พระวังหน้า ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก ถ้าต้องการที่จะได้.....

ในห้อง 'งานบุญอื่นๆ' ตั้งกระทู้โดย sithiphong, 23 ธันวาคม 2005.

  1. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    ยินดีครับ

    และต้องขอแสดงความยินดีกับเรื่องเมื่อวานนี้ที่ตัดสินใจได้ถูกต้องแล้ว

    ต้องมีแหล่งองค์ความรู้ไว้ที่ภาคเหนือด้วย แถมเป็นภาคเหนือตอนบนสุดของสยาม

    .
     
  2. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  3. chantasakuldecha

    chantasakuldecha เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 เมษายน 2008
    โพสต์:
    991
    ค่าพลัง:
    +2,331
    ด้วยความเมตตาของหลวงปู่โดยแท้
     
  4. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    โมทนาสาธุครับหลวงปู่พระอุปคุตเถระเจ้า

    โมทนาสาธุครับพี่หนุ่ม
     
  5. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    "ปางอุปคุตจกบาตร"
    ทางพม่ามีความเชื่อว่าพระอุปคุตเป็นผู้เอาการเอางานมาก ทำงานจนจะเลยเวลาฉันอาหารท่านจึงรีบฉันมือหนี่งก็ล้วงบาตร ตาก็หันมองพระอาทิตย์มีเรื่องเล่าว่าพระอาทิตย์ต้องหยุดรอท่านฉันจนเสร็จ

    ... ขนาดนั้นเลยหรือครับ...!?

    ที่มา : http://www.chumchontai.com

    ประวัติพระอุปคุต

    (จากคัมภีร์ไทยใหญ่) บรมครูเจ้าปั่นติ๊ต๊ะ เมืองหนอง รัฐฉาน ผู้เขียน
    เจ้าซอภณะ เมืองหนอง ผู้รวบรวม (พ.ศ. ๒๕๑๒)
    อาจารย์ประเวช คำสวัสดิ์ (อนุกรรมการวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน) ผู้แปล (พ.ศ. ๒๕๕๐)


    ประวติความเป็นมาของพระอุปคุต ที่อาศัยอยู่ในแม่น้ำมหาสมุทรตามที่ปรากฏในคัมภีร์ไทยใหญ่ (ลีกหลง) มีดังนี้
    ในสมัยนั้นเมืองราชคฤห์มีความเจริญรุ่งเรือง ใกล้เมืองราชคฤห์มีหมู่บ้านชาวประมงจำนวน ๕๐๐ หลังคาเรือน มีอาชีพประมงโดยมีเมืองราชคฤห์เป็นที่ค้าขายเรื่อยมา วันหนึ่งชาวประมงพากันไปหาปลา ได้ปลาใหญ่มาตัวหนึ่งมีขนาด ๗ - ๘ ศอก ช่วยกันฆ่าและตัดหัวปลาแต่ท้องปลาตัวนั้นโตมากจึงค่อย ๆ ผ่าท้องดู พบหญิงสาวมีรูปพรรณสวยงามมาก ครั้นนำหญิงสาวกลับมาบ้านผู้คนต่างก็มามุงดูมากมายทำให้ประชาวประมงคิดหวังลาภยศจึงได้นำตัวหญิงสาวไปถวายแด่เจ้าเมืองราชคฤห์ แล้วทูลเรื่องราวความเป็นมาให้ทรงทราบ เจ้าเมืองราชคฤห์ก็ได้รับนางไว้เป็นพระมเหสี พระราชทานรางวัลให้ชาวประมงเป็นอันมาก เหล่าอามาตย์จึงได้ขนานนามหญิงสาวว่า "พระนางมัจฉาเทวี" พระนางเป็นที่เสน่หาของพระราชามาก ต่อมาด้วยวิบากรรมแต่ชาติปางก่อน แม้พระนางจะมีสิริโฉมสักปานใด ก็เกิดมีกลิ่นคาวปลาเกิดขึ้นเป็นที่โจษจันของชาวบ้านชาวเมือง ไม่มีผู้ใดอยากเข้าใกล้ พระราชาเองแม้จะมีความเสน่หาโปรดปรานสักปานใด ก็ต้องขับไล่ให้ออกจากพระราชวัง โดยให้นำไปลอยแพในแม่น้ำ มีพระกระยาหารและเสื้อผ้าเครื่องทรงพร้อม พระนางมัจฉาเทวีทรงกรรแสงทั้งคืนทั้งวันได้รับทุกเวทนายิ่งนัก ทั้งนี้ด้วยวิบากกรรมเมื่อชาติปางก่อนนางได้นำปลาเน่าปาเพื่อน ๆ

    พระนางมัจฉาเทวีได้ร้องไห้อ้อนวอนพระอินทร์ ตลอดจนท้าวมาตุลีให้มาช่วย ขณะนั้นในป่าขุนเขาทางทิศใต้ของคุ้งน้ำนั้น มีพระฤษีตนหนึ่งชื่อ " อุปอิสสีลดาบส " อาศัยอยู่ ได้ยินเสียงแว่ว ๆ ของสตรี นึกเมตาสงสาร จึงได้ตัดไม้ทำเป็นตระขอใช้คล้องแพ พระฤษีรีบลงไปในแม่น้ำ พระนางมัจฉาเทวีเห็นดังนั้นจึงร้องขอความช่วยเหลือ ครั้นพระฤษีคล้องแพได้ก็สอบถามความเป็นมาเรื่งราวต่างๆ แล้วจึงพานางมัจฉาไปที่ใกล้ถ้ำ จัดที่พักให้เลี้ยงดูด้วยผลไม้ต่าง ๆ และคอยปลอบโยนให้คลายคามเศร้า รดด้วยน้ำพระธรรม ชี้ให้เห็นธรรมด้วยโลกธรรม ๘ ประการ พระนางมัจฉาเทวีก็รับฟังและทำใจได้ อาศัยอยู่กับพระฤษีท่ามกลางขุนเขา มีสัตว์เช่นเก้ง เลียงผา เป็นเพื่อน อยู่ห่างไกลจากหมู่บ้ามาก ติดตามพระฤษีไปหาผลไม้ บางครั้งก็เพลิดเพลินกับธรรมชาติ อยู่ปรนนิบัติพระฤษีเรื่อยมา การที่เพศหญิงชายอยู่ด้วยกันทำให้พระนางมัจฉาเทวีมีความเสน่หาในตัวพระฤษีแม้ไม่ได้ล่วงเกินประเพณีกัน แต่ต่อมาพระนางก็ตั้งครรภ์

    ในเรื่องการตั้งครรภ์นั้น
    พ่อแม่ได้ร่วมกามคุณกันแล้วตั้งครรภ์ขึ้นมาเรียกว่า " เมถุนสังวาสปฏิสนธิ "
    การที่น้ำเชื้อชายติดกับเสื้อผ้าฝ่ายหญิงเอาปากจูบแล้วตั้งครรภ์ขึ้นเรียกว่า " โจฬกปฏิสนธิ"
    การที่เอามือลูบคลำที่สะดือแล้วตั้งครรภ์ขึ้นมาเรียกว่า " นาภีปรามาสปฏิสนธิ"
    การที่สัมผัสกันทางร่างกายและมือลูบคลำแล้วตั้งครรภ์ขึ้นมาเรียกว่า "กายสังสัคคปฏิสนธิ"
    ผู้หญิงพอใจผู้ชายแล้วเกิดตั้งครรภ์เรียกว่า "รูปปฏิสนธิ"
    ได้ยินเสียงแล้วตั้งครรภ์ขึ้นมาเรียกว่า "สัททปฏิสนธิ"
    ได้กลิ่แล้วเกิดการตั้งครรภ์เรียก "คันธปฏิสนธิ"
    ได้สัมผัสแล้วเกิดการตั้งครภ์เรียกว่า "โผฐฐัพพปฏิสนธิ"
    รวมการตั้งครรภ์มี ๘ ประการดังนี้แล

    ครั้นพระนางมัจฉาเทวีตั้งครรภ์ครบกำหนดแล้วก็คลอดพระโอรสออกมา พระฤษีได้ดูแลพระนางมัจฉาเทวีเป็นอย่างดี พระกุมารที่ประสูติออกมา มีรูปกายแปลกประหลาด ผิวหนังเป็นปุ่มไปทั่ว ผิวคล้ำ รูปร่างเหมือนยักษ์ เนื่องจากอุปอิสสีละดาบสเป็นผู้ดูแล จึงขนานนามพระโอรสว่า "อุปคุต" พระกมารอาศัยอยู่ในป่า มีสัตว์ป่านานาชนิดเป็นเพื่อน พระฤษีพาไปตามป่าเขาลำเนาไพร ทำให้พระอุปคุตกุมารมีจิตใจห้าวหาญ ซุกซน อาศัยอยู่ในถ้ำกับพระฤษี

    พระฤาษีมีความเชี่ยวชาญทางโหราศาสตร์ ได้ทำนายว่า หากมัจฉาเทวีกับพระอุปคุตกุมาร พระชนนีและพระโอรสทั้งสองพระองค์กลับถึงวังเมืองราชคฤห์ จักได้เป็นผู้มีความเกษมสำราญ เป็นที่คำรพนับถือของชาวเมือง พระโอรสจักได้ออกผนวชเป็นพระอรหันต์ ถึงวันหนึ่งพระฤษีได้เรียกพระนางมัจฉาเทวีและพระอุปคุตกุมารมาแล้วบอกคำทพนายให้ฟัง เมื่อสดับฟังดังนั้นพรางมัจฉาเมวีมีความชื่นชมโสมนัสยิ่งนัก จึงได้กราบพระฤษีผู้มีศีลพาพระโอรสออกเดินทางไปตามป่าเขาลำเนาไพร เป็นเวลาหลายราตรีในท่ามกลางเสียสัตว์ป่าและดอกไม้นานาพันธุ์ ค่ำไหนหยุดพักนอนที่นั่น นอนตะแคงมองดูแสงเดือนหงายนยามค่ำคืน คิดถึงระยะทางที่ไกลแสนไกล ครั้นรุ่งเช้าก็เดินทางต่อ พอพ้นเขตป่า มแงเห็นตัวเมืองที่กว้างขวางใหญ่โต เป็นที่สนุกสนาน ขณะที่เข้ามาถึงตัวเมือง มีพลเมืองชุมนุมกันอยู่ ได้พูดกับชวเมืองถึงสาเหตุที่กลับคืนมา ชาวเมืองได้นำความไปกราบทูลเจ้าเมืองราชคฤห์ให้ทรงทราบ พระองค์ให้ไปรับเสด็จ มีเสียงฆ้องกลองดังสนั่นทั่วพระนคร พระราชาทอดพระเนตรเห็นพระโอรสมีเสน่หายิ่งนัก ทั้งพระชนนีและพระโอรสมีความเกษมสำราญพระราชหฤทัย ส่วนพระนางมิจฉาเทวีก็กลับมีพระวรกายหอมไม่เหม็นคาวอย่างเคย เจ้าเมืองราชคฤห์ยกพระนางัจฉาเทวีขึ้นเป็นพระมเหสี ต่อมามีพระประสงค์จะยกราชสมบัติให้เจ้าชาอุปคุต จึงได้ตรัสเรียกพระนางมัจฉาเทวีมาปรึกษา ฝ่ายพระนางก็คิดถึงคำทำนายของพระฤษี ทรงมีพระประสงค์ให้โอรสออกผนวชให้พ้นทุกข์ไม่ต้องเวียนว่ายในวัฏฏะสงสารอีกต่อไปและให้ได้เป็นพระอรหันต์ ด้วยความวิตกของพระนางมัจฉาเทวีเป็นเหตุให้พระที่นั่งบัณฑุกัมพลศิลาอาสน์ของพระอินทร์ร้อน พระอินทร์จึงทอดพระเนตรดูบนโลกจึงทรงทราบ จึงได้เสด็จลงมาอุ้มเอาพระอุปคุตกุมารเหาะขึ้นไปในอากาศ พระอุปคุตกุมารทรงคิดว่า ถ้าหากเอะอะโวยวายทรงเกรงว่าพระอินทร์จะปล่อยทิ้งลงไป ตนจะตายเปล่า จึงได้ทำจิตให้เป็นสมาธิ ถึงคราวตายจะได้พ้นทุกข์ เมื่อทำสามธิเกิดปัญญาเห็นแจ้งในสังขาร ดวงตาเห็นธรรม บรรลุเป็นพระอรหันต์ พระอิทร์ทราบถึงวาระจิตของพระโอรสจึงได้ปล่อยให้พระอุปคุตเหาะเหิรอากาศด้วยตนเอง

    พระอุปคุตเหาะไปในมองมาบนพื้นดินข้างล่าง เห็นมหาสมุทรกว้างใหญ่จึงลงมายังกลางมหาสุมทรเข้าไปอาศัยอยู่ในวัดกลางมหาสมุทรนั่นเอง ซึ่งเป็นที่สงบดังนั้น เมื่อเราทั้งหลายต้องการนิมนต์พระอุปคุต จึงให้ไปที่แม่น้ำแล้วกล่าวคำอธิฐานนิมนต์ท่านพร้อมด้วยภัตตาหาร ดอกไม้ ธูปเทียน เพื่อสักการะเพื่อบูชาท่านด้วย พระอรหันต์อุปคุตนั้นได้บรรลุอนุปากิเลสนิพพาน สิ้นกิเลสแล้วชีวิตอยู่อาศัยอยู่ในมหาสมุทร เข้าฌาณสมาบัติเป็นเวลา ๗ วัน ครบแล้วจะออกมาบิณฑบาตรครั้งหนึ่ง ในขณะที่ฉันภัตตาหารจะมองดูพระอาทิตย์ ด้วยเกรงว่าจะล่วงเลยเวลาเที่ยง ดังนั้นรูปของพระอุปคุตจึงมีลักษณะแหงนดูพระอาทิตย์ พระอุปคุตไม่ฝักใฝ่กับสงฆ์กลุ่มใด อยู่โดยลำพังองค์เดียว บำเพ็ญสมณธรรมเสวยความสงบสุขกลางมหาสมุทรในปราสาท อันเกิดจากบุญบารมีของท่านที่ได้สร้างเอาไว้ในชาติปางก่อน

    ที่มา: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=refugee&month=10-2008&date=26&group=4&gblog=1
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    แก้ไขครั้งล่าสุด: 26 มกราคม 2010
  6. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    เรียน ท่านสมาชิกชมรมรักษ์พระวังหน้า และคณะพระวังหน้าทุกๆท่าน

    หากช่วงไหน หรือระยะเวลาไหนที่ไม่สามารถเข้ามาที่กระทู้พระวังหน้าฯนี้ได้ ผมจะแจ้งข่าวสารต่างๆ ผ่านทาง Email ขอให้ทุกๆท่านเข้าไปอ่านข่าวสารต่างๆได้ทาง Email นะครับ

    ขอบคุณครับ
     
  7. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768

    ผมขอร่วมทำบุญด้วยครับ
     
  8. แหน่ง

    แหน่ง เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    741
    ค่าพลัง:
    +768
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 19 คน ( เป็นสมาชิก 3 คน และ บุคคลทั่วไป 16 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>แหน่ง, psombat, sithiphong+ </TD></TR></TBODY></TABLE>
    สวัสดีครับท่านเลขาฯ และท่านสมบัติ สบายดีไหมครับ
    ต้องขอโทษมากๆๆเลยครับ ที่ช่วงนี้งานยุ่งมาก ไม่ได้เข้ามาทักทาย
    กับพี่ๆ เพื่อนๆ เราเลยครับ
     
  9. nongnooo

    nongnooo เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    4,139
    ค่าพลัง:
    +9,446
  10. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    สวัสดีครับท่านแหน่ง ยุ่งนิดนึง แต่ก็ซำบายดีเด้อครับ!
     
  11. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
    งามครับ ภาพนี้จะสมบูรณ์เมื่อมีครบทั้งหน้า-หลังครับท่านรองฯ :)
     
  12. psombat

    psombat เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 กุมภาพันธ์ 2009
    โพสต์:
    1,334
    ค่าพลัง:
    +5,431
  13. พุทธันดร

    พุทธันดร เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    565
    ค่าพลัง:
    +3,969
    ขอบคุณคุณหนุ่มและคุณpsombatมากนะคะ
    และขอบคุณแทนพี่แอ๊วและคุณแม่ด้วยค่ะ
    และขอบารมีหลวงปู่ให้ทุกท่านสุขภาพแข็งแรงนะคะ
     
  14. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  15. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
  16. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>"ผักกูด" เฟิร์นกินได้
    Travel - Manager Online
    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>26 มกราคม 2553 18:09 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=center border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=300 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=300>[​IMG] </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE> "ผักกูด" แม้เป็นผัก แต่ก็จัดอยู่ในพืชประเภทเฟิร์น ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะอย่างเช่นริมลำธาร หรือตามชายคลอง ซึ่งผักกูดสามารถเป็นตัวบ่งชี้สภาพแวดล้อมได้ เพราะหากสภาพแวดล้อมไม่ดี ผักกูดก็จะไม่ขึ้น

    ผักกูดสามารถนำมาประกอบอาหารหลายอย่าง โดยเราจะนำยอดอ่อน ใบอ่อนมาทำเป็นอาหาร แถมเมนูจากผักกูดก็ยังอร่อยถูกปากหลายๆ คนเป็นพิเศษอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ยำผักกูด ผักกูดผัดน้ำมันหอย แกงปลากับผักกูด จะกินสดๆ หรือลวกจิ้มกับน้ำพริกก็ได้เช่นกัน แต่ไม่ควรกินสดบ่อยนักเพราะจะมีสารออกซาเลตสูง โดยสารนี้จะมีฤทธิ์ในการยับยั้งการดูดซึมของแคลเซียมและแร่ธาตุสำคัญๆ อีกทั้งหากสะสมสารนี้ไปในร่างกายมากๆ ก็จะทำให้ออกซาเลตไปตกผลึกสะสมในไตและกระเพาะปัสสาวะทำให้เป็นนิ่ว จึงควรทำผักกูดให้สุกก่อนกิน

    สารอาหารในผักกูดนั้นก็มีมากมาย โดยมีสารเบต้าแคโรทีน และธาตุเหล็กสูง นอกจากนั้นก็ยังให้แคลเซี่ยม ฟอสฟอรัส วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง วิตามินซี ไนอาซีน ผักกูดยังเป็นผักพื้นบ้านของไทยที่มีสรรพคุณทางยา โดยจะช่วยแก้ไข้ตัวร้อน แก้พิษอักเสบ บำรุงสายตา บำรุงโลหิต แก้โลหิตจาง ป้องกันเลือดออกตามไรฟัน ขับปัสสาวะ
    </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  17. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์มรณภาพ สิริอายุ 102 ปี
    MCOT News :

    กรุงเทพฯ 26 ม.ค. - สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม กรรมการมหาเถรสมาคม มรณภาพด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ที่โรงพยาบาลสงฆ์ สิริอายุ 102 ปี กำหนดเคลื่อนศพพรุ่งนี้ เวลา 09.30 น. ตั้งบำเพ็ญกุศล ณ ศาลากาญจนาภิเษก ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ 7 วัน พร้อมเครื่องประดับยศชั้นสมเด็จฯ และโกศไม้สิบสอง
    พระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ (สถาปนา) เลขานุการสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม เปิดเผยว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม กรรมการมหาเถรสมาคม มรณภาพด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ณ โรงพยาบาลสงฆ์ สิริอายุได้ 102 ปี 10 เดือน ทั้งนี้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เข้า-ออกโรงพยาบาลตั้งแต่ปี 2547 เป็นระยะ เนื่องจากรักษาโรคความดัน เบาหวาน ไต โดยล่าสุดได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ตั้งแต่วันที่ 17 ธันวาคม 2552 ที่ผ่านมา จนกระทั่งมรณภาพ
    พระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ กล่าวว่า ในวันพรุ่งนี้ (27 ม.ค.) เวลา 09.30 น. คณะสงฆ์วัดสุวรรณารามกำหนดเคลื่อนศพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์จากโรงพยาบาลสงฆ์ ไปตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ศาลากาญจนาภิเษก จากนั้นตั้งแต่เวลา 12.00 น. เป็นต้นไป จะเปิดให้คณะศิษย์และประชาชนทั่วไปร่วมพิธีรดน้ำศพ เพื่อแสดงความอาลัย เวลา 17.00 น. ประกอบพิธีพระราชทานสรงน้ำศพและประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในพระบรมราชานุเคราะห์ โดยพิธีดังกล่าวได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นเวลา 7 วัน พร้อมด้วยเครื่องประดับยศชั้นสมเด็จฯ และโกศไม้สิบสองพระราชทานเป็นพิเศษ นอกจากนี้ พระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ในกรรมการมหาเถรสมาคมทุกรูปจะเข้าร่วมพิธีรดน้ำศพด้วย

    พระครูวรวงศ์ พระลูกวัดสุวรรณาราม ในฐานะลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด กล่าวว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ได้สร้างผลงานให้กับคณะสงฆ์อย่างมากมาย ท่านมีความเป็นห่วงมาก เรื่องการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดสุวรรณารามที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือ หลวงพ่อศาสดา พระประธานของพระอุโบสถ ที่ชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธากันมาก ด้วยขณะนี้พระอุโบสถได้ซ่อมแซมคืบหน้าแล้วกว่าร้อยละ 50 การมรณภาพของท่าน ทำให้ลูกศิษย์ทุกคนต่างเสียใจเป็นอันมาก
    สำหรับประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ นามเดิม พุฒ นามสกุล สุวัฒนกุล เกิดวันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2450 บิดา นายเพ็ชร สุวัฒนกุล มารดา นางคำ ชาติภูมิ ที่บ้านมะขามเรียง ตำบลจำปา อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยได้เรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมกับหลวงพ่อวัดตะลุง จังหวัดลพบุรี ครั้นถึงปี 2466 ได้มาอยู่กับพระเจริญ คณะ 4 วัดสุทัศนเทพวราราม และได้บรรพชาเป็นสามเณรในปี 2467 พร้อมกับเริ่มเรียนนักธรรม
    ในปี 2471 ได้อุปสมบทที่วัดบัวงาม อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา พระญาณไตรโลก (ฉาย) วัดพนัญเชิง เป็นพระอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์ปัด วัดสะตือ พระอธิการอุ่น วัดหนองแห้ว เป็นกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วกลับมาอยู่ที่วัดสุทัศนฯ และสอบได้ ปธ.7 ในปี 2479 และในปี 2493 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พุทธิญาณมุนี ปี 2502 ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม ในปีนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินพระราชทานผ้าพระกฐิน และในปีเดียวกันนี้ยังได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นราชที่พระราชพุทธิญาณ
    ปี 2509 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นเทพที่พระเทพญาณสุธีฯ ปี2521 ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์พระธรรมราชานุวัตรวัดสุวรรณาราม ขึ้นเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญญบัฏที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ และได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ในปี 2539
    สำหรับผลงาน ได้เป็นผู้ก่อตั้งสหภูมิอยุธยาขึ้นเมื่อปี 2496 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระพุทธญาณมุนี เพื่อสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรที่มาศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลี สามัญศึกษา และอุดมศึกษา ที่กรุงเทพฯ โดยพระภิกษุ-สามเณร ซึ่งเป็นชาวอยุธยาทุกวัดที่มาสมัครเป็นสมาชิกไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้น ปัจจุบันดำรงตำแหน่งองค์ประธาน การรวมตัวกันของ "สหภูมิอยุธยา" ถือเป็นแบบอย่างที่ดีในการสร้างสรรค์และช่วยเหลือพระภิกษุ-สามเณรที่ขาดแคลนทุนการศึกษา และเป็นการให้คำปรึกษาสนับสนุนระดมทุนสร้างเสถียรภาพให้กับวงการพระพุทธศาสนาจนถึงปัจจุบันนี้. -สำนักข่าวไทย
     
  18. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    <TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=headline vAlign=baseline align=left>จีโข่วหนิวโฮ่ว : ปากไก่บั้นท้ายโค
    China - Manager Online

    </TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD bgColor=#cccccc height=1>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์</TD><TD class=date vAlign=baseline align=left>27 มกราคม 2553 05:32 น.</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD vAlign=center align=middle>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=4 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left>鸡 (jī) อ่านว่า จี แปลว่า ไก่
    口 (kǒu) อ่านว่า โข่ว แปลว่า ปาก
    牛 (niú) อ่านว่า หนิว แปลว่า โค
    后 (hòu) อ่านว่า โฮ่ว แปลว่า หลัง (ในที่นี้หมายถึงก้น/บั้นท้าย)


    </TD></TR><TR><TD class=body vAlign=baseline align=left><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 align=left border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle><TABLE cellSpacing=0 cellPadding=0 width=320 border=0><TBODY><TR><TD vAlign=top align=middle width=320>[​IMG] </TD></TR><TR><TD class=Image vAlign=baseline align=left><CENTER>ภาพจาก ahstbzp.blog.163.com</CENTER></TD></TR></TBODY></TABLE></TD><TD width=5>[​IMG]</TD></TR><TR><TD vAlign=top align=middle height=5>[​IMG]</TD></TR></TBODY></TABLE>ในสมัยจั้นกั๋ว หรือสงครามระหว่างรัฐ มีคนผู้หนึ่งนามว่า "ซูฉิน" ซึ่งต้องการเผยแพร่ความคิดทางการปกครองของตนเอง จึงเดินทางไปยังรัฐฉิน ถวายฎีกาต่ออ๋องรัฐฉินติดต่อกันถึง 10 ครั้ง เพื่อนำเสนอแนวทางการปกครองในแบบของตนเองที่เรียกว่า "ประสานแนวขวาง-ดิ่ง" โดนมีเนื้อหาหลักในการสนับสนุนให้รัฐฉินและรัฐอีก 6 รัฐที่เหลือเชื่อมสัมพันธ์สร้างสหภาพขึ้นมา จากนั้นจึงค่อยให้รัฐฉินทำสงครามโจมตีแต่ละรัฐ ไล่ไปทีละรัฐ ทว่าอ๋องฉินฮุ่ยเหวินไม่สนใจแนวคิดดังกล่าว

    เมื่อไม่ได้รับการสนับสนุน ซูฉินหมดอาลัยตายอยากเดินทางกลับบ้านเกิด เมื่อผู้คนที่บ้านเกิดเห็นเขาอยู่ในสภาพล้มเหลวก็ไม่ใคร่อยากจะสนทนาปราศรัยด้วย ภายหลังซูฉินจึงปรับแนวคิดด้านการปกครองของตนเอง โดยเปลี่ยนให้ 6 รัฐรวมตัวกันเพื่อนต่อต้านรัฐฉินแทน ที่เรียกว่า "ร่วมแนวดิ่ง"

    ในขณะเดียวกัน ยังมีคนอีกผู้หนึ่ง นามว่า "จางอี้" ซึ่งเป็นทูตที่รัฐฉินส่งให้ไปเจรจาเพื่อรัฐต่างๆ ยอมศิโรราบ ภายใต้แนวคิด "ประสานแนวขวาง" โดยเขาได้เดินทางไปยังรัฐหาน เพื่อข่มขู่อ๋องรัฐหานให้ยอมจำนนต่อรัฐฉิน ไม่เช่นนั้นจะไม่สามารถอยู่อย่างสงบสุขต่อไป
      
    ต่อมา เมื่อซูฉิน ทราบเรื่องดังกล่าว ได้เดินทางไปยังรัฐหาน และกล่าวกับอ๋องรัฐหานว่า "อาณาเขตรัฐหานกว้างใหญ่ มีตำแหน่งได้เปรียบเชิงยุทธศาสตร์ เหตุใดต้องยอมศิโรราบให้รัฐฉิน หากรัฐหานยอมศิโรราบแล้ว อ๋องรัฐฉินต้องยึดเอาดินแดนของรัฐหานไปเรื่อยๆ ปีนี้ยึดบางส่วน ปีหน้ายึดเพิ่มขึ้น แผ่นดินรัฐหานก็จะย่นย่อลงในขณะที่แผ่นดินรัฐฉินกว้างไกลไร้ขอบเขต มีคำกล่าวว่า ยอมเป็นปากไก่ ดีกว่าเป็นบั้นท้ายโค หากรัฐหานยอมตามใจรัฐฉินก็ไม่ต่างจากการไปเป็นบั้นท้ายของโค มิใช่น่าละอายดอกหรือ?"

    อ๋องรัฐหานได้ฟังก็เห็นด้วยกับความคิดของซูฉิน กล่าวว่า "แม้ตายข้าก็ไม่ขอเป็นบั้นท้ายของรัฐฉิน" โดยซูฉินใช้วิธีเดียวกัน ค่อยๆ ไปเกลี้ยกล่อมรัฐที่เหลือที่ละรัฐๆ จนครบ 6 รัฐ ต่อมาทั้ง 6 รัฐจึงรวมตัวกันก่อตั้งสหภาพโดยมีรัฐฉู่เป็นผู้นำ และมีซูฉินเป็นเสนาธิการ ดำเนินการแข็งข้อต่อรัฐฉินเรื่อยมา ซึ่งสถานการณ์ดังกล่าวดำเนินมาจนกระทั่งอ๋องฉินสื่อ(จิ๋นซีฮ่องเต้) รวมจีนเป็นประเทศในที่สุด

    ยอมเป็นปากเล็กๆ แต่สะอาดของไก่ ดีกว่ายอมเป็นทวารใหญ่ แต่เหม็นอาจมของโค ใช้เปรียบเปรยถึงการยอมเป็นนายตัวเองในที่เล็กๆ ดีกว่าอยู่ในองค์กรใหญ่แต่ต้องคอยทำตามคำบัญชาจากผู้อื่น


    ตัวอย่างประโยค
    现在他已经明白鸡口牛后的道理。
    ตอนนี้เขาเข้าใจถึงเหตุผลของคำว่า แจ่มแจ้งแล้ว



    ที่มา ?ٶȰٿơ???ȫDz׮?<!-- google_ad_section_end --> </TD></TR></TBODY></TABLE></TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  19. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948


    ขอกราบไว้อาลัยแด่องค์สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม เป็นอย่างสูงครับ

    .
     
  20. sithiphong

    sithiphong เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 ธันวาคม 2005
    โพสต์:
    45,445
    ค่าพลัง:
    +141,948
    “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” วัดสุวรรณาราม มรณภาพ

    “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” วัดสุวรรณาราม มรณภาพ | ISNHOTNEWS.COM

    [​IMG]

    เมื่อวันที่ 26 มกราคม พระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ (สถาปนา) เลขานุการสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดสุวรรณาราม กรุงเทพฯ เปิดเผยว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม กรรมการมหาเถรสมาคม (มส.) ได้มรณภาพด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด ณ โรงพยาบาลสงฆ์ สิริอายุรวม 103 ปี ทั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เข้ารักษาอาการป่วยตั้งแต่ปี 2547 เป็นระยะ เนื่องจากต้องรักษาโรคความดัน เบาหวาน และโรคไต ซึ่งล่าสุดได้เข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลสงฆ์ เมื่อวันที่ 17 ธันวาคมที่ผ่านมาจนกระทั่งมรณภาพด้วยอาการติดเชื้อในกระแสเลือด เมื่อวันที่ 26 มกราคม เวลาประมาณ 01.00 น.

    พระครูปลัดสัมพิพัฒนศิลาจารย์ กล่าวว่า ในเวลาประมาณ 09.30 น. วันที่ 27 มกราคม คณะสงฆ์วัดสุวรรณารามจะเคลื่อนศพสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์จากโรงพยาบาลสงฆ์ เพื่อตั้งศพบำเพ็ญกุศล ณ ศาลากาญจนาภิเษก หลังจากนั้นในเวลา12.00 น. จะเปิดให้คณะศิษย์และประชาชนทั่วไปได้ร่วมพิธีรดน้ำศพ เวลา 17.00 น. ประกอบพิธีพระราชทานสรงน้ำศพและประกอบพิธีบำเพ็ญกุศลในพระบรมราชานุเคราะห์ ทั้งนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงรับไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ เป็นเวลา 7 วัน พร้อมด้วยเครื่องประดับยศชั้นสมเด็จฯ และโกฏิไม้สิบสองพระราชทานเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตาม กรรมการ มส. และพระเถรานุเถระชั้นผู้ใหญ่ทุกรูปจะเข้าร่วมพิธีรดน้ำศพด้วย

    พระครูวรวงศ์ พระลูกวัดสุวรรณาราม ในฐานะลูกศิษย์ผู้ใกล้ชิด กล่าวว่า สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ สร้างผลงานให้กับคณะสงฆ์อย่างมากมาย ท่านมีความเป็นห่วงเรื่องการบูรณะซ่อมแซมพระอุโบสถวัดสุวรรณาราม ที่ประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ คือหลวงพ่อศาสดา พระประธานของพระอุโบสถ ซึ่งชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธากันมาก โดยตอนนี้พระอุโบสถได้ซ่อมแซมไปแล้วกว่า 50 เปอร์เซ็นต์
    อนึ่งสำหรับประวัติสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ชื่อเดิม พุฒ นามสกุล สุวัฒนกุล เกิดวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2450 บิดาชื่อ นายเพ็ชร สุวัฒนกุล มารดาชื่อ นางคำ ชาติภูมิบ้านมะขามเรียง จ.พระนครศรีอยุธยา ทั้งนี้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ได้เรียนหนังสือไทยและหนังสือขอมกับหลวงพ่อวัดตะลุง จ.ลพบุรี จนถึงปี 2466 จากนั้นได้มาอยู่กับพระเจริญ คณะ 4 วัดสุทัศนเทพวราราม และได้บรรพชาเป็นสามเณรในปี2467 และได้เริ่มเรียนนักธรรม

    ในปี 2471 ได้อุปสมบทที่วัดบัวงาม อ.ท่าเรือ จ.พระนครศรีอยุธยา พระญาณไตรโลก (ฉาย) วัดพนัญเชิงเป็นพระอุปัชฌาย์ อุปัชฌาย์ปัด วัดสะตือ พระอธิการอุ่น วัดหนองแห้ว เป็นกรรมวาจาจารย์ เมื่ออุปสมบทแล้วกลับมาอยู่ที่วัดสุทัศนฯ จากนั้นสอบได้ ป.ธ.7 ในปี 2479 และในปี 2493 ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่พุทธิญาณมุนี ปี 2502 ย้ายมาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสุวรรณาราม และได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นราชที่พระราชพุทธิญาณ และปี 2509 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นชั้นเทพที่พระเทพญาณสุธีฯ และปี 2521 ในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาสมณศักดิ์พระธรรมราชานุวัตรวัดสุวรรณาราม ขึ้นเป็นรองสมเด็จพระราชาคณะชั้นหิรัญญบัฏที่ พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ และได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะชั้นสุพรรณบัฏ ที่สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ในปี 2539

    สำหรับผลงานได้เป็นผู้ก่อตั้งสหภูมิอยุธยาเมื่อปี 2496 เพื่อสงเคราะห์พระภิกษุสามเณรที่มาศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมบาลี สามัญศึกษา และอุดมศึกษา และปัจจุบันดำรงตำแหน่งองค์ประธานการรวมตัวกันของ “สหภูมิอยุธยา”

    ที่มา ผู้สื่อข่าว ISNHOTNEWS 26 มกราคม 2553
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

    • 470.jpg
      470.jpg
      ขนาดไฟล์:
      1.8 KB
      เปิดดู:
      371
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 มกราคม 2010

แชร์หน้านี้

Loading...