ภิกษุณีธัมมนันทา บนเส้นทางจิตวิญญาณ

ในห้อง 'พุทธภูมิ - พระโพธิสัตว์' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 28 กุมภาพันธ์ 2010.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,173
    ภิกษุณีธัมมนันทา บนเส้นทางจิตวิญญาณ

    นุเทพ สารภิรมย์



    <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>มูลนิธิโกมลคีมทอง ก่อตั้งมานานกว่า 35 ปี เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมบุคคลที่มีความเสียสละเพื่อสังคม ตามแบบอย่าง "ครูโกมล คีมทอง" ที่อุทิศตนเป็นครูอยู่ในถิ่นทุรกันดารจวบจนวาระสุดท้าย

    ในปีนี้ มูลนิธิโกมลคีมทอง มอบรางวัลบุคคลเกียรติยศ ให้แก่บุคคลที่เสียสละทำงานเพื่อสังคมส่วนรวม ประกอบด้วย 1.สุธาสินี น้อยอินทร์ หรือ "แม่ติ๋ว" ผู้ก่อตั้งบ้านโฮมฮัก มูลนิธิสุธาสินี น้อยอินทร์

    2.วัชรี เผ่าเหลืองทอง ผู้อุทิศตนต่อสู้เรียกร้องสิทธิเพื่อคนชั้นล่าง และเพื่อธรรมชาติ

    3.นายประดิษฐ์ ประสาททอง ผู้อยู่เบื้องหลังการแสดงกลุ่มละครมะขามป้อม ในเชิงสร้างสรรค์สังคม

    4.เครือข่ายประชาชนภาคตะวันออก ที่ร่วมรณรงค์ต่อต้านการทำลายสิ่งแวดล้อมของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด จ.ระยอง

    แต่ไฮไลต์สำคัญ คือ ปาฐกถาโกมลคีมทอง ประจำปีพ.ศ.2553 ที่จัดเป็นประจำขึ้นทุกปี โดยเชิญผู้ที่ทำงานเพื่อสังคมมาเป็นองค์ปาฐก ถ่ายทอดแนวคิดและจิตวิญญาณ

    ปีนี้เป็นครั้งที่ 36 ทางมูลนิธิ นิมนต์ "ภิกษุณีธัมมนันทา" มาปาฐกถาในหัวข้อ "บนเส้นทางการพัฒนาจิตวิญญาณ การหล่อหลอม และการกำหนดเส้นทางชีวิต"

    ชื่อเดิมของท่านคือ "รศ.ดร.ฉัตรสุมาลย์ กบิลสิงห์ เกิดปีพ.ศ.2486 เป็นบุตรของนายก่อเกียรติ ษัฏเสน อดีตส.ส.ตรัง และนางวรมัย กบิลสิงห์ ซึ่งภายหลังได้บรรพชาเป็นภิกษุณีวรมัย กบิลสิงห์ นิกายมหายาน ที่ประเทศไต้หวัน

    จบการศึกษาจากโรงเรียนราชินีบน และปริญญาตรีสาขาปรัชญา มหาวิทยาลัยศานตินิเกตัน ประเทศอินเดีย ได้รับทุนรัฐบาลแคนาดาไปศึกษาปริญญาโทและปริญญาเอก มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ประเทศแคนาดา และมหาวิทยาลัยมคธ ประเทศอินเดีย

    ต่อมาในปีพ.ศ.2512 เป็นอาจารย์ที่มหาวิทยาลัยแมคมาสเตอร์ ก่อนกลับมาเป็นอาจารย์ประจำภาควิชาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ตั้งแต่ปีพ.ศ.2516-2543 <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=right><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ในระหว่างนั้น อาจารย์ฉัตรสุมาลย์ มีผลงานทางวิชาการ เขียนบทความธรรมะ รวมถึงเป็นพิธีกรรายการธรรมะ และเป็นผู้แปลหนังสือ "ลามะจากลาซา" ของ ทะไลลามะ ผู้นำทางจิตวิญญาณของชาวทิเบต อีกทั้งยังทำงานด้านพุทธศาสนาเพื่อผู้หญิงมาโดยตลอด

    อาจารย์ฉัตรสุมาลย์ ตัดสินใจครั้งสำคัญในชีวิต เมื่อเข้าบรรพชาเป็นภิกษุณี โดยคณะภิกษุสงฆ์ และภิกษุณีสงฆ์ สยามนิกาย ที่ประเทศศรีลังกา เมื่อเดือนมี.ค.2544 ได้รับฉายาว่า "ธัมมนันทา"

    ก่อนจะเดินทางกลับประเทศไทย ปัจจุบันจำพรรษาอยู่ที่ "วัตรทรงธรรมกัลยาณี" ต.พระประโทน จ.นครปฐม

    แม้ "สามเณรี" และ "ภิกษุณี" จะไม่ได้รับการรับรองสถานะจากคณะสงฆ์ไทย แต่ภิกษุณีธัมมนันทา หรือ "หลวงแม่" ก็ยังคงยืนหยัดด้วยจิตวิญญาณแน่วแน่ และมั่นคงเพื่อพุทธศาสนา

    ถ้อยความต่อไปนี้คือ "บนเส้นทางการพัฒนาจิตวิญญาณ การหล่อหลอม และการกำหนดเส้นทางชีวิต" โดยหลวงแม่

    คนเราทุกคนต้องมีรากเหง้าของตนเอง แม้แต่ต้นไม้ก็ยังต้องมีรากเหง้า อย่างต้นข้าวจะมีรากที่มีขนาดยาวเป็น 2 เท่าของลำต้น เพื่อดูดซับแร่ธาตุมาเลี้ยงเมล็ดข้าว หรือแม้แต่ต้นไม้ที่สูงใหญ่ต้องมีรากที่หยั่งลึก เพื่อยึดติดกับพื้นดินให้มั่นคง เพราะต้นไม้ยิ่งสูงมากเท่าใด ทั้งลำต้น กิ่ง ก้าน ใบ จะต้องเผชิญกับแรงลมที่ถั่งโถมเข้ามาอยู่ตลอดเวลา ต้นไม้ใหญ่จึงต้องมีรากที่มั่นคงและแข็งแรง

    ครั้งหนึ่งอาตมาเคยพบเห็นต้นกล้วยที่อยู่รวมกันเป็นดงเบียดเสียดกัน ทำให้ไม่แข็งแรงเจริญเติบโต บางต้นก็ล้มเอนไม่มั่นคง แต่เมื่อมีการตัดแต่งบริเวณใต้ลำต้นให้โล่ง ไม่เบียดเสียดกัน ลำต้นนั้นก็จะแข็งแรงให้ลูกที่ดก และเมื่อต้นหนึ่งตาย อีกต้นก็สามารถเติบโตขึ้นมาทดแทนได้อย่างสมบูรณ์ <TABLE border=0 cellSpacing=5 cellPadding=1 width="20%" align=left><TBODY><TR bgColor=#400040><TD>[​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>

    ดังนั้นจะเห็นว่า รากมีความสำคัญกับต้นไม้อย่างไร รากเหง้าของคนเราก็มีความสำคัญเช่นกัน เพราะตัวตนที่แท้จริงของเรา มักจะมองไม่เห็นรากเหง้า เช่นเดียวกับต้นไม้ที่เราก็มองไม่เห็นราก เราจึงต้องดูแลฟูมฟักรักษารากเอาไว้ให้ดี ให้สมบูรณ์และแข็งแรง

    ครอบครัวรากเหง้าของอาตมา แต่เดิมก็เป็นนักต่อสู้ มีเรื่องเล่าที่เป็นตำนานของคุณยาย ในอดีตเวลาโจรจะขึ้นมา จะมาปิดประกาศให้เจ้าบ้านรู้ จะไปแจ้งความกับตำรวจ หรือนายอำเภอก็ไม่ทัน จึงต้องดูแลกันเอง กาลครั้งนั้นคุณยายกับน้องสาว ได้นำเอาผ้าที่เปื้อนเลือดไปแขวนไว้ที่ประตู เมื่อหัวหน้าโจรผ่านประตูเข้ามา มนต์ขลังของวิเศษที่ติดตัวมาจึงเสื่อม คุณยายอาตมาจึงใช้มีดฟันหัวหน้าโจรจนเสียชีวิต ส่วนลูกน้องโจรได้หนีถอยกลับไป

    ส่วนคุณปู่ทวดซึ่งเป็นชาว จ.ตรัง ได้แสดงความเด็ดเดี่ยวกล้าหาญ ขึ้นเปรียบมวยชกกับคนต่างถิ่น ที่ดูหมิ่นเหยียดหยามหาว่า ไม่มีคนตรังมีความสามารถทางมวย คุณปู่ทวดจึงอาสาขึ้นชก แม้จะตัวเล็ก แต่เมื่อขึ้นเวทีชก อาศัยความคล่องแคล่วว่องไว และสมาธิ ใช้เวลาไม่ถึงนาที สามารถชกนักมวยต่างถิ่นจนล้มคว่ำ ต่อมาจึงได้เป็นนายอำเภอ เป็นที่รู้จักไปทั่ว จ.ตรัง

    จนมาถึงคุณปู่ซึ่งเป็นคนดี มีความกล้าหาญ จนได้รับเลือกให้เป็นสมาชิกสภาผู้แทนฯ คนแรกของ จ.ตรัง จากนั้นส่งต่อให้กับคุณพ่อ แต่พอมาถึงอาตมา เราก็ปฏิเสธไม่อยากยุ่งเรื่องการเมือง ทุกเสียงของคุณพ่อ จึงเทคะแนนทั้งหมดไปให้นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี

    จะเห็นได้ว่า เส้นทางในการต่อสู้ของครอบครัวอาตมานั้น มีความหลากหลาย ดังนั้นเลือดของนักต่อสู้ ความเด็ดเดี่ยวของรากเหง้าอาตมา อยู่ในสายเลือดมาโดยตลอด เพราะถึงแม้จะไม่ได้เข้าสู่เส้นทางการเมือง แต่อาตมาก็เลือกเส้นทางสายนักวิชาการ เพราะช่วงที่เข้ามาสอนเรื่องเกี่ยวกับศาสนา ในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ต้องใช้ความอดทน ข่มใจไม่แสดงตัวว่า เรามีแม่ที่บวชเป็นภิกษุณี

    ช่วงนั้นต้องใช้ชีวิตแบบคน 2 โลก โลกหนึ่งคือสอนหนังสือ เขียนตำราวิชาการ อีกโลกหนึ่งต้องอยู่ที่วัด เพื่อศึกษาหาข้อมูล และเพื่อดูแลหลวงแม่ ภิกษุณีวรมัย และตอนนั้นเริ่มได้รับอิทธิพลในการต่อสู้เกี่ยวกับเรื่องราวของผู้หญิงมากมาย กระทั่งเมื่อได้บวชเป็นภิกษุณี จึงต้องปล่อยวาง รักษาจิตใจให้สงบ และเป็นกุศล

    อนาคตเราไม่รู้ว่า จะมีอะไรเกิดขึ้น แม้แต่อาตมาเอง ยังเคยประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เกือบเอาชีวิตไม่รอด แต่ช่วงนั้นคิดอย่างเดียวว่า บุญรักษา พระรักษา จึงรอดมาได้ หลังจากนั้นจึงได้กำหนดเส้นทางชีวิตด้วยการอุทิศตนเพื่อสังคม และพระพุทธศาสนา

    แม้ช่วงที่บวชกลับมาใหม่ จะโดนโจมตีอย่างมาก แต่เราก็ไม่หวั่นไหว ยึดเพียงหลักคำสอนพระพุทธศาสนา เพราะเมื่อเรามั่นคงในธรรมะ ธรรมะก็จะรักษาเราได้ และหากเราชื่อในพระพุทธศาสนา พระพุทธศาสนาก็จะปกป้องเราให้พ้นจากภัยพาลทั้งหลายได้

    ช่วงแรกสื่อพยายามที่จะผลักดันให้เราออกมาต่อสู้ เพื่อสิทธิเสรีภาพของผู้หญิง แต่เมื่อย้อนกลับมาคิด จึงรู้ว่าเรานั้นเองที่ตกเป็นเหยื่อ กว่าจะรู้ตัวตนของตัวเองก็โง่ไปเยอะ แต่ความโง่ในครั้งนั้น กลับทำให้เราพัฒนาตัวเองได้มาก แต่ทุกสิ่งที่อาตมาทำนั้นยืนยั่นว่า ทำเพื่อพระพุทธศาสนา และหลังจากนี้จึงไม่คิดจะต่อสู้กับใครอีกทั้งสิ้น

    ˹ѧ
     
  2. tutpon

    tutpon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 ตุลาคม 2009
    โพสต์:
    42
    ค่าพลัง:
    +120
    สงสัยครับเป็นนิกายแบบไหน ของไทยเราหรือเปล่า ทำไมอยู่ที่ประเทศศรีลังกา แล้ว ภิกษุณีสงฆ์นี้ นับถือศีล สามร้อยกว่าข้อเหมือนในพระไตรปิฎกของไทยหรือเปล่า ก่อนบวชต้องถือครุธรรมแปดประการเป็นเวลาสองปีหรือเปล่า และ ทำไมถึงต้องการให้เมืองไทยมี ภิกษุณีสงฆ์
     

แชร์หน้านี้

Loading...