GNH:ความสุขพอเพียง แห่งราชอาณาจักรภูฏาน

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย NoOTa, 22 มิถุนายน 2006.

  1. NoOTa

    NoOTa Super Moderator ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    14 มิถุนายน 2005
    โพสต์:
    20,125
    กระทู้เรื่องเด่น:
    349
    ค่าพลัง:
    +64,492
    <TABLE cellSpacing=5 cellPadding=1 width="100%"><TBODY><TR><TD>
    [​IMG]

    </TD><TD vAlign=top align=right>

    </TD></TR></TBODY></TABLE>
    [​IMG]
    งานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี พระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผ่านพ้นไปแล้ว แต่บรรยากาศแห่งความยิ่งใหญ่สง่างามของพระราชพิธียังอยู่ในความทรงจำของคนทั้งโลกมิรู้ลืม โดยเฉพาะการเสด็จมาร่วมถวายพระพรของบรรดาพระราชาธิบดี พระบรมวงศานุวงศ์ ผู้แทนพระองค์ จากสถาบันกษัตริย์ถึง 25 ประเทศ ซึ่งไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ชาติไทย

    ในบรรดาพระราชอาคันตุกะที่มาร่วมถวายพระพรพระเจ้าอยู่หัวนั้น พระบรมวงศานุวงศ์ที่เรียกเสียงกรี๊ดจากสาวไทยมากที่สุดและคงจะอยู่ในดวงใจพวกเราไปอีกนานก็คือ มกุฎราชกุมาร จิกเม เกซาร์ นัมเกล วังชุก แห่งราชอาณาจักรภูฏาน เจ้าชายโสดผู้ทรงพระราชสมภพเมื่อวันที่ 21 ก.พ.2523 พระชนมายุเพียง 26 ชันษา ผู้ทรงพระสิริโฉมผนวกกับพระจริยาวัตรและพระอัธยาศัยงดงามติดตาตรึงใจไปทั่ว ด้วยรอยยิ้มพิมพ์ใจที่เปล่งประกายออกมาทั้งพระพักตร์และพระเนตรที่รวมทั้งการยกพระหัตถ์ไหว้ทักทายผู้คนอย่างไม่ถือพระองค์

    เจ้าชายจิกเมทรงเป็นพระราชโอรสของพระราชินีอาชิ เทอลิง ยังดอง วังชุก พระราชินีองค์ที่ 3 ในจำนวน 4 พระองค์ของสมเด็จพระราชาธิบดี

    จิกเม ซิงเย วังชุก ทรงมีพระนามที่ใช้เรียกระหว่างพระราชวงศ์ว่า "เกซาร์" ซึ่งเป็นชื่อของจอมทัพชาวมองโกล ทรงโปรดกีฬายิงธนูและการใช้ชีวิตกลางแจ้ง

    องค์มกุฎราชกุมารภูฏานทรงสำเร็จการศึกษาหลักสูตรการอบรมด้านรัฐศาสตร์การทูตและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด สหราชอาณาจักร หลักสูตรการป้องกันประเทศจากวิทยาลัยป้องกันชาติอินเดีย ประเทศอินเดีย และหลักสูตรนวัตกรรมในการปกครอง (Innovations in Governance) จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐอเมริกา

    ในปี 2551 ซึ่งจะครบ 100 ปีการปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของภูฏาน เจ้าชายจิกเมจะเสด็จขึ้นครองราชย์แทนพระราชบิดาซึ่งสละราชสมบัติและเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญแบบเดียวกับไทย แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังต้องการปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ต่อไป เพราะเกรงว่าประชาธิปไตยอาจก่อให้เกิดปัญหาความวุ่นวายและการฉ้อราษฎร์บังหลวงภายในประเทศเหมือนกับประเทศเพื่อนบ้าน

    ด้วยเหตุนี้องค์มกุฎราชกุมารจึงใส่พระทัยการพัฒนาชนบท เสด็จไปดูแลทุกข์สุขรับฟังปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ อยู่เสมอ และทรงตั้งพระทัยที่จะดำเนินรอยตามพระยุคลบาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชเป็น "ว่าที่กษัตริย์นักพัฒนา" ในอนาคต โดยทรงมีคติประจำพระองค์ว่า

    "คิดถึงคนอื่นก่อนคิดถึงตนเอง และต้องการให้ประเทศประสบความสำเร็จหรือรุ่งเรืองมากที่สุด"

    ราชอาณาจักรภูฏาน (Bhutan) หมายถึง "แผ่นดินบนที่สูง" เป็นอาณาจักรเล็กๆ ตั้งอยู่บนเทือกเขาหิมาลัยระหว่างทิเบตกับรัฐอัสสัมของอินเดีย แต่ชาวภูฏานเรียกตัวเองตามภาษาท้องถิ่นว่า Druk Yul (ดรุกอือ) แปลว่า "ดินแดนแห่งมังกรผู้รักสันติ" และเรียกเผ่าพันธุ์ตนว่า "ดรุกปา" จึงไม่น่าแปลกใจที่สายการบินประจำชาตินี้มีชื่อว่า "ดรุกแอร์"

    ประเทศภูฏานมีเอกลักษณ์อันโดดเด่นในเรื่องการดำเนินนโยบายแบบเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการประกาศว่าจะไม่สนใจ GNP - Gross National Product (ผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ) แต่จะสนใจ GNH-Gross National Happiness หรือ "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" มากกว่า

    ด้วยเหตุนี้ นิตยสาร "ไทม์" ฉบับพิเศษในเดือนมิถุนายนนี้จึงยกย่องให้พระราชาธิบดีจิกเม ซิงเย

    วังชุก (Jigme Singye Wangchuck) เป็นหนึ่งใน 100 บุคคลผู้ทรงอิทธิพลของโลกประจำปี 2006 ในฐานะที่ชีวิต ผลงาน และความคิดของพระองค์สามารถสร้างแรงบันดาลใจต่อชีวิตผู้อื่นได้อย่างดี โดยเฉพาะชาวภูฏานได้ยึดมั่นในองค์พระมหากษัตริย์ พุทธศาสนา และวัฒนธรรมอย่างเหนียวแน่น

    ปัจจุบันภูฏานมีประชากรราว 2.2 ล้านคน ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ และ 90% ทำงานในภาคเกษตรกรรม ซึ่งหากจะวัดดัชนีความร่ำรวยจาก GDP หรือ GNP แล้ว ภูฏานจัดอยู่ในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกเป็นลำดับที่ 191 จากจำนวน 226 ประเทศ แต่ชาวภูฏานทุกคนจะมีที่ดินทำกินที่รัฐบาลจัดสรรให้ 10 ไร่ ภายใต้การปกครองที่มุ่งการพัฒนาให้ประชาชนมีความสุขมากกว่าอย่างอื่น

    มีสิ่งที่คล้ายคลึงกันระหว่างราชวงศ์ไทยและราชวงศ์ภูฏานก็คือ ระหว่างการเสด็จขึ้นครองราชย์ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดำรัสครั้งสำคัญอันเปรียบเสมือนพันธะสัญญาที่ทรงให้ไว้แก่พสกนิกรว่า

    "เราจะปกครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม"

    ขณะที่สมเด็จพระราชาธิบดีจิกเม ซังเย วังชุก ก็มีพระราชดำรัสในวันบรมราชาภิเษกเมื่อปี 1972 ที่กินใจว่า

    "Gross National Happiness (GNH) is more important than Gross National Product (GNP)"

    หาก "ความสุขมวลรวมประชาชาติ" ของชาวภูฏานหมายถึงคุณภาพชีวิตของประชาชน เอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมอันโดดเด่น การปกครองด้วยสติปัญญา และการพิทักษ์รักษาสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งป่าเขาลำเนาไพรและลำธารน้ำใสสะอาดที่ยังมีอยู่อย่างอุดมสมบูรณ์ เราย่อมเห็นได้จากพระอิริยาบถและพระพักตร์อันเปี่ยมล้นด้วยความสงบงาม ความสุข ความเมตตา ความอ่อนน้อมถ่อมพระองค์ในเจ้าชายมกุฎราชกุมารแห่งภูฏาน

    พระองค์ทรงเป็นสัญลักษณ์แห่งดัชนีความสุขของชาวภูฏานที่เปล่งประกายเบ่งบานในใจคนไทยที่เทิดไท้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวผู้ครองแผ่นดินโดยธรรม และผู้นำในการสร้างเศรษฐกิจแบบพอเพียงของชาวสยามดุจเดียวกัน

    ยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศของภูฏานนี้เป็นยุทธศาสตร์เชิงปรัชญาเปี่ยมด้วยอุดมคติอันสูงส่ง น่าทึ่งและน่าเรียนรู้ แม้กระทั่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ก็ยังเคยเอ่ยปากชื่นชมในแนวทางและตั้งคำถามถึงยุทธศาสตร์การพัฒนาของไทยที่มุ่งเน้นแต่การเติบโตทางเศรษฐกิจ หวังแค่เพิ่มตัวเลข GDP ให้ดูดี โดยไม่คำนึงถึงต้นทุนทางสังคมอื่นๆ ที่ตามมา

    ตัวอย่างหนึ่งของปรัชญา GNH ก็คือ แม้ภูฏานจะมีรายได้หลักจากการท่องเที่ยวแต่ก็ระมัดระวังในการเปิดประตูรับผู้คนและไม่ยอมแปรประเทศให้เป็นทุนเหมือนประเทศอื่นที่มุ่งเน้นการขายวัฒนธรรมและสิ่งแวดล้อมเพื่อแลกกับเงินตราต่างประเทศอย่างไม่ลืมหูลืมตา ภูฏานยังเน้นการรักษาป่าไม้ไว้ได้ถึงร้อยละ 66 และเก็บภาษีท่องเที่ยวต่อหัวถึงวันละ 200 เหรียญสหรัฐ เพื่อจำกัดปริมาณนักท่องเที่ยวไม่ให้เกินปีละ 8,000 คน ดังนั้นการเดินทางไปท่องเที่ยวภูฏานจึงมีค่าใช้จ่ายสูง แต่ก็คุ้มค่าเมื่อแลกกับสภาพธรรมชาติและวัฒนธรรมที่ยังได้รับการดูแลรักษาไว้อย่างดี

    ที่สำคัญภูฏานยังคงรักษารูปแบบทางวัฒนธรรมของตัวเองไว้ได้อย่างเหนียวแน่น โดยรัฐบาลได้รณรงค์ให้ชาวภูฏานใส่ชุดประจำชาติเป็นชุดประจำวัน ซึ่งพระราชวงศ์ทุกพระองค์ได้ทรงปฏิบัติเป็นแบบอย่าง เช่นเดียวกับที่เราได้เห็นฉลองพระองค์ชุดประจำชาติของมกุฎราชกุมารจิกเม โดยชุดประจำชาติของฝ่ายชายเรียกว่า โค ส่วนของฝ่ายหญิงคือ คีร่า

    ชาวภูฏานเชื่อว่าศาสนานำพาความสุขมาให้พวกเขามากกว่าลัทธิบริโภคนิยม รัฐบาลจึงมุ่งให้ประชาชนตระหนักว่าคุณภาพชีวิตอยู่ที่จิตใจไม่ใช่วัตถุ คนภูฏานจึงเป็นคนธรรมะธัมโมสุดๆ แทบจะไม่นิยมการฆ่าสัตว์ตัดชีวิตเลย การจับปลาล่าสัตว์ถือเป็นสิ่งผิดกฎหมาย หากจะจับกินกันในครัวเรือนต้องได้รับใบอนุญาตและต้องละเว้นจับปลาในฤดูวางไข่ ส่วนเนื้อหมู วัว ไก่ มักจะเลี้ยงและฆ่าเพื่อรับประทานในครอบครัวเท่านั้น มีน้อยมากที่จะฆ่าเพื่อขาย เนื้อสัตว์ในตลาดสดเกือบทั้งหมดเป็นเนื้อที่ชำแหละและนำเข้ามาจากอินเดีย

    พ่อแก่แม่เฒ่าบางคนเคร่งครัดในการถือศีลถึงขั้นไม่ดื่มชาด้วยซ้ำไป เพราะเห็นว่ากระบวนการผลิตชาต้องทำลายชีวิตหนอนและแมลงบางชนิด

    ภูฏานเป็นประเทศเดียวในโลกที่ห้ามไม่ให้มีการซื้อขายและสูบบุหรี่ในที่สาธารณะ ใครฝ่าฝืนถือว่าผิดกฎหมายโดยไม่มีข้อยกเว้น และรัฐบาลเพิ่งจะอนุญาตให้ประชาชนรับชมโทรทัศน์และมีอินเทอร์เน็ตได้ในปี ค.ศ.1999 นี่เอง จากเดิมที่รับข่าวสารจากโลกภายนอกผ่านทางสถานีวิทยุเพียงอย่างเดียว แต่รายการทีวีทั้งหมดนั้นควบคุมโดยรัฐบาล จึงไม่มีช่องมวยปล้ำ แฟชั่น และเอ็มทีวี ทั้งไม่อนุญาตให้มีจานรับสัญญาณดาวเทียมที่สามารถรับสัญญาณโทรทัศน์ได้โดยตรงจากต่างประเทศ

    แต่เด็กๆ ชาวภูฏานก็ได้รับการศึกษาอย่างดี โดยรัฐบาลดูแลให้ได้เรียนภาษาอังกฤษกับภาษาภูฏาน (ภาษาซงกา-Dzongkha) ในสัดส่วน 50:50 ตั้งแต่เริ่มเข้าโรงเรียน เพราะรู้ตัวว่าเป็นประเทศเล็กไม่มีทางออกทะเล ภาษาอังกฤษจะช่วยให้ติดต่อกับโลกภายนอกได้สะดวก

    ภูฏานมีดอกป๊อบปี้สีฟ้าเป็นดอกไม้ประจำชาติ และก็มีสัตว์ประจำชาติเรียกว่า ทาคิน (takin) เจ้าทาคินนี้หน้าตาคล้ายแพะแต่มีขนยาว ตัวโตเท่าวัว ลักษณะเป็นสัตว์เชื่องน่ารัก มักจะอาศัยอยู่กันเป็นฝูงในที่สูง 4,000 เมตร ชอบกินไม้ไผ่เป็นอาหาร

    ในฐานะพสกนิกรชาวไทยขอถวายพระพรให้ทรงนำทางชาวภูฏานไปสู่หนทางแห่งความสุขอย่างยั่งยืน สำเร็จตามพระราชประสงค์ในการสร้างความสุขมวลรวมประชาชาติทุกประการ

    ที่มา
    [​IMG]
     
  2. marine24

    marine24 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 สิงหาคม 2005
    โพสต์:
    2,223
    ค่าพลัง:
    +15,633
    รัฐบาลภูฏาน ช่างมีวิสัยทัศน์ที่กว้างไกล วางแผนที่จะพัฒนาประเทศให้เจริญแบบยั่งยืน น่าชมเชยอย่างยิ่ง เขาเป็นประเทศเล็ก ขาดความรู้ทางเทคโนโลยี่ แต่เขามีแนวความคิดที่จะพัฒนาประเทศ โดยที่ไม่เน้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่เขาเน้นทางด้านการเจริญทางสังคม วัฒนธรรมและรักษาสิ่งแวดล้อม จะทำให้ประชาชนเขามีความสุขประเทศเจริญอย่างมั่นคง แต่ต้องระวังอย่าให้กระแสทุนนิยมทำลายระบบของเดิมที่มีอยู่ ต้องสร้างเกราะป้องกันเอาไว้ พบกันแค่ครึ่งทาง เขาคิดถูกอุตสาหกรมมท่องเที่ยว จะสร้างรายได้เข้าประเทศอย่างมากต่อไปในอนาคตเพราะไม่ต้องลงทุนสูงแต่ต้องพยายามรักษาแบบเดิมให้มากที่สุด
     

แชร์หน้านี้

Loading...