เรื่องเล่าของข้าพเจ้าความศักดิ์สิทธิ์พระคาถาชินบัญชร

ในห้อง 'สมเด็จโต พรหมรังสี' ตั้งกระทู้โดย ชัชวาล เพ่งวรรธนะ, 1 ตุลาคม 2008.

  1. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่สับสน

    ไม่มีที่ไหนที่วุ่นวายเลย ไม่มีที่ไหนที่สับสนเลย
    ท่านเดินทางแสวงหามากมาย แท้จริงคือใจท่านเอง
    ที่นี่ไม่วุ่นวาย ที่นี่ไม่สับสน พระพุทธองค์เคยตรัสเอาไว้
    ทิดแสวงหาปัญญา เล่ามาให้จบ ถ้าเขียนถึงพี่ชายคนนี้ก็เอ่ยชื่อได้ ไม่มีลิขสิทธิ์

    ถ้าใจสงบมั่นคงดั่งขุนเขา ลมเย็นเอื่อยพริ้วพัดสบายแผ่วพริ้ว
    เดินเหลียวก้าวข้ามด้วยสติเนืองแจ่มใส อยู่กับกายแลจิตใจแท้ปรากฏ
    ที่ใดละวุ่นวายเมื่อสำรวมในวิญญาณ
    ไม่มีสับสนแท้ละคือไม่มีอะไรกับอะไร

    ลมเย็นโชยพัดผ่านไปละลายหาย กระทบผัสสะดั่งมายาหลอกใจฉัน
    อาการส่ายจิตโลกธรรมไหลไปหา ดีชั่วแท้จริงคือเงาแห่งมายา
    ใครหนอคือเราและคือจิต
    ช่างผูกติด ติดตรึงอยู่ในภพอุปทานขันธ์
    พิจารณาหยั่งลงในปวงขันธ์ เพราะติดตรึงไม่ตรึงติดอยู่ร่ำไป

    ปัญญาก่อเกิด กำเนิดรู้ แจ้งทุกสิ่งสรรพสัจธรรมแลปวงขันธ์
    ไหลไปไหลมาน่าสังเวชหนอในใจฉัน
    สติ สมาธิ ปัญญา สมดุลย์กลมกลืนสมานกัน
    วิจิกิจฉาก็พลันเปิดออกถึงความจริง

    เห็นแล้วเห็นซ้ำทุกดวงจิต วิ่งซัดส่ายไปวิญญาณอายตนะแลปวงขันธ์
    อาศัยเหตุเก่าก่อเกิด ตลกจัง
    ซ้ำไปซ้ำมา ก็เหมือนเดิม

    ดูเหมือนใหม่แต่แท้จริงคือของเก่า
    มาปรุงใหม่แต่งใหม่ช่างขบขัน

    โลกหนอโลกเป็นอย่างไรช่างโลกมัน
    ขนาดกายแลจิตฉันคืออะไร ที่ไม่มี

    เมื่อใจสงบ ความวุ่นวายไม่ปรากฏ
    จิตไม่เที่ยวเซซัดแสวงหา
    อยู่กับใจสบายๆอุราอุรา
    จิตปรากฏทำลายตรงถึงช่องทาง

    เมื่อรู้แล้วแลไม่ยึดจะเกิดไม๊
    ปล่อยมันไปตามธรรมชาติกำเนิดขันธ์
    ลมสบายๆพัดผ่านพริ้วช่างลมมัน
    สบายช่างมันไม่ใช่ฉันเพราะหายไป

    ไม่มีอะไร ไม่เหลืออะไร ละลายสิ้น
    ผ่องอินทรีย์สะอาดแลในใจฉัน
    รู้แล้วละใครช่างสอนให้เห็นกัน
    โอ้...พุทธะคือผู้รู้อย่างแท้จริง

    ผู้ใดพบธรรมผู้นั่นตื่นขึ้นเดินออกจากโรงหนัง
    ออกไปไม่หวนกลับหายสลายสิ้น
    ไม่มีเราไม่มีโรงหนังแต่ไหนกัน
    มาครอบคลุมให้ตรึกนึกเป็นตัวตน
     
  2. สมาปัญญา

    สมาปัญญา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +88
    ถามอาอ้องครับ

    ผมรบกวนอาอ้องด้วยครับ ผู้ใดคือทิดแสวงหาปัญญาครับ? (รบกวนด้วยครับคุณอา)
     
  3. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    เป็นน้องทางธรรมคนหนึ่งครับที่แสวงหาปัญญา
     
  4. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ฌาน สมาธิ จิต ใจ มีอันใดเป็นเครื่องสังเกต

    จิตแท้ๆคือธรรมชาติที่รู้อารมณ์ดีชั่ว นี่จิตแท้หรือไม่
    ใจแท้ๆนี่คือไม่มีอาการของจิตที่ซัดส่ายไปทางดีชั่วโลกธรรมหรือไม่
    ไม่ทราบว่าทางอภิธรรมจัดเอาสติคือเจตสิกถูกต้องหรือไม่

    ฌาน สมาธิ เป็นสิ่งเดียวกันหรือ ในเมื่อฌานมีภวังค์เป็นเครื่องสังเกต สมาธิไม่มี
    ทำฌานเพื่อเข้าถึงเอกัคคตา สัมมาสมาธิปรากฏ ฌานปัญญาทำไมพลิกกลับเป็นสมาธิเดินในทางมรรค

    อุปจารฌาน อุปจารสมาธิ แตกต่างกันที่ใดทำไมจึงมีเครื่องสังเกตที่นิมิตที่โน้มเข้าถึง และธัมมวิจยะจิตที่ส่ายภายในอุปจารสมาธิ

    ทำไม ฌานนั้นเมื่อออกมามองสิ่งใดจึงมีแต่ปลงสังเวชมีแต่ไร้สาระแต่
    สมาธิทำไมจึงมองสิ่งใดมีแต่พระไตรลักษณะญานปรากฏเป็นเครื่องประกอบ

    องค์คุณทั้ง5ของฌานจะปรากฏเมื่อใด จะเกิดพร้อมกันทั้ง5 แล้วละทีละ1 หรือเกิดทีละ1ละทีละ1
    ทำไมอารมณ์ที่เฝ้าดูโดยเพ่งโดยการกำหนดก็เหมือนกันทั้งฌานและสมาธิ ทำไมขาดสติพลิกกลับไปมาทั้งฌานและสมาธิเหมือนมือที่คว่ำแลหงายฝ่ามือ

    มรรคสมังคีเกิดจากสมาธิเดินในทางมรรคจนมรรคแก่กล้าปรากฏพระไตรลักษณะญานเป็น เครื่องประกอบ
    ปัญญาที่คมชัดที่สุดอยู่ที่อุปจารสมาธิ สติผู้เพ่งพินิจผู้รู้ การหยั่งถึงปวงธาตุ อายตนะ ขันธ์ สัจธรรม หลอมรวมเป็นเอกเทศทำลายซึ้งความลังเลสงสัยจนละสังโยชน์ได้

    สิ่งที่ข้าพเจ้ากล่าวมาทั้งหมดเป็นคำสอนของหลวงปู่เทสก์ในการพินิจพิเคราะห์ ในรายละเอียด

    อัปนาสมาธิ เป็นกำลัง ท่านเรียกว่าพลังจิต สติที่มีกำลัง มีคุณอุปถัมภ์ในอุปจารสมาธิเพื่อพินิจในธัมมวิจยะไม่ใช่ว่าไม่มีประโยชน์แต่ ละเอียดเกินที่จะพิจารณาธาตุขันธ์

    ท่านกล่าวว่าอยากรู้ว่าใจเป็นเช่นใดให้กลั้นลมหายใจชั่วคราวชัดตรงไหนใจตรง นั้นไม่มีอดีตอนาคต เฉยๆ สบายๆเช่นนั้น

    อัปนาสมาธินั้นมีแต่ความสว่างไสวพูดไม่ออกบอกไม่ถูกต้องพบเองเจอเอง

    อัปนาฌานนั้นเป็นเอกเทศเป็นโลกส่วนตนเองเพราะโน้มเอานิมิตเป็นอารมณ์จนเชื่อ มั่น

    นิมิตโดยมากปรากฏในฌาน ความรู้เรื่องลึกลับก็อยู่ในนั้น

    ส่วนสมาธิมีน้อยโดยมากมักส่ายแต่ภายในธัมมวิจยะ สมาธิถ้าเผลอขาดสติตกภวังค์ก็กลับเป็นฌาน
    ฌานนั้นถ้าพิจารณาปวงธาตุก็พลิกกลับเป็นสมาธิเรียกฌานปัญญา

    ผมเห็นเพื่อนๆเขียนเอาฌานสมาธิมารวมกันแล้วจะเอาองค์คุณทั้ง5มาอธิบายรวมกับ ขณิกสมาธิอุปจาอัปนาได้ลงตัวอย่างไร

    ส่วนกระทู้นี่ถามถึงใจแท้ จะเป็นกลางถึงขนาดสักแต่รู้อารมณ์ได้นั้น จิตต้องพ้นจากอำนาจการปรุงแต่งที่เรียกว่าจิตวิสังขารหรือไม่
    ใจไม่มีอาการส่ายออกไปของจิตในทางดีร้ายอีก

    ทำไมจึงเกิดญานชนิดหนึ่งคือไม่มีอะไรไม่เหลืออะไรจนเกิดความกลัวว่ากายไม่มี จิตไม่มีจะทำอย่างไร
    แต่เมื่อรู้ซ้ำๆแล้ว ไม่มีอะไรไม่เหลืออะไร ไม่เป็นอะไรกับอะไรอีก ก็ช่างเค้าเถอะ ก็มันไม่มีมาตั้งแต่แรกแล้วจะกลัวอะไร [​IMG]

    สิ่งที่อ้องเขียนนั้นโดยมากมาจากคำสอนของพระอริยเจ้า ขอพึงพิจารณาก่อนอย่าเพิ่งเชื่่อแม้คำสอนของพระพุทธองค์
    ทำเสียก่อนว่าใช่หรือไม่แล้วค่อยติติงหรือกล่าวอนุโมทนา [​IMG]
     
  5. จะไหวเหรอ

    จะไหวเหรอ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +25
    สวัสดีครับคุณอาอ้อง ผมขออนุญาตเรียกคุณอาอ้องด้วยคนนะครับ

    ผมขออนุโมทนาบุญกับคุณอาอ้องด้วยครับ


    ขอเล่านิดหนึ่ง เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ผมไปปฎิบัติธรรมที่วัดราชโอรสวันสุดท้าย มีคนนำหนังสือมาแจกหนังสือความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถาชินบัญชร หลังจากนั้น ซัก 6 เดือนจึงเริ่มปฎิบัติธรรม เพราะไม่มีอะไรทำ อิอิ เลยมาปฎิบัติธรรมดู
    ลองผิดลองถูกมาตลอด วันนี้จะมาถามอาอ้องละครับมาเจออาอ้องที่เว็ปนี้ คงไม่บังเอิญหรอกครับ

    1. ผมนั่งสมาธิดู ลมนะครับหลังๆนี้เริ่มมีปัญหา หลังๆนี้พอจิตเริ่มรวมมันชอบไปเพ่งระหว่างคิ้ว ไหนๆก็ไหนๆผมเลยเพ่งไปเรื่อยๆ พออกจากสมาธิแล้วมันตึงๆ ทำยังไงดีครับ

    2. บางวันแพ่งไปเรื่อยๆมันรวมสว่างจ้าเหมือนเป็นพระอาทิตย์ บางวันดวงไหญ่ บางวันดวงเล็ก พอแพ่งไปเรื่อยๆมันวูปหายไปเลย ไม่มีอะไรเลย แต่พอ เอ๊ะร่างกายหายไปไหน หลุดทุกที ส่วนตอนนี้ ถึงแม้ ร่างกายจะหายไปแต่ความรู้สึกยังอยู่ครับ ยังได้ยินเสียง ยังรู้เวทนา แต่รู้เสร็จก็จบครับ ถูกผิดประการใดแนะนำด้วยครับ

    3. ตอนนี้ จากแพ่งระหว่างคิ้ว ลองไปลองมา เลื่อนให้มาอยู่ที่ลิ่นปี่ได้แล้วครับ มาตึงๆที่หน้าอกแทนละครับ เหมือนมีพลังงานอ่ะไรซักอย่างไปรวมกัน สงสัยครับมันทำอะไร ได้มากกว่าเลื่อนขึ้นเลื่อนลงไหมครับ..แล้วพลังงานที่มารวมกันนี่ ทำไงกับมันดีครับ ถูกผิดประการใดแนะนำด้วยครับ

    4. เวลาปฎิบัติธรรมไปแล้วมันเบื่อมากๆ แก้ยังไงดีครับ ให้มันผ่านช่วงนี้ไปเร็วๆ
    นอกจากดูตัวเบื่อ

    อันนี้แถมครับ วันหนึ่งขณะนั่งสมาธิ มันก็สว่างปกติของมันเลยพูดเล่นๆว่า เราสวดคาถาพระชินบัญชร มานานแล้วขออาราธนาพระบารมี ท้าวชินนะปัญระ แสดงความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถาให้ลูกช้างดูหน่อยสวดมานานแล้ว ได้ผลครับ ไม่นานหลังจากนั้นจิตค่อยๆวูปลงๆ แสงที่เคยสว่าง วูปหายไป แต่ปรากฎเป็น รัศมีขึ้นมาแทน ตรงกลางจะขาวนวล วงต่อมาเหลืองค่อยเปลี่ยนเป็นเหลืองแซมทองแล้วเป็นสีส้มค่อยๆๆเข้มเรื่อยๆ และส่งประกายเป็นท่อนๆขาวนวล จากแกนกลาง ส่วนรอบนอกสุดนี่เห็นเป็นสีเข้มๆๆเกือบดำไม่แน่ใจว่าสีน้ำเงินหรือม่วงหรือสีดำ( มันสวยจนขาดสติ พอคิดว่า สวยดี ภาพเลยหลุดครับ วงนอกสุดเลยไม่แน่ใจ เห็นมาแค่นี้ครับ)

    เห็นผมเห็นจริงๆๆนะครับ แต่ที่เห็นไม่รู้ของจริงไหม

    ขอความเห็นอาอ้องหน่อยครับ และช่วยอธิบายด้วยครับเกี่ยวกับรัศมี แสงสีด้วยครับ
     
  6. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ลักษณะของฌานก็เป็นเช่นนี้แล
    นิมิต แสงสี ความรู้ก็ปรากฏเกิดจากฌาน เพียงแต่ฌานนั้นไม่เกิดปัญญาเพราะเป็น
    การเพ่งเข้าไปในอารมณ์จนเชื่อมั่นว่าเป็นนิมิต เป็นภาพ เป็นโลกภายใน ขาดสิ้นไป
    จากการรับรู้โลกภายนอก

    การหน่วง ตึง ในจุดที่เพ่งเข้าไปเพราะไปกดเค้า เหมือนเกลียวสว่าน เหมือนตึง หนืด เมื่อออกจากการเพ่งเข้าไปแล้วย่อมเกิดสภาพของกล้ามเนื้อตึงเครียด
    เช่นเดียวกับนักกีฬาโดยทั่วไป เพราะเป็นการสร้างการตื่นตัวเฉพาะจุด

    คำว่าเบื่อในธรรมนั้นมีทุกๆคนเพราะฝื่นอารมณ์
    การเข้าไปรู้ทุกข์ กับ การหนีทุกข์นั้นแตกต่างกัน
    การเจริญ สมาธิ หรือการอบรมกายและจิต เป็นการเข้ามารู้ทุกข์เพื่อละทุกข์

    เรื่องทางโลกนั้นที่ไม่เบื่อเพราะเปลี่ยนอารมณ์ตลอดเวลา พอเบื่อก็ไปแสวงหาอารมณ์ใหม่ๆได้เสมอ แต่การปฎิบัติเพื่อเพียรเผากิเลสนั้น

    มีตัณหานำไม่ได้เพราะเป็นการเพียรผิด หน้าที่ผู้ฝึกจึงจะวิ่งหนีความจริงหรือท้อแท้ต่อนิวรณ์ไม่ได้ ต้องหันหน้ามาสู้กับความจริงตรงหน้าจึงรู้ความจริงว่า...

    ไม่ว่าจะเบื่อหน่ายก็ไม่ใช่เราเบื่อ จิตก็ไม่ได้เบื่อ แต่จิตไปยึดเอารูปนามมาเป็นกาย
    เป็นจิต มันยึดเอาอารมณ์นั้นๆมาเป็นตัวมันของมัน จึงเบื่อ คำว่าเบื่อเป็นสภาวะธรรมชาติ

    ของเดิมๆที่เป็นอดีตกรรมคือเราไม่ชอบ ไม่เอา ไม่อยากให้มีสภาวะเช่นนี้ปรากฏนานๆ มันน่าเบื่อ อดีตกรรมจึงมักแสวงหาอารมณ์ใหม่ๆเพื่อดับทุกข์แห่งความเบื่อ
    สุขก็ชั่วคราว มีแต่ทุกข์ล้วนๆ เพราะไม่นานก็จะปรากฏอารมณ์เช่นว่านี้อีกเมื่อทำสมาธิหรือปฎิบัติวิปัสสนากรรมฐาน

    ส่วนความศักดิ์สิทธิ์พระคาถานั้นเกิดมาจากคุณธรรมที่เราสะสมจึงปรากฏเกิดขึ้น
    ตามคุณธรรมของเราเอง ไม่มีใครสร้าง ไม่มีใครเสกสรรบรรจงให้ปรากฏ
    ตรงนี้เป็นธรรมมานุสติอารมณ์กรรมฐานอย่างหนึ่ง

    เมื่อจิตมีกำลัง สติมีกำลัง และปรากฏสมาธิพลิกกลายเป็นฌานอันเนื่องมาจากตกภวังค์เข้าไปและยึดเอานิมิตภาพนั้นอย่างแจ่มชัด แสง สี รัศมี คุณธรรมก็ล้วนมาจากสิ่งที่มาจากขันธ์ในของท่านเองทั้งสิ้น ตัวนำไปเกิดภพชาติ

    รัศมี คุณธรรม จึงเป็นมายาของจิต อุปทานของจิต เป็นภัยต่อพระนิพพานสมบัติ์
    หน้าที่เราคือเพียงรู้ ไม่ควรเพ่งโน้มเข้าไปโดยยึดเอา ถือเอา เป็นเราเพราะเป็นภพแห่งความละเอียดจะติดได้จะหลงได้

    เมื่อเกิดสมาธิจึงต้องเดินในทางมรรค และควรเข้าใจว่าเราทำสมาธิเพื่อพบใจ
    เพื่อให้จิตที่ซัดส่ายวิ่งวุ่นวายถูกสติจัดระเบียบให้อยู่ในจุดที่วางอารมณ์เอาไว้อย่างมั่นคง เมื่อจิตสงบราบเรียบ จิตก็จะไหลหล่อหลอมรวมกลายเป็็นใจ
    ไม่มีสภาพซัดส่าย ไม่มีสภาพวุ่นวายแสวงหาโลกธรรม จิตหลอมกลายเป็นใจ

    เป็นสัมมาสมาธิ เป็นเอกัคคตาจิต เอกัคคารมณ์ มีสภาพเฉยๆ เป็นกลาง สะอาด บริสุทธิ์ เราทำสมาธิเพื่อพบใจ และใจนี้เองจะทำหน้าที่สอดส่องจิต

    ที่จะวิ่งออกมาทางวิญญาณอายตนะทั้ง5 เมื่อปรากฏอุปจารสมาธิอย่างมั่นคง ความรู้ชัดแจ้งตามจริงก็จะรู้ถูกต้องอันมีพระไตรลักษณะญานเป็นเครื่องประกอบ
    มีสติ สมาธิ ปัญญาสมดุลย์ มรรคก็แก่กล้า สิ่งนี้เรียกมรรคสมังคีเพราะจะปรากฏ

    แต่ความจริงในเรื่องของขันธ์ รูปนามตามจริง จนจิตที่เป็นผู้รู้ คิ ดนึก ปรุงแต่ง ยอมรับความจริง จนละคลายวิจิกิจฉาัลังเลสงสัยว่ากายนี้จิตนี้เป็นมัน
    ความจางลง ความเข้าถึง การคลายยึด ความเบื่อหน่ายก็จะปรากฏตามอินทรีย์ที่แก่กล้ามากขึ้น

    ศรัทธาก็มากขึ้นว่าถูกทาง
    ความเพียรก็ตั้งัม่นคงมากขึ้น ไม่เบื่อหน่ายอีก
    สติก็ตื่นรู้พินิจในผู้รู้อย่างมั่นคงไม่ต้องรักษาแต่จะสมดุลย์กันและกันกับจิต
    สมาธิก็ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว
    ปัญญาก็ปรากฏตามความรู้แจ้งเห็นจริงทุกประการ

    ขออนุโมทนาครับ
    ส่วนหนังสือที่ได้คงเป็นคุณน้าเยาวลักษณ์ แจกให้กับครอส์ผู้ปำิบัติธรรมครับ
    ยินดีในทางเดินที่สะอาดข้างหน้ารอยู่ครับ
    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ
     
  7. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    การทำสมาธิของอ้องเป็นเช่นนี้ครับ

    หลวงปู่เทสก์สอนว่า มรรคต้องเดินทางสมาธิ จุดวางตำแหน่งของอารมณ์ วางจุดที่ตั้งของจิต
    ตัวจิตเองนั้นมีสภาพที่ซัดส่ายตลอดเวลา วิ่งวุ่นวายไปทางวิญญาณอายตนะเป็นเรื่องธรรมดาของเค้า คนบ้าก็มีจิตแต่ไร้สติจัดระเบียบ

    เมื่อทำสมาธิ อ้องใช้หลักของการดำรงค์สติเฉพาะหน้าสำเหนียกรู้ที่เคยพิจารณามา คุณหมอตรงประเด็น พี่วิชา อธิบายมาได้ดี
    อ้องทำความรู้สึกดำรงค์สติอยู่ที่ข้างหน้าเอาไว้ จิตมันวิ่งซัดส่ายไปทั่วช่างมันก่อน
    จิตเป็นผู้รู้ สติผู้พินิจผู้รู้(เจตสิก)

    ลักษณะของสมาธิคือการกำหนดโน้มเข้าไป วางจุด ตำแหน่งของจิตไว้

    ในช่วงแรกสำเหนียรู้ลมหายใจออกยาวหายใจเข้าสั้น หยาบละเอียด รู้ตามจริง แต่ความรู้สึกช่วงแรกนี้
    อ้องรู้สึกถึงการเข้าไปบังคับลม ลมไม่เป็นธรรมชาติของกาย จึงยังคงรู้สึกอึดอัดอยู่

    ความรู้สึกตรงหน้า มีสติดำรงค์เอาไว้ไม่หวั่นไหว เมื่อกายเกิดความสงบระงับมากขึ้น กายเบา จิตเบา
    จิตที่เริ่มต้นวิ่งเที่ยววุ่นวาย เหมือนสงบราบคาบไปทีละน้อย

    จากที่คิดก็เริ่มทิ้งคิด มาอยู่ในจุด ในตำแหน่งที่วางเอาไว้
    คำว่าจิตรวมในจุด ในตำแหน่งที่วางเอาไว้อย่างมั่นคง
    ถ้าไม่ทำยากจะเข้าใจ เหมือนแตะเข้าไปแล้วรู้สึก แล้วก็เผลอไปอีก

    เมื่อเพียรเพิ่มเข้าไปเหมือนจับได้อย่างมั่นคงแต่ไม่แนบแน่น แต่สภาพของกายเวลานี้คือหายไปหมดแล้ว
    ลมหายใจก็เป็นธรรมชาติไปหมดแล้ว สภาพของลมคือหายใจละเอียดยาวเข้าสั้นมากและหายๆหรือไม่มีปรากฎ

    ความสงบเกิดขึ้นละเอียดลงไป ไม่ปรากฏภวังค์เป็นเครื่องสังเกตุกลายเป็นฌาน มีสติดำรงค์เฉพาะหน้าไม่หวั่นไหวอยู่ตลอดเวลา
    ในจุด ตำแหน่ง ของการเกิดสมาธิที่รวมเข้าไปนั้น มันเหมือนเราเอาลูกดอกขว้างเข้าไปตรงตำแหน่งใจกลางเอาไว้
    จิตเริ่มส่ายภายในพิจารณาธัมวิจยะอยู่ ขันธ์ละเอียดปรากฏ ธรรมอันละเอียดปรากฏ ส่ายแต่ภายใน

    กายมีสภาพหลับ ไม่หลงเหลือ มีเพียงลมที่ยังปรากฏคอยสัมพาทเสียดแทงเป็นบางขณะ

    สติมีสภาพตื่นรู้อย่างแจ่มชัด การดำรงค์สติเฉพาะหน้ายิ่งแจ่มชัด ลมเริ่มหายไป การสำเหนียกรู้ลมปล่อยทิ้งไป มาอยู่แต่ดำรงค์สติเฉพาะหน้าอยู่
    สงบละเอียดเหมือนไหลรวมเข้าไปมากยิ่งขึ้น ปรากฏความสบายๆ เฉยๆ ไร้โลกธรรมดีเลวให้อิงอาศัย ความละเอียดละเอียดเกินที่จะยกเอาขันธ์มาพิจารณาเอามาเป็นอารมณ์
    ความสว่างไสว ไม่ใช่แสงแวบๆวาบๆ แต่รู้สึกเหมือนสว่างจ้าแต่ไม่มีแสงปรากฏตรงขอบเขตที่ไหน ไม่หวั่นไหว ไม่เกาะกุม อยู่กับอุเบกขาที่ปรากฏเกิดขึ้น
    ไร้การกระเพื่อมหวั่นไหว เฉยๆ สบายๆอยู่ตรงนั้น

    จิตรวมเข้าไปกลายเป็นใจ จิตไม่เซวัด ส่าย สอดส่องโลกธรรม มันเหมือนหยุดนิ่ง ในห้วงแห่งกาลเวลา
    ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต แม้กายหยาบก็ไม่สะเทือนหวั่นไหว อยู่กับขันธ์ภายในที่ละเอียดแทบหาไม่ได้

    ตรงนี้อ้องว่าเกินกว่าจะพิจารณาจึงต้องถอยกลับมาพิจารณาขันธ์ในจุด ตำแหน่งที่พอเหมาะ
    กำลังพละ5 ได้เกิดปรากฏตามมา สติมีกำลัง ถ้าจะบอกว่าจิตมีกำลังอ้องว่าแปลกๆ เพราะเจ้าประธานนั้น มันทำหน้าที่ไหลไปมาเฉยๆ
    แต่สติที่สมดุล์กับจิตที่หลวงปู่เทสก์ว่าสติบริบูรณ์นั้น

    อ้องขอเปรียบเปรยว่าเหมือนดั่งจับตะเกียบคู่ ตัวหนึ่งคือหลัก(จิต)
    ตัวหนึ่งเป็นตัวลอง(สติ เจตสิก) ทำหน้าที่คอยสอดส่องพินิจผู้รู้อย่างถูกต้องพร้อมเพรียงกันและกัน

    คือหยิบคีบ หยิบจับ อันใดถ้าเป็นอาหารก็ไม่คลาดเคลื่อน ถ้าเป็นส่ายไปในธัมวิจยะก็รู้ถูกอย่างแจ่มชัด

    หลวงปู่เทสก์มักเตือนเสมอๆว่า เอาตำราวางเอาไว้ในตู้เสียก่อนแล้วค่อยมาถกเถียงกัน รับลองว่าคงไม่มีถกเถียง
    มีแต่พยักหน้าว่าใช่ ไม่แปลกปลอม

    อ้องเองก็ทำได้แค่งูๆปลาๆเพียงแค่นี้ เป็นคนว่างๆ ไม่มีงานทำ อยู่กับความสันโดษบนเขา มีโอกาสมาก
    เวลาค่ำคืน อากาศดีมาก สงบเงียบ

    จึงทำให้ชอบทำสมาธิเพื่อแก้ความฟุ้งซ่านระหว่างวันและเพื่อฝึกการอบรมกายและจิตตน

    วันนี้คงพองามแค่นี้นะครับ ผิดพลาดคลาดเคลื่อนเป็นเพียงความเข้าใจในขณะหนึ่งที่เรียนรู้เท่านั้น อนุโมทนาในกูศลครับ :99:
     
  8. จะไหวเหรอ

    จะไหวเหรอ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +25
    คำอธิบายของอาอ้องนี่โดนเลยครับ แต่ผมชอบสงสัย + ขี้เกียจ การปฎิบัติเลยไม่ค่อยต่อเนื่อง และติดๆขัดๆ ป้าเยาวลักษณ์ก็เคยเตือน ว่าอย่าสงสัยให้มาก "ให้รู้ลูกเดียว"ตอนนั้นผมก็ครับไว้ก่อน แต่ไม่เข้าใจหรอกครับว่าให้รู้อ่ะไร แฮะๆ แต่ตอนนี้พอจะเข้าใจแล้วครับว่าให้รู้อ่ะไร
    เมื่อก่อนเคยเพี้ยนหนักถึงขนาดคิดว่าตัวเองบรรลุธรรมด้วยซ้ำ 55+ อ่านมากไปหน่อย คิดว่าเห็นแสงสว่างรวมกันคือการบรรลุธรรม หลังจากนั้นพอโกรธก็ดันคิดว่า มันเป็นธรรมดาเพราะพระอริยะบุคลขั้นต้นยังละโทสะไม่ได้ พอรวมรอบที่ 2 โอ้เราบรรลุธรรมอีกแล้ว ภาวนาเก่งเลยเรา พอครั้งที่ 3 เป็นพระอนาคานี่ง่ายดีเนอะสงสัยเราสร้างบารมีมาเยอะ แต่พอโกรธจนขาดสตินี่แหละถึงรู้ว่าคิดเอาเอง ดีนะยังไม่พูดกับใครแต่ตอนนี้คงรู้กันหมดแล้ว ฮ่าๆ บางครั้งเพ่งมาก บังคับมากเกินไปจนเครียดปวดท้ายทอย เกร็งไปหมดมาผิดทางอีกแล้ว ส่วนตอนนี้มาติดกับแสงสว่าง สภาวะนิ่งๆ เฉยๆ
    ตอนนี้สนใจสมถกรรมฐานกลัวเพี้ยนเลยมาถามอาอ้อง ซึ่งหลังจากเกิดเหตุการณ์ เกี่ยวกับ แสง สี ตอนแรกคิดว่าของเทพองค์ไหน ไปๆมาๆคุณธรรมที่เราสะสมนี่เอง(เสียดายขาดสีชมพู สีเขียว อิอิ) หลังจากนั้นเลยต้องกลับมาอ่านหนังสือของอาอ้องใหม่หลังจากส่งขึ้นหิ้งไปเมื่อ 2ปีที่แล้ว แล้วมาเจออาอ้องที่เว็ปนี้เลยจึงเข้ามาถาม ขอบคุณอาอ้องมากครับที่อนุเคราะห์ตอบคำถามให้ผมนะครับ
    อยากถามอาอ้องต่อครับ สิ่งต้องระวังในการทำสมถกรรมฐาน จิตตกภวังค์เป็นอย่างไรใช่ นั่งๆแล้ววูปไปเหมือนคนหลับป่าว ขอภาษาง่ายๆหน่อยนะครับ ผมอายุ 20กว่าเอง ไม่ค่อยเข้าใจภาษายากๆ
     
  9. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ฌาน ภวังค์ทั้ง3 การปรากฏของนิมิตเริ่มจากช่วงไหน

    ถึงคนติดฌาน...จะไหวเหรอ
    คนที่ชอบเคิล้มเข้าไป สบายๆอุราอุราเนี่ย หนีไม่พ้น นิมิต ภาพ แสง สี เหมือนดั่งฝัน
    เพราะฌานนั้นในขณะที่วูบเข้าไปแล้วรู้สึกนี่คือเริ่มตกฌาน จากสมาธิกลายเป็นฌาน(ภวังค์บาท)ตรงนี้ยังจับภาพอะไรไม่ชัดเหมือนดั่งละออง ฝัน ภาพ แสง สี
    มีลักษณะมัวๆ หมองๆ ไม่แจ่มชัด

    ถ้าตกภวังค์ มีสภาวะ เคลิ้มๆ วูบหายเข้าไปในภวังค์นานเข้า จิตส่ายภายใน ไม่มีธัมวิจยะ(พิจารณาในธรรม) เพลินอยู่ภายใน กายหยาบหายหมด โอกาสที่จะมี
    นิมิต ที่แจ่มชัด ภาพ แสง สี รัศมี ความรู้ในฌานที่แปลกๆ จะปรากฏนี่เรียกว่า
    ภวังค์จรณะ

    ส่วนภวังค์คุปัจเฉทะนั้นมีสภาพที่จิตน้อมเข้าไปในภวังค์อย่างเต็มกำลัง
    เชื่อมั่่นและเลื่อมใสยินดีในสิ่งที่พบเจอ บางทีวูบหายเหมือนดั่งหลับลึกไร้ตัวตน บางทีเหมือนดั่งผุดขึ้นมาในโลกอีกมิติหนึ่ง ภพหนึ่งที่เป็นเรื่องโลกส่วนตนที่ไม่ใช่Luciddreaming(ตื่นในฝัน)

    ภวังค์จึงเหมือนคนหลับนั้นแล แต่แตกต่างตรงมีตัวรู้อยู่ภายในกายหลับแต่จิตตื่นอยู่ภายใน
    ภวังค์แรกวูบเข้าแล้วรู้้สึกว่าวูบเป็นระยะๆ
    ภวังค์ที่สองวูบเข้ารวมอยู่ภายในนานขึ้นมีนิมิตปรากฏ
    ภวังค์ที่สามวูบเข้าไปอย่างมั่นคงเชื่อว่ามีตัวตนอีกตนปรากฏคือวิญญาณ มิติภพ หรือหายเข้ากลีบเมฆดิ่งลึกดั่งพรหมลูกฟักเช่นนั้น

    ฌานนั้นถ้าพิจารณาทุกข์ การเกิดดับตามอัตภาพแห่งตน พิจารณาขันธ์ สัจธรรม ปวงธาตุอันประกอบลงไปด้วยพระไตรลักษณะญาน(เกิดดับ)
    จนเกิดความสลดสังเวช เบื่อหน่ายในสังขารขันธ์(ความปรุงแต่ง)
    ฌานนั้นก็พลิกกลับเป็นสมาธิเดินในทางมรรค

    ฌานจึงมีปัญญาในเบื้องต้นคือทำให้จิตสงบรายบลง นิวรณ์ไม่ปรากฏแต่มักจะปรากฏความสุข สงบ นิมิต ภาพ แสง สี เสียงเป็นเครื่องวัดในภวังค์(องค์รักษาภพ)

    ดังนั้นถ้าจะบรรลุต้องใช้สมาธิเดินในทางมรรคเพราะสมาธิมีเบื้องต้นของปัญญาในการพิจารณาอารมณ์จนจิตที่วางเอาไว้ในจุด ตำแหน่ง
    ไหลรวมเข้าหากันอย่างมั่นคงมากขึ้นในอุปจารสมาธิ

    จิตในอุปจารสมาธิพิจารณาสิ่งใดก็เด่นชัด ไม่ละเอียดเกินของอัปนาสมาธิเพราะกำลังจะรวมเข้าปฐมฌานอันละเอียดจนเข้าอรูปฌาน

    สมาธิเดินในทางมรรคถ้าเข้าถึงอัปนาสมาธิจะได้สติมีกำลังมากเมื่อถอยกลับมาที่อุปจารสมาธิเครื่องสังเกตุคือปัญญาที่ปรากฏในการพิจารณาธาตุ ขันธ์ อายตนะ สัจธรรมมีความแจ่มชัดประกอบไปด้วยกำลังของพละ5

    จนปรากฏคำว่ารู้แจ้งเห็นจริง จนเริ่มปรากฏความหายสงสัย ความลังเล
    สมาธิจึงมีคุณประโยชน์มาก

    สรุป ฌาน-จิตกล้าหาญ ปัญญาไม่เกิด
    สมาธิ-สติ สมาธิ ปัญญา สมดุลย์ มรรคสมังคี สะสมอินทรีย์แก่กล้า
    มีพระไตรลักษณะญานเป็นเครื่องสังเกต

    พวกพรหมที่ลงมาเกิดโดยมากติดฌาน ติดของเก่า ชอบเคลิ้มๆ สบายๆ
    วูบเข้าไป เพ่งจ้อง โน้มจนเชื่อในภาพ ซึ่งสิ่งต่างๆนี้เป็นอุปทานขันธ์ เป็นภัยต่อพระนิพพานโดยแท้

    อนึ่งเครื่องสังเกตแห่งการบรรลุธรรมคือคุณธรรมที่เจริญมากขึ้น
    34 25 17 18 ดังนี้คือ
    สติปัฎฐาน4 อิทธิบาท4 สัมมัปทาน4
    อินทรีย์5 พละ5
    โภชฌงค์7
    มรรค8(จำมาจากคุณ อโศกะในการจำ โพธิปักขิยธรรม37ประการที่ง่ายๆ)

    เราดูกันตรงเครื่องสังเกตที่คุณธรรม ไม่ใช่เอาแต่จะแหวกอาสวะกิเลสที่อาจจะเป็นอุุปทานเพราะไปอ่านของครูอาจารย์มามาก

    อนุโมทนา
    น้องติดฌาน ...จะไหวเหรอถ้าติดฌาน ไหวซิถ้าพลิกกลับมาเป็นสมาธิด้วยการเตือนตนอย่าไปลุ่มหลงแต่หันกลับมาพิจารณาธรรม นี่หล่ะพลิกกลับ ถ้าเอาแต่เคลิ้มก็ไปเป็นพรหมต่อละกัน

    จาก อาอ้อง
     
  10. kung_9894

    kung_9894 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    186
    ค่าพลัง:
    +1,584
    ขออนุโมทนากับพี่อ้องและญาติธรรมทุกท่านค่ะ
    ช่วงนี้หนูก็ทำสมาธิเป็นปกติหากมีเวลาว่างในช่วงกลางวัน ส่วนช่วงที่ปฏิบัติภาระกิจประจำวันก็จะตามรู้สึกตัวเป็นปกติในทุกอิริยาบทตามที่พี่อ้องได้กรุณาได้ให้คำแนะนำมาตลอดค่ะ
    ช่วงนี้ได้ฝึกปลงอสุภะและพิจารณาธาตุทั้งสี่เพิ่มเข้ามา กำลังฝึกปฏิบัติอยู่ค่ะ
    ขอให้พี่อ้องและทุกท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไปค่ะ
     
  11. สมาปัญญา

    สมาปัญญา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +88
    เรื่องเล่าจากชายคนหนึ่ง ภาค 1

    สวัสดีครับอาอ้อง

    อาอ้องครับวันนี้ขออนุญาตเรียกอาจารย์นะครับ บทความของอาเปรียบเสมือนอาจารย์ของผมเลย ซึ่งสิ่งที่ผมจะเล่าต่อไปนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นกับตัวผมเอง มันไม่ใช่เรื่องแปลกพิศดารอะไรหรอกครับ เพียงแต่วันนี้ผมเชื่อและก็ศรัทธาในตัวของอาจารย์ ถ้าอาจารย์ย้อนถามผมว่าทำไมจึงมาหลงเชื่ออาจารย์ เรารู้จักกันมาหรือเปล่า ผมก็ตอบไม่ได้ครับว่าเรารู้จักกันมาหรือเปล่า แต่อาจารย์ลองอ่านเรื่องเล่าของผมดูนะครับ ผมจะเล่าให้ยาวเลยครับ

    เรื่องเล่าของผมนี้เกิดขึ้นมาจากความวุ่นวายสับสนของจิต มีทั้งสุขและทุกข์ แต่ในบางขณะก็รู้สึกถึงจิตที่มันสับสน รู้สึกถึงจิตที่มันสกปรก โดยเฉพาะจิตอาฆาตของตัวเรานี้มันน่ากลัวจริงๆ จะทำอย่างไรดีให้มันสงบลง ให้มันเบาบางลงได้ ทำไมมันทุกข์ทรมานจริงๆ เป็นอย่างนี้มาตลอด แต่สักพักก็จะมีความคิดแวบขึ้นมาว่าต้องนั่งสมาธิ เราต้องนั่งสมาธิ

    ที่นี้ผมก็เลยถามตัวเองว่าสมาธิมันคืออะไร แล้วอย่างไรเรียกว่าสมาธิ สมาธิหน้าตาเป็นอย่างไร สมาธิใช่หายใจเข้าพุทธ หายใจออกโธไหม เพราะก็เคยลองปฏิบัติแล้วไม่เห็นสมาธิตรงไหน ทำอย่างไรดีถึงจะรู้จักว่าสมาธิหน้าตามันเป็นอย่างไร อย่างนั้นเราต้องหาคนสอนให้ได้ มองหาดูคนใกล้ตัวก็ไม่มี พระอาจารย์ก็ไม่มี ทำไมมันยากเย็นขนาดนี้ ตอนนั้นผมคิดอย่างนี้จริงๆ ก็เลยลองถามพี่กูเกิ้ลดูซึ่งตอนนั้นเราก็ชอบเรื่องอภินิหารของพระเครื่อง เวทมนต์คาถา พลังจิต ในที่สุดผมก็มาเจอเวปพลังจิต

    แล้วมาสะดุดตรงความศักดิ์สิทธิ์ของพระคาถาชินบัญชร อ่านที่แรกรู้สึกว่าชอบมากเพราะมีเรื่องของสมาธิผสมอยู่ด้วย มีเรื่องของมิติด้วย มีเรื่องของเทพ เทวดาด้วย อ่านแล้วคลุ้มเลย พออ่านมาอ่านไปทำไมเรื่องราวต่างๆ ไม่ปะติดปะต่อกัน หน้ากระดานทำไมไม่เรียงกันเลย อ่านเรื่องนี้แล้วทำไมข้ามไปยังอีกเรื่องหนึ่ง อ่านยังไม่ถึงเรื่องสมาธิเลยทำไมมั่วขนาดนี้สงสัยเวปมีปัญหาแน่ๆ ก็เลยเสียดายว่ากำลังจะได้รู้จักสมาธิอยู่แล้ว อดอีกจนได้ ที่นี้ผมเลยไม่ได้ติดตามอีกเลย ผมลืมเรื่องสมาธิไปเลย น่าจะประมาณปีที่แล้วได้ครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2010
  12. สมาปัญญา

    สมาปัญญา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +88
    เรื่องเล่าจากชายคนหนึ่ง ภาค 2

    ต้องขอโทษด้วยนะครับพอดีงานเข้าเลยต้องมาต่อภาค2 อยากให้ทุกท่านที่ผ่านมาตรงนี้ นึกว่าเรื่องเล่าของผมนี้เป็นนิทานเรื่องหนึ่งนะครับ ที่ถูกถ่ายทอดด้วยชายคนหนึ่ง ซึ่งไม่มีความรู้เรื่องสมาธิ ไม่มีความรู้ในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า พูดง่ายๆ ไม่รู้อะไรเลยก็ว่าได้

    มาต่อภาค2 กันนะครับ

    หลังจากนั้นผมก็เลิกสนใจในเรื่องของสมาธิเลย ปล่อยให้การดำเนินชีวิตของเราเป็นไปตามจังหวะชีวิตดีกว่า แต่แล้วในจังหวะชีวิตของผมก็ได้มาพบกับพี่ที่ทำงานอยู่ท่านหนึ่ง ซึ่งพี่คนนี้เขาชอบช่วยเหลือ ไม่ว่าจะเป็นคนหรือสัตว์ถ้าเห็นว่าเป็นทุกข์พี่เขาจะช่วยหมด เมื่อเวลาผ่านไปสักระยะหนึ่งผมก็เริ่มเห็นความแปลกของพี่เขาที่ละนิดที่ละน้อย ความแปลกที่ว่านี้ไม่ใช่อะไรมากนะครับ เป็นความแปลกในการดำเนินชีวิตของพี่เขาซึ่งไม่เหมือนตัวเรา

    เราจึงเลยมองว่าแปลก พอเวลาผ่านมาได้อีกสักระยะจึงรู้ว่าเมื่อก่อนพี่เขาฝึกนั่งสมาธิมา ที่นี้ก็ดีเลยครับมองหาอยู่นาน มาอยู่ใกล้ตัวซะด้วย ต้องขอคำแนะนำซักหน่อย ซึ่งพี่เขาก็ให้คำแนะนำในเบื้องต้นเรื่องของสมาธิที่ผมสงสัยอยู่ พี่เขาแนะนำให้คอยๆทำ คอยๆปฏิบัติ อย่าใจร้อน ซึ่งพี่เขาแนะนำให้ทำสมาธิในท่านอน เพราะการนอนทำสมาธิจะสบายกาย ไม่เหมื่อย ไม่ปวดหลัง จะทำให้เกิดสมาธิได้ง่าย แล้วก็ให้เราท่องพุทธโธ ทำได้เท่าไหนเอาเท่านั้นเพราะทุกอย่างต้องใช้เวลาฝึก

    ซึ่งตอนนั้นผมก็เข้าใจว่าทำไมพี่เขาถึงแนะนำให้นอนทำ เพราะผมจำได้ว่าผมเคยอ่านเรื่องการนอนทำสมาธิแล้วครั้งหนึ่งจากกระทู้นี้ ซึ่งตอนนั้นเราไม่ได้ติดตามเพราะเวปมีปัญหา ที่นี้เราก็เลยลองปฏิบัติดูตามที่พี่เขาแนะนำ บทสุดท้ายคือหลับ พอทำอยู่ได้ 2-3 วันก็คิดถึงกระทู้นี้ขึ้นมาก็เลยกลับมาเข้าที่กระทู้นี้อีกครั้ง แต่กลับมาทีนี้ไม่เหมือนก่อน ข้อมูลต่างๆ สมบูรณ์ขึ้น ละเอียดมากขึ้นไม่สับสน อ่านตั้งแต่แรกเลย จุดเริ่มต้น จุดกำเนิด อะไรต่างๆ ซึ่งในตอนนั้นยังทำสมาธิในท่านอนอยู่ อยากจะหลับก็ปล่อยให้หลับไป

    จนกระทั่งมีอยู่วันหนึ่งระหว่างที่ผมออกกำลังกายอยู่ ในใจผมเกิดคิดขึ้นมาว่าทำไมจะต้องเหนื่อย ทำไมจะต้องร้อน แล้วที่มันเหนื่อย ที่มันร้อน ที่มันไม่มีแรง มันเป็นที่ตัวใคร ผมก็ออกกำลังกายไปเรื่อยๆ ตามท่าทางของมัน แต่สมองผมกับคิดอยู่อย่างต่อเนื่องว่าที่มันเหนื่อย ที่มันร้อน ที่มันไม่มีแรงเป็นเพราะอะไร บทสุดท้ายผมคิดได้ว่า ที่เราเหนื่อยอยู่ ที่เราร้อนอยู่ ที่เราไม่มีแรง มันเป็นร่างกายของเรา ร่างกายของเรามันมีแต่แขน แต่ขา ลำตัว แล้วมันจะเหนื่อย มันจะร้อนได้อย่างไร ก็แสดงว่าที่มันเหนื่อย มันร้อน มันไม่ใช่ร่างกายของเราแล้ว

    แล้วมันเกิดมาจากอะไร ก็ยังหาคำตอบอยู่ ร่างกายก็เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติ สมองก็ยังคิดต่อเนื่องอยู่ ยังหาคำตอบอยู่ จนสุดท้ายคำตอบที่ได้ก็คือ "จิต" จิตของเราไปยึดติดอยู่กับความเหนื่อย ความร้อนอยู่ ที่นี้ในเมื่อสมองคิดได้ว่าเป็นจิตที่ไปยึดติดอยู่
    ก็เลยเกิดการทดสอบด้วยตัวของเราเองอย่างต่อเนื่อง ด้วยการย้ายจิตไปจับที่ลมหายใจ ดูลมหายใจเข้า หายใจออก เออมันลืมเหนื่อยไปแล้ว แต่พอเราเผลอมันก็กลับมาอีก ทดลองทำแบบนี้สลับไปสลับมาจนสมองมันคิดขึ้นมาว่า อ้าวนี้เรากำลังทำสมาธิอยู่นี้

    เราดูลมหายใจเข้า หายใจออกอยู่นี้เพียงแต่แตกต่างกันตรงท่าทาง สุดท้ายผมเลยสรุปได้ว่า "ร่างกาย" กับ "จิต" มันเป็นคนละส่วนกัน มันแยกออกจากกันได้ อย่าไปยึดติดอยู่กับท่าทางและร่างกาย สิ่งที่สำคัญนั้นคือจิต แล้วทั้งหมดที่เราทำไปในช่วงนั้นก็คือ สมาธิ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราตามหามาตั้งนานว่าหน้าตามันเป็นอย่างไร

    หลังจากนั้นผมก็เปลี่ยนท่าทำสมาธิจากท่านอนมาเป็นท่านั่ง เพราะท่านอนทำให้เราหลับง่าย เปลี่ยนมาเป็นท่านั่งดีกว่าจะไปกลัวทำไมว่าจะเหมื่อย จะปวด ในเมื่อสิ่งสำคัญมันอยู่ที่ "จิต" อย่าไปยึดติดอยู่กับท่าทาง กับร่างกายของเรา ก็เลยเปลี่ยนมาเป็นท่านั่ง
    แต่สิ่งที่แปลกสำหรับผมก็คือ เมื่อผมคิดได้แบบนี้แล้ว ทำแบบนี้แล้ว อีกวันหนึ่งผมมาเปิดกระทู้นี้อ่านดู อ่านต่อจากที่ยังค้างอยู่ก็จะพบคำตอบรออยู่ในกระทู้นี้ ซึ่งมันเหมือนเป็นการย้ำเตือนว่าสิ่งที่เราคิด สิ่งที่เราทำนะมันถูกแล้ว ก็เลยหันมานั่งทำสมาธิเป็นหลักโดยขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย .....

    ยังเล่าไม่จบนะครับ เพิ่งจะเริ่มต้นเอง ยังมีอีกยาวเหยียดเลย เอาเป็นว่าผมขอเรียกอาจารย์ก็แล้วกัน
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2010
  13. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ยินดีครับ
    เล่ามาได้อย่างน่าอ่านแต่ช่วยเคาะเว้นทุก3-4บรรทัดนิดนะครับ
    ให้มีช่องว่างระหว่างบรรทัดหน่อย ไม่งั่นตาจะลายครับ^^
     
  14. สมาปัญญา

    สมาปัญญา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +88
    เรื่องเล่าจากชายคนหนึ่ง ภาค 3

    ได้เลยครับอาจารย์อ้อง ในเมื่ออาจารย์อนุญาต ผมก็จะเล่าให้หมดครับ แต่ก่อนอื่นผมต้องออกตัวก่อนนะครับว่าผมไม่มีความรู้ทางด้านสมาธิมาก่อนเลยและไม่มีความรู้ทางด้านณาญต่างๆด้วยครับ หากผิดพลาดก็ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้

    หลังจากผมเปลี่ยนท่าการทำสมาธิ จากท่านอนมาเป็นท่านั่งก็เพื่อที่จะทำสมาธิให้ได้นานขึ้นมิฉะนั้นหลับทุกที พอผมปฏิบัติได้ 2-3วันผมก็กลับมาอ่านกระทู้นี้ต่อที่ยังค้างอยู่ พอมาอ่านก็กลับกลายเป็นว่าให้เปลี่ยนจากท่านอนมาเป็นท่านั่ง เพราะท่านอนมันสบายเกินไปจะหลับง่าย จะรักษาการทำสมาธิยาก ผมจึงคิดว่าแปลกดีนะปฏิบัติไปอ่านไป

    มาถึงขณะนี้ผมก็พอจะเข้าใจแล้วว่าสมาธิเป็นอย่างไร อย่างไรถึงเรียกว่าสมาธิ พอผมเริ่มนั่งผมก็จะภาวนาพุทธโธอยู่ที่ลมหายใจ แต่พอนั่งไปนานๆเข้าชักเหมื่อย ชักปวดหลัง ที่นี้พุทธโธก็หายไป สมองผมมันก็คิดว่าในเมื่อร่างกายกับจิตมันแยกกันได้ ทำไมเรายังรู้สึกเหมื่อย รู้สึกปวดหลังอยู่อีก

    พอคิดไปเรื่อยๆก็ได้คำตอบขึ้นมาว่า จิตของเราคงจะไปจับอยู่กับความรู้สึกตรงนั้น เป็นธรรมดาที่จะต้องเหมื่อย จะต้องปวดหลัง เพราะเราไม่เคยฝึกไม่เคยนั่งมาก่อน อย่าไปยึดติดอยู่กับร่างกาย ปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ ในเมื่อคิดได้เช่นนี้ผมก็เลยเปลี่ยนท่านั่งอีก ไม่ไปบังคับตัวเอง แต่ผมกลับถามตัวเองว่าธรรมชาติคือความจริง ความจริงคือธรรมชาติ แล้วธรรมชาติในตัวเราอยู่ที่ท่าไหน ผมก็เลยเปลี่ยนท่านั่งมาเป็นท่านั่งที่เป็นธรรมชาติของตัวเรา ไม่ไปยึดติดอยู่กับท่าสวย หลังตรง เพราะเจตนาของเราอยู่ที่สมาธิ ไม่ได้อยู่ที่ท่าทางซักหน่อย

    ที่นี้ก็เหมือนเดิมกลับมาเปิดกระทู้อ่านต่ออีก ก็เจอเหมือนเดิมอีกว่า อย่าไปยึดติดอยู่กับท่าทาง บางคนนั่งไม่สวยแต่จิตกับเป็นสมาธิ บางคนท่านั่งสวยงามแต่จิตใจฟุ้งซ่านก็ไม่มีประโยชน์อะไร จึงทำให้ผมมั่นใจเลยว่า "จิต" นี้สำคัญมาก จิตนี้เป็นตัวแปรจริงๆ ก็เลยนึกถึงวีดีโอประวัติของสมเด็จโต มีอยู่ตอนหนึ่งที่หลวงตาแสง สอนให้สมเด็จโตเดินย่นระยะทางได้ คือ อยู่ที่ใจของเรา ใจของเราอยู่เหนือทั้งหมด ใจของเราอยู่เหนือร่างกาย ใจต้องเป็นใหญ่

    ใจในที่นี้ก็หมายถึง "จิต" พอมาถึงเวลานี้ก็เข้าใจแล้วว่า สมาธิเป็นเช่นไร จิตนั้นเป็นเช่นไร มีอยู่วันหนึ่งในระหว่างนั่งสมาธิของผม ผมจะถือจิตเป็นใหญ่ ปล่อยวางร่างกายให้เป็นไปตามธรรมชาติของเขา แล้วก็จะภาวนาพุทธโธเหมือนเดิม มีเวลาตอนไหนนั่งตอนนั้น 10 นาที 20 นาทีก็ยังดี ดีกว่าไม่นั่ง เพราะเราไม่มีเวลา ธรรมชาติของเรา ชีวิตประจำวันของเราเป็นแบบนี้เราก็ต้องนั่งแบบนี้

    การนั่งสมาธิของผม จะนั่งก่อนไปทำงาน 30 นาที แล้วแต่ความสะดวกที่จะเอื้ออำนวยให้ พอมีเวลาว่างจากการทำงานก็จะมาเปิดกระทู้นี้อ่าน พอมาอ่านที่กระทู้นี้รู้สึกว่าจะถึงตอนการภาวนาพุทธโธดูลมหายใจเป็นหลัก การภาวนาแบบนี้เป็นการภาวนาของฤษี การภาวนาของแต่ละคนไม่เหมือนกัน

    และแล้วเช้าวันหนึ่งระหว่างการนั่งสมาธิอยู่ ดูลมหายใจเข้า หายใจออก ภาวนาพุทธโธอยู่อย่างต่อเนื่อง ก็มีความคิดว่า อะไรคือการเจริญปัญญา อะไรคือญาณ แต่นั่งไปเรื่อยๆ สมองก็คิดขึ้นมาอีกว่า ในเมื่อจิตเป็นใหญ่แล้ว ไม่ยึดติดอยู่กับอะไรทั้งนั้น แต่ตอนนี้เรากำลังภาวนาพุทธโธอยู่ ก็แสดงว่าจิตของเรานี้ก็ยังยึดติดอยู่ ในเมื่อกายไม่ยึดติดแล้ว แต่เรากลับมายึดติดอยู่ที่จิตอีก อย่างนี้ก็แสดงว่าเรายังยึดติดอยู่

    ธรรมชาติของมนุษย์จริงๆแล้วไม่มีอะไร มนุษย์เกิดมาได้ก็เพราะธรรมชาติสร้างขึ้นมา ดังนั้นแล้วร่างกายก็ไม่ใช่ของเรา จิตนั้นก็ไม่ใช่ของเรา แต่ตอนนี้จิตเรากลับไปยึดติดอยู่กับพุทธโธ สมองก็คิดต่อไปว่า ทุกอย่างนี้คือความว่างเปล่า ไม่ว่ากายหรือจิต ถ้าจิตยังไปยึดติดอยู่ก็แสดงว่าไม่ว่างเปล่า เพราะฉะนั้นต่อไปนี้เราจะเลิกภาวนาพุทธโธ แต่จะมีสมาธิอยู่ในความว่างเปล่า วันนั้นทั้งวันร่างกายของผมรู้สึกว่าเบา จิตรู้สึกว่าเบา เดินเหมือนคนตัวเบา ........

    ไม่ทันแล้วครับต้องกลับบ้านแล้ว มาต่อภาค 4 แล้วกันครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2010
  15. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    ตอนท้ายนี่ไปติดเอาความว่างเป็นอารมณ์
    คำว่าว่างแท้คือว่างจากขันธ์ ว่างจากกิเลส สะอาดหมดจด ว่างแท้นี้
    ไม่เอาอะไร ไม่เหลืออะไรกับอะไร
    วิปัสสนาปัญญาต้องพิจารณาตัวเหตุคือขันธ์อันเป็นที่ตั้งตัวทุกข์ประกอบด้วยพระไตรลักษณะญาน มีสติ สมาธิ ปัญญาสมดุลย์

    คำว่ารู้แจ้งตามความจริง รู้ชัด รู้ถูกอันเป็นมรรคสมังคี สมาธิเดินในทางมรรค
    อินทรีย์เมื่อแก่กล้า มีอุปจารสมาธิเกื้อหนุนเป็นใหญ่

    สติพินิจในผู้รู้
    สมาธิตั้งมั่นส่ายภายในอยู่กับธัมวิจยะในอุปจารสมาธิ มีความคมชัดในขันธ์
    อายตนะ ธาตุ สัจจะ
    ปัญญาย่อมรู้แจ้งตามความจริงแท้ของธรรมชาติ

    ธรรมใดเกิดแต่เหตุ พระองค์แสดงเหตุเกิดและดับอันเป็นเรื่องธรรมดาของเค้า
    ไม่ว่าดีชั่วมันต้องเกิดเพราะมันมีเชื้อ มันต้องปรากฏ ห้ามไม่ได้
    สรรพสิ่งทั้งหลายเป็นอนัตตา บังคับไม่ได้ มีหน้าที่รู้เพื่อ

    ทำลายตัวตนเพื่อพบความสมบูร์ก็เพียงนั้น
    คือไม่เหลือเชื้อทั้งดีและเลวอันเป็นโลกธรรม ความว่างที่พระยามัจจุราชก็มองไม่เห็น ไร้ภพ ไร้ชาติ หมดสิ้นจบกิจพรหมจรรย์

    เล่ามาต่อครับ...
    อนุโมทนา
     
  16. สมาปัญญา

    สมาปัญญา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +88
    เรื่องเล่าจากชายคนหนึ่งภาค 4

    มาต่อกันที่ภาค4 นะครับเล่าไปเล่ามายาวเลยเรา ต้องต่อให้จบ

    หลังจากเดินตัวเบา จิตว่างเปล่าแล้ว ก็มีความรู้สึกว่าไม่อยากจะได้อะไรอีกเลย ตรงนี้ผมไม่อยากใช่คำว่าความสุขนะครับ แต่มันมีความสุขอย่างไงก็ไม่รู้ บอกไม่ถูกเหมือนกันครับ ที่นี้ผมก็ทำเหมือนเดิมกับสิ่งที่ผมสงสัยว่ามันเกินอะไรขึ้นกับตัวเรา

    เหมือนเดิมครับกระทู้นี้จะมีคำตอบให้ผมเสมอ ผมก็กลับมาเปิดอ่านต่อตรงจุดที่ยังอ่านค้างอยู่ สิ่งที่ผมอ่านพบ กับกลายเป็นช่วงที่หลวงปู่กำลังสอนเณรผิณอยู่ แต่ในขณะที่หลวงปู่กำลังสอนอยู่ จิตของเณรผิณได้มองเห็นสัจธรรมที่แท้จริงแล้วว่า กายก็ไม่ใช่ของเรา จิตก็ไม่ใช่ของเรา ก็เกิดอาการตัวเปล่าจิตว่างเปล่า ซึ่งผมอ่านแล้วก็เข้าใจได้ว่า เป็นสิ่งเดียวกันกับที่เรากำลังพบเจออยู่ในขณะนี้

    แสดงว่าเราก็น่าจะมาถูกทางแล้ว ถึงจะผิดทางก็ไม่เป็นไร เพราะจิตที่รู้สึกได้ในขณะนี้มันคือว่างเปล่า ไม่อยากที่จะได้อะไรมาเป็นของเราแล้ว เรามีความสุขแบบที่เราไม่เคยมีมาก่อน ยังน้อยเราก็ไม่เสียหายอะไร แต่จิตของเรากับนิ่งสงบมากขึ้นมีความเข้าใจอะไรมากขึ้น

    ผมก็กลับมานั่งคิดทบทวนว่ามันเกิดอะไรขึ้น สมาธิเราพอจะรู้แล้วว่ามันอย่างไร จิตเรารู้แล้วว่ามันเป็นอย่างไร ที่นี้ก็สงสัยถึงคำว่า
    "ปัญญา" เพราะที่อ่านมาเจอคำว่าปัญญาด้วย แล้วปัญญามาเกี่ยวอะไรด้วย คิดไปคิดมาก็ถึงบางอ้อ ว่า เวลาที่เรานั่งสมาธิแล้วที่สมองมันคิด มันหาคำตอบอยู่ในขณะนั้น อย่างนั้นนะ เขาน่าจะเรียกว่าปัญญา

    พอสรุปได้ในขณะนั้นมันก็คือ จิต สมาธิ ปัญญา ที่นี้พอเรานั่งสมาธิ มันก็จะเกิดปัญหาให้เราต้องหาคำตอบอยู่เสมอ คือ กายไม่ใช่ จิตก็ไม่ใช่ อย่างนั้นเวลาเรานั่งสมาธิเราก็เหมือนคนตายซิ ถามว่าจะเหมือนได้อย่างไร เหมือนซิครับก็คือการนั่งสมาธิในตอนนั้น ผมสมมุติว่าผมกำลังตายอยู่ คือการแยกกาย และจิตออกจากกันให้ได้ การแยกกายนั้นก็คือการดับขันธ์ทั้ง 5 ให้หมดเหมือนคนตายที่ไม่รู้เรื่องอะไร นอนนิ่งไม่ไหวติ่ง ที่นี้พอสมาธิเริ่มมีมากขึ้นเรื่อยๆ มันก็จะมองเห็นจิตของเรา

    แต่ในการสมมุติตายของผม ใช่ว่าผมจะไม่รู้สึกอะไร ก็ยังได้ยินเสียงอยู่ ยังมีความรู้สึกอยู่ เพียงแต่เราไม่ไปสนใจมัน เพราะเรากำลังสมมุติตายอยู่ ที่นี้ผมมองเห็นเลยครับว่าจิตของเรามันไม่นิ่งยังที่เราคิด มันส่ายไปมาอยู่เรื่อย ไปทางโน้นที ทางนี้ที ผมก็ถามว่ามันเกิดอะไรขึ้นกับจิต สมองมันก็คิดหาคำตอบ ในที่สุดแล้วก็ได้คำตอบมาว่า เมื่อก่อนเรากำหนดดูลมหายใจพุทธโธอยู่ นั้นก็คือวิธีการหลอกให้จิตมันนิ่งอยู่กับสิ่งหนึ่งสิ่งใดเพื่อให้เกิดเป็นสมาธิ

    แต่ตอนนี้เราไม่ได้กำหนดอย่างนั้นแล้ว เราปล่อยให้จิตเป็นอิสระแล้ว เราจึงมองเห็นจิตที่มันส่ายไปมาได้ แต่การที่เรามองเห็นจิตส่ายไปมานั้น เราจะต้องใช่สมาธิมองดูถึงจะเห็น ซึ่งคำตอบที่ได้ในขณะนั้นผมก็ไม่มั่นใจอะไรมากนัก คิดไปเองหรือเปล่า

    ผมก็ทำเหมือนเดิมอีก กระทู้นี้มีคำตอบให้ผมเสมอ อ่านมาถึงช่วงที่อาจารย์อ้องบอกว่า อาจารย์หลงทางไปซะนาน ไปยึดติดอยู่กับอภิญญา มองเห็นมิติต่างๆ ซึ่งมันหลงทาง ทางที่ถูกต้องก็คือทางของ "ปัญญา" นั้นก็คือ จิต สมาธิ ปัญญา ในเมื่อเรามองเห็นจิตที่วิ่งส่ายไปมาแล้ว เราก็ต้องใช้ปัญญาเป็นตัวอบรมสั่งสอนให้จิตมันสงบ หรือให้จิตมันสะอาดขึ้น

    ปล่อยให้จิตมันวิ่งส่ายไปมาอย่างนั้นแหละไม่ต้องไปบังคับมัน เราต้องคอยใช้ปัญญาเป็นตัวอบรมสั่งสอนในสิ่งที่ถูกต้องให้กับจิต ทำอย่างนี้ให้เคยชินแล้ววันหนึ่งจิตมันจะว่างเปล่าจริงๆ ผมก็เชื่อในเช่นนั้นเพราะว่าจิตก็เหมือนกับร่างกายที่จะต้องฝึกต้องหัดให้มันชำนาญ จนกลายเป็นนิสัยของเราเลย เมื่อถึงเวลาของเขามันก็จะมาเอง เพราะเรายังอ่อนพรรษาอยู่ ต้องฝึกอีกนาน .........
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2010
  17. สมาปัญญา

    สมาปัญญา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +88
    เรื่องเล่าจากชายคนหนึ่งภาค 5

    มาต่อกันนะครับเพราะมันยังไม่จบ ผมก็งงเหมือนกันเล่าอะไรออกมาเป็นตุเป็นตะเลยวะเรา

    ที่นี้ผมก็เข้าใจแล้วว่ามันเป็นเช่นนี้ อย่างนี้ในชีวิตประจำวันของเราก็สามารถฝึกได้นะซิ เวลาเราเดินไปทำอะไร เราก็ปล่อยให้กายมันเดินไปตามธรรมชาติซ้ายก้าว ขวาก้าว ปล่อยมันไปตามธรรมชาติ จิตกำหนดรู้อยู่ในความว่างเปล่า คอยสังเกตุดูว่า สมองมันจะคิดเมื่อไหร เมื่อสมองมันคิดขึ้นมาก็แสดงว่าจิตที่ว่างเปล่านั้นมันไม่ได้ว่างเปล่าซะแล้ว

    เพราะจิตเป็นตัวกำหนดสั่งให้สมองเป็นตัวคิด เพียงแต่ว่าเรามองมันไม่ทัน มันจะทันได้อย่างไรครับ ก็มันไวอย่างกับแสง ก็ปล่อยมันไป มันจะคิดอะไรก็เรื่องของมัน เพียงแต่เราต้องคอยใช้ปัญญาเป็นตัวอบรมจิตให้กลับมาที่เดิม อย่าปล่อยให้จิตมันฟุ้งซ่านไปเรื่อยเดี๋ยวมันจะยาว ต้องตามมันกลับมา

    ก็เป็นอย่างนี้อยู่สักพักจิตส่ายไปมาเรื่อย เวลานั่งสมาธิก็เหมือนกัน ก็เห็นจิตส่ายไปมาอยู่อย่างนี้ ก็เกิดอาการสงสัยขึ้นมาอีกว่ามันเป็นอะไรของมัน สมองก็ทำหน้าที่ของมันนั้น ก็คือคิดหาคำตอบให้ได้ ในที่สุดก็ได้คำตอบออกมาว่า "สติ" นั้นไง ที่เราปล่อยให้จิตมันส่ายไปมาได้ ก็เพราะเราขาดสตินั้นไง เรามีสติเป็นช่วงๆ พอเราเผลอหรือว่าขาดสติ จิตมันก็แวบไปแวบมาตามธรรมชาติของมัน เพราะฉะนั้นเราจะต้องฝึกเรื่องของสติด้วย

    พอทีนี้ก็เข้าใจแล้วว่ามันจะต้องมี "จิต" ที่มี "สติ" ให้เป็น "สมาธิ" เพื่อที่จะมี "ปัญญา" ไว้อบรมสั่งสอนจิตให้มันสะอาด แสดงผลออกมาด้วยการกระทำโดยยึดหลักธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าอยู่ใน "ศีล"

    ทุกอย่างนั้นก็เป็นเพียงความเข้าใจของผม ก็ไม่รู้ว่าถูกผิดหรือเปล่า แต่ที่แน่ๆ วันนี้ผมเปิดมาอ่านกระทู้นี้อีกครั้ง เพื่อที่จะหาคำตอบที่ยังคาใจอยู่ สุดท้ายผมก็ได้คำตอบออกมาแล้วว่านั้นคือ "สติ" เป็นการย้ำเตือนให้รู้ว่าเราไม่ได้หลงทาง ยิ่งอาจารย์เข้ามาแนะนำด้วยว่า วิปัสสนาปัญญาต้องพิจารณาตัวเหตุคือขันธ์อันเป็นที่ตั้งตัวทุกข์ประกอบด้วยพระไตรลักษณะญาน มีสติ สมาธิ ปัญญาสมดุลย์

    จึงทำให้ผมมั่นใจขึ้นไปอีกว่า วันนี้ผมเลือกประตูแห่งธรรมได้ถูกแล้ว(สมาธิ) แล้วได้หยิบกุญแจประตูแห่งธรรมนี้ได้ถูกต้อง(ปัญญา) วันนี้ผมเปิดประตูแห่งธรรมบานนี้ได้แล้ว(สติ) ทีนี้ก็อยู่ที่ตัวของเราเองแล้ว จะเดินไปได้ไกลแค่ไหน จะไปถึงหรือเปล่า แม้หนทางข้างหน้าอาจจะมีขวากหนาม และอุปสรรคอีกมากที่รออยู่ จงก้าวเดินเป็นไปอย่างธรรมชาติ ในความว่างเปล่านี้ ............

    ........... นิทานเรื่องนี้ก็จบลงเพียงแค่นี้นะครับ จะผิดถูกอย่างไรก็ขออภัยด้วยครับ เพราะจิตท่านเท่านั้นที่เป็นผู้กำหนดว่าจะผิดหรือถูก ที่แท้จริงแล้ว มันไม่มีอะไรหลอก ................

    ขอขอบคุณอาจารย์อ้องมากนะครับที่คอยแนะนำอยู่ตลอด ขอบคุณจริงๆ ครับ ที่ทำให้ชีวิตผมสว่างขึ้น
    ขอให้ผลบุญกุศลนี้ส่งผลต่ออาจารย์ด้วยนะครับ สาธุ

    สมาปัญญา
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 14 กรกฎาคม 2010
  18. ชัชวาล เพ่งวรรธนะ

    ชัชวาล เพ่งวรรธนะ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กรกฎาคม 2008
    โพสต์:
    843
    ค่าพลัง:
    +4,120
    สมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญาเป็นเช่นนี้
    ปัญญาก็คือการเห็นแจ้งสัจธรรมของขันธ์ตามจริง
    ที่ปรากฏที่วิญญานอายตนะ

    ผู้ใดรู้แจ้งซึ้งวิญญานอายตนะ ธาตุ ขันธ์ หยั่งถึงสัจธรรมอันแท้จริง
    ผู้นั้นกำลังทำลายตัวตนเพื่อพบความสมบูรณ์โดยแท้
    (ฝรั่งไร้เมล็ด)
    อนุโมทนา
     
  19. จะไหวเหรอ

    จะไหวเหรอ Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    5
    ค่าพลัง:
    +25
    ยาวหน่อยนะครับ อาอ้องจะได้แนะนำให้ถูก

    ขอบคุณมากครับ อาอ้อง คิดถูกที่เข้ามาถามอาอ้อง ชื่อ จะไหวเหรอ นี่ก็หมายถึงตัวผมนั่นแหละครับว่า จะไหวไหม๊ อาอ้องอธิบายได้โดนใจผมมาก จริงอย่างที่อาอ้องตอบทุกอย่างเลยครับผมลองทำมาหมดแล้ว ยกเว้นพรหมลูกฟัก ทำไม่เป็น ปิติ ก็ลองมาหมดแล้วด้วยครับกว่าจะมาถึงขั้นนี้ ยกเว้นตัวลอยอย่างเดียวไม่ยอมลอยซักทีซักที รู้สึกแค่ตัวเบาอย่างเดียวแต่ลืมตามาไม่ลอย
    เพราะผมเป็นคนขี้สงสัยมาก เลยอยากรู้อยากลองไปหมด แต่วิปัสสนาของผมรู้สึกว่าถึงทางตันแล้วละครับ อาอ้องอุส่าปราถนาดี บอกทางที่ถูกให้แต่ผมถึงไม่เดินอ่าครับ
    นี่เป็นเรื่องเกี่ยวกับวิปัสสนาของผมนะครับ ผมเห็นการเกิด-ดับ สงสัยอีกและว่า มันมีแต่เกิด-ดับ แล้วเกิดมาทำไมแต่ตอนนี้รู้แล้วครับ
    เมื่อกายไม่ไช่เรา แล้วมาจากไหน จิตไม่ไช่เรา แล้วมาจากไหน แล้วผู้รู้อีก มาจากไหน เมื่อจิตไม่ไช่เรา ทุกอย่างล้วนเป็นสิ่งสมมุติขึ้นมาทั้งสิ้นบวกกับความขี้เกียจของผม เลยคิดมาได้ว่า แล้วจะเรียนไปทำไม ในเมื่อมันไม่มีอ่ะไร อันนี้นี่ หลงขึ้นผิดขึ้นรุนแรง..แต่มาเอ๊ะใจกับคำพูดของหลวงพี่ ที่ว่า น้ำกลิ้งบนใบบัว เราน่าทำแบบนี้บ้าง จึงกลับมาสังเกตุดู รู้เลยว่าหลงผิดไปกับความคิดความปรุงแต่งของขันธ์ หวิดเสียคน ดีที่มีปัญญาอยู่หน่อยหนึ่งเลยไม่เพี้ยนไปกว่านี้ แต่ตอนนี้ไปติดณานอย่างที่อาอ้องพูดอ่ะครับ แถมอยากทำให้สูงกว่านี้อีก
    อันนี้เป็นสภาวะธรรม นะครับปกติไม่คอยอยากพูดแต่คุยกะอาอ้องแล้วสบายใจ ถามอาอ้องแล้วรู้สึกมั่นใจ จึงอยากเล่าให้อาอ้องฟัง เผื่ออาอ้องมีอะไรชี้แนะ สั่งสอน ตักเตือน ผมเห็นการเกิดดับ แม้แต่โทสะก็เห็นมันเกิด-ดับ จึงปิ้งขึ้นมาว่า มันเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามา ไม่ไช่ตัวใช่ตน เกิดแล้วดับ บางวันทำสมาธิกายหายไป แต่มีตัวหนึ่งที่นิ่งๆ คอยมารู้คอยมารู้ สิ่งที่มากระทบ ก็เลยดูไปเรื่อยๆ หูได้ยินเสียงหนึ่งไม่ชอบ ได้ยินอีกเสียงหนึ่งชอบ ดูไปซักพักก็ปิ๊งอีกละครับ ว่า ชอบ ไม่ชอบ เป็นสิ่งปรุงแต่งขึ้นมา ที่จริงมันก็แค่เสียงที่เข้ามากระทบเท่านั้น ตอนหลังเริ่มรู้มากขึ้นว่า ไม่ว่า บุญ บาป ราคะ โทสะ แม้แต่ ณานที่ผมทำขึ้นมาก็เป็นสภาวะที่ปรุงแต่งขึ้นมา สงสัยอีกและทำไมถึงต้องปรุงแต่งละ วันหนึ่งขณะที่ทำสมาธิ เพ่งระหว่างคิ้วอยู่ ก็เห็นคนในเว็ปนี้เพ่งหน้าอกกัน เลยลองย้ายดู จากระหว่างคิ้ว มาหน้าอก ทำได้แฮะพอจิตมันตั้งมั่น เห็นกายนี่กลวงไปเลย อยากรู้อีกว่ามีอะไรในกายมั่ง ก็เห็นเส้นเลือดขึ้นมาเต็มเลย แล้วรู้สึกเหมือนผม กำลังเดินทางไปตามเส้นเลือด จากเริ่มจากหัวใจลงมาเรื่อยๆ พอมาถึงต้นขาซ้าย รู้และมันไม่มีอ่ะไรเลย แค่ธาตุ 4 อาการ 32
    คำถามต่อมา อ้าวไม่มีอ่ะไรแล้วทำไมถึงทุกข์ละ ร่างกายที่ดูอยู่หายไป แต่รู้สึก เหมือนเป็นก้อนอ่ะไรซักอย่างขึ้นมาแทนเป็น ที่สภาวะบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ปิ๊งอีกและ อ้อ เพราะมันเป็นก้อนทุกข์นี่เอง มีสภาวะบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา จึงต้องปรุงแต่งเพื่อหนีทุกข์ เพราะปรุงแต่งนี่เองจึงต้องมีวิญญานมารองรับตอนนี้พิจารณาอ่ะไรไม่ติดขัดเลยครับ ดูต่อไปอีก กายมันแค่ธาตุ4 อาการ32 มันจะทุกข์ได้ไง ต้องมีจิตไปรู้ด้วย แค่นั้นแหละครับ จิตค่อยๆเริ่มรวมเริ่มอัดอึดเหมือนจะตายแต่ผมตายเป็นตายไม่กลัวตายอยู่แล้ว อาการนั่นก็หายไป แวปต่อมาเห็น กายกับจิตแยกกัน เหมือนมันกำลังเองอัตโนมัติ ความรู้สึกเป็นแบบนั้นนะครับตอนรู้สึกเหมือนกับว่า กายทุกข์ แต่จิตทุกข์น้อยกว่า จะทิ้งกายไปยึดจิต แต่มีเสียงหนึ่งเข้ามามารในตัวผมนั่นแหละ "ไปตอนนี้รอดคนเดียวนะ ออกมาสะสมบารมีก่อน" ต่อมาคิดถึงแม่ขึ้นมาอยากสอนแม่ด้วย แพ้ต่อสิ่งปรุงแต่ง...ดูท่าว่าผมจะตันแล้วละครับ หลังๆมาผมก็หันมาทำสมถะอย่างเดียว ผมรู้สึกลึกว่ายังไม่มีปัญญาพอ พูดให้คนอื่นเข้าใจได้ เข้าใจอยู่คนเดียว
    อาอ้องช่วยสอน แนะนำหรืออ่ะไรก็ได้ครับ
     
  20. สมาปัญญา

    สมาปัญญา Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มิถุนายน 2010
    โพสต์:
    34
    ค่าพลัง:
    +88
    ถามอาจารย์ครับ อาการแบบนี้เขาเรียกว่าอะไร

    สวัสดีครับอาจารย์อ้อง ผมมีเรื่องสงสัยเกี่ยวกับสมาธิครับ รบกวนอาจารย์ช่วยแนะนำด้วยครับ

    ก่อนจะถาม ผมขอเล่ารายละเอียดเกี่ยวกับตัวผมในการนั่งสมาธิก่อนนะครับ เพื่อที่อาจารย์จะได้ง่ายต่อการแนะนำ

    1. ผมไม่มีความรู้เกี่ยวกับลำดับขั้นสมาธิ และญาณมาก่อน

    2. ผมเพิ่งจะหัดนั่งสมาธิแบบจริงจังได้ประมาณ 2-3 เดือน

    3. ผมจะนั่งสมาธิอยู่บนเตียงนอน คือจะใช้ได้ทั้งท่านั่งและท่านอน ผมไม่ได้ขี้เกียจนะครับ แต่สถานที่ไม่เอื้ออำนวยจริงๆ ผมเลยคิดว่าไม่เป็นไร ถ้ามั่วแต่ไปยึดติดก็คงไม่ได้นั่งกันพอดี ธรรมชาติในชีวิตประจำวันเป็นแบบนี้ก็ต้องแบบนี้

    4. เรื่องเล่าต่างๆ ของผม ที่เล่ามานั้น มีผลมาจากการนั่งสมาธิทั้งหมด

    คือสิ่งที่ผมจะถามอาจารย์มีดังนี้นะครับ

    ผมนั่งสมาธิตามปกติของผม เวลาผมออกจากการนั่งสมาธิ ผมก็จะล้มตัวลงนอนเลย เพื่อผ่อนคลายอริยบถต่างๆ จากการนั่งสมาธิมา แต่พอผมหลับตาสักพัก จิตของผมก็เริ่มเข้าสู่สมาธิ เพราะยังจำได้อยู่จากการนั่งสมาธิมา

    แต่ตอนนอนพักผ่อนนี้ รู้สึกได้ว่ามีสมาธิอยู่พักหนึ่งแล้วก็เคลิ้มไป (ขาดสติ) แต่พอได้สติกลับมา กลายเป็นว่า เราหลับไปแล้วนี้ ขยับแขนขยับขาก็ไม่ได้ ทำยังไงดี เป็นแบบนี้มาหลายครั้ง เมื่อก่อนทีแรกๆ ผมจะกลัวนึกว่าผีอำ เพราะไม่มีสติ นึกคาถาอะไรขึ้นมาได้ก็ถ่องหมด ถ่องแล้วมันก็ไม่ยอมคลาย จนลืมตัวไปรู้สึกได้อีกทีตอนตื่น

    มาวันนี้ก็เป็นเหมือนเดิม ขยับแขนขยับขาก็ไม่ได้ ลืมตาก็ไม่ได้ แต่พอผมได้สติก็รู้ว่านี้คือ จิต ที่ตื่นขึ้นมา เมื่อกี้เราเผลอไป ไหนๆ ก็ตื่นขึ้นมาแล้วคงไม่มีอะไร ในเมื่อทุกอย่างคือความว่างเปล่าแล้วจะกลัวอะไร

    อย่างนั้นขอทำสมาธิต่อเลยแล้วกันในภาวะจิตแบบนี้ สักพักหูผมก็ได้ยินเสียงคนเดินมาที่ห้อง ผมคิดทันทีเลยว่าจะทำอย่างไรดี ขยับแขนก็ไม่ได้ ขยับขาก็ไม่ได้ ลืมตาก็ไม่ได้ ถ้าเป็นแบบนี้คงไม่ดีแน่ สักพักผมได้ยินเสียงเดินนั้น เดินมาเปิดประตูห้อง พอได้ยินเสียงลูกบิดประตูดังแก๊ก ตาของผมก็ลืมขึ้นมาเอง แต่ก็ยังมีความรู้สึกเหมือนคนสลืมสลือ

    อาจารย์ครับช่วยอธิบายอาการแบบนี้หน่อยนะครับ ผมรู้ว่าไม่ใช่ผีอำแน่ๆ ถ้าเป็นเมื่อก่อนผมคิดว่าอาการแบบนี้ คงเป็นผีอำ

    ช่วยแนะนำผมหน่อยนะครับ

    ขอบคุณมากครับ
    สมาปัญญา


     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 16 กรกฎาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...