อินเดียแดนพุทธภูมิ : ดินแดนแห่งศรัทธา

ในห้อง 'ท่องเที่ยว - อาหารการกิน' ตั้งกระทู้โดย wvichakorn, 7 มีนาคม 2010.

  1. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    ยมกปาฎิหารย์

    [​IMG][​IMG][​IMG]
    [​IMG][​IMG][​IMG]


    ....ใกล้ ๆ มหาวิหารเชตวัน..มีสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปาฏิหารย์ไฟคู่น้ำ...เป็นเนินเขาเตี้ย ๆ ค่ะ..ที่จริงก็ไม่เตี้ยมากนักบางคนก็ไม่กล้าขึ้นไป..กลัวลื่น...ตกลงมาระหว่างทาง..ก่อนขึ้นแหงนมองขึ้นไปก็กลัวขึ้นไม่ได้เหมือนกัน...ด้านบนยอดของเนินเขานี้...มีสถานที่ที่จัดสร้างไว้ให้ผู้จาริกได้กราบบูชาพระพุทธองค์...หลายคนหอบเลยค่ะ..พอขึ้นไปถึง..แต่ลมเย็นมากหายเหนื่อยเป็นปลิดทิ้ง..แม่ ๆ หลายคนเดินขึ้นไปจนได้ท่ามกลางเสียงเชียร์ให้กำลังใจ..และเสียงบอกให้ระมัดระวังเป็นช่วง...พร้อมกันทุกคนแล้ว พระวิทยาการท่านก็พาสวดมนต์ค่ะ...แม้แดดร้อนแต่มีลมพัดตลอดเวลา..ทำให้ทุกคนรู้สึกดี ปิดทองกันถ้วนหน้าแล้วก็พากันลง ซึ่งต้องจับกันเป็นคู่ ๆ ดูแลกันไม่ให้ลื่นล้มลงมา....ลงมาถึงด้านล่างกันแล้วหันกลับไปมอง..แล้วต่างคนก็แสดงสีหน้าถึงความภาคภูมิใจของตัวเองค่ะ...เราก็ขึ้นได้เหมือนกัน...
    ...เลยมาอีกเล็กน้อยที่จริงเดินมาก็ได้นะคะ..จะถึงวัดไทยเชตวันมหาวิหาร..เป็นวัดที่สร้างใหม่ค่ะ..เมื่อมาปีแรก..วัดไม่ได้ตั้งอยู่ที่ตรงนี้ค่ะ..อยู่ห่างไปอีกเล็กน้อย..สร้างได้ไม่มากกุฎิสงฆ์เป็นไม้ไผ่มุงจาก..ปี 2551 มีน้ำท่วมค่ะ..สิ่งปลูกสร้างเสียหาย...ต้องย้ายมาสร้างในที่ดินแห่งใหม่..ปี 2552 ...ได้ร่วมกันซื้อที่ดินถวายวัดค่ะ..ตารางวาละประมาณ 2400 รูปี..ถ้าจำไม่ผิดนะคะ....พร้อมกับถวายพระบรมสารีริกธาตุไว้ 1 ชุด...ปีนี้..2553...คณะจาริกทั้งหลายก็ได้ถวายปัจจัยในการสร้างพระอุโบสถค่ะ...บริเวณที่คณะจาริกเข้าไปถวายปัจจัยเป็นตรงที่ต่อไปจะสร้างพระอุโบสถ ณ จุดนี้ มองไปทางด้านหน้าขวามือจะเห็นเนินยมกปาฎิหารย์ได้อย่างชัดเจน........เพราะที่นครสาวัตถี..ที่เชตวันมหาวิหาร..พระพุทธองค์ทรงแสดงมงคลสูตร...เราจึงได้เห็นบทสวดมงคลสูตรที่วัดไทนเชตวันมหาวิหารนี้ด้วยค่ะ....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_0736.JPG
      IMG_0736.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      70
    • DSCF1505.JPG
      DSCF1505.JPG
      ขนาดไฟล์:
      594.8 KB
      เปิดดู:
      81
    • IMG_0740.JPG
      IMG_0740.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.2 MB
      เปิดดู:
      73
    • DSCF1510.JPG
      DSCF1510.JPG
      ขนาดไฟล์:
      644.3 KB
      เปิดดู:
      87
    • IMG_0745.JPG
      IMG_0745.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      73
    • IMG_0743.JPG
      IMG_0743.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      75
    • IMG_0747.JPG
      IMG_0747.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      68
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 เมษายน 2010
  2. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]


    [MUSIC]http://palungjit.org/attachments/a.942278/[/MUSIC]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 เมษายน 2010
  3. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ยมกปาฎิหารย์

    [​IMG]



    [​IMG]




    [​IMG]

     
  4. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ไฉนเรียก ... ยมกปาฏิหารย์

    [​IMG]

    เรื่องยมกปาฏิหาริย์นี้ ถือเป็นพระพุทธประเพณี ที่พระสัพพัญญูพระพุทธเจ้า ทุกๆพระองค์ต้องกระทำกัน


    ปาฏิหาริย์ คือ การแสดงให้คนเห็นเป็นที่อัศจรรย์ ซึ่งสามัญชนหรือคนที่ไม่เคยเรียนรู้มาก่อนแสดงไม่ได้ มีตั้งแต่อย่างต่ำ เช่น เล่นกล หรือที่เรียกว่าแสดงปาหี่ ขึ้นไปจนถึงเดินบนน้ำ ดำดิน ลุยไฟ กลืนกินตะปู ที่พวกฤาษีแสดง ตลอดถึงการเหาะเหินเดินอากาศที่ผู้มีฤทธิ์แสดง ปุถุชนแสดงได้ พระอรหันต์ผู้ได้ฌาณได้ฤทธิ์ก็แสดงได้

    ยมก แปลว่า คู่หรือสอง ยมกปาฏิหาริย์ คือ การแสดงคู่ น้ำคู่กับไฟ คือเวลาแสดง ท่อน้ำใหญ่พุ่งออกจากพระกายเบื้องบนของพระพุทธเจ้า เปลวไฟพุ่งเป็นลำออกจากพระกายเบื้องล่าง เป็นต้น




    [​IMG]

    พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓
    ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค​

    -------------------------------​

    [๒๘๔] ยมกปาฏิหาริยญาณของพระตถาคตเป็นไฉน ฯ
    ในญาณนี้ พระตถาคตย่อมทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ไม่สาธารณะด้วยหมู่พระสาวก คือ ​

    ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องล่าง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องบน
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระกายเบื้องหลัง สายน้ำพุ่งออกจากพระกายเบื้องหน้า
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระเนตรเบื้องขวา
    ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย
    ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระกรรณเบื้องขวา
    ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย
    ท่อไฟพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากช่องพระนาสิกเบื้องขวา
    ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย
    ท่อไฟพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากจะงอยพระอังสาเบื้องขวา
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระหัตถ์เบื้องขวา
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัสเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัสเบื้องซ้าย
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระปรัสเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระปรัสเบื้องขวา
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระบาทเบื้องซ้าย สายน้ำพุ่งออกจากพระบาทเบื้องขวา
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี
    ท่อไฟพุ่งออกจากระหว่างพระองคุลี สายน้ำพุ่งออกจากพระองคุลี
    ท่อไฟพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ สายน้ำพุ่งออกจากพระโลมาเส้นหนึ่ง ๆ ​

    ท่อไฟพุ่งออกจากขุมพระโลมา สายน้ำพุ่งออกจากขุมพระโลมา
    (พระรัศมีแผ่ซ่านออกจากพระสรีรกายด้วยสามารถ) แห่งวรรณ ๖ คือ สีเขียว สีเหลือง สีแดง สีขาว สีแสด สีเลื่อมประภัสสร ​

    พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิตประทับยืน ประทับนั่ง หรือทรงไสยาสน์
    พระผู้มีพระภาคประทับยืน พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับนั่งหรือทรงไสยาสน์
    พระผู้มีพระภาคประทับนั่ง พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรงไสยาสน์
    พระผู้มีพระภาคทรงไสยาสน์ พระพุทธนิมิตเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือประทับนั่ง
    พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรมประทับนั่ง หรือทรงไสยาสน์ พระพุทธนิมิตประทับยืน
    พระผู้มีพระภาคเสด็จจงกรม ประทับยืน หรือทรงไสยาสน์ พระพุทธนิมิตประทับนั่ง
    พระผู้มีพระภาคประทับยืน ประทับนั่งหรือเสด็จจงกรม พระพุทธนิมิตทรงไสยาสน์ ​

    นี้เป็นยมกปาฏิหาริยญาณของพระตถาคต ฯ​
     
  5. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี

    [​IMG]

    อนาถปิณฑิกเศรษฐี
    เอตทัคคะในฝ่ายผู้เป็นทายก


    อนาถบิณฑิกเศรษฐี เกิดในตระกูลมหาเศรษฐี ในเมืองสาวัตถี บิดาชื่อว่า สุมนะ” มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เมื่อเกิดมาแล้วบรรดาหมู่ญาติได้ตั้งชื่อให้ว่า “สุทัตตะ” เป็นคนมีจิตเมตตาชอบทำบุญให้ทานแก่คนยากจนอนาถา
    • ได้ชื่อใหม่เพราะให้ทาน
    เมื่อบิดามารดาของท่านล่วงลับไปแล้ว ได้ดำรงตำแหน่งเศรษฐีแทน ให้ตั้งโรงทานที่หน้าบ้านแจกอาหารแก่คนยากจนทุกวัน จนกระทั่งประชาชนทั่วไปเรียกท่านตามลักษณะนิสัยว่า “อนาถบิณฑิกะ” ซึ่งหมายถึง “ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา” และได้เรียกกันต่อมาจนบางคนก็ลืมชื่อเดิมของท่านไปเลย ท่านอนาถบิณฑิกะ ทำการค้าขายระหว่างเมืองสาวัตถีกับเมืองราชคฤห์เป็นประจำ จนมีความสนิทสนมคุ้นเคยกับเศรษฐีเมืองราชคฤห์ นามว่า “ราชคหกะ” และต่อมาเศรษฐีทั้งสองก็มีความเกี่ยวดองกันมากขึ้น โดยต่างฝ่ายก็ได้น้องสาวของกันและกันมาเป็นภรรยา ดังนั้น เมื่ออนาถบิณฑิกะ นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์จึงได้มาพักอาศัยที่บ้านของราชคฤหเศรษฐี ผู้ซึ่งมีฐานะเป็นทั้งน้องเขยและพี่เมียอยู่เป็นประจำ
    • อนาถบิณฑิกเศรษฐีสำเร็จพระโสดาบัน
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี ดำรงชีวิตอยู่ในกรุงสาวัตถี โดยมิได้ทราบข่าวเกี่ยวกับการเกิดขึ้นแห่งพระพุทธศาสนาเลย จวบจนวันหนึ่งท่านได้นำสินค้ามาขายยังเมืองราชคฤห์ และได้เข้าพักในบ้านของราชคหกเศรษฐีตามปกติ แต่ในวันนั้น เป็นวันที่ราชคหกเศรษฐี ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เป็นจำนวนมากมายและฉันภัตตาหารที่เรือนของตนในวันรุ่งขึ้น

    ราชคหกเศรษฐี มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานแก่ข้าทาสบริวาร จึงไม่มีเวลามาปฏิสันถารต้อนรับท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีเหมือนเช่นเคย เพียงแต่ได้ทักทายปราศัยเล็กน้อยเท่านั้นแล้วก็สั่งงานต่อไป แม้ท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ก็เกิดความสงสัยขึ้นเช่นกัน จึงคิดอยู่ในใจว่า “ราชคหกเศรษฐี คงจะมีงานบูชาอัญหรือไม่ก็คงจะกราบทูลเชิญพระเจ้าพิมพิสารเสด็จมายังเรือนของตนในวันพรุ่งนี้” เมื่อการสั่งงานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ราชคหกเศรษฐี จึงได้มีเวลามาต้อนรับพูดคุยกับอนาถบิณฑิกเศรษฐี และท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้ไต่ถามข้อข้องใจสงสัยนั้น ซึ่งได้รับคำตอบว่าที่มัวยุ่งอยู่กับการสั่งงานนั้นก็เพราะได้กราบทูลอาราธนาพระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ มาเสวยและฉันภัตตาหารที่เรือนของตนในวันพรุ่งนี้ อนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ฟังคำว่า “พระพุทธเจ้า” เท่านั้นเอง ก็รู้สึกแปลกประหลาดใจ จึงย้อนถามถึงสามครั้งเพื่อให้แน่ใจ เพราะคำว่า “พระพุทธเจ้า” นี้เป็นการยากยิ่งนักที่จะได้ยินในโลกนี้ เมื่อราชคหกเศรษฐีกล่าวยืนยันว่า “ขณะนี้ พระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ เกิดขึ้นแล้วในโลก” จึงเกิดปีติและศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้า ปรารถนาจะไปเข้าเฝ้าพระพุทธองค์ในทันที่นั้น แต่ราชคหกเศรษฐียับยั้งไว้ว่ามิใช่เวลาแห่งการเข้าเฝ้า จึงรอจนรุ่งเช้าก็รีบไปเข้าเฝ้าก่อนที่พระพุทธองค์จะเสด็จไปยังบ้านราชคหกเศรษฐี ได้ฟังอนุปุพพิกถาและอริยสัจสี่จากพระพุทธเจ้าแล้วได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นพระโสดาบันบุคคลในพระพุทธศาสนาประกาศตนเป็นอุบาสกถึงพระรัตนตรัยเป็นสรณะตลอดชีวิต
    • อนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างวัดถวาย
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ช่วยอังคาสถวายภัตตาหารแด่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ ครั้นเสร็จภัตตากิจแล้วก็ได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาเพื่อเสด็จไปประกาศพระศาสนายังเมืองสาวัตถี พร้อมทั้งกราบทูลว่า จะสร้างพระอารามถวายเมืองสาวัตถีนั้น พระบรมศาสดาทรงรับอาราธนาตามคำกราบทูล อนาถบิณฑิกเศรษฐี รู้สึกปราบปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง รีบเดินทางกลับสู่กรุงสาวัตถีโดยด่วน ในระหว่างทางจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงสาวัตถี ระยะทาง ๕๔ โยชน์ ได้บริจาคทรัพย์จำนวนมากให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุก ๆ ระยะหนึ่งโยชน์ เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้วได้ติดต่อขอซื้อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ตามที่ต้องการ ปรากฏว่าเศรษฐีใช้เงินถึง ๒๗ โกฏิ เป็นค่าที่ดิน และอีก ๒๗ โกฏิ เป็นค่าก่อสร้างพระคันธกุฏีที่ประทับของพระบรมศาสดา และเสนาสนะสงฆ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔ โกฏิ แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอาราม ขณะนั้น เจ้าชายเชตราชกุมารได้แสดงความประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้มประตูพระอาราม ดังนั้นพระอารามนี้จึงได้ชื่อว่า “เชตวนาราม”
    • เศรษฐีทำบุญจนหมดตัว
    เมื่อการก่อสร้างพระอารามเสร็จแล้วได้กราบทูลอาราธนาพระบรมศาสดาพร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์เสด็จเข้าประทับจัดพิธีฉลองพระอารามอย่างมโหฬารนานถึง ๙ เดือน (บางแห่งว่า ๕ เดือน) ได้จัดถวายอาหารบิณฑบาตอันประณีตแก่พระบรมศาสดาและพระภิกษุสงฆ์ เมื่อพิธีฉลองพระอารามเสร็จสิ้นลงแล้วได้กราบอาราธนาพระภิกษุจำนวนประมาณ ๒๐๐ รูป ไปฉันภัตตาหารที่บ้านของตนทุกวันตลอดกาล อนาถบิณฑิกเศรษฐี ทำบุญโดยทำนองนี้ ทั้งให้ทานแก่คนยากจน และการถวายทานแด่พระภิกษุสงฆ์ จนกระทั่งทรัพย์สินเงินทองที่เก็บสะสมไว้ลดน้อยลงไปโดยลำดับ ทรัพย์ที่หาได้มาใหม่ก็ไม่เท่ากับจ่ายออกไป ภัตตาหารที่จัดถวายพระภิกษุสงฆ์ก็ลดลงทั้งคุณภาพและปริมาณ จนที่สุดข้าวที่หุงถวายพระก็จำเป็นต้องใช้ข้าวปลายเกวียน กับข้าวก็เหลือเพียงน้ำผักเสี้ยนดอง ตนเองก็พลอยอดอยากลำบากไปด้วย ถึงกระนั้นเศรษฐีก็ยังไม่ลดละการทำบุญถวายภัตตาหารแก่พระภิกษุสงฆ์ได้แต่กราบเรียนให้พระภิกษุสงฆ์ทราบว่า ตนเองไม่สามารถจะจัดถวายอาหารอันประณีตมีรสเลิศเหมือนเมื่อก่อนได้ เพราะขาดปัจจัยที่จะจัดหาพระภิกษุสงฆ์ที่เป็นปุถุชนก็พากันไปรับอาหารบิณฑบาตที่ตระกูลอื่นที่ถวายอาหารมีรสเลิศกว่า
    • เศรษฐีขับไล่เทวดา
    ขณะนั้นเทวดาตนหนึ่งผู้เป็นมิจฉาทิฎฐิ ซึ่งสิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูบ้านของท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี ไม่เลื่อมใสพุทธศาสนา เบื่อระอาที่พระภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูเข้าออกทุกวัน เพราะในขณะที่ภิกษุสงฆ์เดินรอดซุ้มประตูนั้นตนไม่สามารถจะอยู่บนซุ้มประตูได้ เมื่อเห็นเศรษฐีกลับกลายมีฐานะยากจนลงเพราะทำบุญแก่พระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา จึงปรากฎกายต่อหน้าท่านเศรษฐีกล่าวห้ามปรามให้เศรษฐีเลิกทำบุญเสียเถิด แล้วทรัพย์สินเงินทองก็จะเพิ่มพูนขึ้นเหมือนเดิม ท่านเศรษฐีจึงถามว่า“ท่านเป็นใคร ?”
    “ข้าพเจ้าเป็นเทวดาผู้สิงสถิตอยู่ที่ซุ้มประตูเรือนของท่าน”
    “ดูก่อนเทวดาอันธพาล เราไม่ต้องการเห็น ไม่ต้องการฟังคำพูดของท่าน ขอท่านจงออกไปจากซุ่มประตูเรือนของเรา อย่ามาให้ข้าพเจ้าเห็นอีกเป็นอันขาด”
    เทวดาตกใจ ไม่สามารถจะอยู่ที่ซุ่มประตูเรือนของเศรษฐีได้อีกต่อไป กลายเป็นเทวดาไร้ที่สิงสถิต ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก เข้าไปหาเทวดาผู้มีศักดิ์สูงกว่าตนให้ช่วยเหลือ แต่ไม่มีเทวดาองค์ใดจะสามารถช่วยได้ เพียงแต่บอกอุบายให้ว่า “ทรัพย์เก่าของเศรษฐีจำนวน ๘๐ โกฏิ ซึ่งใส่ภาชนะฝังไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำถูกน้ำเซาะตลิ่งพังจมหายไปในสายน้ำ ท่านจงไปนำทรัพย์เหล่านั้นกลับคืนมามอบให้ท่านเศรษฐี แล้วท่านเศรษฐีก็จะหายโกรธยกโทษให้ และอนุญาตให้อยู่อาศัยที่ซุ้มประตูบ้านดังเดิมได้”

    เทวดาทำตามนั้น ได้นำทรัพย์เหล่านั้นมามอบให้เศรษฐีด้วยอำนาจฤทธิ์เทวดา เมื่อเศรษฐียกโทษให้แล้วได้อยู่ ณ สถานที่เดิมของตนสืบไป
    • ต้นแบบการทำบุญอุทิศให้ผู้ตาย
    พุทธบริษัทผู้ใฝ่บุญนั้น ย่อมปรารภเหตุเล็ก ๆ น้อย ๆ ขึ้นมาเป็นเรื่องทำบุญได้เสมอ เช่นเรื่องของอนาถบิณฑิกเศรษฐี นี้ วันหนึ่งหลานของท่านเล่นตุ๊กตาที่ทำจากแป้งแล้วหล่นลงแตก หลานร้องไห้ด้วยความเสียดายตุ๊กตา เพราะไม่มีตุ๊กตาจะเล่น ท่านเศรษฐีได้ปลอบโยนหลานว่า

    “ไม่เป็นไร เราช่วยกันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตากันเถิด” ปรากฏว่าหลานหยุดร้องไห้ รุ่งเช้า ท่านจึงพาหลายช่วยกันทำบุญเลี้ยงพระแล้วกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตา ข่าวการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ตุ๊กตาของท่านเศรษฐี แพร่ขยายไปอย่างรวดเร็ว ประชาชนชาวพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเป็นเรื่องแปลกและเป็นสิ่งที่ดีที่ควรกระทำ ดังนั้นเมื่อญาติผู้เป็นที่รักของตนตายลงก็พากันทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้เหมือนอย่าที่ท่านเศรษฐีกระทำนั้น และถือปฏิบัติกันอย่างแพร่หลายสืบต่อมาจนถึงปัจจุบัน
    • มอบภารกิจของตนให้ลูกหลาน
    ตามปกติทุก ๆ วัน ภิกษุทั้งหมดผู้อยู่ในกรุงสาวัตถีจะรับนิมนต์เพื่อฉันภัตตาหารในบ้านของอนาถบิณฑิกเศรษฐี และในบ้านของนางวิสาขา ดังนั้น บุคคลอื่น ๆ ผู้ประสงค์จะถวายทานแก่ภิกษุสงฆ์ก็ต้องมาขอโอกาสแก่ท่านทั้งสองนี้ เมื่อนิมนต์พระได้แล้วก็ต้องเชิญท่านทั้งสองนี้ไปเป็นประธานที่ปรึกษาด้วย ทั้งนี้ก็เพราะท่านทั้งสองทราบดีว่าควรประกอบควรปรุงอาหารอย่างไรให้ต้องกับอัธยาศัยและวินัยของพระ ควรจัดสถานที่อย่างไรจึงจะเหมาะสม นอกจากนี้ก็เพื่อเป็นสิริมงคลแก่เจ้าของบ้านเรือนที่จัดงานอีกด้วย ดังนั้นท่านทั้งสองจึงไม่

    ค่อยมีเวลาอยู่ปฏิบัติเลี้ยงดูพระภิกษุที่นิมนต์มาฉันที่บ้านของตน นางวิสาขาจึงได้มอบหมายภารกิจหน้าที่นี้แก่หลานสาว ส่วนอนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้มอบให้แก่ลูกสาวคนโตชื่อว่า “มหาสุภัททา” นางได้ทำหน้าที่นี้อยู่ระยะหนึ่ง ได้ฟังธรรมจากพระคุณเจ้าแล้วได้บรรลุเป็นพระโสดาบัน ต่อมาได้แต่งงานแล้วก็ติดตามไปอยู่ในสกุลของสามี จากนั้นอนาถบิณฑิกเศรษฐีก็ได้มอบหมายให้ลูกสาวคนที่สองชื่อว่า “จุลสุภัททา” นางก็ทำหน้าที่แทนบิดาด้วยดีโดยตลอด และก็ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันเช่นกัน ต่อจากนั้นไม่นาน นางก็ได้แยกไปอยู่กับครอบครัวของสกุลสามี อนาถบิณฑิกเศรษฐี จึงได้มอบหน้าที่ให้ลุกสาวคนเล็กชื่อว่า “สุมนาเทวี” กระทำแทนสืบมา
    • ลูกสาวป่วยเรียกบิดาว่าน้องชาย
    สุมนาเทวี ทำหน้าที่ด้วยความขยันเข้มแข็ง งานสำเร็จลงด้วยความเรียบร้อยทุกวัน ทั้ง ๆ ที่นางอายุยังน้อย จากการที่นางได้ทำบุญถวายภัตตาหาร พระภิกษุสงฆ์และได้ฟังธรรมเป็นประจำ นางก็ได้บรรลุเป็นพระสกทาคามี แต่ต่อมานางได้ล้มป่วยลงมีอาการหนัก ใคร่อยากจะพบบิดา จึงให้คนไปเชิญบิดามาท่านอนาถบิณฑิกเศรษฐี พอได้ทราบว่าลูกสาวป่วยหนักก็รีบมาเยี่ยมโดยเร็ว พอมาถึงได้ถามลูกสาวว่า
    “แม่สุมนา เจ้าเป็นอะไร ?”
    “อะไรเล่า น้องชาย ?” ลูกสาวตอบ
    “เจ้าเพ้อหรือ แม่สุมนา ?” บิดาถาม
    “ไม่เพ้อหรอก น้องชาย” ลูกสาวตอบ
    “แม่สุมนา ถ้าอย่างนั้น เจ้ากลัวหรือ ?” บิดาถาม
    “ไม่กลัวหรอก น้องชาย”

    นางสุมนาเทวี พูดโต้ตอบกับบิดาได้เพียงเท่านั้นก็ถึงแก่กรรม
    • พระโสดาบันร้องไห้ไปกราบทูลพระศาสดา
    ท่านเศรษฐี แม้จะเป็นพระโสดาบัน ก็ไม่อาจจะกลั่นความเศร้าโศกเสียใจเพราะการจากไปของธิดาได้ เมื่อเสร็จงานศพและได้ร้องไห้น้ำตานองหน้าไปเข้าเฝ้าพระบรมศาสดาพระพุทธองค์ได้ตรัสปลอบว่า
    “อนาถบิณฑิกะ ก็ความตายเป็นสิ่งเที่ยงแท้ของสรรพสัตว์มิใช่หรือเหตุไฉนท่านจึงร้องไห้อย่างนี้ ?”
    “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้อนั้นข้าพระองค์ทราบดี แต่นางสุมนาเทวีธิดาของข้าพระองค์ เมื่อใกล้เวลาจวนจะตาย นางไม่สามารถคุมสติได้เลย นางบ่นเพ้อจนกระทั่งตาย ข้าพระองค์โทมนัสร้องไห้เพราะเหตุนี้ พระเจ้าข้า”
    พร้อมทั้งได้กราบทูลถ้อยคำที่นางสุมนาเทวีเรียนตนเองว่าน้องชาย ถวายให้พระพุทธองค์ทรงทราบ พระผู้มีพระภาคได้สดับแล้วตรัสว่า
    “ดูก่อนมหาเศรษฐี บุตรของท่านมิได้เพ้อหลงสติอย่างที่ท่านเข้าใจ แต่ที่นางเรียกท่านว่าน้องชายนั้น ก็เพราะท่านเป็นน้องของนางจริง ๆ นางเป็นใหญ่กว่าท่านโดยมรรคและผล เพราะท่านเป็นเพียงพระโสดาบัน แต่ธิดาของท่านเป็นพระสกทาคามี เป็นอริยบุคคลสูงกว่าท่าน และบัดนี้ นางได้ไปเกิดเสวยสุขอยู่บนสวรรค์ชั้นดุสิตแล้ว นี่แหละคฤหบดี ธรรมดาบุคคลไม่ว่าจะเป็นคฤหัสถ์หรือบรรพชิตก็ตาม ถ้าอยู่ด้วยความไม่ประมาท ประพฤติดีปฏิบัติชอบ ก็ย่อมเสวยสุขเพลินทั้งในโลกนี้และโลกหน้า”
    อนาถบิณฑิกเศรษฐี ได้ฟังพระพุทธดำรัสแล้วหายจากความเศร้าโศกเสียใจกลับได้รับความปีติเอิบอิ่มใจขึ้นมาแทน เมื่อควรแก่เวลาแล้วก็กราบทูลลากลับสู่เคหสถานของตน

    เพราะความที่อนาถบิณฑิกเศรษฐี เป็นผู้มีศรัทธามั่นคงไม่หวั่นไหว
    ฝักใฝ่ในการทำบุญให้ทาน ไม่มีผู้ใดจะเปรียบเทียบได้
    พระพุทธองค์ยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ
    เป็นผู้เลิศกว่าอุบาสกทั้งหลาย ในฝ่าย ผู้เป็นทายก


    ที่มา www.84000.org.th


    <! story ********************************><! bottom **************************>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2010
  6. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    [​IMG]


    "ในระหว่างทางที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเดินทางจากกรุงราชคฤห์ถึงกรุงสาวัตถี ระยะทาง ๕๔ โยชน์ ได้บริจาคทรัพย์จำนวนมากให้สร้างวิหารที่ประทับเป็นที่พักทุก ๆ ระยะหนึ่งโยชน์ เมื่อถึงกรุงสาวัตถีแล้วได้ติดต่อขอซื้อที่ดินจากเจ้าชายเชตราชกุมาร โดยได้ตกลงราคาด้วยการนำเงินปูลาดให้เต็มพื้นที่ตามที่ต้องการ ปรากฏว่าเศรษฐีใช้เงินถึง ๒๗ โกฏิ เป็นค่าที่ดิน และอีก ๒๗ โกฏิ เป็นค่าก่อสร้างพระคันธกุฏีที่ประทับของพระบรมศาสดา และเสนาสนะสงฆ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น ๕๔ โกฏิ แต่ยังขาดพื้นที่สร้างซุ้มประตูพระอาราม ขณะนั้น เจ้าชายเชตราชกุมารได้แสดงความประสงค์ขอเป็นผู้จัดสร้างถวาย โดยขอให้จารึกพระนามของพระองค์ที่ซุ้มประตูพระอาราม ดังนั้นพระอารามนี้จึงได้ชื่อว่า “เชตวนาราม”

    ...เป็นที่น่าสังเกตว่า..ในบทสวดมนต์ พระคาถาต่าง ๆ ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงที่เชตวันมหาวิหารนี้..จะมีคำว่า "...อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเมฯ..." ต่อท้ายคำว่า "เชตะวะเน" ด้วยเสมอ..เช่น บทสวดมังคะละสุตตัง หรือมงคลสูตร..ทีขึ้นต้นว่า

    ..."เอวัมเม สุตังฯ เอกัง สะมะยัง ภะคะวา สาวัตถิยัง วิหะระติ เชตวะเน อะนาถะปิณฑิกัสสะ อาราเม"....

    หรือแม้แต่ในพระไตรปิฏก...
    "....โดยสมัยนั้น พระผู้มีพระภาคพุทธเจ้าประทับอยู่ ณ พระเชตวันอารามของอนาถบิณฑิกคหบดี เขตพระนครสาวัตถี..."

    ...อันอาจแสดงถึงพระเมตตาต่ออนาถบิณฑิกเศรษฐีที่มีศรัทธาสร้างวัดถวายพระพุทธองค์จนเงินหมด..ขาดเพียงพื้นที่สร้างซุ้มประตูอารามเท่านั้น...
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 4 พฤษภาคม 2010
  7. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    อานันทโพธิ

    [​IMG]


    นอกจากต้นพระศรีมหาโพธิ์..ที่มหาเจดีย์พุทธคยาแล้ว..
    อานันทโพธิ..หรือต้นโพธิ์พระอานนท์
    เป็นอนุสรณ์ที่ชาวพุทธทั้งหลายพึงจะถวายสักการะ..


    ...พบชาวศรีลังกากำลังสวดมนต์ภาษาบาลี " โพธิ รุกฺขํ เจติยํ สพฺพเมโท " และบางคนก็กำลังจัดวางดอกไม้ที่เตรียมมา(ไม่รู้เหมือนกันค่ะว่าเตรียมมาจากไหน.ลืมถามค่ะ) จนลานใต้ต้นโพธิ์สวยงามอย่างที่เห็นในรูปค่ะ..


    จากหนังสือสู่แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล ที่เขียนโดย พระราชปริยัติรังษี (ว.ป.วีรยุทฺโธ) เขียนว่า

    ..ในวรรณคดีโบราณของลังกา ชื่อ ปูชาวลิยะ กล่าววว่า เมื่อสิ้นฤดูฝน คือ ออกพรรษาแล้ว พระพุทธองค์เสด็จจาริกไปในที่ต่าง ๆ เพื่อเทศนาเผยแผ่พระธรรมที่พระองค์ทรงค้นพบ เหล่าพุทธบริษัทที่เคยมาเฝ้าฟังพระธรรมเทศนาในระหว่างเข้าพรรษาอยู่เสมอ เมื่อออกพรรษาแล้วมาไม่พบพระพุทธองค์ก็จะนำเครื่องสักการะ ทั้งหลายไปวางไว้ที่หน้ามหาคันธกุฏีของพระพุทธองค์..
    ...อนาถบิณฑิกเศรษฐีตระหนักในศรัทธาของพุทธบริษัททั้งหลาย จึงได้ปรารถกับพระอานนท์ว่า
    "ระหว่างที่พระพุทธองค์เสด็จไปจาริกที่อื่น ๆ ชาวเมืองสาวัตถีนำเครื่องสักการะบูชามาน้อมระลึกพระพุทธองค์ ก็ไม่รู้ว่าจะยึดเหนี่ยวอะไรเป็นที่ตั้ง"
    พระอานนท์จึงเข้าไปกราบทูลถามพระพุทธองค์ ถึงสถาที่อันจะเป็นที่ตั้งแห่งความเคารพในระหว่างที่พระพุทธองค์มิได้ประทับอยู่ในวิหารนี้


    พระพุทธองค์ตรัสถึงสิ่งอันควรระลึกถึงมี 3 อย่าง คือ
    ....ของในร่างกาย 1 เครื่องใช้สอย 1 และรูปเคารพ 1...



    พระอานนท์กราบทูลถามว่า " ในระหว่างที่พระองค์ทรงมีพระชนม์ชีพนี้ จะสร้างปูชนียวัตถุ หรือปูชนียสถานขึ้น เป็นที่ระลึกถึงพระองค์ได้หรือไม่"
    พระพุทธองค์ตรัสว่า "ยังไม่ควร ควรทำต่อเมื่อตถาคตปรินิพพานแล้ว ส่วนรูปเคารพก็ไม่ควรจะทำเวลานี้เหมือนกัน"
    ครั้นแล้วพระพุทธองค์ทรงแนะนำว่า


    " ต้นโพธิ์ เป็นต้นไม้ตรัสรู้ของบรรดาพระพุทธเจ้าทั้งหลายนั่นเอง
    ที่ควรแก่การถือเอาเป็นที่น้อมจิตระลึกถึง
    ไม่ว่าจะเป็นที่ยืนต้นอยู่ หรือตายแล้ว ก็ควรแก่การนี้ทั้งสิ้น"

    ...
    ...ด้วยเหตุนี้พระอานนท์จึงกราบทูลขออนุญาตที่จะไปนำเมล็ดโพธิ์จากต้นที่ตรัสรู้ มาปลูกไว้ที่หน้าประตูทางเข้ามหาวิหาร พระพุทธองค์ทรงประทานพระพุทธานุญาต

    ......พระอานนท์ จึงนำความมาแจ้งแก่อนาถบิณฑิกเศรษฐีและนางวิสาขา กราบทูลให้พระเจ้าปเสนทิโกศลกษัตริย์แห่งสาวัตถีให้ทรงทราบด้วย พร้อมกับขอให้พระโมคคัลลานะไปนำเมล็ดโพธิ์จากต้นตรัสรู้... พระโมคคัลลานะก็ไปนำมาด้วยฤทธิ์ โดยใช้จีวรรองรับลูกโพธิ์ที่หล่นจากต้น นำกลับไปมอบให้พระอานนท์... ทีแรกประสงค์จะให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงเพาะเมล็ดและปลูกเอง แต่พระองค์ทรงปฏิเสธ..... โดยอ้างว่า การเป็นราชามหากษัตริย์เป็นของไม่เที่ยง หาควรที่จะได้รับเกียรติยศอันนี้ไม่.... และทรงแนะนำว่าบุคคลที่คู่ควรแก่เกียรติยศที่จะเป็นผู้เพาะเมล็ดโพธิ์ครั้งแรกนี้ คือ อนาถบิณฑิกเศรษฐี..... ทุกคนเห็นพ้องต้องกัน อนาถบิณฑิกเศรษฐีจึงจัดพิธีเพาะเมล็ดโพธิ์ลงที่หน้าประตูมหาวิหาร พระพุทธองค์เสด็จมาในงานนี้ และทรงเข้าสมาธิที่ตรงนั้นทั้งคืน ต้นโพธิ์ต้นนั้น จึงเรียกว่า โพธิ์พระอานนท์ หรือ อานันทโพธิ์...


    ....ปัจจุบันนี้ดูเหมือนอานันทโพธิ์นี้จะอยู่เกือบกึ่งกลางของบริเวณมหาวิหารค่ะ..คงมีการปรับที่กันบ้างตามกาลเวลที่เปลี่ยนไป..ต้นโพธิ์ถูกสร้างไม้ค้ำยันไว้หลายจุด..เพื่อประคองกิ่งก้านใหญ่มิให้หักโค่นลงมา..และจะได้คงค้นไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาต่อไป..ระหว่างที่คณะจาริกสวดมนต์และเดินทักษิณาวัตรรอบต้นโพธิ์..

    ....ซึ่งในทุกครั้งที่ได้มา ณ ต้นอานันทโพธิ์นี้ เสมือนได้กลับมาเฝ้าพระพุทธองค์และเหล่าพระอรหันตสาวกค่ะ..บทสวดมนต์จึงกระท่อนกระแท่นเต็มทน..เพราะก้อนสะอื้นมาอยู่ที่คอ..แลเห็นหลายคนมีอาการอย่างเดียวกัน.....
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • P1020108.JPG
      P1020108.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.2 MB
      เปิดดู:
      93
    • P1020109.JPG
      P1020109.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.1 MB
      เปิดดู:
      95
    • P1020106.JPG
      P1020106.JPG
      ขนาดไฟล์:
      2.1 MB
      เปิดดู:
      83
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2010
  8. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ต้นพระศรีมหาโพธิ์ เป็นต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนา

    [​IMG]




    ต้นพระศรีมหาโพธิ์


    เป็นต้นไม้สำคัญในพระพุทธศาสนา เพราะเป็นต้นไม้ที่ประทับและตรัสรู้สัมโพธิญาณของ พระพุทธเจ้า


    ดังปรากฏในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาว่าต้นโพธิ์เปรียบได้กับพุทธ อุเทสิกเจดีย์อย่างหนึ่ง ทำให้พันธ์ต้นโพธิ์กลายเป็นพันธ์ไม้ที่เป็นที่เคารพนับถือของชาวพุทธเสมอมานับแต่ สมัยพุทธกาล



    [​IMG]



    ต้นโพธิ์ในพระพุทธประวัติสองต้นคือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ณ พุทธคยา สถานที่ตรัสรู้ และ ต้นอานันทโพธิ์ ณ วัดเชตวันมหาวิหาร ซึ่งอานันทโพธิ์ยังคงยืนต้นมาจนถึงปัจจุบัน โดยคำว่า "ต้นพระศรีมหาโพธิ์" นั้น อาจหมายถึงต้นที่อยู่ที่พุทธคยา ต้นโพธิ์ที่สืบมาจากหน่อโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา หรือต้นโพธิ์ที่เป็นอุเทสิกเจดีย์อื่น ๆ ก็ได้ เช่น ต้นโพธิ์ตามวัดต่าง ๆ


    [​IMG]


    ในปัจจุบันต้นพระศรีโพธิ์สำคัญที่ยังคงยืนต้นอยู่ในปัจจุบันมี ๓ ต้นด้วยกัน คือ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ที่พุทธคยา, ต้นพระศรีมหาโพธิ์เมืองอนุราธปุระ, และต้นอานันทโพธิ์วัดพระเชตวันมหาวิหาร





    แต่ต้นโพธิ์พระเจ้าอโศกแห่งเมืองอนุราธปุระ ที่นำหน่อพันธ์มาจากพุทธคยา ได้รับการเคารพนับถือและปฏิบัติบูชาด้วยความเคารพอย่างสูงมาตลอดตั้งแต่สองพันปีโดยไม่ขาดช่วง มีการทำกำแพงทองคำและมีชาวพุทธผู้ศรัทธามาทำการสักการะตลอดเวลา ซึ่งต่างจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่พุทธคยาที่ถูกทำลายและล้มลงตามธรรมชาติหลายครั้ง และต้นอานันทโพธิ์ที่วัดเชตวันที่ขาดช่วงการดูแลจากชาวพุทธหลังจากพระพุทธศาสนาเสื่อมไปจากอินเดีย


    <SUP></SUP>
    <SUP></SUP>
    <SUP>[​IMG]</SUP>
    <SUP></SUP>
    <SUP>​
    </SUP>
    แม้ในประเทศไทย จะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับต้นพระศรีมหาโพธิ์เท่ากับชาวพุทธในศรีลังกา แต่ปรากฏตามความเชื่อในประเทศไทยว่า ต้นพระศรีมหาโพธิ์ ที่พุทธคยา เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำปีเกิดสำหรับผู้ที่เกิดปีมะเส็ง



    สำหรับชาวล้านนายังมีความเชื่ออีกว่า ต้นโพธิ์เป็นไม้ศักดิ์สิทธิ์ช่วยขจัดความทุกข์ได้ จึงมีประเพณีถวายไม้ค้ำโพธิ์ และเครื่องประกอบพิธีกรรม ใต้ต้นโพธิ์ โดยผูกคติกับความเชื่อเรื่องสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งไม่ใช่ความหมายเดิมของการบูชาต้นพระศรีมหาโพธิ์ตามคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา


    [​IMG]

    อย่างไรก็ตามต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่สืบหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ในประเทศไทยยังคงมีอยู่หลายต้น เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่วัดต้นศรีมหาโพธิ์ (ที่เชื่อว่านำเข้ามาปลูกสมัยทวาราวดี), วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดเบญจมบพิตร (ปลูกในสมัยรัชกาลที่ 5) เป็นต้น


    [​IMG]


    แม้การทำลายต้นโพธิ์
    ตามคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจะระบุว่า
    เป็นการทำบาปและหลบหลู่พระรัตนตรัย


    แต่ในมหาสมณวินิจฉัย ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส กล่าวว่าเฉพาะต้นโพธิ์ที่เป็นอุทเทสิกเจดีย์เท่านั้น ต้นโพธิ์ที่งอกทั่วไปและไม่ได้เป็นอุเทสิกาเจดีย์ คือไม่มีผู้เคารพบูชาในฐานะตัวแทนของพระพุทธเจ้า (เช่นเดียวกับพระพุทธรูป)


    [​IMG]


    อนุโมทนาที่มาข้อมูล : จากวิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี
    อนุโมทนาภาพประกอบ : จากอินเตอร์เน็ต
     
  9. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ทุกๆ ใบโพธิ์ มีเทวดาสถิตรักษา

    [​IMG]

    นะโมฯ
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ทวารัตตะเยนะ กะตัง
    สัพพัง อะปะราธัง ขะมะถะ เม ภันเต อุกาสะ ขะมามิ ภันเต

    <O:p</O:p


    ด้วยคุณธรรมความดีงามที่ได้สั่งสมมา
    ตั้งแต่ปฐมชาติ อดีตชาติ ตราบปัจจุบันวันนี้

    หากข้าพระพุทธเจ้า ได้เคยประมาทพลาดพลั้ง ล่วงเกินต่อพระรัตนตรัย
    อันมีพระพุทธเจ้าทุกๆพระองค์ พระปัจเจกพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ พระธรรม
    พระอริยะสงฆ์ พระสาวกพระสาวิกา พระเถระพระเถรี
    ตลอดจนพ่อเกิดแม่เกิด ผู้มีพระคุณ ผู้มีพระคุณผู้สูงชาติ
    ผู้สงเคราะห์โลกพิทักษ์ธรรม เจ้ากรรมนายเวร เจ้าบุญนายคุณ

    และสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายใน ๓ แดนโลกแสนโกฐจักรวาลอนันตจักรวาล
    ไม่ว่าจะด้วยกาย วาจา ใจ เจตนาหรือไม่ได้เจตนา
    ระลึกได้ระลึกไม่ได้ รู้เท่าไม่ถึงการณ์

    ข้าพระพุทธเจ้าขอสมาลาโทษท่านทั้งหลาย มา ณ โอกาสนี้
    และขอทุกๆ ท่านได้โปรดเมตตาอโหสิกรรมแก่ข้าพระพุทธเจ้านับแต่นี้ไป
    เพื่อการสำรวมระวังในการต่อไป ฯ

    <!-- google_ad_section_end -->

    [​IMG]


    ด้วยได้รับคำสั่งสอนจากครูบาอาจารย์ นักหนาว่า
    ต้นโพธิ์ มีความสำคัญ มีความหมายเสมือนองค์แทนพระพุทธองค์
    ทุกๆ ใบโพธิ์ มีเทพไท้ รุกขเทวดาสถิตรักษาด้วยนะ
    <!-- google_ad_section_start(weight=ignore) -->​
     
  10. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระศรีมหาโพธิ์-ตรัสรู้

    [​IMG]


    พระพุทธพจน์

    “ดูกรอานนท์ สถานที่ที่ชนผู้มีความเชื่อและเลื่อมใส
    ควรจะรู้ควรจะเห็นและชวนให้เกิดความสังเวชสลดใจคือ
    สถานที่พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ”


    [​IMG]


    โพธิ
    Ficus religiosa Linn


    ต้นโพธิ ลังกาเรียก "Po Tree" ชาวฮินดูเรียก "Pipal" หรือ "Bodhi Tree" เป็นไม้ที่มีความสำคัญทางพระพุทธศาสนาอย่างยิ่งอีกชนิดหนึ่ง ดังความในพุทธประวัติ

    ต้นโพธิ เป็นสหชาติกับพระพุทธเจ้า (สหชาติ หมายถึงบุคคลหรือต้นไม้ที่เกิดขึ้นในวัน เดือน ปี เดียวกันกับพระพุทธเจ้า) ต้นโพธินี้เป็น ๑ ใน ๗ ของสหชาติ

    ปรากฏตามคัมภีร์ว่ามีบุคคล สัตว์ และขุมทองเกิดพร้อมกับพระองค์ ๗ อย่าง คือ
    ๑. พระนางยโสธรา
    ๒. พระอานนท์
    ๓. อำมาตย์กาฬุทายี
    ๔. นายฉันนะ
    ๕. ม้ากัณฐกะ
    ๖. ไม้มหาโพธิ
    ๗. ขุมทองทั้ง ๔

    อนุโมทนาที่มาข้อมูล : http://www.rspg.or.th/homklindokmai/budhabot/pho.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 พฤษภาคม 2010
  11. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    ประวัติต้นพระศรีมหาโพธิ์

    [​IMG]

    พระศรีมหาโพธิต้นที่ ๑


    ณ เพ็ญวิสาขมาสกลางเดือน ๖ ก่อนพุทธเศษ ๘๐ ปี เป็นวันที่เจ้าชายสิทธัตถะ ประสูติจากพระครรภ์ของพระนางเจ้าสิริมหามายานั้น ปรากฏตามคัมภีร์ว่ามีบุคคล สัตว์ และขุมทองเกิดพร้อมกับพระองค์ ๗ อย่าง

    นับตั้งแต่เจ้าชายสิทธัตถะราชกุมาร ได้ประสูติจากพระครรภ์ของพระมารดาทรงเจริญวัยจนถึงอายุ ๒๙ พรรษาพระองค์ได้รับปรนนิบัติจากพระราชบิดาเป็นอย่างดี ทั้งนี้พระราชบิดา ทรงพระประสงค์จะป้องกันมิให้พระราชโอรสหนีออกทรงผนวชตามคำทำนายของอสิตดาบส และโกณทัญญะพราหมณ์ แต่แล้วสิ่งต่าง ๆ ที่พระราชบิดาปรนเปรอ ก็มิสามารถที่จะเหนี่ยวรั้งพระองค์ให้อยู่ครองฆราวาสอีกต่อไปได้
    ณ ราตรีแห่งวันนั้น พระองค์พร้อมด้วยนายฉันนะและม้ากัณฐกะคู่สหาย ได้เสด็จออกจากพระราชวัง บ่ายหน้าไปยังฝั่งแม่น้ำอโนมานที ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ชัย ทรงอธิษฐานเพศเป็นบรรพชิตแล้วศึกษาจากสำนักอาฬารดาบสและอุทกดาบสจนจบภูมิ

    เมื่อพระองค์ทรงศึกษาเห็นว่าไม่เป็นทางตรัสรู้ พระองค์จึงลาครูทั้งสองมุ่งตรงไปยังคยาสีสะประเทศ พักอยู่ที่คยาสีละชั่วระยะหนึ่ง จึงเสด็จมุ่งตรงไปยังอุรุเวลาเสนานิคม และเริ่มบำเพ็ญทุกรกิริยาที่นั้น ทรงอาศัยแม่น้ำเนรัญชราและโมหนีเป็นที่อาบและดื่ม

    เมื่อพระองค์เห็นว่าไม่เป็นทางตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ พระองค์จึงทรงหันมาบำเพ็ญเพียรทางใจโดยเริ่มเสวยพระกระยาหาร ณ วันเพ็ญวิสาขมาส กลางเดือน ๖ นั่นเอง ตอนเช้า พระองค์ทรงรับข้าวมธุปายาสจากนางสุชาดาแล้วเสด็จมุ่งหน้าไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชราซึ่งอยู่ตรงข้ามกับต้นพระศรีมหาโพธิ เสด็จสรงสนานพระวรกายแล้วเสด็จกลับมาประทับ ณ ภายใต้ต้นไม้เพื่อเสวยพระกระยาหาร เสร็จจากเสวยพระกระยาหาร แล้วเสด็จลงไปยังฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ทรงทำการอธิษฐานลอยถาดว่า


    “ถ้าหากข้าพเจ้าจะได้บรรลุ
    อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วไซร้
    ขอให้ถาดทองคำใบนี้จงลอยทวนกระแสน้ำ”


    ทันใดนั้น ถาดทองคำก็ลอยทวนกระแสน้ำไปได้ประมาณ ๘๐ ศอก และไปหยุดจมลงในเส้นดิ่งตรงกับต้นพระศรีมหาโพธิที่ตรัสรู้พอดีดังคำอธิษฐาน

    พระองค์ทรงดีพระทัยเป็นยิ่งนัก และพระองค์ได้เสด็จประทับอยู่ ณ บริเวณแถวนั้นจนเวลาบ่ายและเย็น แล้วจึงเสด็จข้ามแม่น้ำเนรัญชราไปยังแดนมหาโพธิ์ ทรงรับหญ้ากุสะ ๘ กำมือ จากโสตถิยพราหมณ์แล้วเสด็จตรงไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ ทรงลาดหญ้ากุสล ๘ กำมือนั้นทำเป็นที่ประทับนั่ง พร้อมกับทรงอธิษฐานจิตว่า


    “ถึงเลือดและเนื้อจะเหือดแห้งไป
    จะยังคงเหลืออยู่แต่เพียงหนัง เส้นเอ็น และกระดูกตามที
    หากข้าพเจ้ายังมิได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วไซร้
    ข้าพเจ้าจะมิยอมลุกขึ้นจากรัตนบัลลังก์นี้”



    ณ คืนวันเพ็ญวิสาขมาส พระองค์ก็ได้ตรัสรู้ญาณทั้ง ๓ ตั้งแต่ปฐมยาม มัชฌิมยาม ปัจฉิมยามโดยลำดับในเวลาปัจจุสมัยใกล้สว่าง พระองค์ก็ได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ณ ภายใต้ร่ม อัสสัตถพฤกษ์ (พระศรีมหาโพธิ) นั้นเอง



    [​IMG]





    ต้นโพธิ์ต้นนี้ ต่อมาได้นามว่า พระศรีมหาโพธิ มีอายุได้ประมาณ ๓๕๒ ปี ก็ได้ถูกพระมเหสี องค์ที่ ๔ ของพระเจ้าอโศกมหาราช พระนามว่า มหีสุนทรี หรือพระนางติสสรักษิตา ใช้นางสาวใช้นามว่า นครา เอายาพิษและน้ำร้อนซ่อนใส่ภาชนะไปรดที่โคนต้นโพธิ์ ด้วยมีจิตริษยาในต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ มีเรื่องเล่าโดยย่อว่า


    [​IMG]


    หลังจากที่พระเจ้าอโศกมหาราชนับถือพระพุทธศาสนาแล้ว พระองค์ทรงศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ได้นิมนต์ให้พระอุปคุตตอรหันต์ ชี้แจงชักนำถึงหลักสำคัญในพระพุทธศาสนาเพื่อที่จะปลดเปลื้องบาปกรรมต่าง ๆ ที่พระองค์ได้ทรงกระทำไวัแต่อดีตหนหลัง พระองค์ได้ทรงสร้างพระเจดีย์ถึง ๘๔,๐๐๐ พระองค์ พร้อมด้วยเสาศิลาจารึกปักไว้เป็นเครื่องกำหนดหมาย เพื่อให้อนุชนรุ่นหลังได้ทราบว่า ณ สถานที่นี้ ๆ เป็นสาถนที่พระตถาคตเจ้าประสูติ ตรัสรู้ แสดงพระธรรมเทศนา เสด็จดับขันธปรินิพพาน เป็นต้น



    [​IMG]



    และปรากฏว่า พระองค์ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในสถานที่ตรัสรู้ มหาโพธิ เป็นอย่างยิ่งกว่าแห่งอื่น บางครั้งพระองค์ถึงกับทรงมอบพระราชสมบัติให้พวกเสนามาตย์ดูแลรักษาราชกิจแทนพระองค์เป็นเวลา ๑ สัปดาห์ บ้าง ๒ สัปดาห์บ้าง หนักเข้าจนกลายเป็นแรมเดือน



    [​IMG]



    การที่พระองค์ได้ทรงใช้เวลาไปสนใจต่อพระศรีมหาโพธิมากกว่าการสนใจต่อพระอัครมเหสีทั้งสี่พระองค์จึงเป็นเหตุให้พระอัครมเหสีองค์หนึ่งพระนามว่า มหีสุนทรี น้อยพระทัย คิดหาทางที่จะเอาชนะน้ำใจพระราชสวามีและต้นพระศรีมหาโพธิให้จงได้ ระยะแรก พระนางได้ทรงส่งพระราชสารมอบให้นางสาวใช้ชื่อ นครา นำไปถวายพระเจ้าอโศกมหาราช เพื่อทูลเชิญเสด็จกลับสู่พระราชวังโดยด่วน


    แต่พระองค์ก็มิได้สนใจต่อพระราชสารของพระนางเลยแม้แต่น้อย พระองค์กลับเสด็จลงเจริญกรรมฐาน ณ ภายใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ การกระทำของพระองค์คราวนี้ยิ่งทำให้นางนคราสาวใช้นึกพิโรธ จึงรีบกลับมาทูลความแก่พระมหีสุนทรีทุกประการ



    [​IMG]


    ฝ่ายมหีสุนทรีได้ทราบเรื่องราวเป็นเช่นนั้น ก็ยิ่งโทมนัสใจเป็นยิ่งนักจึงคิดหาทางที่จะทำลายต้นพระศรีมหาโพธิให้จงได้ด้วยแรงจิตริษยาเป็นทวีคูณพระนางจึงได้ให้นางนคราสาวใช้นำยาพิษและน้ำร้อนใส่ภาชนะปกปิด ซ่อนเร้นมิให้พระเจ้าอโศกมหาราชทรงเห็น


    ครั้นถึงต้นพระศรีมหาโพธิแล้ว ก็ทำประหนึ่งว่าสนใจ เลื่อมใสในต้นพระศรีมหาโพธิ ครั้นพอพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงประทับนั่งหลับพระเนตรเจริญพระกรรมฐานอยู่ นางได้โอกาส จึงเอายาพิษผสมกับน้ำร้อนราดลงที่ตรงรากโดยรอบต้นพระศรีมหาโพธิ


    [​IMG]


    จากผลแห่งการกระทำของพระนางโดยทำนองนี้หลายครั้งหลายหน ต้นพระศรีมหาโพธิ ก็เริ่มเหี่ยวแห้งอับเฉาลงทุกที ๆ พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทอดพระเนตรเห็นต้นพระศรีมหาโพธิอับเฉาเหี่ยวแห้งลงอย่างผิดสังเกตเช่นนั้น ทรงสำคัญว่า คงจะเป็นเพราะอกุศลผลวิบากแห่งกรรมที่พระองค์ได้ทรงกระทำไว้แต่ปางหลังหรือกระมังหนอ จึงบันดาลให้ต้นพระศรีมหาโพธิต้องเหี่ยวแห้งอับเฉาไม่เจริญงอกงามเลย พระองค์ทรงจินตนาการไปก็ยิ่งโทมนัส จึงเสด็จนิวัตกลับพระราชวังโดยด่วน


    เพราะความโทมนัสที่เกิดแก่พระเจ้าอโศกมหาราชครั้งนี้ใหญ่หลวงนัก พระองค์ไม่สามารถจะหักห้ามความโทมนัสในต้นพระศรีมหาโพธินี้ลงได้ ณ คืนวันหนึ่ง พระองค์เสด็จลงไปในพระราชอุทยานสวนหลงแต่พระองค์เดียว ทรงรำลึกถึงต้นพระศรีมหาโพธิอยู่เรื่อยมามิสร่างเลย และในที่สุดพระองค์ประชวรเป็นลมล้มลง


    ฝ่ายพระนางมหีสุนทรี ผู้คอยเฝ้าจับตาดูการเคลื่อนไหวของพระสวามีอยู่ทุกระยะ โดยมิได้คลาดจากสายตาพระนางไปได้ เมื่อได้เห็นพระราชสวามีประชวรเป็นลมล้มลงเช่นนั้น จึงรีบเข้าไปประคองร่างของพระเจ้าอโศกมหาราชทันที พระนางได้ทำการปฐมพยาบาลจนพระองค์หายฟื้นคืนพระสติ


    เมื่อพระนางเห็นว่าพระองค์ฟื้นคืนสติมาดีแล้วพระนางจึงคิดว่าหากแม้นว่าเราไม่ทูลเรื่องราวความจริงทั้งหมดให้พระองค์ทรงทราบแล้ว เห็นทีว่าพระองค์จักต้องสวรรคตเป็นแน่แท้ จำเราจะทูลความจริงเรื่องนี้ให้พระองค์ทรงทราบเสีย ดีกว่าที่จะนิ่งเก็บเอาความจริงไว้ในใจ พระนางจึงได้เรียกนาง นครา สาวใช้มาเล่าความจริงตั้งแต่ต้นจนตลอด



    [​IMG]


    พระเจ้าอโศกมหาราช ครั้นได้ทรงฟังและทราบเรื่องราวความเป็นจริงเช่นนั้นพระองค์ทรงคลายความโทมนัสใจเสียได้กลับได้ความชื่นชมโสมนัสปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ในวันรุ่งขึ้นพระองค์พร้อมด้วยทหารนำภาชนะอันเต็มด้วยนมโคบริสุทธิ์ถึง ๑๐๐ ตัว มุ่งหน้าไปยังต้นพระศรีมหาโพธิ ครั้นถึงต้นพระศรีมหาโพธิแล้ว พระองค์จึงรีบสั่งให้ชำระแผ้วถางทำความสะอาดโคนต้นพระศรีมหาโพธิโดยเรียบร้อยอย่างดี ทรงหลั่งน้ำนมรดลงที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิพร้อมทั้งกับตั้งจิตอธิษฐานว่า​


    “ตราบใดที่หน่อแห่งต้นพระศรีมหาโพธิยังไม่งอกขึ้น
    ตราบนั้นข้าพเจ้าจะมิยอมจากต้นพระศรีมหาโพธินี้ไปเป็นแน่แท้

    แม้ชีวิตของข้าพเจ้าจักวอดวายตายลงไป
    ข้าพเจ้าก็จะยอมตายถวายชีวิต
    เพื่อบูชาต้นพระศรีมหาโพธิแต่อย่างเดียว”


    พระองค์ทรงหมอบพระวรกายลงแทบพื้นพสุธาอยู่ ณ โคนพระศรีมหาโพธินั้นนั่นแล​



    [​IMG]



    ด้วยสัจจวาจากิริยาธิษฐานของพระองค์ เพียงไม่กี่วันต้นพระศรีมหาโพธิที่แห้งเหี่ยวตายไปแล้วนานวันกลับมีหน่อน้อยงอกขึ้นที่โคนต้นพระศรีมหาโพธิอย่างอัศจรรย์ยิ่ง พระเจ้าอโศกมหาราชได้ทอดพระเนตรเห็นดังนั้นจึงมีพระราชหฤทัยเต็มเปี่ยมไปด้วยโสมนัส รับสั่งให้ทหารทำกำแพงแวดล้อมพระศรีมหาโพธิอย่างแข็งแรง เพื่อป้องกันบุคคลภายนอกและอันตรายต่าง ๆ อันจะพึงเกิดขึ้นแก่ต้นพระศรีมหาโพธิอีกต่อไป รวมอายุต้นพระศรีมหาโพธิต้นนี้ประมาณ ๓๕๒ ปี



    [​IMG]
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2010
  12. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระศรีมหาโพธิ ต้นที่ ๒

    [​IMG]


    พระศรีมหาโพธิ ต้นที่ ๒

    หน่อต้นพระศรีมหาโพธิ ได้เจริญเติบโตสืบต่อจากต้นที่ ๑ มาโดยลำดับ จนถึง ค.ศ. ๖๐๐ - ๖๒๐ กษัตริย์ชาวฮินดูแห่งแคว้นเบงกอล พระนามว่า สาสังกา ผู้ประกาศตนเป็นอิสระไม่ประสงค์จะเป็นเมืองขึ้นต่อพระเจ้ามคธพระนามว่า ปุรณวรมา อีกต่อไป จึงได้กรีธาทัพมุ่งหน้าตรงไปยังดินแดนแห่งต้นพระศรีมหาโพธิทันที ด้วยหมายใจที่จะทำลายขวัญของกษัตริย์และประชาชนให้เสียไปในขั้นแรกก่อน แล้วจึงค่อยยกทัพย้อนเข้ามาตีเมืองหลวงในขั้นต่อไปในภายหลัง ทั้งนี้ ก็เพราะต้นพระศรีมหาโพธิต้นที่ ๒ นี้ กลายเป็นต้นไม้ที่ชาวพุทธเคารพนับถือกราบไหว้บูชากันมากมายไปทั่วดินแดนแห่งนี้ ทำให้การขยายตัวทางพุทธศาสนากว้างมากขึ้น เพราะในสมัยนั้นปรากฏว่า ศาสนาฮินดูได้อับเฉาเสื่อมสลายตัวลงจนแทบจะไม่มีร่องรอยเหลืออยู่เลย


    เมื่อกษัตริย์ชาวฮินดูได้เข้ายึดต้นพระศรีมหาโพธิได้สมพระทัยแล้ว จึงได้รับสั่งให้ทหารในกองทัพเริ่มระรานกิ่งก้านสาขาตัดต้นก่นรากพระศรีมหาโพธิ จนหมดสิ้นมิให้เหลืออยู่แม้แต่น้อย รากต้นพระศรีมหาโพธิจะ เลื้อยชอนไชในทิศทางใดพระองค์ก็รับสั่งให้ขุดรากนั้น ๆ ออกเสียจนหมดสิ้น ใช่แต่เท่านั้น พระองค์ยังรับสั่งให้เอาฟางอ้อยต่างเชื้อเพลิงวางสุมที่ตอแห่งต้นพระศรีมหาโพธิ แล้วราดน้ำมันจุดไฟเผา ด้วยประสงค์จะมิให้หน่อแห่งต้นพระศรีมหาโพธิได้มีโอกาสงอกขึ้นอีกเลย



    [​IMG]



    ครั้นแล้วพระองค์พร้อมด้วยหมู่ทหาร ก็ได้เข้าไปยังพระมหาวิหาร แล้วตรัสสั่งให้เสนาบดีนำพระพุทธปฏิมาปางมารวิชัย เนื้อหินทรายออกไปจากมหาวิหาร แต่เผอิญเสนาบดีเป็นผู้มีศรัทธาเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า คิดว่าถ้ามาตรแม้นเราจะนำพระพุทธรูปองค์นี้ออกไปเสียจากวิหารแล้วไซร้ ก็เกรงกลัวว่าจะเกิดไม่ทันศาสนาพระศรีอาริย์ แต่ถ้าเราไม่นำออกไปตามพระบัญชา เราก็จะต้องถูกประหารชีวิตโดยไม่ต้องสงสัย ทันใดนั้น ความคิดอย่างหนึ่งก็ได้เกิดขึ้นมาแล้วกราบทูลแด่พระราชาว่า พระพุทธรูปองค์นี้ใหญ่โตมากยากที่จะนำออกไปในวันนี้ได้ ข้าพระองค์ใคร่ขอโอกาสสัก ๗ วัน เพื่อหาทางนำพระพุทธรูปองค์นี้ออกไปจากพระวิหารให้จงได้ พระเจ้าสาสังกาจึงตกลงพระทัยยอมให้ปฏิบัติตามคำขอร้องของเสนาบดี ฝ่ายเสนาบดี ครั้นให้คำมั่นสัญญาเรียบร้อยแล้ว จึงได้เริ่มแผนการตามที่ตนคิดไว้ในใจ โดยใช้แผ่นอิฐมาก่อเป็นกำแพงกั้นพระพุทธรูปไว้อย่างมิดชิด พร้อมกับตั้งประทีปโคมไฟบูชาไว้ภายในกำแพงที่กั้นปิดไว้


    ครั้นครบ ๗ วันจึงกราบทูลพระราชาว่า บัดนี้เกล้ากระหม่อมฉันได้จัดการนำพระพุทธรูปออกไปจากพระมหาวิหารแล้ว พระเจ้าสาสังกา พอได้สดับคำเช่นนั้น แทนที่พระองค์จะยินดีปรีดาเพราะความปรารถนาของพระองค์สำเร็จแล้ว แต่พระองค์กลับเสียพระทัย ถึงกับลงพระโลหิตและล้มลงต่อหน้าหมู่ทหารและสวรรคต ณ สถานที่นั้นเอง ในขณะที่กองทัพพระเจ้าสาสังกา รอทัพอยู่ ณ พุทธคยานั้นนั่งเอง กษัตริย์ชาวมคธนามว่า ปูรณวรมา ได้เสด็จยกทัพมาถึงพอดี ฝ่ายพวกกองทัพของพระเจ้าสาสังกาซึ่งต่างอกสั่นขวัญหนีอยู่ก่อนแล้วก็ยิ่งเสียขวัญ ต่างแยกย้ายหนีเอาตัวรอดไปคนละทิศละทาง


    พระเจ้าปูรณวรมา เมื่อได้เห็นเหล่าทหารของพระเจ้าสาสังกาแตกทัพหนีไป พระองค์ได้เข้ายึดดินแดนแห่งพุทธคยาไว้ในเงื้อมมืออย่างง่ายดายตามเดิม พระองค์ได้ตรวจดูบริเวณสถานที่พุทธคยา ว่าจะมีสิ่งใดเสียหายบ้าง ครั้นได้เห็นต้นพระศรีมหาโพธิถูกทำลายลงย่อยยับจนไม่มีอะไรเหลืออยู่เลย พระองค์ทรงเสียดายต้นพระศรีมหาโพธิเป็นอย่างยิ่ง จึงรับสั่งให้ทหารพร้อมด้วยชาวบ้านร่วมกันไปรีดน้ำนมวัวได้ ๑,๐๐๐ ตัว ครั้นได้น้ำนมมาแล้ว พระองค์จึงทรงตั้งจิตอธิษฐานรดน้ำมนมนั้นลงตรงบริเวณหลุมต้นพระศรีมหาโพธิต้นเก่าโดยรอบว่า ถ้ามาตรแม้นหน่อแห่งต้นพระศรีมหาโพธิยังไม่งอกขึ้นตราบใดข้าพเจ้าก็จักไม่ยอมจากไปจากสถานที่นี้ โดยตราบนั้น


    ข้าพเจ้าขอยอมถวายชีวิต
    เพื่อบูชาอุทิศต่อพระศรีมหาโพธิตลอดชั่วลมปราณ


    [​IMG]

    ด้วยสัจจวาจากิริยาธิษฐานของพระองค์นี้นี่แลหน่อน้อยที่ ๓ ของต้นพระศรีมหาโพธิก็งอกขึ้นมาอย่างอัศจรรย์ พระองค์เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นหน่อน้อยงอกขึ้นมา ก็เกิดปีติโสมนัส จึงจัดการสร้างกำแพงล้อมต้นพระศรีมหาโพธินั้นไว้เพื่อป้องกันมิให้ศัตรูเข้ามาทำลายได้อีกต่อไป ต้นพระศรีมหาโพธิต้นที่ ๒ นี้มีอายุได้ ๘๗๑ ปี ถึง ๘๙๑ ปี
     
  13. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    พระศรีมหาโพธิ ต้นที่ ๓ / ต้นที่ ๔

    [​IMG]


    พระศรีมหาโพธิ ต้นที่ ๓

    ต้นพระศรีมหาโพธิต้นที่ ๓ นี้ ได้มีอายุเจริญงอกงามมาจนถึง พ.ศ. ๒๔๒๑ และในปีนั้นเอง ท่านนายพลเซอร์คั่นนิ่งแฮม (ชาวอังกฤษ) ได้เดินทางมาสู่พุทธคยา ครั้งที่ ๓ ได้เห็นต้นศรีมหาโพธิล้มลงไปทางทิศตะวันตก ท่านนายพลได้บันทึกไว้ดังนี้ว่า “ในปี พ.ศ. ๒๔๑๕ ข้าพเจ้าได้เดินทางสู่พุทธคยา ได้เห็นต้นพระศรีมหาโพธิแก่ชรามาก และ พ.ศ. ๒๔๑๘ ข้าพเจ้าได้มาเยี่ยมพุทธคยาอีกเป็นครั้งที่ ๒ ได้พบว่าต้นพระศรีมหาโพธิแก่โทรมลงมากอาจตายในไม่ช้า ทั้งถูกประชาชนในบริเวณนั้นติดกิ่งก้านไปทำเป็นเชื้อเพลิง” และในปี พ.ศ. ๒๔๒๑ นั่นเอง เมื่อท่านนายพลได้มีโอกาสไปพุทธคยาอีก ปรากฏว่าต้นพระศรีมหาโพธิได้ถูกลมพายุพัดล้มลงไปทางทิศตะวันตกของมหาวิหาร ต้นพระศรีมหาโพธิต้นที่ ๓ นี้มีอายุได้ประมาณ ๑๒๕๘ ถึง ๑๒๗๘



    [​IMG]



    พระศรีมหาโพธิต้นที่ ๔ (ต้นปัจจุบัน)

    ภายหลังจากที่ท่านนายพลเซอร์คันนิ่งแฮม ผู้เชี่ยวชาญทางโบราณคดีของอังกฤษ ได้เห็นต้นพระศรีมหาโพธิต้นที่ ๓ ถูกพายุโค่นล้มตายเช่นนั้น ท่านนายพลเซอร์คั่นนิ่งแฮม จึงได้หาเมล็ดต้นพระศรีมหาโพธิต้นนั้นเป็นจำนวนมาก แต่ในขณะที่กำลังหาเมล็ดอยู่นั้นได้พบหน่อพระศรีมหาโพธิ ๒ หน่อ หน่อหนึ่งขึ้นสูงประมาณ ๖ นิ้วฟุต ส่วนอีกหน่อหนึ่งนั้นสูงประมาณ ๔ นิ้วฟุต จึงขออนุญาตจากเจ้าหน้าที่รัฐบาลผู้ดูแลทำการขุดต้นเก่าออกทิ้งไป แล้วนำต้นใหม่ที่สูงประมาณ ๖ นิ้วฟุตลงมาปลูกแทนที่ ส่วนอีกต้นหนึ่งได้นำไปปลูกไว้ในที่ไม่ไกลจากต้นเดิมทางตะวันออกเฉียงเหนือ ท่านนายพลเข้าใจว่าสถานที่ท่านนำต้นพระศรีมหาโพธิต้นหลังไปปลูกนั้นเป็นสถานที่ที่พระตถาคตเสด็จประทับยืนทอดพระเนตรจ้องดูต้นพระศรีมหาโพธิที่พระองค์ตรัสรู้ตลอด ๗ วัน ที่พวกเรานิยมเรียกกันว่า อนิมิสเจดีย์ แต่ความเห็นนี้ไม่ตรงตามพระบาลีและคนส่วนมากเข้าใจกัน เพราะตามพระบาลีนั้นกล่าวไว้ว่าอนิมิสเจีย์ อยู่ทางทิศตะวันออกของต้นพระศรีมหาโพธิ ต้นพระศรีมหาโพธิต้นที่ ๔ ซึ่งกำลังกล่าวอยู่นี้ท่านนายพลได้ทำการปลูกเมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๓ สิริรวมอายุจนถึงปัจจุบัน (๒๕๕๓) นี้ได้ ๑๓๐ ปี



    ความศรัทธาในต้นพระศรีมหาโพธิ

    แม้ว่าต้นพระศรีมหาโพธิต้นปัจจุบันนี้จะเป็นหน่อที่ ๔ และมีอายุเพียง ๑๐๐ ปี ก็ตาม แต่ก็เป็นที่ตั้งแห่งศรัทธาของพุทธศาสนิกชน ที่ได้ไปนมัสการให้เกิดศรัทธาปสาทะโดยไม่เสื่อมคลายเลย ต่างเก็บใบและเปลือกนำไปบูชาสักการะ ณ สถานที่แห่งตน ๆ เพื่อให้เกิดผลเป็น พุทธานุสสติ ธัมมานุสสติ สังฆานุสสติ สืบต่อไป


    อนุโมทนาที่มาข้อมูล : โดย...พระเทพโพธิวิเทศ (ทองยอด ภูลิปาโล) พระศรีมหาโพธิ-ตรัสรู้

    อนุโมทนาภาพประกอบ : จากอินเตอร์เน็ต
     
  14. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    ม. หมุนกงล้อ ..... ธรรมเทศนากัณฑ์แรก

    [​IMG]



    .......ในหนังสือพาแม่เที่ยวอินเดีย..ที่เขียนโดย ดร.พระมหาพัน สุภาจาโร เจ้าอาวาสวัดไทยนาลันทาในปัจจุบัน ได้กล่าวถึง ดร.พระมหาไพเราะ ฐิตสีโล กล่าวเปิดโฉมประตูอินเดียไว้ว่า.....
    ...​

    อินเดีย........... คือแดนดินถิ่นพระเจ้า
    อินเดีย......... มีหลายเผ่าหลายศาสนา
    อินเดีย....... มีแม่น้ำศักดิ์สิทธิ์ชื่อคงคา
    อินเดีย.................... มีภูผาหิมาลัย
    อินเดีย................ คือที่สุดของที่สุด
    อินเดีย......... คือเมืองพุทธอันยิ่งใหญ่
    อินเดีย........ มีสาวสวยกว่าประเทศใด
    อินเดีย.......... ไม่แล้งน้ำใจจึงขอทาน
    อินเดีย.............. คือที่สุดของปัญหา
    อินเดีย..... คือแหล่งภูมิปัญญามหาศาล
    อินเดีย.............คือบ่อเกิดศรัทธาธาร
    อินเดีย...........คือสุสานอู่อารยะธรรม

    .....บทพิสูจน์จะตอบได้ ก็คงต้องเป็นเมื่อถึงวันที่เราเดินทางกลับนะคะ...สำหรับในดินแดนพาราณสีนี้เป็นนครโบราณ แหล่งท่องเที่ยว เมืองแสวงบุญ ชำระบาปของคนทุกระดับชั้น ดังที่ได้พาชมมาแล้วบางส่วนนะคะ....ในหนังสือสู่แดนพระพุทธองค์อินเดีย - เนปาล โดยพระราชรัตนเมธี(ว.ป.วีรยุทฺโธ) ได้อ้างถึงนิเทศธรรมโดย..พระอมตานันนทะ ที่บรรยาย ณ เมืองพาราณสี ปี 2539 ไว้ถึงเสน่ห์ของเมืองพาราณสีว่า....


    ม. เมือง ................. พาราณสีมีชื่อเมืองเป็นอมตะ
    ม. แม่น้ำ ................. คงคาศักดิ์สิทธิ์ ลึกซึ้ง ลึกลับ
    ม. หมาก ................... คำอร่อยมีชื่อมาแต่โบราณ
    ม. ไหม ................. เนื้อดี ชนระดับสูงจึงได้ใช้สอย
    ม.มรณะ........................ ตามแล้วขึ้นสวรรค์ทันที
    ม. มฤคทายวัน .....ป่ากวาง สัญญลักษณ์แห่งอภัยทาน
    ม. มหาโพธิสัตว์ ...... ขุมทรัพย์แห่งขันติของพระเตมีย์
    ม. มหาเทพ ............... สุทธาวาสที่สถิตแห่งศิวเทพ
    ม. หมุนกงล้อ .................... ธรรมเทศนากัณฑ์แรก
    ม. มหาปรินิพพาน ..... ถูกเสนอชื่อเพื่อเสด็จปรินิพพาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • IMG_1488.JPG
      IMG_1488.JPG
      ขนาดไฟล์:
      764.5 KB
      เปิดดู:
      74
    • IMG_1498.JPG
      IMG_1498.JPG
      ขนาดไฟล์:
      542 KB
      เปิดดู:
      75
    • IMG_1491.JPG
      IMG_1491.JPG
      ขนาดไฟล์:
      652.5 KB
      เปิดดู:
      76
    • IMG_1495.JPG
      IMG_1495.JPG
      ขนาดไฟล์:
      443.7 KB
      เปิดดู:
      67
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 6 พฤษภาคม 2010
  15. adisak007

    adisak007 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    859
    ค่าพลัง:
    +699
    อนุโมทนาสาธุ ด้วยครับ ได้ความรู้ ได้บุญ ได้ดูภาพสวยๆ งาม และได้ศรัทธาที่ดี
     
  16. พอชูเดช

    พอชูเดช เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    1,276
    ค่าพลัง:
    +4,339
    สาธุครับ

    -มหาโมทนากับกุศลจิตทุกท่าน ขอให้สำเร็จตามที่ปรารถนาครับ

    สาธุ
     
  17. ลุงชาลี

    ลุงชาลี เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มีนาคม 2008
    โพสต์:
    2,958
    ค่าพลัง:
    +4,763
    <TABLE class=ecxtborder id=ecxpost3266231 cellSpacing=0 cellPadding=6 width="100%" align=center border=0><TBODY><TR vAlign=top><TD class=ecxalt2 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid; BORDER-TOP: #ffffff 0px solid; BORDER-LEFT: #ffffff 1px solid; BORDER-BOTTOM: #ffffff 0px solid" width=175></TD><TD class=ecxalt1 id=ecxtd_post_3266231 style="BORDER-RIGHT: #ffffff 1px solid">สาธุ สาธุ สาธุ
    อิทัง ปุญญะผะลัง ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าได้บำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้ ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย ที่เคยล่วงเกินมาแล้ว แต่ชาติก่อนก็ดี ชาตินี้ก็ดีขอเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลาย จงโมทนา ส่วนกุศลนี้ และจงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าตั้งแต่วันนี้ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพาน

    และขออุทิศส่วนกุศลนี้ให้แก่เทพยดาทั้งหลายที่ปกปักษ์รักษาข้าพเจ้า เทพยดาทั้งหลายทั่วสากลพิภพและพระยายมราช ขอเทพยดาทั้งหลาย และพระยายมราช จงโมทนาส่วนกุศลนี้และจงเป็นสักขีพยานในการบำเพ็ญกุศลของข้าพเจ้าในครั้งนี้ด้วยเถิด


    และขอแผ่ส่วนบุญส่วนกุศลที่ได้บำเพ็ญมาแล้วตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้ ให้แก่ท่านทั้งหลายที่มีชีวิตอยู่ก็ดีที่ล่วงลับไปแล้วก็ดี ที่เสวยความสุขอยู่ก็ดี ที่เสวยความทุกข์อยู่ก็ดีเป็นญาติก็ดี มิใช่ญาติก็ดี อาทิ บิดามารดา เป็นต้นขอท่านทั้งหลายจงโมทนาส่วนกุศลนี้ พึงได้รับประโยชน์และความสุขเช่นเดียวกับที่ข้าพเจ้าจะพึงได้รับ ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้เถิด

    [COLOR=blue][COLOR=red]และขอถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว [/COLOR][COLOR=red]สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ พระบรมวงศานุวงศ์ ทุก ๆ พระองค์[/COLOR][COLOR=red]ขอพระองค์ทรงพระเจริญยิ่งยืนนาน [/COLOR][COLOR=red]มีพระราชประสงค์สิ่งใดขอให้สำเร็จตามพระราชประสงค์ทุกประการเทอญ[/COLOR][/COLOR]

    ผลบุญใดที่ข้าพเจ้าทั้งหลายได้บำเพ็ญมาแล้ว ตั้งแต่อดีตชาติจนถึงปัจจุบันชาตินี้ ขอผลบุญนี้จงเป็นปัจจัยให้ข้าพเจ้าเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้เถิด หากไม่สามารถเข้าถึงซึ่งพระนิพพานในชาติปัจจุบันนี้ได้ ขอให้คำว่า ไม่มี ไม่รู้ ไม่เป็น ไม่สำเร็จ จงอย่าได้บังเกิดแก่ข้าพเจ้าเลย ณ กาลบัดเดี๋ยวนี้ ตราบเท่าเข้าสู่พระนิพพานเทอญ
    สาธุ สาธุ สาธุ นะ โม พุท ธา ยะ
    นิพพานัง ปะระมัง สุขขัง

    http://palungjit.org/forums/ขம.ml#post3146526[.179/B]ขอเชิญร่วมเป็นเจ้าภาพบริจาคท่อส่งน้ำถวาย วัดเขาชี จ.พิษณุโลก
    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  18. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    เจาคันธีสถูป : สถานที่พระพุทธองค์พบปัญจวัคคีย์

    [​IMG]

    ...ก่อนเดินทางถึงสถานที่ที่พระพุทธองค์ทรงแสดงปฐมเทศนสแก่ปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ..จะต้องเดินทางผ่านบริเวณเจดีย์หรือสถูปเก่าที่เป็นอนุสรณ์ของปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ...ในหนังสือสู้แดนพระพุทธองค์ อินเดีย-เนปาล โดยพระราชรัตนรังษี(ว.ป.วีรยุทฺโธ) ...กล่าวว่า สถูปนี้สร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 7 เพื่อเป็นเครื่องระลึกถึงว่า..ครั้งเมื่อพระปัญจวัคคีย์หลีกหนีพระพุทธองค์ ด้วยสำคัญผิดเพราะมีมิจฉาทิฎฐิอย่างแรง ได้มาอาศัยอยู่ที่นี่...หลังจากทรงตรัสรู้แล้ว พระพุทธองค์ทรงมีพระเมตตาเสด็จมาโปรดปัญจวัคคีย์..สันนิษฐานว่า พบกัน ณ ที่จุดนี้เป็นจุดแรก และได้ทำความเข้าใจกันในเบื้องต้น จากนั้นนำไปสู่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตรัสสอนธรรมะอันเป็นเครื่องนำออกจากทุกข์ ณ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวันนั้น

    ....ท่านพระราชรัตนรังษี(ว.ป.วีรยุทฺโธ)..เขียนเล่าต่อว่า....เดิมเจดีย์แห่งนี้สูงถึง 300 ฟุต ผุพังตามกาลเวลา เหลืออยู่ 70 ฟุต และมีลักษณะส่วนบนที่เบี่ยงเบนจากพุทธศิลป์ไปมาก ด้วยว่าในสมัยราชวงศ์โมกุลเรืองอำนาจ เกิดการแย่งราชสมบัติกันขึ้น..เป็นเหตุให้ หูมายูน กษัตริย์องค์ที่ 3 ต้องไร้บัลลังก์ถึง 15 ปี..เคยลี้ภัยมาอยู่ที่สถูปนี้ค่ะ.....เมื่อบ้านเมืองสงบ อักบาร์มหาราช ผู้สืบราชสันติวงศ์ต่อจาก หูมายูน ผู้ราชบิดา จึงโปรดให้สร้างหอคอยแปดเหลี่ยมนี้ขึ้น ในปี 2321 บนสถูปทางพระพุทธศาสนาสูงถึงฟ้าคราม..เพื่อเป็นที่ระลึกในการที่หูมายูนกษัตริย์มุสลิม บิดาของอักบาร์เสด็จมาสารนาถ...

    ..ณ..ที่นี้..ทำให้มองเห็นความเปลี่ยนแปลงในสรรพสิ่งต่าง ๆ พอมาค้นประวัติก็กระจ่างขึ้นใน..จุดเริ่มต้น..ในการเกิด ดำรงอยู่ และสูญสิ้นไป....
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 12 พฤษภาคม 2010
  19. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,683
    ค่าพลัง:
    +9,239
    ธัมเมกขสถูป

    [​IMG]



    ธัมเมกขสถูป..
    ...ทรงตรัสรู้...เมื่อพระพุทธองค์ทรงตรัสรู้แล้ว...สถานที่ที่ทรงแสดงธรรมครั้งแรก..ธัมมจักรกัปปวัตนสูตร..ที่ธัมมเมกขสถูปแห่งนี้....บริเวณพุทธสถานนี้ได้รับการดูแลเรื่อยมา...มีการเปลี่ยนแปลงแทบทุกปี..ทั้งซ่อมแซม..สร้างใหม่ในบางจุด..ปลูกต้นไม้..ดอกไม้..เป็นที่น่าสังเกตว่าในบริเวณพุทธศาสนาสถานทั้งที่ได้กราบผ่านมาแล้วจนถึงธัมเมกขสถูปแห่งนี้...สิ่งที่ควรชื่นชมอย่างยิ่งคือความสะอาดภายในบริเวณทั้งหมด..มีเจ้าหน้าที่คอยเก็บตลอดเวลาค่ะ..แม้แต่กระดาษที่ห่อทองคำเปลว..ที่แม้ว่าเราจะระมัดระวังอย่างดีแล้วก็ตามยังปลิว..ไม่รวมที่หลายคนตั้งใจทิ้ง..จริง ๆ ค่ะ...เรื่องความสะอาดอาจมีเพียงที่เดียวที่ยังเป็นปัญหาอยู่คือ..ห้องน้ำ ห้องสุขา..เท่านั้น

    .......คณะจาริกได้อานิสงส์จากชาวศรีลังกาอีกแล้วค่ะ ..เรามาถึงเมื่อบ่ายมากราว 4 โมงเย็น..ชาวศรีลังกาที่มาถึงก่อนเราไม่ถูกว่าเป็นเวลาไหนค่ะ..กำลังเรียงเทียนนับพันอันโดยรอบ บนสถูปต่าง ๆ ...ที่พระคันธกุฎีของพระพุทธองค์ ณ ที่นี้ เมื่อปีที่แล้วเข้าไปปิดทองด้านในได้ค่ะ..แต่ปีนี้ได้กั้นส่วนด้านในไว้แล้วบางส่วน....พระวิทยากรพาคณะจาริกสวดมนต์..ปิดทอง..แล้วเดินอธิบายในจุดต่าง ๆ จุดที่น่าสนใจมากคือ..ที่บริเวณที่ยสะมานพพบพระพุทธองค์..เมื่อกล่าวว่าที่นี่วุ่นวายหนอ..ที่นี่ขัดข้องหนอ..แล้วได้ฟังธรรมจากพระพุทธองค์ ทรงแสดงอนุปุพพิกถา จนยสะมานพได้บรรลุอรหันตผล..นับเป็นคฤหัสถ์คนแรกที่เป็นอริยบุคคลโดยที่ยังไม่ได้บวช...

     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • DSCF1656.JPG
      DSCF1656.JPG
      ขนาดไฟล์:
      591.2 KB
      เปิดดู:
      80
    • DSCF1663.JPG
      DSCF1663.JPG
      ขนาดไฟล์:
      645.1 KB
      เปิดดู:
      79
    • IMG_0864.JPG
      IMG_0864.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      78
    • DSCF1657.JPG
      DSCF1657.JPG
      ขนาดไฟล์:
      591.8 KB
      เปิดดู:
      78
    • DSCF1638.JPG
      DSCF1638.JPG
      ขนาดไฟล์:
      614.9 KB
      เปิดดู:
      89
    • DSCF1643.JPG
      DSCF1643.JPG
      ขนาดไฟล์:
      652.2 KB
      เปิดดู:
      80
    • DSCF1648.JPG
      DSCF1648.JPG
      ขนาดไฟล์:
      640.1 KB
      เปิดดู:
      81
    • DSCF1665.JPG
      DSCF1665.JPG
      ขนาดไฟล์:
      627.1 KB
      เปิดดู:
      88
    • DSCF1637.JPG
      DSCF1637.JPG
      ขนาดไฟล์:
      564.8 KB
      เปิดดู:
      82
    • DSCF1650.JPG
      DSCF1650.JPG
      ขนาดไฟล์:
      667.3 KB
      เปิดดู:
      77
    • IMG_0870.JPG
      IMG_0870.JPG
      ขนาดไฟล์:
      1.3 MB
      เปิดดู:
      81
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2010
  20. บุญญสิกขา

    บุญญสิกขา เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 เมษายน 2008
    โพสต์:
    2,863
    ค่าพลัง:
    +14,471
    แผ่พระบารมีศรีมหาโพธิ-ตรัสรู้ แตกหน่อผลิใบสู่สุวรรณภูมิ

    [​IMG]




    เมื่อพระพุทธองค์ทรงมีพระทัยวางรากฐานถ่ายทอดสืบทายาทบุคคลรุ่นต่อรุ่นนั่นแล้ว ในขณะเดียวกัน "พระศรีมหาโพธิ-ตรัสรู้" ยังได้รับขยายการปลูกหน่อก่อเชื้อไปยังภูมิภาคดินแดนต่างๆ โดยเฉพาะด้านสุวรรณภูมินี้



    นอกจาก ต้นพระศรีมหาโพธิ์-ตรัสรู้ ได้รับการสืบหน่อมาจากต้นพระศรีมหาโพธิ์ตรัสรู้ในประเทศไทยยังคงมีอยู่หลายต้น เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ์ที่ วัดต้นศรีมหาโพธิ์ (ที่เชื่อว่านำเข้ามาปลูกสมัยทวาราวดี), วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร, วัดเบญจมบพิตร (ปลูกในสมัยรัชกาลที่ 5) เป็นต้นแล้ว



    [​IMG]



    [​IMG]





    [​IMG]



    แม้สุดแดนขอบบริเวณสุวรรณภูมิ คือ ประเทศเวียดนาม ยังได้รับมอบ หน่อต้นพระศรีมหาโพธิ์-ตรัสรู้ จากรัฐบาลอินเดียเป็นขวัญประเทศ เมื่อครั้งสร้างเมืองใหม่




    [​IMG]




    [​IMG]



    [​IMG]



    [​IMG]




    และท่านโฮชินมินได้อัญเชิญ มาปลูกไว้ที่วัดเฉินก๊วก กลางทะเลสาปคืนดาบใจกลางเมืองฮานอย ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ที่สุดที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยศตวรรตที่ ๑๖ ของประเทศเวียตนาม




    [​IMG]




    [​IMG]


    [​IMG]




    แตกหน่อผลิใบสู่ ....... ถึงปลายสุวรรณภูมิ
    ตราบนาน
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • inter-vietnam-hanoi-09.gif
      inter-vietnam-hanoi-09.gif
      ขนาดไฟล์:
      111.7 KB
      เปิดดู:
      1,787
    • TranQuoc_8.jpg
      TranQuoc_8.jpg
      ขนาดไฟล์:
      62.6 KB
      เปิดดู:
      1,759
    • P1010091.JPG
      P1010091.JPG
      ขนาดไฟล์:
      180 KB
      เปิดดู:
      1,825
    • P1010092.JPG
      P1010092.JPG
      ขนาดไฟล์:
      135.3 KB
      เปิดดู:
      1,817
    • P1010097.JPG
      P1010097.JPG
      ขนาดไฟล์:
      141.4 KB
      เปิดดู:
      1,800
    • P1010098.JPG
      P1010098.JPG
      ขนาดไฟล์:
      177 KB
      เปิดดู:
      1,949
    • P1010093.JPG
      P1010093.JPG
      ขนาดไฟล์:
      138.8 KB
      เปิดดู:
      1,746
    • P1010096.JPG
      P1010096.JPG
      ขนาดไฟล์:
      165.6 KB
      เปิดดู:
      1,702
    • P1010094.JPG
      P1010094.JPG
      ขนาดไฟล์:
      162.5 KB
      เปิดดู:
      1,694
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 21 พฤษภาคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...