ภาพถ่ายของพระพุทธเจ้า เป็นของจริงหรือเปล่าครับ?

ในห้อง 'วิทยาศาสตร์ทางจิต - ลึกลับ' ตั้งกระทู้โดย rojrawee, 20 มกราคม 2009.

  1. มเหนทรวรมัน

    มเหนทรวรมัน Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤษภาคม 2007
    โพสต์:
    77
    ค่าพลัง:
    +48
    มีการพิสูจน์ออกมาจริงๆแล้วครับว่าเป็นภาพวาด

    ขณะนี้อยู่ในหอศิลป์ที่ฝรั่งเศสครับ
     
  2. MayaJit

    MayaJit Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    66
    ค่าพลัง:
    +56
    เป็นภาพวาดโดยศิลปินชาวฝรั่งเศสครับ โดยความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ(แค่ส่วนตัวนะครับ ไม่คิดว่าคนอื่นต้องมีความเห็นเช่นเดียวกัน) ไม่จำเป็นจะต้องหาคำตอบว่าแท้จริงพระพุทธองค์ท่านมีหน้าตาอย่างไรกันแน่ ไม่ว่าท่านจะมีลักษณะกายอย่างไร มีฉัพพรรณรังสีหรือไม่ ก็เป็นเพียงแค่สมมติสัจจะของกายหยาบที่ประชุมกันขึ้น เพื่อมีไว้เพียงดำรงอยู่บนโลกแค่ช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้นเอง เพราะเจตนาแท้จริงของพระองค์ท่าน ผมว่าท่านน่าจะปรารถนาให้เราทุกค้นคนหาคำตอบของธรรมแท้มากกว่า ว่าเป็นเช่นไร ดังคำตรัสที่ว่า "ผู้ใดเห็นธรรม ผู้นั้นย่อมเห็นเรา" ใครก็ตามที่เห็นพระองค์ด้วยตา แต่ก็ไม่ใช่สิ่งสำสัญนัก แต่หากว่าผู้ที่รู้เนื้อธรรม และเข้าถึงแก่นแท้ที่พระองค์ได้ตรัสไว้ ก็เท่ากับว่าผู้ใดเห็นธรรม ผู้นันเห็นเรานั้นเอง...
     
  3. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    เห็นธรรมเมื่อไร ก้เห็นตถาคต
     
  4. jantra2008

    jantra2008 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    166
    ค่าพลัง:
    +185
    สาธุ สาธุ สาธุ จะเป็นภาพวาดหรือภาพจริงก็เป็นองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่เราได้กราบไหว้และบูชาในคำสั่งสอนของพระองค์ท่านมาตลอด
     
  5. karain

    karain เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2006
    โพสต์:
    638
    ค่าพลัง:
    +707
    ผมว่าภาพวาดน่ะครับ
     
  6. ToNธรรม

    ToNธรรม สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    1
    ค่าพลัง:
    +4
    ที่พระองค์ท่านมีรัศมีบนศรีษะก็อยุ่ตลอดเวลานั้นไม่แปลกครับ


    พระองค์ท่านเป็นผู้ละกิเลสทั้งปวง เจริญสมาธิภาวนาตลอด


    กระผม ศึกษาและปฏิบัตกับกลุ่มคนที่ ได้อภิญาณ ได้มโนมยิทถิอยุ่ครับ


    กระผมปฏิบัติการปลงอสุภะ ถ้าเราทรงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งได้เป็นนิด


    รู้จิตรู้ใจตัวเอง ดูร่างกายตัวเองได้24ชม ผมว่า ก็จะมีรัศมีหรือออล่าได้ครับ


    ขออนุโมธานา ทุกท่านที่มาแบ่งปันความรู้เกี่ยวกับพุทธศาสนานะครับ
     
  7. meephoo

    meephoo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    1,240
    ค่าพลัง:
    +2,133
    ภาพวาดหรือภาพถ่าย แต่ที่เห็นคุณอาท่านกราบสักการะและบอกผมว่า เป็นภาพสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า องค์จริงครับ สาธุ สาธุ สาธุ
    ผมเก็บไว้บูชามาเป็นเวลา 20 กว่าปีแล้วครับ สาธุ สาธุ สาธุ
     
  8. ผู้พันจุ่น

    ผู้พันจุ่น เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    1,396
    ค่าพลัง:
    +2,983
    ปฏิบัติบูชา คือ การปฏิบัติที่สูงสุด..............ทรงสรรเสริญมากกว่า.
     
  9. gun2555

    gun2555 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    701
    ค่าพลัง:
    +1,205
    ขอแสดงความเห็น สมัยพระพุทธเจ้าไม่มีกล้องถ่ายรูป ถ้าถ่ายได้จริงคนถ่ายคงย้อนเวลาไปในอดีตมั่ง
     
  10. ๛อาภากร๛

    ๛อาภากร๛ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    898
    ค่าพลัง:
    +3,580
    พระมหาบุรุษผู้สมบูรณ์ด้วยลักษณะ ๓๒ ประการ ย่อมมีคติ ๒ อย่าง คือ

    (๑) ถ้าอยู่ครองเรือนจะได้เป็นพระเจ้าจักรพรรดิผู้ทรงธรรม ครองราชย์โดยธรรม
    เป็นใหญ่ในแผ่นดินมีมหาสมุทรทั้งสี่เป็นขอบเขต ทรงได้ชัยชนะ มีพระราชอาณาจักรมั่นคง
    สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ คือ จักรแก้ว ช้างแก้ว ม้าแก้ว มณีแก้ว นางแก้ว คหบดีแก้ว และปริณายกแก้ว

    (๒) ถ้าออกบวชจะได้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า
    พระมหาบุรุษทรงสมบูรณ์ด้วยลักษณะมหาบุรุษทั้ง ๓๒ ประการ คือ

    ๑. มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน

    ๒. พื้นฝ่าพระบาททั้งสองมีจักรซึ่งมีกำ ข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม และมีส่วนประกอบครบทุกอย่าง

    ๓. มีส้นพระบาทยื่นยาวออกไป

    ๔. มีพระองคุลียาว

    ๕. มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม

    ๖. ฝ่าพระหัตถ์และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย

    ๗. มีข้อพระบาทสูง

    ๘. มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อทราย

    ๙. เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลง ก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วยพระหัตถ์ทั้งสองได้

    ๑๐. พระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก

    ๑๑. มีพระฉวีสีทอง มีพระฉวีเปล่งปลั่งดุจทองคำ

    ๑๒. มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลีไม่อาจติดพระวรกายได้

    ๑๓. มีพระโลมชาติเดี่ยว คือในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว

    ๑๔. มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือพระโลมชาติขอดเป็นวง เวียนขวาดังกุณฑลสีคราม เข้มดังดอกอัญชัน

    ๑๕. มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม

    ๑๖. มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง๑ เต็มบริบูรณ์

    ๑๗. มีพระวรกายทุกส่วนบริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์

    ๑๘. มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน

    ๑๙. มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑล ของต้นไทร พระวรกายสูงเท่ากับ ๑ วา ของพระองค์
    (๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงพระวรกาย)

    ๒๐. มีลำพระศอกลมเท่ากันตลอด

    ๒๑. มีเส้นประสาทรับรสพระกระยาหารได้ดี

    ๒๒. พระหนุดุจคางราชสีห์

    ๒๓. มีพระทนต์ ๔๐ ซี่

    ๒๔. มีพระทนต์เรียบเสมอกัน

    ๒๕. มีพระทนต์ไม่ห่างกัน

    ๒๖. มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม

    ๒๗. มีพระชิวหาใหญ่ยาว

    ๒๘. มีพระสุรเสียงดุจพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก

    ๒๙. มีพระเนตรดำสนิท

    ๓๐. มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจตาลูกโคเพิ่งคลอด

    ๓๑. มีพระอุณาโลมระหว่างพระโขนง สีขาวอ่อนเหมือนปุยนุ่น

    ๓๒. มีพระเศียรดุจประดับด้วยกรอบพระพักตร์

    ตรัสเน้นว่าลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการนี้ ถึงพวกฤาษีนักบวชภายนอกพระพุทธศาสนาจะจด จำได้ แต่พวกนั้นไม่รู้ว่า พระมหาบุรุษทรงทำกรรมอะไรไว้ จึงได้ลักษณะเหล่านี้



    จากนั้น ทรงอธิบายสาเหตุที่ทรงได้ลักษณะ มหาบุรุษแต่ละประการโดยทรงจัดกลุ่มตามลักษณะ ที่มีสาเหตุเกี่ยวข้องกัน มิได้เป็นไปตามลำดับที่ทรง จำแยกไว้ในตอนต้น ดังนี้

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๑ มีฝ่าพระบาทราบเสมอกัน<!--colorc--><!--/colorc-->
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้สมาทานมั่นในกุศลกรรมบถ ๑๐
    สมาทานมั่นในสุจริต ๓ บริจาคทาน รักษาศีล ๕ รักษาอุโบสถศีล เกื้อกูลมารดาบิดา สมณ-พราหมณ์
    ประพฤติอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูลและสมาทานมั่นในกุศลธรรมอื่น ๆ อีก

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๒ พื้นฝ่าพระบาททั้งสองมีจักรซึ่งมีกำข้างละ ๑,๐๐๐ ซี่ มีกง มีดุม<!--colorc--><!--/colorc--> และส่วนประกอบครบทุกอย่าง
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำความสุขมาให้แก่คนหมู่มาก
    บรรเทาภัยคือความหวาดกลัวและความสะดุ้ง จัดการป้องกันคุ้มครองอย่างเป็นธรรม และให้ทานพร้อมทั้งของที่เป็นบริวาร

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๓-๕<!--colorc--><!--/colorc--> (๓) มีส้นพระบาทยื่นยาว ออกไป (๔) มีพระองคุลียาว และ (๕) มีพระวรกายตั้งตรงดุจกายพรหม๑
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการฆ่าสัตว์
    มีความละอายต่อบาป มีความเอ็นดู มุ่งประโยชน์เกื้อกูลแก่สรรพสัตว์

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๖<!--colorc--><!--/colorc--> มีพระมังสะในที่ ๗ แห่ง เต็ม บริบูรณ์๒
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ให้ของที่ควรเคี้ยวของที่ควรบริโภค
    ของที่ควรลิ้ม ของที่ควรชิม น้ำที่ควรดื่มอันประณีตและมีรสอร่อย

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๗-๘<!--colorc--><!--/colorc--> (๗) มีพระหัตถ์และพระบาทอ่อนนุ่ม และ (๘) ฝ่าพระหัตถ์
    และฝ่าพระบาทมีเส้นที่ข้อพระองคุลีจดกันเป็นรูปตาข่าย๓
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ได้สงเคราะห์ประชาชนด้วยสังคหวัตถุ ๔ คือ
    (๑) ทาน (การให้) (๒) เปยยวัชชะ (วาจาเป็นที่รัก)
    (๓) อัตถจริยา (การประพฤติประโยชน์) (๔) สมานัตตตา (การวางตนสม่ำเสมอ)

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๙-๑๐<!--colorc--><!--/colorc--> (๙) มีข้อพระบาทสูง และ (๑๐) มีพระโลมชาติปลายงอนขึ้น คือ
    พระโลมชาติขอดเป็นวงเวียนขวา ดังกุณฑล สีครามเข้มดังดอก อัญชัน๑
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ <!--coloro:#000000--><!--/coloro-->เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้กล่าววาจาประกอบด้วยประโยชน์
    ประกอบด้วยธรรม แนะนำคนหมู่มาก เป็นผู้นำประโยชน์และความสุขมาให้แก่สัตว์ทั้งหลาย เป็นผู้บูชาธรรมโดยปกติ <!--colorc--><!--/colorc-->


    ลักษณะที่ ๑๑<!--colorc-->
    <!--/colorc--> มีพระชงฆ์เรียวดุจแข้งเนื้อ ทราย๒
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ <!--colorc--><!--/colorc-->เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ตั้งใจสอนศิลปะ (วิชาชีพ)
    วิชา (เช่น วิชาหมอดู) จรณะ (ศีล) หรือกรรม (ความรู้เรื่องกฎแห่งกรรม)
    โดยประสงค์ให้คนทั้งหลายได้รับความรู้อย่างรวดเร็ว ปฏิบัติได้เร็ว ไม่ต้องลำบากนาน

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๑๒<!--colorc--><!--/colorc--> มีพระฉวีละเอียดจนละอองธุลี ไม่อาจติดพระวรกายได้
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ได้เข้าไปหาสมณะพรือพราหมณ์
    แล้วซักถามว่า อะไรเป็นกุศล อะไรเป็นอกุศล อะไร มีโทษ อะไรไม่มีโทษ อะไรควรเกี่ยวข้อง
    อะไรไม่ควรเกี่ยวข้อง อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความไม่เกื้อกูล เพื่อทุกข์ตลอดกาลนาน
    อะไรที่ทำอยู่พึงเป็นไปเพื่อความเกื้อกูล เพื่อสุขตลอดกาลนาน แล้วตั้งใจฟัง คำตอบด้วยดี มุ่งประโยชน์
    ไตร่ตรองเรื่องที่เป็น ประโยชน์

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๑๓<!--colorc--><!--/colorc--> มีพระฉวีสีทอง๓
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหต<!--colorc--><!--/colorc-->ุ เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่โกรธ ไม่แค้น (คือทำให้บรรเทาได้)
    แม้ถูกว่ากล่าวอย่างรุนแรงก็ไม่ขัดเคือง ไม่พยายาท ไม่จองล้างจองผลาญ ไม่สำแดงความ โกรธ ความอาฆาต
    และความเสียใจให้ปรากฏ เป็น ผู้ให้เครื่องลาดเนื้อดีอ่อนนุ่ม ให้ผ้าห่มที่เป็นผ้า โขมพัสตร์เนื้อดี ผ้าฝ้ายเนื้อดี
    ผ้าไหมเนื้อดีและผ้ากัมพลเนื้อดี
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->
    ลักษณะที่ ๑๔<!--colorc--><!--/colorc--> มีพระคุยหฐานเร้นอยู่ในฝัก๔
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ <!--colorc--><!--/colorc-->เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำพวกญาติมิตรสหาย
    ผู้มีใจดีที่หายไปนาน จากกันไปนาน ให้กลับมาพบกันคือนำมารดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับมารดา
    นำบิดาให้พบกับบุตร นำบุตรให้พบกับบิดา นำพี่ชายน้องชายให้พบกับพี่ชายน้องชาย
    นำพี่ชายน้องชายให้พบพี่สาวน้องสาว นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่ชายน้อง ชาย
    นำพี่สาวน้องสาวให้พบพี่สาวน้องสาว

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๑๕-๑๖<!--colorc--><!--/colorc--> (๑๕) มีพระวรกายเป็นปริมณฑลดุจปริมณฑลแห่งต้นไทร
    พระวรกายสูง เท่ากับ ๑ วา ของพระองค์ ๑ วาของพระองค์เท่ากับส่วนสูงของพระวรกาย และ (๑๖)
    เมื่อประทับยืน ไม่ต้องน้อมพระองค์ลงก็ทรงลูบคลำถึงพระชานุด้วยฝ่า พระหัตถ์ทั้งสองได้๕
    <!--coloro:#c0c0c0--><!--/coloro--><!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--><!--colorc--><!--/colorc--><!--coloro:#ff0000--><!--/coloro--> <!--colorc--><!--/colorc-->เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เมื่อตรวจดูมหาชนที่ควรสงเคราะห์
    ก็รู้จักบุคคลเท่าเทียมกัน รู้จักตนเอง รู้จักฐานะของบุคคล รู้จักความแตกต่างของบุคคล
    หยั่งรู้ว่าบุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ บุคคลนี้ควรกับสิ่งนี้ แล้วทำให้เหมาะกับความแตกต่างในฐานะนั้น ๆ ในกาลก่อน

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๑๗-๑๙<!--colorc--><!--/colorc--> (๑๗) มีพระวรกายทุกส่วน บริบูรณ์ดุจลำตัวท่อนหน้าของราชสีห์ และ (๑๘)
    มีร่องพระปฤษฎางค์เต็มเสมอกัน และ (๒๐) มีลำ พระศอกลมเท่ากันตลอด๑
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ <!--colorc--><!--/colorc-->เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์
    เป็นผู้หวังประโยชน์ หวังความ เกื้อกูล หวังความผาสุก หวังความเกษมจากโยคะแก่คนหมู่มาก
    ด้วยความคิดนึกตรึกตรองว่า ทำอย่างไร ชนเหล่านี้จะเจริญด้วยศรัทธา ศีล สุตะ พุทธิ จาคะ ธรรม ปัญญา ทรัพย์ และธัญชาติ
    เจริญด้วยนา และสวน สัตว์สองเท้าและสัตว์สี่เท้า บุตรและภรรยา ทาสกรรมกรและคนรับใช้ ญาติ มิตร
    และเจริญด้วยพวกพ้อง

    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๒๐<!--colorc--><!--/colorc--> มีเส้นประสาทรับรส พระกระยาหารได้ดี๒
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->สาเหตุ <!--colorc--><!--/colorc-->เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนสัตว์ทั้งหลายด้วยฝ่ามือ
    ด้วยก้อนหิน ท่อนไม้ หรือด้วยศัสตรา


    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๒๑-๒๒<!--colorc--><!--/colorc--> (๒๑) มีดวงพระเนตร ดำสนิท และ (๒๒) มีดวงพระเนตรแจ่มใสดุจลูกโคเพิ่งคลอด๓
    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ ไม่ถลึงตาดู (ไม่จ้องดูด้วยความโกรธ)
    ไม่ค้อน ไม่เมิน มองตรง มองเต็มตา และแลดูคนหมู่มากด้วยดวงตาเปี่ยมด้วยความรัก

    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๒๓<!--colorc--><!--/colorc--> มีพระเศียรดุจประดับด้วย กรอบพระพักตร์๔
    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->สาเหตุ <!--colorc--><!--/colorc-->เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้นำของคนหมู่มากในกุศลธรรม
    เป็นประมุขของคนหมู่มากในกายสุจริต วจีสุจริต และมโนสุจริต ในการจำแนกแจกทาน
    ในการสมาทานศีล ในการรักษาอุโบสถศีล ในความเกื้อกูลมารดาบิดา สมณะและพราหมณ์
    ในความอ่อนน้อมต่อผู้ใหญ่ในตระกูล และในกุศลธรรมอันยิ่ง อื่น ๆ

    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๒๔-๒๕<!--colorc--><!--/colorc--> (๒๔) มีพระโลมชาติเดี่ยว คือในแต่ละขุมมีเพียงเส้นเดียว และ (๒๕)
    มี พระอุณาโลมระหว่างพระโขนงสีขาวอ่อนเหมือนนุ่น๕
    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากการพูดเท็จ
    คือ พูดแต่คำสัตย์ ดำรงความสัตย์ มีถ้อยคำเป็นหลักเชื่อถือได้ ไม่หลอกลวงชาวโลก

    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๒๖-๒๗<!--colorc--><!--/colorc--> (๒๖) มีพระทนต์ ๔๐ ซี่ และ (๒๗) มีพระทนต์ไม่ห่างกัน๖
    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำส่อเสียด
    คือ ฟังความจากฝ่ายนี้แล้วไม่ไปบอกฝ่ายโน้น เพื่อทำลายฝ่ายนี้หรือฟังความจากฝ่ายโน้นแล้ว ไม่มาบอกฝ่ายนี้
    เพื่อทำลายฝ่ายโน้น สมานคนที่แตกกัน ส่งเสริมคนที่ปรองดองกัน ชื่นชมยินดีเพลิดเพลินต่อผู้ที่สามัคคีกัน
    พูดแต่คำที่สร้างสรรค์ความสามัคคี

    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๒๘-๒๙<!--colorc--><!--/colorc--> (๒๘) มีพระชิวหาใหญ่ยาว และ (๒๙) มีพระสุรเสียงดุจเสียงพรหม ตรัสดุจเสียงร้องของนกการเวก๗
    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำหยาบ
    คือ พูดแต่คำที่ไม่มีโทษ ไพเราะ น่ารัก จับใจ เป็นคำของชาวเมือง คนส่วนมากรักใคร่พอใจ

    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๓๐ <!--colorc--><!--/colorc-->มีพระหนุดุจคางราชสีห์๑
    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละเว้นจากคำเพ้อเจ้อ
    คือพูดถูกกาล พูดแต่คำจริง พูดอิงประโยชน์ พูดอิงธรรม พูดอิงวินัย พูดคำที่มีหลักฐาน มีที่อ้างอิง มีที่กำหนด
    ประกอบด้วยประโยชน์ เหมาะแก่เวลา

    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->ลักษณะที่ ๓๑-๓๒<!--colorc--><!--/colorc--> (๓๑) มีพระทนต์เรียบเสมอกัน และ (๓๒) มีพระเขี้ยวแก้วขาวงาม๒
    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->สาเหตุ<!--colorc--><!--/colorc--> เพราะทรงสั่งสมบุญไว้ในชาติก่อน เมื่อทรงเกิดเป็นมนุษย์ เป็นผู้ละมิจฉาอาชีวะ ดำรง ชีวิตอยู่ด้วยสัมมาอาชีวะ
    คือ เว้นขาดจากการโกงด้วยตาชั่ง การโกงด้วยของปลอม การโกงด้วยเครื่องตวงวัด การรับสินบน การล่อลวง
    การตลบตะแลง การตัด อวัยวะ การฆ่า การจองจำ การตีชิงวิ่งราว การปล้น และการขู่กรรโชก
    <!--coloro:#ff0000--><!--/coloro-->
    <!--coloro:#8b0000--><!--/coloro-->ลักษณะมหาบุรุษ ๓๒ ประการ เกิดจากกรรมดีที่พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญสั่งสมไว้ในอดีตชาติต่าง ๆ
    ที่ทรงแสดงเรื่องนี้เพราะทรงประสงค์จะชี้ให้เห็นกฎแห่งกรรมว่า บุคคลทำกรรมเช่นใด ย่อมได้รับผลเช่นนั้น


    ที่มาตามลิงค์ ลักษณะมหาบุรุษ 32 ประการ

    ภาพดั่งกล่าวบางคนอ้างว่าถ่ายติดจากใบโพธ์ในสถานที่ตรัสรู้
    ภาพดังกล่าวบางคนอ้างว่าถ่ายติดจากเปลือกโพธ์ในสถานที่ตรัสรู้
    ถาพดั่งกล่าวบางคนอ้างว่าเป็นภาพวาด
    แต่พิจรณาจากรูปลักษณ์ภายนอกแล้วน่าจะเป็นศิลปินชาวตะวันตก เป็นศิลปะแบบคันธาราฐ หรือคันธารัฐ แล้วแต่จะเรียก

    พระฉัพรรณรังสี หมายถึง รังสี 16 ประการ มีเฉพาะพระพุทธเจ้าเท่านั้น

    หูยาวเป็นลักษณะของผู้ไม่ยินดียินร้าย ในนินทาสรรเสริญ หนักแน่น ไม่ตื่นมงคล

    นิ้วยาว หมายถึงละเว้นจากการพยาบาท เบียดเบียน


    ลักษณะ 32 ประการ แม้มีเพียงแค่ 3 อย่างท่านก็ว่าเป็นปราชญ์ได้
    พระมหากัสปะ ว่ากันว่าก็มีมหาลักษณะนี้ใกล้เคียงกับพระพุทธเจ้า
    พระมหากัจจายนะ ในภาคพิศาร ก็มีบรรยายไว้ว่ามีสิริโฉมเหมือนพระพุทธเจ้า จนต้อนอธิษฐานกาย
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 28 กันยายน 2010
  11. สูงกว่าคน

    สูงกว่าคน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 กรกฎาคม 2010
    โพสต์:
    11
    ค่าพลัง:
    +20
    พระพุทธรูปเป็นสัญลักษณ์แทนพระองค์
    ไม่ใช่รูปเหมือนพระพุทธองค์
    สมัยพุทธกาลตลอดจนสมัยพระเจ้าอโศก ยังไม่มีการทำพระพุทธรูป:cool:
     
  12. MOUNTAIN

    MOUNTAIN เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    15,035
    ค่าพลัง:
    +132,085
    ภาพดังกล่าวเป็นที่ถกเถียงกันมายาวนาน

    เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๙ เคยมีนิตยสารสตรี ฉบับหนึ่ง(จำชื่อไม่ได้)
    ได้ภาพมาจากหลวงพี่หนู วัดสุทธาราม
    พิมพ์ภาพเต็ม(ภาพที่สอง มีพญามารด้วย) อธิบายว่า
    เป็นภาพที่วาดไว้ที่ผนังถ้ำ โดยนักศึกษา

    ต่อมา ได้มีการตัดเฉพาะส่วนที่เป็นภาพของพระพุทธเจ้า

    แล้วนำมาประกอบนิทาน เรื่องถ่ายภาพติดโดยบังเอิญ
    เพื่ออะไรก็แล้วแต่

    นั่นคือข้อเท็จจริง


    แต่อย่างไรก็ตาม ทุกอย่างอยู่ที่ใจ

    สรรพสิ่งทั้งหลายล้วนสมมุติ
    และมีสมมุติ เพื่อให้สื่อเข้าใจตรงกัน
    ให้รู้จักสมมุติ ใช้สมมุติ และในที่สุดให้ปล่อยวางสมมุติ

    ทุกท่านย่อมมีปัญญาพิจารณาได้ด้วยตัวท่านเอง
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 1 ตุลาคม 2010
  13. jangira

    jangira เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    21 กันยายน 2010
    โพสต์:
    306
    ค่าพลัง:
    +784
    ถ้าจะมีศัทธาบูชาท่าน ไม่ว่ารูปใหนจริงหรือ ปลอม ก็ไม่ทำให้ความเคารพศัทธา เสื่อมคล้ายได้คะ
     
  14. basclub_55

    basclub_55 Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    49
    ค่าพลัง:
    +84
    ผมเคยอ่านหนังสือนะพระองค์เคยตรัสเอาไว้ว่า
    ไม่มีใครสามารถสร้างรูปเหมือนเราตถาคต ให้เหมือนกับเราได้
    แต่ผมจำไม่ได้ว่าหหนังสือชื่อว่าอะไรครับ
    แสดงความเห็นด้วยความเคารพครับ

     
  15. thol

    thol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2009
    โพสต์:
    257
    ค่าพลัง:
    +837
    ไม่ว่าจะเป็นภาพวาดหรือภาพถ่าย จะใช่พระพุทธองค์หรือไม่
    ขอแค่ใจเรายึดมั่นในพระพุทธองค์และแนวทางที่พระพุทธอทรงสอนชี้แนะ
    ผมว่าก็พียงพอแล้ว เพราะทุกสิ่งทุกอย่างมีเกิดก็ย่อมมีดับ
     
  16. namitta

    namitta เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,061
    ค่าพลัง:
    +3,517
    มีครับ ของพระเยซูก็มี

    รุปถ่ายบนท้องฟ้าตอนสงครามโลก ที่นักบินถ่ายไว้ นั่นก็หนึ่ง ล่ะ

    เรื่องแบบนี้ฝรั่งก็มีไม่น้อยกว่าบ้านเราหรอกครับ
     
  17. animal will do

    animal will do เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กันยายน 2010
    โพสต์:
    40
    ค่าพลัง:
    +229
    อันนี้เคยดูในสารคดี ตามความเชื่อของจีนหรืออะไรซักอย่างนี่แหละค่ะ บุคคลที่มีติ่งหูยาวแสดงว่าเป็นคนที่มีบุญญาธิการ มีบุญมาก บางทีคนวาดอาจต้องการสื่อถึงความมีบุญญาธิการของพระพุทธเจ้าั้มั้งคะ
     
  18. สงกะสัย

    สงกะสัย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    51
    ค่าพลัง:
    +126
    สมัยพุทธกาลยังไม่มีกล้อง [FONT=&quot][FONT=&quot]ภาพถ่ายแรกของโลกที่เรารู้จักและมีหลักฐานมาถึงวันนี้ในปี ค.ศ.1825 หรือเกือบ 200 ปีมาแล้วคือหลังพุทธกาล2300ปี แต่อาจมีผู้ศัทธาในอินเดียเนปาล จ้างชาวกรีกที่เข้ามาค้าขายในอินเดียตอนเหนือแกะสลักพระพักตร์จากหินอ่อนไว้ หลังจากพระพุทธองค์เข้าสู่ปรินิพพาน ซึ่งอาจหลงเหลือในแถบเทือกเขาเนปาล อินเดีย แต่ในธรรมะที่พระพุทธเจ้าบรมครูสอนไว้ ไม่ให้เคารพกราบไหว้วัตถุ พระพรมหรือแม้แต่พระองค์เอง แต่ให้เคารพสิ่งที่พระองค์เคารพคือ ธรรมชาติ ให้เรียนรู้ ธรรมชาติให้รู้ถ่องแท้ จะอยู่อย่างมีสุข..
    [/FONT]
    [/FONT]
     
  19. SiwaTNa

    SiwaTNa เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    322
    ค่าพลัง:
    +6,231
    เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งครับ ขออนุโมทนา
     
  20. สมถกรรมฐาน

    สมถกรรมฐาน สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2010
    โพสต์:
    4
    ค่าพลัง:
    +7
    แน่ใจหรอท่่าน...เท่าที่รู้มาพระโพธิสัตว์เจ้าจะมากำเนิดที่ประเทศอินเดียเท่านั้นนิครับ:cool:
     

แชร์หน้านี้

Loading...