ก้าวย่างสู่ปีที่ ๙ มหามงคล ๙ พระอริยสงฆ์

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย vacharaphol, 16 ตุลาคม 2009.

  1. vacharaphol

    vacharaphol เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2005
    โพสต์:
    8,849
    ค่าพลัง:
    +27,174
    [​IMG]
    เหรียญหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว รุ่นแรก ปี ๒๕๐๔

    [​IMG] เหรียญพ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน รุ่นแรก พิมพ์นิยม ๒ ขอบ ปี ๒๔๙๘


    [​IMG] พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร รุ่นแรก ปี ๒๕๐๗


    [​IMG] เหรียญหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง ปี ๒๕๑๔


    [​IMG] เหรียญหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ เหรียญเสมา ๘ รอบปี ๒๕๑๘


    [​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG][​IMG]

    <SCRIPT type=text/javascript>var id='32822';function count(){$.ajax({ type: "POST", url: "http://www.komchadluek.net/counter_news.php", data: "newsid="+id, success: function(txt){ var counter_=parseInt(txt); $('#counters').html('จำนวนคนอ่าน '+counter_+' คน'); } });} featuredcontentslider.init({ id: "slider1", contentsource: ["inline", ""], toc: "markup", nextprev: ["Previous", "Next"], revealtype: "click", enablefade: [true, 0.1], autorotate: [true, 8000], onChange: function(previndex, curindex){ }})</SCRIPT>คมชัดลึก :หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน อ.โพทะเล จ.พิจิตร หลวงพ่อเงิน พุทธโชติ วัดบางคลาน (วัดหิรัญญาราม) อ.โพทะเล จ.พิจิตร เดิมชื่อ เงิน (สมัยนั้นยังไม่มีการใช้นามสกุล) บิดาชื่อ อู๋ เป็นชาวบ้านบางคลาน มารดาชื่อ ฟัก ชาวบ้านแสนตอ จ.กำแพงเพชร
    <SCRIPT type=text/javascript>google_ad_channel = '9989085094'; //slot numbergoogle_ad_type = 'text'; //media image, text, html, flash google_max_num_ads = '3'; //amount Ads//google_image_size = '300X250';//google_skip = '3';var ads_ID = 'adsense_inside'; // set ID for main Element divvar displayBorderTop = false; // default = false;//var displayLandScape = true; // false=Default, true=landscape *** if set Landscape not arrow ad type imagevar position_ad_detail ='in'; // ''=Default, in=Intext, under=TextUnderDetail</SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://www.komchadluek.net/AdsenseJS.js"></SCRIPT><SCRIPT type=text/javascript src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/show_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://googleads.g.doubleclick.net/pagead/test_domain.js"></SCRIPT><SCRIPT src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/render_ads.js"></SCRIPT><SCRIPT>google_protectAndRun("render_ads.js::google_render_ad", google_handleError, google_render_ad);</SCRIPT><SCRIPT language=JavaScript1.1 src="http://pagead2.googlesyndication.com/pagead/ads?client=ca-pub-1044823792492543&output=js&lmt=1255650198&num_ads=3&channel=9989085094&ad_type=text&adtest=off&ea=0&feedback_link=on&flash=9.0.45.0&url=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.net%2Fdetail%2F20091016%2F32822%2F%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B9%88%E0%B8%9B%E0%B8%B5%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%99%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A5%E0%B9%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%86%E0%B9%8C.html&dt=1255650198234&correlator=1255650198250&dblk=1&jscb=1&frm=0&ga_vid=758172538.1254353733&ga_sid=1255649467&ga_hid=1750877864&ga_fc=1&u_tz=420&u_his=1&u_java=1&u_h=800&u_w=1280&u_ah=770&u_aw=1280&u_cd=32&u_nplug=0&u_nmime=0&biw=1251&bih=561&ref=http%3A%2F%2Fwww.komchadluek.net%2F&fu=0&ifi=1&dtd=78"></SCRIPT>



    เกี่ยวกับวันเกิดของหลวงพ่อเงิน มีหลายกระแสซึ่งล้วนไม่ตรงกัน แต่พอสรุปได้ว่า ท่านเกิดระหว่าง พ.ศ.๒๓๕๐-๒๓๖๐
    ต่อมาเมื่อ พ.ศ.๒๓๕๖ นายช่วงซึ่งเป็นลุง ได้พาท่านไปอยู่กรุงเทพฯ จนมีอายุ ๑๒ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดตองปุ (วัดชนะสงคราม) พออายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดชนะสงคราม ได้รับฉายาว่า "พุทธโชติ" จากนั้นได้จำพรรษาที่วัดนี้ เพื่อปฏิบัติธรรมวินัยเรียนทางวิปัสสนากรรมฐาน ประมาณ ๓ พรรษา
    ช่วงดังกล่าว มีบางกระแสกล่าวว่า ท่านได้ไปถวายตัวเป็นศิษย์ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) วัดระฆัง ธนบุรี เพื่อศึกษาศิลปวิทยาคม ตลอดจนเรียนวิปัสสนาธุระ ในทางเมตตามหานิยม และคงกระพันชาตรี
    ต่อมาประมาณ พ.ศ.๒๓๘๐ ท่านได้เดินทางกลับ จ.พิจิตร โดยจำพรรษาอยู่วัดคงคาราม จ.พิจิตร ๑ พรรษา แล้วย้ายไปอยู่วัดท้ายน้ำ เป็นเวลานานพอสมควร
    หลังจากนั้น ท่านได้ไปสร้างวัดวังตะโก (วัดหิรัญญาราม หรือวัดบางคลาน) โดยได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๒๓ (สมัยรัชกาลที่ ๕)
    วัดวังตะโก (วัดบางคลาน) มีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะชาวบ้านให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสหลวงพ่อเงินกันมาก มีผู้มาถวายตัวเป็นศิษย์ มาฟังธรรม ขอพร รดน้ำมนต์ ขอเครื่องรางของขลัง รวมทั้งขอให้หลวงพ่อช่วยรักษาโรคให้ก็มี เพราะท่านมีวิชาแพทย์แผนโบราณ

    ต่อมา ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระอุปัชฌาย์ และรับพระราชทานสมณศักดิ์ชั้นพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนา
    หนังสือหลายเล่ม ลงวันมรณภาพของหลวงพ่อเงินไว้ตรงกันว่า ท่านมรณภาพ เมื่อวันศุกร์เดือน ๑๐ แรม ๑๑ ค่ำ ปีมะแม ตรงกับวันที่ ๒๐ กันยายน ๒๔๖๒ รวมอายุได้ ๑๑๑ ปี พรรษา ๙๐
    แต่จากการตรวจสอบของ ม.ร.ว.อภิเดช อาภากร ในหนังสือหลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน (เล่มใหญ่ปกแข็ง-พ.ศ.๒๕๕๒) พบว่า พ.ศ.๒๔๖๒ เจ้าอาวาสวัดวังตะโก ชื่อ พระแจะ จึงได้สรุปว่า หลวงพ่อเงิน น่าจะมรณภาพในระหว่าง พ.ศ.๒๔๕๕-๒๔๖๐
    หลวงพ่อเงิน ได้สร้างพระเครื่องและวัตถุมงคลไว้พอสมควร ที่นิยมกันมากสุด คือ รูปหล่อโบราณเนื้อทองผสม พิมพ์นิยม และพิมพ์ขี้ตา (๓ ชาย ๔ ชาย ๕ ชาย) และเหรียญหล่อโบราณ เนื้อโลหะผสม พิมพ์จอบใหญ่ พิมพ์จอบเล็ก (แข็งตรง แข็งติด เท้ากระดก ตาขีด)
    นับเป็นพระรูปเหมือน ที่มีการแสวงหากันอย่างแพงมาก ในราคาองค์ละกว่า ๑ ล้านบาทขึ้นไป
    หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
    หลวงปู่บุญ ขนฺธโชติ (พระพุทธวิถีนายก) วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม เกิดเมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๓๙๑ (สมัย ร.๓) ณ บ้าน ต.ท่าไม้ อ.กระทุ่มแบน จ.สมุทรสาคร (สมัยนั้นอยู่ในเขตเมืองนครชัยศรี มณฑลนครชัยศรี) บิดาชื่อ เส็ง มารดาชื่อ ลิ้ม มีพี่น้อง ๖ คน โดยท่านเป็นคนหัวปี
    เมื่อวัยทารก ท่านมีอาการป่วยหนักจนถึงกับสลบ หมดสติ และไม่หายใจ บิดามารดาและญาติ คิดว่าท่านตายแล้ว จึงจัดแจงจะเอาท่านไปฝัง แต่ท่านได้กลับฟื้นขึ้นมา อย่างปาฏิหาริย์ และหายเป็นปกติ บิดามารดาจึงตั้งชื่อให้ท่านว่า "บุญ"
    เมื่อท่านอายุ ๑๓ ปี บิดาถึงแก่กรรม ป้าจึงนำท่านไปฝากให้ศึกษาเล่าเรียนอยู่กับ พระปลัดทอง วัดคงคาราม (วัดกลางบางแก้ว ในปัจจุบัน) พออายุได้ ๑๕ ปี พระปลัดทองได้บรรพชาให้เป็นสามเณร
    จนเมื่ออายุ ๒๒ ปี ท่านจึงได้อุปสมบท ณ วัดกลางบางแก้ว เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๑ มิถุนายน ๒๔๑๒ โดยมี พระปลัดปาน เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดทอง เจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว พระอธิการทรัพย์ เจ้าอาวาสวัดงิ้วราย พระครูปริมานุรักษ์ วัดสุประดิษฐาราม และ พระอธิการจับ เจ้าอาวาสวัดท่ามอญ ร่วมกันให้สรณคมน์กับศีล และสวดกรรมวาจา ได้รับฉายาทางสมณะว่า "ขนฺธโชติ" โดยจำพรรษา ณ วัดกลางบางแก้ว
    ท่านได้ศึกษาคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ รวมทั้งพุทธาคม กับพระปลัดทอง และพระปลัดปาน จนมีความรู้ความสามารถในทุกด้าน นับเป็นผู้มีบุญบารมีทางนี้โดยเฉพาะ
    พ.ศ. ๒๔๒๙ ท่านได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว แทนพระอาจารย์แจ้ง ซึ่งมรณภาพ ต่อมาได้รับการแต่งตั้งให้เป็นพระกรรมวาจาจารย์, เจ้าคณะหมวด, พระอุปัชฌาย์, เจ้าคณะแขวง, ประธานกรรมการคณะสงฆ์ จ.นครปฐม กับ จ.สุพรรณบุรี
    และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูอุตรการบดี ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพระครูสัญญาบัตรที่ พระครูพุทธวิถีนายก จนถึง พ.ศ. ๒๔๗๑ ทรงพระกรุณาโปรดให้เลื่อนขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนามที่ พระพุทธวิถีนายก ขณะมีอายุ ๘๑ ปี
    หลวงปู่บุญ มรณภาพ เมื่อวันที่ ๓๐ มีนาคม ๒๔๗๘ ด้วยโรคชรา สิริรวมอายุ ๘๙ ปี พรรษา ๖๗
    ตลอดเวลาที่อยู่ในสมณเพศ หลวงปู่บุญได้สร้างสรรค์พัฒนางานด้านพระศาสนาอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นด้านเสนาสนะ หรือการศึกษาของพระเณร การอบรมสั่งสอนชาวบ้านที่ให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใสในตัวท่านเป็นอย่างสูง
    ด้านวัตถุมงคล นับได้ว่า หลวงปู่บุญเป็นพระเถราจารย์ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพิธีกรรม และพุทธาคมเป็นพิเศษ ท่านได้สร้างและปลุกเสกพระเครื่องรางของขลังเอาไว้แทบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นพระบูชา พระเครื่องแบบต่างๆ ตะกรุด ลูกประคำ เบี้ยแก้ ฯลฯ
    ในทุกวันนี้ พระเครื่องรางของขลังของหลวงปู่บุญ ล้วนได้รับการแสวงหาจากนักสะสมพระเครื่อง และชาวบ้านทั่วไป จนมีสนนราคาแต่ละองค์อยู่ที่หลักหมื่นขึ้นไป จนถึงหลักแสนบาทก็มี
    อาทิ เหรียญเจ้าสัว เหรียญพระพุทธชินราช พระชุดเนื้อดินเผา พระชุดเนื้อว่าน พระชัยวัฒน์ เบี้ยแก้ ฯลฯ
    พระเครื่องรางของขลัง หลวงปู่บุญ ทุกรุ่นมีของปลอม ออกมานานแล้ว ผู้สนใจเช่าหา จึงควรศึกษาให้ถ่องแท้ และเช่าจากผู้ที่เชื่อถือได้เท่านั้น
    หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม
    หลวงปู่เพิ่ม ปุณณวสโน (พระพุทธวิถีนายก) วัดกลางบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ชื่อเดิม เพิ่ม พงษ์อัมพร เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๒๘ มกราคม ๒๔๒๙ ณ ต.ไทยวาส อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม บิดาชื่อ เกิด มารดาชื่อ วรรณ
    บรรพชา เป็นสามเณรเมื่ออายุ ๘ ปี สืบต่อมาจนถึงอายุครบบวช เมื่อวันที่ ๑๒ กรกฎาคม ๒๔๕๐ ณ วัดกลางบางแก้ว โดยมี สมเด็จพระสังฆราช (แพ) ครั้งยังดำรงสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระวันรัต วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการจอม เจ้าอาวาสวัดตุ๊กตา อ.นครชัยศรี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูทักษิณานุกิจ (ผัน) วัดสรรเพชญ์ อ.สามพราน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "ปุญญวสโน" หลังจากนั้นท่านศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัยอยู่ที่วัดกลางบางแก้ว ตลอดมา
    ต่อมา เมื่อวันที่ ๕ กุมภาพันธ์ ๒๔๘๑ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว วันที่ ๔ ธันวาคม ๒๔๘๒ ได้รับตราตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ ในเขต อ.นครชัยศรี วันที่ ๘ เมษายน ๒๔๘๓ ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าคณะอำเภอนครชัยศรี วันที่ ๑ มีนาคม ๒๔๘๙ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ พระครูพุทธวิถีนายก ต่อมาได้เลื่อนขึ้นเป็นพระครูชั้นเอก และได้รับพระราชทานสมณศักดิ์พระราชาคณะชั้นสามัญ ในราชทินนาม พระพุทธวิถีนายก อันเป็นสมณศักดิ์เดิมของ หลวงปู่บุญ อาจารย์ของท่านเอง เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๐๓
    หลวงปู่เพิ่ม มรณภาพ เมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๒๖ เวลา ๐๔.๕๐ น. สิริรวมอายุ ๙๗ ปี พรรษา ๗๖
    ตลอดเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว หลวงปู่เพิ่มได้พัมนาสร้างสรรค์ผลงานต่างๆ ไว้ในวัดกลางบางแก้วมาโดยตลอด ยังผลให้วัดกลางบางแก้วมีเสนาสนะที่ครบถ้วนสมบูรณ์ ในสภาพที่มั่นคงถาวรเป็นอย่างยิ่ง
    ทางด้านวัตถุมงคล หลวงปู่เพิ่ม เป็นพระเถราจารย์ผู้มีวิชาอาคมขลัง อันเป็นการสืบสานตำราพุทธาคมจากหลวงปู่บุญทั้งหมด และท่านได้มาใช้ในการปลุกเสกวัตถุมงคลรุ่นต่างๆ ที่มีการสร้างขึ้นอย่างหลากหลาย
    วัตถุมงคลที่ได้รับความศรัทธาสนใจจากวงการพระและชาวบ้านทั่วไป คือ เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๕๐๔ ออกเนื่องในโอกาสฉลองสมณศักดิ์ ซึ่งเช่าหากันที่หลักหมื่นปลาย และที่กำลังโด่งดังสุดในช่วงปีนี้ คือ เหรียญโภคทรัพย์ ปี ๒๕๑๓ ที่เรียกกันว่า เหรียญสตางค์ (เหรียญกลมเท่ากับเหรียญสลึง) เป็นเหรียญเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง สร้างจำนวน ๑,๐๐๐ เหรียญ เช่าหากันในเวลานี้ถึงเหรียญละ เพราะเป็นเหรียญที่มีชื่อเป็นมงคล คือ เหรียญสตางค์ หลวงปู่เพิ่ม = หรือเหรียญสตางค์เพิ่ม = เพิ่มสตางค์ โดยเชื่อกันว่า ใครมีเหรียญนี้เท่ากับมี สตางค์เพิ่ม หรือ เพิ่มสตางค์ นั่นเอง
    พ่อท่านคล้าย วัดสวนขัน จ.นครศรีธรรมราช
    พ่อท่านคล้าย วาจาสิทธิ์ (พระครูพิศิษฐ์อรรถการ) วัดสวนขัน อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช เดิมชื่อ คล้าย สีนิล เกิดเมื่อวันอังคารที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๑๗ ที่บ้านโคกทือ ต.ช้างกลาง อ.ฉวาง จ.นครศรีธรรมราช (ปัจจุบัน คือ อ.ช้างกลาง) บิดาชื่อ อินทร์ มารดาชื่อ เนี่ยว (เหนี่ยว)
    อายุ ๑๙ ปี บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อวันที่ ๓๐ มิถุนายน ๒๔๓๖ ที่วัดทุ่งปอน (วัดจันดี) โดยมี พระอธิการจัน เจ้าอาวาสวัดจันดี เป็นพระอุปัชฌาย์
    วันที่ ๑๐ กรกฎาคม ๒๔๓๙ สามเณรคล้าย อายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ อุทกุกเขปสีมา (ศาลาน้ำ) ที่วัดม่วง ต.ฉวาง อ.ฉวาง โดยมี พระครูกราย คงคสุวณฺโณ เจ้าอาวาสวัดหาดสูง เป็นพระอุปัชฌาย์ ได้รับฉายาว่า จนฺทสุวณฺโณ (อุทกุกเขปสีมา คือ เขตที่ทำพิธีสังฆกรรม ในกรณีที่วัดยังไม่มีโบสถ์ หรือเขตพัทธสีมา) จากนั้นท่านไปจำพรรษาอยู่ที่วัดจันดี
    พ.ศ.๒๔๔๑ ท่านได้เข้าศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกบาลี เรียนมูลกัจจายนะ ในสำนักพระครูกาแก้ว (ศรี) วัดหน้าพระบรมธาตุ อ.เมือง จ.นครศรีธรรมราช จนจบหลักสูตรมูล ต่อมาได้ศึกษาทางวิปัสสนากัมมัฎฐาน พระอาจารย์หนู ที่สำนักวัดสามพัน อ.พระแสง จ.สุราษฎร์ธานี
    พ.ศ.๒๔๔๕ กลับไปจำพรรษาที่วัดหาดสูง เพื่อศึกษาวิปัสสนาและไสยศาสตร์กับพระครูกราย พ.ศ.๒๔๔๗ ไปจำพรรษาที่วัดมะขามเฒ่า อ.ระโนด จ.สงขลา เพื่อศึกษาบาลีและอภิธรรมเพิ่มเติม ๑ ปี แล้วกลับมาอยู่วัดจันดี
    พ.ศ.๒๔๔๘ เป็นเจ้าอาวาสวัดสวนขัน ตลอดมา เป็นเวลานานถึง ๖๕ ปี จนถึงวันมรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๑๓ เวลา ๒๓.๐๕ น.สิริรวมอายุได้ ๙๖ ปี
    เมื่อบำเพ็ญกุศลครบ ๑๐๐ วัน ได้มีการบรรจุสรีระของท่านไว้ในหีบแก้ว ประดิษฐานอยู่ในองค์พระเจดีย์ ที่วัดพระธาตุน้อย (ที่ท่านเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๐) จนถึงทุกวันนี้ โดยสรีระของท่านไม่เน่าเปื่อยแต่ประการใด
    พ่อท่านคล้าย เป็นผู้นำในการสร้างวัด เจดีย์ พระพุทธรูป และร่วมกันในการบูรณปฏิสังขรณ์ ศาสนสถาน เป็นจำนวนมาก หลายแห่งหน แทบทุกจังหวัดภาคใต้

    ด้านความมีเมตตาและวาจาสิทธิ์ ชาวบ้านที่เคารพนับศรัทธาท่าน จึงเรียกขานท่านว่า "พ่อท่านคล้ายวาจาสิทธิ์" โดยเชื่อกันว่า คำพูดของท่านศักดิ์สิทธิ์ พูดจาเป็นอย่างไร ก็มักจะเป็นอย่างนั้นเสมอ
    โดยปกติ พ่อท่านคล้ายจะพูดจากับทุกคนด้วยใบหน้าที่ยิ้มแย้มแจ่มใส อารมณ์เยือกเย็นอยู่เป็นประจำ สร้างความประทับใจให้ทุกคนที่มีโอกาสได้กราบไหว้ และท่านมักจะให้พรว่า "ขอให้เป็นสุข เป็นสุข"
    วัตถุมงคลของพ่อท่านคล้าย ที่วงการพระนิยมเช่าหากันมาก คือ เหรียญรุ่นแรก พิมพ์นิยม ๒ ขอบ ปี ๒๔๙๘ (หลักแสนขึ้นไป) และรูปเหมือนใต้ฐานตอกโด้ดตัว "อุ" (หลักหมื่นปลาย) รวมทั้งเหรียญรุ่นอื่นๆ อีกมากมาย ซึ่งบางรุ่นยังไม่แพงมาก อยู่ที่หลักพันถึงหลักหมื่นต้นๆ ก็มีให้เลือกเช่าบูชา
    และที่ชาวบ้านหวงแหนกันมาก คือ ชานหมาก ที่ได้รับมาจากมือพ่อท่านโดยตรง
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร จ.สกลนคร
    พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร วัดป่าอุดมสมพร อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๔๔๒ ที่บ้านม่วงไข่ ต.พรรณนา อ.พรรณานิคม จ.สกลนคร เป็นบุตรของ เจ้าไชยกุมมาร (เม้า) ในตระกูล "สุวรรณรงค์" ซึ่งเป็นตระกูลเจ้าเมืองพรรณานิคม มาก่อน มารดาชื่อ นุ้ย บุตรของหลวงประชานุรักษ์
    บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดโพนทอง บ้านบะทอง พออายุครบ ๒๐ ปี ได้อุปสมบทที่วัดสิทธิบังคม บ้านไร่ อ.พรรณานิคม โดยมี พระครูป้อง เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาท่านได้พบกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต เกิดความศรัทธาเลื่อมใสในพระอาจารย์มั่นมาก จึงขอมอบตัวเป็นศิษย์ และได้ทำการญัตติเป็นพระธรรมยุต เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๔๖๘ ณ วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี โดยมี พระธรรมเจดีย์ (จูม พันธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
    พระอาจารย์ฝั้น เป็นพระนักปฏิบัติที่มีความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยมาก อีกทั้งเป็นพระนักพัฒนา ได้สร้างวัดไว้หลายแห่ง เพื่อการเผยแผ่พระศาสนา จนมีลูกศิษย์มากมายทั่วประเทศ
    พระอาจารย์ฝั้น มรณภาพ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม ๒๕๒๐ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ พระราชทานเพลิงศพ พระอาจารย์ฝั้น เป็นกรณีพิเศษ ณ เมรุลอย วัดป่าอุดมสมพร เมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม ๒๕๒๑
    พระอาจารย์ฝั้น นับเป็นพระบริสุทธิสงฆ์อีกท่านหนึ่งในสายพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ที่มีการสร้างเหรียญรูปเหมือนมากที่สุด คือกว่า ๑๐๐ รุ่น ทุกรุ่นเป็นการสร้างถวายโดยลูกศิษย์ และไม่มีการจำหน่าย ส่วนใหญ่เป็นเหรียญแจกฟรี แต่มีการแสวงหากันอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นเหรียญรุ่นใดก็ตาม
    สำหรับเหรียญแพงที่สุด คือ เหรียญรุ่นแรก ปี ๒๕๐๗ ซึ่งสร้างเพียง ๒๑๙ เหรียญเท่านั้น โดยคณะศิษย์ทหารอากาศ ปัจจุบันเหรียญสวยสมบูรณ์คมชัดเช่าหากันถึงเหรียญละ ๑ ล้านบาทขึ้นไป
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ วัดดอยแม่ปั๋ง จ.เชียงใหม่
    หลวงปู่แหวน สุจิณฺโณ เดิมชื่อ ญาณ (ยาน) รามศิริ เกิดเมื่อวันที่ ๑๖ มกราคม ๒๔๓๐ ณ บ้านนาโป่ง ต.หนองใน อ.เมือง จ.เลย บิดาชื่อ ใส (สาย) มารดาชื่อ แก้ว
    บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๙ ที่วัดโพธิ์ชัย โดยมี พระอาจารย์คำมา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อ้วน เป็นพระพี่เลี้ยง เมื่อบรรพชาแล้ว ได้เปลี่ยนชื่อเป็น แหวน ต่อมาได้ไปเรียนมูลกัจจายน์ที่วัดสร้างถ่อนอก อ.หัวสะพาน จ.อุบลราชธานี
    เมื่ออายุครบ ๒๑ ปี ได้อุปสมบท เป็นพระภิกษุฝ่ายมหานิกายที่วัดสร้างถ่ออนอก โดยมี พระอาจารย์แว่น เป็นพระอุปัชฌาย์ ต่อมาได้พบกับ พระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต ได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติธรรม ด้วยความประทับใจมาก จึงได้ญัตติใหม่เป็นพระธรรมยุต ตามแนวปฏิบัติของบรรดาศิษย์สายพระอาจารย์มั่น ณ วัดเจดีย์หลวง จ.เชียงใหม่ โดยมี พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (จันทร์ สิริจนฺโท) เป็นพระอุปัชฌาย์
    ตั้งแต่นั้นมา หลวงปู่แหวนได้จาริกแสวงหาวิเวกอยู่ทางภาคเหนือ และได้พบกับพระกัมมัฏฐานสายพระอาจารย์มั่น อีกหลายท่าน จนพระอาจารย์หนู ได้นิมนต์ให้ท่านมาอยู่ที่วัดดอยแมปั๋ง เมื่อ พ.ศ.๒๕๐๕ จนถึงวันมรณภาพ เมื่อวันอังคารที่ ๒ กรกฏาคม ๒๕๒๘ สิริรวมอายุได้ ๙๘ ปี
    หลวงปู่แหวน เป็นพระบริสุทธิสงฆ์ที่น่ากราบไหว้อย่างที่สุด ด้วยปฏิปทาอันน่าศรัทธาเลื่อมใสยิ่ง โดยเฉพาะบารมีด้านเมตตาเป็นทื่ประทับใจของทุกคนที่ได้พบเห็น
    ในด้านวัตถุมงคล ตัวท่านไม่เองไม่เคยสร้างขึ้นมาก่อน พระเครื่องทุกรุ่น ล้วนเป็นการสร้างโดยลูกศิษย์, ผู้ศรัทธาเลื่อมใส และนักสร้างในวงการธุรกิจพระเครื่องทั้งสิ้น พระเครื่องที่หลวงปู่แหวนอธิษฐานจิตให้จึงมากกว่า ๑๐๐ รุ่น บางรุ่นเป็นที่นิยมในบรรดาผู้ศรัทธาเลื่อมใส และนักสะสมพระเครื่อง อย่างเช่น เหรียญกลม ปี ๒๕๑๔ สร้างโดย ศิษย์ทหารอากาศ ค่านิยมเช่าหาอยู่ที่หลักหมื่นต้น
    แม้ว่าเหรียญหลวงปู่แหวน จะมีมากรุ่น และราคาเช่าหาไม่แพงนัก แต่จากประสบการณ์ที่พบเห็น ล้วนได้รับการยืนยันตรงกันว่า เหรียญหลวงปู่แหวนไม่ว่าจะเป็นรุ่นไหน เรื่องเมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด ปลอดภัย ยอดเยี่ยมเป็นเลิศมาโดยตลอด
    หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี ท่าพระ ธนบุรี
    หลวงปู่โต๊ะ อินทสุวณณเถร (พระราชสังวราภิมณฑ์) วัดประดู่ฉิมพลี ท่าพระ ธนบุรี เดิมชื่อ โต๊ะ รัตนคอน เกิดเมื่อวันอาทิตย์ที่ ๒๗ มีนาคม ๒๔๒๙ ณ บ้านคลองบางน้อย ต.บางพรหม อ.บางคนที จ.สมุทรสงคราม บิดาชื่อ พลอย มารดาชื่อ ทับ
    เมื่อวัยเด็ก ได้เล่าเรียนวิชาหนังสือไทยที่วัดเกาะแก้ว ใกล้บ้าน ต่อมามารดาถึงแก่กรรม พระภิกษุแก้ว ผู้เป็นญาติ บวชอยู่ที่วัดโพธิ์ ท่าเตียน กทม. ได้พาท่านไปฝากอยู่กับ พระอธิการสุข วัดประดู่ฉิมพลี ขณะอายุได้ ๑๓ ปี
    ต่อมาเมื่อมีอายุ ๑๗ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณร โดยมี พระอธิการสุข เป็นพระอุปัชฌาย์ ท่านได้ศึกษาพระธรรมวินัย ในสำนักวัดประดู่ฉิมพลี พร้อมกับเรียนกรรมฐานกับ พระอาจารย์พรหม จนกระทั่งอายุครบ ๒๐ ปี จึงได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ ณ วัดประดู่ฉิมพลี เมื่อวันอังคารที่ ๑๖ กรกฎาคม ๒๔๕๐ โดยมี พระครูสมณธรรมสมาทาน (แสง) วัดปากน้ำ (ภาษีเจริญ) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูอักขรานุสิต (ผ่อง) วัดนวลนรดิศ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูธรรมวิรัต (เชย) วัดกำแพง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า “อินทสุวณโณ”
    จากนั้นท่านได้เล่าเรียนปฏิบัติ ทั้งทางคันถธุระ และวิปัสสนาธุระ จนสอบนักธรรมชั้นตรีได้เมื่อพ.ศ. ๒๔๕๕ และปีนั้น เจ้าอาวาสวัดประดู่ฉิมพลีว่างลง คณะสงฆ์จึงแต่งตั้งให้ท่านเป็นเจ้าอาวาสแทน จนได้รับตำแหน่งต่างๆ ทางคณะสงฆ์ และสมณศักดิ์สูงขึ้นตามลำดับ จนถึง พ.ศ.๒๕๒๑ ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชสังวราภิมณฑ์
    หลวงปู่โต๊ะ ท่านได้อยู่กับวัดประดู่ฉิมพลี มาตั้งแต่เด็ก บรรพชาอุปสมบทที่วัดนี้ และได้เป็นเจ้าอาวาส จนวันมรณภาพ รวมช่วงเวลานานถึง ๖๙ ปี ท่านจึงมีความผูกพันกับวัดประดู่ฉิมพลี อย่างแน่นแฟ้นมาตลอดชีวิต จึงเป็นกำลังสำคัญในธุระดูแลบูรณปฏิสังขรณ์ และทำความเจริญต่างๆ ให้แก่วัดประดู่ฉิมพลีมาโดยตลอดเอง จนทำให้วัดนี้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกๆ ด้าน
    หลวงปู่โต๊ะ มรณภาพ เมื่อวันที่ ๕ มีนาคม ๒๕๒๔ สิริรวมอายุ ๙๔ ปี พรรษา ๗๔ พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันเสารที่ ๑๙ ธันวาคม ๒๕๒๔
    ด้านวัตถุมงคล หลวงปู่โต๊ะ มีแทบทุกประเภท ที่เช่าหากันมาก คือ พระผงรุ่นแช่น้ำมนต์ ยุคแรก ๑๓ พิมพ์ ที่ท่านได้ตั้งใจสร้างขึ้นเอง นอกจากนี้ยังมีพระปิดตา รุ่นต่างๆ ที่ทางวัดสร้างขึ้นโดยตรง และบางรุ่นมีลูกศิษย์สร้างถวาย ที่โด่งดังมาก คือ พระปิดตารุ่นจัมโบ้ ๑ พระปิดตารุ่นปลดหนี้ ฯลฯ
    และที่นิยมกันมาก เช่นกัน คือ เหรียญรุ่นแรก และรุ่นอื่นๆ ที่ทางวัดจัดสร้างขึ้นเอง หลายรุ่นมีราคาเช่าหาเป็นหมื่นขึ้นไป
    ในขณะที่มีบางรุ่นราคาอยู่ที่หลักพัน ผู้ศรัทธาเลื่อมใสจึงสามารถเช่าบูชาได้ตามกำลังทรัพย์
    หลวงปู่ทิม อิสริโก วัดละหารไร่ จ.ระยอง
    หลวงปู่ทิม อิสริโก (พระครูภาวนาภิรัติ) เดิมชื่อ ทิม งามศรี บิดาชื่อ แจ้ มารดาชื่อ อินทร์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ ๑๖ มิถุนายน ๒๔๒๒ ที่บ้านหัวทุ่งตาบุตร หมู่ ๒ ต.ละหาร อ.บ้านค่าย จ.ระยอง
    เมื่ออายุ ๑๗ ปี บิดานำไปฝากไว้กับ หลวงพ่อสิงห์ วัดละหารใหญ่ เพื่อเล่าเรียนหนังสือทั้งไทยและอักษรขอม ต่อมาอายุ ๑๙ ปี ถูกคัดเลือกเข้าเป็นทหาร อยู่ ๔ ปี
    อุปสมบท เมื่อวันที่ ๗ มิถุนายน ๒๔๔๙ ที่วัดทับมา โดย พระครูขาว เจ้าคณะแขวงเมืองระยอง เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงพ่อสิงห์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ เจ้าอธิการเกตุ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาว่า "อิสริโก"
    ท่านได้ศึกษาเล่าเรียนทางปฏิบัติธรรมสมถะกัมมัฏฐาน จากหลวงพ่อสิงห์ และศึกษาวิชาต่างๆ จากตำราคู่วัดละหารใหญ่ ของหลวงปู่สังข์เฒ่า
    จนมีความรู้แตกฉาน ได้ออกจาริกปฏิบัติธุดงค์กับหลวงพ่อยอด ไปตามจังหวัดต่างๆ เพื่อเจริญสมณธรรม ออกหาความวิเวกสันโดษ ตามอัธยาศัยเป็นเวลา ๓ ปี
    ครั้นเมื่อใกล้เข้าพรรษา ท่านจึงได้กลับมาถึง จ.ชลบุรี จำพรรษาที่วัดนามะตูม ๒ พรรษา ช่วงนั้นได้เที่ยวร่ำเรียนศึกษาวิชาต่างๆ เป็นการเพิ่มเติมกับพระเกจิอาจารย์หลายรูป รวมทั้งพระสงฆ์ และฆราวาสที่เก่งกล้าอีกลายคน
    จากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดละหารไร่ และได้รับนิมนต์จากชาวบ้านให้ท่านขึ้นเป็นเจ้าอาวาส เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๐
    ตลอดเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดละหารไร่ ท่านได้ก่อสร้างเสนาสนะและบูรณซ่อมแซมกุฏิ และถาวรวัตถุอีกหลายอย่าง
    หลวงปู่ทิม ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ครั้งสุดท้ายที่ พระครูภาวนาภิรัติ และได้มรณภาพด้วยโรคชรา เมื่อเวลา ๒๓.๐๐ น. วันที่ ๑๖ ตุลาคม ๒๕๑๘ สิริรวมอายุ ๙๖ ปี พรรษา ๗๒
    วัตถุมงคล ที่สร้างชื่อเสียง พระขุนแผน เนื้อผงพรายกุมาร พระกริ่งชินบัญชร เหรียญรูปเหมือน รุ่นต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่วงการพระเช่าหากันที่หลักหมื่นหลักแสนขึ้นไป
    พระอาจารย์ทิม ธมฺมธโร (พระครูวิสัยโสภณ) วัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี
    พระอาจารย์ทิม ธมฺมธโร (พระครูวิสัยโสภณ) เจ้าอาวาสวัดช้างให้ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี ผู้สร้าง พระหลวงพ่อทวด เหยียบน้ำทะเลจืด จนโด่งดังไปทั่วเมืองไทย รวมทั้งบางประเทศเพื่อนบ้าน
    เดิมชื่อ ทิม พรหมประดู่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๑ สิงหาคม ๒๔๕๕ ณ บ้านนาประดู่ ต.นาประดู่ อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี บิดาชื่อ อินทอง มารดาชื่อ นุ่ม มีพี่น้องรวม ๖ คน
    เมื่ออายุได้ ๙ ขวบ บิดามารดาได้ฝากให้เรียนหนังสืออยู่กับ พระครูภัทรกรณ์โกวิท (พระอาจารย์แดง ธมฺมโชโต) เจ้าอาวาสวัดนาประดู่ ต่อมาเมื่ออายุได้ ๑๘ ปี ได้บรรพชาเป็นสามเณรอยู่ได้ระยะหนึ่ง ก็ได้สึกออกมาช่วยพ่อแม่ทำนา จนอายุครบ ๒๐ ปี จึงอุปสมบทเป็นพระภิกษุ ที่วัดนาประดู่ โดยมี พระครูพิบูลย์สมณวัตร เจ้าคณะใหญ่เมืองหนองจิก วัดมุจลินทวาปีวิหาร (วัดตุยง) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอธิการพุฒ ติสฺสโร เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการแก้ว เป็นพระอนุสาวนาจารย์
    จากนั้นท่านได้จำพรรษาที่วัดนาประดู่ ๒ พรรษา แล้วจึงย้ายไปอยู่ที่วัดตุยง อ.หนองจิก จ.ปัตตานี เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม ต่อมาได้ย้ายกลับมาเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมที่วัดนาประดู่

    พ.ศ.๒๔๘๔ เป็นเจ้าอาวาสที่วัดราษฎร์บูรณะ (วัดช้างให้) ซึ่งสมัยนั้นวัดยังอยู่ในสภาพที่ถูกทอดทิ้งรกร้าง ทรุดโทรมมาก ท่านจึงได้เริ่มบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ทั้งหมด
    ต่อมาท่านได้สร้างโบสถ์ โดยได้จัดสร้างพระเครื่องหลวงพ่อทวด เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๗ เพื่อให้ชาวบ้านทำบุญนำเงินสมทบทุนสร้างโบสถ์
    พระอาจารย์ทิม เริ่มอาพาธด้วยโรคมะเร็งที่หลอดอาหารมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๑๐ และมรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ พฤศจิกายน ๒๕๑๒ สิริรวมอายุ ๕๗ ปี พรรษา ๓๗ พระราชทานเพลิงศพ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๑๘
    ตลอดเวลาที่เป็นเจ้าอาวาสวัดช้างให้ พระอาจารย์ทิมได้สร้างเสนาสนะและถาวรวัตถุไว้ในวัดมากมาย จนวัดช้างให้มีความเจริญรุ่งเรืองในทุกด้าน ดังที่เห็นในทุกวันนี้
    และมรดกอันสำคัญยิ่งที่พระอาจารย์ทิมได้สร้างไว้ จนมีคุณค่าอย่างสูงในทุกวันนี้ คือ พระหลวงพ่อเนื้อว่าน รุ่นปี ๒๔๙๗ และรุ่นอื่นๆ ที่สร้างติดต่อกันมาอีกมากมาย หลายรุ่นที่เช่าหากันถึงหลักแสนปลายๆ ขณะที่บางรุ่นราคาเช่าหาอยู่ที่หลักพันกลางๆ ไปจนถึงหลักหมื่นหลักแสนต้นๆ...โดยแต่ละรุ่นมีแนวโน้มว่า จะแพงขึ้นไปเรื่อยๆ ตามความต้องการของผู้ศรัทธาเลื่อมใส
    พระแต่ละรุ่นที่ พระอาจารย์ทิมสร้างขึ้น ท่านจะไม่นิยมสร้างรูปท่านเอง แต่จะสร้างเป็นรูปหลวงพ่อทวด และหากเป็นเหรียญ ถึงจะให้เป็นรูปท่าน โดยเอาไว้ด้านหลังของเหรียญเสมอ
    "แล่ม จันท์พิศาโล
     
  2. โสภา จาเรือน

    โสภา จาเรือน เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    2,013
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +3,332
    อนุโมทนาสาธุบุญ

    เวลาเป็นสิ่งเดียวในโลกที่ทุกคนได้รับเสมอกัน


    ไม่มีใครได้เปรียบ หรือเสียเปรียบกันเลย

    แม้แต่คนเดียว แต่ใครเล่าจะใช้เวลาในแต่ละวินาที

    อย่างมีค่า และคุ้มค่ากว่ากัน...นี่แหล่ะเป็นเรื่องน่าคิด
    (หลวงพ่อจรัญ วัดอัมพวัน)<!-- google_ad_section_end -->
     

แชร์หน้านี้

Loading...