สมถะ และ วิปัสนา สภาวะที่ เราจะรู้ได้อย่างไร

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย Rupanama, 2 กันยายน 2009.

  1. 5th-Lotus

    5th-Lotus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2009
    โพสต์:
    354
    ค่าพลัง:
    +306


    นี่แหน่ะ พ่อหลานเขย
    ไอ้เจ้าสภาวะสมถะ กับ วิปัสนา เนี่ย
    รู้แล้วได้อะไร ไม่รู้แล้วได้อะไรล่ะจ๊ะ ?
    ใส่ใจทำไม ว่า ไอ้เจ้าตัวรู้ มันมีข้อเสียอะไร
    จะรู้ดี หรือ รู้ชั่ว เก๊าะ ตัวมัน ของมัน ช่าง ( แม่ง ) มัน 555
    ป้าไม่ได้ คิดจะตัดไม้ทำลายป่า เอ๊ย โค่น ต้นโพธิ์ นี่หว่า
    จะเอา พละกำลัง ไปแบก ขวาน
    เป็นพม่าไปรำขวาน ทำไมให้มันเมื่อย

    จะสมถะ หรือ วิปัดนา ก็ช่างหัวมันเหอะ
    สำคัญที่ว่า เอ็งได้ประโยชน์อะไรจากมันไหม มากกว่า ว่ะ
    สำหรับป้า ก็ได้มั่ง ไม่ได้มั่ง ตามประสา บัวเหล่าที่ 5 ล่ะวะ
    ขี้เกียจ ทะลุธรรม ก่อนวัยอันสมควรว่ะ เอิ๊กส์ ๆ

    ปล.
    นี่ ๆ ว่าง ๆ ก็มาให้ โมทนากะป้าด้วยนะยะ
    ไม่ซาบซึ้งอะไร กับ สำนวนป้า
    ก็โมทนาตามฟามสวยเก๊าะได้
    ( แล้วจะยก หลานชาย หั้ย งั่ก ๆ )


    rabbit_jump
     
  2. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    ม่วนหลาย!!

    rabbit_jump
     
  3. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25
    โพส ป้าขำๆ คลายเครียด ดีครับ

    อย่าไปรำขวานเลยครับ เดียวเป็นรามสูร

    ล่อแก้วดีกว่าจะได้สวยเหมือนเมฆขลา ครับ

    รู้อะไร ไม่สู้รู้วิชชาครับ
     
  4. วิมุตติ

    วิมุตติ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    2,355
    ค่าพลัง:
    +2,169
    ถามได้ดีครับ

    เรียบง่าย แต่สำคัญ

    เกือบจะตอบไปตั้งแต่วันแรกที่คุณ จขกท ถาม แต่เว็บนี้ลูกผีลูกคน errorเกิดบ่อย

    ขออนุโมทนาด้วยที่คุณเข้าใจแล้ว ปฏิบัติให้มากนะครับ...
     
  5. Rupanama

    Rupanama สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    24 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    202
    ค่าพลัง:
    +25

    สิ่งที่ผมคิดว่าน่าจะทราบก่อน คือ เวลาเราปฏิบัติวิปัสนา แต่ อารมณ์ดันเป็นสมถะซะนี่ เลยขอความรู้ครับ จะได้ทราบว่าอะไรเป็นอะไรครับ
    จับเอาแต่ล่ะโพส มาอ่าน แล้ว ย่อย ทำความเข้าใจ ตอนนี้รู้แล้วครับ เดียวไปลองสังเกตุดูถ้ามีข้อสงสัย เดียวมาโพสอีกครับ
     
  6. k.kwan

    k.kwan เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    22 พฤศจิกายน 2007
    โพสต์:
    15,900
    ค่าพลัง:
    +7,310
    [​IMG]

    ตามมาโมให้ป้า เกรียนได้ถูกใจ๊ถูกใจ อีน้องน้องหมื่นโม... เอิ๊ก...เอิ๊ก [​IMG]
     
  7. เปลือกไม้

    เปลือกไม้ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    29 กันยายน 2007
    โพสต์:
    6,719
    ค่าพลัง:
    +38,356
    catt2catt2catt2 พูดได้ดี เสียดายที่บางคนก็เข้าใจ บางคนก็ไม่เข้าใจ

    อย่างว่าเนาะ ปกติเรื่องของลมปากเนี่ย จะพูดให้คนฟังมีความสุขก็ได้ ทุกข์ก็ได้
    แถมประโยคเดียวกัน การปรุงแต่งแต่ละคนยังต่างกัน
    เฮ้อ ลมปากเราๆยังไม่เอาเลย(เพราะว่าเหม็นขี้ฟัน...หุ หุ หุ )
    จะไปเอาอะไรกับลมปากคนอื่น ... แล้วจะเกี่ยวอะไรกับกระทู้เขาน่ะ ...
    ขออนุญาตแจมให้ จขกท. หน่อยนึงว่า ถ้าเห็น(พิจารณา)แล้วเห็นว่ามันมีการเกิด แล้ว ดับ ก็เป็นวิปัสสนานั่นแหละ แต่ถ้าเห็น หรือ รู้ (ถ้าสมมุติภาวนาพุทโธ ก็รู้พุทโธนั่นแหละ) ก็เป็นสมถะ
    แต่ก็อย่าไปคิดมากเลย ดูไปเรื่อยๆ ปฏิบัติไปทั้งสองอย่างนั่นแหละ
    คิดมากสับสนกลุ้มใจเปล่าๆ ...มันก็สมมุติทั้งนั้น...
    คุยให้อ่านเล่นเฉยๆนะ ถ้าดีก็เอาไปใช้ ไม่ดีก็ทิ้งไว้ตรงนี้แหละ..
    บอกแล้วว่าแค่ลมปาก ...(แต่เอามือจิ้มเอา แหะๆๆ)
     
  8. นิวรณ์

    นิวรณ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กันยายน 2008
    โพสต์:
    9,051
    ค่าพลัง:
    +3,456
    <TABLE class=tborder border=0 cellSpacing=1 cellPadding=6 width="100%"><TBODY><TR><TD class=thead>ขณะนี้มีคนกำลังดูกระทู้นี้อยู่ : 2 คน ( เป็นสมาชิก 2 คน และ บุคคลทั่วไป 0 คน ) </TD><TD class=thead width="14%"><CENTER">[ แนะนำเรื่องเด่น ] </TD></TR><TR><TD class=alt1 width="100%" colSpan=2>นิวรณ์*, Tboon </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  9. Tboon

    Tboon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 ตุลาคม 2008
    โพสต์:
    2,094
    ค่าพลัง:
    +3,424
    จะว่าไปแล้ว มันก็ไปตามลำดับของมันอยู่นะ สมถะ ---> วิปัสสนา ยังไม่ได้สมถะก็วิปัสสนาไม่เป็น เพราะว่ามันยังแกว่งเกินไป ยิ่งยังไม่เข้าใจเรื่องความหลงคิดด้วยแล้ว เวลาคิดอะไรมันก็จะกลายเป็นหลงคิดไปเสียหมด ขออนุญาตนำสำนวนของพระท่านมาปรับใช้ในกรณีนี้ว่า เหมือนกับ ลิงติดตัง คือคิดทีไรหลงตามมีอารมณ์ตามความคิดทุกทีไป คิดเมื่อไหร่ก็อินเมื่อนั้น หาที่เกิดของจิตไม่เจอ อินทีไรก็คิดทุกทีเหมือนกัน มันหาความเป็นกลางไม่เจอเลย แล้วอย่างนี้จะเจริญวิปัสสนาได้อย่างไร เพราะวิปัสสนาเขาให้พิจารณาตามความเป็นจริง ตามความเป็นจริงคือห้ามลำเอียงเอาสัญญาที่จดจำมาใช้ ให้เอาปัญญาธรรมที่เกิดเฉพาะหน้าจริง ๆ และต้องไม่อินกับปัญญาธรรมนั้นด้วย เพราะถ้าอินเมื่อไหร่ก็คือเอียงเมื่อนั้น จิตก็จะไม่ปกติ ขาดความเป็นกลาง นั่นเราจึงต้องรู้จักเรื่องการหลงคิด หลงอินเสียก่อน ต้องเข้าถึงตรงนี้ให้ได้

    การจะเจริญวิปัสสนาจริง ๆ ได้นั้น จิตต้องตั้งมั่นถึงฐานเดิมเสียก่อน ที่พระท่านเรียกว่าใจ หรือจิตเดิมแท้ หรือฐีติจิตนั้น บางคนก็ว่าต้องเข้าให้ถึงฌาน ๔ อันนี้ผมไม่ได้มองอย่างนั้น คนเข้าฌาน ๔ ได้ผมกลับพบว่าบางคนไม่เข้าใจเรื่องจิตเดิมแท้ หรือฐีติจิตก็มี ก็อาศัยแค่มันสงบนิ่งเป็นเอกัคคตาจิตเท่านั้น คลายออกมาจากฌาน ๔ แล้ว ที่สุดก็ยังเหมือนเดิม กลับได้อัตตาความเป็นผู้ทรงฌานเพิ่มเข้ามาอีก อันนี้ตัวชี้วัดตัดสินที่แท้จริงคือ การมีสติและปัญญาเข้าใจเรื่องความหลงที่ทำให้ขาดความเป็นกลางได้ ถามว่าจะรู้ได้ยังไงว่าเข้าถึงภาวะของสติปัญญาในระดับนั้นแล้ว ตอบยากนะถ้าไม่เห็นด้วยตัวเอง แต่จุดนี้มันจะชัดเจนมาก เรียกว่าจากหน้ามือเป็นหลังมือเลยทีเดียว เขาถึงเรียกว่า มันพลิก หรือมันหงาย

    คนที่ยังไม่เข้าใจคะเนเอาด้วยฐานข้อมูลในใจที่มียังไงก็ผิดหมด เพราะมันไม่ได้มาด้วยการคิดคาดคะเน มันเป็นเรื่องเหนือความคาดหมายมาก ๆ แม้ตัวผู้เข้าถึงเองก็ยังคาดไม่ถึง คิดไม่ถึง แล้วคนที่ยังเข้าไม่ถึงยิ่งไม่มีทางรู้ได้เลย แต่พวกที่เข้าถึงด้วยกันจะดูกันออก เหมือนมีภาษาเดียวกันแล้ว ไม่ว่าจะชาติไหนภาษาไหน ลองเข้าถึงตรงนี้แล้วจะดูกันออก เพราะภาษาพูดที่ใช้ มันจะสื่อออกมาจากภาษาใจ เรีียกว่าไม่มีเสแสร้ง ไม่ต้องอิงตำรับตำราให้มากความ เอาของที่ตัวเองเห็นมาพูดกันตรง ๆ เลย เขาจึงว่า พูดออกมาจากใจ ถ้าพูดตามตำรามันตีบตันได้ แต่พูดออกมาจากใจนี่เวลาไปพูดคุยกับใคร มันเหมือนทำให้เขามีทางออกได้ ฟังแล้วมันมีพลังใจ คลายได้ เพราะคนพูดมันได้เรียนรู้จุดบกพร่องตรงนั้นมาแล้ว รู้ทางออกแล้ว เขาพูดให้คนคลายได้ ยกเว้นคนที่มีทิฏฐิในตนมาก ๆ นะ อันนี้เขาจะไม่ฟัง เราก็ต้องปล่อยเขาไป มันก็เป็นธรรมดาเช่นนั้นเอง เราก็เคยเป็นอย่างเขา พอเราเข้าใจแล้วเราก็สบาย ๆ ผ่อนคลาย ไม่มีปัญหากะใคร ไม่ต้องไปกลัวเสียฟอร์ม ไม่มีฟอร์ม อันนี้มันเป็นของมันอย่างนี้

    ถ้าเราเข้าใจเรื่องความปกติ ความไม่ปกติ เข้าใจเรื่องความเป็นกลาง เข้าใจเรื่องจิตเกิด จิตไม่เกิด แยกจิตกับความคิดได้ หรือที่พระท่านว่า แยกใจจากอารมณ์ได้ หรือแยกรูปแยกนามได้ (แต่ไม่ใช่แยกจิตกับกายได้นะ แยกรูปแยกนามไม่ใช่แยกจิตออกจากกาย ถ้าใครยังเข้าใจว่าแยกรูปแยกนามคือ แยกจิตออกจากกายแสดงว่ายังไม่เข้าใจนะ มันคนละเรื่องกัน อันนั้นเป็นเรื่องของสมถะเขา) ถ้าเข้าใจเข้าถึงได้อย่างนี้แล้ว วิปัสสนามันไปของมันเิอง มันเริ่มของมันเอง ไม่ต้องไปนั่งคอยดูว่า จะวิปัสสนาตอนไหน มันจะรู้ของมันเอง ทีนี้จะหยิบสมถะมาใช้ก็ใช้ได้ไม่แปลก เพราะไม่ได้ติด ใช้เป็นวางเป็น ใช้เครื่องมือ เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่สุขก็ได้ พักจิตพักผ่อนได้หมด ภูมิปัญญาที่ได้ก็เป็นวิปัสสนาญาณไป ไม่ต้องไปนั่งคอยนับว่า ตอนนี้เราได้ถึงญานไหนแล้วหนอ ไม่ต้องไปคิด มันไปของมันเอง ถ้าไปคิดอันนั้นมันหลง นั่นมันอัตตา สักกายทิฏฐิ เขาไม่เอากันหรอก ถ้ายังว่าตัวเองเป็นโสดาบัน สกิทาคา อนาคาอยู่ อันนี้น่าคิด แต่เราก็รู้ว่ากิเลสของเรามีอะไรที่ยังค้างอยู่ยังต้องละ จะเทียบเคียงตามแบบก็ได้ แต่ท่านไม่ติด สภาวธรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นมีผู้รู้กับสิ่งที่ถูกรู้ ถามลงไปตรง ๆ ว่าใครเป็นผู้รู้ ย่อมไม่สามารถระบุว่าเราหรือกรูเป็นผู้รู้ได้ มีแต่สภาวะที่มันเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันไป เกิดขึ้นตั้งอยู่ดับไป เราฝึกสติ รู้ให้เท่าทัน อย่าไปหลงกับมันเท่านั้นเอง ถ้าหลงก็หาทางแก้ทางคลายไปตามลำดับ ให้ถามใจตัวเองดูซิว่า ใครเป็นผู้รู้ ถ้ายังมีกรูเป็นผู้รู้เต็มปากเต็มคำแสดงว่า ยังเต็มไปด้วยสักกายทิฏฐินะ

    สรุปว่า ถ้าเข้าถึงตัวจิตเดิมแท้ได้แล้ว รู้แล้วว่าอะไรคืออะไรจริง ๆ มันก็ทำได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา เขารู้ของเขาเอง แต่ถ้ายังเข้าไม่ถึง ยังไง ๆ ก็ได้แค่ความสงบใจ เป็นสมถะไปหน้าเดียว ก็ดีนะไม่ใช่ไม่ดี ก็ค่อย ๆ เรียนรู้สั่งสมปัญญา อบรมสมาธิไป ไม่เห็นจะเสียหายอะไร ทำไป ๆ วันหนึ่งความเข้าใจมันเต็ม มันก็เข้าถึงเองรู้เองเห็นเอง บางคนเขารู้เร็วเข้าถึงเร็วก็อย่าไปว่าเขาว่าไม่เห็นทำสมถะอะไรเลย จู่ ๆ มาทำวิปัสสนาแล้ว อันนี้เราอย่าเอาฐานข้อมูลในใจเราไปตัดสินเขา เราไม่มีทางรู้จริงหรอก ยกเว้นเราจะมีเจโตปริยญาณขึ้นไปนะ อย่าลืมว่าคนเรามันไม่ได้เกิดกันมาแค่ชาติเดียว เกิดมาไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติแล้ว ทำมาเท่าไหร่ก็ไม่รู้ เราอย่าลืมในข้อนี้ ไม่งั้นมันจะมีประเภทฏิบัติสบายบรรลุเร็ว ไปจนถึงปฏิบัติลำบากบรรลุช้ารึ ขนาดในสมัยพุทธกาลพระพุทธเจ้ายังทรงเทศน์อยู่แท้ ๆ ยังมีคนบรรลุมั่งไม่บรรลุมั่ง อันนี้ทำไม ก็ขอให้พิจารณากันดูให้ดี ๆ เขาจะเข้าถึงจริงหรือไม่มันก็เรื่องของเขา ถ้าเขาว่าเขาเข้าถึงก็ขอให้เขาเข้าถึงไป ก็ดีแล้วนี่ สาธุกะเขาด้วย เราก็รู้ของเรา ถ้าเข้าถึงจริงมันก็พูดภาษาเดียวกันเองแหละ เราเป็นแต่เพียงผู้แนะนำให้เขารู้จักการเปิดใจเรียนรู้สิ่งที่อยู่นอกกรอบความคิดเดิม ๆ ของตนเองก็พอแล้ว แลกเปลี่ยนมุมมองซึ่งกันและกันไป ต่างคนต่างได้รับประโยชน์ได้รับประสบการณ์ใหม่ ๆ ถือว่าเป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อันประเสริฐสุดแล้วล่ะ....


    สาธุด้วยคน...

    -Happy Smile_-Happy Smile_-Happy Smile_
     
  10. jinny95

    jinny95 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 ตุลาคม 2007
    โพสต์:
    6,074
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +9,666
    ถ้าตั้งมั่นไล่รูปนามมาถึงตรงนี้ได้ ก็เหมือนจันทร์ในคืนวันเพ็ญ จะสามารถเห็นการทำงานของขันธ์ทั้งห้าชัดเจน เป็นรอบรอบ ทุกข์เป็นเรื่องเรื่อง เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป เวียนวนตลอด

    ความเห็นเมื่อเห็นตามจริงไปอีก ก็จะเห็นได้ไปถึงเหตุแห่งทุกข์ ^-^
     
  11. Sriaraya5

    Sriaraya5 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    28 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    3,079
    ค่าพลัง:
    +12,852
    สมถะ ขาดปัญญาญาณ เอาแต่สงบนอกตัว
    พอธรรมะ ที่เป็นทั้งกุศล กับ อกุศล กระทบขันธ์
    จิตก็หวั่นไหว นี่เราจับสังเกตได้ง่ายนิดเดียว
    สมถะยังมีเวทนาในจิต แล่นไปในอุปาทานได้อย่างต่อเนื่อง

    ถึงแม้ได้คุณวิเศษอภิญญา ๕ แล้วก็เสื่อมเสียได้ เพราะขาดปัญญาญาณที่จะรู้เห็นในพระไตรลักษณะญาณ เป็นที่น่าเสียดายถ้าผู้คงแก่เรียนทั้งหลาย ไม่ยกจิตขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา ก็เหมือนกับคนภาวนาไม่เป็น ยังใช้ไม่ได้


    วิปัสสนา รู้กฏของความเสื่อม

    เมื่อกระทบ ธรรมารมณ์ จิตก็ไม่เสื่อมไม่ตก ได้ก็ไม่ดีใจ

    เสียไปก็ไม่ดีใจ อยู่กลาง ๆ กิเลสที่ละได้แล้วก็ไม่กลับมาเกิดได้อีก จึงเรียกว่าประหารกิเลสให้ตาย ผู้มีปัญญาเป็นของตนเองแล้ว จะไม่พึ่งสิ่งใดมากมาย มากกว่าตนเป็นที่พึ่งของตน

    บุคคลจะล่วงพ้นทุกข์ได้ก็เพราะความเพียร
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 5 กันยายน 2009
  12. นิยายธรรม

    นิยายธรรม สมาชิก

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 สิงหาคม 2009
    โพสต์:
    108
    ค่าพลัง:
    +20

    ตอบตามผมเข้าใจนะครับ
    สมถะกรรฐาน คืออุบายสงบใจ เป็นไปด้วยไม่สนใจใช้กำลังจิตข่มกิเลสเอาไว้ไม่ได้ประหารกิเลส พอปล่อยสมาธิก็เป็นคนเลวเหมือนเดิม
    วิปัสสนากรรมฐาน คือ อุบายเพื่อการยอมรับความจริง เป็นไปเพื่อละ เพื่อวางเพื่อประหารกิเลส แต่ สองอย่างนี้ต้องไปด้วยกันครับ ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ ไม่งั้นไปพ้นทุกข์ครับ
    ประหนึ่งดัง คนมีกำลังมาก(สมถะ)จะตัดต้นไม้(กิเลส) แต่ไม่มีขวาน(วิปัสสนา) ก็ไปไม่ได้
    หรือ มีขวานคมมาก แต่ไม่มีกำลังตัด ก็ไปไม่ได้อีก สองอย่างต้องเสมอกัน ไปด้วยกัน ครับ
     
  13. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    ครับท่าน พระสูตรในชั้นต้นๆนั้น
    ไม่มีคำว่าสมถะ(จิตสงบตั้งมั่น)และวิปัสสนา(ปัญญาที่เกิดจากการที่จิตสงบตั้งมั่น)ครับ

    มีแต่คำว่าสัมมาสมาธิ มีพระพุทธวจนะอธิบายไว้ดังนี้

    สัมมาสมาธิ เป็นไฉน
    ภิกษุในธรรมวินัยนี้ สงัดจากกาม สงัดจากอกุศลธรรม บรรลุปฐมฌาน
    มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่วิเวกอยู่

    เธอบรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิตในภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น
    เพราะวิตกวิจารสงบไป ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิอยู่

    เธอมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ เสวยสุขด้วยนามกาย
    เพราะปีติสิ้นไป บรรลุตติยฌานที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า
    ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติอยู่เป็นสุข

    เธอบรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์
    และดับโสมนัสโทมนัสก่อนๆได้มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่

    อันนี้เรียกว่า สัมมาสมาธิ ฯ

    *************

    ในสัมมาสมาธิก็มีทั้งสติและปัญญาเป็นองค์ประกอบอยู่แล้วครับ

    เพียงแค่ฌานที่๑(ปฐมฌาน)นั้น ต้องมีปัญญาอันเกิดจากจิตวิเวก(กายวิเวก จิตวิเวก อุปธิวิเวก)

    พอเข้าสู่ฌานที่๒(ทุติยฌาน) จิตผ่องใส ณ.ภายใน เป็นธรรมอันเอกผุดขึ้นตั้งมั่นเป็นสมาธิ มีปิติ สุข

    เมื่อล่วงสู่ฌานที่๓(ตติยฌาน) จิตมีอุเบกขา มีสติ มีสัมปชัญญะ
    ที่พระอริยทั้งหลาย สรรเสริญว่า ผู้ได้ฌานนี้ เป็นผู้มีอุเบกขา
    มีสติอยู่เป็นสุข ปัญญาญาณเกิดขึ้นอยู่เป็นสุข

    พอก้าวล่วงเข้าฌานที่๔(จตุตถฌาน) เกิดนิพิททาญาณ เพราะละสุข ละทุกข์
    เพราะละโสมนัสและละโทมนัสทั้ง๒ก่อนๆได้ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่....

    ;aa24
     
  14. วิศว

    วิศว เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มิถุนายน 2009
    โพสต์:
    2,349
    ค่าพลัง:
    +5,104
    สติเป็นสำคัญมากในการประกอบความเพียร

    เรื่องสติเป็นพื้นฐานตลอดจนถึงขั้นมหาสติมหาปัญญา

    สติปล่อยไม่ได้เลย ตั้งแต่เริ่มแรกสติติดไปเลยๆ

    ผู้ใดมีสติดี สติติดแนบอยู่มากเท่าไรยิ่งได้ผลดีขึ้น

    ฐานของจิตจะเป็นความสงบเยือกเย็น

    สติเป็นสำคัญมากทีเดียว ปัญญาจะค่อยเกิด

    สตินี้เป็นพื้นฐานทำใจให้สงบก่อน เมื่อใจสงบใจไม่หิวโหยอารมณ์ เรียกว่าใจสงบ

    ใจหิวโหยอารมณ์คืออยากคิดอยากพูดอยากรู้อยากเห็น เรียกว่าใจหิวอารมณ์

    ทีนี้เมื่อจิตสงบแล้วจะไม่หิวอารมณ์เหล่านี้ แล้วก็พาพิจารณาทางด้านปัญญา

    ปัญญาก็ทำหน้าที่ได้โดยถูกต้อง ไม่กลายไปเป็นสัญญาอารมณ์อะไรเลย

    ที่ว่าตะกี้ว่าถูกต้องไหม ถูกต้อง สำคัญให้มีสติ

    ใครจะใช้อารมณ์ใดเป็นบทภาวนาก็ตาม สติต้องติดๆ เลย สติเป็นสำคัญมาก



    เทศนาธรรม องค์หลวงตามหาบัว ตอบปัญหาธรรมพระมหาองอาจ
     
  15. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    อ่านมาแยะเพิ่งเจอก็นี่แหละ เข้าใจง่ายไม่คลุมเคลือ ไม่เจือศัพย์แสงยุ่งๆขลังๆชวนน่าเลื่อมใส แต่เข้าใจแบบภาษามนุษย์มนานี่แหละ ผิดแต่ใช่ภาษาธรรมด๊าธรรมดาที่ไม่ชวนให้ดูขลังเท่านั้น สาธุจ้า สาธุ เข้าใจตามที่นู๋บัวว่ามาเช่นนั้นเหมือนกัน
    ถูกตรงตามนั้นครับ
     
  16. Tawee gibb

    Tawee gibb เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    1 มิถุนายน 2007
    โพสต์:
    1,175
    ค่าพลัง:
    +1,721
    สาธุ อธิบายได้ดีครับ
     
  17. ธรรมแท้ว่าง

    ธรรมแท้ว่าง กายเบาใจเบา

    วันที่สมัครสมาชิก:
    19 มีนาคม 2011
    โพสต์:
    12,288
    ค่าพลัง:
    +12,620
    ขออนุญาตโมทนา.....สาธุครับ
     
  18. Ongsathit

    Ongsathit เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 สิงหาคม 2010
    โพสต์:
    625
    ค่าพลัง:
    +572
    -ถ้าให้เดินจงกรม
    แบบ สมถะ ก็แค่ เอาจิตไปใส่ใจกับตีน
    แบบวิปัดนา ก็คือ การเอาสติไปไว้ที่ตีน (ยกมา)

    -ฟังแล้วอาจจะ หยาบ แต่ก็ใช่เลยในเบื้องต้น แต่ถ้าลึกเข้าไปอีกคือ การเดินจงกรมเป็นการไล่กิเลสออกมา ฆ่า เพราะจะเห็นกิเลสทั้งรูปเเละนาม

    -สมถะ อุปมาดัง บรรได มีทั่ง คุณและโทษ ก้าวพลาดอาจจะมีทุกข์ ก้าวถูกจะเป็นคุณเพราะเราจะได้ไปอีกขั้นหนึ่ง ไปยอมก้าวนิ่งอยู่อาจจะเป็นโทษ (บรรไดไม่เที่ยง)

    -วิปัสสนา อุปมาดัง การก้าวเดินบนบรรไดอย่างมีสติและการพิจารณา เมื่อถึงจุดหมายจึงไม่มีทั้ง สมถะและวิปัสสนา
     

แชร์หน้านี้

Loading...