พลิกนิดเดียว

ในห้อง 'หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต' ตั้งกระทู้โดย rinnn, 10 พฤศจิกายน 2006.

  1. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    คำนำ <table align="center" border="0" height="533" width="556"><tbody><tr> <td> </td> </tr> <tr> <td> หนังสือพลิกนิดเดียว พิมพ์ขึ้นครั้งแรกเพื่อแจกเป็นธรรมทาน ในงานกฐินของสำนักสงฆ์สุนันทวนาราม ประจำปี 2535 และได้มีการจัดลำดับเรื่องใหม่ในการพิมพ์ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนมกราคม 2539 พร้อมกับได้นำจดหมายที่พระอาจารย์ตอบโยม 2 ฉบับ มาลงพิมพ์ไว้ด้วย โดยได้นำเอาปกิณกะธรรมซึ่งเป็นธรรมะที่พระอาจารย์เทศน์โปรดโยมคนหนึ่ง อันเป็นส่วนหนึ่งของธรรมะในหนังสือธรรมประทาน ที่คณะกรรมการจัดงานร่วมใจภาวนาถวายพระราชกุศล ได้พิมพ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2530 มาไว้เป็นชุดแรก ตามด้วยพระอาจารย์ตอบจดหมายโยม และพระธรรมเทศนา ณ สำนักสงฆ์สุนันทวนาราม ในพรรษาปี พ.ศ. 2535 จบด้วย การปฏิบัติยามเช้าเมื่อตื่นนอน การทำสมาธิ และกลางคืน-ก่อนเข้านอน

    หวังว่าท่านจะได้รับประโยชน์จากข้อธรรมะในหนังสือเล่มนี้ตามควร

    มูลนิธิมายา โคตมี

    </td> </tr> <tr> <td>
    .........................

    ชีวิตสมบูรณ์แล้วทุกประการตามเหตุปัจจัย <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td> </td> </tr> <tr> <td>
    เหตุดี ผลก็ดี เหตุไม่ดี ผลก็ไม่ดี
    พิจารณาให้ดีเถิด
    เราอาจจะเกิดมาไม่มีพ่อ หรือไม่มีแม่ หรือไม่มีทั้งพ่อและแม่
    เราอาจจะเกิดมายากจน
    เราอาจจะถูกกลั่นแกล้งอยู่เรื่อยๆ
    บางวันเราอาจจะเป็นทุกข์และไม่สบายใจ
    แต่วันนี้เราอาจจะเป็นสุขและมีความพอใจมากที่สุดในชีวิต
    วันนี้เราอาจจะไม่มีอะไรจะเสียใจแล้ว
    เท่านี้เราก็เห็นได้ชัดเจนแล้วว่า
    ทุกอย่างดำเนินไปตามเหตุปัจจัยที่สมบูรณ์ที่สุดเสมอ
    จงก้าวไปสู่อนาคตด้วยความเข้าใจเช่นนี้
    จงมั่นใจในผลกรรมและเชื่อในเหตุปัจจัยอย่างสมบูรณ์เถิด
    จงทำความดี ละความชั่ว มีเมตตาแก่ตนและสรรพสัตว์
    และยอมรับทุกอย่างที่เกิดขึ้นด้วยจิตที่สงบ
    โลกนี้สมบูรณ์ด้วยกรรม
    เรามีทั้งกรรมดีและกรรมชั่ว
    วันนี้เราอาจทุกข์ แต่พรุ่งนี้เราก็อาจจะเป็นสุข
    ทุกอย่างไม่แน่นอน
    ให้อยู่กับปัจจุบันตลอดเวลา และทำใจให้เป็นสุข
    และอย่าลืมทำเหตุให้ดีตั้งแต่วันนี้ เพื่อผลที่ดีในวันนี้และวันข้างหน้า
    เรามีหน้าที่รักษาข้อวัตร และทำให้ดีที่สุดเสมอ..... เท่านั้น
    นอกจากนั้น เขาจะเป็น "เป็นไปเอง" ตามเหตุปัจจัยของเขา
    </td></tr></tbody></table>​
    </td></tr></tbody></table>
     
  2. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    คั้นส้ม กวาดบ้าน ฯลฯ ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td> </td> </tr> <tr> <td>
    ยังคิดไม่ถูก ยังคิดไม่เป็น ยังไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ
    ท่านอาจารย์สอน เมื่อเห็นเราหงุดหงิดขณะที่คั้นส้ม
    เพราะรู้สึกว่าเสียเวลามาก
    ท่านบอกว่า "ต้องทำความเห็นให้ถูกต้อง ให้เป็นสัมมาทิฏฐิ"
    ทำงานต้องทำด้วยสติสัมปชัญญะและความพอใจ
    ขณะที่คั้นส้ม การคั้นส้มเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในโลก
    อย่างอื่นในโลกไม่สำคัญ
    ขณะที่กวาดบ้าน การกวาดบ้านเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดในโลก
    อย่างอื่นในโลกไม่สำคัญ
    ขณะที่ทำอาหารให้ลูก การทำอาหารให้ลูกเป็นเรื่องสำคัญที่สุดในโลก
    เรื่องอื่นในโลกไม่สำคัญ ฯลฯ
    คั้นส้มก็ให้รู้อยู่ว่าคั้นส้ม ให้สติอยู่กับการคั้นส้ม ให้ทำด้วยความพอใจ
    กวาดบ้านก็ให้รู้อยู่ว่ากำลังกวาดบ้าน
    ให้สติอยู่กับการกวาดบ้าน ให้ทำด้วยความพอใจ
    ทำอาหารให้ลูก ก็ให้รู้อยู่ว่ากำลังทำอาหารให้ลูก
    ให้สติอยู่กับการทำอาหาร ให้ทำด้วยความพอใจ ฯลฯ
    การคั้นส้มก็ดี การกวาดบ้านก็ดี การทำกับข้าวก็ดี
    การทำอะไรทุกๆ อย่าง ให้ถือเป็นข้อวัตรปฏิบัติ เป็นหน้าที่
    ต้องเอาใจใส่ ทำด้วยความตั้งใจและทำดีที่สุด
    ทำเพื่อเพิ่มความดีของเราเอง
    ทำเพื่อตัวเราเอง
    ทำเพื่อขัดเกลากิเลสของเรา
    ทำเพื่อละทิฏฐิมานะของเรา
    อย่าคิดว่าทำให้คนอื่น
    อย่าคิดว่าต้องทำเพราะคนอื่นไม่ทำ
    อย่าคิดว่าต้องทำเพราะคนอื่นให้เราทำ
    อย่าห่วงว่าคนอื่นจะพอใจหรือไม่พอใจ
    เรามีหน้าที่ เราก็ทำให้ดีที่สุด คิดอย่างนี้เราก็ไม่เป็นทุกข์
    ใจก็จะสงบ มีปีติได้ตลอดเวลา เป็นสัมมาทิฏฐิ
    ภาวนาให้มากๆ นะ ปรับปรุงความคิดความเห็นของเราให้ถูกต้อง
    โยนิโสมนสิการ ยกอารมณ์กรรมฐานขึ้นพิจารณาบ่อยๆ นะ
    </td></tr></tbody></table>​
     
  3. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    ทุกข์ <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td> </td> </tr> <tr> <td>
    "เคยทุกข์แทบจะตายไหม" ท่านอาจารย์ถาม
    ถ้าทุกข์หรือหดหู่ ให้รู้อยู่ว่าทุกข์หรือหดหู่ ไม่ต้องปรุงแต่ง
    ให้อดทนเพ่งความทุกข์ความหดหู่ใจอยู่อย่างนั้น
    ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
    ประคับประคองจิต ไม่ให้เอียงไปทางซ้าย ไม่ให้เอียงไปทางขวา
    ทำใจให้เป็นกลางๆ
    กำหนดรู้อยู่อย่างนั้น นั่งก็รู้ เดินก็รู้
    กำหนดไป กำหนดไป ก็จะรู้ชัดขึ้นๆ
    จะเห็นเป็นความว่าง ต่างหาก
    เห็นว่าความทุกข์ก็ดี ความหดหู่ก็ดี เป็นสักแต่ว่าความรู้สึกเท่านั้น
    ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ใช่เรา ไม่ใช่ของเรา
    เป็นเพียงอุปาทานเท่านั้น
    อุปาทานว่าเราหดหู่ อุปาทานว่าเราทุกข์นั่นแหละ
    จริงๆ แล้วมันก็เปลี่ยนแปลงได้ และจะเปลี่ยนไปเอง
    เมื่อมีอารมณ์ใหม่เข้ามาแทนที่
    เพราะมันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เราทุกข์ เราหดหู่ เพราะอุปาทาน ความยึดมั่นนั่นแหละ
    อาศัยความอดทน อดกลั้น ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์วิปัสสนา
    เพ่งพิจารณาความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน
    แล้วความรู้สึกทุกข์ ความรู้สึกหดหู่ใจ ก็จะเปลี่ยนไปเอง
    เพราะ สัพเพ ธัมมา อนัตตา ธรรมทั้งปวง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
    แล้วเราจะรู้ชัดขึ้นๆ
    ความหดหู่เป็นอาคันตุกะ
    เขามาเยี่ยมเฉยๆ แล้วก็ไป ไปแล้วก็มาใหม่
    ถ้าเราหยุด วางเฉย เขาก็อยู่ไม่ได้
    อย่าเพลิดเพลินกับการตามอารมณ์นะ
    แขกมาหา จะไล่เขาไปก็ไม่ได้ เดี๋ยวเขาจะโกรธเอา
    ต้อนรับก็ไม่ได้ เขาจะอยู่เลย
    เราเฉยเสีย เขาก็จะไปเอง
    เพราะเขาเป็นอาคันตุกะ ไม่ใช่ผู้อยู่ประจำ
    ถ้าเขามาก็รู้ว่า อ้อ เขามาแล้ว กำหนดรู้ แล้วก็เฉย
    ทำใจให้เป็นอุเบกขา ทำใจให้เป็นกลางๆ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
    ไม่ตกใจ ไม่กลัว ไม่รังเกียจ
    เอาก็ไม่ใช่ ไม่เอาก็ไม่ใช่
    กำหนดรู้ไปเรื่อยๆ
    จุดหมาย คือความไม่มีทุกข์ และจิตที่สงบ สะอาด สว่าง
    ให้เอาทุกข์เป็นอาจารย์
    อย่ารังเกียจทุกข์นะ อย่าหนีทุกข์นะ อย่ากลัวทุกข์
    ทุกข์นั่นแหละเตือนเราไม่ให้ประมาท
    ให้เกิดปัญญา ให้รู้ ให้เห็น ตามความเป็นจริง ให้เห็นสัจธรรม
    ยิ่งทุกข์มากยิ่งดี เมื่อผ่านไปได้ ต่อไปก็ไม่ต้องกลัวอะไร
    ต้องอดทนต่อสู้ ด้วยจิตใจที่กล้าหาญ
    ทุกข์ที่ไหน กำหนดดูที่นั่น
    ทุกข์เป็นสิ่งที่ควรกำหนดรู้ ต้องตามรู้ ตามศึกษา
    ค้นหาดูทุกข์
    ดูๆ ไปก็จะพบตัณหา อุปาทาน
    ตัณหา อุปาทาน นี่แหละ ทำให้เป็นทุกข์
    ตัณหา อุปาทาน นี่แหละ ปิดบังไม่ให้เห็นทุกข์
    เป็นทุกข์ แต่ไม่เห็นทุกข์
    เราจึงต้องทำจิตใจให้เข้มแข็ง มุ่งหน้าเข้าไป (พิสูจน์) ดู จึงจะเห็นทุกข์
    เมื่อเห็นแล้วก็จะรู้แจ้ง
    เกิดญาณทัสสนะ ทั้งรู้ ทั้งเห็น ตามความเป็นจริงว่า
    ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น
    ทุกข์เท่านั้นตั้งอยู่
    ทุกข์เท่านั้นดับไป
    นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรเกิด
    นอกจากทุกข์แล้ว ไม่มีอะไรดับ
    สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวงอันใครๆ ไม่ควรยึดมั่นถือมั่น
    สัพเพ ธัมมา อนัตตา
    ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตน
    สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้น สิ่งนั้นย่อมดับไปเป็นธรรมดา
    เมื่อวางเฉยได้ วางทุกข์ได้ ไม่ยินดี ไม่ยินร้าย
    ทุกข์ก็จะไม่มี หรือมีเหมือนไม่มี
    อย่าคิดว่าเราทุกข์
    ทุกข์ไม่ใช่เรา เราไม่ใช่ทุกข์
    ทุกข์ไม่ใช่อยู่ในเรา เราไม่ใช่อยู่ในทุกข์
    ทุกข์เขาก็เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป
    เรามีหน้าที่เพียงกำหนดรู้ทุกข์ที่เกิดขึ้น
    กำหนดรู้ทุกข์ที่ตั้งอยู่
    กำหนดรู้ทุกข์ที่ดับไป
    ทำอย่างนี้เราก็สามารถรับทุกข์ได้
    ทุกข์แค่ไหนก็รับได้
    ต้องอดทนนะ คนมีปัญญาทนทุกข์ได้
    ถ้าเรายังเป็นทุกข์ ก็ยังใช้ไม่ได้ ยังผิดอยู่
    ให้พิจารณาอริยสัจ 4 เสมอๆ
    ถ้าเรายังเป็นทุกข์ แสดงว่าเราไม่มีสัมมาทิฏฐิ
    เวลาทุกข์เกิดขึ้นให้ดูเข้าข้างใน (ดูจิต)
    อย่าไปดูข้างนอก อย่าไปโทษคนโน้นคนนี้
    ให้ดูกายกับใจของเรานี่แหละ
    ดูให้เห็นว่าตัณหา อุปาทาน นี้แหละเป็นตัวต้นเหตุให้ทุกข์เกิด
    เป็นมาร เป็นศัตรูที่ร้ายแรงที่สุด
    ให้มีขันติ อดทนสู้อารมณ์นั้นๆ
    ตามรู้อารมณ์นั้นๆ
    รู้แล้วก็ไม่หวั่นไหว
    ไม่เดือดร้อนเป็นทุกข์
    รู้แล้วไม่หลง ไม่ติด
    มีแต่ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน
    นั่นแหละ พระพุทธเจ้าอยู่ที่นี่เอง
    ไม่ต้องไปหาที่ไหน
    แม้จะต้องเอาชีวิตเป็นเดิมพันก็ยอม
    ต้องเอาชนะให้ได้
    อาศัย ศีล สมาธิ ปัญญา เป็นอาวุธ
    ดูให้เห็น อนิจจัง ความไม่เที่ยงแท้ ความไม่แน่นอน

    </td></tr></tbody></table>​
     
  4. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    ธรรมะอยู่ที่ 50 : 50 <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td> </td> </tr> <tr> <td>
    ถ้าคิดว่า "เขาทำผิด" "เขาไม่ควรทำอย่างนี้"
    ให้คิดว่าเราก็ผิด 50% ด้วย
    คิดอย่างนี้เราก็จะไม่โกรธเขา เพราะถ้าโกรธเขาก็ต้องโกรธตัวเราด้วย
    และเขาอาจจะไม่ผิดก็ได้ เชื่อไว้ 50% ก่อน
    คิดอย่างนี้เราก็ไม่ทุกข์
    ใครเล่าว่า "คนนั้นเขานินทาเราอย่างนั้นอย่างนี้" "คนนั้นเขาเป็นอย่างนั้นอย่างนี้"
    อย่าเพิ่งเชื่อ และก็อย่าเพิ่งปฏิเสธทันที
    รับฟังไว้ 50% ก่อน
    อย่าวิพากษ์วิจารณ์ทันที แล้วก็เป็นทุกข์ แล้วก็ปรุงแต่งต่อไป
    บ่อยๆ ครั้งเราก็จะโกรธและเสียเวลาคิด เสียอารมณ์ไปโดยเปล่าประโยชน์
    อย่าไปทำตามคำพูด ความคิดของใครๆ ทั้งหมดทันที
    ฟังแล้วทำตามเขา 100% ก็มักจะวุ่นบ่อยๆ
    เพราะความคิดก็เป็นอนิจจัง เขา (ผู้พูด) อาจจะเปลี่ยนใจก็ได้
    เราอาจฟังผิดก็ได้ เขาอาจคิดผิดและเปลี่ยนความคิดใหม่ก็ได้
    ถ้าเรารับฟังไว้ 50% ก่อน
    ตั้งสติของเราเข้าไว้ ก็จะปลอดภัย ไม่สับสน ไม่ทุกข์
    แม้แต่ความคิดของเราเองก็อย่าเชื่อ 100%
    รับฟังไว้ 50% ก่อน
    เพราะเราก็อาจเปลี่ยนความคิดได้
    ที่เราคิดว่าถูก จริงๆ อาจผิดก็ได้
    ไม่แน่หรอก
    สรุปว่า อย่าเชื่อทั้งตัวเรา ตัวเขา อย่าเชื่อทั้งสุข และทุกข์ 100%
    รับฟังไว้ 50% ก่อน
    ไม่ต้องโกรธ ไม่ต้องตกใจ ไม่ต้องแปลกใจ....... ตั้งสติเข้าไว้ก่อน
    พิจารณาให้ดีก่อน
    สุขก็ไม่แน่นอน ทุกข์ก็ไม่แน่นอน
    สุขหายไปก็ทุกข์ ทุกข์หายไปก็สุข
    ทุกอย่างไม่แน่นอน..... ก็เท่านั้นเอง
    </td></tr></tbody></table>​
     
  5. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    เขานินทาเรา <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td> </td> </tr> <tr> <td>
    เขานินทาเรา ด่าเรา เขาแย่งของเราไป ฯลฯ
    เราไม่พอใจ เรากำลังจะโกรธเขา ต้องรีบแก้ไขทันที
    "เขา" ไม่สำคัญ สำคัญที่ใจเรากำลังจะเป็นทุกข์
    เรากำลังจะผิดศีล กำลังจะผิดข้อวัตรของเรา
    ระวังนะ..... ถ้าเราเป็นทุกข์ เราก็ผิดข้อวัตรของเราแล้ว
    ผิดศีล เราก็บาปแล้ว
    เราต้องมีหิริ โอตตัปปะ ละอายต่อบาป เกรงกลัวต่อบาป
    ถ้าเราเป็นทุกข์ เราผิดศีล เราก็บาป
    ใครเขานินทาเราก็ไม่สำคัญ เขาทำอะไรๆ เราก็ไม่สำคัญ สำคัญที่ใจเรา
    สำคัญที่ใจเราอย่าเป็นทุกข์เท่านั้นก็พอแล้ว
    ไม่ต้องดูใคร ไม่ต้องฟังใคร ดูกายกับใจของเรานี่แหละ
    เราต้องเป็นที่พึ่งของเราเอง
    อัตตา หิ อัตตโน นาโถ นะ
    เราขึ้นอยู่กับคำพูดหรือการกระทำของคนอื่นไม่ได้หรอก
    ระวังนะ….. คนโน้นคนนี้ก็ไม่สำคัญหรอก สำคัญที่จิตของเรานี่แหละ
    ใครทุกข์ก็ไม่ต้องทุกข์ตามเขา ไม่ต้องโต้ตอบ ไม่ต้องชี้แจง ไม่ต้องกลัว
    สำคัญที่ใจเราอย่าเป็นทุกข์นะ
    ถ้าเราทุกข์เราผิดแล้วนะ ไม่ใช่เขาผิดหรอก
    ต้องรีบพิจารณาแก้ไขทันที
    </td></tr></tbody></table>​
     
  6. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    พลิกนิดเดียว แล้วอยู่อย่างมีความสุข <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td> </td> </tr> <tr> <td>
    คนเราจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์อยู่ที่ความคิดนิดเดียว
    พลิกนิดเดียวเราก็จะไม่เป็นทุกข์
    พลิกนิดเดียวก็จะเปลี่ยนจากมิจฉาทิฏฐิมาเป็นสัมมาทิฏฐิ
    จากความคิดผิดเป็นความคิดถูก
    จากทางโลกมาสู่ทางธรรม
    พลิกนิดเดียวเราก็จะอยู่ได้อย่างไม่มีทุกข์
    อยู่กับปัจจุบันได้อย่างสงบ
    ยอมรับทุกอย่างที่เกิดขึ้นแต่ละขณะอย่างสมบูรณ์
    การเจริญสติปัฏฐาน คือการอยู่อย่างไม่มีความทุกข์ที่จะต้องดับ ***
    การเจริญสติปัฏฐาน หรือการเจริญสมาธิวิปัสสนา ก็เพื่อหัดเปลี่ยนจาก
    การอยู่อย่างมีทุกข์เป็นพื้นฐานมาเป็นการอยู่อย่างมีความสุขเป็นพื้นฐาน
    เพียงแต่มีชีวิตอยู่กับปัจจุบันให้เต็มที่ในขณะนั้นๆ
    ไม่อยู่กับอดีตบ้าง อนาคตบ้าง
    รับรู้และเสวยอารมณ์แต่ละขณะอย่างเต็มบริบูรณ์
    เห็นความงดงามของปัจจุบัน อย่ามัวแต่อยู่กับอดีตและอนาคต
    ยอมรับทุกอย่างที่เกิดขึ้นในแต่ละขณะอย่างสิ้นเชิง
    มีความสุขเต็มอิ่มอยู่ในตัวทุกๆ ขณะ
    นี่คือการอยู่อย่างไร้ทุกข์
    มีความสุขบริบูรณ์อยู่ในตัวตลอดเวลา
    อยู่ในภาวะไร้ทุกข์ตลอดเวลา
    และก็ไม่มีทุกข์จะต้องดับ

    หมายเหตุ *** ท่อนหลังนี้ เป็นถ้อยคำสำนวนของพระเดชพระคุณพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต) ในหนังสือพุทธธรรม ซึ่งบังเอิญเป็นเรื่องเดียวกันพอดีกับที่ท่านอาจารย์สอน จึงกราบขออนุญาตคัดมาประกอบ

    </td></tr></tbody></table>​
     
  7. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    พระอาจารย์ตอบจดหมายโยม <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    ทุกข์เพราะเหงาและว้าเหว่
    21 พฤศจิกายน 2536​
    ดิฉันเคยอยู่อุบลมีเพื่อนฝูงมาก เราไปวัดด้วยกัน ที่อุบลมีวัดให้เราไปหลายแห่ง เราเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อชา ขณะนี้เราย้ายมาอยู่โคราช ที่นี่เป็นบ้านเกิดของดิฉัน แต่ที่นี่ไม่มีวัดให้ไป ไม่มีเพื่อน สามีก็ไปทำงานต่างจังหวัด ลูกก็ไปเรียนหนังสือ ดิฉันเหงา ว้าเหว่….. สับสนมาก….. คิดไม่ตก ยิ่งคิดยิ่งทุกข์….. ดิฉันอยากซื้อรถเบนซ์สัก 1 คัน เพื่อจะขับไปวัด หรือไม่ก็คิดอยากย้ายไปอยู่กรุงเทพฯ เพราะที่นั่นดิฉันจะมีเพื่อน…..
    ท่านอาจารย์สอนดังนี้
    อาจารย์อ่านจดหมายของคุณโยมก็พอเข้าใจปัญหาแล้ว อาจารย์เห็นว่าคุณโยมควรเอาหลักธรรมะของพระพุทธเจ้ามาปรับปรุงชีวิตของตัวเอง ความจริงปัญหาสิ่งแวดล้อมของคุณโยมในปัจจุบันก็ไม่รุนแรง เป็นปัญหาธรรมดาที่เพื่อนร่วมโลกก็มีประสบการณ์อยู่ เมื่อเราระลึกถึงคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าว่า “ปัญหาเกิดที่ไหน ก็อย่าหนี อย่าถอย ให้สู้ที่นั่น แก้ปัญหาที่นั่นก่อน โดยเอาหลักธรรมะมาต่อสู้ แก้ไขคลี่คลายปัญหา”
    การย้ายบ้านหรือการซื้อรถเบนซ์ไปที่วัด อาจารย์ก็ไม่ปฏิเสธ แต่ไม่ใช่เดี๋ยวนี้ เดี๋ยวนี้ยังไม่ถึงเวลาที่จะเลือกทางนั้น สิ่งแวดล้อมปัจจุบันนี้เป็นปัจจัยที่ทำให้เราทุกข์ก็จริงอยู่ แต่ก็อย่ารีบร้อนแก้ไขปัจจัยภายนอก หมายถึงการย้ายบ้านหรือการซื้อรถ อันนั้นไม่ใช่การแก้ปัญหาตรงจุด ถ้าเราเลือกทำอย่างใดอย่างหนึ่งเดี๋ยวนี้ ปัญหาส่วนน้อยก็หมดไป แต่ปัญหามากๆ อาจจะตามมาอีก….. ปกติก็เป็นอย่างนั้น
    อาจารย์แนะนำให้อยู่ที่โคราชที่อยู่ปัจจุบันนี้ไว้ก่อน ทุกข์ที่เกิดขึ้นก็มีเหตุปัจจัย คือทุกข์เพราะไม่มีเพื่อน ไม่มีวัดจะไป อันนี้เป็นปัจจัย เหตุก็อยู่ที่ใจเรา ใจเราไม่มีกำลัง ใจร้อน อันนี้เป็นเหตุให้เกิดทุกข์
    พระพุทธเจ้าตรัสว่า ความดับทุกข์ก็มีอยู่ วิธีดับทุกข์ก็มีอยู่ เราต้องค่อยๆ ศึกษา เอาอริยสัจ 4 เป็นที่พึ่งของเรา น้อมมาดูใจ ใจก็เป็นทุกข์ เหตุที่เกิดทุกข์ก็อยู่ที่ใจ ความดับทุกข์ก็อยู่ที่ใจนะ ไม่ได้อยู่ที่ปัจจัยภายนอก ไม่ได้อยู่ที่เพื่อน ไม่ได้อยู่ที่วัด ไม่ได้อยู่ที่บ้านใหม่ ไม่ได้อยู่ที่รถเบนซ์
    ถ้าเราพิจารณาตามหลักทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ทั้งหมดก็อยู่ที่ใจ การที่เราเหงา ไม่มีเพื่อน เป็นปัจจัยทำให้เราทุกข์ การย้ายบ้าน การซื้อรถเป็นการเปลี่ยนปัจจัย ไม่ใช่การแก้ตรงจุด พระพุทธองค์เน้นให้แก้เหตุแล้วทุกข์ก็ดับได้ ฉะนั้นให้ตั้งสติพิจารณาอริยสัจ 4
    อาจารย์รับรองและเชื่อมั่นว่า แม้ภายในสิ่งแวดล้อมทุกอย่างในปัจจุบันเดี๋ยวนี้ ถ้าจิตเราน้อมเข้าสู่ธรรมะ ปัญหาทุกสิ่งทุกอย่างก็หมดไปได้ เราก็จะหาความสุขและความสงบได้ เราต้องเชื่อมั่น ต้องใช้ปัญญาพิจารณา ภาวนาเปลี่ยนจิตใจของเรา พัฒนาทำใจของเราให้ดีขึ้น อันนี้จึงจะเป็นการแก้ปัญหาตรงจุด
    อดีตที่ล่วงไปแล้วไม่ต้องคำนึงถึง อนาคตที่ยังไม่มาก็ไม่ต้องห่วง พยายามปล่อยวางอดีต อนาคต เอาปัจจุบันเป็นสำคัญ ทำปัจจุบันให้ดี พยายามทำปัจจุบันเดี๋ยวนี้ให้ดี อดีต อนาคต ปล่อยวาง คิดอดีต คิดอนาคตเท่าไรก็แก้ปัญหาไม่ได้ คิดเท่าไรก็ไม่ช่วยแม้แต่นิดเดียว ยิ่งคิดยิ่งทำให้ปัญหามากขึ้น เพราะฉะนั้น จึงพยายามคิดน้อยๆ อย่าคิดอดีต อนาคต พยายามตัดอดีต อนาคต ออกจากจิตใจ
    สิ่งที่ทำอยู่ในปัจจุบัน ตั้งใจทำให้ดี ทำความรู้สึกตัวในอิริยาบท ยืน เดิน นั่ง นอน ทำอยู่กับบ้าน ทำคนเดียวนี่แหละ การไม่มีเพื่อนเป็นโอกาสที่เราจะได้ตั้งใจปฏิบัติกับตัวเอง อยู่ที่บ้านก็ปฏิบัติได้เหมือนกับไปปฏิบัติที่วัดนะ ไม่ต้องไปวัดก็ได้ การอยู่บ้านคนเดียวเราก็จะมีโอกาสปฏิบัติ ภาวนา ดูจิต ดูใจของเราได้เต็มที่
    ต่อไปนี้เป็นข้อวัตรที่อาจารย์มอบให้โยมสำหรับปฏิบัติที่บ้านนะ
    ข้อวัตรสำหรับคุณโยมเพื่อปฏิบัติที่บ้าน
    1. ให้สวดมนต์ทำวัตร วันละ 3 เวลา เช้า กลางวัน เย็น ครั้งละ 1-2 ชั่วโมง
    เช้า ก่อนทำอาหาร ก่อนดูแลลูก ให้ทำวัตรเช้า ? ชั่วโมง
    ทำวัตรเสร็จแล้ว เดินจงกรม ? ชั่วโมง
    นั่งสมาธิ ? ชั่วโมง
    เมื่อเคยชินแล้วก็ขยายเวลาไปตามสะดวก
    บ่ายโมง ทำอีกครั้งหนึ่ง
    ก่อนนอน ทำอีกครั้งหนึ่ง ทำวันละ 3 เวลา
    2. พยายามฟังเทปเทศนาของหลวงพ่อชาฯ สัก 1 ม้วน ทุกวันๆ ละ 1 ครั้ง
    อาจจะใช้เวลาก่อนไปรับลูกก็ได้ เทปฟังม้วนเดียว (ที่ชอบ) ซ้ำๆ ก็ได้
    ไม่ต้องเปลี่ยนมาก แต่ให้ฟังทุกวันเป็นกิจวัตร
    3. ให้อ่านหนังสือธรรมะ อาจารย์ส่ง “พลิกนิดเดียว” มาให้ พร้อมทั้งขีดเส้นใต้มาให้ด้วย อ่านซ้ำๆ ๆ ๆ ทุกวันๆ นะ อ่านออกเสียงดังๆ ก็ได้ เขียนด้วยก็ได้ เขียนซ้ำไปซ้ำมาอยู่อย่างนั้น….. อาจจะเปลี่ยนอารมณ์ได้….. เป็นไปได้มาก แล้วคุณโยมจะมีความสุขใจมากก็ได้….. ที่นี่….. คนเดียวนี่แหละนะ
    พยายามระวังความรู้สึกนึกคิด
    เพ่งพิจารณาว่าความรู้สึก ความนึกคิดของเราไม่แน่นอน
    อย่าเชื่อความคิด อย่าเชื่อความรู้สึก
    มองเห็นความรู้สึกเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    เป็นเรื่องที่เราปรุงเอง คิดเอง ไม่มีอะไรหรอก​
    เมื่อเราเห็นความรู้สึกนึกคิดเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    จิตเป็นศีล เป็นสมาธิ เกิดมีเมตตาจิตแล้ว
    อยู่คนเดียวก็เกิดปีติ เกิดสุขได้
    พระท่านปฏิบัติอยู่ในป่าองค์เดียว
    เมื่อจิตมีเมตตาแล้ว ก็มีความสุขตลอด
    เมื่อใจเรามีเมตตา เราก็ไม่เหงา
    ไม่เรียกร้องความสนใจ ความรัก จากผู้อื่น
    เพราะใจเรามีเมตตาแล้ว ใจเราหนักแน่นแล้ว ใจเรามีกำลังแล้ว​
    คุณโยมเป็นคนที่โชคดีมากที่มีโอกาสได้อยู่คนเดียว ได้ปฏิบัติ
    โยมคนอื่นที่มาหาอาจารย์หลายคนมีปัญหาปฏิบัติไม่ได้
    เพราะไม่มีโอกาสอยู่คนเดียว
    เจริญพร ขอให้คุณโยมสบายๆ นะ
    </td></tr></tbody></table>​
     
  8. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    พระอาจารย์ตอบจดหมายโยม <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td>
    </td> </tr> <tr> <td>
    ทุกข์เพราะคนรักหนีจากไป
    ต้นปี 2538​
    สามีภรรยาคู่หนึ่งรักใคร่กันดี แต่พอประสบปัญหาเศรษฐกิจไม่ดี ก็เริ่มมีปากเสียงกันและมากขึ้นๆ จนภรรยาทนไม่ได้ขอกลับไปอยู่กับแม่ ต่อมาเมื่อสามีได้อ่านหนังสือ “ทุกข์เพราะคิดผิด” ก็ได้คิดสำนึกรู้ตัวว่าตัวเองก็ผิดมากเพราะใช้อารมณ์และบ่นมากไป จึงไปเจรจาขอให้ภรรยากลับบ้าน แต่ภรรยาไม่ยินยอม คงพูดถึงเรื่องเก่าๆ ด้วยความเจ็บใจ สามีก็เป็นทุกข์เพราะทั้งห่วงและหวงภรรยา จึงมีจดหมายมาปรับทุกข์กับพระอาจารย์
    พระอาจารย์สอนว่า
    อาตมาได้รับจดหมายจากคุณโยมแล้ว รู้สึกว่าเห็นใจคุณโยมเหมือนกัน แต่ว่าคุณโยมก็ควรพิจารณาให้เข้าใจ และยอมรับความจริงของชีวิต คุณโยมคงจะรู้สึกเป็นทุกข์และคิดว่าตัวเองเป็นคนที่โชคร้ายมากคนเดียวในโลก แต่ความจริงแล้ว สิ่งที่คุณโยมกำลังประสบอยู่ก็เป็นธรรมดาของมนุษย์ทุกชีวิต ไม่มากก็น้อย ไม่ปัจจุบันก็ในอนาคต ไม่วันใดก็วันหนึ่ง
    ความรู้สึกผิดหวัง ไม่สมปรารถนา เสื่อมลาภ ทุกข์ เป็นโลกธรรมฝ่ายที่ให้โทษ แต่ทุกคนก็ล้วนต้องประสบ ถ้าเราศึกษาพุทธประวัติ จะพบว่าแม้แต่พระพุทธองค์เองก็ประสบเหมือนกัน เมื่อครั้งพระพุทธองค์เสด็จหนีออกจากวังไปบวชเพื่อแสวงหาความพ้นทุกข์ เพื่อช่วยตนเองและผู้อื่นนั้น แม้ว่าเป็นเจตนาที่ดีก็ตาม แต่เมื่อดูความรู้สึกของพระบิดา พระมเหสี พระโอรส และพระญาติของพระองค์ ก็คงมีความรู้สึกเหมือนคุณโยมในปัจจุบันนี้เช่นกัน
    นอกจากนั้น ลูกศิษย์ของพระองค์เองคือพระเทวทัต ก็ได้พยายามฆ่าพระองค์อยู่หลายครั้ง และมีช่วงหนึ่งพระราชาผู้ซึ่งเป็นโยมอุปฐากของพระพุทธองค์มีเหตุให้ต้องยกกองทัพไปฆ่าพระญาติของพระองค์ทั้งหมด พระพุทธองค์ได้ทรงห้ามถึง 3 ครั้ง จนถึงครั้งที่ 4 พระองค์ทรงพิจารณาแล้วว่าเป็นกรรม ไม่สามารถห้ามได้ เป็นเหตุให้ราชวงศ์ศากยะถูกฆ่าหมด พระพุทธองค์หมดสิ้นพระญาติตั้งแต่บัดนั้น และครั้งหนึ่งพระองค์เสื่อมเอกลาภถึงขนาดที่ทั้งพระองค์และหมู่ภิกษุต้องฉันอาหารที่ใช้เลี้ยงม้าตลอดทั้งพรรษา
    ในบางพรรษา ลูกศิษย์ของพระพุทธองค์มีเรื่องขัดแย้งถึงแตกสามัคคีกัน พระองค์ทรงห้ามอย่างไรก็ไม่เชื่อฟัง พระองค์จึงเสด็จหนีไปจำพรรษาอยู่ในป่าตามลำพัง อีกครั้งหนึ่งที่โลกธรรมฝ่ายที่เป็นโทษเกิดแก่พระพุทธเจ้า คือเมื่อพระองค์ถูกชาวเมืองนินทาว่าร้าย เพราะถูกนักบวชนอกศาสนาใส่ความว่า พระองค์ทำให้อุบาสิกาตั้งท้อง
    ให้คุณโยมน้อมพิจารณาดู แม้แต่พระพุทธองค์ผู้ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นมหาบุรุษของโลก ชีวิตของพระองค์ก็ไม่ราบรื่นเช่นกัน พระพุทธองค์ก็ได้ตรัสสอนว่า “ชีวิตเป็นทุกข์”
    “ทุกข์สัจจะ” ได้แก่
    1. ความเกิด ความแก่ ความเจ็บ ความตาย เป็นทุกข์
    2. ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่ชอบใจ ก็เป็นทุกข์
    3. ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รักที่พอใจ ก็เป็นทุกข์
    4. ความผิดหวัง ไม่ได้รับสิ่งที่ต้องการ ก็เป็นทุกข์
    สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นความจริงของชีวิต
    เราจึงควรยอมรับความจริงเหล่านี้
    ไม่มีชาวโลกคนใดจะหนีพ้นได้​
    ปัญหาคุณโยมกับภรรยานั้น ถ้าพูดถึงความถูกผิดแล้ว
    ต่างก็ผิดเหมือนกัน ถูกผิดเท่ากัน
    ดังนี้ ต่างคนควรหาข้อเสียของตัวเอง​
    สิ่งที่เกิดขึ้นแล้ว ก็เป็นความพอดีกับการกระทำที่แต่ละคนได้ทำมา
    ถ้าผิดฝ่ายเดียว ปัญหาคงไม่เกิด
    เหมือนกับตบมือข้างเดียว เสียงย่อมไม่ดัง​
    ดังนั้น สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ
    ประการที่หนึ่ง ทำความรู้สึกปล่อยวาง เพื่อให้ใจสงบ
    ประการที่สอง เจริญเมตตา พยายามส่งกระแสใจที่เป็นความปรารถนาดี
    เป็นความรักที่บริสุทธิ์ให้แก่ภรรยา
    อาจใช้วิธีนึกเห็นมโนภาพ เห็นหน้าเห็นตาที่ยิ้มแย้มแจ่มใจของเขา
    ไม่ว่าเขาจะอยู่ที่ไหนกับใคร ขอให้เขามีความสุข
    ให้พยายามเจริญเมตตา คิดดี พูดดี ทำดี ทั้งแก่ตัวเราเองและแก่ภรรยา
    ผลก็คือ ตัวเราก็จะเกิดความสุขด้วย
    ประการที่สาม ถ้าพูดในระยะยาวถึงเรื่องภพชาติแล้ว
    คุณโยมและภรรยาคงเคยผูกพันกันมาตั้งแต่อดีตชาติ
    จึงเป็นเหตุให้ชาตินี้ได้เป็นสามีภรรยากัน
    และต่อไปในชาติหน้าก็อาจจะได้ใช้ชีวิตร่วมกันอีก​
    ถ้าคุณโยมไม่แก้ปัญหาให้เกิดความเข้าใจกัน
    ไม่ได้ให้อภัยและอโหสิกรรมให้แก่กันในชาตินี้
    ชาตินี้เป็นอยู่อย่างไร ชาติหน้าก็จะเป็นเหมือนกับที่เป็นอยู่ในชาตินี้เช่นกัน​
    ใครได้เปรียบในชาตินี้ ชาติหน้าก็จะเสียเปรียบ
    ใครเสียเปรียบในชาตินี้ ชาติหน้าก็จะได้เปรียบ
    เรื่องกรรมก็เป็นเช่นนี้
    ใครฆ่าเราในชาตินี้ ชาติหน้าเราก็ฆ่าเขา​
    ถ้าชาตินี้เขาทอดทิ้งเรา ชาติหน้าเราก็ทอดทิ้งเขา
    ถ้าชาตินี้ใครนอกใจเรา ชาติหน้าเขาก็จะถูกนอกใจเช่นกัน
    เรื่องที่คุณโยมประสบอยู่ในขณะนี้
    ชาติก่อนคุณโยมอาจเป็นฝ่ายทำเขาก่อนก็เป็นได้​
    ดังนั้น ถ้าเรามองจากทั้ง 2 ฝ่ายในระยะยาวแล้ว
    ต่างคนจึงต่างเป็นผู้ผิด
    เหมือนไก่กับไข่ซึ่งไม่มีเงื่อนงำว่าอะไรเกิดก่อนกัน
    ในเรื่องนี้ก็ไม่สามารถตัดสินได้ว่าใครผิดก่อนกัน​
    เมื่อเราเข้าใจเช่นนี้แล้ว พิจารณาดูจะเห็นว่า
    สิ่งที่เป็นอยู่ในขณะนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัว
    เพราะถ้ายังอยู่ในสภาพนี้ ชาติต่อๆ ไป ก็จะเป็นเช่นนี้เรื่อยไป
    ทำให้ต้องทุกข์ต่อไปหลายภพหลายชาติ​
    ผู้ที่ไม่ประมาทจึงควรแก้ปัญหาในชาตินี้
    ดังนั้น สิ่งที่เราทำได้ คือคิดแก้ปัญหาที่ตัวเราก่อน แก้ที่ใจเรา

    สิ่งที่ควรปฏิบัติ คือ
    1. ยอมรับความจริงดังกล่าว
    2. ปล่อยวางอดีต ให้เหมือนกับไม่มีเหตุการณ์นี้เกิดขึ้น
    3. ให้อภัย เจริญเมตตา ไม่ถือโกรธ ไม่อาฆาตพยาบาทเขา
    4. ทำใจเราให้สงบ
    เมื่อทำได้เช่นนี้จริงๆ เราจะอยู่ด้วยกันในชาตินี้ก็ดี ชาติหน้าก็ดี ก็อยู่ด้วยกันอย่างปกติสุขได้​
    การคืนดีกันในชาตินี้ จะได้หรือไม่ ไม่ควรถือว่าสำคัญ
    ขอให้เรามีจิตใจที่จะคืนดีแก่เขาอยู่ในตัวเราก่อน
    ปฏิบัติตนเป็นคนดี คิดดี พูดดี ทำดี
    จนเขารู้จัก เข้าใจ และเห็นใจเรา
    และควรจะปฏิบัติให้มีการอโหสิกรรมแก่เขา
    ซึ่งก็เหมือนช่วยตัวเองด้วย อย่างน้อยเราก็จะมีชีวิตที่เป็นสุขได้​
    ในเรื่องภรรยาและลูกก็ไม่ต้องห่วงอะไรมากนัก
    ขณะนี้เราอาจจะมีความรู้สึกว่าเขาหนีจากเราไป
    ถ้าลองเปลี่ยนความคิดดู “พลิกนิดเดียว”
    ลองคิดว่า เราจะหนีจากเขาบ้าง
    ลองมาบวชดูชั่วคราว
    หรือจะบวชตลอดไปก็ได้ ถ้ามีความสุข
    เพราะความสุขความสบายจากการอยู่คนเดียวก็มีเหมือนกัน​
    อย่างที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า
    “การไม่มีภรรยา เป็นลาภอันประเสริฐ”
    ถึงจะอยู่คนเดียว ก็พยายามอยู่ให้มีความสุข
    เขาจะกลับมาก็ได้ ไม่กลับมาก็ได้​
    สุดท้ายนี้ ขอให้คุณโยมพิจารณาให้ดีๆ
    ปฏิบัติให้ถูกต้องตามหลักพุทธธรรม สมเหตุ สมผล
    และขอให้บรรเทาทุกข์ พ้นทุกข์โดยเร็วๆ นี้
    ขอให้มีความสุขยิ่งๆ ขึ้นไป….. เจริญพร

    </td></tr></tbody></table>​
     
  9. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    เรามาทำความรู้จักกับ “ความไม่สงบ” กันเถิด <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td>
    พระธรรมเทศนาในพรรษาปี พ.ศ. 2535
    </td> </tr> <tr> <td>
    ...................

    ปุถุชนคนธรรมดาที่ยังไม่ได้ฝึกอบรมจิตหรือผู้มาใหม่ที่เพิ่งเริ่มฝึกอบรม
    ย่อมจะมีจิตใจที่ไม่สงบเป็นธรรมดา
    เราไม่สงบอย่างนี้มาหลายภพหลายชาติแล้ว
    และชาตินี้ก็ไม่สงบมาตลอด แต่เราไม่รู้ตัว
    เราไม่เคยเห็นความไม่สงบ
    เราอยู่กับความไม่สงบอย่างนั้นโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว
    เพราะเราไม่เคยศึกษา ไม่เคยตามดูจิตใจของตัวเอง ​
    พอเราเริ่มปฏิบัติเห็นความไม่สงบ เราก็ตกใจ
    คิดว่าความไม่สงบเป็นของไม่ดีที่เราต้องรีบกำจัดให้หมดไปโดยเร็ว
    ทีนี้ก็เป็นปัญหาใหญ่ เพราะทำอย่างไรๆ ความไม่สงบก็ยังมีอยู่อย่างนั้น
    ความสงบไม่เกิดขึ้นตามที่เราต้องการสักที
    ฉะนั้นเราควรมาศึกษาและทำความรู้จักความไม่สงบกันบ้าง​
    กิเลสตัณหา ความโลภ ความโกรธ ความหลง คือมูลเหตุของความไม่สงบ
    พระพุทธองค์ทรงจัดแบ่งลักษณะของความไม่สงบไว้เป็น 5 อย่าง
    รวมเรียกว่า นิวรณธรรมมี 5 ประการ ได้แก่ ​
    1. กามฉันทะ คือ ความรักใคร่พอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ
    2. พยาบาท คือ ความไม่พอใจ ความขัดเคือง ขุ่นแค้นทั้งหลาย
    3. ถีนมิทธะ คือ ความง่วงเหงาหาวนอน ความหดหู่ เซื่องซึม เบื่อหน่าย
    4. อุทธัจจะกุกกุจจะ คือ ความฟุ้งซ่านรำคาญใจ
    5. วิจิกิจฉา คือ ความลังเลสงสัยทั้งปวง ​
    ฉะนั้นผู้ปฏิบัติควรทำความเข้าใจว่านิวรณธรรม หรือนิวรณ์ 5 นี้
    คือความไม่สงบในลักษณะต่างๆ กันนั้นเอง
    เป็นธรรมที่เราต้องศึกษา ต้องทำความเข้าใจ
    แม้ว่าจะเป็นธรรมฝ่ายอกุศล ผู้ปฏิบัติธรรมต้องทำความรู้จัก
    ต้องเห็นหน้าตานิวรณธรรมหรือนิวรณ์ 5 ที่เราเรียกว่ากิเลสตัณหานี้
    ให้ชัดเจนจนปล่อยวางได้ แล้วจิตจึงจะสงบ​
    ผู้ปฏิบัติใหม่ต้องเข้าใจว่า
    เราจะต้องค่อยๆ สร้างความสงบให้เกิดขึ้น
    โดยเริ่มจากการสำรวมอินทรีย์หรืออินทรียสังวร
    คือ สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้เกิดยินดียินร้าย
    ให้มีโภชเนมัตตัญญุตา คือ รู้จักประมาณในการบริโภค
    และชาคริยานุโยค คือ ไม่เห็นแก่นอน นอนน้อย เป็นผู้ตื่นอยู่เสมอ​
    ครูบาอาจารย์ท่านมักจะพูด ให้เข้าใจง่ายๆ ว่า
    ให้ปฏิบัติด้วยการเป็นผู้พูดน้อย กินน้อย นอนน้อย
    พร้อมกับสร้างกำลัง คือ พละ 5
    ได้แก่ ศรัทธา วิริยะ สติ สมาธิ และปัญญา ให้สมบูรณ์มากขึ้นๆ
    ปฏิบัติไปเรื่อยๆ อย่างน้อยจนกว่าจิตจะเป็นศีล คือ จิตสงบเป็นปกติ​
    โดยทั่วๆ ไป ถ้าเราถามว่าเราปฏิบัติธรรมเพื่ออะไร
    เราก็จะตั้งเป้าหมายว่า เราปฏิบัติเพื่อให้ได้ความสงบ
    แต่ผู้ปฏิบัติธรรมต้องเข้าใจว่า ความสงบก็เหมือนธรรมะทั้งปวง
    จะไม่บังเกิดขึ้นแก่เราเพียงเพราะเราอยากให้เกิด เพราะเราอยากได้
    แต่ ความสงบนั้นเป็นผลของความพากเพียรอดทนปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
    ด้วยความตั้งใจจริง และด้วยความเสียสละ และเมื่อเหตุปัจจัยพร้อม
    คือเมื่อศีลบริสุทธิ์บริบูรณ์แล้ว ก็จะได้ความสงบเบื้องต้น
    หรือความสงบเบื้องต้นจะปรากฏแก่เราเอง​
    เมื่อเกิดสมาธิแล้ว ความสงบเบื้องกลางก็จะปรากฏแก่เรา
    เมื่อปัญญาเกิด ความสงบอย่างยิ่งก็ปรากฏ
    เป็นความสงบที่มั่นคง ไม่หวั่นไหว
    แม้แต่เมื่อกระทบอารมณ์ก็สงบอยู่อย่างนั้น
    ให้สังเกตว่า ความสงบนั้นมีหลายระดับหลายลักษณะ
    แต่เราเรียกรวมๆ ว่า ความสงบทั้งนั้น
    จึงอาจให้เกิดความสับสนได้​
    แต่ผู้ปฏิบัติไม่ควรกังวลใจว่า
    "เอ นี่เราได้ความสงบขั้นไหน"
    เพราะถามเท่าไรก็ไม่รู้
    เรามีหน้าที่ปฏิบัติอย่างเดียว
    เมื่อเหตุปัจจัยพร้อมผลจะปรากฏเอง แล้วเราก็จะรู้เอง​
    ต่อไปนี้เรามาดูว่า เราจะปฏิบัติกับความไม่สงบอย่างไร
    หรือว่าเมื่อเกิดความไม่สงบขึ้น เราจะทำอย่างไร
    ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจว่า
    ที่เราไม่สงบนั้นก็เพราะเราไม่รู้จักตัวเองตามความเป็นจริง
    ฉะนั้นการศึกษาพระพุทธศาสนาและการปฏิบัติธรรม
    ก็คือการปฏิบัติเพื่อศึกษาตัวเอง
    เมื่อศึกษาตัวเอง เมื่อเห็นตัวเอง เราก็จะเห็นความไม่สงบ
    จะเห็นว่าความไม่สงบเป็นธรรมชาติปกติของเรา​
    เมื่อรู้เช่นนี้ ก็เริ่มยอมรับและเริ่มศึกษาความไม่สงบได้
    เมื่อความไม่สงบเกิดขึ้นอย่าท้อแท้เสียใจ
    ให้พยายามศึกษาความไม่สงบนั่นแหละ
    หรือจะพูดอีกนัยหนึ่งว่า เราต้องทำความรู้จักกับความไม่สงบ
    ต้องเห็นหน้าตาของความไม่สงบให้ชัดเจน

    ความไม่สงบมีอยู่ในกมลสันดานของปุถุชนเราๆ ทั่วๆ ไปเป็นปกติ
    เราต้องมองเห็นความไม่สงบเป็นธรรมะ เป็นกลางๆ
    ไม่ใช่ว่าดีหรือไม่ดี ไม่ต้องเสียใจที่ไม่สงบ
    ไม่ต้องยินร้าย ไม่ต้องรังเกียจความไม่สงบ
    พยายามทำใจเป็นกลางๆ
    พยายามระวังตัณหาที่ว่าเราต้องการความสงบ
    ไม่ต้องการความไม่สงบ พยายามทำความรู้สึกเฉยๆ
    ถ้าเราทำเฉยได้มากเท่าไร ความสงบก็จะเกิดได้เร็วขึ้นเท่านั้น
    พยายามเข้าใจอย่างนี้​
    เมื่อความไม่สงบเกิดขึ้น ให้ยกขึ้นพิจารณาเป็นธรรมะ
    ในสติปัฏฐาน 4 คือ กาย เวทนา จิต ธรรม
    ธรรมะมีทั้งกุศลาธรรม อกุศลาธรรม และอพยากตาธรรม
    คือ ธรรมะฝ่ายดี ฝ่ายไม่ดี และธรรมะเป็นกลางๆ
    ใจที่ไม่สงบเป็นกิเลสเป็นนิวรณ์ 5 เป็นอกุศลาธรรม
    ก็ยกขึ้นพิจารณาเป็นธรรมานุปัสสนานี่แหละ
    โดยไม่ต้องมีวิภวตัณหา ไม่ต้องยินร้ายกับอกุศลาธรรมที่ปรากฏอยู่
    พยายามทำใจเฉยๆ พยายามเห็นตามความเป็นจริง​
    ธรรมะสักแต่ว่าธรรมะ
    ความไม่สงบก็สักแต่ว่าอกุศลาธรรม
    อย่ายึดมั่นถือมั่น
    อกุศลาธรรมกำลังปรากฏก็ให้รู้
    รู้แล้วพยายามทำใจเป็นกลางๆ เฉยๆ ก็จะปล่อยวางได้
    นักปฏิบัติส่วนใหญ่ไม่เข้าใจ ต้องการแต่ความสงบ
    สงบจึงจะถือว่าปฏิบัติดี
    สงบก็ดี แต่บางครั้งไม่สงบก็ต้องปฏิบัติไป ไม่ต้องเสียใจ
    ไม่สงบก็เป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะถ้าเรายังเป็นปุถุชนอยู่​
    แม้แต่พระอริยบุคคลขั้นต้น อกุศลาธรรมาก็ยังมี เป็นธรรมดา
    อะไรๆ ปรากฏในปัจจุบันก็ช่าง
    เราปฏิบัติธรรมเลยดีกว่า สร้างเหตุนี่แหละ
    เรื่องอาหารนี่เป็นตัวอย่าง ถ้าเราคิดว่าจะเอาแต่อาหารที่อร่อย
    ย่อมจะหงุดหงิด ยินดียินร้ายทุกวันๆ
    ถ้าเราพิจารณาอาหารเป็นยา พยายามทำใจสงบ
    รับบิณฑบาตด้วยใจเป็นปกติ ใจเป็นศีล ใจสงบ
    บางวันไม่ค่อยมีกับข้าว หรือกับข้าวที่ชอบใจไม่มี ไม่เป็นไร
    เราฉันเป็นยาพิจารณาเป็นยา​
    บางครั้งมีอาหารที่ถูกปากอร่อย ก็พยายามทำใจสงบ
    รับประทานอาหารฉันอาหารด้วยใจสงบ อร่อยก็เอา ไม่อร่อยก็เอา
    ไม่ใช่จะเอาแต่อาหารอร่อยๆ อย่างเดียว
    ถ้ามีตัณหาอย่างนี้ จะมีแต่ความยินดียินร้าย
    เวลาปฏิบัตินั่งสมาธิเดินจงกรม จะไม่สงบ​
    ใจก็เหมือนกัน อารมณ์ที่ไม่สงบกำลังปรากฏอยู่
    พยายามมองเห็นเป็นธรรมะ
    อย่าเข้าไปยึดเอามาเป็นปัญหาส่วนตัว
    เป็นเราเป็นของเรา เราสงบ เราไม่สงบ พิจารณาเป็นยา
    ใช้ฝึกสติ สมาธิ ปัญญา เข้าสู่สติปัฏฐาน
    โดยเฉพาะธรรมานุปัสสนา พยายามเห็นความไม่สงบ
    เข้าใจความไม่สงบตามความเป็นจริง
    คือเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เกิดขึ้นแล้วดับไป
    พยายามระงับตัณหา ทำใจเฉยๆ
    ทำใจเฉยได้ ความสงบก็เกิดเป็นสมาธิ

    ปกติพอเกิดความไม่สงบเราจะเกิดโทสะ อาฆาตพยาบาท
    เกิดวิภวตัณหา โกรธตัวเองที่ไม่สงบ
    เกิดความไม่พอใจในความไม่สงบของตัวเอง
    จริงๆ แล้วเราต้องทำใจยอมรับความจริง
    ต้องอดทนระวังไม่ให้เกิดวิภวตัณหา

    ทำใจให้เป็นกลางๆ เมตตาตัวเองให้มากๆ
    เหมือนกับพยายามเมตตาคนที่เราไม่ชอบ คนที่แกล้งเรามาตลอด
    หรือจะคิดว่าเหมือนมีผีอยู่ในบ้าน
    ควรที่เราจะทำบุญอุทิศส่วนกุศลแผ่เมตตาให้เขา
    แทนที่จะโกรธเขารังเกียจเขา นี่ก็เหมือนกัน ใจเราไม่สงบ
    แทนที่เราจะโกรธ อาฆาตพยาบาทไม่พอใจ ยินร้าย
    เราควรพยายามทำความเข้าใจตัวเอง เข้าใจความไม่สงบ
    เมตตาตัวเอง อาศัยความอดทนพยายามไม่รังเกียจความไม่สงบอันนั้น

    เราก็อยู่กับนิวรณธรรมอย่างนี้มาตลอด
    เหมือนกับเราคบมิตรชั่วมาตลอดโดยเราไม่รู้ตัว
    อยู่มาวันหนึ่งเราได้พบกัลยาณมิตร จึงรู้ว่ามิตรที่คบมาตลอดนั้นเป็นมิตรชั่ว
    เราเองกำลังจะกลับตัวเป็นคนดี ทำอย่างไรจึงจะแยกกับเขาได้โดยไม่ทะเลาะกัน
    ถ้าเราไม่พอใจ โกรธ อาฆาตพยาบาท อาจทะเลาะกันก็เป็นได้ เขาก็จะเป็นศัตรูกับเรา
    เป็นการสร้างเวรสร้างกรรม สร้างภพสร้างชาติกันต่อไป

    เพราะฉะนั้น เราต้องใช้สติปัญญา หาทางแยกกันอย่างสันติโดยไม่ทะเลาะกัน
    ไม่ก่อเวรก่อกรรมกันต่อไป
    เราต้องหาอุบายให้แยบคาย
    ถ้าเราพยายามเข้าใจเขาว่า
    ธรรมชาติของเขาก็เป็นอย่างนั้น เราก็เคยเป็นอย่างนั้น
    แล้วแผ่เมตตาให้เขา สงสารเขา อย่าให้เขารู้สึกว่าเรารังเกียจเขา
    หาอุบายค่อยๆ แยกห่างจากเขาอย่างสุขุมนุ่มนวล
    เขาก็จะค่อยๆ แยกจากเราไปเองในที่สุด​
    ความไม่สงบก็เหมือนกัน
    เขาก็อยู่กับเราเหมือนมิตรชั่วมาหลายภพหลายชาติ
    แม้แต่ชาติปัจจุบันจนถึงวันนี้
    เราจะไล่เขาไปทันที ไม่ต้องการเขา รังเกียจเขา โกรธเขา ไม่ได้หรอก
    เราต้องเข้าใจเขา เมตตาเขา
    ซึ่งก็คือเข้าใจตัวเอง เมตตาตัวเอง​
    แล้วพยายามปฏิบัติของเราไปเรื่อยๆ เอาสติดูความไม่สงบ
    ดูอกุศลาธรรมนั้นๆ ด้วยใจเป็นกลางๆ
    "อาตาปี สัมปชาโน สติมา"
    มีความเพียรเครื่องเผากิเลส มีสติสัมปชัญญะ มีสติ
    จนสามารถเห็นด้วยปัญญาชอบว่า
    ความไม่สงบเป็น "อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา"
    ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน จิตก็จะปล่อยวางและสงบเอง​

    </td></tr></tbody></table>​
     
  10. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    โอปนยิโก <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td>
    พระธรรมเทศนาในพรรษาปี พ.ศ. 2535
    </td> </tr> <tr> <td>
    ...................

    คนเราถ้ามีโอปนยิกธรรม จิตใจก็เป็นธรรมคุณ เป็นจิตใจที่มีสัมมาทิฏฐิ
    เมื่อใจเป็นธรรม เห็นอะไรๆ ก็โอปนยิโก น้อมเข้ามาสู่ใจ
    เช่น ธรรมดาเมื่อเห็นรูปด้วยตา บางทีเห็นว่ารูปนั้นสวย จิตก็ปรุงไป
    เกิดราคะ เกิดความยินดีพอใจ อยากได้เป็นของเรา

    ทีนี้ถ้าใจของเราเป็นธรรมแล้ว พอเห็นรูปสวยก็โอปนยิโก
    น้อมเข้ามาดูกาย พิจารณากาย เห็นกายตามความเป็นจริงว่าเป็นอย่างไร
    พิจารณาตั้งแต่เกสา โลมา นขา ทันตา ตโจ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง ของตนเอง
    หรือพิจารณาข้างในกายว่า มีกระดูกบ้าง เลือดบ้าง น้ำเหลือง น้ำหนองบ้าง
    ตามความเป็นจริงแล้ว จะเห็นว่าร่างกายของมนุษย์นี้ล้วนเป็นปฏิกูล
    ของเน่าเปื่อยสกปรกเหมือนกันทั้งหมด

    เห็นเป็นอสุภะบ้าง เป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ลม ไฟ บ้าง
    ทำให้สามารถระงับราคะ ระงับตัณหา คือความยินดีรักใคร่ในรูปลงเสียได้
    หรือถ้าเห็นรูปไม่สวย เห็นใครทำอะไรน่าเกลียด ก็โอปนยิโก
    พิจารณาว่าลักษณะอย่างนี้น่าเกลียดจริงๆ ไม่น่าศรัทธาเลย
    เราก็ดูว่าเรามีลักษณะอย่างนี้บ้างหรือไม่ ​
    ธรรมดาก็มีกันทุกคนมากบ้างน้อยบ้าง
    เราต้องรีบตั้งสติเตือนตัวเองว่า ลักษณะอย่างนี้ไม่น่าทำ ไม่ควรทำ
    เราอย่าทำอย่างนั้นอย่างนี้ น้อมเข้ามาดูตัวเองพัฒนาตัวเอง ไม่คิดฟุ้งซ่าน
    ไม่คิดอัตตาตัวตน ว่าเขาว่าเรา เขาไม่น่าเป็นคนอย่างนั้น เขาไม่น่าทำอย่างนั้น
    คิดอะไรๆ ไปสารพัดอย่าง ยิ่งคิดก็ยิ่งเกิดกิเลส ​
    ความจริงคนอื่นๆ ไม่สำคัญ สำคัญที่เรานี่แหละ
    ให้เราพัฒนาตัวเอง ระวังกิเลสตัณหาของตัวเอง
    ชำระจิตใจตัวเองไปเรื่อยๆ
    เสียงที่ได้ยินทางหูก็เหมือนกัน ใครพูดน่าเกลียด
    คำนินทาหรือดูหมิ่นดูถูก ใครด่าเรา พูดไม่ถูกใจเรา เราเกิดความไม่พอใจ
    เกิดความไม่สบายใจ เมื่อใจเป็นธรรมแล้วจะยกขึ้นพิจารณาทันทีว่า
    ความไม่พอใจเกิดขึ้นเพราะอะไร สาวหาสาเหตุ
    เหตุก็อยู่ที่ใจ เราจะเห็นกิเลสตัณหาที่ใจของเราเอง
    จะพบว่าทุกข์อยู่ที่ใจของเราเอง เหตุก็อยู่ที่ใจของเรานี่แหละ

    คำพูดของเขา การกระทำของเขาเป็นเพียงปัจจัย
    เราควรพิจารณาเหตุผลและปัจจัย
    พระพุทธเจ้าทรงสอนว่า เมื่อทุกข์เกิดขึ้นให้ระงับเหตุ
    ตัณหาเป็นเหตุ ทุกข์เป็นผล คำนินทาเป็นปัจจัย
    ไม่ใช่ไปเปลี่ยนปัจจัย ไม่ให้เขาพูด ไม่ให้เขาทำ​
    พระพุทธองค์ไม่ให้สนใจปัจจัย ไม่ให้สนใจที่คนอื่นมากนัก
    เพราะเราจะไปแก้คนอื่นทั้งโลกเพื่อให้เขาทุกคน ทำทุกอย่างให้เราพอใจ
    ให้เราสบายใจไม่ได้ดอก ต้องแก้ที่ใจเรา แก้ที่ตัวเรา
    แก้ที่ความคิดของเราเอง "อัตตนา โจทยัตตานัง"
    ให้กล่าวโทษโจทย์ความผิด ตรวจความผิดของตัวเอง และหมั่นแก้ไขเสมอๆ
    อย่าไปเสียเวลากล่าวโทษและพยายามแก้ไขที่คนอื่นเลย
    นี่เป็นการเข้าใจตามอริยสัจสี่ เป็นโอปนยิโก​
    ฉะนั้นเมื่อเกิดทุกข์เกิดความไม่พอใจขึ้น ให้รีบสำรวมกายวาจา
    สำรวมกายให้เรียบร้อย วาจาให้ระงับ รีบอบรมจิตใจให้คิดถูกคิดดี
    เพื่อระงับกิเลสตัณหาของตัวเอง คนอื่นช่างเขา
    ให้น้อมเข้ามาพิจารณาว่า คำนินทาสรรเสริญเป็นโลกธรรม 8
    เป็นของธรรมดาประจำโลก
    แม้แต่พระพุทธเจ้าผู้ทรงพระบริสุทธิคุณ พระปัญญาธิคุณ
    ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณต่อสัตว์โลกถึงปานนั้น ก็ยังไม่พ้นคนนินทา
    และพระองค์อาจจะเป็นผู้หนึ่งที่ถูกนินทามากที่สุดในโลกก็ได้​
    ฉะนั้นการที่เราถูกนินทาจึงเป็นเรื่องธรรมดา
    สำหรับผู้ที่ทำงานรับผิดชอบมาก มีหน้าที่การงานสูง
    ยิ่งจะต้องถูกนินทามากขึ้นเป็นธรรมดา
    เมื่อเขานินทาว่าเราทำผิด ทำไม่ดี เราก็รับฟังด้วยใจเป็นกลางๆ
    และพิจารณาดูว่า เราไม่ดีหรือทำผิดตามที่เขาพูดหรือเปล่า
    ถ้าเห็นว่าเขาพูดถูก เราก็ขอบคุณเขา และนำมาแก้ไขตัวเอง
    ถ้าเราพิจารณาแล้วเห็นว่าเราไม่ได้ผิดตามที่เขาพูด
    ก็เมตตาสงสารเขา เพราะเขาไม่รู้จริง เราไม่ต้องโกรธเขา
    "สิขีภูโต" เอาตนเป็นพยานของตน​
    แม้แต่รอบด้านจะนินทาเรา ถ้าเราไม่ผิด ปกติเราก็จะทุกข์มาก
    ทำใจไม่ได้คือไม่เชื่อธรรมะ เชื่อคำพูดของคนอื่น
    แต่ถ้าใจเป็นธรรมะจริงๆ เราก็ไม่หวั่นไหวไม่เสียใจ
    ให้น้อมเข้ามาดูใจเราว่า เรายังทุกข์ยังโกรธเขาอยู่หรือเปล่า
    ถ้ายังทุกข์อยู่ก็พยายามระงับเหตุ คือตัณหาอุปาทานที่ใจเรานี่แหละ
    ทุกข์เกิดเพราะเหตุปัจจัยพอดีกัน ถ้าเราระงับเหตุได้
    ถึงแม้จะยังมีปัจจัย คือยังมีคำนินทาอยู่ เราก็ไม่เป็นทุกข์​
    ราคะ โลภะ โทสะ โมหะ เป็นอกุศลมูลนอนนิ่งอยู่ในสันดาน
    อยู่ในจิตใจของคนเรา นี่คือมูลเหตุของทุกข์
    เมื่อมีปัจจัยมาจากภายนอก เช่น รูปไม่สวย คำพูดไม่ไพเราะ
    มากระตุ้นก็ปรุงขึ้นมา ถ้าเราได้สติปุ๊บ
    พอเกิดทุกข์หรือยินร้าย หรือเกิดอุปาทาน ยึดมั่นถือมั่น
    หรือเกิดอารมณ์แล้ว ต้องรีบโอปนยิโก น้อมเข้ามาหาเหตุที่ใจเรา
    ไม่ต้องนึกถึงเขา เพราะนึกถึงเขาก็เกิดเรา เกิดเป็นอัตตาตัวตน
    เขาไม่ดีขนาดไหนไม่สำคัญ อย่าปล่อยจิตใจเราให้ฟุ้งซ่านออกไป​
    จิตคิดมากก็เกิดปฏิกิริยาออกทาง หน้าตา วาจา กาย
    จนรักษาศีล 5 ศีล 8 ศีล 10 ไม่ได้
    ธรรมดาเราน่าจะรักษากายวาจาให้เรียบร้อยได้
    ยิ่งรักษาใจได้ ศีลจะยิ่งสมบูรณ์ขึ้น
    ทำใจเฉยได้ เรียกว่าศีลเป็นปกติ กาย วาจา จิต เรียบร้อย
    ศีลหนักแน่นเหมือนศิลา ถูกนินทาด่าว่าก็ทำใจเฉยได้ ใจเป็นศีล
    ฉะนั้นไม่ว่าจะเห็นรูปที่สวย ไม่สวย เห็นคนทำดี ทำชั่ว
    ได้ยินเสียงสรรเสริญ เสียงนินทา เสียงที่ไพเราะ เสียงที่ไม่ไพเราะ
    กลิ่นที่เหม็น หอม ชิมรสที่อร่อย ไม่อร่อย
    สัมผัสที่กาย เกิดสุขเวทนา ทุกขเวทนา อะไรๆ ก็แล้วแต่​
    ก็มีแต่โอปนยิโกน้อมเข้ามาดูตัวเองพัฒนาตัวเอง
    ละความชั่ว บำเพ็ญความดี
    ยังประโยชน์ให้เกิดแก่ตัวเองฝ่ายเดียว เอากำไรไปเรื่อยๆ​
    โอปนิยิโก คือ การน้อมเข้ามาสู่ใจ
    เป็นกระบวนการของจิตที่พิจารณาตามกระแสของอริยสัจ 4 หรือปฏิจจสมุปบาท
    ปฏิจจสมุปบาทนี่ให้ทบทวนบ่อยๆ ตั้งแต่ ผัสสะ เวทนา ตัณหา อุปาทาน
    ภพ ชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาส
    คอยตั้งสติทวนกระแสของปฏิจจสมุปบาท ไม่ให้ไหลไปตามวัฏฏสงสาร
    ตั้งสติได้ตรงไหน เมื่อไร ก็ทวนกระแสเมื่อนั้นตรงนั้น
    ถ้าสติปัญญาว่องไว เมื่อผัสสะเกิดขึ้นทางตาหูจมูกลิ้นกายใจ
    ก็รู้ทันทีว่า สักแต่ว่ารูป สักแต่ว่าเห็น สักแต่ว่าได้ยิน สักแต่ว่ากลิ่น
    สักแต่ว่ารส สักแต่ว่ารู้สัมผัสทางกาย สักแต่ความคิด
    คิดอะไรก็รู้ สักแต่ว่ารู้ เวทนา ตัณหาก็ไม่เกิด ​
    "สักแต่ว่า" เป็นเรื่องของปัญญา เป็นวิปัสสนา
    ถ้าจับผัสสะไม่ทัน เมื่อเกิดความรู้สึกชอบไม่ชอบ เป็นเวทนา
    ถ้าปรุงแต่งต่อไปก็จะเกิดตัณหาอุปาทาน อันเป็นตัวทุกข์
    ตามกระแสของปฏิจจสมุปบาท
    และถ้าคิดๆ ต่อไปก็จะเกิดเป็นภวะ เป็นภพ
    ถ้าปรุงๆ ต่อไปมากขึ้นๆ จนเกิดเป็นเรื่องราวก็จะเป็นชาติ
    โสกะ ปริเทวะ ทุกข โทมนัส อุปายาสก็จะตามมามากมาย
    ฉะนั้นเมื่อความรู้สึก คือเวทนาเกิดขึ้น พยามยามให้เห็นว่าเป็นอนิจจัง
    ปล่อยวางเสีย อย่ายึดมั่นถือมั่น ทุกข์ก็ไม่เกิด​
    สอนใจตัวเองด้วยคำที่หลวงพ่อสอนง่ายๆ ว่า
    "ชอบหรือไม่ชอบ อย่ายึดมั่นถือมั่น"
    พยายามจับความรู้สึกแล้วก็ปล่อย
    หรือเมื่อทุกข์เกิดแล้ว ก็น้อมเข้ามาดูใจตัวเอง
    สาวหาเหตุของทุกข์ตามปฏิจจสมุปบาท หรืออริยสัจ 4
    ก็จะพบตัณหาอุปาทาน
    ให้พยายามทวนกระแสปฏิจจสมุปบาท
    เพื่อระงับเหตุ คือตัณหาอุปาทาน
    ทุกข์ทั้งหลายก็จะดับไป
    การทวนกระแสนี้คือ การดำเนินตามมรรค
    จึงควรที่เราจะพยายามตั้งมรรคตลอดเวลา ​

    </td></tr></tbody></table>​
     
  11. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    การปฏิบัติยามเช้าเมื่อตื่นนอน <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td>
    พระธรรมเทศนาในพรรษาปี พ.ศ. 2535
    </td> </tr> <tr> <td>
    ...................

    เช้าเมื่อตื่นนอน
    เช้าก่อนไปทำงาน ควรฝึกหัดตัวเองให้เป็นผู้มีสติในการที่จะกระทำการงาน
    ทุกสิ่งทุกอย่าง เริ่มต้นด้วยการเจริญสติปัฏฐาน 4 คือ ให้ตั้งสติพิจารณากาย
    เวทนา จิต ธรรม เน้นการชำระจิตก่อนไปทำงาน ในช่วงนี้ไม่ต้องคิดถึงเรื่องงาน
    ถ้าคิดก็ให้เน้นสติปัฏฐาน 4 เพื่อถอนความพอใจและไม่พอใจในโลกให้สิ้นไป
    ตั้งแต่ตื่นนอนให้เจริญสติไว้ ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา
    ทำอะไรไม่ต้องรีบทำ ทำช้าๆ เพื่อเน้นการฝึกสติ​
    พอรู้สึกตัวตื่นก็ให้กำหนดดูจิต ดูกาย ว่ามีอาการอย่างไร
    ดูกายว่าอยู่ในลักษณะอย่างไร นอนในลักษณะอย่างไร
    ให้มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา กายเคลื่อนไหวก็ให้รู้สึกตัว
    พับผ้า เก็บที่นอน นุ่งห่มผ้า ก็รู้สึกอยู่ตลอด
    ไม่ต้องรีบ ทำช้าๆ ให้รู้สึกตัว ตลอดเวลา…..นะ​
    เข้าห้องน้ำ ก็ให้ดูกาย ดูกายข้างนอกว่ามีอะไร มีลักษณะอย่างไร
    และดูกายข้างในมีอะไร มีลักษณะอย่างไร มีอะไรออกจากกายบ้าง
    สิ่งที่อยู่กับกายและออกจากกายมีแต่สิ่งที่สกปรกโสโครกทั้งนั้นใช่ไหม
    อาบน้ำชำระร่างกาย สระผม หวีผม ก็ให้พิจารณากาย พิจารณาผม
    ผมดำ ผมขาว ผมยาว ผมสั้น ผมหยิก ผมร่วง พิจารณาให้ละเอียด
    ถ้าเราไม่ชำระไม่ล้าง ไม่สระ ไม่หวี สิ่งเหล่านี้จะเป็นอย่างไร
    ให้ระมัดระวัง ตามดู ตามรู้ เห็นมือที่หวีผม
    เห็นอิริยาบถ ทุกอิริยาบถ​
    แปรงฟัน ให้กำหนดรู้สัมผัสของแปรงกับฟัน
    ให้พิจารณาฟันว่ามีลักษณะอย่างไร มีอะไรอยู่ที่ฟัน
    ถ้าไม่แปรงฟันจะเป็นอย่างไร ฟันไม่สะอาด เราจึงต้องแปรงอยู่บ่อยๆ
    ถ้าไม่แปรง ฟันจะเน่า จะเหม็น จะผุ จะโยกคลอน ในที่สุดก็หลุดร่วงไป
    ฟันให้ความสุขแก่เราได้มากเท่าใด ฟันก็จะให้ความทุกข์แก่เราได้มากเท่านั้น
    การแปรงฟันเป็นงานที่จำเป็น เป็นงานที่สำคัญมาก
    แปรงฟันช้าๆ ไม่ต้องรีบแปรง กำหนดดูตามอิริยาบถการเคลื่อนไหวของแปรง
    ดูแปรงสัมผัสฟัน กำหนดดูฟัน ดูฟันเรา ฟันเขา
    ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ​
    อนิจจัง ไม่เที่ยง มันเปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลา
    ทุกขัง มันเป็นทุกข์ต้องเอาใจใส่ดูแลรักษา
    อนัตตา ที่สุดก็ร่วงไป ไม่ใช่ของเรา​
    งานทุกอย่าง ให้ค่อยๆ ทำไปโดยมีสติสัมปชัญญะ
    มีความพอใจ ทำสบายๆ
    งานทุกชิ้นที่กำลังทำอยู่มีความสำคัญที่สุดทั้งนั้น
    ทั้งการพับผ้า การเก็บที่นอน การแปรงฟัน การเข้าห้องน้ำ
    ไม่ต้องรีบทำเพื่อจะไปทำอย่างอื่น
    การรู้สึกตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลา
    เป็นงานที่สำคัญที่สุดของผู้ปฏิบัติธรรม​
    ไม่ต้องรีบนะ ให้ทำไปเรื่อยๆ
    สำคัญให้จิตอยู่กับปัจจุบัน
    เอาใจใส่กับสิ่งที่ทำในปัจจุบัน
    ทำอะไรก็คอยดูด้วยสติสัมปชัญญะ
    พิจารณากาย พิจารณาจิตไปด้วยตลอดเวลา
    เสร็จแล้ว จึงนั่งสมาธิ เดินจงกรมครึ่งชั่วโมง หรือหนึ่งชั่วโมง
    ตามแต่จะมีเวลาและตามความเหมาะสมของแต่ละคน
    นี่คือการเตรียมจิตเตรียมกายเพื่อให้เหมาะแก่การงานต่อไปตลอดวัน ​

    </td></tr></tbody></table>​
     
  12. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    การทำสมาธิ <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td>
    พระธรรมเทศนาในพรรษาปี พ.ศ. 2535
    </td> </tr> <tr> <td>
    ...................

    นั่งหลับตา ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย ตั้งกายให้ตรง
    ให้ดูพระพุทธรูปเป็นตัวอย่าง นั่งให้สบายๆ พอดีพองาม
    หายใจให้สบายๆ กำหนดรู้ลมเข้า ลมออก โดยสม่ำเสมอ ให้ติดต่อกัน​
    ในเวลานั้น ไม่ต้องคิดอะไร ไม่ต้องทำอะไร
    การกำหนดรู้ลมเข้าลมออก เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด อย่างอื่นในโลกไม่สำคัญ
    หน้าที่ของเรามีแค่นี้ ให้เอาใจใส่ทำให้ดีที่สุด​
    อาตาปี สัมปชาโน สติมา มีความเพียรเครื่องเผากิเลส
    มีสัมปชัญญะ มีสติ มีความรู้สึกตัวทั่วพร้อม กำหนดๆ ๆ
    ต่อไปจิตก็จะสงบ ลมก็จะละเอียดเข้าๆ น้อยเข้าๆ จิตก็เบา กายก็เบา
    เป็นกายที่ควร แก่การงาน เป็นจิตที่ควรแก่การงาน ให้ปฏิบัติต่อไปเรื่อยๆ​
    การนั่งสมาธิ ให้ทำเป็นปกติ นั่งสงบก็นั่ง นั่งไม่สงบก็นั่ง
    ไม่สงบไม่เป็นไร นั่งให้เป็นศีล สงบกาย สงบวาจา นั่งอดนั่งทนก็แล้วกัน
    ให้อยู่ในท่านั่งก็แล้วกัน สงบหรือไม่สงบก็ไม่เป็นไรคือให้ได้นั่งนั่นแหละ
    พยายามรักษาใจ อดทนเข้าไว้​
    อยากทำหรือไม่อยากทำก็ต้องทำ
    การปฏิบัติต้องฝืนนะ
    การปฏิบัติคือการฝืน คือการทวนกระแส
    ระวังอย่าทุกข์ใจกับจิตที่ไม่สงบนะ
    ไม่สงบก็ให้รับรู้ไว้
    สงบเอา ไม่สงบไม่เอา ไม่ได้นะ
    อยากแต่สงบ ไม่อยากไม่สงบไม่ได้
    ดีใจเพราะสงบ เสียใจเพราะสงบก็ไม่ถูก​
    เรื่องจิตมันเป็นอย่างนี้มาตลอด ตั้งแต่ไหนแต่ไรมาแล้ว
    จิตของเราต้องเป็นอย่างนี้ ไม่ควรเป็นอย่างนั้น
    เราบังคับมันไม่ได้หรอก
    เรามีหน้าที่เพียงแต่กำหนดรู้ว่าสงบหรือไม่สงบเท่านั้น
    มันเป็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา​

    </td></tr></tbody></table>​
     
  13. rinnn

    rinnn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    7,666
    ค่าพลัง:
    +24,025
    กลางคืน - ก่อนเข้านอน <table align="center" border="0" width="94%"><tbody><tr> <td>
    พระธรรมเทศนาในพรรษาปี พ.ศ. 2535
    </td> </tr> <tr> <td>
    ...................

    กลางคืนก่อนนอนให้ภาวนาครึ่งชั่วโมง
    ทำจิตให้สงบ ชำระจิตใจ ตรวจจิตก่อนแล้วจึงนอน
    ก่อนนอนให้ตรวจความคิดทั้งวัน วันนี้ทั้งวันคิดอะไรบ้าง
    ให้เห็นด้วยใจจริงๆ ว่า ความคิดเป็นของไม่เที่ยง
    คิดๆ ๆ มากไปเสียเวลาเปล่าๆ
    ความคิดก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ​
    ก่อนนอนทำจิตให้สงบ
    ให้เห็นความว่าง ทำใจให้ว่างๆ ดูกายกับจิต
    ให้เห็นว่า กายกับจิต แยกกันอยู่
    จิตมองกายว่างๆ อยู่
    ปล่อยวาง สัญญา อารมณ์
    เหลือแต่ความว่างๆ ๆ ๆ
    รู้ว่ากายนี้เกิดขึ้นแล้วก็ดับไป
    รูปนามก็เกิดดับๆ อยู่อย่างนี้

    เมื่อเห็นกายกับจิต ความฟุ้งซ่านก็ดับ
    เห็นกายไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน
    เป็นเพียงธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ
    เห็นจิตไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน เป็นเพียงแต่ "รู้"
    ภาวนาตายก็ได้
    พิจารณาความตาย
    ตายจากอดีต อนาคต สัญญาอารมณ์
    ตายจากทุกอย่าง
    ตายจากปัญหาต่างๆ ทั้งหมด
    เมื่อตายแล้วทุกอย่างก็จบ ไม่มีอะไรเหลือ ไม่มีอะไรต้องคิด
    ทุกอย่างไม่น่าเอา ไม่น่าเป็น
    ตายจากความรู้สึกต่างๆ แล้วจะเห็นอนิจจัง
    ปล่อยวางอารมณ์ต่างๆ ได้หมด​
    การพิจารณาความตาย ก็คือการพิจารณาอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ถ้าคิดเป็น ก็เป็นสัมมาสังกัปปะ สัมมาสติ
    ยิ่งคิดก็ยิ่งสงบ เพราะเป็นความคิดที่ถูก
    ส่งเสริมให้เกิดปัญญา เกิดญาณทัสสนะ เกิดความสงบ
    ถ้าคิดไม่เป็น คิดผิด เป็นมิจฉาทิฏฐิ
    ยิ่งคิดยิ่งกลัว ยิ่งคิดยิ่งทุกข์ เป็นความคิดผิด คิดไม่ถูกทาง
    ถ้ามีสติสัมปชัญญะ มีความรู้ตัวทั่วพร้อม
    พิจารณาขันธ์ 5 หรือสติปัฏฐาน 4 ให้เห็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา
    ก็จะพ้นจากความกลัวตาย จึงไม่ต้องกลัวตาย​
    ไม่อยากเกิด ก็ต้องเกิด
    ไม่อยากตาย ก็ต้องตาย
    ตายก่อนตายนั่นแหละ จึงไม่เกิด
    เมื่อจิตสงบแล้ว สงบจากสัญญาอารมณ์ต่างๆ แล้ว จึงเข้านอน
    นอนไปกับความสงบ เรื่องหนักๆ
    ปล่อยวางให้หมด ไม่ต้องแบกไปนอนด้วย
    นอนกับความว่าง กับตัวรู้นั่นแหละ…..... เอวัง ! ​

    </td></tr></tbody></table>​
     

แชร์หน้านี้

Loading...