังขารทั้งหลาย
    แต่มีความต่อเนื่องเท่าทันเมื่อประสบกับอารมณ์
    จึงไม่ใช่หมายถึงการตั้งสติอยู่ตลอดเวลา)ไปอย่างนี้แล้ว
    ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา"
    ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น
    เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ
    สิ่งที่น่ารู้เกี่ยวกับนิมิตและภวังค์ ที่เกิดขึ้นจากฌาน,สมาธิ
    จาก เทสก์รังสีอนุสรณาลัย เรื่อง สิ้นโลก เหลือธรรม
    โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
    บางอาจารย์เมื่อนิมิตเกิดขึ้นมาแล้ว สอนให้ถือเอานิมิตนั้น
    เป็นขั้นเป็นชั้นของมรรคทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น เช่น
    นิมิตเห็นแสงเล็กเท่าแสงหิ่งห้อย ได้สำเร็จชั้นพระโสดาบัน,
    เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาหน่อยเท่าแสงดาว ได้สำเร็จชั้นพระสกทาคามี,
    เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระจันทร์ ได้สำเร็จชั้นพระอนาคามี,
    เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระอาทิตย์ ได้สำเร็จชั้นพระอรหันต์อย่างนี้เป็นต้น.
    ไปถือเอาแสงภายนอก(อันเป็นเพียงโอภาสหรือนิมิต - Webmaster)
    ไม่ถือเอาใจของคนที่บริสุทธิ์มากน้อยเป็นเกณฑ์ ความเห็นเช่นนั้น
    ยังห่างไกลจากความเป็นจริงนัก...........นิมิตเกิดจากภวังค์เป็นส่วนมาก
    ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรคโดยเฉพาะอยู่แล้ว
    มันจะเป็นมรรคได้อย่างไร........(หน้า๑๕-๑๖)
    (webmaster - เหตุที่ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรค ก็เนื่องจากในภวังค์นั้น
    ไม่สามารถใช้สติได้อย่างบริบูรณ์
    กล่าวคือสติเริ่มขาดเนื่องด้วยหยุดการรับรู้จากทวารทั้ัง ๖
    ไปอยู่ในภวังคจิตนั่นเอง)
    แท้ที่จริงนิมิตทั้งหลาย ดังที่อธิบายมาแล้วก็ดี หรือนอกไปกว่านั้นก็ดี
    ถึงไม่ใช่เป็นทางให้ถึงความบริสุทธิ์ก็จริงแล
    แต่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะต้องได้ผ่านทุกๆคน
    เพราะการปฏิบัติเข้าถึงจิตรวมเข้าถึงภวังค์แล้วจะต้องมี
    เมื่อผู้มีวาสนาเคยได้กระทำมาเมื่อก่อน เมื่อเกิดนิมิตแล้ว
    จะพ้นจากนิมิตนั้นหรือไม่ ก็แล้วแต่สติปัญญาของตน
    หรืออาจารย์ผู้นั้นจะแก้ไขให้ถูกหรือไม่
    เพราะของพรรค์นี้ต้องมีครูบาอาจารย์เป็นผู้แนะนำ ถ้าหาไม่แล้วก็ต้องจมอยู่ปรัก
    คือนิมิต นานแสนนาน เช่น อาฬารดาบส แล อุททกดาบส เป็นตัวอย่าง........(หน้า๑๗)
    ข้อคิด แนวทางในการปฏิบัติ

    หลักปฏิบัติ สมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)
    - ให้หยุดคิดหยุดนึกทั้งปวง มีแต่สติหรือจิตตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์
    อันมีกำลังยิ่ง

    หลักปฏิบัติ วิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน)
    - ให้หยุดแต่การคิดนึกปรุงแต่ง
    แต่มีแต่สติหรือจิตอยู่กับการคิดพิจารณา(ใช้ปัญญา)ในเหล่าธรรมอันเป็นกุศล
    อันเป็นปัญญายิ่ง

    หลักปฎิบัติ สมถวิปัสสนา
    - เมื่อปฏิบัติสมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)เป็นกำลังแล้ว
    ให้เจริญวิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน) จึงยังทั้งกำลัง และปัญญาอันยิ่งๆขึ้นไป

    หนึ่งในสมาธิที่ใช้ปฏิบัติสมถวิปัสสนาอันดีงามยิ่ง คือ วิปัสสนาสมาธิ
    พนมพร
    รวมหัวข้อธรรมที่เกี่ยวกับสมาธิและฌาน

    > เลือกข้อธรรม ที่เกี่ยวเนื่องกับฌานสมาธิ <
    --------------------------------------------------
    รวมหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับสมาธิ & ฌาน
    -------------------------------------------------- ฌานสมาธิ นิมิตและภวังค์
    ปุจฉา-วิสัชนา เรื่องฌานสมาธิ แบบถามตอบ จิตส่งใน เป็นภัยต่อนักปฏิบัติ ติดสุข
    และอาการต่างๆที่มักเกิดกับนักปฏิบัติ วิปัสสนูปกิเลส สิ่งที่ทำให้รับธรรมไม่ได้
    นิวรณ์ ๕ สมาธิสั้นในเด็ก --------------------------------------------------
    >>> แนวการใช้สมาธิในการปฏิบัติ <<<
    -------------------------------------------------- สมาธิขั้นใด?
    ที่จำเป็นในการปฏิบัติวิปัสสนา สัมมาสมาธิ สัลเลขสูตร
    แสดงฌานเป็นเพียงเครื่องอยู่ อานาปานสติ โดยท่านพุทธทาส สัญญาเวทยิตนิโรธ หรือ
    นิโรธสมาบัติ
     
  10. กุญแจไขปริศนา

    กุญแจไขปริศนา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มกราคม 2009
    โพสต์:
    903
    ค่าพลัง:
    +979
    เท่าที่อ่านหน้าแรกมาผมชอบกระทู้นี้นะ ใช่พระพุทธเจ้ารึเปล่าไม่แน่ใจ แต่ว่าข้อความที่ส่งสารออกมาน่ะดีใช้ได้เลย
    แต่ก็ต่างคนต่างความคิด พูดซะว่าสนทนากับพระพุทธเจ้ามันย่อมมีคนไม่เห็นด้วยอย่างแน่นอน
     
  11. กัปปะ

    กัปปะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    271
    ค่าพลัง:
    +118
    ผมเชื่อว่า...ตอนนี้ ผมกำลังมองเห็น น-ร-ก กำลังอยู่บนหัวใครบางคน...
     
  12. ruutaad

    ruutaad สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +1
    เดี๊ยนว่าบ้า เจตนาบิดเบือน ทำตนเป็นผู้วิเศษ ระวังนรกจะกินกะบาล
     
  13. บุษบามินตรา

    บุษบามินตรา สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +0
    ดิฉันก็ไม่ใช่ผู้รู้อะไรมากมายนะคะ เข้าวัดก็ไม่บ่อยค่ะ เดือนละไม่กี่ครั้ง
    แต่...หลังจากที่ดิฉันได้อ่านกระทู้นี้ และคอมเม้นต่างๆของกระทู้นี้ ทำให้ดิฉันได้เห็นว่ามีคน งมงายอย่างไม่ลืมหูลืมตา ขอให้เกี่ยวกับสิ่งศักสิทธิ์เถอะ กรูเชื่อหมด ไหว้หมด ศรัทธาหมด มันสะท้อนอะไรบางอย่างของสังคมสมัยนี้นะว่า เดี๋ยวนี้มนุษย์เริ่มหูบอด ตามัว เริ่มหลงกับสิ่งมอมเมา ห่างไกลพระธรรมคำสั่งสอน ปากบอกว่านับถือพระพุทธเจ้า แต่ดูสิ เอาพระพุทธเจ้ามา เล่นเจ้าเข้าผี ทำเหมือนพระองค์เป็นอะไร ช่างกล้าม้ากมาก มิขอหวยไปซะเลยล่ะ ไม่ต้องมาแต่งหนังสืออุ_าทว์ มาบิดเบือนพระธรรมคำสั่งสอน ระวังธรณีจะสูบนะคะ ขอให้โชคดีไปพบกับพระเทวทัตเร็วนะคะ ขอส่งล่วงหน้าที่ขอบนรก อิอิอิ
     
  14. artidk

    artidk เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    83
    ค่าพลัง:
    +129
    ผมว่าเนื้อหาในหนังสือดีมากครับถ้าปฏิบัติได้ตามหนังสือบ้านเมืองจะเจริญมากครับ
    เพราะจิตใจคนดีนั่นเอง

    แต่กลับมีคนต่อต้านเพื่ออะไรครับ ถ้าบอกว่าคนเขียนเขาไม่ดีแล้วประเทศไทยจะมีคนที่เรียกว่าดีสักกี่คนครับ
     
  15. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ทุกวันนี้เห็นชาวพุทธเรามีความเชื่อ มีทิฏฐิหลายหลาก พวกเราลองมาศึกษากันดูดีใหมว่า พระพุทธพจน์เรื่องทิฏฐิ (มิจฉาทิฏฐิ) ทั้งหลายมีอะไรบ้าง

    ดังที่กล่าวในตอนท้ายของ พรหมชาละ หรือ ทิฏฐิชาละ ใน พระไตรปิฎกเล่มที่ ๙ สุตตันตปิฎกที่ ๑ ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค ดังนี้

    [๙๐] ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาสมณพราหมณ์เหล่านั้น สมณพราหมณ์เหล่าใดมีทิฏฐิ
    ว่าเที่ยง ย่อมบัญญัติอัตตาและโลกว่าเที่ยง ด้วยเหตุ ๔ ประการพวกที่มีทิฏฐิว่า บางอย่างเที่ยง
    บางอย่างไม่เที่ยง ... พวกที่มีทิฏฐิว่า โลกมีที่สุดและหาที่สุดมิได้ ... พวกที่มีทิฏฐิดิ้นได้ไม่ตายตัว ...
    พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาและโลกเกิดขึ้นลอยๆ ... พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีต ... พวกที่มีทิฏฐิว่า
    อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญา ... พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายไม่มี
    สัญญา ... พวกที่มีทิฏฐิว่า อัตตาเหนือขึ้นไปจากการตายมีสัญญาก็มิใช่ ไม่มีสัญญาก็มิใช่ ...
    พวกที่มีทิฏฐิว่าขาดสูญ ... พวกที่มีทิฏฐิว่านิพพานในปัจจุบัน ... พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอนาคต ...
    พวกที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
    อนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วน
    อนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิดด้วยเหตุ ๖๒ ประการ สมณพราหมณ์เหล่านั้นทุกจำพวก
    ถูกต้องๆ แล้วด้วยผัสสายตนะทั้ง ๖ ย่อมเสวยเวทนา เพราะเวทนาของสมณพราหมณ์เหล่านั้น
    เป็นปัจจัยจึงเกิดตัณหา เพราะตัณหาเป็นปัจจัยจึงเกิดอุปาทาน เพราะอุปาทานเป็นปัจจัยจึงเกิดภพ
    เพราะภพเป็นปัจจัยจึงเกิดชาติ เพราะชาติเป็นปัจจัยจึงเกิด ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ
    โทมนัส อุปายาส ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด ภิกษุรู้ชัดตามความเป็นจริงซึ่งความเกิด ความดับ
    คุณและโทษ แห่งผัสสายตนะทั้ง ๖ กับทั้งอุบายเป็นเครื่องออกไปจากผัสสายตนะเหล่านั้น
    เมื่อนั้น ภิกษุนี้ย่อมรู้ชัดยิ่งกว่าสมณพราหมณ์เหล่านี้ทั้งหมด ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็สมณะหรือ
    พราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์
    ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคตก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์
    ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด
    ถูกทิฏฐิ ๖๒ อย่างเหล่านี้แหละเป็นดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้
    ติดอยู่ในข่ายนี้ถูกข่ายปกคลุมไว้ เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ เปรียบเหมือนชาวประมงหรือลูกมือ
    ชาวประมงผู้ฉลาด ใช้แหตาถี่ทอดลงยังหนองน้ำอันเล็ก เขาคิดอย่างนี้ว่า บรรดาสัตว์ตัวใหญ่ๆ
    ในหนองนี้ทั้งหมด ถูกแหครอบไว้ อยู่ในแห เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ติดอยู่ในแห ถูกแหครอบไว้
    เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในแห ฉันใด ดูกรภิกษุทั้งหลาย. สมณะหรือพราหมณ์พวกใดพวกหนึ่ง ก็ฉันนั้น
    ที่กำหนดขันธ์ส่วนอดีตก็ดี กำหนดขันธ์ส่วนอนาคตก็ดี กำหนดขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
    ก็ดี มีความเห็นตามขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต ปรารภขันธ์ทั้งส่วนอดีตทั้งส่วนอนาคต
    กล่าวคำแสดงทิฏฐิหลายชนิด สมณพราหมณ์เหล่านั้นทั้งหมด ถูกทิฏฐิ ๖๒ เหล่านี้แหละเป็น
    ดุจข่ายปกคลุมไว้ อยู่ในข่ายนี้เอง เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้ ติดอยู่ในข่ายนี้ ถูกข่ายปกคลุมไว้
    เมื่อผุดก็ผุดอยู่ในข่ายนี้.

    ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคต มีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพขาดแล้วยังดำรงอยู่ เทวดา
    และมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตชั่วเวลาที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว
    เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต เปรียบเหมือนพวงมะม่วง เมื่อขาดจากขั้วแล้ว
    ผลใดผลหนึ่งติดขั้วอยู่ ย่อมติดขั้วไป ดูกรภิกษุทั้งหลาย กายของตถาคตมีตัณหาอันจะนำไปสู่ภพ
    ขาดแล้ว ก็ฉันนั้นเหมือนกัน ยังดำรงอยู่ เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักเห็นตถาคตได้ก็ชั่วเวลา
    ที่กายของตถาคตยังดำรงอยู่ เมื่อกายแตกสิ้นชีพแล้ว เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายจักไม่เห็นตถาคต.

    เมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคดังนี้ว่า
    น่าอัศจรรย์ พระเจ้าข้า ไม่เคยมีมา พระเจ้าข้า ธรรมบรรยายนี้ชื่ออะไร พระเจ้าข้า.
    พระผู้มีพระภาคตรัสว่า เพราะฉะนั้นแหละ อานนท์ เธอจงจำธรรมบรรยายนี้ว่า อรรถชาละก็ได้
    ว่าธรรมชาละก็ได้ ว่าพรหมชาละก็ได้ ว่าทิฏฐิชาละก็ได้ ว่าพิชัยสงครามอันยอดเยี่ยมก็ได้.
    ครั้นพระผู้มีพระภาค ตรัสพระสูตรนี้จบแล้ว ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น มีใจชื่นชม
    เพลิดเพลินภาษิตของพระผู้มีพระภาค ก็และเมื่อพระผู้มีพระภาคตรัสไวยากรณ์ภาษิตนี้อยู่ หมื่น
    โลกธาตุได้หวั่นไหวแล้วแล.
     
  16. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    แสดงว่าคุณยังไม่รู้จักศาสนาดี คุณยังมองเปลือกเป็นแก่น มองแก่นเป็นโพลง

    คุณลองศึกษา อริยสัจ 4 ให้ละเอียด และ อภิธรรม 7 คัมภีร์ให้ถ่องแท้ แล้วคุณจะมองเหมือนพวกเรา


    เขาไม่ได้ต่อต้านหนังสือ แต่เขาต่อต้านเรื่องราวการประทับทรงพระพุทธเจ้าต่างหาก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 ตุลาคม 2010
  17. nattapong0925

    nattapong0925 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    174
    ค่าพลัง:
    +165
    เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ พี่น้อง...ไม่นานหรอกครับ บิดเบือนคำสอน อวดอุตริ เดี๋ยวกรรมก้อตามทัน เร็วๆนี้แน่นอน..
     
  18. texsum

    texsum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +1,511
    ผมว่า เอาพระศาสดามาล้อเล่นกับร่างทรงนี่มันก็ไม่ตลกแล้วนะครับ คิดได้ยังไง
     
  19. ทิพย์พิมล

    ทิพย์พิมล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    245
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +1,512
    ขออภัยด้วยค่ะ...หนังสือเล่มนี้คงไม่ส่งต่อให้ใครแล้ว ตั้งใจว่าจะไม่เก็บไว้อีก
    ต้องขออภัยท่านที่ขอหนังสือเล่มนี้ด้วยนะค่ะ หากส่งหนังสือเล่มนี้ให้ไปก็เท่ากับเป็นการรวมปรามาสด้วย เกือบไปแล้วนะเนี่ย.!!! ขออภัยจริงๆค่ะ
     
  20. SpecDum

    SpecDum เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +489




    " อย่าเล่นของสูง ! "
     

แชร์หน้านี้

Loading...