การบรรเทา "ไฟริษยา"

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย center-in-center, 4 กันยายน 2009.

  1. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,717
    ความอิจฉาและริษยา มักมาควบคู่กัน ความหมายของสองคำนี้ ล้วนตรงข้ามกับพรหมวิหารสี่ หรือเรียกอีกอย่างว่าเป็นธรรมที่เป็นข้าศึกต่อกัน
    เท่าที่ป๋มมีประสบการณ์อันน้อยนิด พบว่า
    1. ขณะก่อนเกิดความอิจฉาริษยา ขณะก่อนเกิดนี้หากไม่มีสติรู้ตัวทั่วพร้อมอยู่ตลอดเวลาก็จะไม่ทราบเลยว่า กำลังมีข้าศึกเข้ามาประชิดประตูเมือง
    เปรียบเสมือน ทหาร (สติ) ที่หลับไหลจนไม่ทราบว่ามีข้าศึกเข้าประชิด แม้พระราชา (จิต) ที่อยู่ในท้องพระโรง ก็ไม่ทราบว่าที่ประตูเมืองเกิดอะไรขึ้น
    2. ขณะเกิดความอิจฉาริษยา ก็เปรียบเสมือน ข้าศึกได้เข้ามาโจมตี ถึงในท้องพระโรง เข้ายึดบัลลังค์ของพระราชาได้สำเร็จ ในตอนนี้จิตจะเป็นอกุศลจิต หรือ เป็นเจกสิกฝ่ายอกุศล ถ้าทหารยังคงหลับไหล ข้าศึกจะยึดครองบัลลังค์สืบต่อไป
    3. ขณะที่ความอิจฉาริษยาตั้งอยู่ ย่อมทำลายปราสาทท้องพระโรงเรื่อยไป ความไม่สงบย่อมเกิดแก่ใจ ความขุ่นมัวย่อมเกิดแก่ใจ
    4. เมื่อความอิจฉาริษยาดับ เมื่อข้าศึกทำลายเมืองสมใจแล้ว ถึงกาลที่ต้องสละบัลลังค์ไป ตามกฎไตรลักษณ์ ย่อมทิ้งซากปรักหักพังและร่องรอยการทำลาย (สัญญา) ใว้ให้พระราชาดูต่างหน้า
    5. ขณะที่ความอิจฉาริษยาจะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ก็เพราะด้วยเหตุ สองประการหลักๆ คือ 1.ข้าศึกมาอีกครั้ง 2.ข้าศึกไม่มา แต่พระราชาย้อนคิดถึงความเจ็บช้ำที่ถูกกระทำไว้ (สัญญา) ในตอนนี้ถ้าทหาร (สติ)ไม่ตื่นเสียที พระราชาย่อมคิดเลยเถิดไปจยถึงอุปทาน (ปฏิจจสมุปบาท) ย่อมเป็นผู้ไปเปิดประตูเมืองเชื้อเชิญข้าศึกเสียเอง

    มีต่อ...เรื่องการดับและบรรเทาอิจฉาริษยา พร้อมเหตุการณ์จริงที่จะมาเล่าให้ฟัง ........นะงับ
    fly_pig ขอเชิญโพสความคิดเห็นของท่าน ต่อกระทู้ป๋มได้นะงับ
     
  2. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,717
    การบรรเทา หรือ การระงับ หรือ การดับ ก็ขึ้นกับ พละ อินทรีย์ เป็นสำคัญ (นั่นหมายถึงท่านควรมีทาน ศีล ภาวนา เป็นบาทฐานอยู่บ้าง นะงับ)
    1. ในกระบวนการที่หนึ่ง คือ มี สติ รู้ตัวว่า มีอารมณ์เข้ามากระทบ เปรียบเสมือน ทหารที่รู้ว่าข้าศึกเข้าประชิด ประตูเมืองแล้ว กระบวนการรู้นี้ยากสักหน่อย ต้องมีสติแข็งแรงมากๆ หรือ มหาสติ มั้งงับ
    2. กระบวนการที่สอง คือ จิตรับรู้อารมณ์ที่มากระทบ แต่กระทบแล้วก็ดับไป ไม่สืบเนื่องอะไรต่อ เปรียบเสมือน พระราชาที่รู้ว่ามีข้าศึกประชิดเมือง แต่ก็ยังคงให้ทหารเฝ้าประตูเมืองไว้อย่างแข็งขัน ไม่ต่อตีสู้รบ หรือ เปิดประตูเชื้อเชิญ ข้าศึกแต่อย่างใด ข้าศึกนั้นอยู่ได้ไม่นานก็ต้องกลับไป
    3. กระบวนการที่สาม เมื่อจิตมิได้ติดใจสิ่งใดๆ ที่ข้าศึกมากระทบ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องหวนคิดเรื่องใด ให้เกิดสิ่งสืบเนื่องต่อไปอีก

    ....เอาล่ะงับ ทีนี้ในความเป็นจริงของปุถุชน มันไม่ง่ายอย่างนั้นช่ายไม๊งับ...
    ....เดี่ยวป๋มมาเล่าเหตุการณ์จริงต่อนะงับ....
     
  3. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,717
    การบรรเทา หรือ การระงับ หรือ การดับ ก็ขึ้นกับ พละ อินทรีย์ เป็นสำคัญ (นั่นหมายถึงท่านควรมีทาน ศีล ภาวนา เป็นบาทฐานอยู่บ้าง นะงับ)
    1. ในกระบวนการที่หนึ่ง คือ มี สติ รู้ตัวว่า มีอารมณ์เข้ามากระทบ เปรียบเสมือน ทหารที่รู้ว่าข้าศึกเข้าประชิด ประตูเมืองแล้ว กระบวนการรู้นี้ยากสักหน่อย ต้องมีสติแข็งแรงมากๆ หรือ มหาสติ มั้งงับ
    2. กระบวนการที่สอง คือ จิตรับรู้อารมณ์ที่มากระทบ แต่กระทบแล้วก็ดับไป ไม่สืบเนื่องอะไรต่อ เปรียบเสมือน พระราชาที่รู้ว่ามีข้าศึกประชิดเมือง แต่ก็ยังคงให้ทหารเฝ้าประตูเมืองไว้อย่างแข็งขัน ไม่ต่อตีสู้รบ หรือ เปิดประตูเชื้อเชิญ ข้าศึกแต่อย่างใด ข้าศึกนั้นอยู่ได้ไม่นานก็ต้องกลับไป
    3. กระบวนการที่สาม เมื่อจิตมิได้ติดใจสิ่งใดๆ ที่ข้าศึกมากระทบ ก็ไม่มีความจำเป็นต้องหวนคิดเรื่องใด ให้เกิดสิ่งสืบเนื่องต่อไปอีก

    ....เอาล่ะงับ ทีนี้ในความเป็นจริงของปุถุชน มันไม่ง่ายอย่างนั้นช่ายไม๊งับ...
    ....เดี่ยวป๋มมาเล่าเหตุการณ์จริงต่อนะงับ....
     
  4. วิษณุ12

    วิษณุ12 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    5,337
    ค่าพลัง:
    +6,846
    <TABLE class=tborder cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%" border=0><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 7 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 5 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>วิษณุ12*, center-in-center </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  5. center-in-center

    center-in-center เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 มกราคม 2009
    โพสต์:
    458
    ค่าพลัง:
    +1,717
    แต่น...แต๊น...ขอเล่าเหตุการณ์จริง โดยของสงวนชื่อตัวละคร เวลา สถานที่นะงับ

    เรื่องนี้มีตัวละคร สามตัว คือ 1.ป๋มเอง (ชื่อ ป.) 2.บุคคลที่สอง (ชื่อ สอง.) 3.บุคคลที่สาม (ชื่อ สาม) .....อิอิ ....เหมือน.กรอซซิ๊ป..ดาราเลย
    เรื่องมีอยู่ว่า
    คุณ ป. มีความเก่งกาจในการทำงานด้านหนึ่ง (ด้าน A ) ส่วนคุณสองเป็นเพื่อนคุณ ป. มีความเก่งกาจในการทำงานอีกด้านหนึ่ง (ด้าน B) ส่วนคุณสาม เป็นผู้มาใช้บริการ โดยความต้องการของคุณสาม เป็นความต้องการผู้ที่สามารถทำงานด้าน A
    บังเอิญว่า คุณสาม มาติดต่องาน เจอคุณสอง เสียก่อน คุณสองจึงรับงานด้าน A ไว้
    และ ปรากฎว่า คุณสองสามารถทำงานด้าน A ได้สำเร็จ เป็นที่น่าพอใจของ คุณสาม เป็นอย่างมาก
    คุณสามจึง กล่าวชมเชยคุณ สอง มากมายต่อหน้า ผู้คนมากมาย
    คุณ ป. เลยกรี๊ดในใจ ด้วยคิดว่า ผลงานเช่นนั้น หากเราเป็นคนทำย่อมดีกว่าที่ คุณสองทำแน่นอน คุณ ป.มิอาจทนคำชมของคุณสาม ที่มีต่อคุณสอง ได้ ได้แต่กรี๊ดๆ ในใจอยู่เช่นนั้น (เหมือน หนังไทยเลย...อิอิ)
    ความอิจฉาริษยานี้ เสมือนแค้นฝังหุ่น เกิดขึ้นแล้วดับ ครั้นพอเจอหน้าคุณสองอีก ก็หวนคิดถึงให้กรี๊ดๆ อีกครั้ง

    ฉันใดฉันนั้น......เปรียบเสมือนเรื่องพระราชาที่กล่าวไว้ข้างต้น...ป๋มจึงได้ทบทวนเสียใหม่..พบว่า มูลเหตุที่เป็น เชื้อก่อไฟริษยา นั่นเพราะอะไร....ก็เพราะ
    1)การมีความยึดมั้นถือมั่นในความมีตัวมีตนของเรา ว่าเรานี้แน่ เรานี้เก่งในด้านนี้ ....ไฉนเลยจะมีใครมากเก่งเช่นเราได้
    2) งานนั้นๆ ย่อมเป็นของเราแต่ผู้เดียว ผุ้อื่นย่อมทำได้ไม่ได้ เขาย่อมไม่มีความสามารถเช่นนั้น
    3) คำชมใดๆ ที่เกี่ยวกับงาน A ย่อมเกิดแก่เรา ไม่ควรเกิดแก่ใคร
    จะเห็นว่า...มีแต่คำว่า..เราอยู่เต็มไปหมด...ดังนั้นกิเลส ย่อมครองใจได้ง่ายดาย

    สำหรับหนทางแก้ไข...
    1. ที่สุดแห่งการแก้ไขก็คือดับเหตุ เหตุก็คือ "เรา" ที่มีคำว่า "เรา" ก็เพราะความไม่รู้นั่นเอง
    2. ถ้ายังทำแบบข้อที่ 1 ไม่ได้ ต้องเข้าใจทุกข์เสียให้ท่องแท้ เพื่อจะได้หวาดกลัวทุกข์ แม้เรายังตัดคำว่า "เรา" ออกไปมิได้ แต่ที่เราทุกข์ ก็เพราะ "เรา" ดังนั้น เราจึงควรระงับเสีย หรือ ละเสีย ซึ่ง "เรา" เป็นการชั่วคราว แล้วจะระงับอย่างไร....ป๋มก็เลือกระงับด้วย....2.1) สมถะ (ฌาน) ที่หลีกเร้นทำความสงบภายใน ไม่อยากยุ่งเกี่ยวกับสิ่งกระทบภายนอกชั่วคราว 2.2) วิปัสสนา เมื่อทุกข์เพราะ "เรา" ตัวทุกข์นี้ มันก็มิได้ตั้งอยู่นานเสมอไป มันจะทุกข์ใหม่อีกครั้ง ก็เมื่อมีเราขึ้นมาอีกครั้ง ดังนั้น แม้ทั้งทุกข์หรือ"เรา" ก็ไม่เที่ยง ไม่มีประโยชน์อันใดที่จะยึดถือลุ่มหลงมัน รังแต่จะทำให้จิตทรมาน
    3. หาธรรมที่เป็นปฏิปักษ์ต่อความอิจฉาริษยา คือ การเจริญพรหมวิหารสี่ .....
    แหม...น่ายินดีเหนอที่เรามีเพื่อนเก่งเช่นนี้..ในครั้งต่อๆไปเขาอาจจะเป็นกำลังสำคัญ ที่จะช่วยพัฒนาองค์กรของเรา...ช่างน่าชื่นชมเสียนี่กระไร....เรานี้ช่างโชคดีนัก..ที่มีเพื่อนเก่งเช่นนี้...(กรี๊ดๆๆ)..

    จบแล้วงับ....
     
  6. wvichakorn

    wvichakorn เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2008
    โพสต์:
    3,667
    ค่าพลัง:
    +9,239
    "ขณะที่ความอิจฉาริษยาจะเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ก็เพราะด้วยเหตุ สองประการหลักๆ คือ 1.ข้าศึกมาอีกครั้ง
    2.ข้าศึกไม่มา
    แต่พระราชาย้อนคิดถึงความเจ็บช้ำที่ถูกกระทำไว้ (สัญญา) ในตอนนี้ถ้าทหาร (สติ)ไม่ตื่นเสียที พระราชาย่อมคิดเลยเถิดไปจยถึงอุปทาน (ปฏิจจสมุปบาท) ย่อมเป็นผู้ไปเปิดประตูเมืองเชื้อเชิญข้าศึกเสียเอง"

    สัญญาเป็นตัวอันตราย


     
  7. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20
    ขาดมุทิตาจิตแท้ ๆ ....
     
  8. teelak

    teelak เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    290
    ค่าพลัง:
    +900

    -*-


    สาธุๆครับ โดนจายย
     

แชร์หน้านี้

Loading...