สนทนากับองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า โดย พ.อ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ตั้งคณา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย chilaoon, 11 ตุลาคม 2010.

  1. chilaoon

    chilaoon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +748
    พบแล้วครับ ตามลิงค์นี้เลย
    teaching-glossary - สนทนากับพระเจ้า การพูดคุยที่ไม่ธรรมดา เล่ม 1
    ผมยังไม่มีเวลาอ่านและวิเคราะห์ ฝากเพื่อนธรรมช่วยอ่านและพิจารณาด้วยว่า เนื้อหาคล้ายกัน หรือไม่ (แรงบันดาลใจไม่ใช่ปัญหา แต่ปัญหาอยู่ที่เนื้อหา) ขอบคุณครับ
     
  2. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    เนื้อหาไม่เหมือนกันครับ แต่ว่ารูปแบบในการนำเสนอนั้นใกล้เคียงกันมาก แต่ว่าในส่วนของเนื้อหาของบทความที่คุณเอามาลง ผมบอกได้เลยว่าไม่ใช่การสนทนาของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า กับ นายแพทย์คนนั้นเป็นแน่ อันนี้ต่างหากที่เป็นประเด็น ซึ่งหากไม่ใช่การสนทนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วไปกล่าวอ้างเช่นนั้น อันตรายนะครับ ทั้งกับคนที่นำมา นำเสนอ กับทั้งผู้อ่าน แล้วเข้าใจว่าเป็นจริงตามนั้น(เข้าใจว่าพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับร่างทรงแล้วมาสนทนาจริงๆ) ตรงจุดนี้มันอาจนำไปสู่ความเชื่อผิดๆมากมายตามมา ส่วนประเด็นเนื้อหาเท่าที่อ่าน ก็มีหลายอย่างที่อ่านแล้วทะแม่งๆอยู่มาก ลองอ่านเทียบดูกับคำที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ตรัสสอนไว้ในพระไตรปิฎกเปรียบเทียบดูเองเถิด คำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อได้ศึกษาดุ จะพบว่า เป็นจริงตามนั้น ไม่มีขัดแย้งกันแม้แต่น้อย และเรียบง่าย งดงาม ทั้งในเบื้องต้น ในท่ามกลาง และในที่สุด แตกต่างจากคำสอนของในบทความมากมายนัก ที่ผมพูดนี่ ผมดูที่เนื้อหาเป็นหลัก ไม่ใช่การใช้ถ้อยคำ ที่อาจจะแตกต่างกัน แต่เน้นไปที่เนื้อหาโดยตรงเลย คำสอนในเนื้อหาบทความหลายอย่างคลุมเครือ ไม่ชัดเจน ซึ่งไม่ใช่วิสัยของคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ชัดเจน แจ่มแจ้ง แทงทะลุเข้าไปในจิต เพราะพระพุทธองค์เป็นผุ้ตรัสรู้โดยชอบ คำสอนของพระพุทธองค์ทะลุม่านหมอกแห่งกิเลสแห่งจิตใจมนุษย์

    ดังนั้นเพื่อไม่ให้คนเข้าใจผิดเจ้าของกระทู้พิจารณาให้ดี เพราะบางทีความตั้งใจดี แต่ไม่ได้พิจารณาถึงผลกระทบให้รอบด้านนั้น อาจนำมาซึ่งเป็นการเติมเชื้อแห่งมิจฉาทิฎฐิให้กับบางคนที่ภูมิปัญญาทางธรรมยังไม่แก่กล้า อาจนำเขาให้หลงทางไปได้ ขอให้ไตร่ตรองให้รอบคอบในการนำเสนอด้วย
     
  3. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    ยิ่งอ่านในเนื้อหาก็ยิ่งชัดเจนว่า ระดับภูมิปัญญาทางธรรม ในบทความที่กล่าวว่าเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ห่างชั้นกับของจริง อย่างชนิดที่ไม่ควรแม้แต่เอามาเปรียบกันได้

    "โกรธได้...แต่ต้องโกรธ...ให้เป็น...!
    รักได้...แต่ต้องรัก...ให้เป็น...!"

    เอาแค่ประโยคสั้นๆในส่วนนี้ที่ผมก็อปลงมาจากบทความข้างบน และจากได้อ่านโดยรวมแล้วสรุปได้เลย ว่า ไม่ใช่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าแน่นอน เป็นเหมือนกับคำสอนของพวกนักจิตวิทยาทั่วไป หรือไม่ก็มีความรู้ทางธรรมในเบื้องต้นนิดหน่อยเท่านั้น ลองอ่านและพิจารณาดูให้ดี ทั้งไม่มีความชัดเจน ทั้งคลุมเคลือ และทั้งไม่จริง โกรธได้ แต่ต้องโกรธให้เป็น ถามหน่อยว่า ต้อง โกรธยังไง ถึงจะเรียกว่า โกรธเป็น เอาแค่นี้ก็พอ ถ้าอธิบายให้ผมเข้าใจได้ ผมถึงจะเชื่อ

    ใครได้อ่านต้องพิจารณาให้รอบคอบอย่างมากย้ำอีกทีครับ
     
  4. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    ธรรมะ ของพระพุทธเจ้า จะกี่ สิบปี พันปี ล้านปี กี่กัลป์ กี่อสงค์ไขบ์

    พระพุทธองค์จะทรงกล่าว วาจาเช่นเดิม ธรรมะเพื่อความคลาย กำหนัด

    ธรรมะที่เป็นไปซึ่ง ขจัดทิ้งความ โลภ โกรษ หลง

    อย่างที่ ท่าน อภิภู บอก

    บทความที่นำมาลงให้อ่าน อาจจะเป็นเพียงหลักจิตวิทยาเบื้องต้น ที่แต่งเติม
    โดยเอาธรรมะของคนที่ศึกษามาเล็กน้อย มาเสริมให้ดูดี ดูว่าสวยงาม ให้คนดำเนิดชีวิตไปในทางที่ดี ที่จริงมองดูผ่านๆมันอาจจะได้บุญนะครับ แต่สิ่งที่ทำนั้นมันตรงกันข้ามแทนที่จะได้ บุญ เยอะ แต่กลับได้ บาปกรรมติดตัวมากกว่า

    เพราะถ้าไม่อุตริไปบอกว่า

    บทความเหล่านี้มาจาก พระโอษฐ์ ของพระพุทธองค์
    และมาจาก การประทับร่้างทรงอีกต่างหาก

    ขอเตือนอีกครั้งนะครับว่า
    การเผยแผ่ ธรรมะ ที่ผิดๆ ยอมเกิด บาปกรรมที่ รุนแรงมาก ต่อผู้เผยแผ่

    เพราะจากธรรมทาน ด้านโลกีย์ธรรมที่ว่า

    การให้ธรรมะ เป็นทาน ชนะการให้ทั้งปวง

    แต่จะน่ากลัวไหมที่ว่า การให้ธรรมะ ที่ผิดๆมันก็คงจะสะท้อนกลับมารุนแรง
    เช่นเดียวกัน เพราะเป็นบ่อเกิดให้ ผู้คนมีความเห็นผิด

    พิจรณาดูดีๆนะครับ
     
  5. krittima helga

    krittima helga เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +247
    ขอบคุณท่าน จขกท ที่นำมาโพสให้อ่าน ถ้าท่านไม่โพสคงไม่มีโอกาสได้อ่าน เพราะในความเห็นของเรา เราคิดว่า มันเป็นธรรมมะเก่าแก่ที่มีมาแล้วเนิ่นนาน เพียงแต่ใช้ ภาษาใหม่ คือภาษาปัจจุบัน เข้าใจง่าย ไม่ต้องแปล วิถีทาง ในการปฎิบัติ ยังคงเหืมอนเดิมคือ มองจากภายใน สมาธิ พิจารณาในทุกสิ่ง(คือวิปัสสนา) และปัญญา เพียงแ่ต่ภาษาที่ใช้เปีลยนเป็นภาษาปัจจุบัน ภาษาของคนรุ่นเรา ไม่ใช่ภาษาใน ตัณหามี ภวตัณหา กับอภิวตัณหา ที่เป็นเหตุ ให้ก่อเกิด โทสะ โลภะ และโมหะ เป็นต้น และนื่คือความเห็นสว่นตัวของเรา ที่เรามีอิสสระเต็มที่ ที่จะคิดนอกกรอบ ที่จะมีหนทางค้นหาสัจจธรรมในชีวิตของเรา
     
  6. userx

    userx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +1,061
    ช่วยชี้แจงและอธิบายให้ผมเข้าใจหน่อยได้ไหมว่า บทสนทนาหรือข้อความในบทไหนในหนังสือนี้ที่ จขกท ได้กรุณานำมาให้อ่าน ที่ว่าสอนคนให้ทำผิดหรือสอนธรรมะที่ผิดๆ แล้วมีข้อความไหนที่ท่านกล่าวว่าผิดจาก "ธรรม" แล้วธรรมในความหมายท่านคืออะไร ธรรมะคือพระไตรปิฏก ใช่หรือไม่ ช่วยสั่งสอนและแนะนำผมด้วย ขอบคุณครับ และขออนุโมทนามา ณ ที่นี้ด้วย










    ปล.อนุโมนทนากับ จขกท ที่สละเวลานำข้อมูลดีๆมานำเสนอ
     
  7. อภิภู

    อภิภู Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    177
    ค่าพลัง:
    +82
    คนข้างบนไม่ได้ถามผม แต่ผมอยากจะตอบ การสอนให้คนทำความดีในระดับเบื้องต้น ไม่ใช่เรื่องยาก คนธรรมดาที่มีศีลธรรมพอประมาณ ศึกษาธรรมะมาบ้างก็พอทำได้ อย่างพ่อ แม่ สอนลูกให้เป็นคนดี ก็เป็นตัวอย่างอันนึง แต่การสอนให้คนหลุดพ้น จากการเวียนว่าย ตายเกิด ในสังสารวัฎนั้น มันคนละเรื่องกันเลยทีเดียว และในบทความที่เจ้าของกระทู้นำมาลง แล้วในบทความนั้นอ้างว่า เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามาประทับร่างทรง แล้วตอบคำถามกับนายแพทย์ ซึ่งอ่านดูก็รู้ว่าไม่ใช่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แน่นอน คำสอน ก็แค่หลักจิตวิทยาเบื้องต้นทั่วไป เป็นแค่ระดับคนธรรมดาสามัญปุถุชนทั่วไป อย่าว่าไปถึงระดับพระอริยะเลย แล้วนี่กลับบอกว่าเป็นคำสอนของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ตามในบทความนั้น แน่นอนว่าคนทั่วไปที่ศึกษาธรรมะยังไม่ลึกซึ้งอ่านแล้วอาจชอบใจ เพราะเข้าใจได้ง่าย แต่นั่นแหละที่น่ากลัว เพราะถ้าไม่บอกว่าเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคำสอนของนายแพทย์ท่านนั้นเอง ผมจะไม่ออกมาท้วงเลย เพราะการสอนให้คำทำดี เป็นเรื่องดี แต่การบอกให้คนเข้าใจว่า คำสอนนี้เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า นั้น มันเป็นเรื่องที่ เหลวไหลสิ้นดี อย่างที่ผมยกตัวอย่างไปข้างต้นว่า การสอนให้เป็นคนดี คนทั่วไปธรรมดาสามัญก็สอนได้ แต่การสอนให้หลุดพ้นจากสังสารวัฎ โดยใช้คำสอนของคนธรรมดาสามัญทั่วไป มันไม่มีทางจะเป็นไปได้ นอกจากจะเป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้น ที่อธิบายมานี้พอจะเข้าใจประเ็ด็นรึยังครับ ว่าถ้าไม่มีการอ้างว่า คำสอนนี้เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า หนังสือเล่มนี้ก็คงเป็นหนังสือ จิตวิทยา ทั่วไปที่อยู่บนชั้นแผงหนังสือตามร้าน แต่เมื่อมีการกล่าวอ้าง ซึ่งแท้จริงแล้วไม่ใช่ ผมก็ต้องทัวงติงไป เท่านั้นครับ

    และขอเตือนเจ้าของกระทู้ด้วยความหวังดีนะครับ การเผยแพร่ธรรมะต้องดูดีๆ แม้เจตนาดี แต่ด้วยความไม่รู้ อาจทำเรื่องที่ผิดมหันต์ลงไปได้นะครับ

    ส่วนคนที่อ่านบทความนี้ก็ขอให้ จำไว้สักนิดว่า ที่ได้อ่านไปนั้นไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า เป็นคำสอนของคนธรรมดาสามัญทั่วไป ซึ่งจะจดจำไปใช้ในเรื่องที่เห็นว่าดีก็ทำไป แต่พึงระลึกไว้ด้วยว่า คำสอนที่ประเสริฐกว่านี้มีอยู่ เป็นคำสอนเพื่อการหลุดพ้นจากทุกข์อย่างถาวร และคำสอนนั้นก็เป็นคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั่นเอง
     
  8. ตันติปาละ

    ตันติปาละ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    4,421
    ค่าพลัง:
    +4,649
    หากินกับเปรตไม่พอ ยังดึงพระพุทธเจ้าลงมาอีก

    คิดให้ลึกหน่อย ถ้าพระพุทธเจ้าลงมาประทับทรงได้

    คุณกำลังแสดงให้คนเห็นว่าพระพุทธเจ้าไม่ใช่พระ อรหันต์

    จิตพระพุทธเจ้าแม้แต่อินทร์ พรหมยังรับพลังไม่ได้ แต่มนุษย์ธรรมดารับได้

    ไม่ต้องถามเลยว่าภพต่อไปคุณจะไปอยู่ใหน
     
  9. chilaoon

    chilaoon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +748
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • India_3_A_.wma
      ขนาดไฟล์:
      6.8 MB
      เปิดดู:
      611
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2010
  10. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ที่เราต้องมาคุยกัน ที่จริงแล้ว สาเหตุมีเพียงแค่...






    ถ้าไม่ได้บอกว่า เป็นการลงทรงของพระพุทธองค์

    เป็นผีสาง เทพเจ้า พระโพธิสัตว์ ฯลฯ อะไรมากมายที่จะบอกว่ามาทรงสอนคน


    ก็น่าจะโอเค เพราะ พูดคุย สอน ในเชิงปรัชญาและอ่านเปิดหูเปิดตาได้


    เพราะ บอกว่า เป็นพระพุทธองค์มาลงทรง เลยเป็นปัญหาที่รับกันไม่ได้



    ๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑๑


    พระพุทธองค์ ทรงมีพระญาณโปรดสัตว์ ที่ใครไม่อาจมีเท่าท่าน

    ไม่ต้องร่ายยาว เป็นปรัชญา แบบเหวี่ยงแห


    อยากเสนอ คนที่แอบอ้างเอาพระพุทธองค์มาลงทรงนะ



    ถ้าแน่จริง ให้นัดวันเวลาพิสูจน์กันเลย ( นี่ คือ วิทยาศาสตร์ทางจิตนี่นา )


    ถ้าเป็นพระพุทธองค์จริง ให้คนที่ต้องการคุย เรียงหน้ากันเข้าไปคุยกับร่างที่

    มีการทรงพระพุทธองค์เลย ขอกรรมฐานที่ถูกจริต ที่จะทำให้ได้ดวงตาเห็นธรรม หรือ พ้นทุกข์ได้ตรงจริตของแต่ละคนเลย

    อยากเห็นว่า .....วันนั้นจะมีคนบรรลุธรรมกี่คน....
     
  11. chilaoon

    chilaoon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +748
    ขอโทษครับ เทปหน้าที่ 2 โพสต์เดิมฟังไม่ได้
    เลยต้องมาโพสต์ใหม่ครับ
    [VDO]http://palungjit.org/attachments/a.1182699/[/VDO]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • India_3_B_.wma
      ขนาดไฟล์:
      6.9 MB
      เปิดดู:
      590
  12. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ส่วนเรื่อง การแปลงของพญาวสวตีมาร ตามคำเชิญ คำขอของพระอุปคุตต์เถระ ผู้ปราบมาร

    นั้นเอามาอ้างไม่เหมาะสม


    เพราะ สมัยนั้น พระเถระ และสาธุชนยุคนั้น ท่านก็กล่าวแล้ว ยืนยันแล้ว ว่าไม่เคยเห็นพระรูปกายเนื้อของพระพุทธองค์ จึงต้องขอพญามารแปลงให้เห็นพระรูปกาย


    ไม่ได้ แปลงมาเพื่อเจตนาปลอมเป็นพระพุทธองค์ ให้คนมากราบไหว้ตน ยึดเอาคำสอนตน ว่าเป็นคำสอนพระพุทธองค์


    .........เห็นไหมครับ คนละเจตนา คนละสถานะการณ์เลย



    และ การแปลงตอนนั้น ท่านไม่ได้เทศนาสอนใครเลย



    เห็นหรือยัง ว่าพญาวสวตตี ท่านไม่ได้ทำผิด
    ในสิ่งที่เป็นการปรามาสพระพุทธ ( จำแลงกายเป็นพุทธองค์ เพื่อให้คนมาสักการะตนโดยเจตนา) และ ไม่ได้ปรามาสพระธรรม
    ( แสดงคำสอน ที่แอบอ้างว่า เป็นคำตรัสสอนจากพระพุทธองค์ )



     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 ตุลาคม 2010
  13. นโมพุทธายะ๕

    นโมพุทธายะ๕ ก่อนตายไปอีกชาติ .. ใช้กายสังขารสร้างกำลังให้คุ้ม ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    22,281
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1,111
    ค่าพลัง:
    +70,450
    ทุกวันนี้ ภัยพระพุทธศาสนาโดยคนภายนอก

    มีโดย การส่งคนปลอมมาบวชพระ แล้วทำในสิ่งที่จะทำลายพระศาสนาก็มีมากพอแล้ว


    เราจะส่งเสริม การกระทำใดๆ ที่แอบอ้างว่า เป็นของพระพุทธองค์ หรือ


    ถามหน่อยว่า...


    ถ้าใครอยากหาเงินขายหนังสือ ก็หาคนมาลงทรงอ้างเป็นพระพุทธองค์
    นั่นเป็นจุดขาย ที่ทำให้คนสนใจไหม ( นี่หมายถึง สิ่งที่จะเกิดในอนาคตนะ )

    ใช่ อาจมีหลายคนอ้างว่า คนมีปัญญาก็รู้ว่า จะเอาแต่สิ่งดีมาใช้
    เค้ารู้ว่าอะไรดี ไม่ดี


    หยาบๆ ก็รู้ได้หรอก

    แต่ เรื่องละเอียดขึ้นไป สำหรับคนที่เพิ่งเข้ามาศึกษาพระพุทธศาสนา

    เรื่องการลงทรงพระพุทธองค์นี้ จะทำให้เค้าเสียเวลาไหม?...



    แต่มันผิดพลาด หรือ ทำบาปน้อยแค่ไหน

    ที่ส่งเสริมการปรามาสพระรัตนตรัย

    และส่งเสริม การทำลายพระพุทธศาสนาทางอ้อม โดยไม่เจตนา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 17 ตุลาคม 2010
  14. chilaoon

    chilaoon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +748
    หลังจากได้พิจารณา หนังสือ “สนทนากับพระเจ้า การพูดคุยที่ไม่ธรรมดา” กับ หนังสือ “สนทนากับองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า” แล้ว ส่วนตัวเห็นว่ารูปแบบการนำเสนอเริ่มต้นจากความศรัทธาเหมือนกัน ต่างกันที่การสื่อเท่านั้น(ของเขาสื่อโดยการเขียนโต้ตอบกันในคนคนเดียว ที่น่าทึ่งกว่านั้นคือการไม่รับรองคำสอนในใบเบิ้ล (อยู่ในหน้า38) ) แต่เนื้อหาต่างกันไปตามทางของศาสนานั้นๆ เนื้อหาเป็นปัจจุบันจึงอ่านเข้าใจง่าย ไม่ต้องตีความเพราะอธิบายไว้ชัดเจนเหมือนกัน สรุปว่าหนังสือ 2 เล่มนี้ไม่เกี่ยวข้องกัน
    หนังสือเล่มนี้ ผมยอมรับว่าน่าอ่าน สำนวนเรียบง่ายสบายๆ (ส่วนตัวอ่านแล้วไม่เครียด)และมีความเห็นตรงกับท่าน...
    การสอนให้บุคคลทำความดี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ก็น่าจะมีประโยชน์น่าศึกษาอยู่ ซึ่งเนื้อหานี้แยกเยอะได้ด้วยหลักกาลามาสูตร แต่ปมสำคัญอยู่ที่เป็นองค์สัมมาสัมพุทธเจ้าจริงหรือไม่ ที่ผมสองจิตสองใจ จึงเป็นเหตุแห่งการตั้งกระทู้นี้ขึ้นมา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากเพื่อนธรรม ซึ่งต้องขอขอบคุณทุกๆความเห็นและทุกๆกำลังใจครับ
    <?xml:namespace prefix = o ns = "urn:schemas-microsoft-com:eek:ffice:eek:ffice" /><o:p></o:p>
    ตอนนี้ผมทราบแล้วว่าอย่างไรเสียก็คงสรุปไม่ได้อย่างแน่นอน ผมอ่านจบแล้วและก็ปล่อยวางแล้ว หยิบสิ่งที่ดีมาปฏิบัติ จริงหรือเท็จไม่สำคัญ ถูกหลอกหรือไม่ ไม่สำคัญ แต่สิ่งที่ผมได้คือความรักและศรัทธาเทิดทูลองค์สัมมาสัมพุทธเจ้ามากมายกว่าเดิมหลายเท่านัก <o:p></o:p>
    แต่ด้วยเหตุผลของท่าน...
    ทำให้ผมต้องมาทบทวนใหม่ว่า ผู้ที่จะได้ประโยชน์จากการกระทู้นี้มีเฉพาะผู้ที่มีใจเป็นกลางไม่เอนเอียงเท่านั้น(ผมเชื่อว่าเพื่อนธรรมส่วนใหญ่เป็นกลุ่มนี้) เหตุเพราะไม่สามารถพิสูจน์ได้นี้เองจึงเป็นการเสี่ยงอย่างที่สุดกับเพื่อนธรรมที่ปล่อยวางไม่ได้ ถึงแม้จะเป็นส่วนน้อย แต่มันก็ไม่คุ้มกันอยู่ดี เพราะผมไม่มีเจตนาให้ผู้ใดเกิดมิจฉาทิฎฐิ จึงขออโหสิกรรมจากทุกท่านด้วย และ
    ขอปิดกระทู้นี้ ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป สวัสดีครับ<o:p></o:p>
     
  15. userx

    userx เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กันยายน 2007
    โพสต์:
    634
    ค่าพลัง:
    +1,061
    กรรมเลย กำลังอ่านเพลินๆ ได้สาระดีนะ ไม่ได้สอนให้ทำร้ายใครซะหน่อย
    ทางบรรลุธรรมมี84000 ทางย่ิอมไม่เหมือนกัน เราเองยังพิสูจน์ไม่ได้เลยว่าที่คุณหมอทำหนังสือเป็นเรื่องจริงหรือไม่ เผลอๆถ้าเกิดสมมุติว่าเป็นเรื่องจริงบางคนอาจจะปรามาสเต็มๆเลยนะนั่น ส่วนท่านที่นำมาเผยแพร่ก็แค่รู้เท่าไม่ถึงการณ์ แล้วอีกอย่างพระพุทธองค์พระบรมศาสดาเองก็มิได้บรรลุธรรมจากพระไตรปิฏก อยากจะบอกอย่างนึงว่า คำตรัสของพระพุทธเจ้านั้นเป็นที่อัศจรรย์วิเศษยิ่งนัก ทรงตรัสกับคนกลุ่มใดก็ทรงใช้ภาษาที่เหมาะกับคนกลุ่มนั้น




    ปล.ดีไม่ดีอยู่ที่จิตตัวเดียว
    พระอานนท์เถรเจ้าผู้มากด้วยความรู้ทุกด้าน จำได้ทุกถ้อยคำที่พระพุทธเจ้าตรัสทุกถ้อยคำในพระไตรปิฏก เหตุใดจึงทรงบรรลุช้าที่สุดในหมู่สงฆ์ที่ใกล้ชิดเพราะองค์ เพราะเหตุไม่วางนั่นเอง "วาง"ตัวเดียว
    ปล.ผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นเรา
    อนุโมทนากับทุกบทความดีๆ
    กับทุกๆท่าน
     
  16. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033

    สวัสดีครับ ก่อนอื่นต้องขอขอบคุณ คุณ อภิภู ที่ชี้แจงแทนผม

    สงสัย จริต คุณ(อภิภู)กับผมจะคล้ายๆกันนะครับ คือความเห็นของ คุณอภิภู ตอบได้ตรงกับความเห็นของผม ทุกประการ ส่วนผมจะมาตอบในส่วนที่ถาม
    โดยตรงก่อนนะครับ
    1.สอนธรรมะที่ผิดๆ คืออะไร ถ้าท่าน userx ได้อ่านหนังสือเล่มนี้จะพบว่า
    มีหลากหลายมากๆที่ไม่ตรงกับ พระไตรปิฏก อย่างชัดเจน ผมได้ยกตัวอย่างในการตอบไปแล้วในตอนแรกๆของกระทู้ แต่จะยกตัวอย่างเล็กๆน้อยๆ ซ้ำอีกรอบนะครับ คือ
    *ในหนังสือ หน้า150-151ได้กล่าวอ้างว่า ฟ้า ส่งมนุษย์ลงมาเกิดจากพระนิพพาน เพื่อทำให้
    พลังงาน(จิตดังเดิม) นั้นๆ บริสุทธิ์ยิ่งขึ้น ฟ้าส่งมนุษย์มาเพื่อฝึกมนุษย์อีก ... คุ้นๆไหม

    ผมจะถามกลับไปว่า ถ้าจิตดังเดิมอยู่พระนิพพานจริงๆ แล้ว ฟ้าสามารถสั่งให้ กลับมาเกิดใหม่ได้อีกเพื่อทำให้ จิตนั้นๆบริสุทธิ์กล่าวเดิม
    คุณจะปฏิบัติ ธรรมะใน มรรคมีองค์8เป็น อรหันต์ผล ไปทำไม
    ในเมื่อฟ้าใหญ่กว่า สามารถสั่งได้ ทำอย่างกับเป็นอำนาจของมือที่มองไม่เห็น
    ฉะนั้นเรื่อง พระนิพพาน เป็น สุขอย่างยิ่ง พระนิพพาน เป็นที่สุดไม่มีเกิด-ตาย
    ก็กลายเป็นเรื่อง โมฆะ---ใช้ไหม
    หน้า 106
    *อ.หมอ ถามต่อไปว่า
    พระองค์พูดถึงฟ้าหลายครั้งมาว่า
    ฟ้าให้ทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกนี้
    ฟ้ากำหนดทุกอย่างบนโลกนี้ ฟ้ามาทดสอบมนุษย์
    แล้วฟ้าที่ พระองค์กล่าวถึงหมายถึงอะไรครับ
    ---ในหนังสือกลับตอบว่า ---
    เป็นคำพูดรวมๆ มนุษย์อาจหมายถึง สวรรค์ก็ได้ นิพพานก็ได้ หรือพระเจ้า อัลเลาะ สิ่งศักษ์สิทธิ์ พระพรหม พระศิวะ พระนารายณ์ และอื่นๆมากมาย
    ตามความเชื่อของแต่ละคน และแต่ละศาสนาที่สอนกันมา
    เราอาจเรียกรวมๆว่า "ฟ้า"

    พิจรณาดูเองแล้วกัน ว่า ฟ้า นั้น คืออะไร

    หน้า 65

    อ.หมอ ถามเรื่องพระพุทธเจ้าห้ามพระสงฆ์ตัดต้นไม้ จริงหรือไม่

    ตอบ--ไม่มีข้อห้ามหรอก เพียงแต่ภิกษุสมัย พุทธกาลท่านมีจิตที่บริสุทธิ์
    จึงรู้ถึงความบริสุทธิ์ของต้นไม้ ผู้บริสุทธิ์จึงไม่ทำลายผู้บริสุทธิ์ด้วยกัน
    ท่านจึงไม่คิดที่จะตัดต้นไม้

    อันที่จริงในพระไตรปิฏกได้กล่าวเรื่องนี้เป็นหลักใจความประมาณว่า
    สมัยพุทธกาล พระสงฆ์ ตัดต้นไม้มากมายเพื่อ ทำกุฏิ
    ไม่เว้นแม้แต่ พระอรหันต์ เทวดาที่อยู่ในต้นไม้ โกรษมาก แต่ก็ไม่กล้าทำร้ายพระอรหันต์ เพราะกลัวเป็นบาปหนัก จึงนำเรื่องนี้ไปยกโทษแก่พระภิกษุ ว่า พระสงฆ์มาเบียดเบียนที่อาศัยตน
    พระพุทธอง์ จึงมีฏีกา ห้ามภิกษุ ตัดต้นไม้ ไปหาอ่านเองในพระไตรปิฏกแล้วกันนะครับ

    เพิ่มเติมนะครับ อย่าเข้าใจว่า พระอรหันต์ สมัยพุทธกาลจะทำเรื่องถูกต้องเสมอไปนะครับ ดูจากตัวอย่างเรื่อง พระอรหันต์ เหาะไปรับบาตรไม้จันทร์ เป็นต้นเหตุให้ พระพุทธองค์ ทรงบัญญัติ ห้ามแสดง ปาฏิหาร

    หาอ่านหน้า 132-133

    จะได้รู้ว่า ฟ้าที่ว่านี้ ยิ่งใหญ่จริงๆ เหมือนคำสอน ของ ศาสนาคริสต์มากๆ ที่อะไรๆก็ไปลงที่ พระเจ้าสร้างมนุษย์มาแล้วทดสอบ มนุษย์
    ดู ---โอ้ พอเข้าใจแล้วใช้ไหม

    *ส่วนเรื่องที่ถามผมว่า ธรรมะ ของผมคือพระไตรปิฏก ใช้หรือไม่
    ผมจะตอบว่า
    พระไตรปิฏก เป็นเพียง แผนที่ ที่เราๆท่านๆจะต้องศึกษา ต้องปฏิบัติตาม เพื่อไปสู่ ขุมทรัพย์ที่แท้จริง คือ พระนิพพาน

    การที่คนจะดูแผนที่เฉยๆแต่ไม่ลงมือเดิน ตามแผนที่ ต่อให้ท่องจำได้หมดก็กลายเป็น
    พระอรหันต์ใบลาน ก็ยิ่งจะถือ ทิฐิ มาก และมากกว่า บุคคลทั่วๆไป อันนี้หน้ากลัว

    แต่สิ่งที่หน้ากลัวมากกว่าคือ คนที่อ่านแผนที่ แล้วไม่เข้าใจ ไม่ปฏิบัติตามใดๆเลย
    หนำซ่ำอ่านแบบ คร่าวๆ มั่วๆแล้วก็บอกว่า แผนที่นี้ มั่ว ไม่ถูกต้อง
    ที่ไม่ถูกต้อง เพราะตัวเองอาจจะไม่เข้าใจเองลึกไม่พอก็ เอะอะว่า แผนที่มั่ว

    เอาแค่ง่ายๆ ท่องคำว่า อริยสัจ4 มรรค8 ได้ ทำไมไม่เป็น อรหันต์กันไปหมดแล้วละ

    เพราะนั้นมันเพียงแค่ มองที่ตัวหนังสือ แต่กลับไม่ได้ทำตามตัวหนังสือ หรือ เรียกว่า
    รู้ลงไปในตัวหนังสือนั้นๆ
    แต่แผนที่แบบ พระไตรปิฏก ดีอย่างหนึ่ง คือ ไม่ต้องอ่านหมดเล่ม ขอแค่เข้าใจอย่างถ่องแท้ลึกลงไปเพียง แค่หน้าเดียว หัวข้อธรรมเดียวก็เหมือน จบหลักสูตรกันไปเลย

    ฉนั้น ธรรมของผม คือ พระไตรปิฏก ที่ผมปฏิบัติตามแล้ว ใช้ปัญญาพิจรณาตามแล้ว เท่าที่ภูมิจิต ภูมิธรรมของผมจะกำหนดได้ รู้ตามได้

    โดยที่ผมมีหลักส่วนตัวตรงที่ว่า
    1.ธรรมะที่ได้ยิน-ฟังมาจาก พระอริยบุคคลในปัจจุบัน (เช่น.หลวงตามหาบัว หลวงปู่ดู่ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงพ่อฤาษี หลวงปู่ชา หลวงปู่สิงห์ เป็นต้น) ผมจะเชื่อ100%ลงไปเลยว่า นั้นคือ ธรรมะแท้จริงแบบไม่ต้องมีข้อสงสัยแล้วจะปฏิบัติตามนั้นๆ
    2.จากพระไตรปิฏก หลายๆท่านอาจจะบอกว่า จะเชื่อได้แค่ไหนนั้น ผมก็จะเทียบเคียงข้อ1. คือ
    ธรรมะที่ (หลวงตามหาบัว หลวงปู่ดู่ หลวงพ่อพุธ ฐานิโย หลวงพ่อฤาษี หลวงปู่ชา หลวงปู่สิงห์ เป็นต้น) เคยเทศนาสอนแล้วอ้างอิง พระไตรปิฏก เรื่องนั้นๆ ผมก็จะเชื่อลงไปเลย100%ว่า พระไตรปิฏกเรื่องนั้นๆ คือเรื่องจริงโดยผมจะไม่ต้องสงสัยเลย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 17 ตุลาคม 2010
  17. krittima helga

    krittima helga เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    114
    ค่าพลัง:
    +247
    ฟ้า ในที่นี้ อาจหมายถึง ธรรมชาติ เพราะฟ้าไม่มีตัวตน และท่านไม่ได้เจาะจงตัวตนของฟ้า แค่พูดอาจหมายถึงองค์นั้นองค์นี้ ที่มนุษย์สมมุติเรียกขึ้นมา และสัพสิ่งในจักวาลและอนันต์จักวาลก็อยู่ในกฏเดียวกัน คืออยู่ในกฎของธรรมชาติ ไม่มีสิ่งใดยกเว้น แม้แต่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้าก็เคยอยู่ในกฎนั้นมา ๑๖ อสงค์ไขยและอีกแสนกัป แล้วจึงสำเร็จเป็น พระพุทธเจ้า และเผยแพ่ร แนวทางการเรียนรู้ต่อสัตว์โลกทั้หลาย
     
  18. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    ฟ้าให้มนุษย์ ลงมาจากพระนิพพาน คืออะไร
    แล้ว พระนิพพาน จุติได้หรอ
    ฟ้าในหัวข้อนี้ คืออะไร
     
  19. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    าน,สมาธิ

    คลิกขวาเมนู
    มีพุทธดำรัสไว้ว่า
    มิจฉาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีมิจฉาสติ
    สัมมาสมาธิ ย่อมบังเกิดแก่ผู้มีสัมมาสติ
    มิจฺฉาสติสฺส มิจฺฉาสมาธิ ปโหติ
    สมฺมาสติสฺส สมฺมาสมาธิ ปโหติ
    (อวิชชาสูตร ๑๙/๑)
    สมาธิ ที่จัดเป็นมรรคองค์ที่ ๘ หรือก็คือ สัมมาสมาธิ ตั้งจิตมั่นชอบ
    ที่หมายความถึง สมาธิที่ถูกต้องหรือดีงาม, ในทางพุทธศาสนานั้น
    การปฏิบัติสมาธิในองค์มรรคคือสัมมาสมาธินั้นมีจุดประสงค์
    ก็เพื่อเป็นบาทฐานเครื่องอุดหนุนปัญญา กล่าวคือ
    เป็นเหตุปัจจัยเครื่องหนุนโดยการนำไปใช้ในการเจริญวิปัสสนาคือการพิจารณาธรรม
    เพื่อให้เกิดปัญญานั่นเอง ดังมีคำกล่าวของท่านหลวงตา มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    ที่ได้กล่าวแสดงธรรมบรรยายในเรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติสมาธิ - ปัญญา ไว้ดังนี้
    "ดังที่กล่าวไว้ในอนุศาสน์ว่า "สมาธิปริภาวิตา ปญฺญามหปฺผลา โหติ
    มหานิสํสา" สมาธิเป็นเครื่องหนุนปัญญา
    ให้พิจารณาสิ่งทั้งหลายรู้ได้แจ่มแจ้งชัดเจนโดยลำดับลำดา "ปญฺญาปริภาวิตํ จิตฺตํ
    สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ" ปัญญาเมื่อสมาธิได้อบรมแล้วย่อมมีความคล่องตัว
    คือได้รับการอบรม ได้รับความหนุนมาจากสมาธิแล้ว
    ย่อมมีความคล่องตัวในการพิจารณาแยกแยะอารมณ์ต่างๆจนถึงกับตัดขาดได้
    หลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ นั่นท่านว่า "สมฺมเทว อาสเวหิ วิมุจฺจติ"
    คือหลุดพ้นจากกิเลสทั้งปวงโดยชอบ
    นี่หลักธรรมที่ท่านแสดงเป็นพื้นเป็นฐานอันตายตัวไว้เป็นจุดศูนย์กลางโดยแท้จริง
    ท่านจึงสอนให้อบรมสมาธิเพื่อเป็นบาทเป็นฐาน เพื่อให้จิตได้มีความสงบตัว
    มีความอิ่มตัวในอารมณ์ทั้งหลาย อยู่ด้วยความสงบเย็นใจ
    เมื่อจิตมีความสงบเย็นใจแล้ว ย่อมพาพิจารณาอะไรเป็นการเป็นงานได้ดีกว่า
    การใช้ให้จิตพิจารณาทั้งที่จิตหาความเป็นสมาธิไม่ได้
    และกำลังหิวโหยในอารมณ์เป็นไหนๆ
    การพิจารณาจิตที่ไม่เคยมีความสงบเลยให้เป็นปัญญามักเป็นเรื่องสัญญา
    เถลไถลออกนอกลู่นอกทางอยู่เสมอๆไม่ค่อยได้เรื่องได้ราวอะไร
    จนถึงกับว่าไม่ได้เรื่อง ท่านจึงสอนสมาธิเป็นบาทเป็นฐาน
    เป็นเครื่องยืนยันว่าจะได้ผลในการพิจารณาทางด้านปัญญา เมื่อสมาธิ(Webmaster -
    ความตั้งใจมั่น)มีอยู่ภายในจิตใจแล้ว ใจไม่หิวโหย ใจไม่รวนเร ใจไม่กระวนกระวาย
    ย่อมทำหน้าที่การงานของตนไปโดยลำดับลำดาตามสติที่บังคับให้ทำ
    จนถึงขั้นปรากฏผลขึ้นมาเป็นปัญญาโดยลำดับลำดา จนถึงขั้นปัญญาที่เห็นเหตุเห็นผลแล้ว
    และหมุนตัวไปเองโดยไม่ต้องถูกบังคับเหมือนตั้งแต่ก่อนที่เคยบังคับกันนั่นเลย
    นี่เป็นอย่างนี้"
    ธรรมบรรยายดังข้างต้นนี้ของท่านหลวงตามหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
    กล่าวแสดงจุดประสงค์สูงสุดของ สัมมาสมาธิ จริงๆ กล่าวคือการใช้
    สมาธิเป็นเครื่องหนุนปัญญา จึงเรียกสมาธินั้นได้ว่าเป็น สัมมาสมาธิ
    กล่าวคือเป็นสมาธิที่ถูกต้องดีงาม
    เป็นสมาธิในองค์มรรคคือทางปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ จึงไม่ใช่มิจฉาสมาธิ
    อันมีกันดาษดื่นมาแต่โบราณกาลในหมู่อัญเดียรถีร์อื่นๆมาช้านานเช่นกัน
    ตลอดจนเกิดขึ้นในหมู่พุทธศาสนิกชนเองด้วยความเข้าใจผิดด้วยอวิชชา
    ดังพุทธพจน์ที่กล่าวแสดงไว้ข้างต้นว่ามีมิจฉาสมาธิจริง, ที่แม้แต่ท่านหลวงตามหาบัว
    ญาณสมฺปนฺโน ก็ได้กล่าวแสดงไว้ในธรรมบรรรยายในเรื่องดังนี้ว่า
    ตัวท่านก็ได้เคยเป็นมาแล้ว จึงนำมากล่าวแสดงไว้เพื่อให้เป็นข้อคิดแก่นักปฏิบัติ
    ดังท่านได้กล่าวไว้อีกด้วยว่า
    "ผู้ที่เป็นสมาธิ ถ้าไม่ออกพิจารณาทางด้านปัญญา
    จะเป็นสมาธิอยู่อย่างนั้นตลอดไปจนกระทั่งวันตาย ก็หาเป็นนิพพานได้ไม่
    หาเป็นปัญญาได้ไม่ ต้องเป็นสมาธิอยู่ตลอดไป
    นี่ละท่านจึงสอนให้ออกพิจารณาทางด้านปัญญา
    มีความจำเป็นอย่างนี้ให้ทุกๆท่านจำไว้ให้แม่นยำ นี่สอนด้วยความแม่นยำด้วย
    สอนด้วยความแน่ใจของเจ้าของ เพราะได้ผ่านมาแล้วอย่างนี้ ติดสมาธิก็เคยติดมาแล้ว
    ผมเคยได้พูดให้หมู่เพื่อนฟังฟังมานานแสนนานหลายครั้งหลายหน
    จนนับไม่ได้นั่นแหละ ว่าได้ติดสมาธินี้มาเสียอย่างจำเจ หรือติดสมาธิมาเสียจนจม
    พูดง่ายๆจนเป็นความขี้เกียจ, จนเกิดความสำคัญว่าสมาธินี้แลจะเป็นนิพพาน,
    สมาธินี้แลจะเป็นธรรมชาติที่สิ้นกิเลส จะสิ้นอยู่ตรงนี้ ตรงที่รู้ๆนี่แหละ
    ไม่มีที่อื่นใดเป็นที่สิ้นกิเลส นั่น เหมาเอาเสียทั้งหมด........ฯลฯ....."
    (จาก หลักเกณฑ์การปฏิบัติสมาธิ - ปัญญา)

    จากข้อธรรมข้างต้นของท่านหลวงตามหาบัว
    คงพอได้ความคิดความเห็นเกี่ยวกับการปฎิบัติสมาธิเพื่ออะไรบ้างแล้ว
    กล่าวคือฝึกสมาธิหรือสมถสมาธิเพื่อให้มีกำลังของจิต จิตจึงตั้งใจมั่นชอบได้ดี
    เป็นกำลังทั้งต่อการปฏิบัติและการเจริญปัญญา และในครานี้
    เรามากล่าวกันในเรื่องการฝึกสมาธิหรือสมถสมาธิ
    ก็เพื่อจุดประสงค์ให้จิตมีกำลังตั้งมั่นชอบจึงมีจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องกล่าวเรื่องของฌานอีกด้วย
    เพราะฌานนั้นความจริงแล้วมีองค์ประกอบหลักที่สำคัญ ก็คือสมาธินั่นเอง
    แต่ยังมีองค์ประกอบอื่นๆของฌานคือองค์ฌานเป็นเครื่องเคียงเครื่องประกอบร่วมอีกด้วย
    ฌานและสมาธิต่างล้วนเป็นดังเช่นการกำมือหรือแบมือ คือแท้จริงแล้วต่างก็ล้วนคือ
    "มือ" นั่นเอง
    กำมือหรือแบมือเป็นเพียงอาการหรือกริยาที่แตกต่างกันไปของมือเท่านั้น
    ฌานและสมาธิจึงเป็นเพียงอาการหรือกริยาของจิต
    เหมือนดังการกำมือและแบมือที่ย่อมสลับสับเปลี่ยนอาการกันได้ของมือ
    ดังนั้นฌานและสมาธิในการปฏิบัติจึงมีความเนื่องสัมพันธ์กัน
    บางครั้งจึงเกิดการสลับสับเปลี่ยนอาการหรือกริยากันได้เช่นกันเหมือนดังมือ
    ดังจักได้กล่าวโดยละเอียดเป็นลำดับไป
     
  20. มีแปปเดียว

    มีแปปเดียว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มกราคม 2010
    โพสต์:
    889
    ค่าพลัง:
    +3,876
    ดยธรรมชาติ นักปฏิบัติจะไปจับยึดเอาความสุข สงบ สบาย
    ที่บางท่านก็เรียกกันว่าความเบา โปร่ง โล่ง สบาย ที่เกิดขึ้นจากการอำนาจของฌานสมาธิ
    ด้วยความเป็นธรรมชาติของปุถุชน ที่ย่อมพึงพอใจในความสุขสบายทั้งหลายเป็นธรรมดา
    จึงเกิดการเสพเพลิน(นันทิ)ไปในรสชาดของ ความสุข ความสงบ
    ความสบายต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นๆจากอำนาจของฌานสมาธิในช่วงแรกๆ
    และยังเสริมด้วยความเข้าใจผิดไปอีกว่า เป็นเครื่องหลุดพ้น หรือนิโรธแล้ว
    โดยไม่รู้ตัวด้วยความไม่รู้ด้วยอวิชชาอันมีมาแต่การเกิดนั่นเอง
    จึงปล่อยจนเกิดการติดเพลิน(นันทิ)ขึ้นในที่สุดจนให้โทษอย่างรุนแรง
    ด้วยขาดความเข้าใจว่าต้องประกอบด้วยการวิปัสสนา
    ดังแสดงออกมาโดยอาการของจิตคืออาการจิตส่งในซึ่งเป็นไปตลอดเวลาทั้งโดยรู้ตัว
    และโดยไม่รู้ตัว ที่หมายถึงกระทำอยู่เสมอๆ แต่ก็ไม่ได้ตั้งใจหรือเจตนาจะกระทำ
    แต่เป็นการกระทำโดยการสั่งสมจนเคยชินยิ่งหรืออัติโนมัติคือสังขารกิเลสหรือสังขารวิบากอันคือองค์ธรรมสังขารในปฏิจจสมุปบาท
    มักเป็นไปหรือกระทำทั้งโดยรู้ตัวที่เป็นไปเพราะความไม่รู้หรืออวิชชา
    และทั้งโดยไม่รู้ตัวคือขาดสติ กล่าวคือควบคุมไม่ได้ ทั้งๆที่ความจริงแล้วความสุข
    สงบ สบายต่างๆเหล่านี้ ยังเป็นเพียงแค่การระงับไปของกิเลสในนิวรณ์ ๕
    เพียงชั่วระยะเวลาหนึ่งด้วยอำนาจของจิตที่เกิดแต่ฌานสมาธิ
    เป็นความสุขหรือวิมุตติแบบวิกขัมภนวิมุตติที่ยังเสื่อมได้
    เพราะความที่เป็นปฏิปักษ์กับเหล่านิวรณ์ ๕ เหล่านั้นโดยธรรมหรือโดยธรรมชาติเท่านั้น
    ดังเช่นน้ำกับไฟ ที่ย่อมไม่อยู่ร่วมกันโดยธรรมหรือธรรมชาติ
    (อ่านรายละเอียดของความเป็นเหตุปัจจัยกันได้ใน นิวรณ์ ๕)
    ดังนั้นคงพอจะเข้าใจสัมมาสมาธิได้พอสังเขปว่า
    ล้วนมีจุดประสงค์เพื่อการปฏิบัติ เพื่อเป็นบาทฐานของปัญญา
    เพื่อความหลุดพ้นจากกิเลสเป็นสำคัญ, ดังนั้นฌานสมาธิที่มีจุดประสงค์อื่นๆ
    หรือเน้นความสำคัญไปที่ ความสุข ความสงบ ความสบายต่างๆ
    ตลอดจนด้วยหวังผลในทางโลกิยะหรือทางโลกต่างๆ ปฏิบัติเพื่อหวังในฤทธิ์ ลาภยศ
    ปฏิบัติเพราะอยากเห็นนู่นเห็นนี่ ปฏิบัติด้วยหวังปาฏิหาริย์
    ไม่ว่าจะเกิดขึ้นเป็นไปโดยตั้งใจ หรือเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวโดยไม่ได้เจตนาตั้งใจก็ดี
    ล้วนจัดเป็นมิจฉาสมาธิทั้งสิ้น
    กล่าวคือไม่ได้ประกอบด้วยจุดประสงค์อันสำคัญยิ่งคือการการเจริญวิปัสสนาเพื่อให้เกิดปัญญาเป็นสำคัญหรือเป็นธรรมเอก
    อันเป็นหัวใจของการปฏิบัติ
    ผู้ที่เจริญปฏิจจสมุปบาทอันเป็นกระบวนธรรมของจิตในการเกิดขึ้นของทุกข์
    จะพิจารณาได้ว่าภพในปฏิจจสมุปบาทที่เกิดเมื่อใดเป็นทุกข์เมื่อนั้น
    ย่อมครอบคลุมถึงรูปภพอันเกิดแต่รูปฌาน และอรูปภพอันเกิดแต่อรูปฌาน กล่าวคือ
    เมื่อใดที่กลับกลายเป็นนันทิความติดเพลินความเพลิดเพลินหรือติดใจอยาก
    อันล้วนคือตัณหาในเวทนาคือสุขเวทนาความรู้สึกสุข,สงบ,สบายอันเกิดแต่อำนาจหรือกำลังของฌานสมาธิ
    เมื่อนั้นฌานสมาธิที่แม้จัดว่ามีประโยชน์ยิ่งในการปฏิบัติ
    เป็นองค์มรรคของการปฏิบัติ ก็จะกลับกลายเป็นมิจฉาฌาน,มิจฉาสมาธิอันให้โทษ
    ไม่ใช่สัมมาสมาธิหรือสัมมาฌานในองค์มรรคอีกต่อไป
    และเป็นตัวทำให้เกิดทุกข์ขึ้นเสียเองอย่างแสนสาหัส
    หมายถึงได้ดำเนินไปตามวงจรปฏิจจสมุปบาทฝ่ายเกิดทุกข์แล้ว
    จึงเป็นสิ่งที่ควรรู้เพื่อจะได้ไม่ไปปฏิบัติอย่างให้เกิดนันทิความติดเพลินจนเกิดทุกข์ขึ้น
    กล่าวคือเกิดการติดสุขในฌานสมาธิอันยังให้เป็นทุกข์ขึ้นในที่สุดนั่นเอง
    ซึ่งมักแสดงออกด้วยอาการจิตส่งใน
    ที่สำคัญยิ่งและประสบกันมากที่สุดก็คือ
    มาปฏิบัติสมาธิกันด้วยจุดประสงส์อันแม้ดีงามเป็นอย่างยิ่ง
    กล่าวคือเพื่อหวังความสุขอันเกิดขึ้นจากการหลุดพ้นหรือเบาบางจากกิเลสอย่างแท้จริง
    แต่ด้วยความไม่รู้หรืออวิชชานั่นเอง ที่ชักนำพาให้เป็นมิจฉาสมาธิ
    อันให้โทษรุนแรงได้ทั้งต่อกายและจิต โดยไม่รู้ตัวสักนิด
    ข้อนี้คือสิ่งที่ผู้เขียนเป็นห่วง จึงนำเรื่องฌานสมาธิมากล่าวแสดง เพื่อป้องกัน
    และเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ไม่เข้าใจผิดๆไปในการปฏิบัติโดยไม่รู้ตัว
    ด้วยไม่รู้อีกด้วยว่ามิจฉาสมาธิและมิจฉาฌานนั้นให้โทษอย่างรุนแรงได้
    โดยทั้งไม่รู้และไม่รู้ตัวสักนิดหนึ่ง จวบจนวันตาย
    เพราะความเป็นสังโยชน์อย่างละเอียดคือรูปราคะและอรูปราคะ
    ที่ละเอียดอ่อนนอนเนื่องยิ่งนัก
    ตามปกติแล้ว ผู้เขียนจะไม่เขียนเรื่องแนวการปฏิบัติสมาธิ หรือฌาน
    เพราะความที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่เมื่ออ่านแล้วเกิดความเข้าใจผิดๆ
    จึงย่อมนำไปปฏิบัติผิดๆ และไม่มีผู้คอยแนะแนวชี้แจงหรือแก้ไขให้
    ก็ย่อมยังให้โทษได้เป็นธรรมดา
    ตลอดจนมีผู้ถามเพราะมีปัญหาอยู่ในเรื่องฌานหรือผลของฌานด้วยความไม่เข้าใจ
    หรือเกิดวิจิกิจฉาจึงกังวลเพราะเห็นแต่ผู้เขียนกล่าวส่วนใหญ่ถึงโทษของฌาน
    ดังในเรื่องติดสุข ด้วยเหตุก็เพราะว่า ผลดีของฌานสมาธินั้น
    มีผู้กล่าวถึงอยู่เนืองๆเป็นอเนก แต่ไม่ใคร่มีผู้กล่าวถึงโทษ
    ซึ่งหมายเฉพาะถึงมิจฉาสมาธิ
    คือฌานและสมาธิที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติผิดด้วยเข้าใจผิดหรืออวิชชา
    คือไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ถูกต้องกล่าวคือ
    ไม่ได้นำไปใช้ในการสนับสนุนให้เกิดปัญญาหรือการวิปัสสนาในการดับทุกข์อย่างถูกต้อง
    เพียงแต่คิดหรือเข้าใจไปเองด้วยอวิชชาว่า ปฏิบัติไปอย่างถูกต้องแล้วและดีงามแล้ว
    เหตุเพราะทุกข์กำลังรุมเร้า หรือเพราะมีความต้องการได้อำนาจคือฤทธิ์
    หรือต้องการบางสิ่งบางอย่างแอบแฝงอยู่ในจิตโดยไม่รู้ตัว
    ซึ่งมักเป็นไปเพื่อประโยชน์ในทางโลกตามที่เข้าใจผิดๆสืบกันต่อๆมา
    และข้อสำคัญที่สุด คือ
    เกิดความติดเพลิน(นันทิ)ในรสอร่อยของฌานสมาธิที่เกิดจากการดับกิเลสอันคือนิวรณ์
    ๕(ได้ชั่วระยะหนึ่งเท่านั้น) ด้วยอวิชชาและทั้งไม่รู้และไม่รู้ตัว
    จึงพาลดำเนินเป็นไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์คือปฏิจจสมุปบาทธรรมโดยไม่รู้ตัว
    จึงกลับกลายเป็นสังขารที่เกิดแต่กิเลสและสั่งสมเพิ่มพูน
    จนยังให้เกิดโทษทั้งต่อธาตุขันธ์หรือกาย และจิตอย่างรุนแรงโดยไม่รู้ตัวในภายหน้า
    ตลอดจนยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสอันเป็นสิ่งที่ทำให้จิตหลงหรือขุ่นมัวจนทำให้รับธรรมได้ยากหรือไม่ได้
    จึงเป็นโทษทำให้ไม่สามารถดำเนินไปในการปฏิบัติธรรมได้อย่างถูกต้องดีงาม
    เหตุเพราะมีสื่อที่กล่าวไว้ตรงๆน้อยมากซึ่งก็มีเหตุผลอยู่เหมือนกัน
    แต่ขอไม่กล่าวถึง
    โดยมากจึงมักถ่ายทอดกันมาผ่านทางครูบาอาจารย์ที่เข้าใจธรรมรู้ตามความเป็นจริงเท่านั้นที่จะทำหน้าที่คอยดูแลสั่งสอนและกำกับ
    สมัยนี้นักปฏิบัติที่อ่านหรือฟัง
    แล้วนำมาปฏิบัติเองเพราะทุกข์รุมเร้ามีเป็นจำนวนมากขึ้นตามวิวัฒนาการความเจริญของโลก
    โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบันนี้ที่มีสื่อต่างๆอย่างกว้างขวางทุกรูปทุกแบบ
    จึงย่อมไม่มีทางรู้ทางเข้าใจได้อย่างถ่องแท้ได้เลย
    เพราะความที่เป็นเรื่องอันละเอียดอ่อนลึกซึ้งยิ่งนัก
    ดังนั้นเมื่อพิจารณาเห็นดังนี้แล้วว่า เป็นมรรคปฏิบัติ
    ที่จำเป็นต้องใช้ในการเจริญวิปัสสนาเพื่อปัญญาอย่างหนึ่ง
    และเป็นที่อยากรู้และอยากเข้าใจกันโดยทั่วไป และมีผู้ที่ไม่เข้าใจ และแยกแยะผิดถูก
    คุณโทษ ชั่วดี ไม่ออกอีกเป็นจำนวนมาก
    จึงพากันไปปฏิบัติแบบยึดถือยึดติดกันอย่างผิดๆด้วยอธิโมกข์เป็นจำนวนมากทวีคูณอย่างรวดเร็วตามความเจริญทางการสื่อสารของโลก
    อันยิ่งทำให้การปฏิบัติพาลออกนอกลู่ผิดทางพระศาสนาไปกันใหญ่
    ก่อเป็นปัญหาทั้งต่อสุขภาพและสังคมและโดยไม่รู้ตัวว่าเป็นแต่เหตุใด
    ดังนั้นจึงตัดสินใจเขียนเป็นธรรมทานเท่าที่รู้
    ไว้เป็นแนวทางเพื่อยังประโยชน์ในแนวการปฏิบัติวิปัสสนา เพื่อไม่ให้หลงทาง
    หรือไปติดเพลินหรือยึดติด,ยึดก่อจนเป็นโทษอันรุนแรงและยาวนานได้ในภายหลัง
    จึงแสดงอย่างตรงไปตรงมาเป็นที่สุดเท่าที่ภูมิรู้
    จึงแสดงทั้งคุณอนันต์ของสัมมาสมาธิและฌาน และโทษมหันต์ของมิจฉาสมาธิและฌาณอยู่ในที
    โดยอาศัยจากการศึกษาและความเข้าใจจากการโยนิโสมนสิการและการปฏิบัติของผู้เขียนเองเป็นเกณฑ์
    ตามที่ได้หลง งงงวย
     

แชร์หน้านี้

Loading...