สนทนากับองค์สัมมาสัมพุทธเจ้า โดย พ.อ.นพ.พงศ์ศักดิ์ ตั้งคณา

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย chilaoon, 11 ตุลาคม 2010.

  1. Senju

    Senju Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    12 กันยายน 2010
    โพสต์:
    303
    ค่าพลัง:
    +94
    อ่านข้อความข้างต้นผมขอให้ทุกคนรับแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์น่ะครับ
    หากท่านอ่านแล้วไม่เป็นประโยชน์อันใดท่านก็ไม่ควรรับเอา
    ท่านควรเลือกสิ่งที่เป็นประโยชน์กับตัวท่านเองน่ะครับ
    ขอให้ท่านอ่านข้อความแล้วเอาแก่นแท้ของข้อความนั้นมาพิจารณาว่ามีประโยชน์ไหม
    แล้วเลือกเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์นั้น แก่นก็คือข้อนี้บอกให้เรารุ้ทันกิเลสแล้วก็ละวางกิเลส
    นี่คือสิ่งที่ผมเข้าใจและน้อมรับไปปฏิบัติ
     
  2. วิญญูชนจอมปลอม

    วิญญูชนจอมปลอม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กันยายน 2008
    โพสต์:
    312
    ค่าพลัง:
    +1,124
    ขอไปดูได้เปล่าครับ ทรงพระพุทธเจ้านี่ ไม่เคยได้ยินว่ามีมาก่อนเลย
    ถ้าท่านมีจริงจะสอบถามทางพ้นทุกข์ (หมายถึงร่างทรงนะ) ฟังดูธรรมมะสดๆก็รู้แล้วแหละ

    หนังสือหลายๆเล่ม ก็แต่งเพี้ยนๆในบางตอนเช่นกัน อย่าง "ไอสไตน์ถาม..."
    ผมอ่านแล้วรู้สึกคนเขียนปรุงแต่ง เพื่อให้คนนับถือพระพุทธเจ้ามากขึ้น (เขียนเชียร์มากไป)
     
  3. อภิราม

    อภิราม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    532
    ค่าพลัง:
    +9,005
    หากทุกๆท่านใช้ปัญญาพิจารณาตามไปด้วย
    ปัญญาก็จะเกิดแก่ท่านเอง ไม่ได้เกิดกับผู้อื่นที่ไหนเลย

    ผมอยากแนะนำว่า เมื่ออ่านแล้วคำว่าเชื่อหรือไม่ ไม่สำคัญ
    อยากให้ทุกๆท่านวางใจให้เป็นอุเบกขาไว้ก่อน
    วางใจให้มีเมตตาแก่ตนเอง รักตนเองไว้ก่อน

    แล้วเก็บเกี่ยวหลักธรรมะจากในหนังสือ
    สิ่งไหนที่เราอ่านแล้วเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนเอง
    ก็นำไปพิจารณาให้ถี่ถ้วนแล้วนำไปปฏิบัติ
    สิ่งไหนที่เรายังสงสัยหรือไม่เข้าใจ ก็ปล่อยผ่านไป ปล่อยวางไป

    หากเรารักตนเองให้มาก เมตตาตนเองอยู่เสมอ เราจะเห็นธรรมะอยู่ในทุกๆที่
    โดยเฉพาะธรรมะที่อยู่ภายในตัวเราเองนั้น สำคัญที่สุดครับ
     
  4. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    เราอย่ามองว่าข้อความที่มันไม่มีในพระไตรปิฏกแล้วมีในหนังสือเล่มนี้ว่าเป็นเรื่อโกหกเลยครับธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ามีมากมายมหาศาลเท่าใบไม้ทั้งป่าท่านหยิบมาสอนแค่กำมือเดียว คือท่านสอนแต่เรื่องที่เป็นไปเพื่อความหน่าย ความหลุดพ้น เพื่อนิพพาน การที่พระพุทธองค์สอนหลักกาลามสูตรว่า ไม่ให้เชื่อตามที่ได้ยิน ได้ฟัง ได้อ่าน ตามที่ถูกต้องตามตรรกะ หรือเล่าสืบต่อกันมาอย่างนี้เพื่อไม่ให้เราเชื่อไปตามกระแสปฏิจจสมุปบาทคือเห็นไปตามที่เราเชื่อหรือมีความเห็นอยู่แล้ว ถ้าเรามีความเห็นว่าเล่มนี้ถูกทั้งหมดเราก็จะเชื่อไปตามนั้นไม่ได้ใช้ปัญญาพิจารณาตามความเป็นจริง
     
  5. Santajitto

    Santajitto เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2010
    โพสต์:
    263
    ค่าพลัง:
    +455
    ขออนโมทนาสาธุ ครับ
    ขอบคุณสำหรับความรู้ทางธรรมอันประเสริฐ
     
  6. pros

    pros สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    12
    ค่าพลัง:
    +14
    ทุกวัน ทุกชั่วโมง ทุกนาที ทุกวินาที ขอให้คิด พูด ทำ อย่างมีสติรู้ตัวอยู่เสมอ
    อ่านด้วยสติ อย่าอ่านด้วยอารมณ์ อย่าเผลอเพลินในเรื่องราวต่างๆ
    ต้องพิจารณาด้วยสติ ไม่ใช่พิจารณาด้วยอารมณ์ ความรู้สึกที่เข้ากันได้กับความคิดเรา
    อาจถูกความคิด(ที่กลั่นมาจากข้อมูลและประสบการณ์ของเรา)หลอกเอาได้
    และตัดสินใจที่จะเชื่อหรือไม่เชื่อ อย่างมีสติ โดยมีหลักในการเทียบเคียง
    (เช่นเรื่องธรรมะ ควรเทียบเคียงกับพระไตรปิฎก)
    อย่าตัดสินด้วยอารมณ์ ความรู้สึกของตนเพราะเราเองยังเป็นปุถุชน(ผู้มีกิเลสหนา)
    ถ้าจะให้ดีควรพิจารณาอย่างถี่ถ้วนหลายๆรอบ
    ใคร่ครวญอย่างละเอียด แล้วค่อยตัดสินใจ อย่าเร่งรีบ อย่าวู่วาม อย่าเพ่งโทษผู้ใด
    (นอกจากเรา-ทั้งๆที่ไม่มีเรา-ไม่มีเขา)
     
  7. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ผมสนใจอย่างเดียวคือ จิตมีสองส่วนเหมือนกัน จิตสังขาร และ จิตวิญญาณ .....นั่นไง สติดีดออกจากสมาธิ ใครเป็นคนตั้งกระทู้จำไม่ได้แล้ว.....

    ผมเห็นมันแล้ว......ยู้ฮู..ดีใจ ๆ .
     
  8. ธัมมนัตา

    ธัมมนัตา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2006
    โพสต์:
    1,514
    ค่าพลัง:
    +9,766
    นอกจากพุทธพจน์ตามพระไตรปิฎกแล้ว อย่าไปฟังเรื่องนอกแนวเหล่านี้

    แม้บางส่วนดูมีเหตุผล
    แต่ทำให้คำสอนพระศาสดาเบี่ยงเบนไปเรื่อยๆ จนหาเนื้อแท้ไม่เจอ

    หลายคำเป็นคำที่มาจากการอธิบายพระอภิธรรม เช่นคำว่าเจตสิก ไม่มีในพระไตรปิฎก
    มีในชั้นอรรถกถาที่พระเถระมาอธิบายความ

    ปุถุชนกิเลสหนา ล้วนปรุงแต่งไปตามกระแสความคิดของตนเอง
    หลายเรื่องไม่มีบาลีรับรอง

    มีเวลาน้อยอยู่แล้วอ่านพระพุทธพจน์โดยตรงดีกว่าครับ
     
  9. โมก

    โมก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    435
    ค่าพลัง:
    +1,737
    ขอบพระคุณค่ะ ดีที่มีคนออกมาพูดบ้าง พระพุทธเจ้าเป็นศาสดาที่เปิดกว้างมากขนาดพระองค์บอกว่า "อย่าเพิ่งเชื่อพระองค์โดยไม่ปฏิบัติ คือให้รู้ด้วยตนเอง"
    ดิฉันเคยเห็นภาพพระองค์ทำทุกขกิริยาตอนที่จิตกำลังเป็นทุกข์ที่สมาธิติดขัดไปไม่ถึงไหน ภาพที่เห็นเป็นเพียงธรรมค่ะที่สอนเรา ไม่ใช่ท่านเสด็จมาจริงๆ
    ถึงพระพุทธองค์เสด็จนิพพานไปแล้ว แต่พระพุทธานุภาพยังคงสถิตอยู่ ผู้ปฏิบัติธรรมจึงสามารถพบเห็นได้ในสมาธิ แต่การจะมาลงร่างมนุษย์นี้ดิฉันคิดว่าควรใช้สติพิจารณาให้มาก แม้ดิฉันยังไม่เคยอ่านหนังสือเล่มนี้ แต่อ่านจากกระทู้นี้มีอะไรแปลกๆหลายอย่าง
    ขนาดพระอาจารย์ใหญ่ของดิฉันข้างบนซึ่งท่านถือฌานพระโพธิสัตว์ ท่านยังไม่ลงร่างมนุษย์เลย ท่านจะมาโปรดมนุษย์มาในญานแฝง คือสื่อธรรมสนทนาธรรมผ่านทางจิต ผู้ที่สื่อกับท่านได้ก็นำธรรมของท่านถ่ายทอดมาสู่มนุษย์อีกต่อ ยุคนี้สมัยนี้มีอะไรชอบกลอยู่มาก จิตแยกไม่ได้ เชื่อมากหลงมากย่อมเป็นทุกข์
     
  10. bluebaby2

    bluebaby2 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กันยายน 2010
    โพสต์:
    2,471
    ค่าพลัง:
    +4,288
    คุณผู้พันจุ่นครับผมสนใจที่คุณว่าจิตมีสองส่วน จิตสังขาร กับ จิตวิญญาณ ช่วยอธิบายให้ผมเข้าใจหน่อยครับจะเป็นพระคุณมาก
     
  11. chilaoon

    chilaoon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +748
    ค่อยๆอ่านค่อยๆ พิจารณา ก็แล้วกันนะครับ ผู้เขียนเค้ายืนยันตอนท้ายถึงการเปลี่ยนแปลงในชีวิต(แต่ไม่ได้บอกถึงรายละเอียดว่าเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร) ส่วนตัวผมยังไม่ได้พิสูจน์ครับ ตั้งใจว่าปิดกระทู้แล้ว จะพิจารณาอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เหตุผลง่ายๆ เพื่อรอความเห็นและเหตุผล หลักธรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จากเพื่อนธรรมทุกท่านนี่แหละครับ ขอบคุณทุกความเห็นมากๆครับ
     
  12. chilaoon

    chilaoon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +748
    หมอพงศ์ศักดิ์ มีคนเคยกล่าวไว้ว่า...มีพรหมเป็นผู้ลิขิตชะตาชีวิตของเราจริงหรือไม่ครับ?

    องค์สัมมาฯ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มนุษย์เรียกว่า พรหม นั้น ท่านไม่ได้มีหน้าที่ลิขิตชีวิตมนุษย์ตามใจท่าน แต่ลิขิตตามที่มนุษย์ผู้นั้นได้กระทำไว้ ดังนั้น มนุษย์นั่นแหละที่ลิขิตชีวติของตนเอง พรหมมีหน้าที่ลิขิตให้มนุษย์เป็นไปตามที่มนุษย์ผู้นั้นได้สร้างบุญสร้างกรรมไว้ในอดีตเท่านั้น ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นในชีวิตของมนุษย์ในปัจจุบันนี้ จึงเป็นผลรวมจากการกระทำของมนุษย์ผู้นั้นในอดีตที่สะสมทำเอาไว้ทั้งสิ้น

    หมอพงศ์ศักดิ์ แสดงว่าเราไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะทุกอย่างถูกลิขิตมาแล้วใช่ไหมครับ?

    องค์สัมมาฯ ก็ไม่ใช่ซะทีเดียว! ถึงแม้ชีวิตมนุษย์จะถูกลิขิตมาแล้วก็ตาม ที่มนุษย์เรียกว่า ชะตาชีวิต หรือพรหมลิขิต เหมือนถนน หรือทางที่ถูกกำหนดไว้ก็จริงอยู่ แต่ถนนนี้ก็สามารถได้รับการปรับแต่งให้เป็นถนนที่ดีขึ้นได้ตลอดเวลา ถ้าเราเกิดมาแล้ว ไม่ทำอะไรให้ชีวิตดีขึ้นเลย ทุกอย่างก็คงเป็นเช่นที่ถูกกำหนดไว้แล้ว หรือเรียกว่า ชีวิตเป็นไปตามกรรมนั่นเอง แต่ถ้ามนุษย์ผู้นั้นรู้ว่าการเกิดมานั้น ฟ้าให้เกิดมาเพื่อ...ให้มา สร้างความดีเพิ่มเติม มาเพื่อเป็นผู้ให้ มาทำหน้าที่ที่ดี และถูกต้องของตนเอง แต่ถ้ามนุษย์ผู้ใดดำเนินชีวิตไม่ดี ไม่ถูกต้องผลก็อาจทำให้ชีวิตต้องประสบกับความทุกข์ ที่ทุกข์มากกว่าเดิมที่ถูกลิขิตมา ลำบากกว่าเดิมที่เป็นชะตาชีวิตของผู้นั้นที่ถูกกำหนดไว้แล้ว แต่ถ้าการดำเนินชีวิตปัจจุบันเพียรกระทำแต่ความดีอยู่ตลอดเวลาก็จะส่งผลให้ชะตาชีวิตของมนุษย์ผู้นั้น ดีขึ้นกว่าเดิมที่ถูกลิขิตไว้ มนุษย์จึงสามารถปรับเปลี่ยนชะตาชีวิต ของมนุษย์ผู้นั้นได้ในชาตินี้ ชีวิตมนุษย์ถ้าผ่านการทดสอบได้ ชีวิตจะดีขึ้นเรื่อยๆ แล้วแต่มนุษย์จะเลือกกระทำ ให้ตนเองดีขึ้นหรือไม่ มนุษย์สามารถเลือกทางเดินของตนเองได้ ถ้าไม่ปล่อยชีวิตให้เป็นไปตามกรรม มนุษย์จึงปรับเปลี่ยนชะตาชีวิตของตังเองได้...!
     
  13. namjaii

    namjaii เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    191
    ค่าพลัง:
    +276
    เข้าใจและอนุโมทนา เจ้าของกระทู้ค่ะ เราเองเชื่อว่าท่านปรารถนาดี ผู้ที่ไม่เห็นด้วยไม่น่าเข้ามากวนให้ขุ่นเลย เพราะท่านไม่ได้บังคับนี่ ผู้ปฏิบัติธรรมที่แท้จริง ต้องอุเบกขา ส่วนเรา
    ผู้มองเห็นธรรมว่าเป็นของดี แต่ยังไม่ปฏิบัติ แฮะ แฮะ
     
  14. YUT_KOP

    YUT_KOP เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2008
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,033
    เหตุผลที่ผมจำเป็นต้อง โพสนั้น อันที่จริงผมตั้งใจแต่แรกแล้วว่า
    จะเป็นคนตั้งกระทู้นี้ขึ้นมาเหมือนกัน แต่เป็นการสะท้อนมุมมองที่เห็นต่าง
    จาก อ.พงษ์ศักดิ์ และด้วยความคิดว่ายังไงเสียการสนทนาธรรม เพื่อให้ได้สาระ
    และประโยชน์สูงสุด คือต้องแสดงความคิดเห็นโดยการยอมรับฟังว่า เหตุและผลมันเป็นอย่างไร
    แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือ ผมอ่านทั้งเล่มแล้ว ก็พบว่า ในหนังสือเล่มนี้มันอาจจะมีสาระประโยชน์อยู่บ้างก็จริง แต่ผมเห็นว่าก็มี มิจฉาทิฐิ ที่มากมาย
    ก็กลัวกัลยาณมิตรจะเห็นผิด ก็เลยอยากจะเตือนว่า ควรจะใช้ปัญญามากๆ
    ต้อง กรอง หิน กรวด ทราย ให้มากๆ แล้ว เค้นหาสาระนำไปใช้ให้ดี

    มีนักปราชญ์กล่าวไว้ว่า กรรมหนักอย่างอนันตริยกรรม แม้นจะทรมาร ในอเวจีมหานรก นานเพียงใด และ มากเพียงใด ยังมีขอบเขตสิ้นสุดลงได้

    แต่ ผู้ที่มีมิจฉาทิฐิที่ฝังแน่นนั้น น่าสงสารมากกว่า เพราะจะไม่มีโอกาส บรรลุธรรมใดๆเลย และจะวนเวียนเสียซึ่ง อบายภูมิ ตราบชั่วนิรันย์
     
  15. chilaoon

    chilaoon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +748
    [​IMG]










    [​IMG]
    หมอพงศ์ศักดิ์ การทดสอบที่ว่านั้นเป็นอย่างไรครับ? มนุษย์จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรเป็นการทดสอบ?

    องค์สัมมาฯ ความจริงแล้ว กิเลสทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น รัก โลภ โกรธ หลง อิจฉา ริษยา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นอุปกรณ์การทดสอบของฟ้าทั้งสิ้น เจ้าลองพิจารณาดู ถ้าเจ้าได้เปิดใจ และไม่มีอคติกับกิเลส เจ้าจะเห็นว่ากิเลสเป็นของกลางๆ เป็นอุปกรณ์อย่างหนึ่งเพื่อการเรียนรู้ของมนุษย์ ว่ามนุษย์จะให้ปัญญาที่มีอยู่รู้เท่าทันกิเลสเหล่านี้ได้อย่างไรจึงจะสามารถควบคุมกิเลสได้ ที่จริงแล้ว มนุษย์ต้องควบคุมกิเลส ไม่ใช่กิเลสมาควบคุมมนุษย์ เพราะไม่มีกิเลสแบบไหนเลย ที่ทำให้ชีวิตมีความสุข ถ้ามนุษย์คุมไม่ได้ ลองพิจารณาดูก็แล้วกัน ฟ้าให้ปัญญากับมนุษย์มาแล้ว ก็ใช้ปัญญาของตัวเองพิจารณาแก้ไขปัญหาชีวิตให้ถูกต้องเหมาะสมกับตนเองให้ได้ ถ้ามนุษย์สามารถแก้ไขปัญหาชีวิตโดยควบคุมกิเลสเหล่านี้ได้ มนุษย์จะหลุดไปจากกรงของทุกข์ได้ การที่เราต้องจมอยู่กับกองทุกข์นั้น ที่ภาษาธรรมะเรียกสภาวะที่เป็นทุกจ์นี้ว่า "ทุกขัง" ชีวิตมนุษย์ที่ต้องถูกขัง และ เป็นทุกข์ เป็นเพรามนุษย์ถูกขังโดยกรงของทุกข์ ธรรมะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นลูกกุญแจให้มนุษย์ผู้นั้นสามารถใช้ไขออกจากกรงของทุกข์ได้ ถึงแม้ทุกข์จะยังมีอยู่ก็ตาม แต่ทุกข์นั้นก็ไม่สามารถครอบงำมนุษย์ผู้นั้นได้ เมื่อออกจากกรงของทุกข์ได้ จึงเรียกว่า "พ้นทุกข์" กุญแจอยู่ในมือของตัวเองถ้าไม่ไข แล้วจะให้ใครไขให้รึ? ใครไข ก็ไม่มั่นใจเหมือนตัวเอง! อย่ามัวแต่ถือกุญแจไว้ในมือซึ่งเหมือนกับรู้ธรรมะแล้วไม่นำมาพิจารณาและปฎิบัติ แล้วสำคัญผิดคิดว่าตัวเองได้ไขกุญแจแล้ว แต่ความจริงก็ยังอยู่ในกรงของทุกข์นั้นเอง ตราบใดที่ยังมีความทุกข์อยู่ แสดงว่ายังอยู่ในกรงของทุกข์ จงเอาลูกกุญแจ ซึ่งเปรียบเสมือนธรรมะขององค์สัมมาสัมพุทธเจ้าไปไขกุญแจ ซึ่งกุญแจเปรียบเสมือนปัญหาในการดำเนินชีวิตของมนุษย์ เมื่อไขกุญแจได้แล้วก็เปรียบเสมือนแก้ไขปัญหาชีวิตของตนเองได้ จึงออกมาจากกรงของทุกข์ได้
    จงเอาธรรมะที่เจ้าได้เรียนรู้ไปปฎิบัติในชีวิตประจำวันเถิด แล้วจะทุกข์น้อยลง จนในที่สุด เจ้าก็จะไม่ทุกข์อีกต่อไป พ้นจากทุกข์ได้อย่างถาวร และยั่งยืน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 002.jpg
      002.jpg
      ขนาดไฟล์:
      110.8 KB
      เปิดดู:
      1,167
    • 003.jpg
      003.jpg
      ขนาดไฟล์:
      101.9 KB
      เปิดดู:
      1,161
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2010
  16. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    แค่ที่โพสมาในตอนต้นถึงกระทู้ที่ ๕ ผมเห้นว่ามันคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงอยู่มาก เลยยกตัวอย่างแก้ในกระทู้ที่ ๑๐ อย่างละเอียด

    ข้อเขียนของหนังสือ คลาดเคลื่นหลายส่วนมากดังที่หลายท่านยกตัวอย่างมาให้เห็น

    มันขัดแย้งทั้งในพระสุตันปิฎกและพระอภิธรรมปิฎก

    จริง ๆ แล้ว ต้องแจ้งให้ผู้แต่งทดลองหาทางกลับไปทบทวนข้อเขียนใหม่ทั้งหมด ศึกษาธรรมมะล้วน ๆ ประกอบด้วย แล้วเทียบเคียงพร้อมทั้งปฏิบัติไปด้วย

    อันตรายมากคนที่คิดว่ารู้ทางโลกและวิทยาศาสตร์มากแล้วมาอธิบายธรรมแบบคาดเอาเดาเอาอนุมาณเอา โดยใช้หลักตรรกศาสตร์หรือปรัชญา

    คนที่รู้เผิน ๆ จะดูว่าโห น่าเชื่อมากแต่ในรายละเอียดแล้วมันคลาดเคลื่อนมาก เอาแบบพื้น ๆ ที่สุด เรื่อง รูป-นาม ถ้าคลาดเคลื่อนแล้ว ต่อจากนั้นไม่ต้องเชื่ออะไรแล้ว มันจะผิดไปหมด ขนาดยังไม่ต้องไปพูดเรื่องฟ้าหรือสวรรค์บันดาล ศาสนาพุทธไม่ได้สอนแบบนี้

    เรื่อง อุชุปฏิปันโณ (ปฎิบัติตรง) และปัญญารู้เห็นตรงความเป็นจริงนี้เป็นเรื่องยาก ใครที่หลงก็แก้ยาก
    พระพุธเจ้าเองท่านสอน ครูบาอาจารย์เองท่านก็สอน ไปตามแนวหรือแผนที่ (map) ธรรมที่อุปการะการรู้แจ้ง คือ โพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ ประกอบด้วย (สติปัฎฐาน ๔ อิทธิบาท ๔ สัมมปทาน ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โภฌชงค์ ๗ อริยมรรคองค์ ๘)

    นักปฎิบัติควรมีแนวทางเดินที่ถูกต้องเพื่อประกันไม่ให้ออกนอกลู่นอกทาง ที่สำคัญต้องลงมือปฏิบัติด้วยแล้วเอาผลที่ได้มาสอบทานกับครูบาอาจารย์หรือธรรมะที่แจกแจงไว้ในพระไตรปิฎกว่ามันเป็นแบบเดียวกันไหม ถ้าวิธีถูกต้องซึ่งอาจจะมีหลากหลายวิธี แต่ผลของการปฏิบัติมันต้องไปแนวเดียวกันแบบเดียวกันเหมือนกันในทุก ๆ คน

    ถ้ายังไม่รู้แจ้งก็ไม่ควรแจกแจงธรรมขึ้นมาเองสอนเองมันจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ถ้าเรารู้ตัวว่าเรายังไม่รู้จริงเราก็ไม่หนีไปจากครูคือ พระพุทธ พระธรรม พระอริยสงฆ์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2010
  17. chilaoon

    chilaoon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    54
    ค่าพลัง:
    +748
    หมอพงศ์ศักดิ์ ทำไมมนุษย์ถึงต้องเป็นทุกข์ล่ะครับ?
    <O:p</O:p</O:p
    องค์สัมมาฯ เจ้าใช้คำว่า " เป็นทุกข์ " คำว่า " เป็นทุกข์ " คือเลือกที่จะเป็น หรือไม่เป็นก็ได้ ในเมื่อเจ้าเลือกได้ แล้วเลือกเพื่อที่จะ " เป็นทุกข์ "ไปเพื่ออะไร แต่ถ้าใช้คำถามว่าทำไมมนุษย์ถึงต้อง "มีทุกข์" คำตอบก็จะแตกต่างกันไปนะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หมอพงศ์ศักดิ์ ทำไมมนุษย์จึงต้องมีทุกข์ครับ? <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    องค์สัมมาฯ คำว่า "ทุกข์" มีอยู่ในมนุษย์ทุกคน ไม่ว่าจะเกิดมาสูง ต่ำ ดำขาว รวย จน ทุกคนต้องมีทุกข์ ถ้าเรียกว่ามนุษย์แล้วล่ะก็ไม่มีใคที่จะไม่มีทุกข์หรอกนะ ส่วนใหญ่การมีทุกข์มาจากกรรมอีกส่วนหน่งก็เป็นการทดสอบของฟ้า "กรรม" ถ้าเกิดขึ้น เจ้ายอมรับและยอมชดใช้กรรมนั้นก็จะหมดไป อย่าคิดหนีกรรม หนีไม่พ้นหรอกถ้าไม่อยากชดใช้กรรมที่ตนเองได้ทำลงไป มนุษย์ก็ต้องหาอย่างอื่นมาชดใช้หนี้กรรมแทน<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    หมอพงศ์ศักดิ์ การใช้กรรมนั้น เราใช้อะไรมาทดแทนได้หรือครับ?<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    องค์สัมมาฯ ได้ การที่เจ้ามีกรรมต่อสิ่งใดก็ไม่จำเป็นต้องชดใช้ด้วยสิ่งนั้นเสมอไป เช่น เจ้าเคยไปฆ่าเขาตายก็ไม่จำเป็นที่ชาตินี้เขาต้องมาฆ่าเจ้าตาย ถ้าเจ้ารู้และเข้าใจ เจ้าสามารถทำบุญทำทาน ที่ถูกต้อง ตั้งจิตขอลด ละกรรม ด้วยบุญ ทาน ที่เจ้าทำเอาไว้ก็ย่อมชดใช้กรรมเก่าได้เช่นกัน เมื่อเจ้าทำแล้ว เจ้าต้องอุทิศให้เขาด้วยนะเขาจึงจะได้รับ<O:p</O:p

    หมอพงศ์ศักดิ์ เมื่อผมมีทุกข์ ผมจะแก้ทุกข์ได้อย่างไร? ผมจะวางทุกข์ของผมได้อย่างไรครับ?

    องค์สัมมาฯ ก่อนจะวางอะไร เจ้าต้องรู้จักสิ่งนั้นก่อนจึงจะวางได้ ก่อนที่เจ้าจะวางทุกข์ได้ เจ้าต้องรู้จักตัวทุกข์ก่อน
    เจ้าต้องพิจารณาทุกข์ของเจ้าให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อน
    เจ้ารู้หรือยังว่า ทุกข์คืออะไร?
    สาเหตุแห่งทุกข์มาจากที่ไหน?
    อย่าไปโทษผู้อื่น อย่าโทษสิ่งอื่นว่ามาทำให้เจ้าเป็นทุกข์
    ไม่มีใครทำให้เจ้าทุกข์ได้ นอกจากตัวเจ้าเอง!
    เจ้าจงเอาทุกข์มาพิจารณาให้เห็นว่า
    -ทำไมจึงต้องทุกข์
    -ทุกข์เพื่อใคร
    -ทุกข์ไปเพื่ออะไร
    -ประโยชน์ความทุกข์มีอะไร
    เมื่อพิจารณามันโดยละเอียด เจ้าก็จะวางทุกข์ได้เอง
    จำไว้นะว่า ทุกข์อยู่ในมือเจ้า
    ถ้าเจ้าไม่วางเอง ใครล่ะจะวางให้เจ้าได้
    ไม่มีใครมารู้ความทุกข์ของเจ้าด้เท่าตัวเจ้าเองหรอก
    ไปแบกทุกข์ให้มันหนักทำไม?
    ก้อนหินถ้าเจ้าไม่รู้ว่าเป็นก้อนหิน ไปแบกมันก็หนัก
    ก้อนหินถึงแม้รู้ว่าเป็นก้อนหิน แต่ยังขืนไปแบกอีก มันก็หนัก!
    รู้หรือไม่รู้ ถ้ายังหลงแบกอยู่ ก็ทำให้หนักทั้งสิ้น
    รู้แล้ววางเสีย อย่าหลงแบกให้หนักอีกเลย
    จงรู้จักทุกข์ ทำความเข้าใจกับทุกข์
    เจ้าจะรู้จักทุกข์ได้ เข้าใจทุกข์ได้ดี แล้วเจ้าจะวางทุกข์ได้ในที่สุด
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2010
  18. hearsay

    hearsay เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    48
    ค่าพลัง:
    +186
    “โอ .. ครั้งเมื่อพระพุทธองค์ทรงประทับ ณ ต้นมหาโพธิพฤกษ์ เราเข้าทำลายประหัตประหารพระองค์ด้วยจักรราวุธอันคมกล้า อันสามารถจะทำลายทุกอย่างได้ พระพุทธองค์กลับใช้สมติงสบารมีญาณ และจักรนั้นกลับกลายเป็นดอกไม้โปรยปรายทั่วทิศ แม้มารบริวาร ของเราก็ขว้างไปซึ่งอาวุธต่าง ๆ แต่สิ่งเหล่านั้นกลับกลายเป็นบุปผชาติลงสู่พื้นพสุธา เรากระทำภยันตรายนานัปการ แต่พระผู้มีพระภาคก็มิได้ทรงกระทำโทษโกรธตอบแก่เรา แม้นว่าสักนิดหน่อยหนึ่งก็มิได้มี แต่กาลบัดนี้สาวกของพระพุทธองค์ ทำไมถึงไม่มีความกรุณาปรานี กระทำเราให้ได้รับทุกข์ทรมานถึงเพียงนี้” ในที่สุดพญามารได้ รำลึกถึงขันติคุณและมหากรุณาธิคุณแห่งพระพุทธองค์ จึงได้เปล่งวาจาตั้งความปรารถนาพุทธภูมิ ซึ่งสมดังที่พระผู้มีพระภาคได้ตรัสทำนายไว้ว่า “พญามารจะปรารถนาพุทธภูมิ และจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในกาลภายหน้า” ลำดับนั้น ก่อนจะปล่อยพญามารไป จึงอยากให้พญามารกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดเป็นการตอบแทน ในที่สุดจึงตกลงให้พญามารเนรมิตรูปกายพระศาสดาให้ดู เพราะชนที่เกิดมาภายหลังมิเคยได้เห็นเลย อีกประการหนึ่งพญามารก็ได้เคยเห็นพระรูปของพระพุทธองค์มาแล้ว พญามารรับปากว่าจะกระทำตามนั้น แต่มีข้อแม้ว่า เมื่อเนรมิตรูปกายพระพุทธองค์แล้วอย่าถวายอภิวาทเป็นอันขาด เพราะนั้นมิใช่พระองค์จริง ๆ
    จากนั้นพญามารจึง เนรมิตเป็นองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพร้อมฉัพพรรณสังสีให้งดงามยิ่งนัก พร้อมทั้งมีพระอัครสาวกสถิต ณ เบื้องซ้ายขวา แล้วแวดล้อมด้วยพระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์ สิ่งนี้ยังความปีติยินดีให้แก่พระอุปคุตเถระและพระเจ้าอโศกมหาราช พร้อมทั้งข้าราชบริพารประชาชนทั้งหลายในขณะนั้นยิ่งนัก เพราะไม่นึกว่าสิ่งที่ใฝ่ฝันอยากจะพบก็ได้พบ ไม่คิดว่าสิ่งที่อยากได้เห็นก็ได้เห็น เป็นความเอิบอิ่มใจอย่างล้นหลาม ช่างเป็นบุญเสียเหลือเกินยากแท้จะพรรณนาได้ บุคคลอื่นใด ไหนเล่าจะมีโอกาสดีอย่างพวกเรา ซึ่งทุกคนในที่นั้นต่างก็คิดเป็นอย่างเดียวกัน และโดยมิได้นัดหมายคนทั้งหมดก็ยกมือขึ้นวันทาพระพุทธองค์ทันที ด้วยความเคารพศรัทธาเป็นล้นพ้น บางคนถึงกับขนลุกชูชันบ้างก็ถึงกับน้ำตาไหลนองหน้าด้วยความตื่นเต้น
    ทันใดนั้นเอง พระพุทธองค์พร้อมด้วยมหาสาวกก็อันตรธานหายวับไปกับตา กลับกลายเป็นร่างพญามารวัสสวดีตามเดิม ทำให้ทุกคนเสียดายยิ่งนัก เพราะมีโอกาสเห็นพระองค์เพียงครู่เดียว พญามารจึงต่อว่าทันทีว่า “ทำไมพวกท่านจึงไหว้เรา ทั้งที่ได้กระทำ สัญญาไว้แล้ว ซึ่งเรามิอาจแสดงได้อีกแล้ว”
    ฝ่ายพระอุปคุตเถระและพระเจ้าอโศกมหาราช กล่าวตอบพญามารไปว่า “ดูก่อนพญามาร เรามิได้ยกมือไหว้ท่านเลย เราไหว้พระสรีรูปพระพุทธองค์ด้วยจิตเลื่อมใสต่างหาก สิ่งนี้เกิดจากศรัทธาของเราเอง แม้ว่าจะเป็นการเนรมิตของท่าน เราก็ยังนับว่าเป็นพระพุทธองค์อย่างแท้จริงท่านทำหน้าที่ของท่านสมบูรณ์แล้ว จากนี้ไปท่านจงเป็นอิสระ” พญามารวัสสวดี ก็กราบลากลับสู่ที่สถิตสถานของตน ซึ่งก็คือปรนิมมิตวัสสวดีเทวโลก
    เรื่อง ราวดังกล่าวมานี้ หากประสงค์จะทราบรายละเอียดเพิ่มเติมโดยพิสดาร สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือพระปฐมสมโพธิกถา และวิมุติรัตนมาลี
    >
    >
    >
    >ข้อมูลจาก : สิทธารถสาร ฉบับปีที่ ๑๑ มิถุนายน ๒๕๕๐ “พุทธชยันตี”


    ใครอ่านแล้วคิดว่าไง

    ส่วนข้างล่างนี้ผมอ่านแล้วคิดตามความรู้สึกของผมไม่ได้เจตนาจะให้ใครรู้สึกไม่ดี

    องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า ปัจจุบันพระองค์อยู่ที่ไหน?
    ข้อนี้ไม่ยากครับ พระองค์เคยบอกว่าผู้ใดเห็นธรรมผู้นั้นเห็นตถาคตทุกวันนี้ผมก็ยังเชื่อนะครับ

    จะสื่อสารกับพระองค์ได้อย่างไร
    โดยปกติการจะสื่อสารกันได้จะต้องชอบอะไรที่เหมือนๆกัน ศึกษาอะไรแบบอย่างคล้ายกันๆ เพราะงั้นอยากสื่อสารกับพระองค์ก็ลองปฎิบัติตามธรรมที่พระองค์ทรงสอนไว้สิครับ

    ทำไมหนังสือจึงมีค่าเป็นแสนล้าน
    นั่นสิ ทำไมครับ

    ชาติแรกของมนุษย์มาจากไหน
    มาจากธรรม ซึ่งก็คือธรรมชาติอันประกอบด้วยธาตุดินน้ำลมไฟ ดังนั้น ชาติแรกจึงมาจากธาตุ

    ใครส่งมาเกิด
    กรรมคือการกระทำ กระทำไปเพราะความอยาก ความอยาก ดังนั้นความอยากทั้งหลายนั้นส่งผลให้มาเกิด ถ้าไม่อยากก็ไม่เกิด


    เกิดมาเพื่ออะไร
    เกิดมาเพื่อพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้น มิใช่เกิดมาเพื่อชดใช้กรรม


    ตายแล้วจะไปไหน
    ไปที่ชอบที่ชอบ ก่อนตายท่านชอบทำอะไรสิ่งนั้นแหละจะส่งผลให้ท่านไปสู่ที่แห่งนั้น


    หาคำตอบได้ในเล่มนี้
    ขอผมอ่านพระไตรปิฎกของพระพุทธศาสนาทุกนิกายให้หมดก่อนนะครับเยอะมาก ค้นคว้าศึกษาด้วยตนเองผมว่าน่าจะดีกว่าไปอ่านย่อสรุปของคนอื่นนะครับ เพราะความเข้าใจของคนเราไม่เหมือนกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 ตุลาคม 2010
  19. หาธรรม

    หาธรรม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มกราคม 2007
    โพสต์:
    1,163
    ค่าพลัง:
    +3,739
    !!!!!แหมภาษาเขียน "ปุถุชนกิเลสหนา" พูดอย่างกับว่าตนหมดกิเลสแล้ว

    พูดนะดูตัวก่อน แล้วค้น ศึกษาให้กระจ่างก่อนนะจะมาเขียนหักล้าง ไม่ใช่หักล้างไม่ได้แต่ต้องรู้จริง

    เจตสิก ๕๒ เป็นปริเฉท(บท)ใหญ่บทหนึ่งในพระอภิธรรมปิฏก

    ลองค้นดูใหม่ มีเรื่องที่อ้างถึงคำว่า "เจตสิก" ไว้มากว่า ๑,๐๐๐ แห่งในพระไตรปิฎก แปลกที่ไม่เคยเห็นเลยหมายความว่าอย่าไงไร ไม่ได้ผ่านตาเลยรึ? ลองเข้าไปดูในเว็บพระไตรปิฎกข้างล่างเปิดให้ครบทุกหน้า


    <TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width=600 align=center height=50><TBODY><TR><TD>
    [355] เจตสิก 52 (ธรรมที่ประกอบกับจิต, สภาวธรรมที่เกิดดับพร้อมกับจิต มีอารมณ์และวัตถุที่อาศัยเดียวกันกับจิต, อาการและคุณสมบัติต่างๆ ของจิต - mental factors; mental concomitants)
    ก. อัญญาสมานาเจตสิก 13 (เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้กับจิตทุกฝ่ายทั้งกุศลและอกุศล มิใช่เข้าได้แต่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งพวกเดียว - the Common-to-Each-Other; general mental factors)
    1) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก 7 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง - universal mental factors; the Primary)
    1. ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์ - contact; sense-impression)
    2. เวทนา (ความเสวยอารมณ์ - feeling)
    3. สัญญา (ความหมายรู้อารมณ์ - perception)
    4. เจตนา (ความจงใจต่ออารมณ์ - volition)
    5. เอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียว - one-pointedness; concentration)
    6. ชีวิตินทรีย์ (อินทรีย์คือชีวิต, สภาวะที่เป็นใหญ่ในการรักษานามธรรมทั้งปวง - vitality; life-faculty)
    7. มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ - attention)

    2) ปกิณณกเจตสิก 6 (เจตสิกที่เรี่ยรายแพร่กระจายทั่วไป คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศล และอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง - particular mental factors; the Secondary)
    8. วิตก (ความตรึกอารมณ์ - initial application; thought conception; applied thought)
    9. วิจาร (ความตรองหรือพิจารณาอารมณ์ - sustained application; discursive thinking; sustained thought)
    10. อธิโมกข์ (ความปลงใจหรือปักใจในอารมณ์ - determination; resolution)
    11. วิริยะ (ความเพียร - effort; energy)
    12. ปีติ (ความปลาบปลื้มในอารมณ์, อิ่มใจ - joy; interest)
    13. ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์ - conation; zeal)

    ข. อกุศลเจตสิก 14 (เจตสิกฝ่ายอกุศล - immoral or unwholesome mental factors; unprofitable mental factors)
    1) สัพพากุสลสาธารณเจตสิก 4 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับอกุศลจิตทุกดวง - universal immorals; the Primary)
    14. โมหะ (ความหลง - delusion)
    15. อหิริกะ (ความไม่ละอายต่อบาป - shamelessness; lack of moral shame)
    16. อโนตตัปปะ (ความไม่สะดุ้งกลัวต่อบาป - fearlessness; lack of moral dread)
    17. อุทธัจจะ (ความฟุ้งซ่าน - restlessness; unrest)

    2) ปกิณณกอกุศลเจตสิก 10 (อกุศลเจตสิกที่เกิดเรี่ยรายแก่อกุศลจิต - particular immorals; the Secondary)
    18. โลภะ (ความอยากได้อารมณ์ - greed)
    19. ทิฏฐิ (ความเห็นผิด - wrong view)
    20. มานะ (ความถือตัว - conceit)
    21. โทสะ (ความคิดประทุษร้าย - hatred)
    22. อิสสา (ความริษยา - envy; jealousy)
    23. มัจฉริยะ (ความตระหนี่ - stinginess; meanness)
    24. กุกกุจจะ (ความเดือดร้อนใจ - worry; remorse)
    25. ถีนะ (ความหดหู่ - sloth)
    26. มิทธะ (ความง่วงเหงา - torpor)
    27. วิจิกิจฉา (ความคลางแคลงสงสัย - doubt; uncertainty; scepsis)

    ค. โสภณเจตสิก 25 (เจตสิกฝ่ายดีงาม - beautiful mental factors; lofty mental factors)
    1) โสภณสาธารณเจตสิก 19 (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตดีงามทุกดวง - universal beautiful mental factors; the Primary)
    28. สัทธา (ความเชื่อ - confidence; faith)
    29. สติ (ความระลึกได้, ความสำนึกพร้อมอยู่ - mindfulness)
    30. หิริ (ความละอายต่อบาป - moral shame; conscience)
    31. โอตตัปปะ (ความสะดุ้งกลัวต่อบาป - moral dread)
    32. อโลภะ (ความไม่อยากได้อารมณ์ - non-greed)
    33. อโทสะ (ความไม่คิดประทุษร้าย - non-hatred)
    34. ตัตรมัชฌัตตตา (ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ - equanimity; specific neutrality)
    35. กายปัสสัทธิ (ความสงบแห่งกองเจตสิก - tranquillity of mental body)
    36. จิตตปัสสัทธิ (ความสงบแห่งจิต - tranquillity of mind)
    37. กายลหุตา (ความเบาแห่งกองเจตสิก - lightness of mental body; agility of ~)
    38. จิตตลหุตา (ความเบาแห่งจิต - lightness of mind; agility of ~)
    39. กายมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งกองเจตสิก - pliancy of mental body; elasticity of ~)
    40. จิตตมุทุตา (ความอ่อนหรือนุ่มนวลแห่งจิต - pliancy of mind; elasticity of ~)
    41. กายกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งกองเจตสิก - adaptability of mind; wieldiness of ~)
    42. จิตตกัมมัญญตา (ความควรแก่การงานแห่งจิต - adaptability of mind; wieldiness of ~)
    43. กายปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งกองเจตสิก - proficiency of mental body)
    44. จิตตปาคุญญตา (ความคล่องแคล่วแห่งจิต - proficiency of mind)
    45. กายุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งกองเจตสิก - rectitude of mental body; uprightness of ~)
    46. จิตตุชุกตา (ความซื่อตรงแห่งจิต - rectitude of mind; uprightness of ~)

    2) วิรตีเจตสิก 3 (เจตสิกที่เป็นตัวความงดเว้น - abstinences)
    47. สัมมาวาจา (เจรจาชอบ - right speech)
    48. สัมมากัมมันตะ (กระทำชอบ - right action)
    49. สัมมาอาชีวะ (เลี้ยงชีพชอบ - right livelihood)

    3) อัปปมัญญาเจตสิก 2 (เจตสิกคืออัปปมัญญา - boundless states)
    50. กรุณา (ความสงสารสัตว์ผู้ถึงทุกข์ - compassion)
    51. มุทิตา (ความยินดีต่อสัตว์ผู้ได้สุข - sympathetic joy)

    4) ปัญญินทรีย์เจตสิก 1 (เจตสิกคือปัญญินทรีย์ - faculty of wisdom)
    52. ปัญญินทรีย์ หรือ อโมหะ (ความรู้เข้าใจ ไม่หลง - undeludedness; wisdom)

    <TABLE class=ref width="100%"><TBODY><TR vAlign=top><TD width="50%">Comp. 94 <TD>สงฺคห. 7.

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="90%" background="" align=center><TBODY><TR><TD>[​IMG]</TD><TR><TD bgColor=darkblue width="100%" vspace="0" hspace="0">[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <CENTER></CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE>
    http://palungjit.org/tripitaka/search.php?page=36&search_sid=&search_path=&kword=เจตสิก

    พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ ๑๒ พ.ศ. ๒๕๔๖
    http://www.84000.org/tipitaka/dic/d_item.php?i=355





    </TABLE><CENTER></CENTER>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 13 ตุลาคม 2010
  20. โมก

    โมก เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    435
    ค่าพลัง:
    +1,737
    รัก โลภ โกรธ หลง อิจฉา ริษยา ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ ล้วนเป็นอุปกรณ์การทดสอบของฟ้า

    จากที่ดิฉันเคยสนทนาธรรมผ่านทางจิตกับพระอาจารย์ใหญ่ข้างบน อันนี้ไม่ใช่สำนวนขององค์พระที่มีภูมิธรรมในชั้นสูงค่ะ ยิ่งบอกว่าเป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายิ่งไม่ใช่ การใช้คำพูดของพระอาจารย์ในภูมิธรรมสูงขึ้นไปเป็นธรรมบริสุทธิ์มีลักษณะเฉพาะตัว ซึ่งบางคำเราไม่เคยได้ยินบนโลก

    แล้วก็ รัก โลภ โกรธ หลง อิจฉา ริษยา ไม่ใช่อุปกรณ์ทดสอบใดๆจากฟ้า แต่เกิดจากจิตมนุษย์ปรุงแต่งขึ้น จึงทำให้มีภพมีชาติไม่สิ้นสุด อันนี้พระอาจารย์ของดิฉัน ท่านเป็นพระมหาโพธิสัตว์องค์หนึ่งท่านเคยสอน ซึ่งตรงกับคำสอนของครูบาอาจารย์หลายท่านบนโลกมนุษย์ที่สำเร็จธรรมในภูมิธรรมชั้นสูงสุดคือรู้เห็นธรรมแล้ว ไม่มีภพชาติอีก

    คนที่จะเข้าใจเรื่องนี้ต้องเข้าใจเรื่องระดับของจิตวิญญาณก่อน อย่าเห็นว่าเขากล่าวอ้างถึงองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าแล้วถูกต้องทั้งหมด แต่มิใช่ในเนื้อความนี้จะไม่มีประโยชน์เลย เห็นด้วยกับหลายๆท่านค่ะว่าต้องคัดกรองเอาแต่ประโยชน์กลับไป จิตมนุษย์ต่างๆนานา ใครจะทราบว่าสิ่งใดใช่หรือไม่ใช่ อันนี้น่าเป็นห่วง เท่าที่อ่านคล้ายคำสอนของลัทธิหนึ่งที่ดิฉันเคยอ่านเจอในหนังสือ

    พลังแห่งพระพุทธบารมีที่ยังสถิตอยู่ในโลกที่ดิฉันเคยเจอคืออยู่ในรูปของคลื่นแสงฉัพพรรณรังสี เช่นพระพุทธรูป , พระบรมสารีริกธาตุ เป็นต้น อยากให้คุณหมอลองเชิญพระอรหันต์ ผู้สำเร็จในธรรมขั้นสูงสุดไม่เกิดอีกแล้ว อย่างพระอาจารย์หลวงปู่แหวน , หลวงปู่มั่น เชิญท่านมาทรงลงร่างมนุษย์ให้ได้ก่อนค่ะ แล้วค่อยเชิญพระโพธิสัตว์,พระมหาโพธิสัตว์ และขั้นสูงสุดเป็นบรมครูของเหล่าเทวดาและมนุษย์คือองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่กล่าวมานี้ทุกพระองค์ล้วนสำเร็จธรรมขั้นสูงสุดแล้ว โดยมีองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงพระ
    พุทธานุภาพสูงสุด
     

แชร์หน้านี้

Loading...