ชอบภาพนี้มากเลยครับ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย จันทโค, 21 เมษายน 2010.

  1. yommatood

    yommatood เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 มีนาคม 2010
    โพสต์:
    624
    ค่าพลัง:
    +1,298
    เรียกได้ว่า เป็นคู่บุญบารมี อนุโมทนาสาธุครับ
     
  2. ปรมิตร

    ปรมิตร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    404
    ค่าพลัง:
    +528
    ดีครับ ควรแล้วๆ
     
  3. tan64

    tan64 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +107
    ช่วยเสริม

    ช่วยเสริมรูป
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  4. krit_eng99

    krit_eng99 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    791
    ค่าพลัง:
    +2,228
    รูปสวย ดูแล้วซาบซึ้งมาก
    อนุโมทนากับผู้ถาม และให้ความรู้ทุกท่าน


    สุเมธดาบสใคร่ครวญธรรม

    สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นนั่นแหละ ลืมตาทั้งสองเห็นพระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกร จึงคิดว่า “ ถ้าเราพึงต้องการก็พึงเผากิเลสทังปวงหมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกน ครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลสด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่ง แล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้วปรินิพพานกาย หลังข้อนี้สมควรแก่เรา ” แล้วต่อจากนั้น ประมวลธรรม ๘ ประการกระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็น พระพุทธเจ้าแล้วนอนลง
    ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า “ ทีปังกร ” เสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่าเปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า “ ดาบสนี้ กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ” ทรงส่งพระอนาคตังสญาณ ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า “ ล่วงไปสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ” ยังทรงประทับยืนอยู่นั่นแหละแล้วทรงพยากรณ์ด้วยพระดำรัสว่า “ พวกท่านจงดูดาบสผู้มีตบะกล้านี้ ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตม ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ เห็นแล้วพระเจ้าข้า ” จึงตรัสว่า “ ดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า นอนแล้วความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านาม ว่า “ โคดม ” ก็ในอัตภาพนั้นของเขา นครนามว่า “ กบิลพัสดุ์ ” จักเป็นที่อยู่อาศัย พระเทวีทรงพระนามว่า “ มายา ” เป็นพระมารดา พระราชาทรงพระนามว่า “ สุทโทธนะ ” เป็นพระราชบิดา พระเถระชื่อว่า “ อุปติสสะ ” เป็นอัครสาวก และเถระชื่อโกลิตะ เป็นอัครสาวกที่สอง พุทธอุปัฎฐากชื่อว่า “ อานนท์ ” พระเถรีนามว่า “ เขมา ” เป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่า “ อุบลวรรณา ” เป็นอัครสาวิกาที่สอง
    เขามีญาณแก่กล้าแล้ว ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑลจักตรัสรู้ที่โคนต้น “ อัสสัตถพฤกษ์" ”
    สุเมธดาบสได้บังเกิดโสมนัสว่า “ นัยว่า ความปรารถนาของเราจักสำเร็จ ” มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรแล้ว ต่างได้พากันร่าเริงยินดีว่า “ นัยว่า สุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้า “ และพวกเขาเหล่า นั้นก็ได้มีความคิดว่า “ ธรรมดาว่าบุรุษเมื่อจะข้ามแม่น้ำ ไม่สามารถข้ามโดยท่าโดยตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ฉันใด แม้พวกเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผลในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ในกาลใดในอนาคตท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าในกาลนั้นพวกเราพึงสามารถกระทำให้แจ้ง ซึ่งมรรคและผลในที่ต่อหน้าของท่าน ” ต่างพากันตั้งความปรารถนาไว้ แม้พระทศพลทีปังกรทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมแลนับได้สี่แสนต่างก็พากันบูชาพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมและพวงดอกไม้กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นจากที่นอนในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้ว คิดว่า “ เราจักเลือกเฟ้นดูบารมีทั้งหลาย ” จึงนั่งขัดสมาธิบนที่สุดของกองดอกไม้ เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งแล้วอย่างนี้ เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นได้ให้สาธุการกล่าวว่า “ นี่แนะพระผู้เป็นเจ้า สุเมธดาบสในเวลาที่พระโพธิสัตว์เก่าก่อนทั้งหลาย ” นั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่า "เราจักเลือกเฟ้นบารมีทั้งหลายชื่อว่าบุรพนิมิตเหล่าใดจะปรากฎบุรพนิมิต เหล่านั้น แม้ทั้งหมดปรากฏแจ่มแจ้งแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ข้อนั้น นิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว ท่านจงประคองความเพียรของตนให้มั่น ” ได้กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรและถ้อยคำของเทวดาในหมื่นจักรวาลเกิดความ อุตสาหะโดยประมาณยิ่งขึ้นจึงคิดว่า “ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีเป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่าก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตก สัตว์ที่เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่ออรุณขึ้นพระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ที่ออกจากถ้ำที่อาศัยจะต้องบันลือสีหนาท หญิงที่ครรภ์แก่จะต้องปลดเปลื้องภาระ(คลอด) เป็นของแน่นอน จะต้องมีเป็นแน่แท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นของแน่นอนไม่ว่างเปล่าฉันนั้น เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ”
    สุเมธดาบสนั้น กระทำการตกลงใจว่า “ เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ” เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรวจตราดูธรรมธาตุทั้งสิ้นโดยลำดับว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่ ณ ที่ไหนหนอ เบื้องสูงหรือเบื้องต่ำในทิศใหญ่หรือทิศหน้อย ” จึงได้เห็น

    ทานบารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลาย ถือปฏิบัติเป็นประจำจึงกล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม เหมือนอย่างว่าหม้อน้ำที่คว่ำแล้ว ย่อมคายน้ำออกไม่เหลือ ไม่นำกลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร ภริยา หรืออวัยวะใหญ่น้อย ให้สิ่งที่เขาต้อง การอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มา ถึงกระทำมิให้มีส่วนเหลือ อยู่จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ท่านได้อธิษฐานทานบารมีข้อแรกทำให้มั่นแล้ว
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆขึ้นด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” เขาได้เห็น

    ศีลบารมีข้อที่ ๒ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็มเปี่ยมเหมือนอย่างว่าธรรมดา ว่า เนื้อจามรีไม่เหลียวแลแม้ชีวิตรักษาหางของตนอย่างเดียว ฉันใด จำเดิมแต่นี้แม้ท่านก็ไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษาศีลอย่างเดียวจักเป็นพระพุทธได้ ” เขาได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่สองทำให้มั่นแล้ว
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

    เนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิตนับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ในเรือนจำ มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้เขาย่อมรำคาญอย่างเดียวและไม่อยากจะอยู่เลยฉันใด แม้ท่านก็จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อการออกบวช ฉันนั้น เหมือนกันท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยอาการอย่างนี้ ” ได้อธิษฐานเนกขัมมบารมี ข้อที่สามมั่นแล้ว
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านั้นแน่ ” จึงได้เห็น

    ปัญญาบารมีข้อที่ ๔ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใคร ๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคนชั้นเลว ชั้นปานกลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทุกคนแล้วถามปัญหาเหมือนอย่างว่าภิกษุผู้เที่ยวไปบิณฑบาต มิได้เว้นตระกูลไร ๆ ในบรรดาตระกูลที่แตกต่างกันมีตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับ ย่อมได้อาหารพอยังชีพโดยพลัน ฉันใด แม้ท่านก็เข้าไปหาบัณฑิตแล้วได้ถามอยู่ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น ” ได้อธิษฐานกระทำปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ให้มั่นแล้ว
    ลำดับนั้นเมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่จึงได้เห็น

    วิริยบารมีข้อที่ ๕ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญวิริยาบารีให้เต็มเปี่ยมเหมือนอย่างว่าราชสีห์พระยามฤคราชเป็น สัตว์ มีความเพียรมั่นในทุกอิริยาบถฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีความเพียรมั่น มีความเพียรไม่ย่อหย่อนจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทำให้มั่นแล้ว
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านั้นแน่ ” จึงได้เห็น

    ขันติบารมีข้อที่ ๖ จึงได้กล่าวสอนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญขันติบารมีให้เต็มเปี่ยม พึงเป็นผู้อดทนได้ทั้งในความนับถือทั้งในความดูหมิ่นเหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างลงบนแผ่นดิน แผ่นดินย่อมไม่กระทำความชอบใจ ไม่กระทำความแค้นใจ มีแต่อดทนอดกลั้นเท่านั้นฉันใด แม้ท่านเมื่ออดทนได้ในความนับถือก็ดี ในความดูหมิ่นก็ดี จักเป็นพระพุทธเจ้าได้" ได้อธิษฐานขันติบารมี ข้อที่ ๖ เพราะทำให้มั่นแล้ว
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

    สัจจบารมีข้อที่ ๗ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญสัจจบารมีให้เต็มเปี่ยม อย่าได้กระทำการพูดเท็จทั้งรู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่าน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาดาวประกายพรึกในทุกฤดูหาเว้นทางโคจรของตนไม่ จะไม่โคจรไปในทางอื่นโคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใดแม้ท่านไม่ละสัจจะ ไม่กระทำการพูดเท็จเด็ดขาด จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานสัจบารมีข้อที่ ๗ ทำให้มั่นแล้ว
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

    อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีท่านอธิษฐานสิงโตไว้ พึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานนั้นเหมือนอย่างว่าธรรมดาภูเขาเมื่อลมทั่ว ทุกทิศพัดกระทบอยู่ย่อมไม่สะเทือน ไม่หวั่นไหว ยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมของตนฉันใดแม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความตั้งใจมั่นของตนจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว
    ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

    เมตตาบารมีข้อที่ ๙ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเมตตาบารมีให้เต็มเปี่ยม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลพึงมีจิตเป็นอย่าง เดียวกัน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าน้ำย่อมกระทำให้เย็นแผ่ซ่านไปเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีน้ำใจ เป็นอันเดียวกัน ด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว
    ต่อมาเมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญแม้ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

    อุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีพึงวางใจเป็นกลาง ในสุขก็ดีในทุกข์ก็ดีเหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดิน เมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้าง ย่อมวางใจเป็นกลางทีเดียวฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เมื่อวางใจเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ” ได้อธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่๑๐ ทำให้มั่นแล้ว
    ต่อจากนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า “ พุทธการกธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ยกเว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นไม่มีบารมีทั้ง ๑๐ แม้เหล่านี้ แม้ในเบื้องสูง แม้ในอากาศก็ไม่มี ภายใต้แผ่นดินก็ดีในทิศทั้งหลาย มีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ดี ก็ไม่มีตั้งอยู่ในหทัยของเรานี้เอง ”
    สุเมธดาบส เมื่อเห็นว่า “ บารมี ” เหล่านั้น ตั้งอยู่ในหทัยแล้ว จึงอธิษฐานบารมีแม้ทั้งหมดกระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้นมาตั้งไว้ตอนปลาย และยึดเอาตรงกลางให้จบลงตรงข้างทั้งสอง ยึดที่ที่สุดข้างทั้งสองมาให้จบลงตรงกลาง ยึดเอาบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ คือการบริจาคสิ่งของภายนอกเป็น “ ทานบารมี ” การบริจาคอวัยวะเป็น “ ทานอุปบารมี ” การบริจาคชีวิตเป็น “ ทานปรมัตบารมี ” ที่ตรงท่ามกลางแล้ว....
    จากหนังสือ พุทธการกธรรมทีปนี้

    http://www.kanlayanatam.com/sara/sara82.htm
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 เมษายน 2010
  5. tan64

    tan64 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    31 สิงหาคม 2007
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +107
    น่าจะมีแกลอรี่รูปพระโพธิสัตว์ตามชากดกต่างๆเข้ามาร่วมด้วยแล้วพิมพ์เรื่องไว้เป็นตอนๆให้คนได้อ่านแล้วมีภาพประกอบจะดีมากเลยครับ อนุโมทนาด้วยเห็นภาพนี้ใจสั่นๆเลยครับ
     
  6. หมิงฮุ้ย

    หมิงฮุ้ย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2010
    โพสต์:
    10
    ค่าพลัง:
    +206
    ท่านต้นละครับ ผมเคยอ่านประโยคหนึ่งของท่าน มีใจความว่า...

    " พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า ในวัฏสงสารอันยาวนาน หาต้นและปลายไม่เจอ ไม่มีเลยที่สัตวืทั้งหลายไม่เคยเป็นญาติ พ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย พี่ ป้า น้า อา ลุง "

    ท่านต้นละ แบบนี้ผมก็เคยเป็นทั้งหมดกับท่าน ที่พระพุทธองค์ทรงตรัสมาสิครับ แล้วแบบนี้ท่านยังรักผมแบบเดิมอยู่รึเปล่าครับ ?????????

    ผมเองมาให้กำลังใจท่านนะครับ ผมเองกก็ชอบภาพนั้นมากๆๆๆๆๆๆ เลยครับ
     
  7. nangkeaw

    nangkeaw เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    168
    ค่าพลัง:
    +396
    สาูธุ สาูธุ สาธุ ขออนุโมทนาบุญด้วยเพคะ และขอให้ข้าน้อยประสบผลสำเร็จในการบำเพ็ญเพียรสร้างบุญบารมีดังเช่นพระนางมัชซีพราหมณีที่นั่งอยู่ข้างหลังด้วยเถิด
     
  8. ป่ากุง

    ป่ากุง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2010
    โพสต์:
    416
    ค่าพลัง:
    +784
    .......ข้าน้อยสงสัยมากตามที่ข้าน้อยมีปัญญาไม่ฉลาด สงสัยว่า ในเมื่อกาลเวลา 4 อสงไขย กับ 1แสนกัปล์นั้น มีพระพุทธเจ้ามาตรัสรู้ก่อนหน้านั้น 25 พระองค์หรือ


    ...... เพราะพระทีปังกรปฐมพระพุทธเจ้า ได้พุทธพยากรณ์ให้สุเมธดาบสว่า อีก 4 อสงไขยกับเศษแสนกัปล์ สุเมธดาบสจะมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็น พระพุทธเจ้า นาม พระสมณโคดมองค์บรมครูของยุคเรา


    ....พระทีปังกรพระพุทธเจ้า คือ องค์ที่ 1


    ....พระสมณโคดม คือ องค์ที่ 25
     
  9. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ท่านครับ ผมจะอธิบายที่ท่านถามมานะครับ
    ที่บอกว่า องค์สมเด็จพระทีปังกรพระพุทธเจ้าเป็นองค์ที่ ๑ คือ เป็นพระองค์แรกที่มีพุทธพยากรณ์ ( เมื่อ ๔ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์) ว่าท่านสุเมธดาบสจะได้เป็นพระพุทธเจ้าที่มีพระนามว่า " สมณะโคดมพระพุทธเจ้า " อย่างแน่นอน

    แต่ก่อนหน้านี้ก็มีพระพุทธเจ้าทรงอุบัติขึ้นมามากกว่าเม็ดทรายที่อยู่ในมหาสุมทร ครับ

    องค์พระทศพลพระองค์ปัจจุบันของเราๆๆทั้งหลาย ทรงบำเพ็ญบารมีในสำนักของพระะพุทธเจ้าทั้งหลายจำนวน ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 เมษายน 2010
  10. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    พระพุทธเจ้าพระองค์ปัจจุบันเป็นพระพุทธเจ้าประเภทปัญญาธิกะพระพุทธเจ้า​
    ใช้ระยะเวลาบำเพ็ญบารมีทั้ง ๒๐ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,​๐๐๐ มหากัปป์ แบ่งดังนี้
    มโนปณิธาน ๗ อสงไขย พบพระพุทธเจ้า ๑๒๕,๐๐๐ พระองค์
    วจีปณิธาน ๙ อสงไขย พบพระพุทธเจ้า ๓๘๗,๐๐๐ พระองค์
    กายวจีปณิธาน(ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน) ๔ อสงไขย พบพระพุทธเจ้า ๑๓ พระองค์
    ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ พบพระพุทธเจ้า ๑๕ พระองค์
    รวมระยะเวลา ๒๐ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ พระองค์ทรงได้บำเพ็ญบารมีในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ๕๑๒,๐๒๘ พระองค์

    พระทศพลกกุสันโธ พระทศพลโกนาคมน์ พระทศพลกัสสปะ​

    เป็นพระพุทธเจ้าประเภทสัทธาธิกะพระพุทธเจ้า ใช้ระยะเวลาบำเพ็ญบารมีทั้ง ๔๐ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,​๐๐๐ มหากัปป์ แบ่งดังนี้
    มโนปณิธาน ๑๔ อสงไขย พบพระพุทธเจ้า ๒๕๐,๐๐๐ พระองค์
    วจีปณิธาน ๑๘ อสงไขย พบพระพุทธเจ้า ๗๗๔,๐๐๐ พระองค์
    กายวจีปณิธาน(ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกว่าจะได้เป้นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน) ๘ อสงไขย พบพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์
    ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ พบพระพุทธเจ้า ๓๐ พระองค์
    รวมระยะเวลา ๔๐ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ พระองค์ทรงได้บำเพ็ญบารมีในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ๑,๐๒๔,๐๕๕ พระองค์

    พระทศพลศรีอาริย์​

    เป็นพระพุทธเจ้าประเภทวิริยาธิกะพระพุทธเจ้า ใช้ระยะเวลาบำเพ็ญบารมีทั้ง ๘๐ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,​๐๐๐ มหากัปป์ แบ่งดังนี้
    มโนปณิธาน ๒๘ อสงไขย พบพระพุทธเจ้า ๕๐๐,๐๐๐ พระองค์
    วจีปณิธาน ๓๖ อสงไขย พบพระพุทธเจ้า ๑,๕๔๘,๐๐๐ พระองค์
    กายวจีปณิธาน(ได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกว่าจะได้เป้นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน)๑๖ อสงไขย พบพระพุทธเจ้า ๔๙ พระองค์
    ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ พบพระพุทธเจ้า ๖๐ พระองค์
    รวมระยะเวลา ๘๐ อสงไขยกับเศษอีก ๑๐๐,๐๐๐ มหากัปป์ พระองค์ทรงได้บำเพ็ญบารมีในสำนักของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ๒,๐๔๘,๑๐๙ พระองค์

    ปล....จากสีมากถา สมุดข่อยวัดสุทัศน์เทพวราราม
    ผิดถูกประการใดอภัยด้วยนะครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 เมษายน 2010
  11. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    ท่านครับ ผมเอาพระนามของพระพุทธเจ้า ๒๘ พระองค์มาให้ท่านอ่านครับ




    องค์สมเด็จพระพุทธตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้านันทราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทราชาเทวี
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    พระวรกายสูง 18 ศอก
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร

    องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร – ผู้มียศใหญ่
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า เทโว
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยะสุนทราชาเทวี
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 80,000 ปี
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
    พระวรกายสูง 18 ศอก
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร

    องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร – ผู้เกื้อกูลแก่โลก
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุมาเลราชา
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยสะเทวี
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 2 เดือน กับ 20 วัน
    พระวรกายสูง 18 ศอก
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร

    องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร – ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
    สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
    ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 8 อาสาฬหนักขัตฤกษ์
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า นรเทวราช(พระเจ้าสุเทพ)
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สุเมธา
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ปทุมาราชเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระอสุภขันธกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 9 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปิปผลิ
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมังคลเถร และพระติสสเถร
    พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคตเถร
    พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางโสณา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
    พระวรกายสูง 80 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    อายุพระศาสนา 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ

    องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ – ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
    สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุนันทราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุชาดาราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง รุจิราชเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระวิชิตเสนกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 10,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนยคู่
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 58 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นพญารัง
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททเถร และพระสุภัททเถร
    พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอนุรุทธเถร
    พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระติสสาเถรี และพระอุปัสสนาเถรี
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน แสนโกฏิ องค์
    พระวรกายสูง 18 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 200,000 ปี
    อายุพระศาสนา 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ

    องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ – ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
    สถานที่ประสูติ อุตตรนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อุตตรมหาราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอุตตรราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ยสาวดี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระสีวระราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวเถร และพระธรรมเสนเถร
    พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตเถร
    พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวราเถรี และพระอโสกาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และสุมนา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 80 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,00 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ

    องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ – ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม
    สถานที่ประสูติ เมขละนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัตตมหาราชา
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สิริมา
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ฏังสกี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปมราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ อยู่นาน 9,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 60 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระสรณเถร และพระภาวิตัตตเถร
    พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนเถร
    พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณาเถรี และพระอุปโสณาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จารา และอุปจารา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 90 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    อายุพระศาสนา 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ

    องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ – ผู้เพิ่มพูนความยินดี
    สถานที่ประสูติ สุธัญญวดีนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าวิปุลราชา
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางวิปุลาราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุทัสนา
    พระราชโอรส พระนามว่า พระวรุณราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 6,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียบม้าอาชาไนย
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระวรุณเถร และพรหมเทวะเถร
    พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะเถร
    พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททราเถรี และพระสุภัททราเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณ และสรภะมหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 80 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ

    องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
    สถานที่ประสูติ สุธรรมนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุธรรมราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุธรรมาเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง มจิลาราชเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระสีหราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 9,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์ (ไม้กากะทิง)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระอสมเถร และ สุเมธเถร
    พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโนมเถร
    พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุฬาเถรี และพระสุชาตาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายรัมมะ และ นายสุเนตตะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนกุฬา และนางสุชาตา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 58 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า

    องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า – ผู้อุดมสูงสุดในหมู่ชน
    สถานที่ประสูติ จันทวดีนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า ยศวราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยโสธรา
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สิริมา
    พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปสารราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นอชุนะ (ไม้รกฟ้า)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระนิสภเถร และอโนมเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวรุณเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุนทราเถรี และพระสุมนาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายนันทิวัฒนะ และสิริวัฑฒะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอุปรา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 58 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 80 ศอก
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ

    องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ – ผู้ทำให้โลกสว่าง
    สถานที่ประสูติ จัมปานคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อสมราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอสมาราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง อุตตราเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระรัมมราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาส อยู่ 10,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนย
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระสาลเถร และพระอุปสาลเถร
    พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณเถร
    พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธาเถรี และพระสุราธาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายสภิยะ และนายอสมะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรุจิ และนางนันทิมาลา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 58 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ

    องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ – ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
    สถานที่ประสูติ ธัญญวดีมหานคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุเมธราชา
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอโนมาเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง วิชิตเสนาเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระยันทุตรราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ทรงดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน ตรง
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททสาลเถร และพระพิชิตมิตตเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวาเสฏฐเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอุตตราเถรี และพระผักขุนีเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุตรินท์ และวสะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอินทอรี และนางคัณฑี มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
    พระวรกายสูง 88 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    อายุพระศาสนา 1 อสงไขย
    องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ

    องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ – ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
    สถานที่ประสูติ หงสวดีนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อานันทมหาราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุชาดาราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุละทัคคเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระอุตตรราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 90,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นสาละ หรือต้นรัง
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวลเถร และพระสุชาตเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุมนเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อมิตตะ และติสสะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางหัตถา และนางสุจิตตา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 58 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 12 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    อายุพระศาสนา 30,000 กัลป์
    องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ

    องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ – ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
    สถานที่ประสูติ สุทัสสนนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัสสนมหาราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัตตาราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุมนาเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระปุนัพพราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหานิมพะ (ไม้สะเดา)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมนเถร และพระสัพพกามเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสาครเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุรมาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวฬ และยสวา มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางยสา และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 88 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ

    องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
    สถานที่ประสูติ สุมังคลนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุคคตราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสิรินันทาเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปเสนราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง ชื่อ หังสวาสภราชา
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 33 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหาเวฬุ (ไม้ไผ่ใหญ่)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 9 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุสุทัสสนเถร และพระสุเทวเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระนารทเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาราเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุทัตต และจิตต มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสุภัททา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 50 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลกาประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี

    องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี – ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
    สถานที่ประสูติ สุธัญญราชธานี
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางจันทราราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิมาลาเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระกัญจนเวฬกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้กุ่ม
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระปาลิตเถร และพระสัพพทัสสีเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิตเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สันตกะ และธัมมิก มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิสาขา และนางธัมมทินนา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 80 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี

    องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี – ผู้มีพระกรุณา
    สถานที่ประสูติ สุจิรัตถราชอุทยานแห่งสาครราชธานี
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสาครราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิสาขาราชเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระเสลราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้จำปา
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระสันตเถร และพระอุปสันตเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอภัยเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และนิสภะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางมจิลา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 9 โกฏิ
    พระวรกายสูง 80 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 100 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี

    องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี – ผู้บรรเทามืด
    สถานที่ประสูติ สรณราชอุทยานแห่งสรณราชธานี
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสรณราชา
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทาราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกลี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระวัฒนราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ไทรย้อย
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 วัน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระปทุมเถร และปุสสเทวเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุเนตตเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสหะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสาฬสา และนางกฬิสสา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 80 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ

    องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ – ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
    สถานที่ประสูติ เวภารนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุผัสสาเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนาราชเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปนราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจมาศ (วอทอง)
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นกรรณิการ์
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระสัมพลเถร และพระสุมิตตเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเรวตเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสิวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปิยะ และสัมพุทธะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรัมมา และนางสุรัมมา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 โกฏิ
    พระวรกายสูง 60 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ

    องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ – ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
    สถานที่ประสูติ อโนมราชอุทยานแห่งเขมราชธานี
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชนสันธราช
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปทุมาเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุภัทราเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อาสนะ (ต้นประดู่)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระพรหมเทพเถร และพระอุทัยเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัมภวเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สัมภระ และสิริ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางกีสาโคตมี และนางอุปเสนา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
    พระวรกายสูง 60 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ

    องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ – ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
    สถานที่ประสูติ กาสีราชธานี
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมาราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางกีสาโคตมีราชเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 9,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มลกะ (ไม้มะขามป้อม)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุรักขิตเถร และพระธัมมเสนเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิยเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายธนัญชัย และนายวิสาข มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางปทุมา และนางสิรินาคา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
    พระวรกายสูง 58 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
    อายุพระศาสนา 91 กัลป์
    องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี

    องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี – ผู้หาที่เปรียบมิได้
    สถานที่ประสูติ พันธุมดีราชธานี
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าพันธุมหาราชา
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางพันธุมดีราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระสมวัตตขันธราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้แคฝอย
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระขันธเถร และพระติสสเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอโสกเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจันทราเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ปุณณสุมิตต และนาคะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 84,000 องค์
    พระวรกายสูง 80 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 7 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80,000 ปี
    อายุพระศาสนา 49 กัลป์
    องค์สมเด็จพระพุทธสิขี

    องค์สมเด็จพระพุทธสิขี – ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สัตว์
    สถานที่ประสูติ มิสกราชอุทยานแห่งอรุณวดีนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอรุณราชา
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสัพพกามาเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระอตุลราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 7,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 24 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปุณฑริกะ (ไม้ซึก) คล้ายกับไม้ปาตลี
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระอภิภูเถร และพระสัมภวเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเขมังกรเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระประทุมเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สิริวัฒนะ และนันทะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางจิตรา และนางสุจิตรา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 70,000 องค์
    พระวรกายสูง 70 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 3 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู

    องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู – ผู้ประทานความสุข
    สถานที่ประสูติ อโนมนคร
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุปตีตราชา
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยสวดีราชเทวี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุจิตราเทวี
    พระราชโอรส พระนามว่า พระสุปปพุทธราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 6,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้รัง
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระโสณเถร และพระอุตตรเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอุปสันตเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุมาลาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางโคตมี และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
    พระวรกายสูง 60 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
    อายุพระศาสนา 70,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ

    องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
    สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
    ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
    พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
    พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
    พระวรกายสูง 40 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 11 โยชน์
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 40,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ

    องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ – ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
    สถานที่ประสูติ โสภวดีราชอุทยานแห่งโสภวดีนคร
    ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า ยัญญทัตตพราหมณ์
    พระพุทธมารดา พระนามว่า อุตตราพราหมณี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิคัตตาพราหมณี
    พระราชโอรส พระนามว่า สัททวาหกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 3,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อุทุมพร (ไม้มะเดื่อ)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระภิโยสเถร และพระอุตตรเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสทิชเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสมุทาเถรี และพระอุตตราเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทว มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวรา และนางสามา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 30,000 องค์
    พระวรกายสูง 30 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 30,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ

    องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
    สถานที่ประสูติ อิสิปตนมิคทายวันแห่งนครพาราณสี
    ประสูติในตระกูล พราหมณ์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พรหมทัตตพราหมณ์
    พระพุทธมารดา พระนามว่า ธนวดีพราหมณี
    พระอัครมเหสี พระนามว่า สุนันทาพราหมณี
    พระราชโอรส พระนามว่า วิชิตเสนกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 2,000 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 15 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้นิโครธ
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระภารทวาชเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัพพมิตตเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอนุฬาเถรี และพระอุรุเวลาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมังคละ และฆฏิการะ มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิชิตเสนา และนางภัตรา มหาอุบาสิกา
    มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 1 โกฏิ
    พระวรกายสูง 20 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
    องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ

    องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ – ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
    สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
    ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
    พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 16 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 วา
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
    อายุพระศาสนา 5,000 ปี
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 25 เมษายน 2010
  12. Goo_O

    Goo_O Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 เมษายน 2010
    โพสต์:
    2
    ค่าพลัง:
    +75
    กราบอนุโมทนาด้วยครับ สาธุๆๆๆๆๆๆๆ
     
  13. คิดดีจัง

    คิดดีจัง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 มกราคม 2010
    โพสต์:
    1,626
    ค่าพลัง:
    +5,353
    อนุโมทนาครับ

    ก่อนเห็นภาพนี้ผมเข้าใจว่ามีเพียงพระองค์เท่านั้นที่เดินไปบนร่างของสุเมธดาบถ

    พอเห็นภาพนี้แล้วเข้าใจว่าพระสาวกอีก9องค์ นั้นเดินไปบนตัวของสุเมสดาบถด้วย

    ผมเข้าใจถูกไหมครับ

    ใครทราบข้อเท็จจริงเรื่องนี้ช่วยบอกให้ทราบด้วยครับ
    [​IMG]
     
  14. nunoiyja

    nunoiyja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2010
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,733
    ท่านครับมีมากกว่า ๙ นะครับ แต่จำนวนเท่าไหร่ก็รบกวน"จขกท."ตอบด้วย หน้าที่ของท่าน(ของ จขกท.)เมื่อท่านตอบแล้ว ข้าพเจ้าก็ขออนุโมทนาบุญ ด้วยนะครับ
    ท่านต้นละ ตอบแต่ละที มีมากกว่าคำตอบ​
     
  15. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สาธุ กราบอนุโมทนากับท่านที่เข้ามาอ่านครับ
    องค์พระทีปังกรพระพุทธเจ้าเสด็จดำเนินพระองค์แรก ตามด้วยพระอรหันตสาวกอีก ๑๐๐,๐๐๐ รูปครับ
     
  16. toomdoi

    toomdoi เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    220
    ค่าพลัง:
    +839
    อนุโมทนา

    เป็นภาพที่ดีมากภาพหนึ่ง เป็นภาพที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระสมณะโคดมเสยวพระชาติเป็นสุเมธาดบส เพื่อบำเพ็ญบารมียิ่งยวดชาติหนึ่งที่เป็นปรมัตถบารมี และได้รับการพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตข้างหน้า
     
  17. จันทโค

    จันทโค เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    1,866
    ค่าพลัง:
    +35,603
    สาธุ กราบอนุโมทนาบุญด้วยนะครับ
     
  18. nunoiyja

    nunoiyja เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 มกราคม 2010
    โพสต์:
    361
    ค่าพลัง:
    +1,733
    องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ – ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
    สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
    ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
    ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
    พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
    พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
    พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
    พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
    เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
    พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
    รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
    ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
    ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
    วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
    พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
    พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
    อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
    อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
    พระวรกายสูง 16 ศอก
    พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 วา
    ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
    อายุพระศาสนา 5,000 ปี

    ขอโทษนะครับ รบกวนดูข้อความข้างบนนี้นิดนะครับ ผมว่ามันแปลกๆ อยู่นะ
    ขอเสริมนิดสำหรับผู้ที่ยังไม่รู้
    พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
    สำหรับพระอัครสาวก ชื่อพระติสส นี่เป็นชื่อเดิมของพระสารีบุตร
    ส่วนพระโกลิตะ นี่เป็นชื่อเดิมของท่านโมคคัลลานะ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 เมษายน 2010
  19. Pay_Y

    Pay_Y Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +80
    สาธุ อนุโมทนากับภาพพุทธประวัติด้วยนะครับ
     
  20. Pay_Y

    Pay_Y Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 พฤษภาคม 2010
    โพสต์:
    3
    ค่าพลัง:
    +80
    สาธุ อนุโมทนากับ ธรรมทาน ด้วยนะครับ
    เดียวผมแก้นะครับ



    พระอุปติสสเถรหรือพระสารีบุตร
    และพระโกลิตเถรหรือพระโมคคัลลานะ
     

แชร์หน้านี้

Loading...