เศรษฐกิจพอเพียง sufficiency-Econony

ในห้อง 'ภัยพิบัติและการเตรียมการ' ตั้งกระทู้โดย Falkman, 9 มกราคม 2007.

  1. padon

    padon เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    8 มิถุนายน 2006
    โพสต์:
    29
    ค่าพลัง:
    +155
    ..เราก็คือเรา..เราไม่ใช่ญี่ปุ่น ไม่ใช่อังกฤษ ผมไม่อยากจะจินตนาการ ว่าถ้าประเทศเราไม่มีในหลวง ทุกวันนี้ประเทศเราจะเป็นอย่างไร...

    ...เราต้องเริ่มที่ตัวเรา เราต้องช่วยตัวเองครับ...เราทุกคน...และเผื่อแผ่ต่อผู้อื่น

    ...หน่วยงานอื่น หรือนักการเมือง เป็นตัวช่วย เป็นตัวเสริมครับ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 21 กรกฎาคม 2008
  2. ณ.

    ณ. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    26 มกราคม 2006
    โพสต์:
    3,387
    ค่าพลัง:
    +9,080
    (smile):cool:

    เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง อะไรช่วยกันได้ ก็ต้องช่วยกันไป
    อะไรเริ่มกันได้ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมก็ช่วยกันคนละไม้คนละมือ
    ชาตินาวาจะแล่นไปทางใด ก็อยู่ที่คนของประเทศ ร่วมด้วยช่วยกันพาย
    หรือใครจะนั่งเฉยๆ ให้เรือมันหนักเล่น ก็คงไม่มีใครไปว่ากล่าวได้
    หรือจะนั่งโยกซ้ายโยกขวา เอาเท้าราน้ำ ก็คงไม่มีใครว่าได้อีกเหมือนกัน
    สิทธิส่วนบุคคล มิอาจจะละเมิดได้ ถ้าการกระทำนั้นไม่ไปละเมิดสิทธิ์ผู้อื่น
    แต่ถ้าเรือไม่แล่นไปในทิศทางที่ถูกต้อง หรือแล่นไปช้า ก็คงโทษใครไม่ได้อีกเช่นกัน
    ...มาช่วยๆ กันดีกว่าค่ะ คนละนิดคนละหน่อย เช่นการปลูกต้นไม้คนละต้น
    เดี๋ยวเราก็ได้ป่าไม้...ถ้ามัวแต่เกี่ยงกันว่า ฉันไม่ได้ตัดต้นไม้ เธอตัดต้นไม้
    เธอก็ปลูกไปซิ...ทราบหรือไม่ว่าต้นไม้ ให้ต้นน้ำ ให้อากาศ...แล้วมีใครไม่ใช้สิ่งที่ต้นไม้สร้างบ้างล่ะ...(smile)
     
  3. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ถึงเวลาต้องใช้วิชาของในหลวงแล้วนะ ตอนนี้เศรษฐกิจแย่มากๆ ปีหน้ายิ่งกว่า ต้องเตรียมตัว เตรียมใจกันไว้นะจ๊ะ
     
  4. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ของ Falkman เตรียมเอาไว้เสร็จแล้ว

    ดีใจด้วย อย่าลืมซีลล์ห้องใต้ดินดีๆนะ
     
  5. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791

    เตรียมอาราย เตรียมใจหน่ะสิ ทำวิเคราะห์ข้อมูลอยู่ทุกวันเนี่ยะ เห็นการเปลี่ยนแปลงเศรษฐกิจเยอะจริงๆ เตรียมใจกันไว้นะ แป่ว
     
  6. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    หลักสำคัญก็คือรู้จักพอก่อน สิ่งใดที่ประหยัดได้ก็จงประหยัด

    สิ่งใดที่ทดแทนได้โดยเราไม่ลำบากจนเบียดเบียนตนเองได้ก็ จงปรับใช้ไป


    อย่างเราหลายๆท่านเป็น คนเมือง อาจไปคิดว่า เราคงทำ ระบบ ที่มีที่ดินสิบไร่ แล้วแบ่งพื้นที่เป็นส่วนๆไม่ได้นั้น

    อันที่จริงนั้น เศรษฐกิจพอเพียงสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ กับ กลุ่มสังคมทุกๆระดับ

    ทางสายกลางทางเศรษฐกิจ

    ไม่ฟุ้งเฟ้อ ฟุ่มเฟือยจนเกินพอดี

    ไม่ตระหนี่ ขี้เหนียวจนเบียดเบียนตนเอง หรือจนกลายเป็นไร้น้ำใจไป

    ความรู้จักพอดี มีสติ ในการใช้จ่าย บริหารจัดการ ชีวิตของเราให้สมดุล ในทางสายกลาง อย่าให้ความอยากครอบงำจิตใจของเรา อย่าให้ความโลภมีอิทธิพลต่อจิตใจเราเกินไป

    ใช้สติ ก่อนใช้จ่าย อย่าให้ตัวอยากตัวโลภครอบงำการตัดสินใจ เพราะนั่นคือ โมหะ ตัวหลงนั่นเอง
     
  7. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ก่อนอื่นสำรวจความสมดุล ระหว่างรายรับ รายจ่ายของเราก่อน

    จากนั้นก็สำรวจ ว่า เรามี "เงินเก็บ" หรือ "หนี้"จำนวนเท่าไร

    รายได้ เท่าไร

    รายจ่ายเท่าไร

    คำนวน ทั้งของครอบครัว

    และของส่วนตัวของทุกๆคน

    จากนั้นเริ่มทำ

    "บัญชีครัวเรือน"

    จด รายได้ ทั้งหมด ทั้งรายวัน รายเดือน รายปี

    จดค่าใช้จ่าย เงินที่จ่ายออกไปทั้งหมด ในทุกครั้ง ทุกวัน

    เพื่อนำมาวิเคราะห์ให้เห็นว่า ค่าใช้จ่ายใด จำเป็นบ้าง ไม่จำเป็นสามารถตัดออกไปได้บ้าง

    เริ่มทำกันได้แล้วนะครับ ปีหน้าเลย์ออฟอีก 1 ล้านอัตรา หากไม่ประหยัดกันตั้งแต่ตอนนี้นี่ จะปรับตัวไม่ทันครับ
     
  8. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    .
     
  9. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เศรษฐกิจพอเพียง
    จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


    <!-- start content --> [​IMG]

    แผนภาพแสดงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 3 ห่วง 2 เงื่อนไขจาก งานนิทรรศการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ


    เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน ที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชมีพระราชดำรัสแก่พสกนิกรชาวไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2517<sup id="cite_ref-king-words-ku-2517_0-0" class="reference">[1]</sup><sup id="cite_ref-king-words-2517_1-0" class="reference">[2]</sup> และพูดถึงอย่างชัดเจนในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540 (ภายหลังวิกฤติเศรษฐกิจ พ.ศ. 2540) เพื่อเป็นแนวทางการแก้ไขเศรษฐกิจของประเทศไทย ให้ดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนในกระแสโลกาภิวัตน์และความเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ<sup id="cite_ref-CSE-phil_2-0" class="reference">[3]</sup> ในทางการเมืองของไทยแล้ว เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทสำคัญในการสถาปนาอำนาจนำด้านอุดมการณ์ โดยเฉพาะอุดมการณ์กษัตริย์นิยมในสังคมไทย ในฐานะ "กษัตริย์นักพัฒนา" ซึ่งส่งผลต่อการเติบโตของอุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียง สิ่งเหล่านี้ถูกตอกย้ำและผลิตซ้ำโดยสถาบันทางสังคมต่าง ๆ เช่น สถาบันการศึกษา หน่วยงานราชการ สื่อมวลชน ส่งผลให้เศรษฐกิจพอเพียงมีบทบาทต่อการกำหนดอุดมการณ์การพัฒนาของประเทศ<sup id="cite_ref-prachatai-se-king-20071127_3-0" class="reference">[4]</sup> และการพยายามตีความเพื่อสร้างความชอบธรรมในการพัฒนาโดยปัญญาชนอย่าง ประเวศ วะสี, เสน่ห์ จามริก, อภิชัย พันธเสน และ ฉัตรทิพย์ นาถสุภา ซึ่งเชื่อมโยงแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับอุดมการณ์วัฒนธรรมชุมชน ที่ถูกเสนอมาก่อนหน้าโดยองค์กรพัฒนาเอกชนจำนวนหนึ่งตั้งแต่พุทธทศวรรษ 2520 ก็ได้ช่วยให้อุดมการณ์เศรษฐกิจพอเพียงขยายครอบคลุมส่วนต่าง ๆ ของสังคม<sup id="cite_ref-prachatai-se-king-20071127_3-1" class="reference">[4]</sup>

    สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิในทางเศรษฐกิจและสาขาอื่น ๆ มาร่วมกันประมวลและกลั่นกรองพระราชดำรัสเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อบรรจุในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) <sup id="cite_ref-CSE-phil_2-1" class="reference">[3]</sup><sup id="cite_ref-4" class="reference">[5]</sup> และได้จัดทำเป็นบทความเรื่อง "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" และได้นำความกราบบังคลทูลพระกรุณาขอพระราชทานพระบรมราชวินิจฉัย เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2542 โดยทรงพระกรุณาปรับปรุงแก้ไขพระราชทานและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้นำบทความที่ทรงแก้ไขแล้วไปเผยแพร่ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติของสำนักงานฯ และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนประชาชนโดยทั่วไป เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ<sup id="cite_ref-un-secretary-2006_5-0" class="reference">[6]</sup> และสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาแบบยั่งยืน<sup id="cite_ref-un-news_6-0" class="reference">[7]</sup> มีนักวิชาการ นักเศรษฐศาสตร์ หลายคนเห็นด้วย และเชิดชู แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ในขณะที่มีการตั้งคำถามถึงการยกย่องนี้ รวมทั้งความน่าเชื่อถือของรายงานศึกษาและท่าทีของสหประชาชาติ ในบางสื่อ (ดูเพิ่มที่ การเชิดชู การวิพากษ์)
    <table id="toc" class="toc" summary="เนื้อหา"> <tbody><tr> <td> เนื้อหา

    </td> </tr> </tbody></table> <script type="text/javascript"> //<![CDATA[ if (window.showTocToggle) { var tocShowText = "แสดง"; var tocHideText = "ซ่อน"; showTocToggle(); } //]]> </script>
    [แก้] แนวคิด

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พัฒนาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อที่จะให้พสกนิกรชาวไทยได้เข้าถึงทาง สายกลางของชีวิตและเพื่อคงไว้ซึ่งทฤษฏีของการพัฒนาที่ยั่งยืน ทฤษฎีนี้เป็นพื้นฐานของการดำรงชีวิตซึ่งอยู่ระหว่าง สังคมระดับท้องถิ่นและตลาดระดับสากล จุดเด่นของแนวปรัชญานี้คือ แนวทางที่สมดุล โดยชาติสามารถทันสมัย และก้าวสู่ความเป็นสากลได้ โดยปราศจากการต่อต้านกระแสโลกาภิวัฒน์

    หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมีความสำคัญในช่วงปี พ.ศ. 2540 เมื่อปีที่ประเทศไทยต้องการรักษาความมั่นคงและเสถียรภาพเพื่อที่จะยืนหยัดใน การพึ่งตนเองและพัฒนานโยบายที่สำคัญเพื่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ โดยการสร้างแนวคิดเศรษฐกิจที่พึ่งตนเองได้ ซึ่งคนไทยจะสามารถเลี้ยงชีพโดยอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง
    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่า มันไม่ได้มีความจำเป็นที่เราจะกลายเป็นประเทศอุตสาหกรรมใหม่ (NIC) พระองค์ได้ทรงอธิบายว่า ความพอเพียงและการพึ่งตนเอง คือ ทางสายกลางที่จะป้องกันการเปลี่ยนแปลงความไม่มั่นคงของประเทศได้
    เศรษฐกิจพอเพียงเชื่อว่าจะสามารถปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางสังคมของชมชุนให้ดีขึ้นโดยมีปัจจัย 2 อย่างคือ

    1. การผลิตจะต้องมีความสัมพันธ์กันระหว่าง ปริมาณผลผลิตและการบริโภค
    2. ชุมชนจะต้องมีความสามารถในการจัดการทรัพยากรของตนเอง

    ผลที่เกิดขึ้นคือ

    • เศรษฐกิจพอเพียงสามารถที่จะคงไว้ซึ่งขนาดของประชากรที่ได้สัดส่วน
    • ใช้เทคโนโลยีได้อย่างเหมาะสม
    • รักษาสมดุลของระบบนิเวศ และปราศจากการแทรกแซงจากปัจจัยภายนอก
    ปัจจุบันแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงได้มีการนำไปใช้เป็นนโยบายของรัฐบาล และปรากฏในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

    [แก้] หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

    <table style="background: transparent none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding-right: 10px; padding-left: 10px; padding-top: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td style="padding-top: 10px;">“...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับ ขั้น ต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมีพอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและใช้อุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตามหลักวิชา เมื่อได้พื้นฐานมั่นคงพร้อมพอควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญและฐานะเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป หากมุ่งแต่จะทุ่มเทสร้างความเจริญ ยกเศรษฐกิจขึ้นให้รวดเร็วแต่ประการเดียว โดยไม่ให้แผนปฏิบัติการสัมพันธ์กับสภาวะของประเทศและของประชาชนโดยสอดคล้อง ด้วย ก็จะเกิดความไม่สมดุลในเรื่องต่าง ๆ ขึ้น ซึ่งอาจกลายเป็นความยุ่งยากล้มเหลวได้ในที่สุด...”</td> <td style="padding-left: 10px; padding-right: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="text-align: right; padding-right: 20px; padding-bottom: 10px; font-size: 90%;">— พระบรมราโชวาท ในพิธีพระราชทานปริญญาบัตรของ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ณ หอประชุมมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วันพฤหัสบดีที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2517<sup id="cite_ref-king-words-ku-2517_0-1" class="reference">[1]</sup></td> </tr> </tbody></table> <table style="background: transparent none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding-right: 10px; padding-left: 10px; padding-top: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td style="padding-top: 10px;">“...คนอื่นจะว่าอย่างไรก็ช่างเขาจะว่าเมือง ไทยล้าสมัย ว่าเมืองไทยเชย ว่าเมืองไทยไม่มีสิ่งใหม่แต่เราอยู่ อย่างพอมีพอกิน และขอให้ทุกคนมีความปรารถนาที่จะให้เมืองไทยพออยู่พอกิน มีความสงบ ช่วยกันรักษาส่วนร่วม ให้อยู่ที่พอสมควร ขอย้ำพอควร พออยู่พอกิน มีความสงบไม่ให้คนอื่นมาแย่งคุณสมบัตินี้ไปจากเราได้...”</td> <td style="padding-left: 10px; padding-right: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="text-align: right; padding-right: 20px; padding-bottom: 10px; font-size: 90%;">— พระราชกระแสรับสั่งในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงแก่ผู้เข้าเฝ้าถวายพระพรชัยมงคล เนื่องในวันเฉลิมพระชนมพรรษาแต่พระพุทธศักราช 2517<sup id="cite_ref-king-words-2517_1-1" class="reference">[2]</sup></td> </tr> </tbody></table> <table style="background: transparent none repeat scroll 0% 0%; border-collapse: collapse; -moz-background-clip: -moz-initial; -moz-background-origin: -moz-initial; -moz-background-inline-policy: -moz-initial;" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"> <tbody><tr> <td style="padding-right: 10px; padding-left: 10px; padding-top: 10px;" valign="top" width="20">[​IMG]</td> <td style="padding-top: 10px;">การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง</td> <td style="padding-left: 10px; padding-right: 10px;" valign="bottom" width="20">[​IMG]</td> </tr> <tr> <td colspan="3" style="text-align: right; padding-right: 20px; padding-bottom: 10px; font-size: 90%;">— — พระราชดำรัส "เศรษฐกิจแบบพอเพียง" พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช พระราชทานเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2540
    </td> </tr> </tbody></table> เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาที่ยึดหลักทางสายกลาง ที่ชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัวไปจนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศ ให้ดำเนินไปในทางสายกลาง มีความพอเพียง และมีความพร้อมที่จะจัดการต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายนอกและภายใน ซึ่งจะต้องอาศัยความรอบรู้ รอบคอบ และระมัดระวัง ในการวางแผนและดำเนินการทุกขั้นตอน เศรษฐกิจพอเพียงไม่ใช่เพียงการประหยัด แต่เป็นการดำเนินชีวิตอย่างสมดุลและยั่งยืน เพื่อให้สามารถอยู่ได้แม้ในโลกโลกาภิวัตน์ที่มีการแข่งขันสูง


    ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่ทรงปรับปรุงพระราชทานเป็นที่มาของนิยาม "3 ห่วง 2 เงื่อนไข" ที่ คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นำมาใช้ในการรณรงค์เผยแพร่ ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ผ่านช่องทางต่าง ๆ อยู่ในปัจจุบัน ซึ่งประกอบด้วยความ "พอประมาณ มีเหตุผล มีภูมิคุ้มกัน" บนเงื่อนไข "ความรู้ และ คุณธรรม"
    อภิชัย พันธเสน ผู้อำนวยการสถาบันการจัดการเพื่อชนบทและสังคม ได้จัดแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงว่าเป็น "ข้อเสนอในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจตามแนวทางของพุทธธรรมอย่างแท้จริง" ทั้งนี้เนื่องจากในพระราชดำรัสหนึ่ง ได้ให้คำอธิบายถึง เศรษฐกิจพอเพียง ว่า "คือความพอประมาณ ซื่อตรง ไม่โลภมาก และต้องไม่เบียดเบียนผู้อื่น"<sup id="cite_ref-7" class="reference">[8]</sup>


    ระบบเศรษฐกิจพอเพียง มุ่งเน้นให้บุคคลสามารถประกอบอาชีพได้อย่างยั่งยืน และใช้จ่ายเงินให้ได้มาอย่างพอเพียงและประหยัด ตามกำลังของเงินของบุคคลนั้น โดยปราศจากการกู้หนี้ยืมสิน และถ้ามีเงินเหลือ ก็แบ่งเก็บออมไว้บางส่วน ช่วยเหลือผู้อื่นบางส่วน และอาจจะใช้จ่ายมาเพื่อปัจจัยเสริมอีกบางส่วน (ปัจจัยเสริมในที่นี้เช่น ท่องเที่ยว ความบันเทิง เป็นต้น) สาเหตุที่แนวทางการดำรงชีวิตอย่างพอเพียง ได้ถูกกล่าวถึงอย่างกว้างขวางในขณะนี้ เพราะสภาพการดำรงชีวิตของสังคมทุนนิยมในปัจจุบันได้ถูกปลูกฝัง สร้าง หรือกระตุ้น ให้เกิดการใช้จ่ายอย่างเกินตัว ในเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องหรือเกินกว่าปัจจัยในการดำรงชีวิต เช่น การบริโภคเกินตัว ความบันเทิงหลากหลายรูปแบบ ความสวยความงาม การแต่งตัวตามแฟชั่น การพนันหรือเสี่ยงโชค เป็นต้น จนทำให้ไม่มีเงินเพียงพอเพื่อตอบสนองความต้องการเหล่านั้น ส่งผลให้เกิดการกู้หนี้ยืมสิน เกิดเป็นวัฏจักรที่บุคคลหนึ่งไม่สามารถหลุดออกมาได้ ถ้าไม่เปลี่ยนแนวทางในการดำรงชีวิต

    [แก้] การนำไปใช้


    [แก้] ในประเทศไทย

    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ถูกใช้เป็นกรอบแนวความคิดและทิศทางการพัฒนาระบบเศรษฐกิจมหภาคของไทย ซึ่งบรรจุอยู่ใน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550-2554) เพื่อมุ่งสู่การพัฒนาที่สมดุล ยั่งยืน และมีภูมิคุ้มกัน เพื่อความอยู่ดีมีสุข มุ่งสู่สังคมที่มีความสุขอย่างยั่งยืน หรือที่เรียกว่า "สังคมสีเขียว" ด้วยหลักการดังกล่าว แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 10 นี้จะไม่เน้นเรื่องตัวเลขการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ แต่ยังคงให้ความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจแบบทวิลักษณ์ หรือระบบเศรษฐกิจที่มีความแตกต่างกันระหว่างเศรษฐกิจชุมชนเมืองและชนบท<sup id="cite_ref-leeatham-2006_8-0" class="reference">[9]</sup>
    แนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ยังถูกบรรจุในรัฐธรรมนูญของไทย เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ใน ส่วนที่ 3 แนวนโยบายด้านการบริหารราชการแผ่นดิน มาตรา 78 (1) บริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปเพื่อการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ และความมั่นคง ของประเทศอย่างยั่งยืน โดยต้องส่งเสริมการดำเนินการตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและคำนึงถึง ผลประโยชน์ของประเทศชาติในภาพรวมเป็นสำคัญ
    ปัญหาหนึ่งของการนำปรัญชาเศรษฐกิจพอเพียงไปใช้ก็คือ ผู้นำไปใช้อาจยังไม่ได้ศึกษาหรือไม่มีความรู้เพียงพอ ทั้งยังไม่กล้าวิเคราะห์หรือตั้งคำถามต่อตัวปรัชญา เนื่องจากเป็นปรัชญาของพระมหากษัตริย์<sup id="cite_ref-economist-20070111_9-0" class="reference">[10]</sup>. สมเกียรติ อ่อนวิมล เรียกสิ่งนี้ว่า "วิกฤตเศรษฐกิจพอเพียง"<sup id="cite_ref-matichon-somkiat-20070226_10-0" class="reference">[11]</sup> โดยสมเกียรติมีความเห็นว่า ผู้นำไปใช้อาจไม่รู้ว่าปรัชญานี้แท้จริงคืออะไร ซึ่งอาจเพราะสับสนว่า เศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้น เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้เข้าใจผิดว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม นอกจากนี้ยังมีความไม่รู้ว่าจะนำปรัชญานี้ไปใช้ทำอะไร กลายเป็นว่าผู้นำสังคมทุกคน รวมถึงนักการเมืองและรัฐบาล โดยวิจารณ์โครงการในยุครัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ที่ใช้คำว่า "เศรษฐกิจพอเพียง" เป็นข้ออ้างในการทำกิจกรรมใด ๆ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ดีว่าได้สนองพระราชดำรัส หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ "เศรษฐกิจพอเพียง" ถูกใช้เพื่อเป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์ส่วนตัว และได้วิจารณ์ว่ารัฐบาลยังไม่ได้ใช้อะไรเลยเกี่ยวกับเศรษฐกิจพอเพียง แต่พูดควบคู่กับการเอาทุนนิยม 100 เปอร์เซ็นต์ลงไป ซึ่งรัฐบาลควรต้องปรับทิศทางใหม่ เพราะรัฐบาลไม่ได้เอาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญาและเป็นนโยบายทางวัฒนธรรมและ สังคม สมเกียรติยังมีความเห็นด้วยว่าความไม่เข้าใจนี้ อาจเกิดจากการสับสนว่าเศรษฐกิจพอเพียงกับทฤษฎีใหม่นั้น เป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้มีความเข้าใจว่า เศรษฐกิจพอเพียงหมายถึงการปฏิเสธอุตสาหกรรมแล้วกลับไปสู่เกษตรกรรม ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด.


    สิ่งที่สมเกียรติเสนอนี้ สอดคล้องกับที่ ชนิดา ชิตย์บัณฑิตย์ เสนอเช่นกันว่า เศรษฐกิจพอเพียงมีความหมายที่ลื่นไหลไปมา ไม่ผูกติดกับรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง อาจกล่าวได้ว่ามีนัยยะทางการเมืองแฝงอยู่ในการนำเสนอเสมอ ดังนั้น ถ้าพิจารณาในแง่อุดมการณ์ จำเป็นต้องดูบริบทของกลุ่มที่นำมาใช้หรือตีความ ว่าสร้างความชอบธรรมให้กับการพัฒนารูปแบบใด หรือมีนัยยะทางการเมืองอะไรอยู่เบื้องหลัง<sup id="cite_ref-chitbundit-20071120_11-0" class="reference">[12]</sup>
    นายสุรเกียรติ เสถียรไทย ในฐานะรัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศ ได้กล่าวเมื่อวันที่ 24 พศจิกายน พ.ศ. 2547 ในการประชุมสุดยอด The Francophonie Ouagadougou ครั้งที่ 10 ที่ Burkina Faso ว่า ประเทศไทยได้ยึดแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง ควบคู่กับ "การพัฒนาแบบยั่งยืน" ในการพัฒนาประเทศทั้งทางด้านการเกษตรกรรม เศรษฐกิจ และการแข่งขัน ซึ่งเป็นการสอดคล้องเป้าหมายแนวทางของนานาชาติในประชาคมโลก โดยยกตัวอย่างการแก้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจ เมื่อปี 2540 ซึ่งเมื่อยึดหลักปรัชญาในการแก้ปัญหาสามารถทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) ของไทยโตได้ถึงร้อยละ 6.7<sup id="cite_ref-mfa-20041124_12-0" class="reference">[13]</sup>

    [แก้] นอกประเทศไทย

    การประยุกต์นำหลักปรัชญาเพื่อนำพัฒนาประเทศในต่างประเทศนั้น ประเทศไทยได้เป็นศูนย์กลางการแลกเปลี่ยน ผ่านทางสำนักงานความร่วมมือเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศ (สพร.) โดย สพร.มีหน้าที่ คอยประสานงานรับความช่วยเหลือทางวิชาการด้านต่าง ๆ จากต่างประเทศมาสู่ภาครัฐ แล้วถ่ายทอดต่อไปยังภาคประชาชน และยังส่งผ่านความรู้ที่มีไปยังประเทศกำลังพัฒนาอื่น ๆ เรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั้น สพร. ถ่ายทอดมาไม่ต่ำกว่า 5 ปี ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) และคณะอนุ กรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งต่างชาติก็สนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง เพราะพิสูจน์แล้วว่าเป็นสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ ซึ่งแต่ละประเทศมีความต้องการประยุกต์ใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไม่เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิต สภาพภูมิศาสตร์ ฯลฯ เช่น พม่า ศรีลังกา เลโซโท ซูดาน อัฟกานิสถาน บังกลาเทศ ภูฏาน จีน จิบูตี โคลัมเบีย อียิปต์ เอธิโอเปีย แกมเบีย อินโดนีเซีย เคนยา เกาหลีใต้ มาดากัสการ์ มัลดีฟส์ ปาปัวนิวกินี แทนซาเนีย เวียดนาม ฯลฯ โดยได้ให้ประเทศเหล่านี้ได้มาดูงาน ในหลายระดับ ทั้งเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน เจ้าหน้าที่ฝ่ายนโยบาย จนถึงระดับปลัดกระทรวง รัฐมนตรีกระทรวงต่าง ๆ<sup id="cite_ref-suthasinee-20070326_13-0" class="reference">[14]</sup>


    นอกจากนั้นอดิศักดิ์ ภาณุพงศ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ได้กล่าวว่า ต่างชาติสนใจเรื่องเศรษฐกิจพอเพียง<sup id="cite_ref-suthasinee-20070326_13-1" class="reference">[14]</sup> เนื่องจากมาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงห่วงใยราษฎรของ พระองค์ และอยากรู้ว่าทำไมรัฐบาลไทยถึงได้นำมาเป็นนโยบาย ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วก็ต้องการศึกษาพิจารณาเพื่อนำไปช่วยเหลือประเทศอื่น



    [แก้] การเชิดชู การวิพากษ์


    13 นักคิดระดับโลกเห็นด้วยกับแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง และมีการนำเสนอบทความ บทสัมภาษณ์ เป็นการยื่นข้อเสนอแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงให้แก่โลก เช่น ศ. ดร.วูล์ฟกัง ซัคส์ นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมคนสำคัญของประเทศเยอรมนี สนใจการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงอย่างมาก และมองว่าน่าจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับทุกชาติในเวลานี้ ทั้งมีแนวคิดผลักดันเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นที่รู้จักในเยอรมนี, ศ. ดร.อมาตยา เซน ศาสตราจารย์ชาวอินเดีย เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ปี 1998 มองว่า ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นการใช้สิ่งต่างๆ ที่จำเป็นต่อการดำรงชีพ และใช้โอกาสให้พอเพียงกับชีวิตที่ดี ซึ่งไม่ได้หมายถึงความไม่ต้องการ แต่ต้องรู้จักใช้ชีวิตให้ดีพอ อย่าให้ความสำคัญกับเรื่องของรายได้และความร่ำรวย แต่ให้มองที่คุณค่าของชีวิตมนุษย์, นายจิกมี ทินเลย์ นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศภูฏาน ให้ทรรศนะว่า หากประเทศไทยกำหนดเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงให้เป็นวาระระดับชาติ และดำเนินตามแนวทางนี้อย่างจริงจัง "ผมว่าประเทศไทยสามารถสร้างโลกใบใหม่จากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง สร้างชีวิตที่ยั่งยืน และสุดท้ายจะไม่หยุดเพียงแค่ในประเทศ แต่จะเป็นหลักการและแนวปฏิบัติของโลก ซึ่งหากทำได้สำเร็จ ไทยก็คือผู้นำ" <sup id="cite_ref-14" class="reference">[15]</sup>
    ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนี้ ได้รับการเชิดชูสูงสุดจากองค์การสหประชาชาติ (UN) โดยนายโคฟี อันนัน ในฐานะเลขาธิการองค์การสหประชาชาติ ได้ทูลเกล้าฯถวายรางวัล The Human Development Lifetime Achievement Award แก่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2549 และได้มีปาฐกถาถึงปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ว่าเป็นปรัชญาที่มีประโยชน์ต่อประเทศไทยและนานาประเทศ<sup id="cite_ref-un-secretary-2006_5-1" class="reference">[6]</sup> และ สามารถเริ่มได้จากการสร้างภูมิคุ้มกันในตนเอง สู่หมู่บ้าน และสู่เศรษฐกิจในวงกว้างขึ้นในที่สุด นาย Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการ UNDP ในประเทศไทยกล่าวเชิดชูปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และ UNDP นั้นตระหนักถึงวิสัยทัศน์และแนวคิดในการพัฒนาของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ หัวฯ<sup id="cite_ref-un-chronical-2006_15-0" class="reference">[16]</sup> โดยที่องค์การสหประชาชาติได้สนับสนุนให้ประเทศต่าง ๆ ที่เป็นสมาชิก 166 ประเทศยึดเป็นแนวทางสู่การพัฒนาประเทศแบบยั่งยืน<sup id="cite_ref-un-news_6-1" class="reference">[7]</sup>


    อย่างไรก็ตาม ศ. ดร. เควิน ฮิววิสัน อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยนอร์ธแคโรไลนา ที่แชพเพลฮิลล์ ได้วิจารณ์รายงานขององค์การสหประชาชาติโดยสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ที่ยกย่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง<sup id="cite_ref-undp-thailand-2007_16-0" class="reference">[17]</sup> ว่า รายงานฉบับดังกล่าวไม่ได้มีเนื้อหาสนับสนุนว่าเศรษฐกิจพอเพียงเป็น “ทางเลือกที่จำเป็นมากสำหรับโลกที่กำลังดำเนินไปในเส้นทางที่ไม่ยั่งยืนอยู่ ในขณะนี้” (น. v ในรายงาน UNDP) เลย โดยเนื้อหาแทบทั้งหมดเป็นการเทิดพระเกียรติ และเป็นเพียงเครื่องมือในการโฆษณาชวนเชื่อภายในประเทศเท่านั้น <sup id="cite_ref-prachatai-kevin-20071204_17-0" class="reference">[18]</sup> ส่วน Håkan Björkman รักษาการผู้อำนวยการ UNDP กล่าวว่า "UNDP ต้องการที่จะทำให้เกิดการอภิปรายพิจารณาเรื่องนี้ แต่การอภิปรายดังกล่าวนั้นเป็นไปไม่ได้ เพราะอาจสุ่มเสี่ยงต่อการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ซึ่งมีโทษถึงจำคุก"<sup id="cite_ref-economist-20070111_9-1" class="reference">[10]


    http://th.wikipedia.org/wiki/เศรษฐกิจพอเพียง
    </sup>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 22 พฤษภาคม 2009
  10. kananun

    kananun เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    11 พฤษภาคม 2006
    โพสต์:
    10,282
    ค่าพลัง:
    +114,775
    ขอบคุณครับ คุณอ๋อ
     
  11. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table align="center" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td> <td>[​IMG]</td></tr></tbody></table>


    [SIZE=+1]เศรษฐกิจแบบพอเพียง[/SIZE]
    [​IMG]
    <table valign="top" width="550" align="center" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td><center></center><dd>พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพระราชหฤทัยในความเป็นไปของเมืองไทยและคนไทยอย่างลึกซึ้งและกว้างไกล ได้ทรงวางรากฐานในการพัฒนาชนบท และช่วยเหลือประชาชนให้สามารถพึ่งตนเองได้มีความ " พออยู่พอกิน" และมีความอิสระที่จะอยู่ได้โดยไม่ต้องติดยึดอยู่กับเทคโนโลยีและความเปลี่ยน แปลงของกระแสโลกาภิวัฒน์ ทรงวิเคราะห์ว่าหากประชาชนพึ่งตนเองได้แล้วก็จะมีส่วนช่วยเหลือเสริมสร้าง ประเทศชาติโดยส่วนรวมได้ในที่สุด พระราชดำรัสที่สะท้อนถึงพระวิสัยทัศน์ในการสร้างความเข้มแข็งในตนเองของ ประชาชนและสามารถทำมาหากินให้พออยู่พอกินได้ ดังนี้

    </dd><dd>"….ในการสร้างถนน สร้างชลประทานให้ประชาชนใช้นั้น จะต้องช่วยประชาชนในทางบุคคลหรือพัฒนาให้บุคคลมีความรู้และอนามัยแข็งแรง ด้วยการให้การศึกษาและการรักษาอนามัย เพื่อให้ประชาชนในท้องที่สามารถทำการเกษตรได้ และค้าขายได้…"

    ในสภาวการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเกิดความถดถอยทางเศรษฐกิจอย่างรุนแรงขึ้นนี้จึงทำให้เกิดความเข้าใจได้ชัดเจนในแนวพระราชดำริของ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งได้ทรงคิดและตระหนักมาช้านาน เพราะหากเราไม่ไปพี่งพา ยึดติดอยู่กับกระแสจากภายนอกมากเกินไป จนได้ครอบงำความคิดในลักษณะดั้งเดิมแบบไทยๆไปหมด มีแต่ความทะเยอทะยานบนรากฐานที่ไม่มั่นคงเหมือนลักษณะฟองสบู่ วิกฤตเศรษฐกิจเช่นนี้อาจไม่เกิดขึ้น หรือไม่หนักหนาสาหัสจนเกิดความเดือดร้อนกันถ้วนทั่วเช่นนี้ ดังนั้น "เศรษฐกิจพอเพียง" จึงได้สื่อความหมาย ความสำคัญในฐานะเป็นหลักการสังคมที่พึงยึดถือ

    ในทางปฏิบัติจุดเริ่มต้นของการพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจชุมชนท้องถิ่น เศรษฐกิจพอเพียงเป็นทั้งหลักการและกระบวนการทางสังคม ตั้งแต่ขั้นฟื้นฟูและขยายเครือข่ายเกษตรกรรมยั่งยืน เป็นการพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตและบริโภคอย่างพออยู่พอกินขึ้นไปถึงขั้นแปรรูปอุตสาหกรรมครัวเรือน สร้างอาชีพและทักษะวิชาการที่หลากหลายเกิดตลาดซื้อขาย สะสมทุน ฯลฯ บนพื้นฐานเครือข่ายเศรษฐกิจชุมชนนี้ เศรษฐกิจของ 3 ชาติ จะพัฒนาขึ้นมาอย่างมั่นคงทั้งในด้านกำลังทุนและตลาดภายในประเทศ รวมทั้งเทคโนโลยีซึ่งจะค่อยๆ พัฒนาขึ้นมาจากฐานทรัพยากรและภูมิปัญญาที่มีอยู่ภายในชาติ และทั้งที่จะพึงคัดสรรเรียนรู้จากโลกภายนอก

    เศรษฐกิจพอเพียงเป็น เศรษฐกิจที่พอเพียงกับตัวเอง ทำให้อยู่ได้ ไม่ต้องเดือดร้อน มีสิ่งจำเป็นที่ทำได้โดยตัวเองไม่ต้องแข่งขันกับใคร และมีเหลือเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ไม่มี อันนำไปสู่การแลกเปลี่ยนในชุมชน และขยายไปจนสามารถที่จะเป็นสินค้าส่งออก เศรษฐกิจพอเพียงเป็นเศรษฐกิจระบบเปิดที่เริ่มจากตนเองและความร่วมมือ วิธีการเช่นนี้จะดึงศักยภาพของ ประชากรออกมาสร้างความเข้มแข็งของครอบครัว ซึ่งมีความผู้พันกับ “จิตวิญญาณ” คือ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า”

    ในระบบเศรษฐกิจพอเพียงจะจัดลำดับความสำคัญของ “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” มูลค่านั้นขาดจิตวิญญาณ เพราะเป็นเศรษฐกิจภาคการเงิน ที่เน้นที่จะตอบสนองต่อความต้องการที่ไม่จำกัดซึ่งไร้ขอบเขต ถ้าไม่สามารถควบคุมได้การใช้ทรัพยากรอย่างทำลายล้างจะรวดเร็วขึ้นและปัญหาจะ ตามมา เป็นการบริโภคที่ก่อให้เกิดความทุกข์หรือพาไปหาความทุกข์ และจะไม่มีโอกาสบรรลุวัตถุประสงค์ในการบริโภค ที่จะก่อให้ความพอใจและความสุข (Maximization of Satisfaction) ผู้บริโภคต้องใช้หลักขาดทุนคือกำไร (Our loss is our gain) อย่างนี้จะควบคุมความต้องการที่ไม่จำกัดได้ และสามารถจะลดความต้องการลงมาได้ ก่อให้เกิดความพอใจและความสุขเท่ากับได้ตระหนักในเรื่อง “คุณค่า” จะช่วยลดค่าใช้จ่ายลงได้ ไม่ต้องไปหาวิธีทำลายทรัพยากรเพื่อให้เกิดรายได้มาจัดสรรสิ่งที่เป็น “ความอยากที่ไม่มีที่สิ้นสุด” และขจัดความสำคัญของ “เงิน” ในรูปรายได้ที่เป็นตัวกำหนดการบริโภคลงได้ระดับหนึ่ง แล้วยังเป็นตัวแปรที่ไปลดภาระของกลไกของตลาดและการพึ่งพิงกลไกของตลาด ซึ่งบุคคลโดยทั่วไปไม่สามารถจะควบคุมได้ รวมทั้งได้มีส่วนในการป้องกันการบริโภคเลียนแบบ (Demonstration Effects) จะไม่ทำให้เกิดการสูญเสีย จะทำให้ไม่เกิดการบริโภคเกิน (Over Consumption) ซึ่งก่อให้เกิดสภาพเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

    การบริโภคที่ฉลาดดังกล่าวจะช่วยป้องกันการขาดแคลน แม้จะไม่ร่ำรวยรวดเร็ว แต่ในยามปกติก็จะทำให้ร่ำรวยมากขึ้น ในยามทุกข์ภัยก็ไม่ขาดแคลน และสามารถจะฟื้นตัวได้เร็วกว่า โดยไม่ต้องหวังความช่วยเหลือจากผู้อื่นมากเกินไป เพราะฉะนั้นความพอมีพอกินจะสามารถอุ้มชูตัวได้ ทำให้เกิดความเข้มแข็ง และความพอเพียงนั้นไม่ได้หมายความว่า ทุกครอบครัวต้องผลิตอาหารของตัวเอง จะต้องทอผ้าใส่เอง แต่มีการแลกเปลี่ยนกันได้ระหว่างหมู่บ้าน เมือง และแม้กระทั่งระหว่างประเทศ ที่สำคัญคือการบริโภคนั้นจะทำให้เกิดความรู้ที่จะอยู่ร่วมกับระบบ รักธรรมชาติ ครอบครัวอบอุ่น ชุมชนเข้มแข็ง เพราะไม่ต้องทิ้งถิ่นไปหางานทำ เพื่อหารายได้มาเพื่อการบริโภคที่ไม่เพียงพอ

    ประเทศไทยอุดมไปด้วยทรัพยากรและยังมีพอสำหรับประชาชนไทย ถ้ามีการจัดสรรที่ดี โดยยึด " คุณค่า " มากกว่า " มูลค่า " ยึดความสัมพันธ์ของ “บุคคล” กับ “ระบบ” และปรับความต้องการที่ไม่จำกัดลงมาให้ได้ตามหลักขาดทุนเพื่อกำไร และอาศัยความร่วมมือเพื่อให้เกิดครอบครัวที่เข้มแข็งอันเป็นรากฐานที่สำคัญ ของระบบสังคม

    การผลิตจะเสียค่าใช้จ่ายลดลงถ้ารู้จักนำเอาสิ่งที่มี อยู่ในขบวนการธรรมชาติมาปรุงแต่ง ตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่าง ๆ ที่กล่าวมาแล้วซึ่งสรุปเป็นคำพูดที่เหมาะสมตามที่ ฯพณฯ พลเอกเปรม ตินณสูลานนท์ ที่ว่า “…ทรงปลูกแผ่นดิน ปลูกความสุข ปลดความทุกข์ของราษฎร” ในการผลิตนั้นจะต้องทำด้วยความรอบคอบไม่เห็นแก่ได้ จะต้องคิดถึงปัจจัยที่มีและประโยชน์ของผู้เกี่ยวข้อง มิฉะนั้นจะเกิดปัญหาอย่างเช่นบางคนมีโอกาสทำโครงการแต่ไม่ได้คำนึงว่าปัจจัย ต่าง ๆ ไม่ครบ ปัจจัยหนึ่งคือขนาดของโรงงาน หรือเครื่องจักรที่สามารถที่จะปฏิบัติได้ แต่ข้อสำคัญที่สุด คือวัตถุดิบ ถ้าไม่สามารถที่จะให้ค่าตอบแทนวัตถุดิบแก่เกษตรกรที่เหมาะสม เกษตรกรก็จะไม่ผลิต ยิ่งถ้าใช้วัตถุดิบสำหรับใช้ในโรงงานั้น เป็นวัตถุดิบที่จะต้องนำมาจากระยะไกล หรือนำเข้าก็จะยิ่งยาก เพราะว่าวัตถุดิบที่นำเข้านั้นราคายิ่งแพง บางปีวัตถุดิบมีบริบูรณ์ ราคาอาจจะต่ำลงมา แต่เวลาจะขายสิ่งของที่ผลิตจากโรงงานก็ขายยากเหมือนกัน เพราะมีมากจึงทำให้ราคาตก หรือกรณีใช้เทคโนโลยีทางการเกษตร เกษตรกรรู้ดีว่าเทคโนโลยีทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น และผลผลิตที่เพิ่มนั้นจะล้นตลาด ขายได้ในราคาที่ลดลง ทำให้ขาดทุน ต้องเป็นหนี้สิน


    การผลิตตามทฤษฎีใหม่สามารถเป็นต้นแบบการคิดในการผลิตที่ดีได้ ดังนี้

    1. การผลิตนั้นมุ่งใช้เป็นอาหารประจำวันของครอบครัว เพื่อให้มีพอเพียงในการบริโภคตลอดปี เพื่อใช้เป็นอาหารประจำวันและเพื่อจำหน่าย
    2. การผลิตต้องอาศัยปัจจัยในการผลิต ซึ่งจะต้องเตรียมให้พร้อม เช่น การเกษตรต้องมีน้ำ การจัดให้มีและดูแหล่งน้ำ จะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งการผลิต และประโยชน์ใช้สอยอื่น ๆ
    3. ปัจจัยประกอบอื่น ๆ ที่จะอำนวยให้การผลิตดำเนินไปด้วยดี และเกิดประโยชน์เชื่อมโยง (Linkage) ที่จะไปเสริมให้เกิดความยั่งยืนในการผลิต จะต้องร่วมมือกันทุกฝ่ายทั้ง เกษตรกร ธุรกิจ ภาครัฐ ภาคเอกชน เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจพอเพียงเข้ากับเศรษฐกิจการค้า และให้ดำเนินกิจการควบคู่ไปด้วยกันได้

    การผลิตจะต้องตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” การผลิตนั้นต้องยึดมั่นในเรื่องของ “คุณค่า” ให้มากกว่า “มูลค่า” ดังพระราชดำรัส ซึ่งได้นำเสนอมาก่อนหน้านี้ที่ว่า

    “…บารมีนั้น คือ ทำความดี เปรียบเทียบกับธนาคาร …ถ้าเราสะสมเงินให้มากเราก็สามารถที่จะใช้ดอกเบี้ย ใช้เงินที่เป็นดอกเบี้ย โดยไม่แตะต้องทุนแต่ถ้าเราใช้มากเกิดไป หรือเราไม่ระวัง เรากิน เข้าไปในทุน ทุนมันก็น้อยลง ๆ จนหมด …ไปเบิกเกินบัญชีเขาก็ต้องเอาเรื่อง ฟ้องเราให้ล้มละลาย เราอย่าไปเบิกเกินบารมีที่บ้านเมือง ที่ประเทศได้สร้างสมเอาไว้ตั้งแต่บรรพบุรุษของเราให้เกินไป เราต้องทำบ้าง หรือเพิ่มพูนให้ประเทศของเราปกติมีอนาคตที่มั่นคง บรรพบุรุษของเราแต่โบราณกาล ได้สร้างบ้านเมืองมาจนถึงเราแล้ว ในสมัยนี้ที่เรากำลังเสียขวัญ กลัว จะได้ไม่ต้องกลัว ถ้าเราไม่รักษาไว้…”

    การจัดสรรทรัพยากรมาใช้เพื่อการผลิตที่คำนึงถึง “คุณค่า” มากกว่า “มูลค่า” จะก่อให้เกิดความสัมพันธ์ระหว่าง “บุคคล” กับ “ระบบ” เป็นไปอย่างยั่งยืน ไม่ทำลายทั้งทุนสังคมและทุนเศรษฐกิจ นอกจากนี้จะต้องไม่ติดตำรา สร้างความรู้ รัก สามัคคี และความร่วมมือร่วมแรงใจ มองกาลไกลและมีระบบสนับสนุนที่เป็นไปได้

    พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงปลูกฝังแนวพระราชดำริให้ ประชาชนยอมรับไปปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง โดยให้วงจรการพัฒนาดำเนินไปตามครรลองธรรมชาติ กล่าวคือ

    ทรงสร้างความตระหนักแก่ประชาชนให้รับรู้ (Awareness) ในทุกคราเมื่อ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเยี่ยมประชาชนในทุกภูมิภาคต่าง ๆ จะทรงมีพระราชปฏิสันถารให้ประชาชนได้รับทราบถึงสิ่งที่ควรรู้ เช่น การปลูกหญ้าแฝกจะช่วยป้องกันดินพังทลาย และใช้ปุ๋ยธรรมชาติจะช่วยประหยัดและบำรุงดิน การแก้ไขดินเปรี้ยวในภาคใต้สามารถกระทำได้ การ ตัดไม้ทำลายป่าจะทำให้ฝนแล้ง เป็นต้น ตัวอย่างพระราชดำรัสที่เกี่ยวกับการสร้างความตระหนักให้แก่ประชาชน ได้แก่

    “….ประเทศไทยนี้เป็นที่ที่เหมาะมากในการตั้งถิ่นฐาน แต่ว่าต้องรักษาไว้ ไม่ทำให้ประเทศไทยเป็นสวนเป็นนากลายเป็นทะเลทราย ก็ป้องกัน ทำได้….”

    ทรงสร้างความสนใจแก่ประชาชน (Interest) หลายท่านคงได้ยินหรือรับฟัง โครงการอันเนื่อง มาจากพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่มีนามเรียกขานแปลกหู ชวนฉงน น่าสนใจติดตามอยู่เสมอ เช่น โครงการแก้มลิง โครงการแกล้งดิน โครงการเส้นทางเกลือ โครงการน้ำดีไล่น้ำเสีย หรือโครงการน้ำสามรส ฯลฯ เหล่านี้ เป็นต้น ล้วนเชิญชวนให้ ติดตามอย่างใกล้ชิด แต่พระองค์ก็จะมีพระราชาธิบายแต่ละโครงการอย่างละเอียด เป็นที่เข้าใจง่ายรวดเร็วแก่ประชาชนทั้งประเทศ

    ในประการต่อมา ทรงให้เวลาในการประเมินค่าหรือประเมินผล (Evaluate) ด้วยการศึกษาหาข้อมูลต่าง ๆ ว่าโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระองค์นั้นเป็นอย่างไร สามารถนำไปปฏิบัติได้ในส่วนของตนเองหรือไม่ ซึ่งยังคงยึดแนวทางที่ให้ประชาชนเลือกการพัฒนาด้วยตนเอง ที่ว่า
    “….ขอให้ถือว่าการงานที่จะทำนั้นต้องการเวลา เป็นงานที่มีผู้ดำเนินมาก่อนแล้ว ท่านเป็นผู้ที่จะเข้าไปเสริมกำลัง จึงต้องมีความอดทนที่จะเข้าไปร่วมมือกับผู้อื่น ต้องปรองดองกับเขาให้ได้ แม้เห็นว่ามีจุดหนึ่งจุดใดต้องแก้ไขปรับปรุงก็ต้องค่อยพยายามแก้ไขไปตามที่ ถูกที่ควร….”

    ในขั้นทดลอง (Trial) เพื่อทดสอบว่างานในพระราชดำริที่ทรงแนะนำนั้นจะได้ผลหรือไม่ซึ่งในบางกรณี หากมีการทดลองไม่แน่ชัดก็ทรงมักจะมิให้เผยแพร่แก่ประชาชน หากมีผลการทดลองจนแน่พระราชหฤทัยแล้วจึงจะออกไปสู่สาธารณชนได้ เช่น ทดลองปลูกหญ้าแฝกเพื่ออนุรักษ์ดินและน้ำนั้น ได้มีการค้นคว้าหาความเหมาะสมและความเป็นไปได้จนทั่วทั้งประเทศว่าดียิ่งจึง นำออกเผยแพร่แก่ประชาชน เป็นต้น

    ขั้นยอมรับ (Adoption) โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำรินั้น เมื่อผ่านกระบวนการมาหลายขั้นตอน บ่ม เพาะ และมีการทดลองมาเป็นเวลานาน ตลอดจนทรงให้ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริและสถานที่อื่น ๆ เป็นแหล่งสาธิตที่ประชาชนสามารถเข้าไปศึกษาดูได้ถึงตัวอย่างแห่งความสำเร็จ ดังนั้น แนวพระราชดำริของพระองค์จึงเป็นสิ่งที่ราษฎรสามารถพิสูจน์ได้ว่าจะได้รับ ผลดีต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของตนได้อย่างไร

    แนวพระราชดำริทั้งหลายดังกล่าวข้างต้นนี้ แสดงถึงพระวิริยะอุตสาหะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงทุ่มเทพระสติปัญญา ตรากตรำพระวรกาย เพื่อค้นคว้าหาแนวทางการพัฒนาให้พสกนิกรทั้งหลายได้มีความร่มเย็นเป็นสุข สถาพรยั่งยืนนาน นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอันใหญ่หลวงที่ได้พระราชทานแก่ปวงไทยตลอดเวลา มากกว่า 50 ปี จึงกล่าวได้ว่าพระราชกรณียกิจของพระองค์นั้นสมควรอย่งยิ่งที่ทวยราษฎรจักได้ เจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาท ตามที่ทรงแนะนำ สั่งสอน อบรมและวางแนวทางไว้เพื่อให้เกิดการอยู่ดีมีสุขโดยถ้วนเช่นกัน โดยการพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขึ้นตอนต้องสร้างพื้นฐาน คือ ความพอมี พอกิน พอใช้ ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นเบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัด แต่ถูกต้องตาหลักวิชาการ เพื่อได้พื้นฐานที่มั่นคงพร้อมพอสมควรและปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริม ความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขึ้นที่สูงขึ้นไปตามลำดับ จะก่อให้เกิดความยั่งยืนและจะนำไปสู่ความเข้มแข็งของครอบครัว ชุมชน และสังคม สุดท้ายเศรษฐกิจดี สังคมไม่มีปัญหา การพัฒนายั่งยืน

    ประการที่สำคัญของเศรษฐกิจพอเพียง
    1. พอมีพอกิน ปลูกพืชสวนครัวไว้กินเองบ้าง ปลูกไม้ผลไว้หลังบ้าน 2-3 ต้น พอที่จะมีไว้กินเองในครัวเรือน เหลือจึงขายไป
    2. พออยู่พอใช้ ทำให้บ้านน่าอยู่ ปราศจากสารเคมี กลิ่นเหม็น ใช้แต่ของที่เป็นธรรมชาติ (ใช้จุลินทรีย์ผสมน้ำถูพื้นบ้าน จะสะอาดกว่าใช้น้ำยาเคมี) รายจ่ายลดลง สุขภาพจะดีขึ้น (ประหยัดค่ารักษาพยาบาล)
    3. พออกพอใจ เราต้องรู้จักพอ รู้จักประมาณตน ไม่ใคร่อยากใคร่มีเช่นผู้อื่น เพราะเราจะหลงติดกับวัตถุ ปัญญาจะไม่เกิด
    " การจะเป็นเสือนั้นมันไม่สำคัญ สำคัญอยู่ที่เราพออยู่พอกิน และมีเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน แบบพอมีพอกิน หมายความว่า อุ้มชูตัวเองได้ ให้มีพอเพียงกับตัวเอง "

    <center>"เศรษฐกิจพอเพียง" จะสำเร็จได้ด้วย "ความพอดีของตน"</center> <center>[​IMG] << กลับไปด้านบน >></center></dd><dd><center>
    </center>
     
  12. mead

    mead เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    16 เมษายน 2005
    โพสต์:
    8,134
    ค่าพลัง:
    +62,441
    ในหลวงท่านมีความเป็นอัจฉริยะจริงๆ
    เล็งเห็นถึงปัญหาเศรษกิจนี้ได้ก่อนชาติใดในโลก

    แต่เรื่องข้างล่างนี้จะเกี่ยวกับกระทู้รึเปล่าน้อ?
    เชื่อว่าอ่านแล้วน่าจะสัมผัสเห็นความพอเพียงได้เหมือนกัน..

    [​IMG]
     

    ไฟล์ที่แนบมา:

  13. ชัยมงคล

    ชัยมงคล เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    6 กันยายน 2007
    โพสต์:
    426
    ค่าพลัง:
    +2,473
    สะใจจริงๆครับคุณ mead
     
  14. jamrus

    jamrus เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 มีนาคม 2006
    โพสต์:
    115
    ค่าพลัง:
    +1,141
    ชอบจริงๆค่ะ คุณ mead อ่านแล้ว ยิ้ม ถึงยิ้มมากๆ

    [​IMG]ขอยืมภาพของคุณ falkman
     
  15. tum399

    tum399 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    25 ธันวาคม 2006
    โพสต์:
    732
    ค่าพลัง:
    +2,908
    http://palungjit.org/threads/เรียนรู้จากพระเจ้าอยู่หัวผ่านสายตา-ศ-แมนเฟรด-คราเมส.188307/

    แนะนำให้อ่านคร้าบ เป็นมุมมองของชายชาวเยอรมันที่เคารพเทิดทูนในหลวงของเรา และได้พยายามเรียนรู้เกี่ยวกับพระองค์ท่านด้วยตนเองแถมยังเข้าใจพระองค์ท่านได้ดีกว่าเราชาวไทยบางคนเสียอีก
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 23 พฤษภาคม 2009
  16. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    <table width="100%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr><td width="100%" align="center">พระราชดำรัส พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว</td> </tr> <tr> <td width="100%" align="center">พระราชทาน เมื่อวันที่ 4 ธันวาคม 2540</td> </tr> <tr> <td width="100%" align="center">ทรงแนะทางรอดของคนไทย</td> </tr> </tbody></table>
    [​IMG]
    <table width="90%" border="0" cellpadding="0" cellspacing="0"><tbody><tr> <td width="100%">
    "... ให้ยึดหลักเศรษฐกิจการเป็นอยู่แบบพอมีพอกิน
    </td> </tr> <tr> <td width="100%">
    อุ้มชูตัวเองได้ให้มีพอเพียงกับตัวเอง
    </td> </tr> <tr> <td width="100%">
    ความพอเพียงนี้ไม่ได้หมายความว่า
    </td> </tr> <tr> <td width="100%">
    ทุกครอบครัวจะต้องผลิตอาหารของตัว
    </td> </tr> <tr> <td width="100%">
    จะต้องทอผ้าใส่ให้ตัวเอง สำหรับครอบครัว
    </td> </tr> <tr> <td width="100%">
    อย่างนั้นมันเกินไป แต่ว่าในหมู่บ้าน หรือในอำเภอ
    </td> </tr> <tr> <td width="100%">
    จะต้องมีความพอเพียงพอสมควร
    </td> </tr> <tr> <td width="100%">
    บางสิ่งบางอย่างที่ผลิตได้มากกว่าความต้องการ
    </td> </tr> <tr> <td width="100%">
    ก็ขายได้ แต่ขายในที่ไม่ห่างไกลเท่าไร
    </td> </tr> <tr> <td width="100%">
    ไม่ต้องเสียค่าขนส่งมากนัก ..."
    http://www.doae.go.th/ni/food/food _01.htm
    </td></tr></tbody></table>
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 30 มิถุนายน 2009
  17. Tossaporn K.

    Tossaporn K. เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 พฤศจิกายน 2005
    โพสต์:
    1,565
    ค่าพลัง:
    +7,747
    เห็นด้วยอย่างยิ่งครับคุณอ๋อ ปธน.โอบามา อัดฉีดเงินเข้าไประบบการเงินและตลาดหุ้นเมื่อเดือนต้นเมษายนที่ผ่านมาไม่น้อยกว่า 7 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ทำให้ดูเหมือนสถานะการณ์ของตลาดหุ้นในสหรัฐดูเหมือนจะฟื้นตัวดีขึ้นแต่มีหุ้นจำนวนไม่น้อยเลยทีเดียวที่มีสภาพเป็น NPL อยู่ก่อนและถึงตอนนี้ก็ยังเป็ย NPL อยู่เช่นเดิมเพราะยังไม่ได้รับการแก้ไข ซึ่งโดยปกติภาพลวงตาทางตลาดหุ้นจะแสดงผลขอลการลวงตาได้ไม่นานคือประมาณ 3 - 4 เดือนก็จะเริ่มเห็นผลของหุ้น NPL ปรากฏชัดคาดว่าน่าจะต้นสิงหาคมนี้คงไดเห็นหุ้นร่วงหล่นในสหรัฐอีกครั้งและกระทบไปทั่วโลก แต่ไม่ต้องกังวลหรอกเพราะ ปธน.โอบามาเตรียมเงินก้อนโตอีกก้อนอัดฉีดเข้่าไปใหม่อีกครั้ง ซึ่งอาจจะสูงถึง 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ แล้วตลาดหุ้นก็จะกับมาฟื้นอีกในช่วงปลายสิงหาคมนี้ แล้วหุ้นก็จะไปร่วงอีกทีก็มกราคมปีหน้าซึ่งอาจจะเป็นการร่วงครั้งสุดท้ายคือไม่ฟื้นขึ้นอีกเหมือนที่เคยปรากฏมา ผมไม่ได้ฟันธงนะครับแค่ประเมินจากสถานะการณ์เศรษฐกิจโลกปัจจุบัน อย่าคิดมากไปเลยครับ อะไรจะเกิดมันก็ต้องเกิดเดิมตามวิธีของในหลวงท่านดีกว่า คือ "พอเพียง" ครั้บ
     
  18. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    ปลูกพืช ‘คอนโดฯ’..แนวคิดปราชญ์เกษตรเมืองชุมพร

    เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 50
    “ลุง นิล” เป็นชื่อที่ชาวบ้านในละแวก ต.ช่องไม้แก้ว อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร คุ้นเคยเรียกขานกัน ส่วนชื่อจริง คือ “สมบูรณ์ ศรีสุบัติ” เป็นหนึ่งใน 25 ปราชญ์เกษตรเศรษฐกิจพอเพียงที่สำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) คัดเลือกขึ้นมาเป็นปราชญ์เกษตรฯนำร่อง เพื่อเป็นกลไกขยายผลองค์ความรู้และหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่ชุมชนในเขต ปฏิรูปที่ดิน และประชาชนทั่วไป แปลงเกษตรของลุงนิลมีระบบการจัดการที่ลงตัวบนเนื้อที่ 17.13 ไร่ ที่ ส.ป.ก. จัดสรรให้ทำกิน ทุกตารางเมตรถูกใช้ ประโยชน์อย่างคุ้มค่าทั้งปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ช่วยเพิ่มรายได้และลดรายจ่ายในครัวเรือน โดยเฉพาะการปลูกพืช 5 ชั้น เลียนแบบคอนโดมิเนียม สามารถทำเงินรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือนและรายปีให้ลุงนิลอยู่ได้พอมี พอกิน

    แรกเริ่มลุงนิลเข้าทำ ประโยชน์ในที่ดินผืนนี้ ด้วยการปลูกพืชเชิงเดี่ยว คือ ทุเรียนหมอนทอง รวมกว่า 700 ต้น แต่เนื่องจากขาดประสบการณ์และความรู้ด้านการจัดการสวนทุเรียน ทำให้ประสบภาวะขาดทุน ธุรกิจล้มเหลว ทั้งยังมีหนี้สินติดตัวอีกหลายแสนบาท บทเรียนครั้งนั้นทำให้ลุงนิลเกิดความท้อแท้ แต่ภายหลังได้รับฟังพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผ่านทางทีวีเมื่อปี 2540 ทำให้ลุงนิล รู้จักประมาณตน รู้จักตนเอง และมีกำลังใจฮึดสู้อีกครั้ง โดยยึดมั่นอยู่บนพื้นฐานของความพอเพียง และความพอดี

    จากนั้นลุงนิลก็ศึกษาและเริ่มทำการ เกษตรผสมผสาน และเกษตรทฤษฎีใหม่ตามแนวพระราชดำริ เน้นใช้พื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการปลูกพืชหลักและพืชแซมพร้อมกับเลี้ยงสัตว์ เบื้องต้นได้ปลูกพืชที่ชอบกินและกินสิ่งที่ปลูก ซึ่งช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ ผลของความขยันหมั่นเพียรทำให้ปัจจุบันสวนของลุงนิลเต็มไปด้วยพืชเศรษฐกิจ นานาพรรณ มีการปลูกพืชเลียนแบบป่าธรรมชาติ โดยเฉพาะการ ปลูกพืช 5 ชั้น ลักษณะคอนโดมิเนียมถือเป็นไฮไลต์ของแปลงเกษตรพอเพียงผืนนี้ชั้นบนสุดเป็นพืช หลัก คือ ไม้ผลและไม้ยืนต้นที่มีต้นสูง ได้แก่ ทุเรียนหมอนทอง จำนวน 8 ไร่ หมาก 100 ต้น ลองกอง 50 ต้น ลางสาด 50 ต้น มังคุด 100 ต้น ส้มโอ สะตอ ชั้นรองลงมาปลูกพริกไทยแซมตามโคนต้นพืชหลัก ประมาณ 500 ต้น ส่วนชั้น 3 ปลูกพืชแซมตามพื้นที่ว่าง มีกล้วยเล็บมือนาง 1,000 กอ ส้มจี๊ด 9 ไร่ และส้มโชกุน 50 ต้น ขณะที่ชั้น 2 ปลูกพืชสมุนไพรที่มีต้นเตี้ยลงมาอีก ได้แก่ ตะไคร้ และข่า และชั้นล่างสุดเป็นชั้นใต้ดินปลูกขมิ้น กระชาย กลอย และ มันหอม รวมกว่า 2,000 กอ นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงปลาน้ำจืด เช่น ปลายี่สก ปลาแรด ปลานิลแดงเพื่อบริโภคในครัวเรือน ทั้งยังมีการเพาะขยายพันธุ์สุกรจำหน่ายด้วย ซึ่งขณะนี้มีแม่พันธุ์สุกรอยู่กว่า 100 ตัว

    ผลของการทำบัญชีครัว เรือน ทำให้ลุงนิลรู้รายรับ รู้รายจ่าย โดยเฉพาะค่าปุ๋ยเคมีแต่ละปีคิดค่าใช้จ่ายแล้วสูงมาก จึงปรับตัวหันมาใช้ผลพลอยได้จากสุกร คือ มูลสุกร นำมาหมักใช้ปรับปรุงบำรุงดินทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมี นับว่าช่วยประหยัดต้นทุนและได้ผลดีไม่แพ้กัน สำหรับใบไม้ที่ร่วงหล่นในแปลงจะปล่อยให้ทับถมกันและย่อยสลายไปเอง กลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติ ขณะเดียวกันลุงนิลยังใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านผลิตน้ำส้มควันไม้ เป็นสารชีวภาพที่สามารถใช้ไล่แมลงศัตรูพืช และยังขจัดกลิ่นในโรงเรือนสุกรได้ด้วย

    ขณะนี้ผลิตผลเกษตรพอเพียงของ ลุงนิลสามารถทำรายได้ให้อย่างงดงาม มีรายได้รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน และรายปี ซึ่งทุก ๆ วันลุงนิลจะมีรายได้จากการจำหน่ายส้มจี๊ด พริกไทยสด วันละ ประมาณ 700-1,000 บาท ส่วนรายสัปดาห์จะมีรายได้จากการขายกล้วยเล็บมือนาง สมุนไพร และเครื่องแกง ประมาณ 10,000 บาท/สัปดาห์ รายเดือนจะจำหน่ายลูกสุกรที่เพาะพันธุ์ไว้มีรายได้เดือนละไม่ต่ำกว่า 50,000 บาท และเมื่อพืชหลักให้ผลผลิต ทำให้ลุงนิลมีรายได้รายปี จากการขายทุเรียน ลองกอง มังคุด ลางสาด กลอย มันหอม และพริกไทยแห้ง รวมกว่า 305,000 บาท ซึ่งปีที่ผ่านมา ลุงนิลมีรายได้จากผืนดินพอเพียงรวมกว่า 1,371,000 บาท

    ปัจจุบันสวน ลุงนิลได้รับการจัดตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงชุมชน ต.ช่องไม้แก้ว อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร มีเจตนารมณ์ที่จะเผื่อแผ่ แบ่งปันและขยายผลปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงไปสู่เพื่อนบ้าน ชุมชน เกษตรกรในพื้นที่และอำเภอใกล้เคียง รวมทั้งผู้สนใจทั่วไปด้วย ซึ่งขณะนี้คนในชุมชน ได้เข้ามาเรียนรู้และปรับตัวเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจพอเพียงแล้ว กว่า 85% อนาคตลุงนิลมีแผนที่จะเพาะกล้าไม้พื้นเมืองและปลูกไม้ใช้สอยในสวนเพิ่มมาก ขึ้น ทั้งยังมีแผนที่จะชักชวนลูกหลานให้กลับมาพัฒนาบ้านเกิดด้วย “ทำอะไรก็ตาม อย่าทำมาก ต้องค่อย ๆ ลองทำไปก่อน ต้องเรียนรู้ก่อน ค่อยทำจริง หลังเปลี่ยนแนวคิดสู่ความพอเพียง ทำให้ชีวิตผมเปลี่ยนไป ปัจจุบันครอบครัวสามารถปลดหนี้ได้ ไม่มีหนี้สิน อยู่อย่างมีความสุข พอมีพอกิน และยังมีเงินเหลือเก็บ” ลุงนิลบอกตอน ท้ายด้วยสีหน้าเปื้อนยิ้ม

    ผืน ดินพอเพียงผืนนี้ ยินดีต้อนรับทุกท่านที่จะเข้าไปศึกษาเรียนรู้ หากสนใจสามารถติดต่อได้ที่ 14 หมู่ 6 ต.ช่องไม้แก้ว อ.ทุ่งตะโก จ.ชุมพร โทร. 08-4195-2335.


    ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 มิถุนายน 2550
    http://www.dailynews.co.th/web/html/popup_news/Default.aspx?Columnid=40687&NewsType=2&Template=1
     
  19. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    เศรษฐกิจพอเพียง ความหมายคือ<o></o>
    ทำอะไรให้เหมาะสม<o></o>
    กับฐานะของตัวเอง คือ ทำจากรายได้<o></o>
    200 – 300 บาท ขึ้นไป เป็น 2 หมื่น 3 หมื่นบาท<o></o>
    คนชอบเอาคำพูดของฉัน เศรษฐกิจพอเพียงไปพูดกันเลอะเทอะ
    เศรษฐกิจพอเพียง คือ ทำเป็น Self – Sufficiency<o></o>
    มันไม่ใช่ความหมายไม่ใช่แบบที่ฉันคิด<o></o>
    ที่ฉันคิด คือ เป็น Self – Sufficiency of Economy<o></o>
    เช่น ถ้าเขาต้องการดู TV ก็ควรให้เขามีดู<o></o>
    ไม่ใช่ไปจำกัดเขาไม่ให้ซื้อ TV ดู เขาต้องการดูเพื่อสนุกสนาน<o></o>
    ในหมู่บ้านไกล ๆ ที่ฉันไป เขามี TV เขาฟุ่มเฟือย<o></o>
    เปรียบเสมือนคนไม่มีสตางค์ไปตัด Suit<o></o>
    และยังใส่ Necktie Versace อันนี้ก็เกินไป... ~<o></o>​
     
  20. Falkman

    Falkman พลังจิตนานาชาติ ทีมงาน ผู้ดูแลเว็บบอร์ด

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 กรกฎาคม 2006
    โพสต์:
    19,726
    ค่าพลัง:
    +77,791
    "มีคนหนึ่งพูด เป็นด๊อกเตอร์ เขาพูดว่า เศรษฐกิจพอเพียงนี่ภาษาอังกฤษว่าอย่างไร แหมคันปากอยากจะพูด ที่จริงที่คันปากจะพูดเพราะว่าตอบแล้ว อย่างที่เห็นในทีวีรายการใหญ่ เขาพูดถามโน่นถามนี่เราดูแล้วรำคาญ เพราะว่าตอบแล้ว ตอบเสร็จแล้วก็ถามใหม่ เมื่อตอบอีกก็บอกว่าทำไมพูด คราวนี้เราฟังเขา แล้วเขาถามว่าอังกฤษภาษาจะแปลเศรษฐกิจพอเพียงว่าอย่างไร ก็อยากตอบว่า มีแล้วในหนังสือ ในหนังสือไม่ใช่หนังสือตำราเศรษฐกิจในหนังสือพระราชดำรัส ที่อุตส่าห์พิมพ์และนำมาปรับปรุงดูให้ฟังได้ และแปลเป็นภาษาอังกฤษ เพราะว่าคนที่ฟังภาษาไทย บางทีไม่เข้าใจภาษาไทย ก็ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษ และเน้นว่าเศรษฐกิจพอเพียงแปลว่า Sufficiency Economy โดยเขียนเป็นตัวหนาในหนังสือ เสร็จแล้วเข้าก็มาบอกว่า คำว่า Sufficiency Economy ไม่มีในตำราเศรษฐกิจ จะมีได้อย่างไร เพราะว่าเป็นทฤษฎีใหม่ เป็นตำราใหม่ ถ้ามีอยู่ในตำราก็หมายความว่าเราก๊อปปี้มา เราลอกเขามา เราไม่ได้ลอกไม่อยู่ในตำราเศรษฐกิจ เป็นเกียรติที่เขาพูด อย่างที่เขาพูดอย่างนี้ว่า Sufficiency Economy นั้นไม่มีในตำรา การที่พูดว่าไม่มีในตำรานี่ ที่ว่าเป็นเกียรตินั้นก็หมายความว่า เรามีความคิดใหม่ โดยที่ท่านผู้เชี่ยวชาญสนใจ ก็หมายความว่า เราก็สามารถที่จะคิดอะไรได้ จะถูกจะผิดก็ช่าง แต่ว่าเขาสนใจ เขาก็สามารถที่จะไปปรับปรุงหรือไปใช้หลักการเพื่อที่จะให้เศรษฐกิจของประเทศ และของโลกพัฒนาดีขึ้น"

    พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
    23 ธันวาคม 2542
     

แชร์หน้านี้

Loading...