ประวัติ-ธรรมะ ลป.ตื้อ อจลธมฺโม

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย HONGTAY, 17 ตุลาคม 2009.

  1. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    <TABLE style="BORDER-BOTTOM-COLOR: #888; BORDER-RIGHT-WIDTH: 1px; BORDER-TOP-COLOR: #888; BORDER-COLLAPSE: collapse; BORDER-TOP-WIDTH: 1px; BORDER-BOTTOM-WIDTH: 1px; BORDER-RIGHT-COLOR: #888; BORDER-LEFT-COLOR: #888; BORDER-LEFT-WIDTH: 1px" border=1 cellSpacing=0 borderColor=#888><TBODY><TR><TD style="WIDTH: 60px">
    [​IMG]
    </TD></TR></TBODY></TABLE>​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif][/FONT] ​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]การออกบวช
    [/FONT]​

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ท่านพระพระอาจารย์ตื้อ เป็นผู้ที่มีนิสัยรักความสงบได้เข้าเป็นศิษย์วัดตั้งแต่ยังเด็ก และได้รับการบรรพชาเป็นสามเณรเป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษา มีนิสัยตรงไปตรงมาและเป็นที่น่าวังเกตว่าในเครือญาติของท่านมีใจใฝ่ในการออกบรรพชา และอุปสมบททั้งนั้น และถ้าเป็นหญิง (ผู้หญิง) ก็จะเข้าบวชชีตลอดชีวิต สำหรับการบวชเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนานั้น เริ่มด้วยท่าได้มีอายุ ๒๑ ปีบวชครั้งแรกเป็นฝ่ายมหานิกายเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๕๒ บวชนานถึง ๑๙ พรรษา จนถึงปี พ.ศ. ๒๔๗๑ ก็จึงได้ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุติกาย จนถึงวาระสุดท้ายได้ ๔๑ พรรษา รวมอายุได้ ๘๑ ปี ๖๕ พรรษา มีม่านเจ้าคุณบาลีคุณูปมาจารย์ เป็นพระวาจาจารย์ พระครูนพีสีฯ เป็นพระอนุสาวนาจารย์[/FONT]​
     
  2. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ศุภนิมิตก่อนออกบวช[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]

    [/FONT]
    [SIZE=+0] ก่อนที่ท่านจะออกบวชบรรพชา เป็นพระภิกษุนั้น ท่านได้นิมิตอันดีงามแก่ตัวของท่านเองคือที่ท่านจะออกบวชนั้นตอนกลางคืน ท่านได้นิมิตผันว่า ได้มีชาวปะขาวหรือตาปะขาว นั้น ๒ คน เข้ามาหาท่าน คนหนึ่งแบกครกหิน อีกคนถือสากหิน มาหยุดลงตรงหน้าของท่าน แล้วหลังจากนั้นตาปะขาวก็วางครกและสากลงตาปะขาวคนแรกได้พูดขึ้นว่า “ไอ้หนู” แกยกสากนี้ออกจากครกได้ไหม ท่านก็ได้ตอบตาปะขาวคนนั้นไปว่าขนาดเสาเรือนผมยังแบกคนเดียวได้ ปะสาอะไรกับของเพียงแค่นี้ ว่าแล้วท่านก็เดินเข้าพยายามยกสากแต่ยกเท่าไหร่ๆ ก็ยกไม่สำเร็จจนถึงวาระที่ ๓ (รอบที่ ๓) จึงสามารถยกสากหินนั้นขึ้นได้ เมื่อยกได้แล้วก็เอาสากนั้นตำลงในครกและตำไปเรื่อย ๆ มองดูในครกก็เห็นมีข้าวเปลือกเต็มไปหมด ท่านจึงได้พยายามตำข้าวเปลือกทั้งหลายเหล่านั้นจนกลายเป็นข้าวสารไปหมดแล้วตาปะขาวก็หายไป เมื่อตาปะขาวหายไป จากนั้นก็ปรากฏว่า ได้มีพระเถระ ๒ รูปมีกิริยาอาการน่าเคารพเลื่อมใสมากทั้งร่างกายของท่านนั้นเป็นรัศมี ท่านก็นึกว่าคงเป็นพระอริยะเจ้าผู้วิเศษ ท่านก็จึงเดินตรงไปหาแล้วก็พูดว่า “หนูน้อย (หลวงปู่ตื้อ ) เจ้ามีกำลังแข็งแรงมา” พูดเพียงแค่นั้นก็หายไปอีก แล้วท่านก็ตื่นนอน

    รุ่งเช้าท่านมาพิจารณาถึงเรื่องที่ท่านฝันเมื่อตอนกลางคืน เห็นเป็นเรื่องแปลกและพิสดารมาก นึกแต่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นหนอ แต่ท่านคิดแต่เพียงว่าเป็นเรื่องที่ดีจะต้องเกิดขึ้นกับท่านเอง แต่เมื่อนึกขึ้นได้ก็เป็นเวลาที่จะต้องไปนาเพื่อไล่ควายให้มาอยู่ใกล้ๆ เพราะเป็นฤดูทำนาแล้ว แต่ในใจยังนึกถึงเหตุการณ์ที่ฝันไปเมื่อคืนนี้อยู่ ว่าจะต้องมีเหตุการณ์อย่างใดย่างหนึ่งเกิดขึ้นแน่นอน เป็นเพราะท่านมีนิสัยรักความสงบอยู่แล้วจึงคิดมาว่าสมควรที่เราจะต้องบวชเพื่อประพฤติธรรมดูบ้าง คิดว่าพรุ่งนี้เราจะต้องออกไปอยู่วัดอีก เพื่อจะได้บวชเป็นพระภิกษุ แล้วจะได้มีโอกาสประพฤติธรรมอย่างจริงจังบ้าง และก็เป็นเช่นที่คิด พอรับประทานอาหารเย็นวันนั้นเสร็จเรียบร้อยแล้วบิดาท่านก็บอกว่ากินข้าวอิ่มแล้วรีบไปหาคุณปู่สิมเสีย เพราะปู่ท่านมาหาลูกถึงบ้านแต่เวลายังวัน ท่านอาจารย์ตื้อ นึกสงสัยว่าจะมีเรื่องอะไรก็ไม่ทราบ ม่านจึงรีบไปหาปู่สิมทันทีเมื่อไปถึงบ้านปูสิมเรียบร้อยแล้ว ปู่สิมเปิดประตูข้างในเรือนและเรียกให้ท่านเข้าไปหา พอท่านอาจารย์ตื้อเข้าไปในห้องเห็นมี ผ้าไตร จีวร บาตร และเครื่องบริขารสำหรับบวชพระ แล้วท่านปู่ก็ยื่นขันดอกไม้ที่เตรียมเอาไวให้พร้อมกับพูดว่า

    “เห็นมีแต่หลานคนเดียวเท่านั้นที่สมควรบวชให้ปู่ เพราะปู่ได้เตรียมเครื่องบวชไว้เรียบร้อยแล้ว แต่หาคนบวชไม่ได้ จึงให้หลานได้บวชให้ปู่สัก ๑ พรรษาหรือได้สัก ๗ วันก็ยังดี ขอให้บวชให้ปู่ก็เป็นพอ จะนานเท่าไรก็ได้ไม่เป็นไร”

    ท่านได้รับปากกับปู่สิมซึ่งเป็นปู่ของท่านทันที แต่ขอไปบอกลาพ่อแม่เสียก่อนเมื่อท่านอนุญาตให้ก็จะได้บวชตามที่ปู่ต้องการ พ่อแม่ของท่านเมื่อได้ยินลูกชายเล่าให้ฟังว่าเช่นนั้นจึงได้กล่าวคำอนุโมทนาสาธุการ แสดงความยินดีกับลูกชายเป็นอย่างยิ่ง

    จากนั้น ท่านได้เข้าไปอยู่เป็นศิษย์วัด และอยู่ต่อมาก็ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา แต่บันทึกตอนนี้ไม่แน่ชัดว่าท่านบวชที่ไหน และบวชกับใคร ได้กราบเรียนถามท่านครั้งหนึ่ง ท่านได้บอกว่าบวชฝ่ายมหานิกาย ที่อุปัชฌาย์คาน อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม และก็กลับไปอยู่ที่บ้านเดิม เพื่อศึกษาเล่าเรียนตามอุปนิสัยที่ท่านถนัดอยู่แล้ว นิสัยของท่านชอบการศึกษาค้นคว้าพระธรรมวินัยอันเป็นคำสอนของพระพุทธเจ้าเป็นอย่างมาก เมื่อจำพรรษาแรกนี้ได้ท่องสวดมนต์ได้หมดตามที่พระเณรเล่าเรียนกัน ที่เรียกกันว่า “เรียนสนธิ์ เรียนนาม มูลกัจจายน์” อันเป็นวิชาที่เรียนได้ยากมากสมัยนั้น ถ้าใครได้เรียนได้จบตามหลักสูตรเรียกกันว่า “นักปราชญ์” เป็นผู้แตกฉานในพระธรรมวินัยท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ได้เดินทางไปเรียนที่วัดโพธิ์ชัย อ.ท่าอุเทน จ.นครพนม การเดินทางไปด้วยความลำบากมากทางคมนาคมไม่สะดวกเลย ต้องเดินทางไปด้วยท้าว (ระยะทางประมาณ ๕๑ ก.ม.) สำนักเรียนวัดโพธิ์ชัย มีชื่อเสียงมากในขณะนั้น เพราะมีท่านพระอาจารย์คาน เป็นเจ้าสำนักเรียน

    ท่านอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ได้เข้าศึกษาเล่าเรียนวิชาบาลีสนธิ์นามและมูลกัจจายน์ในสำนักวัดโพธิ์ชัยนี้ โดยความสนใจเป็นเวลานานถึง ๔ ปีเต็ม จึงจบตามการสอนของสำนักเรียน จึงได้โอกาสกราบเรียนลาท่านพระอาจารย์ผู้เป็นเจ้าสำนักเรียน กลับสำนักเดิมคือวัดบ้านข่า

    เมื่อท่านกลับมาแล้วอยู่วัดได้ ๓ วันเท่านั้น ทั้งนี้คงเป็นเพราะนิสัยที่ท่านใฝ่ใจในธรรม ชอบการศึกษาค้นคว้าในคำสอนของพระพุทธเจ้าท่านจึงได้เดินทางออกจากบ้าน เพื่อจะไปเรียนพระปริยัติธรรมต่อที่กรุงเทพมหานครอันเป็นแหล่งทีมีการศึกษาเจริญที่สุด ชักชวนได้พระภิกษุรูปหนึ่งในวัด ออกเดินทางจากวัดเดิม ธุดงค์มุ่งหน้าไปยังจังหวัดอุดรธานีก่อน ค่ำไหนก็พักจำวัดสมาธิภาวนาที่นั้น เป็นเวลาหลายวันจึงถึงอุดรธานี

    แต่พอเดินทางถึงจังหวัดอุดรธานี พระภิกษุที่เป็นเพื่อนเดินทางเปลี่ยนใจคิดถึงบ้าน อยากจะกลับบ้านไม่ยอมไปเรียนต่อที่กรุงเทพมหานครตามที่ตั้งใจเอาไว้ถึงแม้จะพูดอย่างไรก็ตามก็ไม่ยอม มีแต่อารมณ์จะกลับบ้านอย่างเดียว ท่านต้องเป็นเพื่อนเดินทางส่งพระรูปนั้นกลับบ้านข่า ถึงแค่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี แล้วท่านพระอาจารย์ตื้อ จึงเดินทางกลับมายังวัดโพธิ์สมภรณ์ อุดรธานีอีก แต่สมัยนั้นวัดโพธิสมภรณ์ หรือแม้จังหวัดอุดรธานีก็ยังเป็นป่ายังไม่ได้พัฒนาให้เจริญเหมือนอย่างทุกวันนี้
    [/SIZE]​
     
  3. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ออกเดินธุดงค์ปฏิบัติกัมมัฏฐาน
    [/FONT]​

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ท่านอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม เมื่อได้เดินทางกลับมาถึงจังหวัดอุดรธานีคราวนี้ ท่านได้เปลี่ยนใจจากการไปศึกษาพระปริยัติธรรมที่กรุงเทพมหานคร เป็นการออกปฏิบัติธรรมมัฏฐานแทนท่านว่าการออกเดินธุดงค์ เป็นการเดินทางเส้นตรงต่อการบรรลุธรรมอย่างแท้จริง เมื่อได้เปลี่ยนใจเช่นนี้แล้ว ก็ได้ตั้งจุดที่อุดรธานีเดินมุ่งหน้าไปยังจังหวัดหนองคาย (ตอนนี้บันทึกเขียนไว้ว่า) ท่านได้แวะพักโปรดญาติโยมเป็นระยะ ๆ ไป และพักทำกัมมัฏฐาน ที่พระบาทบัวบก อ.บ้านผือ บำเพ็ญภาวนาอยู่นานหลายวัน จึงออกเดินทางไปยังฝั่งลาว พักทำกัมมัฏฐานอยู่บริเวณนครเวียงจันทร์[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]
    เป็นเวลาหลายเดือน ท่านเล่าให้ฟังว่า ได้ไปทำความเพียรที่เชิงภูเขาควายทำกัมมัฏฐานอยู่บริเวณนั้นเป็นเวลา ๔ เดือนเต็ม คืนแรกที่ท่านไปถึงนั้นได้ไปนั่งภาวนาอยู่ที่ถ้ำเล็กๆ แห่งหนึ่งในบริเวณนั้น พอนั่งสมาธิอยู่ไม่นานประมาณชั่วโมงเศษๆ เห็นจะได้ ได้ยินเสียงดังมาแต่ไกลคล้ายเสียงลมพัดอย่างแรง แต่พอลืมตาขึ้นดูไม่เห็นมีอะไร นอกจากตัวผึ้งเป็นหมื่น ๆ ตัวบินวนเวียนอยู่เหนือศีรษะคล้ายเสียงเครื่องบินสักพักหนึ่งตัวผึ้งเหล่านั้นก็บินลงมาเกาะตามผ้าจีวรเต็มไปหมด ไต่ไปตามตัวจนได้เปลื้องจีวรออก ผ้าอังสะก็เปลื้องออก เท่านั้นยังไม่พอ ยังได้นุ่งผ้าจีวรแบบโจงกระเบนรัดผากับตัวให้แน่น ตามตัวมีแต่ตัวผึ้งเต็มไปหมด แต่ไต่ไป ๆ มา ๆ เฉย ๆ ไม่มีแม้ตัวเดียวที่ต่อย แต่ท่านบอกว่า ในภาวะเช่นนั้นต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างยิ่ง ไม่นานประมาณ ๒๐ นาที หมู่ผึ้งเหล่านั้นทั้งหมดก็หายไป จากนั้นท่านก็นั่งภาวนาต่อไปนานประมาณ ๒ ชั่วโมงเศษ ๆ ในขณะนั้นเอง ปรากฏว่าเห็นศีรษะของคนใหญ่มาโผล่มาทางที่นั่งภาวนาอยู่ แต่ไกลมาก คน ๆ นั้นโผล่ศีรษะขึ้นตามลำดับ พอเข้ามาใกล้จึงทราบว่าคนนั้นใหญ่โตมาก พอปรากฏทุกส่วนของร่างกายแล้วยืนอยู่นานพอสมควรแล้วหันหลังกลับไป แต่การเดินกลับไปนั้นดูเหมือนว่าเดินลึกลงไปสู่ที่ต่ำเพราะหายลับลงไปอย่างรวดเร็วมาก จนมองตามไม่ทันและท่านก็นั่งสมาธิอยู่ที่เดิม ไม่นานนั้นก็ได้ปรากฏว่ามีเทพเจ้าสวมมงกุฎสวยงามมากเข้ามาหาท่าน ๒ องค์แล้วพูดขึ้นว่า

    “ท่านอาจารย์ ห่างจากนี้ไม่ไกลนัก มีพระพุทธรูปทองคำ ๑๐ องค์ เงิน ๑๕ องค์ ขอให้ท่านอาจารย์ไปเอาขึ้นมา เพื่อให้คนทั้งหลายได้กราบไหว้สักการบูชาบ้าง เพราะไม่มีใครรักษาแล้ว พูดเท่านั้นเทพเจ้าทั้งสองก็หายไป”

    ท่านเล่าเรื่องต่อไปว่า คืนที่นั่งภาวนาอยู่ที่เส้นทางช้างศึกของเจ้าอนุวงษ์ นครเวียงจันทร์ หลายคืนคืนหนึ่งมีวิญญาณหลงทางมาหามากมายจริง ๆ เหตุที่ว่าเป็นวิญญาณหลงทางนั้น เพราะจะแผ่แม่ตาให้อย่างไรก็ระลึกและคลายมานะ ทิฏฐิไม่ได้ ยังมัวเมาอยู่นั้นเอง วิญญาณพวกนี้โดยมากเป็นพวกทหารหนุ่ม ๆ ทั้งนั้น สังเกตเห็นว่า พวกนี้ไม่ยอมกราบไหว้ ปรากฏขึ้นให้เห็นแล้ว พวกยืนก็ยืน แต่วิญญาณเหล่านี้ยังสนุกสนานอยู่เป็นส่วนมาก รุ่งช้า มีโยมมาขอให้ท่านพักอยู่ต่อไปนาน ๆ จะสร้างกุฏิถวาย แต่ท่านหลวงตาตื้อ ไม่ไปรับนิมนต์ ท่านบอกโยมว่า จะต้องเดินธุดงค์ไป เรื่อย ๆ จนถึงจังหวัดเชียงใหม่ เมืองเหนือของไทยใหญ่ ท่านบอกว่า นับตั้งแต่ออกจากพระบาทบัวบก อุดรธานีมาพักจำพรรษาอยู่บริเวณเวียงจันทร์นี้ เป็นเวลานานถึง ๔ เดือนเศษ ๆ จากนั้นก็เดินทางแบบพระธุดงค์กัมมัฏฐานต่อไปยังยังเมืองหลวงพระบาง หนทางเดินลำบากที่สุด สภาพทั่วไปเป็นภูเขา บางวันเดินขึ้นภูเขาสูง ๆ แล้วเดินทางลงจากหลังเขา ถ้าคิดระยะการเดินทางธรรมดาจะต้องเดินไปไกลกว่านั้น นี่เดินตลอดวันตกเย็นมืดลงก็กางกลดพักผ่อน ทำความเพียรภาวนาได้อรุณก็ตื่นเดินทางต่อไป บางวันไม่ได้บิณฑบาตเลยเพราะไม่มีบ้านคน ท่านเล่าว่าเดินไปด้วยกันคราวนี้รวมแล้ว ๖ รูป แต่ต่างคนต่างไปไม่พบกันตั้งหลายวันก็มี บางทีก็พบพระซึ่งเป็นชาวพม่า ซึ่งท่านเดินธุดงค์เช่นกัน นาน ๆ พบกันทีหนึ่ง พบกันแล้วก็แยกทางกันเดินต่อไป ท่านบอกว่าถนนหนทางยากที่สุดรถยนต์ไม่มีโอกาสจะไปได้เลย แม้แต่คนจะเดินไปก็ยังยาก และสมัยนั้นรถยังไม่เคยมีในถิ่นนั้นเลย

    วันนั้น ในระหว่าการเดินทางจากหลวงพระบางจะถึงเมืองแมด เมืองกาสี เดินออกจากเขาลูกหนึ่งข้างหน้า และเมื่อมองไปข้างหน้าอีก ท่านก็มองเห็นชีปะขาว นั่งสมาธิอยู่บนก้อนหินใหญ่ก้อนหนึ่ง แต่ยังไกลอยู่ ท่านจึงเดินตรงเข้าไปหาพอประมาณว่าจะมองเห็นได้ชัดแล้วมองดูอีกกลับไม่เห็น มองไปข้างหน้าใหม่ก็เห็นนั่งสมาธิเช่นเดิม อยู่ไกลเช่นเดิม ท่านก็เดินตรงเข้าไปหาใหม่นึกแปลกใจเหมือกันว่า ทำไหมก้อนหินเคลื่อนที่ไปได้จ้องมองพรางเดินตรงเข้าไปหาพราง ใกล้เข้าไปทุกทีแต่พอได้เข้าไปใกล้จริง ๆ ไม่ใช่ชีปะขาวอย่างที่เห็นแต่แรก แต่เป็นก้อนมีรูปนั่งคู้บัลลังก์เหมือนคน มองไปอีกทางหนึ่งเห็นแอ่งน้ำธรรมชาติ มีน้ำใสสะอาดเย็นและเวลาก็ตกเย็นแล้ว จึงกางกลดพักผ่อนเพื่อบำเพ็ญกัมมัฏฐาน เพราะเหนื่อยอ่อนมาหลายวัน ท่านนั่งสมาธิกำหนดจิตอยู่ เกิดนิมิต เห็นชีปะขาวเหมือนที่เห็นเวลากลางวันเข้าหา บอกท่านว่า ขอนิมนต์ท่านอยู่ที่นี่สักพักนาน ๆ จะสอนวิชาเดินป่าที่ไม่อดอยากให้ และจะพาไปดูสมบัติต่าง ๆ ภายในถ้ำ อยากได้อะไรก็จะมอบให้หมด ท่านจึงถามว่า เมื่อกลางวันโยมนั่งสมาธิที่ก้อนหินนี้ ? ตอบว่าถูกแล้วที่ทำหายตัวห่างออกไปอีกนั้น ก็เพราะต้องการอยากจะให้ท่านมาพักผ่อนตรงนี้พวกข้าพเจ้านี้เป็นพวกกายทิพย์มีวิมานอยู่ตรงที่นี่
    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม จึงพูดตอบชีปะขาวไปว่า

    อาตมาเป็นลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้า เดี๋ยวนี้กำลังปฏิบัติตามพระบรมครูอยู่ เราไม่ต้องการสมบัติทั้งหลายที่ท่านจะให้หรอก แต่ว่า ในขณะนี้ เราต้องอยากจะทราบ แต่ว่า เดินทางไปไหนถึงจะถึงบ้านบ้านคนง่ายเพราะไม่ได้ฉันท์ข้าวเป็นเวลา ๕ วันแล้ว

    ชีปะขาวคนนั้นตอบว่า "สิ่งที่ท่านต้องการยังอยู่ไกลมาก แต่ท่านพยายามเดินทางให้เร็ว ก็จะถึงเร็ว กราบไหว้ท่านแล้วก็หายวับไป"

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ ท่านว่านั่งภาวนาตั้งแต่ไปถึงนึกว่าไม่นาน แต่พอลืมตามขึ้นก็สว่างได้อรุณเสียแล้วจึงเตรีมตัวเดินทางต่อไปตามที่ชีปะขาวบอก ไม่ไกลเท่าไรก็พบบ้านคนประมาณ ๑๐ หลังคาเรือน จึงหาที่พอพักได้แล้วเข้าไปบิณฑบาต คนพวกนั้นพากันใส่บาตรประมาณ ๕ - ๖ คน ท่านนึกว่าบ้านนี้คงมีพระธุดงค์เดินผ่านมาโปรดสั่งสอนแล้ว ขนาดว่าพูดกันไม่รู้เรื่องเลยก็ยังใส่บาตรพระ (คนเหล่านี้เรียกว่าพวกข้า) และวันนี้เป็นวันแรกที่ท่านได้ฉันท์ภัตตาหารหลังจากเดินทางจากหลวงพระบางมา และพวกเขาได้แสดงอาการที่ต้องการให้ท่านอยู่ด้วย แต่ท่านก็แสดงอาการให้รู้ว่าไม่อยู่ด้วยเพราะว่าจะต้องเดินธุดงค์ต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อท่านได้ฉันท์ภัตตาหารเช้าเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เดินทางต่อไปตามภูเขาและดงไม้เข้าถึงหัวเมืองทั้งห้าทั้งหก เข้าสู่เขตของพม่าก็มีมาก และเจริญมากด้วย นาน ๆ ก็พบพระเถระผู้เฒ่าบ้าง สามเณรบ้าง กางกลดอยู่ตามภูเขาบางทีก็พักนั่งภาวนาร่วมกัน ท่านเล่าว่าชนชาวพม่าก็สนใจในธรรมกัมมัฏฐานมากพอสมควร พระและสามเณรบางองค์บางท่านได้ออกเดินธุดงค์กัมมัฏฐานไม่กลับวัดเลย คือหายสาบสูญไปก็มีมากและพระพม่านี้เก่งในทางคาถาอาคมมาก บางครั้งเมื่อพบพระชาวพม่าแล้วเขามักสอนคาถาต่าง ๆ ให้ เพื่อความปรอดภัยในการเดินทางที่ทุรกันดาร

    การเดินทางในช่วงนี้ท่านบอกว่าลำบากที่สุดไม่สะดวกหลายอย่างเกี่ยวกับพระวินัย การเดินทางที่สบาย ๆ ไม่มีเลย แต่วันไหนได้เดินตามเชิงเขาแล้วก็รู้สึกสบายบ้างแต่การเดินทางเช่นนั้นจะมีระยะไม่เกิน ๒ – ๓ กิโลเมตร การเดินทางในวันหนึ่ง ๆ เฉลี่ยแล้วได้วันหนึ่ง ๗ - ๑๐ กิโลเมตร เท่านั้น ถ้าหากสุขภาพไม่แข็งแรงแล้วและจิตใจไม่แข็งแรงแล้วก็คงอาพาธป่วยไข้ลำบากมากกว่านั้น แต่การภาวนาตามป่าเขานั้นจิตสงบดีมากแต่สัปปายะ บางอย่างก็ลำบาก สำหรับสัตว์ร้ายผีสางเทวดานั้นไม่เป็นปัญหาอันใดเลย กลับได้อารมณ์กัมมัฏฐานดีเสียเลย และก็ให้ประโยชน์ดีเหมือนกันแต่ไม่สะดวกเกี่ยวกับพระวินัยบางข้อ ท่านจึงเดินกัมมัฏฐานมุ่งมาทางเมืองไทยเข้ามาทางจังหวัดน่าน เมืองแพร่ และเดินธุดงค์มาทางบริเวณจังหวัดเลยตอนเหนือระยะทางเดินหลายสิบกิโลเมตร เดินธุดงค์ถึงไหนก็พักภาวนาอยู่ที่นั้น เดินจงกรมนั่งสมาธิได้ได้ขาดเลย และนับว่าดีอย่างหนึ่งในระยะนั้น สุขภาพแข็งแรงดีไม่เคยเจ็บไข้ใช้ยาสักที

    ในขณะนั้น ที่จังหวัดเชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์มั่น ภุริทตฺโต เพชรเม็ดเอกน้ำหนึ่งของพระพุทธศาสนาและท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท) มาพำนักสอนและอบรมกัมมัฏฐานอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อได้ทราบข่าวเช่นนั้นก็ได้เดินธุดงค์กัมมัฏฐานจากจังหวัดเลยขึ้นสู่จังหวัดเชียงใหม่ ไปทางหล่มศักดิ์ หลายคืนจึงถึงจังหวัดเชียงใหม่ ถ้าจะขึ้นรถยนต์ก็มีน้อยมากจนนับจำนวนได้ ในจังหวัดเชียงใหม่เวลานั้นมีรถยนต์ทั้งหมด 2 คันเท่านั้น เป็นรถของหลวงอนุสารสุนทรและอีกคันหนึ่งเป็นรถของใครก็จำไม่ได้ ท่านพระอาจารย์ตื้อ ได้เดินทางถึงจังหวัดเชียงใหม่แล้ว ได้ไปกราบท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และได้พักอยู่กับท่านพระอาจารย์มั่น ภริทตฺโต ที่วัดเจดีย์หลวง อำเภอเมืองเชียงใหม่ อยู่ไม่นานเท่าไรก็ได้ ญัตติเป็นฝ่ายธรรมยุตโดยมีท่านเจ้าคุณพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านพระครูศรีพิศาลสารคุณ เป็นกรรมวาจาจารย์ และท่านพระครูพีสีฯ เป็นอนุสาวนาจารย์ (เมื่ออายุได้ 37 ปี เมื่อพุทธศักราช 2483 (น่าจะเป็น พ.ศ. 2468) ตรงกับวันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 6 ตามที่ท่านได้เคยบอกและจดบันทึกเอาไว้ เมื่อท่าน) พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต แล้ว ก็ได้พักอยู่ที่วัดเจดีย์หลวง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อคอยออกกัมมัฏฐานติดตามท่านพระอาจารย์มั่นต่อไป ในระหว่างนี้ ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ได้ตั้งหน้าตั้งตาอบรมกัมมัฏฐานอยู่ที่วัดเจดีย์หลวงเป็นเวลาหลายเดือน และในที่สุดท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และสานุศิษย์ก็ออกเดินกัมมัฏฐานไปตามถ้ำต่าง ๆ ในจังหวัดเชียงใหม่ และท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ก็ได้ออกติดตามท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ไปในกองทัพธรรมครั้งนั้นด้วยท่านได้ติดตามไปกับท่านพระอาจารย์ใหญ่ (ท่านพระอาจารย์มั่น) ไปตามถ้ำต่าง ๆ หลายแห่ง เป็นลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดและเป็นผู้ที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ไว้ใจในการออกเดินธุดงค์ปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานมากและท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ถามและพูดด้วยเสมอท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม จึงเป็นลูกศิษย์ “เอก” ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ซึ่งเป็นที่รู้กันทั่วไปในเวลานั้น
    [/FONT]​
     
  4. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า
    [/FONT]​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ได้เดินธุรดงค์กัมมัฏฐานไปกับท่าน พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ที่ถ้ำเชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ ร่วมกับพระภิกษุสามเณรหลายรูป เดินธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ ในบริเวณถ้ำ นั่งภาวนาอยู่ร่วมกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้นิมิตเห็น “ถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้า” อยู่บนดอนเชียงดาวเป็นถ้ำที่มีบริเวณกว้างมากและก็สวยงามน่าอยู่มากทีเดียวแต่อยู่บนดอนที่สูงมากยากที่กว่าใครจะขึ้นไปได้ หากไม่มีความพยายามจริง ๆ นอกจากจะอยู่บนที่สูงแล้วทางที่ที่จะขึ้นไปเป็นที่ชันมากมีก้อนหินขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ ยากแก่การที่จะขึ้นไปเพราะไม่มีทางขึ้นไปโดยทางตรงท่านพระอาจารย์มั่นได้พิจารณาเห็นว่าผู้ที่สมควรจะขึ้นไปดูถ้ำนั้นได้ นอกจากพระอาจารย์ตื้อ แล้วคงไม่มีใครที่จะสามารถขึ้นไปดูได้ จึงได้มีเถระวาจาสั่งให้ท่านพระอาจารย์ตื้อให้ขึ้นไปดูถ้ำซึ่งเป็นถ้ำของพระปัจเจกพุทธเจ้าดังกล่าวนั้น บนดอนสูงยอดเขาเชียงดาว

    เช้าวันหนึ่ง หลังจากฉันท์ภัตตาหารเสร็จแล้ว ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พร้อมด้วยพระ ๓ รูป จึงพากันเตรียมตัวขึ้นไปดูถ้ำตามที่ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต สั่งไว้ การเดินทางต้องเดินตรงขึ้นเขาเลยเพราะไม่มีทางอื่นที่จะเดินลัดหรือเลาะเลี้ยวไปตามเชิงเขา เดินขึ้นเขายิ่งสายยิ่งเหนื่อย ยิ่งเดินก็ยิงเหนื่อย บางแห่งทางแคบนิดเดียวต้องเดินเข้าไปทีละคนเพราะมีช่องพอเข้าไปทีละคนเท่านั้น บางแห่งต้องปีนป่ายและห้อยโหน เพราะไม่มีทางอื่นดีกว่า นับว่าการเดินทางต้องเสี่ยงอันตรายมาก เดินตั้งแต่เช้าถึงยอดเขาเวลาก็ตกเย็นประมาณ ๕ โมง แต่ก็ไม่มีวี่แววว่าจะพบถ้ำและยังไม่ทราบว่าถ้ำอยู่ที่ไหน และบริเวณตรงนั้นไม่บ่งว่าเป็นลักษณะของถ้ำเลย ต้องเดินอยู่บนยอดเขาอีกประมาณ ๔ ชั่วโมงเศษ ๆ บนยอดเขาสิ่งธรรมชาติผิดปกติตามลมเหมือนใบไม้เสียให้ได้ จึงได้หาที่หลบลม หาถ้ำเล็ก ๆ ก็ไม่มีวัน คืนนั้นต้องนอนตากลมตลอดคืน ลมแรงถึงขนาดเวลานั่งสมาธิต้องเอาเชือกตากผ้าผู้ตัวแล้วมัดไว้กับต้นไม้ เพราะลมแรงเหลือเกินยิ่งดึกก็ยิ่งแรง คืนนั้นทั้งคืนไม่ได้นอนเลยต้องนั่งภาวนาตลอดคืน พอรุ่งเช้าได้อรุณแล้ว มีญาติโยมที่ทำไร่อยู่บนดอยจัดภัตตาหารมาถวาย ทราบว่า ชนพวกนั้นอยู่บนนั้นตลอดไปเลย เป็นพวกชาวเขาแท้ เมื่อฉันเสร็จแล้วก็พากันเดินทางต่อไป การเดินทางต่อไปนี้เดือนบนหลังเขาทางลำบากมากที่สุดเหมือนกันกับทางที่ขึ้นมาครั้งแรก ถึงบริเวณแห่งหนึ่งเป็นเวลาตะวันเที่ยงพอดี นึกว่าคงเป็นบริเวณถ้ำปัจเจกพุทธเจ้า ที่ตรงหน้าถ้ำเป็นสระน้ำธรรมชาติขนาดใหญ่ ต้องอาศัยแพข้ามไปจึงจะไปได้ และก็จะถึงถ้ำ พระที่ไปด้วยกันไม่มีใครกล้าจะไป มีท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม คนเดียวอาสาจะไปดูแต่ก่อนจะข้ามไปนั้น ท่านได้นั่งสมาธิดูก่อนพอเข้าสมาธิจิตสงบแล้วได้ยินเสียงหนึ่งพูดแรงมากว่า “งูใหญ่” ๒ - ๓ ครั้ง ท่านเงี่ยหูฟังว่าจะมีอะไรอีกต่อไป พอเสียงนั้นเงียบหายไปก็ปรากฏว่ามีชายเป็นคนสูงใหญ่ รูปร่างดำทมึนมายืนพูดว่า

    “ท่านจะเข้าไปในถ้ำไม่ได้หรอกนะ เพราะมีงูตัวใหญ่ เฝ้ารักษาอยู่”
    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธฺโม จึงได้พูดขึ้นว่า
    “ที่พวกข้าพเจ้าขึ้นมาที่นี่ ไม่ได้มาเบียดเบียนใครไม่ได้มุ่งมาจะเอาอะไร แต่ความประสงค์ที่ขึ้นมานี้ มาดูถ้ำเท่านั้น เพราะท่านอาจารย์ใช้ให้มาดู”

    พอท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธฺโม พูดจบลง ชายคนนั้นก็หายไป ท่านพิจารณาเห็นว่าไม่มีอะไรอีกแล้วก็ออกจากสมาธิ แล้วท่านก็จัดแจงแพเอาเทียนจุดไว้ที่หัวแพ เอาแพทาบติดอกลอยน้ำข้ามไปทางฝั่งโน้นน้ำลึกมากหยั่งไม่ถึงเลย ลอยไปกับแพที่มีเทียนติดบนหัวแพนานพอสมควรจึงถึงฝั่ง ท่านเล่าว่า ถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ เป็นบริเวณธรรมชาติที่สวยงามมาก สะอาดสะอ้านน่าอยู่ ลักษณะของถ้ำกว้าวและยาวลึกเข้าไปข้างในเขา หลังถ้ำมีแอ่งน้ำธรรมชาติ น้ำใสสะอาดน่าดื่มกิน ถ้ำสะอาดเหมือนมีคนเฝ้ารักษาอยู่ประจำ แต่ไม่มีคนเฝ้ารักษาอยู่เลย ท่านเดินเข้าไปในถ้ำ ภายในสว่าง คือมีแสงสว่างในตัวและเป็นลักษณะพิเศษของถ้ำ หลังถ้ำแกไปจริง ๆ มีป่าไม้ประเภทมีผล สดชื่น มีสีใบเขียวชอุ่มเหมือนมีการรดน้ำอยู่ทุกวัน และบนหลังถ้ำที่สูง อันเป็นหลังถ้ำจริง ๆ นั้นมองขึ้นไปแล้วชันมากคงไม่มีใครจะขึ้นไปได้นอกจากว่าขึ้นไปก็ไม่ต้องลงมาอีก ท่านออกมาจากถ้ำ ก็เลยตัดสินใจว่า จะนั่งภาวนาและจะพักอยู่ถ้ำนี้ให้นาน ๆ

    ขณะที่อยู่ถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้านี้ ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม เล่าว่าท่านได้นั่งภาวนาอยู่ตลอด มีพวกกายทิพย์เข้ามาหาเสมอ และได้พบว่า มีวิญญาณชีปะขาวน้อยองค์หนึ่ง ได้รับทราบว่าเป็นผู้เฝ้ารักษาปฏิบัติถ้ำนี้ ท่านได้สอบถามชีปะขาวน้อยองค์นั้นว่าท่านพระปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ที่นี้เดี๋ยวนี้ท่านไปอยู่ที่ไหนชีปะขาวน้อยตอบว่า ท่านไปอยู่ที่อื่นแล้ว แล้วชีปะขาวน้อยก็หายไปทางหลังถ้ำ

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พักอยู่ที่ถ้ำพระปัจเจกพุทธเจ้าครบ 5 วัน แล้ว พร้อมทั้งหมู่คณะที่ขึ้นไปทำความเพียรนั้นก็เดินทางกลับลงมาทางเดิมพอลงมาถึง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ถามว่า “ เป็นอย่างไร ? น่าอยู่ไหม?” ท่านพระอาจารย์ตื้อ กราบเรียนว่า ถ้ำสวยงามน่าอยู่จริง ๆ แต่ไม่มีบ้านคนเลย พงกกระผมฉันไบไม้ตลอด 5 วัน บ้านคนไม่มีไม่รู้ว่าจะไปบิณฑบาตที่ไหนอีกประการหนึ่งที่สำคัญมากก็คือ ลมพัดแรงมาก พัดหูพัดตาอยู่ลำบาก ถ้าหากอยู่ในถ้ำก็สบายดี ขอรับ

    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงพูดขึ้นว่า ทำไมพวงคุณจึงไม่เลยพากันขึ้นไปดู “บ่อน้ำทิพย์” ที่อยู่ข้างหลังถ้ำนั้นด้วยละ บ่อน้ำทิพย์ศักดิ์สิทธิ์นั้น ถ้าหากใครได้อาบและดื่ม เป็นการชุบตัวแล้วจะมีอายุยืนถึงหาพันปี สามารถเหาะเหิรเดินอากาศได้ด้วย

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม กราบเรียนว่ากระผมขึ้นไปเหมือนกันขอรับ แต่พอขึ้นไปบนหลังถ้ำนั้น ปรากฏว่ามีทางขึ้นเป็นหน้าผาสูงและชันมาก สูงราว ๆ สิบวาสิบห้าวาขึ้นไปไม่ได้ ขอรับเพราะหน้าผาชันจริง ๆ ทางอื่นที่จะขึ้นไปไม่ได้ ขอรับเพราะหน้าผาชันจริง ๆ ทางอื่นที่จะขึ้นไปก็ไม่มี กระผมเดินดูรอบ ๆ ตั้งสองสามรอบ ถ้าหากขึ้นไปได้ ก็คงลงมาไม่ได้

    ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงกล่าวตอบว่าพวกเราคงไม่มีบุญวาสนาบารมีที่จะเหาะได้ละมังจึงได้พากันเดินลงมาจนเท้าแตกหมด ถ้าหากว่าขึ้นไปได้ก็คงลงมาไม่ได้ แต่ขึ้นไปได้และลงมาได้อย่างนี้ก็สามารถมากและละ
    [/FONT]​
     
  5. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เหตุการณที่บ้านพร้าว
    [/FONT]​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ต่อจากนั้น เมื่อเดินทางออกจากถ้ำเชียงดาวแล้วท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ก็เดินธุดงค์จขึ้นไปทางบ้านพร้าว ผู้ร่วมเดินทางมี ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ท่านพระอาจารย์แหวน สุจิณฺโณ แห่งวัดดอนแม่ปั๋ง เชียงใหม่ (และพระภิกษุสามเณรติดตามด้วยตามบันทึก) ในระหว่างเดินทางก็ถึงที่แห่งหนึ่งเป็นช่องแคบที่จะไต่ขึ้นเขา พอดีมีช้างเชือกหนึ่งยืนขวางหน้ากำลงเพลิดเพลินอยู่กับการกินใบไผ่ตรงกลางช่องแคบพอดี คณะกองทัพธรรมไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรดีไม่มีทางอื่นที่จะเดินลัดหลีกได้ ช้างกับคนห่างกันประมาณ 10 วา เห็นจะได้ หรืออาจจะไกลกว่านั้นเพียงเล็กน้อย

    ในขณะนั้น มีเสียงหนึ่งลงความเห็นว่า พวกเราควรจะกลับเสียก่อนแล้วจึงค่อยมาใหม่ทัดใดนั้น ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงกล่าวขึ้นว่า “ท่านตื้อลองพูดกับช้างดูบ้างชิ”

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม จึงพูดขึ้นว่า “พี่ชายขอพูดด้วย” เท่านั้นเองช้างเชือกนั้นก็หยุดชะงักหยุดกินใบไผ่ทันที “พี่ชายของพูดด้วย” เป็นคำรบสอง ช้างหันมาทางพระกองทัพธรรมทันที มีท่าทางหูกางออกยืนนิ่งไม่กระดุกกระดิกเลย ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม จึงพูดต่อไปว่า “พวกเราขอทางเดินหน่อยพี่ชายมายืนเกินใบไผ่อยู่ที่นี้พวกเราจึงไม่มีทางเดินเพราะพี่ชายยืนปิดทาง พวกเรากลัวพี่ชายมากขอให้หลีกทางให้พวกเราด้วย” พอพูดจบลงช้างเชือกนั้นก็รีบหันห้าเข้ากอไผ่ข้างทาง ประหนึ่งแสดงให้รู้ว่า ได้หลีกทางให้แล้ว ท่านพระอาจารย์ตื้ออ อจลธมฺโม เดินออกหนังท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นอันดับ 2 ท่านพระอาจารย์แหวน สุจิณฺโณ เดินตามหลัง พากันค่อย ๆ เดินผ่านกันช้างเชือกนั้นไปเมื่อผ่านช้างไปแล้วก็พากันเดินต่อไป เดินต่อไปเรื่อย ๆ แต่ท่านพระอาจารย์แหวน สุจิณฺโณ พอผ่านช้างไปประมาณวาเศษ ๆ เท่านั้น ขอเหล็กสำหรับแขวนกลดธุดงค์ของท่านไปเกี่ยวกับกิ่งไผ่เข้าพอดี จะปลดอย่างไรก็ไม่หลุด พยายามอยู่ตั้งนานก็ไม่หลุดได้ ถ้าจะทำแรงก็กลัวช้างจะตกใจตื่นแต่ช้างแสนรู้ตัวนั้นก็ไม่แสดงอาการอย่างไรคงยังยืนนิ่งในท่าเดิมอยู่ จะเป็นเพราะเหตุไรก็ไม่ทราบได้ ท่านพระอาจารย์แหวน ก็ปลดขอที่เกี่ยวกับกึงไผ่ไม่หลุด ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต หันกลับไปเห็นจึงเรียกให้พระอาจารย์ตื้อ หยุดและให้กลับไปหาท่านพระอาจารย์แหวน ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ท่านพระอาจารย์แหวน กลับไปเห็นยังติดอยู่จึงเข้าไปช่วย เมื่อหลุดออกมาแล้วก็พันเดินไมหาท่านพระอาจารย์ใหญ่ แล้วก็หยุดพักผ่อนสนทนากันถึงเรื่องช้างเชือกนั้นว่าเป็นสัตว์ที่แสนน่ารักเอ็นดูทั้งน่าสงสาร

    ในขณะนั้นเอง จึงเถรวาจา ท่านตื้อก็เก่งมากสามารถพูดให้ช้างตัวใหญ่เก็บอาวุธร้ายแล้วพวกเราไม่กำหนดดูใจของมันบ้าง ช้างตัวนั้นเวลาท่านตื้อ พูดขอทางจากมันจบลง ทีแรกมันก็ตกใจรีบหันมาทางเราโดยเร็ว มันคงคิดว่าเป็นศัตรูของมัน แต่พอเห็นถนัดเป็น “ผ้ากาสาวพัสตร์” ครองอยู่ก็รู้ทันทีว่าเป็น “เพศที่สงบเย็นไม่เบียดเบียนใคร” และเชื่อใจได้ ก็หลีกทางให้แต่โดยดี
    [/FONT]​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ได้เป็นลูกศิษย์ “เอก” ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ได้ติดตามท่านพระอาจารย์ไปทุกหนทุกแห่ง ในขณะที่ท่านพระอาจารย์มั่นอยู่บำเพ็ญกัมมักฐานและเผยแผ่อบรมศีลธรรมคำสอนในภาคเหนือและภาคอีสาน จนกระทั่งท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เดินธุดงค์กัมมัฏฐานกลับมาทางภาคอีสาน เพราะท่านเจ้าคุณพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล) เจ้าอาวาสวัดโพธิสมภรณ์ จังหวัดอุดรธานี เป็นผู้นิมตกลับเพื่อเผยแผ่อบรมกัมมัฏฐานแก่ชาภาคอีสาน แต่ท่านพระอาจารย์ตื้อยังไม่กลับและท่านชอบอากาศทางภาคเหนือ ท่านว่าเย็นสบายดีเหมาะที่จะแสวงหาความสงบทางใจต่อไป หลังจากท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต กลับมาแล้ว ท่านพระอาจารย์ตื้อ ก็ได้บำเพ็ญกัมมัฏฐานสร้างบารมีติ่อไปที่ภาคเหนือ ท่านได้สร้างวัดป่ากัมมัฏฐานขึ้นหลาแห่งเช่นวัดป่าดาราภิรมย์ อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ วัดป่าสามัคคีธรรม อ.แม่แตง เป็นต้น วัดป่าสามัคคีธรรมนี้ท่านพระอาจารย์ตื้อได้อยู่จำพรรษามากกว่าทุกแห่งหลังจากที่ท่านได้หยุดเดินธุดงค์แล้ว เพราะวัดนี้เป็นสถานที่วิเวกและสงบดี และวัดนี้ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดป่าหลวงตาตื้อ อจลธมฺโม” แล้วทั้งนี้เพื่อเป็นอนุสรณ์แก่ท่านที่อยู่ภาคเหนือมานานจนเป็นที่เคารพนับถือของคนทั้งภาค และทั่ว ๆ ไป ที่ไหนก็ทราบกันดีว่า “ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม” เป็นผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐานเคร่งครัดมาก เป็นผู้ไม่กลัวต่อเหตุการณ์เฉพาะหน้า จะเป็นการตอบปัญหาหรืออันตรายในระหว่างปฏิบัติธรรมก็ตาม ท่านก็ทำได้จนเป็นที่หน้าพอใจและสนใจในธรรมตามสมควร

    ต่อไปนี้เป็นการบันทกที่ท่านเล่าให้ฟัง โดยกราบเรียนถามและมรการบอกเล่าบ้าง ซึ่งไม่สามารถจะลำดับเรื่องได้จึงต้องลงไว้เป็นบท ๆ
    [/FONT]
     
  6. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ธุดงค์ภายในถ้ำเชียงดาว
    [/FONT]​

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ครั้งหนึ่ง ทานพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม เข้าไปธุดงค์ในถ้ำเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ อำเภอเชียงใหม่ เพื่อจะได้สำรวจดูข้างในถ้ำเอเป็นที่บำเพ็ญกัมมัฏฐานมูลเหตุที่เข้าไปภายในถ้ำเชียงดาว ก็เพราะว่าท่านพระอาจารย์อินทวัง ชวนท่าน ทั้งนี้เพราะว่าถ้ำเชียงดาวนี้เป็นถ้ำทีมีความยาวมาก และไม่มีใครสามารถเข้าไปตรวจดูภายในถ้ำทั้งหลาย มีคนเข้าไปได้แค่ ๒ – ๓ กิโลเมตรเท่านั้น เมื่อตกลงกันว่าจะเข้าไปแล้วก็ได้จัดเสบียงเดินทาง มีข้าวตู ข้าวแห้ง และหาใบฉำฉาเพื่อโปรดเวลาเข้าถ้ำป้องกันการหลงทาง และท่านพระอาจารย์อินทวังเป็นหมองูสามารถจับงูและป้องกันงูกัดได้ด้วย และเป่าแก้งูพิษได้ด้วย แต่ถ้าหากเรื่องผีสางนางไม้แล้วท่านพระอาจารย์ตื้อ เป็นผู้รับรองป้องกันเป็นที่เลื่องลือกันทั่วไปว่า ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ผีสางนางไม้กลัวเป็นที่สุด

    เมื่อท่านทั้งสองได้เสบียงครบแล้ว ก็เริ่มออกเดินทางตามจุดประสงค์ต่อไป พอเข้าถ้ำก็โรยใบฉำฉาไปเรื่อย ๆ ครั้งละใบสองใบในถ้ำมืดเป็นส่วนมาก ต้องระมัดระวังเรื่องงูเป็นพิษ เพราะในถ้ำเป็นที่อยู่ของงูชนิดต่าง ๆ เป็นจำนวนมากทั้งเล็กใหญ่ ท่านหลวงตา (ท่านพระอาจารย์ตื้อ) เล่าว่าเข้าไปก็พบงูทันที แสดงว่างูมากทีเดียวที่อยู่ในถ้ำ ตัวใหญ่ ๆ ขนาดต้นเสาก็มี แต่พอพบงูที่ไรท่านพระอาจารย์อินทวัง ก็บอกว่าไม่ต้องกลัว เดินเข้าเลยและอย่าไปถูกมัน การเดินทางสำรวจถ้ำคราวนี้ จุดประสงค์ของท่านพระอาจารย์ทวัง ก็อยากไปดู “แท่นหลวงคำแดง” ซึ่งเป็นที่เลื่องลือของคนในถิ่นนั้นว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็นที่อยู่ของชาวลับแล ในระหว่างเดินทางวันหนึ่ง ได้พบแม่น้ำไหลผ่านและลัดเลาะไปตามถ้ำ และทางที่จะเดินต่อไปนั้นก็ต้องลุยน้ำไป เมื่อดู ตามลายแทงแล้ว บอกว่าเป็นแม่น้ำไม่ลึกลุยน้ำขามไปได้ จึงได้พากันลุยน้ำข้ามไป มีสิ่งหนึ่งที่ควรสนใจในระหว่างนั้นก็คือ มีช่วงเดินระยะหนึ่ง ถ้าไม่สังเกตแล้วก็จะหลงทาง เพราะว่าเดินไปนาน ๆ แล้วกลับมาทางเดิม ท่านเล่าว่าในระหว่างการเดินทางนั้นมีการข้ามแม่น้ำถึง ๗ แห่ง และการเดินต่อไปจนถึงต้นโพธิ์ ในระหว่างนี้ใบฉำฉาก็หมด เสบียงที่ไปก็หมดแต่ยังไม่พากันกลับคงเดินทางต่อไปอีก แต่ก็ยังไม่พบ “แท่นหลวงคำแดง” ตกลงก็พากันกลับออกมาเดินทางเดิมท่านพระอาจารย์ตื้อ เล่าต่อไปว่าภายในถ้ำเชียงดาวนั้นมืดไม่เหมาะที่จะบำเพ็ญกัมมัฏฐาน การเดินทางทั้งไปและกลับรวม ๗ วัน ๗ คืนพอดี บางครั้งดี บางครั้งเดินตลอดเพราะไม่ทราบว่าเป็นกลางวันหรือกลางคืนเพราะความมืดสนิทภายในถ้ำ ไม่เหมือนถ้ำพระ
    [/FONT]​
     
  7. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ผู้บำเพ็ญบารมี
    [/FONT]​

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ที่อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ได้บำเพ็ญกัมมัฏฐาน ณ สถานที่วิเวกแห่งหนึ่งเป็นเวลาหลายคืน มีอยู่คืนหนึ่งขณะที่ท่านพระอาจารย์ตื้อ เดินจงกรมกัมมัฏฐานตามปฏิปทาของ “พระธุดงค์” มีชีปะขาว องค์หนึ่งมาหาท่านในท่าทางของเทพยดา เพราะว่าลอยมาทางอากาศ พอเห็นท่านเดินจงกรมอยู่ก็สำแดงตนลอยสูงขึ้นไปยืนหยุดอยู่บนยอดไม้ใหญ่ต้นหนึ่งข้างทางเดินจงกรมของท่าน ยื่นอยู่บนนั้นนานพอสมควร จะทำอะไรก็ไม่ทำอยู่เฉย ๆ ท่านก็เดินจงกรมตามปกติเทพยดาองค์นั้นก็ไม่หนีไปไหน

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม จึงพูดถามขึ้นว่า
    [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] “เทพยดาผู้มีศีลธรรมอันดีงามทำไมท่านจึงยืนอยู่บนที่กว่า ๆ อาตมาผู้เป็นศิษย์ของพระสมณโคดมผู้ปฏิบัติธรรมอยู่เล่า ทำไมไม่ลงมากราบไหว้ ถวายความเคารพเล่า"[/FONT][FONT=trebuchet ms,sans-serif]
    เทพยาดาองค์นั้นก็นิ่งเฉย ท่านพระอาจารย์จึงถามต่อไปอีกว่า
    [/FONT]
    “เทพเจ้าผู้มีศีลจารวัตรอันดีงาม ท่านเป็นฤษี หรือ ๆ ว่าเป็นอรหันต์”
    เทพยดาองค์นั้นก็แสดงอาการกางแขนออก แล้วทำอาการบุ้ยใบ มาทางท่านแล้วแบมือออก
    ท่านพระอาจารย์ตื้อ จึงถามอีกว่า
    "เทพยดา ผู้เจริญ ท่านเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้าหรือ ?"

    เทพเจ้าองค์นั้นก็แบมือออก ปรากฏว่า ที่ฝ่ามือทั้งสองข้างมีรูปบัวอยู่ทั้งสองข้าง
    ท่านพระอาจารย์ตื้อ จึงแน่ใจว่า เทพยดาองค์นี้เป็นพระปัจเจกพระพุทธเจ้าแน่แล้ว แต่เทพยดาองค์นั้นก็แสดงอาการเอียงอาย แล้วก็เหาะไป

    เรื่องเทพยดาองค์นี้ ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม เมื่อมีโอกาสก็ได้กราบเรียนถามท่านพระอาจารย์ใหญ่ คือท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต ท่านพระอาจารย์ใหญ่ แก้ปัญหาของลูกศิษย์ว่าเป็นวิญญาณของผู้ที่กำลังสร้างสมบุญบารมีเพื่อความเป็นปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ และเรื่องอื่น ๆอีกว่า เช่นเรื่องผีสางเทวดานางไม้ต่าง ๆ ที่ท่านพระอาจารย์ตื้อ ได้พบเห็นในเรื่องที่ท่านได้พบเห็นมาเรื่องเช่นนี้ท่านพระอาจารย์ใหญ่ก็รับรองว่า เป็นเรื่องจริงมีจริง สำหรับเทพยดาองค์ที่มีรูปดอกบนฝ่ามือนั้น เป็นผู้กำลังสร้างบารมีเพื่อความเป็นปัจเจกพุทธเจ้าอยู่ และก็อีกไม่นานหรอกก็จะได้สำเร็จคงไม่มีมากหรอกเรื่องเช่นนี้นาน ๆ จึงจะได้พบทีหนึ่ง ซึ่งเป็นเรื่องที่ควรจะสนใจให้มากกว่าเทพยดานั้นบางองค์ก็มีศีลธรรมอันดีงาม เพราะไม่เคยได้ประพฤติธรรมมาก่อนหลายชาติแล้ว ละจากร่างกายอันเน่าเหม็นของมนุษย์แล้ก็ยังประพฤติธรรมอยู่ เพราะสันดานเป็นศีลธรรมแล้ว เทพยดาองค์นี้ไม่กี่ชาติหรอกก็จะได้สำเร็จเป็นพระปัจเจกพุทธเจ้า
     
  8. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เดินธุดงค์ไปแม่ฮ่องสอน
    [/FONT]​

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] จังหวัดแม่ฮ่องสอน เป็นจังหวัดที่อยู่ไกลความเจริญมากในสมัยนั้น หนทางเดินแม้แต่ของคนก็ยังเดินลำบากคมนาคมไม่สะดวกเลย การเดินทางไปลำบากมากที่สุดท่านพระอาจารย์ตื้อท่านได้เล่าว่าหลวงตาเดินธุดงค์จากจังหวัดเชียงใหม่ เป็นเวลาหลายวันถึง เมื่อไปถึงก็เลือกหาสถานที่พักบำเพ็ญเพียรภาวนา ได้ที่เหมาะสมตามสมควรแล้วก็พัก ภาวนาอยู่ที่นั้นเป็นเวลาหลายคืน อากาศก็ดี สถานที่ก็ดี คือเงียบสงบดี การภาวนาเป็นไปด้วยความสะดวกเรียบร้อย แต่มีคืนหนึ่ง ขณะที่ท่านบำเพ็ญกัมมัฏฐานอยู่นั้นมีวิญญาณพวกเทพยดามารบกวน ลองดีกันก็มีมาก โดยเฉพาะที่ถ้ำผาบ่องคืนแรกเท่านั้นก็ต้องขับเคี่ยวกับพวกวิญญาณพวกโอปะปาติกะ หมายถึงพวกผีทั้งหลาย คืนนั้นท่านว่านั่งภาวนาจิตค่อยสงบแล้วพวกฝีมือบาปกรรมก็มากระทำการแสดงฤทธิ์ทำเหมือนสายรุ้งเป็นสีต่าง ๆ จนแสงจ้าไปหมดครอบมุ่งกลดกัมมัฏฐาน ระยะนั้นรู้สึกว่ากำลังของมันแผ่ปกคลุมบีบเข้าไปถึงจิตใจ มีทั้งหายใจฝืดและหายใจไม่ออก ลมมันตันไปหมด ร่างกายธาตุขันธ์อ่อนลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ท่านไม่ได้ลดละการภาวนาตั้งใจภาวนาอย่างไม่ลดละ คงตั้งใจภาวนาให้จิตมั่นคงอยู่กับ พุทฺโธ ธมฺโม สงฺโฆ ไม่นานเท่าไร แสงประกายเหมือนสายรุ้งนั้นก็ค่อยคลายลงและมลายไป

    ครู่นั้นเอง ปรากฏว่าเมื่อแสงนั้นหายไปแล้ว ก็มีนิ้วมือขนาดใหญ่มากเท่าลำตาลเห็นจะได้ครอบลงที่มุ้งธุดงค์อีก ตอนนี้ท่านว่าถึงกับมีหัวใจสั่นหวิว ๆ เกดอาการกลัวขึ้นมาและอยากจะหยุดทำเพียร แต่แล้วท่านก็ตั้งใจมั่นเอาเป็นเอาตาย พุทฺโธ พุทฺโธ ๆจะตายก็ขอให้ตายด้วยศีลด้วยธรรม จิตค่อยสบายขึ้นมาไม่นานนิ้วนั้นก็หายไปอีก

    และต่อมาอีกไม่นานก็ปรากฏเป็นรูปคนตัวดำ ๆ สูงประมาณ ๑๐ ศอก แต่งตัวเหมือนพระราชา เดินเข้ามาใกล้พอสมควรแล้วก็หยุดอยู่ที่เงามืด ท่านพระอาจารย์ตื้อ จึงถามว่า “ใครอยู่ที่นั่น ?” ไม่มีเสียงตอบยืนอยู่เฉย และก็กลับมาอีกแต่คราวนี้เปลี่ยนเครื่องแต่งตัวใหม่กลายเป็นห่มขาว คะเนอายุประมาณ ๒๗ หรือ ๒๘ ปี เพราะดูท่าทางยังหนุ่มอยู่มาก มาคราวนี้มาด้วยอาการสงบเสงี่ยมเรียบร้อย มาใกล้แล้วคุกเข่าลงกราบด้วยความเคารพและดูท่าทางเลื่อมใสในท่านพระอาจารย์เมื่อกราบไหว้แล้ว ก็นั่งเรียบร้อย

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม จึงถามว่า
    ท่านเป็นใคร ? ท่านมาจากไหน
    มาหาท่านพระอาจารย์นี้เอง
    ท่านพระอาจารย์ตื้อ จึงถามต่อไปว่า ใครเป็นผู้ทำสายรุ้งครอบมุ้ง
    กลดของเรา ? ใครเป็นผู้ทำนิ้วมือใหญ่ครอบมุ้งกลดเรา ?
    และใครแสดงตนเป็นพระราชา ? เขาตอบท่านว่า
    ทั้งหมด นี้เราเป็นผู้ทำทั้งหมด
    ทำเพื่อประโยชน์อันใด ท่านพระอาจารย์ตื้อถามอีก
    ทำเพื่อทดลองจิตใจของท่านเล่นเฉย ๆ เขาตอบเป็นเสียงชาวเหนือ

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ จึงว่า “ การที่ทดลองลูกศิษย์ของพระมหาสมณโคดมให้มีความกลัวนั้น ไม่มีผลเสียแล้ว เพราะสมณะอย่างเราไม่กลัวอะไรเสียแล้วจะตายก็ไม่เสียดายอะไร เราะว่าเราได้นับถือพระพุทธเจ้า รู้จักการเสียสละ การทำบุญสร้างปัญญาบารมีจะตามก็ไม่หลงตาย จะอยู่จะตายเป็นประโยชน์ทั้งนั้นจะไม่เป็นผู้หลงตามเลยเทพยดา, มนุษย์, สัตว์นรกรักเคารพต่อพระพุทธเจ้านั้น รักนับถือต่อบุคคลผู้ปฏิบัติธรรมทั้งนั้น นอกจากวิญญาณที่หลงเท่านั้นที่มาหลอกกันให้ยืดยาวเสียเวลาในการสร้างบุญบารมี”

    ในที่สุด วิญญาณดวงนั้นก็ขอรับศีลรับพรจากท่านพระอาจารย์ด้วยอาการเคารพนบน้อม ท่านก็แผ่เมตตาให้ตามประสงค์ วิญาณกราบเรียนท่านว่า แต่ก่อนข้าพเจ้าเป็นพระราชาอยู่เมืองตองฮู้ ระยะแรกเมินเฉยต่อพระธรรมคำสอนเพราะโลภมากในสมบัติ แต่ระยะหลัง ๆ บั้นปลายของชีวิตได้เลื่อมใสในพระพุทธเจ้าพระองค์เสด็จมาโปรด ข้าพเจ้าก็ได้รับศีลรับพรจากท่าน และขอให้พระพุทธเจ้าได้ประทับรอยพระบาทไว้เพื่อเป็นที่สักการบูชาพระองค์ก็ทรงประทับรอยพระพุทธบาทไว้อยู่ห่างจากนี้ไม่ไกล อยู่กลางแม่น้ำที่ฝาผนังหินกลางแม่น้ำ แม่น้ำลึกท่วมหลังช้างเท่านั้นไม่ลึกมาเท่าไร แม่น้ำอยู่ใกล้เมืองประดู่ขาว (ปัจจุบันเป็นเมืองรัว) วิญญาณนั้นบอกย้ำอีกว่ารอยพระพุทธบาทนั้นอยู่กลางแม่น้ำนั้น นิมนต์ไปดูและนมัสการด้วย ถ้าท่านนับถือพระพุทธเจ้าจริง ๆ แล้วก็จะบอกหนทางเดินให้ แต่อย่าลืมว่าตรงปากทางเข้าไปจะถึงแม่น้ำนั้น จะมีถ้ำยู่แห่งหนึ่ง เมื่อเข้าไปในถ้ำนั้นจะเห็นหินยาวรีมีลักษณะคล้ายงู แต่เป็นก้อนหินธรรมดามนุษย์ทั่วไปเข้าใจว่าเป็นงู เพราะมีแต่ความกลัวเป็นใหญ่ ให้เดินข้ามไปหรือเหยียบไปเลยก็ได้ และภายใต้หินก้อนนั้นมีไหเงินและทองคำ อยู่ ๔ ไห ถ้าหากท่านพระอาจารย์จะเอาไปเพื่อเป็นการเมตตา ต่อข้าพเจ้าแล้วก็ขอน้อมถวายเลย เมื่อพูดเพียงนี้แล้วก็หายไป

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ได้พักภาวนาอยู่เป็นพอสมควรแล้ว ก็เดินทางไปเพื่อดูรอยพระพุทธบาท ใช้เวลาเดินตามทางที่วิญญาณบอก ๑ วันก็ถึงปากถ้ำทางเข้าไป เพื่อดูรอยพระพุทธบาท ท่านได้สังเกตเห็นหินก้อนยาวเหมือนรูปงูจริง ๆ แต่มันเป็นก้อนหินธรรมดานั้นเอง เดินต่อไปเรื่อย ๆ จนถึงริมแม่น้ำก็มองเห็นก้อนหินใหญ่ เหมือนภูเขาตั้งอยู่กลางน้ำเลย และก็ได้พบรอยพระพุทธบาทตามคำบอกเล่าจริง ๆรอยพระพุทธบาทนี้ยาวประมาณ ๘ ศอก กว้าง ๖ ศอก สูง ๔ ศอก โดยประมาณเห็นจะได้เป็นรอยพระพุทธบาทที่พระพุทธเจ้าทรงประทับไว้บนก้อนหินใหญ่

    ทุกคืนที่ท่านหลวงตา พักภาวนาอยู่ที่ริมบริเวณป่าจังหวัดแม่ฮ่องสอนนี้ เกือบทุกคืนจะต้องมีเหตุการณ์แปลก ๆ มารบกวนการบำเพ็ญภาวนาของท่านอยู่เสมอ ท่านก็ใช้ความอดทนอดกลั้นต่อสู้ชนะไปทุกราย เมื่อเป็นผู้ชนะแล้ว สิ่งที่มารบกวนเหล่านั้นก็บอกให้ท่านไปเอาสมบัติต่าง ๆ ที่พวกตนเฝ้ารักษาอยู่ แต่ท่านก็ไม่เคยสนใจตามคำบอกเล่าเหล่านั้น มุ่งแต่ทำความเพียรภาวนาอย่างเดียว เพราะตั้งแต่ท่านบวชมาในพระพุทธศาสนา ท่านก็ได้ดำเนินตามปฏิปทาในทางปฏิบัติธรรมอย่างเคร่งครัด ไม่เคยท้อถอย ท่านบอกว่า จงสละไปเถิดวัตถุธรรม เพื่อความดีคือ “พระธรรม” อันเป็นความดีที่สุดของชีวิต สังเกตได้ว่า นับตั้งแต่ท่านได้ออกเดินธุดงค์ครั้งแรกก็พบเจ้าที่เจ้าทางทดลองเพื่อเอาชนะเสมอ ทั้งเหตุภายในและภายนอกแต่วิสัยลูกศิษย์ของพระตถาคตแล้ว ท่านไม่เคยลดละความพยายามเลย ต้องสู้เพื่อจุดประสงค์ของสิ่งทดลองว่าเพื่ออะไรเสมอ นับว่าเป็นการเดินธุดงค์ของท่านเป็นการผจญภัยต่ออันตรายชีวิตเสมอ บางครั้งไม่ได้ฉันท์ข้าวฉันท์น้ำเป็นเวลา ๗ วัน ๑๕ วัน เพราะมีแต่การเดินทางไม่ค่อยพบบ้านคนเลย เพราะเดินไปตามป่าตามภูเขาแต่ก็มิใช่ว่าท่านหรือพระอาจารย์ธุดงค์กัมมัฏฐานทั้งหลายไม่มีความพอใจในการกระทำเช่นนั้น ท่านทำไปเพื่อความเห็นแจ้งตามแนวทางของพระธรรมเลื่อมใสในสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นที่ตั้ง เวลาท่านเดินธุดงค์กัมมัฏฐานไม่เจอบ้านคนนั้น ท่านนึกเอาพุทฺโธ เป็นอารมณ์ทำให้ท่านเป็นปู้มีกำลังใจขึ้น หายจากความหิวกระวนกระวายลงได้ ไม่มีอะไรที่จะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานของท่านเลย เพราะความมุ่งหวังอันเด็ดเดี่ยวของท่านนั้นมีจุดประสงค์ที่ดีกว่านั้น นิสัยของท่านหลวงตาอีกอย่างหนึ่งก็คือ ท่านชอบรู้สิ่งต่างๆ ที่เร้นลับ เช่น พวกกายทิพย์ ผีสาง เทวดา เปรต เป็นตน ท่านเคยเล่าแล้วก็อดสงสัยไม่ได้เพราเป็นเรื่องที่มนุษย์สามัญจะรู้ได้ แต่เปรียบเทียบกับหลักในทางพระพุทธศาสนาแล้ว ท่านหลวงตาพูดเล่าไปตามความจริง เช่นเรื่องเสือที่มารบกวนการภาวนาในเวลากลางคืน ท่านว่าเสือเป็นอาจารย์ในการปฏิบัติกัมมัฏฐาน เป็นสิ่งแวดล้อมที่ทำให้พระธุดงค์เป็นผู้ไม่ประมาทในหน้าที่ของตน ท่านว่า เสือคือเทพเจ้าที่คอยรักษาเราให้ปลอดภัยจากการเดินธุดงค์นั้น เพราะเสือแสดงตัวเหมือนกับรู้ภาษาคน เวลาที่เสือมาหาเราในป่า เราก็เร่งภาวนาจิตยึดใน พุทฺโธ เป็นอารมณ์ไม่ฟุ้งซ่านรำคาญ การปฏิบัติกัมมัฏฐานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยดี เช้าขึ้นก็ออกเที่ยวบิณฑบาตตามสมณวิสัย ฉันท์อาหารบิณฑบาตตามพิจารณาอาการ ๓๒ ของร่างกายที่เราหลงใหลว่าเป็นของสะอาดงดงาม เมื่อรู้สึกง่วงก็เดินจงกลมภาวนาเพื่อป้งกันนิวรณ์มาครอบงำสำหรับเวลากลางคืนนั้นบำเพ็ญความเพียรโดยตลอด เวลาพักผ่อนจำวัดมีน้อยมาก ทำกิจวัตรอย่างนี้ไม่เคยขาด ทำอยู่เสมอ และทำด้วยความที่สุดไม่ได้ห่วงหลัง ยึดพุทโธเป็นสรณะตลอดไม่เคยประมาท ทำอยู่อย่างนี้เป็นเวลาหลายวัน ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ชีวิตของพระธุดงค์กัมมัฏฐานเช่นท่านแล้วก็ต้องมีเหตุการณ์เกิดขึ้นแปลกเสมอ เช่นเรื่องที่จะเล่าให้ท่านฟังดังนี้.-

    ในคืนวันหนึ่ง ขณะที่ท่านกำลังเดินจงกรมอยู่มีงูใหญ่ตัวหนึ่งได้ เลื้อยมาที่จงกรมของท่าน พอท่านเดินมาใกล้ก็ชูคอจ้องดูท่าน ท่านก็เดินจงกรมไป ๆ มา ๆ ตามปกติ ดูเหมือว่าไม่สนใจอะไรเลยเจ้างูใหญ่ตัวนั้นคงจ้องมองดูท่านอย่างไม่ลดละ มันคงจะคิดว่า ท่านกำลังทำอะไรอยู่ เดินกลับไปกลับมาเฉย ๆ ช่างไม่มองดูเราเลย เราก็อุตส่าห์มาเยี่ยมถึงที่ท่านน่าจะต้อนรับพูดจาปราศรัยบ้างเมื่อมันจ้องมองดูท่านแล้ว เห็นท่านไม่ทำอะไรเลย เจ้างูใหญ่ตัวนั้นจึงเลื้อยมาที่จงกรมใกล้กว่าเดิม พอเลื้อยมาแล้วก็ขดตัวเป็นขนดซ้อนกันขึ้นแล้วชูคอมาจ้องมองท่าน ท่านพระอาจารย์ตื้อ เมื่อเจอเหตุการณ์เช่นนั้นท่านก็ไม่กลัวอะไรคงเดินจงกรมตามปกติทำเหมือนไม่สนใจ แต่ก็สังเกตดูในใจว่าเจ้างูตัวนี้จะทำอย่างไรต่อไป เมื่อเห็นเราไม่สนใจและไม่กลัวมันไม่นานนักงูตัวนั้นก็คลายขนดเลื้อยหายเขาไปในป่าข้างทางเดินจงกรม และประเดี๋ยวเดี่ยวเท่านั้นเอง ก็ปรากฏว่าได้มีคนสูงใหญ่ ส่วนสูงประมาณ ๑๐ วา ยืนกางขาครอบที่เดินจงกรม กว้างพอเดินไปมาได้อย่างสบาย ยืนเป็นผู้ยิ่งใหญ่แสดงตนว่าเป็นเจ้าพ่อที่พระบาทบัวบกนี้ แต่ท่านก็เดินจงกรมตามปกติ ท่านปอกว่ารู้สึกขนสยองเกล้านิด ๆ หน่อย แต่ที่ทนไม่ได้เพราะกลิ่นเหม็นสาบมาก และเหม็นมากขึ้นทุกที ทนต่อทุกเวทนาต่อตัวนี้ไม่ได้ เพราะมีกลิ่นเหม็นมาก ท่านจึงพูดให้ผีตัวนั้นหนีไป แต่จะไล่อย่างไรมันก็ไม่หนีสักที แต่ท่านใช้ความอดทนและอดกลั่นอย่างแรงทนเดินจงกลมต่อไปแต่ทนสู้กลิ่นเหม็นของเปรตไม่ได้ ท่านจึงพูดและขับไล่ผีตนนั้นต่อไปด้วยการกำหนดจิตต่อสู้อยู่นานพอสมควร แต่ก็ไม่ได้ผล ท่านจึงหยุดเดินจงกรมแล้วพูดขึ้นว่า ให้มึงรออยู่ตรงนี้ก่อนเดี๋ยวจะได้ลองดีกัน ท่านจึงขึ้นไปบนกุฏิกระท่อม แล้วเอาเทียนติดปลายไม้เท้าแล้วจุดไฟ แล้วก็พูดตะโกนไปว่า “ให้มึงหนีไปเด้อถ้าไม่หนีจะเอาไฟจุดดากมึงเดี๋ยวนี้ละ” ผีตนนั้นก็ยังยืนอยู่ที่เดิม และปรากฏว่ามีเสียงหัวเราะเยาะท่านดังขึ้นมาจากผีตัวนั้น ท่านจึงเดินลงมาจากกุฏิเดินตรงไปที่จงกรม แล้วเอาไฟเทียนพุ่งเข้าใสผีตนนั้นโดยเร็ว ผีตนนั้นหลบไปจากที่นั้น และก็ไปปรากฏขึ้นที่ต้นไม้ใหญ่อีกต้นหนึ่ง แต่ก็ไม่ไกลนักจากที่เดินจงกรมก็ไม่ได้จึงได้ไล่ด้วยไฟเทียนต่อไปอีก จึงได้หนีไปไกลกว่านั้น ท่านจึงกลับมาเดินจงกรมตามปกติ ดูท่าทีว่าผีเปรตนั้นจะแสดงอะไรต่อไปอีก ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ท่านเดินจงกรมต่ออีกจนได้ เวลาอันสมควร ท่านจึงได้พักเดินจงกรมแล้วนั่งภาวนาสมาธิต่อไป

    ขณะที่ท่านนั่งสมาธิอยู่นั้นไม่นานประมาณครึ่งชั่วโมงเห็นจะได้ ท่านเล่าว่า มีใครมาเป่าที่หูขวาและเวลารู้สกตัวแล้วก็กลับมาเป่าที่หูซ้ายท่านพยายามเฉย ๆ มันก็รบกวนอยู่นั้นเอง พอเห็นเราคอยระวังอยู่อย่างนั้นมันก็หัวเราะชอบใจ ท่านจึงขับไล่ต่อไปอีกและมันก็หนีไปและไม่นานก็กลับมาอีกมาทำล้อเล่นอย่างเดิมจะทำอย่างไรก็ไม่หยุดและก็ไม่หนีไปที่อื่น ถ้าหากว่าหนีไปก็ไม่นานแล้วก็กลับมาอี จะนั่งภาวนาเท่านั้นเจ้าผีตัวนั้นก็มารบกวนอยู่เรื่อยไปและก็ไม่ยอมหนี ๆไปก็กลับมาอีก จึงนึกหาอุบายอยู่ว่จะทำอย่างไรต่อไปดีจึงจะขับผีตนนี้ให้หนีไปได้ ท่านจึงคิดจะเอามาสาดใสเพื่อให้หนีไป พอคิดแล้วก็ลุกไปจากที่เพื่อหาขันน้ำตักเอาน้ำมาสาดผีบ้าง แต่พอไปหาที่เก็บเอาไว้ไม่มีขันน้ำเลย แต่จำได้แน่นอนมากว่าอยู่ที่นี่จริง ๆ เพราะในที่นั้นไม่มีใครอื่นนอกจากท่านเท่านั้น คนอื่นไม่มีอีกคิดว่าผีเอาไปซ่อนไว้ที่อื่นเสียแล้ว ไม่นานก็ได้ยินเสียงหัวเราะเบา ๆ เมื่อหาขันน้ำไม่พบก็เลยคิดจะเอาไม้ขีดเผาหัวผี แต่คว้าหาไม้ขีดก็ไม่เจออีกก็มันเล่นตลกจริง ๆเจ้าผีตัวนี่ จะเอาอะไรก็เอาไปซ่อนหมด เจ้านี้มันเก่งจริง ๆ ได้ยินเสียงหัวเราะผีดังเบา ๆ อีก ก็ไม่รู้จะทำอย่างไรต่อไปนึกไม่ออก เพราะจะทำอะไร ๆ เจ้าผีตนนั้นมันรู้หมดเลย ท่านจึงเอามุ้งกลดกลางนั่งภาวนาต่อไป และไม่นอนเลยตลอดคืนเพราะถ้านอนเจ้าผีตนนั้นอาจจะทำให้เรารู้ไม่ทันก็ได้ จึงนั่งภาวนาต่อไปจนได้อรุณ แล้วผีตนนั้นจึงหนีขึ้นไปทางยอดเขาแล้วร้องบอกว่า “เรายอมแพ้ท่านแล้ว”

    (บันทึกตอนนี้ มีท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นประธานที่นั้นด้วย)

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม พอได้เวลาออกบิณฑบาต ท่านก็เข้าไปหาหมู่คณะ มีท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต เป็นประธานในที่นั้นด้วย พอท่านพระอาจารย์ตื้อ มาถึง ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงถามว่า “ท่านตื้อ คืนนี้คุณทำอะไรอยู่ ?” ท่านพระอาจารย์ตื้อ จึงกราบเรียนว่า กระผมรบกับผีขอรับฯและกราบเรียนต่อไปว่า กระผมทำอย่างไรเจ้าผีตนนั้นก็ไม่หนี จนได้อรุณรุ่งสว่างเจ้าผีตนนั้นขึ้นเขาไป ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต จึงพูดว่า “ดีแล้วท่านตื้อผีมันปลุกเราภาวนา” จากนั้นก็แยกย้ายออกเที่ยวบิณฑบาตตามสมณกิจ ฉันบิณฑบาตแล้วก็นั่งภาวนาตามกิจวัตรของนักบวชผู้มุ่งปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ เล่าต่อไปว่า ผีตนนี้เป็นผีเจ้าที่ที่ยิ่งใหญ่จริง ๆ เราชนะมันได้จึงไปรอด แต่ถ้าหากเราชนะมันไม่ได้คงลำบากและจากนั้นเจ้าผีตนนั้นก็ไม่มาอีกเลย ถ้าหากเรายอมแพ้มันแล้วมันก็จะรบกวนทุกคินแตในเหตุการณ์เช่นนั้นจึงต้องอาศัยความอดทนอดกลั้นเป็นที่สุดจะท้อถอยไม่ได้เลย อารมณ์เข้าออกก็ต้องมีพุทฺโธ เป็นประจำขาดไม่ได้ คำว่า พุทฺโธ นี้เองผีกลัวมากที่สุด จากนั้นท่านได้เล่าเหตุการณ์ที่ท่านไปภาวนาที่บ้านภูดินให้ฟังอีก
    [/FONT]​
     
  9. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เหตุเกิดที่บ้านภูดิน
    [/FONT]​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ท่านเล่าว่าในระหว่าที่พักภาวนาอยู่ที่บ้านภูดินนั้นคืนแรกเลยทีเดียว เสือใหญ่ลายพาดกลอนมาร้องให้ฟังและทราบว่าเสือตัวนั้นกินคนมาไม่นาน เป็นเสือที่ดุร้ายมาก คืนนั้นได้ยินเสียง วัว, ควาย แตกตื่นกันตลอดทั้งคืน และคนก็ได้ยินเสือร้องแล้วพันแตกตื่นตลอดคืนเช่นกัน ชาวบ้านมาบอกให้ระมัดระวัง เพราะกลัวเสือมันจะรบกวนและรังแก ท่านตอบโยมว่า อาจารย์เสือมาช่วยสอนกัมมัฏฐานหรือ ? ท่านก็ไม่ได้ประมาทเลย ระมัดระวัง เช่นกัน แต่จะไปกลัวมากกวาชาวบ้านไม่ได้ในเหตุการณ์เช่นนั้นเราท่านต้องเป็นที่พึ่งทางใจของเขาได้ พอดึกสงัดเสียงเสือร้องก็เงียบหายไป นั่งสมาธิไปจนถึงเวลาไก่ขันต้น ในขณะนั้นได้มีวิญญาณของพระอาจารย์คำบ้อ มาหาท่านบอกว่า ท่านหลวงทหารและหลวงชา เอาของมาฝากไว้ใต้ค้อเมื่อครั้งสมัยเมืองเวียงจันทร์แตก ท่านพระอาจารย์จะเอาไปก็ได้ แต่ก่อนจะเอาไปให้สวด มงคลสูตร เสียก่อนและไม่ต้องมีเครื่องบูชาอะไรหรอก แล้วบอสถานที่ให้เมื่อท่านเดินไปจากที่นี้ถึงต้นค้อแล้ว ให้ยกเอาหินที่วางซ้อนกัน ๓ ก้อน ออกแล้วขุดลึกลงไปประมาณ ๓ ศอก เท่านั้น ในนั้นมีพระเงินและพระทองคำหลายองค์เพราะในขณะนั้น ท่านหลวงทหารและหลวงชา เมื่อนำมาฝากแล้วไม่รู้ว่าไปไหน และเจ้าปู่เองก็จะไปที่อื่นเสียแล้ว ต่อไปจะไม่มีคนเฝ้ารักษาแล้ว ท่านก็นั่งอยู่เฉย ๆ ไม่โต้ตอบว่าอย่างไรสักครู่หนึ่งก็หายไป

    และต่อมาอีกไม่นาน ก็มีคนสูงใหญ่รูปตัวดำมากท่านว่าดำเหมือนถ่านไฟเสียอีกมาปรากฏอยู่ข้างหน้าท่านแล้วก็พูดว่าอย่างไรก็ฟังไม่ชัด ท่านจึงถามว่า เป็นชาติอะไร ? ตอบว่า เป็นเผ่ากุยก่อมองกะเร ท่านไม่เข้าใจ ถามอีกว่า เป็นเทวดาหรือ ? ก็ตอบย้ำความเดิมไม่รู้ว่าเป็นชาติอะไรจึงได้บอกนั่งลงและกราบไหว้พระ ผีตนนั้นมีแต่ยิ้มไม่ยอมไหว้ ท่านพระอาจารย์จึงพูดว่า ถ้าอย่างนั้นก็จงหนีไปเถิด เขาทำท่าจะนั่งลงแต่ไม่ใช่ หากเป็นการย่อตัวลงแล้วก็หนีไป

    ท่านทำความเพียรอยู่ที่ภูดินต่อไปเรื่อย ๆ ในคืนหนึ่งมีเทพเจ้าองค์หนึ่งนามว่า ฑีฆาวุโสและประกาศตนว่า ชาติก่อนเป็นเจ้านครเวียงจันทร์ เข้ามาหาท่านแล้วถามว่าเจ้าหัวลูกมาจากไหน ? แต่ทราบว่า ท่านได้เคร่งครัดในการปฏิบัติธรรมมาก สมัยเวียงจันทร์ครั้งก่อน นั้นชาวเมืองได้ตั้งใจบำเพ็ญบุญกุศลกันดีมากแม้เจ้าเมืองก็ใส่บาตรทุกวันและถวายอาหารบิณฑบาตทุกวันด้วย เจ้าปู่เห็นท่านไปบิณฑบาตแล้ว ไม่ค่อยจะมีคนใส่บาตรเลย จึงน่ายกย่องสรรเสริญท่านมากที่ไม่ท้อถอยในการบำเพ็ญกัมมัฏฐาน ไม่เห็นแก่ได้ บางงวันเจ้าหัวลูกไม่ได้ฉันบิณฑบาตเลย เสร็จแล้วปู่เจ้าจึงกล่าวว่า วันนี้เป็นวันที่เจ้าปู่ต้องไปจากที่นี่แล้ว ว่าเท่านั้นเจ้าปู่เทพองค์นั้นก็หายไปอย่างรวดเร็วมาก

    คืนต่อมา ท่านหลวงตากลับไปนั่งภาวนาที่พระบาทบัวบกอีก ขณะที่ท่านนั่งภาวนาอยู่ มีก้อนหินตกลงมาจากที่สูงหลายสิบก้อน แต่ตกห่างจากที่ท่านเดินจงกรมท่านก็เดินจงกรมต่อไป ไม่นานก็ปาก้อนหินมาอีก คราวนี้ตกใกล้กว่าที่เดิม ท่านนึกใครจะมารบกวนอีกแล้วก็มีก้อนหินปามาอีก ท่านจึงพูดแรง ๆ ว่า ใครเก่งก็ให้ออกมาต่อสู้กันเลย คราวนี้ได้ยินเสียงก้อนหินตกรอบตัวหลายสิบก้อนเช่นครั้งแรก จึงหยุดเดินจงกรมเข้ามุ้งกลดนั่งสมาธิต่อไป และขณะที่นั่งภาวนาอยู่นั้นก็ได้ยินเสียงก้อนหินตกเรื่อย ๆ ไม่รู้ว่าใครขว้างเข้ามา ในคืนวันนั้นมีญาติโยมจากบ้านมารักษาอุโบสถศีลด้วยกัน ๕ คน ท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม จึงให้พระเถระอีกรูปหนึ่งที่ร่วมเดินทางธุดงค์ด้วยกัน ให้มาอยู่ใกล้ ๆ เมื่อท่านหลวงตามได้เพื่อนอยู่ใกล้แล้วไม่นานเลยก็มีก้อนหินตกเหมือนกับฝนตก ตกรอบ ๆ บริเวณนั้น ตกแล้ว ตกอีก ยินเสียงก้อนหินตกเป็นระยะ ๆ ไปจึงมองไปรอบบริเวณก็เป็นหินจริง ๆ ถ้าตกถูกหัวก็แตกจริง ๆ นั้นแหละ นอกจากหัวเหล็กหัวข่าง ไม่นานก็มีเสียงดังคล้ายมีคนผลักก้อนหินกลิ้งลงมาจากยอดเขา แต่เสียงนั้นอยู่ไกลพอสมควร ท่านได้สมาธิดู ปรากฏว่า ได้มีชายรูปร่างใหญ่ผักก้อนหินลงมาจากยอดเขาจริง ๆ จุดประสงค์อะไรก็ไม่ทราบได้ คือกำหนดรู้ไม่ได้ และในขณะนั้นเอง ก็มีแสงไฟเทียนสว่างขึ้นในมุ้งของพระอาจารย์ที่มาเป็นเพื่อน เพื่อสังเกตการณ์ด้วยกันและไม่ดับตลอดคืน ท่านพระอาจารย์องค์นั้นก็ไม่ได้เอนหลังเลยคงนั่งภาวนาตลอดคืนเช่นเดียวกัน คืนนั้นไม่ได้นอนเพื่อพักผ่อนร่างกายเลย ผีปลุกให้ภาวนาตลอดคืน ท่านเล่าว่า พอนึกถึงคำพูดที่ท่านพระอาจารย์ใหญ่ (พระอาจารย์มั่น) ว่า ผีปลุกเราให้ภาวนาแล้ว มีกำลังแข็งแรงทั้งกายและจิตทุกครั้งไป พอสว่างแล้วก็เตรียมตัวออกเที่ยวบิณฑบาต วันนั้นได้ไปเที่ยวบิณฑบาตที่บ้านติ้ว อ.บ้านผือ พอฉันเสร็จแล้วท่านพระอาจารย์องค์ที่ไปเป็นเพื่อนด้วยในคืนนั้น เตรียมตัวจะหนีไปอยู่ที่อื่น ท่านพระอาจารย์ตื้อจึงถามว่า ท่านจะไปไหน ? ท่านองค์นั้นตอบว่า ผมอยู่ไม่ได้หรอกเพราะตลอดคืนมีแต่ก้อนหินตกลงมาจะภาวนาก็ไม่สะดวกฯ

    ท่านพระอาจารย์ตื้อ จึงแก้ว่า เมื่อสมันพระพุทธเจ้าแสดงธรรมเรื่องเวสสันดรชาดกเมื่อท่านกล่าวคาถาขึ้นเท่านั้น ก็มีฝนเงินฝนทองตกลงมาเป็นพุทธบูชาละเมื่อมีการแสดงธรรมเวสสันดร ทุกวันนี้เพราะพระท่านกล่าวคาถาพันเท่านั้น พุทธศาสนิกชนทั้งหลายก็โปรยข้าวตอกดอกไม้เป็นเครื่องบูชา เช่นกัน ก็เมื่อคืนนี้ลูกศิษย์ของพระพุทธเจ้าภาวนา “พุทฺโธ” เทวดาเขาก็อนุโมทนาโปรดดอกไม้ทิพย์เป็นเครื่องสักการบูชา
    ท่านพระอาจารย์องค์นั้น กล่าวว่า ดอกไม้ทิพย์อะไร เห็นมีแต่ก้อนหินเท่านั้น ก็เรื่องข้าวตอกดอกไม้นั้นเป็นเรื่องที่เห็นด้วยตาและรู้สาเหตุที่มาด้วย แต่นี้ไม่เห็นอะไรพากันขำหัวเราะ แล้วก็ไปสู่ที่พักของตนและท่านอาจารย์รูปนั้นก็หนีจากท่านพระอาจารย์ตื้อ ไปหาที่พักอื่น ท่านยังอยู่ที่เดิม บอกว่าจะอยู่ที่นี่ไปก่อน เพราะเพิ่งมาถึงคืนแรกเท่านั้น จะท้อถอยกลัวมันแล้ว เจ้าผีจะหัวเราะเอาว่าเรากลัวมัน ละเมื่อคืนนี้เราก็ไม่ได้เจ็บกายอะไร เพราะการกระทำของมันเลย เพียงแต่มันรบกวน เพราะการกระทำของมันเลยเพียงแต่มันรบกวนให้เราได้รับความรำคาญเท่านั้นเอง และถ้าหากว่าเราไปสู่ที่อื่นแล้วเจอเจ้าที่ที่อื่นอีกก็ต้องลองดีกันเรื่อยไป เราต้องทำความเข้าใจกันเป็นที่ ๆ ไป แล้วท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ท่านก็พักบำเพ็ญกัมมัฏฐานอยู่ ณ ที่นั้นต่อไป

    และในคืนวันนั้น ก็ในราว ๓ – ๔ ทุ่มเท่านั้นเองท่านนั่งภาวนาอยู่ก็ได้ยินเสียงคล้ายเสียงม้า เดินไปเดินมาอยู่รอบกลดมุ้งที่พักของท่านเสียงเดินนั้นดังอยู่ที่ก้อนหินเป็นจังหวะเหมือนเสียงม้าเดินหนักเข้าก็เข้ามาใกล้ท่าน ใกล้จนชิดมุ้ง ท่านพระอาจารย์จึงเปิดมุ้งออกดูก็เห็นเป็นม้าสีขาวใหญ่เดินไปทางอื่น และท่านจึงเอามุ้งลงนั่งภาวนาต่อไป มันก็มาทำรบกวนแบบเก่าอีกท่านจึงออกจากมุ้งกลดเดินจงกรมในบริเวณนั้น ก็ได้ยินเสียงนั้นเดินห่างออกไป และก็เดินจงกรมต่อไปตามปกติ เสียงนั้นก็หายไป และในขณะนั้นเองตามทางที่เดินจงกรมของทานเต็มไปด้วยงูหลายสิบตัว จนท่านเดินจงกรมไม่ได้ งูเหล่านั้นสีดำสนิทเลย ถ้าหากเดินจงกรมก็ต้องเหยียบงูตายท่านจึงเดินจงกรมและยืนอยู่เฉย ๆ ในที่เดินจงกรมนั้น หลับตาเพ่งดูงูเหล่านั้นว่า จะมีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง ท่านยืนอยู่นานมากก็เห็นงูเหล่านั้นยิ่งมากขึ้นกว่าเดิม แต่งูเหล่านั้นทั้งหมดไม่ได้เลื้อยมาใกล้ท่านเลย อยู่ห่างจากท่านประมาณ ๑ วาเศษ ๆ ท่านจึงตั้งใจว่า จะต้องยืนอยู่นั้นจนกว่า งูเหล่านั้นจะหนีไปหมด เสร็จแล้วก็ไม่ได้สนใจเรื่องงูเหล่านั้นว่าจะมีมากน้อยเท่าไร ยืนกำหนดจิตภาวนาอยู่นั้น จึงได้มีบุรุษคนหนึ่งมาบอกท่านว่า ท่านจงเดินจงกรมต่อไปเถิดกระผมจะจับงูทั้งหมดเหล่านี้ไปหมด จะเอาไปให้พระยาครุฑเป็นอาหาร ว่าแล้วบุรุษคนนั้นก็เก็บงูทั้งหมดเหล่านั้นใสลงในถุงที่มือถือมาได้เต็มถุงใหญ่แล้วก็เดินหายไป ท่านมองดูที่จงกรมก็ไม่มีงูแม้แต่ตัวเดียวท่านจึงเดินจงกรมต่อไป และไม่ได้ตั้งใจว่าในคืนนี้จะไม่นั่งและไม่นอน จะเดินจงกรมและยืนอยู่ที่จงกรมนี้จนสว่างแล้วท่านพระอาจารย์ก็เดินจงกรมอยู่ที่เดิม และประมาณว่ามีคน ๔ - ๕ คน แต่ไม่ได้สนใจฟังว่าเขาพูดอะไรกัน และครู่นั้นเองก็เห็นคนถือไฟเดินลงมาจากก้อนใหญ่ข้างหน้า แล้วก็เลี้ยวขึ้นไปทางหลังเขาปรากฏว่ามีคนเดินตามหลังด้วยก็มี ท่านนึกว่าคงเป็นเสียงที่คุยกันเมื่อตะกี้เอง และหายไปพร้อม ๆ กันท่านก็จงกรมภาวนาอยู่ที่เดิมต่อไปเรื่อย ๆ จนได้อรุณแล้วก็เตรียมตัวเข้าไปเที่ยวบิณฑบาตพอกลับจากหมู่บ้านที่เที่ยวบิณฑบาตถึงที่โรงฉัน ชาวบ้านเล่าให้ท่านพระอาจารย์องค์หนึ่งที่เป็นประธานในที่นั้นฟังว่า

    คืนนี้ วิญญาณเจ้าปู่เข้าสิงชาวบ้าน พูดชัดถ้อยชัดคำว่า เจ้าหัวธรรมมารบกวนที่อยู่ ลูกหลานทั้งหลายเดือดร้อนมากไม่ได้หลับได้นอนตลอดคืน และเจ้าหัวธรรมหนีไปเสียจากที่นี้ ถ้าไม่หนีจะทำให้ฝนตกและมีฟ้าผ่าลงมาให้ได้รับความเดือดร้อนกว่าเดิม เจ้าหัวธรรมชุดนี้เราจะขับไล่อย่างไรก็ไม่หนี ถ้าเขาไม่หนีก็จะต้องทำฝนให้ตกเพื่อให้อยู่ไม่ได้ ท่านพระอาจารย์ผู้เป็นหัวหน้า (ขณะนี้ยังมีชีวิตอยู่) พูดว่า ถ้าฝนตกและมีฟ้าผ่าอาตมาจะกินขวานเจ้าปู่เลย ท่านพระอาจารย์พูดต่อไปว่า ผีมันโกหกเฉย ๆ พูดไม่จริงหรอก ไม่มีอะไรจะจริงเหมือนพระพุทธเจ้าเลยในโลกนี้ เมื่อท่านพูดเช่นนี้ชาวบ้านก็นิมนต์ให้อยู่ที่นั้นต่อไปอีกเพื่อพิสูจน์ความเป็นจริง และท่านเหล่านั้นก็พักอาศัยป่าวิเวกวังเวงอยู่เพื่อปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐานต่อไปอีกหลายราตรี และก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้นตามคำบอกของวิญญาณเลย ชาวบ้านเหล่านั้นจึงได้นับถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งต่อไป เลิกถือผี พากันสร้างวัดเพื่อให้เป็นที่พักของพระสงฆ์ผู้มาจากทิศทั้ง 4 ตามความเป็นจริงแล้ววิญญาณเหล่านั้นหากมารู้ตามความเป็นจริงแล้ว ก็จะไม่หลงวนเวียนอย่างนั้น กิเลส ทิฏฐิ มานะ นี้ร้ายกาจมาก มันสามารถดึงเอาคนตกเป็นทาสของมันวนเวียนอยู่ในวัฏฏสงสารได้อย่างง่ายดายมาก ในโลกนี้คนที่ตกเป็นทาสของมันมีมากเพราะขาดจากการนับถือพระรัตนตรัย การนับถือผีสางอันเป็นจำพวกวิญญาณที่หลงทางเดิมเมื่อตายแล้วนั้นเป็นการเชื่อแบบขอความอ้อนวอน จึงเป็นการเชื่อถือที่ไม่แน่นอน พระพุทธเจ้าท่านจึงทรงแนะนำไม่ให้พุทธศาสนิกชนของท่านเชื่อในเรื่องเช่นนี้เสีย ให้เชื่อกรรมคือการกระทำของตนเองดีกว่า ท่านพระอาจารย์ท่านก็สอนลูกศิษย์ของท่านด้วยทำนองนี้มาโดยตลอด

    ตอนหนึ่งท่านหลวงตา ท่านเล่าให้ฟังว่า เรื่องของวิญญาณต่าง ๆ ในโลกนี้มีหลายจำพวกเหลือเกินบางพวกเป็นวิญญาณที่มีความเป็นอยู่ดีมากมีศีลธรรมแต่พวกเราชอบเรียกรวมไปหมดว่า ผีความจริงผีหรือวิญญาณต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลกนี้ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการปฏิบัติธรรมเลย เพราะในโลกนี้มีทั้งน่ารัก น่าชัง ทั้งหัวเราะร้องให้ครบอยู่แล้ว เหตุการณ์ทั้ง 4 อย่างนี้มีครบอยู่ในโลกและมีพร้อม ๆ กันเลย มันมีน่าแปลกคนเราเวลาตายเกิดอารมณ์ร้องให้ทำให้เศร้าใน แต่เวลาเกิดกลับหัวเราะชอบใจทำให้ดีใจ คนที่หัวเราะก็หลงคนที่ร้องให้ก็หลง ๆ ในฐานที่ไม่รู้อะไรเป็นเหตุเป็นผล ความจริง “ตาย เกิด” ก็อันเดียวกันนั้นเองเป็นแต่ว่าเขาเปลี่ยนกันทำหน้าที่นั้นเอง
    [/FONT]​
     
  10. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]บันทึกการเดินธุดงค์ที่หลวงพระบาง
    [/FONT]​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ท่านพระอาจารย์ตื้อ ได้เล่าเรื่องที่ท่านได้ไปจำพรรษาพักภาวนาอยู่ที่ประเทศลาว ณ วัดวิชนุธาตุแตงโม เรื่องนี้ท่านได้เล่าให้ฟังไว้ว่า เมื่อคราวไปกราบคารวะท่านที่วัดป่าสามัคคีธรรม จังหวัดเชียงใหม่ ว่าที่วัดวิชนุธาตุแตงโม เมืองหลวงพระบางนั้น นอกกำแพงวัดออกไป มีต้นตาลอยู่ไม่ห่างไกลจากวัดเท่าไรประมาณ ๑๐ วา เห็นจะได้ตรงนั้นมีเรื่องแปลก ๆ เสมอ พวกชาวบ้านชอบเรียนถามเสมอว่า ท่านสาธุภาวนาอยู่วัดนี้เป็นอย่างไร ? ท่านก็ไม่ค่อยสนใจบอกเท่าไร ท่านเมื่อถูกถามบ่อย ๆ จึงย้อนถามโยมว่าที่ตรงนั้นมีอะไรหรือ ? ชาวบ้านบอกว่า มีผีเจ้าที่อยู่ตรงนั้น แต่เดี๋ยวนี้จะยังอยู่หรืออย่างไรก็ไม่ทราบได้เวลานั้น ท่านพระครูสาธุสิงห์ (ชาวอุบลราชธานี) ซึ่งอยู่เป็นสมภารวัดนั้นนาน จึงเรียนถามท่านว่า ข้าน้อยมาเป็นสมภารอยู่วัดนี้นับได้ ๓๐ ปีแล้ว ทราบว่าผีพวกนี้เป็นวิญญาณเฝ้ารักษาเมือง โดยมากเป็นทหารเฝ้ารักษาประตูวังธาตุแตงโม วิญญาณพวกนี้ไม่ยอมไหว้ยอมกราบ เรื่องนี้มีปรากฏทั่ว ๆ ไปคือทราบกันดีแล้วของชาวเมืองหลวงพระบาง

    ชาวบ้านเล่าให้ฟังว่า ตรงที่ป่าโน้นไม่มีบ้านคนเลยมีธารน้ำไหลจากภูเขาสายทั้งฤดูแล้งและฤดูฝนพอค่ำลงก็ได้ยินเสียงคนพูดกันมีทั้งชายและหญิงเป็นหลาย ๆ สิบเสียง ได้ยินเสียงตักน้ำได้ยินเสียงน้ำกระทบกระบอกไม้ไผ่สำหรับใส่น้ำ ภาษาชาวบ้านเขาเรียกว่าบั้งทิง ชาวบ้านพยายามพากันแอบดูหลายครั้งก็ไม่ปรากฏว่ามองเห็นอะไรแต่ได้ยินเสียง ตอนกลางวันเงียบสงัดไม่มีเสียงอะไรเลย ห่างจากนั้นจะมีเขาลูกหนึ่งชาวบ้านเล่าว่า มีคนรูปร่างสูงใหญ่อยู่ในถ้ำแห่งภูเขานั้น ๗ วันจะปรากฏตัวให้เห็นทีหนึ่ง มีสมภารวัดหลายองค์พยายามเข้าไปในถ้ำนั้นแต่ไปไม่ได้โดยตลอด เพราะมืดและอากาศเย็นมาก เมื่อเดินลึกเข้าไปจะรู้สึกแสบหูมาก พยายามเข้าไปอย่างไรก็ไม่สำเร็จ หลังจากนั้นมาได้ ๗ – ๘ ปี เห็นจะได้ ได้มีพระภิกษุหนุ่มรูปหนึ่งเดินทางมาจากเมืองไทยเคร่งครัดต่อระเบียบวินัยของพระกัมมัฏฐานมาก และดีที่สุดก็คือ เป็นที่เคารพนับถือและเลื่อมใสของชาวเมืองหลวงพระบางมาก ได้พยายามเข้าไปและเข้าไปได้โดยตลอด เดินเข้าไปนานถึง ๗ วัน จึงออกมา มีบันทึกไว้ว่า ท่านเดินเข้าไปเรื่อย ๆ ก็ไม่ปรากฏว่าเห็นมีอะไร เดินเข้าไปจนถึงที่สุดพอมองขึ้นไปข้างบนก้อนหินท่านขึ้นไปตามก็ไม่มีอะไร เสียงฆ้องใหญ่ที่ชาวเมืองได้ยินทุก ๗ วันนั้นก็ไม่เห็นมี จึงเดินกลับออกมาตามทางเดิม และท่านก็รู้สึกแปลกใจมากที่พอกลับออกมาก็พบว่า ทางที่เดินเข้าไปเมื่อก่อนนี้ แต่บัดนี้มีบ้านคนเต็มไปหมดและมีชายคนหนึ่งนิมนต์ท่านให้นั่งลงบนอาสน์ที่เขาปูเอาไว้ นึกว่าหลงทางก็ไม่ใช้เมื่อกำหนดดูอย่างละเอียดแล้ว ท่านจึงถามโยมว่าท่านอยู่ที่นี้นานแล้วหรือ ? เขาคนนั้นตอบท่านด้วยพยักหน้าจึงถามต่อไปว่า เมื่ออาตมาเข้าไปเดินผ่านทางนี้ทำไมจึงไม่เห็น ? แต่เขาตอบตรงกันข้ามว่า ท่านมาที่นี่ต้องการอะไร ? ตอบว่าไม่ต้องการอะไร แต่อยากจะเห็นฆ้องที่โยมตีอยู่ทุกเจ็ดวัน เพราะฆ้องใบนี้เสียงดังไกลเหลือเกิน โยมคนนั้นจึงหยิบมาให้ดูใบไม่ใหญ่เท่าไร และได้มอบถวายให้ท่านพระอาจารย์องค์นั้นเพื่อเป็นอนุสรณ์ จากนั้นโยมคนนั้นก็พาเที่ยวไปตามถ้ำมีอะไรแปลกตาหลายอย่างมาก โยมคนนั้นอธิบายว่าสมบัติเหล่านี้เป็นของกลางและจะมีอยู่อย่างนี้ตลอดไปชั่วกาลนาน พระอาจารย์องค์นั้นก็อำลาโยมนั้นกลับและได้นำฆ้องใบนั้นกลับออกมาด้วย และได้เก็บไว้เป็นอนุสรณ์ที่คนในถ้ำมอบให้ และเป็นพยานหลักฐานที่ว่ามีผู้เข้าไปในถ้ำได้ฆ้องใบนั้น เดี๋ยวนี้ยังเก็บไว้ที่วัดวิชนุธาตุแตงโม ในเมืองหลวงพระบางจนทุกวันนี้ ฆ้องใบนั้นก็ไม่ใหญ่เท่าไรแต่มีเสียงดังกว่าฆ้องธรรมดาที่เท่ากันและใบใหญ่กว่า และน้ำหนัก ๆ กว่าฆ้องธรรมดาที่เท่ากัน

    ท่านหลวงตาเล่าว่า วิญญาณพวกนี้เป็นพวกเทพที่มีที่อยู่เป็นทิพย์ต่าง ๆ ไม่รบกวนพวกมนุษย์เลย มีศีลธรรมดีมาก บางครั้งก็พบกันกับพวกเราแต่เราไม่รู้ว่าเป็นใครเท่านั้นเอง ตกเย็นท่านหลวงตาก็ได้นั่งสมาธิกำหนดเรื่องดูเรื่องนี้ ปรากฏว่า เจ้าหัวหน้าเทพเหล่านั้นมากราบอาราธนาท่านให้อยู่เพื่อจำพรรษาด้วย และได้กราบเรียนท่านว่า ที่พวกผมอยู่นั้นมีวัดพระพุทธศาสนาด้วย (ในเรื่องนี้ชาวเมืองเขาเล่าว่าพระภิกษุหนุ่มรูปนั้นหมายถึงพระภิกษุที่เอาฆ้องไปไหน มีหลายมติลงความเห็นว่าหายไปอยู่จำพรรษาในเมืองลับแลแห่งนั้น) ท่านหลวงตาท่านไม่รับคำนิมนต์ โดยบอกให้เขาทราบว่ามีธุระที่จะต้องประกาศพระพุทธศาสนาต่อไปยังเมืองเชียงใหม่ รับนิมนต์ไม่ได้หรอก เพราะขณะนี้ยังไม่มีที่อยู่เป็นที่เป็นทาง และต้องการที่จะแสวงหา “พระธรรม” ต่อไปอยู่ ท่านหลวงตาแสดงธรรมให้ฟัง เคยถามว่าท่านหลวงตาแสดงธรรมอะไรโปรดพวกเทพเหล่านั้น ? ท่านจึงตอบว่า เทพพวกนี้โดยมากนึกว่าตนเป็นผู้มีกายทิพย์ ไม่ค่อยมองเห็นความทุกข์ทางกาย ไม่เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา หลวงตาก็พูดให้เขาฟังในแง่นี้ ให้มีความคิดว่า สภาพที่เป็นอยู่เดี๋ยวนี้ไม่แน่นอนถึงจะมีอายุยืนเท่าไรก็ตกอยู่ในสภาพนี้

    การเดินทางธุดงค์กัมมัฏฐานของท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม จะนำมาเล่าโดยรายละเอียดทุกแง่ทุกมุมนั้นเป็นการที่เป็นไปได้ยากที่สุดเพราะท่านเดินธุดงค์นับตั้งแต่บวชได้เพียงพรรษาเดียวเท่านั้น และก็ท่านหยุดการเดินธุดงค์เมื่อก่อนท่านจะมรณภาพมาเพียง ๓ – ๔ ปีเท่านั้นเอง จึงเป็นการยากที่จะรู้ได้ว่า ท่านเดินไปที่ไหนบ้าง ที่นำมาเล่านี้จึงเรียงอันดับกันไม่ได้เลย ต่อไปนี้จะเป็นการเล่าถึงเรื่องท่านได้บำเพ็ญประโยชน์อย่างอื่น เช่นการสร้างวัด และแสดงธรรม
    [/FONT]
     
  11. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]งานการสร้างวัดและเผยแผ่
    [/FONT]​

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] เมื่อท่านพระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม ได้ออกเดินธุดงค์กัมมัฏฐานไปในที่ต่ง ๆ ร่วมกันกับท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต และหลังจากท่านพระอาจารย์มั่น กลับจากภาคเหนือแล้ว ท่านพระอาจารย์ตื้อก็เดินธุดงค์ไป ๕๐ ปีเศษ การที่จะบันทึกให้หมดทุกแง่ทุกมุมนั้นก็เป็นการยากอย่างยิ่ง ดังที่กล่าวมาแล้วเพราะไม่มีโอกาสจะกราบเรียนถามท่านแม้ว่าเวลาที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ก็เดินธุดงค์แล้ว ท่านได้สร้างวัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่หลายแห่งด้วยกัน สำหรับวัดที่ท่านอยู่จำพรรษามากที่สุดคือ วัดป่าสามัคคีธรรม อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ซึ่งปรากฏว่า เพื่อจะได้อยู่เป็นที่เป็นทางเพราะชราภาพมากแล้ว และท่านได้ประกาศศาสนาด้วยการแสดงธรรมสั่งสอนผู้ที่สนใจในธรรม ส่วนผู้ที่สนใจในเรื่องการธุดงค์กัมมัฏฐานนั้น ท่านก็อบรมให้คำแนะนำและก็ปรากฏว่านอกจากการเดินธุดงค์กัมมัฏฐานแล้ว ท่านพระอาจารย์ตื้อแนะนำสั่งสอนดี (วัดป่าสามัคคีธรรม ปัจจุบันคือ วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่)

    ส่วนการแสดงธรรมนั้น ท่านชอบพูดตรงไปตรงมา พูดความจริงที่มีอยู่ ยกอุทาหรณ์ในปัจจุบันให้เห็นได้ง่าย ๆ ผู้ที่ฟังธรรมจากท่านโดยตรงแล้วเมื่อฟังคำแลพิจารณาแล้ว จะเห็นได้รับฟังธรรมจากท่านมาแล้ว วิธีการแสดงธรรมของท่านนั้น จุดประสงค์คือ “รู้จริง” ให้ความรู้จริงเข้าไปกระทบจิตของท่านผู้ฟังการรู้จริงจะน้อยนิดเดียวก็ตาม ท่านบอกว่ามีประโยชน์ทั้งนั้น การรู้ไม่จริงนั้นรู้มาก ๆ ก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรได้ ท่านชอบพูดว่า ธัมโมนั้นมีอยู่ดาษดื่น คนส่วนมากมองข้าไปหมด ท่านหลวงตาท่านแปลบาลีก็ไม่เหมือนพระเถระองค์อื่น ๆ หากผู้ใดได้รับรสพระธรรมเทศนาจากท่านแล้วและการฟังนั้นก็ให้ฟังอย่างละเอียดและให้ปฏิบัติตามให้เข้าถึงธรรมอย่างแท้จริง จะได้ชื่อว่าเป็นนักธรรม นักกัมมัฏฐาน ที่แท้จริงไม่เหลวไหล ไม่เลอะเทอะ ท่านชอบถามพระเณรที่ไปหาท่านเสมอว่าที่พวกคุณภาวนานี้ หรือโดยมากก็ชอบกราบเรียนท่านว่า ยังขอรับ และบางคนก็ชอบย้อนถามว่า ได้แน่จริงหรือ ? ถ้าหากว่าได้แล้วก็ให้ฟังและพิจารณาอย่างนี้ก่อน ถ้าหากว่าเขาด่าเราว่า ไอ้หัวหงอกเราลองนั่งชั่งดูใจของเราว่า เราโกรธเขาไหม ถ้าเรายังโกธรอยู่ ก็หมายความว่าเรายังรับรู้การด่าของเขาอยู่ นั้นหมายถึงเราเดอาจิตออกมารับการด่า เราอดทนไม่ได้ เราก็โกธร หมายถึงเรายังไม่ถึง คือยังไม่ได้ พุทฺโธ อย่างแท้จริงนั้นเอง

    ลักษณะการสอนกัมมัฏฐานของท่านมีบางคนที่ไปฝึกกัมมัฏฐานกับท่าน ท่านให้ท่องพุทธโธเท่านั้นจนขึ้นใจ เพราะบางทีคำว่า พุทโธ ยังไม่ซึ้งในใจของผู้นั้นท่านว่าเราต้องให้พุทโธ มั่นในใจของเราและมีความเชื่อมั่นจริง ๆ เมื่อเราพิจารณาตามธรรมะที่ท่านสอนแล้ว จะเห็นได้ว่า ธรรมะที่ท่านสอนทุกครั้ง เป็นเรื่องจริงและสมควรที่จะนำมาปฏิบัติปรับปรุงแก้ไขจิตของเราให้มองสภาพธรรมที่มีพร้อม ๆ กับการตั้งโลกโดยแท้ แต่ทว่าบางคนไปฟังธรรมคำสอนของท่านแล้วมักซุบซิบกันว่า ท่านเอาอะไรมาสอน ไม่เห็นเป็นธรรมเป็นหนทางเลยสักหน่อย นี้ก็แสดงให้รู้ว่า จิตของผู้พูดเช่นนั้นยังไม่เข้าถึงธรรมคือความจริงนั้นเอง ท่านเทศน์ไม่เคยยกยอใคร เทศน์แต่เรื่องที่เป็นความจริงและปัจจุบันที่เป็นของจริง นอกจากจังหวัดเชียงใหม่แล้ว หลังจากออกพรรษาแล้วท่านได้รับนิมนต์ให้ไปแสดงธรรมเสมอ จังหวัดที่ท่านได้รับนิมนต์บ่อยที่สุดคือสมุทรปราการ ที่วัดอโศการาม สมัยนั้น. ท่านพระอาจารย์ลี เป็นเจ้าอาวาสได้นิมนต์ท่านหลวงตาตื้อไปแสดงธรรมอยู่เสมอ ท่านชอบพักอยู่วัดนี้นาน ๆ ด้วยเพราะมีญาติโยมนิมนต์ไว้เพื่อโปรดนาน ๆ เพราะท่านพระอาจารย์ตื้อ ท่านเป็นศิษย์ของท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต รุ่นอาวุโส เป็นผู้ถ่ายทอดการปฏิบัติธรรมจากท่านพระอาจารย์มั่นโดยตรงและเป็นผู้ใกล้ชิดมาก

    สำหรับการ แสดงธรรมเผยแผ่พระพุทธศาสนาของท่านพระอาจารย์ตื้อนั้น สำหรับความเห็นแล้วเห็นว่า ท่านแสดงธรรมโดยตรง ตรงที่เราสงสัย แสดงความจริงไม่มีการอ้อมค้อม ตรงไปตรงมา แต่ลักษณะท่าทางนั้นอาจจะไม่ไพเราะ ทั้งนี้ก็เพราะว่า พวกเรายังไม่ชินกับเหตุการณ์เช่นนั้น เพราะว่าท่านเดินธุดงค์กัมมัฏฐานผ่านไปในที่หลายแห่ง มีประสบการณ์และอารมณ์แปลก ๆ บางครั้งเจอสนทนากับผีสางนางไม้บ้าง บางครั้งก็ได้พบกับพวกเทพมีเทวดาอารักษ์บ้าง บางครั้งก็พบวิญญาณเจ้าที่เจ้าทางบ้าง ท่านต้องประสบกับเหตุการณ์เหล่านี้ ในระหว่านั้น อารมณ์ ท่าทาง คำพูด จะออมาในรูปไหนนั้นยากที่จะกำหนดได้ แต่สำหรับผู้ที่เคารพนับถือในท่านแล้วยิ่งมีความเคารพและเลื่อมใสในธรรมของท่านมากขึ้น

    เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๒ ท่านพระอาจารย์ตื้อ ได้รับนิมนต์ให้ลงไปกรุงเทพมหานครและท่านได้รับเลยลงไปพักที่วัดอโศการาม สมุทรปราการ มีคุณโยมทางกรุงเทพมหานคร ถวายพระพุทธรูปท่านหลายองค์ และท่านปรารภว่า จะนำพระพุทธรูปที่มีผู้ถวายทั้งหมดไปประดิษฐานไว้ตามวัดต่าง ๆ เพื่อเป็นที่สักการบูชา ของชาวนครพนมอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของท่านจึงได้มีผู้บริจาคถวายท่าน รวมทั้งหมด ๖๘ องค์ นับว่าเป็นบุญบารมีของชาวจังหวัดนครพนมอย่างมาก และก็นับเป็นการสร้างบารมีของท่านอย่างใหญ่หลวง และก็เป็นประโยชน์แก่พุทธศาสนิกชนเป็นอย่างยิ่งในด้าน “พัฒนาจิตใจ” เพราะจะเป็นหลักทางใจได้เป็นอย่างดีเมื่อท่านได้รวบรวมพระพุทธรูปจำนวน ๖๘ องค์แล้วท่านก็ได้อัญเชิญพระพุทธรูปทั้งหมดจากกรุงเทพมหานครไปยังนครพนมแล้วก็นำไปถวายประจำไว้ตามวัดต่าง ๆ ในจังหวัดนครพนม ส่วนท่านก็ได้พักอยู่ ณ วัดอรัญวิเวก บ้านข่า อ.ศรีสงคราม จังหวัดนครพนมอันเป็นแดนาตุภูมิของท่าน ลูกหลานญาติโยมทั้งหลายทั้งบ้านใกล้บ้านไกล ได้กราบอาราธนนิมนต์ให้ท่านได้อยู่จำพรรษาเพื่อสงเคราะห์ลูกหลานทางนี้ด้วยเพราะนับเป็นเวลานานร่วม ๕๐ ปี เศษ ๆ แล้วที่ท่านไปอยู่จำพรรษาที่อื่น และพึ่งกลับมาที่บ้านเกิด ท่านจึงได้อยู่จำพรรษาที่บ้านเกิดในปีนี้และพรรษานี้ท่านหลวงตาก็ได้วางโครงการเพื่อจะสร้างวัตถุมงคลอันเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านถิ่นนี้ ท่านจึงได้สร้างเจดีย์เพื่อเป็นสถานที่บรรจุ “พระบรมสารีริกธาตุ” โดยท่านได้นำเอาช่างมาจากเชียงใหม่มาเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างในพรรษานี้ มีพุทธศาสนิกชนทั้งกรุงเทพฯ เชียงใหม่และจังหวัดใกล้เคียงมากราบคารวะท่าน มีคนชอบฟังมากตลอดพรรษาไม่เคยเว้น จนลูกศิษย์ได้กำหนดเวลาพักผ่อนจำวัดไว้ เพื่อไม่ให้ญาติโยมรบกวนเกิดไป เพราะท่านชราภาพมากแล้ว ท่านบอกว่า หลวงตาจะแสดงธรรมเพื่อให้ลูกหลาน ลูกศิษย์ทั้งหลายได้เข้าถึงธรรมอันแท้จริง และท่านได้อบรมกัมมัฏฐานพระภิกษุสามเณรให้เป็น นักธรรม นักกัมมัฏฐาน อย่าแท้จริงด้วย
    แต่หลังจากออกพรรษาแล้ว ศรัทธาญาติโยมทางของจังหวัดเชียงใหม่ก็ได้มานิมนต์ท่านให้กลับไปอยู่เชียงใหม่อีก โดยปรารภท่านว่า ท่านหลวงตาชราภาพมากแล้ว สุขภาพก็ไม่ค่อยแข็งแรงต้องการจะให้ได้พักผ่อน เวลาเจ็บไข้ได้ป่วยจะได้พยาบาลรักษาและต้องการให้ท่านหลวงตาได้อยู่ใกล้โรงพยาบาล ทั้งนี้เพื่อจะได้ตอบแทนบุญคุณในการอุปัฏฐากปฏิบัติรักษาด้วยตอนนี้ท่านตอบว่า

    “อยู่ใกล้หมอยา ถ้าหากเราไม่กินยาโรคก็ไม่หายเราต้องอาศัยตัวของเราเอง” พูดแล้วก็หัวเราะตามนิสัยของท่าน แต่ญาติโยมได้กราบเรียนท่านว่า ที่วัดสร้างเจดีย์ สร้างพระพุทธสาลาฟังธรรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ก็เลยตั้งใจจะจัดให้มีการฉลอง และมีการทำบุญด้วย และขอให้ท่านหลวงปู่ตื้อได้นำพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุด้วยท่านหลวงตาได้รับนิมนต์ไปจังหวัดเชียงใหม่และอยู่จำพรรษาที่นั้นอีก ๑ พรรษา (ปัจจุบันคือ “วัดป่าอาจารย์ตื้อ อ.แม่แตง”

    ตามปกติแล้ว ท่านชอบอากาศทางภาคเหนือมากเพราะมีอากาศเย็นสบายและมักจะไม่มีอุปสรรคใดๆ มาขัดขวางในการปฏิบัติธรรมกัมมัฏฐาน ญาติโยมสนใจธรรมดีมาก เป็นคนใจบุญสุนทาน ท่านบอกว่า ท่านได้เดินธุดงค์ไปทุกหนทุกแห่งในภาคเหนือนี้จนชินกับความหนาวเย็นของภาคเหนือ เป็นอันว่า ปี ๒๕๑๔ ท่านได้จำพรรษาที่จังหวัดเชียงใหม่

    หลังจากออกพรรษาแล้ว ลูกหลานและทายกทายิกชาวนครพนมก็ได้ไปกราบนิมนต์ท่านให้กลับไปจำพรรษาที่จังหวัดนครพนมอีก และกราบขออราธนานิมนต์ให้ท่านได้อยู่จำพรรษาที่นครพนมตลอดไป เพราะท่านได้เดินธุดงค์จากบ้านจนแก่เฒ่าก็ไม่กลับบ้าน ท่านหลวงตาก็รับนิมนต์ และกลับมาจำพรรษาที่วัดอรัญวิเวกบ้านข่า องศรีสงคราม จ.นครพนม และมาครั้งนี้ท่านได้นายช่างผู้ทำการก่อสร้างเจดีย์มาด้วย และท่านได้จำพรรษา ณ แดนมาตุภูมิโดยตลอด (จนถึงวาระสุดท้าย) ถึงปี ๒๕๑๖ เจดีย์ก็สร้างสำเร็จ และก็มีการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในองค์เจดีย์นั้นด้วย ปี ๒๕๑๖ นี้เอง ชาวบ้านได้จัดงานฉลองสมโภชองค์เจดีย์ที่สร้างใหม่ มีการบวชชีพราหมณ์ จำนวน ๒๓๐ คน การจัดงานครั้งนี้จัดแบบเทศน์อบรมกัมมัฏฐานจากท่านพระอาจารย์เป็นจำนวนมาก ในปีนี้ท่านไม่เคยว่างเว้นเลย แสดงธรรมโปรดญาติโยมโดยตลอด อบรมกัมมัฏฐานญาติโยมผู้สนใจ ฝึกพระเณรให้รูจักปฏิบัติกัมมัฏฐานอย่างแท้จริง ถึงชราภาพขนาดนั้นท่านยังลงทำวัตร์ สวดมนต์ เทศน์ ที่ศาลาการเปรียญเป็นประจำไม่เคยขาดกิจวัตร์อันสำคัญเลยดูเหมือนว่า ท่านพระอาจารย์มีสุขภาพแข็งแรงดี เพราะท่านไม่เคยบ่นว่าเหนื่อยและลำบากอะไรเลย เมื่อท่านมาพักจำพรรษาอยู่ที่วัดอรัญวิเวกบ้านข่า อ.ศรีสงคราม นครพนมนี้ ข้าพเจ้าได้กราบคารวะท่าน (และข้าพเจ้าเรียกท่านว่า “หลวงตา”) เป็นประจำ และได้กราบเรียนถามถึงการที่ท่านได้ออกเดินธุดงค์ไปตามที่ต่าง ๆ และท่านก็ชอบเล่าให้ฟังเสมอ เพราะท่านหลวงตาท่านเดินธุดงค์ตั่งแต่บวชมาถึงวัยชราภาพด้วยความมุ่งมั่นในพระธรรมอย่างเด็ดเดี่ยว มีชื่อเสียงเป็นที่รู้ๆกันอยู่แล้วท่านชอบเดินเข้าไปในดงเสือร้าย ชอบนั่งภาวนาในป่าช้า ชอบธุดงค์ไปพบผีเจ้าที่เจ้าปู่ เป็นผู้มีวิชาที่ผีบอกให้ ท่านเคยบอกคาถาป้องกันไฟให้ และเคยใช้ได้ผลมาแล้ว เมื่อข้าพเจ้าเข้าไปกราบท่านหลวงตาท่านชอบเล่าเหตุการณ์ต่างๆให้ฟังเสมอ และท่านหลวงตาชอบเทศให้ฟังยาวๆถึง2-3ชั่วโมง ซึ่งก็เป็นความประสงค์ของผู้ฟังที่อยากฟังเช่นนั้น ครั้งหนึ่ง ท่านได้เล่าเหตุการณ์ที่ท่านเดินธุดงค์ไปตามภูเขาให้ฟังแบบเทศนาให้ฟังว่า

    หลวงตาได้ออกเดินกัมมัฏฐานมาหลายปีแล้ว จะเล่าให้ฟัง เมื่อครั้งไปจำพรรษาที่ภูลังกา อำเภอ บ้านแพง นครพนม ได้เร่งทำความเพียรที่ภูลังกานั้นจนไม่ได้ฉันข้าวฉันน้ำตั้งใจแน่วแน่จะให้เห็นแจ้งต่อโลก พอจิตสงบบรรลุถึง โคตรภูญาณแล้ว รู้ไปถึงวิญญาณหลายพวกว่าเป็นอยู่อย่างไร นี่แหละหลาน เราบรรพชาอุปสมบทมาต้องเร่งทำให้รู้และเร่งทำให้ได้ เมื่อได้แล้วจะหมดสงสัยบรรพชาและจะลืมโลกอันมีระบบการเดินทางอันยืดยาวนี้เด็ดขาด โลกนี้เขามีเครื่องผูกอันเหนียวแน่นยากที่จะตัดได้อย่างอื่น นอกจากพระธรรมและพระพุทธเจ้า มนุษย์เราเกิดมาก็ต้องทำบาปแล้ว เมื่อทำแล้วก็ต้องได้รับผลกรรมที่เราทำไว้พ่อแม่เรานั้นทำกรรมมา เราเกิดมาก็ทำกรรมไป อะไรที่สุดของกรรม ไม่มีใครรู้ได้ ทำบาปแล้วมีตัวอย่างให้เห็นมากมาย
    ๑.จิตตานุปัสนา จิตรไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นโสดามรรค จิตก็เป็นโสดาผล
    ๒.จิตตานุปัสนา จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นพระสกิทาคามิมรรค จิตก็เป็นพระสกิทาคามิผล
    ๓.จิตตานุปัสนา จิตไม่คิดมีผัวเมีย ออกบวชจิตก็เป็นพระอนาคามิมรรค จิตก็เป็นพระอนาคามิผล
    ๔.จิตตานุปัสนนา จิตไม่กล่าวมุสาวาท จิตก็เป็นพระอรหัตตมรรค จิตก้เปป็นพระอรหัตตผล
    [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ๑.จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่หัวใจทุกคน
    ๒.จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพานอยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
    ๓.จิตบออกบวช จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพานอยู่ที่หัวใจของเราทุกคน
    ๔.จิตไม่ขี้ปด จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพานอยู่ที่หัวใจของเราทุกคน

    ท่านหลวงตาท่านเล่าว่า สัตว์บางพวกในโลก หัวเป็นไก่ท่อนตัวเป็นคน หัวเป็นควายท่อนตัวเป็นคนเป็นต้น ตามแต่บุญแต่กรรมที่ทุกคนทำเอาไว้ วิญญาณเหล่านี้ถ้าหากพ้นจากสภาพนี้แล้ว คงไม่ได้กลับมาเกิดเป็นคนคงดำลงไปต่ำกว่าที่ตนเป็นอยู่ นักธรรม นักกัมมัฏฐาน พระมหาเปรียญ ถ้าหากยังไม่บรรลุโคตรภูญาณแล้วก็คงไม่มีโอกาสได้รู้ได้เห็น ท่านพระครู ท่านเจ้าคุณสังฆราชก็เช่นกัน เพราะจิตนั้นไม่มี พุทโธ ธัมโม สังโฆ และยังเป็นลูกศิษย์ ของพระพุทธเจ้าไม่ได พระพุทธเจ้าประสูติกับพวกเราก็เกิดต่างกันที่ตรงไหน ก็ต่างตรงที่พระพุทธเจ้าไม่หลงโลกไม่ติดอยู่ในโลกเหมือนพวกเราทั้งหมดในทุกวันนี้ พระพุทธเจ้าท่านรู้แจ้งรู้จริง คือรู้ที่เกิดที่ตายของพวกสัตว์ด้วยปัญญา ทั้งนี้ก็เพราะท่านรู้และตรัสรู้ของจริงตามความเป็นจริงนั้นเองแต่เมือถึงเวลาแล้วพระองค์ก็จากโลกนี้ไปเข้าสู่พระนิพพานไม่มีการมาเกิดอีกเหลือแต่ความดีให้พวกเราได้คำนึงระลึกถึงเพื่อไม่ให้เป็นผู้หลงตายอย่างนี้ราจึงเคารพเลื่อมใสกราบไหว้อย่างไม่จืดจาง ยอมมอบกายถวายชีวิต พวกเราทั้งหมดก็เกิดมาด้วยบุญวาสนาจึงได้เกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นเวเนยชนอันหาได้ยากเป็นที่รู้ๆกันอยู่แล้ว พระพุทธจ้าจึงสอนให้ไม่ประมาท ไม่ให้ลืมตัว ไม่ให้ลืมบุญวาสนาของตน คือไม่ให้ลืมตัวในการสร้างคุณงามความดี เพราะถ้าเราไม่สร้างคุณงามความดี ใจเราก็ไม่มี พุทโธ ธัมโม สังโฆ อันเป็นเหตูให้ต่อพบต่อชาติเป็นมนุษย์ต่อไป เมื่อบารมีไม่แก่กล้าหากเราไม่เชื่อมั่นในพระรัตนตรัย เราก็จะพากันไปสู่พบที่ต่ำทรามก็ได้

    หลายสิบครั้งที่ได้รับฟังเทศน์ของหลวงตาปรากฏว่าไม่มีใครที่จะแสดงธรรมได้อย่างท่าน และท่านก็ได้แสดงธรรมไม่เหมือนใคร ท่านหลวงตากล้าพูดๆในสิ่งที่เป็นความจริงมาก ตรงไปตรงมา เมื่อท่านได้แสดงธรรมจบแล้ว ท่านชอบอธิบายซ้ำอีกเพื่อความแจ่มแจ้งใยการปฏิบัติธรรมให้ชัดขึ้น ท่านหลวงตาเทศน์ได้ดีตามทัศนะของนักฟังความจริงและท่านได้เล่าเรื่องแปลกๆให้ฟังเสมอโดยเฉพาะท่านชอบสั่งสอนว่า

    “ธรรมะคือคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรามองข้ามไปเสียหมด อยู่ที่ตัวของเรานี้เอง มิใช่อื่น พุธะคือผู้รู้ก็ตัวเรานี่เองไม่ใช่ใครอื่น เช่นเดียวกับไข่ๆอยู่ข้างในของเปลือกของไข ทำให้เปลือกแตกเราก็ได้ไข่ พิจารณาร่างกายของเราให้แตก แล้วเราก็จะได้ธรรมะ”

    “ธรรมะจะเกิดขึ้นได้ก็ต้องการทำอะไรที่จริงจังคือการตัดสินใจอย่างแน่นอนลงไป แล้วเลือกเฟ้นธรรมะปฏิบัติอย่างแท้จริง ไม่นานหรอกเราก็จะได้พบสิ่งที่เราต้องการความกลัวทุกอย่างจะหายไปหมด ถ้าเราตัดสินใจอย่าใดแล้ว คือเราต้องเป็นคนมีจุดมุ่งหมายอย่างหลวงตานับตั้งแต่บวชมาได้ตัดสินใจปฏิบัติธรรมะอย่างจริงจังจนทุกวันนี้ไม่เคยลดละและท้อถอยเลย”

    “นักธรรมนักกัมมัฏฐานต้องมีนิสัยอย่างเสือโคร่งคือ ๑. น้ำจิตใจต้องแข็งแกร่ง กล้าหาญไม่กลัวต้ออันตรายใด ๆ ๒. ต้องเที่ยวไปในเวลากลางคืนได้ ๓.ชอบอยู่ในสงัดจากคน ๔. ทำอะไรลงไปแล้วต้องมุ่งความสำเร็จเป็นจุดหมาย”

    “สัตว์ดิรัจฉานมันดีกว่าคนตรงที่มันไม่มีมายาไม่หลอกลวงใครมีครูอาจารย์ก็คือคนเป็นสัตว์ที่น่ารักน่าสงสาร คนเราซิโง่เป็นพุทธะได้แต่หลอกลวงตนเองว่าเป็นไม่ได้ ร่างกายก็มีให้พิจารณาว่าเป็นของเน่าเป็นของเหม็นแต่เราพิจารณาว่าเป็นของหอมน่ารัก โง่ไหมคนเรา”

    ท่านบอกว่า ผู้ที่สงสัยในกรรมหรือไม่เชื่อว่าจะต้องส่งผล คือ คนที่ลืมตนลืมตาย กลายเป็นคนมืดคนบอด คนประเภทที่ว่านี้ย่อมช่วยอะไรเขาไม่ได้เลย แม้จะมีกำเนิดสูงส่งสักปานใดได้รับการทนุถนอมเลี้ยงดูมาอย่างวิเศษเพียงไรก็ตาม หากเขาไม่มองงเห็นข้าวคุณน้ำ คุณบิดามารดาแล้วนั้นเขาเรียกว่าคนนรกโลกและก็ไม่รู้ด้วยว่าตนเป็นคนรกโลก และก็ไม่สนใจจะรู้ด้วย คิดเห็นว่าแต่เพียงเขาเกิดมาและเจริญเติบโตมาจนกระทั่งถึงปัจจุบันด้วยการดื่มการกินอาหารบำรุงเลี้ยงร่างกายจนเติบใหญ่ เป็นเพราะมันจะต้องเป็นไปในทำนองนั้นมิได้คิดไปว่าตนเองนั้น ได้เกิดขึ้นในเป็นตัวตน เพราะคุณบิดามารดาทั้งสองป้องกันรักษาให้ชีวิตและร่างกายแก่ตนมา การทำความดีแม้แต่รูปร่างการเรานี้ โดยกระทำกรรมให้ถูกให้ควรว่าอะไรเป็นอะไรอะไรเป็นกุศล อกุศล สิ่งบันดาลให้ร่างกายเราเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ถ้าไม่เรียกว่าเป็นผลเราสมควรจะเรียกว่าเป็นอะไรจึงจะถูกต้องตามความเป็นจริงตามจริงความดีชั่ว สุข ทุกข์ ที่สัตว์โลกได้รับกันมาโดยตลอดสาย ถ้าปราศจากแรงงานหนุนเป็นต้นก็คงอยู่เฉย ฉะนั้นนักธรรมกัมมัฏฐาน ขอจงได้พิจารณาตามธรรมะของพระพุทธเจ้า คือ พุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นที่อยู่อาศัยของจิตนั้นคงถาวร และเมื่อเทศน์จบลงท่านชอบถามผู้ฟังว่า ฟังเทศน์หลวงตาดีไหม คำถามเช่นนี้เคยกราบเรียนท่านว่า หมายถึงอะไร ท่านบอกว่า หมายถึงการฟังธรรมครั้งนี้ ได้รับความสงบเป็นของจิตไหมและเกิดสังเวชความชั่วไหม ?

    ท่านพระอาจารย์ชอบตักเตือนเสมอว่า การปฏิบัติธรรมนั้นอย่างที่ท่านบูรพาจารย์ทั้งหลายดำเนินมานั้นท่านพยายามไม่ให้เกิดความเบื่อหน่ายในการปฏิบัติธรรมพยายามให้เกิดความสนใจในธรรมปฏิบัติอยู่เสมอ การที่เราเกิดความเบื่อหน่ายในธรรมปฏิบัตินี้เป็นการที่เราจะดำเนินการไปไม่ได้นาน และจะเป็นอันตรายต่อการปฏิบัติธรรมเป็นอย่างมาก แต่เกิดความสังเวชในธรรมบางอย่างนั้นเป็นการดี เพราะจะเป็นประโยชน์แก่เราผู้ปฏิบัติธรรมอย่างแท้จริง แต่ถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วไม่เป็นไร เพราะถ้าเบื่อหน่ายในความชั่วแล้วก็เร่งพยายามทำความดีต่อไป
    [/FONT]​
     
  12. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ผลงานครั้งสุดท้าย
    [/FONT]​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ในปี พ.ศ. ๒๕๑๒ - ๒๕๑๔ และ ๒๕๑๗ ท่านพระอาจารย์ตื้อ ได้อยู่จำพรรษาที่แดนมาตุภูมิ คือที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม ในระหว่างที่ท่านอยู่จำพรรษาที่บ้านท่านเป็นเวลานานติดต่อกันเป็นเวลา ๔ ปีนี้ ท่านได้แสดงธรรมโปรดลูกหลาน ศิษยานุศิษย์ ญาติโยมทั้งไกลและใกล้ไม่ขาดเลย ถึงจะมีอายุมากอยู่ในชั้นชราภาพแล้วก็ตามถ้าหากมีญาติโยม ทั้งใกล้และไกลมาหาท่านแล้ว ท่านจะทำการสนทนาธรรม และแสดงธรรมโปรดเสมอในระหว่างนี้ ท่านได้สร้างเจดีย์ขึ้นที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม ๑ องค์ ทั้งนี้เพื่อเป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุเป็นที่สักการบูชาของชนในถิ่นนั้นสิ้นเงินค่าสร้างประมาณ ๔ หมื่นบาทเศษ เป็นเจดีย์ที่สร้างด้วยอุปกรณืทันสมัยแน่นหนาถาวรดีมากและมีปัจจัยที่มีผู้นำถวายก็เป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้ให้ชาวบ้านได้มอบให้ ท่านพระครูสถิตธรรมวิสุทธิ์ วัดทิพย์รัฐนิมิตอำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี พร้อมทั้งกรรมการชาวบ้าน ดำเนินการสร้างอุโบสถ ซึ่งขณะนี้กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู้ดังที่ปรากฏแก่สายตาของท่านผู้มาเห็นขณะนี้

    และครั้งหนึ่ง ท่านหลวงตาตื้อ ได้ปรารภว่า วัดศรีวิชัย บ้านศรีเวินชัย ของท่านพระครูอดุลธรรมภาณซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ประจำอำเภอศรีสงคราม สมควรที่จะสร้างอุโบสถไว้ประจำวัดเพื่อบวชลูกลานสืบต่อเป็นพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ท่านพระครูอดุลธรรมภาณลูกศิษย์ จึงได้ขออนุญาตท่านสร้างวัตถุมงคลชุดของท่านขึ้นท่านก็อนุญาต ท่านพระครูอดุลธรรมภาณจึงได้สร้างวัตถุมงคลเป็นรุ่นไตรมาสของท่านขึ้น วัตถุมงคลชุดนี้ มีดังนี้
    ๑. พระกริ่งรูปเหมือนของท่านมีเนื้อเงิน ๑๒ องค์เนื้อนวโลหะจำนวน ๕๐๐ องค์
    ๒. พระผงรูปเหมือนของท่านเนื้อว่านสี่เหลี่ยม ๒,๐๐๐ องค์ ชนิดกลม จำนวน ๑,๒๐๐ องค์
    ๓. เหรียญเนื้อทองแดงและชุบนิคเกิ้น ๑๕,๐๐๐ เหรียญ เนื้อนวโลหะ ๒๐๐ เหรียญ

    สร้างเสร็จเมื่อวันที่ ๑ มิถุนายน ๒๕๑๗ แล้วนำไปให้ท่านปลุกเสกเดี่ยว
    จนถึงวาระสุดท้ายของชีวิตนับเป็นวัตถุมงคลชุดสุดท้ายจริง ๆ เมื่อท่านได้มรณภาพแล้วก็ได้จัดงานพิธีพุทธาภิเษกอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันทำบุญครบ ๑๐๐ วัน ที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า อำเภอศรีสงคราม จังหวัดนครพนม มีพระอาจารย์สายกัมมัฏฐานของภาคอีสานหลายท่านร่วมพิธีพุทธาภิเษกด้วยจุดประสงค์ในการสร้างเหรียญนี้ก็เพื่อนำปัจจัยไปสร้างอุโบสถของวัดศรีวิชัยที่กำลังก่อสร้างอยู่วัตถุมงคลชุดนี้มีเครื่องหมายเป็นตัว “ร-ร” (ตัวอะ) ทุกเหรียญ
    [/FONT]​
     
  13. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]วาระสุดท้ายของชีวิต
    [/FONT]​

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] ในปี พ.ศ. ๒๕๑๗ นับเป็นปีที่ ๔ ที่ท่านหลวงตาได้อยู่จำพรรษาที่วัดอรัญญวิเวก บ้านข่า แดนมาตุภูมิของท่าน ในพรรษานี้ใครเลยจะนึกว่า ท่านจะจากพวกเราไปอย่างไม่มีวันกลับ ก่อนเข้าพรรษาท่านเคยพูดเสมอว่าใครต้องการอะไรก็ให้เร่งรีบสร้างเอา คุณงามความดีทั้งหมดอยู่ที่ตัวของเราแล้ว ขันธ์ ๕ ของหลวงตาก็จะดับแล้วเหมือนกัน และท่านได้พูดอย่างมั่นใจว่า ธาตุลมของกลวงตาได้วิบัติแล้ว บางครั้งมันเข้าไปแล้วก็ไม่ออกมานานที่สุดจึงออกมา และเมื่อมันออกมาแล้วก็ไม่ยากเข้าไป เรื่องเช่นนี้ไม่มีใครจะนึกว่าท่านพูดเพื่อให้เราได้ทราบวันมรณภาพไว้ล่วงหน้าเพราะสุขภาพของท่านก็แข็งแรงไม่มีโรคภัยไข้เจ็บอะไรและท่านไม่ได้อาพาธอะไรเลย เมื่อท่านพูดแล้วก็หัวเราะยิ้ม อย่างคนมีอารมณ์ดี และลุกไปไหนมาไหนได้ตามธรรมดา แต่ก็มีลูกศิษย์เป็นห่วงตามสภาพของคนชราประคับประคองจะไปไหนมาไหนก็ต้องคิดตามท่านเสมอ ทำเพื่อความเคารพนับถือท่าน และเป็นห่วงเป็นใยต่อท่านในฐานะลูกศิษย์และอาจารย์ ดุจเดียวกับลูกรัก เคารพและเป็นห่วงต่อพ่อและแม่

    พ่อแม่ ครู อาจารย์ มีพระคุณมากล้นเหลืออนันต์มีวิธีใดที่จะตอบแทนบุญคุณได้ก็ต้องรีบทำเพื่อเป็นการตอบแทน ไม่เคยมีความรังเกียจแม้แต่น้อย รักท่านเป็นห่วงท่านดุจชีวิตของตนเอง จะเป็นอย่างไรก็ตามจะไม่ยอมให้ท่านตกระกำลำบาก ยอมตายเพื่อท่านได้

    ก่อนวันเข้าพรรษา มีคณะสงฆ์จากวัดต่าง ๆ หลายวัด ได้ไปถวายดอกไม้ธูปเทียนเพื่อ “ทำวัตร” ตามประเพณีอันดีงามของชาวพุทธเป็นประจำทุกพรรษามิได้ขาด ท่านเมื่อรับการถวายเครื่องสักการบูชาแล้วท่านต้องแสดงธรรมสั่งสอนโปรดญาติโยมเสมอไม่เคยขาด ในพรรษานี้เกือบทุกครั้งเมื่อท่านเทศน์จบแล้วท่านชอบพูดเสมอว่า “ลมไม่ค่อยดี ลมไม่ค่อยเดินสะดวก” ลมของหลวงตาวิบัติแล้วลูกหลานเอ้ย พูดแล้วก็ยิ้มและหัวเราะ แต่ท่านไม่เคยบ่นว่า เหนื่อย หรือว่า ลุกนั่งไปไหนมาไหนลำบากเลย คงแสดงธรรมตามสำนวนโวหารตามทัศนะของท่าน โปรดญาติโยม และแก่คณะสงฆ์อยู่เสมอ ในเวลากลางคืนอันเป็นเวลาประชุมพระภิกษุสามเณรและญาติโยมชาวบ้าน ท่านจะต้องลงมาจากกุฏิแสดงธรรมไม่เคยว่างเว้นแม้วันเดียวจะไม่มีคำว่าท่านหลวงตาอาพาธแสดงธรรมไม่ได้และมีลูกหลานศิษยานุศิษณ์พูดเสมอว่าท่านหลวงตาถึงจะมีอายุมากก็ยังแข็งแรงดี

    เมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน ๒๕๑๗ ก่อนเข้าพรรษาข้าพเจ้าและคณะศิษยานุศิษย์ได้กราบถวายความเคารพและถวายเครื่องสักการะเพื่อขอคารวะต่อหลวงตา ท่านยังแข็งแรงดี ลุกขึ้นนั่งและก็แสดงธรรมให้ฟังตามสมควร นับว่าเป็นการฟังเทศน์ของท่านเป็นกัณฑ์สุดท้าย กัณฑ์นี้ดูเหมือนท่านจะแสดงให้ฟังโดยเฉพาะ เมื่อเทศน์จบท่านบอกว่าเทศน์กัณฑ์นี้เป็นกัณฑ์สุดท้ายเป็นหัวใจกัมมัฏฐานของนักบวช ซึ่งก็ได้บันทึกเอาไว้ด้วย แต่ไม่ได้นำมาพิมพ์ลงในที่นี่

    บางครั้งท่านได้หยุดในระหว่างเมื่อเทศน์จบลงแล้วท่านบอกว่า ขันธ์ ๕ จะดับแล้วธาตุลมวิบัติแล้ว มีผู้กราบเรียนถามท่านว่า ท่านหลวงตาไม่เหนื่อยหรือ ? ท่านบอกว่าขันธ์ ๕ จะให้หยุดการแสดงธรรมเหมือนกัน แต่จิตไม่หยุดมันก็หยุดไม่ได้ การแสดงธรรมเป็นหน้าที่ของเราเกิดมาเพื่อประโยชน์ทั้งนั้น ให้ความดีแล้วก็ทำความดี ต้องทำความดีเพื่อความดีอีก คนเราเกิดมารู้จัก พุทโธ ธัมโม สังโฆ จึงจะเป็นคน ไม่ใช่สัตว์เราต้องรู้จักพระธรรมให้ดีที่สุดจึงจะเรียกได้ว่าพระมหาเปรียญ พระนักธรรม พระกัมมัฏฐาน
    [/FONT]​
     
  14. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]บันทึกเหตุการณ์ ๓ วันก่อนมรณภาพ[/FONT]​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]

    หลังจากเข้าพรรษาไปได้ ๑๑ วันในวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๑๗ เวลาประมาณ เที่ยงวันมีคณะสงฆ์จากวัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จังหวัดสกลนคร นำโดยท่านพระอาจารย์แว่น ธนปาโล ได้ไปถวายดอกไม้ธูปเทียนคารวะตามประเพณีอันดีงาม และท่านได้ฟังเทศน์ ๑ กัณฑ์ หลังจากเทศน์จบแล้ว สังเกตุเห็นท่านหลวงตาเหนื่อยมาก อาการเช่นนี้มีมาตั้งแต่วันที่ ๑๕ แล้ว แต่ท่านไม่เคยออกปากพูดเลยว่า “ ต่อจากนั้นท่านเอนหลังลงเพื่อพักผ่อน ดูอากัปกิริยาของท่านแล้วหลวงตาเหนื่อยจริง ๆ มีอาการตัวร้อน ลูกศิษย์ถวายยาแก้โรคท่านก็ฉัน แต่ท่านบอกว่ายานี้รักษาใจไม่ได้แต่รักษาขันธ์ ๕ ได้ แต่ขันธ์ ๕ ของหลวงตาจะดับแล้วล่ะ

    วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ท่านอาจารย์อุ่นจากวันอุดมรัตนาราม อ.อากาศอำนวย จ.สกลนครมาเฝ้าเยี่ยมหลวงตา เพื่อถวายดอกไม้ธูปเทียนเป็นการแสดงความเคารพต่อท่าน ท่านหลวงตาได้แสดงธรรมเทศนาโปรด ๑ กัณฑ์ เรื่องอายตนะภายในอายตนะภายนอกสอนให้รู้อายตนะภายในอายตนะภายนอก พร้อมทั้งสอนให้รู้อาการเป็นไปต่างๆ ของอายตนะแตกดับแล้วละ ท่านอาจารย์อุ่นเดินทางกลับเวลาประมาณ ๑๗.๐๐ น. จากเหตุการณ์วันนี้สังเกตเห็นว่าท่านหลวงตาเหนื่อยพูดเบาบางครั้งก็พักใจยาว ๆ แล้วเอนหลังลงแล้วก็เทศน์สั่งสอนลูกศิษย์ไปเรื่อยๆ ไม่หยุด ในระยะนี้ได้ถวายยาแก่ท่าน ท่านบอกว่า ยามีประโยชน์แก่ร่างกายก็ต่อเมื่อรายกายต้องการเท่านั้น

    เช้าวันที่ ๑๙ กรกฎาคม ๒๕๑๗ ท่านฉันเช้าตามปกติแต่ก็ไม่มากนัก สังเกตดูอาการท่านเหน็ดเหนื่อยอ่อนเพลียมากทีเดียว นับแต่เวลาเข้าไปท่านพักผ่อนเล็กน้อย แสดงธรรมตลอดแต่พูดเบามาก ขณะที่ท่านกำลังเทศน์อยู่นั้น มีพระภิกษุสามจากต่างวัดมาถวายสังการะและรับฟังโอวาท ท่านให้ลูกศิษย์ช่วยพยุงลุกขึ้นนั่ง เมื่อลุกขึ้นนั่งแล้วท่านหลวงตาพูกว่าสังขารไม่เที่ยง หลวงตาเกิดมาก่อนก็ต้องไปก่อนตามธรรมดาเทศน์ประมาณ ๑๕ นาที คณะสงฆ์นั้นกลับไป ขณะนั้นเวลาประมาณ ๑๖.๐๐ น. ท่านเหนื่อยมากที่สุดพูดเบามาก ท่านบอกว่าลมวิปริตแล้ว ไม่มีแล้ว จากนั้นท่านหลวงตาได้ให้พรลูกศิษย์ว่า พุทฺโธ สุข ธมฺโม สุโข สงฺโฆ สุโข จตฺตาโรธมมา วฑฺฒนฺติ อายุ วณฺโณ สขํ พลํ แล้วท่านหลวงตาก็หัวเราะแล้วยิ้มให้ลูกศิษย์ อันเป็นลักษณะเดิมของท่านหลวงตา แสดงว่าท่านมีอารมณ์ดีไม่สะทกสะท้านต่ออาการที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีท่านอาจารย์อุ่น ท่านอาจารย์บาน และพระภิกษุสามเณรหลายสิบรูป เฝ้าดูอาการของท่านด้วยความตกใจเป็นที่สุด แม้ท่านจะเหนื่อยมากสักปานใดก็ตามแต่ท่านก็ยังพูดอยู่เรื่อย ๆ ถึงเสียงจะเบาก็ยังพอรู้ได้ว่าท่านแสดงธรรมโปรดลูกศิษย์ และในทันทีนั้นทุกอย่างพอได้ยินว่า “ธาตุลมในหลวงตาวิปริตแล้ว” จากนั้นท่านไม่พูดอะไรอีก กิริยาอาการทุกอย่างสงบเงียบทุกคนแน่ใจว่า ท่านหลวงตาได้ถึงแก่มรณภาพแล้วเวลา ๑๙.๐๕ น. ท่ามกลางสานุศิษย์ทั้งชิตและคฤหัสถ์ด้วยความอาลัยยิ่ง แต่เชื่อมั่นเหลือเกินว่าท่านหลวงตาได้ไปถึงสันติสุขที่สุดแล้ว สิริรวมอายุได้ ๘๖ ปี
    [/FONT]
     
  15. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ภาคธรรมเทศนา[/FONT]​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]

    ท่านอาจารญ์ตื้อ อจลธมฺโม ท่านแสดงธรรมไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือนผู้พังธรรม ท่านต้องเพ่งถึงความจริงในเนื้อหาสาระของพระธรรมเทศนา ท่านชอบแสดงธรรมยกเอา “เรื่องจริง” มาแสดง เป็นธรรมะที่เป็นของจริงที่พวกเรามองข้ามไป และผู้ที่ฟังเทศน์ของท่านจะได้ฟังเรื่อยแปลก ๆ เสมอ และคำพูดไม่เห็นมีอะไรเป็นหลักเป็นหนทางบ้างเลย จะจับเอาสาระที่ตรงไหนก็ไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้คนเหล่านั้นหรือท่านผู้นั้นก็ยังไม่รู้จักความจริงในเนื้อหาสาระของธรรมที่ท่านแสดงนั้น เพราะฉะนั้นเมื่อฟังธรรมของท่านเตาต้องเพ่งถึงหลักความจริงเป็นประธานเพ่งเอาจริงเป็นหลักพิจารณาให้รู้ตามความเป็นจริงแล้วจะเห็นว่าท่านแสดงตามหลักเดิมอันเป็นความจริง ที่เรียกว่า “สัจธรรม” จริงๆ

    และอีกประการหนึ่ง ท่านชอบแสดงตามหลักความเป็นจริงในเหตุการณ์นั้น ๆ ที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าตามเหตุการณ์ที่มีผู้ถานอย่างที่ท่านชอบเปรียบเทียบว่าบางครั้งบางขณะสัตว์ยังดีกว่าคนเสียอีก จึงมีผู้ถามว่าสัตว์ดีกว่าคนอย่างไร ? ดังนี้เป็นต้น ท่านก็แสดงเรื่องสัตว์ที่คนเลี้ยงและก็มีคุณต่อคนที่เป็นนายของมัน ท่านก็แสดงความดีของหมาให้ฟัง ดังที่ผู้เคยได้ฟังธรรมของท่านจะต้องได้ยินเสมอว่า “มงคลของหมา ของเป็ด ของแมว” เป็นต้น ความเป็นจริงหมาก็ไม่เห็นจะดีที่ตรงไหนตามที่เราคิดตามธรรม แต่ท่านก็แสดงให้เห็นความดีของมันได้ตั้งหลายอย่างต่อไปนี้จะเป็นการพระธรรมเทศนาของท่านพระอาจารย์มาลงไว้บ้างเล็กน้อย เพื่อให้หนังสือเล่มนี้ครบทุกอย่าง แต่จะนำมาลงให้หมดทุกกัณฑ์นั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะท่านแสดงธรรมไว้เป็นจำนวนมาก และมีผู้สนใจพิมพ์แจกเป็นธรรมทานอยู่แล้วก็มาก จึงขอเชิญท่านผู้อ่านได้รับฟังเทศน์ของท่านเลยดังนี้.-

    [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พระธรรมเทศนา เรื่องหัวใจของพระพุทธศาสนา
    [/FONT]​
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif] นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมาสัมพุทธัสสะ ( ๓ ) หน

    จิตดวงเดียวแสดงเป็นสี่ดวง พระโสดามรรคก็จิตดวงเดียว พระอรหันต์มรรคก็จิตดวงเดียว ที่ว่าเป็นสี่นี้ ว่าตามธาตุตามวิญญาณ ธาตุก็สี่ วิญญาณก็สี่ ได้ชื่อว่า จิตตานุปัสสนากับจิตแยกออกจากกันไม่ได้ หูกับจิตออกจากกันไม่ได้ ส่วนตาไม่ใช่จิต เรียกว่าวิญญาณตา หูก็ไม่ใช่จิต เรียกว่า วิญญาณหู จมูกก็ไม่ใช่จิต เรียกว่าวิญญาณจมูก ปากก็ไม่ใช่จิต เรียกว่า วิญญาณปาก จิตเราจะไปไหน ไปทำบุญหรือบาป ก็ต้องอาศัยวิญญาณตา จะดูรูปก็ต้องอาศัยตา จะฟังเสียงร้องรำทำเพลง เพื่อให้เหลิดเพลินก็ต้องอาศัยวิญญาณหูเป็นผู้ฟังว่าจะเพราะพริ้งเพียงไร จิตเป็นผู้รู้ จะดมกลิ่นเหม็นกลิ่นหอม จิตเป็นผู้รู้จึงใส่ชื่อว่า “จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐานัง” ตากับจิตออกจากกันไม่ได้ ตายเมื่อใด พันเมื่อนั้น นี้แหละท่านทั้งหลาย ๑. จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตนั้นก็เป็นพระโสดาจิต ๒. จิตไม่ลักทรัพย์จิตนั้นก็เป็นพระโสดาเป็นพระสกิทาคา เป็นพระอนาคาเป็นพระอรหันตา ๓. จิตคิดออกบวช ขาดจากผัวจากเมีย จิตนั้นก็เป็นพระโสดา เป็นพระสกิทาคา เป็นพระอนาคา เป็นพระอรหันตา ๔. จิตไม่ขี้ปดไม่กล่าวมุสาวาท จิตนั้นก็ไม่เป็นพระโสดา เป็นพระสกิทาคมเป็นพระโสดา เป็นพระอนาคาเป็นพระอรหันตา อันนี้อธิบายเป็นพระสูตร ขอให้นักธรรมนักกัมมัฏฐานทั้งหลายจงดูทุกพระองค์เถิดจะอธิบายเป็นพระปรมัตถ์อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน ๑.จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์ ๒. จิตลักทรัพย์ จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน ผู้รู้ใจของเราทุกคนและทุกพระองค์ ๓. จิตออกบวช ขาดจากผัวจากเมีย จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์ ๔. จิตไม่ขี้ปด (มุสาวาท) จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์ ๕. จิตไม่กินเหล้า จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์

    พุทโธ เป็นศีล พทุโธเป็นฌาน พุทโธก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์ ธมฺโม เป็นศีล ธมฺโม เป็นฌาน ธมฺโม เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์ สงฺโฆ เป็นศีล สงฺโฆ เป็นฌาน สงฺโฆ เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์กรุณาเป็นนิพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์ มุทิตา เป็นศีล เป็นฌาน มุทิตา เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์ เมตตาก็เป็นศีล เมตตา เป็นฌาน เมตตาเป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์ อุเบกขาเป็นศีล อุเบกขาเป็นฌาน อุเบกขาเป็นนิพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์ จิตมีรูปไม่รักรูป จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนทุกพระองค์ จิตมีเวทนา จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนและทุกพระองค์ จิตมีสัญญา จิตไม่รักสัญญา จิตก็เป็นศีล จิตก็เป็นฌาน จิตก็เป็นนิพพาน อยู่ที่ใจของเราทุกคนและทุกพระองค์ เจ้าพระคุณคือใคร ? เจ้าพ่อของเราเจ้าแม่ของเราพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทุกคนเกิดจากเจ้าคุณพ่อ หมายถึงพระสุทโธ ทนะ เจ้าคุณแม่ หมายถึงพระนางเจ้าสิริมหามายา เป็นที่เกิด ธรรมะ อันประเสริฐสูงสุดวิเศษ อยู่ที่ใจของเราอันเกิดมาจากพระบิดา พระมารดา ถ้าใครเชื่อ เอาหมูเป็นเมีย ปีกุนแปลว่าหมู หมูดีกว่ามนุษย์ มนุษย์สู้หมูไม่ได้ หมูดีกว่ามนุษย์ ขาหมูมนุษย์ก็กิน แต่ขามนุษย์ไม่มีใครกิน ทำหมูมนุษย์กิน แต่ทำมนุษย์ไม่มีใครกิน หีหมูมนุษย์กิน หีมนุษย์ไม่มีใครกิน หีหมูคนปากไม่ชัด (คือลิ้นไก่สั้น พูดอ้อแอ้) กินแล้วจะดีขึ้น น้ำมันหมูเป็นสินค้าทั่วราชอาณาจักรไทย เป็นอาหารทั่วไปไม่เลือกชาติไหน กินกันทั้งนั้นแต่น้ำมันมนุษย์ไม่มีใครกิน หัวคนตายไม่มีใครกิน หัวหมู จมูกหมู ลิ้นหมู มันสมองหมูต้มกินได้ ทุกชาติ ปากคน ลิ้นคน มันสมองคนหัวแคนไม่มีใครกิน แต่ไส้หมู่ทำเป็นไส้กรอกกินได้ ตับหมู พุงหมูกินได้ แต่ตับคน ไส้คน พุงคน ไม่มีใครกิน ขนหมูเป็นสินค้าทำแปรงทาสีได้ทั่วไป แต่ขนผมของมนุษย์ตัดทิ้งเสียเปล่า ๆ ไม่มีใครต้องการ ผมของอุบาสกต้องตัดเดือนละครั้งสองครั้ง เสียเงินครั้งละ ๔ – ๕ บาท ยิ่งเป็นผมของเจ้านาย ก็แพงขึ้นไปยิ่งกว่านี้ แล้วก็ค่าน้ำมันเดือนละขวด เมื่อจะหมดบุญก็ต้องเสียเงินหลายพันบาท เมื่อตายไปไฟกินหมด นี้แหละนักธรรมกัมมัฏฐานทั้งหลาย ข้าพเจ้าพระอาจารย์ตื้อหรือหลวงปู่ตื้อ ขอถวายปัญญาวิปัสสนาญาณไว้เพื่อแสดงให้ทั่วถึงกัน มีเจ้านายข้าราชการ อุบาสก อุบาสิกา เป็นต้น ถ้าไม่จริงอย่างหลวงปู่ว่า ขอให้ขี้มาเป่าหน้าเถิด

    อนึ่ง ผู้เจริญฌาน ให้รู้จักฌาน ถ้าไม่รู้จักฌานจะนั่งเอาฌานจนเอวหัก ก็ไม่ได้นิพพานตามความต้องปรารถนา สอง ผู้เจริญฌานให้จักฌาน จึงจะได้นิพพาน เพราะฌานกับนิพพานเป็นคู่กัน จะแยกออกจากกันไม่ได้ เหมือเดือนกับดาว เดือนอยู่ที่ไหนดาวอยู่ที่นั่นที่ว่าการไม่รู้จักฌาน ไม่รู้จักนิพพานเป็นอาการของจิต เรียกว่า “โลกิยจิต” สอง โลกุตตรจิต จิตจะรู้จักฌาน เพราะสกิทาคามิผล เป็นฌานที่สอง พระอนาคมิมรรค เป็นฌานที่สาม พระอรหันตมรรค พระอรหันตผล เป็นฌานที่สี่ ฌานเป็นที่อยู่ของพระพุทธเจ้า พระนิพพาน ได้แก่ใจของพระอรหันตเจ้านั้นแลฌานเหมือนเค้าต้นของผม (เกศา) นิพพานเหมือนเส้นผมนั้นแลจึงจะสมสะวะนะ

    ที่หนึ่ง บริกรรม “พุทฺโธ” เป็นศีล “พุทฺโธ” เป็นฌาน “พุทฺโธ” เป็นนิพพาน
    [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ที่สอง อุปาจาระเป็นที่อยู่ของจิต ธัมโม เป็นศีล ธัมโมเป็นฌาน ธัมโมก็เป็นนิพาน
    [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ที่สาม สังโฆ เป็นศีล สังโฆเป็นฌาน สังโฆก็เป็นนิพาน
    [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ที่สี่ อนุโลมญาณ จงดูลมหายใจเข้าออก โทสะใจอย่าได้ขี่ใจโมหะ ใจขี่ทิฏฐิก็หมดไป ใจขี่โทสะ ใจก็เป็อรหันต์ ใจขชี่โมหะใจก็เป็นอรหันต์ ใจขี่ทิฏฐิ ใจนี้เป็นอรหันต์
    [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ที่ห้า โคตะระอยู่ในรูปไม่ผิด อยู่ในเวทนาไม่ผิดเวทนา อยู่ในสัญญาไม่ผิดสัญญา อยู่ในสังขารไม่ผิดสังขาร อยู่ในวิญญาณไม่ผิดวิญญาณ ใจเราก็เป็นนิพพาน
    [/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ที่หก โสดามรรคก็ใจ โสดาผลก็ใจ สกิทาคามิก็ใจสกิทาคามิ อนาคามิก็ใจ และอุปทิเสสะนิพพาน กิเลสขาดจากสันดานหมดไป โมหะกิเลสหมดไป ทิฏิฐิกิเลสหมดไป

    ยังเหลือแตใจสะอาดปราศจากกิเลสขาดจากสันดานหมดเดินอยู่บนท้องฟ้านภากาศ ไม่มีอะไรจะทำลายได้ วาโยธาตุแปลว่าลมจากทิศทั้ง ๔ จะทำลายพระจันทร์ไม่ได้ ลมก็เป็นลมพระจันทร์ไม่แตกดับ พระจันทร์ก็อยู่อย่างนั้นแหละ อาโปธาตุ แปลว่าน้ำ ฝนตกลงมาเม็ดเล็กเม็ดน้อยใหญ่จะทำลายพระจันทร์ไม่ได้ เปรียบเหมือนที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ ดังเช่นเปรียบกันได้กับใบบอนนั้น ถึงฝนจะตกลงมาถูกต้องใบบอนสักเพียงไรน้ำฝนก็มิอาจแทรกซึมเข้าไปในใบบอนได้ฉันนั้น น้ำชำแรกแทรกเข้าไปในใบบอนย่อมไม่ได้ เพราะใบบอนไม่ดูดเอาน้ำเข้าไปเลยเหมือนดังกับพระจันทร์ พระจันทร์เดินไปเมืองม่าน (พม่า) พวกม่านทั้งหลายทั้งน้อยและใหญ่พากันกราบไหว้พระจันทร์ พระจันทร์ก็เฉย ๆ ไม่รับรองลิ้นของพวกพม่ามาเป็นสรณะแต่อย่างไร ไปเมืองมอญ พระจันทร์ก็เฉยเสีย พวกมอญจะติฉินนิทราด่าวาสิ้นทั้งบ้านเมืองมอญ พระจันทร์ก็เฉยเสีย นี้แหละนักธรรมนักกัมมัฏฐาน เจ้าทั้งหลายจึงเรียกว่า “จบพรหมจรรย์” คือ
    ๑. ไม่ฆ่าสัตว์พุทธพรหมจรรย์
    ๒. ไม่ลักทรัพย์พุทธพรหมจรรย์
    ๓. ไม่เสพกามเรียกว่าพุทธพรหมจรรย์
    ๔. ไม่ขี้ปด (คือกล่าวมุสาวาท) เรียกว่า พุทธพรหมจรรย์
    ๕. ไม่กินเหล้า (สุรา) เรียกว่า พุทธพรหมจรรย์

    เปรียบเหมือนดวงพระจันทร์นั่นแหละ พระจันทร์ไม่ฆ่าสัตว์ พระจันทร์ไม่ลักทรัพย์ พระจันทร์ไม่เสพกาม พระจันทร์ไม่กล่าวมุสาวาท พระจันทร์ไม่ดื่มสุรา ก็เรียกว่า “จบพรหมจรรย์” (เสียง จันทร์ กับ จรรย์ออกเสียงเหมือนกัน ท่านจึงมาเปรียบเทียบเช่นนี้) พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายนั่งก็นั่งอยู่ในนิพพาน นอนก็นอนอยู่ในนิพาน เดินก็เดินอยู่ในนิพพาน กินก็กินอยู่ในนิพพาน แต่ขันธ์ ๕ ที่เป็นอุปาทานยังไม่ดับพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าของเราทั้งหลายนี้ จึงขันธ์ห้าของคุณตาคุณยายสะพายบาตรประกาศพระศาสนาอยู่ ๔๕ ปี เรียกว่า อุปาทิเสสะเข้าพระนิพพานพ้นจากชาติกันดาร ไม่ต้องการเกิดอีกต่อไป เตสํ วูปสโม สุโข เวทนา แตกเวทนาตาย สัญญาแตกสัญญาตาย สังขารแตกสังขารตาย วิญญาณแตกวิญญาณตาย พระพุทธเจ้าโคตรมะไม่ได้ฆ่ารูป รูปก็แก่เฒ่า เวทนาก็แก่เฒ่า สัญญาก็แก่เฒ่า วิญญาณก็แก่เฒ่า ใจเรานั้นที่ไม่แก่เฒ่า รูปังอนิจจัง รูปเกิดขึ้นมาเป็นธรรมดา จิตจะร้องขออย่างไรก็ไม่ได้รับฟัง อกาลิโก อากาศของธาตุ เขาเป็นอยู่อย่างนั้น จักขุนทะริยัง ดูตาของเราซิ ตามันแตก ตามันลาย จะห้ามตาไว้ไม่ได้ โสตินทะริยัง ดูหูของเรา หูมันจะเฒ่าหูมันจะตาย ห้ามหูไว้ไม่ได้ ฆานินทะริยัง ดูจมูกของเรา (ฮูดัง) จมูกจะเป็นหวัด คัดจมูก หรือเป็นริดสีดวงจมูก เราจะห้ามไว้ไม่ได้ชิวหินทะริยังดูลิ้นของเรา ปากและลิ้นก็เป็นหวัดเป็นไอ เดินก็ไอ กินข้าวก็ไอ กินน้ำก็ไอ ไอไปไอมา อานาปาฯ เป็นภาษาบาลีภาษาไทยเรียกว่าลม วิญญาณก็ลม หมดลมแล้วเรียกว่า ตาย มีเงินมีคำมีแก้ก็ตาย ละเสียจากเงินทองเหล่านั้น มีลูกสาวก็ตายจากลูกสาว มีลูกชายก็ตายจากลูกชาย ฯลฯ

    ถ้าเราจะมีเงินถึงแปดหมื่น เก้าหมื่น ก็เป็นแต่ของกลางเท่านั้นที่มีอยู่ใน
    โลกเราตายเสียแล้วก็ทิ้งหมดถ้าเมื่อเรายังไม่ตายจงมาพากันสร้างบุญกุศลให้พอเมื่อเราตายไปแล้วบุญนั้นก็จะเป็นที่พึ่งของเรา อะนะวัชชานิ กัมมานิ บุคคลเกิดมาในโลกนี้ ทำการงานปราศจากโทษ มีแต่ประโยชน์ทั้งชาตินี้และชาติหน้าเป็นปัจจัยแก่เราผู้สร้างบารมี หนึ่ง สร้างพระพุทธรูป สร้างพระเจดีย์ ฯลฯ ไว้ในพระศาสนา ผู้ใดหากได้ทำแล้ว ผู้นั้นเป็นเลิศผู้ประเสร็จ ไม่เสียทีที่เกิดมาเป็นมนุษย์ เปรียบเหมือเงาที่ตามตัวเราบุญกุศลที่เราสร้างมาก็ห่อหัวใจของเราไว้ เรารับศีลห้าไว้ เรานั่งเรานั่งในศีลห้า เรานอน เราก็นอนในศีลห้า เรารับศีลแปด เราจะยืน เดิน นั่ง นอน ไปไหน ๆ ก็ได้ศีลแปดทั้งสิ้น ศีลสิบก็เหมือนกัน เรารับศีล ๒๒๗ นอนก็นอนในศีล ๒๒๗ เมื่อใด “พุทโธ” แล้วนั่งก็นั่งพุทโธ ฯลฯ “ธัมโม” เมื่อได้แล้ว นั่งก็นั่งธัมโม ฯลฯ “สังโฆ” ทั้งนั้น ตสัง ตายแล้วทั้งหมดเกสาผมก็ไฟไหม้ เอาไปก็ไม่ได้โลมา ขนไปไหม้นขา เล็บตืนเล็บมือไฟก็ไหม้หมด ทันตา เขี้ยว ครำ ตำหมาก ฯลฯ อะไร ๆ ไฟก็กินหมดจะเป็นของเรานั้นไม่ได้สักอย่าง นี้แหละนักธรรม นักกรรมฐานเจ้าทั้งหลาย ผู้ชายก็นักบุญ ทำบาปก็ได้บาป ทำนาก็ได้กินข้าว นักธรรมนักกัมมัฏฐานทั้งหลายโอปนยิโก ให้น้อมมาดูอะไรดูใจของเราทุกคน เมื่อได้พุทโธจริง ที่อยู่ของชั้นยามา ชั้นดุสิตา อยู่ชั้นไหนได้ตามความปรารถนา พรหมปาริสัชชา ถึงอกนิษฐาพรหมสิบหกอยู่ได้ตามความปรารถนา ชายสังโฆ หญิงสังโฆ ที่อยู่ของพระสังโฆ ชั้นสุทธาวาส อนาคามิมรรค อนาคามิผล สิ้นชีพวายชนม์เข้าสู่พระ นิพานเอตัง พุทธสาสนันติ ฯ

    พระอาจารย์ตื้อหรือหลวงปู่ตื้อ อจลธมฺโม ที่เป็นลูกศิษย์ของท่านเจ้าคุณพระอุบาลีฯ วัดสุปัฏน์ พระปิยมหาราช พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้อาราธนามาอยู่ที่วัดเทพศิรินทราวาสเจริญแล้วพระองค์ที่สองสมเด็จกรมพระสวัสดิ์ ผู้ครองแผ่นดินลูกพระพี่แล้วจึงมอบเมืองให้พระเจ้าหลานรัชกาลที่หกรับแทน เป็นพระเจ้าแผ่นดินดีแล้ว จึงได้อาราธนาเจ้าคุณอุบาลีฯ และท่านย่า หลวงปู่มั่น ภูริทัตตเถระ ไปอยู่ที่วัดบรมนิวาสและวัดสระปทุม และท่านก็นิพานที่นั่น ส่วนท่านเจ้าคุณอุบาลีฯ ไปนิพานที่วัดบรมนิวาส ส่วนท่านอาจารย์มั่นฯ นายเตียง สิริขันธ์ ไปนิมนต์มาอยู่วัดสุทธาวาส จังหวัดสกลนคร เลยนิพพานที่นั่นพุทธคุณคาถาที่อาตมาได้นำมากล่าวเป็น พุทธบูชา ธัมมปูชา สังฆปูชา แก่พระคุณเจ้าทั้งหลาย พระคุณเจ้าทุกพระองค์ จงอโหสิกรรมให้แก่ข้าพเจ้าเถิด ถ้าหากพระธรรมเทศนาที่ข้าพเจ้าได้อธิบายมานี้เป็นที่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติ ไม่ขัดกับหลักแห่งพระสงฆ์ไทย ก็ขอให้พระคุณเจ้าทั้งหลาย จงอนุโมทนาสาธุการด้วยเถิด และจงน้อมนำเอาพระธรรมคำสอนที่ข้าพเจ้าได้อธิบายมานี้แล้วนั้น ปฏิบัติลงที่กาย วาจา ที่ใจ ของท่านทั้งหลาย ทั้งอุบาสก อุบาสิก “นิพานนัง ปะระมัง สุขัง นิพพานนะปัจะโย โหตุ” ข้าพเจ้าจะขออธิบายถึงผู้ที่เข้าสู่พระนิพพานพ้นจากชาติกันดารไม่ต้องกลับมาเกิดอีก ซึ่งเรียกว่า “วิมุตติสุข” อันพ้นจากโลกนี้ พระพุทธเจ้าบัญญัติไว้ให้แก่เรา นักธรรมนักกรรมฐานผู้ตั้งใจเอาพระนิพพานให้รู้แจ้ง ขาดจากความสงสัย “อุปะสะมานุสติ” ให้ระลึกถึงคุณพระนิพพาน พระนิพพานก็อยู่ที่ใจของเรา ใจไม่ฆ่าสัตว์ ใจดี เป็นศีล เป็ฌาน ใจก็เป็นนิพาน ใจไม่กินเหล้า ใจดี เป็นศีล เป็ฌาน ใจก็เป็นนิพาน ใจไม่กินข้าวเย็น ใจดี เป็นศีล เป็ฌาน ใจก็เป็นนิพาน ใจไม่ตีฆ้อง ใจดี เป็นศีล เป็ฌาน ใจก็เป็นนิพาน ใจไม่ลูบไล้ชโลมทาของหอมอย่างชาวบ้าน ใจดี เป็นศีล เป็ฌาน ใจก็เป็นนิพาน

    ในคัมภีร์พระพุทธศาสนานั้น เคยมีเรื่องเล่าไว้เป็นหลักฐานดังนั้นจึงขอให้พวกนักปราชญ์และนักธรรมนักกรรมฐาน จงยกใจของตนเองทุก ๆ คนให้เป็น “พระพุทโธ” ให้เป็นพระธัมโม พระสังโฆ เมื่อใจของพระคุณทั้งหลายได้พระพุทโธ (หมายถึงจิตรวมน่วแน่ดีแล้ว) ก็เข้าพระนิพาน ข้าพเจ้าอาตมาภาพพระอาจารย์ตื้อฯพุทธคุณ ธัมมคุณ สังฆคุณขอถวายไว้เป็นพุทธบูชา ธรรมบูชา สังฆบูชา แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายทุกพระองค์ พราะศาสนาพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเมื่อพระองค์จะเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ได้บัญญัติศีลห้า บัญญัติศีลสิบ บัญญัติศีลสิงร้อยยี่สิบเจ็ด บุคคลใดที่ได้รับศีลห้าได้ก็เป็นญาติของพระพุทธเจ้าถ้าหากรับไม่ได้ก็เป็นธรรมดา (ยังอยู่ในโคตรปุถุชน) ถ้ารับศีลแปดก็เป็นโยมของพระพุทธเจ้า ถ้าผู้ใดรับศีลสิบต้องมีครู มีอาจารย์จะบวชเป็นสามเณร ต้องบวชโดยมีครูอาจารย์ ถ้าเราบวชเอาคนเดียวนั้นไม่ได้จะสึกเอาคนเดียวอีกก็ไม่ได้ ต้องขาลาเพศ ลาครูบาอาจารย์เสียก่อน จึงสึกได้และถูกต้องตามพระราชบัญญัติ เป็นมนุษย์นี้ดีที่สุด เราต้องการอะไรได้ทั้งนั้น อยากกินข้าวก็มีกิน อยากกินน้ำก็มีกิน ฯลฯ ถ้าเราไปอยู่อเวจีแล้ว ไม่มีน้ำ ไม่มีข้าวกิน กินแต่ไฟ (หมายถึงไฟ ราคะ โทสะ โมหะ) เป็นอาหาร ตายแล้วเกิดอยู่อย่างนี้ ในโลก (โลกิยะ) อันนี้นับล้านนับแสนปีก็ยังหลุดพ้นไม่ได้ ในคัมภีร์มหาปัจจรีก กล่าวไว้ว่า นางเทพยดามาชมดอกปาริชาติ เผลอพลาดตกลงมาเกิดเป็นมนุษย์ คือ เมืองลังกาทวีป เป็นลูกสาวมหาเศรษฐีนั้นไชยเศรษฐีใหญ่ เมื่อเติบโตแล้วได้มีนักธรรมเจ้าทั้งหลายพระศาสดาของเราว่าอย่านี้ได้บัญญัติพระศาสนาไว้ห้าพนปีแต่เทศนาสั่งสอนมนุษย์อยู่สี่สิบห้าปีรวมโกกิยมมนุษย์
    [/FONT]​
     
  16. HONGTAY

    HONGTAY ผู้ดูแลเว็บบอร์ด ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 กุมภาพันธ์ 2007
    โพสต์:
    36,548
    กระทู้เรื่องเด่น:
    151
    ค่าพลัง:
    +147,892
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]เทศนาเองหัวใจมนุษย์[/FONT]​

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ผู้หญิงเป็นพระอรหันต์ได้ ผู้ชายเป็นพระอรหันต์ได้ ฉายาว่ามนุษย์ สะโตวา แปลว่าลม ลมที่เกิด อิตถีแม่ของเราก็มีลม พ่อของเราก็มีลม พระพุทธเจ้าอาศัยลมเป็นที่เกิด พระเจ้าสัญชัยพระนางเจ้าผุสดีเป็นพระเจ้าแม่ขันธ์ ๕ ของพระองค์ พระองค์เกิดจากขันธ์ นางผุสดีได้รับพรแก้วสิบประการ รูปทิพย์หมายถึงขันธ์ ๕ เสวยสุขอย่างมนุษย์นิยม ได้นางมัทรีได้ดอกบัวสองดอก ดอกหนึ่ง “ชาลี” ดอกสอง “นางกัณหา” พรหม ๔ พรหมที่ ๑ ได้แก่ พระองค์ พรหมที่ ๒ ได้แก่ พระนางมัทรี พรหมที่ ๓ ได้แก่ เจ้าชาลี พรหมที่ ๔ ได้แก่นนางกัณหา ผู้เป็นลูกสาวหล้า แปลเป็นภาษาไทยชาวเชียงใหม่นางดอกบัวนี้แหละ ไปที่ไหนอาศัยลมเป็นที่เกิดเมื่อลงมาชาตินี้ นี้แหละนักธรรม นักกรรมฐานทั้งหลาย เมื่อเป็นพระศรีธาตุเรียกเจ้าจักรพรรดิอาสงส์ทานชาลีลูกชายเดียวแก่พรหมเฒ่า เมื่อเป็นจักรพรรดิได้อำมาตย์ ๘๔,๐๐๐ พระองค์ไม่ขาดทุนทานลูกสาวหล้านางกัณหาแก่พราหมณ์ เมื่อออกบวชได้นางภิกษุณี ๘๔,๐๐๐ นางไม่ขาดทุน ทานนางมัทรีเมียที่ดีของพระโพธิสัตว์นางมเหสีที่ ๑ เสวยสุขอย่างมนุษย์นิยม ส่วนนางอุบลวรรณามีวกรรม พ่อไม่ให้อนุญาต แต่ไปตามวิญญาณของผู้หญิง มาเกิดชาตินี้[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๑. จิตตานุสปัสสนา จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตก็เป็นพระโสดามรรค พระโสดาผล[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๒. จิตตานุสปัสสนา จิตไม่ลักทรัพย์ จิตก็เป็นสกิทาคามิมรรค สกิทาคามิผล[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๓. จิตตานุสปัสสนา จิตออกบวช ไม่มีผัวมีเมีย จิตนั้นก็เป็นอนาคามิมรรค อนาคามิผล[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]๔. จิตตานุสปัสสนา จิตไม่กล่าวมุสาวาท จิตเป็นพระอรหันต์มรรค อรหันต์ผล[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]หนึ่ง จิตไม่ฆ่าสัตว์ จิตเป็นศีล จิตเป็นฌาน จิตนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน สอง จิตไม่ลักทรัพย์ จิตเป็นศีล จิตเป็นฌาน จิตนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน สาม จิตออกบวช จิตเป็นศีล จิตเป็นฌาน จิตนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน สี่ จิตไม่ขี้ปด จิตเป็นศีล จิตเป็นฌาน จิตนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุกคน ห้า จิตไม่กินเหล้า จิตเป็นศีล จิตเป็นฌาน จิตนิพพาน อยู่ที่หัวใจของเราทุก[/FONT]
    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]คน[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]ขอให้นักธรรม นักกัมมัฏฐานจงเจริญธรรมให้มาก ๆ ตั้งพุทโธในใจของท่านทั้งหลายจะรู้จักพระพุทธเจ้า ตั้งธัมโม ใจของท่านทั้งหลายจะได้บรรลุโลกุตธรรม ตั้งสังโฆ จะได้ตัดสังขาร พุทโธ คือใจของพระคุณเจ้านั้นแหละ พระธรรม คือใจของพระคุณเจ้าทุกคน สังโฆ คือใจของพระคุณเจ้าทุกคนอธิบายเป็นภาษาไทยถวายพระบรมบพิตรพระราชสมภารเจ้า พระราชบุตรพระองค์เจ้าออกบวชเป็นฤษี พุทฺเธ รตนํ ได้เป็นพระพุทธเจ้าหนึ่งไม่มีสอง อักฏก สุริโย จะแสดงพรปรมัตถ์ พุทฺธบัญญัติอิทมฺปิ สงฺเฆรตนํ อสีติพุทธสาวก ๘๐ องค์มีฤทธิ์ศักดานุภาพ มหาปุริสลักขณานุภาเวนะ ฝ่าตีนเป็นกงจักร ฝ่ามือเป็นดอกบัวอาตมาเกิดในสมัยก่อนสมัยตายเสียเปล่า ๆ ไม่มีทางที่จะไปสวรรค์เพราะไม่รูพรหมก็ไม่รู้ นิพฺพานฺ ก็ไม่รู้ มนุษย์เกิดในสมัยท่านเป็นศิษย์ของท่าน จะเทศนาเก้าประการเกิดจากวิญญาณพระโพธิสัตว์ ถวายพระพรหมมหาบพิตรพระราชสมภาร เหตุนั้นพระองค์ใหญ่แล้ว ก็ได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ครอบครองพระราชสมบัติเป็นพระเจ้าแผ่นดิน มีบุตรชายพระองค์หนึ่งเมื่ออายุ 28 ปี บารมีที่ได้สร้างไว้ ทานเป็นปรมัตถ์ ศีลปรมัตถ์ ตลอดถึงอุเบกขาเป็นปรมัตถ์ ปรมัตถ์เกิดจากหัวใจแล้วจึงเสร็จออกบวช กาย วาจา ใจ เจริญพระกัมมัฏฐานภาวนาหกปี[/FONT]

    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]พุทโธ อยู่ที่ไหน อยู่ที่ใจของเรา พุทธภายใน พุทธภายนอก พุทธภายในได้แก่ใจที่บริสุทธิ์ ใจที่บริสุทธิ์ไม่เป็นใบ้ ใจไม่เป็นใบ้ ใจดีใจงามใจซื่อสัตย์ ใจมีศีลธรรม พุทโธ เกิดจากใจของเราทุกคน ธัมโมก็ใจ สังโฆก็ใจ ใจพระพุทธเจ้า พระธรรมเจ้า พระสังฆ์เจ้านี้เรียกว่าพุทธภายใน พุทธภายนอกได้แก่ตาของเรา ถ้าตาบอด ตาเสีย ตาไม่มีพุทธ ตาไม้สัก ตาไม้ซาง ตาไม้ไผ่ไม้ไร่ไม้บง พุทธภายในได้แก่ใจของท่านทุกคน เป็นองค์ธรรมที่สอง พุทธภายใน ใจอันบริสุทธิ์ พรหมวิหารฐานที่อยู่ในใจ เตตาพรหมวิหารแก่เพื่อนมนุษย์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย อเวรา อย่าได้เป็นเวรแก่มนุษย์ กรุณาเจโต กรุณาแก่เพื่อนมนุษย์ เพื่อนเกิดมาร่วมสุข ร่วมทุกข์ อัพยาปัชฌาโหนตุ อย่าพยาบาทหันเลย อาฆาตผูกเวรกัน มุทิตาเจโต มุทิจิตอ่อน ผู้เกิดก่อนเป็นปู่เป็นย่า เป็นตาเป็นยาย ผู้เกิดมาทีหลังเป็นหลาน เป็นลูก เป็นเหลนนี้แหละพระพุทธศาสนานี้แหละพุทธใน พุทธนอก ได้แก่ ปากของเรา ธัมโม สังโฆ ได้แก่ปาก ปากเป็นพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ปากไม่มีพุทธได้แก่ ปากไห ปากอย่างนี้ปากไม่มีพุทธ ปากหม้อ ปากไห ปากมีพุทธได้แก่ปากมนุษย์ทั้งหลาย หูไม่มีพุทธ ได้แก่ หูกระเช้า หูกระทะ หูกระบุง ตาไม่มีพุทธได้แก่ ตาไม้สัก ไม้ซาง ตาไม้ไผ่ ตามีพุทธได้แก่ตามนุษย์เราทั้งหลายทุกคน พุทธในก็คือใจของเรา พุทธนอกได้แก่ ตาของเรา ปากไม่มีพุทธได้แก่ปากบ่อ ปากน้ำ กระบวย ปากย้ำหม้อ ปากไห ปากมีพุทธได้แก่ปากมนุษย์ของเรา พุทธในก็คือใจ พุทธนอกได้แก่ปากของเราทั้งหลาย ขอให้นักธรรมกัมมัฏฐานทั้งหลาย ผู้มีพุทโธแล้ว สวรรค์ ๖ พรหม ๑๖ พระนิพานก็จะเป็นของท่าน ถ้าหากนักธรรมกัมมัฏฐานละพุทโธ ละธัมโม ละสังโฆแล้วก็มักจะไกลพระพุทธศาสนา ตั้งหมื่นวาแสนวา จะนั่งภาวนาเอาสวรรค์ ๖ พรหม ๑๖ พระนิพพานจนกระดูกหัก ก็จะไม่ได้สวรรค์นิพพานหรอก ถ้ามีพุทโธ ธัมโม สังโฆ เป็นผู้รู้สวรรค์และรู้พระนิพาน ปรารถนาสวรรค์ ปรารถนานิพพานก็จักได้สวรรค์และนิพพานสสมตามความมุ่งมาดปรารถนาขอให้ท่านทั้งหลายจงตั้งใน พุทโธเถิด อายุ วรรณโณ สุขํ พลํ[/FONT]




    [FONT=trebuchet ms,sans-serif]แหล่งข้อมูลจาก [/FONT][FONT=trebuchet ms,sans-serif]http://www.sakoldham.com/[/FONT]
     

แชร์หน้านี้

Loading...