การปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อเข้าถึงความเป็นพุทธะ

ในห้อง 'อภิญญา - สมาธิ' ตั้งกระทู้โดย พลน้อย, 11 กรกฎาคม 2009.

  1. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    การปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อเข้าถึงความเป็นพุทธะ
    วันนี้จะอธิบายเรื่อง การปฏิบัติสมาธิและวิปัสสนากรรมฐาน ตามหลักพระพุทธศาสนา ที่สามารถเข้าถึงความเป็นพุทธะได้ เป็นแนวทางการปฏิบัติที่สามารถเข้าถึงได้จริง ผู้อธิบายก็เข้าถึงความเป็นพุทธะ ด้วยการปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนา ตามคำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้าที่ว่า
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา<O:p</O:p

    จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปุเรนฺติ,

    จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา

    สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปุเรนฺติ,

    สตฺต โพชฺฌงคา ภาวิตา พหุลีกตา

    วิชฺชา วิมุตฺตึ ปริปุเรนฺติ. แปลว่า<O:p</O:p


    <O:p</O:p


    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสตินี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น

    ทำให้บ่อยๆแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า ทำสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์,

    สติปัฏฐานสี่นี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว

    ย่อมได้ชื่อว่า ทำโพชฌงค์เจ็ดให้บริบูรณ์,

    โพชฌงค์เจ็ดนี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว<O:p</O:p

    <O:p</O:p
    การปฏิบัติที่ผู้อธิบายปฏิบัตินั้น ผู้อธิบายหาวิธีการปฏิบัติทุกแบบ หาธรรมะทุกแบบ ที่มีอยู่ที่สอนกันอยู่ นำมาปฏิบัติ โดยใช้ พื้นฐานของสัมมาทิฏฐิที่มีอยู่เดิมแยกแยะคำสอน หากคำสอนใดถูกก็นำมาปฏิบัติ คำสอนใดผิดก็วางคำสอนนั้นไป เมื่อปฏิบัติจนถึงที่สุดแล้วนั้น ผลที่ได้จะอออกมาตรงกับคำสอนของ องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้าทุกประการ คำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้าเป็นสิ่งวิเศษผู้เข้าถึงแล้วเท่านั้นจึงจะเข้าใจความหมาย สามารถย่อ ขยายธรรมะได้ทั้งหมด แม้อ่านไปครึ่งหนึ่ง ปิดอีกครึ่งที่เหลือก็สามารถขยายความต่อนั้นได้
    <O:p</O:p
    ธรรมะด้านบนเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า ที่คุณธรรมภูต พิมพ์ไว้ในกระทู้ก่อนๆ เมื่ออ่านแล้วก็ตรงตามที่ปฏิบัติ ซึ่งสามารถขยายความได้ละเอียดเพื่อให้อ่านและเข้าใจได้ง่ายขึ้น
    <O:p</O:p
    จะหาตัวอย่างผู้เข้าถึงพุทธะ จากพระสงฆ์ที่อยู่ในเว็บนี้ มีสายพระป่าสายของหลวงปู่มั่น คณะหลวงตามหาบัวหลายท่านเข้าถึงพุทธะ บ้างท่านเข้าถึงกระแสพุทธะ แต่ยังเข้าไม่ถึงที่สุด และสายอื่นๆมีสมมุติสงฆ์ 2-3 ท่านที่มีชิวิตอยู่ที่นำมาอ้างอิงในเว็บนี้ ไม่ได้เข้าถึงอะไรเลย อาศัยอ่านตำรา/ประวัติพระอรหันต์/พระไตรปิฏก แต่งเติมเป็นประวัติตน และทำตนประหนึ่งผู้บรรลุธรรมะ พวกนี้ไม่อยากพูดถึงมากเพราะลูกศิษย์เยอะเดียวมาปรามาสผู้อธิบายเต็มกระทู้<O:p</O:p
    การที่เอาธรรมะ/เอาตำรา/ประวัติพระอรหันต์/พระไตรปิฏก มาปะติปะต่อกัน จนปุตุชนไม่สามารถแยกแยะได้เลย ว่าคำสอนใดถูกต้อง คำสอนใดผิด ใครเข้าถึงธรรมะ ใครเข้าไม่ถึงธรรมะ ท่านแยกแยะไม่ได้เพราะท่านมิได้มีใจเป็นธรรม ถ้าใจท่านเข้าถึงธรรมะแล้ว ท่านจะทราบว่าใครของจริง ใครของปลอม ของปลอม แม้อ่านหรือจำ มาเท่าใดก็ตาม อธิบายได้ก็เพียงสิ่งที่จำมา อธิบายเกินแม้เล็กน้อยธรรมะก็คาดเคลื่อน อธิบายวนเวียนอยู่กับสิ่งที่ตนจำได้เท่านั้น ส่วนท่านที่เป็นของจริงนั้น ไม่จำเป็นต้องไปจำอะไร ธรรมะ มันออกมาจากใจ/จากจิต อธิบายอย่างไรก็เป็นธรรมที่สมบูรณ์ <O:p</O:p
    ยกเอาเรื่องนี้มาให้ผู้อ่านพิจารณา เพราะธรรมะขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เสื่อมและคาดเคลื่อนจากคนใน ที่ทำตนเป็นหนอนกัดกินพระศาสนา ท่านพวกนี้ทำตนเองเจริญมากกว่าพระศาสนาเจริญ ท่านพวกนี้หลงเงินทำบุญ หลงชื่อหลงเสียง มากกว่าทำให้ใจผู้ปฏิบัติดีขึ้น มาเจอพวกนี้เข้าจะไม่พูดถึงคงไม่ได้ พวกนี้ทำให้พระศาสนาและพระธรรมเสื่อม
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ผู้อธิบายจะอธิบายการปฏิบัติเองตรงๆก็เกรงว่า ผู้อ่านอาจไม่มีศรัทธา เมื่อไม่มีศรัทธากำลังจิต/กำลังใจก็ไม่เกิด และอาจจะเกิดความลังเล สงสัยขึ้นได้ ผลของการปฏิบัติก็จะไม่เกิดผล ซึ่งเป็นผลเสียของการปฏิบัติอย่างยิ่ง แม้ธรรมะจะถูกต้องซักเพียงใด การปฏิบัติก็จะไม่มีผล ถ้าขาดกำลังจิต/กำลังใจ หรือเกิดความลังเล สงสัยในธรรมนั้นขึ้น เพราะไม่มีศรัทธาหรือมิได้น้อมใจตามการปฏิบัติก็ย่อมไม่เกิดผล
    <O:p</O:p
    จึงหาคำสอนท่านที่เข้าถึงความเป็นพุทธะเช่นกัน ได้มา 2 ท่าน เป็นพุทธะสาวกภูมิ คือ เป็นพระอรหันต์ 2 ท่าน ท่านที่ปรินิพานไปแล้ว 1 ท่านคือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล กับท่านที่มีชีวิตอยู่ 1 คือ พระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร ทั้ง 2 ท่านมีคำสอนคล้ายคำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้าด้านบน และเป็นคำสอนที่เข้าถึงความเป็นพุทธะได้ง่ายที่สุด และเร็วที่สุด ท่านทั้ง 2 ก็เข้าถึงคำสอนตามที่ได้สอนออกมาแล้ว ส่วนท่านที่เป็น พุทธภูมิ ก็ให้ปฏิบัติตามที่แนะนำนี้ท่านจะเข้าถึงเร็ว
    <O:p</O:p
     
  2. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    ท่านแรกที่จะยกมาคือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล
    <O:p</O:p

    วิธีเจริญจิตภาวนาตามแนวการสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๑. เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ และ รู้อยู่กับที่ โดยไม่ต้องรู้อะไร คือ รู้ตัว อย่างเดียวรักษาจิตเช่นนี้ไว้เรื่อยๆ ให้ "รู้อยู่เฉยๆ" ไม่ต้องไปจำแนกแยกแยะ อย่าบังคับ อย่าพยายาม อย่าปล่อยล่องลอยตามยถากรรม <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อรักษาได้สักครู่ จิตจะคิดแส่ไปในอารมณ์ต่างๆ โดยไม่มีทางรู้ทันก่อน เป็นธรรมดาสำหรับผู้ฝึกใหม่ ต่อเมื่อจิตแล่นไป คิดไปในอารมณ์นั้นๆ จนอิ่มแล้ว ก็จะรู้สึกตัวขึ้นมาเอง เมื่อรู้สึกตัวแล้วให้พิจารณาเปรียบเทียบภาวะของตนเอง ระหว่างที่มีความรู้อยู่กับที่ และระหว่างที่จิตคิดไปในอารมณ์ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร เพื่อเป็นอุบายสอนจิตให้จดจำจากนั้น ค่อยๆ รักษาจิตให้อยู่ในสภาวะรู้อยู่กับที่ต่อไป ครั้นพลั้งเผลอรักษาไม่ดีพอ จิตก็จะแล่นไปเสวยอารมณ์ข้างนอกอีก จนอิ่มแล้ว ก็จะกลับรู้ตัว รู้ตัวแล้วก็พิจารณา และรักษาจิตต่อไปด้วยอุบายอย่างนี้ ไม่นานนัก ก็จะสามารถควบคุมจิตได้ และบรรลุสมาธิในที่สุด และจะเป็นผู้ฉลาดใน "พฤติแห่งจิต" โดยไม่ต้องไปปรึกษาหารือใคร <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ข้อห้าม ในเวลาจิตฟุ้งเต็มที่ อย่าทำ เพราะไม่มีประโยชน์ และยังทำให้บั่นทอนพลังความเพียร ไม่มีกำลังใจในการเจริญจิตครั้งต่อๆ ไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในกรณีที่ไม่สามารถทำเช่นนี้ ให้ลองนึกคำว่า "พุทโธ" หรือคำอะไรก็ได้ที่ไม่เป็นเหตุเย้ายวน หรือเป็นเหตุขัดเคืองใจ นึกไปเรื่อยๆ แล้วสังเกตดูว่า คำที่นึกนั้น ชัดที่สุดที่ตรงไหน ที่ตรงนั้นแหละคือฐานแห่งจิต พึงสังเกตว่า ฐานนี้ไม่อยู่คงที่ตลอดกาล บางวันอยู่ที่หนึ่ง บางวันอยู่อีกที่หนึ่ง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ฐานแห่งจิตที่คำนึงพุทโธปรากฏชัดที่สุดนี้ ย่อมไม่อยู่ภายนอกกายแน่นอน ต้องอยู่ภายในกายแน่ แต่เมื่อพิจารณาดูให้ดีแล้ว จะเห็นว่าฐานนี้จะว่าอยู่ที่ส่วนไหนของร่างกายก็ไม่ถูก ดังนั้น จะว่าอยู่ภายนอกก็ไม่ใช่ จะว่าอยู่ภายในก็ไม่เชิง เมื่อเป็นเช่นนี้ แสดงว่าได้กำหนดถูกฐานแห่งจิตแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อกำหนดถูก และพุทโธปรากฏในมโนนึกชัดเจนดี ก็ให้กำหนดนึกไปเรื่อย อย่าให้ขาดสายได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าขาดสายเมื่อใด จิตก็จะแล่นสู่อารมณ์ทันที
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อเสวยอารมณ์อิ่มแล้ว จึงจะรู้สึกตัวเองก็ค่อยๆ นึกพุทโธต่อไป ด้วยอุบายวิธีในทำนองเดียวกับที่กล่าวไว้เบื้องต้น ในที่สุดก็จะค่อยๆ ควบคุมจิตให้อยู่ในอำนาจได้เอง<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ข้อควรจำ ในการกำหนดจิตนั้น ต้องมีเจตจำนงแน่วแน่ ในอันที่จะเจริญจิตให้อยู่ในสภาวะที่ต้องการ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เจตจำนงนี้ คือ ตัว "ศีล" <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การบริกรรม "พุทโธ" เปล่าๆ โดยไร้เจตจำนงไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย กลับเป็นเครื่องบั่นทอนความเพียร ทำลายกำลังใจในการเจริญจิตในคราวต่อๆ ไป แต่ถ้าเจตจำนงมั่นคง การเจริญจิตจะปรากฏผลทุกครั้งไม่มากก็น้อยอย่างแน่นอน
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดังนั้น ในการนึก พุทโธ การเพ่งเล็งสอดส่อง ถึงความชัดเจน และความไม่ขาดสายของพุทโธ จะต้องเป็นไปด้วยความไม่ลดละ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เจตจำนงที่มีอยู่อย่างไม่ลดละนี้ หลวงปู่เคย เปรียบไว้ว่า มีลักษณะการประหนึ่งบุรุษหนึ่งจดจ้องสายตาอยู่ที่คมดาบที่ข้าศึกเงื้อขึ้นสุดแขนพร้อมที่จะฟันลงมา บุรุษผู้นั้นจดจ้องคอยทีอยู่ว่า ถ้าคมดาบนั้นฟาดฟันลงมา ตนจะหลบหนีประการใดจึงจะพ้นอันตราย<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    เจตจำนงต้องแน่วแน่เห็นปานนี้ จึงจะยังสมาธิให้บังเกิดได้ ไม่เช่นนั้นอย่าทำให้เสียเวลา และบั่นทอนความศรัทธาตนเองเลย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อจิตค่อยๆ หยั่งลงสู่ความสงบทีละน้อย ๆ อาการที่จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก ก็ค่อย ๆ ลดความรุนแรงลง ถึงไปก็ไปประเดี๋ยวประด๋าว ก็รู้สึกตัวได้เร็ว ถึงตอนนี้คำบริกรรมพุทโธ ก็จะขาดไปเอง เพราะคำบริกรรมนั้นเป็นอารมณ์หยาบ เมื่อจิตล่วงพ้นอารมณ์หยาบ และคำบริกรรมขาดไปแล้ว ไม่ต้องย้อนถอยมาบริกรรมอีก เพียงรักษาจิตไว้ในฐานที่กำหนดเดิมไปเรื่อยๆ และสังเกตดูความรู้สึกและ "พฤติแห่งจิต" ที่ฐานนั้น ๆ บริกรรมเพื่อรวมจิตให้เป็นหนึ่ง สังเกตดูว่า ใครเป็นผู้บริกรรมพุทโธ<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    ๒. ดูจิตเมื่ออารมณ์สงบแล้ว ให้สติจดจ่ออยู่ที่ฐานเดิมเช่นนั้น เมื่อมีอารมณ์อะไรเกิดขึ้น ก็ให้ละอารมณ์นั้นทิ้งไป มาดูที่จิตต่อไปอีก ไม่ต้องกังวลใจ พยายามประคับประคองรักษาให้จิตอยู่ในฐานที่ตั้งเสมอๆ สติคอยกำหนดควบคุมอยู่อย่างเงียบๆ (รู้อยู่) ไม่ต้องวิจารณ์กิริยาจิตใดๆ ที่เกิดขึ้น เพียงกำหนดรู้แล้วละไปเท่านั้น เป็นไปเช่นนี้เรื่อยๆ ก็จะค่อยๆ เข้าใจกิริยาหรือพฤติแห่งจิตได้เอง (จิตปรุงกิเลส หรือ กิเลสปรุงจิต)<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    ทำความเข้าใจในอารมณ์ความนึกคิด สังเกตอารมณ์ทั้งสาม คือ ราคะ โทสะ โมหะ<O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    ๓. อย่าส่งจิตออกนอก กำหนดรู้อยู่ในอารมณ์เดียวเท่านั้น อย่าให้ซัดส่ายไปในอารมณ์ภายนอก เมื่อจิตเผลอคิดไปก็ให้ตั้งสติระลึกถึงฐานกำหนดเดิม รักษาสัมปชัญญะให้สมบูรณ์อยู่เสมอ (รูปนิมิตให้ยกไว้ ส่วนนามนิมิตทั้งหลายอย่าได้ใส่ใจกับมัน) <O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    ระวัง จิตไม่ให้คิดเรื่องภายนอก สังเกตการหวั่นไหวของจิตตามอารมณ์ที่รับมาทางอายตนะ ๖<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๔. จงทำญาณให้เห็นจิต เหมือนดั่งตาเห็นรูป เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อย ๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ได้แล้ว จิตก็จะค่อย ๆ รู้เท่าทันการเกิดของอารมณ์ต่างๆ อารมณ์ความนึกคิดต่างๆ ก็จะค่อยๆ ดับไปเรื่อยๆ จนจิตว่างจากอารมณ์ แล้วจิตก็จะเป็นอิสระ อยู่ต่างหากจากเวทนาของรูปกาย อยู่ที่ฐานกำหนดเดิมนั่นเอง การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    คิดเท่าไหร่ก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดจึงรู้ แต่ต้องอาศัยการคิด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๕. แยกรูปถอด ด้วยวิชชา มรรคจิต เมื่อสามารถเข้าใจได้ว่า จิต กับ กาย อยู่คนละส่วนได้แล้ว ให้ดูที่จิตต่อไปว่า ยังมีอะไรหลงเหลืออยู่ที่ฐานที่กำหนด (จิต) อีกหรือไม่ พยายามให้สติสังเกตดูที่ จิต ทำความสงบอยู่ใน จิต ไปเรื่อยๆ จนสามารถเข้าใจ พฤติของจิต ได้อย่างละเอียดละออตามขั้นตอน เข้าใจในความเป็นเหตุเป็นผลกันว่า เกิดจากความคิดมันออกไปจากจิตนี่เอง ไปหาปรุงหาแต่ง หาก่อ หาเกิด ไม่มีที่สิ้นสุด มันเป็นมายาหลอกลวงให้คนหลง แล้วจิตก็จะเพิกถอนสิ่งที่มีอยู่ในจิตไปเรื่อยๆ จนหมด หมายถึงเจริญจิตจนสามารถเพิกรูปปรมาณูวิญญาณที่เล็กที่สุดภายในจิตได้ <O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    คำว่า แยกรูปถอด นั้น หมายความถึง แยกรูปวิญญาณ นั่นเอง<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๖. เหตุต้องละ ผลต้องละ เมื่อเจริญจิตจนปราศจากความคิดปรุงแต่งได้แล้ว (ว่าง) ก็ไม่ ต้องอิงอาศัยกับกฎเกณฑ์แห่งความเป็นเหตุเป็นผลใด ๆ ทั้งสิ้น จิตก็อยู่เหนือภาวะแห่งคลองความคิดนึกต่างๆ อยู่เป็นอิสระ ปราศจากสิ่งใดๆ ครอบงำอำพรางทั้งสิ้น <O:p></O:p>
    <O:p</O:p

    เรียกว่า "สมุจเฉทธรรมทั้งปวง"<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    <O:p
    ๗. ใช้หนี้--ก็หมด พ้นเหตุเกิด เมื่อเพิกรูปปรมาณูที่เล็กที่สุดเสียได้ กรรมชั่วที่ประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับรูปปรมาณูนั้น ก็หมดโอกาสที่จะให้ผลต่อไปในเบื้องหน้า การเพิ่มหนี้ก็เป็นอันสะดุดหยุดลง เหตุปัจจัยภายนอกภายในที่มากระทบ ก็เป็นสักแต่ว่ามากระทบ ไม่มีผลสืบเนื่องต่อไป หนี้กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ตั้งแต่ชาติแรก ก็เป็นอันได้รับการชดใช้หมดสิ้น หมดเรื่องหมดราวหมดพันธะผูกพันที่จะต้องเกิดมาใช้หนี้กรรมกันอีก เพราะ กรรมชั่วอันเป็นเหตุให้ต้องเกิดอีก ไม่อาจให้ผลต่อไปได้ เรียกว่า "พ้นเหตุเกิด"
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๘. ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เขาไม่พูดหรอกว่า เขารู้อะไร เมื่อธรรมทั้งหลายได้ถูกถ่ายทอดไปแล้ว สิ่งที่เรียกว่า ธรรม จะเป็นธรรมไปได้อย่างไร สิ่งที่ว่า ไม่มีธรรม นั่นแหละมันเป็นธรรมของมันในตัว (ผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริง) <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อจิตว่างจาก "พฤติกรรม" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การเจริญจิตเข้าสู่ที่สุดแห่งทุกข์นั้น จะต้องถึงพร้อมด้วย วิสุทธิศีล วิสุทธิธรรม พร้อมทั้ง ๓ ทวาร คือ กาย วาจา ใจ จึงจะยังกิจให้ลุล่วงถึงที่สุดแห่งทุกข์ได้<O:p></O:p>
     
  3. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านสอนเริ่มจาก เริ่มต้นอริยาบถที่สบาย ยืน เดิน นั่ง นอน ได้ตามสะดวก ทำความรู้ตัวเต็มที่ คือ เริ่มจากมีสติที่กาย ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง นอน ถ้ามีสติที่กายรู้ได้ชัดเจน จึงจะไปรู้จิต ไปเอาสติจับที่จิตได้ ลองนึกถึง สติปัฏฐานสี่ คือ สติที่กาย สติที่เวทนา สติที่จิต มีสติที่ธรรมะ
    ที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล เริ่มจากสติที่กายก่อน แล้วจึงไปมีสติที่ได้จิต การรู้ที่จิต ก็คือการมีสติที่จิตนั้นล่ะ แล้ว สติที่เวทนา อยู่ไหน คำตอบ อยู่ระหว่างกายกับจิตนั้นล่ะ ถ้ามีสติที่กายจะเห็น เวทนาที่กาย ถ้ามีสติที่จิต จะเห็นเวทนาที่จิต และการที่จิตเข้าถึงรู้บริสุทธิ์ได้เรียกกว่า “เข้าถึงธรรมะ”จัดเป็นผู้มีสติปัญญา ผู้มีปัญญาแจ้งแล้ว<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านผู้อ่านสังเกตอย่างหนึ่ง ท่านผู้สอนผิดที่ไปดูจิตโดยตรงเลย และก็ดูไม่เห็นจิตไปเห็นความคิดแทน มันไม่ใช่เรื่องแปลกอะไร ถ้าเข้าไม่ถึงพุทธะ ไม่มีทางเห็นจิตได้โดยตรงทันที <O:p</O:p
    ท่านผู้สอนที่สอนเรื่องจิตผิดๆเพราะไปดูจิตขณะที่ยังมีความคิดฟุ่งซ่านอยู่ ท่านข้ามข้อที่ 1 ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ไม่ได้สอนตรงตามที่หลวงปู่ดูลย์ อตุโล สอนแล้วจะไปอ้างว่าเป็นลูกศิษย์ท่านได้อย่างไร อ้างไปเรื่อย มีหลายท่านที่เป็นลูกศิษย์ท่านเข้าใจถูกทางแล้ว แต่ท่านที่สอนผิดๆทำให้ลูกศิษย์หลงผิดไปทุกท่านเลย หลงเหมือนกันที่ท่านหลงอยู่นั้นล่ะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อหลงผิดก็มีคำสอนตรงข้ามกับความเป็นพุทธะ ดังที่อธิบายไปในกระทู้แรก ท่านจะดูจิตได้ต่อเมื่อสงบจากความคิดเท่านั้น นี้คือข้อที่ 2 ที่ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านสอนดูเอานะ ท่านที่ดูจิตนะ ผมสงสารพวกท่านจึงมาแนะนำ ซึ่งหลายท่านมีจิตเป็น มิจฉาทิฐิ บางท่านหลงผิดมาก ปรามาสผู้อธิบายเลย ทั้งที่ชี้ถูกชี้ผิดให้ดูนะ มีเจตนาดี ยังแยกแยะผิดถูกไม่ได้เลย <O:p</O:p
     
  4. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    ส่วนท่านที่ 2 พระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร
    การฝึกตนให้มีสติควบคุมจิต
    วัดป่าหมู่ใหม่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การฝึกตนให้มี สติสัมปชัญญะ รู้สึกตัวทั่วพร้อม เป็นสิ่ง สำคัญต่อการดำรงชีวิต ผู้มีสติรู้ตัวอยู่ตลอดเวลา จะเป็นผู้ได้ รับประโยชน์ การกระทำกิจการใดๆ ก็ลุล่วงไปด้วยดี ไม่ค่อย มีสิ่งผิดพลาดเกิดขึ้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๑. มีสติรู้ตัว รู้ลมหายใจเข้า-ออก มีสติอยู่รู้ว่า ขณะนี้ หายใจเข้ายาว-หายใจออกยาว ก็รู้อยู่ หายใจเข้าสั้น-หายใจออกสั้น ก็รู้อยู่ อาจจะ ใช้คำภาวนาในใจ อย่างใดกำกับตามไปด้วยก็ได้<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๒. มีสติรู้ตัว ตามรู้จิต เมื่อมีสติ รู้ลมหายใจอยู่ ก็ตามรู้จิต ธรรมชาติของจิต มีความหลุกหลิก กลิ้งกลอกอ่อนไหว ว่องไว คิดเรื่อยเปื่อยไปได้ทั้งดีและชั่ว ต้องใช้สติต่างเชือกมัดจิตไว้กับหลัก คือลมหายใจให้ได้ จิตคิดวิ่งไปที่ไหน ก็ใช้สติระลึกรู้ตาม ไปประคองจิตไว้ไม่ให้คิดในเรื่องชั่ว อันเป็น บาปทุจริต ประคอง จิตไว้ให้คิดในเรื่องดี อันเป็นบุญสุจริต เท่านั้น ความผ่องใส ในจิตจะเกิดเพิ่มขึ้น ความทุกข์ก็จะค่อยสิ้นไป<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๓. มีสติรู้ตัวทุกอิริยาบถของร่างกาย มีสติระลึก รู้ตัวตั้งแต่ตื่น นอนลืมตาขึ้นมาว่า ตื่นแล้วกำลังจะลุกขึ้นนั่ง ย่างก้าวเดินเข้าห้องน้ำ แปรงฟัน อาบน้ำ ขับถ่าย ๆลๆ มีสติระลึกรู้ตัวไปทั่วทุกสิ่ง ทั่วทุกอิริยาบถ เคลื่อนไหว ยืน เดิน นั่ง นอน เหลียวซ้าย แลขวา ก้าวหน้า ถอยหลัง ก็ทำสติตามรู้ทุกอย่างไป แม้จะยังไม่บริบูรณ์ ด้วยจิตหนีหายหลบไป เมื่อรู้ตัวก็กำหนดสติต่อไป จะเกิดผล เป็นผู้มีพลัง สติคุมจิต ตั้งมั่นเกิดสมาธิ<O:p></O:p>
    <O:p</O:p
    ๔. มีสติรู้ตัวพิจารณาให้เห็นความจริง มีสติพิจารณา ในความเป็น ธรรมชาติ ที่มีเห็นอยู่ รอบๆ ตัวเรานี้ ล้วนเป็นสิ่งไม่เที่ยง คงทนถาวรอยู่ได้ตลอดไป เกิดมีขึ้นแล้ว ต้องมีการเปลี่ยนแปลงไป ไม่หยุดนิ่ง แล้วก็ดับหายตายจากไป ไม่เราจากสิ่งนั้นไปก่อน สิ่งนั้น ก็ จากเราไปก่อน ไม่มีใครจะยึดเหนี่ยวรั้งสิ่งใดไว้ได้ เป็น ธรรมชาต ิที่เลื่อนไหลไปอยู่อย่างนั้นเป็นธรรมดาอย่ายึดถือไว้เป็นความทุกข์<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ๕. มีสติรู้ตัว ถอนความยึดถือ ในตัวตนเสีย มีสติพิจารณา ดูลงไป ที่ตัวเราเองว่า มีอะไรบ้าง หรือที่เราบังคับได้บ้าง ร่างกายนี้ตั้งแต่เกิดมา มีแต่ ความเปลี่ยนแปลงอย่างไม่หยุดนิ่ง เกิดมาได้อย่างไร ไม่รู้ตัว เลย(หรือใครรู้ตัวบ้างช่วยบอกที) มารู้ตัวเอาก็ต่อเมื่อเติบโตพอจำความได้แล้ว ก็มีความเปลี่ยนแปลง ไม่หยุดยั้ง แล้วก็ต้องตายไป ทำพิธีต่ออาย ุสืบชะตาอย่างไร ก็ต้องตายทุกคน แล้วจะยึดถือว่าเป็นตัวเรา ของเราได้อย่างไร ตายแล้วไม่เผาได ก็ฝังดินเท่านั้นเอง มันเป็นเพียงธรรมชาติ ที่เกิด ขึ้นแล้วก็ดับไป เราเพียงยืมใช้ได้อาศัยศึกษา รักษาไว้เป็นพาหนะ ให้ทำความดี<O:p</O:p
    เพื่อข้ามวัฎสงสารเท่านั้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ๖. มีสติรู้ตัว พูดจาให้น้อยลง พูดเท่าที่จำเป็น จะต้องพูด ด้วยความมีสติรู้ตัวอยู่ การพูดมากมีโอกาสพูดผิดได้มาก ไม่เกิดประโยชน์แล้วยังเป็นโทษอีกด้วย เป็นผู้ฟังแล้วตามคิด เลือกจำสิ่งดีๆ มาใช้จะได้ประโยชน์ กว่าคนพูดมาก มักขาดสติง่าย เป็นผู้ฟังที่โทษน้อย หรือไม่มีเลย แต่เป็นผู้ได้รู้มากกว่าผู้พูด<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ทั้ง ๖ ข้อนี้ ที่กล่าวมาแล้วนี้ เป็นสิ่งที่ควรสนใจฝึกอบรมสติ ควบคุมจิต ให้เกิดพลังจิตที่มีประสิทธิภาพ ที่ควรแก่การงาน การกระทำกิจการงานใดๆ จะมีความสำเร็จ ถูกต้องเป็นส่วนใหญ่ เป็นพื้นฐานที่ถูกต้องต่อการดำรงชีวิต
    <O:p</O:p
    และการปฏิบัติธรรมให้ก้าวหน้า เจริญสู่ขั้นสูงได้ง่าย ต่อไป การฝึกฝนตนเอง ด้วยการมีสติควบคุมจิต ต้องใช้ความเพียรอย่างมาก เพียงใดก็ตาม ก็ อย่า ได้มีความท้อถอย ที่ใดมีความตั้งใจจริง เพียรพยายามอยู่ ความสำเร็จย่อมมีตามมาอย่างมิสงสัย<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร ท่านเป็นพระอรหันต์ ได้อ่านคำสอนท่านเข้าใจง่ายกว่า หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ท่านนี้ฉลาดในคำสอนมาก อธิบายสั้นๆ 6 ได้ได้ใจความและผลการปฏิบัติเท่ากับหลวงปู่ดูลย์ ท่านพระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร นี้ยังมีชีวิตอยู่ ถ้าท่านผู้อ่านท่านใดมีอาจารย์อยู่ในสายพระป่า อย่างหลวงตามหาบัว หรือท่านที่หลวงตามหาบัว และพระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร บอกว่าถึงที่สุดแล้ว ท่านผู้อ่านเอาท่านนั้นเป็น ครูอาจารย์ได้เลย แต่ถ้าไปเอาผู้หลงผิดเป็นครูอาจารย์ ท่านก็จะได้ความหลงผิดนั้นไปด้วย ถ้าสงสัยธรรมะอะไรก็ไปถามพระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร ท่านจะเป็นการดี
    <O:p</O:p
    ผมทราบเองว่าพระอาจารย์ ประสิทธิ์ ปุญญมากโร เข้าถึงความเป็นพุทธะ ไม่ได้ไปอ่านหรือดูจากใครยืนยัน เพราะท่านที่เข้าถึงจะมีความเข้าใจที่ตรงกันอยู่ ไม่ต้องรอให้ใครมาบอก และผมกับท่านทั้ง 2 ไม่เคยรู้จักกันทางโลก แต่ทางธรรม ท่านทั้ง 2 เข้าถึงความเป็นพุทธะเหมือนกัน แต่ต่างกันตรงท่านเป็น สาวกภูมิ<O:p</O:p
     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2009
  5. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    การจะเข้าถึง มหาสติหรือความเป็นพุทธะได้นั้น มีอยู่
    อย่างหยาบ 40 ทาง ตามพระกรรมฐาน 40 <O:p</O:p
    อย่างกลาง มหาสติปัฏฐานสี่<O:p</O:p
    อย่างละเอียด โพชฌงค์เจ็ด <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงพุทธะมีอยู่ตามด้านบนนี้ แต่ถ้าจะอธิบายถึงกำลังใจที่จะเข้าถึงพุทธะ ก็จะอธิบายได้อีกแบบนี้ ที่ต้องมี มรรค 8 ประการเป็นต้น แต่ผมแนะนำการปฏิบัติก่อนเพราะถ้าปฏิบัติได้ กำลังใจมันมีมาเอง ไม่ต้องไปนั่งคิดเพื่อเพิ่มกำลังใจมันทำไม่ได้จากความคิดฟุ่งซ่านเลย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การปฏิบัติเพื่อให้เข้าถึงความเป็นพุทธะ ต้องเข้าทางที่อธิบายด้านบนอย่างเดียว จะไปเข้าทางอื่นๆ อีกไม่มี เป็นทางเดียวกับที่หลวงพ่อสดท่านสอนด้วยและองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้าท่านสอนไว้ดีแล้ว อย่าทำตนเก่งเกินกว่าท่านธรรมะจึงได้ออกมามั่วๆ จนผู้อธิบายต้องออกมาอธิบายธรรมะที่แท้จริงนั้นว่าเป็นอย่างไร ไม่เช่นนั้นธรรมะเพี้ยนหมด และก็จะเป็นการปิดกั้นมรรคผลที่จะเกิดขึ้นในยุคปัจจุบัน
    <O:p</O:p
    ใครจิตหยาบหน่อยก็หา พระกรรมฐาน 40 ปฏิบัติ ใครจิตดีหน่อยก็นำมหาสติปัฏฐานสี่ไปปฏิบัติ ใครจิตดีมากแล้วก็นำ โพชฌงค์เจ็ด ไปปฏิบัติ ผมเข้าถึงอย่างนี้ก็อธิบายอย่างนี้ แล้วก็พิจารณาแล้วว่าต้องเข้าอย่างนี้ได้อย่างเดียว ซึ่งองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า ท่านก็สอนไว้ตามนี้แล้วสอนไว้ดีแล้ว
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ที่นี่มีคำพูดที่ว่า “ ไม่ว่ากายหรือจิตก็ไม่ใช่ของเรา ” ท่านที่เข้าใจอย่างนี้ มีสติดีหรือเปล่า ถ้ามีสติดี สติท่านเกิดจากไหนใช่เกิดจากจิตหรือไม่ และสตินี้ใช่ของเราด้วยหรือเปล่า
    <O:p</O:p
    ท่านที่เข้าใจเช่นนี้เป็นท่านที่หลงผิดทั้งสิ้น เข้าไม่ถึงแม้กระแสพุทธะเลย
    <O:p</O:pคำตอบขอยกคำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า “ จิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน ” แล้วก็ไปนึกเอาเอง ว่าจิตใช่ของเราหรือไม่ ส่วนร่างกายท่านใครบังคับอยู่ล่ะ ถ้าท่านไม่พิจารณาตามความเป็นจริงไปจำๆผิดๆมา ท่านเข้าถึงความเป็นพุทธะไม่ได้เลย ถ้าผมอธิบายบอกเองตรงๆ ท่านที่เป็น มิจฉาทิฐิ อาจไม่ฟัง และถ้าไม่ฟัง หลวงปู่ดูลย์ อตุโล อีกท่าน ก็แล้วแต่ท่านนะจะไปฟังใครก็ไปเถอะ<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ในกระทู้ที่ว่า ไม่ว่ากายหรือจิตก็ไม่ใช่ของเรา ” เข้าไปอ่าน คุณธรรมะสวนัง และคุณธรรมภูต อธิบายธรรมะได้ดี คุณธรรมะสวนังก็เป็นอีกท่านหนึ่ง ที่มีพื้นฐานเข้าใจธรรมะได้ถูกต้อง (สัมมาทิฐิ)ท่านที่มีความเห็นถูกต้องอย่างนี้ เป็นผู้มาถูกทางดีแล้ว สังเกตุอย่างหนึ่งผู้เข้าถึงกระแสพุทธะนั้น จะไปในทางเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชาย ถ้ามีความเห็นที่ถูกต้องแล้วจะเห็นอย่างเดียวกัน
    <O:p</O:p
    และคุณธรรมะสวนังก็เป็นอีกท่านหนึ่งที่ผมอ่านธรรมะท่าน ท่านเห็นถูกต้องนี่ขออนุโมทนาด้วยเป็นบุญของพระศาสนาที่มีท่านเหล่านี้ ค่อยแก้ต่างให้กับพระธรรม ผมอาจจะไม่ได้อธิบายที่เว็บนี่มากนัก ฝากท่านที่มีความเห็นถูกต้องอย่างนี้อธิบาย สงเคราะห์เท่าที่พิจารณาว่าสงเคราะห์ได้ ถ้าพิจารณาแล้วว่าสงเคราะห์ไม่ได้ก็ผ่านไปเลย <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ในกระทู้แรกสุดก่อนหน้าที่ผมได้อธิบาย มีท่านที่เป็น มิจฉาทิฐิ ผมไม่บอกชื่อนะ เกรงว่าท่านจะอายท่านอื่น และผมไม่ได้ไปโกรธท่าน ท่านอคติผม แต่ผมไม่มีอคติกับท่าน จะยกในสิ่งที่ท่านเข้าใจผิดมาอธิบาย ว่าที่ถูกเป็นอย่างไรจากประโยคที่ท่านยกมาบางส่วนที่ผมอธิบายว่า
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระอริยะเจ้าเบื้องต้น จิตยังมีอวิชา + มีความอวด แล้วจะสอนเอาชนะกำลังอวิชาได้ไหมล่ะครับ<O:p</O:p


    การสอนเกินตัวด้วยความอวด ด้วยการที่จิตฟุ้งซ่าน เป็นเหตุให้ธรรมะคาดเคลื่อน<O:p</O:p


    และท่านว่าพระอริยะเจ้าเบื้องต้น มีความเห็นถูกต้องอย่างนั้น แล้วหรือ....?<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    ท่านผู้หนึ่งแปลประโยคด้านบนนี้ว่า ขนาดพระโสดาบันพูดท่านยังบอกว่าประกอบด้วยกิเลสเห็นผิดทางเลย ” ท่านทำตัวสีแดงไว้ประโยคที่ 1 กับ 2 ท่านแปลออกจากใจท่าน ท่านแปลความที่ผมอธิบายด้านบน ท่านแปลออกมาอย่างนี้ได้ เพราะใจท่านเป็น มิจฉาทิฐิ ท่านต้องรู้ตัวด้วยนะ ว่าใจท่านเป็นแบบนี้ แปลความได้อย่างนี้ ท่านมีใจเป็นมิจฉาทิฐิ ถ้าท่านไม่รู้ตัวท่านจะปรับตัวให้ดีไม่ได้เลย ท่านปรามาสผม ผมเข้าถึงพุทธะแล้วนะ กรรมมันจะแรง ทางที่ดีไปขอขมาพระรัตนไตรด้วยนะ ถ้าไม่บอกก็จะไม่รู้ และที่ไม่ได้พิมพ์อะไรอธิบายบอกเลยทันที เพราะท่านที่เป็นมิจฉาทิฐิ ยิ่งอธิบายความจริงยิ่งโกรธ ยิ่งอธิบายความจริงมากก็ยิ่งโกรธมาก ขนาดผมถามท่านย้ำๆเพื่อเตือนสติ ท่าน ท่านยังกับพิมพ์ปรามาสผมแบบขาดสติ ใช่หรือไม่ลองกลับไปดูสิ่งที่ท่านทำ ท่านกระทำกรรมไม่ดีครบองค์ประกอบสมบูรณ์ การทำกรรมไม่ดีกับผู้เข้าถึงพุทธะอย่างสมบูรณ์แบบนี้ ถ้ายังเวียนว่ายตายเกิดในโลกนี้อีก ท่านจะต้องใช้กรรมดังกล่าวต่อไปอีกนับไม่ถ้วน ฉะนั้น ต้องไปขอขมาและเร่งทำความเพียรตามที่ผมแนะนำ ให้ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ท่านจะพ้นจากกรรมนี้ นี่เป็นวิธีการแก้ไขนะ <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    พระอริยะเจ้าเบื้องต้น จิตยังมีอวิชา + มีความอวด แล้วจะสอนเอาชนะกำลังอวิชาได้ไหมล่ะครับ<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    สังโยชน์ ข้อที่ 8 มานะ ความสำคัญตนว่าเป็นนั่นเป็นนี่ อวดว่าเป็นนั้นเป็นนี้ แต่เป็นจริงจัดเป็นมานะ <O:p</O:p
    สังโยชน์ ข้อที่ 10 อวิชา<O:p</O:p
    พระอริยะเจ้าเบื้องต้น ตัดสังโยชน์ ข้อที่ 8 ข้อที่ 10 ได้ไหมล่ะ แล้วจะสอนเอาชนะกำลังอวิชาได้ไหม ไปนึกเอาเองนะ ถ้านึกไม่ออกไม่อธิบายต่อแล้ว เสียเวลา<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    การสอนเกินตัวด้วยความอวด ด้วยการที่จิตฟุ้งซ่าน เป็นเหตุให้ธรรมะคาดเคลื่อน<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    แล้วประโยคนี้ นึกเอาเองว่าจริงหรือไม่จริง<O:p</O:p
    <O:p</O:p


    และท่านว่าพระอริยะเจ้าเบื้องต้น มีความเห็นถูกต้องอย่างนั้น แล้วหรือ....?<O:p</O:p

    <O:p</O:p

    ส่วนนี้ท่านไม่ได้ทำสีแดงไว้ ซึ่งผมก็จะอธิบายเช่นกัน คำว่า ความเห็นถูกต้อง หรือ สัมมาทิฏิฐิ ซึ่งอยู่ในมรรค 8 ประการ มีผลเป็นไปเพื่อการตรัสรู้ หรือ ความเป็นพุทธะ และเป็นไปเพื่อการดับอวิชาซึ่งไม่ใช่ว่ามีผลเป็นไปเพื่อความเป็นพระอริยะเจ้าเบื้องต้น <O:p</O:p
    และผู้เข้าถึงกระแสของพุทธะ ก็ย่อมเข้าถึงกระแสของมรรค 8 แต่ยังเข้าไม่ถึงที่สุดของมรรค อธิบายอย่างไร ก็ยังไม่ตรงมรรค 8 ประการ เพราะ มรรค 8 ประการอธิบายออกจากจิตของผู้เข้าถึงพุทธะอย่างสมบูรณ์อย่าง องค์สมเด็จสมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า มิใช่อธิบายออกจากจิตพระอริยะเจ้าเบื้องต้น<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ท่านผู้อ่านจำ “ความเห็นถูกต้อง หรือ สัมมาทิฏิฐิ” ที่เคยอธิบายไปในกระทู้แรกสุดได้ไหม ซึ่งตอนท้ายสุดผมจะยกทุกประโยคที่พิมพ์ไว้รวมเข้าไว้ข้างล่างกระทู้ต่อๆไปนี้ <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    พระสารีบุตร สอนสัมมาทิฏิฐิ <O:p</O:p
    พุทธสารีบุตรตอบ ดูก่อนท่านผู้มีอายุ เมื่อใดอริยสาวกรู้ชัดซึ่งอกุศล และรากเหง้าของอกุศล รู้ชัดซึ่งกุศล และรากเหง้าของกุศล.... รู้ชัดซึ่งอาหาร (๔ ประการ คือ อาหารคือคำข้าว อาหารคือผัสสะ อาหารคือความจงใจ และอาหารคือความรู้แจ้งทางทวาร ๖) เหตุเกิดแห่งอาหาร (ตัณหา) ความดับอาหาร และทางที่จะให้ถึงความดับอาหาร (มรรคมีองค์ ๘).... รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และทางให้พึงความดับทุกข์ .... รู้ชัดซึ่งชราและมรณะเหตุเกิดแห่งชราและมรณะ ความดับชราและมรณะ และทางที่จะให้ถึงความดับชราและมรณะ.... รู้ชัดซึ่งชาติ.... ภพ.... อุปาทาน.... ตัณหา....เวทนา.... ผัสสะ.... อายตนะ ๖..... นามรูป.... วิณญาณ..... สังขาร.... อวิชชา ..... อาสวะ..... เหตุเกิดแห่งอาสวะความดับแห่งอาสวะ และทางปฏิบัติเพื่อถึงความดับอาสวะแม้ด้วยเหตุเพียงเท่านี้ อริยสาวกชื่อว่าเป็นสัมมาทิฐิ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สัมมาทิฐิสูตร มู. ม. (๑๑๗-๑๒๘)<O:p</O:p
    ตบ. ๑๒ : ๙๐-๑๐๐ ตท.๑๒ : ๗๖-๘๒<O:p</O:p
    ตอ. MLS. I : ๕๘-๗๐
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พระสารีบุตร อธิบายด้านบน สรุปได้ คือ รู้ชัดซึ่งทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ (อวิชา) เหตุเกิดแห่ง อาสวะ(อวิชา) และมีผลเป็นไปเพื่อดับอวิชา ท่านผู้อ่านลองกลับไปดูกระทู้ ที่ผมอธิบายไว้ครั้งแรกสุดที่ผมจะยกมาด้านล่างนี้ ที่เปรียบเทียบกับคำสอนของท่านที่สอนผิดหลงผิด ซึ่งคำสอนที่ผมยกมา,คำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ,และคำสอนของ พระสารีบุตร มีเหตุ คือ อวิชา มีผลเป็นไปเพื่อดับ อวิชา
    <O:p</O:p
    แต่ท่านที่สอนผิดหลงผิด มีผลเป็นเป็นไปเพื่อดับสติ ท่านผู้อ่านที่เป็นมีจิตเป็นมิจฉาทิฐิ อาจไม่เข้าใจเพราะท่านไม่ได้พิจารณาตามความเป็นจริง ท่านที่ไปหลงยึดคำสอนผู้สอนที่หลงผิด ท่านก็จะไม่เข้าใจสิ่งที่ถูกต้อง และไม่มีทางเข้าถึงกระแสพุทธะเพราะจิตที่หลงผิดที่เป็นมิจฉาทิฐิ โดยจะเอาความคิดผิดๆ นี้เป็นที่พึ่ง และดูจากคำตอบท่านที่เป็น มิจฉาทิฐิ ก็เอาความคิดผิดๆ นี้เป็นที่พึ่งจริงๆ <O:p</O:p
    หากท่านที่จะเข้าถึงพุทธะได้นั้น ก็จะต้องไม่ยึดถือเอาความคิดที่ถูกและความคิดที่ผิด แต่ต้องสามารถแยกแยะถูกผิดได้ด้วยความคิด แต่ต้องวางจากความคิดเหล่านี้เสีย จึงจะสามารถเข้าถึงพุทธะได้ แต่มันไม่ได้ทันทีนะ ดับความคิดได้แล้วต้องปฏิบัติให้ถูกด้วยจิตจะสามารถเข้าถึงความบริสุทธิ์ของจิตได้ ก็ปฏิบัติตามที่ยกตัวอย่างพระอรหันต์ 2 ท่านนั้นละ<O:p</O:p
     
  6. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    กระทู้เก่าที่เคยอธิบายไว้ครั้งแรกเมื่อวันที่ 13-06-2009 จะยกมาใส่เรียงไว้ใหม่ในกระทู้นี้

    เปรียบเทียบคำสอนดูจิตที่ผิด/ที่คาดเคลื่อนและที่ถูก..... คืออะไร
    จากกระทู้ที่มีการถกเถียงเรื่องการดูจิต ซึ่งตามที่ได้อ่านมามีคุณขันต์ อธิบายว่ามีท่านหนึ่งสอนการดูจิตที่ผิด ไม่ตรงกับคำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ได้ดูจากคำสอนที่ผิดแล้วนั้น คุณขันต์ยกธรรมะของพระอรหันต์ /พระไตรปิฏก ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ฉลาด แต่อาจยังไม่ทำให้ผู้เข้าใจผิด เข้าใจให้ถูกได้จึงมาช่วยอธิบายขยายความ เพื่อให้เข้าใจได้ถูกต้อง
    คำสอนผิดที่น่ากลัวที่สุด คือ คำสอนที่นำเอาคำสอนที่ถูกต้องมาดัดแปลง/แก้ไข/แต่งขึ้นใหม่ จนปุตุชน ไม่สามารถแยกแยะคำสอนนั้น ได้เลยว่าถูกหรือผิด เพราะผิดกับถูกมันผสมกันจนแยกไม่ออก คำสอนอย่างนี้จะทำให้พระธรรมขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้านั้น เสื่อมเร็วยิ่งขึ้น

    การดูจิต ที่ถูกก็มี การดูจิต ที่ผิดก็มี แต่การที่นำคำหลวงปู่ดูลย์ ที่ถูกต้องมาขยายความเองโดยผู้นั้น ยังเข้าไม่ถึงจิตตรัสรู้ ไม่มีทางที่จะขยายความนั้นได้
    เลย และก็เป็นสาเหตุให้ผู้สอนทั้งรายใหม่/รายเก่า ที่เข้าไม่ถึงจิตตรัสรู้ สอนความหมาย เกี่ยวกับการดูจิตคาดเคลื่อน และไม่มีทางสอนได้ถูกต้องถ้าจิตตนเข้า
    ไม่ถึงจิตอย่างแท้จริง
    เพราะจิตนี้ ล่ะ ถือว่าเป็นธรรมอันสูงสุดแล้ว ถ้าเข้าไม่ถึงจิตแท้จริงอธิบายอย่างไร ก็ไม่มีทางอธิบายได้ถูกต้อง แม้จะไปขยายความหรือแต่งเติมก็ไม่สามารถทำได้เลย ยิ่งทำให้ความหมายผิดเพี้ยนจนปุตุชนรุ่นหลังแยกแยะไม่ออกว่าอะไรถูกอะไรผิด สำหรับผู้สอนที่ยังไม่ได้ตรัสรู้ในจิต
    ต่างจากคำสอนการปฏิบัติสมาธิอื่นๆ อ่านแต่ตำรา ปฏิบัติได้ไม่ถึงก็ยังสามารถอธิบายแนะนำคนอื่นตามตำราได้ ซึ่งหลายท่านก็ทราบดี
    คำสอนเรื่องการดูจิตที่ผิดๆ เกิดจากปุตุชนกับสมมุติสงฆ์ที่ยังเอาชนะอวิชาไม่ได้ มีความฟุ้งซ่านในจิต สอนเกินตัว เพราะความอวด ความอยากเด่น อยากดัง โดยยกตัวเองเป็นที่ตั้ง ผลที่ออกมาก็ คำสอนที่ผิดอย่างนี้
    จะขอยกตัวอย่าง คำสอนท่านที่ตรัสรู้แล้ว กับคำสอนที่ผิด ว่าเป็นอย่างไรและการปฏิบัติที่ถูกต้องเป็นอย่างไร

    คำสอนของที่ผิด ตรงข้ามกับผู้ตรัสรู้แล้วทั้งหลาย
    " แล้วสติ เกิดได้อย่างไร คำตอบ เมื่อมีเหตุ จึงเกิดสติ เมื่อหมดเหตุ สติจึงดับ "

    คำสอนถูกต้อง จะเห็นว่าตรงข้ามกับคำสอนด้านบนคือ
    "แล้วสติ เกิดได้อย่างไร คำตอบ เมื่อหมดเหตุ จึงเกิดสติ เมื่อมีเหตุ สติจึงดับ "

    อธิบาย
    1. เหตุที่ทำให้ สติดับ คือความคิด องค์ประกอบของความคิด คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นเหตุ
    2. เหตุที่ทำให้ เกิดความคิด เพราะ กำลังอวิชา เป็นเหตุ
    ดับกำลัง อวิชา ได้ ท่านจะมีสติสมบูรณ์ เข้าถึงความเป็นพระอรหันต์ไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอีก
    ท่านผู้อ่านลองพิจารณาระหว่างคำสอนที่ผิด พิจารณาตามข้อเท็จจริงว่าท่านมีสติเพราะอะไร ท่านขาดสติเพราะอะไร เป็นไปตามคำสอนที่ผิดหรือคำสอนที่ถูก ท่านผู้มีปัญญาลองพิจารณาตามเถอะ ถ้าลองกำหนดสติได้ตามนี้จะได้มีดวงจิตเห็นธรรมบ้าง
    ขอเปรียบเทียบกับคำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระอัสสชิเถระ ยกมาสอนอุปติสสปริพาชก ว่า
    " เย ธมฺมา เหตุปฺปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํวาที มหาสมโณฯ "
    ธรรมเหล่าใด มีเหตุเป็นแดนเกิด พระตถาคตเจ้า ทรงแสดงเหตุแห่งธรรมเหล่านั้น และความดับแห่งธรรมเหล่านั้น พระมหาสมณะ ตรัสอย่างนี้

    อธิบายสั้นๆ องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า สอนดับเหตุแห่งธรรมที่เป็นแดนเกิด และเหตุแห่งการเกิด ก็คือ "อวิชา" จะเห็นได้ว่า คำสอนของที่ถูกมี "เหตุ" เช่นเดียวกันกับคำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า และตรงข้ามกับคำสอนที่ผิด
    คำสอนที่ผิด มีผลเป็นไปเพื่อการดับสติ เป็นธรรมะของ มาร และถ้าผู้อ่านสังเหตุให้ดี ท่านผู้สอนนี้จะสอนให้มีเหตุอันเป็นไปเพื่อการละสติใช่หรือไม่ ให้เข้าใจว่า สติไม่เที่ยง จิตไม่เที่ยงใช่หรือไม่ ไม่ได้หมายถึงว่าผู้สอนผิดเป็นมารนะครับ แต่หลงตามความฟุ้งซ่านที่มารเป็นผู้กระทำ โดยใช้กำลังของอวิชากระทำกับจิต

    คำสอนที่ถูก มีผลเป็นไปเพื่อสติ เพื่อดับซึ่งอวิชา ซึ่งเป็นเหตุของการเกิด การหลง ความคิดฟุ้งซ่านต่างๆ เป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า

    ท่านผู้อ่านจะเลือกเป็นทาสของมาร หรือ เลือกทางที่องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าสอนหลุดจากบ่วงมาร ก็แล้วแต่ท่านเอง

    ทางของพุทธะนั้น ใช้สตินำ พิจารณาและเข้าใจได้โดยสติ
    ยังมีต่อครับ
     
  7. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    คำสอนที่ผิดจิตไม่ใช่ของเรา เพราะ เราบังคับไม่ได้ , จิตเกิดดับทุกขณะ
    คำอธิบาย เพราะจิต ปุตุชน รวมถึงสมมุติสงฆ์ จิตยังไม่สามารถเอาชนะกำลังของอวิชาได้ จึงเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นในจิต และก็เพราะความคิดฟุ้งซ่านในจิตนี้ ผู้สอนผิด จึงหลงเข้าใจว่าความคิดนี้คือ จิต เข้าใจในจิตผิดๆ ว่า จิตบังคับไม่ได้ เข้าใจว่าความฟุ้งซ่านอยู่ในจิต คือจิต จนเข้าใจว่าจิตไม่เที่ยง สอนผิดเพราะดูจากจิตตนเองที่ไม่ได้บรรลุธรรม
    คำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล สอนให้ดูจิต แต่ผู้ปฏิบัติผิด กลับไปดูความคิด ดูไม่ถึงจิต และก็ไปเข้าใจว่า ความคิดฟุ้งซ่านคือ จิต แล้วก็เอาความฟุ้งซ่านของความคิด มาสอน มาอธิบายความของจิตให้ผิดเพี้ยน ต่อไปอีก หลงหนักเข้าก็ว่า "จิต คือ จิต มิใช่เราเลย"
    คำสอนหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เรื่องความฟุ้งซ่าน นั้น " ความคิด ความฟุ้งซ่านเป็นเพียงอาการของจิต "

    คำสอนหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ เรื่องความฟุ้งซ่าน นั้น " ความฟุ้งซ่าน เกิดจากกำลังของอวิชา มีมารเป็นผู้กระทำ และอธิบายวิธีการของมารอย่างละเอียด "
    ทั้ง 2 ท่านนี้เป็นท่านที่เก่งเรื่องจิตมาก เรียกง่ายๆ คือ ในยุค 2500 ท่านทั้ง 2 นี้เชี่ยวชาญเรื่องจิตมากที่สุด จนเล่นเอาลูกศิษย์ งง ไปตามๆกัน ธรรมะที่ทั้ง 2 ท่าน นี้ สอน จะไม่มีทางเข้าใจหรือเข้าถึงได้เลย ถ้าจิตยังไม่เข้าถึงความเป็นพุทธะ แต่ถ้าจิตเข้าถึงความเป็นพุทธแล้วนั้น ธรรมะ ที่อธิบายไว้ ทั้งหมด สามารถเข้าใจได้กระจ่างชัดแจ้ง ขยายหรือย่อธรรมนั้น หรือ เข้าใจแม้กระทั้งว่า ท่านทั้ง 2 ยังไม่ได้อธิบายเรื่องอะไร
    การเข้าถึงธรรมะ มิใช่เกิดจากการคิดใดๆ ทั้งสิ้นเลย แต่เกิดจากจิตที่หยุด คิด โดยสนิทแล้วเท่านั้น ยิ่งคิดมาก ก็ยิ่งห่างซึ่งธรรมะมาก แต่ก็เพราะความคิดที่ถูกต้อง (สัมมาทิฏฐิ) จึงจะสามารถหยุดความคิดทั้งปวงได้
    ถ้าท่านผู้อ่านคิดดูว่า ความคิดการปฏิบัติท่านถูกต้อง เป็นสัมมาทิฏฐิ ท่านสามารถนำสิ่งเหล่านั้น ทำให้หยุดคิดได้หรือไม่ ถ้าไม่สามารถหยุดคิดได้จาก สิ่งที่เรียนรู้มาในอดีตจนถึงปัจจุบัน ก็แสดงว่าจิตท่านเป็นมิจฉาทิฐิ ไม่ว่าจะอ่านคำสอนที่ถูกต้องหรือผิด มากอย่างไรก็ตาม ถ้าจิตท่านก็ไม่สามารถแยกแยะ คำสอนเหล่านั้น ได้ด้วยปัญญาเลย และก็ไม่มีทางหยุด คิดได้ด้วย และในทางกลับกัน จะยิ่งไปเพิ่มเอาความคิดท่านให้มากขึ้นอีก

    ถ้าจิตเป็นมิจฉาทิฐิแล้วล่ะก็มรรค 8 ประการ จะไม่ได้เลยแม้แต่ข้อเดี่ยว ปิดกั้นมรรคผลและสมาธิ ก็เพราะเริ่มจากจิตท่านที่เป็น มิจฉาทิฐิ นั้นล่ะ
    ในอดีตปุตุชนทั่วไป มีมิจฉาทิฐิ อย่างอ่อนซึ่งสามารถเข้าถึงความเป็นพุทธะได้ไม่อยาก แต่ปัจจุบันมีบ้างกลุ่มมีมิจฉาทิฐิ อย่างแรง สอนตรงข้ามกับความเป็นพุทธะ ซึ่งจะทำให้ธรรมะของพระศาสนาเสื่อมเร็วยิ่งขึ้น จึงต้องออกมาอธิบายว่าพุทธะจริงนั้นเป็นอย่างไร เพื่อแยกพระแยกมาร ออกจากกัน เพราะคำสอนที่เกิดจากความฟุ้งซ่าน เป็นสิ่งที่มารกระทำ ก็เสมือนเป็นทำสอนของมาร
    ( เข้าเรื่องท่านผู้อ่านจำไว้ให้ดี จิตปุตุชนรวมถึงสมมุติสงฆ์"จะเข้าใจว่าความฟุ่งซ่านอยู่ในจิต " แต่ผู้ที่เข้าถึงพุทธะแล้ว ทราบว่า "ความฟุ่งซ่าน เกิดจากสิ่งภายนอกจิตทั้งสิ้น ภายในจิตมีแต่สภาวะรู้ ไม่มีความคิดฟุ้งซ่านใดปน และที่ว่าตรัสรู้ ก็เพราะอย่างนี้ ไม่ใช่อย่างที่พูดกันมั่วๆ จำนวนมากในปัจจุบัน ทำอะไรนิดหน่อยก็อ้างกันเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถ้าอ้างมั่วกันอย่างนี้จะไม่ถึงผู้รู้จริง " )
    สอนแตกต่างจากพระอรหันต์ และผู้เข้าถึงพุทธะ ซึ่งเข้าใจเหมือนกันว่า " จิตเดิมแท้ไม่มีความคิดฟุ้งซ่านและอาการหลงใดๆ ไม่มีเกิด และไม่มีดับอย่างที่เข้าใจกันผิดๆ "
    " ความฟุ้งซ่านเกิดจากภายนอกจิตทั้งสิ้นจิตเดิมแท้ไม่ความฟุ้งซ่านใดๆ "
    คำสอนของผู้เข้าถึงพุทธะไม่สามารถขยายความได้โดย ปุตุชนหรือสมมุติสงฆ์ โดยเฉพาะคำสอนของท่านที่เป็นปฏิสัมภิทาญาณ แตกฉานในพระไตรปิกฏ ปุตุชนหรือสมมุติสงฆ์ จะไม่เข้าใจความหมายได้อย่างท่องแท้ ดังคำสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล การที่ปุตุชนหรือพระอริยะเจ้าเบื้องต้นไปขยายความคำสอนของ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ก็จะยิ่งได้ความหมายที่ผิดเพี้ยนไปตามจิตที่ไม่สมบูรณ์ของผู้ขยายความนั้นๆ เรียกง่ายๆ " ผู้ที่จิตหยาบกว่า ไม่สามารถเข้าถึงเนื้อความในใจของ ผู้ที่จิตละเอียดกว่าได้เลย แต่ตรงกันข้ามผู้ที่มีจิตละเอียดกว่า ย่อมเข้าในความในของผู้ที่มีจิตหยาบกว่าอย่างท่องแท้"


    ยังมีต่อครับ
     
  8. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    เพื่อความสบายใจเปลี่ยนจากพระอริยะเจ้าเบื้องต้นเป็นสมมุติสงฆ์ แทน
    ต้องเข้าใจอย่างหนึ่งว่า พระอริยะเจ้าเบื้องต้น ยังสามารถถูกมารทำให้หลงให้เข้าใจผิดได้ ซึ่งก็มีตัวอย่างในสมัยพุทธการ แม้ขนาดองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอยู่

    และการที่ พระอริยะเจ้าเบื้องต้น ยังมีอวิชา ด้วยความอวดที่ยังมีอยู่ในจิต ไปสอนเอาความเป็นพุทธะไปสอนเอาเรื่องของจิต ไปสอนเกินกว่าที่ตนรู้ ท่านว่าจะอธิบาย หรือสอนได้ถูกต้องไหม

    เพราะจิตนี้ คือ พุทธะ

    เป็นพระอริยะเจ้าเบื้องต้น ไปสอนความเป็นพระอรหันต์จะได้ความหมายที่ถูกต้องหรือไม่
    ท่านจำไว้อย่างหนึ่งแม้ผมจะเปลี่ยนคำว่า สมมุติสงฆ์ แทนพระอริยะเจ้าเบื้องต้น แต่ความจริงนั้นมันไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้เลย

    สิ่งที่อธิบายไปนั้น เป็นธรรมที่สมบูรณ์ดีแล้วเพียงแต่ผู้อ่านอาจจะไม่เข้าใจดีพอ
     
  9. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    คำสอนผิดๆเกิดจากผู้สอนที่จิตยังไม่สามารถเอาชนะกำลังของอวิชาได้ จึงเกิดความฟุ้งซ่านขึ้นในจิต และก็เพราะความคิดฟุ้งซ่านในจิตนี้ ผู้สอนผิด จึงหลงเข้าใจว่าความคิดนี้คือ จิต เข้าใจในจิตผิดๆ ว่า จิตบังคับไม่ได้ เข้าใจว่าความฟุ้งซ่านอยู่ในจิต คือจิต จนเข้าใจว่าจิตไม่เที่ยง สอนผิดเพราะดูจากจิตตนเองที่ไม่ได้บรรลุธรรม

    จิตที่ยังไม่สามารถเอาชนะกำลังของอวิชาได้ คือ จิตของใคร

    คำตอบ คือ นับตั้งแต่พระอนาคามีลงไปจนถึง ปุตุชน ถูกต้องหรือไม่

    เดิมที่จะใส่พระอนาคามีลงไปจนถึง ปุตุชน แต่กลัวผู้ไม่รู้ จะแย้งเอาจะเป็นเวรเป็นกรรม
     
  10. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    คำสอน พบผู้รู้ทำลายผู้รู้ เจอจิตทำลายจิต เป็นคำสอนที่ผิด
    ประเภทพวกชอบแปลงสาร อวดว่าบรรลุ เอาคำว่า วิมุตติไปใช้พร่ำเพรื่อ ประหนึ่งเป็นผู้บรรลุธรรมแล้วอย่างนั้น สอนธรรมผิดเป็นอธรรมไปหมด ซึ่งดูว่าในอนาคตคำสอนผิดๆ จะเป็นอุปสรรค์ ในการสอนธรรมะของท่านผู้รู้แจ้งในธรรมตามพุทธทำนาย จึงต้องมาเบรกเอาไว้บ้าง เพราะอีกไม่นานพระธรรมที่แท้จริงจะกลับเข้ามาจะมีผู้บรรลุมรรคผลเป็นจำนวนมาก
    ที่ถูก คือ พบสิ่งที่รู้ให้ทำลายสิ่งที่รู้ จึงจะเข้าถึงความบริสุทธิ์ของจิต
    สิ่งที่ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล สอน สอนอย่างนี้ ไม่ได้ไปนั่งฟัง แต่ท่านที่ตรัสรู้แล้วรู้เหมือนกัน เข้าใจเหมือนกัน แต่รู้มากน้อยอาจไม่เท่ากัน เป็นเรื่องของบารมี ท่านผู้อ่านไม่จำเป็นต้องรู้อะไร เรื่อง บารมี ตอนนี้
    จากประโยคนี้ จะเป็นประโยคที่สอนท่านที่หลงผิด เข้าใจผิด ทั้งอาจารย์ ทั้งลูกศิษย์ที่หลงผิด ไปรู้ สิ่งที่เป็นความคิด แล้วเข้าใจว่าเป็นจิต จะแก้ไข
    อย่างไร
    วิธีการแก้ไข คือ ไม่ต้องไปรู้ในความคิด ในอาการใดๆ ก็ คือ เป็นการทำลายสิ่งที่รู้ แล้วผู้ปฏิบัติจะพบว่าความบริสุทธิ์ของจิต ที่ไม่หลงเป็นอย่างไร และก็จะรู้ว่าจิตที่ไม่ได้ปรุงแต่งด้วยอาการใดๆ ความคิดใดๆ ความหลงใดๆ นั้นล่ะ คือ รู้แจ้งของจิต ซึ่งก็ คือ จิตเดิมนั้น ล่ะ
    ซึ่งวิธีการแก้ไข ก็ตรงกับคำสอน หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ที่ว่ายิ่งคิดเท่าไร ก็ไม่รู้ต่อ เมื่อหยุดคิดจึงรู้

    ท่านผู้สอนผิดนั้นก็เพราะหยุดความคิดไม่ได้ ลูกศิษย์ก็หยุด คิดไม่ได้ แต่ผู้อธิบาย นั้น หยุดได้ซึ่งความคิดทั้งปวง และก็เพราะสงสารทั้ง ผู้สอนผิด และผู้เข้าใจผิด จึงได้สงเคราะห์ในวันนี้ ถ้าท่านยังคิดไม่ได้อีก ท่านที่หลงผิดทั้งหลายนั้นล่ะ จะเป็นอุปสรรค์ของธรรมะขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า และก็เป็นมิจฉาทิฐิติดตัวท่านต่อไป และท่านก็จะเป็นหนึ่งที่ทำให้พระธรรมเสื่อม

    ท่านผู้อ่านจำไว้ให้ดีว่า สิ่งที่อธิบายไปนี้ ควรใช้สติ พิจารณา ว่าจริงหรือไม่ อย่าใช้อารมณ์ หรือความคิดเดิมที่ท่านมีอยู่มาตัดสิน ถ้าใครสงสัยจริงๆ
    ก็ถามจะอธิบายให้ฟัง แต่ถ้าท่านใดไม่เคารพในสิ่ง ที่อธิบายไปก็ ถือว่าไม่เคารพในธรรม ปรามาสผู้อธิบาย ท่านผู้นั้น จะทำสมาธิอย่างไร ก็ไม่มีทางทำได้ จะเป็นการปิดกั้น มรรคผลตัวท่านเอง

    ผู้อธิบายเข้าถึงพุทธะแล้ว เดิมทีจะวางเฉย แต่เกรงว่าพระธรรมเสื่อมลงมาก จึงมาสงเคราะห์ กับผู้ที่ยังมีมิจฉาทิฐิอยู่ โดยนิสัยผู้เข้าถึงพุทธะแล้วนั้น
    มักจะไม่วุ่นวายกับผู้มีมิจฉาทิฐิ เพราะผู้มีมิจฉาทิฐิ เรื่องมาก เรื่องเยอะ แตกจากผู้เข้าถึงพุทธะ ที่ไม่มีเรื่องอะไรให้ปรุงแต่งในความคิดเลย จิตไม่ไหลไปตามกระแสความคิด จิตมีประกายเต็มดวง

    จิตมีประกายเต็มดวงเกิดจากอะไรรู้ไหม ตำราไม่มีบอก ถ้าไม่อธิบายบอกท่านจะรู้ไหม ความจริงยังมีสิ่งผู้อ่านยังไม่รู้อีกเป็นจำนวนมาก มากจนท่านประมาณไม่ได้เลยว่าผู้เข้าถึงพุทธรู้อะไร เป็นความรู้ยิ่งเกินกว่าท่านประเมินได้ แม้รู้กระจ่ายธรรมะทั้งหมด แต่ก็มิได้ยึดติดในธรรมใดเลย นี่ละ คือผู้เข้าถึงพุทธะ
    จิตที่เข้าถึงพุทธะ นั้นล่ะมันเป็น ธรรมของตัวมันเอง จึงไม่ต้องไปแสวงหาธรรมอื่นใดอีกแล้ว


    จิตมีประกายเต็มดวงเกิดจาก จิตที่เป็น "มหาสติ" นั้นล่ะ จิตที่ไม่หลงไปในความคิดปรุงแต่งต่างๆก็เพราะ "มหาสติ " นั้นล่ะ
    จิตที่เป็นประกายเต็มดวง นี่ละที่ท้อนกำลัง อวิชา ที่จะแทรกมายังจิต และก็จะทำให้เกิดอานิสงค์ที่ไม่ดี กับผู้ คิด กระทำไม่ดีกับผู้เข้าถึงพุทธะแล้วอย่างแรง

    ท่านที่มีจิตที่เป็นประกายเต็มดวงในพุทธศาสนา มีอยู่ 4 ประเภทคือ
    1. พระอรหันต์ 2.พระปัจเจกพระพุทธเจ้า 3.พระมหาโพธิสัตว์ ที่จะตรัสรู้ในอนาคต 4. องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า
     
  11. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    จะยกตัวอย่างการตั้งจิต

    มีผู้สอนผิดๆว่า "จิตต้องไม่บังคับ ให้จิตรู้เองจึงจะถูก "
    ท่านผู้สอนแบบนี้เพราะบังคับจิตไม่ได้ใช่หรือไม่ จึงได้สอนแบบนี้ขึ้นมา ยังอธิบายบอกว่า ให้จิตรู้เองจึงจะถูก ใช่รู้ความคิดฟุ้งซ่านไปเลื่อย ๆแบบท่านผู้สอนหรือเปล่าที่บังคับจิตไม่อยู่ ไปไปมามาก็ว่า จิต ไม่ใช่ของเราเพราะ เราบังคับไม่ได้ ซึ่งก็ยิ่งผิดไปใหญ่

    ถ้าท่านฉลาดควรจะดูต้นตอของความคิดจึงจะถูก ต้นตอของความคิด ก็ คือ จิตเดิมนั้น ล่ะ จิตเดิมที่มันอยู่เหนือซึ่ง ความคิดทั้งปวง จิตผู้อธิบายก็เป็นเช่นนี้

    ที่ถูกคือ ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว เข้าถึงรู้ของจิตแล้วนั้น จะว่าเป็นการบังคับจิตก็ไม่ใช่ จะว่าไม่บังคับจิตก็ไม่ใช่ แค่รู้ตามจริง โดยมีสติสัมปชัญญะ ตลอดเวลาและไม่ปล่อยจิตให้หลงไปในความคิดใดๆ
    เดี๋ยวมีท่านสงสัย ว่า "สติสัมปชัญญะ ตลอดเวลา" แสดงว่าบังคับจิต ท่านว่ามีสติต้องบังคับจิตไหมล่ะ ถ้าท่านว่าบังคับหรือไม่บังคับก็เรื่องของท่าน จิตที่มันเป็นมหาสตินั้น ก็เป็นอย่างที่อธิบายข้างบนล่ะ

    เดี๋ยวมีท่านสงสัยอีกว่า ถ้าอย่างนั้น ก็ไม่นอนใช่หรือไม่ แล้วถ้าถามกลับว่าผู้ตรัสรู้ ถ้านอนแล้วต้องขาดสติใช่หรือไม่

    คำตอบ คือ สติอยู่ครบ ที่ดับคือ กายหยาบ เวลาตายกายหยาบนี้ก็เอาไปเผา แต่จิตก็ยังคงความเป็น มหาสติเหมือนเดิม สำหรับผู้ตรัสรู้แล้วเป็นอย่างนี้ทุกท่าน
     
  12. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    คำสอนที่ผิด เป็นคำสอนของ พระปราโมทย์ และอยู่ในเว็บไซต์ ที่ชื่อ วิมุตติ (http:// www . wimutti .net /) ในเว็บนี้ พยายามที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจว่า ตนถึง วิมุตติ โดยใช้คำว่า วิมุตติ หลายคำ ใช้วิมุตติพร่ำเพรื่อ ประหนึ่งว่าผู้สอนอยู่ในเว็บนี้ ตรัสรู้แล้วอย่างนั้น และคำว่า ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ก็คือความหมายของผู้เข้าถึง วิมุตติ
    ถ้าท่านใดจะกรุณาสงเคราะห์พระปราโมทย์ ก็ print เนื้อความที่ผมได้อธิบายไปแล้ว ส่งให้ท่านอ่าน ถ้าท่านยังมีปัญญาอยู่บ้างธรรมะจะได้เดินถูกทาง แต่ถ้าท่านยังหลงว่าถูกต้อง สิ่งเหล่านี้จะติดตัวท่านตลอดไปถึงชาติหน้า พร้อมทั้งเหล่าลูกศิษย์ที่หลง
    ผู้อธิบายมิได้มีเจตนาดูถูก ดูหมิ่นท่านใด มิได้มีอคติใดๆ ในใจเลย อธิบายเพราะต้องการเห็นพระธรรมนั้น ถูกต้องตรงตามที่องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอน ถ้าสังเกตุผู้อธิบายจะไม่บอกชื่อ ตั้งแต่ต้นว่าใครสอนผิด แต่เกรงว่าตอนนี้ถ้าไม่บอกแล้วผู้อ่านไปนึกเอาเอง จะเป็นสิ่งไม่ดี กลายเป็นว่าโยนความไม่ดีให้ท่านอื่น ก็ไม่อยากให้เป็นเช่นนั้น
    หวังว่าพระปราโมทย์ และลูกศิษย์ท่านจะเข้าใจในความหวังดีนี้

    ขอบคุณครับ
     
  13. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    ส่วนกระทู้นี้เขียนถึงคุณธรรมภูต เมื่อวันที่ 21-06-2009, 10:16 PM
    ถึงท่านที่ใช้นามว่า ธรรมภูต” ก่อนที่ผมจะเริ่มอธิบายธรรมะนั้น ได้เคยอ่านธรรมะที่ท่านเขียนไว้ ท่านเขียนได้ถูกต้อง เป็นผู้มีความเข้าใจถูกต้อง ความเข้าใจในขั้นต้นของจิต ของความเป็นพุทธะท่านสามารถเข้าใจได้ถูกต้องทั้งหมด
    ท่านธรรมภูตอธิบาย ถูกทางในขั้นต้นทุกอย่าง ได้อ่านธรรมะท่านมาหลายกระทู้แล้ว และก็อ่านมานานแล้วก่อนที่จะอธิบายนี้อีก ก็ชื่มชมท่านนะ ชื่มชมที่มีความเข้าใจถูกต้อง ความเห็นถูกต้อง ท่านที่มีความเห็นถูกต้อง ความคิดถูกต้องอย่างนี้ จะไม่ไปตกอบายภูม ไม่ตกอยู่ภายใต้ผู้หลงผิด ผู้เห็นผิด และเรื่องท่านกับคุณขันต์ที่เข้าใจว่า ท่านหนึ่งสอนผิดนั้น ล่ะ ผมก็มาช่วยยืนยันให้ท่านอีกครั้งหนึ่ง และที่อธิบายไปแล้วนั้น ก็เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าท่านทั้ง 2 เข้าใจถูกต้องแล้ว ส่วนท่านที่สอนผิด สอนเรื่องจิตผิด สอนเรื่องของการเป็นพุทธะผิด ผมจึงช่วยอธิบายความเป็นพุทธะที่ถูกต้องให้ อธิบายขยายความด้วยเพราะผมเห็นจิตอย่างชัดเจนแจ่มแจ้งแล้วจึงมาอธิบายว่าที่ถูกเป็นอย่างไร
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เห็นท่านธรรมภูต อธิบายสัมมาสติ สัมมาสมาธิ ผมจะอธิบายเพิ่มอีกหน่อยครับ
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    สมาธิมั่นคงเกิดได้ต่อ เมื่อมีสติตั้งมั่น” <O:p</O:p
    สติตั้งมั่นได้ ก็ต่อเมื่อมีสมาธิมั่นคง ” <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    แล้วถามว่า สติ กับสมาธิ อะไรเกิดก่อนกัน<O:p</O:p
    คำตอบ เมื่อสติเกิดขึ้น สมาธิจะตามมาทันทีเลย แยกจากกันไม่ได้ และขาดอย่างหนึ่งก็ไม่ได้ ถ้าขาดอย่างหนึ่ง ก็จะไม่สามารถรักษาอย่างหนึ่งได้<O:p</O:p
    มรรค 8 จะเห็นว่าองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า จัดสติขึ้นก่อนตามด้วย สมาธิ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ขอกลับมาเรื่องการดูจิตที่เป็นหัวข้อของกระทู้นี้<O:p</O:p
    การดูจิตตรงๆเลยนะ ถ้ามิใช่ผู้เข้าถึงพุทธะแล้วไม่มีทางมองเห็นจิตได้เลยทันที แต่มันจะไปเห็นความคิดแทน ซึ่งท่านที่ดูจิตอยู่ก็เป็นอย่างนี้ เรียกได้ว่าเป็นทุกท่าน ทั้งผู้สอน (พระปราโมทย์) และลูกศิษย์ พวกดูจิตที่ปฏิบัติไม่ได้และหลงอยู่ทุกวันนี้นะ จึงมิใช่เรื่องแปลกอะไรเลย และเมื่อหลงแล้วก็มีคำสอนที่เกิดจากความฟุ้งซ่าน หลงประหนึ่งว่าตนเข้าถึงวิมุติ เข้าถึงตรัสรู้ ผู้ที่หลงตัวหลงตนแบบนี้เป็น ไม่ได้แม้แต่พระอริยะเจ้าเบื้องต้น เพราะติด สักกายทิฏฐิ สังโยชน์ข้อแรก และการอวดสิ่งที่ไม่มีในตน ให้คนอื่นเข้าใจว่าบรรลุธรรมะแล้วไม่ได้บรรลุธรรมะ หรือการทำเป็นรู้จิตรู้ใจ ผู้สอนทั้งที่ไม่มีธรรมะนี้ในตน จิตตนเองไม่รู้ ยังคิดว่าเกิดๆดับๆ แล้วจะไปรู้จิตผู้อื่นได้อย่างไร อันนี้ อาบัติปาราชิก อวดอุตตริมนุสสธัมม์ อวดธรรมะที่ไม่มีในตนเอง ถ้าไม่เจตนาเป็น อาบัติสังฆาทิเสส สังฆาทิเสส ถ้าทำ อาบัติสังฆาทิเสส เป็นปกติก็ไม่ต่างอะไรจาก อาบัติปาราชิก มากนัก สิ่งที่ยกมานั้นเป็นเหตุเพื่อปิดกั้นมรรคผลทั้งหมด และก็เป็นความจริงซึ่งดูได้จากเว็บที่ชื่อ วิมุติ<O:p</O:p
    ถ้าท่านธรรมภูตสังเกตุให้ดี ท่านที่มีความเห็นถูกต้องจะปฏิเสธท่านผู้สอนผิดนี้ ทั้งหมด ความจริงไม่ได้รังเกลียดตัวท่าน แต่ปฏิเสธสิ่งที่เป็น ความหลงผิด คำสอนผิดทั้งหมด คำที่ปรามาสองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้าปฏิเสธหมด ไม่ทราบว่าสอนมาได้อย่างไรว่า<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    พบผู้รู้ทำลายผู้รู้ เจอจิตทำลายจิต พบพระพุทธเจ้าให้ฆ่าเสีย ” <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    คำสอนแบบนี้นะหรือที่เรียกตัวเองว่าพระสงฆ์ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ซึ่งก็เป็นธรรมดาที่ผู้เข้าถึงกระแสพุทธะทั้งหลายจะปฏิเสธ ในสิ่งที่ไม่ตรงกับคำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า ก็มีเพียงแต่ท่านที่อยู่นอกกระแสของความเป็นพุทธะ ที่ยังมีความหลงความไม่เข้าใจนี้ละที่ยังหลงผิดอยู่ ที่เห็นผิดเป็นถูก เห็นที่ถูกเป็นผิด เห็นธรรมะเป็นอธรรมะ เห็นอธรรมะเป็นธรรม ท่านเหล่านี้แยกแยะผิดถูกดีชั่วด้วยตัวเองไม่ได้ ไม่อยู่ในข่ายของ สัมมาทิฏฐิ เลย แม้แต่น้อย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การจะเข้าถึง มหาสติหรือความเป็นพุทธะได้นั้น มีอยู่<O:p</O:p
    อย่างหยาบ 40 ทาง ตามพระกรรมฐาน 40 <O:p</O:p
    อย่างกลาง มหาสติปัฏฐานสี่<O:p</O:p
    อย่างละเอียด โพชฌงค์เจ็ด <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ท่านต้องได้ตามลำดับนี้เท่านั้น จึงจะสามารถเข้าถึงความเป็นพุทธะได้ ทางอื่นไม่มีอีกแล้ว และก็เป็นทางเดียวกับหลวงพ่อสดสอนแต่ท่านสอนละเอียดจนยากเกินกว่าที่ปุตุชนจะรู้ได้ด้วยความคิด เพราะสิ่งเหล่านี้มันอยู่เหนือความคิด จึงไม่สามารถเข้าถึงได้โดยความคิด <O:p</O:p
    ใครจิตหยาบหน่อยก็หา พระกรรมฐาน 40 ปฏิบัติ ใครจิตดีหน่อยก็นำมหาสติปัฏฐานสี่ไปปฏิบัติ ใครจิตดีมากแล้วก็นำ โพชฌงค์เจ็ด ไปปฏิบัติ ผมเข้าถึงอย่างนี้ก็อธิบายอย่างนี้ และก็สามารถอธิบายได้ละเอียดทั้ง 40 อย่างหยาบจนถึงละเอียด และก็มีในคำสอนของ องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งตรงกัน <O:p</O:p
    <O:p</O:p

    มีหลายท่านสงสัยว่า พระกรรมฐาน 40 นั้น เป็นเพียงสมถะกรรมฐาน <O:p</O:p
    คำตอบ พระกรรมฐาน 40 ปุตุชนปฏิบัติก็เป็นได้เพียง สมถะกรรมฐาน เท่านั้น <O:p</O:p
    แต่ผู้เข้าถึงพุทธะแล้วนั้น ทำเป็นวิปัสสนากรรมฐานทั้งหมด เพราะอะไร เพราะ พระกรรมฐาน 40 อธิบาย สอนออกจากจิต ผู้เข้าถึงพุทธะอย่างสมบูรณ์ คือ องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    “อานาปานสติ ภิกฺขเว ภาวิตา พหุลีกตา<O:p</O:p
    จตฺตาโร สติปฏฺฐาเน ปริปุเรนฺติ,<O:p</O:p
    จตฺตาโร สติปฏฺฐานา ภาวิตา พหุลีกตา<O:p</O:p
    สตฺต โพชฺฌงฺเค ปริปุเรนฺติ,<O:p</O:p
    สตฺต โพชฺฌงคา ภาวิตา พหุลีกตา<O:p</O:p
    วิชฺชา วิมุตฺตึ ปริปุเรนฺติ. แปลว่า<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานาปานสตินี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น<O:p</O:p
    ทำให้บ่อยๆแล้ว ย่อมได้ชื่อว่า ทำสติปัฏฐานสี่ให้บริบูรณ์,<O:p</O:p
    สติปัฏฐานสี่นี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว<O:p</O:p
    ย่อมได้ชื่อว่า ทำโพชฌงค์เจ็ดให้บริบูรณ์,<O:p</O:p
    โพชฌงค์เจ็ดนี้ ถ้าทำให้เกิดขึ้น ทำให้บ่อยๆแล้ว<O:p</O:p
    ย่อมได้ชื่อว่า ทำวิชชาจิตหลุดพ้นทุกข์ให้บริบูรณ์ ดังนี้<O:p</O:p
    <O:p</O:p

    ธรรมะนี้คุณ ธรรมภูต ได้พิมพ์ไว้ด้านบนเป็นธรรมะขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งท่านอธิบายได้ ตรงใจผู้เข้าถึงพุทธะแล้ว จึงเก็บไว้และยกเอามาอ้างอิงสิ่งที่ผมอธิบายไป ซึ่งธรรมะที่เข้าถึงความเป็นพุทธะนั้น จะต้องถึงความเป็นพุทธะแล้วเท่านั้น จึงจะสามารถอธิบายได้ไม่เช่นนั้นอธิบายไปก็ผิดก็เพี้ยน <O:p</O:p
    และที่คุณ<?xml:namespace prefix = st1 ns = "urn:schemas-microsoft-com[​IMG]</st1:personName>ขันต์ เคยบอกว่าต้องเป็น สติปัฏฐานสี่ วันนี้ผมมายืนยันให้ เป็นอย่างที่ท่านเข้าใจนะถูกแล้ว สังเกตอย่างหนึ่งผู้ที่มีสัมมาทิฏฐิ จะมีพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน เพียงแต่ท่านใดจะเร็วหรือช้าเท่านั้นอง <O:p</O:p
    <O:p</O:p


    ขออธิบายต่ออีกหน่อย <O:p</O:p
    กระทู้ที่ผมเปรียบเทียบคำสอนดูจิตที่ผิดและที่ถูก ...เป็นอย่างไร ผมทราบว่าคุณธรรมภูตเข้าใจธรรมะที่ผมได้อธิบายนั้น เพราะท่านมีพื้นฐานความเข้าใจที่ถูกต้องอยู่แล้ว
    ท่านรู้หรือไม่ว่า ผู้เข้าถึงพุทธะนั้นย่อมทราบว่าท่านใดบ้างสามารถเข้าถึงกระแสได้ และธรรมะที่ผมยกมานั้น ซึ่งมีความหมายมีเหตุคล้ายกับ คำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระอัสสชิเถระ ยกมาสอนอุปติสสปริพาชก ท่านอุปติสสปริพาชก (พระสารีบุตร) ท่านมีความเข้าใจในธรรมะนั้น ทำให้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้มีดวงตาเห็นธรรม เป็นผู้เข้าถึงกระแสพุทธะ คำสอนใดที่ผู้เข้าถึงพุทธะสอน ท่านใดเข้าใจโดยจิต ท่านนั้นเรียกได้ว่าเป็นผู้เข้าถึงกระแสพุทธะ <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    การที่ผมยกธรรมะเรื่อง สติ ขึ้นอธิบายในกระทู้ผมก่อน เพราะสติ เป็นหลักสำคัญของการปฏิบัติพระกรรมฐานทั้งหมด รวมถึงพระกรรมฐาน 40 ซึ่งผมเข้าถึงพระกรรมฐานทั้ง 40 ได้เพราะ สติ ที่เป็น มหาสติ เพียงอย่างเดี่ยว ก็สามารถเข้าถึงได้ทุกอย่าง เพราะทุกอย่าง ล้วนออกจากจิต พระกรรมฐานใดบ้างไม่ใช้จิต ซึ่งไม่มี
    <O:p</O:p
    และเพื่อจะดูว่าท่านใดมีความเห็นได้ดูต้อง ท่านใดเห็นผิด และก็เป็นตามนั้น จริงๆมีทั้งท่านที่เห็นถูกและผิด ที่หลงหนักหน่อยก็ปรามาสผู้อธิบายเลย หารู้ไม่ว่ามันจะเป็นกรรมหนักปิดกั้นมรรคผล และคำปรามาสใดๆ มันไม่กระทบผู้อธิบายเลย เรียกว่า “ปรามาสผิดท่าน” ว่าท่านที่ไม่โกรธมันก็เข้าตัวเองหมดนั้นล่ะ<O:p</O:p
    ถ้าสังเกตให้ดีธรรมะที่ผมอธิบายไปนั้น ท่านที่ชื่อ วิษณุ12 ค้านก่อน ท่านที่ยังเป็นมิจฉาทิฐิ ค้านนะ อันนี้ไม่ใช่เรื่องแปลก ซึ่งผมก็ยังไม่เปลี่ยนจากคำว่าพระอริยะเจ้าเบื้องต้นเป็นสมมุติสงฆ์

    <O:p</O:p
    พอคุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="ขันต์ ค้านอีกท่าน">ขันต์ ค้านอีกท่าน</st1:personName> ถ้าสังเกตุให้ดี ผมเปลี่ยนและอธิบายขยายความทันที เพราะท่านที่มีพื้นฐานของสัมมาทิฏฐิ ยังไม่เข้าใจ ท่านที่เป็นมิจฉาทิฐิไม่ต้องห่วงไม่มีทางเข้าใจเลย พออธิบายขยายความ ท่านที่เป็นสัมมาทิฏฐิ ทราบกันหมด แต่ ท่านที่เป็นมิจฉาทิฐิ ยังหลงอยู่ ยังเข้าใจผิดอยู่ สังเกตดูได้จากกระทู้ เมื่อขยายความก็ทราบว่า คุณขันต์ เข้าใจเพราะถ้าไม่ถูกต้องแล้ว คุณ<st1:personName w:st="on" ProductID="ขันต์ จะค้านหัวชนฝา">ขันต์ จะค้านหัวชนฝา</st1:personName> จนกว่าฝาจะพัง เรียกได้ว่า นั่งยัน นอนยันเลย แม้ตายถ้าไม่ถูกต้องเป็นไม่ยอมรับ และถ้าไม่ถูกต้องแล้วไม่เกรงใจใครเลย ตรงไหนไม่ถูกต้องตรงนั้นกระเจิง นี่คือข้อดีมาก เว็บนี้มีคุณขันต์นะ ไม่อย่างนั้น พวกมิจฉาทิฐิเต็มเว็บ คุณขันต์เคยถูกผมเตือนเรื่องพูดไม่เหมาะสมกับคุณเอกวีร์ครั้งหนึ่ง เมื่อพิจารณา แล้วก็เหมือนพ่อสอนลูกนะ แต่อย่าให้ลูกเตลิดไปหมดนะ ถ้าทำคนที่เป็นมิจฉาทิฐิ ให้เป็นสัมมาทิฐิได้นั้นเป็นเรื่องดี เป็นเรื่องเหมาะสม แต่ถ้าไม่ได้จริงๆก็ต้องปล่อยไปตามกรรมตามความคิดที่หลง
    <O:p</O:p
    ผมตั้งใจว่าจะแนะนำการปฏิบัติในเบื้องปลายให้กับผู้มีสัมมาทิฏฐิ ให้เข้าใจ เมื่อเข้าใจแล้วจะได้ไม่ต้องพิมพ์อธิบายในเว็บนี้อีก เพราะเกรงว่าจะเป็นอันตรายกับท่านที่ปรามาสผู้อธิบายอย่าง ผมนี้ ซึ่งไม่อยากให้เกิดกรรมแห่งกรรมต้องไปปิดกันมรรคผลผู้ที่มีมิจฉาทิฏฐิ เล่าให้ฟัง ง่ายๆนะครับ ท่านที่ปรามาสผมนะ ถ้าเคยทำสมาธิได้มาก่อนนะครับ พอปรามาสผมแล้วลองกลับไปทำสมาธิซิครับ มันจะไม่สามารถจะเข้าสมาธิได้เลย มันจะมีความคิดความฟุ้งซ่านเต็มไปหมด เป็นอย่างนี้ทุกท่าน ส่วนท่านที่ทำสมาธิไม่ได้อาจไม่ทราบ จะทราบอีกครั้งก็ต่อเมื่อไม่มีลมหายใจนั้นล่ะ ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องดีเป็นแน่ ผมถึงไม่อยากให้เกิดเรื่องแบบนี้กับผู้ปฏิบัติแม้ผู้นั้น จะมีจิตเป็น มิจฉาทิฏฐิ หรือไม่ก็ตาม

    ถ้าท่านใดสนใจเกี่ยวกับการปฏิบัติสมาธิ ในระหว่างที่ผมยังไม่อธิบาย ให้ไปอ่านกระทู้ ที่คุณธรรมภูต” อธิบายไว้ ซึ่งในขั้นต้นคุณ ธรรมภูต ได้ยกมาอธิบายไว้แล้ว ส่วนเบื้องปลาย ผมจะมาขยายความจาก คำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า/พระไตรปิกฎ/พระอรหันต์ ว่าหลัก จริงและวิธิการปฏิบัตินั้นเป็นอย่างไร ถ้าขยายความจาก คำสอนขององค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า ให้ผู้อ่านทราบน่าจะเป็นเรื่องที่ดีที่สุด<O:p</O:p
    ผมอธิบายการปฏิบัติอยู่ด้านบนสุดแล้วนะครับ<O:p</O:p
     
  14. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    การปฏิบัติจริงแล้ว ไม่ยากที่ยากคือ ไม่ปฏิบัติกัน จะเอาบรรลุธรรมกันด้วยความคิด ซึ่งไม่มีทางเป็นไปได้ ถ้าจิตยังมีความฟุ่งซ่านอยู่
    อ่านแล้วก็ไปปฏิบัติกันบางนะ อย่าคิดว่าเข้าใจธรรมะ โดยการอ่านจะบรรลุธรรมะได้ง่าย <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ถ้าขาดซึ่งสติสัมปชัญญะ ธรรมะใดๆก็เข้าไม่ถึง ความเป็นพระอริยะเจ้า ความเป็นพระอรหันต์ ความเป็นพุทธะ ความเป็นองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า เข้าถึงได้ด้วยสติ ที่จิตเป็นมหาสติ อย่างเดียว

    ที่เรียกว่า “ปัญญาแจ้ง” ก็ คือ“สติที่มันแจ้ง” นั้นล่ะ ไม่ใช่อื่นใดอีกแล้ว

    <O:p</O:p
    <O:p</O:p
    ผมอธิบาย โดยยก สติ ขึ้นมาโดยตลอด ก็เพราะผมเข้าถึงโดยสติ ที่จิตเป็นมหาสติและก็เป็นทางเดียวกับผู้เข้าถึงพุทธะทั้งหลาย<O:p</O:p
    <O:p</O:p
    เมื่อ สติคงที่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย ก็สามารถรักษา สมาธิได้คงที่ต่อเนื่องไม่ขาดสาย ฌานสมาธิต่างๆ ผมคงที่ก็เพราะสติที่ผมคงที่นั้นล่ะ <O:p</O:p
    สิ่งที่ผมอธิบายที่ไม่ได้อ้างถึงพระอรหันต์ ไม่ได้อ้างถึงองค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า ก็ออกจากจิตผมนั้น ล่ะ จิตที่เข้าถึงพุทธะ แล้ว และมีความสมบูรณ์ในธรรมะ เสมอเหมือนผู้เข้าถึงพุทธะทั้งหลาย
    <O:p</O:p
    ท่านผู้อ่านต้องระวังการปรามาสผู้อธิบายอย่างผมนี้ เพราะจะเป็นการปิดกั้นมรรคผลตัวท่านเอง ผมมาแนะนำอธิบายด้วยเจตนาที่ดี ไม่ได้มีอคติใดๆในใจกันใครทั้งสิ้น แล้วก็ไม่ได้ตั้งใจพิมพ์หรืออธิบายเพื่อหาเรื่องกับท่านใด เมื่อผมอธิบายอันเป็นที่สมควรดีแล้ว ผมก็อาจจะไม่พิมพ์อีก ถ้าไม่จำเป็น เพื่อจะได้ไม่เป็นอันตรายแก่ท่านที่รู้ไม่เท่าทันทั้งหลาย
    ขอบคุณครับ

     
    แก้ไขครั้งล่าสุดโดยผู้ดูแล: 11 กรกฎาคม 2009
  15. Fluffy (New)

    Fluffy (New) เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    10 พฤษภาคม 2009
    โพสต์:
    287
    ค่าพลัง:
    +1,228
    สาธุ อนุโมทนาค่ะ ขออนุญาตเก็บเอาไว้อ่านเป็นความรู้ในโอกาสข้างหน้านะคะ ขอบคุณแและอนุโมทนาค่ะ
     
  16. พลน้อย

    พลน้อย เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    15 พฤศจิกายน 2008
    โพสต์:
    170
    ค่าพลัง:
    +473
    เก็บไว้ได้เลยครับ ธรรมะที่ถูกต้องล้วนอธิบายจากความเป็นจริงทั้งสิ้น

    ธรรมะที่ถูกต้อง ก็ไม่ได้มีลิขสิทธิ์หรือเป็นลิขสิทธิ์เฉพาะแก่ท่านใดท่านหนึ่ง ผู้ใดเข้าถึงธรรมะแล้วย่อมมีความเข้าใจตรงกัน ธรรมที่ออกจากใจก็เหมือนกัน จะต่างกันบ้างเล็กน้อยก็ตรงความละเอียดในธรรมะที่มากหรือน้อยไม่เท่ากัน แต่ใจความตรงกันทุกประการ<O:p</O:p
    <O:p
    จุดประสงค์ ที่ผมอธิบายธรรมะก็เพื่อให้ธรรมะที่ถูกต้องเผยแพร่ ไปยังทุกท่าน ท่านผู้อ่านจะยกไปให้ใครอ่านก็ได้ทั้งหมด ธรรมะที่อธิบาย เป็นธรรมะที่องค์สมเด็จพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธะเจ้า ท่านทรงรู้ทรงเห็นมาแล้ว การจะเอาเป็น ลิขสิทธิ์ ส่วนตัวเพื่อหาเงินทองจะเป็นบาปเป็นกรรมและผู้เข้าถึงพุทธะ ก็ไม่มีใครคิดเช่นนั้น และผู้ที่ทำหรือคิดเช่นนั้นก็มิใช่ผู้เข้าถึงพุทธะแต่อย่างไร<O:p</O:p
     
  17. ธรรมภูต

    ธรรมภูต เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 สิงหาคม 2008
    โพสต์:
    3,621
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +2,192
    อนุโมทนาสาธุครับท่านทดสอบ๑
    ที่นำเอาธรรมะดีๆมาชี้แจ้งให้กระจ่างขึ้น
    และขอบคุณด้วยครับที่ชม

    ผมเองยังเป็นผู้ใหม่ ยังต้องสดับ ยังต้องกระทำให้ตื้น

    ขอบคุณอีกครั้งที่นำหัวข้อธรรมมาฝาก
    ในฐานะที่ผมชอบเน้นย้ำ เพื่อให้คนได้รู้จักพื้นฐาน(ฐานที่ตั้ง)
    อันสำคัญอย่างยิ่งยวด ในการปฏิบัติด้วยความกว้าหน้าต่อไปครับ
    สมาธิมั่นคงเกิดได้ต่อ เมื่อมีสติตั้งมั่น” <O:p</O:p
    สติตั้งมั่นได้ ก็ต่อเมื่อมีสมาธิมั่นคง
    "สติจะตั้งมั่นได้ ต้องมีสัมมาวายามะความเพียร"
    "เพียรประคองจิตให้สติตั้งมั่นเป็นสมาธิที่มั่นคง
    มีอะไรที่จะแนะนำเพิ่มเติม ผมยินดีน้อมรับเสมอครับ

    ;aa24
     
  18. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    นั่นแหละคือข้อสงสัยครับ
    สาเหตุที่ต้องค้าน ไม่ว่าคำพูดจะสวยหรูหรือไม่ และอย่างเดียว ที่ค้านมีเพียง ทำไมพวกของท่านไม่ใช่ขออภัย ท่านธรรมทูต ชอบบอกว่า จิตนี้เป็นของใคร? ใครคือผู้รู้? เพราะจุดนี้ผมเล็งเห็นความเป็นอัตตาที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญอันไม่ควรอย่างยิ่งในธรรมวินัยนี้ ช่วยกรุณาตอบและชี้แจงแถลงไขด้วย
    อนุโมทนา สาธุ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 11 กรกฎาคม 2009
  19. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500
    และเหตุที่แย้งไปคือ ถ้าการพิจารณาทั้งหมดไม่สามารถทำให้เห็นไตรลักษณ์ได้จะมีความหมายอะไรต่อการพิจารณา อย่างนี้เรียกว่า... ควรไหมที่จะทำการเผยแพร่ให้ผู้อื่นศึกษา ควรไหม? ในเบื้องต้นและเบื้องปลายไม่ใช่สิ่งนั้นหรือที่ผู้มีจิตถึงพุทธะต้องมองเห็น?
    แม้ข้าพเจ้าจะมีมิจฉาทิฐิอยู่บ้างมากหรือน้อยข้าพเจ้าทราบดีเพราะเป็นจิตที่มีที่อาศัยในรูปที่ข้าพเจ้าถือครอง เหตุที่ถามนั้นถูกหรือผิด
     
  20. kengkenny

    kengkenny เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    2,878
    ค่าพลัง:
    +2,500

    อันนี้เป็นถ้อยคำจากท่านผู้มีคุณคือความเป็นอริยะหรือ อันนี้ผมถามตรงๆ ว่าออกมาจากใจของท่านหรือไม่ แต่ผมจะบอกว่าแม้องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเวลาประกาศพระศาสนานำเวไนยสัตว์ให้หลุดพ้น ยังกล่าวว่า พึงพิจารณาด้วยปัญญา ผมเคยประกาศแล้วว่าแม้ต้องตกนรกหมกไหม้เพราะช่วยเหลือผู้อื่นที่ด้อยกว่า ผมยอม จริงๆ ช่วยตอบด้วย
    สาธุ
     

แชร์หน้านี้

Loading...