ถามเรื่อง การสร้างพระจะได้บุญจริงรึเปล่าครับ

ในห้อง 'พุทธศาสนา และ ธรรมะ' ตั้งกระทู้โดย Gearknight, 17 มิถุนายน 2009.

  1. Gearknight

    Gearknight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +234
    ในเมื่อ พระพุทธเจ้าได้บอกว่า อย่าสร้างรูปเหมือนของเราและอย่าสร้าง วัตถุเพื่อบูชาท่าน แล้วทำไม มีแต่คนบอกว่าสร้าง พระแล้วได้บุญนั้นบุญนี้

    อาจจะเป็น ตัวกิเลสก็ได้นะครับที่ถาม ผมก็ใช้สติกำกับมันอยู่ครับอิอิ
     
  2. พระศุภกิจ ปภัสสโร

    พระศุภกิจ ปภัสสโร เป็นที่รู้จักกันดี สมาชิก Premium

    วันที่สมัครสมาชิก:
    7 พฤศจิกายน 2006
    โพสต์:
    2,015
    กระทู้เรื่องเด่น:
    1
    ค่าพลัง:
    +11,166
    พระพุทธรูปองค์แรกสร้างขึ้นภายหลังจากที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้แล้ว ๗ ปี

    <TABLE class=contentpaneopen><TBODY><TR><TD vAlign=top colSpan=2>[​IMG]ในครั้งนั้นพระพุทธเจ้าได้เสด็จไปทรงแสดงพระอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ โดยประทับจำพรรษาอยู่บนสวรรค์นานถึง ๓ เดือน พระเจ้าอุเทนแห่งกรุงโกสัมพีผู้เคยทรงเฝ้าใกล้ชิดพระพุทธเจ้าทรงรำลึกถึงพระองค์เป็นอย่างยิ่ง จึงทรงอาราธนาพระโมคคัลลาน์ พระอัครสาวกเบื้องซ้ายผู้ทรงฤทธิ์มาก ให้พานายทุสิทะช่างแกะสลักฝีมือเอกขึ้นไปบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อจะได้เห็นพระพุทธเจ้าแล้วจดจำพระพุทธลักษณะไว้
    เมื่อกลับมายังโลกมนุษย์ นายทุสิทะก็แกะสลักไม้แก่นจันทน์แดงอันหอมและมีค่ามากให้เป็นพระพุทธปฏิมาที่งามสมบูรณ์ เป็นพระพุทธรูปยืนสูงประมาณ ๖ – ๗ เมตร แล้วอัญเชิญประดิษฐานไว้ในพระวิหาร โดยมีฉัตรศิลาแขวนห้อยอยู่ ณ เบื้องบนองค์พระพุทธรูป

    ในกาลต่อมา ประมาณ พ.ศ. ๑๑๗๒ ผู้ที่ได้เคยพบเห็นพระพุทธรูปองค์แรกนี้ด้วยตาตนเองคือ พระภิกษุเฮี่ยนจัง (พระถังซัมจั๋ง) ซึ่งได้เดินทางไปอินเดีย เมื่อจะกลับจากอินเดียท่านได้จำลองพระพุทธรูปองค์นี้ให้เป็นขนาดเล็ก แล้วอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ ประเทศจีนพร้อมกับพระไตรปิฎก

    ส่วนพระพุทธรูปองค์ที่สองที่มีชื่อว่า “พระจันทนพิมพ์”นั้น พระเจ้าปเสนทิโกสลแห่งกรุงสาวัตถีเป็นผู้สร้างไว้ก่อนพระพุทธเจ้าจะเสด็จปรินิพพาน ๗ ปี สาเหตุแห่งการสร้างเกิดจากเย็นวันหนึ่งพระเจ้าปเสนทิโกสลมีพระราชประสงค์จะทรงสดับพระธรรมเทศนาจากพระพุทธเจ้าดังที่ได้ทรงปฏิบัติมาเป็นนิตย์จึงเสด็จไปเฝ้า แต่ไม่ทรงพบ เพราะพระพุทธเจ้าเสด็จไปทรงแสดงธรรมเทศนาโปรดเวไนยสัตว์นอกเขตพระเชตวัน ยังไม่เสด็จกลับมา พระเจ้าปเสนทิโกสลจึงรู้สึกโทมนัสพระทัยว่า เมื่อใดที่พระพุทธเจ้ามิได้ประทับอยู่ในพระเชตวันวิหารก็ทำให้รู้สึกว่าขาดพระองค์ไป จึงได้แต่ทรงบูชาพระพุทธอาสน์แทนองค์พระพุทธเจ้าในวันนั้น

    ในวันต่อมาพระเจ้าปเสนทิโกสลจึงกราบทูลขอพระอนุญาตพระพุทธเจ้าสร้างพระพุทธปฏิมาไว้ เพื่อว่าเวลาที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดสัตว์ที่อื่น บรรดาพุทธศาสนิกชนผู้ศรัทธาจะได้สักการบูชาพระพุทธรูปแทนพระองค์ตลอดไป พระพุทธเจ้าก็ทรงอนุญาต พระเจ้าปเสนทิโกสลจึงให้นายช่างสร้างพระพุทธรูปด้วยไม้แก่นจันทน์แดงอันหาค่ามิได้ เป็นพระพุทธรูปนั่ง องค์พระพุทธรูปสูง ๒๒ นิ้ว กว้าง ๒๓ นิ้วครึ่ง (วัดจากพระอังสาด้านขวาถึงด้านซ้าย) และโปรดให้สร้างพระมณฑปซึ่งล้วนแล้วด้วยแก้ว ๗ ประการ แล้วให้อัญเชิญพระพุทธรูปอันงามสมบูรณ์ยิ่งประดิษฐานบนบุษบกเรือนแก้วกลางพระมณฑปนั้น

    พระพุทธรูป “พระจันทนพิมพ์” ที่พระเจ้าปเสนทิโกสลสร้างขึ้นนี้ตามประวัติมีว่า ต่อมาได้ตกทอดมาประดิษฐาน ณ ดินแดนทางเหนือของไทยคือที่จังหวัดตาก ภายหลังมีผู้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วัดปทุมารามในเมืองพะเยา วัดศรีภูมิ วัดสวนดอก และวัดเจ็ดยอด (วัดมหาโพธาราม) ในจังหวัดเชียงใหม่ตามลำดับ แต่ปัจจุบันนี้ไม่ปรากฏองค์พระพุทธรูปแล้ว

    --------------------------------------------------------------------------------
    เอกสารอ้างอิง
    ๑. จดหมายเหตุแห่งพุทธอาณาจักรของพระภิกษุฟาเหียน ซึ่งได้ออกจากเมืองจีนท่องเที่ยวไปเพื่อแสวงหาคัมภีร์พระไตรปิฎกในประเทศอินเดียตลอดถึงสิงหล ตั้งแต่ พ.ศ. ๙๔๒ ถึง ๙๕๗. พระยาสุรินทร์ฤาชัย ( จันทร์ ตุงคสวัสดิ์ ) แปลและเรียบเรียงจากต้นฉบับของศาสตราจารย์ เจมส์ เล็กส์. เอ็ม. เอ. แอลแอล. ดี. พมิพ์ครั้งที่ ๓ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ๒๕๒๒ หน้า ๕ - ๑๐๒
    ๒. ประวัติพระถังซัมจั๋ง แปลจากต้นฉบับภาษาจีนเป็นภาษาไทย โดยนายเคงเหลียน สีบุญเรือง พิมพ์เป็นธรรมานุสรณ์ ในงานฌาปนกิจศพนายเอี่ยงยี่ เจริญ-สถาพร (โยมเตี่ยของท่าน กิตติวุฑโฒ ภิกขุ ขณะนั้น) ๒๕ เมษายน ๒๕๑๕ หน้า ๑-๒๗๖
    ๓. ปัญญาสชาดก. พระนคร : โรงพิมพ์อักษรบริการ, ๒๔๙๙.

    การสร้างพระพุทธรูปเพื่อสักการบูชา

    อานิสงส์ที่จะได้รับคือ จะได้ไปเกิดในเทวโลก มียศมากมีอานุภาพมากเสมือนดังพระอาทิตย์ที่มีรัศมีอันแรงกล้า จะได้เสวยสุขอันเป็นทิพย์ มีเหล่าเทพบุตรเทพธิดาแวดล้อมบำรุงบำเรออยู่ ครั้นเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์จะเป็นพระเจ้าจักรพรรดิ จะเกิดเป็นพระราชามหากษัตริย์ จะเกิดอยู่ในตระกูลที่สูงศักดิ์ มีทรัพย์มาก มีบริวารมาก มีรูปกายงดงามสมส่วน อวัยวะครบถ้วนบริบูรณ์ มีผิวพรรณผ่องใส มีอายุยืน มีจิตน้อมไปในศีล สมาธิและปัญญา แม้นยังไม่สามารถบรรลุธรรมได้ในปัจจุบันชาติก็จะได้ไปบังเกิดในศาสนาของพระศรีอริยเมตไตรย จะมีปัญญาคมกล้าสามารถตัดกิเลสตัณหาให้หมดสิ้นไป ถ้าตั้งความปรารถนาเพื่อการบรรลุพระสัพพัญญุตญาณเป็นพระพุทธเจ้าในโลก กุศลนี้จะเป็นปัจจัยสนับสนุนให้ได้สมดังความปรารถนา

    พระเจ้าปเสนทิโกสลเคยทูลถามถึงอานิสงส์ของการสร้างพระพุทธรูป พระพุทธเจ้าได้มีพระพุทธดำรัสตอบว่า ผู้ใดสร้างพระพุทธรูป ไม่ว่าจะด้วยวัตถุชนิดใดจะประสบแต่ความสุขในภายหน้า คิดปรารถนาสิ่งใดก็จะได้สมดังปรารถนา ดังพระพุทธพจน์ที่ว่า
    บุรุษหรือสัตรีผู้ใดผู้หนึ่งซึ่งประกอบด้วยศรัทธา เมื่อได้สร้างทำพระพุทธปฏิมากรขึ้นไว้ในพระพุทธศาสนา พระพุทธปฏิมากรนั้นบุคคลจะสร้างทำด้วยดินเหนียวหรือศิลาก็ตาม หรือจะทำด้วยโลหะแลทองแดงก็ตาม หรือจะทำด้วยไม้แลสังกระสีดีบุกก็ตาม หรือจะทำด้วยรัตนะแลเงินทองก็ตาม ผู้ที่สร้างทำนั้น จักได้อานิสงส์ผลเป็นอันมากพ้นที่จะนับจะประมาณ อนึ่ง ดูกรบพิตรพระราชสมภาร เมื่อพระพุทธปฏิมากรประดิษฐานอยู่ในโลกตราบใด โลกก็เชื่อว่าไม่ว่างเปล่าจากพระพุทธเจ้าตราบนั้น พระพุทธปฏิมากรนี้ได้ชื่อว่ายังพระพุทธศาสนาให้ตั้งมั่นถาวร อีกประการหนึ่ง ผู้ที่ได้สร้างทำพระพุทธปฏิมากรแล้วนั้น จะมีแต่ความสุขเปนเบื้องหน้า แม้จะปรารถนาผลใด ก็จักได้ผลอันนั้นสำเร็จดังมโนรถปรารถนา ... ( จากวัฏฏังคุลีราชชาดก )
    การปิดทององค์พระพุทธรูป
    อานิสงส์ที่จะได้รับคือ จะเป็นผู้ที่มีจิตใจผ่องใส ไม่เศร้าหมองจนเกินไป จะได้เกิดอยู่ในสุคติภูมิ แม้นว่าเกิดมาเป็นมนุษย์จะมีผิวพรรณที่บริสุทธิ์ผุดผ่อง ปราศจากมลทินใดๆ เป็นที่ต้องตาต้องใจของผู้ได้พบเห็น จะมีทรัพย์สมบัติมาก และเป็นที่เคารพยกย่องของคนทั่วไป
    --------------------------------------------------------------------------------
    หมายเหตุ: จากพระสูตรและอรรถกถา (แปล). ขุททกนิกาย อปทาน เล่มที่ ๘, ภาคที่ ๒ . กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัยในพระบรมราชูปถัมภ์พิมพ์เนื่องในวกาสครบ ๒๐๐ ปีแห่งพระราชวงศ์จักรี กรุงรัตนโกสินทร์ พุทธศักราช ๒๕๒๕)




    </TD></TR></TBODY></TABLE>
     
  3. Gearknight

    Gearknight เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    20 มกราคม 2008
    โพสต์:
    107
    ค่าพลัง:
    +234
    สาธุครับผม ตัดตัวอัตตามานะผมได้มากเลยทีเดียวครับอิอิ
     
  4. เทพออระฤทธิ์

    เทพออระฤทธิ์ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    4 กุมภาพันธ์ 2008
    โพสต์:
    4,573
    กระทู้เรื่องเด่น:
    4
    ค่าพลัง:
    +22,048
    [​IMG]ทำกระทู้แนะนำ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 18 มิถุนายน 2009
  5. kaioueng

    kaioueng Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    27 มีนาคม 2009
    โพสต์:
    38
    ค่าพลัง:
    +27
    ความรู้ใหม่จริงๆ ผมไม่เคยรู้มาก่อนเลยครับ

    ผมตั้งใจไว้แล้วว่าจะไปทำบุญช่วยสร้างพระแก้วมรกตจำลอง

    ที่วัดป่าขันติธรรม

    อนุโมทนาครับ
     
  6. sermsak175

    sermsak175 เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    30 เมษายน 2008
    โพสต์:
    208
    ค่าพลัง:
    +883
    ขอโมทนาบุญในธรรมของผู้ถาม ผู้ตอบทุกท่านครับ ผมเจอเพื่อนสนิทที่ถามคำถามนี้เหมือนกัน ผมไม่สามารถอธิบายให้เธอเข้าใจได้ เพราะเพื่อนอ้างว่าไปศึกษาพระไตรปิฏกมาและไม่เชื่อ ผมขออนุญาตคัดลอกคำตอบ Email ส่งให้เพื่อนได้อ่านครับ สาธุๆๆ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 19 มิถุนายน 2009
  7. สังวรคุณ

    สังวรคุณ เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    2 มิถุนายน 2008
    โพสต์:
    148
    ค่าพลัง:
    +765
    ผมก็เจอแบบนี้เป็นประจำเลยครับ อ้างว่าศึกษามาจากพระไตรปิฏก แถมจำแม่นเสียด้วยว่ามาจากเล่มนั้น เล่มนี้ ไอ้เราก็ไม่มีเวลาไปศึกษา พอไปศึกษาเข้าจริง ผู้ที่อ้างแบบนี้มักจะตีความเอาเองว่า พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญการปฏิบัติบูชา ส่วนอย่างอื่นนั้นไม่สรรเสริญ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัตถุเพื่อเป็นพุทธบูชา หรือ บูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน ของหอมทั้งหลายด้วย บางท่านบอกว่าไม่ได้บุญเลยก็มีครับ นักบวชบางสำนักไม่ยอมรับเครื่องสักการะที่เขานำมาถวายเลยครับ บอกพระพุทธเจ้าห้ามรับก็มี คงจะทำนองเดียวกับเจ้าของกระทู้นำมากล่าวนั่นแหละครับ ว่าพระพุทธเจ้าห้ามสร้างพระพุทธรูปไปเลยแต่แท้จริงแล้ว ต้นตอคำกล่าวนี้มาจากไหน อย่างไรก็ยังไม่แน่นอน ตีความเอาเองแล้วบอกต่อๆกันมาโดยไม่ได้สาวไปหาต้นตอคำกล่าวนี้ก็เป็นได้ แล้วก็บอกว่าศึกษามาจากพระไตรปิฏก ที่ถูกแล้ว เป็นใครก็แล้วแต่ มาบอกเราว่าเอามาจากพระไตรปิฏกเราก็ควรตามไปศึกษาให้ถ่องแท้จากต้นตอนั้นด้วย บางครั้งเราก็จะพบว่ามันคนละเรื่องกับที่เขาอ้างเลยก็มีครับ
     
  8. เฮียปอ ตำมะลัง

    เฮียปอ ตำมะลัง ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม ผู้สนับสนุนพิเศษ

    วันที่สมัครสมาชิก:
    9 มีนาคม 2007
    โพสต์:
    24,969
    กระทู้เรื่องเด่น:
    2
    ค่าพลัง:
    +91,130
    [​IMG]
    ครั้งหนึ่ง สมเด็จฯ โต ได้ไปสวดมนต์ที่บ้านชาวเหนือ หรือ ปัจจุบันคือ “บ้านช่างหล่อ” เหตุที่ได้ชื่อว่าบ้านช่างหล่อ เพราะว่า เป็นชุมชนที่สร้างพระพุทธรูป นั่นเอง ที่บ้านนั้นเขาได้เอาหุ่นพระพุทธรูปมาตั้งผึ่งแดดไว้ ห่างจากทางเดินประมาณ ๒ ศอก…เมื่อสมเด็จฯ โต เดินผ่านมาเห็น เห็นพระพุทธรูป ท่านได้ก้มกายลง ยกมือประนมขึ้นเหนือศีรษะ พระและลูกศิษย์ที่มาด้วยเมื่อเห็นท่านไหว้ก็ไหว้ตาม ทั้ง ๆ ที่ไม่รู้ว่าไหว้ทำไม

    ครั้นเมื่อขึ้นนั่งบนบ้านเรียบร้อยแล้ว ผู้ช่วยเจ้าภาพซึ่งได้เห็นการกระทำของสมเด็จฯโต จึงเข้าไปกราบเรียนถามด้วยความสงสัย เพราะไม่เคยเห็นสมเด็จฯ ท่านทำมาก่อน สมเด็จฯท่านได้ตอบว่า “ที่ท่านยังไม่เคยทำมาก่อนนั้น เพราะท่านยังไม่เห็น เมื่อท่านเห็นจึงต้องทำ” แม้ท่านตอบอย่างนี้ก็ยังไม่สามารถคลายความสงสัยให้แก่ผู้ถามได้ ผู้ถามจึงถามอีกว่า

    พระพุทธรูปยังไม่ยกขึ้นตั้ง และยังไม่เบิกเนตร จะเป็นพระได้หรือขอรับ

    สมเด็จฯ ท่านจึงตอบว่า
    ความเป็นพระหรือไม่เป็นพระนั้ มันเริ่มตั้งแต่ผู้ที่ทำหุ่นยกดินก้อนแรกลงบนกระดานแล้ว เพราะผู้ทำตั้งใจจะทำให้เป็นองค์พระ ย่อมเป็นพระอยู่วันยังค่ำ แม้จะยังไม่ได้ผ่านการปลุกเสกก็ตามที

    การที่ท่านสอนเช่นนี้ ก็เพื่อให้เราอย่าได้ไปยึดติดกับการปลุกเสก พิธีกรรมต่าง ๆ การจะเป็นพระพุทธรูป หรือไม่นั้น ไม่ได้อยู่ที่การปั้นเสริมเติมแต่งขึ้นให้เป็นรูปร่าง แต่ขึ้นอยู่กับใจของเรา ว่า มีความเป็นพระอยู่ในใจด้วยหรือไม่ ถ้าเรามีใจเป็นพระทุกสิ่งทุกอย่างที่เราเห็น ก็จะเป็นพระหมด ความเป็นพระนั้นมี ๒ อย่าง คือ

    ๑.พระโดยสมมติ คือ รูปสมมุติที่มนุษย์ได้สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่สักการะบูชาให้ใจเราได้น้อมระลึกถึงพระพุทธองค์เพื่อเป็นพุทธานุสสติ

    ๒.พระโดยธรรม คือ ธรรมอันเกิดจากการประพฤติปฏิบัติน้อมเข้ามาในจิตในใจของเรา เป็นพระที่เกิดในใจ คือ การเข้าถึงความไม่เที่ยงแท้แน่นอนของสังขารทั้งหลายทั้งปวง ทำให้เรารู้จัก พอ รู้จัก ละ รู้จักปล่อย รู้จักวาง มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งอันประเสริฐ

    จึงขอฝากให้ท่านทั้งหลายพิจารณา ตามเหตุตามปัจจัยที่พึ่งจะมี เพื่อความเข้าใจ เพื่อความนอบน้อมในธรรมขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพื่อความเจริญในธรรมของสาธุชนทั้งหลาย…สาธุ

    ผู้เขียน: พระอาจารย์สายัณห์ ติกขปัญโญ


    http://palungjit.org/threads/~-ไหว้พระพุทธรูป-~.141281/
     
  9. kha_sur

    kha_sur เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    3 ธันวาคม 2007
    โพสต์:
    409
    ค่าพลัง:
    +778
    กระจ่าง.................:cool:
     
  10. Bloodtelia

    Bloodtelia เป็นที่รู้จักกันดี

    วันที่สมัครสมาชิก:
    13 ธันวาคม 2009
    โพสต์:
    26
    ค่าพลัง:
    +193
    "พระพุทธเจ้าตรัสสรรเสริญการปฏิบัติบูชา ส่วนอย่างอื่นนั้นไม่สรรเสริญ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวัตถุเพื่อเป็นพุทธบูชา หรือ บูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียน ของหอมทั้งหลายด้วย"

    กระจ่างทันทีกับคำตอบของท่านสังวรคุณ

    มีปัญหามานานแล้วกับการอ้างอิงพระไตรปิฎกที่ว่า พระพุทธเจ้าห้ามสร้างพระพุทธรูป

    ผมเคยได้ยินคนคริสต์ปะทะกับคนพุทธเหมือนกันเรื่องพระพุทธเจ้าห้ามสร้างพระพุทธรูปโดยการอ้างพระไตรปิฎก

    ขออนุโมทนากับความเข้าใจในการตีความพระไตรปิฎกที่ถูกต้องด้วยครับ สาธุ
     
  11. ธรรมนารี

    ธรรมนารี Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    23 ธันวาคม 2008
    โพสต์:
    46
    ค่าพลัง:
    +52
    สาธุอนุโมทามิ...ขอกราบอนุโมทนาค่ะ
    กระจ่างใจแท้
     
  12. ชั

    ชั Active Member

    วันที่สมัครสมาชิก:
    17 มกราคม 2011
    โพสต์:
    161
    ค่าพลัง:
    +48
    การสร้างพระพุทธรูปเพื่อสักการบูชา นั้นเป็นสิ่งดีครับ
    แต่...เจตนาการสร้าง ของผู้สร้างเพื่ออะไร สร้างเืพื่อเอาหน้า เอาตา ลงชื่อผู้สร้าง หรือสร้างเพื่อแค่...ต้องการบุญ ...ต้องวิเคราะห์ (บุญคือ อะไร) ทำบุญต้อง+ปัญญา เสมอ ไม่นั้นจะหลงบุญ
    ลองหาอ่าน หนังสืออานิสงค์ ของการสร้างบุญบารมี ( ทาน, ศีล, ภาวนา )​
    โดย สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ดูนะครับ
    *ตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ
    ตัวอย่าง ๑ ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน
    ตัวอย่าง ๒ ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียหาย เช่นทีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ
    ตัวอย่าง ๓ ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะว่าอยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะว่าหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา ...ลองศึกษาดูครับมีอีกเพียบ
     
    แก้ไขครั้งล่าสุด: 27 กุมภาพันธ์ 2011
  13. kritjansee

    kritjansee สมาชิกใหม่

    วันที่สมัครสมาชิก:
    5 เมษายน 2010
    โพสต์:
    7
    ค่าพลัง:
    +4

แชร์หน้านี้

Loading...