สงสัยการฝึก กสิณสีครับ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย gigkok_man, 9 กันยายน 2010.

  1. จื่อหลิง

    จื่อหลิง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    294
    ค่าพลัง:
    +698
    พี่น้ำใส ลูกแก้วสวยจัง
     
  2. pipat551

    pipat551 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    88
    ค่าพลัง:
    +345
  3. gigkok_man

    gigkok_man Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +37
    ....ยินดีเช่นกันครับ หวังว่าอาจได้เจอกันภายพากหน้า ถ้าบุญวาสนาเราถึงกัน รวมถึงทุกคนในเว็บนี้ด้วยนะครับ
    .....ขออนุโมทนาบุญกับทุกๆท่านครับผม..
     
  4. อสีสัตติ

    อสีสัตติ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    19
    ค่าพลัง:
    +37
    ได้ก็ไม่ดีใจ ไม่ได้ก้อไม่เสียใจ
    ไม่รีบไม่เร่ง ไม่ทะยานอยากได้
    ถึงก้อช่าง ไม่ถึงก้อช่าง
    เดินไปเรี่อยๆ มุ่งสู้ทางสงบ
    เหนื่อยก้อพัก หิวก้อกิน
    แม้วันนี้ไม่สงบ พรุ้งนี้ต้องสงบ
    พรุ้งนี้ไม่สงบ วันหนึ่งข้างหน้าต้องสงบ
    ขอเพียงอย่าหยุดเดิน..
    ผมใช้หลักนี้ครับ....
     
  5. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    ต้องขออภัยถ้าหากคำตอบผมไม่ชัดเจนสำหรับคุณ มีคนมาช่วยเหลือให้คำแนะนำเยอะเลย แล้วตอนนี้คุณหมดสงสัยหรือยัง
     
  6. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    สาเหตุของอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน)

    เจตโสอวูปสมะ

    ในพระไตรปิฎก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้กล่าวถึงสาเหตุของความฟุ้งไว้ว่า "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นธรรมอื่นสักอย่างหนึ่ง ซึ่งเป็นเหตุเกิดขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่ยังไม่เกิดก็ดี เป็นเหตุเป็นไปเพื่อความยิ่งใหญ่ขึ้นแห่งอุทธัจจกุกกุจจะที่เกิดแล้วก็ดี เหมือนดังเจตโสอวูปสมะ (ความไม่เข้าไปสงบแห่งจิตด้วยสมถะและวิปัสสนา)"
    คือใจของคนเราถ้าไม่สงบ เช่น ตกใจกลัว มีความหวาดเสียว มีความกังวล ผิดหวัง มีความสะเทือนใจ เมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นใจก็ไม่สงบ เหมือนกับคลื่นในมหาสมุทร ไม่สงบ มีระลอกคลื่นอยู่ตลอดเวลา ความที่ใจไม่สงบนี้เอง เป็นต้นเหตุให้ใจเกิดอุทธัจจะกุกกุจจะ ความฟุ้งซ่านและความรำคาญ

    ปลิโพธ (ความกังวล)

    นอกจากนี้ในคัมภีร์วิสุทธิมรรค ยังได้กล่าวถึงปลิโพธ หรือเครื่องกังวล ว่าเป็นเหตุทำให้ใจฟุ้งซ่าน นั่งสมาธิไม่ได้ผล ซึ่งมีอยู่ 10 ประการ คือ
    1. อาวาสปลิโพธ ความกังวลห่วงใยในที่อยู่
    2. กุลปลิโพธ ความกังวลห่วงใยในตระกูล
    3. ลาภปลิโพธ ความกังวลห่วงใยในเรื่องการได้ทรัพย์สมบัติ
    4. คณปลิโพธ ความกังวลห่วงใยในหมู่คณะ
    5. กัมมปลิโพธ ความกังวลห่วงใยในกิจการงานต่างๆ
    6. อัทธานปลิโพธ ความกังวลห่วงใยในการเดินทาง
    7. ญาติปลิโพธ ความกังวลห่วงใยในเครือญาติ
    8. อาพาธปลิโพธ ความกังวลห่วงใยในความป่วยไข้
    9. คันถปลิโพธ ความกังวลห่วงใยในการศึกษาเล่าเรียน
    10. อิทธิปลิโพธ ความกังวลห่วงใยในอิทธิฤทธิ์

    1. กังวลเรื่องที่อยู่
    บรรดาปลิโพธทั้ง 10 นี้ อาวาสปลิโพธ หมายถึง ความกังวลในที่อยู่อาศัย เช่น ห้องนอน หรือบ้านเรือน ซึ่งที่อยู่อาศัยท่านจัดเป็นความกังวล ซึ่งทำให้ต้องมีภาระรับผิดชอบ เช่นต้องไปบำรุงรักษา ให้มันอยู่ในสภาพดี หรือถ้าเป็นวัตถุที่ก่อให้เกิดความยึดถือ หรือถ้ามันกระตุ้นให้สะสมของใช้ส่วนตัวชนิดต่างๆ ในการเจริญสมาธิจะต้องตัดการยึดถือเรื่องความสะดวกสบายในที่อยู่ทั้งหมดออกไป และในตอนเริ่มต้นต้องมีความสงบส่วนตัว และยอมขาดแคลนสิ่งจำเป็นบางอย่าง

    โทษแห่งการอยู่บ้าน

    ในคัมภีร์พุทธวงศ์ นักพรตชื่อสุเมธ ได้ออกจากบ้านเรือนอันหรูหราของตนและไปยังภูเขาธรรมกะ ในเทือกเขาหิมาลัย เพื่อปฏิบัติสมาธิ ณ ที่นั้น เขาพบกระท่อมหลังหนึ่งทำด้วยใบไม้ แต่เขารำพึงว่า มีโทษแห่งการอยู่ในบ้านอยู่ 8 อย่าง แม้ว่าจะเล็กน้อยหรือเป็นธรรมดาอย่างไรก็ตาม โทษเหล่านั้นพระอรรถกถาจารย์ท่านกล่าวไว้ดังต่อไปนี้
    1. การพบและการสร้างบ้านเรือนก่อให้เกิดความลำบาก
    2. บ้านเรือนจะต้องซ่อมแซมเสมอ
    3. จะต้องสละให้แก่พระเถระรูปใดๆ
    4. บ้านเรือนทำให้ร่างกายอ่อนแอและเบาบาง โดยป้องกันไม่ให้ร่างกายถูกความหนาว-ร้อน
    5. บ้านเรือนให้โอกาสคนทำความชั่ว
    6. บ้านเรือนก่อให้เกิดความโลภ เพราะจิตคิดอยู่เสมอว่า มันเป็นของฉันŽ
    7. การอยู่ในบ้านเรือนเหมือนกับมีเพื่อนคอยก่อความลำบากให้ตน
    8. บ้านเรือนจะต้องมีสัตว์อื่นๆ มาร่วมอยู่อาศัย บ้านจึงเป็นที่รองรับสัตว์ผู้ทำลายทั้งหลายและสิ่งอื่นทำนองนี้
    ประโยชน์ 10 ประการแห่งการอยู่โคนต้นไม้

    ต่อไปเขาก็รำพึงถึงประโยชน์ 10 ประการ ซึ่งเกิดจากการอยู่ภายใต้ต้นไม้ดังนี้
    1. สามารถจัดหาต้นไม้ได้โดยง่าย สิ่งที่จำเป็นก็คือจะต้องไปยังต้นไม้ต้นใดต้นหนึ่ง
    2. ไม่ต้องเอาใจใส่มากนัก สามารถกวาดพื้นดินและทำให้เหมาะสมและใช้การได้
    3. ปราศจากสิ่งรบกวน
    4. ไม่ต้องมีสิ่งปิดบัง อันเป็นเหตุให้ทำความชั่วได้
    5. ร่างกายไม่ถูกแสงแดดในอากาศกลางแจ้ง แต่ก็เป็นที่กำบังบ้างพอสมควร
    6. ไม่มีความคิดที่จะเป็นเจ้าของ
    7. ความอยากอยู่ครองเรือนถูกตัดออกไป
    8. ไม่ต้องมีรั้ว จึงเหมือนกับบ้านที่คนอื่นก็สามารถมาอยู่ได้
    9. ผู้ที่อยู่ใต้ต้นไม้ย่อมได้รับความสุขและความสันโดษ
    10. ผู้เจริญสมาธิจะพบต้นไม้ได้ทุกแห่งที่ไป จึงไม่จำเป็นต้องคิดเรื่องที่อยู่อาศัย

    คำกล่าวของนักปราชญ์

    นักปราชญ์ทั้งหลายจึงกล่าวว่า
    1. "แล้วข้าพเจ้าก็ละทิ้งกระท่อมมุงด้วยใบไม้ซึ่งเต็มไปด้วยสิ่งชั่วร้ายทั้งหลาย 8 ประการ และก็เข้าไปหาโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ซึ่งให้คุณธรรม 10 ประการ"
    2. "ข้าพเจ้าไม่อนุญาตให้หว่านหรือปลูกพืช เพื่อใช้เป็นอาหารของข้าพเจ้า แต่ผลไม้ที่หล่นจากต้นไม้ให้ประโยชน์มากมายแก่ข้าพเจ้า"
    3. "ข้าพเจ้าบำเพ็ญเพียรฝึกสมาธิ นั่ง ยืน และเดินไปมา ข้าพเจ้าได้บรรลุอภิญญาก่อนที่ 7 วันจะผ่านไป"
    การบำเพ็ญสมาธิ ซึ่งเป็นความสำเร็จอันแท้จริงในการฝึกจิต จำเป็นจะต้องมีความพยายามอันแรงกล้าและความสงบสงัดเต็มที่ ห่างจากฝูงชนที่ส่งเสียงดังและไม่สงบ

    2. ความกังวลเรื่องตระกูล
    ครอบครัว หรือตระกูล หมายถึงเครือญาติหรือผู้อุปถัมภ์ค้ำชูทั้งหลาย บุคคลผู้อยู่ใกล้ชิดกับครอบครัวของเครือญาติ หรือผู้อุปถัมภ์ของตน อาจพบว่า เครือญาติดังกล่าวเป็นอุปสรรค เพราะว่าเมื่อบุคคลมีความเกี่ยวข้องกับเครือญาติอย่างใกล้ชิด ถึงกับว่าเมื่อเครือญาติมีความสุขก็มีความสุขด้วย และเมื่อเครือญาติมีทุกข์ก็เป็นทุกข์ด้วย เมื่อไม่มีเครือญาติเหล่านั้น ดังนั้นจึงจำเป็นต้องปลีกออกจากเครือญาติ และตัดความกังวล โดยคิดว่า เมื่อเรานั่งสมาธิเสร็จ ก็ต้องไปพบไปเห็นกันอีก จึงควรตัดความกังวล ถ้าตัดไม่ได้ จิตก็ไม่สงบ

    3. ความกังวลเรื่องทรัพย์สมบัติ
    ปัจจัย 4 คือ เครื่องนุ่งห่ม อาหาร ที่อยู่ และยารักษาโรค ถ้าบุคคลได้สิ่งเหล่านี้มา ก็จะต้องเสียเวลาในการดูแลรักษา คอยระมัดระวัง บางครั้งอาจต้องใช้เวลาทั้งวันในงานสังคม ซึ่งทำให้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรม หรือบางคนอาจคิดว่า เมื่อเรามานั่งสมาธิ การค้าขาย ซึ่งเคยได้กำไร สิ่งที่เคยทำเคยได้ผลกำไรอยู่ก็อาจจะหมดไป เงินทองของเราก็จะร่อยหรอไป เมื่อคิดอย่างนี้ก็ไม่มานั่งสมาธิ เพราะฉะนั้น ต้องตัดความกังวลในลาภสักการะหรือทรัพย์สมบัติที่หามาได้นี้ เพราะสิ่งเหล่านี้เมื่อเรามีคุณความดี มีสิ่งที่เราได้รับในทางใจแล้วก็เกิดขึ้นได้เอง และทรัพย์สมบัติเหล่านั้น ก็ไม่ใช่จุดมุ่งหมายที่แท้ เพราะยังอาจนำภัยมาให้ด้วย

    4. ความกังวลเรื่องหมู่คณะ
    คือมีความกังวลถึงคนที่ตัวมีความเกี่ยวข้อง เช่น เป็นครูก็คิดถึงลูกศิษย์ หรืออยู่ในสำนักงานก็คิดถึงผู้เกี่ยวข้องในการงาน บางทีผู้นั้นเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่มีผู้ดูแล ก็จะทำให้จิตมีความกังวล จิตก็ไม่อาจสงบได้ เพราะฉะนั้น จะต้องตัดความกังวลในข้อนี้ให้ได้

    5. ความกังวลเรื่องกิจการงานต่างๆ
    กิจกรรมต่างๆ ที่อ้างถึงในที่นี้เป็นภาระที่จำเป็นจะต้องทำ เช่นการซ่อมบำรุงอาคารสถานที่ การสร้างอาคารใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องเช่นนี้ จะต้องรู้ว่าช่างไม้และคนงานอื่นๆ ได้ทำงานที่ได้รับมอบหมายไปแล้วหรือยัง และเขาจะต้องยุ่งอยู่กับกิจกรรมน้อยใหญ่ ดังนั้น กิจกรรมเหล่านั้นจึงเป็นปลิโพธ ที่จะต้องตัดออกไป บางท่านเป็นชาวสวน ชาวไร่ ก็คิดว่า ตอนนี้ฝนไม่ตก น้ำก็ไม่มี กังวลว่าสวนจะเสียหาย ถ้าค้าขายก็คิดว่า การค้าขายจะเสียหาย ถ้ามานั่งสมาธิ จะไม่มีคนดูแล โดยทำนองดังนี้ ถ้างานที่จะต้องทำมีอยู่เล็กน้อย ก็ควรรีบทำให้เสร็จ แต่ถ้ามีมาก หรือเป็นงานสาธารณประโยชน์ที่มีงานติดพัน ถ้าหากสามารถหาผู้มีความรู้ความสามารถให้ดูแลแทนได้ก็ควรมอบให้เป็นภาระแก่ผู้นั้น เพื่อเราจะได้มีโอกาสทำสมาธิบ้าง และเมื่อปลีกตัวมาแล้ว ก็ให้ตัดกังวล อย่าไปคิดถึงอยู่ในขณะที่เรากำลังนั่งภาวนา เพราะเป็นตัวกันไม่ให้จิตสงบได้

    6. ความกังวลเรื่องการเดินทาง
    หมายถึง การเดินทางไกลก็จะเหนื่อยอ่อน ทำให้ไม่สามารถนั่งสมาธิได้ดี เช่น เตรียมตัวเดินทางไปต่างจังหวัดบ้าง ต่าง ประเทศบ้าง ก็มีความกังวลเรื่องการเดินทาง ยิ่งเดินทางไกลเพียงใด ความกังวลก็มีมากเพียงนั้น เพราะฉะนั้น ผู้นั่งสมาธิต้องตัดความกังวลเรื่องการเดินทางเสีย เมื่อนั่งสมาธิแล้ว ทำตามกำหนดแล้วก็เดินทาง

    7. ความกังวลเรื่องเครือญาติ
    ความกังวลในข้อนี้เป็นความกังวลที่อาจตัดได้ง่าย เพราะทุกคนเกิดมาต่างก็มีพ่อแม่ ญาติ พี่น้อง ซึ่งถ้ามีการป่วย หรือความลำบากเกิดขึ้นแก่ญาติเหล่านั้น ก็เป็นปลิโพธสำหรับผู้ปฏิบัติ ทำให้ต้องคอยกังวลว่า ใครจะดูแลพ่อแม่ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องนั้น เป็นต้น ดังนั้น ผู้ปฏิบัติควรตัดความกังวล ทำให้เขาหายป่วยด้วยการดูแลรักษาเยียวยาให้หาย หลังจากหายจึงควรไปเจริญสมาธิภาวนา

    8. ความกังวลเรื่องความป่วยไข้
    โรคที่เกิดขึ้น เราต้องรีบบำรุงรักษาให้หาย แต่บางท่านรักษาไม่หาย เพราะบางคนเป็นโรคชนิดเรื้อรัง โรคบางอย่างเราควรรักษาให้หายเสียก่อน แล้วมาปฏิบัติกรรมฐาน แต่โรคหรือการป่วยไข้บางอย่างนั้น เราจะรอให้หายแล้วมาปฏิบัติกรรมฐานนั้นเป็นไปไม่ได้ เราทุกคนเกิดมา ย่อมมีการป่วยไข้เป็นธรรมดา เพราะถือว่าการป่วยไข้ ไม่ใช่อุปสรรคอย่างสำคัญต่อการปฏิบัติ แต่จะทำให้ได้พิจารณาสภาพธรรม เห็นความไม่เที่ยงได้ชัด เพราะฉะนั้น ความกังวลเรื่องป่วยไข้ถือว่าเป็นตัวอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมของเรา เว้นไว้แต่เราป่วยหนักจริงๆ ตรงนี้ก็ไม่เป็นไร

    9. ความกังวลเรื่องการศึกษา
    การเอาใจใส่ หรือท่องบ่นบางสิ่งบางอย่างจัดเป็นความกังวล นอกจากนี้บางทีก็คำนึงถึงบทเรียนที่ครูให้ทำ ส่งผลมีความกังวล เราก็จะต้องตัดกังวล คิดว่าการปฏิบัติสมาธิจะช่วยทำให้การศึกษาดีขึ้น ทั้งด้านความจำ และความคิด

    10. ความกังวลเรื่องอิทธิฤทธิ์
    การที่บุคคลมีจิตตั้งมั่น สามารถได้หูทิพย์ ตาทิพย์ สามารถแสดงความสามารถพิเศษต่างๆ ได้ ทำให้มีคนมาพบปะ มาขอให้ช่วยเหลือมาก ทำให้เกิดความกังวลได้
    ความกังวลทั้ง 10 ข้อนี้ หากเกิดขึ้นในใจ และไม่สามารถตัดความกังวลไปได้ แม้จะพยายามทำสมาธิตลอด ก็อาจจะไม่ประสบความสำเร็จได้
    ความกังวลนี้เป็นนิวรณ์ชนิดหนึ่ง นิวรณ์ชนิดนี้เป็นนิวรณ์ที่ทำให้ใจของเราส่ายอยู่ ฟุ้งซ่านอยู่ตลอดเวลา เพราะฉะนั้น เราต้องตัดความกังวลนี้ นอกจากนี้ ก็ควรตัดความกังวลเล็กๆน้อยๆ เช่น ถ้าหากเสื้อผ้าสกปรกก็ซักเสีย ร่างกายไม่สะอาดก็ให้อาบน้ำเสีย ให้จิตใจสบาย ห้องไม่สะอาดก็กวาดให้เรียบร้อย สถานที่บริเวณไม่เรียบร้อยก็เก็บกวาดให้เรียบร้อย เพื่อจิตใจจะได้มองแล้วแช่มชื่นสบาย ให้ตัดความกังวลเล็กๆ น้อยๆ ด้วย

    ...ถ้าฟุ้งมากก็ลองตัดกังวลดูนะครับเผื่อจะใช้ได้ในกรณีของคุณครับ...
     
  7. gigkok_man

    gigkok_man Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +37
    ต้องขออภัยถ้าหากคำตอบผมไม่ชัดเจนสำหรับคุณ มีคนมาช่วยเหลือให้คำแนะนำเยอะเลย แล้วตอนนี้คุณหมดสงสัยหรือยัง<!-- google_ad_section_end -->
    ........
    ..........ก็ตอนนี้ก็มีปัญหาครับ คือ
    ..............ผมอยู่ห้องเช้าซึ่งก็มีรถวิ่งเข้าออกอยู่เรื่อยๆเพราะที่นั่นคนโรงงานอยู่กันเยอะ ก็มัปัญหาเรื่องเสียงเนี่ยละครับ..เวลาติดเครื่องรถมอไซค์หรือคุยกันไม่เท่าไหร่ แต่เวลาปิดประตูนี่สิ ไม่เกรงใจกันเลยคนเรา ปึง ปัง .โอ๊ย ผมโดนไปทีหัวใจแทบวาย อันตรายจริงๆ หัวใจเต้นเร็วมากเมื่อสะดุ้งอ่ะครับ ยิ่งดึกยิ่งเงียบ ยิ่งเงียบเสียงอะไรก็ยิ่งดังครับ จะแก้ไขอย่างไรครับ เอาสำลีอุดหูดีมั้ย มันก็ยังได้ยินอ่ะครับ
    .....และก็เวลานั่งสมาธิ มันชอบง่วงอ่ะครับ มันทำให้จิตไม่มีมีพลัง ถึงไม่ได้คิดฟุ้งซ่านก็ตาม แต่ก็ตั้งมั่นเอาจิตไปกำหนดลมหายใจเข้าออกที่ปลายจมูกได้ยากจังครับ เพราะยิ่งสงบลมหายใจก็รู้สึกว่ามันเบามากอ่ะครับ จะไม่ค่อยรู้สึกที่ปลายจมูก แล้วก็หายใจเข้า ออก ก็นานกว่าปกติเยอะครับ บางทีเหมือนหายใจไม่ออกอ่ะครับ ต้องรีบสูดลมหายใจขึ้นมา เมื่อวานก่อนมีความรู้สึกว่าเหมือนผมนอนทำสมาธิแต่นั่งขัดสมาธอยู่เนี่ยแหล่ะ ( พอนึกออกมั้ยครับว่า เรานอนแต่นอนท่านั่งขัดสมาธอยู่อ่ะครับ) ที่รู้สึกอย่างนั่นเพราะเหมือนมีแรงกดทับหรือแรงดึงดูดของโลกอยู่ทางนั้นอ่ะครับ ตอนแรกเป็นทางขวาสักพักใหญ่ ต่อมาก็เลื่อนเป็นทางซ้ายสักพักใหญ่ และก็เหมือนนั่งสมาธิกลับหัวเลยครับทีนี้ สักพักใหญ่อีก และก็เหมือนตัวลอยๆ หวิวๆ ยังไงไม่รู้ เหมือนจะตกจากที่สูงครับ ผมเลยรีบดึงกลับมากำหนดจิตที่จมูกใหม่ แล้วก็ไม่มีอีกเลย ก็ไม่เข้าใจ
    .....และก็เวลานั่งร่างกายชอบกระตุก เช่น ตา คิ้ว หู แขน กล้ามเนื้อต่างๆอ่ะครับ แต่ผมก็ไม่ได้สนใจมันนะ และบางทีมีอาการเกร็ง ที่ขาหรือแขน ผมไม่ได้ตั้งใจเกร็งนะ เพราะมารู้อีกทีมันเกร็งไปแล้วครับ ก็ไม่เข้าใจ
    .....แล้วทำอย่างไรให้ไม่ง่วงและตั้งมันในจิตอยู่ตลอดเวลา และเวลาในการทำสมาธิของผมมัน มากไปหรือน้อยไปครับ ผมเริ่มสวดมนต์ประมาณ 5ทุ่ม-5ทุ่มครึ่ง และก็นั่งสมาธิตั้งแต่นั้นเป็นต้นไป โดยไม่กำหนดเวลา ก็ประมาณเอาว่านั่งพอละดูนาฬิกาประมาณตี1 แล้วก็นอนทำสมาธิต่อ จนกว่าง่วงไม่ไหวและหลับไปเอง ซึ่งตอนไหนไม่รู้
    ......ผมควรทำอย่างไร แก้ไขตรงไหน หรือปรับเปลี่ยนอะไร ช่วยชี้แนะด้วยครับ
     
  8. gigkok_man

    gigkok_man Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +37
    สาเหตุของอุทธัจจกุกกุจจะ (ความฟุ้งซ่าน)
    ...ถ้าฟุ้งมากก็ลองตัดกังวลดูนะครับเผื่อจะใช้ได้ในกรณีของคุณครับ...<!-- google_ad_section_end -->
    ...........ผมก็ว่าผมไม่คิดแล้วนะ ไม่ได้มุ่งตรงนั้นนะครับ รึว่าจิตไต้สำนึกวันพาไปเองอ่ะครับ เพราะตอนนี้ผมทำงานก็ พยายามกำหนดจิตที่ปลายจมูกตลอด รู้ลมหายใจเข้าออก ภาวนาว่า หายใจเข้า หายใจออก อยู่ตลอดอ่ะครับ รึว่าอาจไม่เป็นสมาธิมากพอ ก็ชี้แนะทีนะครับ
    ........
     
  9. ศรีสุทโธ

    ศรีสุทโธ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    201
    ค่าพลัง:
    +461
    สวัสดีครับ เท่าที่คุณเล่ามาอาการทางกาย กับทางจิตจะขอละไว้ก่อนเพราะ อาการแบบนี้จะเป็นไม่เหมือนกัน หลายคนก็หลายแบบ
    มาเข้าเรื่องเวลาก่อนดีกว่านะครับ เพราะเท่าที่คุณเล่ามาเวลาก็ถือว่าดึกมากครับ ถ้าขยับกิจกรรมที่คุณทำให้กระชับ และเริ่มไหว้พระสวดมนต์
    ให้เร็วกว่านี้จะดีมาก เพราะ ห้าทุ่ม หรือเที่ยงคืน นั่นเป็นเวลาพักผ่อนไปแล้ว และคุณก็ต้องไปทำงานในวันรุ่งเช้า อันนี้ถือว่าเป็นอุปสรรคมากครับ
    ต้องจัดสรรเวลาให้เหมาะจะช่วยได้มากครับ และถ้าคุณนอนดึก ตื่นเช้า ความง่วงจะสะสม แม้แต่เวลาคุณทำงานคุณ ก็จะง่วงเป็นปกติครับ
    และก็เข้าใจด้วยว่าที่คุณต้องทำตอนดึกเพราะเสียงจะเงียบและ ข้างห้องก็เริ่มเข้านอนกันแล้ว ถือว่าเป็นเวลาที่คุณสะดวก แต่ติดที่ดึกไปนิด
    ส่วนเรื่องเสียงกับที่พักคุณคงแก้ที่ต้นเหตุเองไม่ได้เพราะ เป็นเรื่องภายนอกครับ
    ขอยกตัวอย่างผมเองสมัยเรียนหนังสือ ต้องอ่านหนังสือตอนดึก จะเปิดเพลงคลอไปด้วย จึงทำให้ผมติดเป็นนิสัยชอบอ่านหนังสือ และฟังเพลง
    พอมาถึงช่วงทำสมาธิ ต่อให้มีเสียงมารบกวนก็ไม่รำคาญเพราะชินแล้ว
    แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าให้คุณเปิดเพลงนั่งสมาธินะครับ แค่ยกตัวอย่าง
     
  10. gigkok_man

    gigkok_man Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +37
    ............ที่ดึกเพราะ ผมเข้างาน 9โมงเช้า เลิก 3ทุ่ม ทุกวันครับ หยุดวันพฤหัส.. กว่าจะกลับถึงห้องก็ เกือบ4ทุ่มบ้าง 5ทุ่มบ้าง บางวันเที่ยงคืน เพราะงานครับ ไม่ได้เที่ยวไหน ตั้งแต่เข้าพรรษามาครับ วันนึงก็มีเวลาเท่านี้อ่ะครับ ยิ่งนานไปเวลาของเราก็น้อยลง ก็เลยอยากยิ่งทำให้ได้เร็วขึ้นเท่านั้นครับ ผมทำได้แค่นี้จริงๆครับ ขอบคุณนะครับ
     
  11. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    ไม่เป็นไร ที่สำคัญถ้ามีกำลังใจดีและแน่ใจว่าตาสว่างได้แน่ก็ทำได้ดีกว่าตอนอารมณ์ไม่ดีเหมือนกัน ผมคิดว่าเคสของคุณเหมือนกับของผมและนักปฏิบัติใหม่หลายคน พระอาจารย์ผมบอกไว้ว่าจิตของเรามันไม่เคยถูกควบคุมมานานนับเป็นอสงไขย ครั้นจะมาบังคับมันทีนี้จะให้มันเชื่อง มันจะทำได้ง่ายๆได้อย่างไร
    คนฝึกใหม่ส่วนใหญ่จะท้อเพราะทำเท่าไหร่ก็ไม่ถึงไหน บางทีได้อะไรไปแล้วไม่รู้ตัวก็มี
    แรกๆผมจะทำยังงี้
    1.หาที่สงบที่เต็มไปด้วยคนรักสงบเหมือนเรา เช่นไปนั่งที่วัด หาที่ๆเขามีสอนเป็นต้น
    2.ทำบุญบ่อย ไม่มากแต่อย่าขี้เหนียวเกิน อารมณ์จะได้ไม่ขุ่นมัว
    3.นึกถึงคุณพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เสมอๆ หลวงพ่อจรัญท่านว่าไว้ว่าการจำได้ ระรึกไว้เสมอ สัญญาจะเป็นปัญญาทำให้เราเกิดสติ พิจารณาธรรมเอง(ตามที่ผมเข้าใจนะ อาจจะรวบรัดคำพูดมากเกินไปก็ขออภัย)
    จิตเราก็เหมือนม้าพยศ ธรรมชาติของม้ามันมีความดื้อ ทั้งกำลังมาก จะไปควบคุมบังคับก็ยาก ท่านว่าไว้หากเราปล่อยให้มันพยศเสียให้พอ โดยเรานั่งดูมันไปเรื่อยๆ เมื่อไหร่มันหมดแรง เมื่อนั้นจะเป็นช่วงง่ายที่สุดที่เราจะสั่งใช้งานมัน
     
  12. gigkok_man

    gigkok_man Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +37
    .............
    ..................ผมชอบตรงม้าพยศนี่แหล่ะ ขอบคุณที่แนะนำนะครับ ผมก็จะพยายามต่อไปครับ อาจจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ผมถามตัวเองมาตลอดเวลาจนถึงทุกวันนี้ก็ได้ครับว่า ชีวิตผมต้องการอะไร ความสุขของผมอยู่ที่ไหน เพราะผ่านมาผมกิน ผมเที่ยว มันก็ไม่ได้มีความสุขเท่าที่ควรหรือมีก็แค่ช่วงนั้น พอมาอีกวันนึงก็ทุกข์เหมือนเดิม ซึ่งมันไม่ใช่สุขที่ยั่งยืนคือนึกถึงทีไรก็สุข ก็สบายใจ
    .....ขอบคุณนะครับ ขออนุโมทนาบุญด้วย
     
  13. saturday_rainy

    saturday_rainy เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 มกราคม 2009
    โพสต์:
    335
    ค่าพลัง:
    +957
    ถึงชื่อคุณจะกิ้กก้อก แต่ผมรับรองได้ว่าจริงๆคุณไม่กิ้กก้อกเหมือนชื่อ ถ้าไม่เคยฝึกมาแต่ปางก่อนไม่น่าจะมีสมาธิระดับนี้ได้ แต่ถ้าไปสงสัยกับมันมากเกินไป จะเกิดนิวรณ์ (กลุ้มใจ เคยทำได้แล้วไปไม่ถึงอีก)ลองเข้าไปอ่านดูจากคำตอบตอนต้นๆ ท่านตอบไว้ดีแล้ว
     
  14. chiwgim

    chiwgim เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    67
    ค่าพลัง:
    +308
    ไม่เคยฝึกเลยครับ ฝึกแต่สมาธิกับกรรมฐาน ถ้ารู้เท่าทันจิต ความฟุ่งซ้านก็ไม่เกิดแล้วครับ ง่ายๆแต่ได้จุดหมายเดียวกัน กรรมฐานทำได้ทุกอิริยาบท
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 12 กันยายน 2010
  15. gigkok_man

    gigkok_man Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    16
    ค่าพลัง:
    +37
    การที่เรานอนสมาธิแล้วไม่รู้ว่านานเท่าไหร่เพราะไม่รู้สึกตัวและกลับมารู้สึกตัวอีกที ก็ยังภาวนาหายใจเข้า หายใจออกอยู่นะ แต่ตอนไม่รู้สึกตัวน่ะ ผมไม่รู้มันคืออะไร จิตผมไปอยู่ไหน รึว่าผมหลับไปแล้วตื่นขึ้นมา แต่มันไม่เหมือนพึ่งตื่นนะ มันไม่งัวเงีย ความรู้สึกก็ยังเป็นปกติอยู่ครับ เมื่อคืนผมนั่งไปพักใหญ่ๆ มันร้อนวาบๆเป็นพักๆอยู่อ่ะครับ อาการกระตุก ก็หายไปแล้ว มีน้อยมากๆ นานๆทีแล้วครับ แต่มันมีอย่างอื่นมารุมเร้าแทนคือ มันมีเรื่องอะไรไม่รู้ไร้สาระผุดเข้ามาในหัวผมเต็มเลยครับ เหมือนเราฉายหนัง100เรื่องแต่เอาเฉพาะไตเติ้ลมาให้เราดูอย่างละหน่อยแล้วก็ไปเรื่องอื่นๆต่อไป แล้วก็เรื่องการหายใจ พอหายใจเข้าและหายใจออกมันจะเว้นระยะสักพักเหมือนเรากลั้นหายใจนะครับ แล้วกลับมาหายใจเข้าไปใหม่เป็นแบบนี้เรื่อยๆเมื่อเราเริ่มนิ่งนะครับ แล้วเมื่อคืนก่อนที่ผมจะเปลี่ยนจากการนั่งสมาธิเป็นนอนเพราะรู้ว่าขาเริ่มชามากๆแล้วครับ ผมได้ยินเสียงเหมือน ลูกโป่งแตกอะครับ ดังโป๊ะ 1ครั้ง ผมยืนยันนะครับว่าเสียงนี้เป็นเสียงลูกโป่งแตกแน่ๆครับ แต่มันไม่ได้ยินจากหูมันได้ยินมาจากข้างในตัวเรานี่แหล่ะ จิตผมเลยตกใจนิดนึงขนลุกทั่วตัวแค่นั้นครับ ผมก็ทำสมาธิใหม่ต่อ แล้ววันนี้ผมกลับมานิ่งคิดๆดูแล้ว ว่าเวลาผมนั่งสมาธิเนี่ย เวลามีอะไรบางอย่างผมชอบสงสัยมัน มันเลยทำให้ผมเป็นสมาธิยาก ผมต้องตัดความสงสัยมันออกไปอย่างที่ท่านทั้งหลายเคยบอกมา แต่มันก็ยากนะสำหรับตัวผมอ่ะ ผมอาจจะเป็นบัวใต้น้ำก็ได้ครับเพราะผมเข้าใจอะไรยากและก็ขี้สังสัยด้วย ยังไงก็ขอคำชี้แนะเพิ่มเติ่ม ว่าจะให้ผมปรับปรุงหรือเปลี่ยนแนวทางในการปฏิบัติเพื่อให้ได้ตรงจุดที่ผมติดอยู่น่ะครับ ขอขอบคุณล่วงหน้า และอนุโมทนาบุญทุกๆท่านที่กรุณาผมด้วยนะครับ
     

แชร์หน้านี้

Loading...