แนะนำพระดี มีพลังมหัศจรรย์ อาถรรพ์หนุนชีวิต อิทธิฤทธิ์มหาศาล

ในห้อง 'ประสบการณ์ เรื่องเล่า' ตั้งกระทู้โดย หนุ่มเมืองแกลง, 15 พฤษภาคม 2010.

  1. ลูกน้ำเค็ม

    ลูกน้ำเค็ม เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    3,022
    ค่าพลัง:
    +14,548
    ขอตัวพักผ่อนก่อนครับทุก ๆ ท่าน ดูแลสุขภาพกันด้วยนะครับ ราตรีสวัสดิ์ครับผม
     
  2. herun

    herun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    18 กุมภาพันธ์ 2010
    โพสต์:
    182
    ค่าพลัง:
    +1,052
    เป็นกำลังใจให้ครับ สู้ๆครับผม<!-- google_ad_section_end -->
    ขอบคุณครับก็อยากจะระบายไห้เพื่อนๆได้รับรู้บ้างละครับ บ้างครั้งเราก็ต้องโกหกพ่อและแม่เพื่อให้ท่านได้สบายใจหายห่วงแต่ผมสามารถรับรู้ได้ถึงความห่วงใยที่ท่านมีต่อเราแต่ไม่ได้พูดออกมา นานๆจะเข้ามาพิมพ์ซะที่แต่ก็ติดตามอ่านทุกวัน ก็ขอบคุณในน้ำใจที่มีต่อกัน
     
  3. PITINATTH73

    PITINATTH73 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    2,991
    ค่าพลัง:
    +9,624
    ผมขอตัวพักผ่อนก่อนครับ ญาติธรรม ชมรมคนรักพี่หนุ่มเมืองแกลง ทุกๆท่าน ราตรีสวัสดิ์ครับ
     
  4. siwarit

    siwarit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,159
    ค่าพลัง:
    +6,173
    ผมมีหนังสือธรรมมะออนไลน์สำหรับ download ได้ของครูบาอาจารย์หลายสิบเล่มครับ ท่านใดต้องการ download ได้เลยครับ

    ขออุทิศกุศลนี้ให้ตัวข้าพเจ้า, บิดามารดาของข้าพเจ้า, ญาติพี่น้องทั้งที่มีชีวิตอยู่ก็ดี, ที่ล่วงลับไปแล้วก็ดี, มิตรสหาย
    สิ่งศักดิ์สิทธิ์และดวงวิญญาญทั้ง
    3 ภพ,
    เจ้ากรรมนายเวร สัตว์ทั้งหลายที่เวียนว่ายตายเกิดอยู่บนโลกใบนี้
    รวมไปถึงศัตรูหมู่มาร...อย่าได้มีเวรมีกรรมต่อกันและกันจากนี้ไป...
    ขอให้ท่านมัจจุราชทรงเป็นสักขีพยานในการสร้างกุศลด้วยธรรมทานครั้งนี้ด้วยเทอญ
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • thamma.zip
      ขนาดไฟล์:
      592.7 KB
      เปิดดู:
      130
  5. โอ ท่าซุง

    โอ ท่าซุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 เมษายน 2008
    โพสต์:
    1,291
    ค่าพลัง:
    +8,436
    สวัสดียามเช้าทุกท่านครับ ตามอ่านย้อนหลังอยู่หลายหน้า โดยเฉพาะเรื่อง"แม่"ครับ ขออนุโมทนาสิ่งดีๆกับทุกท่านด้วยครับ ขอบคุณครับ
     
  6. ลูกวัด

    ลูกวัด เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,071
    ค่าพลัง:
    +5,194
    สวัสดียามเช้าทุกท่านครับ
    อนุโมทนากับบทความธรรมดีๆของท่าน 2zani วันนี้มีการ์ตูนมาให้อ่านด้วย ขอบคุณครับ:cool:
     
  7. 2zani

    2zani เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,549
    สวัสดีครับพี่หนุ่ม ขอบพระคุณมากครับ บทความเรื่องแม่ ทำให้ผมได้หยุดคิด ว่าตอนนี้แม่ผมเริ่มแก่ลงทุกวัน ทุกวัน ท่านคอยโทรหาถามตลอด กินข้าวหรือยัง เลิกงานกลับดึกไหม
    วันนี้ต้องเปลี่ยนใหม่แล้วครับ กลับไปกินข้าวเที่ยงกับแม่ที่บ้าน วันหยุดพาแม่ไปทำบุญ วันเวลาทุกนาทีมีค่า โปรดอย่าปล่อยเวลาให้เสียไป 1 วันโดยเปล่าประโยชน์ เราสามารถทำอะไรต่างให้แม่ได้ ไม่มากก็น้อย บานปลายชีวิตของท่านแล้วอยากให้แม่ขึ้นสวรรค์ทางจิต(แม่อยากผมทำอะไรก็จะไป ไม่รอ ไม่เลี่ยง ไปด้วยความเต็มใจ)
     
  8. โต้งชลบุรี

    โต้งชลบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,474
    ค่าพลัง:
    +18,351
    สวัสดียามเช้าครับ ทุกท่าน อ่านที่พี่หนุ่มเขียนเมื่อวานเรื่องแม่ แล้ว อยากตะโกนดัง ๆ ให้แม่ได้ยิน ว่า "รักแม่มากที่สุดครับ" ขอให้ทุกท่านมความสุขตลอดทั้งวันนะครับ
     
  9. namo_2009

    namo_2009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    2,432
    ค่าพลัง:
    +10,228
    สวัสดีตอนเช้าครับผม ทำงานๆๆๆกันครับ
     
  10. Norragate

    Norragate เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    19,518
    ค่าพลัง:
    +37,735
    สวัสดียามเช้าครับทุกๆท่าน....(^_^)
     
  11. 2zani

    2zani เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 มกราคม 2009
    โพสต์:
    1,144
    ค่าพลัง:
    +5,549

    สวัสดีครับพี่หนุ่ม พี่ๆทุกท่าน นิทานชาดกครับ

    กระต่ายผู้สละชีวิต<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width="75%" align=center><TBODY><TR><TD>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภการถวายบริขารทุกอย่างของพ่อค้าชาวเมืองคนหนึ่งได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...


    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นกระต่ายอาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่งท่ามกลางหุบเขาและแม่น้ำล้อมรอบ มีสัตว์เป็นเพื่อนกันอัก ๓ ตัว คือ ลิง สุนัขจิ้งจอก และนาก สัตว์ทั้ง ๔ เป็นสัตว์มีศีลธรรม ทุกเย็นจะมาพบกันและฟังโอวาทของกระต่ายเสมอ

    ต่อมาวันหนึ่ง กระต่ายมองดูจันทร์รู้ว่าพรุ่งนี้จะเป็นวันอุโบสถ จึงให้โอวาท ว่า " วันพรุ่งนี้ พวกเราจงพากันรักษาศีล ให้ทานเถิด เพราะมีผลบุญกุศลมาก ฉะนั้นพวกท่านจงเตรียมอาหารไว้แบ่งปันคนขอทานเถิด" สัตว์ทั้ง ๓ รับคำแล้วกลับไปยังที่อยู่ของตน

    ครั้นรุ่งขึ้นมีนายพรานคนหนึ่งตกเบ็ดได้ปลาตะเพียน ๗ ตัวฝังทรายกลบไว้แล้วก็ข้ามไปทางใต้น้ำต่อไป นากออกหาอาหารได้กลิ่นปลานั้นแล้วจึงร้องขึ้น ๓ ครั้ง รู้ว่าไม่มีเจ้าของแล้วจึงคาบเอาปลาทั้ง ๗ ตัวไปยังที่อยู่ของตน นอนรักษาศีลอยู่

    ฝ่ายลิงเข้าไปในป่าได้มะม่วงมาแล้วก็กลับที่อยู่ตนนอนรักษาศีลอยู่ ส่วนเจ้ากระต่ายรักษาศีลอยู่ที่อยู่ของตนไม่ได้ออกไปหาอาหารมาไว้ให้ทาน คิดที่จะสละชีวิตให้ทานว่า " ถ้ามีคนมาขออาหาร งา และข้าวสารของเราก็ไม่มี ถ้าเช่นนั้นเราจะให้เนื้อของเราแก่เขาก็แล้วกัน" คิดแล้วก็นอนรักษาศีลอยู่

    ด้วยอานุภาพแห่งศีลของกระต่ายเป็นเหตุให้บรรลังก์ของเท้าวสักกะเร่าร้อน ท้าวเธอจึงลงมาพิสูจน์คุณของศีลของสัตว์ทั้ง ๔ ด้วยการแปลงร่างเป็นพราหมณ์ไปยังที่อยู่ของนากก่อน ร้องขออาหารกับนาก นากจึงกล่าวว่า "พราหมณ์.. เรามีปลาตะเพียนอยู่ ๗ ตัว ขอเชิญท่านบริโภคเถิด" พราหมณ์รับไว้แล้วก็ไปที่อยู่ของสุนัขจิ้งจอก เอ่ยปากขออาหารอีก สุนัขจิ้งจอกก็มอบอาหารให้พร้อมกับพูดว่า "พราหมณ์.. ข้าพเจ้ามีเนื้อย่าง ๒ ไม้ เหี้ย ๑ ตัว นมส้ม ๑ หม้อ เชิญท่านบริโภคเถิด" พราหมณ์รับไว้แล้วก็ไปที่อยู่ของลิงเอ่ยปากขออาหารเช่นเคย ลิงก็มอบอาหารให้พร้อมกับพูดว่า "พราหมณ์.. มะม่วงสุก น้ำเย็น ร่มเงาไม่อันร่มรื่นขอเชิญท่านบริโภคและพักผ่อนก่อนเถิด"

    พราหมณ์รับไว้แล้วก็ไปที่อยู่ของกระต่ายพร้อมร้องขออาหารเช่นเดิม กระต่ายดีใจจึงพูดว่า " พราหมณ์… ขอเชิญท่านก่อไฟเถิด เราไม่มีอะไรจะให้ท่าน นอกจากเนื้อของเรานี่แหละ ขอเชิญท่านบริโภคเราเถิด" ว่าแล้วก็กล่าวเป็นคาถาว่า

    "กระต่ายไม่มีงา ไม่มีถั่ว ไม่มีข้าวสาร ท่านจงบริโภค เราผู้สุกด้วยไฟนี้ แล้วเจริญสมณธรรมอยู่ในป่าเถิด"

    ท้าวสักกะจึงเนรมิตให้มีกองไฟขึ้นแล้วบอกให้กระต่ายทราบกระต่ายลุกขึ้นจากหญ้าแพรกสลัดขนไล่สัตว์อื่น ๆ ๓ ครั้ง มีความดีใจ ไม่กลัวต่อความตาย กระโดดเข้ากองไฟไป แต่ก็ต้องแปลกใจว่าไฟทำไมเย็นยิ่งนักจึงถามพราหมณ์ดู ท้าวสักกะในร่างพราหมณ์จึงกล่าวว่า "ท่านบัณฑิต เรามิใช่พราหมณ์ดอก เราเป็นท้าวสักกะ มาเพื่อทดลองศีลของท่านเท่านั้นเอง"

    กระต่ายพูดว่า "ท่านท้าวสักกะ ท่านหวังจะทดลองข้าพเจ้าเท่านั้นเองหรือ แล้วชาวโลกจะรู้ว่าข้าพเจ้าปรารถนาให้ชีวิตเป็นทานได้อย่างไรกันเล่า" ท้าวสักกะตอบว่า "คุณความดีในการเสียสละชีวิตเป็นทานของท่านครั้งนี้จะมีปรากฏตลอดไป" ว่าแล้วก็เขียนรูปกระต่ายไว้บนดวงจันทร์เป็นสัญลักษณ์ให้ชาวโลกได้เห็นตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา แล้วก็หายวับกลับเทวโลกไป สัตว์ทั้ง ๔ ตัวได้รักษาศีลจนตราบสิ้นชีวิต


    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]


    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>การรักษาศีลเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับชีวิตทั้งมนุษย์และสัตว์เดรัจฉาน เพราะผู้มีศีลเทวดาย่อมคุ้มครอง


    บาปเกิดจากความจงใจ<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่ในวทริการามเมืองโกสัมพี ทรงปรารภพระราหุลเถระ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ตระกูลหนึ่ง หลังจากเรียนจบศิลปวิทยาจากเมืองตักกสิลาแล้ว ได้ออกบวชเป็นฤาษีบำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์วันหนึ่งพระฤาษีได้สัญจรไปที่บ้านชายแดนหมู่บ้านหนึ่ง คนในหมูบ้านนั้นได้สร้างอาศรมถวาย จึงได้อาศัยอยู่ที่นั้นเรื่อยมา

    สมัยนั้น มีนายพรานนกคนหนึ่งในหมู่บ้านนั้น เลี้ยงนกกระทาไว้ตัวหนึ่งเพื่อไว้เป็นนกต่อ ทุกวันเขาจะพานกกระทาไปเพราะอาศัยเสียงของเรา ได้ตายไปเป็นจำนวนมาก เป็นบาปกรรมของเราหนอ นับแต่นี้ไปเราจะไม่ส่งเสียงร้องละ" นายพรานเมื่อเห็นนกกระทาไม่ร้องก็ใช้ไม้ตีหัว นกกระทากลัวตายจึงร้อง สร้างความทุกข์ลำบากให้แก่มันเป็นอย่างมาก อยู่ต่อมาวันหนึ่ง นายพรานจับนกกระทาได้เต็มกระเช้าแล้ว คิดจะดื่มน้ำไปที่อาศรมของพระฤาษีโพธิสัตว์ วางกรงนกไว้แล้วดื่มน้ำ ด้วยความเหน็ดเหนื่อยจึงเอนกายผล่อยหลับไป

    นกกระทาทราบว่านายพรานหลับ แล้ว จึงถามความสงสัยของตนกับพระฤาษีว่า "พระคุณเจ้าข้าพเจ้าเป็นอยู่สบายได้บริโภคอาหารตามชอบใจ แต่อยู่ในระหว่างอันตราย อยากทราบว่าทางเดินชีวิตของข้าพเจ้าเป็นอย่างไรหนอ?"

    พระฤาษีแก้ปัญหานกกระทาว่า "นกกระทาเอ๋ย.. ถ้าใจของเจ้าไม่น้อมไปเพื่อกรรมอันเป็นบาป บาปย่อมไม่แปดเปื้อนเจ้าผู้บริสุทธิ์ใจไม่คิดจะทำบาปกรรมดอก"

    นกกระทาถามต่ออีกว่า พระคุณเจ้า นกกระทาจำนวนมากคือญาติของข้าพเจ้า นายพรานอาศัยข้าพเจ้าทำปณาติบาตอยู่ ข้าพเจ้ารังเกียจเรื่องนี้มาก บาปกรรมจะมีถึงแก่ข้าพเจ้าไหมหนอ"
    พระฤาษีจึงตอบเป็นคาถาว่า


    "ถ้าใจของท่านไม่คิดประทุษร้ายไซร้ กรรมชั่วที่นายพรานอาศัยท่านกระทำแล้ว ย่อมไม่ถูกต้องท่านบาปกรรมย่อมไม่แปดเปื้อนท่านผู้บริสุทธิ์ ผู้มีความขวนขวายน้อย"

    แล้วก็พูดให้นกกระทาสบายใจว่า "เจ้าไม่มีความจงใจการทำปาณาติบาต บาทกรรมจึงไม่มีแก่เจ้าผู้บริสุทธิ์ดอกนะ" นกกระทาได้ฟังแล้วก็สบายใจนิ่งเงียบอยู่ ฝ่ายนายพรานตื่นนอนแล้วลุกขึ้นไหว้ฤาษีแล้วก็ถือกรงนกกระทากลับบ้านไป

    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>ไม่มีเจตนาจะทำบาปกรรม แม้จะประกอบอาชีพที่เสี่ยงต่อการทำบาป บาปกรรมก็ไม่ตกแก่ผู้นั้น</TD></TR></TBODY></TABLE>

    การขอ<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่อัคคาฬวเจดีย์ เมืองอาฬวี ทรงปรารภกุฏิการสิกขาบทที่พวกภิกษุชาวเมืองอาฬวีพากันสร้างกุฏีเที่ยวขอชาวบ้าน จนชาวบ้านเกิดความเดือดร้อนขึ้นจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายโบราณบัณฑิต แม้พระราชาจะปวารณาไว้แล้วก็ไม่มีขอในท่ามกลางมหาชน เพราะกลัวหิริโอตตับปปะร้าวฉานออกปากขอในที่ลับเท่านั้น " แล้วได้นำอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์ ตระกูลหนึ่งได้บวชเป็นดาบสอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง วันหนึ่งได้ไปที่เมืองอุตตรปัญจาลครของพระเจ้าปัญจาลราช อาศัยอยู่ในสวนหลวง พระราชาทรงเลื่อมใสจึงนิมนต์ให้อยู่ในเมืองนั้นโดยสร้างศาลาให้อยู่ที่สวนหลวง

    เมื่ออย่างเข้าฤดูฝน ดาบสประสงค์จะกลับป่าบำเพ็ญเพียรในการเดินทางต้องมีร่มกันฝนและรองเท้าคู่หนึ่งจึงคิดจะทูลขอกับพระราชา วันนั้นพอพระราชาเสด็จประพาสสวนหลวงพร้อมด้วยเหล่าอำมาตย์ ก็คิดเกรงในว่า "ผู้ถูกขอ เมื่อให้สิ่งของย่อมเป็นเหมือนคนร้องไห้ ผู้ขอถ้าเขาบอกว่าไม่มีก็เหมอนคนร้องไห้เช่นกัน ดังนั้น มหาชนไม่ควรเห็นเรากับพระราชาร้องไห้ เราจะทูลขอในที่ลับ" ดาบสจึงทูลพระราชาว่า "มหาบพิตร อาตมามีเรื่องจะทูลเป็นความลับ" พระราชาจึงรับสั่งให้ทหารถอยออกไป ห่างไกลแล้วประทับคอยรับฟังอยู่ ฝ่ายดาบสกลับคิดอีกว่า "ถ้าเราทูลขอไป พระราชาไม่ประทาน ไมตรีของเราทั่งสองก็จบสิ้นเพราะฉะนั้นเราทูลขอในวันอื่นดีกว่า" จึงทูลว่า "มหาบพิตร ขอเชิญเสด็จเถิด พรุ่งนี้อาตมาจึงจะทูล" แม้ในวันอื่น ๆ ก็เป็นไปในลักษณะนี้จนเวลาผ่านไปถึง ๑๒ ปี

    วันหนึ่งพระราชาทรงดำริว่า "พระคุณเจ้าบอกว่ามีความลับจะสนทนากลับไม่กล้าท่านต้องการอะไรหนอ วันนี้เราต้องรู้ให้ได้" จึงเสด็จไปที่สวนหลวงและตรัสถามดาบสว่าต้องการอะไรดาบสทูลว่า "พระองค์จักประทานหรือ " พระราชาตรัสว่า "พระคุณเจ้าต้องการอะไรบอกมาเถิดจักถวาย"

    ดาบสจึงทูลว่า "มหาบพิตร อาตมาต้องการร่มและรองเท่าคู่หนึ่งใช้ในเวลาเดินทาง"

    พระราชา "พระคุณเจ้า มีเท่านี้เองหรือที่ท่านไม่อาจขอได้ตั้ง ๑๒ ปี"

    ดาบส "เจริญพร" พระราชา "เพราะอะไรจึงเป็นเหตุให้พระคุณเจ้าไม่กล้าเอ่ยปากขอ"

    ดาบสจึงทูลว่า "มหาบพิตร ผู้ขอย่อมได้ ๒ อย่าง คือได้หรือไม่ได้เท่านั้น ผู้ถูกขอเมื่อให้สิ่งของเป็นเหมือนคนร้องไห้ผู้ขอเมื่อเขาบอกว่าไม่มี ก็เป็นเช่นคนร้องไห้ ดังนั้น มหาชนอย่าได้เห็นอาตมาและพระองค์ร้อง ไห้เลยอาตมาจึงหวังเฉพาะที่ลับเท่านั้น

    พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่งขึ้น เมื่อจะถวายสักการะมากจึงตรัสเป็นคาถาว่า

    "ข้าแต่ท่านพราหมณ์ ข้าพเจ้าขอถวายวัวแดงหนึ่งพันตัว พร้อมด้วยโคจ่าฝูงแก่ท่าน เพราะอารยชนได้ฟังคาถาอันประกอบด้วยธรรมของท่านแล้ว จะไม่พึงให้แก่อารยชนได้อย่างไร"

    ดาบสทูลห้ามว่า "มหาบพิตร อาตมาไม่ต้องการวัตถุกามซึ่งเป็นภาระที่ต้องรับผิดชอบ ขอพระองค์ประทานเพียงร่มและรองเท้าเท่านั้นเถิด" ให้โอวาทแก่พระราชาแล้วก็ไปยังป่าบำเพ็ญเพียรตราบเท่าชีวิต


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>อย่าเป็นคนชอบขอ เพราะผู้ถูกขอย่อมเป็นทุกข์ใจ ผู้ขอเมื่อไม่ได้ก็เป็นทุกข์เช่นเดียวกัน</TD></TR></TBODY></TABLE>


    นางกากี<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภภิกษุผู้กะสันจะสึกรูปหนึ่งตรัสให้โอวาทว่า "ภิกษุ ธรรมดามาตุคาม (แม่บ้าน) ใคร ๆ ก็รักษาไว้ไม่ได้ โบราณบัณฑิตในครั้งก่อน ถึงจะยกมาตุคามขึ้นไปไว้ในวิมานฉิมพลีในท่ามกลางมหาสมุทรก็ไม่อาจรักษาสตรีได้" แล้วได้นำอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระราชาผู้ครองเมืองพาราณสี มีมเหสีพระนามว่า กากาติ มีพระรูปโฉมงดงามยิ่ง ใครเห็นใครก็ลุ่มหลงในความงาม ในวันหนึ่งมีพญาครุฑตนหนึ่งแปลงร่างเป็นมนุษย์มาเล่นสกา (การพนันชนิดหนึ่ง)กับพระราชา ได้พบเห็นพระนางกากาตินั้นแล้วเกิดความรักใคร่ในนาง จึงแอบพานางหนีไปอยู่ที่วิมานฉิมพลีอันเป็นที่อยู่ พระราชาเมื่อไม่พบเห็นพระเทวีจึงตรัสเรียกคนธรรพ์ชื่อ นฏกุเวรมาเข้าเฝ้า พร้อมมอบหมายให้นำพระเทวีกลับมาให้ได้

    ฝ่ายคนธรรพ์ทราบที่อยู่ของครุฑแล้ว จึงไปนอนแอบซุ่มอยู่ในดงตะไคร้ข้างสระลูกหนึ่ง พอครุฑบินไปจากสระก็แอบกระโดดเกาะระหว่างปีกครุฑไปจนถึงวิมานฉิมพลี แอบได้เสียกับพระนางกากาติที่วิมานนั้น แล้วก็อาศัยครุฑนั้นแหละกลับมาเมืองพาราณสีอีก ในวันหนึ่งขณะที่พญาครุฑเล่นสกากับพระราชาอยู่ คนธรรพ์ก็ทำทีเป็นถือพิณมาที่สนามสกา ขับร้องเป็นเพลงว่า
    "หญิงรักคนรักของเราอยู่ ณ ที่แห่งใด กลิ่นของนางยังหอมฟุ้งมาที่แห่งนั้น ใจของเรายินดีในนางใด นางนั้นชื่อกากาติ อยู่ไกลจากที่นี้"

    พญาครุฑพอได้ฟังแล้วสะดุ้งจึงถามเป็นนัยว่า "ท่านข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งไปได้อย่างไร ท่านขึ้นวิมานฉิมพลีได้อย่างไร" นฏกุเวรจึงตอบว่า "เราข้ามทะเลมหาสมุทรทั้ง ๗ แห่งได้ก็เพราะท่าน ขึ้นวิมานฉิมพลีได้ก็เพราะท่านนั้นแหละ"

    พญาครุฑพอได้ทราบความจริงแล้ว ก็กล่าวติเตียนตนด้วยความเสียใจว่า "ช่างน่าติเตียนเสียนี่กระไร เรามีร่างกายใหญ่โตเสียเปล่าไม่มีความคิด จึงเป็นพาหนะให้ชายชู้ของเมียทั้งไปและกลับ น่าเจ็บใจจริง ๆ" กล่าวจบก็คืนร่างเป็นพญาครุฑไปนำพระนางกากาติมาคืนพระราชาแล้วไม่หวนคืนกลับมาเล่นสกากับมนุษย์อีกเลย



    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=1 cellSpacing=1 cellPadding=5 width=550 align=center height=30><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>ไม่มีใครจะเก็บรักษาสตรีไว้ได้นอกจากสตรีนั้นจะรักษาตนเอง</TD></TR></TBODY></TABLE>


    คุณสมบัติของผู้นำ<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภโอวาทของพระราชา ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพระฤๅษีนำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์ มีรากไม้และผลไม้เป็นอาหาร ในสมัยนั้น พระเจ้าพรหมทัตขึ้นครองราชสมบัติในเมืองพาราณสี พระองค์เป็นผู้รังเกียจความไม่ดี วันหนึ่งทรงดำริว่า "เราปกครองเมืองมานี้ มีใครเดือนร้อนและกล่าวโทษของเราหรือเปล่าหนอ" จึง ทรงแสวงหาอยู่ทั้งในวังและนอกวังก็ไม่พบเห็นใครกล่าวโทษพระองค์ ทรงปลอมพระองค์ไปตามหมู่บ้านต่าง ๆ ก็ไม่พบเห็นจึงแวะเข้าไปในป่าหิมพานต์เข้าไปสนทนากับฤๅษีด้วยทำทีเป็นคนหลงทาง

    ฤๅษีได้ทำการต้อนรับด้วยผลไม้ป่านานาชนิด พระราชาปลอมได้เสวยผลไม้ป่ามีรสหวานอร่อยดี จึงถามถึงสาเหตุที่ทำให้ผลไม้มีรสหวานอร่อยดี ฤๅษีจึงทูลว่า "ท่านผู้มีบุญ เป็นเพราะพระราชาครองราชย์โดยธรรมเป็นแน่ ผลไม่จึงมีรสหวานอร่อยดี" พระราชาปลอมสงสัยจึงถามอีกว่า "ถ้าพระราชาไม่ครองราชย์โดยธรรม ผลไม้จะมีรสชาติเป็นเช่นไรล่ะพระคุณเจ้า "ฤๅษีตอบว่า "ผลไม้ก็จะมีรสขมฝาด หมดรสชาติไม่อร่อยละโยม" พระราชาปลอมสนทนาเสร็จแล้วก็อำลาฤๅษีกลับคืนเมืองไป ทรงทำการทดลองคำพูดของพระฤๅษีด้วยการไม่ประพฤติปฏิบัติธรรมเป็นปีแล้วกลับไปหาฤๅษีอีก ฤๅษีก็ทำการต้อนรับด้วยผลไม้ พอผลไม้เข้าปากเท่านั้นก็ต้องถ่มทิ้งไป เพราะผลไม้มีรสขมฝาด

    ฤๅษีจึงแสดงธรรมว่า "โยม..คงเป็นเพราะพระราชาไม่ครองราชย์โดยธรรมแน่เลย ธรรมดาฝูงโคว่ายข้ามแม่น้ำ จ่าฝูงว่ายคดฝูงโคก็ว่ายคดตามกันไป เหมือนหมู่มนุษย์ถ้าผู้นำมนุษย์ประพฤติไม่เป็นธรรม ประชาชนก็ประพฤติไม่เป็นธรรมเช่นเดียวกัน พระราชาผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม ทวยราษฎร์ก็เป็นทุกข์ทั่วกัน

    ถ้าจ่าฝูงโคง่ายน้ำตรง ฝูงโคก็ว่ายตรงเช่นกัน เหมือนหมู่มนุษย์ถ้าผู้นำประพฤติเป็นธรรม ประชาชนก็ต้องประพฤติเป็นธรรมเช่นกัน พระราชาผู้ตั้งอยู่ในธรรม ทวยราษฎร์ก็อยู่ร่มเย็นเช่นกัน"

    พระราชาสดับธรรมของพระฤๅษีแล้วจึงแสดงพระองค์เป็นพระราชาให้พระฤๅษีทราบ ไหว้ฤๅษีแล้วกลับคืนเมืองประพฤติตั้งตนอยู่ในทศพิธราชธรรมเช่นเดิม ทำให้สรรพสิ่งทั้งปวงกลับเป็นปกติตามเดิม


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>ผู้นำที่ดีต้องเป็นตัวอย่างและที่พี่งของประชาชนได้และเป็นไปเพื่อความสงบสุขของประชาชน</TD></TR></TBODY></TABLE>


    นางนกไส้<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเวฬุวัน เมืองราชคฤห์ ทรงปรารภพระเทวทัตผู้ไม่มีความกรุณาปรานีแก่หมู่สัตว์ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้วพระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาช้างมีช้างประมาณ ๘๐,๐๐๐ เชือก เป็นบริวารอาศัยอยู่ในป่าหิมพานต์ในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของช้างนั้นมีนางนกไส้ (นกต้อยตีวิด) ตัวหนึ่งตกฟองไข่อยู่ที่พื้นดินใกล้ทางเดินของพญาช้าง ในรังนั้นมีลูกนกออกใหม่หลายตัว

    วันหนึ่ง พญาช้างนำบริวารหากินไปถึงที่นั้น นางนกไส้เห็นช้างกำลังเดินมา กลัวว่าจะเหยียบลูกน้อยจึงประคองปีกทั้งสองข้างยืนอยู่ต่อหน้าพญาช้างพูดอ้อนวอนว่า "ท่านพญาช้าง ข้าพเจ้าขอไหว้ท่านด้วยปีกทั้งสอง ขอพวกท่านอย่าได้เหยียบลูกน้อยของข้าพเจ้าผู้ไม่มีกำลังเลย" พญาช้างตอบว่า "แม่นางนกไส้ ไม่ต้องกลัวเราจะรักษาลูกของเจ้าให้เอง" ว่าแล้วก็ยืนค่อมรังนกไว้ ให้ช้างบริวารเดินผ่านไปก่อน แล้วได้กล่าวเตือนนางนกไส้ว่า "ยังมีช้างเกระเชือกหนึ่งมักหากินผู้เดียวจะตามหลังมา เขาไม่อยู่ในโอวาทเรา เจ้าจงอ้อนวอนเขาเองนะ" ว่าแล้วก็เดินตามหลังช้างบริวาร ต่อมาไม่นานช้างหัวดื้อชอบแตกโขลงตัวนั้นก็มาถึงที่นั้น นางนกไส้ก็แสดงตนพร้อมพูดอ้อนวอนเหมือนกับครั้งก่อน ช้างนั้นพอได้ฟังว่ามีลูกนกอยู่ข้างหน้ายิ่งชอบใจใหญ่ กล่าวตอบนางนกไส้ว่า "แม่นางนกไส้เอ๋ย.. เราจักฆ่าลูกน้อยของเจ้าทั้งหมด เจ้าจะมีปัญญาทำอะไรเราได้" ว่าแล้วก็เดินเข้าไปกระทืบรังนกแหลกละเอียดแล้วร้องแป้นๆ เดินจากไป

    ฝ่ายนางนกไส้ที่บินหนีตายขึ้นไปจับบนกิ่งไม้ ได้พูดอาฆาตตามหลังช้างนั้นไปว่า "เจ้าช้างเกเร วันนี้เป็นวันของท่าน ปล่อยให้ท่านไปก่อน วันข้างหน้าเราจะเห็นดีกัน การใช้กำลังทำลายผู้ไม่มีกำลังไม่ดีแน่สำหรับท่าน" กล่าวจบก็บินไปขอความช่วยเหลือจากกา กาถามว่าจะให้ช่วยเหลืออะไร นางนกไส้จึงเล่ารายละเอียดให้ฟังว่า "ท่านกา ขอเพียงท่านช่วยจิกตาช้างให้บอดเท่านั้นเอง กาก็รับคำช่วยเหลือนั้น

    นางนกไส้เข้าไปหาแมลงวันหัวเขียว เล่าเรื่องให้ฟังแล้วขอความช่วยเหลือให้แมลงวันหัวเขียวไข่ใส่ตาช้าง แมลงวันก็รับคำช่วยเหลือ ต่อจากนั้นก็เข้าไปหากบตัวหนึ่ง เล่าเรื่องให้ฟัง และก็ขอความช่วยเหลือว่า "ท่านกบเมื่อช้างตาบอดและแมลงวันไข่ใส่ตามันแล้วมันก็จะแสวงหาน้ำดื่ม ขอให้ท่านไปอยู่ที่ปากเหวส่งเสียงร้องล่อช้างไปตกเหวให้หน่อย" กบก็รับคำช่วยเหลือ

    หลายวันต่อมา นางนกไส้เสาะแสวงหาจนพบช้างเกเรตัวนั้นแล้วจึงไปบอกกา กาได้ไปจิกตานั้นบอดทั้งสองข้างแมลงวันหัวเขียวก็ไปไข่หนอนใส่ตาช้างอีก สร้างความเจ็บปวดทรมานให้แก่ช้างเป็นอย่างยิ่ง สองสามวันต่อมาช้างเดินสะเปะสะปะโซซัดโซเซแสวงหาสระน้ำดื่ม ได้ยินเสียงกบร้องแว่วมาแต่ไกลจึงกำหนดทิศทางเสียงกบด้วยเข้าใจว่ากบร้องอยู่ข้างสระน้ำ เดินไปไม่นานก็ผลัดตกเหวตายในที่สุด สร้างความดีใจแก่นางนกไส้เป็นอย่างยิ่งที่ศัตรูได้ตายไป

    พระพุทธองค์เมื่อเล่านิทานจบจึงตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลายขึ้นชื่อว่าเวรไม่ควรทำกับใคร ๆ แม้สัตว์ทั้ง ๔ ร่วมมือกันทำให้ช้างผู้มีกำลังกว่าให้ตายได้" แล้วตรัสพระคาถาว่า

    "ท่านจงดูกา นางนกไส้ กบ และแมลงวันหัวเขียว สัตว์เหล่านี้ได้ฆ่าช้างแล้ว จงดูการจองเวรของคนคู่เวรทั้งหลาย เพราะฉะนั้น พวกเธออย่าได้ก่อเวรกับใคร ๆ แม้กับคนไม่เป็นที่รักเลย"


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>อย่าคิดข่มเหงคนอื่น ด้วยการดูถูกว่าเขามีกำลังน้อยกว่า เพราะการสร้างเวรย่อมนำความเดือดร้อนมาให้ </TD></TR></TBODY></TABLE>


    พญาเนื้อทอง<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวันเมืองสาวีตถี ทรงปรารภธิดาของตระกูลอุปัฏฐากพระอัครสาวกทั้งสอง (พระสารีบุตร และพระโมคคัลลานะ) นางหนึ่งผู้สามารถทำให้ครอบครัวสามีเป็นมิจฉาทิฏฐิกลับเป็นสัมมาทิฏฐิ ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นพญาเนื้อมีผิวพรรณดุจทอง มีนางเนื้อผู้ภรรยาที่น่ารัก ปกครองเนื้อประมาณ ๘๐,๐๐๐ ตัว อาศัยอยู่ป่าแห่งหนึ่ง

    อยู่มาวันหนึ่ง พญาเนื้อนั้นพาบริวารออกหากิน เท้าได้ติดบ่วงนายพราน พยายามดิ้นสุดชีวิตหวังให้บ่วงขาด บ่วงกลับยิ่งรัดเข้าติดกระดูกข้อเท้า สร้างความเจ็บปวดทรมานอย่างยิ่งจึงร้องขึ้นว่า

    "เราติดบ่วงแล้ว พวกท่านจงพากันหนีไป" หมู่เนื้อพอได้ยินก็พากันหนีไป

    ส่วนนางเนื้อภรรยาวิ่งหนีไปได้หน่อยหนึ่งไม่เห็นสามีวิ่งตามมาด้วย จึงวิ่งย้อนกลับไปที่เดิม เห็นสามีติดบ่วงอยู่จึงร้องไห้คร่ำครวญ ว่า

    "พี่.. ท่านเป็นผู้มีกำลังมาก พยายามดึงบ่วงให้หลุดเถิด น้องอยู่คนเดียวในป่านี้โดยไม่มีพี่ไม่ได้นะ"

    พญาเนื้อตอบภรรยาว่า "น้อง..พี่ได้พยายามแล้ว แต่บ่วงมันไม่ขาด มันยิ่งรัดแน่นเข้าจนเท้าพี่จะขาดแล้วละ"

    นางเนื้อภรรยาพูดปลอบใจสามีว่า "พี่ไม่ต้องกลัว น้องจะอยู่เป็นเพื่อนพี่เอง ถ้าพี่ตายน้องขอตายด้วย น้องจะอ้อนวอนให้นายพรานเห็นใจปล่อยพวกเราไป ถ้าเขาไม่เห็นใจ น้องขอตายแทนพี่เอง" แล้วได้ยืนอยู่กับสามีผู้ชุ่มด้วยเลือดนองเท้่าอยู่ที่นั่นเอง

    เวลาผ่านไปไม่นานนัก นายพรานเจ้าของบ่วงเดินถือหอกและดาบมาถึง นางเนื้อได้ออกมายืนต่อหน้านายพรานไหว้แล้วพูดว่า "ท่านนายพรานผู้เจริญ สามีข้าพเจ้าเป็นพญาเนื้อ เพียบพร้อมด้วยศีลและมารยาทดีงาม ปกครองเนื้อ ๘๐,๐๐๐ ตัว ก่อนที่ท่านจะฆ่าเขาขอให้ท่านฆ่าข้าพเจ้าก่อนเถิด" นายพรานพอได้ฟังก็ปลื้มใจแทน คิดว่า "แม้แต่มนุษย์เองก็ไม่มีใครเสียสละชีวิตตนเพื่อสามีเลย นางเนื้อตัวนี้กลับกล้าทำ และยังพูดเป็นภาษามนุษย์ที่ไพเราะยิ่งนัก เราจักให้ชีวิตแก่เนื้อสองตัวนี้" จึงพูดตอบไปว่า"แม่เนื้อ เราไม่เคยได้ยินได้เห็นเนื้อพูดได้ ขอให้ตัวเจ้าและพญาเนื้อจงอยู่เป็นสุขเถิด เราปล่อยพวกเจ้าไปละ" ว่าแล้วก็ตัดบ่วงที่เท้าพญาเนื้อทำบาดแผลให้แล้วก็ปล่อยไป

    นางเนื้อปลาบปลื้มใจยิ่งพูดขอบคุณนายพรานว่า "นายพรานผู้เจริญ ขอขอบคุณท่านเป็นอย่างสูงยิ่ง ขอให้ท่านและครอบครัวจงจำเริญสุขยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยเทอญ" ก่อนจากไปพญาเนื้อได้คาบแก้วมณีก้อนหนึ่งมาให้แก่นายพรานพร้อมให้โอวาทว่า "ท่านนายพราน ต่อแต่นี้ไปขอให้ท่านเลิกฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเสียเถิดจงทำบุญรักษาศีลให้ทานด้วยแก้วมณีนี้เถิด" กล่าวจบก็อำลานายพรานเข้าป่าไป



    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG] <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>ผู้มีศีลธรรม ย่อมสามารถชักนำผู้มีความเห็นผิด กลับมาเป็นผู้มีความเห็นถูกได้</TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    หมอผู้โชคร้าย<!-- google_ad_section_end --><HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start --><TABLE border=0 cellSpacing=1 cellPadding=5 bgColor=#cccccc align=center><TBODY><TR><TD bgColor=#ffffff>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>
    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารถพระเทวทัตผู้ไม่อาจทำความสะดุ้งกลัวแก่พระองค์ได้จึงตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    าลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นลูกชายพ่อค้าในหมู่บ้านแห่งหนึ่ง เป็นเด็กมีอายุได้ ๗-๘ ขวบ วันหนึ่ง ขณะกำลังเล่นอยู่ใต้ต้นไทรหน้าบ้านกับเพื่อนวัยเดียวกันนั้นเอง มีหมอร่างกายพิการคนหนึ่งไม่ได้ทำงานอะไร จึงเดินออกจากบ้านมาพบเด็กกำลังเล่นอยู่ เหลือบไปเห็นงูตัวหนึ่งโผล่หัวออกมาจากโพรงไม้ คิดวางแผนไว้ในใจว่า

    "เราเดือดร้องเงินไม่มีใครว่าจ้างเราน่าจะล่อเด็กพวกนี้ให้งูกัด แล้วเราจะได้รักษามีเงินใช้"

    คิดได้แล้วก็เรียกเด็กลูกชายพ่อค้ามาหาแล้วพูดว่า

    "หลานชาย.. เจ้าอยากได้นกสาลิกาไหม นั้นไงบนต้นไม้นั้น มันอยู่ในโพรงนั่นเอง"

    ลูกชายพ่อค้าไม่รู้ว่ามันเป็นงู จึงปีนต้นไม้ขึ้นไปจับถูกคองู พอรู้ว่ามันเป็นงูเห่าเท่านั้นก็รีบเหวี่ยงทิ้งไป บังเอิญว่างูนั้นถูกเหวี่ยงไปทางหมอร่างกายพิการคนนั้นพอดี งูรัดคอและก็กัดไปหลายทีพิษงูทำให้หมอนั้นล้มลงเสียชีวิตไปทันทีอย่างรวดเร็วจนไม่สามารถเยียวยาได้ทัน เสร็จแล้วงูก็เลื้อยเข้าป่า ชาวบ้านต่างพากันมุงดูร่างกายของหมอที่นอนตายอย่างน่าสมเพช

    พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานจบแล้วจึงตรัสพระคาถาว่า

    "ผู้ใดประทุษร้ายคนไม่ประทุษร้าย ผู้บริสุทธิ์ ผู้ไม่มีความผิด บาปย่อมกลับมาถึงคนพาลนั้นเองเอง เหมือนละอองฝุ่นที่บุคคลชัดไปทวนลม ย่อมกลับมากระทบเขาเอง ฉะนั้น"

    </TD></TR><TR><TD>[​IMG]

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>ให้ทุกข์แก่ท่านทุกข์นั้นถึงตัวอย่าคิดทำร้ายคนอื่น เพราะตนเองนั้นแหละจะเดือดร้อนเอง</TD></TR></TBODY></TABLE>


    ค่าจ้างเรือ<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->[​IMG]

    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่งพระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีทรงปรารภคนแจวเรือประจำท่าคนหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...

    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดเป็นฤๅษี บำเพ็ญเพียรอยู่ในป่าหิมพานต์เป็นเวลาช้านาน คิดอยากจะโปรดญาติโยม จึงเข้าไปเที่ยวภิกขาจารในเมืองพาราณสี พระราชาทรงเลื่อมใสแล้วนิมนต์ให้จำพรรษาในสวนหลวงเพื่อถวายทาน พระราชาจะเสด็จไปฟังธรรมวันละครั้ง ฤๅษีมักจะให้โอวาทเป็นประจำว่า "มหาบพิตร พระราชาไม่ควรมีอคติ ๔ อย่าง เป็นผู้ไม่ประมาทสมบูรณ์ด้วยขันติ มีเมตตากรุณา ครองราชย์โดยธรรม ที่สำคัญพระองค์อย่างทรงโกรธเป็นอันขาด ไม่ว่าในที่ไหนๆ จะเป็นในบ้านในป่าหรือที่ลุ่มที่ดอนก็ตาม ถ้าทำได้พระองค์จะเป็นที่รักของทวยราษฎร์ตลอดไป" พระราชาทรงเลื่อมใสยิ่ง จึงถวายหมู่บ้านชั้นดีที่เก็บเงินส่วยภาษีได้ปีละ ๑๐๐,๐๐๐ กหาปณะให้ ๑ ตำบล แต่ฤๅษีไม่รับเพราะถือเป็นกิเลส จนเวลาผ่านไปได้ ๑๒ ปี

    ต่อมาวันหนึ่ง ฤๅษีคิดจะเดินทางไปโปรดญาติโยมที่อื่นบ้างจึงไม่ได้เข้าเฝ้าทูลลาพระราชา เพียงบอกให้คนเฝ้าสวนหลวงไปกราบทูลให้ทรงทราบ แล้วก็ออกเดินทางไปถึงฝั่งแม่น้ำคงคา ที่ท่าเรือมีคนแจวเรือไปส่งคนข้ามฟากแล้ว่ค่อยคิดเงินค่าจ้างเอาตามใจชอบ เมื่อลูกค้าไม่ให้ก็มักจะมีเรื่องทะเลาะชกต่อยและขู่เอาเงินค่าจ้างจากผู้โดยสารอยู่เป็นประจำ

    ฤๅษีเมื่อไปถึงท่าเรือแล้วก็ขอใช้บริการเรือจ้างของนายอาวาริย์ปิตานั้น เขาถามขึ้นด้วยอาการเกียจคร้านว่า "ท่านจะให้ค่าจ้างเรือผมเท่าไรละ?" "โยม..อาตมาจะให้ของดีทำให้ร่ำรวยทรัพย์แก่ท่าน" ฤๅษีตอบเขาฟังแบบงง ๆ ว่าจะได้อะไรกันแน่ จึงพาฤๅษีข้ามฟากไป พอถึงฝั่งที่หมายแล้ จึงพูดขึ้นอีกว่า "ท่านจ่ายค่าจ้างด้วยครับ" ฤๅษีจึงบอกของดีเป็นธรรมโอวาทว่า "โยม..ขอค่าจ้างกับคนที่ยังไม่ข้าไปฝั่งโน้นก่อนสิ เพราะจิตใจของคนที่ข้ามฟากแล้วกับคนที่ยังไม่ได้ข้ามต่างกัน โยม.. ขอท่านจงอย่าโกรธนะ ไม่ว่าในที่ไหนๆ ทั้งในบ้าน ในป่า ความร่ำรวยในทรัพย์ก็จะมีแก่โยม นี่แหละของดีนะโยม"

    เขาถามว่า "สมณะ นี่หรือคือค่าจ้างเรือที่ท่านให้ผม"

    ฤๅษี "ใช่ละ โยม"

    คนแจวเรือ "ไม่ได้ ต้องเป็นเงินสิ"

    ฤๅษี "โยม..นอกจากโอวาทนี้แล้ว อาตมาไม่มีอย่างอื่น" เขาโกรธมากพร้อมกับตวาดว่า "เมื่อไม่มีเงินแล้ว ลงเรือผมมาทำไม" ผลักฤๅษีให้ล้มลงแล้วนั่งทับอกตบปากท่านหนึ่งดี ขณะนั้นภรรยาของเขาซึ่งกำลังท้องแก่ได้ถืออาหารมาส่งเขา จำฤๅษีนั้นได้จึงร้องห้ามบอกสามีว่า "พี่.. ฤๅษีนี่ประจำอยู่ราชสำนักนะพี่อย่าตีท่านนะ" เขากำลังอยู่ในอารมณ์โกรธจึงลุกขึ้นตบภรรยาโดยแรง ถาดข้าวแตกกระจาย ภรรยาล้มลงกระแทกพื้นดินทำให้ลูกทะลักออกมาทันที
    ชาวบ้านที่อยู่ละแวกนั้นต่างมายืนมุงดูและช่วยกันจับมัดเขาไว้เพราะนึกว่าเป็นโจรฆ่าคนตาย นำไปถวายพระราชา เขาถูกวินิจฉัยให้จำคุกตลอดชีวิต


    พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานจบแล้วได้ตรัสให้โอวาทภิกษุว่า "ภิกษุทั้งหลาย ผู้จะให้โอวาทควรให้แก่คนที่เหมาะสมไม่ควรให้แก่คนที่ไม่เหมาะสม ดังฤๅษีให้โอวาทแก่พระราชาได้ หมู่บ้านชั้นดี แต่ให้โอวาทแก่คนแจวเรือจ้างกลับถูกตบปาก ฉะนั้น
    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>จะกล่าวสอนใครควรดูความเหมาะสม เพราะคนพาลย่อมไม่ยินดีในธรรมเป็นพาลทุกเมื่อ</TD></TR></TBODY></TABLE>


    พญาไก่ป่า<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->[​IMG]

    <TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR><TD vAlign=top>ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถี ทรงปรารภภิกษุผู้กระสันจะสึกรูปหนึ่ง ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...


    กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระโพธิ์สัตว์เกิดเป็นพญาไก่ป่า มีไก่เป็นบริวารหลายร้อยตัว อาศัยอยู่ในป่าแห่งหนึ่ง มีนางแมวตัวหนึ่งอาศัยอยู่ในที่ไม่ไกลจากที่อยู่ของไก่ป่านั้น มันเที่ยวใช้อุบายล่อลวงจับไก่ป่ากินเป็นอาหารเกือบหมด พญาไก่ป่าทราบว่าบริวารถูกนางแมวจับกินไปเกือบหมดก็ไม่ไปใกล้ที่อยู่ของมัน


    หลายวันต่อมา เมื่อไม่เห็นไก่ตัวใดไปใกล้ที่อยู่ของตน นางแมวจึงต้องดั้นด้นมาหาไก่เสียเอง มันเดินย่องเข้าไปใต้คอนไม้ที่พญาไก่ป่าจับอยู่ พร้อมกับพูดขึ้นว่า



    "พ่อไก่น้อยสีแดง ผู้มีขนสวยงาม เจ้าลงมาจากกิ่งไม้เถิด เราจะยอมเป็นภรรยาท่าน"


    พญาไก่ป่ารู้ทันเล่ห์เหลี่ยมของมันจึงตอบไปว่า "นางแมวเอ๋ย เจ้าเป็นสัตว์ ๔ เท้าที่สวยงาม ส่วนเราเป็นสัตว์ ๒ เท้า แมวกับไก่อยู่ร่วมกันไม่ได้ดอก เชิญท่านไปหาผู้อื่นเป็นสามีเถิด"


    นางแมวไม่ลดละความพยายามยังพูดออดอ้อนว่า "พ่อไก่น้อย ฉันจะเป็นภรรยาผู้สวยงาม ร้องเสียงไพเราะเพื่อเจ้า เจ้าจะรู้ว่าฉันเป็นภรรยาสาวพรหมจรรย์ที่สวยงาม ร้องเสียงไพเราะเพื่อเจ้า เจ้าจะรู้ว่าฉันเป็นภรรยาสาวพรหมจรรย์ที่สวยงามและมีความสุขที่สุด"


    พญาไก่ป่าจึงพูดขู่นางแมวไปว่า "นางแมวเอ๋ย เจ้ากินซากศพ ดื่มเลือด กินไก่บริวารของเราแล้ว จงไปเสียเถอะ"



    นางแมวเมื่อรู้ว่าพญาไก่ไม่หลงกล ก็รีบวิ่งหนีกลับไปอย่างผู้ผิดหวังและไม่กลับไปหากินที่นั่นอีกเลย


    พระพุทธองค์เมื่อตรัสอดีตนิทานจบ ได้ตรัสพระคาถาว่า



    "ผู้ใดรู้ไม่เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นจะตกอยู่ในอำนาจของศัตรู และจะเดือดร้อนภายหลัง ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน ผู้นั้นจะพ้นจาการเบียดเบียนของศัตรู เหมือนไก่พ้นจากนางแมวฉะนั้น"


    </TD></TR><TR><TD>
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE border=0 width=500 align=center><TBODY><TR vAlign=top><TD width=130>นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : </TD><TD>ผู้มีปัญญารู้เท่าทันเหตุการณ์ย่อมสามารถรู้รักษาตัวรอดได้

    การันทิยชาดก : ลูกศิษย์สอนอาจารย์<!-- google_ad_section_end -->
    <HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->ในสมัยหนึ่ง พระพุทธเจ้าประทับอยู่วัดเชตวัน เมืองสาวัตถีปรารภพระสารีบุตรผู้ให้ศีลแก่ทุกคนที่ตนพบเห็น แต่ไม่ค่อยมีคนรักษาศีล ได้ตรัสอดีตนิทานมาสาธก ว่า...


    กาลครั้งหนึ่งนาน มาแล้ว พระโพธิสัตว์เกิดในตระกูลพราหมณ์เมืองพาราณสี มีชื่อว่า การันทิยะ เมื่อเติบโตเป็นหนุ่มแล้วได้ไปศึกษา ศิลปวิทยาที่เมืองตักกศิลา ได้เป็นหัวหน้าคณะศิษย์อาจารย์ของเขาได้ให้ศีลแก่คนพบเห็นทุกคนไม่ว่าจะเป็น ชาวประมงชาวนา ผู้ไม่ขอศีลเลยว่า "ท่านทั้งหลายจงรับศีล รักษาศีลนะ" ปรากฏว่าคนเหล่านั้นรับศีล เมื่ออาจารย์ทราบเรื่องแล้วก็มักบ่นให้ลูกศิษย์ฟังอยู่เป็นประจำว่า "อ้ายพวกนี้ ไม่รู้จักทำคุณงามความดี รับศีลไปแล้วก็ไม่รู้จักรักษา"


    อยู่มาวันหนึ่ง มีชาวบ้านแห่งหนึ่งมาเชิญให้ไปสวดพิธีพราหมณ์ อาจารย์จึงเรียกการรันทิยะมาพบแล้วมอบให้เป็นหัวหน้าคณะไปแทนตน และกล่าวกำชับว่า "การันทิยะ ฉันจะไม่ไปนะ มอบให้เธอเป็นหัวหน้าพากันไป แต่อย่าลืมนำส่วนของฉันมาด้วยละ"


    เมื่อการันทิยะพา คณะไปแล้วขากลับมาได้พากันนั่งพักผ่อนอยู่ข้างเขาลูกหนึ่งใกล้สำนักเรียน เขาคิดหาวิธีที่จะเตือนสติอาจารย์ให้เลิกให้ศีลคนทั่วไป ให้รู้จักให้ศีลแก่ผู้ที่ขอเท่านั้น เดินไปเห็นซอกเขา ฉุกคิดขึ้นมาได้ จึงจับก้อนหินโยนลงไปที่ซอกเขานั้นพวกศิษย์คนอื่น ๆ ถามว่าทำอะไร ก็ไม่ยอมบอก พวกลูกศิษย์จึงพากันกลับสำนักเรียนไปบอกอาจารย์


    อาจารย์พอมาถึงก็ ถามขึ้นว่า "การันทิยะ จะมีประโยชน์อะไรกับการทิ้งก้อนหินลงไปในซอกเขานี้ เจ้าทำไปทำไม" การันทิยะตอบว่า "ผมจักทำแผ่นดินให้เรียบเสมอกันดังฝ่ามือครับอาจารย์"


    อาจารย์ "ท่านคนเดียวย่อมไม่สามารถถมหุบเหวให้เต็มทำแผ่นดินให้ราบเรียนได้หรอก เกรงว่าท่านตายไปก็ยังทำไม่ได้"
    การันทิยะ "ถ้าผมคนเดียวไม่สามารถทำแผ่นดินให้ราบเรียนเสมอกันได้ อาจารย์ก็ไม่สามารถนำมนุษย์ผู้มีทิฏฐิต่าง ๆ กันให้มีศีลธรรมเสมอกันได้เช่นกันนะ ขอรับ"


    อาจารย์ได้ฟังแล้วกลับได้สติรู้ว่าตนผิดแล้ว จึงกล่าวเป็นคาถาว่า



    " การันทิยะ เจ้าได้บอกความจริงแก่เรา ข้อนี้เป็นอย่างนั้นจริง ๆ แผ่นดินนี้มนุษย์ไม่สามารถจะทำให้ราบเรียบได้ ฉันใด เราก็ไม่อาจทำมนุษย์ทั้งหลายให้มาอยู่ในอำนาจของเราได้ฉันนั้น"


    นับตั้งแต่วันนั้น อาจารย์ก็เลิกให้ศีลแก่ผู้ไม่ขอศีล ให้เฉพาะผู้ที่ขอเท่านั้น


    นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า : คน มีทิฏิฐิต่างกันพึงเลือกสอนคนที่ควรสอนเท่านั้น เพราะพระพุทธองค์เปรียบบุคคลเหมือนดอกบัว ๔ เหล่า ๓ พวกแรกสอนได้ พวกหลังสุดปล่อยทิ้งไปเสีย<!-- google_ad_section_end -->
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    มโหสถชาดก<!-- google_ad_section_end --><HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->
    พระมโหสถบัณฑิตทรงบำเพ็ญปัญญาบารมี

    <CENTER>[​IMG]
    </CENTER>
    พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภ พระปัญญาบารมีของพระองค์ ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้


    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: rgb(243,243,243); BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial" border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 bgColor=#f3f3f3><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 426.1pt; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" vAlign=top width=568>ความย่อว่า วันหนึ่ง ภิกษุทั้งหลายประชุมกันในธรรมสภา เมื่อจะสรรเสริญพระปัญญาบารมีของพระตถาคต ได้นั่งสรรเสริญพระคุณของพระศาสดาว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย พระตถาคตเป็นผู้มีพระปัญญาใหญ่ มีพระปัญญากว้างขวาง มีพระปัญญาร่าเริง มีพระปัญญาลึกซึ้ง มีพระปัญญาดุจแผ่นดิน มีพระปัญญาแหลม มีพระปัญญาว่องไว มีพระปัญญาแทงตลอด ย่ำยีเสียซึ่งวาทะแห่งคนอื่น ทรงทรมานเหล่าพราหมณ์ มีกูฏทันตพราหมณ์เป็นต้น เหล่าปริพาชกมีสัพภิยปริพาชกเป็นต้น เหล่ายักษ์มีอาฬวกยักษ์เป็นต้น เหล่าเทวดามีท้าวสักกเทวราชเป็นต้น เหล่าพรหมมีพกพรหมเป็นต้น และเหล่าโจรมีโจรองคุลิมาลเป็นต้น ด้วยพระปัญญานุภาพของพระองค์ ทรงทำให้สิ้นพยศ พระองค์ทรงทรมานชนเป็นอันมากประทานบรรพชาให้ตั้งอยู่ในมรรคผล พระศาสดามีพระปัญญาใหญ่ ด้วยประการฉะนี้

    พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอนั่งสนทนาถึงเรื่องอะไร เมื่อภิกษุเหล่านั้นกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว จึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในกาลนี้เท่านั้นที่ตถาคตมีปัญญา แม้ในอดีตกาล เมื่อญาณยังไม่แก่กล้า ยังบำเพ็ญบุรพจรยาเพื่อประโยชน์แก่พระโพธิญาณอยู่ ก็เป็นผู้มีปัญญาเหมือนกัน ตรัสฉะนี้แล้วทรงดุษณีภาพ ภิกษุเหล่านั้นกราบทูลวิงวอนให้ทรงประกาศบุรพจริยา จึงทรงนำอดีตนิทานมาแสดงดังต่อไปนี้.

    </TD></TR></TBODY></TABLE>​

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ในอดีตกาล มีพระราชาพระนามว่า วิเทหะ เสวยราชสมบัติในกรุงมิถิลา แคว้นวิเทหะ มีบัณฑิต ๔ คน ชื่อเสนกะ, ปุกกุสะ, กามินทะ และ เทวินทะ บัณฑิตเหล่านี้เป็นผู้ถวายอนุศาสนอรรถธรรมแด่พระเจ้าวิเทหราชนั้น

    ในวันพระโพธิสัตว์ถือปฏิสนธิ พระเจ้าวิเทหราชทรงพระสุบินว่า ที่มุมพระลานหลวงทั้ง ๔ มุม มีกองเพลิง ๔ กองประมาณเท่ากำแพงใหญ่ลุกโพลง ในท่ามกลางกองเพลิงทั้ง ๔ นั้น มีกองเพลิงเล็กกองหนึ่งขนาดประมาณเท่าหิ่งห้อย ลุกโพลงล่วงเลยกองเพลิงทั้ง ๔ ลุกสูงขึ้นไปจนจดประมาณอกนิฏฐพรหมโลก ส่องแสงสว่างไปทั่วจักรวาล สิ่งที่ตกบนพื้นแม้มีขนาดเล็กเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาดก็สามารถมองเห็น ทั้งเทวดา ทั้งมาร ทั้งพรหมมาบูชากองไฟนั้น ด้วยของหอมและดอกไม้เป็นต้น มหาชนเที่ยวอยู่ในระหว่างเปลวเพลิง ก็มิได้ร้อนแม้สักว่าขุมขน

    พระราชาทรงเห็นพระสุบินนี้แล้วก็ทรงหวาดสะดุ้ง เสด็จลุกขึ้นประทับนั่ง ทรงจินตนาการอยู่จนอรุณขึ้นว่า เหตุการณ์อะไรหนอจะเกิดขึ้นแก่เรา รุ่งเช้าเมื่อบัณฑิตทั้ง ๔ มาเฝ้าแล้วทูลถามถึงสุขไสยาว่า ข้าแต่สมมติเทพ พระองค์บรรทมเป็นสุขหรือ

    พระราชาตรัสตอบว่า ท่านอาจารย์ความสุขจะมีแก่เราได้อย่างไร ในเมื่อเราได้ฝันเห็นอย่างนี้ แล้วทรงตรัสเล่าเรื่องความฝันของพระองค์ให้บัณฑฺตทั้งสี่ได้รับฟัง

    ลำดับนั้น เสนกบัณฑิตทูลว่า ข้าแต่มหาราช ขอพระองค์อย่าได้ตกพระหฤทัย พระสุบินนั้นเป็นมงคล ความเจริญจักมีแด่พระองค์

    เมื่อมีพระราชดำรัสถามว่า เพราะเหตุไร จึงทูลว่าข้าแต่มหาราช บัณฑิตที่ ๕ อีกคนหนึ่งจักเกิดขึ้น ครอบงำพวกข้าพระองค์ซึ่งเป็นบัณฑิตทั้ง ๔ ทำให้หมดรัศมี พวกข้าพระองค์ทั้ง ๔ คน เหมือนกองเพลิง ๔ กอง บัณฑิตที่ ๕ จักเกิดขึ้น เหมือนกองเพลิงที่เกิดขึ้นในท่ามกลาง บัณฑิตนั้นย่อมไม่มีผู้เสมอทั้งในโลกทั้งเทวโลก

    พระเจ้าวิเทหราชตรัสถามว่า ก็บัดนี้บัณฑิตนั้นอยู่ที่ไหน

    เสนกบัณฑิตทูลพยากรณ์ราวกะเห็นด้วยทิพยจักษุเพราะกำลังแห่งการศึกษาของตนว่า บัณฑิตนั้นจักคลอดจากครรภ์มารดาในวันนี้

    พระราชาทรงระลึกถึงคำแห่งเสนกบัณฑิตนั้นนับแต่นั้นมา.

    ก็บ้านทั้ง ๔ คือ บ้านชื่อทักขิณยวมัชฌคาม ๑ ปัจฉิมยวมัชฌคาม ๑ อุตตรยวมัชฌคาม ๑ ปาจีนยวมัชฌคาม ๑ ตั้งอยู่ที่ประตูทั้ง ๔ แห่งกรุงมิถิลา

    ในบ้านทั้ง ๔ นั้น เศรษฐีชื่อสิริวัฒกะอยู่ในบ้านชื่อปาจีนยวมัชฌคาม ภรรยาของเศรษฐีนั้นชื่อสุมนาเทวี วันนั้นพระมหาสัตว์จุติจากดาวดึงส์พิภพ ถือปฏิสนธิในครรภ์แห่งนางสุมนาเทวี ในเวลาที่พระราชาทรงพระสุบิน เทพบุตรอีกพันหนึ่งก็จุติจากดาวดึงส์พิภพมาถือปฏิสนธิในตระกูลแห่งเศรษฐีใหญ่น้อยในบ้านนั้นนั่นเอง ฝ่ายนางสุมนาเทวี เมื่อเวลาล่วงมาได้ ๑๐ เดือน.ก็คลอดบุตรมีผิวพรรณวรรณะดุจทองคำ

    ขณะนั้น ท้าวสักกเทวราชทอดพระเนตรดูมนุษยโลก ก็ทรงทราบว่าพระมหาสัตว์คลอดจากครรภ์มารดาแล้ว ทรงคิดว่า ควรเราจะทำพระพุทธางกูรนี้ให้ปรากฏทั้งในโลกทั้งเทวโลก ในเวลาที่พระมหาสัตว์คลอดจากครรภ์มารดา จึงเสด็จมาด้วยอทิสมานกายไม่มีใครเห็นพระองค์ วางแท่งโอสถแท่งหนึ่งที่หัตถ์แห่งพระมหาสัตว์นั้น แล้วเสด็จกลับไปยังทิพยพิมานแห่งตน

    พระมหาสัตว์รับแท่งโอสถนั้นกำไว้ ก็เมื่อพระมหาสัตว์คลอดจากครรภ์นั้น ความทุกข์มิได้มีแก่มารดาแม้สักหน่อยหนึ่ง คลอดง่ายคล้ายเทน้ำออกจากหม้อฉะนั้น นางสุมนาเทวีเห็นแท่งโอสถในมือของบุตรนั้น จึงถามว่า พ่อได้อะไรมา

    บุตรนั้นตอบมารดาว่า โอสถจ๊ะแม่ แล้ววางทิพยโอสถในมือมารดา กล่าวว่า ข้าแต่แม่ แม่จงให้โอสถนี้แก่พวกคนที่เจ็บป่วยเถิด

    นางสุมนาเทวีมีความร่าเริงยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงบอกแก่สิริวัฒกเศรษฐีผู้สามี ก็เศรษฐีนั้นป่วยเป็นโรคปวดศีรษะมา ๗ ปี ได้ยินดังนั้นก็มีความร่าเริงยินดี คิดว่ากุมารนี้เมื่อเกิดแต่ครรภ์มารดาก็ถือโอสถมา ทั้งพูดกับมารดาได้ในขณะที่เกิดนั่นเอง โอสถที่ผู้มีบุญเช่นนี้ให้คงจักมีอานุภาพมาก คิดฉะนี้แล้วจึงถือโอสถนั้นฝนที่หินบด แล้วเอาโอสถหน่อยหนึ่งทาที่หน้าผาก โรคปวดศีรษะที่เป็นมา ๗ ปีก็หายไป ดุจน้ำหายไปจากใบบัวฉะนั้น ท่านเศรษฐีนั้นมีความดีใจว่า โอสถมีอานุภาพมาก

    เรื่องพระมหาสัตว์ถือโอสถมา ก็ปรากฏไปในที่ทั้งปวง บรรดาผู้เจ็บป่วยทั้งหลายนั้นต่างก็พากันมาที่บ้านท่านเศรษฐีเพื่อขอยา ฝ่ายท่านเศรษฐีก็ถือเอาโอสถหน่อยหนึ่งฝนที่หินบด ละลายน้ำให้แก่คนทั้งปวง เพียงเอาทิพยโอสถทาสรีระเท่านั้น ความเจ็บป่วยทั้งปวงก็สงบ มนุษย์ทั้งหลายได้ความสุขแล้วก็สรรเสริญว่าโอสถในเรือนท่านสิริวัฒกเศรษฐีมีอานุภาพมากแล้วกลับไป.

    ในวันตั้งชื่อพระมหาสัตว์ ท่านมหาเศรษฐีคิดว่า เราไม่ต้องการนำเอาชื่อบรรพบุรุษมาเป็นชื่อบุตรของเรา บุตรของเราจงชื่อโอสถ เพราะเมื่อเขาเกิดถือโอสถมาด้วย แต่นั้นมาจึงตั้งชื่อพระมหาสัตว์นั้นว่า มโหสถกุมารเพราะอาศัยคำที่เกิดขึ้นว่า โอสถนี้มีคุณมาก โอสถนี้มีคุณมาก ด้วยประการฉะนี้

    ลำดับนั้น ท่านเศรษฐีได้มีความคิดว่า บุตรของเรามีบุญมาก จักไม่เกิดคนเดียวเท่านั้น ทารกทั้งหลายที่เกิดพร้อมกับบุตรของเรานี้จะต้องมี จึงให้ตรวจตราดู ก็ได้ข่าวพบทารกเกิดวันเดียวกัน ๑ พันคน จึงให้เครื่องประดับแก่กุมารทั้งหมด และให้นางนม ๑ พันคน ให้ทำมงคลแก่ทารกเหล่านั้นพร้อมกับพระโพธิสัตว์ทีเดียว ด้วยคิดว่า ทารกเหล่านี้จักเป็นผู้ปฏิบัติบำรุงบุตรของเรา นางนมทั้งหลายตกแต่งทารกแล้วนำมาบำเรอพระมหาสัตว์

    พระโพธิสัตว์เล่นอยู่ด้วยทารกเหล่านั้น จนเมื่อเจริญวัยมีอายุได้ ๗ ขวบ มีรูปงามราวกะรูปทองคำ เมื่อพระโพธิสัตว์เล่นอยู่กับทารกเหล่านั้นในสนามกลางหมู่บ้าน
    วันหนึ่งเมื่อเขาเหล่านั้นกำลังเล่นกันอยู่ เมฆฝนก็ตั้งเค้าขึ้น พระมหาสัตว์ผู้มีกำลังดุจช้างสาร เห็นเมฆตั้งขึ้นก็วิ่งเข้าสู่ศาลาหลังหนึ่ง พวกทารกอื่นวิ่งตามไปทีหลังพระมหาสัตว์ ก็เหยียบเท้าของกันและกันพลาดล้มถึงเข่าแตกเป็นต้น พระโพธิสัตว์จึงคิดว่า ควรทำศาลาเป็นที่เล่นในสถานที่นี้ เราทั้งหลายจักไม่ลำบากอย่างนี้ จึงแจ้งแก่ทารกเหล่านั้นว่า พวกเราลำบากด้วยลม ฝน และแดด พวกเราจักสร้างศาลาหลังหนึ่งในที่นี้ ให้พอเป็นที่ยืนนั่ง และนอนได้ ท่านทั้งหลายจงนำกหาปณะมาคนละหนึ่งกหาปณะ ทารกเหล่านั้นก็กระทำตามนั้น

    พระมหาสัตว์ให้เรียกนายช่างใหญ่มากล่าวว่า ข้าแต่พ่อท่านจงสร้างศาลาในที่นี้ แล้วได้ให้กหาปณะพันหนึ่งแก่เขา นายช่างใหญ่รับคำรับกหาปณะพันหนึ่งแล้ว ปราบพื้นที่ให้เสมอขุดหลักตอออกแล้วขึงเชือกกะที่ พระมหาสัตว์เห็นวิธีขึงเชือกของนายช่าง จึงกล่าวว่า ท่านผู้เจริญท่านอย่าขึงเชือกอย่างนี้จงขึงให้ดี

    นายช่างกล่าวว่า นาย ข้าพเจ้าขึงตามวิชาที่ข้าพเจ้าเรียนมา การขึงอย่างอื่นนอกจากนี้ข้าพเจ้าไม่รู้

    พระมหาสัตว์กล่าวว่า แม้เพียงเท่านี้ก็ไม่รู้ ท่านจักรับทรัพย์ของพวกเราทำศาลาได้อย่างไร จงนำเชือกมาเราจักขึงให้ท่าน

    แล้วจึงให้นำเชือกมาแล้วก็ขึงด้วยตนเอง เชือกที่พระมหาสัตว์ขึง ได้เป็นประหนึ่งพระวิสสุกรรมเทพบุตรขึง และแล้วพระมหาสัตว์ได้กล่าวกะนายช่างว่าท่านสามารถขึงเชือกได้อย่างนี้ไหม

    ไม่สามารถ นาย

    ถ้าเช่นนั้นท่านสามารถทำตามความเห็นของเราได้ไหม

    สามารถ นาย

    พระมหาสัตว์จัดแบ่งที่ศาลาให้เป็นส่วน ๆ คือ ห้องสำหรับหญิงอนาถาคลอดบุตรห้องหนึ่ง ห้องสำหรับสมณพราหมณ์ผู้อาคันตุกะมาพักห้องหนึ่ง ห้องสำหรับคฤหัสถ์ผู้อาคันตุกะมาพักห้องหนึ่ง ห้องสำหรับเก็บสินค้าของพวกพ่อค้าผู้อาคันตุกะมาพักห้องหนึ่ง ทำห้องเหล่านั้นทั้งหมดให้มีประตูทางหน้ามุข ให้ทำสนามเล่น ที่วินิจฉัยแม้โรงธรรมอย่างนั้น ๆ

    เมื่อศาลาแล้วเสร็จก็ให้เรียกช่างเขียนมาเขียนรูปอันน่ารื่นรมย์ โดยตนเป็นผู้สั่งการเอง ศาลานั้นก็งดงามเปรียบด้วยเทวสภาชื่อสุธรรมา

    แต่นั้น พระมหาสัตว์ดำริว่าเพียงเท่านี้ ศาลายังหางามไม่ ควรสร้างสระโบกขรณีด้วยถึงจะงาม จึงให้ขุดสระโบกขรณี ให้เรียกช่างอิฐมา ให้สร้างสระโบกขรณีให้มีคดลดเลี้ยวนับด้วยพัน ให้มีท่าลงนับด้วยร้อย โดยความคิดของตน สระโบกขรณีนั้นดาดาษด้วยปทุมชาติ ๕ชนิด เป็นราวกะว่านันทนโบกขรณี

    ให้สร้างสวนปลูกต้นไม้ต่าง ๆ ทั้งไม้ดอกและไม้ผลริมฝั่งสระนั้น ดุจอุทยานนันทนวัน และใช้ศาลานั้นแหละเริ่มตั้งทานวัตร เพื่อสมณพราหมณ์ผู้ประพฤติธรรม และผู้เดินทางที่จรมาเป็นต้น การกระทำของพระมหาสัตว์นั้นได้ปรากฏไปในที่ทั้งปวง มนุษย์เป็นอันมากได้มาอาศัยศาลานั้น พระมหาสัตว์นั่งในศาลานั้น กล่าวสิ่งที่ควรทำและไม่ควรทำ สิ่งที่ถูกและผิด แก่ผู้ที่มาแล้ว ๆ เริ่มตั้งการวินิจฉัย กาลนั้นได้เป็นเสมือนพุทธุปบาทกาล.

    ฝ่ายพระเจ้าวิเทหราช เมื่อเวลาล่วงไปได้ ๗ ปี ทรงระลึกได้ว่า บัณฑิตทั้ง ๔ กล่าวแก่เราว่า บัณฑิตที่ ๕ จักเกิดขึ้นครอบงำพวกเขา บัณฑิตคนที่ ๕นั้นบัดนี้อยู่ที่ไหน จึงโปรดให้อำมาตย์ ๔ คนไปสืบเสาะหาทางประตูทั้ง ๔ ด้านให้รู้สถานที่อยู่แห่งบัณฑิตนั้น

    อำมาตย์ผู้ออกไปทางประตูอื่น ๆ ไม่พบพระมหาสัตว์ อำมาตย์ผู้ออกไปทางประตูด้านปราจีนทิศ นั่งที่ศาลาคิดว่า ศาลาหลังนี้ต้องคนฉลาดทำเองหรือใช้ให้คนอื่นทำ จึงถามคนทั้งหลายว่า ศาลาหลังนี้ช่างไหนทำ คนทั้งหลายตอบว่า ศาลาหลังนี้นายช่างไม่ได้ทำเอง แต่ได้ทำตามวิจารณ์ของมโหสถบัณฑิตผู้เป็นบุตรของสิริวัฒกเศรษฐี ด้วยกำลังปัญญาแห่งตน

    อำมาตย์ถามว่า ก็บัณฑิตอายุเท่าไร

    คนทั้งหลายตอบว่า ๗ ปีบริบูรณ์

    อำมาตย์นับปีตั้งแต่วันที่พระราชาทรงเห็นพระสุบิน ก็ทราบว่า บัณฑิตนั้นคือผู้นี้เอง สมกับพระราชาทรงเห็นพระสุบิน จึงส่งทูตไปทูลพระราชาว่าขอเดชะ บุตรของสิริวัฒกเศรษฐีในบ้านปาจีนยวมัชฌคาม ชื่อมโหสถบัณฑิตอายุได้ ๗ ปี ให้สร้างศาลา สระโบกขรณี และอุทยานอย่างนี้ ๆ ข้าพระบาทจะพาบัณฑิตนี้มาเฝ้าหรือยัง

    พระราชาทรงสดับประพฤติเหตุนั้น มีพระหฤทัยยินดี รับสั่งให้หาเสนกบัณฑิตมาตรัสเล่าเนื้อความนั้นแล้วดำรัสถามว่า เป็นอย่างไร ท่านอาจารย์เสนกะ เราจะนำบัณฑิตนั้นมาหรือยัง

    เสนกบัณฑิตนั้นเป็นคนตระหนี่ จึงทูลว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุคคลไม่ชื่อว่าเป็นบัณฑิตด้วยเหตุเพียงให้สร้างศาลาเป็นต้น ใคร ๆ ก็ให้สร้างได้ ข้อนั้นยังเป็นการเล็กน้อย

    พระราชาทรงสดับคำของเสนกบัณฑิตก็ทรงนิ่งอยู่ ทรงส่งทูตของอำมาตย์กลับไปพร้อมกับสั่งว่าอำมาตย์จงอยู่ในที่นั้นพิจารณาดูบัณฑิตไปก่อน อำมาตย์ได้ฟังพระราชดำรัสนั้นก็ยับยั้งอยู่ที่นั้น พิจารณาดูบัณฑิตต่อไป ซึ่งในเวลาต่อมาก็ได้เกิดเรื่องที่พิจารณา รวม ๑๙ หัวข้อ ดังนี้

    ๑ ชิ้นเนื้อ ๒ โค ๓ เครื่องประดับทำเป็นปล้อง ๆ ๔ กลุ่มด้าย ๕ บุตร ๖ คนเตี้ยชื่อโคฬกาฬ ๗ รถ ๘ ท่อนไม้ ๙ ศีรษะคน ๑๐ งู ๑๑ ไก่ ๑๒ แก้วมณี ๑๓ ให้โคตัวผู้ตกลูก ๑๔ ข้าว ๑๕ ชิงช้าห้อยด้วยเชือก ทราย ๑๖ สระน้ำ ๑๗ อุทยาน ๑๘ ลา ๑๙ แก้วมณีบนรังกา (รวม ๑๙ ข้อ)<!-- google_ad_section_end -->

    กฏาหกชาดก ว่าด้วยคนขี้โอ่<!-- google_ad_section_end --><HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุผู้มักโอ่รูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.

    เรื่องของภิกษุนั้น เช่นกับเรื่องที่กล่าวแล้วในหนหลัง นั่นแล แปลกแต่ว่า

    ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นเศรษฐีผู้มีสมบัติมาก ภรรยาของท่านคลอดกุมาร แม้ทาสีของท่านก็คลอดบุตรในวันนั้นเหมือนกัน เด็กทั้งสองนั้นเติบโตมาด้วยกันทีเดียว เมื่อบุตรท่านเศรษฐีเรียนหนังสือก่อน แม้ลูกทาสของท่านก็ถือกระดานชนวนตามไป พลอยศึกษาหนังสือกับบุตรเศรษฐีนั้นด้วย ได้เขียนอ่านสองสามครั้ง ลูกทาสนั้นก็ฉลาดในถ้อยคำ ฉลาดในโวหารโดยลำดับ เป็นหนุ่มมีรูปงามชื่อ กฏาหกะ เขาทำหน้าที่เป็นเสมียนคลังพัสดุ ในเรือนของท่านเศรษฐี

    กฏาหกะดำริว่า คนเหล่านี้คงจะไม่ใช้ให้เรากระทำหน้าที่เป็นเสมียนคลังพัสดุตลอดไป พอเห็นโทษอะไร ๆ เข้าหน่อย ก็คงจะเฆี่ยน จองจำ ทำตราเครื่องหมาย แล้วก็ใช้สอยทำนองทาสต่อไป ก็ที่ชายแดนมีเศรษฐี ผู้เป็นสหายของท่านเศรษฐีอยู่ ถ้ากระไร เราถือหนังสือด้วยถ้อยคำของท่านเศรษฐีไปในที่นั้น บอกว่าเราเป็นลูกท่านเศรษฐี ลวงเศรษฐีนั้นแล้วขอธิดาของท่านเศรษฐีเป็นคู่ครอง พึงอยู่อย่างสบาย เขาถือหนังสือไปด้วยตนเอง เขียนว่า ข้าพเจ้าส่งลูกชายของข้าพเจ้า ชื่อโน้น ไปสู่สำนักของท่าน ขึ้นชื่อว่าความสัมพันธ์ฐานเกี่ยวดองกัน ระหว่างข้าพเจ้ากับท่าน และระหว่างท่านกับข้าพเจ้า เป็นการสมควร เพราะฉะนั้น ขอท่านได้โปรดยกธิดาของท่านให้แก่ทารกนี้ แล้วให้เขาอยู่ในที่นั้นแหละ แม้ข้าพเจ้าได้โอกาสแล้ว จึงจะมา ดังนี้ แล้วเอาตราของท่านเศรษฐี นั่นแหละประทับ ถือเอาเสบียง และของหอม กับผ้าเป็นต้น ไปตามชอบใจ ไปสู่ปัจจันตชนบท พบท่านเศรษฐี ไหว้แล้วยืนอยู่ ครั้งนั้นท่านเศรษฐีถามเขาว่า มาจากไหนเล่า พ่อคุณ ?

    ตอบว่า มาจากพระนครพาราณสี

    ถามว่า พ่อเป็นลูกใคร ?

    ตอบว่า เป็นบุตรของพาราณสีเศรษฐีขอรับ

    ถามว่า มาด้วยต้องการอะไร เล่า พ่อคุณ ?

    ในขณะนั้น กฏาหกะก็ให้หนังสือ พร้อมกับกล่าวว่า ท่านดูหนังสือนี้แล้วจักทราบ ท่านเศรษฐีอ่านหนังสือแล้ว ดีใจว่า คราวนี้เราจะอยู่อย่างสบายละจัดแจงยกธิดาแต่งให้ บริวารของท่านเศรษฐีมีเป็นอันมาก ในเมื่อมีผู้น้อมนำยาคูและของเคี้ยว เป็นต้นเข้าไปให้ หรือน้อมนำผ้าที่อบด้วยของหอมใหม่ ๆ เข้าไปให้ ก็ติเตียนข้าวยาคูเป็นต้นว่า โธ่เอ๋ย คนบ้านนอกต้มยาคูกันแบบนี้ ทำของเคี้ยวก็อย่างนี้ หุงข้าวกันแบบนี้เอง ติเตียนผ้าและ กรรมกรเป็นต้นว่า เพราะเป็นคนบ้านนอกนั่นเอง พวกคนเหล่านี้ จึงไม่รู้จักใช้ผ้าใหม่ ๆ ไม่รู้จักอบของหอม ไม่รู้จักร้อยกรองดอกไม้.
    พระโพธิสัตว์เมื่อไม่เห็นทาส ก็ถามว่า กฏาหกะ เราไม่พบหน้าเลย มันไปไหน ช่วยกันตามมันทีเถิด ดังนี้แล้วใช้ให้คนเที่ยวหาโดยรอบ บรรดาคนเหล่านั้น คนหนึ่งไปที่นั้นเห็นเขาแล้ว จำเขาได้ เขาไม่รู้ว่าตนมา ไปบอกแก่พระโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ ฟังเรื่องนั้นแล้วคิดว่า มันทำไม่สมควรเลย ต้องไปจับมากราบทูลพระราชา จึงออกจากบ้านไปด้วยบริวารเป็นอันมาก ข่าวก็ปรากฏไปทั่วว่า ท่านเศรษฐีจะไปสู่ปัจจันตชนบท กฏาหกะได้ยินว่า ท่านเศรษฐีมา คิดว่าท่านคงไม่มาด้วยเรื่องอื่น ต้องมาด้วยเรื่องเรานั่นแหละ ก็ถ้าเราจักหนีไปเสีย จักไม่อาจกลับมาได้อีก ก็อุบายนั้นยังพอมี เราต้องไปพบกับท่านผู้เป็นนาย แล้วกระทำกิจของทาส ทำให้ท่านโปรดปรานให้จนได้ นับแต่นั้น เขากล่าวอย่างนี้ในท่ามกลางบริษัทว่า พวกคนพาลอื่น ๆ ไม่รู้คุณของมารดาบิดา เพราะตนเป็นคนพาล ในเวลาที่ท่านบริโภค ก็ไม่กระทำความนอบน้อม บริโภครวมกับท่านเสียเลย ส่วนเราในเวลามารดาบิดาบริโภค ย่อมคอยยกสำรับเข้าไป ยกกระโถนเข้าไป ยกของบริโภคเข้าไปให้ บางทีก็หาน้ำดื่มให้ บางทีก็พัดให้ เข้าไปยืนอยู่ใกล้ ๆ ดังนี้แล้ว ประกาศกิจที่พวกทาสต้องกระทำแก่นายทุกอย่าง ตลอดถึงการถือกระออมน้ำไปในที่ลับ ในเวลาที่นายถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ ครั้นให้บริษัทกำหนดอย่างนี้แล้ว เวลาที่พระโพธิสัตว์มาใกล้ปัจจันตชนบท ก็บอกกับเศรษฐีผู้เป็นพ่อตาว่า คุณพ่อครับ ได้ยินว่า บิดาของผมมา เพื่อพบคุณพ่อ คุณพ่อโปรดให้เขาเตรียมขาทนียโภชนียาหารเถิดครับ ผมจักถือเอาเครื่องบรรณาการสวนทางไป พ่อตาก็ รับคำว่า ดีแล้วพ่อ.

    กฏาหกะถือเอาบรรณาการไปเป็นอันมาก เดินทางไปพร้อมด้วยบริวารกลุ่มใหญ่ ไหว้พระโพธิสัตว์แล้วให้บรรณาการ ฝ่ายพระโพธิสัตว์รับบรรณาการ กระทำปฏิสันถารกับเขา ถึงเวลาบริโภคอาหารเช้า ก็ให้ตั้งกองพัก แล้วเข้าไปสู่ที่ลับเพื่อถ่ายสรีรวลัญชะ กฏาหกะให้บริวารของตนกลับแล้วถือกระออมน้ำ ไปสำนักพระโพธิสัตว์ เมื่อเสร็จอุทกกิจแล้ว ก็หมอบที่เท้าทั้งสอง กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เป็นนาย กระผมจักให้ทรัพย์แก่ท่าน เท่าที่ท่านปรารถนา โปรดอย่าให้ยศของกระผมเสื่อมไปเลย ขอรับ

    พระโพธิสัตว์เลื่อมใสในความสมบูรณ์ด้วยวัตรของเขา ปลอบโยนว่า อย่ากลัวเลย อันตรายจากสำนักของเราไม่มีแก่เจ้าดอก แล้วเข้าสู่ปัจจันตนคร สักการะอย่างมากได้มีแล้ว ฝ่ายกฏาหกะก็กระทำกิจที่ทาสต้องทำแก่ท่านตลอดเวลา ครั้งนั้น ปัจจันตเศรษฐีกล่าวกะพระโพธิสัตว์ผู้นั่งอย่างสบายในเวลาหนึ่งว่า ข้าแต่ท่านเศรษฐี พอผมเห็นหนังสือของท่านเข้าเท่านั้น ก็ยกบุตรสาวให้แก่บุตรของท่านทีเดียว พระโพธิสัตว์ก็กระทำ กฏาหกะให้เป็นบุตรเหมือนกัน กล่าวถ้อยคำเป็นที่รักอันคู่ควรกัน ให้เศรษฐียินดีแล้ว ตั้งแต่นั้นก็ไม่มีใครสามารถมองหน้ากฏาหกะ ได้เลย
    อยู่มาวันหนึ่ง พระโพธิสัตว์เรียกธิดาเศรษฐีมาหากล่าวว่า มานี่เถิดแม่คุณ ช่วยหาเหาบนศีรษะของเราหน่อยเถิด ดังนี้แล้ว กล่าวถ้อยคำอันเป็นที่รักกะนางผู้มายืนหาเหาให้ ถามว่า แม่คุณ ลูกของเราไม่ประมาทในสุขทุกข์ของเจ้าดอกหรือ เจ้าทั้งสองครองรักสมัครสมานกันดีอยู่หรือ ?

    นางตอบว่า ข้าแต่คุณพ่อ มหาเศรษฐีบุตรของท่านไม่มีข้อตำหนิอย่างอื่นดอก นอกจาก จะคอยจู้จี้เรื่องอาหารเท่านั้น

    ท่านเศรษฐีกล่าวว่า แม่คุณ เจ้าลูก คนนี้ มีปกติกินยากเรื่อยมาทีเดียว เอาเถิด พ่อจะให้มนต์สำหรับ ผูกปากมันไว้แก่เจ้า เจ้าจงเรียนมนต์นั้นไว้ให้ดี เมื่อลูกเราบ่น ในเวลากินข้าวละก็ เจ้าจงยืนกล่าวตรงหน้า ตามข้อความที่เรียนไว้ แล้วให้นางเรียนคาถา พักอยู่สองสามวัน ก็กลับพระนครพาราณสีตามเดิม ฝ่ายกฏาหกะขนขาทนีย โภชนียาหารมากมาย ตามไปส่งให้ทรัพย์เป็นอันมากแล้วกราบลากลับ ตั้งแต่เวลาที่พระโพธิสัตว์กลับไปแล้ว เขายิ่งเย่อหยิ่งมากขึ้น วันหนึ่ง เมื่อ ธิดาเศรษฐีน้อมนำโภชนะมีรสเลิศต่าง ๆ เข้าไปให้ ถือทัพพี คอยปรนนิบัติอยู่ เขาเริ่มติเตียนอาหาร เศรษฐีธิดาจึงกล่าวคาถานี้ ตามทำนองที่เรียนแล้ว ในสำนักของพระโพธิสัตว์ ว่า :
    "ผู้ใดไปสู่ชนบทอื่น ผู้นั้นพึงกล่าวอวดแม้มากมาย
    ดูก่อนกฏาหกะ เจ้าของเงินจะติดตามมาประทุษร้ายเอา
    เชิญท่านบริโภคอาหารเสียเถิด" ดังนี้.
    อธิบายว่า
    ผู้ใดไปสู่ชนบทอื่น จากชาติภูมิของตน ในที่ใดไม่มีคนรู้กำเนิดของเขา ผู้นั้นพึงจู้จี้ คือกล่าวคำข่มแม้ มากก็ได้.

    เพราะย้อนทางไปทำกิจของทาสให้แก่นายแล้ว เจ้าจึงพ้นจากการถูกเฆี่ยนด้วยหวาย และการตีตราทำเครื่องหมายทาสไปคราวหนึ่งก่อน ถ้าเจ้าขืนทำไม่ดีในคราวหลัง นายของเจ้าเขาย้อนกลับมาตามประทุษร้ายเจ้าอีกได้ เหตุนั้น กฏาหกะเอ๋ย เจ้าจงละความประพฤติไม่ดีนี้เสีย บริโภคโภคะทั้งหลายเถิด อย่าทำให้ความเป็นทาสของตน ปรากฏแล้วเป็นผู้ต้องเดือดร้อนในภายหลังเลย

    ส่วนธิดาเศรษฐี ไม่รู้ความหมายนั้น กล่าวได้คล่องแต่พยัญชนะ ตามข้อที่เรียนมาเท่านั้น กฏาหกะคิดว่า ท่านเศรษฐีบอกเรื่องโกงของเราแล้ว คงบอกเรื่องทั้งหมดแก่นางนี้แล้วเป็นแน่ ตั้งแต่นั้นก็ไม่กล้าติเตียนภัตรอีก ละมานะได้ บริโภคตามมีตามได้ ไปตามยถากรรม.

    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า กฏาหกะในครั้งนั้น ได้มาเป็นภิกษุผู้มักโอ้อวด ส่วนพาราณสีเศรษฐีได้มาเป็นเราตถาคต ฉะนี้แล.

    จบ กฏาหกชาดก<!-- google_ad_section_end -->



    กณเวรชาดก ว่าด้วยหญิงหลายผัว<!-- google_ad_section_end --><HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระวิหารเชตวัน ทรงปรารภ การประเล้าประโลมของภรรยาเก่าของภิกษุ จึงตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้


    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: rgb(243,243,243); BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial" class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" height="100%" vAlign=top width=568>เรื่องราวปัจจุบันจักมีแจ้งใน อินทริยชาดก ส่วนในที่นี้ พระศาสดาตรัสกะภิกษุนั้นว่า ดูก่อนภิกษุ เมื่อชาติก่อนเธออาศัยหญิงนี้ จึงถูกตัดศีรษะด้วยดาบ แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในอดีตกาล เมื่อพระเจ้าพรหมทัตครองราชสมบัติอยู่ในนครพาราณสี พระโพธิสัตว์เกิดในฤกษ์โจร บนเรือนของคฤหบดีคนหนึ่งในกาสิกคาม พอเจริญวัยแล้ว กระทำโจรกรรมเลี้ยงชีวิต จนปรากฏชื่อเสียงว่าเป็นผู้กล้าหาญ มีกำลังดุจช้างสาร ใครๆ ไม่สามารถจับพระโพธิสัตว์นั้นได้



    วันหนึ่งพระโพธิสัตว์นั้นเข้าโจรกรรมในเรือนของเศรษฐีแห่งหนึ่งลักทรัพย์มาเป็นอันมาก ชาวพระนครพากันเข้าไปเฝ้าพระราชา กราบทูลว่า ข้าแต่สมมติเทพ มหาโจรคนหนึ่งปล้นพระนคร ขอพระองค์โปรดให้จับโจรนั้น พระราชาทรงสั่งเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครให้จับมหาโจรนั้น ในตอนกลางคืน เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครนั้น ได้วางผู้คนไว้เป็นพวกๆ ในที่นั้นๆ ให้จับมหาโจรนั้นได้พร้อมทั้งของกลาง แล้วกราบทูลแก่พระราชา พระราชาทรงสั่งเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครนั้นนั่นแหละว่า จงตัดศีรษะมัน เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครมัดมือไพล่หลังมหาโจรนั้นอย่างแน่นหนา แล้วคล้องพวงมาลัยดอกยี่โถแดงที่คอของมหาโจรนั้น แล้วโรยผงอิฐบนศีรษะ เฆี่ยนมหาโจรนั้นด้วยหวายครั้งละ ๔ รอย จึงนำไปยังตะแลงแกง ด้วยปัณเฑาะว์อันมีเสียงแข็งกร้าว



    พระนครทั้งสิ้นก็ลือกระฉ่อนไปว่า ได้ยินว่า โจรผู้ทำการปล้นในนครนี้ถูกจับแล้ว ครั้งนั้น ในนครพาราณสี มีหญิงคณิกาชื่อว่าสามา มีค่าตัวหนึ่งพัน เป็นผู้โปรดปรานของพระราชา มีวรรณทาสี ๕๐๐ คนเป็นบริวาร ยืนเปิดหน้าต่างอยู่ที่พื้นปราสาท เห็นโจรนั้นกำลังถูกนำไปอยู่ ก็โจรนั้นเป็นผู้มีรูปงามน่าเสน่หา ถึงความงามเลิศยิ่ง มีผิวพรรณดุจเทวดา ปรากฏเด่นกว่าคนทั้งปวง นางสามาเห็นเข้าก็มีจิตปฏิพัทธ์รักใคร่คิดอยู่ว่า เราจะกระทำบุรุษนี้ให้เป็นสามีของเราได้ด้วยอุบายอะไรหนอ รู้ว่ามีอุบายอยู่อย่างหนึ่ง จึงมอบทรัพย์พันหนึ่งในมือหญิงคนใช้คนหนึ่ง เพื่อนำไปส่งให้แก่เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนคร โดยให้พูดว่า โจรนี้เป็นพี่ชายของนางสามา ท่านรับเอาทรัพย์หนึ่งพันนี้แล้วจงปล่อยโจรนี้



    หญิงคนใช้นั้นได้กระทำเหมือนอย่างนั้น เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครกล่าวว่า โจรนี้เป็นโจรโด่งดัง เราไม่อาจปล่อยโจรนี้ได้ แต่ถ้าเราได้คนอื่นมาแทนโจรนี้แล้ว จะให้โจรนี้นั่งในยานอันมิดชิดแล้วจึงส่งไปได้ หญิงคนใช้นั้นจึงไปบอกแก่นางสามานั้น ก็ในเวลานั้น มีบุตรของเศรษฐีคนหนึ่ง มีจิตปฏิพัทธ์ผูกพันนางสามา ให้ทรัพย์พันหนึ่งทุกวัน ในวันนั้น เศรษฐีบุตรนั้นก็ได้เอาทรัพย์หนึ่งพันไปยังเรือนนั้น ในเวลาพระอาทิตย์อัสดงคต ฝ่ายนางสามาเมื่อรับทรัพย์พันหนึ่งแล้ววางที่ขาอ่อนแล้วนั่งร้องไห้ เศรษฐีบุตรเห็นดังนั้นจึงถามว่า นางผู้เจริญ นี่เรื่องอะไรกัน



    นางสามาจึงกล่าวว่า ข้าแต่นาย โจรนี้เป็นพี่ชายของดิฉัน เขาไม่มายังสำนักของดิฉัน ด้วยละอายว่าตัวเขาทำกรรมต่ำช้า เมื่อดิฉันส่งข่าวแก่เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครๆ ส่งข่าวมาว่า ถ้าเราได้ทรัพย์พันหนึ่งจึงจักปล่อยตัวไป บัดนี้ ดิฉันได้ทรัพย์หนึ่งพันนี้แล้ว แต่ไม่ได้โอกาสที่จะไปยังสำนักของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนคร


    เศรษฐีบุตรได้ยินดังนั้นเพราะมีจิตปฏิพัทธ์ในนาง จึงกล่าวว่า ฉันจักไปเอง



    นางสามากล่าวว่า ถ้าอย่างนั้น ท่านจงถือเอาทรัพย์ที่นำมานั่นแหละไปเถิด



    เศรษฐีบุตรนั้นถือทรัพย์พันหนึ่งนั้นไปยังเรือนของเจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนคร เจ้าหน้าที่ผู้รักษาพระนครนั้นคุมเศรษฐีบุตรนั้นไว้ในที่อันมิดชิด แล้วให้โจรนั่งในยานอันปกปิดมิดชิด แล้วส่งไปให้นางสามา แล้วอ้างต่อผู้อื่นว่า โจรนี้เป็นโจรโด่งดังในแว่นแคว้น ต้องรอให้มือค่ำเสียก่อนพวกเราจึงจักฆ่าโจรนั้นในเวลาปลอดคน



    ครั้นค่ำลง เมื่อปลอดคนแล้ว จึงนำเศรษฐีบุตรไปยังตะแลงแกงโดยมีการอารักขาอย่างแข็งแรง แล้วเอา ดาบตัดศีรษะเสียบร่างไว้ที่หลาวแล้วเข้าไปยังพระนคร



    ตั้งแต่นั้นมา นางสามามิได้รับอะไรๆ จากมือของคนอื่นๆ เที่ยวอภิรมย์ชมชื่นอยู่กับโจรนั้นนั่นแหละ โจรนั้นคิดว่า ต่อไป ถ้าหญิงนี้มีจิตปฏิพัทธ์ในชายอื่นอีก แม้ตัวเรา นางก็จักให้ฆ่าแล้วอภิรมย์กับชายคนใหม่นั้นเท่านั้น หญิงนี้เป็นผู้มักประทุษร้ายผู้อื่นอย่างเดียว เราควรรีบหนีไปที่อื่น แต่เมื่อจะไปจะไม่ไปมือเปล่า จักถือเอาห่อเครื่องอาภรณ์ของหญิงนี้ไปด้วย



    วันหนึ่ง จึงกล่าวกะนางสามานั้นว่า นางผู้เจริญ เราทั้งหลายอยู่เฉพาะในเรือนเป็นประจำ เหมือนไก่อยู่ในกรง พวกเราจักเล่นในสวนสักวันหนึ่ง นางสามานั้นรับคำ แล้วจัดแจงสิ่งของทั้งปวงมีของควรเคี้ยว และของควรบริโภคเป็นต้น ประดับประดาด้วยอาภรณ์ทั้งปวง นั่งในยานอันมิดชิดกับโจรนั้นแล้ว ไปยังสวนอุทยาน โจรนั้นเล่นอยู่กับนางสามานั้นในสวนอุทยานนั้น จึงคิดว่า เราควรหนีไปเดี๋ยวนี้ จึงทำทีเหมือนต้องการจะร่วมอภิรมย์ ด้วยกิเลสฤดีกับนางสามานั้น จึงพาเข้าไประหว่างพุ่มต้นยี่โถแห่งหนึ่ง ทำทีเหมือนสวมกอดนางสามานั้น แล้วจึงกดลงทำให้สลบล้มลงแล้ว ปลดเครื่องอาภรณ์ทั้งปวง เอาผ้าห่มของนางนั่นแหละผูกแล้วคล้องห่อนั้นไว้ที่คอ โดดข้ามรั้วอุทยานหลบหลีกไป



    ฝ่ายนางสามานั้น เมื่อฟื้นขึ้น จึงลุกขึ้นมายังสำนักของพวกหญิงรับใช้ แล้วถามว่า ลูกเจ้าไปไหน ? พวกหญิงรับใช้กล่าวว่า พวกดิฉันไม่ทราบเลย แม่เจ้า นางสามาคิดว่า สามีของเราสำคัญว่าเราตายแล้ว จึงกลัวแล้วหลบหนีไป นางนึกเสียใจจึงจากสวนอุทยานนั้นแล้วไปบ้าน คิดว่าตั้งแต่เวลาที่เรายังไม่พบเห็นสามีที่รัก เราจักไม่นอนบนที่นอนที่ประดับตกแต่ง จึงนอนอยู่ที่พื้น ตั้งแต่นั้นมา นางไม่นุ่งผ้าสาฎกที่ชอบใจ ไม่บริโภคอาหาร ๒ หน ไม่แตะต้องของหอมและดอกไม้เป็นต้น คิดว่า เราจักแสวงหาพ่อลูกเจ้าด้วยอุบายอย่างใดอย่างหนึ่งบ้างแล้วให้เรียกกลับมา



    นางจึงให้เชิญพวกคนนักฟ้อนมาแล้วได้ให้ทรัพย์พันหนึ่ง เมื่อพวกนักฟ้อนรำกล่าวว่า แม่เจ้า จะให้พวกเราทำอะไรบ้าง นางจึงกล่าวว่า ขึ้นชื่อว่าสถานที่ที่พวกท่านยังไม่ได้ไป ย่อมไม่มี ท่านทั้งหลายเมื่อเที่ยวไปยังคามนิคม และราชธานี แสดงการเล่นพึงขับเพลงขับบทนี้ขึ้นก่อนทีเดียว ในมณฑลสำหรับแสดงการเล่น เมื่อจะให้พวกฟ้อนรำศึกษาเอา จึงกล่าวคาถาที่หนึ่ง แล้วสั่งว่า เมื่อพวกท่านขับเพลงขับบทนี้ ถ้าหากพ่อลูกเจ้าจักอยู่ในภายในบริษัทนั้น เขาจักกล่าวกับพวกท่าน เมื่อเป็นเช่นนั้น พวกท่านพึงบอกถึงความที่เราสบายดีแก่เขา แล้วพาเขามา ถ้าเขาไม่มา พวกท่านพึงให้เขาส่งข่าวมา ดังนี้แล้วมอบเสบียงเดินทางให้แล้วส่งพวกนักฟ้อนรำไป พวกนักฟ้อนเหล่านั้นออกจากนครพาราณสี กระทำการเล่นอยู่ในที่นั้นๆ ได้ไปถึงบ้านปัตจันตคามแห่งหนึ่ง โจรคนนั้นก็หนีไปอยู่ในบ้านปัตจันตคามนั้น พวกนักฟ้อนเหล่านั้น เมื่อจะแสดงการเล่นในที่นั้น จึงพากันขับร้องเพลงขับบทนี้ก่อนทีเดียวว่า :


    [๕๗๐] ท่านกอดรัดนางสามาด้วยแขน ที่กอชบามีสีแดงในวสันตฤดู เธอได้สั่ง


    ความไม่มีโรคมาถึงท่าน.


    โจรได้ฟังเพลงขับนั้นจึงเข้าไปหานักฟ้อนแล้วกล่าวว่า ท่านพูดว่า สามายังมีชีวิต แต่เราหาเชื่อไม่ เมื่อจะเจรจากับนักฟ้อนนั้น จึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :


    [๕๗๑] ดูกรท่านผู้เจริญ ได้ยินว่า ลมพึงพัดภูเขาไป ใครๆ คงไม่เชื่อถือ ถ้า


    ลมจะพึงพัดเอาภูเขาไปได้ แม้แผ่นดินทั้งหมดก็พัดเอาไปได้ เพราะ


    เหตุไร นางสามาตายแล้วจึงสั่งความไม่มีโรคมาถึงเราได้?


    นักฟ้อนได้ฟังคำของโจรนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๓ ว่า :


    [๕๗๒] นางสามานั้นยังไม่ตาย และไม่ปรารถนาชายอื่น ได้ยินว่า นางจะมีผัว


    เดียว ยังหวังเฉพาะท่านอยู่เท่านั้น.


    โจรได้ฟังดังนั้นจึงกล่าวว่า นางจะมีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม เราไม่ต้องการนาง แล้วกล่าวคาถาที่ ๔ ว่า :


    [๕๗๓] นางสามาได้เปลี่ยนเราผู้ไม่เคยสนิทสนม กับสามีที่เคยสนิทสนมมานาน


    เปลี่ยนเราผู้ยังไม่ทันได้ร่วมรัก กับสามีผู้เคยร่วมรักมาแล้ว นางสามาพึง


    เปลี่ยนผู้อื่นกับเราอีก เราจักหนีจากที่นี้ไปเสียให้ไกล.


    โจรกล่าวว่า เราจักไปยังที่ไกลแสนไกลเช่นที่ที่เราไม่อาจได้ฟังข่าว หรือความเป็นไปของนางสามานั้น เพราะฉะนั้น ท่านทั้งหลายจงบอกความที่เราจากที่นี้ แล้วไปที่อื่นแก่นางสามานั้น แล้วโจรนั้นก็ได้นุ่งผ้าให้กระชับมั่นแล้วรีบหนีไป ต่อหน้านักฟ้อนเหล่านั้นที่ยืนอยู่นั่นแหละ



    นักฟ้อนทั้งหลายได้ไปบอกอาการกิริยาที่โจรนั้นกระทำแก่นางสามานั้น นางเป็นผู้มีความวิปฏิสารเดือดร้อนใจ จึงยังกาลเวลาให้ล่วงไปโดยปกติของตนนั่นแล



    พระศาสดาครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประกาศสัจจะ ในเวลาจบสัจจะ ภิกษุผู้กระสันถึงภรรยาเก่า ก็ดำรงอยู่ในโสดาปัตติผล แล้วทรงประชุมชาดกว่า เศรษฐีบุตร ในครั้งนั้น ได้เป็นภิกษุรูปนี้ นางสามาในครั้งนั้นได้เป็นภรรยาเก่า ส่วนโจรในครั้งนั้น ได้เป็นเราตถาคต ฉะนี้แล





    จบ กณเวรชาดก<!-- google_ad_section_end -->

    กปิชาดก เข้าใจว่าลิงเป็นฤาษี<!-- google_ad_section_end --><HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->พระศาสดาเมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภภิกษุโกหกรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: rgb(243,243,243); BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial" class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" height="100%" vAlign=top width=657>ได้ยินว่า เรื่องที่ภิกษุนั้นเป็นผู้หลอกลวงได้ปรากฏในหมู่ภิกษุ ภิกษุทั้งหลายประชุมสนทนากันในโรงธรรมว่า ดูก่อนอาวุโสทั้งหลาย ภิกษุโน้นบวชในพระพุทธศาสนาอันเป็นที่นำสัตว์ออกจากภพ ยังบำเพ็ญวัตรของผู้หลอกลวงอีก พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้พวกเธอนั่งสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้วจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุนั้นมิใช่เป็นผู้หลอกลวงแต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้เมื่อก่อนก็เคยเป็นผู้หลอกลวงเหมือนกัน เกิดเป็นลิงได้ทำการหลอกลวงเพราเหตุเพียงไฟเท่านั้น แล้วทรงนำเรื่องอดีตมาตรัสเล่า
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์บังเกิดในตระกูลพราหมณ์ ในแคว้นกาสี ครั้นเจริญวัย ในเวลาที่บุตรเที่ยววิ่งเล่นได้ นางพราหมณีก็ถึงแก่กรรม จึงอุ้มบุตรเข้าสะเอวไปป่าหิมพานต์บวชเป็นฤๅษี บวชบุตรเป็นดาบสกุมาร อาศัยอยู่ในบรรณศาลา ครั้นฤดูฝน ฝนตกไม่ขาดสาย มีลิงตัวหนึ่งถูกความหนาวเบียดเบียน เที่ยวเดินตัวสั่นฟันกระทบกัน พระโพธิสัตว์หาท่อนไม้ใหญ่ ๆ มาก่อไฟแล้วนอนบนเตียง ฝ่ายบุตรชายก็นั่งนวดเท้าอยู่ ลิงนั้นนุ่งห่มผ้าเปลือกไม้ของดาบสที่ตายไปแล้วรูปหนึ่ง ห่มหนังสือเฉวียงบ่าถือหาบและน้ำเต้าปลอมเป็นฤๅษี มายืนหลอกลวงอยู่ที่ประตูบรรณศาลา เพราะต้องการไฟ ดาบสกุมารเห็นลิงนั้น จึงอ้อนวอนบิดาว่า ข้าแต่พ่อ มีดาบสผู้หนึ่งถูกความหนาวเบียดเบียนยืนสั่นอยู่ พ่อเรียกดาบสนั้นเข้ามา ณ ที่นี้เถิด เขาจะได้ผิงไฟได้กล่าวคาถาแรกว่า :
    ฤๅษีผู้นี้ยินดีแล้วในความสงบและความสำรวม
    ท่านถูกภัยคือความหนาวเบียดเบียน จึงมายืนอยู่
    เชิญฤๅษีผู้นี้จงเข้ามายังบรรณศาลานี้เถิด
    จะได้บรรเทาความหนาวและความกระวนกระวายให้หมดสิ้นไป
    พระโพธิสัตว์ฟังคำของบุตรจึงลุกขึ้นมองดู รู้ว่าเป็นลิงจึงกล่าวคาถาที่ ๒ ว่า :
    นี่ไม่ใช่ฤๅษีผู้ยินดีในความสงบและความสำรวม
    เป็นลิงที่เที่ยวโคจรอยู่ตามกิ่งมะเดื่อ
    มันเป็นสัตว์ประทุษร้าย ฉุนเฉียว และมีสันดานลามก
    ถ้าเข้ามาอยู่ยังบรรณศาลาหลังนี้ ก็จะพึงประทุษร้ายบรรณศาลา
    พระโพธิสัตว์ครั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว จึงคว้าดุ้นฟืนติดไฟออกมาขู่ให้ลิงตกใจกลัวแล้วให้หนีไป ลิงกระโดดหนีเข้าป่าไปไม่ได้มาที่นั้นอีก พระโพธิสัตว์ยังอภิญญาและสมาบัติให้เกิดสอนการบริกรรมกสิณแก่ดาบสกุมาร ดาบสกุมารทำอภิญญาและสมาบัติให้เกิดขึ้นแล้ว ดาบสทั้งสองนั้นมีฌานมิได้เสื่อม ได้มีพรหมโลกเป็นที่ไปในเบื้องหน้า
    พระศาสดาทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่ในบัดนี้เท่านั้น ตั้งแต่ครั้งก่อนภิกษุนี้ก็เป็นผู้หลอกลวงเหมือนกัน แล้วทรงประกาศสัจจธรรม ครั้นจบสัจจธรรม บางพวกได้เป็นพระโสดาบัน บางพวกได้เป็นพระสกทาคามี บางพวกได้เป็นพระอนาคามี แล้วทรงประชุมชาดกว่า ลิงในครั้งนั้นได้เป็นภิกษุหลอกลวงในครั้งนี้ บุตรได้เป็นราหุล ส่วนบิดา คือเราตถาคตนี้แล
    จบ กปิชาดก<!-- google_ad_section_end -->



    กโปตกชาดก ว่าด้วยคนที่ต้องฉิบหาย<!-- google_ad_section_end --><HR style="BACKGROUND-COLOR: #ffffff; COLOR: #ffffff" SIZE=1><!-- google_ad_section_start -->พระศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ปรารภภิกษุผู้มีนิสัยโลเลรูปหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ ดังนี้.


    <TABLE style="BORDER-BOTTOM: medium none; BORDER-LEFT: medium none; BORDER-COLLAPSE: collapse; BACKGROUND: rgb(243,243,243); BORDER-TOP: medium none; BORDER-RIGHT: medium none; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial" class=MsoTableGrid border=1 cellSpacing=0 cellPadding=0 width="80%"><TBODY><TR><TD style="BORDER-BOTTOM: maroon 1.5pt solid; BORDER-LEFT: maroon 1.5pt solid; PADDING-BOTTOM: 0cm; PADDING-LEFT: 5.4pt; WIDTH: 100%; PADDING-RIGHT: 5.4pt; BORDER-TOP: maroon 1.5pt solid; BORDER-RIGHT: maroon 1.5pt solid; PADDING-TOP: 0cm" height="100%" vAlign=top width=568>เรื่องความโลเลของภิกษุนั้น จักแสดงอย่างพิสดารใน จักกวากชาดก นวกนิบาต ก็ในกาลนั้น ภิกษุทั้งหลาย นำภิกษุนั้นมา กราบทูลพระศาสดาว่า พระเจ้าข้า ภิกษุนี้ มีนิสัยโลเล ลำดับนั้น พระบรมศาสดาตรัสถามภิกษุนั้นว่า จริงหรือภิกษุ ที่เขาว่า เธอมีนิสัยโลเล ภิกษุนั้นกราบทูลว่า จริงพระเจ้าข้า พระศาสดาจึงตรัสว่า ดูก่อนภิกษุแม้ในครั้งก่อน เธอก็เป็นคนโลเล สิ้นชีวิตเพราะความโลเลของตน แม้บัณฑิตผู้อาศัยเธอ ก็ต้องพลัดพรากจากที่อยู่ไปด้วย แล้วทรงนำเอาเรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​


    ในอดีตกาลครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติอยู่ในกรุงพาราณสี พระโพธิสัตว์เสวยพระชาติเป็นนกพิราบ ในครั้งนั้น ชาวเมืองพาราณสี พากันแขวนกระเช้าหญ้าไว้ในที่นั้น ๆ เพื่อให้ฝูงนกอาศัยอยู่อย่างสบาย เพราะความเป็นผู้ใคร่บุญใคร่กุศล ในครั้งนั้น แม้พ่อครัวของท่านเศรษฐีกรุงพาราณสี ก็แขวนกระเช้าหญ้าไว้ภายในโรงครัวกระเช้าหนึ่งเหมือนกัน นกพิราบผู้โพธิสัตว์ได้เข้าอยู่ในกระเช้านั้น รุ่งเช้าก็บินออกเที่ยวหากิน ต่อเย็นจึงบินกลับมาหลับนอนในโรงครัวนั้นเป็นดังนี้ ตลอดกาล



    อยู่มาวันหนึ่ง กาตัวหนึ่งบินข้ามโรงครัวไป สูดกลิ่นตลบอบอวนของรสเปรี้ยว รสเค็มและปลาเนื้อ ก็เกิดความโลภขึ้น คิดว่า จักอาศัยใครหนอ จึงจักได้ปลาและเนื้อนี้ คิดแล้วก็จับอยู่ ณ ที่ไม่ไกล คอยสอดส่ายหาลู่ทาง พอเย็นก็เห็นนกพระโพธิสัตว์บินมา แล้วเข้าไปสู่โรงครัว ก็เลยได้คิดว่า ต้องอาศัยนกพิราบนี้ ถึงจักได้กินเนื้อ ครั้นรุ่งขึ้นก็บินมาแต่เช้า ในเวลาที่พระโพธิสัตว์ บินออกไปหากิน ก็บินตามไปข้างหลัง ๆ ลำดับนั้น พระโพธิสัตว์ จึงกล่าวกะกาว่า สหาย เหตุไรท่านจึงเที่ยวบินตามเรา



    กาตอบว่า นาย ข้าพเจ้าชอบใจกิริยาของท่าน ตั้งแต่บัดนี้ไป ข้าพเจ้า ขอปรนนิบัติท่าน



    พระโพธิสัตว์กล่าวว่า พวกท่านมีอาหารอย่างหนึ่ง พวกเรามีอาหารอย่างหนึ่ง ไม่เหมือนกัน การปรนนิบัติของพวกท่าน ท่านกระทำได้ยาก



    กาตอบว่า นาย เวลาท่านบิน ไปหากิน ข้าพเจ้าก็บินไปหากิน บินไปกับท่าน



    พระโพธิสัตว์ กล่าว ดีแล้ว ขอท่านพึงเป็นผู้ไม่ประมาทอย่างเดียว



    พระโพธิสัตว์ กล่าวสอนกาอย่างนี้แล้ว ก็เที่ยวแสวงหาอาหาร กินอาหารมีพืชพรรณติณชาติ เป็นต้น ก็ในเวลาที่พระโพธิสัตว์กำลังหากิน กาก็บินไปพบกองขี้วัวจึงคุ้ย แล้วจิกกินตัวหนอน พอเต็มกระเพาะ ก็มาสู่สำนักพระโพธิสัตว์ พลางกล่าวว่า นาย ท่านเที่ยวเกินเวลา การทำตนให้ได้นามว่า เป็นผู้ตะกละตะกลามหาควรไม่ ดังนี้แล้วเข้าไปสู่โรงครัว พร้อมกับพระโพธิสัตว์ ผู้หาอาหารกินแล้วก็บินมาในเวลาเย็น


    พ่อครัวกล่าวว่า นกพิราบของเราพาตัวอื่นมา ดังนี้แล้วก็แขวนกระเช้าให้กาบ้าง ตั้งแต่นั้นก็อยู่ ด้วยกัน เป็นสองตัว.


    อยู่มาวันหนึ่ง คนทั้งหลายนำปลาและเนื้อมาให้ท่านเศรษฐีเป็นจำนวนมาก พ่อครัวก็รับมาแขวนไว้ในโรงครัว กาเห็นแล้วก็เกิดความโลภ คิดในใจว่า พรุ่งนี้เราไม่หากินละ จะกินปลาและเนื้อนี้แหละ แล้วก็นอนแซ่วอยู่ตลอดทั้งคืน รุ่งเช้า พระโพธิสัตว์จะไปหากิน ก็เรียกว่า มาเถิดกา ผู้เป็นสหาย



    กาตอบว่า นาย ท่านไปเถิด ข้าพเจ้ากำลังปวดท้อง



    พระโพธิสัตว์ กล่าวว่า สหายเอ๋ย ธรรมดาโรคปวดท้องไม่เคยเป็นแก่พวกกาเลย แต่ไหนแต่ไรมา ในยามทั้ง ๓ ตลอดราตรี กาย่อมหิวทุก ๆ ยาม ถึงจะกลืนกินไส้ประทีปเข้าไป กาก็จะอิ่มอยู่ชั่วครู่หนึ่ง ชะรอยท่านจักอยากกินปลาและเนื้อนี้ มาเถิดขึ้นชื่อว่าของกิน ของมนุษย์เป็นของที่พวกท่านไม่ควรกิน อย่าทำเช่นนี้เลย ไปหา กินด้วยกันกับเราเถิด


    กาตอบว่า นาย ข้าพเจ้าไม่สามารถจะ ไปได้



    พระโพธิสัตว์จึงเตือนว่า ถ้าเช่นนั้น ท่านจักต้องรับสนองกรรมของตน ท่านอย่าลุอำนาจความโลภ จงเป็นผู้ไม่ประมาทเถิด



    ดังนี้แล้วก็บินไปหากิน พ่อครัวก็ปรุงอาหารต่าง ๆ ชนิด ด้วยปลาและเนื้อ มีประการต่าง ๆ เสร็จแล้วก็เปิดภาชนะไว้หน่อยหนึ่ง เพื่อให้ไอระเหยไปให้หมด วางกระชอนไว้บนภาชนะ อีกทีหนึ่ง แล้วก็ออกไปข้างนอก ยืนเช็ดเหงื่ออยู่ ขณะนั้นกาก็โผล่ศีรษะขึ้นมาจากกระเช้า มองดูโรงครัวทั่วไป รู้ว่าพ่อครัวออกไปข้างนอก จึงคิดว่า บัดนี้ความปรารถนาของเราสมประสงค์แล้ว เราอยากจะกินเนื้อ จะกินเนื้อชิ้นใหญ่ หรือเนื้อชิ้นเล็กดีหนอ ครั้นแล้วก็เล็งเห็นว่า ธรรมดาเนื้อชิ้นเล็ก ๆ เราไม่อาจกินให้เต็มกระเพาะได้รวดเร็ว เราจะต้องคว้าก้อนใหญ่ ๆ มาทิ้งไว้ในกระเช้า นอนขยอกจึงจะดี แล้วก็โผออกจากกระเช้า ลงไปแอบอยู่ใกล้กระชอน



    เสียงกระชอนดังกริ๊ก ๆ พ่อครัวฟังเสียงนั้นแล้วนึกว่า นั่นเสียงอะไรหนอ ? กลับเข้าไปดู เห็นกา แล้วก็ดำริว่า การะยำตัวนี้มุ่งจะกินเนื้อทอดของมหาเศรษฐี ก็ตัวเราต้องอาศัยท่านเศรษฐีเลี้ยงชีวิต มิใช่อาศัยกาพาลตัวนี้ จะเอามันไว้ใย ? แล้วปิดประตู ต้อนจับกาได้ ถอนขนเสียหมดตัว เอาขิงสดโขลกเคล้ากับเกลือป่น คลุกกับเนยเปรี้ยวทาจนทั่วตัวกานั้น แล้วเหวี่ยงลงไปในกระเช้าของมัน กาเจ็บแสบแสนสาหัส นอนหายใจแขม่วอยู่ ครั้นเวลาเย็นพระโพธิสัตว์บินกลับมา เห็นกาประสพความฉิบหาย จึงพูดว่า ดูก่อนเจ้ากาโลเล เจ้าไม่เชื่อฟังคำของเรา อาศัยความโลภของเจ้าเป็นเหตุ จึงต้องประสพทุกข์อย่างใหญ่หลวง ดังนี้


    พระโพธิสัตว์กล่าวแล้ว คิดว่า บัดนี้เราก็ไม่อาจอยู่ในที่นี้ได้ จึงบินไปอยู่ที่อื่น แม้กาก็สิ้นชีวิตอยู่ในกระเช้านั้นเอง พ่อครัวจึงเอามันไปทั้งกระเช้าทิ้งเสียที่กองขยะ.


    แม้พระบรมศาสดา ก็ตรัสย้ำว่า ดูก่อนภิกษุ มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่เธอเป็นคนโลเล แม้ในปางก่อนก็เป็นผู้โลเลเหมือนกัน และถึงแม้บัณฑิตทั้งหลาย อาศัยความโลเลของเธอนั้น ก็ต้องพลอยออกจากที่อยู่ของตนไปด้วย ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว จึงทรงประกาศอริยสัจ ในเวลาจบการประกาศอริยสัจ ภิกษุนั้นบรรลุอนาคามิผล พระบรมศาสดาทรงประชุมชาดกว่า กาในครั้งนั้นเป็นภิกษุผู้โลเลในครั้งนี้ นกพิราบในครั้งนั้น คือเราตถาคต ฉะนี้แล.


    จบ อรรถกถากโปตกชาดก<!-- google_ad_section_end -->
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->





     
  12. CheKuvara

    CheKuvara เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,460
    ค่าพลัง:
    +19,342
    สวัสดียามเช้าครับ........
     
  13. ศิษย์หลวงปู่กวย009

    ศิษย์หลวงปู่กวย009 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    1,867
    ค่าพลัง:
    +17,327
    คุณ MooDam ช่วยติดต่อกลับ ผม ด้วยนะครับ เพื่อนผม เค้าต้องส่ง มีดหมอ นี้ไปให้เพื่อน ที่ ตจว. เพื่อนเค้าฝากให้เช่าให้ ผมแจ้งคุณ ไปใน PM แล้วด้วยนะครับ

    และของที่คุณได้รับ เป็นเวลา อาทิตย์ กว่า แล้ว ถ้าไม่ใช่ สีผึ้ง ที่คุณทำบุญ ก็ น่าจะติดต่อ ผม มานานแล้ว แต่ คุณเงียบไปเลย จนเพื่อนพี่ โทรมาบอก ว่า ลูกน้อง ส่งไปให้ผิด พี่ถึงทราบ จึง ขอความ กรุณา ส่งกลับให้ด้วยนะครับ

    ที่อยู่คุณ ผมก็มี แต่ไม่อยาก ตามไปที่นั่น ผมให้เกียรติ์ คุณครับ
     
  14. Suppasit_S

    Suppasit_S เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    1,147
    ค่าพลัง:
    +3,869
    ขอบคุณมากครับคุณหนุ่มฯ และทุกๆท่าน

    ขอบคุณมากครับ ผมก็มีปัญหาครับ แต่มันเล็กน้อยเหลือเกินเมื่อเทียบกับสิ่งที่คุณหนุ่มผ่านมา

    และขอบคุณสำหรับกระทู้นี้ ที่ทำให้ผมได้รับน้ำใจ รู้จักคนดีๆอีกเยอะที่ผมไม่เคยพบหน้า ผมเคยได้รับพระหลวงปู่ทวดจากพี่นวล เช้านี้เปิดคอมฯเสร็จก็เข้ากระทู้นี้เลย ได้รับ PM จากคุณ natt pea แจ้งว่าจะส่งพระหลวงปู่ดู่มาให้

    ผมเลยถือวิสาสะมาเขียนบอกเล่าตรงนี้ เพราะมันดีเกินกว่าจะเก็บไว้คนเดียวครับ

    และผมคิดว่าไม่คุณหนุ่มฯจะตั้งใจ หรือไม่ตั้งใจก็ตาม ผมว่ามีคนจำนวนมากในกระทู้นี้ที่รับได้ และกำลังส่งต่อความมีน้ำใจต่อไปครับ ขอบคุณที่ตั้งกระทู้ดีๆและขอบคุณทุกท่านที่ทำให้ผมรู้สึกสุขใจครับ ที่รู้ว่าคนดีๆในสังคมยังมีอีกเยอะครับ
     
  15. ญา05

    ญา05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +213
    ผมไม่ได้เข้าเน็ตมา2วันสงสัยคุณศิษย์หลวงปู่กวย009จะเข้าใจผมผิดเสียแล้วผมหมายถึงอย่างที่คุณนมสดปั่นเข้าใจไม่ได้เน้นอ้างอิงของใครคนใด
    เพียงแต่ถามถึงศิษย์ของหลวงปู่กวยแล้วก็เลยถามเรื่องคอมไปด้วยเลยอาจจะเขียนไม่จัดเจน
    ยังงัยผมต้องขอโทษด้วยครับและขอขอบคุณที่ให้ข้อมูลดีๆๆๆ
     
  16. โต้งชลบุรี

    โต้งชลบุรี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    5,474
    ค่าพลัง:
    +18,351
    ส่งเสียงให้ท่านศิษย์หลวงปู่กวย 009 ทราบด้วยครับ กำลังลำบากอยู่ครับ
     
  17. ญา05

    ญา05 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    39
    ค่าพลัง:
    +213
    ผมไม่ได้เข้าเน็ตมา2วันสงสัยคุณศิษย์หลวงปู่กวย009จะเข้าใจผมผิดเสียแล้วผมหมายถึงอย่างที่คุณนมสดปั่นเข้าใจไม่ได้เน้นอ้างอิงของใครคนใด
    เพียงแต่ถามถึงศิษย์ของหลวงปู่กวยแล้วก็เลยถามเรื่องคอมไปด้วยเลยอาจจะเขียนไม่จัดเจน
    ยังงัยผมต้องขอโทษด้วยครับและขอขอบคุณที่ให้ข้อมูลดีๆๆๆ
     
  18. Tawatchai1889

    Tawatchai1889 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    6,406
    ค่าพลัง:
    +16,787
    คุณ MooDam ด่วนเลยครับ เพื่อนๆกำลังลำบากกันอยู่ครับ
     
  19. 9046

    9046 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    487
    ค่าพลัง:
    +2,503
    ..อ่านไปน้ำตาคลอเลยครับ รอวันที่จะได้กลับไปอยู่บ้านกับแม่ อยู่ครับ..
     
  20. JP Tiger

    JP Tiger เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    253
    ค่าพลัง:
    +1,490
    ขอบคุณคุณหนุ่มครับ ผมจะลองดู วันก่อนแกชวนผมไปไหว้พระ ผมเลยลองบอกแกว่าให้ไปกราบพ่อกับแม่ที่บ้านก่อนดีกว่า แกก็อึ้งไป ... ว่าจะลองบอกอีกครั้ง
     

แชร์หน้านี้

Loading...