ธรรมไหลไปสู่ธรรม

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย paang, 18 พฤศจิกายน 2006.

  1. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]




    ธรรมไหลไปสู่ธรรม
    โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก

    วัดป่าสุนันทวนาราม
    บ้านท่าเตียน ต.ไทรโยค อ.ไทรโยค จ.กาญจนบุรี



    คำนำ


    หนังสือ
     
  2. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    ธรรมไหลไปสู่ธรรม
    พระธรรมเทศนาในงานสัปดาห์วันวิสาขบูชา ณ ท้องสนามหลวง
    วันที่ ๒๔ พฤษภาคม ๒๕๓๔
    โดย พระอาจารย์มิตซูโอะ คเวสโก
    เจ้าอาวาสวัดป่าสุนันทวนาราม อ.ไทรโยค (กม. ๙๐) จ.กาญจนบุรี

    ..............................................................


    ขอความเจริญในธรรม จงมีแด่ท่านสาธุชนผู้ใฝ่ใจในการปฏิบัติธรรมทั้งหลาย ชีวิตของเราที่ได้ล่วงมาถึงวาระนี้

    ขณะนี้เป็นเวลาที่สำคัญที่สุดและมีค่ามากที่สุด ในชีวิตของเรา
    เราจึงควรที่จะดำรงอยู่ด้วยความไม่ประมาท ทั้งกาย วาจา ใจ ในปัจจุบันนี้เถิด

    อดีตได้ผ่านพ้นไปแล้ว ทำอะไรไปก็แก้ไขกลับคืนไม่ได้ ส่วนอนาคตก็ยังมาไม่ถึง มีแต่ ปัจจุบันธรรม นี้เท่านั้นที่จะยังประโยชน์ให้สำเร็จได้


    อดีต-ปัจจุบัน-อนาคต

    สิ่งที่เราประสบอยู่ในปัจจุบันล้วนเกิดมาจากเหตุในอดีต
    อดีตเป็นเหตุ ปัจจุบันเป็นผล
    ปัจจุบันเป็นเหตุ อนาคตเป็นผล
    ปัจจุบันจึงเป็นที่รวมของทั้งเหตุและผล
    เมื่อศึกษาปัจจุบันจนเข้าใจแล้ว เราย่อมเข้าใจทั้งอดีต
    ทั้งอนาคต ไปพร้อมกันด้วย
    ฉะนั้น คุณงามความดีทั้งหลายที่เราได้สร้างสมมาทั้งหมดนับเอนกชาติ
    ขอจงได้มาประชุมรวมกันลงในปัจจุบันนี้ ขณะนี้และเดี๋ยวนี้

    โดยเฉพาะวาระนี้เป็นสัปดาห์วิสาขบูชา
    ชาวโลกหลายล้านคนได้พร้อมกันรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ
    ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ถือกันว่าวันวิสาขบูชานี้เป็นวันแห่งการประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน ของพระองค์ท่าน พวกเราควรพากันตั้งอกตั้งใจปฏิบัติธรรมเป็นพุทธบูชา
    โดยพร้อมเพรียงกัน

    เมื่อหวนระลึกถึงองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า
    ให้เราน้อมเอาธรรมะของพระองค์เข้ามาสู่ใจของเรา
    ไม่ต้องให้ความสำคัญกับชนชั้นวรรณะ
    ให้ พุทธภาวะ ภาวะแห่งความเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ได้บังเกิดขึ้น
    ในดวงใจของเรา ในปัจจุบันนี้และเดี๋ยวนี้

    พระพุทธเจ้าตรัสสอนว่า
    จิตดั้งเดิมของเรานั้นประภัสสร มีความบริสุทธิ์ ผ่องใสอยู่ก่อนแล้ว
    แต่เมื่อเราปล่อยตัว ปล่อยใจไปตามความเคยชินของกิเลส
    จิตของเราจึงเศร้าหมองขุ่นมัว ไม่บริสุทธิ์ผ่องใส อย่างที่ควรจะเป็น
    ปกติคนเราไม่ค่อยได้สังเกตความนึกคิดของตัวเอง
    เราคิดอะไรก็ไม่ค่อยรู้ตัว ส่วนมากก็คิดไปตามความเคยชิน
    ตามอารมณ์ความรู้สึกของตัวเอง
    เราไม่รู้ว่าการปล่อยความคิดให้แล่นไปตามกิเลสนี้
    เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ขึ้นมา

    เมื่อเราปล่อยความคิดให้แล่นไป ทางโน้น ทางนี้อยู่เรื่อยๆ
    คิดผิด คิดชั่ว คิดบ่น คิดดูถูกดูหมิ่นใครต่อใคร
    บางทีก็เกิดความรู้สึกขึ้นมาว่า ทำดีแล้วไม่ได้ดี แต่ทำชั่วแล้วสนุกสนาน
    บางทีก็คิดไปว่าทำชั่วต่างหากที่ได้ดี
    สังคมเราทุกวันนี้จึงวิปลาส มองจริงเป็นเท็จ มองเท็จเป็นจริง
    มองชั่วเป็นดี มองถูกเป็นผิด เกิดความสับสนวุ่นวายขึ้นมา
    สารพัดอย่างจนถึงกับกล่าวกันว่า
    "ทำดีได้ดีมีที่ไหน ทำชั่วได้ดีมีถมไป"

    ที่เป็นเช่นนี้เพราะไม่รู้จักและไม่เข้าใจหลักความจริงที่พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้
    ส่งผลให้ชีวิตของคนเราตั้งแต่เกิดมาจนกระทั่งตายไป
    แม้จะแสวงหาความสุขมากมายเพียงไร ก็ไม่ได้พบความสุขที่แท้จริงสักที
    เราจึงต้องปฏิบัติให้รู้ความจริงด้วยตัวของเราเอง
    ด้วยกาย วาจา ใจ ของเราทั้งหลายนั่นแหละ
    ต้องอดทน อดกลั้น และต้องต่อสู้กับความรู้สึกของตัวเอง

    ในการปฏิบัตินั้น เราเริ่มต้นด้วยการรักษาศีล
    ไม่ว่าจะเป็น ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ศีล ๒๒๗
    อันนี้เป็นอุบายที่จะช่วยให้เกิดสติสัมปชัญญะขึ้นภายในใจ
    ทำให้เรารู้จักตัวเองมากขึ้น สามารถพัฒนาตัวเองให้ก้าวหน้าได้ต่อไป
    เมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ มีความรู้สึกตัวสืบเนื่องกันไปโดยไม่ขาดตอนแล้ว
    เราจะเกิดความรู้สึกผิดชอบชั่วดี
    รู้สิ่งที่เป็นประโยชน์ และไม่เป็นประโยชน์
    ที่สำคัญจะเกิดความรู้อย่างหนึ่งว่า
    ทุกสิ่งทุกอย่างเป็นไปตามหลักของเหตุและผล
    เมื่อทำเหตุดี ผลย่อมดี
    เมื่อทำเหตุไม่ดี ผลย่อมไม่ดี

    ทั้งสองอย่างนี้เป็นสิ่งเดียวกับที่พวกเราได้ยินได้ฟังจนคุ้นหูว่า
    ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว นั่นเอง
    ที่เราตั้งข้อสงสัยต่อหลักของเหตุและผลที่ว่า
    "ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว" นั้น
    ก็เพราะเราไม่ได้ศึกษาจิตใจของตัวเองจนเกิดความรู้ ความเข้าใจ
    อย่างแจ่มแจ้ง ให้เกิดหิริโอตตัปปะขึ้นมาในจิตใจของเรา
    หิริ คือ ความละอายแก่ใจเมื่อเกิดอารมณ์ยินดียินร้าย
    โอตตัปปะ คือ ความกลัวเกรงในอารมณ์ยินดียินร้ายนั้น


    (มีต่อ ๑)
     
  3. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]

    ใจเป็นศีล ศีลรักษาใจ

    เมื่อเราปฏิบัติธรรม คือ ศึกษาจิตใจของตัวเอง
    จนกระทั่งเกิดหิริโอตตัปปะขึ้นในใจอย่างมั่นคงแล้ว
    เรียกว่าปฏิบัติจนกระทั่ง ศีลเข้าถึงใจ หรือ มีใจเป็นศีล มีใจเป็นธรรม
    ขณะที่ปฏิบัติใหม่ๆ เราได้พยายามรักษาศีล
    แต่เดี๋ยวนี้ และต่อไปนี้ เมื่อใจเราเป็นศีล ศีลจะรักษาเรา

    เพราะเมื่อศีลเข้าถึงใจ เราจะมีความรู้สึกตื่นตัว
    มีความละอาย มีความเกรงกลัว
    ในขณะเกิดอารมณ์ยินดียินร้าย สติสัมปชัญญะ กับ หิริโอตตัปปะ รวมกัน
    ควบคุมตัวเราไว้ได้อย่างมั่นคง
    เราไม่กล้าทำชั่วทำบาป และไม่กล้าประมาทอีกต่อไปแล้ว

    ถึงขนาดนี้แล้ว การประพฤติปฏิบัติของเรา จะเสมอต้นเสมอปลายตลอดเวลา
    แม้ว่าอยู่ในที่ลับหูลับตา หรืออยู่ในป่าในเขาตามลำพัง
    เราก็ไม่ประมาทพลั้งเผลอที่จะทำชั่วทำบาปแล้ว
    เพราะเรามีหิริโอตตัปปะ เรามีตนเป็นที่พึ่งของตน
    "อตฺตา หิ อตฺตโน นาโถ" ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน

    คำว่าตนเป็นที่พึ่งแห่งตนนี้ อาจจะพูดได้อีกอย่างว่า
    ตนใหญ่ เป็นที่พึ่งของ ตนเล็ก
    ตนใหญ่คืออะไร ตนเล็กคืออะไร อาจจะมีคนสงสัย

    ตนใหญ่ คือ ตนที่แท้จริง ตนที่บริสุทธิ์
    เป็นตนที่ สติสัมปชัญญะ กับ หิริโอตตัปปะรวมกันควบคุมจิต
    ทำให้เกิดความรู้สึกตัวขึ้นมา
    ตนนี้แล อตฺตา หิ เป็น ตนใหญ่

    ส่วน ตนเล็ก คือ จิตที่เคยอยู่ใต้อำนาจของกิเลส ถูกกิเลสเบียดเบียน
    จนได้รับความทุกข์ใจความเสียใจ
    อันนี้แหละเป็นตนเล็กที่อ่อนแอ ไม่มีกำลัง

    เมื่อใดก็ตามที่กำลังจะเกิดความรู้สึกที่เป็นกิเลส
    ตนใหญ่ ที่เป็นสติสัมปชัญญะก็จะรู้ตัวและเกิดความละอาย
    ความเกรงกลัวต่อบาป
    พูดง่ายๆ ว่า ตนใหญ่จะมาจัดการกับกิเลสเองโดยอัตโนมัติ

    อย่างนี้เรียกว่า เราได้ที่พึ่งของตัวเอง มีใจเป็นศีล มีใจเป็นธรรม
    ซึ่งจะคอยรักษาเราอยู่ตลอดเวลา



    ไม่ดูถูกตัวเอง

    คำว่า มนุษย์ มาจาก มน+อุษย แปลว่า ผู้มีใจสูง
    ปกติเมื่อยู่ตามลำพัง เรามักจะประมาทและปล่อยให้กิเลสเกิดขึ้นได้ง่าย
    เช่นเราเห็นของดีๆ งามๆ แล้วเกิดความอยากได้
    แม้จะรู้อยู่ว่ามีเจ้าของ แต่ก็ยังนึกอยากจะขโมยเอาให้ได้
    มองหน้ามองหลัง มองซ้ายมองขวา พอเห็นว่าไม่มีใคร
    ก็หยิบของใส่กระเป๋า รีบเดินหนีด้วยใจเต้นตึกตักๆ
    อย่างนี้ก็จะเรียกว่าเป็นคนทำชั่ว

    คนที่ทำชั่วทำบาปได้ คือคนที่ไม่เคารพตัวเอง ดูถูกดูหมิ่นตัวเองมากที่สุด
    ไม่ให้เกียรติแม้กระทั่งตัวเอง ว่าเป็นมนุษย์คนหนึ่งในโลก
    เมื่อเราทำความชั่ว เราจะคิดว่าไม่มีคนรู้คนเห็นได้อย่างไร
    คนที่รู้อยู่เห็นอยู่ก็คือตัวของเราเอง
    แล้วตัวของเราเองนี้เป็นใคร
    ไม่ใช่คน ไม่ใช่มนุษย์หรอกหรือ ? เป็นยักษ์เป็นเปรตหรือ ?
    คนที่รักชีวิตของตัวเองอย่างแท้จริง จะทำชั่วทำบาปไม่ได้
    แม้จะอยู่บนเขา อยู่ในถ้ำเพียงคนเดียว ก็ยังต้องสำรวม
    ระวัง กาย วาจา ใจ ของตนให้เป็นปกติเรียบร้อยอยู่เสมอ

    เมื่อเราสามารถรักษาศีล จนกระทั่ง ใจเป็นศีล ใจเป็นธรรมแล้ว
    จะเกิดความรู้ชนิดหนึ่ง เรียกว่า อจล ญาณทัสสนะ
    เป็นความหยั่งรู้ที่เป็นพยานแก่ตนเองได้อย่างมั่นคง ไม่หวั่นไหว
    และเมื่อสามารถเอาตนเป็นพยานแห่งตนได้แล้ว
    ก็ไม่ต้องเที่ยวหาคนอื่นนอกตัวมาเป็นพยาน
    เราเองรู้ชัดอยู่กับตัวว่า ทำดี ทำถูก ทำไม่ผิดแล้ว
    ใครจะว่าอย่างไร เราก็ไม่หวั่นไหว ไม่ต้องเป็นทุกข์เดือดร้อนใจ
    ไม่ต้องคิดไปว่า ทำดีได้ชั่ว
    เพราะทำดีเมื่อไรมันก็ได้ดีอยู่ที่ใจอย่างแน่นอน

    ที่เขาตำหนิเรากล่าวหาเราว่า ทำไม่ดี ทำไม่ถูก หรือทำชั่ว
    ก็อาจจะมีได้บ้างเหมือนกัน
    อาจจะเป็นวิบากกรรมของเราเอง
    หรือเพราะกิเลสเข้าครอบงำจิตใจของเขา
    หรือไม่ก็อาจเป็นเพราะ อวิชชา เป็นเครื่องปิดบังไม่ให้รู้ความจริง
    เขาจึงเข้าใจเราผิด ก็เป็นได้

    และถึงแม้จะเป็นอย่างนั้น เราก็ไม่ต้องคิดอะไรมาก
    พยายามทำใจของเราให้สะอาด สว่าง สงบ
    ปล่อยให้กาลเวลาเป็นเครื่องแก้ไข
    ในที่สุดเหตุการณ์ทุกสิ่งทุกอย่างก็จะเปลี่ยนแปลงกลับคืนสู่สภาพปกติของมันเอง
    เมื่อใดที่ศีลของเราสมบูรณ์แล้ว กาย วาจา และจิตของเราก็เข้าสู่ทางสายกลาง
    มุ่งตรงต่อสมาธิ ปัญญา วิมุตติ และ วิมุตติญาณทัศนะ


    (มีต่อ ๒)
     
  4. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ธรรมไหลไปสู่ธรรม

    มีอยู่วาระหนึ่งที่พระพุทธได้ทรงแสดงถึงอาการที่เรียกว่า
    "ธรรมไหลไปสู่ธรรม โดยไม่ต้องตั้งเจตนา"
    เรามีหน้าที่เพียงแต่ ดูแลเอาใจใส่และรักษาธรรมให้ดีเท่านั้น
    อันเป็นมูลเหตุเบื้องต้น
    เพราะเมื่อเหตุดีแล้ว ก็จะผลิตดอกออกผลมาเอง
    ส่วนจะเร็วหรือช้านั้น ก็เป็นเรื่องของสภาวะธรรมตามธรรมชาติ
    ถ้าจะเปรียบเทียบก็เหมือนกับเราปลูกมะม่วงสักต้นหนึ่ง
    หน้าที่ของเราคือ รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน กำจัดแมลง
    ทำอยู่อย่างนั้นนานนับเดือน นับปี
    ต้นไม้ก็เจริญเติบโตขึ้นมาเรื่อยๆ

    แล้วในที่สุด ไม่วันใดก็วันหนึ่ง มันจะต้องผลิดอกออกผลขึ้นมา
    ปีแรกๆ อาจจะมีผลิตผลไม่มาก
    แต่ปีต่อๆ มาก็จะผลิดอกออกผลมากขึ้นเอง
    หน้าที่ของเราจึงมีแต่เพียงศึกษาให้รู้ถึงวิธีการบำรุงรักษา และ
    ดูแลบำรุงรักษาต้นไม้นั้นให้ดีที่สุดเท่านั้น
    เมื่อเราทำเหตุให้ดีแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องห่วงว่าผลจะออกมาอย่างไร

    ฉะนั้น ในการปฏิบัติธรรมเราจึงต้องรักษาจิตให้เป็นศีล
    มีความพากเพียรในการเจริญสติ และมีสัมปชัญญะ ให้สืบเนื่อง
    ติดต่อกันไปอย่างสม่ำเสมอไม่ขาดตอน
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงย่อมจะไหลไปสู่ธรรมตามลำดับ
    ตั้งแต่เริ่มต้นไปจนถึงเบื้องปลาย
    คือความหลุดพ้นจากทุกข์เป็นที่สุด

    กล่าวคือ

    (๑) เมื่อศีลสมบูรณ์ ไม่มีโทษทางกายวาจาใจ
    ไม่มีการเบียดเบียนทั้งตนเองและผู้อื่นแล้ว ก็ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
    "อวิปปฏิสาร ความไม่เดือดร้อนใจ จงบังเกิดขึ้นแก่เรา" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
    เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว ความไม่เดือดร้อนใจย่อมเกิดขึ้นเอง

    (๒) เมื่อไม่มีความเดือดร้อนใจแล้วไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
    "ปราโมทย์ ความปลื้มใจ จงบังเกิดแก่เรา" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
    เมื่อไม่มีความเดือดร้อนใจแล้ว ปราโมทย์ย่อมเกิดขึ้นเอง

    (๓) เมื่อปราโมทย์ คือ ความปลื้มใจเกิดขึ้นแล้ว
    ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า "ปีติ ความอิ่มใจ จงบังเกิดแก่เรา" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
    เมื่อความปราโมทย์เกิดขึ้นแล้ว ปีติย่อมเกิดขึ้นเอง

    (๔) เมื่อปีติความอิ่มใจเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
    "กายของเราจงระงับเป็นปัสสัทธิ" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
    เมื่อปีติเกิดขึ้นแล้ว กายย่อมระงับเอง

    (๕) เมื่อกายระงับเป็นปัสสัทธิแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
    "เราจงเสวยสุข" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
    เมื่อกายระงับเป็นปัสสัทธิแล้ว ย่อมเสวยสุขเอง

    (๖) เมื่อมีความสุขแล้วไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
    "จิตของเรา จงตั้งมั่นเป็นสมาธิ" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
    เมื่อมีความสุขแล้ว จิตย่อมตั้งมั่นเป็นสมาธิเอง

    (๗) เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
    "เราจงรู้เห็นตามความเป็นจริง" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
    เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ยถาภูตญาณทัสสนะ
    คือความรู้เห็นตามความเป็นจริง ย่อมเกิดขึ้นเอง


    (๘) เมื่อยถาภูตญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นตามความเป็นจริงเกิดขึ้นแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า "เราจงเบื่อหน่ายเป็นนิพพิทา" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
    เมื่อรู้เห็นตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมเบื่อหน่ายเอง

    (๙) เมื่อเบื่อหน่ายเป็นนิพพิทาแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
    "เราจงคลายกำหนัดเป็นวิราคะ" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
    มื่อมีความเบื่อหน่ายแล้ว วิราคะ คือ ความคลายกำหนัด ย่อมเกิดขึ้นเอง

    (๑๐) เมื่อคลายกำหนัดเป็นวิราคะแล้ว ไม่ต้องทำ "เจตนา" ว่า
    "เราจงทำให้แจ้งซึ่งวิมุตติญาณทัสสนะ คือ ความรู้เห็นว่าจิตหลุดพ้น
    จากอาสวะทั้งหลายแล้ว" ข้อนี้เป็นธรรมดาว่า
    เมื่อวิราคะเกิดขึ้นแล้ว วิมุตติญาณทัสสนะย่อมเกิดขึ้นเอง

    ด้วยอาการอย่างนี้ เรียกว่า "ธรรมไหลไปสู่ธรรม"
    ธรรมย่อมยังธรรมให้เต็ม
    เปรียบประดุจกระแสน้ำที่ไหลไปตามลำคลองลงสู่ห้วงมหาสมุทร
    น้ำย่อมยังห้วงน้ำให้เต็มได้ฉันใด
    ธรรมย่อมยังธรรมให้เต็มได้ฉันนั้น


    ผู้ศึกษาและปฏิบัติธรรม จึงควรใช้วิจารณญาณ สังเกตให้เห็นว่า
    เราเพียงตั้ง "เจตนา" ในการกระทำให้ถูกต้อง
    เป็นสัมมาปฏิบัติก็พอแล้ว

    เราไม่ต้องตั้ง "เจตนา" ที่จะคาดหวังให้การกระทำนั้นออกผล
    เพราะเป็นสิ่งที่ไม่จำเป็น แถมยังจะทำให้เกิดความกระวนกระวาย
    หรือเป็นทุกข์ขึ้นมาอีกด้วย
    คนโดยมากมักจะเข้าใจผิดในข้อนี้
    นี่แสดงให้เห็นว่า เมื่อรักษาจิต ดำรงจิต และตั้งเจตนาให้ถูกต้อง
    ในการกระทำ โดยรักษาศีลให้บริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว
    สมาธิ ปัญญา ความหลุดพ้นจากทุกข์ทั้งปวงก็จะเกิดขึ้นเอง
    โดยไม่ต้องตั้งเจตนาที่จะให้เกิด

    อริยมรรค ๘ โพชฌงค์ ๗ สติปัฏฐาน ๔ และแม้แต่โอวาทปาฏิโมกข์
    ก็อยู่ในที่นั้นครบทั้งหมด กล่าวคือ
    เมื่อศีลสมบูรณ์แล้ว "การไม่ทำบาปทั้งปวง" ก็จะสมบูรณ์

    เมื่อใจเกิดปีติ ปัสสัทธิ สุข และสมาธิแล้ว
    ไม่ว่าจะทำอะไร ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเป็นกุศลไปทั้งหมด
    "การทำกุศลให้ถึงพร้อม" ก็จะสมบูรณ์เอง
    โดยไม่ต้องตั้งใจทำอะไรเป็นพิเศษ

    เมื่อจิตตั้งมั่นเป็นสมาธิแล้ว ย่อมรู้เห็นตามความเป็นจริง
    คือ เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อย่างชัดเจน
    เกิดความจางคลายไปแห่งตัณหาและราคะ
    เป็นการ "ชำระจิตให้ผ่องแผ้ว"
    จนกระทั่งเกิดความรู้เห็นว่า จิตหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง
    คือ วิมุตติญาณทัสสนะ ในที่สุด


    (มีต่อ ๓)
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    [​IMG]


    อดกลั้นต่อสิ่งที่เข้ามากระทบ

    พระพุทธเจ้าทรงตรัสบอกพราหมณ์คนหนึ่งว่า
    "พระนิพพานเป็นธรรมอันยิ่ง"
    แต่สำหรับพวกเรา ขันติคือธรรมอันยิ่ง
    ขนฺติ ปรมํ ตฺโป ตี ติกฺขา
    ขันติ คือความอดกลั้น เป็นธรรมเครื่องเผากิเลสอย่างยิ่ง
    นั่นคือ ความอดทนพากเพียรในการปฏิบัติ
    และความอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามากระทบ
    โดยสำรวมระวัง ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดความยินดียินร้าย

    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็น อายตนะภายใน
    ส่วน รูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ เป็นอายตนะภายนอก
    ทั้งสองอย่างนี้เป็นบ่อเกิดของอารมณ์ทั้งหลายทั้งปวง
    คือ เมื่อกระทบกันเข้า ก็เกิดความรับรู้

    ตาเห็นรูป เกิด จักษุวิญญาณ
    หูได้ยินเสียง เกิด โสตวิญญาณ
    จมูกได้กลิ่น เกิด ฆานวิญญาณ
    ลิ้นรับรู้รส เกิด ชิวหาวิญญาณ
    กายรับรู้สัมผัส เกิด กายวิญญาณ
    ใจรับรู้ธรรมารมณ์ เกิด มโนวิญญาณ

    เมื่อตาเห็นรูป หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นลิ้มรส กายรับรู้สัมผัส
    เกิดผัสสะ เป็นขั้นตอนที่ ๑
    ถ้าสติปัญญากำหนดรู้เท่าทัน ก็เป็น
    สักแต่ว่าเห็น
    สักแต่ว่าได้ยิน
    สักแต่ว่ากลิ่น
    สักแต่ว่ารส
    สักแต่ว่าสัมผัส
    ไม่เกิดเวทนา

    แต่ถ้าขณะนั้นเกิดเผลอสติ ก็จะกลายเป็นอธิวจนสัมผัส
    คือสัมผัสลึกซึ้งจนเกิดเป็นเวทนา ความรู้สึกชอบไม่ชอบ
    ด้วยอำนาจจิตที่ปรุงแต่งไป เป็นขั้นตอนที่สอง

    ตรงนี้แหละให้ระวังตัว
    ถ้าเป็นไฟจราจรก็เป็นไฟเหลือง
    เป็นสัญญาณเตือนภัยให้ระวังตัวให้มาก
    ถ้าสามารถกำหนดรู้เท่าทันเวทนาได้ ก็ยังไม่เป็นทุกข์
    แต่ถ้าเวทนาแรงกล้า จิตก็จะปรุงแต่งให้เกิดความทะยานอยาก
    เป็นตัณหาขึ้น เป็นขั้นตอนที่สาม

    เมื่อเกิดตัณหาแล้วท่านเรียกว่า สมุทัย เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    ถ้าเป็นไฟจราจรก็เป็นไฟแดงแล้ว
    ต้องหยุดที่ตรงนี้
    ถ้าหยุดได้ก็ยังไม่เกิดทุกข์
    แต่ถ้าหยุดไม่ได้ก็จะเกิดเป็นอุปาทาน ความยึดมั่นถือมั่นเอาจริงเอาจัง
    ในความอยากนั้น เป็นขั้นตอนที่สี่

    ลำพังความอยากเฉยๆ ยังไม่เป็นทุกข์
    ถ้าจิตเชื่อฟังเหตุผล ยอมปล่อยวางความอยากลงได้ก็แล้วไป
    แต่ถ้าเกิดอุปาทานยึดมั่นถือมั่นแล้ว ก็เกิดอัตตาตัวตน
    ซึ่งเป็นตัวทุกข์ขึ้นมา หลังจากนั้นก็จะเกิดเป็นภพ
    คือ ความมี ความเป็น ในขั้นตอนที่ห้า

    ความนึกคิดนี้เป็นภพ
    เมื่อนึกคิดปรุงแต่งเป็นเรื่องเป็นราว มีเรามีเขา ก็เกิดเป็นชาติ
    เป็นอารมณ์ในใจ มีความพอใจไม่พอใจ
    ถ้าอารมณ์ภายในใจนี้ มีกำลังรุนแรง จนไม่สามารถควบคุมไว้ได้
    ก็จะแสดงออกมาทางกาย วาจา
    เป็นการกระทำที่ออกจากศีล หรือ ผิดศีล
    จากนั้น ชรา มรณะ โศกะ ปริเทวะ ความร่ำไร รำพัน ความทุกข์ โทมนัสก็เกิดตามมา
    เป็นขั้นตอนที่หก เจ็ด แปด... เก้า... สิบ... ยี่สิบ... สามสิบ ยืดยาวต่อไปเรื่อยๆ

    เพราะฉะนั้นเมื่อได้เห็นหรือได้ยินอะไรก็ตาม
    ให้มีสติ น้อมเข้ามาสู่ใจของเรา
    เพื่อที่จะเข้าไปดูอย่างลึกซึ้งในขณะที่รับอารมณ์นั้น


    (มีต่อ ๔)
     
  6. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328

    [​IMG]

    รู้อะไร ก็สักแต่ว่ารู้

    เมื่อดูเข้าไป ดูเข้าไป โดยอาศัยกำลังของสติและจิตอันหนักแน่นแล้ว
    เราจะเห็นอารมณ์ และถ้าเห็นจริงๆ แล้ว ก็จะรู้ชัด
    เป็นความรู้ที่มีกำลัง มีอำนาจ ในการต่อสู้กับกิเลสตัณหา
    เรียกว่า ภาวนามยปัญญา

    ภาวนามยปัญญา ไม่ใช่ปัญญาที่เกิดขึ้นจากการขบคิดพินิจพิจารณา
    ตามเหตุผลในระดับสมอง หรือปัญญาที่เกิดขึ้นจากการได้ยิน ได้ฟัง
    เกิดความทรงจำ คิดได้พูดได้
    ที่เรียกว่า จินตามยปัญญา และ สุตตมยปัญญา

    แต่ภาวนามยปัญญานั้น อาศัยสติ และสมาธิที่หนักแน่น
    เข้าไปดูลึกๆ ภายในจิตจนเห็นอารมณ์ของตนเองอย่างชัดเจน
    ฉะนั้นการปฏิบัติธรรม คือการพยายามรักษาจิตตั้งเจตนาให้ถูกต้อง
    เพื่อทวนกระแสแห่งอารมณ์
    พยายามรักษาอารมณ์ให้รู้อยู่แต่อารมณ์ที่ ๑ คือผัสสะ
    เห็นก็สักแต่ว่าเห็น ได้ยินเสียงก็สักแต่ว่าได้ยิน รู้ก็สักแต่ว่ารู้
    แต่ถ้าหลุดไปเป็นอารมณ์ที่ ๒ คือเวทนา ก็อย่ายึดมั่นถือมั่น
    ชอบไม่ชอบอย่ายึดมั่นถือมั่น เช่นนี้ไปเรื่อยๆ

    อีกอย่างหนึ่งก็คือ เมื่อเกิดกระทบอารมณ์
    ก็พยายามให้ความรุนแรงของอารมณ์ลดลงๆ
    เช่น แต่ก่อนเมื่อกระทบอารมณ์ได้ยินเสียงนินทาปุ๊บ จิตก็แล่นไปถึง
    อารมณ์ที่ ๔ - ๕ - ๖ เลย คือเกิดเป็นอุปาทาน ภพ ชาติ ฯ
    ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ เกิดทุกข์เดือดร้อนเป็นเดือนเป็นปีก็มี
    การปฏิบัติคือการพยายามลดอารมณ์รุนแรงนี้ให้หยุดอยู่
    แค่อารมณ์ที่ ๓, ๒, ๑ ตามลำดับ

    เคยทะเลาะกับภรรยาแล้วอารมณ์ไม่ดีอยู่ ๕ - ๖ วัน
    ก็ให้ลดลงเหลือ แค่ ๑ วัน และต่อไปก็ไม่ต้องทะเลาะเลย เป็นต้น
    นี่คือการพยายามลดความรุนแรงของอารมณ์จากขั้นที่ ๖ - ๕ - ๔
    เป็น ๓ - ๒ - ๑ เป็นลำดับ และ เป็นการทวนกระแสแห่งอารมณ์

    เราต้องระมัดระวังและกลัวความรู้สึกนึกคิด
    ที่เกิดขึ้นภายในจิตใจของเรา

    เพราะเป็นมูลเหตุ ของบาปอกุศล และความทุกข์ทั้งปวง
    เมื่อจิตนึกไป คิดไป ปรุงแต่งไปเรื่อยๆ ตามอำนาจของกิเลสตัณหาแล้ว
    ก็จะแสดงออกมาเป็นการกระทำทางกาย ทางวาจา ในที่สุด

    ดังนั้น สิ่งที่น่ากลัวที่สุด เป็นอันตรายร้ายกาจที่สุด
    และเป็นศัตรูผู้จองผลาญก็อยู่ตรงนี้ ตรงที่ ความรู้สึกนึกคิดของตัวเราเอง
    เราจึงต้องไม่ประมาท
    เหมือนดังที่พระบรมศาสดาได้ทรงย้ำให้พวกเรารู้สึกตื่นตัวอยู่เสมอ
    เสมือนว่า กำลังอยู่ในห้องที่มีอสรพิษ คอยจ้องอยู่ตลอดเวลา


    (มีต่อ ๕)
     
  7. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="94%" align=center border=0><TBODY><TR><TD class=postbody vAlign=top><TABLE class=attachtable cellSpacing=0 cellPadding=2 width="95%" align=center border=0><TBODY><TR><TD align=middle colSpan=2>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE>ทุกข์ หรือ สุข มีค่าเท่ากัน

    โลกธรรม ๘ ธรรมที่ครอบงำสัตว์โลก และสัตว์โลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น คือ
    มีลาภ เสื่อมลาภ
    มียศ เสื่อมยศ
    มีสรรเสริญ มีนินทา
    มีสุข มีทุกข์

    ทั้งนี้ หลวงพ่อชาเคยให้โอวาทเปรียบเทียบไว้ว่า
    ผู้ใดยึดในทุกข์ ก็ประดุจโดนงูเห่ากัด
    ผู้ใดยึดในสุข ก็เสมือนจับงูเห่าข้างหาง
    และจะโดนมันแว้งกัดเอาในภายหลัง


    ดังนั้นความสุขกับความทุกข์ อารมณ์ชอบใจกับไม่ชอบใจนั้น จึงมีค่าเท่ากัน ถ้าหลงยึดเข้าแล้วก็ให้โทษแก่เราเหมือนๆ กัน
    เมื่อเราคุ้มครองจิตโดยอาศัย สติดี สัมปชัญญะดี ความพากเพียรถูกต้อง
    พรั่งพร้อมด้วยความเกรงกลัว ความละอายต่อบาป
    และความอดทนอดกลั้นต่ออารมณ์ที่รุนแรงแล้ว
    เราย่อมจะเป็นผู้อยู่เหนืออารมณ์ ด้วยจิตที่รู้ ตื่น และเบิกบาน

    รู้ว่า โลกธรรม ๘ เกิดขึ้นแล้วก็จะดับไป
    โดยที่ใจของเราไม่เกิดความหวั่นไหวคล้อยตามไปด้วย
    เปรียบเหมือนเราอยู่ในบ้านที่ปลอดภัย และอบอุ่น
    ไม่ว่าโลกภายนอกจะเป็นอย่างไร ฝนจะตกหรือแดดจะออก
    อากาศจะร้อนหรือหนาว บรรยากาศจะสงบนิ่งหรือมีพายุพัด
    เราเพียงแต่มองดูความเป็นไปจากทางหน้าต่างเท่านั้น

    โลกธรรมที่เกิดขึ้นกับเราก็เหมือนธรรมชาติ เหมือนลมฟ้าอากาศ
    เป็นสิ่งไม่อยู่ในอำนาจการควบคุมของเรา
    เราทำได้แต่เพียงพิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริง
    แล้วปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติอย่างนั้น

    แต่บางครั้งบ้านของเราก็เกือบจะพังเหมือนกัน
    เสื่อมลาภ เสื่อมยศ ถูกนินทา ได้รับทุกข์
    บางครั้งเราก็ถูกกระทบจากสิ่งเหล่านี้อย่างรุนแรง
    แต่เราก็ต้องอดทน และให้เวลาเป็นเครื่องแก้
    แม้จะเกิดความฟุ้งซ่านวุ่นวาย ความเดือดร้อนใจเพียงใดก็ตาม
    ให้ตั้งสติ พิจารณาทบทวนความคิดของตัวเองให้ถูกต้อง

    คิดให้เป็น คิดให้ดี คิดให้ถูก

    เมื่อคิดถูกต้อง สอดคล้องกับหลักธรรมแล้ว จิตใจของเราจะค่อยๆ เย็นลงเอง ข้อสำคัญมันจึงอยู่ที่ความคิด ถ้าคิดผิด เกิดความทุกข์ทันที
    แต่ถ้าคิดดี คิดถูก ก็ให้ความสุขแก่ตนเองได้
    อย่างนี้เรียกว่า ใจเป็นศีล
    คือ ตั้งเจตนาให้ถูกต้องต่อความรู้สึกนึกคิดทั้งปวง

    เรื่องนี้อาจจะเป็นเรื่องยากสำหรับคนส่วนใหญ่
    แม้จะมีศรัทธามาก เคยฟังเทศน์ฟังธรรมบ่อยครั้ง
    หรือศึกษาปฏิบัติธรรมมานานมากแล้ว ก็ยังอาจจะจับหลักไม่ได้
    เพราะธรรมะยังไม่เข้าถึงใจ นั่นเอง

    เมื่อใดก็ตามที่ประสบกับความทุกข์ เราต้องนึกถึงพุทธภาษิต
    ที่เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนา ที่ว่า
    "ธรรมเหล่าใดเกิดแต่เหตุ ธรรมเหล่านั้นย่อมดับไปด้วยเหตุ"


    (มีต่อ ๖)
    </TD></TR><TR><TD> </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  8. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328

    [​IMG]

    เหตุอยู่ที่ใจของเรา

    พระบรมศาสดาทรงสอนการเกิดและการดับของธรรมทั้งหลายทั้งปวง
    โดยสรุปรวมอยู่ในหลักอริยสัจ ๔ คือ
    ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
    ความทุกข์ความไม่สบายใจอยู่ที่ไหน
    อยู่ในใจของเรานี้เองใช่ไหม
    ทุกข์อยู่ที่ไหน เหตุก็อยู่ที่นั่น
    เมื่อทุกข์เกิดแต่เหตุ ท่านจึงสอนให้ละเหตุอันนั้น
    ฟังให้ดีๆ นะ ท่านให้ละสมุทัย ละเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
    แต่บางคนเข้าใจผิด ไปโทษปัจจัย
    ทั้งๆ ที่ความจริงแล้ว เหตุกับปัจจัยไม่ใช่อย่างเดียวกัน

    เช่น ถ้าใครนินทา เราเกิดความรู้สึกน้อยใจ ไม่สบายใจ เป็นทุกข์
    ตามธรรมดาเราก็มักจะคิดไปว่า ทำไมเขาพูดอย่างนั้น
    เราได้ช่วยเหลือ ทำดีกับเขาอย่างโน้นอย่างนี้แล้ว
    เขาไม่น่าจะพูดถึงเราอย่างนั้นเลย
    จากนั้นเราก็คิดไปเรื่อยๆ คิดแล้วก็ยิ่งไม่สบายใจ
    คิดแล้วก็ยิ่งเกิดความรู้สึกน้อยใจ คิดแล้วก็ยิ่งเกิดความทุกข์
    ในที่สุดก็เกิดความอาฆาตพยาบาท
    อย่างนี้เรียกว่า คิดผิด

    ท่านสอนว่า ให้แก้ที่เหตุ คือแก้ที่กิเลสตัณหา อุปาทานของตัวเอง
    สิ่งที่ได้ยินได้ฟังแล้วไม่ถูกใจเรานั้น เป็นเพียงปัจจัยภายนอก
    ไม่ใช่สิ่งที่เราจะห้ามได้ เราแก้ไขสิ่งที่อยู่ภายนอกไม่ได้
    แม้แต่พระพุทธองค์ก็ทรงแก้ไขไม่ได้ พระองค์ให้ทรงแก้ที่เหตุ
    และเหตุก็อยู่ที่ใจของเรานี่เอง

    เราอาจจะเปรียบได้ กับการเพาะปลูกพันธุ์ไม้ชนิดหนึ่ง
    เมล็ดพันธุ์นี้เป็นเหตุ เมื่อปัจจัย คือ น้ำ แสงสว่าง และอุณหภูมิ
    พรั่งพร้อมพอเหมาะ เมล็ดก็จะงอก
    และแตกหน่อออกมาเป็นต้นไม้
    กล่าวคือ เมื่อเหตุดีและปัจจัยพร้อมพอดี
    ก็จะเกิดดอกออกผลขึ้นในที่สุด

    ถ้าเราไม่ต้องการดอก ผล หรือต้นไม้ ก็ทำลายเมล็ดพันธุ์
    หรือต้นไม้นั้นเสีย ก็จบเรื่อง คือ ทำลายเหตุ ผลก็ไม่เกิด
    ไม่ใช่ว่าพยายามไปแก้ที่ปัจจัย ที่ธรรมชาติ เช่นไม่ให้มีฝนตก
    ไม่ให้มีแสงสว่าง ไม่ให้มีอุณหภูมิพอเหมาะ หรืออื่นๆ
    ถ้าทำอย่างนั้น เราจะเหนื่อยเปล่าๆ

    เมื่อเราได้เห็นได้ยินอะไรแล้ว ให้น้อมเข้ามาสู่ใจของเรา
    เพื่อพิจารณาดูที่เหตุ ตรงที่รับอารมณ์ ตรงที่มีความรู้สึกชอบใจ

    หรือไม่ชอบใจ แล้วกำหนดรู้ ให้เป็นสักแต่ว่าความรู้สึก
    เพียงเท่านี้ทุกอย่างก็จบ
    ไม่เกิดเป็นปัญหา ไม่เกิดทุกข์
    พูดง่ายๆ คือ ไม่ต้องนึกคิดปรุงแต่งนั่นเอง

    ความรู้สึกนั้นเป็นของที่ไม่แน่นอน ไม่เที่ยงแท้
    เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เราควรระมัดระวังจิตที่นึกคิดทะยานอยาก
    จนเป็นตัณหาขึ้นมานี้ให้ดี
    ถ้าเราควบคุมจิตได้ ตัณหาก็จะไม่เกิด
    ตัณหาเกิดจากเหตุภายในของตัวเอง
    เมื่อเกิดอารมณ์ ก็ให้รีบกำหนดรู้
    เป็นสักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่าได้เห็น เป็นอารมณ์ที่หนึ่ง

    ถ้าไม่สามารถหยุดอยู่ในอารมณ์ขั้นนี้ได้
    จิตก็จะปรุงแต่งไปเป็นอารมณ์ที่สอง คือ
    เกิดความรู้สึกชอบใจ หรือไม่ชอบใจ เป็นเวทนาขึ้นมา
    และถ้าไกลออกไปจากนี้อีกก็จะเป็นอารมณ์ที่สาม
    เกิดเป็นความนึกคิดทะยานอยาก

    เพื่อจะไม่ให้เกินอารมณ์ที่สามออกไปอีก
    คือ แม้จะนึกคิดทะยานอยากไปอย่างโน้นอย่างนี้ ก็หยุดเอาไว้เสีย
    ไม่ยึดถือเป็นจริงเป็นจัง จนกระทั่งเป็นอุปาทานขึ้นมา
    อย่างนี้ก็จะยังไม่เกิดทุกข์
    เรียกได้ว่ามีใจเป็นศีล ใจเป็นธรรม มีจิตใจที่เข้าถึงอริยสัจ
    มีความตั้งใจดี ตั้งใจถูก หรือว่าคิดถูกนั่นเอง

    คำว่า "คิดถูก" นี้ ฟังดูแล้วเหมือนจะง่าย
    แต่เมื่อเกิดขึ้นกับตัวเอง เกิดอารมณ์ครอบงำจิตใจของตัวเองแล้ว
    ก็เป็นเรื่องยากที่จะคิดให้ถูกได้
    เราจึงต้องปฏิบัติจนเกิดปัญญา เห็นโทษของกิเลสในตัวเองนั่นแหละ
    จึงจะคิดถูกได้อย่างแท้จริง

    สำหรับอาตมานั้น ปัจจุบันบวชมาได้ ๑๖ พรรษาแล้ว (พ.ศ. ๒๕๓๔) ในพรรษาที่ ๔ นั้น หลวงพ่อชายังแข็งแรงดีอยู่ ท่านส่งอาตมาไปจำพรรษาที่วัดถ้ำแสงเพชร อำเภออำนาจเจริญ จังหวัดอุบลราชธานี ช่วงนั้นถือว่ายังบวชใหม่ๆ ศรัทธาก็เต็มที่ สนใจการปฏิบัติทุกรูปแบบ เช่น อดอาหาร ฉันแต่น้ำฝนอย่างเดียวเป็นเวลา ๓๐ วัน เพื่อปรารภความเพียร เป็นต้น การปฏิบัติอย่างนี้ก็ได้ประสบการณ์แปลกๆ หลายอย่างเหมือนกัน แต่ที่มีประโยชน์มากที่สุด คือ ได้เห็นอารมณ์เรื่องอาหารอย่างชัดเจน

    ตามธรรมดาเมื่อเราเกิดอารมณ์ หรือเกิดตัณหาทะยานอยาก ก็มักจะเกิดความคิดเป็นมโนภาพขึ้นในจิตใจ โดยถือว่าเป็นความสุขของเรา เช่น เมื่อหิวข้าว ก็คิดไปตามตัณหา โดยคิดเรื่องอาหาร อย่างไหนอร่อย ร้านไหนทำอร่อย เป็นต้น ถ้ามีเพื่อน ก็พูดคุยกันถึงเรื่องเหล่านี้อย่างมีความสุข

    เมื่อเราคิดเรื่องอาหาร ร่างกายของเราก็ผลิตน้ำย่อยออกมา ทำให้แสบท้อง เกิดความทุกข์ทางกายและทางใจเพิ่มขึ้นมาอีก แต่เมื่อไม่คิดก็ไม่เป็นอะไร

    นี้เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ความคิดนี้มีโทษ ความคิดนี้เป็นสมุทัยคือ เหตุให้เกิดทุกข์ ทั้งทางกายและทางใจโดยแท้

    เมื่อใดที่ยังไม่คิดก็ไม่เป็นไร ต่อเมื่อคิดเท่านั้น ถึงจะเป็นทุกข์ จึงทำให้รู้ว่า การคิดตามตัณหานี่เอง ที่เป็นเหตุให้เกิดทุกข์ เลยกลัวความคิดของตัวเอง พอกลัวมากๆ ก็ส่งผลให้สติว่องไว และปัญญาคมกล้าขึ้น จนกระทั่งตัดได้เลย คือนึกเมื่อไรก็ตัดได้เมื่อนั้น มีลักษณะรู้เท่าทันอารมณ์ในช่วงนั้น แต่ก็เฉพาะเรื่องอาหาร เรื่องอย่างอื่นยังเฉื่อยชาอยู่ เพราะจิตยังไม่เห็นโทษของกิเลส

    การรู้จักสังเกตอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองนี้ จึงสำคัญมาก
    ทำให้เกิดปัญญา เป็นการพิจารณาใคร่ครวญธรรมะขึ้นมา
    และถ้ามีความพากเพียรในการเจริญสติ สัมปชัญญะ
    ก็จะเกิดกำลังในการรู้เท่าทันอารมณ์ขึ้นมาเอง

    เมื่อกำลังโกรธ เรารู้อยู่ว่าไม่น่าจะโกรธ
    แต่บางทีสอนใจตัวเองอย่างไร ก็ไม่หายโกรธ
    เหตุที่เป็นอย่างนี้ ก็เพราะรู้อยู่ แต่ยังรู้ไม่ทัน รู้ไม่เท่าความจริง



    (มีต่อ ๗)
     
  9. paang

    paang เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 เมษายน 2005
    โพสต์:
    9,492
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +34,328

    [​IMG]



    รู้เท่า-ทันอารมณ์

    การดูอารมณ์นี้ เราจะต้องดูให้รู้เท่าทันอารมณ์ด้วย
    ที่ว่า รู้เท่าทัน นี้ มีความหมายลึกซึ้ง คือ
    รู้ทันอารมณ์เท่านั้นยังไม่พอ
    ต้อง รู้ทัน แล้วก็ รู้เท่า อารมณ์ด้วย

    รู้เท่า เป็นเรื่องของปัญญา
    รู้เท่าตามความเป็นจริงว่า สิ่งนี้มีโทษ เป็นของไม่แน่นอน
    เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
    หรือ เอาจริงเอาจังจนเกิดเป็นตัณหาอุปาทานขึ้นมา

    ปัญญานี้เปรียบประดุจดาบ
    สามารถตัดทำลายต้นตอของปัญหาได้
    เหมือนกับว่า มีขโมยเข้ามาในบ้านของเรา เรารู้ทันแล้ว
    แต่บางทีก็ยังจับตัวไม่ได้ เพราะเขามีกำลังมีอาวุธมากกว่า

    เราจึงต้องมีอาวุธที่เหนือกว่าเขา จึงจะจับเขาได้
    อารมณ์ก็เช่นเดียวกัน ถ้าเรามีสติรู้ทัน มีปัญญารู้เท่า
    ก็จัดการได้ถูกวิธีโดยไม่มีปัญหา
    การเผชิญหน้ากับอารมณ์นั้น สติกับปัญญา
    ต้องทำงานร่วมกัน จึงจะเกิดผล

    โดยสรุปแล้ว ในการปฏิบัติธรรมนั้น
    ไม่ว่าจะเกิดอารมณ์ที่ชอบใจ หรือไม่ชอบใจก็ตาม
    ให้เรากำหนดรู้อารมณ์นั้น โดยมีสติรู้ทัน มีปัญญารู้เท่า
    ว่าสิ่งเหล่านี้มีโทษ ยึดถือเข้าไปแล้วเป็นอันตราย
    เป็นทุกข์ในภายหลัง
    เมื่อจิตรู้อย่างนี้แล้ว
    จิตก็จะปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่นเหล่านั้นไปเอง

    ตรงตามพุทธประสงค์ว่า
    "เย จิตฺตํ สญฺญเมสฺ สนฺติ โมกฺขนฺติ มารพนฺธนา"
    ผู้ใดรู้จักควบคุมจิตของตน ผู้นั้นจักพ้นจากบ่วงแห่งมาร


    ด้วยการปฏิบัติดังนี้เอง ที่จะเป็นการสร้างเหตุชักนำตัวเรา
    ให้ไหลไปสู่กระแสธารแห่งธรรมะ
    มีสภาวะจิตที่อยู่เหนืออารมณ์


    สามารถอยู่ในโลกได้อย่างชนิดที่ไม่โดนเขี้ยวของโลกขบกัด
    และประสบความสงบสุขในชีวิตอย่างยั่งยืนยาวนาน
     

แชร์หน้านี้

Loading...